title
stringlengths
10
260
context
stringlengths
28
181k
raw
stringlengths
39
181k
url
stringlengths
0
53
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกฯ แจง รัฐบาลให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ย้ำไม่เคยละเลยปัญหา ไม่ก้าวก่ายกระบวนการยุติธรรม
วันพุธที่ 1 มิถุนายน 2565 นายกฯ แจง รัฐบาลให้ความสําคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ย้ําไม่เคยละเลยปัญหา ไม่ก้าวก่ายกระบวนการยุติธรรม ..... พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ร่วมประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยนายกรัฐมนตรีชี้แจงว่า รัฐบาลให้ความสําคัญกับการศึกษา การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งระบุไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ ทั้งการพัฒนาครู โรงเรียน และเด็ก ให้เด็กเรียนในสิ่งที่กับความต้องการของตลาด และใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด . สําหรับเรื่องการปราบปรามการทุจริต ยืนยันว่านายกฯ ไม่เคยละเลยปัญหาและไม่ก้าวก่ายกระบวนการยุติธรรม และสถิติการปราบปรามการทุจริตขณะนี้มีสูงขึ้น และประชาชนสามารถร้องทุกข์เรื่องการทุจริต ยาเสพติดได้เลย นายกฯ จะดูแล รับผิดชอบทุกเรื่อง ไม่ปกป้องใครทั้งสิ้น . พร้อมขอบคุณ ส.ส. ที่เสนอคําแนะนําดี ๆ และเป็นประโยชน์ ซึ่งนายกฯ จะรับไปปรับปรุงหลังจากที่งบประมาณผ่านไปแล้วในชั้นกรรมาธิการต่อไป . อ่านเพิ่มเติม คลิกhttps://www.thaigov.go.th/news/contents/details/55275 #ไทยคู่ฟ้า#ร่วมต้านโควิด19 -------------------
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกฯ แจง รัฐบาลให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ย้ำไม่เคยละเลยปัญหา ไม่ก้าวก่ายกระบวนการยุติธรรม วันพุธที่ 1 มิถุนายน 2565 นายกฯ แจง รัฐบาลให้ความสําคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ย้ําไม่เคยละเลยปัญหา ไม่ก้าวก่ายกระบวนการยุติธรรม ..... พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ร่วมประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยนายกรัฐมนตรีชี้แจงว่า รัฐบาลให้ความสําคัญกับการศึกษา การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งระบุไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ ทั้งการพัฒนาครู โรงเรียน และเด็ก ให้เด็กเรียนในสิ่งที่กับความต้องการของตลาด และใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด . สําหรับเรื่องการปราบปรามการทุจริต ยืนยันว่านายกฯ ไม่เคยละเลยปัญหาและไม่ก้าวก่ายกระบวนการยุติธรรม และสถิติการปราบปรามการทุจริตขณะนี้มีสูงขึ้น และประชาชนสามารถร้องทุกข์เรื่องการทุจริต ยาเสพติดได้เลย นายกฯ จะดูแล รับผิดชอบทุกเรื่อง ไม่ปกป้องใครทั้งสิ้น . พร้อมขอบคุณ ส.ส. ที่เสนอคําแนะนําดี ๆ และเป็นประโยชน์ ซึ่งนายกฯ จะรับไปปรับปรุงหลังจากที่งบประมาณผ่านไปแล้วในชั้นกรรมาธิการต่อไป . อ่านเพิ่มเติม คลิกhttps://www.thaigov.go.th/news/contents/details/55275 #ไทยคู่ฟ้า#ร่วมต้านโควิด19 -------------------
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/55278
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-Thailand takes up BIMSTEC Chairmanship and commits to advance BIMSTEC cooperation toward prosperity, resilience and robustness, and openness
วันพุธที่ 30 มีนาคม 2565 Thailand takes up BIMSTEC Chairmanship and commits to advance BIMSTEC cooperation toward prosperity, resilience and robustness, and openness Thailand takes up BIMSTEC Chairmanship and commits to advance BIMSTEC cooperation toward prosperity, resilience and robustness, and openness March 30, 2022, at 1250hrs, at Bhakdi Bodin Building, Government House, following the 5th Bay of Bengal Initiative for Multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation (BIMSTEC) Summit, Prime Minister and Defense Minister Gen. Prayut Chan-o-cha, together with leaders and representatives of BIMSTEC member countries, attended the handover ceremony of BIMSTEC chairmanship. Deputy Government Spokesperson Traisuree Taisaranakul disclosed gist of the Prime Minister’s speech as follows: The Prime Minister congratulated Sri Lanka for its successful chairmanship amidst various challenges, and expressed Thailand’s pleasure to take over the BIMSTEC chairmanship. During the 2-year chairmanship, Thailand strives to build upon Sri Lanka’s success, and propel BIMSTEC toward: 1. "Prosperity": Thailand commits to lead BIMSTEC toward prosperity and post-COVID-19 economic recovery through multilateral cooperation frameworks, connectivity, and adoption of innovation and technology. 2. "Resilience and Robustness": Mutual support among member countries will be promoted to cope with various challenges. Importance will be placed on recovery policies and use of digital technology to create sustainable and balanced future. 3. “Openness”: Thailand has placed importance on human capital, and strives to promote constructive participation of all sectors and their awareness on opportunities. The Prime Minister emphasized that Thailand stands ready to share knowledge on the BCG economic model which the country adopts as national strategy for post-COVID-19 economic recovery, and expressed hope that BIMSTEC would become stronger in the next two years against challenges of all forms. Thailand’s determination as the next BIMSTEC Chair reflects in the Chairmanship logo and video presentation. The Golden Ears of Rice (Ruang Kao See Tong) and blue waves symbolize BIMSTEC as the world's food security sources and the connectivity of our region through maritime routes in the Bay of Bengal and the Indian Ocean. The curves of the rice and waves along the edge of the logo illustrate prosperity in collective endeavoring, and also present the resilience and unity of all Member States as a stakeholder that helps perpetuate BIMSTEC forward towards a “Prosperous, Resilient, and Open BIMSTEC for all. At the 5th BIMSTEC Summit, the following 6 important documents have been signed and adopted: Signed 1. BIMSTEC Charter 2. BIMSTEC Convention on Mutual Legal Assistance in Criminal Matters 3. Memorandum of Association on the Establishment of BIMSTEC Technology Transfer Facility (TTF) 4. Memorandum of Understanding (MoU) on Mutual Cooperation between Diplomatic Academies/Training Institutions of BIMSTEC Member States Adopted 5. BIMSTEC Master Plan on Transport Connectivity 6. The 5th Summit Declaration
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-Thailand takes up BIMSTEC Chairmanship and commits to advance BIMSTEC cooperation toward prosperity, resilience and robustness, and openness วันพุธที่ 30 มีนาคม 2565 Thailand takes up BIMSTEC Chairmanship and commits to advance BIMSTEC cooperation toward prosperity, resilience and robustness, and openness Thailand takes up BIMSTEC Chairmanship and commits to advance BIMSTEC cooperation toward prosperity, resilience and robustness, and openness March 30, 2022, at 1250hrs, at Bhakdi Bodin Building, Government House, following the 5th Bay of Bengal Initiative for Multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation (BIMSTEC) Summit, Prime Minister and Defense Minister Gen. Prayut Chan-o-cha, together with leaders and representatives of BIMSTEC member countries, attended the handover ceremony of BIMSTEC chairmanship. Deputy Government Spokesperson Traisuree Taisaranakul disclosed gist of the Prime Minister’s speech as follows: The Prime Minister congratulated Sri Lanka for its successful chairmanship amidst various challenges, and expressed Thailand’s pleasure to take over the BIMSTEC chairmanship. During the 2-year chairmanship, Thailand strives to build upon Sri Lanka’s success, and propel BIMSTEC toward: 1. "Prosperity": Thailand commits to lead BIMSTEC toward prosperity and post-COVID-19 economic recovery through multilateral cooperation frameworks, connectivity, and adoption of innovation and technology. 2. "Resilience and Robustness": Mutual support among member countries will be promoted to cope with various challenges. Importance will be placed on recovery policies and use of digital technology to create sustainable and balanced future. 3. “Openness”: Thailand has placed importance on human capital, and strives to promote constructive participation of all sectors and their awareness on opportunities. The Prime Minister emphasized that Thailand stands ready to share knowledge on the BCG economic model which the country adopts as national strategy for post-COVID-19 economic recovery, and expressed hope that BIMSTEC would become stronger in the next two years against challenges of all forms. Thailand’s determination as the next BIMSTEC Chair reflects in the Chairmanship logo and video presentation. The Golden Ears of Rice (Ruang Kao See Tong) and blue waves symbolize BIMSTEC as the world's food security sources and the connectivity of our region through maritime routes in the Bay of Bengal and the Indian Ocean. The curves of the rice and waves along the edge of the logo illustrate prosperity in collective endeavoring, and also present the resilience and unity of all Member States as a stakeholder that helps perpetuate BIMSTEC forward towards a “Prosperous, Resilient, and Open BIMSTEC for all. At the 5th BIMSTEC Summit, the following 6 important documents have been signed and adopted: Signed 1. BIMSTEC Charter 2. BIMSTEC Convention on Mutual Legal Assistance in Criminal Matters 3. Memorandum of Association on the Establishment of BIMSTEC Technology Transfer Facility (TTF) 4. Memorandum of Understanding (MoU) on Mutual Cooperation between Diplomatic Academies/Training Institutions of BIMSTEC Member States Adopted 5. BIMSTEC Master Plan on Transport Connectivity 6. The 5th Summit Declaration
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/53112
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-คำแถลงประกอบงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แถลงต่อสภาผู้แทนราษฎร
วันพุธที่ 1 มิถุนายน 2565 คําแถลงประกอบงบประมาณรายจ่าย ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แถลงต่อสภาผู้แทนราษฎร คําแถลงประกอบงบประมาณรายจ่าย ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แถลงต่อสภาผู้แทนราษฎร วันที่ 31 พฤษภาคม 2565 คณะรัฐมนตรีขอเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยมีหลักการและเหตุผล ดังนี้ หลักการ ตั้งงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เป็นจํานวนไม่เกิน 3,185,000,000,000 บาท สําหรับเป็นค่าใช้จ่ายของหน่วยรับงบประมาณ เป็นจํานวน 3,185,000,000,000 บาท เหตุผล เพื่อให้หน่วยรับงบประมาณได้มีกรอบวงเงินงบประมาณสําหรับใช้จ่ายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ที่รัฐบาลนําเสนอต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นการดําเนินงานต่อเนื่องจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดยใช้งบประมาณเป็นเครื่องมือสําคัญในการขับเคลื่อนประเทศตามแนวทางการพัฒนาของยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติและแผนย่อย (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (ร่าง) นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) และนโยบายรัฐบาล ให้บรรลุเป้าหมายตามที่กําหนดไว้อย่างเป็นรูปธรรม เกิดผลสัมฤทธิ์และประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน โดยรัฐบาลได้ดําเนินการให้สอดคล้องกับสภาวะทางเศรษฐกิจภายในประเทศและภายนอกประเทศ รวมทั้งสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ภาวะเศรษฐกิจทั่วไป ตามแถลงภาวะเศรษฐกิจของสํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ณ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565 เศรษฐกิจไทยในปี 2565 คาดว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 3.5 – 4.5 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศจากการผ่อนคลายลงของผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 การปรับตัวดีขึ้นของภาคการท่องเที่ยวภายใต้มาตรการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ และการส่งออกสินค้าที่ขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดีตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อจํากัดและปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2565 ได้แก่ ผลกระทบของสถานการณ์ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ เงื่อนไขด้านฐานะการเงินของภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ การกลายพันธุ์และการระบาดของเชื้อไวรัส และความผันผวนของระบบเศรษฐกิจและการเงินโลก โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ในช่วงร้อยละ 1.5 – 2.5 ทั้งนี้ ข้อมูลล่าสุด สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แถลงภาวะเศรษฐกิจไทย ไตรมาสแรกของปี 2565 และแนวโน้มปี 2565 เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2565 โดยอัตราการขยายตัวของ GDP ปี 2565 อยู่ในช่วงร้อยละ 2.5 - 3.5 และอัตราเงินเฟ้ออยู่ในช่วงร้อยละ 4.2 - 5.2 เศรษฐกิจไทยในปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 3.2 – 4.2 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของอุปสงค์ภายในประเทศ การขยายตัวของภาคการท่องเที่ยวที่คาดว่าจะมีแนวโน้มกลับมาฟื้นตัวชัดเจนมากขึ้น การส่งออกสินค้ามีแนวโน้มขยายตัวในเกณฑ์ดี ในขณะที่ยังมีข้อจํากัดและปัจจัยเสี่ยงจากความผันผวนของระบบเศรษฐกิจและการเงินโลก การกลายพันธุ์และการระบาดของไวรัส รวมทั้งการลดลงของแรงขับเคลื่อนทางการคลัง โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ในช่วงร้อยละ 0.5 – 1.5 นโยบายการคลังและความสัมพันธ์ระหว่างรายรับและงบประมาณรายจ่ายที่ขอตั้ง ภายใต้สภาวการณ์ทางเศรษฐกิจดังกล่าว รัฐบาลจึงมีความจําเป็นต้องดําเนินนโยบายการคลังแบบขยายตัวผ่านการจัดทํางบประมาณขาดดุล เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 คาดว่ารายได้จะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เริ่มคลี่คลาย และการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรค โดยประมาณการว่าจะจัดเก็บรายได้จากภาษีอากร การขายสิ่งของและบริการ รัฐพาณิชย์ และรายได้อื่น รวมสุทธิจํานวน 2,614,100 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 จากปีก่อน และหักการจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จํานวน 124,100 ล้านบาท คงเหลือเป็นรายได้สุทธิที่สามารถนํามาจัดสรรเป็นรายจ่ายของรัฐบาล จํานวน 2,490,000 ล้านบาท สําหรับงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เพื่อให้หน่วยรับงบประมาณมีวงเงินงบประมาณสําหรับใช้จ่ายในการดําเนินภารกิจตามยุทธศาสตร์ชาติ แผนในระดับต่าง ๆ นโยบายรัฐบาลและหน้าที่ ความรับผิดชอบ อย่างเหมาะสม เพียงพอ จึงกําหนดวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จํานวน 3,185,000 ล้านบาท การดําเนินนโยบายการคลังในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จึงเป็นการดําเนินนโยบายงบประมาณแบบขาดดุล โดยกําหนดรายได้สุทธิ จํานวน 2,490,000 ล้านบาท และเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จํานวน 695,000 ล้านบาท รวมเป็นรายรับ จํานวน 3,185,000 ล้านบาท เท่ากับวงเงินงบประมาณรายจ่าย ฐานะการคลัง หนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 มีนาคม 2565 มีจํานวน 9,951,962.7 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 60.6 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบการบริหารหนี้สาธารณะ ตามกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ ที่กําหนดไว้ที่ร้อยละ 70 โดยหนี้สาธารณะที่เป็นข้อผูกพันของรัฐบาล ซึ่งเกิดจากการกู้ยืมเงินโดยตรงและการค้ําประกันเงินกู้โดยรัฐบาล มีจํานวน 9,478,592.1 ล้านบาท ฐานะเงินคงคลัง ณ วันที่ 30 เมษายน 2565 มีจํานวน 398,830.7 ล้านบาท โดยรัฐบาลจะบริหารเงินคงคลังให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และบริหารรายรับและรายจ่ายของรัฐบาลให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด ฐานะและนโยบายการเงิน การดําเนินนโยบายการเงินในช่วงที่ผ่านมายังคงผ่อนคลายเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยให้มีความต่อเนื่อง อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2565 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเกินกรอบเป้าหมายจากราคาพลังงานและราคาอาหารที่ปรับสูงขึ้นมาก และจะปรับลดลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปและกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงต้นปี 2566 จากราคาพลังงานและอาหารที่คาดว่าจะไม่ปรับเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องเช่นในปี 2565 รวมทั้งปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบและสินค้าโภคภัณฑ์โลกที่จะบรรเทาลง ในขณะที่แรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปสงค์ยังอยู่ในระดับต่ํา ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อในระยะยาวยังคงอยู่ในกรอบเป้าหมาย สําหรับด้านระบบการเงินโดยรวมมีเสถียรภาพ แต่ภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนมีความเปราะบางขึ้นในบางกลุ่มจากปัญหาค่าครองชีพและต้นทุนที่มีการปรับเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มที่รายได้ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่และมีภาระหนี้ที่อยู่ในระดับสูง คณะกรรมการนโยบายการเงินจึงมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่องที่ร้อยละ 0.50 ในการประชุมเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม 2565 เพื่อให้ภาวะการเงินโดยรวมยังคงผ่อนคลาย และสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง สําหรับฐานะการเงินด้านต่างประเทศของไทยในปัจจุบันอยู่ในเกณฑ์ดี มูลค่าเงินสํารองระหว่างประเทศ ณ วันที่ 22 เมษายน 2565 มีจํานวน 233,926.75 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นประมาณ 3.15 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง นโยบายการจัดทํางบประมาณ ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จัดทําขึ้นโดยมีเป้าหมายให้ประเทศได้รับการพัฒนาและฟื้นฟูจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรมนุษย์ ความมั่นคง และสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพตลอดช่วงชีวิต มีหลักประกันและความคุ้มครองทางเศรษฐกิจและสังคม กลุ่มเปราะบางและผู้ด้อยโอกาส อาทิ ผู้สูงวัย ผู้พิการ และเด็ก ได้รับการดูแลและช่วยเหลือจากสวัสดิการภาครัฐอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม เศรษฐกิจมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และกระจายประโยชน์สู่ประชาชนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มฐานรากให้มีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ สามารถยกระดับความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น หลุดพ้นจากปัญหาความยากจน และสามารถพึ่งพาตนเองได้ เพื่อลดภาระทางการคลังและสนับสนุนให้เศรษฐกิจในภาพรวม มีความเข้มแข็งและเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ โดยการจัดทําร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว รัฐบาลได้ดําเนินการให้เป็นไปตามกรอบของพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 และสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ ในปัจจุบัน โดยได้กําหนดแนวทางการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ที่สําคัญ ดังนี้ 1. ดําเนินการให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติและแผนย่อย (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (ร่าง) นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) นโยบายของรัฐบาล เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน แผนปฏิบัติราชการของกระทรวง การน้อมนําหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการจัดสรรงบประมาณ โดยมุ่งให้ความสําคัญกับประเด็นการพัฒนาที่ต้องเร่งดําเนินการ เพื่อให้บรรลุ 13 หมุดหมายตาม (ร่าง) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 และโครงการสําคัญประจําปี 2566 ที่ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ จํานวน 406 โครงการ ที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2564 2. ให้ความสําคัญกับการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบพุ่งเป้า โดยใช้งบประมาณของหน่วยรับงบประมาณทั้งในส่วนของแผนงานยุทธศาสตร์ แผนงานพื้นฐาน และแผนงานบูรณาการ โดยมีเป้าหมายเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนให้เกิดผลสําเร็จได้อย่างเป็นรูปธรรม และการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตามข้อตกลงการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (COP 26) รวมทั้งให้ความสําคัญกับการมีส่วนร่วมและความต้องการของประชาชนในพื้นที่ การจัดสวัสดิการที่จําเป็นสําหรับประชาชนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางทางสังคมและผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตลอดจนมีการกระจายงบประมาณอย่างเป็นธรรม ไม่ซ้ําซ้อน และเกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุดต่อประชาชน 3. ส่งเสริมการกระจายอํานาจให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพิ่มศักยภาพการถ่ายโอนภารกิจการจัดบริการสาธารณะ ลดความเหลื่อมล้ํา รวมทั้งการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้และประสิทธิผล การใช้จ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4. จัดทํางบประมาณให้ครอบคลุมทุกแหล่งเงิน โดยให้หน่วยรับงบประมาณพิจารณานําเงินนอกงบประมาณหรือเงินสะสมคงเหลือมาใช้ดําเนินภารกิจของหน่วยรับงบประมาณเป็นลําดับแรก รวมทั้งต้องพิจารณาแหล่งเงินอื่นในการดําเนินโครงการลงทุน เช่น การร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (Public Private Partnership : PPP) กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย (Thailand Future Fund : TFF) เพื่อเป็นการลดภาระงบประมาณ และทําให้การใช้ทรัพยากรของประเทศเกิดประสิทธิภาพสูงสุด 5. ดําเนินการให้เป็นไปตามบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 รวมทั้งกฎหมาย ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง สาระสําคัญของงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มีวงเงินงบประมาณ จํานวน 3,185,000 ล้านบาท จําแนกเป็นรายจ่ายประจํา จํานวน 2,396,942.2 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 75.26 รายจ่ายลงทุน จํานวน 695,077.4 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 21.82 และรายจ่ายชําระคืนต้นเงินกู้ จํานวน 100,000 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.14 ทั้งนี้รายจ่ายชําระคืนต้นเงินกู้เป็นรายจ่ายลงทุนกรณีการกู้เพื่อการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ จํานวน 7,019.6 ล้านบาท ซึ่งการดําเนินการดังกล่าวอยู่ภายในกรอบวินัยการเงินการคลัง โดยมีสาระสําคัญ ดังนี้ งบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จําแนกตามกลุ่มงบประมาณรายจ่าย 1.1 งบประมาณรายจ่ายงบกลาง จํานวน 590,470.0 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 18.6 ของวงเงินงบประมาณ 1.2 งบประมาณรายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณ จํานวน 1,090,329.6 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 34.2 ของวงเงินงบประมาณ 1.3 งบประมาณรายจ่ายบูรณาการ จํานวน 218,477.7 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 6.9 ของวงเงินงบประมาณ จํานวน 11 เรื่อง ได้แก่ 1. ขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2. พัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก 3. ต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ 4. เตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมสูงวัย 5. บริหารจัดการทรัพยากรน้ํา 6. ป้องกัน ปราบปราม และบําบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด 7. พัฒนาด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ 8. พัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก 9. พัฒนาอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต 10. รัฐบาลดิจิทัล 11. สร้างรายได้จากการท่องเที่ยว 1.4 งบประมาณรายจ่ายบุคลากร จํานวน 772,119.1 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 24.2 ของวงเงินงบประมาณ 1.5 งบประมาณรายจ่ายสําหรับทุนหมุนเวียน จํานวน 206,985.6 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 6.5 ของวงเงินงบประมาณ 1.6 งบประมาณรายจ่ายเพื่อการชําระหนี้ภาครัฐ จํานวน 306,618.0 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 9.6 ของวงเงินงบประมาณ งบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จําแนกตามยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ได้กําหนดไว้ จํานวน 6 ยุทธศาสตร์ 1 รายการ โดยได้นํายุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติมากําหนดเป็นกรอบโครงสร้างยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สรุปสาระสําคัญ ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 : ด้านความมั่นคง รัฐบาลจัดสรรงบประมาณรายจ่าย จํานวน 296,003.6 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 9.3 ของวงเงินงบประมาณ เพื่อให้บ้านเมืองมีความมั่นคง ประชาชนมีความสุข ทุกภาคส่วนมีความพร้อมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาความมั่นคงของประเทศ และได้รับการยอมรับจากประชาคมระหว่างประเทศ จําแนกตามแผนงาน ดังนี้ 1) การเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติ งบประมาณ 12,259.9 ล้านบาท เพื่อให้คนในชาติมีจิตสํานึกรักและหวงแหน ปลูกฝังและสร้างความตระหนักถึงความสําคัญของสถาบันหลักของชาติ เสริมสร้างความมั่นคงในการเทิดทูนสถาบันหลักและเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ ถวายความปลอดภัยพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ และขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ตามแนวพระราชดําริและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) การรักษาความสงบภายในประเทศ งบประมาณ 22,117.4 ล้านบาท เพื่อให้ประชาชนมีความมั่นคง ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินโดยการรักษาความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ ปลูกฝังจิตสํานึกรักสามัคคีและส่งเสริมความปรองดองของคนในชาติ สนับสนุนภารกิจของกองอาสารักษาดินแดน ขับเคลื่อนนโยบายของรัฐผ่านกลไกหมู่บ้าน เพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม และการบังคับใช้กฎหมาย การอํานวยความยุติธรรมและบริการประชาชน รวมทั้งสร้างการมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วน 3) การพัฒนาและเสริมสร้างการเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข งบประมาณ 531.2 ล้านบาท เพื่อส่งเสริมการประชาสัมพันธ์เพื่อพัฒนาระบอบประชาธิปไตย และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน สร้างองค์ความรู้ความเข้าใจ และตระหนักถึงการทําหน้าที่พลเมืองที่ดีตามวิถีระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 4) การขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ งบประมาณ 6,251.2 ล้านบาท เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ชายแดนภาคใต้มีความปลอดภัยทั้งในชีวิตและทรัพย์สินอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข มีเป้าหมายในการลดจํานวนเหตุรุนแรงในพื้นที่ลงร้อยละ 60 เมื่อเทียบกับปี 2560 โดยเพิ่มประสิทธิภาพการขับเคลื่อนงานภาครัฐในลักษณะบูรณาการที่มีเอกภาพร่วมกับทุกภาคส่วน อาทิ การเพิ่มประสิทธิภาพงานข่าวกรอง การรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน การแสวงหาทางออกจากความขัดแย้งโดยสันติวิธี การอํานวยความยุติธรรมและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ การพัฒนาศักยภาพตามพื้นที่ การพัฒนาสังคมพหุวัฒนธรรมที่เข้มแข็งและเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน การเสริมสร้างความเข้าใจและประสานความร่วมมือ และการพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพด้วยหลักธรรมาภิบาล เพื่อมุ่งให้เกิดผลในการแก้ไขปัญหาในมิติความมั่นคง มิติการพัฒนา และมิติการบริหารจัดการภาครัฐ ในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 5) การป้องกัน ปราบปราม และบําบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด งบประมาณ 4,188.2 ล้านบาท เพื่อให้เด็ก เยาวชน ผู้ใช้แรงงาน และประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีภูมิคุ้มกันภัยจากยาเสพติด ไม่ไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด และไม่กระทําผิดเกี่ยวกับยาเสพติดอย่างน้อยร้อยละ 97 ของประชากรทุกช่วงวัย ปราบปรามทําลายโครงสร้างเครือข่ายการค้ายาเสพติดระดับสําคัญ เพื่อนําไปสู่การจับกุม ยึด อายัดทรัพย์สิน อย่างน้อยร้อยละ 50 ของเครือข่ายยาเสพติด มุ่งเน้นการนําผู้เสพเข้ารับการบําบัดรักษาโดยสมัครใจแทนการลงโทษ กําหนดกลไกและมาตรการทางสาธารณสุขแทนการใช้กระบวนการยุติธรรมทางอาญา ตลอดจนติดตามช่วยเหลือและฟื้นฟูสภาพทางสังคมอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐาน ให้สามารถกลับไปใช้ชีวิตในสังคมได้ตามปกติ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 6) การป้องกันและแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง งบประมาณ 19,919.6 ล้านบาท เพื่อรักษาความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ ความมั่นคงชายแดน ชายฝั่งทะเล และรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ป้องกันและแก้ไขปัญหาความมั่นคงทางไซเบอร์ การก่อการร้าย ป้องกันภัยคุกคามข้ามชาติและความมั่นคงทางทะเลและพัฒนาศักยภาพในการรับมือภัยคุกคามและเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสี ตลอดจน ติดตามและเฝ้าระวังการทําประมงให้เป็นไปตามกฎหมาย และการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งเพื่อป้องกันการสูญเสียดินแดนของประเทศ 7) การจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ งบประมาณ 299.7 ล้านบาท เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนงานด้านการป้องกันการบังคับใช้แรงงานและการค้ามนุษย์ คุ้มครองและช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์กลับคืนสู่สังคม โดยการเพิ่มประสิทธิภาพการปราบปรามและดําเนินคดีการกระทําความผิดค้ามนุษย์ ป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ รวมทั้ง สร้างความรู้ความเข้าใจแก่กลุ่มเป้าหมายให้สามารถป้องกันและปฏิบัติตัวได้ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ไม่น้อยกว่า 137,000 คน 8) การพัฒนาระบบการเตรียมพร้อมแห่งชาติและระบบบริหารจัดการภัยพิบัติ งบประมาณ 16,971.8 ล้านบาท เพื่อพัฒนาขีดความสามารถการปฏิบัติงานด้านภัยพิบัติฉุกเฉิน การกู้ภัยและช่วยเหลือผู้ประสบภัย เพื่อลดความสูญเสียและสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน เพิ่มประสิทธิภาพการเตือนภัยพิบัติ สร้างความรู้และความตระหนักแก่ประชาชน รวมถึงป้องกันการกัดเซาะการพังทลายของตลิ่งริมแม่น้ําภายในประเทศ ไม่น้อยกว่า 176,414 เมตร 9) การพัฒนาศักยภาพการป้องกันประเทศ และความพร้อมเผชิญภัยคุกคามทุกมิติ งบประมาณ 58,194.4 ล้านบาท เพื่อให้หน่วยงานด้านความมั่นคง มีความพร้อมที่จะเผชิญภัยคุกคามทุกรูปแบบ มีระบบและแผนเตรียมพร้อมแห่งชาติที่ทันสมัยและปฏิบัติได้จริง โดยการเพิ่มขีดความสามารถงานข่าวกรองและต่อต้านข่าวกรอง สร้างเครือข่ายภาคประชาชนและภาคเอกชนให้มีความรู้ความเข้าใจด้านการข่าวและการรักษาความปลอดภัยฝ่ายพลเรือน รวมถึงการพัฒนาขีดความสามารถของกองทัพด้านการพัฒนาประเทศและการช่วยเหลือประชาชน ส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเพื่อการป้องกันประเทศ 10) การส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ งบประมาณ 4,052.4 ล้านบาท เพื่อให้ประเทศไทยมีความมั่นคงสามารถรับมือกับความท้าทายจากภายนอกได้ทุกรูปแบบ และเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการค้า การลงทุน และการบริการในภูมิภาคเอเชีย โดยการพัฒนาความเป็นมาตรฐานสากลและส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือทางเศรษฐกิจและทางทหารกับมิตรประเทศและองค์การระหว่างประเทศ เสริมสร้างภาพลักษณ์ และบทบาทของประเทศไทยในประชาคมโลก ส่งเสริมการดําเนินงานการต่างประเทศอย่างมีเอกภาพและบูรณาการ รวมทั้งพัฒนาความร่วมมือความเป็นหุ้นส่วนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมภายใต้กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศ 11) การพัฒนากลไกการบริหารจัดการความมั่นคงแบบองค์รวม งบประมาณ 423.1 ล้านบาท เพื่อให้กลไกการบริหารจัดการความมั่นคงมีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยการพัฒนากลไกการบริหารจัดการความมั่นคงแบบองค์รวม ขับเคลื่อนนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ 12) การสนับสนุนด้านความมั่นคง งบประมาณ 536.8 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนเป้าหมายยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง โดยการเพิ่มขีดความสามารถระบบบริหารจัดการด้านความมั่นคง สนับสนุนงานขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหาตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ 13) การดําเนินงานภารกิจพื้นฐาน งบประมาณ 33,838.4 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายบุคลากรภาครัฐ งบประมาณ 116,419.5 ล้านบาท เพื่อให้การดําเนินภารกิจด้านความมั่นคงมีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่า มีความพร้อมด้านการป้องกันประเทศ การดํารงไว้ซึ่งความสัมพันธ์อันดีและความร่วมมือในการดําเนินงานด้านความมั่นคงระหว่างประเทศไทยกับมิตรประเทศ ยุทธศาสตร์ที่ 2 : ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน รัฐบาลจัดสรรงบประมาณรายจ่าย จํานวน 396,125.5 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 12.4 ของวงเงินงบประมาณ เพื่อส่งเสริมให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโต และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันมีเสถียรภาพและยั่งยืน โดยมีเป้าหมายกระจายความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคมในทุกภูมิภาคของประเทศ จําแนกตามแผนงาน ดังนี้ 1) การพัฒนาด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ งบประมาณ 131,372.8 ล้านบาท เพื่อให้ประเทศไทยมีระบบคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมในทุกระบบ เช่น ทางถนน ก่อสร้างโครงข่ายทางหลวงและทางหลวงชนบท ระยะทาง 4,017 กิโลเมตร และทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ระยะทาง 48 กิโลเมตร ทางราง พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อส่งเสริมการขนส่งทางรางสายเด่นชัย - เชียงราย – เชียงของ สายบ้านไผ่ - มหาสารคาม - ร้อยเอ็ด – มุกดาหาร - นครพนม และพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงสู่ภูมิภาคระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร – นครราชสีมา ทางน้ํา เพิ่มประสิทธิภาพทางเดินเรือในแม่น้ําต่าง ๆ ก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง ขุดลอกและบํารุงรักษาร่องน้ําชายฝั่งทะเล เพื่อรองรับปริมาณการขนส่งสินค้า 114 ล้านตัน ทางอากาศ เพิ่มขีดความสามารถของท่าอากาศยานตามมาตรฐานการบินระหว่างประเทศ รวมทั้ง ส่งเสริมการเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะของประชาชนอย่างทั่วถึง รวมทั้ง การพัฒนารูปแบบการกํากับดูแลและการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม การพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ โดยมีเป้าหมายจํานวน 2,750 คน และการกํากับดูแลและพัฒนามาตรฐานด้านการขนส่งทุกรูปแบบให้มีคุณภาพระดับสากล รองรับและอํานวยความสะดวกทางการค้าด้วยระบบการเชื่อมโยงข้อมูลหน่วยงานภาครัฐและภาคธุรกิจ 2) การเกษตรสร้างมูลค่า งบประมาณ 78,903.7 ล้านบาท เพื่อเพิ่มการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมและผลิตภาพด้านการผลิตของสาขาเกษตร โดยส่งเสริมระบบเกษตรแปลงใหญ่ จํานวน 3,023 แปลง และ 201,000 ไร่ เพื่อลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลผลิตต่อหน่วย บริหารจัดการการผลิตสินค้าเกษตรตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri-Map) จํานวน 71,540 ไร่ ส่งเสริมการวิจัยพัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น พัฒนาศักยภาพกระบวนการผลิตและปรับเปลี่ยนการผลิตให้เหมาะสมกับศักยภาพพื้นที่ ผลิตสินค้าเกษตรและอาหารเข้าสู่ระบบมาตรฐานความปลอดภัยด้วยการตรวจประเมินแหล่งผลิต ไม่น้อยกว่า 240,500 แห่ง ส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตรตามศักยภาพและความโดดเด่นเฉพาะ สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่และส่งเสริมการรวมกลุ่มเกษตรกร รวมทั้งส่งเสริมความเข้มแข็งเกษตรกรผ่านโครงการประกันรายได้สินค้าเกษตร โดยมีเกษตรกรได้รับประโยชน์ 7.92 ล้านครัวเรือน และส่งเสริมการใช้แพลตฟอร์มการตลาดดิจิทัลเพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้ให้กลุ่มเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน เพื่อเป็นภาคการผลิตที่สร้างรายได้และพัฒนาคุณภาพชีวิตให้เกษตรกรพึ่งพาตนเอง 3) การพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก งบประมาณ 11,086.9 ล้านบาท เพื่อส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พัฒนากิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ทันสมัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมีโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคที่มีประสิทธิภาพ เข้าถึงได้สะดวก และเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ เช่น ปรับปรุงทางรถไฟเข้าพื้นที่ท่าเรือจุกเสม็ด ก่อสร้างทางหลวงรองรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกระยะทาง 95 กิโลเมตร โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน รวมทั้งพัฒนาเมืองให้น่าอยู่ มีความทันสมัยระดับนานาชาติ เหมาะกับการอยู่อาศัยอย่างสะดวก ปลอดภัย สามารถประกอบกิจการได้อย่างมีคุณภาพ และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ เช่น พัฒนาผังเมืองและปรับปรุงภูมิทัศน์ ไม่น้อยกว่า 14 ผัง ก่อสร้างศูนย์การแพทย์ครบวงจร 2 แห่ง และก่อสร้างโรงพยาบาลศูนย์เฉพาะทาง 3 แห่ง ผลิตและพัฒนาบุคลากรให้มีสมรรถนะตรงตามความต้องการของผู้ประกอบการ เพื่อรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย ไม่น้อยกว่า 4,850 คน และการถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่และเกษตรอัจฉริยะใน 40 ชุมชน 4) การพัฒนาพื้นที่และเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ งบประมาณ 7,435.2 ล้านบาท เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยกระจายศูนย์กลางความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคมในทุกภูมิภาคของประเทศ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอํานวยความสะดวกและความปลอดภัย เพื่อยกระดับความน่าอยู่ของเมือง โดยใช้แผนผังภูมินิเวศเป็นกรอบในการพัฒนาเมืองน่าอยู่ ชนบทมั่นคง เกษตรยั่งยืน และอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ รวมถึง ผังพื้นที่อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ แหล่งโบราณคดี วัฒนธรรม ประเพณี และอัตลักษณ์ท้องถิ่น โดยสนับสนุนการวางผังเมือง 120 ผัง และจัดรูปที่ดิน 1,476 ไร่ 5) การสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว งบประมาณ 5,125.1 ล้านบาท เพื่อให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ มีเป้าหมายเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยว ไม่น้อยกว่า 2.4 ล้านล้านบาท โดยสนับสนุนการสร้างความหลากหลายด้านการท่องเที่ยว ให้สอดคล้องกับความต้องการของนักท่องเที่ยวกลุ่มคุณภาพ รักษาจุดเด่นด้านขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงาม เช่น การพัฒนาเส้นทางชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี 50 ชุมชน เพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ 10 แห่ง พัฒนาแหล่งธรณีวิทยาเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยว 9 แห่ง พัฒนาเมืองท่องเที่ยวเพื่อรองรับการจัดงานท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ 10 เมือง ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชื่อมโยงกลุ่มอาเซียนและงานสัมมนาระดับนานาชาติ รวมทั้งพัฒนาและยกระดับชุมชนเข้าสู่มาตรฐานการท่องเที่ยวไทย 50 ชุมชน และผลักดันให้ชุมชนเข้าสู่ตลาดอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 20 ชุมชน เพื่อประโยชน์ในการสร้างงาน สร้างอาชีพ และรายได้ให้กับคนในชุมชน พัฒนาสิ่งอํานวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมเชื่อมโยงไปยังภูมิภาค โดยก่อสร้างทางหลวงชนบทเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว ระยะทาง 231 กิโลเมตร รวมทั้งส่งเสริมการตลาดทั้งในและต่างประเทศ เช่น จัดกิจกรรมเจาะตลาดนักท่องเที่ยวกลุ่มคุณภาพ กลุ่มกีฬาและสุขภาพ 6) การพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ งบประมาณ 699.4 ล้านบาท เพื่อส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม สังคม สิ่งแวดล้อม และการศึกษา เพิ่มประสิทธิภาพของด่านศุลกากร 2 แห่ง ปรับปรุงและจัดทําข้อเสนอกฎหมายและกฎระเบียบใหม่ ประชาสัมพันธ์ให้นักลงทุนและผู้ประกอบการไทยและนานาชาติมาลงทุนในพื้นที่เป้าหมาย ได้แก่ ตาก มุกดาหาร สระแก้ว ตราด สงขลา หนองคาย เชียงราย นครพนม กาญจนบุรี และนราธิวาส เพิ่มประสิทธิภาพการบริการคนเข้าเมือง พัฒนาสาธารณสุขชายแดน ป้องกัน เฝ้าระวังและควบคุมโรคติดต่อ พัฒนาฝีมือแรงงาน การจัดระบบแรงงานต่างด้าวตลอดจนพัฒนาพื้นที่บริเวณชายแดนให้มีความพร้อมสําหรับรองรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมที่เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยนําเ ทคโนโลยี นวัตกรรม และดิจิทัลมาใช้อํานวยความสะดวกในการพัฒนาพื้นที่ 7) การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่เข้มแข็ง แข่งขันได้ งบประมาณ 2,721.4 ล้านบาท เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และผู้ประกอบการชุมชนมีความรู้และทักษะของการเป็นผู้ประกอบการที่มีอัตลักษณ์ชัดเจน มีนวัตกรรมในการผลิตสินค้าและบริการ สามารถปรับตัวสู่ธุรกิจใหม่ โดยเสริมสร้างศักยภาพวิสาหกิจในการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัล 22,000 คน 2,400 กิจการ ส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งทุน ตลอดจนการเข้าถึงแหล่งข้อมูลและองค์ความรู้ในการพัฒนาธุรกิจ สามารถขยายการค้าและการลงทุนไปต่างประเทศ ด้วยการส่งเสริมผู้ประกอบการให้มีช่องทางการค้าผ่าน e-commerce 25,800 คน รวมทั้งส่งเสริมการลงทุนที่เน้นการวิจัย พัฒนา และสร้างนวัตกรรม สร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน และสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดําเนินธุรกิจ โดยมีเป้าหมายให้ SME ไทยไม่น้อยกว่า 800,000 ราย สามารถเติบโตและแข่งขันได้ในระดับสากล 8) การพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต งบประมาณ 1,554.6 ล้านบาท เพื่อเพิ่มอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศสาขาอุตสาหกรรมและบริการ ร้อยละ 3.1 ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรมอาหารและอุตสาหกรรมชีวภาพ อุตสาหกรรมและบริการทางการแพทย์ อุตสาหกรรมและบริการดิจิทัล ข้อมูลปัญญาประดิษฐ์ หุ่นยนต์ระบบอัตโนมัติ และอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและยานยนต์สมัยใหม่ และอุตสาหกรรมด้านความมั่นคง โดยสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต เช่น การจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีต้นแบบที่มีความเป็นเลิศด้านการวิจัยและพัฒนายาตัวใหม่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการเป็นฐานการผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนที่สําคัญของโลก และรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมดิจิทัล รวมทั้งพัฒนาผู้ประกอบการอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคตในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน จํานวน 292 กิจการ และพัฒนาศักยภาพแรงงานและบุคลากร เพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพเชิงเศรษฐกิจ ตลอดจนพัฒนาต่อยอดความเข้มแข็งของอุตสาหกรรมและยกระดับไปสู่อุตสาหกรรมที่ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูง 9) การพัฒนาความมั่นคงทางพลังงาน งบประมาณ 1,226.1 ล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานทั้งระบบให้มีความมั่นคง สนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในทุกภาคส่วน รักษาอัตราการผลิตน้ํามันดิบและก๊าซธรรมชาติเหลวในประเทศไม่น้อยกว่า 140,000 บาร์เรลต่อวัน สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีเพื่อบริหารจัดการและผลิตพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน พลังงานทางเลือก กํากับดูแลกลไกตลาดพลังงานให้มีการแข่งขันที่เป็นธรรม 10) การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล งบประมาณ 988.1 ล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลในส่วนของโครงข่ายสื่อสารหลักและบรอดแบรนด์ความเร็วสูงให้ครอบคลุมทั่วประเทศ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลและบริการที่มีประสิทธิภาพอย่างเท่าเทียม ส่งเสริมการลงทุนและใช้ทรัพยากรโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลร่วมกัน ทั้งในและต่างประเทศ ในส่วนของภาคพื้นดิน เคเบิ้ลใต้น้ํา และระบบดาวเทียมสําหรับการเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านให้มีเพียงพอและมีระบบโครงข่ายสํารอง (Redundancy) ให้สามารถสื่อสารระหว่างประเทศได้อย่างต่อเนื่อง พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ตลอดจนจัดให้มีมาตรการเฝ้าระวังและรับมือภัยคุกคามไซเบอร์ที่ได้มาตรฐานสากล ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการกําหนดมาตรการและแนวปฏิบัติสําหรับผู้ให้บริการในการคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้รับบริการ ส่งเสริมการให้ความรู้ เพิ่มทักษะและใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีแก่ประชาชนและทุกสาขาอาชีพ สร้างความรู้การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล สื่อออนไลน์ โครงข่ายสังคมออนไลน์อย่างถูกต้องไม่น้อยกว่า 70,000 คน 11) การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม งบประมาณ 17,089.0 ล้านบาท เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้เจริญเติบโตอย่างยั่งยืน พร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วยการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม โดยมุ่งเน้นการเร่งรัดและผลักดันให้ภาครัฐและเอกชนนําผลการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมไปใช้ได้จริงอย่างเป็นรูปธรรม ส่งเสริมให้คนไทยมีสมรรถนะและทักษะสูงเพียงพอในการพลิกโฉมประเทศ เสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้วยเศรษฐกิจสร้างคุณค่าและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพิ่มความมั่นคงของเศรษฐกิจฐานรากเพื่อให้พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ตอบโจทย์ปัญหาท้าทายสังคม สร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ํา รวมทั้งการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ปรับตัวได้ทันต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลงของโลก 12) การพัฒนาศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม งบประมาณ 286.6 ล้านบาท เพื่อพัฒนากําลังคนและเสริมศักยภาพของสถาบันวิจัยและสถาบันอุดมศึกษา ให้เป็นฐานในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศแบบก้าวกระโดดและอย่างยั่งยืน โดยใช้วิทยาศาสตร์ วิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรม 13) การสนับสนุนด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน งบประมาณ 23,775.5 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนเป้าหมายยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืน โดยการยกระดับศักยภาพของประเทศในหลากหลายมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ อัตลักษณ์ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการและลดต้นทุนการผลิต สนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุน พัฒนาช่องทางการตลาดและขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้าระหว่างประเทศ รวมทั้งขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุนในเวทีโลก ควบคู่ไปกับการยกระดับรายได้และการกินดีอยู่ดี 14) การดําเนินงานภารกิจพื้นฐาน งบประมาณ 71,873.9 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายบุคลากรภาครัฐ งบประมาณ 41,987.2 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขันสอดรับกับบริบทของเศรษฐกิจและสังคมโลกสมัยใหม่ และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศในมิติต่าง ๆ ยุทธศาสตร์ที่ 3 : ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณรายจ่าย จํานวน 549,514.0 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 17.2 ของวงเงินงบประมาณ เพื่อให้ประชาชนทุกช่วงวัยมีความรู้ คุณธรรม จิตสาธารณะ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี ได้รับการศึกษาและการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลง สามารถเข้าถึงระบบสาธารณสุขที่ได้มาตรฐานและทั่วถึง รวมทั้งเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น พัฒนาศักยภาพทางการกีฬา และพัฒนาทักษะแรงงานรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมายและวางรากฐานเศรษฐกิจในอนาคต จําแนกตามแผนงาน ดังนี้ 1) การเสริมสร้างให้คนมีสุขภาวะที่ดี งบประมาณ 51,883.9 ล้านบาท เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาวะที่ดี สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขที่ได้มาตรฐานและทั่วถึง พร้อมรับมือสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้ํา ส่งเสริมระบบบริหารจัดการด้านสุขภาพ การแพทย์แผนไทย การแพทย์ผสมผสาน การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค สนับสนุนกลไกการปฏิบัติหน้าที่ของ อสม. หมอประจําบ้าน ไม่น้อยกว่า 1.039 ล้านคน เพื่อให้ประชาชนและชุมชนสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างถูกต้องและยั่งยืน ส่งเสริมและพัฒนาสมุนไพรไทย กัญชา กัญชง เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ และให้ประชาชนเข้าถึงการใช้ประโยชน์อย่างปลอดภัย เร่งรัดการผลิตแพทย์ พยาบาล และบุคลากรด้านสาธารณสุข ไม่น้อยกว่า 38,400 คน และกระจายแพทย์ไปสู่ชนบทไม่น้อยกว่า 7,490 คน พัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินครบวงจรและระบบการส่งต่อ พร้อมทั้งสนับสนุนการเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์และสุขภาพมูลค่าสูง 2) การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต งบประมาณ 31,699.5 ล้านบาท เพื่อให้คนไทยทุกช่วงวัยได้รับการพัฒนาอย่างสมดุล ทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา คุณธรรม และจริยธรรม โดยมุ่งเน้นให้เด็กและเยาวชนมีพัฒนาการและทักษะที่เหมาะสมตามช่วงวัย ด้วยการสนับสนุนอาหารเสริม (นม) ไม่น้อยกว่า 1.47 ล้านคน อาหารกลางวัน ไม่น้อยกว่า 487,800 คน ส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต พัฒนาทักษะและสมรรถนะแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการของอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยแรงงานได้รับการฝึกฝีมือ ไม่น้อยกว่า 75,300 คน รวมทั้ง ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรม พัฒนาทักษะอาชีพให้เป็นผู้สูงอายุ ที่มีศักยภาพ สามารถประกอบอาชีพและพึ่งพาตนเองได้ 3) การพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ งบประมาณ 19,871.4 ล้านบาท เพื่อให้คนไทยมีการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล โดยพัฒนารูปแบบการศึกษาและการเรียนรู้ให้ตอบสนอง ต่อนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 พัฒนาศักยภาพครูให้มีสมรรถนะของครูยุคใหม่ 64,300 คน ขยายโอกาสการศึกษาวิชาชีพและยกระดับการผลิตและพัฒนากําลังคนให้ตอบสนองความต้องการของประเทศ 36,000 คน เชื่อมโยงการศึกษากับภาคธุรกิจโดยพัฒนาครูผู้สอนระบบทวิภาคี 12,000 คน ส่งเสริมการเรียนภาษาคอมพิวเตอร์ (Coding) สําหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา ไม่น้อยกว่า 678,500 คน พัฒนาโรงเรียนคุณภาพทุกตําบล ไม่น้อยกว่า 8,200 โรงเรียน สนับสนุนการคืนครูให้นักเรียนทุกกลุ่มเป้าหมาย ไม่น้อยกว่า 63,000 คน ตลอดจนพัฒนากําลังคนด้านวิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยสนับสนุนทุนการศึกษาให้กับนักเรียน นักศึกษาและครูเพื่อพัฒนาให้เป็นผู้มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ไม่น้อยกว่า 1,800 คน 4)การเสริมสร้างศักยภาพการกีฬา งบประมาณ 1,934.3 ล้านบาท เพื่อให้คนไทยมีสุขภาพแข็งแรง มีวินัย มีน้ําใจนักกีฬา และตระหนักถึงประโยชน์ของการออกกําลังกายและการเล่นกีฬา โดยส่งเสริมการออกกําลังกาย การเล่นกีฬาและกิจกรรมนันทนาการของประชาชนทุกกลุ่มทุกวัย ไม่น้อยกว่า 23 ล้านคน พัฒนาบุคลากรด้านพลศึกษา กีฬา นันทนาการ วิทยาศาสตร์การกีฬา ให้มีความสามารถและทักษะความเป็นเลิศด้านกีฬา สนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน อุปกรณ์ สถานที่และสิ่งอํานวยความสะดวกด้านการออกกําลังกาย การกีฬาและนันทนาการ รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนานักกีฬาของชาติตั้งแต่ระดับเยาวชนเพื่อพัฒนาสู่ความเป็นเลิศด้านกีฬาอาชีพ ไม่น้อยกว่า 30,000 คน 5) การปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรม งบประมาณ 2,472.3 ล้านบาท เพื่อให้คนไทยมีคุณธรรม จริยธรรม มีความภูมิใจและรักในความเป็นไทย รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น ไม่น้อยกว่า 19 ล้านคน และอนุรักษ์มรดกศิลปวัฒนธรรม ไม่น้อยกว่า 590,000 รายการ พัฒนาสืบสานมรดกทางศิลปะ วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งน้อมนําหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดํารงชีวิตเพื่อให้สังคมไทยมีความสุข และนําไปสู่การเสริมสร้างภาพลักษณ์ความเป็นไทยสู่สากลให้เป็นที่ยกย่องและยอมรับของนานาชาติ 6) การสนับสนุนด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ งบประมาณ 2,650.2 ล้านบาท เพื่อพัฒนาคนไทยทุกช่วงวัย และส่งเสริมผู้เรียนทุกกลุ่มให้ได้รับการพัฒนาความรู้ ทักษะ มีความเป็นเลิศทางวิชาการ พัฒนาเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบฐานข้อมูลทางการศึกษา รวมพัฒนาทักษะแรงงานให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลก อย่างน้อย 23,000 คน และให้ประชาชน ทุกกลุ่มมีโอกาสได้เรียนรู้และฝึกอาชีพจากโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน ไม่น้อยกว่า 400,000 คน เพื่อให้เกิดการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง 7) การดําเนินงานภารกิจพื้นฐาน งบประมาณ 35,057.3 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายบุคลากรภาครัฐ งบประมาณ 403,945.1 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ยกระดับการศึกษาและการเรียนรู้ที่มีคุณภาพและทั่วถึง รวมทั้ง วัยแรงงานได้รับการพัฒนาศักยภาพให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน ยุทธศาสตร์ที่ 4 : ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม รัฐบาลจัดสรรงบประมาณ จํานวน 759,861.3 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 23.9 ของวงเงินงบประมาณ เพื่อให้คนไทยได้รับสวัสดิการพื้นฐานอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม สร้างโอกาสและลดความเหลื่อมล้ําของสังคม สร้างหลักประกันทางสังคมให้คนไทยสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพและการศึกษาที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน รวมทั้งสร้างหลักประกันสวัสดิการสําหรับแรงงานทั้งในระบบและนอกระบบ และสนับสนุนการเตรียมความพร้อมสังคมไทยในการรองรับสังคมสูงวัย จําแนกตามแผนงาน ดังนี้ 1) การสร้างหลักประกันทางสังคม งบประมาณ 269,465.2 ล้านบาท เพื่อให้ประชาชนทุกคนโดยเฉพาะกลุ่มด้อยโอกาสและกลุ่มเปราะบางได้รับการคุ้มครอง มีหลักประกันทางสังคมและสวัสดิการที่เหมาะสมและเป็นธรรม ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขภายใต้ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า ไม่น้อยกว่า 47.7 ล้านคน เพิ่มค่าใช้จ่ายรายหัวและสิทธิประโยชน์ อาทิ การตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง โรคหัวใจ วัณโรค การผ่าตัดรากฟันเทียมในผู้สูงอายุ การให้ยาป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีหลังการสัมผัสและการเสริมสร้างสุขภาพและป้องกันโรค รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพด้านการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อดูแลประชาชน ให้ได้รับความเป็นธรรมในราคาสินค้าและบริการอย่างเหมาะสม ส่งเสริมการสร้างหลักประกันสังคมและสวัสดิการสําหรับแรงงานในระบบและนอกระบบ ให้สามารถเข้าถึงระบบประกันสังคมอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม ครอบคลุมผู้ประกันตนสําหรับแรงงานในระบบและนอกระบบ เป้าหมาย 24.3 ล้านคน รวมถึงสร้างความปลอดภัยและอนามัยสุขภาพในการทํางานให้เหมาะสม ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพคนไร้ที่พึ่งและคนขอทานได้รับการคุ้มครองช่วยเหลือที่ครอบคลุมและทั่วถึง จํานวน 98,930 คน 2)การสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา งบประมาณ 81,269.0 ล้านบาท เพื่อสร้างโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีคุณภาพและมีมาตรฐานทั้งในระบบและนอกระบบ โดยสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 9.68 ล้านคน เพื่อลดความเหลื่อมล้ําด้านการศึกษาในสังคมไทย ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียมและทั่วถึงและมีคุณภาพตามมาตรฐานโดยใช้เทคโนโลยีทางไกลผ่านดาวเทียม ไม่น้อยกว่า 7,900 แห่ง ตลอดจนสร้างโอกาสและลดความเหลื่อมล้ําทางการศึกษาในพื้นที่ 2,000 โรงเรียน รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาเพื่อช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาส ไม่น้อยกว่า 2.68 ล้านคน ให้ได้รับโอกาสทางการศึกษาหรือการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพให้เหมาะสมสอดคล้องกับความจําเป็นรายบุคคล ควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของหน่วยจัดการเรียนรู้ทั้งในระบบและนอกระบบหรือกลไกความร่วมมือในพื้นที่ รวมทั้งเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพ และสนับสนุนทุนเพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาระดับอุดมศึกษา และสายอาชีพ จํานวน 10,700 คน 3) การส่งเสริมการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น งบประมาณ 304,356.1 ล้านบาท เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณะจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ สนับสนุนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้แก่นักเรียนโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่น้อยกว่า 1.019 ล้านคน สนับสนุนอาหารเสริม (นม) และอาหารกลางวันให้เด็กวัยเรียน ไม่น้อยกว่า 5.04 ล้านคน สนับสนุนเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไม่น้อยกว่า 11.03 ล้านคน เบี้ยยังชีพคนพิการไม่น้อยกว่า 2.09 ล้านคน เตรียมความพร้อมในการถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล (รพ.สต.) ให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด รวมทั้งส่งเสริมให้คนในท้องถิ่นสามารถพัฒนาบทบาทในการจัดการท้องถิ่นของตนเอง และเสริมสร้างความมั่นคงและเข้มแข็งให้แก่ชุมชนและประเทศ 4) การส่งเสริมการพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ งบประมาณ 21,727.7 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนการดําเนินการแบบบูรณาการครอบคลุมทุกมิติการพัฒนาของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ที่มีความสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาของประเทศ โดยให้ความสําคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการและแก้ไขปัญหาในพื้นที่ผ่านโครงการภายใต้แผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด แผนปฏิบัติราชการประจําปีของจังหวัด แผนปฏิบัติราชการประจําปีของกลุ่มจังหวัด ที่มีความสอดคล้องกับศักยภาพ โอกาส สภาพปัญหาและความต้องการของประชาชนในพื้นที่ โดยบูรณาการร่วมกันทุกภาคส่วน ได้แก่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานของรัฐ ภาคเอกชน และประชาชน เชื่อมโยงยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไปสู่การขับเคลื่อนในระดับพื้นที่ ครอบคลุมทุกมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 5) การพัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก งบประมาณ 1,474.3 ล้านบาท เพื่อเพิ่มศักยภาพและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากให้สามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้น และกระจายรายได้สู่ชุมชน ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ําของรายได้ประชาชน พัฒนาและสร้างโอกาสให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีอาชีพไม่น้อยกว่า 110,000 ราย สนับสนุนเกษตรกรรุ่นใหม่ไปสู่เกษตรกรปราดเปรื่อง และให้เกษตรกรได้รับสิทธิ ในที่ดินทํากินไม่น้อยกว่า 20,000 ราย สนับสนุนศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ส่งเสริมและสร้างทักษะในการประกอบอาชีพทั้งในและนอกภาคเกษตร สนับสนุนการปลูกไม้มีค่าเป็นพืชเศรษฐกิจ พัฒนาผลิตภัณฑ์และการให้บริการชุมชน โดยพัฒนาความเข้มแข็งของสถาบันเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน รวมทั้งพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการชุมชน ไม่น้อยกว่า 3,500 ราย ส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตรในชุมชน พัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน สนับสนุนการพัฒนากลไกการตลาดและระบบการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มรายได้จากการจําหน่ายสินค้าชุมชนโดยพัฒนาศักยภาพการดําเนินธุรกิจของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน ส่งเสริมช่องทางการตลาดสินค้าชุมชนให้ครอบคลุมทุกช่องทาง รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนากลไกและโครงสร้างดูดซับมูลค่าทางเศรษฐกิจและการกระจายรายได้กลับสู่ท้องถิ่น 6) มาตรการแบบเจาะจงกลุ่มเป้าหมายเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะกลุ่ม งบประมาณ 24,026.1 ล้านบาท เพื่อให้มีระบบและกลไกช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ โดยสนับสนุนและจัดหาโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสมให้ประชากรกลุ่มต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการพิสูจน์สิทธิของบุคคลในเขตที่ดินของรัฐที่มีข้อพิพาทให้ยุติ 1,300 แปลง การช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษโดยเฉพาะกลุ่มเด็ก เยาวชน สตรี คนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาสทางสังคม เพื่อให้สามารถเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐานของรัฐและโอกาสทางสังคมได้อย่างเท่าเทียม สร้างความเชื่อมั่นและเพิ่มคุณภาพการให้บริการสาธารณะให้มีความปลอดภัย ยกระดับการคุ้มครองทางสังคม โดยสนับสนุนเบี้ยเด็กแรกเกิดถึง 6 ปี ไม่น้อยกว่า 2.5 ล้านคน สนับสนุนการจัดการศพผู้สูงอายุตามประเพณี 106,355 ราย สนับสนุนการสร้างที่อยู่อาศัยบ้านมั่นคง 3,750 ครัวเรือน บ้านพอเพียง 25,000 ครัวเรือน พัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนริมคลองเปรมประชากร 100 ครัวเรือน รวมทั้งผู้มีรายได้น้อยสามารถเข้าถึงแหล่งสินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง ส่งเสริมการจัดสิ่งอํานวยความสะดวกและบริการสาธารณะสําหรับคนพิการ 20,000 คน ช่วยเหลือคุ้มครองผู้ประสบปัญหาทางสังคม พัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนกลุ่มเป้าหมายพิเศษในพื้นที่ 24,960 คน จัดหาอาคารเช่าสําหรับผู้มีรายได้น้อย ไม่น้อยกว่า 1,087 หน่วย 7) การเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมสูงวัย งบประมาณ 448.7 ล้านบาท เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับประชาชนก่อนเข้าสู่สังคมสูงวัย โดยประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร เผยแพร่ความรู้ความเข้าใจให้ประชากรอายุ 25-59 ปี ไม่น้อยกว่า 8.5 ล้านคน เพื่อสร้างความรู้ด้านสุขภาวะและเสริมสร้างทักษะให้กลุ่มเป้าหมายพร้อมเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างมีคุณภาพ รวมทั้งยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุให้ดีขึ้นในด้านต่าง ๆ ประกอบไปด้วย ด้านเศรษฐกิจ ผู้สูงอายุได้รับการเสริมสร้างทักษะอาชีพเพื่อให้ผู้สูงอายุมีงานทํา และมีรายได้ จํานวน 12,000 คน ด้านสังคม ยกระดับความคุ้มครองทางสังคม เพื่อให้ผู้สูงอายุที่อยู่ตามลําพังและที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง ให้เกิดความยั่งยืนและส่งเสริมท้องถิ่นให้คุ้มครอง พิทักษ์สิทธิผู้สูงอายุ โดยอบรมและพัฒนาทักษะผู้สูงอายุให้รู้เท่าทันภัยไซเบอร์ ไม่น้อยกว่า 1,430 คน ด้านสภาพแวดล้อม ปรับปรุงที่อยู่อาศัยและสถานที่สาธารณะให้เหมาะสมสําหรับผู้สูงอายุ 10,006 แห่ง ด้านสุขภาพ พัฒนาการดูแลสุขภาพ การเข้าถึงบริการสุขภาพ อย่างเหมาะสม จํานวน 3.35 ล้านคน โดยให้ความสําคัญกับการดูแลรักษากลุ่มอาการหรือโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะเปราะบาง และการให้บริการด้านทันตกรรมสําหรับผู้สูงอายุ 8) การเสริมสร้างพลังทางสังคม งบประมาณ 7,949.7 ล้านบาท เพื่อส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการสร้างพลังในชุมชนให้เกิดเป็นพลังทางสังคม สนับสนุนบทบาทและพัฒนาศักยภาพองค์การสวัสดิการสังคม อาสาสมัคร เครือข่าย และภาคประชาชน พัฒนากลไกและระบบสนับสนุนการบริหารจัดการเครือข่ายในระดับจังหวัด อําเภอ ตําบล และชุมชน ส่งเสริมและพัฒนาให้เกิดวิสาหกิจเพื่อสังคม พัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการชุมชนให้มีการสร้างงาน สร้างรายได้และพึ่งตนเองได้ ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพเกษตรกรในพื้นที่โครงการหลวง และโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ ส่งเสริมศักยภาพบทบาทสตรีและสิทธิมนุษยชน ให้ทุกเพศสภาพเป็นพลังในการขับเคลื่อนการพัฒนาสังคม สนับสนุนการอนุรักษ์และฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมของแต่ละชุมชนโดยพัฒนาแหล่งเรียนรู้ทางการศึกษาด้านศิลปวัฒนธรรม นําองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม และน้อมนําแนวทางพระราชดําริสู่การปฏิบัติ เพื่อส่งเสริมทุนทางสังคมและวัฒนธรรมของท้องถิ่นให้สามารถนําไปต่อยอดพัฒนาสู่การเพิ่มคุณค่า และมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคม 9) การสนับสนุนด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม งบประมาณ 38,942.8 ล้านบาท เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้มีรายได้น้อยและเกษตรกร โดยพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 13.4 ล้านคน ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถเข้าถึงปัจจัยพื้นฐานที่จําเป็นต่อการดํารงชีพ รวมทั้งส่งเสริมการออมเพื่อเป็นหลักประกันการจ่ายบํานาญและประโยชน์ตอบแทนแก่สมาชิกเมื่อสิ้นสภาพ 2.92 ล้านคน ผ่านกองทุนการออมแห่งชาติ สมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรได้รับการช่วยเหลือด้านการลดดอกเบี้ยเพื่อการเกษตร ไม่น้อยกว่า 353,400 ราย ส่งเสริมความร่วมมือทางการค้าเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนและสนับสนุนการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากในแต่ละภูมิภาค ส่งเสริมกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ รวมทั้งสนับสนุนผู้มีรายได้น้อยให้เข้าถึงสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย 10) การดําเนินภารกิจพื้นฐาน งบประมาณ 1,906.4 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายบุคลากรภาครัฐ งบประมาณ 8,295.3 ล้านบาทเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม ให้ประชาชนได้รับโอกาสในการเข้าถึงการบริการสาธารณะอย่างเท่าเทียม เป็นธรรม และทั่วถึง รวมทั้งพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานในและนอกระบบ ยุทธศาสตร์ที่ 5 : ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รัฐบาลจัดสรรงบประมาณ จํานวน 122,964.9 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.9 ของวงเงินงบประมาณ เพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน สร้างการเติบโตบนสังคมเศรษฐกิจสีเขียว และบูรณาการความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จําแนกตามแผนงาน ดังนี้ 1) การบริหารจัดการทรัพยากรน้ํา งบประมาณ 54,121.9 ล้านบาท เพื่อให้ประเทศมีความมั่นคงด้านน้ําเพิ่มขึ้น มีการบริหารจัดการทรัพยากรน้ําอย่างเป็นระบบและยั่งยืน รวมทั้งช่วยเหลือและแก้ปัญหาภัยแล้ง โดยการจัดการน้ําอุปโภคบริโภคผ่านการจัดหาแหล่งน้ําสํารองเพื่อระบบประปา 49,381 ครัวเรือน สร้างความมั่นคงด้านน้ําทั้งภาคการผลิต ภาคเกษตร และอุตสาหกรรมให้มีต้นทุนน้ําใช้อย่างสมดุล และเพิ่มผลิตภาพการใช้น้ํา 158.27 ล้านลูกบาศก์เมตร มีพื้นที่รับประโยชน์จากแหล่งน้ําเพิ่มขึ้น 389,037 ไร่ การจัดการน้ําท่วมและบรรเทาสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ชุมชนและพื้นที่เศรษฐกิจ 336,882 ไร่ พัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการน้ําเสีย 333 แห่ง อนุรักษ์ฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ํา ป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูป่าต้นน้ํา 108,223 ไร่ และปลูกป่าฟื้นฟู 14,970 ไร่ 2) การสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน อนุรักษ์ ฟื้นฟู และป้องกันการทําลายทรัพยากรธรรมชาติ งบประมาณ 4,732.0 ล้านบาท เพื่อให้ความหลากหลายทางชีวภาพได้รับการอนุรักษ์และฟื้นฟู โดยพัฒนากลไกและมาตรการในการอนุรักษ์ ปกป้องคุ้มครอง ฟื้นฟูและใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน รักษาพื้นที่ป่าในความดูแล 98.36 ล้านไร่ ส่งเสริมการปลูกไม้เศรษฐกิจแบบครบวงจร 26,910 ไร่ จัดระเบียบการใช้ที่ดินด้วยการจัดทําแผนการจัดการทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ระดับพื้นที่ 3,000 หมู่บ้าน เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งการใช้ประโยชน์ทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ในพื้นที่เขตป่าสงวนแห่งชาติ 3) การจัดการผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ งบประมาณ 1,574.8 ล้านบาท เพื่อให้ประเทศสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและลดผลกระทบจากภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมีเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ไม่น้อยกว่า 56 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ด้วยการสร้างความร่วมมือของภาคีต่าง ๆ เสริมสร้างขีดความสามารถในการลดมลพิษและลดก๊าซเรือนกระจกจากภาคอุตสาหกรรม ส่งเสริมการลงทุนที่ใช้เทคโนโลยีคาร์บอนต่ํา รวมทั้งเพิ่มการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ป่าเพื่อพัฒนาประเทศมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ํา ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพระบบตรวจวัดและการแจ้งเตือนภัยสภาพอากาศ 4) การจัดการมลพิษและสิ่งแวดล้อม งบประมาณ 567.6 ล้านบาท เพื่อให้ประเทศมีการบริหารจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพและเอื้อต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน โดยแก้ไขปัญหาขยะ ทุกประเภทอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ป้องกัน แก้ไขและจัดการมลพิษจากแหล่งกําเนิด จัดการคุณภาพอากาศของแต่ละพื้นที่ให้อยู่ในเกณฑ์มาตฐานที่กําหนด และปริมาณน้ําเสียได้รับการบําบัดได้ ตามมาตรฐานน้ําทิ้งจากระบบบําบัดน้ําเสียชุมชน รวมถึงการส่งเสริมให้โรงพยาบาลมีการพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมได้ตามเกณฑ์ 5) การสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมเศรษฐกิจภาคทะเล งบประมาณ 189.7 ล้านบาท เพื่อให้ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้รับการปรับปรุง ฟื้นฟู และสร้างใหม่ โดยจัดการคุณภาพน้ําทะเล รักษาระบบนิเวศและสัตว์ทะเลหายากใกล้สูญพันธุ์ ตลอดจนคุ้มครอง อนุรักษ์ และฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง 3,148 กิโลเมตร 6) การยกระดับกระบวนทัศน์เพื่อกําหนดอนาคตประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม งบประมาณ 193.3 ล้านบาท เพื่อบริหารจัดการทรัพยากรดิน ส่งเสริมการผลิตและบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สร้างวินัยและการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะ สร้างความตระหนักรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพิ่มประสิทธิภาพการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม 7) การสนับสนุนด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม งบประมาณ 33,033.7 ล้านบาท เพื่ออนุรักษ์ รักษาและใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน สนับสนุนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ํา สนับสนุนการปฏิบัติการฝนหลวง บริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากร รวมทั้งเพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ําบาดาล 8) การดําเนินงานภารกิจพื้นฐาน งบประมาณ 10,111.9 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายบุคลากรภาครัฐ งบประมาณ 18,440.0 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยการบริหารจัดการน้ํา ทรัพยากรธรรมชาติ มลพิษและสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาแหล่งเรียนรู้และแหล่งอนุรักษ์พันธุ์พืช ยุทธศาสตร์ที่ 6 : ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ รัฐบาลจัดสรรงบประมาณรายจ่าย จํานวน 658,012.7 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 20.7 ของวงเงินงบประมาณ เพื่อให้ระบบการบริหารราชการมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มุ่งผลสัมฤทธิ์และผลประโยชน์ ต่อประชาชนส่วนรวม จําแนกตามแผนงาน ดังนี้ การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ งบประมาณ 498.0 ล้านบาท เพื่อลดปัญหาการทุจริตในสังคมไทย โดยมีเป้าหมายค่าดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index : CPI) อยู่ในอันดับ 1 ใน 53 และ/หรือได้คะแนนไม่ต่ํากว่า 51 คะแนน ผ่านการปลูกจิตสํานึกและสร้างค่านิยมให้ทุกภาคส่วนตระหนักรู้ในเรื่องความซื่อสัตย์สุจริต คุณธรรม จริยธรรม และใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารองค์กร ปรับปรุงกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดและเป็นธรรม รวมทั้งให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกัน ปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ เพื่อให้สังคมไทยมีภาพลักษณ์ความซื่อสัตย์สุจริตดีขึ้น ภาครัฐมีความโปร่งใสและตรวจสอบได้ ดิจิทัล งบประมาณ 2,356.0 ล้านบาท เพื่อพัฒนารูปแบบการให้บริการภาครัฐผ่านการนําเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้อย่างคุ้มค่า โดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง ด้วยการสนับสนุนการพัฒนาบริการภาครัฐที่มีคุณค่ารัฐบาลและปฏิบัติงานเทียบได้กับมาตรฐานสากล มีความสะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ โปร่งใสตรวจสอบได้ ลดภาระค่าใช้จ่าย ลดขั้นตอนการทํางาน ทันสมัยและทันต่อสถานการณ์ เชื่อมโยงหน่วยงานและระบบบริการภาครัฐทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของประชาชน ภาคธุรกิจ และผู้ใช้บริการ โดยพัฒนาระบบการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ จํานวน 10 ระบบ จัดทําแพลตฟอร์มกลางเพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจเชิงนโยบาย จํานวน 4 แพลตฟอร์ม รวมถึงพัฒนาแพลตฟอร์มการเรียนรู้สาธารณะออนไลน์ ตลอดจนปรับปรุงระบบการอนุมัติและอนุญาตของภาครัฐ พัฒนาระบบจัดเก็บและเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ ลดข้อจํากัดด้านกฎหมายและแก้ไขกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม ล้าสมัย หรือเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา เพื่อยกระดับการพัฒนาภาครัฐสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล การพัฒนาบริการประชาชนและการพัฒนาประสิทธิภาพภาครัฐ งบประมาณ 28,064.9 ล้านบาท เพื่อพัฒนาระบบอํานวยความสะดวกในการบริการภาครัฐให้สามารถติดต่อราชการได้โดยสะดวก รวดเร็ว โปร่งใส ลดค่าใช้จ่าย และตรวจสอบได้ รวมทั้งการบริหารจัดการการเงิน การคลัง โดยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ ขยายฐานภาษีและการปรับปรุงระบบภาษีที่เหมาะสมกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศ พัฒนาระบบการคลังล่วงหน้าระยะปานกลางและระยะยาว ปรับปรุงระบบงบประมาณให้เป็นกลไกที่มีประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติและแผนในระดับต่าง ๆ ให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการหนี้สาธารณะให้เกิดความยั่งยืนทางการคลังในระยะยาว พร้อมทั้งพัฒนาระบบการติดตามประเมินผลที่สะท้อนการบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติในทุกระดับ และปรับสมดุลภาครัฐโดยการปรับขนาดของภาครัฐให้เหมาะสมควบคู่ไปกับการเสริมสร้างประสิทธิภาพและคุณภาพภายใต้หลักระบบคุณธรรม การพัฒนากฎหมายและกระบวนการยุติธรรม งบประมาณ 10,225.5 ล้านบาท เพื่อพัฒนากฎหมายให้เหมาะสมกับบริบทต่าง ๆ สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนา ตลอดจนการบังคับใช้ กฎหมายให้เป็นไปด้วยความโปร่งใสและมีประสิทธิภาพ โดยมีการนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมด้วยความสะดวก รวดเร็ว เสมอภาค ทั่วถึงและเป็นธรรม การสนับสนุนด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ งบประมาณ 1,579.8 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนเป้าหมายยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และโปร่งใส ร่วมกันปลูกฝังค่านิยมความซื่อสัตย์สุจริต ความมัธยัสถ์ การสร้างจิตสํานึกในการปฏิเสธไม่ยอมรับการทุจริตประพฤติมิชอบ และกฎหมายต้องมีเท่าที่จําเป็น มีความทันสมัยและเป็นสากล มีประสิทธิภาพและนําไปสู่การลดความเหลื่อมล้ํา และเอื้อต่อการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้มีการบริหารที่มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติและอํานวยความยุติธรรมตามหลักนิติธรรม การดําเนินงานภารกิจพื้นฐาน งบประมาณ 432,256.5 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายบุคลากรภาครัฐ งบประมาณ 183,032.0 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐให้มีประสิทธิภาพ ประชาชนได้รับความสะดวก รวดเร็ว และเป็นธรรม รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณรายจ่ายไว้ จํานวน 402,518.0 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 12.6 ของวงเงินงบประมาณ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายรองรับเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นโดยมิได้คาดหมายสําหรับกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น การบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ ดังนี้ รายจ่ายงบกลางเพื่อรองรับกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น จํานวน 95,900 ล้านบาท เพื่อสํารองไว้เป็นค่าใช้จ่ายในการป้องกันหรือแก้ไขสถานการณ์อันกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ความมั่นคงของรัฐ การเยียวยาหรือบรรเทาความเสียหายจากภัยพิบัติสาธารณะร้ายแรง ภารกิจที่เป็นความจําเป็นเร่งด่วนของรัฐ และการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รวมทั้งชดเชยค่างานสิ่งก่อสร้างเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ การบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ จํานวน 306,618.0 ล้านบาท เพื่อชําระคืนต้นเงินกู้ จํานวน 100,000 ล้านบาท ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม จํานวน 206,618.0 ล้านบาท เป็นการสนับสนุนการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐให้เกิดเสถียรภาพทางการคลังและการเงินรวมทั้งการรักษาวินัยทางการคลัง สําหรับเอกสารประกอบได้มีการจัดทําให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 มาตรา 10 และมาตรา 11 ดังนี้ 1. คําแถลงประกอบงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 2. รายรับรายจ่ายเปรียบเทียบระหว่างปีที่ล่วงมาแล้ว ปีปัจจุบันและปีที่ขอตั้งงบประมาณรายจ่าย แสดงไว้ในเอกสารงบประมาณ ฉบับที่ 1 (เล่มคาดส้ม) 3. คําอธิบายเกี่ยวกับประมาณการรายรับและวิธีหาเงินส่วนที่ขาดดุล แสดงไว้ในเอกสารงบประมาณ ฉบับที่ 2 (เล่มคาดเขียว) 4. คําชี้แจงเกี่ยวกับงบประมาณรายจ่ายที่ขอตั้ง ซึ่งรวมถึงการแสดงผลสัมฤทธิ์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการใช้จ่ายงบประมาณและความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แสดงไว้ในเอกสารงบประมาณ ฉบับที่ 3 (เล่มคาดแดง) และฉบับที่ 4 (เล่มคาดเหลือง) 5. รายงานเกี่ยวกับสถานะทางการเงินโดยรวมของรัฐวิสาหกิจ แสดงไว้ในเอกสารงบประมาณ ฉบับที่ 5 (เล่มคาดม่วง) 6. รายงานเกี่ยวกับสถานะเงินนอกงบประมาณและแผนการใช้จ่ายเงินนอกงบประมาณ โดยรวมของหน่วยรับงบประมาณ แสดงไว้ในเอกสารงบประมาณ ฉบับที่ 7 (เล่มคาดชมพู) 7. คําอธิบายเกี่ยวกับหนี้ของรัฐบาลทั้งที่มีอยู่แล้วในปัจจุบันและหนี้ที่เสนอเพิ่มเติม แสดงไว้ในเอกสารงบประมาณ ฉบับที่ 5 (เล่มคาดม่วง) 8. ผลการดําเนินงานและการใช้จ่ายงบประมาณของปีงบประมาณที่ล่วงมาแล้ว แสดงไว้ในเอกสารงบประมาณ ฉบับที่ 6 (เล่มคาดน้ําเงิน) 9. ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ------------------
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-คำแถลงประกอบงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แถลงต่อสภาผู้แทนราษฎร วันพุธที่ 1 มิถุนายน 2565 คําแถลงประกอบงบประมาณรายจ่าย ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แถลงต่อสภาผู้แทนราษฎร คําแถลงประกอบงบประมาณรายจ่าย ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แถลงต่อสภาผู้แทนราษฎร วันที่ 31 พฤษภาคม 2565 คณะรัฐมนตรีขอเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยมีหลักการและเหตุผล ดังนี้ หลักการ ตั้งงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เป็นจํานวนไม่เกิน 3,185,000,000,000 บาท สําหรับเป็นค่าใช้จ่ายของหน่วยรับงบประมาณ เป็นจํานวน 3,185,000,000,000 บาท เหตุผล เพื่อให้หน่วยรับงบประมาณได้มีกรอบวงเงินงบประมาณสําหรับใช้จ่ายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ที่รัฐบาลนําเสนอต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นการดําเนินงานต่อเนื่องจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดยใช้งบประมาณเป็นเครื่องมือสําคัญในการขับเคลื่อนประเทศตามแนวทางการพัฒนาของยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติและแผนย่อย (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (ร่าง) นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) และนโยบายรัฐบาล ให้บรรลุเป้าหมายตามที่กําหนดไว้อย่างเป็นรูปธรรม เกิดผลสัมฤทธิ์และประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน โดยรัฐบาลได้ดําเนินการให้สอดคล้องกับสภาวะทางเศรษฐกิจภายในประเทศและภายนอกประเทศ รวมทั้งสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ภาวะเศรษฐกิจทั่วไป ตามแถลงภาวะเศรษฐกิจของสํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ณ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565 เศรษฐกิจไทยในปี 2565 คาดว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 3.5 – 4.5 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศจากการผ่อนคลายลงของผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 การปรับตัวดีขึ้นของภาคการท่องเที่ยวภายใต้มาตรการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ และการส่งออกสินค้าที่ขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดีตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อจํากัดและปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2565 ได้แก่ ผลกระทบของสถานการณ์ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ เงื่อนไขด้านฐานะการเงินของภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ การกลายพันธุ์และการระบาดของเชื้อไวรัส และความผันผวนของระบบเศรษฐกิจและการเงินโลก โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ในช่วงร้อยละ 1.5 – 2.5 ทั้งนี้ ข้อมูลล่าสุด สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แถลงภาวะเศรษฐกิจไทย ไตรมาสแรกของปี 2565 และแนวโน้มปี 2565 เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2565 โดยอัตราการขยายตัวของ GDP ปี 2565 อยู่ในช่วงร้อยละ 2.5 - 3.5 และอัตราเงินเฟ้ออยู่ในช่วงร้อยละ 4.2 - 5.2 เศรษฐกิจไทยในปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 3.2 – 4.2 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของอุปสงค์ภายในประเทศ การขยายตัวของภาคการท่องเที่ยวที่คาดว่าจะมีแนวโน้มกลับมาฟื้นตัวชัดเจนมากขึ้น การส่งออกสินค้ามีแนวโน้มขยายตัวในเกณฑ์ดี ในขณะที่ยังมีข้อจํากัดและปัจจัยเสี่ยงจากความผันผวนของระบบเศรษฐกิจและการเงินโลก การกลายพันธุ์และการระบาดของไวรัส รวมทั้งการลดลงของแรงขับเคลื่อนทางการคลัง โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ในช่วงร้อยละ 0.5 – 1.5 นโยบายการคลังและความสัมพันธ์ระหว่างรายรับและงบประมาณรายจ่ายที่ขอตั้ง ภายใต้สภาวการณ์ทางเศรษฐกิจดังกล่าว รัฐบาลจึงมีความจําเป็นต้องดําเนินนโยบายการคลังแบบขยายตัวผ่านการจัดทํางบประมาณขาดดุล เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 คาดว่ารายได้จะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เริ่มคลี่คลาย และการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรค โดยประมาณการว่าจะจัดเก็บรายได้จากภาษีอากร การขายสิ่งของและบริการ รัฐพาณิชย์ และรายได้อื่น รวมสุทธิจํานวน 2,614,100 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 จากปีก่อน และหักการจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จํานวน 124,100 ล้านบาท คงเหลือเป็นรายได้สุทธิที่สามารถนํามาจัดสรรเป็นรายจ่ายของรัฐบาล จํานวน 2,490,000 ล้านบาท สําหรับงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เพื่อให้หน่วยรับงบประมาณมีวงเงินงบประมาณสําหรับใช้จ่ายในการดําเนินภารกิจตามยุทธศาสตร์ชาติ แผนในระดับต่าง ๆ นโยบายรัฐบาลและหน้าที่ ความรับผิดชอบ อย่างเหมาะสม เพียงพอ จึงกําหนดวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จํานวน 3,185,000 ล้านบาท การดําเนินนโยบายการคลังในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จึงเป็นการดําเนินนโยบายงบประมาณแบบขาดดุล โดยกําหนดรายได้สุทธิ จํานวน 2,490,000 ล้านบาท และเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จํานวน 695,000 ล้านบาท รวมเป็นรายรับ จํานวน 3,185,000 ล้านบาท เท่ากับวงเงินงบประมาณรายจ่าย ฐานะการคลัง หนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 มีนาคม 2565 มีจํานวน 9,951,962.7 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 60.6 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบการบริหารหนี้สาธารณะ ตามกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ ที่กําหนดไว้ที่ร้อยละ 70 โดยหนี้สาธารณะที่เป็นข้อผูกพันของรัฐบาล ซึ่งเกิดจากการกู้ยืมเงินโดยตรงและการค้ําประกันเงินกู้โดยรัฐบาล มีจํานวน 9,478,592.1 ล้านบาท ฐานะเงินคงคลัง ณ วันที่ 30 เมษายน 2565 มีจํานวน 398,830.7 ล้านบาท โดยรัฐบาลจะบริหารเงินคงคลังให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และบริหารรายรับและรายจ่ายของรัฐบาลให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด ฐานะและนโยบายการเงิน การดําเนินนโยบายการเงินในช่วงที่ผ่านมายังคงผ่อนคลายเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยให้มีความต่อเนื่อง อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2565 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเกินกรอบเป้าหมายจากราคาพลังงานและราคาอาหารที่ปรับสูงขึ้นมาก และจะปรับลดลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปและกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงต้นปี 2566 จากราคาพลังงานและอาหารที่คาดว่าจะไม่ปรับเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องเช่นในปี 2565 รวมทั้งปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบและสินค้าโภคภัณฑ์โลกที่จะบรรเทาลง ในขณะที่แรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปสงค์ยังอยู่ในระดับต่ํา ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อในระยะยาวยังคงอยู่ในกรอบเป้าหมาย สําหรับด้านระบบการเงินโดยรวมมีเสถียรภาพ แต่ภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนมีความเปราะบางขึ้นในบางกลุ่มจากปัญหาค่าครองชีพและต้นทุนที่มีการปรับเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มที่รายได้ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่และมีภาระหนี้ที่อยู่ในระดับสูง คณะกรรมการนโยบายการเงินจึงมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่องที่ร้อยละ 0.50 ในการประชุมเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม 2565 เพื่อให้ภาวะการเงินโดยรวมยังคงผ่อนคลาย และสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง สําหรับฐานะการเงินด้านต่างประเทศของไทยในปัจจุบันอยู่ในเกณฑ์ดี มูลค่าเงินสํารองระหว่างประเทศ ณ วันที่ 22 เมษายน 2565 มีจํานวน 233,926.75 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นประมาณ 3.15 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง นโยบายการจัดทํางบประมาณ ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จัดทําขึ้นโดยมีเป้าหมายให้ประเทศได้รับการพัฒนาและฟื้นฟูจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรมนุษย์ ความมั่นคง และสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพตลอดช่วงชีวิต มีหลักประกันและความคุ้มครองทางเศรษฐกิจและสังคม กลุ่มเปราะบางและผู้ด้อยโอกาส อาทิ ผู้สูงวัย ผู้พิการ และเด็ก ได้รับการดูแลและช่วยเหลือจากสวัสดิการภาครัฐอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม เศรษฐกิจมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และกระจายประโยชน์สู่ประชาชนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มฐานรากให้มีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ สามารถยกระดับความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น หลุดพ้นจากปัญหาความยากจน และสามารถพึ่งพาตนเองได้ เพื่อลดภาระทางการคลังและสนับสนุนให้เศรษฐกิจในภาพรวม มีความเข้มแข็งและเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ โดยการจัดทําร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว รัฐบาลได้ดําเนินการให้เป็นไปตามกรอบของพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 และสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ ในปัจจุบัน โดยได้กําหนดแนวทางการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ที่สําคัญ ดังนี้ 1. ดําเนินการให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติและแผนย่อย (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (ร่าง) นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) นโยบายของรัฐบาล เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน แผนปฏิบัติราชการของกระทรวง การน้อมนําหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการจัดสรรงบประมาณ โดยมุ่งให้ความสําคัญกับประเด็นการพัฒนาที่ต้องเร่งดําเนินการ เพื่อให้บรรลุ 13 หมุดหมายตาม (ร่าง) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 และโครงการสําคัญประจําปี 2566 ที่ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ จํานวน 406 โครงการ ที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2564 2. ให้ความสําคัญกับการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบพุ่งเป้า โดยใช้งบประมาณของหน่วยรับงบประมาณทั้งในส่วนของแผนงานยุทธศาสตร์ แผนงานพื้นฐาน และแผนงานบูรณาการ โดยมีเป้าหมายเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนให้เกิดผลสําเร็จได้อย่างเป็นรูปธรรม และการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตามข้อตกลงการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (COP 26) รวมทั้งให้ความสําคัญกับการมีส่วนร่วมและความต้องการของประชาชนในพื้นที่ การจัดสวัสดิการที่จําเป็นสําหรับประชาชนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางทางสังคมและผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตลอดจนมีการกระจายงบประมาณอย่างเป็นธรรม ไม่ซ้ําซ้อน และเกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุดต่อประชาชน 3. ส่งเสริมการกระจายอํานาจให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพิ่มศักยภาพการถ่ายโอนภารกิจการจัดบริการสาธารณะ ลดความเหลื่อมล้ํา รวมทั้งการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้และประสิทธิผล การใช้จ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4. จัดทํางบประมาณให้ครอบคลุมทุกแหล่งเงิน โดยให้หน่วยรับงบประมาณพิจารณานําเงินนอกงบประมาณหรือเงินสะสมคงเหลือมาใช้ดําเนินภารกิจของหน่วยรับงบประมาณเป็นลําดับแรก รวมทั้งต้องพิจารณาแหล่งเงินอื่นในการดําเนินโครงการลงทุน เช่น การร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (Public Private Partnership : PPP) กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย (Thailand Future Fund : TFF) เพื่อเป็นการลดภาระงบประมาณ และทําให้การใช้ทรัพยากรของประเทศเกิดประสิทธิภาพสูงสุด 5. ดําเนินการให้เป็นไปตามบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 รวมทั้งกฎหมาย ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง สาระสําคัญของงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มีวงเงินงบประมาณ จํานวน 3,185,000 ล้านบาท จําแนกเป็นรายจ่ายประจํา จํานวน 2,396,942.2 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 75.26 รายจ่ายลงทุน จํานวน 695,077.4 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 21.82 และรายจ่ายชําระคืนต้นเงินกู้ จํานวน 100,000 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.14 ทั้งนี้รายจ่ายชําระคืนต้นเงินกู้เป็นรายจ่ายลงทุนกรณีการกู้เพื่อการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ จํานวน 7,019.6 ล้านบาท ซึ่งการดําเนินการดังกล่าวอยู่ภายในกรอบวินัยการเงินการคลัง โดยมีสาระสําคัญ ดังนี้ งบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จําแนกตามกลุ่มงบประมาณรายจ่าย 1.1 งบประมาณรายจ่ายงบกลาง จํานวน 590,470.0 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 18.6 ของวงเงินงบประมาณ 1.2 งบประมาณรายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณ จํานวน 1,090,329.6 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 34.2 ของวงเงินงบประมาณ 1.3 งบประมาณรายจ่ายบูรณาการ จํานวน 218,477.7 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 6.9 ของวงเงินงบประมาณ จํานวน 11 เรื่อง ได้แก่ 1. ขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2. พัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก 3. ต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ 4. เตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมสูงวัย 5. บริหารจัดการทรัพยากรน้ํา 6. ป้องกัน ปราบปราม และบําบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด 7. พัฒนาด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ 8. พัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก 9. พัฒนาอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต 10. รัฐบาลดิจิทัล 11. สร้างรายได้จากการท่องเที่ยว 1.4 งบประมาณรายจ่ายบุคลากร จํานวน 772,119.1 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 24.2 ของวงเงินงบประมาณ 1.5 งบประมาณรายจ่ายสําหรับทุนหมุนเวียน จํานวน 206,985.6 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 6.5 ของวงเงินงบประมาณ 1.6 งบประมาณรายจ่ายเพื่อการชําระหนี้ภาครัฐ จํานวน 306,618.0 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 9.6 ของวงเงินงบประมาณ งบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จําแนกตามยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ได้กําหนดไว้ จํานวน 6 ยุทธศาสตร์ 1 รายการ โดยได้นํายุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติมากําหนดเป็นกรอบโครงสร้างยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สรุปสาระสําคัญ ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 : ด้านความมั่นคง รัฐบาลจัดสรรงบประมาณรายจ่าย จํานวน 296,003.6 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 9.3 ของวงเงินงบประมาณ เพื่อให้บ้านเมืองมีความมั่นคง ประชาชนมีความสุข ทุกภาคส่วนมีความพร้อมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาความมั่นคงของประเทศ และได้รับการยอมรับจากประชาคมระหว่างประเทศ จําแนกตามแผนงาน ดังนี้ 1) การเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติ งบประมาณ 12,259.9 ล้านบาท เพื่อให้คนในชาติมีจิตสํานึกรักและหวงแหน ปลูกฝังและสร้างความตระหนักถึงความสําคัญของสถาบันหลักของชาติ เสริมสร้างความมั่นคงในการเทิดทูนสถาบันหลักและเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ ถวายความปลอดภัยพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ และขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ตามแนวพระราชดําริและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) การรักษาความสงบภายในประเทศ งบประมาณ 22,117.4 ล้านบาท เพื่อให้ประชาชนมีความมั่นคง ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินโดยการรักษาความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ ปลูกฝังจิตสํานึกรักสามัคคีและส่งเสริมความปรองดองของคนในชาติ สนับสนุนภารกิจของกองอาสารักษาดินแดน ขับเคลื่อนนโยบายของรัฐผ่านกลไกหมู่บ้าน เพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม และการบังคับใช้กฎหมาย การอํานวยความยุติธรรมและบริการประชาชน รวมทั้งสร้างการมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วน 3) การพัฒนาและเสริมสร้างการเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข งบประมาณ 531.2 ล้านบาท เพื่อส่งเสริมการประชาสัมพันธ์เพื่อพัฒนาระบอบประชาธิปไตย และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน สร้างองค์ความรู้ความเข้าใจ และตระหนักถึงการทําหน้าที่พลเมืองที่ดีตามวิถีระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 4) การขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ งบประมาณ 6,251.2 ล้านบาท เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ชายแดนภาคใต้มีความปลอดภัยทั้งในชีวิตและทรัพย์สินอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข มีเป้าหมายในการลดจํานวนเหตุรุนแรงในพื้นที่ลงร้อยละ 60 เมื่อเทียบกับปี 2560 โดยเพิ่มประสิทธิภาพการขับเคลื่อนงานภาครัฐในลักษณะบูรณาการที่มีเอกภาพร่วมกับทุกภาคส่วน อาทิ การเพิ่มประสิทธิภาพงานข่าวกรอง การรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน การแสวงหาทางออกจากความขัดแย้งโดยสันติวิธี การอํานวยความยุติธรรมและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ การพัฒนาศักยภาพตามพื้นที่ การพัฒนาสังคมพหุวัฒนธรรมที่เข้มแข็งและเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน การเสริมสร้างความเข้าใจและประสานความร่วมมือ และการพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพด้วยหลักธรรมาภิบาล เพื่อมุ่งให้เกิดผลในการแก้ไขปัญหาในมิติความมั่นคง มิติการพัฒนา และมิติการบริหารจัดการภาครัฐ ในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 5) การป้องกัน ปราบปราม และบําบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด งบประมาณ 4,188.2 ล้านบาท เพื่อให้เด็ก เยาวชน ผู้ใช้แรงงาน และประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีภูมิคุ้มกันภัยจากยาเสพติด ไม่ไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด และไม่กระทําผิดเกี่ยวกับยาเสพติดอย่างน้อยร้อยละ 97 ของประชากรทุกช่วงวัย ปราบปรามทําลายโครงสร้างเครือข่ายการค้ายาเสพติดระดับสําคัญ เพื่อนําไปสู่การจับกุม ยึด อายัดทรัพย์สิน อย่างน้อยร้อยละ 50 ของเครือข่ายยาเสพติด มุ่งเน้นการนําผู้เสพเข้ารับการบําบัดรักษาโดยสมัครใจแทนการลงโทษ กําหนดกลไกและมาตรการทางสาธารณสุขแทนการใช้กระบวนการยุติธรรมทางอาญา ตลอดจนติดตามช่วยเหลือและฟื้นฟูสภาพทางสังคมอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐาน ให้สามารถกลับไปใช้ชีวิตในสังคมได้ตามปกติ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 6) การป้องกันและแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง งบประมาณ 19,919.6 ล้านบาท เพื่อรักษาความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ ความมั่นคงชายแดน ชายฝั่งทะเล และรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ป้องกันและแก้ไขปัญหาความมั่นคงทางไซเบอร์ การก่อการร้าย ป้องกันภัยคุกคามข้ามชาติและความมั่นคงทางทะเลและพัฒนาศักยภาพในการรับมือภัยคุกคามและเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสี ตลอดจน ติดตามและเฝ้าระวังการทําประมงให้เป็นไปตามกฎหมาย และการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งเพื่อป้องกันการสูญเสียดินแดนของประเทศ 7) การจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ งบประมาณ 299.7 ล้านบาท เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนงานด้านการป้องกันการบังคับใช้แรงงานและการค้ามนุษย์ คุ้มครองและช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์กลับคืนสู่สังคม โดยการเพิ่มประสิทธิภาพการปราบปรามและดําเนินคดีการกระทําความผิดค้ามนุษย์ ป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ รวมทั้ง สร้างความรู้ความเข้าใจแก่กลุ่มเป้าหมายให้สามารถป้องกันและปฏิบัติตัวได้ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ไม่น้อยกว่า 137,000 คน 8) การพัฒนาระบบการเตรียมพร้อมแห่งชาติและระบบบริหารจัดการภัยพิบัติ งบประมาณ 16,971.8 ล้านบาท เพื่อพัฒนาขีดความสามารถการปฏิบัติงานด้านภัยพิบัติฉุกเฉิน การกู้ภัยและช่วยเหลือผู้ประสบภัย เพื่อลดความสูญเสียและสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน เพิ่มประสิทธิภาพการเตือนภัยพิบัติ สร้างความรู้และความตระหนักแก่ประชาชน รวมถึงป้องกันการกัดเซาะการพังทลายของตลิ่งริมแม่น้ําภายในประเทศ ไม่น้อยกว่า 176,414 เมตร 9) การพัฒนาศักยภาพการป้องกันประเทศ และความพร้อมเผชิญภัยคุกคามทุกมิติ งบประมาณ 58,194.4 ล้านบาท เพื่อให้หน่วยงานด้านความมั่นคง มีความพร้อมที่จะเผชิญภัยคุกคามทุกรูปแบบ มีระบบและแผนเตรียมพร้อมแห่งชาติที่ทันสมัยและปฏิบัติได้จริง โดยการเพิ่มขีดความสามารถงานข่าวกรองและต่อต้านข่าวกรอง สร้างเครือข่ายภาคประชาชนและภาคเอกชนให้มีความรู้ความเข้าใจด้านการข่าวและการรักษาความปลอดภัยฝ่ายพลเรือน รวมถึงการพัฒนาขีดความสามารถของกองทัพด้านการพัฒนาประเทศและการช่วยเหลือประชาชน ส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเพื่อการป้องกันประเทศ 10) การส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ งบประมาณ 4,052.4 ล้านบาท เพื่อให้ประเทศไทยมีความมั่นคงสามารถรับมือกับความท้าทายจากภายนอกได้ทุกรูปแบบ และเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการค้า การลงทุน และการบริการในภูมิภาคเอเชีย โดยการพัฒนาความเป็นมาตรฐานสากลและส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือทางเศรษฐกิจและทางทหารกับมิตรประเทศและองค์การระหว่างประเทศ เสริมสร้างภาพลักษณ์ และบทบาทของประเทศไทยในประชาคมโลก ส่งเสริมการดําเนินงานการต่างประเทศอย่างมีเอกภาพและบูรณาการ รวมทั้งพัฒนาความร่วมมือความเป็นหุ้นส่วนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมภายใต้กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศ 11) การพัฒนากลไกการบริหารจัดการความมั่นคงแบบองค์รวม งบประมาณ 423.1 ล้านบาท เพื่อให้กลไกการบริหารจัดการความมั่นคงมีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยการพัฒนากลไกการบริหารจัดการความมั่นคงแบบองค์รวม ขับเคลื่อนนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ 12) การสนับสนุนด้านความมั่นคง งบประมาณ 536.8 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนเป้าหมายยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง โดยการเพิ่มขีดความสามารถระบบบริหารจัดการด้านความมั่นคง สนับสนุนงานขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหาตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ 13) การดําเนินงานภารกิจพื้นฐาน งบประมาณ 33,838.4 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายบุคลากรภาครัฐ งบประมาณ 116,419.5 ล้านบาท เพื่อให้การดําเนินภารกิจด้านความมั่นคงมีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่า มีความพร้อมด้านการป้องกันประเทศ การดํารงไว้ซึ่งความสัมพันธ์อันดีและความร่วมมือในการดําเนินงานด้านความมั่นคงระหว่างประเทศไทยกับมิตรประเทศ ยุทธศาสตร์ที่ 2 : ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน รัฐบาลจัดสรรงบประมาณรายจ่าย จํานวน 396,125.5 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 12.4 ของวงเงินงบประมาณ เพื่อส่งเสริมให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโต และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันมีเสถียรภาพและยั่งยืน โดยมีเป้าหมายกระจายความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคมในทุกภูมิภาคของประเทศ จําแนกตามแผนงาน ดังนี้ 1) การพัฒนาด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ งบประมาณ 131,372.8 ล้านบาท เพื่อให้ประเทศไทยมีระบบคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมในทุกระบบ เช่น ทางถนน ก่อสร้างโครงข่ายทางหลวงและทางหลวงชนบท ระยะทาง 4,017 กิโลเมตร และทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ระยะทาง 48 กิโลเมตร ทางราง พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อส่งเสริมการขนส่งทางรางสายเด่นชัย - เชียงราย – เชียงของ สายบ้านไผ่ - มหาสารคาม - ร้อยเอ็ด – มุกดาหาร - นครพนม และพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงสู่ภูมิภาคระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร – นครราชสีมา ทางน้ํา เพิ่มประสิทธิภาพทางเดินเรือในแม่น้ําต่าง ๆ ก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง ขุดลอกและบํารุงรักษาร่องน้ําชายฝั่งทะเล เพื่อรองรับปริมาณการขนส่งสินค้า 114 ล้านตัน ทางอากาศ เพิ่มขีดความสามารถของท่าอากาศยานตามมาตรฐานการบินระหว่างประเทศ รวมทั้ง ส่งเสริมการเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะของประชาชนอย่างทั่วถึง รวมทั้ง การพัฒนารูปแบบการกํากับดูแลและการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม การพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ โดยมีเป้าหมายจํานวน 2,750 คน และการกํากับดูแลและพัฒนามาตรฐานด้านการขนส่งทุกรูปแบบให้มีคุณภาพระดับสากล รองรับและอํานวยความสะดวกทางการค้าด้วยระบบการเชื่อมโยงข้อมูลหน่วยงานภาครัฐและภาคธุรกิจ 2) การเกษตรสร้างมูลค่า งบประมาณ 78,903.7 ล้านบาท เพื่อเพิ่มการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมและผลิตภาพด้านการผลิตของสาขาเกษตร โดยส่งเสริมระบบเกษตรแปลงใหญ่ จํานวน 3,023 แปลง และ 201,000 ไร่ เพื่อลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลผลิตต่อหน่วย บริหารจัดการการผลิตสินค้าเกษตรตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri-Map) จํานวน 71,540 ไร่ ส่งเสริมการวิจัยพัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น พัฒนาศักยภาพกระบวนการผลิตและปรับเปลี่ยนการผลิตให้เหมาะสมกับศักยภาพพื้นที่ ผลิตสินค้าเกษตรและอาหารเข้าสู่ระบบมาตรฐานความปลอดภัยด้วยการตรวจประเมินแหล่งผลิต ไม่น้อยกว่า 240,500 แห่ง ส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตรตามศักยภาพและความโดดเด่นเฉพาะ สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่และส่งเสริมการรวมกลุ่มเกษตรกร รวมทั้งส่งเสริมความเข้มแข็งเกษตรกรผ่านโครงการประกันรายได้สินค้าเกษตร โดยมีเกษตรกรได้รับประโยชน์ 7.92 ล้านครัวเรือน และส่งเสริมการใช้แพลตฟอร์มการตลาดดิจิทัลเพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้ให้กลุ่มเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน เพื่อเป็นภาคการผลิตที่สร้างรายได้และพัฒนาคุณภาพชีวิตให้เกษตรกรพึ่งพาตนเอง 3) การพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก งบประมาณ 11,086.9 ล้านบาท เพื่อส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พัฒนากิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ทันสมัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมีโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคที่มีประสิทธิภาพ เข้าถึงได้สะดวก และเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ เช่น ปรับปรุงทางรถไฟเข้าพื้นที่ท่าเรือจุกเสม็ด ก่อสร้างทางหลวงรองรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกระยะทาง 95 กิโลเมตร โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน รวมทั้งพัฒนาเมืองให้น่าอยู่ มีความทันสมัยระดับนานาชาติ เหมาะกับการอยู่อาศัยอย่างสะดวก ปลอดภัย สามารถประกอบกิจการได้อย่างมีคุณภาพ และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ เช่น พัฒนาผังเมืองและปรับปรุงภูมิทัศน์ ไม่น้อยกว่า 14 ผัง ก่อสร้างศูนย์การแพทย์ครบวงจร 2 แห่ง และก่อสร้างโรงพยาบาลศูนย์เฉพาะทาง 3 แห่ง ผลิตและพัฒนาบุคลากรให้มีสมรรถนะตรงตามความต้องการของผู้ประกอบการ เพื่อรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย ไม่น้อยกว่า 4,850 คน และการถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่และเกษตรอัจฉริยะใน 40 ชุมชน 4) การพัฒนาพื้นที่และเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ งบประมาณ 7,435.2 ล้านบาท เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยกระจายศูนย์กลางความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคมในทุกภูมิภาคของประเทศ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอํานวยความสะดวกและความปลอดภัย เพื่อยกระดับความน่าอยู่ของเมือง โดยใช้แผนผังภูมินิเวศเป็นกรอบในการพัฒนาเมืองน่าอยู่ ชนบทมั่นคง เกษตรยั่งยืน และอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ รวมถึง ผังพื้นที่อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ แหล่งโบราณคดี วัฒนธรรม ประเพณี และอัตลักษณ์ท้องถิ่น โดยสนับสนุนการวางผังเมือง 120 ผัง และจัดรูปที่ดิน 1,476 ไร่ 5) การสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว งบประมาณ 5,125.1 ล้านบาท เพื่อให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ มีเป้าหมายเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยว ไม่น้อยกว่า 2.4 ล้านล้านบาท โดยสนับสนุนการสร้างความหลากหลายด้านการท่องเที่ยว ให้สอดคล้องกับความต้องการของนักท่องเที่ยวกลุ่มคุณภาพ รักษาจุดเด่นด้านขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงาม เช่น การพัฒนาเส้นทางชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี 50 ชุมชน เพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ 10 แห่ง พัฒนาแหล่งธรณีวิทยาเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยว 9 แห่ง พัฒนาเมืองท่องเที่ยวเพื่อรองรับการจัดงานท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ 10 เมือง ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชื่อมโยงกลุ่มอาเซียนและงานสัมมนาระดับนานาชาติ รวมทั้งพัฒนาและยกระดับชุมชนเข้าสู่มาตรฐานการท่องเที่ยวไทย 50 ชุมชน และผลักดันให้ชุมชนเข้าสู่ตลาดอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 20 ชุมชน เพื่อประโยชน์ในการสร้างงาน สร้างอาชีพ และรายได้ให้กับคนในชุมชน พัฒนาสิ่งอํานวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมเชื่อมโยงไปยังภูมิภาค โดยก่อสร้างทางหลวงชนบทเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว ระยะทาง 231 กิโลเมตร รวมทั้งส่งเสริมการตลาดทั้งในและต่างประเทศ เช่น จัดกิจกรรมเจาะตลาดนักท่องเที่ยวกลุ่มคุณภาพ กลุ่มกีฬาและสุขภาพ 6) การพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ งบประมาณ 699.4 ล้านบาท เพื่อส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม สังคม สิ่งแวดล้อม และการศึกษา เพิ่มประสิทธิภาพของด่านศุลกากร 2 แห่ง ปรับปรุงและจัดทําข้อเสนอกฎหมายและกฎระเบียบใหม่ ประชาสัมพันธ์ให้นักลงทุนและผู้ประกอบการไทยและนานาชาติมาลงทุนในพื้นที่เป้าหมาย ได้แก่ ตาก มุกดาหาร สระแก้ว ตราด สงขลา หนองคาย เชียงราย นครพนม กาญจนบุรี และนราธิวาส เพิ่มประสิทธิภาพการบริการคนเข้าเมือง พัฒนาสาธารณสุขชายแดน ป้องกัน เฝ้าระวังและควบคุมโรคติดต่อ พัฒนาฝีมือแรงงาน การจัดระบบแรงงานต่างด้าวตลอดจนพัฒนาพื้นที่บริเวณชายแดนให้มีความพร้อมสําหรับรองรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมที่เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยนําเ ทคโนโลยี นวัตกรรม และดิจิทัลมาใช้อํานวยความสะดวกในการพัฒนาพื้นที่ 7) การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่เข้มแข็ง แข่งขันได้ งบประมาณ 2,721.4 ล้านบาท เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และผู้ประกอบการชุมชนมีความรู้และทักษะของการเป็นผู้ประกอบการที่มีอัตลักษณ์ชัดเจน มีนวัตกรรมในการผลิตสินค้าและบริการ สามารถปรับตัวสู่ธุรกิจใหม่ โดยเสริมสร้างศักยภาพวิสาหกิจในการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัล 22,000 คน 2,400 กิจการ ส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งทุน ตลอดจนการเข้าถึงแหล่งข้อมูลและองค์ความรู้ในการพัฒนาธุรกิจ สามารถขยายการค้าและการลงทุนไปต่างประเทศ ด้วยการส่งเสริมผู้ประกอบการให้มีช่องทางการค้าผ่าน e-commerce 25,800 คน รวมทั้งส่งเสริมการลงทุนที่เน้นการวิจัย พัฒนา และสร้างนวัตกรรม สร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน และสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดําเนินธุรกิจ โดยมีเป้าหมายให้ SME ไทยไม่น้อยกว่า 800,000 ราย สามารถเติบโตและแข่งขันได้ในระดับสากล 8) การพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต งบประมาณ 1,554.6 ล้านบาท เพื่อเพิ่มอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศสาขาอุตสาหกรรมและบริการ ร้อยละ 3.1 ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรมอาหารและอุตสาหกรรมชีวภาพ อุตสาหกรรมและบริการทางการแพทย์ อุตสาหกรรมและบริการดิจิทัล ข้อมูลปัญญาประดิษฐ์ หุ่นยนต์ระบบอัตโนมัติ และอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและยานยนต์สมัยใหม่ และอุตสาหกรรมด้านความมั่นคง โดยสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต เช่น การจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีต้นแบบที่มีความเป็นเลิศด้านการวิจัยและพัฒนายาตัวใหม่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการเป็นฐานการผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนที่สําคัญของโลก และรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมดิจิทัล รวมทั้งพัฒนาผู้ประกอบการอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคตในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน จํานวน 292 กิจการ และพัฒนาศักยภาพแรงงานและบุคลากร เพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพเชิงเศรษฐกิจ ตลอดจนพัฒนาต่อยอดความเข้มแข็งของอุตสาหกรรมและยกระดับไปสู่อุตสาหกรรมที่ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูง 9) การพัฒนาความมั่นคงทางพลังงาน งบประมาณ 1,226.1 ล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานทั้งระบบให้มีความมั่นคง สนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในทุกภาคส่วน รักษาอัตราการผลิตน้ํามันดิบและก๊าซธรรมชาติเหลวในประเทศไม่น้อยกว่า 140,000 บาร์เรลต่อวัน สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีเพื่อบริหารจัดการและผลิตพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน พลังงานทางเลือก กํากับดูแลกลไกตลาดพลังงานให้มีการแข่งขันที่เป็นธรรม 10) การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล งบประมาณ 988.1 ล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลในส่วนของโครงข่ายสื่อสารหลักและบรอดแบรนด์ความเร็วสูงให้ครอบคลุมทั่วประเทศ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลและบริการที่มีประสิทธิภาพอย่างเท่าเทียม ส่งเสริมการลงทุนและใช้ทรัพยากรโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลร่วมกัน ทั้งในและต่างประเทศ ในส่วนของภาคพื้นดิน เคเบิ้ลใต้น้ํา และระบบดาวเทียมสําหรับการเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านให้มีเพียงพอและมีระบบโครงข่ายสํารอง (Redundancy) ให้สามารถสื่อสารระหว่างประเทศได้อย่างต่อเนื่อง พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ตลอดจนจัดให้มีมาตรการเฝ้าระวังและรับมือภัยคุกคามไซเบอร์ที่ได้มาตรฐานสากล ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการกําหนดมาตรการและแนวปฏิบัติสําหรับผู้ให้บริการในการคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้รับบริการ ส่งเสริมการให้ความรู้ เพิ่มทักษะและใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีแก่ประชาชนและทุกสาขาอาชีพ สร้างความรู้การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล สื่อออนไลน์ โครงข่ายสังคมออนไลน์อย่างถูกต้องไม่น้อยกว่า 70,000 คน 11) การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม งบประมาณ 17,089.0 ล้านบาท เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้เจริญเติบโตอย่างยั่งยืน พร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วยการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม โดยมุ่งเน้นการเร่งรัดและผลักดันให้ภาครัฐและเอกชนนําผลการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมไปใช้ได้จริงอย่างเป็นรูปธรรม ส่งเสริมให้คนไทยมีสมรรถนะและทักษะสูงเพียงพอในการพลิกโฉมประเทศ เสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้วยเศรษฐกิจสร้างคุณค่าและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพิ่มความมั่นคงของเศรษฐกิจฐานรากเพื่อให้พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ตอบโจทย์ปัญหาท้าทายสังคม สร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ํา รวมทั้งการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ปรับตัวได้ทันต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลงของโลก 12) การพัฒนาศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม งบประมาณ 286.6 ล้านบาท เพื่อพัฒนากําลังคนและเสริมศักยภาพของสถาบันวิจัยและสถาบันอุดมศึกษา ให้เป็นฐานในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศแบบก้าวกระโดดและอย่างยั่งยืน โดยใช้วิทยาศาสตร์ วิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรม 13) การสนับสนุนด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน งบประมาณ 23,775.5 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนเป้าหมายยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืน โดยการยกระดับศักยภาพของประเทศในหลากหลายมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ อัตลักษณ์ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการและลดต้นทุนการผลิต สนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุน พัฒนาช่องทางการตลาดและขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้าระหว่างประเทศ รวมทั้งขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุนในเวทีโลก ควบคู่ไปกับการยกระดับรายได้และการกินดีอยู่ดี 14) การดําเนินงานภารกิจพื้นฐาน งบประมาณ 71,873.9 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายบุคลากรภาครัฐ งบประมาณ 41,987.2 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขันสอดรับกับบริบทของเศรษฐกิจและสังคมโลกสมัยใหม่ และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศในมิติต่าง ๆ ยุทธศาสตร์ที่ 3 : ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณรายจ่าย จํานวน 549,514.0 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 17.2 ของวงเงินงบประมาณ เพื่อให้ประชาชนทุกช่วงวัยมีความรู้ คุณธรรม จิตสาธารณะ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี ได้รับการศึกษาและการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลง สามารถเข้าถึงระบบสาธารณสุขที่ได้มาตรฐานและทั่วถึง รวมทั้งเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น พัฒนาศักยภาพทางการกีฬา และพัฒนาทักษะแรงงานรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมายและวางรากฐานเศรษฐกิจในอนาคต จําแนกตามแผนงาน ดังนี้ 1) การเสริมสร้างให้คนมีสุขภาวะที่ดี งบประมาณ 51,883.9 ล้านบาท เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาวะที่ดี สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขที่ได้มาตรฐานและทั่วถึง พร้อมรับมือสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้ํา ส่งเสริมระบบบริหารจัดการด้านสุขภาพ การแพทย์แผนไทย การแพทย์ผสมผสาน การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค สนับสนุนกลไกการปฏิบัติหน้าที่ของ อสม. หมอประจําบ้าน ไม่น้อยกว่า 1.039 ล้านคน เพื่อให้ประชาชนและชุมชนสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างถูกต้องและยั่งยืน ส่งเสริมและพัฒนาสมุนไพรไทย กัญชา กัญชง เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ และให้ประชาชนเข้าถึงการใช้ประโยชน์อย่างปลอดภัย เร่งรัดการผลิตแพทย์ พยาบาล และบุคลากรด้านสาธารณสุข ไม่น้อยกว่า 38,400 คน และกระจายแพทย์ไปสู่ชนบทไม่น้อยกว่า 7,490 คน พัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินครบวงจรและระบบการส่งต่อ พร้อมทั้งสนับสนุนการเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์และสุขภาพมูลค่าสูง 2) การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต งบประมาณ 31,699.5 ล้านบาท เพื่อให้คนไทยทุกช่วงวัยได้รับการพัฒนาอย่างสมดุล ทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา คุณธรรม และจริยธรรม โดยมุ่งเน้นให้เด็กและเยาวชนมีพัฒนาการและทักษะที่เหมาะสมตามช่วงวัย ด้วยการสนับสนุนอาหารเสริม (นม) ไม่น้อยกว่า 1.47 ล้านคน อาหารกลางวัน ไม่น้อยกว่า 487,800 คน ส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต พัฒนาทักษะและสมรรถนะแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการของอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยแรงงานได้รับการฝึกฝีมือ ไม่น้อยกว่า 75,300 คน รวมทั้ง ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรม พัฒนาทักษะอาชีพให้เป็นผู้สูงอายุ ที่มีศักยภาพ สามารถประกอบอาชีพและพึ่งพาตนเองได้ 3) การพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ งบประมาณ 19,871.4 ล้านบาท เพื่อให้คนไทยมีการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล โดยพัฒนารูปแบบการศึกษาและการเรียนรู้ให้ตอบสนอง ต่อนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 พัฒนาศักยภาพครูให้มีสมรรถนะของครูยุคใหม่ 64,300 คน ขยายโอกาสการศึกษาวิชาชีพและยกระดับการผลิตและพัฒนากําลังคนให้ตอบสนองความต้องการของประเทศ 36,000 คน เชื่อมโยงการศึกษากับภาคธุรกิจโดยพัฒนาครูผู้สอนระบบทวิภาคี 12,000 คน ส่งเสริมการเรียนภาษาคอมพิวเตอร์ (Coding) สําหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา ไม่น้อยกว่า 678,500 คน พัฒนาโรงเรียนคุณภาพทุกตําบล ไม่น้อยกว่า 8,200 โรงเรียน สนับสนุนการคืนครูให้นักเรียนทุกกลุ่มเป้าหมาย ไม่น้อยกว่า 63,000 คน ตลอดจนพัฒนากําลังคนด้านวิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยสนับสนุนทุนการศึกษาให้กับนักเรียน นักศึกษาและครูเพื่อพัฒนาให้เป็นผู้มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ไม่น้อยกว่า 1,800 คน 4)การเสริมสร้างศักยภาพการกีฬา งบประมาณ 1,934.3 ล้านบาท เพื่อให้คนไทยมีสุขภาพแข็งแรง มีวินัย มีน้ําใจนักกีฬา และตระหนักถึงประโยชน์ของการออกกําลังกายและการเล่นกีฬา โดยส่งเสริมการออกกําลังกาย การเล่นกีฬาและกิจกรรมนันทนาการของประชาชนทุกกลุ่มทุกวัย ไม่น้อยกว่า 23 ล้านคน พัฒนาบุคลากรด้านพลศึกษา กีฬา นันทนาการ วิทยาศาสตร์การกีฬา ให้มีความสามารถและทักษะความเป็นเลิศด้านกีฬา สนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน อุปกรณ์ สถานที่และสิ่งอํานวยความสะดวกด้านการออกกําลังกาย การกีฬาและนันทนาการ รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนานักกีฬาของชาติตั้งแต่ระดับเยาวชนเพื่อพัฒนาสู่ความเป็นเลิศด้านกีฬาอาชีพ ไม่น้อยกว่า 30,000 คน 5) การปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรม งบประมาณ 2,472.3 ล้านบาท เพื่อให้คนไทยมีคุณธรรม จริยธรรม มีความภูมิใจและรักในความเป็นไทย รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น ไม่น้อยกว่า 19 ล้านคน และอนุรักษ์มรดกศิลปวัฒนธรรม ไม่น้อยกว่า 590,000 รายการ พัฒนาสืบสานมรดกทางศิลปะ วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งน้อมนําหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดํารงชีวิตเพื่อให้สังคมไทยมีความสุข และนําไปสู่การเสริมสร้างภาพลักษณ์ความเป็นไทยสู่สากลให้เป็นที่ยกย่องและยอมรับของนานาชาติ 6) การสนับสนุนด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ งบประมาณ 2,650.2 ล้านบาท เพื่อพัฒนาคนไทยทุกช่วงวัย และส่งเสริมผู้เรียนทุกกลุ่มให้ได้รับการพัฒนาความรู้ ทักษะ มีความเป็นเลิศทางวิชาการ พัฒนาเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบฐานข้อมูลทางการศึกษา รวมพัฒนาทักษะแรงงานให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลก อย่างน้อย 23,000 คน และให้ประชาชน ทุกกลุ่มมีโอกาสได้เรียนรู้และฝึกอาชีพจากโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน ไม่น้อยกว่า 400,000 คน เพื่อให้เกิดการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง 7) การดําเนินงานภารกิจพื้นฐาน งบประมาณ 35,057.3 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายบุคลากรภาครัฐ งบประมาณ 403,945.1 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ยกระดับการศึกษาและการเรียนรู้ที่มีคุณภาพและทั่วถึง รวมทั้ง วัยแรงงานได้รับการพัฒนาศักยภาพให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน ยุทธศาสตร์ที่ 4 : ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม รัฐบาลจัดสรรงบประมาณ จํานวน 759,861.3 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 23.9 ของวงเงินงบประมาณ เพื่อให้คนไทยได้รับสวัสดิการพื้นฐานอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม สร้างโอกาสและลดความเหลื่อมล้ําของสังคม สร้างหลักประกันทางสังคมให้คนไทยสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพและการศึกษาที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน รวมทั้งสร้างหลักประกันสวัสดิการสําหรับแรงงานทั้งในระบบและนอกระบบ และสนับสนุนการเตรียมความพร้อมสังคมไทยในการรองรับสังคมสูงวัย จําแนกตามแผนงาน ดังนี้ 1) การสร้างหลักประกันทางสังคม งบประมาณ 269,465.2 ล้านบาท เพื่อให้ประชาชนทุกคนโดยเฉพาะกลุ่มด้อยโอกาสและกลุ่มเปราะบางได้รับการคุ้มครอง มีหลักประกันทางสังคมและสวัสดิการที่เหมาะสมและเป็นธรรม ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขภายใต้ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า ไม่น้อยกว่า 47.7 ล้านคน เพิ่มค่าใช้จ่ายรายหัวและสิทธิประโยชน์ อาทิ การตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง โรคหัวใจ วัณโรค การผ่าตัดรากฟันเทียมในผู้สูงอายุ การให้ยาป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีหลังการสัมผัสและการเสริมสร้างสุขภาพและป้องกันโรค รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพด้านการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อดูแลประชาชน ให้ได้รับความเป็นธรรมในราคาสินค้าและบริการอย่างเหมาะสม ส่งเสริมการสร้างหลักประกันสังคมและสวัสดิการสําหรับแรงงานในระบบและนอกระบบ ให้สามารถเข้าถึงระบบประกันสังคมอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม ครอบคลุมผู้ประกันตนสําหรับแรงงานในระบบและนอกระบบ เป้าหมาย 24.3 ล้านคน รวมถึงสร้างความปลอดภัยและอนามัยสุขภาพในการทํางานให้เหมาะสม ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพคนไร้ที่พึ่งและคนขอทานได้รับการคุ้มครองช่วยเหลือที่ครอบคลุมและทั่วถึง จํานวน 98,930 คน 2)การสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา งบประมาณ 81,269.0 ล้านบาท เพื่อสร้างโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีคุณภาพและมีมาตรฐานทั้งในระบบและนอกระบบ โดยสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 9.68 ล้านคน เพื่อลดความเหลื่อมล้ําด้านการศึกษาในสังคมไทย ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียมและทั่วถึงและมีคุณภาพตามมาตรฐานโดยใช้เทคโนโลยีทางไกลผ่านดาวเทียม ไม่น้อยกว่า 7,900 แห่ง ตลอดจนสร้างโอกาสและลดความเหลื่อมล้ําทางการศึกษาในพื้นที่ 2,000 โรงเรียน รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาเพื่อช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาส ไม่น้อยกว่า 2.68 ล้านคน ให้ได้รับโอกาสทางการศึกษาหรือการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพให้เหมาะสมสอดคล้องกับความจําเป็นรายบุคคล ควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของหน่วยจัดการเรียนรู้ทั้งในระบบและนอกระบบหรือกลไกความร่วมมือในพื้นที่ รวมทั้งเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพ และสนับสนุนทุนเพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาระดับอุดมศึกษา และสายอาชีพ จํานวน 10,700 คน 3) การส่งเสริมการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น งบประมาณ 304,356.1 ล้านบาท เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณะจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ สนับสนุนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้แก่นักเรียนโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่น้อยกว่า 1.019 ล้านคน สนับสนุนอาหารเสริม (นม) และอาหารกลางวันให้เด็กวัยเรียน ไม่น้อยกว่า 5.04 ล้านคน สนับสนุนเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไม่น้อยกว่า 11.03 ล้านคน เบี้ยยังชีพคนพิการไม่น้อยกว่า 2.09 ล้านคน เตรียมความพร้อมในการถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล (รพ.สต.) ให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด รวมทั้งส่งเสริมให้คนในท้องถิ่นสามารถพัฒนาบทบาทในการจัดการท้องถิ่นของตนเอง และเสริมสร้างความมั่นคงและเข้มแข็งให้แก่ชุมชนและประเทศ 4) การส่งเสริมการพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ งบประมาณ 21,727.7 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนการดําเนินการแบบบูรณาการครอบคลุมทุกมิติการพัฒนาของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ที่มีความสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาของประเทศ โดยให้ความสําคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการและแก้ไขปัญหาในพื้นที่ผ่านโครงการภายใต้แผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด แผนปฏิบัติราชการประจําปีของจังหวัด แผนปฏิบัติราชการประจําปีของกลุ่มจังหวัด ที่มีความสอดคล้องกับศักยภาพ โอกาส สภาพปัญหาและความต้องการของประชาชนในพื้นที่ โดยบูรณาการร่วมกันทุกภาคส่วน ได้แก่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานของรัฐ ภาคเอกชน และประชาชน เชื่อมโยงยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไปสู่การขับเคลื่อนในระดับพื้นที่ ครอบคลุมทุกมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 5) การพัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก งบประมาณ 1,474.3 ล้านบาท เพื่อเพิ่มศักยภาพและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากให้สามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้น และกระจายรายได้สู่ชุมชน ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ําของรายได้ประชาชน พัฒนาและสร้างโอกาสให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีอาชีพไม่น้อยกว่า 110,000 ราย สนับสนุนเกษตรกรรุ่นใหม่ไปสู่เกษตรกรปราดเปรื่อง และให้เกษตรกรได้รับสิทธิ ในที่ดินทํากินไม่น้อยกว่า 20,000 ราย สนับสนุนศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ส่งเสริมและสร้างทักษะในการประกอบอาชีพทั้งในและนอกภาคเกษตร สนับสนุนการปลูกไม้มีค่าเป็นพืชเศรษฐกิจ พัฒนาผลิตภัณฑ์และการให้บริการชุมชน โดยพัฒนาความเข้มแข็งของสถาบันเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน รวมทั้งพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการชุมชน ไม่น้อยกว่า 3,500 ราย ส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตรในชุมชน พัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน สนับสนุนการพัฒนากลไกการตลาดและระบบการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มรายได้จากการจําหน่ายสินค้าชุมชนโดยพัฒนาศักยภาพการดําเนินธุรกิจของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน ส่งเสริมช่องทางการตลาดสินค้าชุมชนให้ครอบคลุมทุกช่องทาง รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนากลไกและโครงสร้างดูดซับมูลค่าทางเศรษฐกิจและการกระจายรายได้กลับสู่ท้องถิ่น 6) มาตรการแบบเจาะจงกลุ่มเป้าหมายเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะกลุ่ม งบประมาณ 24,026.1 ล้านบาท เพื่อให้มีระบบและกลไกช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ โดยสนับสนุนและจัดหาโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสมให้ประชากรกลุ่มต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการพิสูจน์สิทธิของบุคคลในเขตที่ดินของรัฐที่มีข้อพิพาทให้ยุติ 1,300 แปลง การช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษโดยเฉพาะกลุ่มเด็ก เยาวชน สตรี คนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาสทางสังคม เพื่อให้สามารถเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐานของรัฐและโอกาสทางสังคมได้อย่างเท่าเทียม สร้างความเชื่อมั่นและเพิ่มคุณภาพการให้บริการสาธารณะให้มีความปลอดภัย ยกระดับการคุ้มครองทางสังคม โดยสนับสนุนเบี้ยเด็กแรกเกิดถึง 6 ปี ไม่น้อยกว่า 2.5 ล้านคน สนับสนุนการจัดการศพผู้สูงอายุตามประเพณี 106,355 ราย สนับสนุนการสร้างที่อยู่อาศัยบ้านมั่นคง 3,750 ครัวเรือน บ้านพอเพียง 25,000 ครัวเรือน พัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนริมคลองเปรมประชากร 100 ครัวเรือน รวมทั้งผู้มีรายได้น้อยสามารถเข้าถึงแหล่งสินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง ส่งเสริมการจัดสิ่งอํานวยความสะดวกและบริการสาธารณะสําหรับคนพิการ 20,000 คน ช่วยเหลือคุ้มครองผู้ประสบปัญหาทางสังคม พัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนกลุ่มเป้าหมายพิเศษในพื้นที่ 24,960 คน จัดหาอาคารเช่าสําหรับผู้มีรายได้น้อย ไม่น้อยกว่า 1,087 หน่วย 7) การเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมสูงวัย งบประมาณ 448.7 ล้านบาท เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับประชาชนก่อนเข้าสู่สังคมสูงวัย โดยประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร เผยแพร่ความรู้ความเข้าใจให้ประชากรอายุ 25-59 ปี ไม่น้อยกว่า 8.5 ล้านคน เพื่อสร้างความรู้ด้านสุขภาวะและเสริมสร้างทักษะให้กลุ่มเป้าหมายพร้อมเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างมีคุณภาพ รวมทั้งยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุให้ดีขึ้นในด้านต่าง ๆ ประกอบไปด้วย ด้านเศรษฐกิจ ผู้สูงอายุได้รับการเสริมสร้างทักษะอาชีพเพื่อให้ผู้สูงอายุมีงานทํา และมีรายได้ จํานวน 12,000 คน ด้านสังคม ยกระดับความคุ้มครองทางสังคม เพื่อให้ผู้สูงอายุที่อยู่ตามลําพังและที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง ให้เกิดความยั่งยืนและส่งเสริมท้องถิ่นให้คุ้มครอง พิทักษ์สิทธิผู้สูงอายุ โดยอบรมและพัฒนาทักษะผู้สูงอายุให้รู้เท่าทันภัยไซเบอร์ ไม่น้อยกว่า 1,430 คน ด้านสภาพแวดล้อม ปรับปรุงที่อยู่อาศัยและสถานที่สาธารณะให้เหมาะสมสําหรับผู้สูงอายุ 10,006 แห่ง ด้านสุขภาพ พัฒนาการดูแลสุขภาพ การเข้าถึงบริการสุขภาพ อย่างเหมาะสม จํานวน 3.35 ล้านคน โดยให้ความสําคัญกับการดูแลรักษากลุ่มอาการหรือโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะเปราะบาง และการให้บริการด้านทันตกรรมสําหรับผู้สูงอายุ 8) การเสริมสร้างพลังทางสังคม งบประมาณ 7,949.7 ล้านบาท เพื่อส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการสร้างพลังในชุมชนให้เกิดเป็นพลังทางสังคม สนับสนุนบทบาทและพัฒนาศักยภาพองค์การสวัสดิการสังคม อาสาสมัคร เครือข่าย และภาคประชาชน พัฒนากลไกและระบบสนับสนุนการบริหารจัดการเครือข่ายในระดับจังหวัด อําเภอ ตําบล และชุมชน ส่งเสริมและพัฒนาให้เกิดวิสาหกิจเพื่อสังคม พัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการชุมชนให้มีการสร้างงาน สร้างรายได้และพึ่งตนเองได้ ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพเกษตรกรในพื้นที่โครงการหลวง และโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ ส่งเสริมศักยภาพบทบาทสตรีและสิทธิมนุษยชน ให้ทุกเพศสภาพเป็นพลังในการขับเคลื่อนการพัฒนาสังคม สนับสนุนการอนุรักษ์และฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมของแต่ละชุมชนโดยพัฒนาแหล่งเรียนรู้ทางการศึกษาด้านศิลปวัฒนธรรม นําองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม และน้อมนําแนวทางพระราชดําริสู่การปฏิบัติ เพื่อส่งเสริมทุนทางสังคมและวัฒนธรรมของท้องถิ่นให้สามารถนําไปต่อยอดพัฒนาสู่การเพิ่มคุณค่า และมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคม 9) การสนับสนุนด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม งบประมาณ 38,942.8 ล้านบาท เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้มีรายได้น้อยและเกษตรกร โดยพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 13.4 ล้านคน ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถเข้าถึงปัจจัยพื้นฐานที่จําเป็นต่อการดํารงชีพ รวมทั้งส่งเสริมการออมเพื่อเป็นหลักประกันการจ่ายบํานาญและประโยชน์ตอบแทนแก่สมาชิกเมื่อสิ้นสภาพ 2.92 ล้านคน ผ่านกองทุนการออมแห่งชาติ สมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรได้รับการช่วยเหลือด้านการลดดอกเบี้ยเพื่อการเกษตร ไม่น้อยกว่า 353,400 ราย ส่งเสริมความร่วมมือทางการค้าเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนและสนับสนุนการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากในแต่ละภูมิภาค ส่งเสริมกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ รวมทั้งสนับสนุนผู้มีรายได้น้อยให้เข้าถึงสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย 10) การดําเนินภารกิจพื้นฐาน งบประมาณ 1,906.4 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายบุคลากรภาครัฐ งบประมาณ 8,295.3 ล้านบาทเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม ให้ประชาชนได้รับโอกาสในการเข้าถึงการบริการสาธารณะอย่างเท่าเทียม เป็นธรรม และทั่วถึง รวมทั้งพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานในและนอกระบบ ยุทธศาสตร์ที่ 5 : ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รัฐบาลจัดสรรงบประมาณ จํานวน 122,964.9 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.9 ของวงเงินงบประมาณ เพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน สร้างการเติบโตบนสังคมเศรษฐกิจสีเขียว และบูรณาการความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จําแนกตามแผนงาน ดังนี้ 1) การบริหารจัดการทรัพยากรน้ํา งบประมาณ 54,121.9 ล้านบาท เพื่อให้ประเทศมีความมั่นคงด้านน้ําเพิ่มขึ้น มีการบริหารจัดการทรัพยากรน้ําอย่างเป็นระบบและยั่งยืน รวมทั้งช่วยเหลือและแก้ปัญหาภัยแล้ง โดยการจัดการน้ําอุปโภคบริโภคผ่านการจัดหาแหล่งน้ําสํารองเพื่อระบบประปา 49,381 ครัวเรือน สร้างความมั่นคงด้านน้ําทั้งภาคการผลิต ภาคเกษตร และอุตสาหกรรมให้มีต้นทุนน้ําใช้อย่างสมดุล และเพิ่มผลิตภาพการใช้น้ํา 158.27 ล้านลูกบาศก์เมตร มีพื้นที่รับประโยชน์จากแหล่งน้ําเพิ่มขึ้น 389,037 ไร่ การจัดการน้ําท่วมและบรรเทาสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ชุมชนและพื้นที่เศรษฐกิจ 336,882 ไร่ พัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการน้ําเสีย 333 แห่ง อนุรักษ์ฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ํา ป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูป่าต้นน้ํา 108,223 ไร่ และปลูกป่าฟื้นฟู 14,970 ไร่ 2) การสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน อนุรักษ์ ฟื้นฟู และป้องกันการทําลายทรัพยากรธรรมชาติ งบประมาณ 4,732.0 ล้านบาท เพื่อให้ความหลากหลายทางชีวภาพได้รับการอนุรักษ์และฟื้นฟู โดยพัฒนากลไกและมาตรการในการอนุรักษ์ ปกป้องคุ้มครอง ฟื้นฟูและใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน รักษาพื้นที่ป่าในความดูแล 98.36 ล้านไร่ ส่งเสริมการปลูกไม้เศรษฐกิจแบบครบวงจร 26,910 ไร่ จัดระเบียบการใช้ที่ดินด้วยการจัดทําแผนการจัดการทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ระดับพื้นที่ 3,000 หมู่บ้าน เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งการใช้ประโยชน์ทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ในพื้นที่เขตป่าสงวนแห่งชาติ 3) การจัดการผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ งบประมาณ 1,574.8 ล้านบาท เพื่อให้ประเทศสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและลดผลกระทบจากภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมีเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ไม่น้อยกว่า 56 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ด้วยการสร้างความร่วมมือของภาคีต่าง ๆ เสริมสร้างขีดความสามารถในการลดมลพิษและลดก๊าซเรือนกระจกจากภาคอุตสาหกรรม ส่งเสริมการลงทุนที่ใช้เทคโนโลยีคาร์บอนต่ํา รวมทั้งเพิ่มการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ป่าเพื่อพัฒนาประเทศมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ํา ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพระบบตรวจวัดและการแจ้งเตือนภัยสภาพอากาศ 4) การจัดการมลพิษและสิ่งแวดล้อม งบประมาณ 567.6 ล้านบาท เพื่อให้ประเทศมีการบริหารจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพและเอื้อต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน โดยแก้ไขปัญหาขยะ ทุกประเภทอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ป้องกัน แก้ไขและจัดการมลพิษจากแหล่งกําเนิด จัดการคุณภาพอากาศของแต่ละพื้นที่ให้อยู่ในเกณฑ์มาตฐานที่กําหนด และปริมาณน้ําเสียได้รับการบําบัดได้ ตามมาตรฐานน้ําทิ้งจากระบบบําบัดน้ําเสียชุมชน รวมถึงการส่งเสริมให้โรงพยาบาลมีการพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมได้ตามเกณฑ์ 5) การสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมเศรษฐกิจภาคทะเล งบประมาณ 189.7 ล้านบาท เพื่อให้ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้รับการปรับปรุง ฟื้นฟู และสร้างใหม่ โดยจัดการคุณภาพน้ําทะเล รักษาระบบนิเวศและสัตว์ทะเลหายากใกล้สูญพันธุ์ ตลอดจนคุ้มครอง อนุรักษ์ และฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง 3,148 กิโลเมตร 6) การยกระดับกระบวนทัศน์เพื่อกําหนดอนาคตประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม งบประมาณ 193.3 ล้านบาท เพื่อบริหารจัดการทรัพยากรดิน ส่งเสริมการผลิตและบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สร้างวินัยและการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะ สร้างความตระหนักรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพิ่มประสิทธิภาพการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม 7) การสนับสนุนด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม งบประมาณ 33,033.7 ล้านบาท เพื่ออนุรักษ์ รักษาและใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน สนับสนุนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ํา สนับสนุนการปฏิบัติการฝนหลวง บริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากร รวมทั้งเพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ําบาดาล 8) การดําเนินงานภารกิจพื้นฐาน งบประมาณ 10,111.9 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายบุคลากรภาครัฐ งบประมาณ 18,440.0 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยการบริหารจัดการน้ํา ทรัพยากรธรรมชาติ มลพิษและสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาแหล่งเรียนรู้และแหล่งอนุรักษ์พันธุ์พืช ยุทธศาสตร์ที่ 6 : ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ รัฐบาลจัดสรรงบประมาณรายจ่าย จํานวน 658,012.7 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 20.7 ของวงเงินงบประมาณ เพื่อให้ระบบการบริหารราชการมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มุ่งผลสัมฤทธิ์และผลประโยชน์ ต่อประชาชนส่วนรวม จําแนกตามแผนงาน ดังนี้ การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ งบประมาณ 498.0 ล้านบาท เพื่อลดปัญหาการทุจริตในสังคมไทย โดยมีเป้าหมายค่าดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index : CPI) อยู่ในอันดับ 1 ใน 53 และ/หรือได้คะแนนไม่ต่ํากว่า 51 คะแนน ผ่านการปลูกจิตสํานึกและสร้างค่านิยมให้ทุกภาคส่วนตระหนักรู้ในเรื่องความซื่อสัตย์สุจริต คุณธรรม จริยธรรม และใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารองค์กร ปรับปรุงกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดและเป็นธรรม รวมทั้งให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกัน ปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ เพื่อให้สังคมไทยมีภาพลักษณ์ความซื่อสัตย์สุจริตดีขึ้น ภาครัฐมีความโปร่งใสและตรวจสอบได้ ดิจิทัล งบประมาณ 2,356.0 ล้านบาท เพื่อพัฒนารูปแบบการให้บริการภาครัฐผ่านการนําเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้อย่างคุ้มค่า โดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง ด้วยการสนับสนุนการพัฒนาบริการภาครัฐที่มีคุณค่ารัฐบาลและปฏิบัติงานเทียบได้กับมาตรฐานสากล มีความสะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ โปร่งใสตรวจสอบได้ ลดภาระค่าใช้จ่าย ลดขั้นตอนการทํางาน ทันสมัยและทันต่อสถานการณ์ เชื่อมโยงหน่วยงานและระบบบริการภาครัฐทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของประชาชน ภาคธุรกิจ และผู้ใช้บริการ โดยพัฒนาระบบการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ จํานวน 10 ระบบ จัดทําแพลตฟอร์มกลางเพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจเชิงนโยบาย จํานวน 4 แพลตฟอร์ม รวมถึงพัฒนาแพลตฟอร์มการเรียนรู้สาธารณะออนไลน์ ตลอดจนปรับปรุงระบบการอนุมัติและอนุญาตของภาครัฐ พัฒนาระบบจัดเก็บและเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ ลดข้อจํากัดด้านกฎหมายและแก้ไขกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม ล้าสมัย หรือเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา เพื่อยกระดับการพัฒนาภาครัฐสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล การพัฒนาบริการประชาชนและการพัฒนาประสิทธิภาพภาครัฐ งบประมาณ 28,064.9 ล้านบาท เพื่อพัฒนาระบบอํานวยความสะดวกในการบริการภาครัฐให้สามารถติดต่อราชการได้โดยสะดวก รวดเร็ว โปร่งใส ลดค่าใช้จ่าย และตรวจสอบได้ รวมทั้งการบริหารจัดการการเงิน การคลัง โดยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ ขยายฐานภาษีและการปรับปรุงระบบภาษีที่เหมาะสมกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศ พัฒนาระบบการคลังล่วงหน้าระยะปานกลางและระยะยาว ปรับปรุงระบบงบประมาณให้เป็นกลไกที่มีประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติและแผนในระดับต่าง ๆ ให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการหนี้สาธารณะให้เกิดความยั่งยืนทางการคลังในระยะยาว พร้อมทั้งพัฒนาระบบการติดตามประเมินผลที่สะท้อนการบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติในทุกระดับ และปรับสมดุลภาครัฐโดยการปรับขนาดของภาครัฐให้เหมาะสมควบคู่ไปกับการเสริมสร้างประสิทธิภาพและคุณภาพภายใต้หลักระบบคุณธรรม การพัฒนากฎหมายและกระบวนการยุติธรรม งบประมาณ 10,225.5 ล้านบาท เพื่อพัฒนากฎหมายให้เหมาะสมกับบริบทต่าง ๆ สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนา ตลอดจนการบังคับใช้ กฎหมายให้เป็นไปด้วยความโปร่งใสและมีประสิทธิภาพ โดยมีการนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมด้วยความสะดวก รวดเร็ว เสมอภาค ทั่วถึงและเป็นธรรม การสนับสนุนด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ งบประมาณ 1,579.8 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนเป้าหมายยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และโปร่งใส ร่วมกันปลูกฝังค่านิยมความซื่อสัตย์สุจริต ความมัธยัสถ์ การสร้างจิตสํานึกในการปฏิเสธไม่ยอมรับการทุจริตประพฤติมิชอบ และกฎหมายต้องมีเท่าที่จําเป็น มีความทันสมัยและเป็นสากล มีประสิทธิภาพและนําไปสู่การลดความเหลื่อมล้ํา และเอื้อต่อการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้มีการบริหารที่มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติและอํานวยความยุติธรรมตามหลักนิติธรรม การดําเนินงานภารกิจพื้นฐาน งบประมาณ 432,256.5 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายบุคลากรภาครัฐ งบประมาณ 183,032.0 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐให้มีประสิทธิภาพ ประชาชนได้รับความสะดวก รวดเร็ว และเป็นธรรม รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณรายจ่ายไว้ จํานวน 402,518.0 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 12.6 ของวงเงินงบประมาณ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายรองรับเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นโดยมิได้คาดหมายสําหรับกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น การบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ ดังนี้ รายจ่ายงบกลางเพื่อรองรับกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น จํานวน 95,900 ล้านบาท เพื่อสํารองไว้เป็นค่าใช้จ่ายในการป้องกันหรือแก้ไขสถานการณ์อันกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ความมั่นคงของรัฐ การเยียวยาหรือบรรเทาความเสียหายจากภัยพิบัติสาธารณะร้ายแรง ภารกิจที่เป็นความจําเป็นเร่งด่วนของรัฐ และการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รวมทั้งชดเชยค่างานสิ่งก่อสร้างเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ การบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ จํานวน 306,618.0 ล้านบาท เพื่อชําระคืนต้นเงินกู้ จํานวน 100,000 ล้านบาท ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม จํานวน 206,618.0 ล้านบาท เป็นการสนับสนุนการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐให้เกิดเสถียรภาพทางการคลังและการเงินรวมทั้งการรักษาวินัยทางการคลัง สําหรับเอกสารประกอบได้มีการจัดทําให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 มาตรา 10 และมาตรา 11 ดังนี้ 1. คําแถลงประกอบงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 2. รายรับรายจ่ายเปรียบเทียบระหว่างปีที่ล่วงมาแล้ว ปีปัจจุบันและปีที่ขอตั้งงบประมาณรายจ่าย แสดงไว้ในเอกสารงบประมาณ ฉบับที่ 1 (เล่มคาดส้ม) 3. คําอธิบายเกี่ยวกับประมาณการรายรับและวิธีหาเงินส่วนที่ขาดดุล แสดงไว้ในเอกสารงบประมาณ ฉบับที่ 2 (เล่มคาดเขียว) 4. คําชี้แจงเกี่ยวกับงบประมาณรายจ่ายที่ขอตั้ง ซึ่งรวมถึงการแสดงผลสัมฤทธิ์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการใช้จ่ายงบประมาณและความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แสดงไว้ในเอกสารงบประมาณ ฉบับที่ 3 (เล่มคาดแดง) และฉบับที่ 4 (เล่มคาดเหลือง) 5. รายงานเกี่ยวกับสถานะทางการเงินโดยรวมของรัฐวิสาหกิจ แสดงไว้ในเอกสารงบประมาณ ฉบับที่ 5 (เล่มคาดม่วง) 6. รายงานเกี่ยวกับสถานะเงินนอกงบประมาณและแผนการใช้จ่ายเงินนอกงบประมาณ โดยรวมของหน่วยรับงบประมาณ แสดงไว้ในเอกสารงบประมาณ ฉบับที่ 7 (เล่มคาดชมพู) 7. คําอธิบายเกี่ยวกับหนี้ของรัฐบาลทั้งที่มีอยู่แล้วในปัจจุบันและหนี้ที่เสนอเพิ่มเติม แสดงไว้ในเอกสารงบประมาณ ฉบับที่ 5 (เล่มคาดม่วง) 8. ผลการดําเนินงานและการใช้จ่ายงบประมาณของปีงบประมาณที่ล่วงมาแล้ว แสดงไว้ในเอกสารงบประมาณ ฉบับที่ 6 (เล่มคาดน้ําเงิน) 9. ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ------------------
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/55239
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.สุชาติ ร่วมเวทีถามมา – ตอบไปฯ เปิด มาตรการ ลดเหลื่อมล้ำ ยกระดับสวัสดิการ ดูแลแรงงานรับเศรษฐกิจใหม่หลังโควิด
วันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม 2565 รมว.สุชาติ ร่วมเวทีถามมา – ตอบไปฯ เปิด มาตรการ ลดเหลื่อมล้ํา ยกระดับสวัสดิการ ดูแลแรงงานรับเศรษฐกิจใหม่หลังโควิด รมว.สุชาติ ร่วมเวทีถามมา – ตอบไปฯ เปิด มาตรการ ลดเหลื่อมล้ํา ยกระดับสวัสดิการ ดูแลแรงงานรับเศรษฐกิจใหม่หลังโควิด เมื่อวันที่20พฤษภาคม2565นายสุชาติชมกลิ่นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเป็นวิทยากรร่วมเสวนาในหัวข้อ“ลดความเหลื่อมล้ํายกระดับสวัสดิการ”ภายใต้การประชุมเสวนา“Better Thailand Open Dialogueถามมา-ตอบไปเพื่อประเทศไทยที่ดีกว่าเดิม”โดยมีนางธิวัลรัตน์อังกินันทน์ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานนายสุเทพชิตยวงษ์เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานนายสุทธิสุโกศลประจําสํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประจํากระทรวงแรงงานนางเธียรรัตน์นะวะมะวัฒน์ โฆษกกระทรวงแรงงาน(ฝ่ายการเมือง)พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงานเข้าร่วมด้วยณรอยัลพารากอนฮอล์สยามพารากอนชั้น5ศูนย์การค้าสยามพารากอนเขตปทุมวันกรุงเทพมหานคร นายสุชาติได้กล่าวถึงมาตรการช่วยเหลือแรงงานในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19ที่ผ่านมาว่ารัฐบาลภายใต้การนําของพล.อ.ประยุทธ์จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและพล.อ.ประวิตรวงษ์สุวรรณรองนายกรัฐมนตรีที่กํากับดูแลกระทรวงแรงงานได้มีความห่วงใยพี่น้องผู้ใช้แรงงานทุกคนที่เป็นกําลังสําคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคมรวมทั้งผู้ประกอบการต่อสถานการณ์ดังกล่าวจึงได้มีมาตรการรักษาเยียวยาฟื้นฟูและบริหารจัดการแรงงานทั้งแรงงานในระบบและนอกระบบเพื่อเพิ่มรายได้ลดรายจ่ายรักษาและกระตุ้นการจ้างงานให้พี่น้องผู้ใช้แรงงานสามารถมีงานทํามีอาชีพมีรายได้และนายจ้างสามารถประกอบธุรกิจและขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศต่อไปได้ผ่านโครงการต่างๆได้แก่การใช้เงินกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างเยียวยาลูกจ้างที่ไม่ได้รับเงินตามกฎหมายคณะกรรมการกองทุนเพื่อผู้ใช้แรงงานปล่อยกู้ให้สหกรณ์ออมทรัพย์ในสถานประกอบการและในรัฐวิสาหกิจเพื่อนําไปปล่อยกู้ต่อให้กับแรงงานที่เป็นสมาชิกเพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัยปรับเพิ่มประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานถูกเลิกจ้างลาออกสิ้นสุดสัญญาจ้างปล่อยสินเชื่อเพื่อส่งเสริมการจ้างงานแก่สถานประกอบการโครงการม33เรารักกันโครงการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตนเปิดจุดตรวจโควิด– 19เปิดสายด่วน1506กด6ประสานจัดหาเตียงHospitelฉีดวัคซีนป้องกันโควิด- 19ผู้ใช้แรงงานโครงการสินเชื่อเพื่อส่งเสริมการจ้างงานลดอัตราเงินสมทบแก่ผู้ประกันตนมาตรา33 ,39,40เยียวยาผู้ประกันตนในกิจการสถานบันเทิงและผู้ประกอบการอาชีพอิสระที่ทํางานเกี่ยวข้องกับสถานบันเทิงที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐโครงการส่งเสริมและรักษาระดับการจ้างงานในธุรกิจSMEsโครงการFactory Sandboxบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวอย่างเป็นระบบแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงานส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ในสถานประกอบกิจการเป็นต้น นายสุชาติกล่าวต่อว่ากระทรวงแรงงานยังมีการบริหารจัดการให้แรงงานนอกระบบได้รับการคุ้มครองและการพัฒนาสมรรถนะแรงงานเพื่อรองรับตลาดแรงงานในปัจจุบันและอนาคตโดยได้เสนอพ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและคุ้มครองแรงงานนอกระบบเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่แรงงานนอกระบบให้สามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานในการประกอบอาชีพได้รับการคุ้มครองมีหลักประกันทางสังคมและรวมกลุ่มจัดตั้งองค์กรได้การปรับปรุงกองทุนเพื่อผู้รับงานไปทําที่บ้านเป็นกองทุนแรงงานนอกระบบเพื่อให้แรงงานได้มีโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้นในด้านการส่งเสริมการมีงานทําได้เตรียมตําแหน่งงานว่างทั้งในประเทศและต่างประเทศเกือบ3แสนอัตราผ่านแพลตฟอร์มแอพพลิเคชั่นไทยมีงานทําพร้อมพบปะผู้นายจ้างประกอบการเพื่อรักษาตลาดเดิมขยายตลาดแรงงานใหม่จัดส่งคนไทยไปทํางานไปยังต่างประเทศมากขึ้นอาทิออสเตรเลียญี่ปุ่นเกาหลีสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และซาอุดีอาระเบียในด้านการพัฒนาสมรรถนะแรงงานได้ยกระดับและพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานUp Skill Re – SkillและNew –Skillฝึกอบรมการประกอบอาชีพผ่านระบบออนไลน์การจัดหาแรงงานและพัฒนาทักษะแรงงานเพื่อรองรับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการนอกจากนี้กระทรวงแรงงานยังได้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติประกันสังคมตามแนวทางแผนการปฏิรูปประกันสังคมเพื่อเพิ่มสิทธิประโยชน์ต่างๆแก่ผู้ประกันตนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไปรวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้ประกันตนมีสิทธิเลือกรับบําเหน็จบํานาญชราภาพเป็นหลักประกันการกู้เงินกับสถาบันการเงินได้และนําเงินกรณีชราภาพที่ตนเองสมทบอยู่ในกองทุนประกันสังคมออกมาใช้ก่อนบางส่วนได้ตลอดจนรองรับสังคมผู้สูงอายุอีกด้วย “กระทรวงแรงงานมุ่งมั่นยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงานในทุกมิติด้วยการพัฒนาสมรรถนะแรงงานให้มีทักษะฝีมือที่สูงขึ้นมีงานทํามีอาชีพมีรายได้ที่เหมาะสมได้รับความคุ้มครองมีหลักประกันทางสังคมและมีคุณภาพชีวิตที่ดีรองรับการเติบโตของระบบเศรษฐกิจใหม่และสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศและนโยบายเปิดประเทศฟื้นเศรษฐกิจของรัฐบาลภายหลังโควิดคลี่คลาย”นายสุชาติกล่าวท้ายสุด +++++++++++++++++++ กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ 20พฤษภาคม2565
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.สุชาติ ร่วมเวทีถามมา – ตอบไปฯ เปิด มาตรการ ลดเหลื่อมล้ำ ยกระดับสวัสดิการ ดูแลแรงงานรับเศรษฐกิจใหม่หลังโควิด วันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม 2565 รมว.สุชาติ ร่วมเวทีถามมา – ตอบไปฯ เปิด มาตรการ ลดเหลื่อมล้ํา ยกระดับสวัสดิการ ดูแลแรงงานรับเศรษฐกิจใหม่หลังโควิด รมว.สุชาติ ร่วมเวทีถามมา – ตอบไปฯ เปิด มาตรการ ลดเหลื่อมล้ํา ยกระดับสวัสดิการ ดูแลแรงงานรับเศรษฐกิจใหม่หลังโควิด เมื่อวันที่20พฤษภาคม2565นายสุชาติชมกลิ่นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเป็นวิทยากรร่วมเสวนาในหัวข้อ“ลดความเหลื่อมล้ํายกระดับสวัสดิการ”ภายใต้การประชุมเสวนา“Better Thailand Open Dialogueถามมา-ตอบไปเพื่อประเทศไทยที่ดีกว่าเดิม”โดยมีนางธิวัลรัตน์อังกินันทน์ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานนายสุเทพชิตยวงษ์เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานนายสุทธิสุโกศลประจําสํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประจํากระทรวงแรงงานนางเธียรรัตน์นะวะมะวัฒน์ โฆษกกระทรวงแรงงาน(ฝ่ายการเมือง)พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงานเข้าร่วมด้วยณรอยัลพารากอนฮอล์สยามพารากอนชั้น5ศูนย์การค้าสยามพารากอนเขตปทุมวันกรุงเทพมหานคร นายสุชาติได้กล่าวถึงมาตรการช่วยเหลือแรงงานในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19ที่ผ่านมาว่ารัฐบาลภายใต้การนําของพล.อ.ประยุทธ์จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและพล.อ.ประวิตรวงษ์สุวรรณรองนายกรัฐมนตรีที่กํากับดูแลกระทรวงแรงงานได้มีความห่วงใยพี่น้องผู้ใช้แรงงานทุกคนที่เป็นกําลังสําคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคมรวมทั้งผู้ประกอบการต่อสถานการณ์ดังกล่าวจึงได้มีมาตรการรักษาเยียวยาฟื้นฟูและบริหารจัดการแรงงานทั้งแรงงานในระบบและนอกระบบเพื่อเพิ่มรายได้ลดรายจ่ายรักษาและกระตุ้นการจ้างงานให้พี่น้องผู้ใช้แรงงานสามารถมีงานทํามีอาชีพมีรายได้และนายจ้างสามารถประกอบธุรกิจและขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศต่อไปได้ผ่านโครงการต่างๆได้แก่การใช้เงินกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างเยียวยาลูกจ้างที่ไม่ได้รับเงินตามกฎหมายคณะกรรมการกองทุนเพื่อผู้ใช้แรงงานปล่อยกู้ให้สหกรณ์ออมทรัพย์ในสถานประกอบการและในรัฐวิสาหกิจเพื่อนําไปปล่อยกู้ต่อให้กับแรงงานที่เป็นสมาชิกเพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัยปรับเพิ่มประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานถูกเลิกจ้างลาออกสิ้นสุดสัญญาจ้างปล่อยสินเชื่อเพื่อส่งเสริมการจ้างงานแก่สถานประกอบการโครงการม33เรารักกันโครงการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตนเปิดจุดตรวจโควิด– 19เปิดสายด่วน1506กด6ประสานจัดหาเตียงHospitelฉีดวัคซีนป้องกันโควิด- 19ผู้ใช้แรงงานโครงการสินเชื่อเพื่อส่งเสริมการจ้างงานลดอัตราเงินสมทบแก่ผู้ประกันตนมาตรา33 ,39,40เยียวยาผู้ประกันตนในกิจการสถานบันเทิงและผู้ประกอบการอาชีพอิสระที่ทํางานเกี่ยวข้องกับสถานบันเทิงที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐโครงการส่งเสริมและรักษาระดับการจ้างงานในธุรกิจSMEsโครงการFactory Sandboxบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวอย่างเป็นระบบแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงานส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ในสถานประกอบกิจการเป็นต้น นายสุชาติกล่าวต่อว่ากระทรวงแรงงานยังมีการบริหารจัดการให้แรงงานนอกระบบได้รับการคุ้มครองและการพัฒนาสมรรถนะแรงงานเพื่อรองรับตลาดแรงงานในปัจจุบันและอนาคตโดยได้เสนอพ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและคุ้มครองแรงงานนอกระบบเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่แรงงานนอกระบบให้สามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานในการประกอบอาชีพได้รับการคุ้มครองมีหลักประกันทางสังคมและรวมกลุ่มจัดตั้งองค์กรได้การปรับปรุงกองทุนเพื่อผู้รับงานไปทําที่บ้านเป็นกองทุนแรงงานนอกระบบเพื่อให้แรงงานได้มีโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้นในด้านการส่งเสริมการมีงานทําได้เตรียมตําแหน่งงานว่างทั้งในประเทศและต่างประเทศเกือบ3แสนอัตราผ่านแพลตฟอร์มแอพพลิเคชั่นไทยมีงานทําพร้อมพบปะผู้นายจ้างประกอบการเพื่อรักษาตลาดเดิมขยายตลาดแรงงานใหม่จัดส่งคนไทยไปทํางานไปยังต่างประเทศมากขึ้นอาทิออสเตรเลียญี่ปุ่นเกาหลีสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และซาอุดีอาระเบียในด้านการพัฒนาสมรรถนะแรงงานได้ยกระดับและพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานUp Skill Re – SkillและNew –Skillฝึกอบรมการประกอบอาชีพผ่านระบบออนไลน์การจัดหาแรงงานและพัฒนาทักษะแรงงานเพื่อรองรับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการนอกจากนี้กระทรวงแรงงานยังได้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติประกันสังคมตามแนวทางแผนการปฏิรูปประกันสังคมเพื่อเพิ่มสิทธิประโยชน์ต่างๆแก่ผู้ประกันตนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไปรวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้ประกันตนมีสิทธิเลือกรับบําเหน็จบํานาญชราภาพเป็นหลักประกันการกู้เงินกับสถาบันการเงินได้และนําเงินกรณีชราภาพที่ตนเองสมทบอยู่ในกองทุนประกันสังคมออกมาใช้ก่อนบางส่วนได้ตลอดจนรองรับสังคมผู้สูงอายุอีกด้วย “กระทรวงแรงงานมุ่งมั่นยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงานในทุกมิติด้วยการพัฒนาสมรรถนะแรงงานให้มีทักษะฝีมือที่สูงขึ้นมีงานทํามีอาชีพมีรายได้ที่เหมาะสมได้รับความคุ้มครองมีหลักประกันทางสังคมและมีคุณภาพชีวิตที่ดีรองรับการเติบโตของระบบเศรษฐกิจใหม่และสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศและนโยบายเปิดประเทศฟื้นเศรษฐกิจของรัฐบาลภายหลังโควิดคลี่คลาย”นายสุชาติกล่าวท้ายสุด +++++++++++++++++++ กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ 20พฤษภาคม2565
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/54822
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมช.ประภัตร ลงพื้นที่อำเภอหนองปรือ เปิดโครงการรณรงค์การป้องกันและควบคุมโรคลัมปี – สกิน
วันอาทิตย์ที่ 20 มิถุนายน 2564 รมช.ประภัตร ลงพื้นที่อําเภอหนองปรือ เปิดโครงการรณรงค์การป้องกันและควบคุมโรคลัมปี – สกิน รมช.ประภัตร ลงพื้นที่อําเภอหนองปรือ เปิดโครงการรณรงค์การป้องกันและควบคุมโรคลัมปี – สกิน พร้อมผลักดันโครงการเงินกู้ 50,000 ล้าน ดอกเบี้ยล้านละร้อย เพื่อเกษตรกรจังหวัดกาญจนบุรี สร้างอาชีพ สร้างรายได้ อย่างยั่งยืน (วันที่ 20 มิถุนายน 2564) นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่อําเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นประธานพิธีเปิดโครงการรณรงค์การป้องกันและควบคุมโรคลัมปี - สกิน (Lumpk Skin Disesae) พร้อมมอบเวชภัณฑ์อาหารสัตว์ ยารักษาสัตว์ป่วยตามอาการ ยากําจัดแมลง และหญ้าแห้งอาหารสัตว์ ให้กับเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่ และเยี่ยมชมการสาธิตการจัดการฟาร์ม ณ วีซ่าฟาร์ม โดยมี หัวหน้าส่วนราชการในพื้นที่ ตลอดจนผู้นําภาคประชาชนเข้าร่วม “ขณะนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กําลังพิจารณาดําเนินการของบกลาง และจะนําเข้าครม. ในวันอังคารนี้ เพื่อให้กรมปศุสัตว์มีงบประมาณ ในการสั่งซื้อวัคซีนเพิ่มอีก 8 ล้านโด๊ส และสั่งซื้อยารักษาสัตว์ตามอาการ มุ้งสีฟ้า ยากําจัดแมลงดูดเลือด และอื่นๆ อีกนับสิบรายการเพื่อใช้ในการควบคุมโรคลัมปี – สกิน นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เตรียมเสนอต่ออธิบดีกรมบัญชีกลางและปลัดกระทรวงการคลังเพื่อปรับปรุงระเบียบการจ่ายเงินชดเชยกรณีโค - กระบือ เสียชีวิต จากโรคลัมปี - สกิน โดยเรทการชดเชยใหม่จะจ่ายสูงสุดถึง 41,000 บาท/ตัว จ่ายตามจริง ไม่เกิน 5 ตัว" รมช.ประภัตร กล่าว นอกจากนี้ รมช.ประภัตรยังได้แนะนําโครงการประกันโค - กระบือ ของกรมปศุสัตว์ ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ โดยจ่ายเบี้ยเพียงเดือนละ 100 บาท จ่ายทั้งสิ้น 4 เดือน คุ้มครองการตายทุกกรณี จ่ายเงิน 30000 บาทต่อตัว และโครงการสินเชื่อ 50,000 ล้านบาท เงินกู้อัตราดอกเบี้ยต่ํา “ล้านละร้อย” โดยเกษตรกรต้องรวมกลุ่มให้ได้ 7 คน จัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชน ทําเกษตรกรรม โดยมีตลาดรองรับผลผลิต ก็สามารถยื่นกู้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) โดยไม่ต้องมีหลักทรัพย์ วงเงินกู้สูงสุดกลุ่มละ 10 ล้านบาท ระยะเวลากู้ 3 ปี หากเกษตรกรสนใจโครงการดังกล่าว สามารถติดต่อขอคําแนะนําเพิ่มเติมได้ที่สํานักงานปศุสัตว์หรือธกส. ในพื้นที่ ทั้งนี้ จังหวัดกาญจนบุรี มีพื้นที่ทําการเกษตรประมาณ 3 ล้านไร่เศษ โดยมีเกษตรกรผู้เลี้ยงโค - กระบือ จํานวน 14,272 ราย มีจํานวนโค - กระบือ รวม 319,371 ตัว มีจํานวนโค - กระบือ ป่วยสะสม 1,639 ตัว รักษาหายแล้ว 394 ตัว โดยจังหวัดกาญจนบุรีได้มีมาตรฐานการควบคุมการเคลื่อนย้ายสัตว์ เพื่อควบคุมโรคลัมปี - สกิน เพื่อผ้องกันการแพร่ระบาดแล้ว (ข้อมูล ณ วันที่ 19 มิถุนายน 2564)
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมช.ประภัตร ลงพื้นที่อำเภอหนองปรือ เปิดโครงการรณรงค์การป้องกันและควบคุมโรคลัมปี – สกิน วันอาทิตย์ที่ 20 มิถุนายน 2564 รมช.ประภัตร ลงพื้นที่อําเภอหนองปรือ เปิดโครงการรณรงค์การป้องกันและควบคุมโรคลัมปี – สกิน รมช.ประภัตร ลงพื้นที่อําเภอหนองปรือ เปิดโครงการรณรงค์การป้องกันและควบคุมโรคลัมปี – สกิน พร้อมผลักดันโครงการเงินกู้ 50,000 ล้าน ดอกเบี้ยล้านละร้อย เพื่อเกษตรกรจังหวัดกาญจนบุรี สร้างอาชีพ สร้างรายได้ อย่างยั่งยืน (วันที่ 20 มิถุนายน 2564) นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่อําเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นประธานพิธีเปิดโครงการรณรงค์การป้องกันและควบคุมโรคลัมปี - สกิน (Lumpk Skin Disesae) พร้อมมอบเวชภัณฑ์อาหารสัตว์ ยารักษาสัตว์ป่วยตามอาการ ยากําจัดแมลง และหญ้าแห้งอาหารสัตว์ ให้กับเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่ และเยี่ยมชมการสาธิตการจัดการฟาร์ม ณ วีซ่าฟาร์ม โดยมี หัวหน้าส่วนราชการในพื้นที่ ตลอดจนผู้นําภาคประชาชนเข้าร่วม “ขณะนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กําลังพิจารณาดําเนินการของบกลาง และจะนําเข้าครม. ในวันอังคารนี้ เพื่อให้กรมปศุสัตว์มีงบประมาณ ในการสั่งซื้อวัคซีนเพิ่มอีก 8 ล้านโด๊ส และสั่งซื้อยารักษาสัตว์ตามอาการ มุ้งสีฟ้า ยากําจัดแมลงดูดเลือด และอื่นๆ อีกนับสิบรายการเพื่อใช้ในการควบคุมโรคลัมปี – สกิน นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เตรียมเสนอต่ออธิบดีกรมบัญชีกลางและปลัดกระทรวงการคลังเพื่อปรับปรุงระเบียบการจ่ายเงินชดเชยกรณีโค - กระบือ เสียชีวิต จากโรคลัมปี - สกิน โดยเรทการชดเชยใหม่จะจ่ายสูงสุดถึง 41,000 บาท/ตัว จ่ายตามจริง ไม่เกิน 5 ตัว" รมช.ประภัตร กล่าว นอกจากนี้ รมช.ประภัตรยังได้แนะนําโครงการประกันโค - กระบือ ของกรมปศุสัตว์ ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ โดยจ่ายเบี้ยเพียงเดือนละ 100 บาท จ่ายทั้งสิ้น 4 เดือน คุ้มครองการตายทุกกรณี จ่ายเงิน 30000 บาทต่อตัว และโครงการสินเชื่อ 50,000 ล้านบาท เงินกู้อัตราดอกเบี้ยต่ํา “ล้านละร้อย” โดยเกษตรกรต้องรวมกลุ่มให้ได้ 7 คน จัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชน ทําเกษตรกรรม โดยมีตลาดรองรับผลผลิต ก็สามารถยื่นกู้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) โดยไม่ต้องมีหลักทรัพย์ วงเงินกู้สูงสุดกลุ่มละ 10 ล้านบาท ระยะเวลากู้ 3 ปี หากเกษตรกรสนใจโครงการดังกล่าว สามารถติดต่อขอคําแนะนําเพิ่มเติมได้ที่สํานักงานปศุสัตว์หรือธกส. ในพื้นที่ ทั้งนี้ จังหวัดกาญจนบุรี มีพื้นที่ทําการเกษตรประมาณ 3 ล้านไร่เศษ โดยมีเกษตรกรผู้เลี้ยงโค - กระบือ จํานวน 14,272 ราย มีจํานวนโค - กระบือ รวม 319,371 ตัว มีจํานวนโค - กระบือ ป่วยสะสม 1,639 ตัว รักษาหายแล้ว 394 ตัว โดยจังหวัดกาญจนบุรีได้มีมาตรฐานการควบคุมการเคลื่อนย้ายสัตว์ เพื่อควบคุมโรคลัมปี - สกิน เพื่อผ้องกันการแพร่ระบาดแล้ว (ข้อมูล ณ วันที่ 19 มิถุนายน 2564)
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/42893
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมทางหลวงขานรับนโยบาย “คมนาคมสีสัน สร้างสรรค์ประเทศไทย” เร่งปรับปรุงภูมิทัศน์ทางหลวงรับเทศกาลปีใหม่ 2565
วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน 2564 กรมทางหลวงขานรับนโยบาย “คมนาคมสีสัน สร้างสรรค์ประเทศไทย” เร่งปรับปรุงภูมิทัศน์ทางหลวงรับเทศกาลปีใหม่ 2565 เป็นการอํานวยความสะดวกในการเดินทางแก่ประชาชนพร้อมทั้งส่งเสริมทัศนียภาพระหว่างการเดินทาง ช่วยหนุนการท่องเที่ยวภายในประเทศและกระตุ้นเศรษฐกิจในท้องถิ่น กรมทางหลวง (ทล.) กระทรวงคมนาคม เตรียมความพร้อมปรับปรุงทางหลวงให้สวยงามตามนโยบาย “คมนาคมสีสัน สร้างสรรค์ประเทศไทย” ของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ที่ได้สั่งการให้ ทล. เตรียมความพร้อมในทุกด้าน โดยเฉพาะเรื่องการอํานวยความสะดวกในการเดินทางและปรับปรุงทัศนียภาพทางหลวงให้มีความสวยงามทันช่วงเทศกาลปีใหม่ 2565 นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผยถึงการปรับปรุงทางหลวงเพื่อรองรับ การเดินทางท่องเที่ยวของประชาชนในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2565 ตามนโยบาย “คมนาคมสีสัน สร้างสรรค์ประเทศไทย” ว่า นโยบายดังกล่าวเป็นการอํานวยความสะดวกในการเดินทางแก่ประชาชนพร้อมทั้งส่งเสริมทัศนียภาพระหว่างการเดินทาง ช่วยหนุนการท่องเที่ยวภายในประเทศและกระตุ้นเศรษฐกิจในท้องถิ่น ปัจจุบัน ทล. ได้เริ่มดําเนินการแล้ว 2 โครงการดังนี้ 1. โครงการเตรียมความพร้อมจุดเช็กอินกรมทางหลวง เริ่มทําความสะอาด ตกแต่ง ปรับปรุงป้ายและจัดเตรียมจุดเช็กอินให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ เพื่อรองรับการเดินทางท่องเที่ยวของประชาชนในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2565 ตามนโยบายดังกล่าว โดยดําเนินการใน 11 จังหวัด จํานวน 11 จุด ได้แก่ - ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ - โค้งปิ้งงู จังหวัดสกลนคร - จุดกางเต็นท์ เขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ - แยกไดโนเสาร์ จังหวัดขอนแก่น - อุโมงค์สัตว์ข้ามวังน้ําเขียว จังหวัดปราจีนบุรี - จุดพักรถลําตะคลอง จังหวัดนครราชสีมา - จุดกางเต็นท์หมวดทางหลวงบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี - แยกห้วยมงคล จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ - โค้งมโนราห์ จังหวัดพัทลุง - จุดพักสูดอากาศบริสุทธิ์เขาช้างสี จังหวัดนครศรีธรรมราช - วงเวียนปลาพะยูน จังหวัดตรัง 2. โครงการปรับปรุงทางหลวงให้สวยงาม ระยะที่ 1 ประกอบด้วย 3 แผนงานดังนี้ - แผนงานเพิ่มศักยภาพถนนสายต้นไม้และดอกไม้ โดยดําเนินการบํารุงรักษาหรือปลูกเพิ่มในจังหวัดที่มีไม้ยืนต้นออกดอกสีสันสวยงามบริเวณสองข้างทางหลวง ด้วยพันธุ์ไม้ประจําถิ่นเพื่อสร้างเอกลักษณ์ของเส้นทางใน 15 จังหวัด จํานวน 20 แห่ง - แผนงาน 1 จังหวัด 1 ถนนสวยงาม ดําเนินการในทุกจังหวัดทั่วประเทศโดยการปรับปรุงภูมิทัศน์สองข้าง บริเวณทางแยกต่างระดับหรือบริเวณเกาะกลางเพื่อเป็นแลนด์มาร์กใหม่ในการเดินทางท่องเที่ยว จํานวน 77 แห่ง โดยในเบื้องต้นจะนําร่องถนนเฉลิมพระเกียรติที่อยู่ในความรับผิดชอบของ ทล. - แผนงานปรับปรุงจุดให้บริการประชาชน ดําเนินการในจังหวัดท่องเที่ยว 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดตาก อุบลราชธานี ศรีสะเกษ และกาญจนบุรี โดยได้ทําการปรับปรุงห้องน้ําบริการประชาชนและลาน กางเต็นท์ จุดจอดรถ ไฟฟ้าแสงสว่าง ป้ายแนะนําภายนอกและภายในบริเวณจุดบริการประชาชน ทล. พร้อมนํานโยบายไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้ทางหลวงมีภูมิทัศน์ที่สวยงามที่มาพร้อมกับความปลอดภัย โดยเฉพาะการปลูกต้นไม้ ดอกไม้สองข้างทางหลวงให้มีความร่มรื่นสบายตา ดังนั้นจะพิจารณาเส้นทางที่มีศักยภาพก่อนปรับปรุงหรือดูแลบํารุงรักษาในสิ่งที่มีอยู่ ช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจของประชาชนในพื้นที่และสร้างเส้นทางแห่งการท่องเที่ยวต่อไป
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมทางหลวงขานรับนโยบาย “คมนาคมสีสัน สร้างสรรค์ประเทศไทย” เร่งปรับปรุงภูมิทัศน์ทางหลวงรับเทศกาลปีใหม่ 2565 วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน 2564 กรมทางหลวงขานรับนโยบาย “คมนาคมสีสัน สร้างสรรค์ประเทศไทย” เร่งปรับปรุงภูมิทัศน์ทางหลวงรับเทศกาลปีใหม่ 2565 เป็นการอํานวยความสะดวกในการเดินทางแก่ประชาชนพร้อมทั้งส่งเสริมทัศนียภาพระหว่างการเดินทาง ช่วยหนุนการท่องเที่ยวภายในประเทศและกระตุ้นเศรษฐกิจในท้องถิ่น กรมทางหลวง (ทล.) กระทรวงคมนาคม เตรียมความพร้อมปรับปรุงทางหลวงให้สวยงามตามนโยบาย “คมนาคมสีสัน สร้างสรรค์ประเทศไทย” ของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ที่ได้สั่งการให้ ทล. เตรียมความพร้อมในทุกด้าน โดยเฉพาะเรื่องการอํานวยความสะดวกในการเดินทางและปรับปรุงทัศนียภาพทางหลวงให้มีความสวยงามทันช่วงเทศกาลปีใหม่ 2565 นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผยถึงการปรับปรุงทางหลวงเพื่อรองรับ การเดินทางท่องเที่ยวของประชาชนในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2565 ตามนโยบาย “คมนาคมสีสัน สร้างสรรค์ประเทศไทย” ว่า นโยบายดังกล่าวเป็นการอํานวยความสะดวกในการเดินทางแก่ประชาชนพร้อมทั้งส่งเสริมทัศนียภาพระหว่างการเดินทาง ช่วยหนุนการท่องเที่ยวภายในประเทศและกระตุ้นเศรษฐกิจในท้องถิ่น ปัจจุบัน ทล. ได้เริ่มดําเนินการแล้ว 2 โครงการดังนี้ 1. โครงการเตรียมความพร้อมจุดเช็กอินกรมทางหลวง เริ่มทําความสะอาด ตกแต่ง ปรับปรุงป้ายและจัดเตรียมจุดเช็กอินให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ เพื่อรองรับการเดินทางท่องเที่ยวของประชาชนในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2565 ตามนโยบายดังกล่าว โดยดําเนินการใน 11 จังหวัด จํานวน 11 จุด ได้แก่ - ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ - โค้งปิ้งงู จังหวัดสกลนคร - จุดกางเต็นท์ เขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ - แยกไดโนเสาร์ จังหวัดขอนแก่น - อุโมงค์สัตว์ข้ามวังน้ําเขียว จังหวัดปราจีนบุรี - จุดพักรถลําตะคลอง จังหวัดนครราชสีมา - จุดกางเต็นท์หมวดทางหลวงบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี - แยกห้วยมงคล จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ - โค้งมโนราห์ จังหวัดพัทลุง - จุดพักสูดอากาศบริสุทธิ์เขาช้างสี จังหวัดนครศรีธรรมราช - วงเวียนปลาพะยูน จังหวัดตรัง 2. โครงการปรับปรุงทางหลวงให้สวยงาม ระยะที่ 1 ประกอบด้วย 3 แผนงานดังนี้ - แผนงานเพิ่มศักยภาพถนนสายต้นไม้และดอกไม้ โดยดําเนินการบํารุงรักษาหรือปลูกเพิ่มในจังหวัดที่มีไม้ยืนต้นออกดอกสีสันสวยงามบริเวณสองข้างทางหลวง ด้วยพันธุ์ไม้ประจําถิ่นเพื่อสร้างเอกลักษณ์ของเส้นทางใน 15 จังหวัด จํานวน 20 แห่ง - แผนงาน 1 จังหวัด 1 ถนนสวยงาม ดําเนินการในทุกจังหวัดทั่วประเทศโดยการปรับปรุงภูมิทัศน์สองข้าง บริเวณทางแยกต่างระดับหรือบริเวณเกาะกลางเพื่อเป็นแลนด์มาร์กใหม่ในการเดินทางท่องเที่ยว จํานวน 77 แห่ง โดยในเบื้องต้นจะนําร่องถนนเฉลิมพระเกียรติที่อยู่ในความรับผิดชอบของ ทล. - แผนงานปรับปรุงจุดให้บริการประชาชน ดําเนินการในจังหวัดท่องเที่ยว 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดตาก อุบลราชธานี ศรีสะเกษ และกาญจนบุรี โดยได้ทําการปรับปรุงห้องน้ําบริการประชาชนและลาน กางเต็นท์ จุดจอดรถ ไฟฟ้าแสงสว่าง ป้ายแนะนําภายนอกและภายในบริเวณจุดบริการประชาชน ทล. พร้อมนํานโยบายไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้ทางหลวงมีภูมิทัศน์ที่สวยงามที่มาพร้อมกับความปลอดภัย โดยเฉพาะการปลูกต้นไม้ ดอกไม้สองข้างทางหลวงให้มีความร่มรื่นสบายตา ดังนั้นจะพิจารณาเส้นทางที่มีศักยภาพก่อนปรับปรุงหรือดูแลบํารุงรักษาในสิ่งที่มีอยู่ ช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจของประชาชนในพื้นที่และสร้างเส้นทางแห่งการท่องเที่ยวต่อไป
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/48034
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-PM urges public to wait for court ruling on his 8-year tenure
วันอังคารที่ 23 สิงหาคม 2565 PM urges public to wait for court ruling on his 8-year tenure PM urges public to wait for court ruling on his 8-year tenure August 23, 2022, Deputy Secretary-General to the Prime Minister and Acting Government Spokesperson Anucha Burapachaisri disclosed that Prime Minister and Defense Minister Gen. Prayut Chan-o-cha emphasized about the issue of his 8-year tenure that he will listen to the court’s ruling, and affirmed that even the Prime Minister may not transgress into court jurisdiction. He called on the public to have faith in the law and the Rule of Law. According to the Acting Government Spokesperson, with the current situation where the COVID-19 pandemic is still looming, public gathering to pressure for the Prime Minister’s resignation should be refrained as it may be considered a defying act against the Emergency Decree nationwide as a result of the COVID-19 situation.
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-PM urges public to wait for court ruling on his 8-year tenure วันอังคารที่ 23 สิงหาคม 2565 PM urges public to wait for court ruling on his 8-year tenure PM urges public to wait for court ruling on his 8-year tenure August 23, 2022, Deputy Secretary-General to the Prime Minister and Acting Government Spokesperson Anucha Burapachaisri disclosed that Prime Minister and Defense Minister Gen. Prayut Chan-o-cha emphasized about the issue of his 8-year tenure that he will listen to the court’s ruling, and affirmed that even the Prime Minister may not transgress into court jurisdiction. He called on the public to have faith in the law and the Rule of Law. According to the Acting Government Spokesperson, with the current situation where the COVID-19 pandemic is still looming, public gathering to pressure for the Prime Minister’s resignation should be refrained as it may be considered a defying act against the Emergency Decree nationwide as a result of the COVID-19 situation.
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/58366
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกฯ ขอบคุณทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยจัดการดำเนินการอำนวยความสะดวกให้ชาวต่างชาติในไทยได้รับวัคซีน ซึ่งรับแล้วมากกว่า 1 ล้านคน
วันจันทร์ที่ 18 ตุลาคม 2564 นายกฯ ขอบคุณทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยจัดการดําเนินการอํานวยความสะดวกให้ชาวต่างชาติในไทยได้รับวัคซีน ซึ่งรับแล้วมากกว่า 1 ล้านคน นายกฯ ขอบคุณทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยจัดการดําเนินการอํานวยความสะดวกให้ชาวต่างชาติในไทยได้รับวัคซีน ซึ่งรับแล้วมากกว่า 1 ล้านคน นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ต่อกรณีที่กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงสาธารณสุขได้ประสานงานร่วมกันเปิดเว็บไซต์ให้ชาวต่างชาติที่มีถิ่นพํานักในไทย โดยไม่คํานึงถึงสัญชาติ ทุกกลุ่มอายุและทุกจังหวัด ลงทะเบียนเพื่อรับวัคซีนทางเว็บไซต์ https://expatvac.consular.go.th ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2564 นั้น ภาพรวมมีชาวต่างชาติที่ได้รับการฉีดวัคซีนแล้วทั้งสิ้นกว่า 1 ล้านคน พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รับทราบผลการดําเนินการดังกล่าว และขอบคุณทุกหน่วยงานที่พร้อมดําเนินการตามแนวนโยบายของรัฐบาลอย่างเต็มที่เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ชาวต่างชาติที่ใช้ชีวิตในประเทศไทยอย่างเท่าเทียม เพื่อให้ทุกคนในประเทศไทยมีสุขภาพที่ดี และได้ฝากความห่วงใยยังชาวไทยทุกคนที่ดํารงชีวิตในต่างประเทศด้วย ทั้งนี้ โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ขณะนี้มีชาวต่างชาติลงทะเบียนขอรับการฉีดวัคซีนแล้วจํานวนประมาณ 7 หมื่นคน “รัฐบาลเชื่อมั่นว่าการดําเนินการเพื่อดูแลชาวต่างชาติในไทยเป็นไปตามวิสัยทัศน์ และหลักการของความเท่าเทียม ซึ่งรัฐบาลไทยมีเป้าหมายที่จะฉีดวัคซีนให้ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่มีถิ่นพํานักในประเทศไทย อย่างทั่วถึงให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 70 ภายในสิ้นปี2564 นี้ และไทยตั้งเป้าหมายเปิดประเทศบนพื้นฐานของการอยู่ร่วมกับโควิด – 19 ได้อย่างปลอดภัยและสมดุล โดยใช้แผน Smart Control and Living with COVID-19” นายธนกรฯ กล่าว
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกฯ ขอบคุณทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยจัดการดำเนินการอำนวยความสะดวกให้ชาวต่างชาติในไทยได้รับวัคซีน ซึ่งรับแล้วมากกว่า 1 ล้านคน วันจันทร์ที่ 18 ตุลาคม 2564 นายกฯ ขอบคุณทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยจัดการดําเนินการอํานวยความสะดวกให้ชาวต่างชาติในไทยได้รับวัคซีน ซึ่งรับแล้วมากกว่า 1 ล้านคน นายกฯ ขอบคุณทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยจัดการดําเนินการอํานวยความสะดวกให้ชาวต่างชาติในไทยได้รับวัคซีน ซึ่งรับแล้วมากกว่า 1 ล้านคน นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ต่อกรณีที่กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงสาธารณสุขได้ประสานงานร่วมกันเปิดเว็บไซต์ให้ชาวต่างชาติที่มีถิ่นพํานักในไทย โดยไม่คํานึงถึงสัญชาติ ทุกกลุ่มอายุและทุกจังหวัด ลงทะเบียนเพื่อรับวัคซีนทางเว็บไซต์ https://expatvac.consular.go.th ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2564 นั้น ภาพรวมมีชาวต่างชาติที่ได้รับการฉีดวัคซีนแล้วทั้งสิ้นกว่า 1 ล้านคน พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รับทราบผลการดําเนินการดังกล่าว และขอบคุณทุกหน่วยงานที่พร้อมดําเนินการตามแนวนโยบายของรัฐบาลอย่างเต็มที่เพื่ออํานวยความสะดวกแก่ชาวต่างชาติที่ใช้ชีวิตในประเทศไทยอย่างเท่าเทียม เพื่อให้ทุกคนในประเทศไทยมีสุขภาพที่ดี และได้ฝากความห่วงใยยังชาวไทยทุกคนที่ดํารงชีวิตในต่างประเทศด้วย ทั้งนี้ โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ขณะนี้มีชาวต่างชาติลงทะเบียนขอรับการฉีดวัคซีนแล้วจํานวนประมาณ 7 หมื่นคน “รัฐบาลเชื่อมั่นว่าการดําเนินการเพื่อดูแลชาวต่างชาติในไทยเป็นไปตามวิสัยทัศน์ และหลักการของความเท่าเทียม ซึ่งรัฐบาลไทยมีเป้าหมายที่จะฉีดวัคซีนให้ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่มีถิ่นพํานักในประเทศไทย อย่างทั่วถึงให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 70 ภายในสิ้นปี2564 นี้ และไทยตั้งเป้าหมายเปิดประเทศบนพื้นฐานของการอยู่ร่วมกับโควิด – 19 ได้อย่างปลอดภัยและสมดุล โดยใช้แผน Smart Control and Living with COVID-19” นายธนกรฯ กล่าว
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/47102
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-Thailand and Peru to enhance cooperation on circular economy and inclusive and sustainable growth
วันศุกร์ที่ 8 เมษายน 2565 Thailand and Peru to enhance cooperation on circular economy and inclusive and sustainable growth Thailand and Peru to enhance cooperation on circular economy and inclusive and sustainable growth April 7, 2022, at 1330hrs, at the Ivory Room, Thai Khu Fah Building, Government House, H.E. Mr. Fernando Julio Antonio Quirós Campos, Ambassador of the Republic of Peru to Thailand, paid a courtesy call on Prime Minister and Defense Minister Gen. Prayut Chan-o-cha on occasion of his completion of tenure. Government Spokesperson Thanakorn Wangboonkongchana disclosed gist of the meeting as follows: The Prime Minister thanked the Peruvian Ambassador for his active role in promoting Thailand-Peru relations throughout the five years of his tenure, and was pleased that the two countries commit to maintain relations dynamism between each other despite the COVID-19 challenge. Thailand and Peru successfully held joint activities to celebrate the 55th anniversary of diplomatic relations in 2020. The Prime Minister also conveyed his regards to the Peruvian President José Pedro Castillo Terrones, and expressed hope that Thailand would have an opportunity to welcome the Peruvian President at the 2022 APEC Summit, to be hosted by the country at the end of this year. The Peruvian Ambassador expressed appreciation toward the Thai Government for its constant support and cooperation during his tenure in Thailand, and affirmed his commitment to continue to promote cooperation and understanding between the two countries. With Thailand’s potentials in various areas, the Ambassador sees it as a good opportunity to further develop cooperation in all dimensions. Peru stands ready to fully support Thailand's APEC host year, and hopes to exchange experiences and expertise in wide-ranging areas, especially gastronomic tourism, and COVID-19 situation administration. Both parties also discussed the following issues of mutual interest: On public health, both the Prime Minister and the ambassador were pleased with close cooperation on the fight against the spread of COVID-19 and economy rehabilitation. The Prime Minister commended Peru for its high 2-dose vaccination rate, and the effort to provide the booster dose to people in the vulnerability groups. Thailand has also placed high importance on maintaining balance between public health measures and people’s normal living. On trade and investment, Peru is Thailand’s important trade partner in Latin America and the Caribbean. There are plenty of opportunities to expand cooperation in the fields of circular economy, bioenergy, and sustainable agriculture. Both Thailand and Peru have placed importance on circular economy, and are notable for their biodiversity. The two countries are also world’s leading exporters of food and agricultural products. On the development cooperation, both the Prime Minister and the ambassador were pleased with close technical cooperation and the cooperation for development throughout the past 16 years, and hoped to expand cooperation in new and diversified areas, especially human resources development, and exchange of experts in the development of alternative crops, sustainable community tourism, and science and technology. With regard to multilateral cooperation, the Prime Minister affirmed Thailand’s commitment, amidst all the current challenges, to propel APEC forward, especially economic recovery, trade and investment, and inclusive and sustainable growth. Thailand stands ready to support Peru’s hosting of APEC in 2024, while Peru is also pleased to endorse Thailand’s BCG economic model which is in line with its policy.
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-Thailand and Peru to enhance cooperation on circular economy and inclusive and sustainable growth วันศุกร์ที่ 8 เมษายน 2565 Thailand and Peru to enhance cooperation on circular economy and inclusive and sustainable growth Thailand and Peru to enhance cooperation on circular economy and inclusive and sustainable growth April 7, 2022, at 1330hrs, at the Ivory Room, Thai Khu Fah Building, Government House, H.E. Mr. Fernando Julio Antonio Quirós Campos, Ambassador of the Republic of Peru to Thailand, paid a courtesy call on Prime Minister and Defense Minister Gen. Prayut Chan-o-cha on occasion of his completion of tenure. Government Spokesperson Thanakorn Wangboonkongchana disclosed gist of the meeting as follows: The Prime Minister thanked the Peruvian Ambassador for his active role in promoting Thailand-Peru relations throughout the five years of his tenure, and was pleased that the two countries commit to maintain relations dynamism between each other despite the COVID-19 challenge. Thailand and Peru successfully held joint activities to celebrate the 55th anniversary of diplomatic relations in 2020. The Prime Minister also conveyed his regards to the Peruvian President José Pedro Castillo Terrones, and expressed hope that Thailand would have an opportunity to welcome the Peruvian President at the 2022 APEC Summit, to be hosted by the country at the end of this year. The Peruvian Ambassador expressed appreciation toward the Thai Government for its constant support and cooperation during his tenure in Thailand, and affirmed his commitment to continue to promote cooperation and understanding between the two countries. With Thailand’s potentials in various areas, the Ambassador sees it as a good opportunity to further develop cooperation in all dimensions. Peru stands ready to fully support Thailand's APEC host year, and hopes to exchange experiences and expertise in wide-ranging areas, especially gastronomic tourism, and COVID-19 situation administration. Both parties also discussed the following issues of mutual interest: On public health, both the Prime Minister and the ambassador were pleased with close cooperation on the fight against the spread of COVID-19 and economy rehabilitation. The Prime Minister commended Peru for its high 2-dose vaccination rate, and the effort to provide the booster dose to people in the vulnerability groups. Thailand has also placed high importance on maintaining balance between public health measures and people’s normal living. On trade and investment, Peru is Thailand’s important trade partner in Latin America and the Caribbean. There are plenty of opportunities to expand cooperation in the fields of circular economy, bioenergy, and sustainable agriculture. Both Thailand and Peru have placed importance on circular economy, and are notable for their biodiversity. The two countries are also world’s leading exporters of food and agricultural products. On the development cooperation, both the Prime Minister and the ambassador were pleased with close technical cooperation and the cooperation for development throughout the past 16 years, and hoped to expand cooperation in new and diversified areas, especially human resources development, and exchange of experts in the development of alternative crops, sustainable community tourism, and science and technology. With regard to multilateral cooperation, the Prime Minister affirmed Thailand’s commitment, amidst all the current challenges, to propel APEC forward, especially economic recovery, trade and investment, and inclusive and sustainable growth. Thailand stands ready to support Peru’s hosting of APEC in 2024, while Peru is also pleased to endorse Thailand’s BCG economic model which is in line with its policy.
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/53448
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-โฆษกรัฐบาล เผย นายกรัฐมนตรี เร่งรัดประชาชนเข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้น เพื่อลดโอกาสติดเชื้อ หลัง สธ. เผยผู้ที่เคยป่วยด้วยโควิด-19 สามารถติดเชื้อซ้ำได้
วันอังคารที่ 29 มีนาคม 2565 โฆษกรัฐบาล เผย นายกรัฐมนตรี เร่งรัดประชาชนเข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้น เพื่อลดโอกาสติดเชื้อ หลัง สธ. เผยผู้ที่เคยป่วยด้วยโควิด-19 สามารถติดเชื้อซ้ําได้ โฆษกรัฐบาล เผย นายกรัฐมนตรี เร่งรัดประชาชนเข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้น เพื่อลดโอกาสติดเชื้อ หลัง สธ. เผยผู้ที่เคยป่วยด้วยโควิด-19 สามารถติดเชื้อซ้ําได้ วันที่ 29 มีนาคม 2565 นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เผย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ย้ํา ประชาชนทุกคนต้องป้องกันตนเองขั้นสูงสุด (Universal Prevention) ตลอดเวลาถึงแม้จะติดเชื้อและรักษาจนหายเป็นปกติแล้ว แต่ก็ยังสามารถกลับมาติดเชื้อซ้ําได้อีก โดยเฉพาะในสถานการณ์การแพร่ระบาดที่จํานวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตยังคงสูงอย่างต่อเนื่อง จึงขอเร่งรัดประชาชนทุกคน ให้ความสําคัญกับการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นเพื่อป้องกันตนเองและครอบครัว ก่อนเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งมีความเสี่ยงสูงในการนําเชื้อกลับไปติดครอบครัว ผู้สูงอายุ เนื่องจาก กระทรวงสาธารณสุขยืนยันการรับวัคซีนเพียง 2 เข็ม ป้องกันการติดเชื้อของสายพันธุ์โอมิครอนไม่ได้ แต่ป้องกันการเสียชีวิตได้สูง ขณะที่ การฉีดเข็ม 3 ป้องกันติดเชื้อ 45-68% ป้องกันเสียชีวิตสูง 98% ส่วนเข็ม 4 ป้องกันติดเชื้อสูง 82% ยังไม่พบการเสียชีวิต ทั้งนี้ รัฐบาลจะเร่งจัดบริการฉีดเข็มกระตุ้นผู้สูงอายุให้ได้ 70% ก่อนเทศกาลสงกรานต์ เพื่อลดโอกาสติดเชื้อและการเสียชีวิต สําหรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 วันนี้ พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ 21,678 ราย จําแนกเป็น ผู้ป่วยจากในประเทศ 21,614 ราย และผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 64 ราย ผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 78 ราย ผู้ที่กําลังรักษาตัว 245,154 ราย และมียอดผู้ที่หายป่วยกลับบ้านแล้ว 27,183 ราย ทําให้มียอดผู้ป่วยยืนยันสะสมตั้งแต่ 1 ม.ค. 65 จํานวน 1,351,963 ราย จํานวนผู้ที่หายป่วยสะสมจํานวน 1,136,792 ราย สําหรับจํานวนผู้ป่วยปอดอักเสบ รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 1,748 ราย เฉลี่ยจังหวัดละ 23 ราย อัตราครองเตียงร้อยละ 28.3 ขณะที่รายงานภาพรวมการฉีดวัคซีนโควิด-19 สรุปจํานวนผู้ที่ได้รับได้รับวัคซีนสะสม ตั้งแต่ 28 ก.พ. 64 - 27 มี.ค. 2565 รวม 128,812,150 โดส ใน 77 จังหวัด แบ่งเป็นผู้ได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 สะสม 55,324,979 โดส ผู้ได้รับวัคซีนเข็มที่ 2 สะสม 50,234,545 โดส ผู้ได้รับวัคซีนเข็มที่ 3 สะสม 21,148,854 โดส และผู้ได้รับวัคซีนเข็มที่ 4 สะสม 2,103,772 โดส
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-โฆษกรัฐบาล เผย นายกรัฐมนตรี เร่งรัดประชาชนเข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้น เพื่อลดโอกาสติดเชื้อ หลัง สธ. เผยผู้ที่เคยป่วยด้วยโควิด-19 สามารถติดเชื้อซ้ำได้ วันอังคารที่ 29 มีนาคม 2565 โฆษกรัฐบาล เผย นายกรัฐมนตรี เร่งรัดประชาชนเข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้น เพื่อลดโอกาสติดเชื้อ หลัง สธ. เผยผู้ที่เคยป่วยด้วยโควิด-19 สามารถติดเชื้อซ้ําได้ โฆษกรัฐบาล เผย นายกรัฐมนตรี เร่งรัดประชาชนเข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้น เพื่อลดโอกาสติดเชื้อ หลัง สธ. เผยผู้ที่เคยป่วยด้วยโควิด-19 สามารถติดเชื้อซ้ําได้ วันที่ 29 มีนาคม 2565 นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เผย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ย้ํา ประชาชนทุกคนต้องป้องกันตนเองขั้นสูงสุด (Universal Prevention) ตลอดเวลาถึงแม้จะติดเชื้อและรักษาจนหายเป็นปกติแล้ว แต่ก็ยังสามารถกลับมาติดเชื้อซ้ําได้อีก โดยเฉพาะในสถานการณ์การแพร่ระบาดที่จํานวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตยังคงสูงอย่างต่อเนื่อง จึงขอเร่งรัดประชาชนทุกคน ให้ความสําคัญกับการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นเพื่อป้องกันตนเองและครอบครัว ก่อนเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งมีความเสี่ยงสูงในการนําเชื้อกลับไปติดครอบครัว ผู้สูงอายุ เนื่องจาก กระทรวงสาธารณสุขยืนยันการรับวัคซีนเพียง 2 เข็ม ป้องกันการติดเชื้อของสายพันธุ์โอมิครอนไม่ได้ แต่ป้องกันการเสียชีวิตได้สูง ขณะที่ การฉีดเข็ม 3 ป้องกันติดเชื้อ 45-68% ป้องกันเสียชีวิตสูง 98% ส่วนเข็ม 4 ป้องกันติดเชื้อสูง 82% ยังไม่พบการเสียชีวิต ทั้งนี้ รัฐบาลจะเร่งจัดบริการฉีดเข็มกระตุ้นผู้สูงอายุให้ได้ 70% ก่อนเทศกาลสงกรานต์ เพื่อลดโอกาสติดเชื้อและการเสียชีวิต สําหรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 วันนี้ พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ 21,678 ราย จําแนกเป็น ผู้ป่วยจากในประเทศ 21,614 ราย และผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 64 ราย ผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 78 ราย ผู้ที่กําลังรักษาตัว 245,154 ราย และมียอดผู้ที่หายป่วยกลับบ้านแล้ว 27,183 ราย ทําให้มียอดผู้ป่วยยืนยันสะสมตั้งแต่ 1 ม.ค. 65 จํานวน 1,351,963 ราย จํานวนผู้ที่หายป่วยสะสมจํานวน 1,136,792 ราย สําหรับจํานวนผู้ป่วยปอดอักเสบ รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 1,748 ราย เฉลี่ยจังหวัดละ 23 ราย อัตราครองเตียงร้อยละ 28.3 ขณะที่รายงานภาพรวมการฉีดวัคซีนโควิด-19 สรุปจํานวนผู้ที่ได้รับได้รับวัคซีนสะสม ตั้งแต่ 28 ก.พ. 64 - 27 มี.ค. 2565 รวม 128,812,150 โดส ใน 77 จังหวัด แบ่งเป็นผู้ได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 สะสม 55,324,979 โดส ผู้ได้รับวัคซีนเข็มที่ 2 สะสม 50,234,545 โดส ผู้ได้รับวัคซีนเข็มที่ 3 สะสม 21,148,854 โดส และผู้ได้รับวัคซีนเข็มที่ 4 สะสม 2,103,772 โดส
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/53053
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 30 สิงหาคม 2564
วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม 2564 สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 30 สิงหาคม 2564 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีผ่านระบบ Video Conference ณ ห้อง PMOC ชั้น 2 ตึกไทยคู่ฟ้า ทําเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสําคัญดังนี้ http://www.thaigov.go.th (โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง) วันนี้ (30 สิงหาคม 2564) เวลา 09.00 น.พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีผ่านระบบ Video Conference ณ ห้อง PMOC ชั้น 2 ตึกไทยคู่ฟ้า ทําเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสําคัญดังนี้ กฎหมาย 1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากําหนดเขตสํารวจการจัดรูปที่ดิน ในท้องที่ตําบลเจ้าท่า และตําบลดงลิง อําเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ. .... 2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกําหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... 3. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีสําหรับการบริจาคให้แก่กองทุน เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา) 4. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากําหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตําบลบ้านใหม่ อําเภอพระนครศรีอยุธยา ตําบลวัดยม ตําบลมหาพราหมณ์ ตําบลสะพานไทย ตําบลพระขาว อําเภอบางบาล และตําบลบ้านกลึง ตําบลกระแชง ตําบลช้างน้อย ตําบลบ้านแป้ง ตําบลสนามชัย ตําบลบางไทร ตําบลราชคราม อําเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พ.ศ. .... 5. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกําหนดประโยชน์ของนักโทษเด็ดขาด และเงื่อนไขนักโทษที่เด็ดขาดซึ่งได้รับการลดวันต้องโทษจําคุกหรือการพักการลงโทษและได้รับการปล่อยตัวต้องปฏิบัติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... 6. เรื่อง ร่างระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เศรษฐกิจ สังคม 7. เรื่อง ขอความเห็นชอบแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2564 - 2565) 8. เรื่อง การขับเคลื่อนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ําตามมติคณะกรรมการทรัพยากรน้ําแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2564 9. เรื่อง รายงานสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน กรณีการป้องกันการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีลักษณะเป็นการทรมานบุคคล 10. เรื่อง รายงานผลการแก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาการให้บริการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) 11. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุม ครั้งที่ 31/2564 12. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกําหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 6/2564 13. เรื่อง รายงานผลการดําเนินการโครงการนําร่องการป้องกันและการควบคุมการแพร่ระบาดในโรงงาน (Factory Sandbox) 14. เรื่อง ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่าย งบกลาง รายการเงินสํารองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายโครงการรณรงค์เอาชนะโควิดตามมาตรการ เร่งด่วน (Thailand Prevention) 15. เรื่อง ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสํารองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เพื่อดําเนินโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ครั้งที่ 2 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2564 ต่างประเทศ 16. เรื่อง กรอบการอํานวยความสะดวกด้านการลงทุนของอาเซียน (ASEAN Investment Facilitation Framework : AIFF) 17. เรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมการเจรจาการค้าระดับรัฐมนตรีขององค์การการค้าโลก เรื่องการเจรจาจัดทําความตกลงว่าด้วยการอุดหนุนประมง 18. เรื่อง รายงานประจําปีและรายงานงบการเงินขององค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย ประจําปี 2563 19. เรื่อง การต่ออายุความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการเแลกเปลี่ยนเงินตรา (Bilateral Swap Agreement) ระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทย และกระทรวงการคลังญี่ปุ่น 20. เรื่อง ผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-จีน สมัยพิเศษ เพื่อเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 30 ปี ของความสัมพันธ์ 21. เรื่อง แผนฟื้นฟูการท่องเที่ยวของภูมิภาคอาเซียนภายหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) แต่งตั้ง 22. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา) 23. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงศึกษาธิการ) 24. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (สํานักนายกรัฐมนตรี) 25. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (สํานักนายกรัฐมนตรี) 26. เรื่อง ให้กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีคงอยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่ออีกหนึ่งวาระ 27. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงพาณิชย์) 28. เรื่อง การแต่งตั้งเลขาธิการ กปร. ******************* สํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396 กฎหมาย 1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากําหนดเขตสํารวจการจัดรูปที่ดิน ในท้องที่ตําบลเจ้าท่า และตําบลดงลิง อําเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากําหนดเขตสํารวจการจัดรูปที่ดิน ในท้องที่ตําบลเจ้าท่า และตําบลดงลิง อําเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ และให้ส่งสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดําเนินการต่อไปด้ และให้ กษ. รับความเห็นของสํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดําเนินการต่อไปด้วย ทั้งนี้ กษ. เสนอว่า 1. เนื่องจากพื้นที่โครงการจัดรูปที่ดินหลายพื้นที่มีประกาศกําหนดเขตท้องที่ที่จะสํารวจเป็นเขตโครงการจัดรูปที่ดินตามพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2517 ยังไม่ได้ประกาศให้เป็นเขตโครงการจัดรูปที่ดิน ต่อมาเมื่อมีการประกาศใช้บังคับพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2558 ซึ่งในบทเฉพาะกาลมาตรา 69 กําหนดให้ท้องที่ที่มีพระราชกฤษฎีกากําหนดเขตโครงการจัดรูปที่ดินตามพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2517 เป็นเขตโครงการจัดรูปที่ดินตามพระราชบัญญัตินี้ โดยบัญญัติให้บรรดาการดําเนินการใดเกี่ยวกับการจัดรูปที่ดินซึ่งได้กระทําไปแล้วในขั้นตอนใดในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้เป็นอันใช้ได้ แต่การดําเนินการในขั้นตอนต่อไปให้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีปัญหาไม่อาจดําเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ในเรื่องใด ให้การดําเนินการต่อไปในเรื่องนั้นเป็นไปตามที่คณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลางกําหนด 2. คณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลาง ในการประชุม ครั้งที่ 2/2559 วันที่ 8 ธันวาคม 2559 เห็นสมควรกําหนดให้ในท้องที่ตําบลเจ้าท่า และตําบลดงลิง อําเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ. .... เป็นเขตโครงการจัดรูปที่ดิน และเห็นชอบให้ดําเนินการประกาศพระราชกฤษฎีกากําหนดเขตสํารวจการจัดรูปที่ดินในท้องที่ตําบลเจ้าท่า และตําบลดงลิง อําเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ. .... เพื่อกําหนดพื้นที่ที่ทําเกษตรกรรมหรือพื้นที่ในเขตการจัดระบบน้ําเพื่อเกษตรกรรม ในท้องที่ตําบลเจ้าท่า และตําบลดงลิง อําเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ และเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งปฏิบัติงานร่วมกับพนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจเข้าไปทําการสํารวจพื้นที่ที่จะจัดทําเป็นโครงการจัดรูปที่ดิน รวมทั้งประกาศเป็นเขตโครงการจัดรูปที่ดินต่อไปตามพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2558 สาระสําคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา กําหนดเขตโครงการจัดรูปที่ดิน ในท้องที่ตําบลเจ้าท่า และตําบลดงลิง อําเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ให้เป็นเขตสํารวจการจัดรูปที่ดิน 2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกําหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกําหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ ซึ่งสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดําเนินการต่อไปได้ และให้ กค. รับข้อสังเกตของกระทรวงพลังงานไปพิจารณาดําเนินการต่อไป ทั้งนี้ กค. เสนอว่า 1. ตามที่ได้มีกฎกระทรวงกําหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน พ.ศ. 2563 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกาศใช้บังคับ โดยกฎกระทรวงดังกล่าวได้กําหนดประเภทของพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน ดังนี้ 1) พัสดุส่งเสริมและพัฒนาด้านการเกษตร 2) พัสดุส่งเสริมวิสาหกิจและการประกอบอาชีพ 3) พัสดุส่งเสริมการเรียนการสอน 4) พัสดุส่งเสริมนวัตกรรม 5) พัสดุส่งเสริมสุขภาพและสาธารณสุข 6) พัสดุส่งเสริมความมั่นคงด้านพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ 7) พัสดุส่งเสริมความมั่นคงด้านความปลอดภัยทางอาหารและสินค้าเกษตร 8) ประเภทของที่ปรึกษาที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน 9) พัสดุการผลิตภายในประเทศ และ 10) พัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 2. เนื่องจากปัจจุบันมีพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุนเพิ่มเติมหลายประเภทมากขึ้น ประกอบกับมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 บัญญัติว่าให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีอํานาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ และมาตรา 65 วรรคสองบัญญัติว่าพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมให้เป็นไปตามที่กําหนดในกฎกระทรวง กค. พิจารณาแล้วจึงได้แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงตามข้อ 1. เพื่อกําหนดประเภทของพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุนเพิ่มเติม รวมทั้งวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการดําเนินการจัดซื้อจัดจ้างฯ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป 3. คณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐในคราวประชุมครั้งที่ 7/2564 เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2564 มีมติเห็นชอบประเภทพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุนตามที่กําหนดในหลักการร่างกฎกระทรวงดังกล่าวแล้ว สาระสําคัญของร่างกฎกระทรวง 1. แก้ไขเพิ่มเติมหมวด 2 พัสดุส่งเสริมวิสาหกิจ และการประกอบอาชีพ - กําหนดให้ “วิสาหกิจเพื่อสังคม” อยู่ในคํานิยามว่า “พัสดุส่งเสริมวิสาหกิจและการประกอบอาชีพ” - กําหนดให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อจัดจ้างผลิตผล ชิ้นงาน หรือบริการที่ผลิตหรือจัดทําขึ้นจากวิสาหกิจเพื่อสังคมตามที่ได้จดทะเบียนวิสาหกิจเพื่อสังคมโดยวิธีเฉพาะเจาะจง หรือจะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีการคัดเลือกก็ได้ ทั้งนี้ เป็นไปตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม พ.ศ. 2562 มาตรา 59 วรรคหนึ่ง (3) 2. แก้ไขเพิ่มเติมหมวด 3 พัสดุการเรียนการสอน - กําหนดให้หน่วยงานของรัฐสามารถจัดจ้างผลิตอากาศยาน อากาศยานไร้คนขับ ดาวเทียม และอุปกรณ์ รวมถึงระบบที่เกี่ยวข้องกับยานอวกาศหรือยานอวกาศ ตลอดจนระบบบริหารคลังพัสดุ ระบบคลังอาวุธ และระบบความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ของบริษัท อุตสาหกรรมการบิน จํากัด โดยวิธีการเฉพาะเจาะจง หรือจะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือคัดเลือกก็ได้ เนื่องจากการจ้างผลิตดังกล่าวสามารถพัฒนาองค์กรความรู้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง รวมถึงพร้อมรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตและการวิจัยจากบริษัทต่างประเทศ มาปรับและพัฒนาเป็นองค์ความรู้ภายในประเทศ ซึ่งจะทําให้เกิดการพึ่งพาตนเอง ลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศสามารถพัฒนาต่อยอดได้ในอนาคต 3. แก้ไขเพิ่มเติมหมวด 9 พัสดุส่งเสริมความมั่นคงด้านพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ - กําหนดให้หน่วยงานของรัฐจัดจ้างงานจ้างบริการเกี่ยวกับไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โดยวิธีเฉพาะเจาะจง หรือจะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีคัดเลือกก็ได้ เนื่องจากงานให้บริการของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511 บัญญัติให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สามารถดําเนินธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้าและธุรกิจอื่นที่เกี่ยวกับหรือต่อเนื่องกับกิจการของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โดยงานให้บริการเกี่ยวกับไฟฟ้ามีลักษณะเหมือนกับงานให้บริการของการไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ซึ่งได้ถูกกําหนดไว้ในกฎกระทรวงกําหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน พ.ศ. 2563 แล้ว 4. แก้ไขเพิ่มเติมหมวด 7 พัสดุส่งเสริมความมั่นคงด้านความปลอดภัยทางอาหารและสินค้าเกษตร - กําหนดให้หน่วยงานของรัฐจัดจ้างอุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ โดยวิธีเฉพาะเจาะจง หรือจะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีคัดเลือกก็ได้ 5. แก้ไขเพิ่มเติมหมวด 8 ประเภทของที่ปรึกษาที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน - กําหนดเพิ่มเติมให้อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ มูลนิธิเพื่อสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ และมูลนิธิเพื่อสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นที่ปรึกษาที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุนประเภทที่ปรึกษาที่มิใช่หน่วยงานของรัฐ เนื่องจากมูลนิธิทั้ง 3 แห่ง เป็นหน่วยงานที่รองรับการดําเนินงานของสถาบันที่จัดตั้งขึ้นตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ โดยมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และคณะกรรมการ ก.พ.ร. กําหนดให้สถาบันภายใต้มูลนิธิดังกล่าวรวม 3 แห่งเป็นกลไกส่วนราชการ เป็นหน่วยงานที่ใช้อํานาจรัฐแต่ไม่เป็นองค์กรของรัฐ และเป็นองค์กรไม่แสวงหากําไร รวมทั้งเป็นสถาบันเครือข่ายของกระทรวงอุตสาหกรรมซึ่งมีส่วนในการสนับสนุนการดําเนินงานตามนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรม 3. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีสําหรับการบริจาคให้แก่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีสําหรับการบริจาคให้แก่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา) ของกระทรวงการคลัง (กค.) ตามที่สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) เสนอ และให้ดําเนินการต่อไปได้ ทั้งนี้ สคก. ได้ตรวจพิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีสําหรับการบริจาคให้แก่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา) เสร็จแล้ว มีการแก้ไขเพิ่มเติมในสาระสําคัญ โดยตัดกรณีการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สําหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สินหรือการขายสินค้า หรือสําหรับการกระทําตราสารอันเนื่องมาจากการบริจาคให้แก่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ออก เนื่องจาก กค. ประสงค์จะยกเว้นเฉพาะภาษีเงินได้สําหรับการบริจาคเงินหรือทรัพย์สินให้แก่ กสศ. เท่านั้น ซึ่งเป็นการกําหนดในลักษณะเดียวกับพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 682) พ.ศ. 2562 สาระสําคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา เป็นการขยายระยะเวลาการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสําหรับการบริจาคเงินหรือทรัพย์สินให้แก่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา โดยให้หักลดหย่อนหรือหักเป็นรายจ่ายได้ 2 เท่าของจํานวนเงินที่บริจาค (เดิมสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2563) สําหรับการบริจาคที่กระทําผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e- Donation) ของกรมสรรพากร ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566 4. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากําหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตําบลบ้านใหม่ อําเภอพระนครศรีอยุธยา ตําบลวัดยม ตําบลมหาพราหมณ์ ตําบลสะพานไทย ตําบลพระขาว อําเภอบางบาล และตําบลบ้านกลึง ตําบลกระแชง ตําบลช้างน้อย ตําบลบ้านแป้ง ตําบลสนามชัย ตําบลบางไทร ตําบลราชคราม อําเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกากําหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตําบลบ้านใหม่ อําเภอพระนครศรีอยุธยา ตําบลวัดยม ตําบลมหาพราหมณ์ ตําบลสะพานไทย ตําบลพระขาว อําเภอบางบาล และตําบลบ้านกลึง ตําบลกระแชง ตําบลช้างน้อย ตําบลบ้านแป้ง ตําบลสนามชัย ตําบลบางไทร ตําบลราชคราม อําเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พ.ศ. .... ที่สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ และให้ดําเนินการต่อไปได้ ทั้งนี้ กษ. เสนอว่า กรมชลประทานมีแผนงานก่อสร้างโครงการระบบระบายน้ําหลากบางบาล – บางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีระยะเวลาก่อสร้างโครงการทั้งสิ้น 5 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 - พ.ศ. 2566) ลักษณะของโครงการประกอบด้วย 1. คลองระบายน้ําหลากบางบาล - บางไทร 2. อาคารบังคับน้ํา 3. อาคารจ่ายน้ําพร้อมสถานีสูบน้ํา 4. สถานีสูบน้ําแบบ 2 ทาง พร้อมอาคารประกอบ 5. สะพานรถยนต์ข้ามคลองระบายน้ําหลาก 6. งานป้องกันตลิ่งบริเวณปลายคลองน้ําหลาก 7. คันกั้นน้ําโดยรอบพื้นที่โครงการและอาคารประกอบ 8. งานอาคารชลประทานอื่น ๆ ตามความจําเป็น โครงการนี้เมื่อดําเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จสามารถผันน้ําเลี่ยงตัวเมืองพระนครศรีอยุธยาให้ระบายน้ําได้สูงสุด ประมาณ 1,200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที โดยเมื่อรวมกับขีดความสามารถของแม่น้ําเจ้าพระยาเดิมจะสามารถระบายน้ําสูงสุดประมาณ 2,400 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทําให้ช่วยบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ําเจ้าพระยาตั้งแต่ท้ายเขื่อนเจ้าพระยาจนถึงอ่าวไทย เพิ่มศักยภาพในการใช้ประโยชน์พื้นที่ด้านการเกษตรจํานวนประมาณ 229,138 ไร่ เป็นแหล่งน้ําต้นทุนเพื่อการอุปโภคบริโภคครอบคลุมพื้นที่บริเวณ 2 ฝั่งคลองระบายน้ําหลาก 48 ตําบล 362 หมู่บ้าน ดังนั้น กรมชลประทานจึงมีความจําเป็นต้องได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์เพื่อดําเนินการโครงการดังกล่าวโดยการเวนคืน เพื่อให้การก่อสร้างคลองระบายน้ํา ประตูระบายน้ํา สถานีสูบน้ํา อาคารประกอบ และสิ่งจําเป็นในการชลประทานอื่นตามโครงการระบบระบายน้ําหลากบางบาล – บางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นไปตามแผนงานที่กําหนด อันเป็นประโยชน์แก่การชลประทานสําหรับพื้นที่การเกษตร การอุปโภคและบริโภค ตลอดจนการป้องกันและบรรเทาอุทกภัย ตลอดจนเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปทําการสํารวจให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องได้มาโดยแน่ชัด กรมชลประทานได้ดําเนินการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่โครงการดังกล่าวแล้ว ตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. 2548 แล้ว ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการดําเนินโครงการนี้ เพราะเห็นว่ามีประโยชน์กับประชาชนในพื้นที่ และสํานักงบประมาณแจ้งว่าจะจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจําปีตามความจําเป็นและเหมาะสม เมื่อร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวใช้บังคับแล้ว สาระสําคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา เป็นการกําหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตําบลบ้านใหม่ อําเภอพระนครศรีอยุธยา ตําบลวัดยม ตําบลมหาพราหมณ์ ตําบลสะพานไทย ตําบลพระขาว อําเภอบางบาล และตําบลบ้านกลึง ตําบลกระแชง ตําบลช้างน้อย ตําบลบ้านแป้ง ตําบลสนามชัย ตําบลบางไทร ตําบลราชคราม อําเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อประโยชน์แก่การชลประทาน ในการก่อสร้างคลองระบายน้ํา ประตูระบายน้ํา สถานีสูบน้ํา อาคารประกอบและสิ่งจําเป็นในการชลประทานอื่นตามโครงการระบบระบายน้ําหลากบางบาล - บางไทร จ. พระนครศรีอยุธยา เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปทําการสํารวจให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องได้มาโดยแน่ชัด 5. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกําหนดประโยชน์ของนักโทษเด็ดขาด และเงื่อนไขนักโทษที่เด็ดขาดซึ่งได้รับการลดวันต้องโทษจําคุกหรือการพักการลงโทษและได้รับการปล่อยตัวต้องปฏิบัติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกําหนดประโยชน์ของนักโทษเด็ดขาด และเงื่อนไขนักโทษที่เด็ดขาดซึ่งได้รับการลดวันต้องโทษจําคุกหรือการพักการลงโทษและได้รับการปล่อยตัวต้องปฏิบัติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ และให้ส่งสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดําเนินการต่อไปได้ และให้ ยธ. รับความเห็นของสํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดําเนินการต่อไปด้วย ทั้งนี้ ยธ. เสนอว่า โดยที่ปัจจุบันผู้ต้องขังในเรือนจําแต่ละแห่งมีเป็นจํานวนมากทําให้ผู้ต้องขังล้นเรือนจํา เกิดปัญหาความแออัดภายในเรือนจํา ส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง การจัดสวัสดิการ การแก้ไขฟื้นฟูพฤตินิสัยของผู้ต้องขัง ซึ่งมาตรการที่จะช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามภารกิจของกรมราชทัณฑ์ในการควบคุม และการป้องกันการกระทําความผิดซ้ํา หรือการกําหนดให้นักโทษเด็ดขาดได้รับประโยชน์ต่าง ๆ เพื่อพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังคืนคนดีสู่สังคมคือ การลดวันต้องโทษจําคุก การพักการลงโทษ การส่งผู้ต้องขังไปฝึกวิชาชีพ ซึ่งเป็นการใช้อํานาจของเจ้าหน้าที่เพื่อดําเนินการตามกฎหมาย ยธ. จึงได้ศึกษาหาแนวทางเพื่อแก้ไขปัญหาความแออัดในเรือนจําโดยสร้างโอกาสให้กับนักโทษเด็ดขาดซึ่งต้องโทษจําคุกมาพอสมควรแล้วอาจได้รับการพิจารณาพักการลงโทษ เพื่อให้สามารถปรับตัวก่อนเข้าสู่สังคมและสามารถกลับตัวเป็นคนดีมีคุณค่าสู่สังคม อีกทั้งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการแก้ไขบําบัดฟื้นฟูพัฒนาพฤตินิสัยของผู้ต้องขังตามหลักอาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา จึงจําเป็นต้องใช้มาตรการทางกฎหมายโดยการแก้ไขกฎกระทรวงกําหนดประโยชน์ของนักโทษเด็ดขาดและเงื่อนไขที่นักโทษเด็ดขาดซึ่งได้รับการลดวันต้องโทษจําคุก หรือการพักการลงโทษและได้รับการปล่อยตัวต้องปฏิบัติ พ.ศ. 2562 เพื่อกําหนดให้นักโทษเด็ดขาดได้รับประโยชน์และเพื่อให้ผู้ต้องขังได้รับการพิจารณาพักการลงโทษมากยิ่งขึ้น จึงได้ยกร่างกฎกระทรวงกําหนดประโยชน์ของนักโทษเด็ดขาด และเงื่อนไขที่นักโทษเด็ดขาดซึ่งได้รับการลดวันต้องโทษจําคุกหรือการพักการลงโทษและได้รับการปล่อยตัวต้องปฏิบัติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เพื่อแก้ไขให้นักโทษเด็ดขาดตั้งแต่ชั้นกลางขึ้นไปสามารถได้รับการพิจารณาให้พักการลงโทษจําคุกได้ และแก้ไขให้นักโทษเด็ดขาดที่กระทําผิดซ้ําสามารถเสนอขอรับการพิจารณาพักการลงโทษกรณีปกติได้ ซึ่งในการประชุมคณะกรรมการราชทัณฑ์ ครั้งที่ 1/2564 วันที่ 4 มกราคม 2564 เห็นชอบร่างกฎกระทรวงดังกล่าวด้วยแล้ว สาระสําคัญของร่างกฎกระทรวง 1. ให้ยกเลิกบทบัญญัติของข้อ 41 แห่งกฎกระทรวงการกําหนดประโยชน์ของนักโทษเด็ดขาดและเงื่อนไขที่นักโทษเด็ดขาดซึ่งได้รับการลดวันต้องโทษจําคุกหรือการพักการลงโทษ และได้รับการปล่อยตัวต้องปฏิบัติ พ.ศ. 2562 เพื่อขยายโอกาสให้นักโทษเด็ดขาดซึ่งกระทําผิดซ้ําเสนอขอพักการลงโทษในกรณีปกติได้ 2. แก้ไขเพิ่มเติมข้อ 42 แห่งกฎกระทรวงการกําหนดประโยชน์ของนักโทษเด็ดขาดและเงื่อนไขที่นักโทษเด็ดขาดซึ่งได้รับการลดวันต้องโทษจําคุกหรือการพักการลงโทษและได้รับการปล่อยตัวต้องปฏิบัติ พ.ศ. 2562 โดยให้นักโทษเด็ดขาดตั้งแต่ชั้นกลางขึ้นไปสามารถได้รับการพิจารณาให้พักการลงโทษจําคุกได้ ไม่เกินหนึ่งในสามของกําหนดโทษที่ระบุไว้ในหมายแจ้งโทษเด็ดขาด (เดิม กําหนดให้นักโทษเด็ดขาดชั้นดี ชั้นดีมาก และชั้นเยี่ยม เท่านั้น) และหากมีการพระราชทานอภัยโทษให้ถือกําหนดโทษตามหมายแจ้งโทษเด็ดขาดฉบับหลังสุด 6. เรื่อง ร่างระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดําเนินการต่อไปได้ ทั้งนี้ ร่างระเบียบที่ สปน. เสนอ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ พ.ศ. 2549 เกี่ยวกับองค์ประกอบของคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ ตลอดจนบทบัญญัติอื่นที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกัน เพื่อให้การดําเนินงานของคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับบริบทของการเปลี่ยนแปลงภารกิจและอํานาจของส่วนราชการปัจจุบัน สาระสําคัญของร่างระเบียบ ปรับปรุงองค์ประกอบคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ โดยกําหนดให้ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี เป็นกรรมการและเลขานุการ ผู้อํานวยการสํานักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ เพิ่มปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นกรรมการ และในส่วนกรรมการที่เป็นผู้แทนหน่วยงานราชการในพระองค์ หากมีเรื่องสําคัญที่จะต้องขอคําปรึกษาหารือให้เรียนเชิญประชุมเป็นการเฉพาะคราว ตลอดจนแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติที่เกี่ยวกับกรรมการผู้แทนภาคเอกชนและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ เศรษฐกิจ สังคม 7. เรื่อง ขอความเห็นชอบแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2564 - 2565) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2564 – 2565) (แผนปฏิบัติการฯ) และมอบหมายให้ พณ. เป็นหน่วยงานหลักในการบูรณาการการทํางานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และให้ พณ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดําเนินการต่อไป สาระสําคัญของเรื่อง พณ. รายงานว่า 1. ปัจจุบันการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กลายเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจที่ทวีความสําคัญมากขึ้น อันเป็นผลจากการพัฒนาของเทคโนโลยีและพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้ใช้เทคโนโลยีทั่วโลก จึงสมควรที่ประเทศไทยจะมีแผนการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเป็นกรอบแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้น คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในคราวประชุมครั้งที่ 2/2560 เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2560 ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน จึงได้มีมติเห็นชอบในหลักการของร่างแผนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (ปี พ.ศ. 2560 - 2564) เพื่อคณะกรรมการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (แต่งตั้งตามคําสั่งของ พณ.) จะนําเสนอคณะรัฐมนตรีและจัดทําร่างแผนปฏิบัติการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติต่อไป 2. คณะกรรมการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้ดําเนินการจัดทําร่างแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2564 - 2565) และแผนงานกิจกรรม/โครงการสําคัญ (Flagship) ที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการฯ โดยมีกรอบแนวคิดจากการศึกษายุทธศาสตร์ชาติ และแผนระดับชาติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งได้มีการขอรับความคิดเห็นจากคณะกรรมาธิการการพาณิชย์และการอุตสาหกรรมของวุฒิสภา หน่วยงานของรัฐ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ แล้วเสนอต่อสํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เพื่อพิจารณาตามแนวทางการเสนอแผนเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (แผนระดับที่ 3) ซึ่ง สศช. ได้ดําเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนี้ 2.1 คณะอนุกรรมการด้านการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน (คณะอนุกรรมการฯ) ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2564 มีมติเห็นชอบให้นําร่างแผนปฏิบัติการฯ พร้อมความเห็นของคณะอนุกรรมการฯ เสนอสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒนาฯ) พิจารณา โดยคณะอนุกรรมการฯ มีความเห็นบางส่วนสรุปได้ ดังนี้ 2.1.1 การกําหนดเป้าหมายของแผนปฏิบัติการฯ ควรให้ความสําคัญกับ (1) การเก็บรวบรวมข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ของภาครัฐ และเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามาใช้ประโยชน์ (2) การเข้าสู่ระบบภาษีอย่างเท่าเทียมกันของผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทยและต่างประเทศ และ (3) การลงทุนในระบบ Cloud Computing System โดยกําหนดเป็นเป้าหมายลําดับรองเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนอย่างจริงจัง 2.1.2 นอกเหนือจากการส่งเสริมแพลตฟอร์มขายสินค้า ควรให้ความสําคัญกับการส่งเสริมแพลตฟอร์มขายบริการ เช่น ธุรกิจจองที่พักให้แก่นักท่องเที่ยว (Online Travel Agent : OTA) ซึ่งเป็นธุรกิจบริการที่มีความสําคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยอาจเพิ่มเติมเป็นแผนงานกิจกรรม/โครงการสําคัญ (Flagship) 2.1.3 ขอให้ปรับชื่อกลยุทธ์ที่ 2.2 พัฒนาศักยภาพของผู้ให้บริการโลจิสติกส์และบริการสนับสนุนโลจิสติกส์ (Logistics Fulfillment) และกลยุทธ์ที่ 2.3 พัฒนาระบบการชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Payment) ที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ โดยปรับจาก “พัฒนา” เป็น “สนับสนุนการพัฒนา” เนื่องจากภาครัฐควรทําหน้าที่สนับสนุนและเชื่อมโยงผู้ให้บริการภาคเอกชนด้วยกันเพื่อให้มีระบบที่ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพมากกว่าดําเนินการเอง 2.2 สภาพัฒนาฯ ในคราวประชุมครั้งที่ 4/2564 เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2564 มีมติเห็นชอบร่างแผนปฏิบัติการฯ โดยให้คณะกรรมการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์รับความเห็นของคณะอนุกรรมการฯ และสภาพัฒนาฯ ไปพิจารณาปรับปรุงเพิ่มเติมในรายละเอียดและนําเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาตามขั้นตอนต่อไป โดยสภาพัฒนาฯ มีความเห็นบางส่วนสรุปได้ ดังนี้ 2.2.1 ควรให้ความสําคัญกับการคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้งควรสร้างความรู้ด้านดิจิทัล (Digital Literacy) ให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง 2.2.2 ภาครัฐต้องจัดลําดับความสําคัญและเร่งรัดให้มีการจัดสรรงบประมาณในการดําเนินงานตามแผนปฏิบัติการฯ อย่างเหมาะสม รวมทั้งส่งเสริมภาคเอกชนให้ดําเนินการแทนในเรื่องที่รัฐมีข้อจํากัด โดยเฉพาะในด้านงบประมาณและข้อมูล อีกทั้งควรกําหนดกลไกการติดตามและประเมินผลที่ชัดเจน ทั้งนี้ พณ. ได้นําความเห็นของคณะอนุกรรมการฯ และสภาพัฒนาฯ ไปพิจารณาปรับปรุงร่างแผนปฏิบัติการฯ แล้ว 3. แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2564 - 2565) มีสาระสําคัญสรุปได้ ดังนี้ หัวข้อ รายละเอียด วิสัยทัศน์ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) เป็นกลไกสําคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการค้าของประเทศไทย ภายใต้ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) เป้าหมายหลัก - มูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 5.3 ล้านล้านบาท ในปี พ.ศ. 2565 - มูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เติบโตเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า ร้อยละ 5 ต่อปี ในช่วงปี พ.ศ. 2564 - 2565 - มูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดนด้านการขายต่างประเทศ (Outbound Cross Border e-Commerce) เติบโตไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ต่อปี ในช่วงปี พ.ศ. 2564 - 2565 - มีการเชื่อมโยงข้อมูลพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างภาครัฐและเอกชน และเกิดการ บูรณาการในการพัฒนาระบบการบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ร่วมกัน เพื่อสามารถนํา Big Data มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดําเนินการของภาครัฐและเอกชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป้าหมายรอง - จํานวนการออกเครื่องหมายรับรองผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (DBD Registered) ไม่ต่ํากว่าปีละ 10,000 ราย - สภาพแวดล้อมและปัจจัยสนับสนุนการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ICT (เช่น Cloud Computing System ที่มีประสิทธิภาพสูง) โลจิสติกส์ การเงิน และ อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้รับการพัฒนาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 10 โครงการต่อปี ยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การพัฒนาแพลตฟอร์มตลาดออนไลน์ (e-Marketplace) เพื่อส่งเสริมการค้าภายในประเทศและการค้าข้ามพรมแดน (Enhancement and Promotion) เป้าประสงค์ เช่น (1) มูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดช่วง 2 ปี ของแผนปฏิบัติการฯ และ (2) ผู้ประกอบการที่พัฒนา e-Commerce Platform ในรูปแบบต่าง ๆ และผู้ให้บริการดิจิทัลที่เกี่ยวเนื่อง ซึ่งได้จดทะเบียนนิติบุคคล และเป็นของคนไทย มีรายได้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ต่อปี ตลอดช่วง 2 ปี ของแผนปฏิบัติการฯ ตัวชี้วัด เช่น (1) มูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 5.3 ล้านล้านบาท ในปี พ.ศ. 2565 และ (2) ผู้ประกอบการที่พัฒนา e-Commerce Platform ในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งได้จดทะเบียนนิติบุคคลและเป็นของคนไทยมีรายได้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ต่อปี ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การพัฒนาสภาพแวดล้อมและปัจจัยสนับสนุนการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในทุกด้านให้พร้อมรองรับการเติบโตของการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Ecosystem and Enabling Factors) เป้าประสงค์ เช่น (1) มีสภาพแวดล้อมและปัจจัยสนับสนุนที่เพียงพอเหมาะสม และครบวงจรต่อการดําเนินงานพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และ (2) มีระบบการเชื่อมโยงข้อมูลพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน และเกิดการบูรณาการในการพัฒนาระบบการบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ร่วมกัน เพื่อสามารถนํา Big Data มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดําเนินงานของภาครัฐและภาคเอกชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวชี้วัด เช่น สภาพแวดล้อมและปัจจัยสนับสนุนการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ICT โลจิสติกส์ การเงิน และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้รับการพัฒนาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 10 โครงการต่อปี ยุทธศาสตร์ที่ 3 : การสร้างความเชื่อมั่นในธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Trust and Sustainability) เป้าประสงค์ เช่น (1) สร้างความน่าเชื่อถือให้ผู้ประกอบการในการประกอบกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และ (2) สร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภคในการทําธุรกรรมผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างปลอดภัย ตัวชี้วัด เช่น จํานวนการออกเครื่องหมายรับรองผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (DBD Registered) ไม่ต่ํากว่าปีละ 10,000 ราย ยุทธศาสตร์ที่ 4 : การพัฒนาผู้ประกอบการไทยให้สามารถใช้ประโยชน์จากธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Competency Building) เป้าประสงค์ เช่น (1) มูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศของผู้ประกอบการ SMEs เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และ (2) มูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดนด้านการขายต่างประเทศ (Outbound Cross Border e-Commerce) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดช่วง 2 ปี ของแผนปฏิบัติการฯ ตัวชี้วัด เช่น (1) มูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศของผู้ประกอบการ SMEs เติบโตเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ต่อปี และ (2) มูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดนด้านการขายต่างประเทศ (Outbound Cross Border e-Commerce) เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ต่อปี กลยุทธ์ รวม 14 กลยุทธ์ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการคลัง กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา สํานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กรมพัฒนาธุรกิจการค้า สํานักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า กรมสรรพากร กระทรวงคมนาคม สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ธนาคารแห่งประเทศไทย สํานักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค กรมศุลกากร สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมการค้าภายใน กรมทรัพย์สินทางปัญญา กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กรมการท่องเที่ยว กรมการพัฒนาชุมชน กรมส่งเสริมการเกษตร สํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กลไกการขับเคลื่อน กลไกขับเคลื่อนที่ 1 : การจัดทําแผนงานกิจกรรม/โครงการสําคัญ (Flagship) ที่เป็นรูปธรรม โดยหน่วยงานที่ระบุไว้ในแต่ละยุทธศาสตร์ของแผนฯ มีบทบาทหน้าที่ในการจัดส่งข้อมูลแผนงาน กิจกรรม/โครงการสําคัญ (Flagship) ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ภายใต้แผนปฏิบัติการฯ ที่ต้องเร่งดําเนินการตามกรอบที่กําหนดไว้ให้แก่ฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กลไกขับเคลื่อนที่ 2 : การสร้างความรู้ความเข้าใจแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ตลอดจนสร้างความรู้ความเข้าใจสาระสําคัญและรายละเอียดของแผนปฏิบัติการฯ ให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างให้เกิดการมองเห็นความสําคัญในการมีส่วนร่วม ความเข้าใจและความคิดริเริ่มในการจัดทํากิจกรรม และโครงการที่ตอบสนองต่อการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ กลไกขับเคลื่อนที่ 3 : การกําหนดตัวชี้วัดร่วม (Joint KPI) และการจัดทําแผนบูรณาการการดําเนินงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การหารือร่วมกับหน่วยงานหลักที่กําหนดไว้ในแต่ละยุทธศาสตร์ของแผนฯ เพื่อให้หน่วยงานบรรจุแผนงาน/โครงการที่เกี่ยวข้องไว้ในแผนปฏิบัติการของหน่วยงาน แนวทางการสนับสนุนให้ได้งบประมาณในการดําเนินงาน และกําหนดเป้าหมายหรือตัวชี้วัดร่วม (Joint KPI) ที่พึงต้องบรรลุร่วมกันสําหรับนํามาเป็นกรอบในการจัดทําแผนบูรณาการรายยุทธศาสตร์ที่จะกําหนดแนวทางการปฏิบัติของแต่ละหน่วยงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ตลอดจนการส่งเสริมภาคเอกชนให้ดําเนินการแทนในเรื่องที่ภาครัฐมีข้อจํากัด กลไกขับเคลื่อนที่ 4 : การอาศัยกลไกการประสานงาน การติดตามและประเมินผลความก้าวหน้าของแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การกําหนดกลไกการประสาน ติดตาม และประเมินผลสัมฤทธิ์ จากการดําเนินกิจกรรมและโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการฯ พิจารณาให้ความเห็นและข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น และรายงานผลการดําเนินงานแก่คณะกรรมการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อพิจารณาต่อไป 4. พณ. ได้จัดทําแผนงานกิจกรรม/โครงการสําคัญ (Flagship) ที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการฯ มาด้วย ซึ่งเป็นกิจกรรม/โครงการที่ต้องเร่งดําเนินการ ลงลึกในระดับปฏิบัติการในระยะ 2 ปี (พ.ศ. 2564 – 2565)ประกอบด้วย โครงการที่ดําเนินงานตามภารกิจเฉพาะของหน่วยงาน (โครงการ Buttom up) และโครงการศึกษาขึ้นเพิ่มเติม (โครงการ Top Down) โดยมีรายละเอียดตัวอย่างโครงการบางส่วนที่สอดคล้องกับแต่ละยุทธศาสตร์ ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาแพลตฟอร์มตลาดออนไลน์ (e-Marketplace) เพื่อส่งเสริมการค้าภายในประเทศ และการค้าข้ามพรหมแดน (Enhancement and Promotion) โครงการ Buttom up - โครงการพัฒนาแพลตฟอร์ม National Delivery เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการในยุควิถีใหม่ (New Normal) - โครงการส่งเสริมการพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลด้านอาหารและการท่องเที่ยว (Digital Food Tourism) เพื่อสร้างโอกาสในยุค Post-COVID โครงการ Top Down - โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาแพลตฟอร์มการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อรองรับการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศและพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดนที่เทียบเท่า e-Marketplace ประเภท Super Application ที่มีชื่อเสียงของต่างประเทศ (ปี 2565) - โครงการศึกษาและติดตามแนวทางการจัดเก็บภาษีจากรายได้ที่ได้จากการประกอบการที่ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามแนวทางขององค์การระหว่างประเทศ เช่น OECD และ UNCTAD และประเทศต่าง ๆ ที่มีการบังคับใช้กฎหมายเพื่อจัดเก็บภาษีจากรายได้ที่ได้จากพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (ปี 2565) ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาสภาพแวดล้อมและปัจจัยสนับสนุนการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในทุกด้านให้พร้อมรองรับการเติบโตของการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Ecosystem and Enabling Factors) โครงการ Buttom up - โครงการระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (e-Withholding Tax และ e-Tax Invoice & e-Receipt) - โครงการส่งเสริมการพัฒนาบริการและขยายเครือข่ายของผู้ให้บริการโลจิสติกส์ - โครงการผลักดันและส่งเสริมการใช้บริการ Interoperable QR Code for Payments ในธุรกรรมชําระเงินสําหรับ E-Commerce โครงการ Top Down - โครงการพัฒนาศักยภาพของผู้ให้บริการโลจิสติกส์และบริการสนับสนุนโลจิสติกส์ (Logistics Fulfillment) ให้ปรับตัวเข้าสู่การใช้ดิจิทัลอย่างสมบูรณ์ (ปี 2564 - 2565) - โครงการพัฒนาระบบชําระเงินเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทําธุรกรรมทางการเงินของแพลตฟอร์มการค้า (ปี 2564 – 2565) - โครงการพัฒนาบริการชําระเงินเพื่อสนับสนุนให้ SMEs E-Commerce และ Social Commerce ใช้ Digital Payment ได้สะดวก มีความเชื่อมั่น ลดการใช้เงินสด (ปี 2565) ยุทธศาสตร์ที่ 3 การสร้างความเชื่อมั่นในธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Trust and Sustainability) โครงการ Buttom up - โครงการสัมมนาความรู้ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในยุคดิจิทัล (ปี 2564) - โครงการศึกษาแนวทางในการกํากับดูแลการซื้อขายออนไลน์ (ปี 2564) โครงการ Top Down - โครงการรณรงค์และจัดทํามาตรการจูงใจให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (ปี 2564) ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาผู้ประกอบการไทยให้สามารถใช้ประโยชน์จากธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Competency Building) โครงการ Buttom up - โครงการพัฒนาผู้ประกอบการสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ (New Economy Academy) - โครงการพัฒนาสินค้าชุมชนเข้าสู่ตลาดออนไลน์ Offline 2 Online (B2C) โครงการ Top Down - โครงการรวมพลังช่วย SMEs ฝ่าโควิดพิชิตวิถีใหม่ (New Normal) (ปี 2564) - โครงการนําผู้ประกอบการพัฒนาแพลตฟอร์มไทยเข้าร่วมงานแสดงแพลตฟอร์มพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) ในต่างประเทศ (ปี 2565) 8. เรื่อง การขับเคลื่อนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ําตามมติคณะกรรมการทรัพยากรน้ําแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2564 คณะรัฐมนตรีรับทราบมติคณะกรรมการทรัพยากรน้ําแห่งชาติ (กนช.) ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2564 และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดําเนินการตามข้อ 1 – 4 ตามความเห็นของสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ทั้งนี้ ให้ กนช. และหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายรับความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดําเนินการต่อไป สาระสําคัญของเรื่อง กนช. รายงานว่า กนช. ในการประชุมครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2564 ที่มีรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) เป็นประธานได้เห็นชอบการมอบหมายหน่วยงานเพื่อดําเนินการตามวัตถุประสงค์ของแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ํา 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) และพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ํา พ.ศ. 2561 จํานวน 5 เรื่อง ดังนี้ 1. เรื่องมาตรการรับมือฤดูฝน 10 มาตรการ 1.1 กนช. รายงานว่า ได้มอบหมายให้สํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติ (สทนช.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดําเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2564 มีผลการดําเนินการสรุปได้ ดังนี้ ดําเนินการแล้วเสร็จ อยู่ระหว่างดําเนินการ มาตรการที่ 1 คาดการณ์ชี้เป้าพื้นที่เสี่ยงน้ําท่วมและฝนน้อยกว่าค่าปกติ มาตรการที่ 5 ปรับปรุง แก้ไขสิ่งกีดขวางทางน้ํา จํานวน 625 แห่ง ดําเนินการไปแล้ว 400 แห่ง มาตรการที่ 2 บริหารจัดการน้ําพื้นที่ลุ่มต่ําเพื่อรองรับน้ําหลาก มาตรการที่ 6 ขุดลอกคูคลองและกําจัดผักตบชวา โดยการดําเนินการร่วมกันของ 5 หน่วยงาน ได้แก่ กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมชลประทาน กรมเจ้าท่า กรมการปกครอง และกรุงเทพมหานคร มาตรการที่ 3 ทบทวน ปรับปรุงเกณฑ์บริหารจัดการน้ําในแหล่งน้ําขนาดใหญ่ - ขนาดกลาง และเขื่อนระบายน้ํา มาตรการที่ 8 เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ําและปรับปรุงการส่งน้ํา มาตรการที่ 4 ซ่อมแซม ปรับปรุงอาคารชลศาสตร์/ระบบระบายน้ํา/สถานีโทรมาตรให้พร้อมใช้งาน มาตรการที่ 9 สร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์ มาตรการที่ 7 เตรียมพร้อม/วางแผนเครื่องจักร เครื่องมือประจําพื้นที่เสี่ยงน้ําท่วม และพื้นที่ฝนน้อยกว่าค่าปกติ มาตรการที่ 10 ติดตามประเมินผลปรับมาตรการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ภัย จากการคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงอุทกภัยตั้งแต่เดือนกรกฎาคม - พฤศจิกายน 2564 พบว่ามีพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัยและภัยแล้งในฤดูฝน ปี 25641 ดังนี้ เดือน พื้นที่เสี่ยงอุทกภัย พื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง กรกฎาคม 482 ตําบล 128 อําเภอ 31 จังหวัด 1,384 ตําบล 213 อําเภอ 24 จังหวัด สิงหาคม 753 ตําบล 139 อําเภอ 29 จังหวัด 1,603 ตําบล 272 อําเภอ 34 จังหวัด กันยายน 1,504 ตําบล 314 อําเภอ 54 จังหวัด - ตุลาคม 1,662 ตําบล 306 อําเภอ 58 จังหวัด - พฤศจิกายน 1,245 ตําบล 195 อําเภอ 39 จังหวัด - 1.2 กนช. พิจารณาแล้วเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นจึงเสนอให้หน่วยงานดําเนินการ ดังนี้ 1.2.1 ให้ทุกหน่วยงานเตรียมความพร้อมในการป้องกันปัญหาปริมาณฝนน้อยกว่าค่าเฉลี่ยที่จะเกิดขึ้นในช่วงเดือนกรกฎาคมและเดือนสิงหาคม 2564 โดยหาแหล่งเก็บกักน้ําเพิ่มเติม 1.2.2 ให้ทุกหน่วยงานเตรียมความพร้อมเพื่อป้องกันปัญหาอุทกภัยและน้ําหลากในช่วงเดือนกันยายนและเดือนสิงหาคม 2564 รวมทั้งเตรียมแผนงานสําหรับการขอรับการสนับสนุนงบประมาณให้สามารถรับมือได้ทันสถานการณ์ 1.2.3 ให้การประปานครหลวงและกรมชลประทานจัดทําแผนการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ําและปรับปรุงการส่งน้ําเพื่อลดความสูญเสียในระบบอย่างเป็นรูปธรรม 1.2.4 ให้กรมชลประทานวางแผนการจัดสรรน้ําตั้งแต่ภาคเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งจัดสรรน้ําเพื่อผลักดันน้ําเค็มตลอดช่วงฝนทิ้งช่วงในเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม 2564 1.2.5 ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมแผนรับมือน้ําท่วม เช่น การกําจัดผักตบชวาเพื่อรองรับฤดูฝนที่จะมาในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน 2564 1.2.6 ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) วางแผนการเติมน้ําใต้ดินตลอดฤดูฝนนี้ให้มากที่สุดเพื่อเป็นน้ําต้นทุนในฤดูแล้งหน้า 1.2.7 ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องวางแผนและส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ําน้อย 1.2.8 ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมฝนหลวงและการบินเกษตร) ดําเนินการทําฝนหลวงเพื่อเพิ่มน้ําต้นทุนโดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก 2. เรื่องการจัดทําแผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ําผ่านระบบบริหารจัดการแผนงานโครงการและฐานข้อมูลสําหรับบูรณาการแผนงานเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ําของประเทศ หรือระบบ Thai Water Plan (TWP) 2.1 กนช. รายงานว่า TWP เป็นเครื่องมือที่นําเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการจัดทํา รวบรวม และวิเคราะห์แผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ําของประเทศเป็นฐานข้อมูลกลางที่มีความถูกต้อง แม่นยํา น่าเชื่อถือ สามารถลดความซ้ําซ้อน จัดลําดับความสําคัญและเร่งด่วนเพื่อใช้ในการกําหนดงบประมาณ รวมทั้งสามารถติดตามและประเมินผลโครงการด้านทรัพยากรน้ําที่เห็นผลสัมฤทธิ์ชัดเจน โดยแบ่งกระบวนการเป็น 3 ช่วง ดังนี้ 2.1.1 หน่วยงานและจังหวัดจัดทําและยืนยันแผนปฏิบัติการในระบบตั้งแต่เดือนมิถุนายน - สิงหาคม 2564 2.1.2 คณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ําจังหวัดพิจารณาแผนปฏิบัติการในเดือนกันยายน 2564 และคณะกรรมการลุ่มน้ําพิจารณาแผนปฏิบัติการในเดือนตุลาคม 2564 2.1.3 การพิจารณาของ กนช. โดย สทนช. ในฐานะฝ่ายเลขานุการ กนช. จะวิเคราะห์และจัดทําแผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ําของประเทศในช่วงเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม 2564 และเสนอ กนช. พิจารณาในเดือนธันวาคม 2564 เพื่อให้ทันตามปฏิทินงบประมาณ ปี 2566 2.2 กนช. พิจารณาแล้วเสนอให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จัดทําแผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ําประจําปี 2566 และแผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ํา 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) ผ่านระบบ TWP และให้เชื่อมต่อกับระบบของสํานักงบประมาณ (สงป.) เพื่อลดขั้นตอนการดําเนินงานต่อไป 3. เรื่องการจัดทําทะเบียนแหล่งน้ําผ่านระบบ Thai Water Resources (TWR) 3.1 กนช. รายงานว่า TWR เป็นฐานข้อมูลการบูรณาการข้อมูลแหล่งน้ําทั่วประเทศสําหรับใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนและบริหารจัดการน้ําของประเทศทั้งในภาวะปกติและภาวะวิกฤติ โดยการดําเนินงานมี 3 ช่วง ดังนี้ 3.1.1 การรวบรวมข้อมูลบัญชีแหล่งน้ํา พ.ศ. 2562 โดย สทนช. ร่วมกับสํานักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) จัดทําฐานข้อมูลบัญชีแหล่งน้ําและบูรณาการข้อมูลแหล่งน้ําทั่วประเทศร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3.1.2 การจัดทําระบบสารสนเทศสําหรับขึ้นทะเบียน TWR 3.1.3 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและ อปท. ดําเนินการลงทะเบียนแหล่งน้ําผ่านระบบ TWR เมื่อดําเนินการขึ้นทะเบียนเสร็จสมบูรณ์แล้วจะทําให้ทราบหน่วยงานรับผิดชอบหลักและสามารถระบุแหล่งที่มาของงบประมาณได้ ซึ่งจะไปเชื่อมโยงกับระบบ TWP ทําให้การจัดทําแผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ํามีความพร้อมสามารถเสนอขอตั้งงบประมาณได้ตามแผนที่กําหนด 3.2 กนช. พิจารณาแล้วเสนอให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องและ อปท. ดําเนินการ ดังนี้ 3.2.1 ให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องและ อปท. เร่งรัดดําเนินการลงทะเบียนแหล่งน้ําทั้งที่ดําเนินการมาแล้วและที่จะดําเนินการต่อไป ผ่าน TWR เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการเสนอขอตั้งงบประมาณ หากไม่ได้อยู่ในทะเบียนแหล่งน้ําจะไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อเป็นการลดความซ้ําซ้อนของโครงการโดยการเชื่อมโยงกับระบบ TWP 3.2.2 คณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ําจังหวัดพิจารณารับรองแหล่งน้ําในระบบ TWR 3.2.3 เชื่อมโยงข้อมูลทะเบียนแหล่งน้ําจากระบบ TWR กับระบบ TWP เพื่อใช้ในการพิจารณาแผนงานโครงการ 4. เรื่องแนวทางการจัดทําแผนปฏิบัติการโครงการขนาดเล็กด้านทรัพยากรน้ําเพื่อให้แผนปฏิบัติการโครงการขนาดเล็กด้านทรัพยากรน้ําในระดับตําบลและระดับจังหวัดเกิดความชัดเจนเป็นรูปธรรม และตรงกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่ กนช. พิจารณาแล้วจึงเสนอให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องและ อปท. จัดทําแผนปฏิบัติการโครงการขนาดเล็กด้านทรัพยากรน้ํา ดังนี้ 4.1 การจัดทําแผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ําสามารถประยุกต์ใช้ดัชนีชี้วัดการจัดการน้ํา Water Management Index (WMI) โดยสํานักงานสถิติแห่งชาติ ในการกําหนดพื้นที่เป้าหมายและปรับให้สอดคล้องกับสภาพปัจจุบันของพื้นที่นั้น ๆ 4.2 กระบวนการและวิธีการดําเนินการ 4.2.1 คณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ําจังหวัดแต่งตั้งคณะทํางานเพื่อขับเคลื่อนโครงการขนาดเล็ก โดยดําเนินการสํารวจข้อมูล จัดเก็บข้อมูลสภาพปัญหาในพื้นที่และปรับดัชนีชี้วัดการจัดการน้ํา WMI ให้เป็นปัจจุบัน 4.2.2 กําหนดพื้นที่เป้าหมาย และกําหนดประเภทโครงการตามที่ กนช. มีมติเห็นชอบ เช่น เพิ่มน้ําต้นทุน ระบบส่งน้ํา ระบบประปา ระบบบําบัดน้ําเสีย เป็นต้น 4.2.3 กรอบระยะเวลาดําเนินการเริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2564 - กันยายน 2565 5. เรื่องการทบทวนบทบาทภารกิจหน่วยงานในการบริหารทรัพยากรน้ําตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ํา พ.ศ. 2561 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องในประเด็นเป้าหมายและหน่วยงานที่รับผิดชอบในพื้นที่เกษตรน้ําฝน ตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ํา 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) เนื่องด้วยคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการเกี่ยวกับการทบทวนบทบาทภารกิจและปรับปรุงโครงสร้างของส่วนราชการได้มีการประชุมครั้งที่ 5/2564 เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2564 เพื่อพิจารณาข้อมูลพื้นที่เป้าหมายการดําเนินการของกรมทรัพยากรน้ําตามคําชี้แจงของ ทส. แล้วมีมติให้สํานักงาน ก.พ.ร. ส่งข้อมูลเป้าหมายและหน่วยงานรับผิดชอบในพื้นที่เกษตรน้ําฝนตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ํา 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) ที่ ทส. เสนอมา ให้ สทนช. พิจารณาและเสนอ กนช. เพื่อกําหนดเป้าหมายพื้นที่ดําเนินงานและขอบเขตความรับผิดชอบของกรมทรัพยากรน้ํา 5.1 กนช. มีความเห็นในประเด็นดังกล่าว ดังนี้ 5.1.1 การดําเนินการเพิ่มศักยภาพการพัฒนาแหล่งน้ําในพื้นที่เกษตรน้ําฝนนอกเขตชลประทานเป้าหมายจํานวน 87 ล้านไร่ ได้กําหนดหน่วยงานปฏิบัติที่รับผิดชอบภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง จํานวน 8 หน่วยงาน ประกอบด้วย กรมทรัพยากรน้ํา กรมทรัพยากรน้ําบาดาล กรมพัฒนาที่ดิน สํานักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อปท. กองทัพบก และมูลนิธิปิดทองหลังพระสืบสานแนวพระราชดําริ โดยไม่ระบุหน่วยงานเจ้าภาพหลักเป็นรายพื้นที่ จนกว่าจะมีการทบทวน ปรับปรุง บทบาทภารกิจ หน้าที่และอํานาจของหน่วยงานให้สอดล้องกับพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ํา พ.ศ. 2561 และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 5.1.2 พื้นที่เกษตรน้ําฝนนอกเขตชลประทานเป็นพื้นที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานภายใต้กฎหมายหลายฉบับที่กําหนดหน้าที่และอํานาจของหน่วยงานนั้น ๆ เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรน้ําของประเทศ อย่างไรก็ตาม เมื่อพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ํา พ.ศ. 2561 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม 2562 เป็นต้นมา การบริหารทรัพยากรน้ําตามกฎหมายของหน่วยงานเหล่านั้นจะต้องไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ 5.1.3 กนช. ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการจัดทําร่างข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อกําหนดขอบเขต บทบาท ภารกิจ หน้าที่และอํานาจของหน่วยงานด้านการบริหารทรัพยากรน้ําของประเทศมาพิจารณาประเด็นเรื่องการกําหนดขอบเขตพื้นที่รับผิดชอบที่ยังไม่มีความชัดเจน และ กนช. ได้มีมติมอบให้เป็นหน้าที่คณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ําจังหวัดและคณะกรรมการลุ่มน้ําเป็นผู้รับผิดชอบจัดทําแผนงานและแผนงบประมาณในเขตพื้นที่เกษตรน้ําฝนนอกเขตชลประทานจากทุกหน่วยงาน 5.2 กนช. พิจารณาแล้วเสนอให้สํานักงาน ก.พ.ร. สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) เป็นหลักในการพิจารณาบทบาทและภารกิจในองค์ประกอบของแต่ละหน่วยงาน และให้ ทส. (กรมทรัพยากรน้ํา) พิจารณาบทบาท หน้าที่ ภารกิจ ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ํา พ.ศ. 2561 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ___________________________ 1รายละเอียดพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัยและภัยแล้งตามแผนที่การคาดการณ์ปริมาณน้ําฝนทั่วประเทศตั้งแต่เดือนมิถุนายน - พฤศจิกายน 2564 9. เรื่อง รายงานสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน กรณีการป้องกันการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีลักษณะเป็นการทรมานบุคคล คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน กรณีการป้องกันการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีลักษณะเป็นการทรมานบุคคล ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ และแจ้งให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทราบต่อไป เรื่องเดิม 1. กสม. ได้รับเรื่องร้องเรียนจากมูลนิธิผสานวัฒนธรรมว่า เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2563 ได้มีเจ้าหน้าที่ทหาร ศูนย์อํานวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ค่ายพระยาสุรทรธรรมธาดาได้เข้าจับกุมชายผู้ต้องสงสัยคดียาเสพติด จํานวน 2 ราย โดยได้นําตัวไปควบคุมเพื่อซักถามข้อมูลเกี่ยวกับยาเสพติดที่วัดแห่งหนึ่งในพื้นที่ตําบลฝั่งแดง อําเภอธาตุพนม โดยมีการซ้อมทรมานผู้ถูกควบคุมทั้งสองจนได้รับบาดเจ็บสาหัสและต่อมาหนึ่งในผู้ถูกควบคุมตัวเสียชีวิตภายหลังจากที่ถูกส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม ผู้ร้องเห็นว่า การซ้อมทรมานหรือการทําร้ายร่างกายบุคคลจนได้รับบาดเจ็บสาหัสและเสียชีวิตซึ่งเกิดจากการกระทําหรือการรู้เห็นยินยอมของเจ้าหน้าที่ของรัฐถือเป็นอาชญากรรมร้ายแรงตามกฎหมายระหว่างประเทศ โดยเฉพาะภายใต้อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ํายีศักดิ์ศรี ค.ศ. 1984 ซึ่งประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีตั้งแต่ปี 2550 ประกอบกับที่ผ่านมามีข่าวเกี่ยวกับการซ้อมทรมานบุคคลโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐเกิดขึ้นหลายเหตุการณ์ แต่ผู้กระทําผิดมักลอยนวล เนื่องจากได้รับการช่วยเหลือจากผู้บังคับบัญชา ทําให้การกระทําทรมานบุคคลโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐยังคงเกิดขึ้นบ่อยครั้งในท้องที่ต่าง ๆ ของประเทศ กสม. จึงขอให้ตรวจสอบเรื่องดังกล่าว 2. กสม. พิจารณาแล้วเห็นว่า เจ้าหน้าที่ทหาร ศูนย์อํานวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ค่ายพระยาสุนทรธรรมธาดาน่าจะกระทําการเข้าข่ายเป็นการทรมานผู้ถูกควบคุมตัวทั้งสองด้วยการซ้อมรุมทําร้ายหรือใช้กําลังทําร้ายร่างกายหลายครั้งติดต่อกัน ตั้งแต่ในระหว่างการจับกุมจนกระทั่งควบคุมตัวเพื่อซักถามข้อมูลเกี่ยวกับยาเสพติด โดยมุ่งประสงค์ให้ผู้ถูกควบคุมตัวทั้งสองรับสารภาพหรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับที่มาของยาเสพติดเพื่อขยายผลไปถึงเครือข่ายผู้ค้ายาเสพติดหรือผู้เสพยาเสพติดรายอื่น ๆ อันเป็นการก่อให้เกิดความเจ็บปวดทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรง ตามนิยามของการทรมาน และยังเป็นการกระทําทารุณโหดร้าย ไร้มนุษยธรรม ตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมาน และการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ํายีศักดิ์ศรี รวมทั้งการกระทําดังกล่าวเป็นการละเมิดสิทธิในชีวิตและร่างกายของผู้ถูกควบคุมตัวทั้งสอง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 28 วรรคหนึ่งและวรรคสี่ และขัดต่อกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง 3. รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีได้มีคําสั่งมอบหมายให้ ยธ. เป็นหน่วยงานหลักรับเรื่องนี้ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงกลาโหม (กห.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) สํานักงานตํารวจแห่งชาติ (ตช.) สํานักงานอัยการสูงสุด (อส.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของข้อเสนอแนะดังกล่าว โดยให้ ยธ. สรุปผลการพิจารณาหรือผลการดําเนินการดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคําสั่ง เพื่อนําเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป สาระสําคัญของเรื่อง ยธ. รายงานว่า ได้ประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กห. พม. มท. สธ. สคก. ตช. อส. สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ และกองกฎหมาย สํานักงานปลัดกระทรวงยุติธรรมแล้ว เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2564 ซึ่งมีผลสรุปในภาพรวมได้ ดังนี้ ข้อเสนอแนะ กสม. สรุปผลการพิจารณา 1. คณะรัฐมนตรีควรพิจารณายกเลิกคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 23/2558 เรื่อง มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2519 ลงวันที่ 24 กรกฎาคม 2558 และคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 13/2559 เรื่อง การป้องกันและปราบปรามการกระทําความผิดบางประการที่เป็นภยันตรายต่อความสงบเรียบร้อยหรือบ่อนทําลายระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ลงวันที่ 29 มีนาคม 2559 ซึ่งได้ให้อํานาจแก่เจ้าหน้าที่ทหารมีอํานาจเช่นเดียวกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในการสืบสวนการกระทําผิดเกี่ยวกับยาเสพติดและความผิดทางอาญาอื่น เพื่อให้การสืบสวนสอบสวนการกระทําผิดกฎหมายอาญาเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญาปกติ โดยให้เป็นหน้าที่และอํานาจของพนักงานฝ่ายปกครองและตํารวจ รวมถึงเจ้าพนักงานตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องเป็นผู้รับผิดชอบตามกฎหมายปกติ การออกคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติทั้ง 2 ฉบับ เป็นไปเพื่อการป้องกัน ระงับ ปราบปรามการบ่อนทําลาย เศรษฐกิจ สังคม ความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน รวมทั้งเพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของสุจริตชน ในปัจจุบันการให้อํานาจพิเศษตามคําสั่งดังกล่าวแก่เจ้าหน้าที่ยังคงมีความจําเป็นต่อการรักษาความสงบเรียบร้อยของประเทศ อย่างไรก็ตาม การปฏิบัติหน้าที่โดยอาศัยอํานาจจากคําสั่งฯ ดังกล่าวมีความเสี่ยงสูงที่อาจก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน ดังนั้น เจ้าหน้าที่จึงต้องปฏิบัติหน้าที่ภายใต้ขอบเขตของกฎหมายและเคารพสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอย่างเคร่งครัดเพื่อให้การบังคับใช้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และเจตนารมณ์ของกฎหมาย 2. คณะรัฐมนตรีควรจัดความสําคัญในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทําให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. .... ไว้เป็นลําดับแรก เพื่อให้มีการพิจารณาให้ความเห็นชอบ และประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายต่อไปโดยเร็ว โดยนําหลักการและสาระสําคัญตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติ หรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ํายีศักดิ์ศรีและอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับให้หายสาบสูญไปบรรจุไว้ในร่างพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าว ให้สอดคล้องตามเจตนารมณ์ของอนุสัญญาทั้งสองฉบับ โดยเฉพาะการกําหนดความรับผิดทางอาญาแก่ผู้บังคับบัญชาที่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือปล่อยปละละเลยให้ผู้ใต้บังคับบัญชากระทําการซ้อมทรมาน ไม่ดําเนินการป้องกันหรือระงับการกระทําของผู้ใต้บังคับบัญชา หรือปกปิดข้อเท็จจริงไม่ส่งเรื่องให้เจ้าพนักงานผู้มีอํานาจตามกฎหมายเพื่อสอบสวนดําเนินคดี รวมทั้งกําหนดให้มีกลไกพิเศษในการสืบสวนสอบสวนคดีทรมานและคดีที่เกี่ยวกับการกระทําให้บุคคลสูญหาย โดยองค์กรหรือหน่วยงานที่มีความเป็นอิสระ เป็นกลาง และมีประสิทธิภาพตลอดจนมีมาตรการหรือแนวทางในการป้องกันและปราบปรามการกระทําผิดแบบบูรณาการเชื่อมโยงการทํางานร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่มีอํานาจสืบสวนสอบสวนที่เป็นอิสระและเป็นกลาง องค์กรอัยการ หน่วยงานแพทย์ที่เป็นอิสระและมีความเชี่ยวชาญ และภาคประชาชน ยธ. โดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพได้ยกร่างพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าวขึ้นตามหลักการของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติ หรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ํายีศักดิ์ศรี และอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับให้หายสาบสูญ ซึ่งมีสาระสําคัญสอดคล้องกับข้อเสนอแนะของ กสม. แล้ว ทั้งนี้ ยธ. ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติฯ เข้าสู่กระบวนการพิจารณากฎหมายตามลําดับ โดยผ่านการพิจารณาจากคณะรัฐมนตรี และคณะกรรมการกฤษฎีกาเรียบร้อยแล้ว และได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (วิปรัฐบาล) เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2564 และคณะอนุกรรมการกลั่นกรองร่างกฎหมายในกระบวนการนิติบัญญัติ (อนุวิปรัฐบาล) เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (วิปรัฐบาล) 3. คณะรัฐมนตรีควรมอบหมายให้ ยธ. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทําแนวทางในการปฏิบัติงานแบบบูรณาการระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐในกระบวนการยุติธรรมทุกฝ่าย เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการสืบสวนสอบสวนการกระทําผิดในกรณีที่มีข้อสงสัยเรื่องการซ้อมทรมานบุคคล กรณีที่มีการตายเกิดขึ้นในระหว่างการควบคุมของเจ้าพนักงาน รวมถึงกรณีที่กล่าวอ้างว่ามีการกระทําให้บุคคลสูญหาย พร้อมทั้งจัดทําโครงการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง โดยนําหลักการตามคู่มือการสืบสวนสอบสวนและบันทึกข้อมูลหลักฐานอย่างมีประสิทธิผลกรณีการกระทําทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษอย่างโหดร้าย ไร้มนุษยธรรมและย่ํายีศักดิ์ศรี หรือพิธีสารอิสตันบูลมาใช้ในการจัดทําแนวทางการสืบสวนสอบสวนและฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นหลักประกันในการป้องกันและปราบปรามการกระทําทรมานและสอบสวน ดําเนินคดีแก่ผู้กระทําผิดอย่างเด็ดขาดไม่ให้เกิดกรณีการลอยนวลพ้นผิด ยธ. โดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพได้ดําเนินการส่งเสริมให้ความรู้ความเข้าใจ และการฝึกอบรมเรื่องสิทธิมนุษยชนและสิทธิเสรีภาพ กฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องมาอย่างต่อเนื่อง อาทิ กฎการใช้กําลังหลักการและสาระสําคัญของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติ หรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ํายีศักดิ์ศรี อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับให้หายสาบสูญ มาตรการสืบสวนสอบสวนตามมาตรฐานสากล กลไกการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์กรณีถูกกระทําทรมานและถูกบังคับให้หายสาบสูญ นอกจากนี้ ยังได้เน้นการจัดฝึกอบรมในรูปแบบเฉพาะทางให้แก่เจ้าหน้าที่รัฐหลายหน่วยงาน โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย เจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรม และบุคลากรทางการแพทย์ อาทิ การฝึกอบรมหลักสิทธิมนุษยชนสําหรับนายทหารเหล่าทหารพระธรรมนูญ การฝึกอบรมเทคนิคการสืบสวนสอบสวนแนวใหม่ การฝึกอบรมเทคนิคการตรวจพิสูจน์ทางนิติวิทยาศาสตร์เพื่อหาร่องรอยจากการทรมานฯ และการบังคับให้บุคคลสูญหายตามแนวทางของพิธีสารมินนิสโซต้าและพิธีสารอิสตันบูลให้กับเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายและบุคลากรทางการแพทย์ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งได้ผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเผยแพร่ได้อย่างรวดเร็ว เข้าถึงง่ายและทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน และได้ส่งเสริมให้ความรู้เรื่องสิทธิมนุษยชนและสิทธิเสรีภาพผ่านกลไกบ้าน วัด โรงเรียน (บวร) รวมทั้งได้จัดทําบันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วยการสร้างและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ด้านสิทธิ เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชนร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ อาทิ สํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม มหาวิทยาลัยนเรศวร โรงเรียนเตรียมทหาร สภาคริสตจักรในประเทศไทย และกลุ่มโรงเรียนในเครือสารสาสน์ รวมถึงผลักดันให้มีการบรรจุเรื่องดังกล่าวในหลักสูตรพัฒนาหรือเลื่อนขั้นเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐรู้สิทธิ รู้หน้าที่ของตนเอง และเคารพสิทธิผู้อื่นโดยมีเป้าหมายสําคัญเพื่อให้สถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนในสังคมไทยมีแนวโน้มลดลง 10. เรื่อง รายงานผลการแก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาการให้บริการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการแก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาการให้บริการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) และเห็นชอบมาตรการเร่งรัดให้หน่วยงานสื่อสารประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนในการใช้บริการรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) และแก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบ ตามที่สํานักงาน ก.พ.ร. เสนอ และให้สํานักงาน ก.พ.ร. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงมหาดไทย สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนไปพิจารณาดําเนินการต่อไปด้วย สาระสําคัญ สํานักงาน ก.พ.ร. เสนอว่า ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติวันที่ 8 กันยายน 2563 โดยมอบหมายให้สํานักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาแก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาการให้บริการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) ซึ่งสํานักงาน ก.พ.ร. ได้ดําเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวแล้ว โดยแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ต้องดําเนินการแก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบทั้ง 84 ฉบับ ให้รายงานสถานะความก้าวหน้า (ณ เดือนมิถุนายน 2564) เพื่อติดตามและเร่งรัดการดําเนินงาน โดยมีผลสรุปได้ ดังนี้ 1. กฎหมายและกฎระเบียบที่ต้องดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี พ.ศ. 2563 จํานวน 23 ฉบับ สามารถดําเนินการแก้ไขได้แล้วเสร็จ หรือทบทวนแล้วเห็นว่าไม่เป็นอุปสรรคสามารถใช้กฎหมายหรือกฎระเบียบฉบับอื่นรองรับได้ รวมจํานวน 19 ฉบับ และที่อยู่ระหว่างดําเนินการ จํานวน 4 ฉบับ นอกจากนี้ มีหน่วยงานที่สามารถดําเนินการเพื่อแก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบได้แล้วเสร็จก่อนกําหนดเวลา จํานวน 6 หน่วยงาน ได้แก่ สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กรมสรรพสามิต กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมประชาสัมพันธ์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ และกรมโรงงานอุตสาหกรรม 2. กฎหมายและกฎระเบียบฯ ในภาพรวมทั้ง 84 ฉบับ สามารถจําแนกได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ 2.1 กลุ่มที่ดําเนินการแล้วเสร็จ หรือทบทวนแล้วเห็นว่าไม่เป็นอุปสรรคเนื่องจากสามารถใช้กฎหมายหรือกฎระเบียบฉบับอื่นรองรับได้ โดยไม่ต้องแก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบเดิม จํานวน 48 ฉบับ เช่น กฎกระทรวงการอนุญาตขายสุรา พ.ศ. 2560 กฎกระทรวงการอนุญาตขายยาสูบ พ.ศ. 2560 กฎกระทรวงการอนุญาตขายไพ่ พ.ศ. 2560 กฎกระทรวงการอนุญาตป็นผู้ดําเนินการในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. 2560 ประกาศสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ ป.3/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการขออนุญาตนําคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ 2.2 กลุ่มที่อยู่ระหว่างดําเนินการ ซึ่งได้จัดรับฟังความคิดเห็นหรือทบทวนแก้ไขเสร็จแล้ว และอยู่ระหว่างเสนอผู้มีอํานาจตามกฎหมาย (คณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการ/หัวหน้าหน่วยงาน) พิจารณา จํานวน 12 ฉบับ เช่น ระเบียบกรมป่าไม้ ว่าด้วยการนําไม้หรือของป่าเคลื่อนที่ พ.ศ. 2552 ที่ได้สํารวจทบทวนปัญหาอุปสรรคที่เกี่ยวข้องเสร็จสิ้นแล้วและอยู่ระหว่างดําเนินการแก้ไขระเบียบเพื่อเสนอผู้มีอํานาจพิจารณาลงนาม รวมทั้งประกาศ/ระเบียบของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่อยู่ระหว่างการเสนอคณะอนุกรรมการกลั่นกรองพิจารณา ก่อนเสนอ กสทช. พิจารณาต่อไป 2.3 กลุ่มที่อยู่ระหว่างรวบรวมปัญหาอุปสรรคหรือรับฟังความคิดเห็นเพื่อทบทวนแก้ไข จํานวน 24 ฉบับ ซึ่งรวมถึงกฎหมายและกฎระเบียบที่จะต้องดําเนินการแก้ไขให้แล้วเสร็จภายใน พ.ศ. 2563 ที่ยังคงเหลือจํานวน 3 ฉบับด้วย เช่น กฎกระทรวงคุณสมบัติและการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2558 ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการนําเข้า นําผ่าน หรือนําเข้าเพื่อการส่งต่อซึ่งสิ่งต้องห้าม สิ่งกํากัดและสิ่งไม่ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2559 3. สํานักงาน ก.พ.ร. เห็นควรกําหนดมาตรการให้หน่วยงานเร่งดําเนินการ ดังนี้ 3.1 ให้หน่วยงานที่ดําเนินการแก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคฯ แล้วเสร็จ หรือทบทวนแล้วไม่เป็นอุปสรรค และสามารถให้บริการผ่านระบบ e-Service ได้ ตามข้อ 2.1 เร่งสื่อสารประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนในการใช้บริการของหน่วยงาน 3.2 ให้หน่วยงานที่มีสถานะตามข้อ 2.2 เร่งดําเนินการแก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคฯ ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และให้สํานักงาน ก.พ.ร. ติดตามการดําเนินการของหน่วยงานเป็นระยะ 3.3 ให้หน่วยงานที่มีสถานะตามข้อ 2.3 เร่งดําเนินการทบทวนเพื่อแก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคฯ โดยรวบรวมประเด็นปัญหาและอุปสรรคในการดําเนินการ ประเด็นที่ประสงค์ขอรับการสนับสนุน/การให้คําปรึกษาจากสํานักงาน ก.พ.ร. สคก. หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจัดทําแผนและระยะเวลาที่คาดว่าจะแล้วเสร็จในการแก้ไขกฎหมาย และให้สํานักงาน ก.พ.ร. ติดตามการดําเนินการของหน่วยงานให้เป็นไปตามแผน 11. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 31/2564 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 31/2564 เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2564 ที่ได้มีมติที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสําคัญของโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกําหนดให้อํานาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (พระราชกําหนดฯ) การพิจารณารายงานผลการดําเนินงานโครงการรถ Mobile พาณิชย์... ลดราคา! ช่วยประชาชน กระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก และการจัดทํารายงานความก้าวหน้าการดําเนินงานและการใช้จ่ายเงินกู้ของแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกําหนดฯ ราย 3 เดือน รวมทั้งพิจารณากลั่นกรองข้อเสนอโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ดังนี้ 1. อนุมัติให้สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสําคัญของโครงการพัฒนาศักยภาพระบบบริการสุขภาพ รองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (A001) ของหน่วยงานส่วนภูมิภาค โดยในชั้นนี้ให้ขยายระยะเวลาดําเนินโครงการฯ จากเดิม สิ้นสุดเดือนกันยายน 2564 เป็น สิ้นสุดเดือนธันวาคม 2564 และกรณีที่สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่สามารถดําเนินโครงการให้แล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม 2564 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ให้เร่งจัดทํารายงานผลการดําเนินงาน ปัญหาและอุปสรรค รวมทั้งแผนดําเนินงานและแผนเบิกจ่ายโครงการฯ เสนอให้คณะกรรมการฯ ตามขั้นตอนของข้อ 18 ของระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดําเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกําหนดให้อํานาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 พ.ศ. 2563 (ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีฯ) เพื่อพิจารณาแนวทางการดําเนินโครงการและระยะเวลาที่เหมาะสมอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ เมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่คณะกรรมการฯ เสนอแล้ว เห็นควรให้ สธ. เร่งดําเนินการแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบ eMENSCR โดยเร็วต่อไป 2. มอบหมายให้สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข จัดทําข้อเสนอการขอเปลี่ยนแปลงงบประมาณที่ได้รับอนุมัติไปใช้ในพื้นที่อื่นที่มีความจําเป็น พร้อมทั้งระบุเหตุผลและความจําเป็นเสนอให้คณะกรรมการฯ พิจารณาตามข้อ 18 ข้องระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีฯ ต่อไป 3. อนุมัติให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสําคัญของโครงการค่าตอบแทน เยียวยา ชดเชย และเสี่ยงภัย สําหรับการปฏิบัติงานของ อสม. ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชน โดยเป็นการขยายระยะเวลาการดําเนินการเบิกจ่ายค่าตอบแทนฯ จากเดิมสิ้นสุดเดือนกันยายน 2564 เป็นสิ้นสุดเดือนพฤศจิกายน 2564 กรอบวงเงินรวมไม่เกิน 1,575.4590 ล้านบาท ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้เห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว สําหรับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจ่ายเงินค่าตอบแทนฯ นั้น เห็นควรให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ พิจารณาดําเนินการตามความจําเป็นและความเหมาะสม โดยรูปแบบดังกล่าวต้องสามารถยืนยันตัวตนของผู้ได้รับเงินค่าตอบแทน พร้อมทั้งมีเอกสารหลักฐานประกอบการเบิกจ่ายที่ชัดเจนและสามารถตรวจสอบได้ ทั้งนี้ เมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการฯ แล้ว เห็นควรให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพเร่งดําเนินการแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบ eMENSCR โดยเร็ว 4. รับทราบรายงานผลการดําเนินโครงการรถ Mobile พาณิชย์... ลดราคา! ช่วยประชาชน กระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก ของกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ และมอบหมายให้กรมการค้าภายใน รับความเห็นและข้อสังเกตของฝ่ายเลขานุการฯ และคณะกรรมการฯ ไปปรับปรุงแนวทางการดําเนินโครงการในส่วนที่ยังอยู่ระหว่างดําเนินการฯ เพื่อให้การดําเนินโครงการฯ เป็นไปอย่างคุ้มค่าตามเป้าหมายที่กําหนดไว้ 5. รับทราบรายงานความก้าวหน้าการดําเนินงานและการใช้จ่ายเงินกู้ของแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกําหนดฯ ราย 3 เดือน ครั้งที่ 5 (1 พฤษภาคม - 31 กรกฎาคม 2564) พร้อมทั้งมอบหมายให้หน่วยงานเจ้าของโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกําหนดฯ ดําเนินการตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการฯ โดยเคร่งครัด เพื่อให้การใช้จ่ายเงินกู้ การจัดหาเงินและการจัดสรรเงินกู้ตามพระราชกําหนดฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 6. รับทราบข้อเสนอโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ครั้งที่ 3 รวม 10 จังหวัด (แพร่ พิษณุโลก ตาก สุโขทัย ร้อยเอ็ด สุรินทร์ อํานาจเจริญ พระนครศรีอยุธยา ปราจีนบุรี และสระแก้ว) จํานวน 1,766 โครงการ กรอบวงเงินรวม 2,909,015,572 บาท โดยให้ใช้จ่ายเงินจากงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสํารองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น และให้หน่วยงานรับผิดชอบปฏิบัติตามขั้นตอนตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการฯ ในคราวประชุมครั้งที่ 29/2564 พร้อมทั้งให้หน่วยงานรับผิดชอบปฏิบัติตามขั้นตอนของระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสํารองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น พ.ศ. 2562 ต่อไป และให้กระทรวงมหาดไทยดําเนินการตามความเห็นของสํานักงบประมาณ 12. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกําหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 6/2564 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เสนอผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกําหนดให้อํานาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 (พระราชกําหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564) ในคราวประชุมครั้งที่ 6/2564 เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2564 ได้มีมติเกี่ยวข้องกับการพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของข้อเสนอแผนงานหรือโครงการเพื่อขอใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกําหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 และการพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสําคัญของโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกําหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ดังนี้ 1. อนุมัติโครงการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) สําหรับบริการประชากรในประเทศไทย เพิ่มเติม จํานวน 9,998,820 โดส (Pfizer) ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กรอบวงเงินจํานวน 4,744.9166 ล้านบาท โดยใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้แผนงาน/โครงการกลุ่มที่ 1 เพื่อจัดซื้อจัดหาวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ตามนโยบายรัฐบาลที่จะจัดหาวัคซีนให้แก่ประชาชน 100 ล้านโดส ภายในสิ้นปี 2564 สําหรับสร้างภูมิคุ้มกันโรค ลดอัตราการป่วย/การเสียชีวิต และลดค่าใช้จ่ายภาครัฐในการดูแลรักษาผู้ป่วยจากโรค Covid-19 รวมทั้งลดผลกระทบ/พื้นฟูสภาพเศรษฐกิจและสังคมให้กลับสู่สภาวะปกติได้โดยเร็ว พร้อมทั้งมอบหมายให้กรมควบคุมโรค ดําเนินการตามข้อสังเกตเพิ่มเติมของคณะกรรมการฯ โดยเคร่งครัด 2. มอบหมายให้กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการ ดําเนินการจัดทําความต้องการใช้จ่ายเป็นรายเดือน เพื่อให้สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) สามารถจัดหาเงินกู้เพื่อใช้จ่ายโครงการตามแผนการใช้จ่ายเงินที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายทางการเงินของภาครัฐ พร้อมทั้งปฏิบัติตามข้อ 15 ของระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดําเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกําหนดให้อํานาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 พ.ศ. 2564 (ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564) โดยเคร่งครัดตามขั้นตอนต่อไป 3. อนุมัติให้สํานักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสําคัญของโครงการเยียวยาผู้ประกันตนมาตรา 39 และมาตรา 40 ในกิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐ ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด โดยเป็นการขยายระยะเวลาให้ผู้ประกันตนมาตรา 40 ในพื้นที่ 3 จังหวัดและ 16 จังหวัด สามารถขึ้นลงทะเบียนเป็นผู้ประกันตนรายใหม่ตามระยะเวลาที่เสนอ และขยายการให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่ 13 จังหวัด เพิ่มเติมอีก 1 เดือน ทําให้กรอบวงเงินของโครงการฯ เพิ่มขึ้นจาก 33,471.0050 ล้านบาท ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2564 เป็น 77,785.0600 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจํานวน 44,314.0550 ล้านบาท โดยใช้จ่ายภายใต้แผนงานหรือโครงการกลุ่มที่ 2 ตามบัญชีท้ายพระราชกําหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว ทั้งนี้ เมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นชอบแล้ว เห็นควรให้สํานักงานประกันสังคมเร่งดําเนินการแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบ eMENSCR โดยเร็วต่อไป 4. มอบหมายให้กระทรวงคมนาคม พิจารณาความเหมาะสมในการจัดทําข้อเสนอโครงการเพื่อให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ขับขี่รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคนและรถจักรยานยนต์สาธารณะที่ไม่สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 เนื่องจากอายุเกินคุณสมบัติที่สํานักงานประกันสังคมกําหนดไว้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาตามขั้นตอนของระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป เพื่อให้ความช่วยเหลือกลุ่มแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของภาครัฐเป็นไปอย่างครอบคลุม 13. เรื่อง รายงานผลการดําเนินการโครงการนําร่องการป้องกันและการควบคุมการแพร่ระบาดในโรงงาน (Factory Sandbox) คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดําเนินการโครงการนําร่องการป้องกันและการควบคุมการแพร่ระบาดในโรงงาน (Factory Sandbox) ตามที่กระทรวงแรงงาน เสนอดังนี้ สาระสําคัญ 1. โครงการนําร่องการป้องกันและการควบคุมการแพร่ระบาดในโรงงาน (Factory Sandbox) สรุปสาระสําคัญ ดังนี้ 1.1 วัตถุประสงค์ เป็นการดําเนินการภายใต้แนวคิด “เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข” โดยมุ่งเน้นให้สถานประกอบการ กิจการ โรงงานภาคการผลิตส่งออกขนาดใหญ่ที่มีความสําคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศสามารถดําเนินกิจกรรมต่อไปได้ควบคู่กับมาตรการควบคุมและป้องกันโรคภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด - 19 1.2 จังหวัดพื้นที่เป้าหมาย ระยะที่ 1 ประกอบด้วย 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดชลบุรี และระยะที่ 2 ประกอบด้วย 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัดสมุทรปราการ 1.3 สถานประกอบกิจการเป้าหมาย เป็นโรงงานภาคการผลิตส่งออกขนาดใหญ่ 4 ประเภทอุตสาหกรรม ได้แก่ 1) ยานยนต์ 2) ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ 3) อาหาร และ 4) อุปกรณ์ทางการแพทย์ ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่เป้าหมาย และมีลูกจ้างตั้งแต่ 500 คนขึ้นไป โดยในระยะที่ 1 มีสถานประกอบการเป้าหมาย 387 แห่ง จํานวนผู้ประกันตน 474,109 คน จังหวัด เป้าหมาย จํานวนสถานประกอบการ (500 คนขึ้นไป) (แห่ง) จํานวนผู้ประกันตน (คน) ชลบุรี
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 30 สิงหาคม 2564 วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม 2564 สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 30 สิงหาคม 2564 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีผ่านระบบ Video Conference ณ ห้อง PMOC ชั้น 2 ตึกไทยคู่ฟ้า ทําเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสําคัญดังนี้ http://www.thaigov.go.th (โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง) วันนี้ (30 สิงหาคม 2564) เวลา 09.00 น.พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีผ่านระบบ Video Conference ณ ห้อง PMOC ชั้น 2 ตึกไทยคู่ฟ้า ทําเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสําคัญดังนี้ กฎหมาย 1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากําหนดเขตสํารวจการจัดรูปที่ดิน ในท้องที่ตําบลเจ้าท่า และตําบลดงลิง อําเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ. .... 2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกําหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... 3. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีสําหรับการบริจาคให้แก่กองทุน เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา) 4. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากําหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตําบลบ้านใหม่ อําเภอพระนครศรีอยุธยา ตําบลวัดยม ตําบลมหาพราหมณ์ ตําบลสะพานไทย ตําบลพระขาว อําเภอบางบาล และตําบลบ้านกลึง ตําบลกระแชง ตําบลช้างน้อย ตําบลบ้านแป้ง ตําบลสนามชัย ตําบลบางไทร ตําบลราชคราม อําเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พ.ศ. .... 5. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกําหนดประโยชน์ของนักโทษเด็ดขาด และเงื่อนไขนักโทษที่เด็ดขาดซึ่งได้รับการลดวันต้องโทษจําคุกหรือการพักการลงโทษและได้รับการปล่อยตัวต้องปฏิบัติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... 6. เรื่อง ร่างระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เศรษฐกิจ สังคม 7. เรื่อง ขอความเห็นชอบแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2564 - 2565) 8. เรื่อง การขับเคลื่อนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ําตามมติคณะกรรมการทรัพยากรน้ําแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2564 9. เรื่อง รายงานสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน กรณีการป้องกันการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีลักษณะเป็นการทรมานบุคคล 10. เรื่อง รายงานผลการแก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาการให้บริการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) 11. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุม ครั้งที่ 31/2564 12. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกําหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 6/2564 13. เรื่อง รายงานผลการดําเนินการโครงการนําร่องการป้องกันและการควบคุมการแพร่ระบาดในโรงงาน (Factory Sandbox) 14. เรื่อง ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่าย งบกลาง รายการเงินสํารองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายโครงการรณรงค์เอาชนะโควิดตามมาตรการ เร่งด่วน (Thailand Prevention) 15. เรื่อง ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสํารองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เพื่อดําเนินโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ครั้งที่ 2 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2564 ต่างประเทศ 16. เรื่อง กรอบการอํานวยความสะดวกด้านการลงทุนของอาเซียน (ASEAN Investment Facilitation Framework : AIFF) 17. เรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมการเจรจาการค้าระดับรัฐมนตรีขององค์การการค้าโลก เรื่องการเจรจาจัดทําความตกลงว่าด้วยการอุดหนุนประมง 18. เรื่อง รายงานประจําปีและรายงานงบการเงินขององค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย ประจําปี 2563 19. เรื่อง การต่ออายุความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการเแลกเปลี่ยนเงินตรา (Bilateral Swap Agreement) ระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทย และกระทรวงการคลังญี่ปุ่น 20. เรื่อง ผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-จีน สมัยพิเศษ เพื่อเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 30 ปี ของความสัมพันธ์ 21. เรื่อง แผนฟื้นฟูการท่องเที่ยวของภูมิภาคอาเซียนภายหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) แต่งตั้ง 22. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา) 23. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงศึกษาธิการ) 24. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (สํานักนายกรัฐมนตรี) 25. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (สํานักนายกรัฐมนตรี) 26. เรื่อง ให้กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีคงอยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่ออีกหนึ่งวาระ 27. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงพาณิชย์) 28. เรื่อง การแต่งตั้งเลขาธิการ กปร. ******************* สํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396 กฎหมาย 1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากําหนดเขตสํารวจการจัดรูปที่ดิน ในท้องที่ตําบลเจ้าท่า และตําบลดงลิง อําเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากําหนดเขตสํารวจการจัดรูปที่ดิน ในท้องที่ตําบลเจ้าท่า และตําบลดงลิง อําเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ และให้ส่งสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดําเนินการต่อไปด้ และให้ กษ. รับความเห็นของสํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดําเนินการต่อไปด้วย ทั้งนี้ กษ. เสนอว่า 1. เนื่องจากพื้นที่โครงการจัดรูปที่ดินหลายพื้นที่มีประกาศกําหนดเขตท้องที่ที่จะสํารวจเป็นเขตโครงการจัดรูปที่ดินตามพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2517 ยังไม่ได้ประกาศให้เป็นเขตโครงการจัดรูปที่ดิน ต่อมาเมื่อมีการประกาศใช้บังคับพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2558 ซึ่งในบทเฉพาะกาลมาตรา 69 กําหนดให้ท้องที่ที่มีพระราชกฤษฎีกากําหนดเขตโครงการจัดรูปที่ดินตามพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2517 เป็นเขตโครงการจัดรูปที่ดินตามพระราชบัญญัตินี้ โดยบัญญัติให้บรรดาการดําเนินการใดเกี่ยวกับการจัดรูปที่ดินซึ่งได้กระทําไปแล้วในขั้นตอนใดในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้เป็นอันใช้ได้ แต่การดําเนินการในขั้นตอนต่อไปให้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีปัญหาไม่อาจดําเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ในเรื่องใด ให้การดําเนินการต่อไปในเรื่องนั้นเป็นไปตามที่คณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลางกําหนด 2. คณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลาง ในการประชุม ครั้งที่ 2/2559 วันที่ 8 ธันวาคม 2559 เห็นสมควรกําหนดให้ในท้องที่ตําบลเจ้าท่า และตําบลดงลิง อําเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ. .... เป็นเขตโครงการจัดรูปที่ดิน และเห็นชอบให้ดําเนินการประกาศพระราชกฤษฎีกากําหนดเขตสํารวจการจัดรูปที่ดินในท้องที่ตําบลเจ้าท่า และตําบลดงลิง อําเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ. .... เพื่อกําหนดพื้นที่ที่ทําเกษตรกรรมหรือพื้นที่ในเขตการจัดระบบน้ําเพื่อเกษตรกรรม ในท้องที่ตําบลเจ้าท่า และตําบลดงลิง อําเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ และเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งปฏิบัติงานร่วมกับพนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจเข้าไปทําการสํารวจพื้นที่ที่จะจัดทําเป็นโครงการจัดรูปที่ดิน รวมทั้งประกาศเป็นเขตโครงการจัดรูปที่ดินต่อไปตามพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2558 สาระสําคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา กําหนดเขตโครงการจัดรูปที่ดิน ในท้องที่ตําบลเจ้าท่า และตําบลดงลิง อําเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ให้เป็นเขตสํารวจการจัดรูปที่ดิน 2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกําหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกําหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ ซึ่งสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดําเนินการต่อไปได้ และให้ กค. รับข้อสังเกตของกระทรวงพลังงานไปพิจารณาดําเนินการต่อไป ทั้งนี้ กค. เสนอว่า 1. ตามที่ได้มีกฎกระทรวงกําหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน พ.ศ. 2563 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกาศใช้บังคับ โดยกฎกระทรวงดังกล่าวได้กําหนดประเภทของพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน ดังนี้ 1) พัสดุส่งเสริมและพัฒนาด้านการเกษตร 2) พัสดุส่งเสริมวิสาหกิจและการประกอบอาชีพ 3) พัสดุส่งเสริมการเรียนการสอน 4) พัสดุส่งเสริมนวัตกรรม 5) พัสดุส่งเสริมสุขภาพและสาธารณสุข 6) พัสดุส่งเสริมความมั่นคงด้านพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ 7) พัสดุส่งเสริมความมั่นคงด้านความปลอดภัยทางอาหารและสินค้าเกษตร 8) ประเภทของที่ปรึกษาที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน 9) พัสดุการผลิตภายในประเทศ และ 10) พัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 2. เนื่องจากปัจจุบันมีพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุนเพิ่มเติมหลายประเภทมากขึ้น ประกอบกับมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 บัญญัติว่าให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีอํานาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ และมาตรา 65 วรรคสองบัญญัติว่าพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมให้เป็นไปตามที่กําหนดในกฎกระทรวง กค. พิจารณาแล้วจึงได้แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงตามข้อ 1. เพื่อกําหนดประเภทของพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุนเพิ่มเติม รวมทั้งวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการดําเนินการจัดซื้อจัดจ้างฯ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป 3. คณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐในคราวประชุมครั้งที่ 7/2564 เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2564 มีมติเห็นชอบประเภทพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุนตามที่กําหนดในหลักการร่างกฎกระทรวงดังกล่าวแล้ว สาระสําคัญของร่างกฎกระทรวง 1. แก้ไขเพิ่มเติมหมวด 2 พัสดุส่งเสริมวิสาหกิจ และการประกอบอาชีพ - กําหนดให้ “วิสาหกิจเพื่อสังคม” อยู่ในคํานิยามว่า “พัสดุส่งเสริมวิสาหกิจและการประกอบอาชีพ” - กําหนดให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อจัดจ้างผลิตผล ชิ้นงาน หรือบริการที่ผลิตหรือจัดทําขึ้นจากวิสาหกิจเพื่อสังคมตามที่ได้จดทะเบียนวิสาหกิจเพื่อสังคมโดยวิธีเฉพาะเจาะจง หรือจะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีการคัดเลือกก็ได้ ทั้งนี้ เป็นไปตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม พ.ศ. 2562 มาตรา 59 วรรคหนึ่ง (3) 2. แก้ไขเพิ่มเติมหมวด 3 พัสดุการเรียนการสอน - กําหนดให้หน่วยงานของรัฐสามารถจัดจ้างผลิตอากาศยาน อากาศยานไร้คนขับ ดาวเทียม และอุปกรณ์ รวมถึงระบบที่เกี่ยวข้องกับยานอวกาศหรือยานอวกาศ ตลอดจนระบบบริหารคลังพัสดุ ระบบคลังอาวุธ และระบบความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ของบริษัท อุตสาหกรรมการบิน จํากัด โดยวิธีการเฉพาะเจาะจง หรือจะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือคัดเลือกก็ได้ เนื่องจากการจ้างผลิตดังกล่าวสามารถพัฒนาองค์กรความรู้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง รวมถึงพร้อมรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตและการวิจัยจากบริษัทต่างประเทศ มาปรับและพัฒนาเป็นองค์ความรู้ภายในประเทศ ซึ่งจะทําให้เกิดการพึ่งพาตนเอง ลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศสามารถพัฒนาต่อยอดได้ในอนาคต 3. แก้ไขเพิ่มเติมหมวด 9 พัสดุส่งเสริมความมั่นคงด้านพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ - กําหนดให้หน่วยงานของรัฐจัดจ้างงานจ้างบริการเกี่ยวกับไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โดยวิธีเฉพาะเจาะจง หรือจะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีคัดเลือกก็ได้ เนื่องจากงานให้บริการของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511 บัญญัติให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สามารถดําเนินธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้าและธุรกิจอื่นที่เกี่ยวกับหรือต่อเนื่องกับกิจการของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โดยงานให้บริการเกี่ยวกับไฟฟ้ามีลักษณะเหมือนกับงานให้บริการของการไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ซึ่งได้ถูกกําหนดไว้ในกฎกระทรวงกําหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน พ.ศ. 2563 แล้ว 4. แก้ไขเพิ่มเติมหมวด 7 พัสดุส่งเสริมความมั่นคงด้านความปลอดภัยทางอาหารและสินค้าเกษตร - กําหนดให้หน่วยงานของรัฐจัดจ้างอุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ โดยวิธีเฉพาะเจาะจง หรือจะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีคัดเลือกก็ได้ 5. แก้ไขเพิ่มเติมหมวด 8 ประเภทของที่ปรึกษาที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน - กําหนดเพิ่มเติมให้อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ มูลนิธิเพื่อสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ และมูลนิธิเพื่อสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นที่ปรึกษาที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุนประเภทที่ปรึกษาที่มิใช่หน่วยงานของรัฐ เนื่องจากมูลนิธิทั้ง 3 แห่ง เป็นหน่วยงานที่รองรับการดําเนินงานของสถาบันที่จัดตั้งขึ้นตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ โดยมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และคณะกรรมการ ก.พ.ร. กําหนดให้สถาบันภายใต้มูลนิธิดังกล่าวรวม 3 แห่งเป็นกลไกส่วนราชการ เป็นหน่วยงานที่ใช้อํานาจรัฐแต่ไม่เป็นองค์กรของรัฐ และเป็นองค์กรไม่แสวงหากําไร รวมทั้งเป็นสถาบันเครือข่ายของกระทรวงอุตสาหกรรมซึ่งมีส่วนในการสนับสนุนการดําเนินงานตามนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรม 3. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีสําหรับการบริจาคให้แก่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีสําหรับการบริจาคให้แก่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา) ของกระทรวงการคลัง (กค.) ตามที่สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) เสนอ และให้ดําเนินการต่อไปได้ ทั้งนี้ สคก. ได้ตรวจพิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีสําหรับการบริจาคให้แก่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา) เสร็จแล้ว มีการแก้ไขเพิ่มเติมในสาระสําคัญ โดยตัดกรณีการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สําหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สินหรือการขายสินค้า หรือสําหรับการกระทําตราสารอันเนื่องมาจากการบริจาคให้แก่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ออก เนื่องจาก กค. ประสงค์จะยกเว้นเฉพาะภาษีเงินได้สําหรับการบริจาคเงินหรือทรัพย์สินให้แก่ กสศ. เท่านั้น ซึ่งเป็นการกําหนดในลักษณะเดียวกับพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 682) พ.ศ. 2562 สาระสําคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา เป็นการขยายระยะเวลาการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสําหรับการบริจาคเงินหรือทรัพย์สินให้แก่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา โดยให้หักลดหย่อนหรือหักเป็นรายจ่ายได้ 2 เท่าของจํานวนเงินที่บริจาค (เดิมสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2563) สําหรับการบริจาคที่กระทําผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e- Donation) ของกรมสรรพากร ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566 4. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากําหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตําบลบ้านใหม่ อําเภอพระนครศรีอยุธยา ตําบลวัดยม ตําบลมหาพราหมณ์ ตําบลสะพานไทย ตําบลพระขาว อําเภอบางบาล และตําบลบ้านกลึง ตําบลกระแชง ตําบลช้างน้อย ตําบลบ้านแป้ง ตําบลสนามชัย ตําบลบางไทร ตําบลราชคราม อําเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกากําหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตําบลบ้านใหม่ อําเภอพระนครศรีอยุธยา ตําบลวัดยม ตําบลมหาพราหมณ์ ตําบลสะพานไทย ตําบลพระขาว อําเภอบางบาล และตําบลบ้านกลึง ตําบลกระแชง ตําบลช้างน้อย ตําบลบ้านแป้ง ตําบลสนามชัย ตําบลบางไทร ตําบลราชคราม อําเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พ.ศ. .... ที่สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ และให้ดําเนินการต่อไปได้ ทั้งนี้ กษ. เสนอว่า กรมชลประทานมีแผนงานก่อสร้างโครงการระบบระบายน้ําหลากบางบาล – บางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีระยะเวลาก่อสร้างโครงการทั้งสิ้น 5 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 - พ.ศ. 2566) ลักษณะของโครงการประกอบด้วย 1. คลองระบายน้ําหลากบางบาล - บางไทร 2. อาคารบังคับน้ํา 3. อาคารจ่ายน้ําพร้อมสถานีสูบน้ํา 4. สถานีสูบน้ําแบบ 2 ทาง พร้อมอาคารประกอบ 5. สะพานรถยนต์ข้ามคลองระบายน้ําหลาก 6. งานป้องกันตลิ่งบริเวณปลายคลองน้ําหลาก 7. คันกั้นน้ําโดยรอบพื้นที่โครงการและอาคารประกอบ 8. งานอาคารชลประทานอื่น ๆ ตามความจําเป็น โครงการนี้เมื่อดําเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จสามารถผันน้ําเลี่ยงตัวเมืองพระนครศรีอยุธยาให้ระบายน้ําได้สูงสุด ประมาณ 1,200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที โดยเมื่อรวมกับขีดความสามารถของแม่น้ําเจ้าพระยาเดิมจะสามารถระบายน้ําสูงสุดประมาณ 2,400 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทําให้ช่วยบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ําเจ้าพระยาตั้งแต่ท้ายเขื่อนเจ้าพระยาจนถึงอ่าวไทย เพิ่มศักยภาพในการใช้ประโยชน์พื้นที่ด้านการเกษตรจํานวนประมาณ 229,138 ไร่ เป็นแหล่งน้ําต้นทุนเพื่อการอุปโภคบริโภคครอบคลุมพื้นที่บริเวณ 2 ฝั่งคลองระบายน้ําหลาก 48 ตําบล 362 หมู่บ้าน ดังนั้น กรมชลประทานจึงมีความจําเป็นต้องได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์เพื่อดําเนินการโครงการดังกล่าวโดยการเวนคืน เพื่อให้การก่อสร้างคลองระบายน้ํา ประตูระบายน้ํา สถานีสูบน้ํา อาคารประกอบ และสิ่งจําเป็นในการชลประทานอื่นตามโครงการระบบระบายน้ําหลากบางบาล – บางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นไปตามแผนงานที่กําหนด อันเป็นประโยชน์แก่การชลประทานสําหรับพื้นที่การเกษตร การอุปโภคและบริโภค ตลอดจนการป้องกันและบรรเทาอุทกภัย ตลอดจนเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปทําการสํารวจให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องได้มาโดยแน่ชัด กรมชลประทานได้ดําเนินการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่โครงการดังกล่าวแล้ว ตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. 2548 แล้ว ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการดําเนินโครงการนี้ เพราะเห็นว่ามีประโยชน์กับประชาชนในพื้นที่ และสํานักงบประมาณแจ้งว่าจะจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจําปีตามความจําเป็นและเหมาะสม เมื่อร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวใช้บังคับแล้ว สาระสําคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา เป็นการกําหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตําบลบ้านใหม่ อําเภอพระนครศรีอยุธยา ตําบลวัดยม ตําบลมหาพราหมณ์ ตําบลสะพานไทย ตําบลพระขาว อําเภอบางบาล และตําบลบ้านกลึง ตําบลกระแชง ตําบลช้างน้อย ตําบลบ้านแป้ง ตําบลสนามชัย ตําบลบางไทร ตําบลราชคราม อําเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อประโยชน์แก่การชลประทาน ในการก่อสร้างคลองระบายน้ํา ประตูระบายน้ํา สถานีสูบน้ํา อาคารประกอบและสิ่งจําเป็นในการชลประทานอื่นตามโครงการระบบระบายน้ําหลากบางบาล - บางไทร จ. พระนครศรีอยุธยา เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปทําการสํารวจให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องได้มาโดยแน่ชัด 5. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกําหนดประโยชน์ของนักโทษเด็ดขาด และเงื่อนไขนักโทษที่เด็ดขาดซึ่งได้รับการลดวันต้องโทษจําคุกหรือการพักการลงโทษและได้รับการปล่อยตัวต้องปฏิบัติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกําหนดประโยชน์ของนักโทษเด็ดขาด และเงื่อนไขนักโทษที่เด็ดขาดซึ่งได้รับการลดวันต้องโทษจําคุกหรือการพักการลงโทษและได้รับการปล่อยตัวต้องปฏิบัติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ และให้ส่งสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดําเนินการต่อไปได้ และให้ ยธ. รับความเห็นของสํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดําเนินการต่อไปด้วย ทั้งนี้ ยธ. เสนอว่า โดยที่ปัจจุบันผู้ต้องขังในเรือนจําแต่ละแห่งมีเป็นจํานวนมากทําให้ผู้ต้องขังล้นเรือนจํา เกิดปัญหาความแออัดภายในเรือนจํา ส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง การจัดสวัสดิการ การแก้ไขฟื้นฟูพฤตินิสัยของผู้ต้องขัง ซึ่งมาตรการที่จะช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามภารกิจของกรมราชทัณฑ์ในการควบคุม และการป้องกันการกระทําความผิดซ้ํา หรือการกําหนดให้นักโทษเด็ดขาดได้รับประโยชน์ต่าง ๆ เพื่อพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังคืนคนดีสู่สังคมคือ การลดวันต้องโทษจําคุก การพักการลงโทษ การส่งผู้ต้องขังไปฝึกวิชาชีพ ซึ่งเป็นการใช้อํานาจของเจ้าหน้าที่เพื่อดําเนินการตามกฎหมาย ยธ. จึงได้ศึกษาหาแนวทางเพื่อแก้ไขปัญหาความแออัดในเรือนจําโดยสร้างโอกาสให้กับนักโทษเด็ดขาดซึ่งต้องโทษจําคุกมาพอสมควรแล้วอาจได้รับการพิจารณาพักการลงโทษ เพื่อให้สามารถปรับตัวก่อนเข้าสู่สังคมและสามารถกลับตัวเป็นคนดีมีคุณค่าสู่สังคม อีกทั้งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการแก้ไขบําบัดฟื้นฟูพัฒนาพฤตินิสัยของผู้ต้องขังตามหลักอาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา จึงจําเป็นต้องใช้มาตรการทางกฎหมายโดยการแก้ไขกฎกระทรวงกําหนดประโยชน์ของนักโทษเด็ดขาดและเงื่อนไขที่นักโทษเด็ดขาดซึ่งได้รับการลดวันต้องโทษจําคุก หรือการพักการลงโทษและได้รับการปล่อยตัวต้องปฏิบัติ พ.ศ. 2562 เพื่อกําหนดให้นักโทษเด็ดขาดได้รับประโยชน์และเพื่อให้ผู้ต้องขังได้รับการพิจารณาพักการลงโทษมากยิ่งขึ้น จึงได้ยกร่างกฎกระทรวงกําหนดประโยชน์ของนักโทษเด็ดขาด และเงื่อนไขที่นักโทษเด็ดขาดซึ่งได้รับการลดวันต้องโทษจําคุกหรือการพักการลงโทษและได้รับการปล่อยตัวต้องปฏิบัติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เพื่อแก้ไขให้นักโทษเด็ดขาดตั้งแต่ชั้นกลางขึ้นไปสามารถได้รับการพิจารณาให้พักการลงโทษจําคุกได้ และแก้ไขให้นักโทษเด็ดขาดที่กระทําผิดซ้ําสามารถเสนอขอรับการพิจารณาพักการลงโทษกรณีปกติได้ ซึ่งในการประชุมคณะกรรมการราชทัณฑ์ ครั้งที่ 1/2564 วันที่ 4 มกราคม 2564 เห็นชอบร่างกฎกระทรวงดังกล่าวด้วยแล้ว สาระสําคัญของร่างกฎกระทรวง 1. ให้ยกเลิกบทบัญญัติของข้อ 41 แห่งกฎกระทรวงการกําหนดประโยชน์ของนักโทษเด็ดขาดและเงื่อนไขที่นักโทษเด็ดขาดซึ่งได้รับการลดวันต้องโทษจําคุกหรือการพักการลงโทษ และได้รับการปล่อยตัวต้องปฏิบัติ พ.ศ. 2562 เพื่อขยายโอกาสให้นักโทษเด็ดขาดซึ่งกระทําผิดซ้ําเสนอขอพักการลงโทษในกรณีปกติได้ 2. แก้ไขเพิ่มเติมข้อ 42 แห่งกฎกระทรวงการกําหนดประโยชน์ของนักโทษเด็ดขาดและเงื่อนไขที่นักโทษเด็ดขาดซึ่งได้รับการลดวันต้องโทษจําคุกหรือการพักการลงโทษและได้รับการปล่อยตัวต้องปฏิบัติ พ.ศ. 2562 โดยให้นักโทษเด็ดขาดตั้งแต่ชั้นกลางขึ้นไปสามารถได้รับการพิจารณาให้พักการลงโทษจําคุกได้ ไม่เกินหนึ่งในสามของกําหนดโทษที่ระบุไว้ในหมายแจ้งโทษเด็ดขาด (เดิม กําหนดให้นักโทษเด็ดขาดชั้นดี ชั้นดีมาก และชั้นเยี่ยม เท่านั้น) และหากมีการพระราชทานอภัยโทษให้ถือกําหนดโทษตามหมายแจ้งโทษเด็ดขาดฉบับหลังสุด 6. เรื่อง ร่างระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดําเนินการต่อไปได้ ทั้งนี้ ร่างระเบียบที่ สปน. เสนอ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ พ.ศ. 2549 เกี่ยวกับองค์ประกอบของคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ ตลอดจนบทบัญญัติอื่นที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกัน เพื่อให้การดําเนินงานของคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับบริบทของการเปลี่ยนแปลงภารกิจและอํานาจของส่วนราชการปัจจุบัน สาระสําคัญของร่างระเบียบ ปรับปรุงองค์ประกอบคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ โดยกําหนดให้ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี เป็นกรรมการและเลขานุการ ผู้อํานวยการสํานักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ เพิ่มปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นกรรมการ และในส่วนกรรมการที่เป็นผู้แทนหน่วยงานราชการในพระองค์ หากมีเรื่องสําคัญที่จะต้องขอคําปรึกษาหารือให้เรียนเชิญประชุมเป็นการเฉพาะคราว ตลอดจนแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติที่เกี่ยวกับกรรมการผู้แทนภาคเอกชนและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ เศรษฐกิจ สังคม 7. เรื่อง ขอความเห็นชอบแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2564 - 2565) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2564 – 2565) (แผนปฏิบัติการฯ) และมอบหมายให้ พณ. เป็นหน่วยงานหลักในการบูรณาการการทํางานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และให้ พณ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดําเนินการต่อไป สาระสําคัญของเรื่อง พณ. รายงานว่า 1. ปัจจุบันการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กลายเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจที่ทวีความสําคัญมากขึ้น อันเป็นผลจากการพัฒนาของเทคโนโลยีและพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้ใช้เทคโนโลยีทั่วโลก จึงสมควรที่ประเทศไทยจะมีแผนการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเป็นกรอบแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้น คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในคราวประชุมครั้งที่ 2/2560 เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2560 ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน จึงได้มีมติเห็นชอบในหลักการของร่างแผนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (ปี พ.ศ. 2560 - 2564) เพื่อคณะกรรมการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (แต่งตั้งตามคําสั่งของ พณ.) จะนําเสนอคณะรัฐมนตรีและจัดทําร่างแผนปฏิบัติการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติต่อไป 2. คณะกรรมการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้ดําเนินการจัดทําร่างแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2564 - 2565) และแผนงานกิจกรรม/โครงการสําคัญ (Flagship) ที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการฯ โดยมีกรอบแนวคิดจากการศึกษายุทธศาสตร์ชาติ และแผนระดับชาติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งได้มีการขอรับความคิดเห็นจากคณะกรรมาธิการการพาณิชย์และการอุตสาหกรรมของวุฒิสภา หน่วยงานของรัฐ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ แล้วเสนอต่อสํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เพื่อพิจารณาตามแนวทางการเสนอแผนเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (แผนระดับที่ 3) ซึ่ง สศช. ได้ดําเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนี้ 2.1 คณะอนุกรรมการด้านการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน (คณะอนุกรรมการฯ) ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2564 มีมติเห็นชอบให้นําร่างแผนปฏิบัติการฯ พร้อมความเห็นของคณะอนุกรรมการฯ เสนอสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒนาฯ) พิจารณา โดยคณะอนุกรรมการฯ มีความเห็นบางส่วนสรุปได้ ดังนี้ 2.1.1 การกําหนดเป้าหมายของแผนปฏิบัติการฯ ควรให้ความสําคัญกับ (1) การเก็บรวบรวมข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ของภาครัฐ และเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามาใช้ประโยชน์ (2) การเข้าสู่ระบบภาษีอย่างเท่าเทียมกันของผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทยและต่างประเทศ และ (3) การลงทุนในระบบ Cloud Computing System โดยกําหนดเป็นเป้าหมายลําดับรองเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนอย่างจริงจัง 2.1.2 นอกเหนือจากการส่งเสริมแพลตฟอร์มขายสินค้า ควรให้ความสําคัญกับการส่งเสริมแพลตฟอร์มขายบริการ เช่น ธุรกิจจองที่พักให้แก่นักท่องเที่ยว (Online Travel Agent : OTA) ซึ่งเป็นธุรกิจบริการที่มีความสําคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยอาจเพิ่มเติมเป็นแผนงานกิจกรรม/โครงการสําคัญ (Flagship) 2.1.3 ขอให้ปรับชื่อกลยุทธ์ที่ 2.2 พัฒนาศักยภาพของผู้ให้บริการโลจิสติกส์และบริการสนับสนุนโลจิสติกส์ (Logistics Fulfillment) และกลยุทธ์ที่ 2.3 พัฒนาระบบการชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Payment) ที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ โดยปรับจาก “พัฒนา” เป็น “สนับสนุนการพัฒนา” เนื่องจากภาครัฐควรทําหน้าที่สนับสนุนและเชื่อมโยงผู้ให้บริการภาคเอกชนด้วยกันเพื่อให้มีระบบที่ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพมากกว่าดําเนินการเอง 2.2 สภาพัฒนาฯ ในคราวประชุมครั้งที่ 4/2564 เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2564 มีมติเห็นชอบร่างแผนปฏิบัติการฯ โดยให้คณะกรรมการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์รับความเห็นของคณะอนุกรรมการฯ และสภาพัฒนาฯ ไปพิจารณาปรับปรุงเพิ่มเติมในรายละเอียดและนําเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาตามขั้นตอนต่อไป โดยสภาพัฒนาฯ มีความเห็นบางส่วนสรุปได้ ดังนี้ 2.2.1 ควรให้ความสําคัญกับการคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้งควรสร้างความรู้ด้านดิจิทัล (Digital Literacy) ให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง 2.2.2 ภาครัฐต้องจัดลําดับความสําคัญและเร่งรัดให้มีการจัดสรรงบประมาณในการดําเนินงานตามแผนปฏิบัติการฯ อย่างเหมาะสม รวมทั้งส่งเสริมภาคเอกชนให้ดําเนินการแทนในเรื่องที่รัฐมีข้อจํากัด โดยเฉพาะในด้านงบประมาณและข้อมูล อีกทั้งควรกําหนดกลไกการติดตามและประเมินผลที่ชัดเจน ทั้งนี้ พณ. ได้นําความเห็นของคณะอนุกรรมการฯ และสภาพัฒนาฯ ไปพิจารณาปรับปรุงร่างแผนปฏิบัติการฯ แล้ว 3. แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2564 - 2565) มีสาระสําคัญสรุปได้ ดังนี้ หัวข้อ รายละเอียด วิสัยทัศน์ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) เป็นกลไกสําคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการค้าของประเทศไทย ภายใต้ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) เป้าหมายหลัก - มูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 5.3 ล้านล้านบาท ในปี พ.ศ. 2565 - มูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เติบโตเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า ร้อยละ 5 ต่อปี ในช่วงปี พ.ศ. 2564 - 2565 - มูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดนด้านการขายต่างประเทศ (Outbound Cross Border e-Commerce) เติบโตไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ต่อปี ในช่วงปี พ.ศ. 2564 - 2565 - มีการเชื่อมโยงข้อมูลพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างภาครัฐและเอกชน และเกิดการ บูรณาการในการพัฒนาระบบการบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ร่วมกัน เพื่อสามารถนํา Big Data มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดําเนินการของภาครัฐและเอกชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป้าหมายรอง - จํานวนการออกเครื่องหมายรับรองผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (DBD Registered) ไม่ต่ํากว่าปีละ 10,000 ราย - สภาพแวดล้อมและปัจจัยสนับสนุนการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ICT (เช่น Cloud Computing System ที่มีประสิทธิภาพสูง) โลจิสติกส์ การเงิน และ อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้รับการพัฒนาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 10 โครงการต่อปี ยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การพัฒนาแพลตฟอร์มตลาดออนไลน์ (e-Marketplace) เพื่อส่งเสริมการค้าภายในประเทศและการค้าข้ามพรมแดน (Enhancement and Promotion) เป้าประสงค์ เช่น (1) มูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดช่วง 2 ปี ของแผนปฏิบัติการฯ และ (2) ผู้ประกอบการที่พัฒนา e-Commerce Platform ในรูปแบบต่าง ๆ และผู้ให้บริการดิจิทัลที่เกี่ยวเนื่อง ซึ่งได้จดทะเบียนนิติบุคคล และเป็นของคนไทย มีรายได้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ต่อปี ตลอดช่วง 2 ปี ของแผนปฏิบัติการฯ ตัวชี้วัด เช่น (1) มูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 5.3 ล้านล้านบาท ในปี พ.ศ. 2565 และ (2) ผู้ประกอบการที่พัฒนา e-Commerce Platform ในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งได้จดทะเบียนนิติบุคคลและเป็นของคนไทยมีรายได้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ต่อปี ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การพัฒนาสภาพแวดล้อมและปัจจัยสนับสนุนการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในทุกด้านให้พร้อมรองรับการเติบโตของการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Ecosystem and Enabling Factors) เป้าประสงค์ เช่น (1) มีสภาพแวดล้อมและปัจจัยสนับสนุนที่เพียงพอเหมาะสม และครบวงจรต่อการดําเนินงานพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และ (2) มีระบบการเชื่อมโยงข้อมูลพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน และเกิดการบูรณาการในการพัฒนาระบบการบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ร่วมกัน เพื่อสามารถนํา Big Data มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดําเนินงานของภาครัฐและภาคเอกชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวชี้วัด เช่น สภาพแวดล้อมและปัจจัยสนับสนุนการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ICT โลจิสติกส์ การเงิน และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้รับการพัฒนาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 10 โครงการต่อปี ยุทธศาสตร์ที่ 3 : การสร้างความเชื่อมั่นในธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Trust and Sustainability) เป้าประสงค์ เช่น (1) สร้างความน่าเชื่อถือให้ผู้ประกอบการในการประกอบกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และ (2) สร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภคในการทําธุรกรรมผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างปลอดภัย ตัวชี้วัด เช่น จํานวนการออกเครื่องหมายรับรองผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (DBD Registered) ไม่ต่ํากว่าปีละ 10,000 ราย ยุทธศาสตร์ที่ 4 : การพัฒนาผู้ประกอบการไทยให้สามารถใช้ประโยชน์จากธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Competency Building) เป้าประสงค์ เช่น (1) มูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศของผู้ประกอบการ SMEs เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และ (2) มูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดนด้านการขายต่างประเทศ (Outbound Cross Border e-Commerce) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดช่วง 2 ปี ของแผนปฏิบัติการฯ ตัวชี้วัด เช่น (1) มูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศของผู้ประกอบการ SMEs เติบโตเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ต่อปี และ (2) มูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดนด้านการขายต่างประเทศ (Outbound Cross Border e-Commerce) เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ต่อปี กลยุทธ์ รวม 14 กลยุทธ์ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการคลัง กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา สํานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กรมพัฒนาธุรกิจการค้า สํานักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า กรมสรรพากร กระทรวงคมนาคม สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ธนาคารแห่งประเทศไทย สํานักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค กรมศุลกากร สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมการค้าภายใน กรมทรัพย์สินทางปัญญา กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กรมการท่องเที่ยว กรมการพัฒนาชุมชน กรมส่งเสริมการเกษตร สํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กลไกการขับเคลื่อน กลไกขับเคลื่อนที่ 1 : การจัดทําแผนงานกิจกรรม/โครงการสําคัญ (Flagship) ที่เป็นรูปธรรม โดยหน่วยงานที่ระบุไว้ในแต่ละยุทธศาสตร์ของแผนฯ มีบทบาทหน้าที่ในการจัดส่งข้อมูลแผนงาน กิจกรรม/โครงการสําคัญ (Flagship) ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ภายใต้แผนปฏิบัติการฯ ที่ต้องเร่งดําเนินการตามกรอบที่กําหนดไว้ให้แก่ฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กลไกขับเคลื่อนที่ 2 : การสร้างความรู้ความเข้าใจแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ตลอดจนสร้างความรู้ความเข้าใจสาระสําคัญและรายละเอียดของแผนปฏิบัติการฯ ให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างให้เกิดการมองเห็นความสําคัญในการมีส่วนร่วม ความเข้าใจและความคิดริเริ่มในการจัดทํากิจกรรม และโครงการที่ตอบสนองต่อการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ กลไกขับเคลื่อนที่ 3 : การกําหนดตัวชี้วัดร่วม (Joint KPI) และการจัดทําแผนบูรณาการการดําเนินงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การหารือร่วมกับหน่วยงานหลักที่กําหนดไว้ในแต่ละยุทธศาสตร์ของแผนฯ เพื่อให้หน่วยงานบรรจุแผนงาน/โครงการที่เกี่ยวข้องไว้ในแผนปฏิบัติการของหน่วยงาน แนวทางการสนับสนุนให้ได้งบประมาณในการดําเนินงาน และกําหนดเป้าหมายหรือตัวชี้วัดร่วม (Joint KPI) ที่พึงต้องบรรลุร่วมกันสําหรับนํามาเป็นกรอบในการจัดทําแผนบูรณาการรายยุทธศาสตร์ที่จะกําหนดแนวทางการปฏิบัติของแต่ละหน่วยงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ตลอดจนการส่งเสริมภาคเอกชนให้ดําเนินการแทนในเรื่องที่ภาครัฐมีข้อจํากัด กลไกขับเคลื่อนที่ 4 : การอาศัยกลไกการประสานงาน การติดตามและประเมินผลความก้าวหน้าของแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การกําหนดกลไกการประสาน ติดตาม และประเมินผลสัมฤทธิ์ จากการดําเนินกิจกรรมและโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการฯ พิจารณาให้ความเห็นและข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น และรายงานผลการดําเนินงานแก่คณะกรรมการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อพิจารณาต่อไป 4. พณ. ได้จัดทําแผนงานกิจกรรม/โครงการสําคัญ (Flagship) ที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการฯ มาด้วย ซึ่งเป็นกิจกรรม/โครงการที่ต้องเร่งดําเนินการ ลงลึกในระดับปฏิบัติการในระยะ 2 ปี (พ.ศ. 2564 – 2565)ประกอบด้วย โครงการที่ดําเนินงานตามภารกิจเฉพาะของหน่วยงาน (โครงการ Buttom up) และโครงการศึกษาขึ้นเพิ่มเติม (โครงการ Top Down) โดยมีรายละเอียดตัวอย่างโครงการบางส่วนที่สอดคล้องกับแต่ละยุทธศาสตร์ ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาแพลตฟอร์มตลาดออนไลน์ (e-Marketplace) เพื่อส่งเสริมการค้าภายในประเทศ และการค้าข้ามพรหมแดน (Enhancement and Promotion) โครงการ Buttom up - โครงการพัฒนาแพลตฟอร์ม National Delivery เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการในยุควิถีใหม่ (New Normal) - โครงการส่งเสริมการพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลด้านอาหารและการท่องเที่ยว (Digital Food Tourism) เพื่อสร้างโอกาสในยุค Post-COVID โครงการ Top Down - โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาแพลตฟอร์มการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อรองรับการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศและพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดนที่เทียบเท่า e-Marketplace ประเภท Super Application ที่มีชื่อเสียงของต่างประเทศ (ปี 2565) - โครงการศึกษาและติดตามแนวทางการจัดเก็บภาษีจากรายได้ที่ได้จากการประกอบการที่ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามแนวทางขององค์การระหว่างประเทศ เช่น OECD และ UNCTAD และประเทศต่าง ๆ ที่มีการบังคับใช้กฎหมายเพื่อจัดเก็บภาษีจากรายได้ที่ได้จากพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (ปี 2565) ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาสภาพแวดล้อมและปัจจัยสนับสนุนการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในทุกด้านให้พร้อมรองรับการเติบโตของการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Ecosystem and Enabling Factors) โครงการ Buttom up - โครงการระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (e-Withholding Tax และ e-Tax Invoice & e-Receipt) - โครงการส่งเสริมการพัฒนาบริการและขยายเครือข่ายของผู้ให้บริการโลจิสติกส์ - โครงการผลักดันและส่งเสริมการใช้บริการ Interoperable QR Code for Payments ในธุรกรรมชําระเงินสําหรับ E-Commerce โครงการ Top Down - โครงการพัฒนาศักยภาพของผู้ให้บริการโลจิสติกส์และบริการสนับสนุนโลจิสติกส์ (Logistics Fulfillment) ให้ปรับตัวเข้าสู่การใช้ดิจิทัลอย่างสมบูรณ์ (ปี 2564 - 2565) - โครงการพัฒนาระบบชําระเงินเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทําธุรกรรมทางการเงินของแพลตฟอร์มการค้า (ปี 2564 – 2565) - โครงการพัฒนาบริการชําระเงินเพื่อสนับสนุนให้ SMEs E-Commerce และ Social Commerce ใช้ Digital Payment ได้สะดวก มีความเชื่อมั่น ลดการใช้เงินสด (ปี 2565) ยุทธศาสตร์ที่ 3 การสร้างความเชื่อมั่นในธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Trust and Sustainability) โครงการ Buttom up - โครงการสัมมนาความรู้ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในยุคดิจิทัล (ปี 2564) - โครงการศึกษาแนวทางในการกํากับดูแลการซื้อขายออนไลน์ (ปี 2564) โครงการ Top Down - โครงการรณรงค์และจัดทํามาตรการจูงใจให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (ปี 2564) ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาผู้ประกอบการไทยให้สามารถใช้ประโยชน์จากธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Competency Building) โครงการ Buttom up - โครงการพัฒนาผู้ประกอบการสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ (New Economy Academy) - โครงการพัฒนาสินค้าชุมชนเข้าสู่ตลาดออนไลน์ Offline 2 Online (B2C) โครงการ Top Down - โครงการรวมพลังช่วย SMEs ฝ่าโควิดพิชิตวิถีใหม่ (New Normal) (ปี 2564) - โครงการนําผู้ประกอบการพัฒนาแพลตฟอร์มไทยเข้าร่วมงานแสดงแพลตฟอร์มพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) ในต่างประเทศ (ปี 2565) 8. เรื่อง การขับเคลื่อนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ําตามมติคณะกรรมการทรัพยากรน้ําแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2564 คณะรัฐมนตรีรับทราบมติคณะกรรมการทรัพยากรน้ําแห่งชาติ (กนช.) ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2564 และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดําเนินการตามข้อ 1 – 4 ตามความเห็นของสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ทั้งนี้ ให้ กนช. และหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายรับความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดําเนินการต่อไป สาระสําคัญของเรื่อง กนช. รายงานว่า กนช. ในการประชุมครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2564 ที่มีรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) เป็นประธานได้เห็นชอบการมอบหมายหน่วยงานเพื่อดําเนินการตามวัตถุประสงค์ของแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ํา 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) และพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ํา พ.ศ. 2561 จํานวน 5 เรื่อง ดังนี้ 1. เรื่องมาตรการรับมือฤดูฝน 10 มาตรการ 1.1 กนช. รายงานว่า ได้มอบหมายให้สํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติ (สทนช.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดําเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2564 มีผลการดําเนินการสรุปได้ ดังนี้ ดําเนินการแล้วเสร็จ อยู่ระหว่างดําเนินการ มาตรการที่ 1 คาดการณ์ชี้เป้าพื้นที่เสี่ยงน้ําท่วมและฝนน้อยกว่าค่าปกติ มาตรการที่ 5 ปรับปรุง แก้ไขสิ่งกีดขวางทางน้ํา จํานวน 625 แห่ง ดําเนินการไปแล้ว 400 แห่ง มาตรการที่ 2 บริหารจัดการน้ําพื้นที่ลุ่มต่ําเพื่อรองรับน้ําหลาก มาตรการที่ 6 ขุดลอกคูคลองและกําจัดผักตบชวา โดยการดําเนินการร่วมกันของ 5 หน่วยงาน ได้แก่ กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมชลประทาน กรมเจ้าท่า กรมการปกครอง และกรุงเทพมหานคร มาตรการที่ 3 ทบทวน ปรับปรุงเกณฑ์บริหารจัดการน้ําในแหล่งน้ําขนาดใหญ่ - ขนาดกลาง และเขื่อนระบายน้ํา มาตรการที่ 8 เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ําและปรับปรุงการส่งน้ํา มาตรการที่ 4 ซ่อมแซม ปรับปรุงอาคารชลศาสตร์/ระบบระบายน้ํา/สถานีโทรมาตรให้พร้อมใช้งาน มาตรการที่ 9 สร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์ มาตรการที่ 7 เตรียมพร้อม/วางแผนเครื่องจักร เครื่องมือประจําพื้นที่เสี่ยงน้ําท่วม และพื้นที่ฝนน้อยกว่าค่าปกติ มาตรการที่ 10 ติดตามประเมินผลปรับมาตรการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ภัย จากการคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงอุทกภัยตั้งแต่เดือนกรกฎาคม - พฤศจิกายน 2564 พบว่ามีพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัยและภัยแล้งในฤดูฝน ปี 25641 ดังนี้ เดือน พื้นที่เสี่ยงอุทกภัย พื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง กรกฎาคม 482 ตําบล 128 อําเภอ 31 จังหวัด 1,384 ตําบล 213 อําเภอ 24 จังหวัด สิงหาคม 753 ตําบล 139 อําเภอ 29 จังหวัด 1,603 ตําบล 272 อําเภอ 34 จังหวัด กันยายน 1,504 ตําบล 314 อําเภอ 54 จังหวัด - ตุลาคม 1,662 ตําบล 306 อําเภอ 58 จังหวัด - พฤศจิกายน 1,245 ตําบล 195 อําเภอ 39 จังหวัด - 1.2 กนช. พิจารณาแล้วเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นจึงเสนอให้หน่วยงานดําเนินการ ดังนี้ 1.2.1 ให้ทุกหน่วยงานเตรียมความพร้อมในการป้องกันปัญหาปริมาณฝนน้อยกว่าค่าเฉลี่ยที่จะเกิดขึ้นในช่วงเดือนกรกฎาคมและเดือนสิงหาคม 2564 โดยหาแหล่งเก็บกักน้ําเพิ่มเติม 1.2.2 ให้ทุกหน่วยงานเตรียมความพร้อมเพื่อป้องกันปัญหาอุทกภัยและน้ําหลากในช่วงเดือนกันยายนและเดือนสิงหาคม 2564 รวมทั้งเตรียมแผนงานสําหรับการขอรับการสนับสนุนงบประมาณให้สามารถรับมือได้ทันสถานการณ์ 1.2.3 ให้การประปานครหลวงและกรมชลประทานจัดทําแผนการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ําและปรับปรุงการส่งน้ําเพื่อลดความสูญเสียในระบบอย่างเป็นรูปธรรม 1.2.4 ให้กรมชลประทานวางแผนการจัดสรรน้ําตั้งแต่ภาคเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งจัดสรรน้ําเพื่อผลักดันน้ําเค็มตลอดช่วงฝนทิ้งช่วงในเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม 2564 1.2.5 ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมแผนรับมือน้ําท่วม เช่น การกําจัดผักตบชวาเพื่อรองรับฤดูฝนที่จะมาในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน 2564 1.2.6 ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) วางแผนการเติมน้ําใต้ดินตลอดฤดูฝนนี้ให้มากที่สุดเพื่อเป็นน้ําต้นทุนในฤดูแล้งหน้า 1.2.7 ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องวางแผนและส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ําน้อย 1.2.8 ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมฝนหลวงและการบินเกษตร) ดําเนินการทําฝนหลวงเพื่อเพิ่มน้ําต้นทุนโดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก 2. เรื่องการจัดทําแผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ําผ่านระบบบริหารจัดการแผนงานโครงการและฐานข้อมูลสําหรับบูรณาการแผนงานเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ําของประเทศ หรือระบบ Thai Water Plan (TWP) 2.1 กนช. รายงานว่า TWP เป็นเครื่องมือที่นําเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการจัดทํา รวบรวม และวิเคราะห์แผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ําของประเทศเป็นฐานข้อมูลกลางที่มีความถูกต้อง แม่นยํา น่าเชื่อถือ สามารถลดความซ้ําซ้อน จัดลําดับความสําคัญและเร่งด่วนเพื่อใช้ในการกําหนดงบประมาณ รวมทั้งสามารถติดตามและประเมินผลโครงการด้านทรัพยากรน้ําที่เห็นผลสัมฤทธิ์ชัดเจน โดยแบ่งกระบวนการเป็น 3 ช่วง ดังนี้ 2.1.1 หน่วยงานและจังหวัดจัดทําและยืนยันแผนปฏิบัติการในระบบตั้งแต่เดือนมิถุนายน - สิงหาคม 2564 2.1.2 คณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ําจังหวัดพิจารณาแผนปฏิบัติการในเดือนกันยายน 2564 และคณะกรรมการลุ่มน้ําพิจารณาแผนปฏิบัติการในเดือนตุลาคม 2564 2.1.3 การพิจารณาของ กนช. โดย สทนช. ในฐานะฝ่ายเลขานุการ กนช. จะวิเคราะห์และจัดทําแผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ําของประเทศในช่วงเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม 2564 และเสนอ กนช. พิจารณาในเดือนธันวาคม 2564 เพื่อให้ทันตามปฏิทินงบประมาณ ปี 2566 2.2 กนช. พิจารณาแล้วเสนอให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จัดทําแผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ําประจําปี 2566 และแผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ํา 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) ผ่านระบบ TWP และให้เชื่อมต่อกับระบบของสํานักงบประมาณ (สงป.) เพื่อลดขั้นตอนการดําเนินงานต่อไป 3. เรื่องการจัดทําทะเบียนแหล่งน้ําผ่านระบบ Thai Water Resources (TWR) 3.1 กนช. รายงานว่า TWR เป็นฐานข้อมูลการบูรณาการข้อมูลแหล่งน้ําทั่วประเทศสําหรับใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนและบริหารจัดการน้ําของประเทศทั้งในภาวะปกติและภาวะวิกฤติ โดยการดําเนินงานมี 3 ช่วง ดังนี้ 3.1.1 การรวบรวมข้อมูลบัญชีแหล่งน้ํา พ.ศ. 2562 โดย สทนช. ร่วมกับสํานักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) จัดทําฐานข้อมูลบัญชีแหล่งน้ําและบูรณาการข้อมูลแหล่งน้ําทั่วประเทศร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3.1.2 การจัดทําระบบสารสนเทศสําหรับขึ้นทะเบียน TWR 3.1.3 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและ อปท. ดําเนินการลงทะเบียนแหล่งน้ําผ่านระบบ TWR เมื่อดําเนินการขึ้นทะเบียนเสร็จสมบูรณ์แล้วจะทําให้ทราบหน่วยงานรับผิดชอบหลักและสามารถระบุแหล่งที่มาของงบประมาณได้ ซึ่งจะไปเชื่อมโยงกับระบบ TWP ทําให้การจัดทําแผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ํามีความพร้อมสามารถเสนอขอตั้งงบประมาณได้ตามแผนที่กําหนด 3.2 กนช. พิจารณาแล้วเสนอให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องและ อปท. ดําเนินการ ดังนี้ 3.2.1 ให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องและ อปท. เร่งรัดดําเนินการลงทะเบียนแหล่งน้ําทั้งที่ดําเนินการมาแล้วและที่จะดําเนินการต่อไป ผ่าน TWR เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการเสนอขอตั้งงบประมาณ หากไม่ได้อยู่ในทะเบียนแหล่งน้ําจะไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อเป็นการลดความซ้ําซ้อนของโครงการโดยการเชื่อมโยงกับระบบ TWP 3.2.2 คณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ําจังหวัดพิจารณารับรองแหล่งน้ําในระบบ TWR 3.2.3 เชื่อมโยงข้อมูลทะเบียนแหล่งน้ําจากระบบ TWR กับระบบ TWP เพื่อใช้ในการพิจารณาแผนงานโครงการ 4. เรื่องแนวทางการจัดทําแผนปฏิบัติการโครงการขนาดเล็กด้านทรัพยากรน้ําเพื่อให้แผนปฏิบัติการโครงการขนาดเล็กด้านทรัพยากรน้ําในระดับตําบลและระดับจังหวัดเกิดความชัดเจนเป็นรูปธรรม และตรงกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่ กนช. พิจารณาแล้วจึงเสนอให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องและ อปท. จัดทําแผนปฏิบัติการโครงการขนาดเล็กด้านทรัพยากรน้ํา ดังนี้ 4.1 การจัดทําแผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ําสามารถประยุกต์ใช้ดัชนีชี้วัดการจัดการน้ํา Water Management Index (WMI) โดยสํานักงานสถิติแห่งชาติ ในการกําหนดพื้นที่เป้าหมายและปรับให้สอดคล้องกับสภาพปัจจุบันของพื้นที่นั้น ๆ 4.2 กระบวนการและวิธีการดําเนินการ 4.2.1 คณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ําจังหวัดแต่งตั้งคณะทํางานเพื่อขับเคลื่อนโครงการขนาดเล็ก โดยดําเนินการสํารวจข้อมูล จัดเก็บข้อมูลสภาพปัญหาในพื้นที่และปรับดัชนีชี้วัดการจัดการน้ํา WMI ให้เป็นปัจจุบัน 4.2.2 กําหนดพื้นที่เป้าหมาย และกําหนดประเภทโครงการตามที่ กนช. มีมติเห็นชอบ เช่น เพิ่มน้ําต้นทุน ระบบส่งน้ํา ระบบประปา ระบบบําบัดน้ําเสีย เป็นต้น 4.2.3 กรอบระยะเวลาดําเนินการเริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2564 - กันยายน 2565 5. เรื่องการทบทวนบทบาทภารกิจหน่วยงานในการบริหารทรัพยากรน้ําตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ํา พ.ศ. 2561 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องในประเด็นเป้าหมายและหน่วยงานที่รับผิดชอบในพื้นที่เกษตรน้ําฝน ตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ํา 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) เนื่องด้วยคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการเกี่ยวกับการทบทวนบทบาทภารกิจและปรับปรุงโครงสร้างของส่วนราชการได้มีการประชุมครั้งที่ 5/2564 เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2564 เพื่อพิจารณาข้อมูลพื้นที่เป้าหมายการดําเนินการของกรมทรัพยากรน้ําตามคําชี้แจงของ ทส. แล้วมีมติให้สํานักงาน ก.พ.ร. ส่งข้อมูลเป้าหมายและหน่วยงานรับผิดชอบในพื้นที่เกษตรน้ําฝนตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ํา 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) ที่ ทส. เสนอมา ให้ สทนช. พิจารณาและเสนอ กนช. เพื่อกําหนดเป้าหมายพื้นที่ดําเนินงานและขอบเขตความรับผิดชอบของกรมทรัพยากรน้ํา 5.1 กนช. มีความเห็นในประเด็นดังกล่าว ดังนี้ 5.1.1 การดําเนินการเพิ่มศักยภาพการพัฒนาแหล่งน้ําในพื้นที่เกษตรน้ําฝนนอกเขตชลประทานเป้าหมายจํานวน 87 ล้านไร่ ได้กําหนดหน่วยงานปฏิบัติที่รับผิดชอบภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง จํานวน 8 หน่วยงาน ประกอบด้วย กรมทรัพยากรน้ํา กรมทรัพยากรน้ําบาดาล กรมพัฒนาที่ดิน สํานักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อปท. กองทัพบก และมูลนิธิปิดทองหลังพระสืบสานแนวพระราชดําริ โดยไม่ระบุหน่วยงานเจ้าภาพหลักเป็นรายพื้นที่ จนกว่าจะมีการทบทวน ปรับปรุง บทบาทภารกิจ หน้าที่และอํานาจของหน่วยงานให้สอดล้องกับพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ํา พ.ศ. 2561 และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 5.1.2 พื้นที่เกษตรน้ําฝนนอกเขตชลประทานเป็นพื้นที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานภายใต้กฎหมายหลายฉบับที่กําหนดหน้าที่และอํานาจของหน่วยงานนั้น ๆ เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรน้ําของประเทศ อย่างไรก็ตาม เมื่อพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ํา พ.ศ. 2561 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม 2562 เป็นต้นมา การบริหารทรัพยากรน้ําตามกฎหมายของหน่วยงานเหล่านั้นจะต้องไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ 5.1.3 กนช. ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการจัดทําร่างข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อกําหนดขอบเขต บทบาท ภารกิจ หน้าที่และอํานาจของหน่วยงานด้านการบริหารทรัพยากรน้ําของประเทศมาพิจารณาประเด็นเรื่องการกําหนดขอบเขตพื้นที่รับผิดชอบที่ยังไม่มีความชัดเจน และ กนช. ได้มีมติมอบให้เป็นหน้าที่คณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ําจังหวัดและคณะกรรมการลุ่มน้ําเป็นผู้รับผิดชอบจัดทําแผนงานและแผนงบประมาณในเขตพื้นที่เกษตรน้ําฝนนอกเขตชลประทานจากทุกหน่วยงาน 5.2 กนช. พิจารณาแล้วเสนอให้สํานักงาน ก.พ.ร. สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) เป็นหลักในการพิจารณาบทบาทและภารกิจในองค์ประกอบของแต่ละหน่วยงาน และให้ ทส. (กรมทรัพยากรน้ํา) พิจารณาบทบาท หน้าที่ ภารกิจ ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ํา พ.ศ. 2561 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ___________________________ 1รายละเอียดพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัยและภัยแล้งตามแผนที่การคาดการณ์ปริมาณน้ําฝนทั่วประเทศตั้งแต่เดือนมิถุนายน - พฤศจิกายน 2564 9. เรื่อง รายงานสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน กรณีการป้องกันการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีลักษณะเป็นการทรมานบุคคล คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน กรณีการป้องกันการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีลักษณะเป็นการทรมานบุคคล ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ และแจ้งให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทราบต่อไป เรื่องเดิม 1. กสม. ได้รับเรื่องร้องเรียนจากมูลนิธิผสานวัฒนธรรมว่า เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2563 ได้มีเจ้าหน้าที่ทหาร ศูนย์อํานวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ค่ายพระยาสุรทรธรรมธาดาได้เข้าจับกุมชายผู้ต้องสงสัยคดียาเสพติด จํานวน 2 ราย โดยได้นําตัวไปควบคุมเพื่อซักถามข้อมูลเกี่ยวกับยาเสพติดที่วัดแห่งหนึ่งในพื้นที่ตําบลฝั่งแดง อําเภอธาตุพนม โดยมีการซ้อมทรมานผู้ถูกควบคุมทั้งสองจนได้รับบาดเจ็บสาหัสและต่อมาหนึ่งในผู้ถูกควบคุมตัวเสียชีวิตภายหลังจากที่ถูกส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม ผู้ร้องเห็นว่า การซ้อมทรมานหรือการทําร้ายร่างกายบุคคลจนได้รับบาดเจ็บสาหัสและเสียชีวิตซึ่งเกิดจากการกระทําหรือการรู้เห็นยินยอมของเจ้าหน้าที่ของรัฐถือเป็นอาชญากรรมร้ายแรงตามกฎหมายระหว่างประเทศ โดยเฉพาะภายใต้อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ํายีศักดิ์ศรี ค.ศ. 1984 ซึ่งประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีตั้งแต่ปี 2550 ประกอบกับที่ผ่านมามีข่าวเกี่ยวกับการซ้อมทรมานบุคคลโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐเกิดขึ้นหลายเหตุการณ์ แต่ผู้กระทําผิดมักลอยนวล เนื่องจากได้รับการช่วยเหลือจากผู้บังคับบัญชา ทําให้การกระทําทรมานบุคคลโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐยังคงเกิดขึ้นบ่อยครั้งในท้องที่ต่าง ๆ ของประเทศ กสม. จึงขอให้ตรวจสอบเรื่องดังกล่าว 2. กสม. พิจารณาแล้วเห็นว่า เจ้าหน้าที่ทหาร ศูนย์อํานวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ค่ายพระยาสุนทรธรรมธาดาน่าจะกระทําการเข้าข่ายเป็นการทรมานผู้ถูกควบคุมตัวทั้งสองด้วยการซ้อมรุมทําร้ายหรือใช้กําลังทําร้ายร่างกายหลายครั้งติดต่อกัน ตั้งแต่ในระหว่างการจับกุมจนกระทั่งควบคุมตัวเพื่อซักถามข้อมูลเกี่ยวกับยาเสพติด โดยมุ่งประสงค์ให้ผู้ถูกควบคุมตัวทั้งสองรับสารภาพหรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับที่มาของยาเสพติดเพื่อขยายผลไปถึงเครือข่ายผู้ค้ายาเสพติดหรือผู้เสพยาเสพติดรายอื่น ๆ อันเป็นการก่อให้เกิดความเจ็บปวดทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรง ตามนิยามของการทรมาน และยังเป็นการกระทําทารุณโหดร้าย ไร้มนุษยธรรม ตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมาน และการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ํายีศักดิ์ศรี รวมทั้งการกระทําดังกล่าวเป็นการละเมิดสิทธิในชีวิตและร่างกายของผู้ถูกควบคุมตัวทั้งสอง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 28 วรรคหนึ่งและวรรคสี่ และขัดต่อกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง 3. รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีได้มีคําสั่งมอบหมายให้ ยธ. เป็นหน่วยงานหลักรับเรื่องนี้ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงกลาโหม (กห.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) สํานักงานตํารวจแห่งชาติ (ตช.) สํานักงานอัยการสูงสุด (อส.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของข้อเสนอแนะดังกล่าว โดยให้ ยธ. สรุปผลการพิจารณาหรือผลการดําเนินการดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคําสั่ง เพื่อนําเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป สาระสําคัญของเรื่อง ยธ. รายงานว่า ได้ประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กห. พม. มท. สธ. สคก. ตช. อส. สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ และกองกฎหมาย สํานักงานปลัดกระทรวงยุติธรรมแล้ว เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2564 ซึ่งมีผลสรุปในภาพรวมได้ ดังนี้ ข้อเสนอแนะ กสม. สรุปผลการพิจารณา 1. คณะรัฐมนตรีควรพิจารณายกเลิกคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 23/2558 เรื่อง มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2519 ลงวันที่ 24 กรกฎาคม 2558 และคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 13/2559 เรื่อง การป้องกันและปราบปรามการกระทําความผิดบางประการที่เป็นภยันตรายต่อความสงบเรียบร้อยหรือบ่อนทําลายระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ลงวันที่ 29 มีนาคม 2559 ซึ่งได้ให้อํานาจแก่เจ้าหน้าที่ทหารมีอํานาจเช่นเดียวกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในการสืบสวนการกระทําผิดเกี่ยวกับยาเสพติดและความผิดทางอาญาอื่น เพื่อให้การสืบสวนสอบสวนการกระทําผิดกฎหมายอาญาเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญาปกติ โดยให้เป็นหน้าที่และอํานาจของพนักงานฝ่ายปกครองและตํารวจ รวมถึงเจ้าพนักงานตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องเป็นผู้รับผิดชอบตามกฎหมายปกติ การออกคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติทั้ง 2 ฉบับ เป็นไปเพื่อการป้องกัน ระงับ ปราบปรามการบ่อนทําลาย เศรษฐกิจ สังคม ความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน รวมทั้งเพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของสุจริตชน ในปัจจุบันการให้อํานาจพิเศษตามคําสั่งดังกล่าวแก่เจ้าหน้าที่ยังคงมีความจําเป็นต่อการรักษาความสงบเรียบร้อยของประเทศ อย่างไรก็ตาม การปฏิบัติหน้าที่โดยอาศัยอํานาจจากคําสั่งฯ ดังกล่าวมีความเสี่ยงสูงที่อาจก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน ดังนั้น เจ้าหน้าที่จึงต้องปฏิบัติหน้าที่ภายใต้ขอบเขตของกฎหมายและเคารพสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอย่างเคร่งครัดเพื่อให้การบังคับใช้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และเจตนารมณ์ของกฎหมาย 2. คณะรัฐมนตรีควรจัดความสําคัญในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทําให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. .... ไว้เป็นลําดับแรก เพื่อให้มีการพิจารณาให้ความเห็นชอบ และประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายต่อไปโดยเร็ว โดยนําหลักการและสาระสําคัญตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติ หรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ํายีศักดิ์ศรีและอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับให้หายสาบสูญไปบรรจุไว้ในร่างพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าว ให้สอดคล้องตามเจตนารมณ์ของอนุสัญญาทั้งสองฉบับ โดยเฉพาะการกําหนดความรับผิดทางอาญาแก่ผู้บังคับบัญชาที่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือปล่อยปละละเลยให้ผู้ใต้บังคับบัญชากระทําการซ้อมทรมาน ไม่ดําเนินการป้องกันหรือระงับการกระทําของผู้ใต้บังคับบัญชา หรือปกปิดข้อเท็จจริงไม่ส่งเรื่องให้เจ้าพนักงานผู้มีอํานาจตามกฎหมายเพื่อสอบสวนดําเนินคดี รวมทั้งกําหนดให้มีกลไกพิเศษในการสืบสวนสอบสวนคดีทรมานและคดีที่เกี่ยวกับการกระทําให้บุคคลสูญหาย โดยองค์กรหรือหน่วยงานที่มีความเป็นอิสระ เป็นกลาง และมีประสิทธิภาพตลอดจนมีมาตรการหรือแนวทางในการป้องกันและปราบปรามการกระทําผิดแบบบูรณาการเชื่อมโยงการทํางานร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่มีอํานาจสืบสวนสอบสวนที่เป็นอิสระและเป็นกลาง องค์กรอัยการ หน่วยงานแพทย์ที่เป็นอิสระและมีความเชี่ยวชาญ และภาคประชาชน ยธ. โดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพได้ยกร่างพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าวขึ้นตามหลักการของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติ หรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ํายีศักดิ์ศรี และอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับให้หายสาบสูญ ซึ่งมีสาระสําคัญสอดคล้องกับข้อเสนอแนะของ กสม. แล้ว ทั้งนี้ ยธ. ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติฯ เข้าสู่กระบวนการพิจารณากฎหมายตามลําดับ โดยผ่านการพิจารณาจากคณะรัฐมนตรี และคณะกรรมการกฤษฎีกาเรียบร้อยแล้ว และได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (วิปรัฐบาล) เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2564 และคณะอนุกรรมการกลั่นกรองร่างกฎหมายในกระบวนการนิติบัญญัติ (อนุวิปรัฐบาล) เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (วิปรัฐบาล) 3. คณะรัฐมนตรีควรมอบหมายให้ ยธ. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทําแนวทางในการปฏิบัติงานแบบบูรณาการระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐในกระบวนการยุติธรรมทุกฝ่าย เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการสืบสวนสอบสวนการกระทําผิดในกรณีที่มีข้อสงสัยเรื่องการซ้อมทรมานบุคคล กรณีที่มีการตายเกิดขึ้นในระหว่างการควบคุมของเจ้าพนักงาน รวมถึงกรณีที่กล่าวอ้างว่ามีการกระทําให้บุคคลสูญหาย พร้อมทั้งจัดทําโครงการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง โดยนําหลักการตามคู่มือการสืบสวนสอบสวนและบันทึกข้อมูลหลักฐานอย่างมีประสิทธิผลกรณีการกระทําทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษอย่างโหดร้าย ไร้มนุษยธรรมและย่ํายีศักดิ์ศรี หรือพิธีสารอิสตันบูลมาใช้ในการจัดทําแนวทางการสืบสวนสอบสวนและฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นหลักประกันในการป้องกันและปราบปรามการกระทําทรมานและสอบสวน ดําเนินคดีแก่ผู้กระทําผิดอย่างเด็ดขาดไม่ให้เกิดกรณีการลอยนวลพ้นผิด ยธ. โดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพได้ดําเนินการส่งเสริมให้ความรู้ความเข้าใจ และการฝึกอบรมเรื่องสิทธิมนุษยชนและสิทธิเสรีภาพ กฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องมาอย่างต่อเนื่อง อาทิ กฎการใช้กําลังหลักการและสาระสําคัญของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติ หรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ํายีศักดิ์ศรี อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับให้หายสาบสูญ มาตรการสืบสวนสอบสวนตามมาตรฐานสากล กลไกการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์กรณีถูกกระทําทรมานและถูกบังคับให้หายสาบสูญ นอกจากนี้ ยังได้เน้นการจัดฝึกอบรมในรูปแบบเฉพาะทางให้แก่เจ้าหน้าที่รัฐหลายหน่วยงาน โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย เจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรม และบุคลากรทางการแพทย์ อาทิ การฝึกอบรมหลักสิทธิมนุษยชนสําหรับนายทหารเหล่าทหารพระธรรมนูญ การฝึกอบรมเทคนิคการสืบสวนสอบสวนแนวใหม่ การฝึกอบรมเทคนิคการตรวจพิสูจน์ทางนิติวิทยาศาสตร์เพื่อหาร่องรอยจากการทรมานฯ และการบังคับให้บุคคลสูญหายตามแนวทางของพิธีสารมินนิสโซต้าและพิธีสารอิสตันบูลให้กับเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายและบุคลากรทางการแพทย์ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งได้ผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเผยแพร่ได้อย่างรวดเร็ว เข้าถึงง่ายและทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน และได้ส่งเสริมให้ความรู้เรื่องสิทธิมนุษยชนและสิทธิเสรีภาพผ่านกลไกบ้าน วัด โรงเรียน (บวร) รวมทั้งได้จัดทําบันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วยการสร้างและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ด้านสิทธิ เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชนร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ อาทิ สํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม มหาวิทยาลัยนเรศวร โรงเรียนเตรียมทหาร สภาคริสตจักรในประเทศไทย และกลุ่มโรงเรียนในเครือสารสาสน์ รวมถึงผลักดันให้มีการบรรจุเรื่องดังกล่าวในหลักสูตรพัฒนาหรือเลื่อนขั้นเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐรู้สิทธิ รู้หน้าที่ของตนเอง และเคารพสิทธิผู้อื่นโดยมีเป้าหมายสําคัญเพื่อให้สถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนในสังคมไทยมีแนวโน้มลดลง 10. เรื่อง รายงานผลการแก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาการให้บริการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการแก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาการให้บริการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) และเห็นชอบมาตรการเร่งรัดให้หน่วยงานสื่อสารประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนในการใช้บริการรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) และแก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบ ตามที่สํานักงาน ก.พ.ร. เสนอ และให้สํานักงาน ก.พ.ร. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงมหาดไทย สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนไปพิจารณาดําเนินการต่อไปด้วย สาระสําคัญ สํานักงาน ก.พ.ร. เสนอว่า ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติวันที่ 8 กันยายน 2563 โดยมอบหมายให้สํานักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาแก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาการให้บริการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) ซึ่งสํานักงาน ก.พ.ร. ได้ดําเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวแล้ว โดยแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ต้องดําเนินการแก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบทั้ง 84 ฉบับ ให้รายงานสถานะความก้าวหน้า (ณ เดือนมิถุนายน 2564) เพื่อติดตามและเร่งรัดการดําเนินงาน โดยมีผลสรุปได้ ดังนี้ 1. กฎหมายและกฎระเบียบที่ต้องดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี พ.ศ. 2563 จํานวน 23 ฉบับ สามารถดําเนินการแก้ไขได้แล้วเสร็จ หรือทบทวนแล้วเห็นว่าไม่เป็นอุปสรรคสามารถใช้กฎหมายหรือกฎระเบียบฉบับอื่นรองรับได้ รวมจํานวน 19 ฉบับ และที่อยู่ระหว่างดําเนินการ จํานวน 4 ฉบับ นอกจากนี้ มีหน่วยงานที่สามารถดําเนินการเพื่อแก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบได้แล้วเสร็จก่อนกําหนดเวลา จํานวน 6 หน่วยงาน ได้แก่ สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กรมสรรพสามิต กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมประชาสัมพันธ์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ และกรมโรงงานอุตสาหกรรม 2. กฎหมายและกฎระเบียบฯ ในภาพรวมทั้ง 84 ฉบับ สามารถจําแนกได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ 2.1 กลุ่มที่ดําเนินการแล้วเสร็จ หรือทบทวนแล้วเห็นว่าไม่เป็นอุปสรรคเนื่องจากสามารถใช้กฎหมายหรือกฎระเบียบฉบับอื่นรองรับได้ โดยไม่ต้องแก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบเดิม จํานวน 48 ฉบับ เช่น กฎกระทรวงการอนุญาตขายสุรา พ.ศ. 2560 กฎกระทรวงการอนุญาตขายยาสูบ พ.ศ. 2560 กฎกระทรวงการอนุญาตขายไพ่ พ.ศ. 2560 กฎกระทรวงการอนุญาตป็นผู้ดําเนินการในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. 2560 ประกาศสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ ป.3/2560 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการขออนุญาตนําคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ 2.2 กลุ่มที่อยู่ระหว่างดําเนินการ ซึ่งได้จัดรับฟังความคิดเห็นหรือทบทวนแก้ไขเสร็จแล้ว และอยู่ระหว่างเสนอผู้มีอํานาจตามกฎหมาย (คณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการ/หัวหน้าหน่วยงาน) พิจารณา จํานวน 12 ฉบับ เช่น ระเบียบกรมป่าไม้ ว่าด้วยการนําไม้หรือของป่าเคลื่อนที่ พ.ศ. 2552 ที่ได้สํารวจทบทวนปัญหาอุปสรรคที่เกี่ยวข้องเสร็จสิ้นแล้วและอยู่ระหว่างดําเนินการแก้ไขระเบียบเพื่อเสนอผู้มีอํานาจพิจารณาลงนาม รวมทั้งประกาศ/ระเบียบของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่อยู่ระหว่างการเสนอคณะอนุกรรมการกลั่นกรองพิจารณา ก่อนเสนอ กสทช. พิจารณาต่อไป 2.3 กลุ่มที่อยู่ระหว่างรวบรวมปัญหาอุปสรรคหรือรับฟังความคิดเห็นเพื่อทบทวนแก้ไข จํานวน 24 ฉบับ ซึ่งรวมถึงกฎหมายและกฎระเบียบที่จะต้องดําเนินการแก้ไขให้แล้วเสร็จภายใน พ.ศ. 2563 ที่ยังคงเหลือจํานวน 3 ฉบับด้วย เช่น กฎกระทรวงคุณสมบัติและการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการควบคุมน้ํามันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2558 ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการนําเข้า นําผ่าน หรือนําเข้าเพื่อการส่งต่อซึ่งสิ่งต้องห้าม สิ่งกํากัดและสิ่งไม่ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2559 3. สํานักงาน ก.พ.ร. เห็นควรกําหนดมาตรการให้หน่วยงานเร่งดําเนินการ ดังนี้ 3.1 ให้หน่วยงานที่ดําเนินการแก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคฯ แล้วเสร็จ หรือทบทวนแล้วไม่เป็นอุปสรรค และสามารถให้บริการผ่านระบบ e-Service ได้ ตามข้อ 2.1 เร่งสื่อสารประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนในการใช้บริการของหน่วยงาน 3.2 ให้หน่วยงานที่มีสถานะตามข้อ 2.2 เร่งดําเนินการแก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคฯ ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และให้สํานักงาน ก.พ.ร. ติดตามการดําเนินการของหน่วยงานเป็นระยะ 3.3 ให้หน่วยงานที่มีสถานะตามข้อ 2.3 เร่งดําเนินการทบทวนเพื่อแก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคฯ โดยรวบรวมประเด็นปัญหาและอุปสรรคในการดําเนินการ ประเด็นที่ประสงค์ขอรับการสนับสนุน/การให้คําปรึกษาจากสํานักงาน ก.พ.ร. สคก. หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจัดทําแผนและระยะเวลาที่คาดว่าจะแล้วเสร็จในการแก้ไขกฎหมาย และให้สํานักงาน ก.พ.ร. ติดตามการดําเนินการของหน่วยงานให้เป็นไปตามแผน 11. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 31/2564 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 31/2564 เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2564 ที่ได้มีมติที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสําคัญของโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกําหนดให้อํานาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (พระราชกําหนดฯ) การพิจารณารายงานผลการดําเนินงานโครงการรถ Mobile พาณิชย์... ลดราคา! ช่วยประชาชน กระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก และการจัดทํารายงานความก้าวหน้าการดําเนินงานและการใช้จ่ายเงินกู้ของแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกําหนดฯ ราย 3 เดือน รวมทั้งพิจารณากลั่นกรองข้อเสนอโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ดังนี้ 1. อนุมัติให้สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสําคัญของโครงการพัฒนาศักยภาพระบบบริการสุขภาพ รองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (A001) ของหน่วยงานส่วนภูมิภาค โดยในชั้นนี้ให้ขยายระยะเวลาดําเนินโครงการฯ จากเดิม สิ้นสุดเดือนกันยายน 2564 เป็น สิ้นสุดเดือนธันวาคม 2564 และกรณีที่สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่สามารถดําเนินโครงการให้แล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม 2564 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ให้เร่งจัดทํารายงานผลการดําเนินงาน ปัญหาและอุปสรรค รวมทั้งแผนดําเนินงานและแผนเบิกจ่ายโครงการฯ เสนอให้คณะกรรมการฯ ตามขั้นตอนของข้อ 18 ของระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดําเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกําหนดให้อํานาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 พ.ศ. 2563 (ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีฯ) เพื่อพิจารณาแนวทางการดําเนินโครงการและระยะเวลาที่เหมาะสมอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ เมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่คณะกรรมการฯ เสนอแล้ว เห็นควรให้ สธ. เร่งดําเนินการแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบ eMENSCR โดยเร็วต่อไป 2. มอบหมายให้สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข จัดทําข้อเสนอการขอเปลี่ยนแปลงงบประมาณที่ได้รับอนุมัติไปใช้ในพื้นที่อื่นที่มีความจําเป็น พร้อมทั้งระบุเหตุผลและความจําเป็นเสนอให้คณะกรรมการฯ พิจารณาตามข้อ 18 ข้องระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีฯ ต่อไป 3. อนุมัติให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสําคัญของโครงการค่าตอบแทน เยียวยา ชดเชย และเสี่ยงภัย สําหรับการปฏิบัติงานของ อสม. ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชน โดยเป็นการขยายระยะเวลาการดําเนินการเบิกจ่ายค่าตอบแทนฯ จากเดิมสิ้นสุดเดือนกันยายน 2564 เป็นสิ้นสุดเดือนพฤศจิกายน 2564 กรอบวงเงินรวมไม่เกิน 1,575.4590 ล้านบาท ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้เห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว สําหรับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจ่ายเงินค่าตอบแทนฯ นั้น เห็นควรให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ พิจารณาดําเนินการตามความจําเป็นและความเหมาะสม โดยรูปแบบดังกล่าวต้องสามารถยืนยันตัวตนของผู้ได้รับเงินค่าตอบแทน พร้อมทั้งมีเอกสารหลักฐานประกอบการเบิกจ่ายที่ชัดเจนและสามารถตรวจสอบได้ ทั้งนี้ เมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการฯ แล้ว เห็นควรให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพเร่งดําเนินการแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบ eMENSCR โดยเร็ว 4. รับทราบรายงานผลการดําเนินโครงการรถ Mobile พาณิชย์... ลดราคา! ช่วยประชาชน กระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก ของกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ และมอบหมายให้กรมการค้าภายใน รับความเห็นและข้อสังเกตของฝ่ายเลขานุการฯ และคณะกรรมการฯ ไปปรับปรุงแนวทางการดําเนินโครงการในส่วนที่ยังอยู่ระหว่างดําเนินการฯ เพื่อให้การดําเนินโครงการฯ เป็นไปอย่างคุ้มค่าตามเป้าหมายที่กําหนดไว้ 5. รับทราบรายงานความก้าวหน้าการดําเนินงานและการใช้จ่ายเงินกู้ของแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกําหนดฯ ราย 3 เดือน ครั้งที่ 5 (1 พฤษภาคม - 31 กรกฎาคม 2564) พร้อมทั้งมอบหมายให้หน่วยงานเจ้าของโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกําหนดฯ ดําเนินการตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการฯ โดยเคร่งครัด เพื่อให้การใช้จ่ายเงินกู้ การจัดหาเงินและการจัดสรรเงินกู้ตามพระราชกําหนดฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 6. รับทราบข้อเสนอโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ครั้งที่ 3 รวม 10 จังหวัด (แพร่ พิษณุโลก ตาก สุโขทัย ร้อยเอ็ด สุรินทร์ อํานาจเจริญ พระนครศรีอยุธยา ปราจีนบุรี และสระแก้ว) จํานวน 1,766 โครงการ กรอบวงเงินรวม 2,909,015,572 บาท โดยให้ใช้จ่ายเงินจากงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสํารองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น และให้หน่วยงานรับผิดชอบปฏิบัติตามขั้นตอนตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการฯ ในคราวประชุมครั้งที่ 29/2564 พร้อมทั้งให้หน่วยงานรับผิดชอบปฏิบัติตามขั้นตอนของระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสํารองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น พ.ศ. 2562 ต่อไป และให้กระทรวงมหาดไทยดําเนินการตามความเห็นของสํานักงบประมาณ 12. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกําหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 6/2564 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เสนอผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกําหนดให้อํานาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 (พระราชกําหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564) ในคราวประชุมครั้งที่ 6/2564 เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2564 ได้มีมติเกี่ยวข้องกับการพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของข้อเสนอแผนงานหรือโครงการเพื่อขอใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกําหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 และการพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสําคัญของโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกําหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ดังนี้ 1. อนุมัติโครงการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) สําหรับบริการประชากรในประเทศไทย เพิ่มเติม จํานวน 9,998,820 โดส (Pfizer) ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กรอบวงเงินจํานวน 4,744.9166 ล้านบาท โดยใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้แผนงาน/โครงการกลุ่มที่ 1 เพื่อจัดซื้อจัดหาวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ตามนโยบายรัฐบาลที่จะจัดหาวัคซีนให้แก่ประชาชน 100 ล้านโดส ภายในสิ้นปี 2564 สําหรับสร้างภูมิคุ้มกันโรค ลดอัตราการป่วย/การเสียชีวิต และลดค่าใช้จ่ายภาครัฐในการดูแลรักษาผู้ป่วยจากโรค Covid-19 รวมทั้งลดผลกระทบ/พื้นฟูสภาพเศรษฐกิจและสังคมให้กลับสู่สภาวะปกติได้โดยเร็ว พร้อมทั้งมอบหมายให้กรมควบคุมโรค ดําเนินการตามข้อสังเกตเพิ่มเติมของคณะกรรมการฯ โดยเคร่งครัด 2. มอบหมายให้กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการ ดําเนินการจัดทําความต้องการใช้จ่ายเป็นรายเดือน เพื่อให้สํานักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) สามารถจัดหาเงินกู้เพื่อใช้จ่ายโครงการตามแผนการใช้จ่ายเงินที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายทางการเงินของภาครัฐ พร้อมทั้งปฏิบัติตามข้อ 15 ของระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดําเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกําหนดให้อํานาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 พ.ศ. 2564 (ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564) โดยเคร่งครัดตามขั้นตอนต่อไป 3. อนุมัติให้สํานักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสําคัญของโครงการเยียวยาผู้ประกันตนมาตรา 39 และมาตรา 40 ในกิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐ ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด โดยเป็นการขยายระยะเวลาให้ผู้ประกันตนมาตรา 40 ในพื้นที่ 3 จังหวัดและ 16 จังหวัด สามารถขึ้นลงทะเบียนเป็นผู้ประกันตนรายใหม่ตามระยะเวลาที่เสนอ และขยายการให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่ 13 จังหวัด เพิ่มเติมอีก 1 เดือน ทําให้กรอบวงเงินของโครงการฯ เพิ่มขึ้นจาก 33,471.0050 ล้านบาท ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2564 เป็น 77,785.0600 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจํานวน 44,314.0550 ล้านบาท โดยใช้จ่ายภายใต้แผนงานหรือโครงการกลุ่มที่ 2 ตามบัญชีท้ายพระราชกําหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว ทั้งนี้ เมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นชอบแล้ว เห็นควรให้สํานักงานประกันสังคมเร่งดําเนินการแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบ eMENSCR โดยเร็วต่อไป 4. มอบหมายให้กระทรวงคมนาคม พิจารณาความเหมาะสมในการจัดทําข้อเสนอโครงการเพื่อให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ขับขี่รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคนและรถจักรยานยนต์สาธารณะที่ไม่สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 เนื่องจากอายุเกินคุณสมบัติที่สํานักงานประกันสังคมกําหนดไว้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาตามขั้นตอนของระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป เพื่อให้ความช่วยเหลือกลุ่มแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของภาครัฐเป็นไปอย่างครอบคลุม 13. เรื่อง รายงานผลการดําเนินการโครงการนําร่องการป้องกันและการควบคุมการแพร่ระบาดในโรงงาน (Factory Sandbox) คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดําเนินการโครงการนําร่องการป้องกันและการควบคุมการแพร่ระบาดในโรงงาน (Factory Sandbox) ตามที่กระทรวงแรงงาน เสนอดังนี้ สาระสําคัญ 1. โครงการนําร่องการป้องกันและการควบคุมการแพร่ระบาดในโรงงาน (Factory Sandbox) สรุปสาระสําคัญ ดังนี้ 1.1 วัตถุประสงค์ เป็นการดําเนินการภายใต้แนวคิด “เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข” โดยมุ่งเน้นให้สถานประกอบการ กิจการ โรงงานภาคการผลิตส่งออกขนาดใหญ่ที่มีความสําคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศสามารถดําเนินกิจกรรมต่อไปได้ควบคู่กับมาตรการควบคุมและป้องกันโรคภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด - 19 1.2 จังหวัดพื้นที่เป้าหมาย ระยะที่ 1 ประกอบด้วย 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดชลบุรี และระยะที่ 2 ประกอบด้วย 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัดสมุทรปราการ 1.3 สถานประกอบกิจการเป้าหมาย เป็นโรงงานภาคการผลิตส่งออกขนาดใหญ่ 4 ประเภทอุตสาหกรรม ได้แก่ 1) ยานยนต์ 2) ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ 3) อาหาร และ 4) อุปกรณ์ทางการแพทย์ ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่เป้าหมาย และมีลูกจ้างตั้งแต่ 500 คนขึ้นไป โดยในระยะที่ 1 มีสถานประกอบการเป้าหมาย 387 แห่ง จํานวนผู้ประกันตน 474,109 คน จังหวัด เป้าหมาย จํานวนสถานประกอบการ (500 คนขึ้นไป) (แห่ง) จํานวนผู้ประกันตน (คน) ชลบุรี
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-บุหรี่ตัวการร้าย ทำภูมิคุ้มกันโควิด-19 ต่ำ
วันศุกร์ที่ 29 เมษายน 2565 บุหรี่ตัวการร้าย ทําภูมิคุ้มกันโควิด-19 ต่ํา #บุหรี่ตัวการร้าย
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-บุหรี่ตัวการร้าย ทำภูมิคุ้มกันโควิด-19 ต่ำ วันศุกร์ที่ 29 เมษายน 2565 บุหรี่ตัวการร้าย ทําภูมิคุ้มกันโควิด-19 ต่ํา #บุหรี่ตัวการร้าย
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/54067
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-"สมศักดิ์" แจงกระทรวงยุติธรรม ไม่เคยมีอำนาจเหนือศาล แก้ไขเปลี่ยนแปลงโทษไม่ได้ ยันทำทุกอย่างตามกรอบกฎหมาย
วันพฤหัสบดีที่ 9 ธันวาคม 2564 "สมศักดิ์" แจงกระทรวงยุติธรรม ไม่เคยมีอํานาจเหนือศาล แก้ไขเปลี่ยนแปลงโทษไม่ได้ ยันทําทุกอย่างตามกรอบกฎหมาย "สมศักดิ์" แจงกระทรวงยุติธรรม ไม่เคยมีอํานาจเหนือศาล แก้ไขเปลี่ยนแปลงโทษไม่ได้ ยันทําทุกอย่างตามกรอบกฎหมาย ชี้หลักการลงโทษเพื่อป้องปราม-แก้ไขผู้ทําผิดตามหลักของนานาประเทศ เชื่อความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายไม่ใช่ความรุนแรงแต่อยู่ที่การยับยั้งการทําผิด นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวถึงกรณี นายสมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา ตั้งคําถามถึงกรณีที่กรมราชทัณฑ์และกระทรวงยุติธรรมมีอํานาจเหนือคําพิพากษาศาลฎีกาหรือไม่ว่า การบริหารโทษและการพิพากษากําหนดโทษเป็นคนละส่วนกัน ภายใต้กรอบอํานาจที่แบ่งออกเป็น 3 ฝ่ายคือ นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ ต่างฝ่ายต่างทําหน้าที่ภายใต้อํานาจตามกฎหมายของแต่ละฝ่าย ซึ่งการบังคับโทษทางอาญา คือ การบริหารโทษ เป็นอํานาจของฝ่ายบริหาร ที่ดําเนินการได้ภายใต้กรอบของกฎหมาย ไม่ได้เป็นการใช้อํานาจโดยพลการหรือเลือกปฏิบัติให้ผู้หนึ่งผู้ใด แต่เป็นการใช้อํานาจหน้าที่ตามกฎหมายที่มีอยู่ ทั้งที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง คือ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ สําหรับพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ เป็นกฎหมายของกระทรวงยุติธรรมไม่ได้มีอํานาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขโทษ รวมถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมก็ไม่มีอํานาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงโทษเช่นกัน "การบังคับโทษ โดยปกติในทางปฏิบัติแล้ว ไม่มีประเทศไหนในโลก ที่จะบังคับโทษทั้งสิ้นตามคําพิพากษา แต่จะมีกลไกทางกฎหมายอื่นๆ มาบริหารโทษให้เป็นไปตามความเหมาะสม เช่น ลักษณะและพฤติการณ์แห่งคดี โดยมุ่งเน้นให้ผู้กระทําผิดได้รับโอกาสให้กลับตนเป็นพลเมืองที่ดี พร้อมกลับคืนสู่สังคมได้อย่างปกติสุข ขอให้ลองนึกภาพย่อลงมาในระดับครอบครัว เชื่อว่าไม่มีพ่อและแม่คนใดที่จะที่ลงโทษลูกจนครบ หรือตีลูกจนบาดเจ็บล้มตาย ส่วนมากก็จะเอาแต่พอสมควร คือการให้อภัย การให้โอกาส เพื่อให้คนในครอบครัว ได้อยู่อย่างปกติสุข วัตถุประสงค์ของการลงโทษคือการป้องปราม ยับยั้งการกระทํา และการแก้ไขผู้กระทําผิด การลงโทษจึงมีหลากหลายวิธี ทั้งในเรือนจําและนอกเรือนจํา รวมทั้งการลงโทษทางสังคมทางชื่อเสียงเกียรติยศ ที่ผู้กระทําผิดและครอบครัวได้รับไปแล้วส่วนหนึ่ง โดยเชื่อว่าความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย ไม่ได้อยู่ที่ความรุนแรง หรือการลงโทษสูงเป็นสําคัญ แต่จะอยู่ที่ความแน่นอนและรวดเร็วของการลงโทษ ที่จะมีผลยับยั้งการกระทําความผิดมากกว่า"นายสมศักดิ์ กล่าว นายสมศักดิ์ กล่าวอีกว่า การบริหารโทษ ตามอํานาจหน้าที่ภายใต้กรอบกฎหมายของกระทรวงยุติธรรม นั้น มีความหลากหลาย ทั้ง ในเรือนจําและนอกเรือนจํา คือ การคุมประพฤติ และติดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว หรือ กําไล EM และการดําเนินการเป็นไปโดยเสมอหน้ากัน ไม่ได้มีการเลือกปฏิบัติให้ผู้ใดผู้หนึ่ง ผู้ต้องโทษ ทุกคดี ทุกราย จะได้รับการบริหารโทษอย่างเท่าเทียมกันภายใต้หลักเกณฑ์ที่กฎหมายกําหนด ส่วนการพระราชทานอภัยโทษ เป็นกลไกหนึ่งของกระบวนการยุติธรรมที่พระมหากษัตริย์ไทยทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อผู้ต้องราชทัณฑ์ ซึ่งเป็นประเพณีที่สืบทอดอยู่ในสังคมไทยมาช้านาน บนพื้นฐานของหลักเมตตาและกรุณาอันมาจากองค์อธิปัตย์หรือประมุขแห่งรัฐ ตนขอยืนยันว่าเราได้ดําเนินการตามหลักกฎหมายที่มุ่งให้โอกาสแก่ผู้กระทําความผิด ได้กลับตนเป็นพลเมืองดีที่เคารพกฎหมายในสังคม ด้วยความเสมอภาค เท่าเทียม และไม่เลือกปฏิบัติ ซึ่งการบริหารโทษของกรมราชทัณฑ์ เป็นไปตามหลักทัณฑวิทยาที่นานาอารยประเทศได้ให้ความสําคัญกับการพัฒนาพฤตินิสัยและให้โอกาสผู้พลั้งพลาดในการกลับตัวสู่สังคม
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-"สมศักดิ์" แจงกระทรวงยุติธรรม ไม่เคยมีอำนาจเหนือศาล แก้ไขเปลี่ยนแปลงโทษไม่ได้ ยันทำทุกอย่างตามกรอบกฎหมาย วันพฤหัสบดีที่ 9 ธันวาคม 2564 "สมศักดิ์" แจงกระทรวงยุติธรรม ไม่เคยมีอํานาจเหนือศาล แก้ไขเปลี่ยนแปลงโทษไม่ได้ ยันทําทุกอย่างตามกรอบกฎหมาย "สมศักดิ์" แจงกระทรวงยุติธรรม ไม่เคยมีอํานาจเหนือศาล แก้ไขเปลี่ยนแปลงโทษไม่ได้ ยันทําทุกอย่างตามกรอบกฎหมาย ชี้หลักการลงโทษเพื่อป้องปราม-แก้ไขผู้ทําผิดตามหลักของนานาประเทศ เชื่อความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายไม่ใช่ความรุนแรงแต่อยู่ที่การยับยั้งการทําผิด นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวถึงกรณี นายสมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา ตั้งคําถามถึงกรณีที่กรมราชทัณฑ์และกระทรวงยุติธรรมมีอํานาจเหนือคําพิพากษาศาลฎีกาหรือไม่ว่า การบริหารโทษและการพิพากษากําหนดโทษเป็นคนละส่วนกัน ภายใต้กรอบอํานาจที่แบ่งออกเป็น 3 ฝ่ายคือ นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ ต่างฝ่ายต่างทําหน้าที่ภายใต้อํานาจตามกฎหมายของแต่ละฝ่าย ซึ่งการบังคับโทษทางอาญา คือ การบริหารโทษ เป็นอํานาจของฝ่ายบริหาร ที่ดําเนินการได้ภายใต้กรอบของกฎหมาย ไม่ได้เป็นการใช้อํานาจโดยพลการหรือเลือกปฏิบัติให้ผู้หนึ่งผู้ใด แต่เป็นการใช้อํานาจหน้าที่ตามกฎหมายที่มีอยู่ ทั้งที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง คือ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ สําหรับพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ เป็นกฎหมายของกระทรวงยุติธรรมไม่ได้มีอํานาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขโทษ รวมถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมก็ไม่มีอํานาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงโทษเช่นกัน "การบังคับโทษ โดยปกติในทางปฏิบัติแล้ว ไม่มีประเทศไหนในโลก ที่จะบังคับโทษทั้งสิ้นตามคําพิพากษา แต่จะมีกลไกทางกฎหมายอื่นๆ มาบริหารโทษให้เป็นไปตามความเหมาะสม เช่น ลักษณะและพฤติการณ์แห่งคดี โดยมุ่งเน้นให้ผู้กระทําผิดได้รับโอกาสให้กลับตนเป็นพลเมืองที่ดี พร้อมกลับคืนสู่สังคมได้อย่างปกติสุข ขอให้ลองนึกภาพย่อลงมาในระดับครอบครัว เชื่อว่าไม่มีพ่อและแม่คนใดที่จะที่ลงโทษลูกจนครบ หรือตีลูกจนบาดเจ็บล้มตาย ส่วนมากก็จะเอาแต่พอสมควร คือการให้อภัย การให้โอกาส เพื่อให้คนในครอบครัว ได้อยู่อย่างปกติสุข วัตถุประสงค์ของการลงโทษคือการป้องปราม ยับยั้งการกระทํา และการแก้ไขผู้กระทําผิด การลงโทษจึงมีหลากหลายวิธี ทั้งในเรือนจําและนอกเรือนจํา รวมทั้งการลงโทษทางสังคมทางชื่อเสียงเกียรติยศ ที่ผู้กระทําผิดและครอบครัวได้รับไปแล้วส่วนหนึ่ง โดยเชื่อว่าความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย ไม่ได้อยู่ที่ความรุนแรง หรือการลงโทษสูงเป็นสําคัญ แต่จะอยู่ที่ความแน่นอนและรวดเร็วของการลงโทษ ที่จะมีผลยับยั้งการกระทําความผิดมากกว่า"นายสมศักดิ์ กล่าว นายสมศักดิ์ กล่าวอีกว่า การบริหารโทษ ตามอํานาจหน้าที่ภายใต้กรอบกฎหมายของกระทรวงยุติธรรม นั้น มีความหลากหลาย ทั้ง ในเรือนจําและนอกเรือนจํา คือ การคุมประพฤติ และติดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว หรือ กําไล EM และการดําเนินการเป็นไปโดยเสมอหน้ากัน ไม่ได้มีการเลือกปฏิบัติให้ผู้ใดผู้หนึ่ง ผู้ต้องโทษ ทุกคดี ทุกราย จะได้รับการบริหารโทษอย่างเท่าเทียมกันภายใต้หลักเกณฑ์ที่กฎหมายกําหนด ส่วนการพระราชทานอภัยโทษ เป็นกลไกหนึ่งของกระบวนการยุติธรรมที่พระมหากษัตริย์ไทยทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อผู้ต้องราชทัณฑ์ ซึ่งเป็นประเพณีที่สืบทอดอยู่ในสังคมไทยมาช้านาน บนพื้นฐานของหลักเมตตาและกรุณาอันมาจากองค์อธิปัตย์หรือประมุขแห่งรัฐ ตนขอยืนยันว่าเราได้ดําเนินการตามหลักกฎหมายที่มุ่งให้โอกาสแก่ผู้กระทําความผิด ได้กลับตนเป็นพลเมืองดีที่เคารพกฎหมายในสังคม ด้วยความเสมอภาค เท่าเทียม และไม่เลือกปฏิบัติ ซึ่งการบริหารโทษของกรมราชทัณฑ์ เป็นไปตามหลักทัณฑวิทยาที่นานาอารยประเทศได้ให้ความสําคัญกับการพัฒนาพฤตินิสัยและให้โอกาสผู้พลั้งพลาดในการกลับตัวสู่สังคม
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/49269
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ถ้อยแถลงนายกรัฐมนตรี สำหรับการประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน ครั้งที่ 24
วันพุธที่ 27 ตุลาคม 2564 ถ้อยแถลงนายกรัฐมนตรี สําหรับการประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน ครั้งที่ 24 ถ้อยแถลงนายกรัฐมนตรี สําหรับการประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน ครั้งที่ 24 ถ้อยแถลงนายกรัฐมนตรี สําหรับการประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน ครั้งที่ 24 วันอังคารที่ 26 ตุลาคม 2564 เวลา 14.00 – 15.00 น. * * * * * ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ท่านนายกรัฐมนตรี หลี่ เค่อเฉียง และ ฯพณฯ ทั้งหลาย ผมขอร่วมกับผู้นําอาเซียนทุกท่านต้อนรับท่านนายกรัฐมนตรี หลี่ เค่อเฉียง สู่การประชุมฯ ในวันนี้ ผมขอใช้โอกาสนี้แสดงความยินดีกับรัฐบาลจีนในโอกาสครบรอบ 100 ปี การก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีน และความสําเร็จของการบรรลุเป้าหมายการขจัดความยากจนและการสร้างสังคมกินดีอยู่ดีที่อยู่บนพื้นฐานของการกระจายความเจริญอย่างทั่วถึงก่อนกรอบเวลาที่กําหนดในปีนี้ ผมขอสนับสนุนบทบาทของจีนฐานะที่เป็นมหาอํานาจที่มีความรับผิดชอบในการส่งเสริมความร่วมมือในทางสร้างสรรค์ในทุกด้านกับนานาประเทศ รวมทั้งอาเซียนและกลุ่มประเทศกําลังพัฒนาต่อไป ปรากฎการณ์ที่สําคัญที่สุดประการหนึ่งในโลกในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา คือ การโดดเด่นขึ้นมาของจีนทั้งในทางเศรษฐกิจและทางยุทธศาสตร์ เช่นเดียวกับความสําคัญที่เพิ่มขึ้นของภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกในความสัมพันธ์เชิงภูมิรัฐศาสตร์ของโลก ดังนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับจีนได้ทวีความสําคัญยิ่งขึ้นไปอีก นอกจากนั้น ปีนี้ยังเป็นปีที่ความสัมพันธ์อาเซียน-จีนครบรอบ 30 ปี ซึ่งผมยินดีอย่างยิ่งที่จะเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน สมัยพิเศษ ในปลายเดือนพฤศจิกายนนี้ อันจะเป็นโอกาสพิเศษที่ผู้นําอาเซียนและท่านประธานาธิบดีสี จิ้นผิง จะร่วมกําหนดแนวทางเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกันให้แน่นแฟ้นและครอบคลุมยิ่งขึ้น เพื่อก้าวสู่ทศวรรษใหม่ของความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ที่มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ท่ามกลางความท้าทายในปัจจุบัน ไทยกําลังมุ่งสู่ความปกติถัดไป หรือ Next Normal ด้วยการพลิกโฉมประเทศไทย ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในการก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคงและแข็งแรงกว่าเดิม และตระหนักถึงความจําเป็นของความร่วมมือระหว่างประเทศ ผมจึงขอเสนอแนวทางที่เราเห็นว่า อาเซียนและจีนควรกระชับความร่วมมือในหลาย ๆ มิติ เพื่อจัดการกับความท้าทายและบรรลุเป้าหมายแห่งอนาคตร่วมกัน บนพื้นฐานของความไว้เนื้อเชื่อใจและเคารพซึ่งกันและกัน ดังคําคมของจีนที่ว่า “ก้าวย่างของชีวิตไม่ได้อยู่ที่ก้าวได้รวดเร็ว แต่อยู่ที่ก้าวได้อย่างมั่นคง” ดังนี้ ประการแรก ความมั่นคงทางสุขภาพเป็นเป้าหมายสูงสุดที่เราควรสานต่อความร่วมมือ เพื่อรับมือกับโควิด-19 และโรคอุบัติใหม่ในอนาคต โดยมุ่งเน้น การวิจัยและพัฒนาวัคซีนและยาต้านไวรัสที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการจัดตั้งศูนย์การผลิตและกระจายวัคซีนในอาเซียน ผมขอขอบคุณจีนที่ได้ให้การสนับสนุนวัคซีนและเวชภัณฑ์ แก่ประเทศไทยและประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งช่วยให้เราสามารถผ่านวิกฤติร่วมกันมาได้ ในระยะยาว เราควรเตรียมความพร้อมทางสาธารณสุขในทุกมิติ ตั้งแต่ต้นน้ําถึงปลายน้ํา ซึ่งรวมถึงการพัฒนาทักษะของบุคลากรทางการแพทย์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อสามารถรับมือกับโรคอุบัติใหม่และสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ประการที่สอง ความมั่นคงทางเศรษฐกิจเพื่อการฟื้นฟูที่ยั่งยืนและการเสริมสร้างความแข็งแกร่งร่วมกันในระยะยาว โดยเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง เราควรยึดมั่นในระบบการค้าพหุภาคีที่เสรีและเปิดกว้าง มุ่งเสริมสร้างความแข็งแกร่งของห่วงโซ่อุปทาน และเร่งสานต่อการบูรณาการทางเศรษฐกิจร่วมกัน โดยที่จีนเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจลําดับที่หนึ่งของอาเซียน ผมยินดีอย่างยิ่งที่วันนี้เราจะรับรองเอกสารยืนยันเจตนารมณ์ร่วมกันที่จะดําเนินการตามกรอบการฟื้นฟูที่ครอบคลุมของอาเซียน ทั้งนี้ ไทยพร้อมร่วมมือในการยกระดับ FTA อาเซียน-จีน ตลอดจนเร่งดําเนินการในส่วนของไทยในการให้สัตยาบันความตกลง RCEP เพื่อให้มีผลใช้บังคับโดยเร็ว ในยุค 4IR เทคโนโลยีและเศรษฐกิจดิจิทัลเป็นกุญแจสําคัญในการประกอบธุรกิจและการดํารงชีวิตแบบ New Normal อาเซียนและจีนจะได้รับประโยชน์ร่วมกันจากความร่วมมือเพื่อนําไปสู่การเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและเพิ่มมูลค่าให้สินค้าและการบริการ ตลอดจนการพัฒนาศักยภาพของ MSMEs, start-ups และผู้ประกอบการท้องถิ่น ตลอดจนการอยู่ดีมีสุขของประชาชน โดยให้ความสําคัญกับความมั่นคงทางไซเบอร์ที่จะสกัดกั้นการใช้เทคโนโลยีในทางที่ผิดด้วย นอกจากนี้ เราควรสานต่อการเสริมสร้างความเชื่อมโยงตามแถลงการณ์ว่าด้วยการสอดประสานระหว่างแผนแม่บทเอ็มแพ็ค 2025 กับข้อริเริ่ม BRI รวมทั้งร่วมกันกําหนดมาตรการอํานวยความสะดวกในการเดินทางระหว่างประเทศที่ปลอดภัยและสอดคล้องกับมาตรการทางสาธารณสุขของแต่ละประเทศ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ และการติดต่อของประชาชน ซึ่งรวมถึงนักธุรกิจ นักท่องเที่ยว และนักศึกษา ขณะนี้ ประเทศไทยอยู่ระหว่างเตรียมการเปิดประเทศอย่างค่อยเป็นค่อยไป และหวังว่าจะสามารถให้การต้อนรับชาวต่างประเทศ ได้อย่างสะดวกมากขึ้นในเร็ว ๆ นี้ ประการที่สาม การพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นหัวใจสําคัญของการก้าวไปข้างหน้าด้วยกันอย่างมั่นคง เราจําเป็นต้องมุ่งสร้างความสมดุลของสรรพสิ่งและความยั่งยืนในทุกมิติ โดยไทยในฐานะประเทศผู้ประสานงานของอาเซียนในเรื่องนี้ มีความมุ่งมั่นและพร้อมที่จะมีบทบาทที่สร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง เพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมต่าง ๆ ในปีแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืนอาเซียน-จีน พ.ศ. 2564-2565 รวมทั้งแสวงหาความร่วมมือตามโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว หรือ BCG ซึ่งจะเป็นแนวทางสู่การฟื้นฟูและการเติบโตอย่างครอบคลุม สมดุล และยั่งยืน ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท และทุกท่าน อาเซียนและจีนจะก้าวต่อไปสู่ความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ที่ครอบคลุมได้ก็ต่อเมื่อเราสามารถรักษาสันติภาพที่ยั่งยืน ท่ามกลางพลวัตของสถานการณ์ในภูมิภาคและระหว่างประเทศที่มีความซับซ้อน เราตระหนักถึงความสําคัญของการรักษาความเป็นแกนกลางของอาเซียนและสถาปัตยกรรมภูมิภาคที่มีอาเซียนเป็นศูนย์กลาง และเชื่อว่าอาเซียนสามารถเป็นสะพานเชื่อมระหว่างประเทศมหาอํานาจ รวมทั้งภาคีภายนอกของอาเซียน เพื่อเสริมสร้างสันติภาพที่ยั่งยืนและความไพบูลย์ร่วมกัน เราไม่ประสงค์ที่จะเห็นความขัดแย้งหรือการเผชิญหน้าระหว่างมิตรประเทศของเรา และให้ความสําคัญต่อการหารือเพื่อหาทางออกร่วมกันในประเด็นทะเลจีนใต้ ไทยพร้อมที่จะรักษาบทบาทที่สร้างสรรค์ โดยเฉพาะการผลักดันความร่วมมือที่ทุกฝ่ายสามารถเห็นพ้องกันได้ว่าเป็นผลประโยชน์ร่วมกัน อาทิ การปกป้องสิ่งแวดล้อมทางทะเล เราสนับสนุนการดําเนินการดังกล่าวตามกลไกอาเซียน-จีนที่เกี่ยวข้องอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะการเจรจาจัดทํา COCที่มีประสิทธิภาพ มีเนื้อหาที่ครอบคลุม และสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศให้สําเร็จโดยเร็ว เพื่อช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่มีเสถียรภาพ และเอื้ออํานวยต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ เพื่อให้อาเซียนและจีนสามารถรักษาพลวัตในการเป็นกลจักรสําคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของภูมิภาคและของโลกได้อย่างยั่งยืนต่อไป สุดท้ายนี้ ในโอกาสที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปคปี 2565 ผมหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะได้ให้ต้อนรับท่านประธานาธิบดีสีที่ประเทศไทยครับ ขอบคุณครับ * * * * *
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ถ้อยแถลงนายกรัฐมนตรี สำหรับการประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน ครั้งที่ 24 วันพุธที่ 27 ตุลาคม 2564 ถ้อยแถลงนายกรัฐมนตรี สําหรับการประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน ครั้งที่ 24 ถ้อยแถลงนายกรัฐมนตรี สําหรับการประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน ครั้งที่ 24 ถ้อยแถลงนายกรัฐมนตรี สําหรับการประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน ครั้งที่ 24 วันอังคารที่ 26 ตุลาคม 2564 เวลา 14.00 – 15.00 น. * * * * * ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ท่านนายกรัฐมนตรี หลี่ เค่อเฉียง และ ฯพณฯ ทั้งหลาย ผมขอร่วมกับผู้นําอาเซียนทุกท่านต้อนรับท่านนายกรัฐมนตรี หลี่ เค่อเฉียง สู่การประชุมฯ ในวันนี้ ผมขอใช้โอกาสนี้แสดงความยินดีกับรัฐบาลจีนในโอกาสครบรอบ 100 ปี การก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีน และความสําเร็จของการบรรลุเป้าหมายการขจัดความยากจนและการสร้างสังคมกินดีอยู่ดีที่อยู่บนพื้นฐานของการกระจายความเจริญอย่างทั่วถึงก่อนกรอบเวลาที่กําหนดในปีนี้ ผมขอสนับสนุนบทบาทของจีนฐานะที่เป็นมหาอํานาจที่มีความรับผิดชอบในการส่งเสริมความร่วมมือในทางสร้างสรรค์ในทุกด้านกับนานาประเทศ รวมทั้งอาเซียนและกลุ่มประเทศกําลังพัฒนาต่อไป ปรากฎการณ์ที่สําคัญที่สุดประการหนึ่งในโลกในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา คือ การโดดเด่นขึ้นมาของจีนทั้งในทางเศรษฐกิจและทางยุทธศาสตร์ เช่นเดียวกับความสําคัญที่เพิ่มขึ้นของภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกในความสัมพันธ์เชิงภูมิรัฐศาสตร์ของโลก ดังนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับจีนได้ทวีความสําคัญยิ่งขึ้นไปอีก นอกจากนั้น ปีนี้ยังเป็นปีที่ความสัมพันธ์อาเซียน-จีนครบรอบ 30 ปี ซึ่งผมยินดีอย่างยิ่งที่จะเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน สมัยพิเศษ ในปลายเดือนพฤศจิกายนนี้ อันจะเป็นโอกาสพิเศษที่ผู้นําอาเซียนและท่านประธานาธิบดีสี จิ้นผิง จะร่วมกําหนดแนวทางเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกันให้แน่นแฟ้นและครอบคลุมยิ่งขึ้น เพื่อก้าวสู่ทศวรรษใหม่ของความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ที่มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ท่ามกลางความท้าทายในปัจจุบัน ไทยกําลังมุ่งสู่ความปกติถัดไป หรือ Next Normal ด้วยการพลิกโฉมประเทศไทย ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในการก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคงและแข็งแรงกว่าเดิม และตระหนักถึงความจําเป็นของความร่วมมือระหว่างประเทศ ผมจึงขอเสนอแนวทางที่เราเห็นว่า อาเซียนและจีนควรกระชับความร่วมมือในหลาย ๆ มิติ เพื่อจัดการกับความท้าทายและบรรลุเป้าหมายแห่งอนาคตร่วมกัน บนพื้นฐานของความไว้เนื้อเชื่อใจและเคารพซึ่งกันและกัน ดังคําคมของจีนที่ว่า “ก้าวย่างของชีวิตไม่ได้อยู่ที่ก้าวได้รวดเร็ว แต่อยู่ที่ก้าวได้อย่างมั่นคง” ดังนี้ ประการแรก ความมั่นคงทางสุขภาพเป็นเป้าหมายสูงสุดที่เราควรสานต่อความร่วมมือ เพื่อรับมือกับโควิด-19 และโรคอุบัติใหม่ในอนาคต โดยมุ่งเน้น การวิจัยและพัฒนาวัคซีนและยาต้านไวรัสที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการจัดตั้งศูนย์การผลิตและกระจายวัคซีนในอาเซียน ผมขอขอบคุณจีนที่ได้ให้การสนับสนุนวัคซีนและเวชภัณฑ์ แก่ประเทศไทยและประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งช่วยให้เราสามารถผ่านวิกฤติร่วมกันมาได้ ในระยะยาว เราควรเตรียมความพร้อมทางสาธารณสุขในทุกมิติ ตั้งแต่ต้นน้ําถึงปลายน้ํา ซึ่งรวมถึงการพัฒนาทักษะของบุคลากรทางการแพทย์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อสามารถรับมือกับโรคอุบัติใหม่และสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ประการที่สอง ความมั่นคงทางเศรษฐกิจเพื่อการฟื้นฟูที่ยั่งยืนและการเสริมสร้างความแข็งแกร่งร่วมกันในระยะยาว โดยเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง เราควรยึดมั่นในระบบการค้าพหุภาคีที่เสรีและเปิดกว้าง มุ่งเสริมสร้างความแข็งแกร่งของห่วงโซ่อุปทาน และเร่งสานต่อการบูรณาการทางเศรษฐกิจร่วมกัน โดยที่จีนเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจลําดับที่หนึ่งของอาเซียน ผมยินดีอย่างยิ่งที่วันนี้เราจะรับรองเอกสารยืนยันเจตนารมณ์ร่วมกันที่จะดําเนินการตามกรอบการฟื้นฟูที่ครอบคลุมของอาเซียน ทั้งนี้ ไทยพร้อมร่วมมือในการยกระดับ FTA อาเซียน-จีน ตลอดจนเร่งดําเนินการในส่วนของไทยในการให้สัตยาบันความตกลง RCEP เพื่อให้มีผลใช้บังคับโดยเร็ว ในยุค 4IR เทคโนโลยีและเศรษฐกิจดิจิทัลเป็นกุญแจสําคัญในการประกอบธุรกิจและการดํารงชีวิตแบบ New Normal อาเซียนและจีนจะได้รับประโยชน์ร่วมกันจากความร่วมมือเพื่อนําไปสู่การเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและเพิ่มมูลค่าให้สินค้าและการบริการ ตลอดจนการพัฒนาศักยภาพของ MSMEs, start-ups และผู้ประกอบการท้องถิ่น ตลอดจนการอยู่ดีมีสุขของประชาชน โดยให้ความสําคัญกับความมั่นคงทางไซเบอร์ที่จะสกัดกั้นการใช้เทคโนโลยีในทางที่ผิดด้วย นอกจากนี้ เราควรสานต่อการเสริมสร้างความเชื่อมโยงตามแถลงการณ์ว่าด้วยการสอดประสานระหว่างแผนแม่บทเอ็มแพ็ค 2025 กับข้อริเริ่ม BRI รวมทั้งร่วมกันกําหนดมาตรการอํานวยความสะดวกในการเดินทางระหว่างประเทศที่ปลอดภัยและสอดคล้องกับมาตรการทางสาธารณสุขของแต่ละประเทศ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ และการติดต่อของประชาชน ซึ่งรวมถึงนักธุรกิจ นักท่องเที่ยว และนักศึกษา ขณะนี้ ประเทศไทยอยู่ระหว่างเตรียมการเปิดประเทศอย่างค่อยเป็นค่อยไป และหวังว่าจะสามารถให้การต้อนรับชาวต่างประเทศ ได้อย่างสะดวกมากขึ้นในเร็ว ๆ นี้ ประการที่สาม การพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นหัวใจสําคัญของการก้าวไปข้างหน้าด้วยกันอย่างมั่นคง เราจําเป็นต้องมุ่งสร้างความสมดุลของสรรพสิ่งและความยั่งยืนในทุกมิติ โดยไทยในฐานะประเทศผู้ประสานงานของอาเซียนในเรื่องนี้ มีความมุ่งมั่นและพร้อมที่จะมีบทบาทที่สร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง เพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมต่าง ๆ ในปีแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืนอาเซียน-จีน พ.ศ. 2564-2565 รวมทั้งแสวงหาความร่วมมือตามโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว หรือ BCG ซึ่งจะเป็นแนวทางสู่การฟื้นฟูและการเติบโตอย่างครอบคลุม สมดุล และยั่งยืน ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท และทุกท่าน อาเซียนและจีนจะก้าวต่อไปสู่ความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ที่ครอบคลุมได้ก็ต่อเมื่อเราสามารถรักษาสันติภาพที่ยั่งยืน ท่ามกลางพลวัตของสถานการณ์ในภูมิภาคและระหว่างประเทศที่มีความซับซ้อน เราตระหนักถึงความสําคัญของการรักษาความเป็นแกนกลางของอาเซียนและสถาปัตยกรรมภูมิภาคที่มีอาเซียนเป็นศูนย์กลาง และเชื่อว่าอาเซียนสามารถเป็นสะพานเชื่อมระหว่างประเทศมหาอํานาจ รวมทั้งภาคีภายนอกของอาเซียน เพื่อเสริมสร้างสันติภาพที่ยั่งยืนและความไพบูลย์ร่วมกัน เราไม่ประสงค์ที่จะเห็นความขัดแย้งหรือการเผชิญหน้าระหว่างมิตรประเทศของเรา และให้ความสําคัญต่อการหารือเพื่อหาทางออกร่วมกันในประเด็นทะเลจีนใต้ ไทยพร้อมที่จะรักษาบทบาทที่สร้างสรรค์ โดยเฉพาะการผลักดันความร่วมมือที่ทุกฝ่ายสามารถเห็นพ้องกันได้ว่าเป็นผลประโยชน์ร่วมกัน อาทิ การปกป้องสิ่งแวดล้อมทางทะเล เราสนับสนุนการดําเนินการดังกล่าวตามกลไกอาเซียน-จีนที่เกี่ยวข้องอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะการเจรจาจัดทํา COCที่มีประสิทธิภาพ มีเนื้อหาที่ครอบคลุม และสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศให้สําเร็จโดยเร็ว เพื่อช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่มีเสถียรภาพ และเอื้ออํานวยต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ เพื่อให้อาเซียนและจีนสามารถรักษาพลวัตในการเป็นกลจักรสําคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของภูมิภาคและของโลกได้อย่างยั่งยืนต่อไป สุดท้ายนี้ ในโอกาสที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปคปี 2565 ผมหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะได้ให้ต้อนรับท่านประธานาธิบดีสีที่ประเทศไทยครับ ขอบคุณครับ * * * * *
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/47415
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-เลขานุการ รมว.สธ. คิกออฟโครงการ “นำวัคซีนมาหาประชาชน” ที่ จ.สระบุรี
วันอังคารที่ 15 มีนาคม 2565 เลขานุการ รมว.สธ. คิกออฟโครงการ “นําวัคซีนมาหาประชาชน” ที่ จ.สระบุรี เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข คิกออฟโครงการ “นําวัคซีนมาหาประชาชน” จังหวัดสระบุรี ลงพื้นที่เชิงรุกสร้างวัคซีนใจในชุมชน ชักชวนกลุ่มเสี่ยงเข้าถึงการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19 พร้อมให้บริการ “ตรวจกาย-สํารวจใจ” เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข คิกออฟโครงการ “นําวัคซีนมาหาประชาชน” จังหวัดสระบุรี ลงพื้นที่เชิงรุกสร้างวัคซีนใจในชุมชน ชักชวนกลุ่มเสี่ยงเข้าถึงการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19 พร้อมให้บริการ “ตรวจกาย-สํารวจใจ” ในประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์ ลดผลกระทบจากภาวะLong COVID วันนี้ (15 มีนาคม 2565) ที่เทศบาลตําบลหินกอง อ.หนองแค จ.สระบุรี นายวัชรพงศ์ คูวิจิตรสุวรรณ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิตและคณะ ร่วมเปิดโครงการ “นําวัคซีนมาหาประชาชน” เพื่อให้บริการเชิงรุกฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19 ในกลุ่ม 608และสร้างความรู้ความเข้าใจในการรับวัคซีนอย่างถูกต้องและปลอดภัย พร้อมบริการ “ตรวจกาย-สํารวจใจ” ในประชาชน บุคลากรทางการแพทย์ และอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน (อสม.) ที่เคยติดเชื้อโควิดและมีภาวะLong COVID ให้ได้รับการช่วยเหลือดูแลจิตใจ จนสามารถกลับไปชีวิตได้อย่างมีความสุข ปรับตัวเข้ากับวิถีชีวิตใหม่ได้ โดยมีบุคลากรสาธารณสุขและอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน เข้าร่วมโครงการจํานวน 600 คน นายวัชรพงศ์ กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายให้ทุกคนในประเทศไทยเข้าถึงวัคซีนที่มีคุณภาพ ปลอดภัย มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคโควิด 19 เพื่อลดอัตราการเจ็บป่วยและเสียชีวิต โดยเฉพาะประชาชนกลุ่มเสี่ยง คือ ผู้มีอายุ 60 ปี ขึ้นไปและผู้ที่มีโรคประจําตัว รวมถึงป้องกันระบบสุขภาพของประเทศ ปกป้องบุคลากรด่านหน้าจากการดูแลผู้ติดเชื้อ โดยโครงการ “นําวัคซีนมาหาประชาชน” เป็นหนึ่งในการส่งเสริมให้ประชาชนได้รับวัคซีนอย่างครอบคลุม เพิ่มศักยภาพหน่วยบริการด้านสาธารณสุขในทุกระดับ เพิ่มกําลังในการให้บริการประชาชนทั้งเชิงรุกและเชิงรับ ผ่านกลไก 3 หมอ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการวัคซีนได้รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง 608ที่ยังไม่ได้รับวัคซีน ส่วนประชาชนบางรายที่ขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องวัคซีนที่ถูกต้อง ทําให้ปฏิเสธการฉีดวัคซีน กรมสุขภาพจิตได้พัฒนาเครื่องมือMI (Motivation Interviewing) หรือการให้คําปรึกษาแบบโน้มน้าวใจด้วยการพูดคุยทําให้เห็นถึงคุณค่าและประโยชน์ของการฉีดวัคซีน จนยอมรับการฉีดวัคซีนได้ในที่สุด ด้านแพทย์หญิงอัมพร กล่าวว่า โรคโควิด 19 นอกจากผลกระทบทางกายแล้ว ยังมีผลกระทบทางใจที่มีแนวโน้มจะเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น จากข้อมูลพบว่าประชาชนมีความเครียด มีภาวะหมดไฟ ภาวะซึมเศร้าและมีความคิดทําร้ายตนเองเพิ่มสูงขึ้นอย่างชัดเจน ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากปัจจัยทางสังคม สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และข้อจํากัดในการปรับตัวต่อวิถีNew Normal กรมสุขภาพจิตจึงมีการดูแลจิตใจบุคลากรสาธารณสุขและอาสาสมัครสาธารณสุขที่มีภาวะ Long COVID โดยประเมินความสุขด้วยเครื่อง Smart Pulse ซึ่งใน จ.สระบุรี ดําเนินการแล้วใน อ.ดอนพุด และ อ.หนองโดน จํานวน 10 คน พบมีความเครียด 4 คน ปกติ 6 คน สามารถให้การช่วยเหลือเบื้องต้นด้วยการปฐมพยาบาลทางใจ และมีแผนดําเนินการต่อใน อ.หนองแค อ.วิหารแดง และอ.หนองแซง ต่อไป “ผลกระทบทางจิตใจที่มีแนวโน้มเพิ่มความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ต้องอาศัยความร่วมมือของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนและทุกระดับ ใช้ทั้งศักยภาพและสายสัมพันธ์ในชุมชนร่วมกันสร้างความรู้สึกปลอดภัยและสร้างความเข้าใจให้โอกาสกันและกัน เพื่อนําไปสู่การมีพลังใจที่จะก้าวผ่านวิกฤตการระบาดในครั้งนี้ไปด้วยกัน” แพทย์หญิงอัมพร กล่าว ************************************ 15 มีนาคม 2565
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-เลขานุการ รมว.สธ. คิกออฟโครงการ “นำวัคซีนมาหาประชาชน” ที่ จ.สระบุรี วันอังคารที่ 15 มีนาคม 2565 เลขานุการ รมว.สธ. คิกออฟโครงการ “นําวัคซีนมาหาประชาชน” ที่ จ.สระบุรี เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข คิกออฟโครงการ “นําวัคซีนมาหาประชาชน” จังหวัดสระบุรี ลงพื้นที่เชิงรุกสร้างวัคซีนใจในชุมชน ชักชวนกลุ่มเสี่ยงเข้าถึงการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19 พร้อมให้บริการ “ตรวจกาย-สํารวจใจ” เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข คิกออฟโครงการ “นําวัคซีนมาหาประชาชน” จังหวัดสระบุรี ลงพื้นที่เชิงรุกสร้างวัคซีนใจในชุมชน ชักชวนกลุ่มเสี่ยงเข้าถึงการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19 พร้อมให้บริการ “ตรวจกาย-สํารวจใจ” ในประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์ ลดผลกระทบจากภาวะLong COVID วันนี้ (15 มีนาคม 2565) ที่เทศบาลตําบลหินกอง อ.หนองแค จ.สระบุรี นายวัชรพงศ์ คูวิจิตรสุวรรณ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิตและคณะ ร่วมเปิดโครงการ “นําวัคซีนมาหาประชาชน” เพื่อให้บริการเชิงรุกฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19 ในกลุ่ม 608และสร้างความรู้ความเข้าใจในการรับวัคซีนอย่างถูกต้องและปลอดภัย พร้อมบริการ “ตรวจกาย-สํารวจใจ” ในประชาชน บุคลากรทางการแพทย์ และอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน (อสม.) ที่เคยติดเชื้อโควิดและมีภาวะLong COVID ให้ได้รับการช่วยเหลือดูแลจิตใจ จนสามารถกลับไปชีวิตได้อย่างมีความสุข ปรับตัวเข้ากับวิถีชีวิตใหม่ได้ โดยมีบุคลากรสาธารณสุขและอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน เข้าร่วมโครงการจํานวน 600 คน นายวัชรพงศ์ กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายให้ทุกคนในประเทศไทยเข้าถึงวัคซีนที่มีคุณภาพ ปลอดภัย มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคโควิด 19 เพื่อลดอัตราการเจ็บป่วยและเสียชีวิต โดยเฉพาะประชาชนกลุ่มเสี่ยง คือ ผู้มีอายุ 60 ปี ขึ้นไปและผู้ที่มีโรคประจําตัว รวมถึงป้องกันระบบสุขภาพของประเทศ ปกป้องบุคลากรด่านหน้าจากการดูแลผู้ติดเชื้อ โดยโครงการ “นําวัคซีนมาหาประชาชน” เป็นหนึ่งในการส่งเสริมให้ประชาชนได้รับวัคซีนอย่างครอบคลุม เพิ่มศักยภาพหน่วยบริการด้านสาธารณสุขในทุกระดับ เพิ่มกําลังในการให้บริการประชาชนทั้งเชิงรุกและเชิงรับ ผ่านกลไก 3 หมอ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการวัคซีนได้รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง 608ที่ยังไม่ได้รับวัคซีน ส่วนประชาชนบางรายที่ขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องวัคซีนที่ถูกต้อง ทําให้ปฏิเสธการฉีดวัคซีน กรมสุขภาพจิตได้พัฒนาเครื่องมือMI (Motivation Interviewing) หรือการให้คําปรึกษาแบบโน้มน้าวใจด้วยการพูดคุยทําให้เห็นถึงคุณค่าและประโยชน์ของการฉีดวัคซีน จนยอมรับการฉีดวัคซีนได้ในที่สุด ด้านแพทย์หญิงอัมพร กล่าวว่า โรคโควิด 19 นอกจากผลกระทบทางกายแล้ว ยังมีผลกระทบทางใจที่มีแนวโน้มจะเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น จากข้อมูลพบว่าประชาชนมีความเครียด มีภาวะหมดไฟ ภาวะซึมเศร้าและมีความคิดทําร้ายตนเองเพิ่มสูงขึ้นอย่างชัดเจน ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากปัจจัยทางสังคม สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และข้อจํากัดในการปรับตัวต่อวิถีNew Normal กรมสุขภาพจิตจึงมีการดูแลจิตใจบุคลากรสาธารณสุขและอาสาสมัครสาธารณสุขที่มีภาวะ Long COVID โดยประเมินความสุขด้วยเครื่อง Smart Pulse ซึ่งใน จ.สระบุรี ดําเนินการแล้วใน อ.ดอนพุด และ อ.หนองโดน จํานวน 10 คน พบมีความเครียด 4 คน ปกติ 6 คน สามารถให้การช่วยเหลือเบื้องต้นด้วยการปฐมพยาบาลทางใจ และมีแผนดําเนินการต่อใน อ.หนองแค อ.วิหารแดง และอ.หนองแซง ต่อไป “ผลกระทบทางจิตใจที่มีแนวโน้มเพิ่มความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ต้องอาศัยความร่วมมือของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนและทุกระดับ ใช้ทั้งศักยภาพและสายสัมพันธ์ในชุมชนร่วมกันสร้างความรู้สึกปลอดภัยและสร้างความเข้าใจให้โอกาสกันและกัน เพื่อนําไปสู่การมีพลังใจที่จะก้าวผ่านวิกฤตการระบาดในครั้งนี้ไปด้วยกัน” แพทย์หญิงอัมพร กล่าว ************************************ 15 มีนาคม 2565
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/52549
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สงกรานต์ปีนี้ปลอดภัย ห่างไกลโควิด
วันจันทร์ที่ 4 เมษายน 2565 สงกรานต์ปีนี้ปลอดภัย ห่างไกลโควิด ..... มาร่วมกันทําให้สงกรานต์ปีนี้ปลอดภัย ห่างไกลโควิด ทั้ง “ก่อน - ระหว่าง - หลัง” เทศกาลสงกรานต์ ขอให้เตรียมตัวและปฏิบัติตามมาตรการทางสาธารณสุข เพื่อความปลอดภัยของตนเองและครอบครัว #ไทยคู่ฟ้า #ร่วมต้านโควิด19
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สงกรานต์ปีนี้ปลอดภัย ห่างไกลโควิด วันจันทร์ที่ 4 เมษายน 2565 สงกรานต์ปีนี้ปลอดภัย ห่างไกลโควิด ..... มาร่วมกันทําให้สงกรานต์ปีนี้ปลอดภัย ห่างไกลโควิด ทั้ง “ก่อน - ระหว่าง - หลัง” เทศกาลสงกรานต์ ขอให้เตรียมตัวและปฏิบัติตามมาตรการทางสาธารณสุข เพื่อความปลอดภัยของตนเองและครอบครัว #ไทยคู่ฟ้า #ร่วมต้านโควิด19
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/53264
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรี - ครม.เยี่ยมชมกิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์งานแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมชุมชนไทย CCPOT GRAND EXPOSITION วันที่ 16 - 20 ก.พ.นี้ที่ศูนย์การค้าสยามพารากอน
วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ 2565 นายกรัฐมนตรี - ครม.เยี่ยมชมกิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์งานแสดงและจําหน่ายผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมชุมชนไทย CCPOT GRAND EXPOSITION วันที่ 16 - 20 ก.พ.นี้ที่ศูนย์การค้าสยามพารากอน นายกรัฐมนตรี-ครม.เยี่ยมชมกิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์งานแสดงและจําหน่ายผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมชุมชนไทย CCPOT GRAND EXPOSITION วันที่ 16 - 20 ก.พ.นี้ที่ศูนย์การค้าสยามพารากอน นายกรัฐมนตรี-ครม.เยี่ยมชมกิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์งานแสดงและจําหน่ายผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมชุมชนไทย CCPOT GRAND EXPOSITION วันที่ 16 - 20 ก.พ.นี้ที่ศูนย์การค้าสยามพารากอน โชว์ผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์จากทุนวัฒนธรรมชาติ CCPOT และ ICHAMP กว่า 5,000 รายการ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 08.30 น. ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม พร้อมด้วย นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม และผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม ร่วมให้การต้อนรับ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และครม.พร้อมทั้งนําชมกิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์งานแสดงและจําหน่ายผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมชุมชนไทย (CCPOT GRAND EXPOSITION) ประกอบด้วยนิทรรศการและตัวอย่างผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมชุมชนไทย (CCPOT) ซึ่งงานดังกล่าวจัดขึ้นระหว่างวันที่ 16 - 20 กุมภาพันธ์ 2565 จัดขึ้นที่ศูนย์การค้าสยามพารากอน ณ ตึกสันติไมตรี ทําเนียบรัฐบาล นายอิทธิพล กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรม(วธ.)มุ่งขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG และผลักดัน "Soft Power" ความเป็นไทย เช่น งานฝีมือและหัตถกรรม ทัศนศิลป์ การออกแบบ แฟชั่น เป็นต้น และอุตสาหกรรมวัฒนธรรมที่มีศักยภาพ 5F เสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากและฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ตามนโยบายรัฐบาล และปีนี้วธ.มีวิสัยทัศน์ใหม่ คือ “วัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์ มีบทบาทนําในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทย” และปรับเปลี่ยนภารกิจทั้งการสร้างคุณค่าทางสังคมและมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กลายเป็นกระทรวงสังคมกึ่งเศรษฐกิจ จึงมีนโยบายส่งเสริมการนําวัฒนธรรมมาสร้างเศรษฐกิจด้วยการพัฒนายกระดับสินค้าและบริการทางวัฒนธรรม ซึ่งการดําเนินการส่วนหนึ่งได้มุ่งพัฒนาศักยภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่อุตสาหกรรมวัฒนธรรมและขยายตลาดสินค้าและบริการทางวัฒนธรรมทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เป็นสินทรัพย์ทางวัฒนธรรมและทรัพย์สินทางปัญญาบนหลักการของโมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG ดังนั้น รัฐบาล โดยวธ.จึงได้ดําเนินการโครงการกระตุ้นและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมชุมชนไทย (Community Cultural Product of Thailand : CCPOT) ที่มีเป้าหมายในการยกระดับสินค้าและบริการของชุมชนในภาพลักษณ์ใหม่ ให้เป็นที่สนใจของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ โดยเน้นการใช้ทุนชุมชนที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาผสานกับความคิดสร้างสรรค์ ภายใต้แนวคิด“สร้างความโดดเด่นและแตกต่าง” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวอีกว่า สําหรับผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมชุมชนไทย (CCPOT) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1.ผลิตภัณฑ์จากทุนทางวัฒนธรรมของชุมชน หรือ Community Cultural Product of Thailand : CCPOT ระดับเอก(สินค้าระดับพรีเมียม) และระดับโท(สินค้าทั่วไป) 2. ผลิตภัณฑ์ที่พัฒนามากจากมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่ได้รับการขึ้นทะเบียน หรือ Intangible Cultural Heritage Art Made Product : ICHAMP ระดับเพชร(สินค้าระดับพรีเมียม) และระดับทอง (สินค้าทั่วไป) รวมทั้งสิ้นกว่า 5,000 รายการ อาทิ ผลิตภัณฑ์ผ้าไทย ผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายและเสื้อผ้า เครื่องประดับ ผลิตภัณฑ์หัตถศิลป์ เช่น เฟอร์นิเจอร์ ของใช้ งานฝีมือ งานจักสาน ของที่ระลึก ฯลฯ ซึ่งนับเป็นการพลิกโฉมผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย ที่นําเสนอสินค้าสร้างสรรค์ใหม่ที่มียังไม่เคยปรากฏที่ไหนมาก่อน ทั้งนี้ เป็นการพัฒนาร่วมกันระหว่างชุมชน ผู้ประกอบการด้านวัฒนธรรมและนักออกแบบ โดยมีผู้เชี่ยวชาญทั้งด้านการออกแบบ การตลาดคอยให้คําปรึกษาอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการตลาดทั้งในและต่างประเทศให้ได้มากที่สุด อีกทั้งยังช่วยพลิกฟื้นชุมชน ผู้ประกอบการทางวัฒนธรรมให้กลับมามีรายได้ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) นายอิทธิพล กล่าวด้วยว่า วธ.ได้จัดเตรียมจัดงานแสดงและจําหน่ายผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมชุมชนไทย CCPOT GRAND EXPOSITION ครั้งยิ่งใหญ่ เพื่อให้ชุมชนและผู้ประกอบการด้านวัฒนธรรมได้ใช้งานนี้เป็นเวทีในการขยายโอกาสทางการตลาด พัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน กระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากด้วยผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมชุมชนไทยโดยงานแสดงและจําหน่ายผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมชุมชนไทย (CCPOT GRAND EXPOSITION) จัดขึ้น 5 วัน ระหว่างวันที่ 16 - 20 กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ ใช้พื้นที่ 2 โซนของศูนย์การค้าสยามพารากอน คือ รอยัล พารากอน ฮอลล์ ชั้น 5 และ พาร์ค พารากอน ชั้น M ศูนย์การค้าสยามพารากอน โดยได้จัดแบ่งกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่จะนํามาจัดแสดงและจัดจําหน่ายในแต่ละโซน ประกอบด้วยบริเวณพาร์ค พารากอน ชั้น M จัดแสดงและจําหน่ายผลิตภัณฑ์ CCPOT ขนาดเล็กและผลิตภัณฑ์อาหาร มีผลิตภัณฑ์ CCPOT ระดับโท ผลิตภัณฑ์ ICHAMP ระดับทอง รวมถึงผลิตภัณฑ์อาหารพื้นถิ่นแปรรูปจากทุกภูมิภาคของประเทศไทย อาหารประเภทสมุนไพรปลอดสารพิษ และบริเวณ รอยัล พารากอน ฮอลล์ ชั้น 5 จัดแสดงและจําหน่ายผลิตภัณฑ์ศิลปวัฒนธรรมไทยที่มีความโดดเด่น ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ CCPOT ระดับเอก ผลิตภัณฑ์ CCPOT ระดับโท ผลิตภัณฑ์ ICHAMP ระดับเพชร และผลิตภัณฑ์ ICHAMP ระดับทอง อาทิ ผลิตภัณฑ์ผ้าไทย ผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายและเสื้อผ้า ผลิตภัณฑ์เอกอรรถหัตถศิลป์ เช่น เฟอร์นิเจอร์ ของใช้ งานฝีมือ งานจักสานของที่ระลึก ฯลฯ นอกจากนี้ ยังสร้างประสบการณ์รับชมงานแสดงสินค้าทางเลือกใหม่ในรูปแบบไฮบริด (Hybrid) ที่ผสมผสานกันระหว่างการจัดงานในสถานที่จริง (on-site) และออนไลน์ (online) เปิดโอกาสให้กลุ่ม ผู้ส่งออก/ผู้นําเข้า/ตัวแทนจําหน่ายสินค้าและนักธุรกิจจากต่างประเทศได้มีโอกาสเข้าชมงานแสดงสินค้าเสมือนจริงในรูปแบบ Online Virtual Exhibition ที่ให้ความรู้สึกเหมือนมาเดินชมงานจริงและสามารถเจรจาจับคู่ธุรกิจสร้างมูลค่าทางการค้าให้เกิดขึ้น โดยได้ประชาสัมพันธ์ไปยังกลุ่มผู้ซื้อเป้าหมายกว่าหมื่นรายเน้นผู้ซื้อรายใหญ่ที่มีความสนใจในสินค้าวัฒนธรรมชุมชน คาดว่าจะเกิดการเจรจาจับคู่ธุรกิจในงานได้ไม่น้อยกว่า 200 คู่ และช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากของประเทศได้ ทั้งนี้ วธ.ขอเชิญประชาชนร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุน ส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนในงานแสดงและจําหน่ายผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมชุมชนไทย CCPOT GRAND EXPOSITION ซึ่งการจัดงานดังกล่าวปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด โดยดูข้อมูลเพิ่มเติมหรือรับชมงานในรูปแบบ Online Virtual Exhibition ได้ที่เว็บไซต์ www.ccpot.in.th และสายด่วนวัฒนธรรม 1765
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรี - ครม.เยี่ยมชมกิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์งานแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมชุมชนไทย CCPOT GRAND EXPOSITION วันที่ 16 - 20 ก.พ.นี้ที่ศูนย์การค้าสยามพารากอน วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ 2565 นายกรัฐมนตรี - ครม.เยี่ยมชมกิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์งานแสดงและจําหน่ายผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมชุมชนไทย CCPOT GRAND EXPOSITION วันที่ 16 - 20 ก.พ.นี้ที่ศูนย์การค้าสยามพารากอน นายกรัฐมนตรี-ครม.เยี่ยมชมกิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์งานแสดงและจําหน่ายผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมชุมชนไทย CCPOT GRAND EXPOSITION วันที่ 16 - 20 ก.พ.นี้ที่ศูนย์การค้าสยามพารากอน นายกรัฐมนตรี-ครม.เยี่ยมชมกิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์งานแสดงและจําหน่ายผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมชุมชนไทย CCPOT GRAND EXPOSITION วันที่ 16 - 20 ก.พ.นี้ที่ศูนย์การค้าสยามพารากอน โชว์ผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์จากทุนวัฒนธรรมชาติ CCPOT และ ICHAMP กว่า 5,000 รายการ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 08.30 น. ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม พร้อมด้วย นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม และผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม ร่วมให้การต้อนรับ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และครม.พร้อมทั้งนําชมกิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์งานแสดงและจําหน่ายผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมชุมชนไทย (CCPOT GRAND EXPOSITION) ประกอบด้วยนิทรรศการและตัวอย่างผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมชุมชนไทย (CCPOT) ซึ่งงานดังกล่าวจัดขึ้นระหว่างวันที่ 16 - 20 กุมภาพันธ์ 2565 จัดขึ้นที่ศูนย์การค้าสยามพารากอน ณ ตึกสันติไมตรี ทําเนียบรัฐบาล นายอิทธิพล กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรม(วธ.)มุ่งขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG และผลักดัน "Soft Power" ความเป็นไทย เช่น งานฝีมือและหัตถกรรม ทัศนศิลป์ การออกแบบ แฟชั่น เป็นต้น และอุตสาหกรรมวัฒนธรรมที่มีศักยภาพ 5F เสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากและฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ตามนโยบายรัฐบาล และปีนี้วธ.มีวิสัยทัศน์ใหม่ คือ “วัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์ มีบทบาทนําในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทย” และปรับเปลี่ยนภารกิจทั้งการสร้างคุณค่าทางสังคมและมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กลายเป็นกระทรวงสังคมกึ่งเศรษฐกิจ จึงมีนโยบายส่งเสริมการนําวัฒนธรรมมาสร้างเศรษฐกิจด้วยการพัฒนายกระดับสินค้าและบริการทางวัฒนธรรม ซึ่งการดําเนินการส่วนหนึ่งได้มุ่งพัฒนาศักยภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่อุตสาหกรรมวัฒนธรรมและขยายตลาดสินค้าและบริการทางวัฒนธรรมทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เป็นสินทรัพย์ทางวัฒนธรรมและทรัพย์สินทางปัญญาบนหลักการของโมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG ดังนั้น รัฐบาล โดยวธ.จึงได้ดําเนินการโครงการกระตุ้นและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมชุมชนไทย (Community Cultural Product of Thailand : CCPOT) ที่มีเป้าหมายในการยกระดับสินค้าและบริการของชุมชนในภาพลักษณ์ใหม่ ให้เป็นที่สนใจของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ โดยเน้นการใช้ทุนชุมชนที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาผสานกับความคิดสร้างสรรค์ ภายใต้แนวคิด“สร้างความโดดเด่นและแตกต่าง” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวอีกว่า สําหรับผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมชุมชนไทย (CCPOT) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1.ผลิตภัณฑ์จากทุนทางวัฒนธรรมของชุมชน หรือ Community Cultural Product of Thailand : CCPOT ระดับเอก(สินค้าระดับพรีเมียม) และระดับโท(สินค้าทั่วไป) 2. ผลิตภัณฑ์ที่พัฒนามากจากมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่ได้รับการขึ้นทะเบียน หรือ Intangible Cultural Heritage Art Made Product : ICHAMP ระดับเพชร(สินค้าระดับพรีเมียม) และระดับทอง (สินค้าทั่วไป) รวมทั้งสิ้นกว่า 5,000 รายการ อาทิ ผลิตภัณฑ์ผ้าไทย ผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายและเสื้อผ้า เครื่องประดับ ผลิตภัณฑ์หัตถศิลป์ เช่น เฟอร์นิเจอร์ ของใช้ งานฝีมือ งานจักสาน ของที่ระลึก ฯลฯ ซึ่งนับเป็นการพลิกโฉมผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย ที่นําเสนอสินค้าสร้างสรรค์ใหม่ที่มียังไม่เคยปรากฏที่ไหนมาก่อน ทั้งนี้ เป็นการพัฒนาร่วมกันระหว่างชุมชน ผู้ประกอบการด้านวัฒนธรรมและนักออกแบบ โดยมีผู้เชี่ยวชาญทั้งด้านการออกแบบ การตลาดคอยให้คําปรึกษาอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการตลาดทั้งในและต่างประเทศให้ได้มากที่สุด อีกทั้งยังช่วยพลิกฟื้นชุมชน ผู้ประกอบการทางวัฒนธรรมให้กลับมามีรายได้ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) นายอิทธิพล กล่าวด้วยว่า วธ.ได้จัดเตรียมจัดงานแสดงและจําหน่ายผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมชุมชนไทย CCPOT GRAND EXPOSITION ครั้งยิ่งใหญ่ เพื่อให้ชุมชนและผู้ประกอบการด้านวัฒนธรรมได้ใช้งานนี้เป็นเวทีในการขยายโอกาสทางการตลาด พัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน กระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากด้วยผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมชุมชนไทยโดยงานแสดงและจําหน่ายผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมชุมชนไทย (CCPOT GRAND EXPOSITION) จัดขึ้น 5 วัน ระหว่างวันที่ 16 - 20 กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ ใช้พื้นที่ 2 โซนของศูนย์การค้าสยามพารากอน คือ รอยัล พารากอน ฮอลล์ ชั้น 5 และ พาร์ค พารากอน ชั้น M ศูนย์การค้าสยามพารากอน โดยได้จัดแบ่งกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่จะนํามาจัดแสดงและจัดจําหน่ายในแต่ละโซน ประกอบด้วยบริเวณพาร์ค พารากอน ชั้น M จัดแสดงและจําหน่ายผลิตภัณฑ์ CCPOT ขนาดเล็กและผลิตภัณฑ์อาหาร มีผลิตภัณฑ์ CCPOT ระดับโท ผลิตภัณฑ์ ICHAMP ระดับทอง รวมถึงผลิตภัณฑ์อาหารพื้นถิ่นแปรรูปจากทุกภูมิภาคของประเทศไทย อาหารประเภทสมุนไพรปลอดสารพิษ และบริเวณ รอยัล พารากอน ฮอลล์ ชั้น 5 จัดแสดงและจําหน่ายผลิตภัณฑ์ศิลปวัฒนธรรมไทยที่มีความโดดเด่น ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ CCPOT ระดับเอก ผลิตภัณฑ์ CCPOT ระดับโท ผลิตภัณฑ์ ICHAMP ระดับเพชร และผลิตภัณฑ์ ICHAMP ระดับทอง อาทิ ผลิตภัณฑ์ผ้าไทย ผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายและเสื้อผ้า ผลิตภัณฑ์เอกอรรถหัตถศิลป์ เช่น เฟอร์นิเจอร์ ของใช้ งานฝีมือ งานจักสานของที่ระลึก ฯลฯ นอกจากนี้ ยังสร้างประสบการณ์รับชมงานแสดงสินค้าทางเลือกใหม่ในรูปแบบไฮบริด (Hybrid) ที่ผสมผสานกันระหว่างการจัดงานในสถานที่จริง (on-site) และออนไลน์ (online) เปิดโอกาสให้กลุ่ม ผู้ส่งออก/ผู้นําเข้า/ตัวแทนจําหน่ายสินค้าและนักธุรกิจจากต่างประเทศได้มีโอกาสเข้าชมงานแสดงสินค้าเสมือนจริงในรูปแบบ Online Virtual Exhibition ที่ให้ความรู้สึกเหมือนมาเดินชมงานจริงและสามารถเจรจาจับคู่ธุรกิจสร้างมูลค่าทางการค้าให้เกิดขึ้น โดยได้ประชาสัมพันธ์ไปยังกลุ่มผู้ซื้อเป้าหมายกว่าหมื่นรายเน้นผู้ซื้อรายใหญ่ที่มีความสนใจในสินค้าวัฒนธรรมชุมชน คาดว่าจะเกิดการเจรจาจับคู่ธุรกิจในงานได้ไม่น้อยกว่า 200 คู่ และช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากของประเทศได้ ทั้งนี้ วธ.ขอเชิญประชาชนร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุน ส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนในงานแสดงและจําหน่ายผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมชุมชนไทย CCPOT GRAND EXPOSITION ซึ่งการจัดงานดังกล่าวปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด โดยดูข้อมูลเพิ่มเติมหรือรับชมงานในรูปแบบ Online Virtual Exhibition ได้ที่เว็บไซต์ www.ccpot.in.th และสายด่วนวัฒนธรรม 1765
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/51352
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ครม.เห็นชอบ 5 เอกสารผลลัพธ์ การประชุมกรอบความร่วมมือแม่โขง – ล้านช้าง ขับเคลื่อนความร่วมมือหลากหลายมิติ
วันอังคารที่ 28 มิถุนายน 2565 ครม.เห็นชอบ 5 เอกสารผลลัพธ์ การประชุมกรอบความร่วมมือแม่โขง – ล้านช้าง ขับเคลื่อนความร่วมมือหลากหลายมิติ ครม.เห็นชอบ 5 เอกสารผลลัพธ์ การประชุมกรอบความร่วมมือแม่โขง – ล้านช้าง ขับเคลื่อนความร่วมมือหลากหลายมิติ นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2565 ว่า ครม.เห็นชอบเอกสารผลลัพธ์การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง- ล้านช้าง ครั้งที่ 7 รวม 5 ฉบับ ซึ่งจะมีการรับรองเอกสารผลลัพธ์ในการประชุมที่จัดขึ้นในวันที่ 4 กรกฎาคม 2565 ที่เมืองพุกาม ประเทศเมียนมา ทั้งนี้ การจัดตั้งกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง (Mekong-Lancang Cooperation: MLC) มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความเชื่อมโยงและการพัฒนาอย่างยั่งยืนในอนุภูมิภาคลุ่มน้ําโขง และลดความเหลื่อมล้ําด้านการพัฒนาระหว่างประเทศ ปัจจุบันมีสมาชิก 6 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนามไทย และจีน สําหรับร่างเอกสารผลลัพธ์ทั้ง 5 ฉบับ มีสาระสําคัญเป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันในระดับรัฐมนตรีระหว่างประเทศสมาชิก เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในด้านต่างๆอาทิ การบริหารจัดการภัยพิบัติ การเกษตรและความมั่นคงทางอาหาร การพัฒนาระบบศุลกากรกากร และการร่วมมือทางด้านวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ ฉบับแรก แถลงข่าวร่วมของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง- ล้านช้าง ครั้งที่ 7 มีสาระสําคัญเป็นการยืนยันหลักการและเจตนารมณ์ทางการเมืองของประเทศสมาชิกในการรักษาความร่วมมือภายใต้กรอบความร่วมมือในหลากหลายสาขา เช่น การแก้ไขปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ การฟื้นฟูเศรษฐกิจภายหลังสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 การบริหารจัดการทรัพยากรน้ํา การเกษตร สิ่งแวดล้อม เป็นต้น ฉบับที่สอง แถลงการณ์ร่วมเพื่อการส่งเสริมความร่วมมือด้านการบริหารจัดการภัยพิบัติภายใต้กรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง โดยร่วมกันจัดตั้งกลไกความร่วมมือด้านการบริหารจัดการภัยพิบัติ ฉบับที่สาม แถลงการณ์ร่วมการส่งเสริมความร่วมมือด้านการเกษตรและความมั่นคงทางอาหารภายใต้กรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง โดยส่งเสริมความร่วมมือด้านการเกษตรและความมั่นคงทางอาหารผ่านการเสริมสร้างผลิตภาพการผลิต ลดความฟุ่มเฟือย ส่งเสริมความร่วมมือด้านมาตรฐาน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงการอํานวยความสะดวกการค้าสินค้าเกษตร ฉบับที่สี่ แถลงการณ์ร่วมเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านศุลกากร เพื่อการส่งเสริมการค้าและการอํานวยความสะดวกด้านพิธีการศุลกากรภายใต้กรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง โดยสนับสนุนให้หน่วยงานด้านศุลกากรของประเทศสมาชิกส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนาระบบศุลกากร ด่านและความเชื่อมโยงอัจฉริยะ รวมถึงการบังคับใช้กฎหมาย และการอํานวยความสะดวกพิธีการศุลกากร ฉบับที่ห้า แถลงการณ์ร่วมเพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนและการเรียนรู้ซึ่งกันและกันระหว่างอารยธรรมภายใต้กรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง โดยส่งเสริมการแลกเปลี่ยนระดับประชาชนและความร่วมมือด้านวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ครม.เห็นชอบ 5 เอกสารผลลัพธ์ การประชุมกรอบความร่วมมือแม่โขง – ล้านช้าง ขับเคลื่อนความร่วมมือหลากหลายมิติ วันอังคารที่ 28 มิถุนายน 2565 ครม.เห็นชอบ 5 เอกสารผลลัพธ์ การประชุมกรอบความร่วมมือแม่โขง – ล้านช้าง ขับเคลื่อนความร่วมมือหลากหลายมิติ ครม.เห็นชอบ 5 เอกสารผลลัพธ์ การประชุมกรอบความร่วมมือแม่โขง – ล้านช้าง ขับเคลื่อนความร่วมมือหลากหลายมิติ นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2565 ว่า ครม.เห็นชอบเอกสารผลลัพธ์การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง- ล้านช้าง ครั้งที่ 7 รวม 5 ฉบับ ซึ่งจะมีการรับรองเอกสารผลลัพธ์ในการประชุมที่จัดขึ้นในวันที่ 4 กรกฎาคม 2565 ที่เมืองพุกาม ประเทศเมียนมา ทั้งนี้ การจัดตั้งกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง (Mekong-Lancang Cooperation: MLC) มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความเชื่อมโยงและการพัฒนาอย่างยั่งยืนในอนุภูมิภาคลุ่มน้ําโขง และลดความเหลื่อมล้ําด้านการพัฒนาระหว่างประเทศ ปัจจุบันมีสมาชิก 6 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนามไทย และจีน สําหรับร่างเอกสารผลลัพธ์ทั้ง 5 ฉบับ มีสาระสําคัญเป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันในระดับรัฐมนตรีระหว่างประเทศสมาชิก เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในด้านต่างๆอาทิ การบริหารจัดการภัยพิบัติ การเกษตรและความมั่นคงทางอาหาร การพัฒนาระบบศุลกากรกากร และการร่วมมือทางด้านวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ ฉบับแรก แถลงข่าวร่วมของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง- ล้านช้าง ครั้งที่ 7 มีสาระสําคัญเป็นการยืนยันหลักการและเจตนารมณ์ทางการเมืองของประเทศสมาชิกในการรักษาความร่วมมือภายใต้กรอบความร่วมมือในหลากหลายสาขา เช่น การแก้ไขปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ การฟื้นฟูเศรษฐกิจภายหลังสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 การบริหารจัดการทรัพยากรน้ํา การเกษตร สิ่งแวดล้อม เป็นต้น ฉบับที่สอง แถลงการณ์ร่วมเพื่อการส่งเสริมความร่วมมือด้านการบริหารจัดการภัยพิบัติภายใต้กรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง โดยร่วมกันจัดตั้งกลไกความร่วมมือด้านการบริหารจัดการภัยพิบัติ ฉบับที่สาม แถลงการณ์ร่วมการส่งเสริมความร่วมมือด้านการเกษตรและความมั่นคงทางอาหารภายใต้กรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง โดยส่งเสริมความร่วมมือด้านการเกษตรและความมั่นคงทางอาหารผ่านการเสริมสร้างผลิตภาพการผลิต ลดความฟุ่มเฟือย ส่งเสริมความร่วมมือด้านมาตรฐาน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงการอํานวยความสะดวกการค้าสินค้าเกษตร ฉบับที่สี่ แถลงการณ์ร่วมเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านศุลกากร เพื่อการส่งเสริมการค้าและการอํานวยความสะดวกด้านพิธีการศุลกากรภายใต้กรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง โดยสนับสนุนให้หน่วยงานด้านศุลกากรของประเทศสมาชิกส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนาระบบศุลกากร ด่านและความเชื่อมโยงอัจฉริยะ รวมถึงการบังคับใช้กฎหมาย และการอํานวยความสะดวกพิธีการศุลกากร ฉบับที่ห้า แถลงการณ์ร่วมเพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนและการเรียนรู้ซึ่งกันและกันระหว่างอารยธรรมภายใต้กรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง โดยส่งเสริมการแลกเปลี่ยนระดับประชาชนและความร่วมมือด้านวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/56256
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ.-WHO สรุปถอดบทเรียนไทยรับมือวิกฤต “โควิด” สำเร็จจาก 5 ปัจจัย เตรียมแถลงในเวทีโลกปลาย พ.ค.นี้
วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม 2565 สธ.-WHO สรุปถอดบทเรียนไทยรับมือวิกฤต “โควิด” สําเร็จจาก 5 ปัจจัย เตรียมแถลงในเวทีโลกปลาย พ.ค.นี้ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมผู้แทน WHO ประจําประเทศไทย สรุปผลการทบทวนการเตรียมความพร้อมกรณีภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและสุขภาพถ้วนหน้า (UHPR) ถอดบทเรียนความสําเร็จการรับมือวิกฤต "โควิด" ของไทย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมผู้แทนWHOประจําประเทศไทย สรุปผลการทบทวนการเตรียมความพร้อมกรณีภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและสุขภาพถ้วนหน้า (UHPR)ถอดบทเรียนความสําเร็จการรับมือวิกฤต "โควิด" ของไทย พบมาจาก 5 ปัจจัย ทั้งผู้บริหารประเทศ ระบบหลักประกันสุขภาพ/ปฐมภูมิ ความร่วมมือทุกภาคส่วน ประชาชนและชุมชนเข้มแข็ง และการใช้เทคโนโลยี แนะเพิ่มการดูแลเรื่องกลุ่มเปราะบาง ขยายการพึ่งพาตนเองด้านยา วัคซีน ชุดตรวจ และเวชภัณฑ์ เตรียมแถลงประสบการณ์ต่อเวทีโลกWHAปลาย พ.ค.นี้ วันนี้ (5 พฤษภาคม 2565) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และ นพ.จอส ฟอนเดลาร์ ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจําประเทศไทย แถลงผลสรุปการจัดกิจกรรมการทบทวนการเตรียมความพร้อมกรณีภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและสุขภาพถ้วนหน้า หรือUniversal Health and Preparedness Review (UHPR)ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 21-29 เมษายน 2565 นายอนุทินกล่าวว่า องค์การอนามัยโลก (WHO)เลือกประเทศไทยให้เป็นประเทศต้นแบบลําดับที่ 3 ในการนําร่องจัดกิจกรรมการทบทวนการเตรียมความพร้อมกรณีภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและสุขภาพถ้วนหน้า จากการรับมือการระบาดใหญ่ของโรคโควิด 19 เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ แนวปฏิบัติที่ดี และข้อเสนอแนะระหว่างประเทศสมาชิกองค์การอนามัยโลก ซึ่งข้อสรุปเบื้องต้นจากการจัดกิจกรรมฯ โดยคณะผู้เชี่ยวชาญองค์การอนามัยโลกและทีมประเทศไทย พบว่า ประเทศไทยมีการบริหารจัดการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขกรณีโควิด 19 เป็นอย่างดี มีความยืดหยุ่น ปรับตัวไปตามสถานการณ์ และเน้นการปฏิบัติได้จริง โดยพบปัจจัยสําคัญ คือ 1.มีการสนับสนุนโดยผู้บริหารระดับสูงที่กําหนดนโยบายประเทศ 2.ระบบสาธารณสุขไทยมีความเข้มแข็งจากการลงทุนในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและระบบปฐมภูมิมาอย่างต่อเนื่องกว่า 4 ทศวรรษ 3.มีความร่วมมือเชื่อมต่อทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม และภาคการศึกษา รวมถึง อสม. 4.มีกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมกับประชาชนและชุมชน และ 5.มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล นวัตกรรมและการวิจัยเพื่อการตัดสินใจบนพื้นฐานข้อมูล ส่วนอุปสรรคและความท้าทายที่ยังสามารถพัฒนาได้ คือ การบูรณาการข้อมูลจากหลายแหล่ง,การดูแลกลุ่มเปราะบาง เช่น แรงงาน ผู้อาศัยในชุมชนแออัด ให้เข้าถึงบริการสุขภาพมากขึ้น,การเตรียมความพร้อมรับภาวะฉุกเฉินในเขตเมืองและระบบปฐมภูมิ,การต่อยอดหรือสร้างความยั่งยืนในการใช้นวัตกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้น และการจัดการกับขยะทางการแพทย์หรือขยะติดเชื้อ โดยมีข้อเสนอให้เพิ่มการลงทุนเรื่องนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อให้สามารถใช้งานต่อเนื่อง พัฒนากําลังคนแบบสหสาขาและนํากลยุทธ์ที่ใช้ได้ดีไปเตรียมพร้อมรับมือการระบาดครั้งต่อไป ให้ความสําคัญกับการพัฒนาสุขภาพ สุขภาวะของประชาชนที่ครอบคลุมถึงกลุ่มเปราะบาง ยกระดับขีดความสามารถการพึ่งพาตนเองด้านวัคซีน ยา ชุดตรวจ และเวชภัณฑ์ พัฒนากลยุทธ์ในการบูรณาการข้อมูล รวมถึงค้นหาและบันทึกตัวอย่างที่ดี บทเรียนที่สําคัญในการจัดการกับการระบาดใหญ่เพื่อเผยแพร่ต่อไป “ประเทศไทยได้รับคําชมจากผู้เชี่ยวชาญองค์การอนามัยโลก ถึงนโยบายและมาตรการแนวทางการดําเนินงานดูแลประชาชน ทั้งการรักษาพยาบาลผู้ป่วยและการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19 ทางองค์การอนามัยโลก ระบุว่ายินดีสนับสนุนและร่วมทํางานกับประเทศไทย โดยขอให้ประเทศไทยจัดทํารายงานUHPRและเสนอต่อคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เพื่อขอความเห็นชอบรายงาน นอกจากนี้ ให้เตรียมการแถลงประสบการณ์UHPRในที่ประชุมWorld Health Assembly (WHA)ปลายเดือนพฤษภาคม 2565 และร่วมกับอีก 3 ประเทศนําร่องในการทบทวนปรับปรุงกระบวนการUHPRให้ดียิ่งขึ้นก่อนนําไปใช้ในประเทศอื่นๆ” นายอนุทินกล่าว ด้าน นพ.จอส กล่าวว่า หลักพื้นฐานสําคัญที่จะทําให้ประเทศใดๆ เตรียมพร้อมและตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขได้ดี จะต้องมี 1.ผู้นําทางการเมืองระดับสูงรับเรื่องเป็นพันธสัญญา 2.การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน และ 3.กรอบความรับผิดชอบ 3 ด้าน ได้แก่ สุขภาพถ้วนหน้า การเตรียมพร้อมตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน และสุขภาวะที่ดีขึ้นของประชากร นอกจากนี้ ความสําเร็จจะเกิดได้ขึ้นกับการนําไปสู่การลงมือปฏิบัติโดยถือเป็นเรื่องสําคัญเร่งด่วน ซึ่ง ดร.สมิลา อัสมา ผู้ช่วยผู้อํานวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก แสดงความชื่นชมที่รัฐบาลไทยได้ให้ความสําคัญอย่างยิ่งในเรื่องนี้ สําหรับกิจกรรมการทบทวนUHPRตลอดช่วงวันที่ 21-29 เมษายน 2565 มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องของการป้องกันควบคุมโรคโควิด 19 ในสถานประกอบการและผู้ประกันตน การดูแลแรงงานทุกเชื้อชาติ ติดตามการดําเนินงานในพื้นที่ชลบุรี และสมุทรสาคร กิจกรรมหน่วยงานเครือข่ายและชุมชนในกรุงเทพมหานคร มีการฝึกซ้อมแผนด้วยสถานการณ์สมมติ โดยหน่วยงานจากกระทรวงต่างๆ ที่ร่วมดําเนินมาตรการรับมือภาวะฉุกเฉินกรณีโรคโควิด 19และสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อการป้องกันควบคุมโรค ทําให้เห็นการประสานงานหลายภาคส่วนจนถึงในระดับชุมชน ******************************************5พฤษภาคม2565
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สธ.-WHO สรุปถอดบทเรียนไทยรับมือวิกฤต “โควิด” สำเร็จจาก 5 ปัจจัย เตรียมแถลงในเวทีโลกปลาย พ.ค.นี้ วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม 2565 สธ.-WHO สรุปถอดบทเรียนไทยรับมือวิกฤต “โควิด” สําเร็จจาก 5 ปัจจัย เตรียมแถลงในเวทีโลกปลาย พ.ค.นี้ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมผู้แทน WHO ประจําประเทศไทย สรุปผลการทบทวนการเตรียมความพร้อมกรณีภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและสุขภาพถ้วนหน้า (UHPR) ถอดบทเรียนความสําเร็จการรับมือวิกฤต "โควิด" ของไทย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมผู้แทนWHOประจําประเทศไทย สรุปผลการทบทวนการเตรียมความพร้อมกรณีภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและสุขภาพถ้วนหน้า (UHPR)ถอดบทเรียนความสําเร็จการรับมือวิกฤต "โควิด" ของไทย พบมาจาก 5 ปัจจัย ทั้งผู้บริหารประเทศ ระบบหลักประกันสุขภาพ/ปฐมภูมิ ความร่วมมือทุกภาคส่วน ประชาชนและชุมชนเข้มแข็ง และการใช้เทคโนโลยี แนะเพิ่มการดูแลเรื่องกลุ่มเปราะบาง ขยายการพึ่งพาตนเองด้านยา วัคซีน ชุดตรวจ และเวชภัณฑ์ เตรียมแถลงประสบการณ์ต่อเวทีโลกWHAปลาย พ.ค.นี้ วันนี้ (5 พฤษภาคม 2565) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และ นพ.จอส ฟอนเดลาร์ ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจําประเทศไทย แถลงผลสรุปการจัดกิจกรรมการทบทวนการเตรียมความพร้อมกรณีภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและสุขภาพถ้วนหน้า หรือUniversal Health and Preparedness Review (UHPR)ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 21-29 เมษายน 2565 นายอนุทินกล่าวว่า องค์การอนามัยโลก (WHO)เลือกประเทศไทยให้เป็นประเทศต้นแบบลําดับที่ 3 ในการนําร่องจัดกิจกรรมการทบทวนการเตรียมความพร้อมกรณีภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและสุขภาพถ้วนหน้า จากการรับมือการระบาดใหญ่ของโรคโควิด 19 เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ แนวปฏิบัติที่ดี และข้อเสนอแนะระหว่างประเทศสมาชิกองค์การอนามัยโลก ซึ่งข้อสรุปเบื้องต้นจากการจัดกิจกรรมฯ โดยคณะผู้เชี่ยวชาญองค์การอนามัยโลกและทีมประเทศไทย พบว่า ประเทศไทยมีการบริหารจัดการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขกรณีโควิด 19 เป็นอย่างดี มีความยืดหยุ่น ปรับตัวไปตามสถานการณ์ และเน้นการปฏิบัติได้จริง โดยพบปัจจัยสําคัญ คือ 1.มีการสนับสนุนโดยผู้บริหารระดับสูงที่กําหนดนโยบายประเทศ 2.ระบบสาธารณสุขไทยมีความเข้มแข็งจากการลงทุนในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและระบบปฐมภูมิมาอย่างต่อเนื่องกว่า 4 ทศวรรษ 3.มีความร่วมมือเชื่อมต่อทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม และภาคการศึกษา รวมถึง อสม. 4.มีกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมกับประชาชนและชุมชน และ 5.มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล นวัตกรรมและการวิจัยเพื่อการตัดสินใจบนพื้นฐานข้อมูล ส่วนอุปสรรคและความท้าทายที่ยังสามารถพัฒนาได้ คือ การบูรณาการข้อมูลจากหลายแหล่ง,การดูแลกลุ่มเปราะบาง เช่น แรงงาน ผู้อาศัยในชุมชนแออัด ให้เข้าถึงบริการสุขภาพมากขึ้น,การเตรียมความพร้อมรับภาวะฉุกเฉินในเขตเมืองและระบบปฐมภูมิ,การต่อยอดหรือสร้างความยั่งยืนในการใช้นวัตกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้น และการจัดการกับขยะทางการแพทย์หรือขยะติดเชื้อ โดยมีข้อเสนอให้เพิ่มการลงทุนเรื่องนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อให้สามารถใช้งานต่อเนื่อง พัฒนากําลังคนแบบสหสาขาและนํากลยุทธ์ที่ใช้ได้ดีไปเตรียมพร้อมรับมือการระบาดครั้งต่อไป ให้ความสําคัญกับการพัฒนาสุขภาพ สุขภาวะของประชาชนที่ครอบคลุมถึงกลุ่มเปราะบาง ยกระดับขีดความสามารถการพึ่งพาตนเองด้านวัคซีน ยา ชุดตรวจ และเวชภัณฑ์ พัฒนากลยุทธ์ในการบูรณาการข้อมูล รวมถึงค้นหาและบันทึกตัวอย่างที่ดี บทเรียนที่สําคัญในการจัดการกับการระบาดใหญ่เพื่อเผยแพร่ต่อไป “ประเทศไทยได้รับคําชมจากผู้เชี่ยวชาญองค์การอนามัยโลก ถึงนโยบายและมาตรการแนวทางการดําเนินงานดูแลประชาชน ทั้งการรักษาพยาบาลผู้ป่วยและการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19 ทางองค์การอนามัยโลก ระบุว่ายินดีสนับสนุนและร่วมทํางานกับประเทศไทย โดยขอให้ประเทศไทยจัดทํารายงานUHPRและเสนอต่อคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เพื่อขอความเห็นชอบรายงาน นอกจากนี้ ให้เตรียมการแถลงประสบการณ์UHPRในที่ประชุมWorld Health Assembly (WHA)ปลายเดือนพฤษภาคม 2565 และร่วมกับอีก 3 ประเทศนําร่องในการทบทวนปรับปรุงกระบวนการUHPRให้ดียิ่งขึ้นก่อนนําไปใช้ในประเทศอื่นๆ” นายอนุทินกล่าว ด้าน นพ.จอส กล่าวว่า หลักพื้นฐานสําคัญที่จะทําให้ประเทศใดๆ เตรียมพร้อมและตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขได้ดี จะต้องมี 1.ผู้นําทางการเมืองระดับสูงรับเรื่องเป็นพันธสัญญา 2.การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน และ 3.กรอบความรับผิดชอบ 3 ด้าน ได้แก่ สุขภาพถ้วนหน้า การเตรียมพร้อมตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน และสุขภาวะที่ดีขึ้นของประชากร นอกจากนี้ ความสําเร็จจะเกิดได้ขึ้นกับการนําไปสู่การลงมือปฏิบัติโดยถือเป็นเรื่องสําคัญเร่งด่วน ซึ่ง ดร.สมิลา อัสมา ผู้ช่วยผู้อํานวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก แสดงความชื่นชมที่รัฐบาลไทยได้ให้ความสําคัญอย่างยิ่งในเรื่องนี้ สําหรับกิจกรรมการทบทวนUHPRตลอดช่วงวันที่ 21-29 เมษายน 2565 มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องของการป้องกันควบคุมโรคโควิด 19 ในสถานประกอบการและผู้ประกันตน การดูแลแรงงานทุกเชื้อชาติ ติดตามการดําเนินงานในพื้นที่ชลบุรี และสมุทรสาคร กิจกรรมหน่วยงานเครือข่ายและชุมชนในกรุงเทพมหานคร มีการฝึกซ้อมแผนด้วยสถานการณ์สมมติ โดยหน่วยงานจากกระทรวงต่างๆ ที่ร่วมดําเนินมาตรการรับมือภาวะฉุกเฉินกรณีโรคโควิด 19และสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อการป้องกันควบคุมโรค ทําให้เห็นการประสานงานหลายภาคส่วนจนถึงในระดับชุมชน ******************************************5พฤษภาคม2565
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/54230
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พบเห็น "การใช้ความรุนแรงในครอบครัว" แจ้งสายด่วน 1300, 1387, 191 และ 1157
วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน 2564 พบเห็น "การใช้ความรุนแรงในครอบครัว" แจ้งสายด่วน 1300, 1387, 191 และ 1157 .... กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เผย ความรุนแรงในครอบครัว เป็นเรื่องของเราทุกคน ซึ่งการกระทําที่ทําให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย จิตใจ และสุขภาพ รวมถึงบังคับหรือใช้อํานาจครอบงําให้บุคคลในครอบครัวต้องกระทํา/ไม่กระทํา หรือยอมรับ "เป็นการกระทําโดยมิชอบ" . หากประชาชนท่านใด พบเห็นการใช้ความรุนแรงในครอบครัว สามารถแจ้งได้ที่ สายด่วน :
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พบเห็น "การใช้ความรุนแรงในครอบครัว" แจ้งสายด่วน 1300, 1387, 191 และ 1157 วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน 2564 พบเห็น "การใช้ความรุนแรงในครอบครัว" แจ้งสายด่วน 1300, 1387, 191 และ 1157 .... กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เผย ความรุนแรงในครอบครัว เป็นเรื่องของเราทุกคน ซึ่งการกระทําที่ทําให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย จิตใจ และสุขภาพ รวมถึงบังคับหรือใช้อํานาจครอบงําให้บุคคลในครอบครัวต้องกระทํา/ไม่กระทํา หรือยอมรับ "เป็นการกระทําโดยมิชอบ" . หากประชาชนท่านใด พบเห็นการใช้ความรุนแรงในครอบครัว สามารถแจ้งได้ที่ สายด่วน :
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/47758
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมทางหลวงชนบทสนับสนุนทางเข้าอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา เพิ่มศักยภาพการคมนาคมขนส่ง จังหวัดปราจีนบุรีและสระแก้ว
วันพุธที่ 27 กรกฎาคม 2565 กรมทางหลวงชนบทสนับสนุนทางเข้าอ่างเก็บน้ํานฤบดินทรจินดา เพิ่มศักยภาพการคมนาคมขนส่ง จังหวัดปราจีนบุรีและสระแก้ว ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ลาดยางถนน 16 กิโลเมตร คืบหน้ากว่า 94% คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม 2565 กรมทางหลวงชนบท (ทช.) กระทรวงคมนาคม ดําเนินโครงการก่อสร้างถนนสายแยก ทล.304 - บ้านคลองผักขม อําเภอนาดีและอําเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรีและสระแก้ว เพื่อสนับสนุนทางเข้าอ่างเก็บน้ํานฤบดินทรจินดา (โครงการห้วยโสมงอันเนื่องมาจากพระราชดําริ) และเพื่อป้องกันน้ําท่วมขังในเขตชุมชน จึงออกแบบก่อสร้างระบบระบายน้ําในชุมชนให้ผู้ใช้เส้นทางมีความปลอดภัย ทั้งยังช่วยแบ่งเบาการจราจรของถนนสายหลัก (ทล.304) รองรับการคมนาคมขนส่งระหว่างจังหวัดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จากนโยบายของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในการยกระดับโครงข่ายทางเพื่อให้การคมนาคมที่เชื่อมต่อระหว่างจังหวัดและอําเภอเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้ประชาชนสามารถเดินทางได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย ทช. จึงได้ดําเนินโครงการก่อสร้างถนนสายแยก ทล.304 - บ้านคลองผักขม อําเภอนาดีและอําเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรีและสระแก้ว มีจุดเริ่มต้นโครงการบริเวณ กม. ที่ 0+000 (บ้านทุ่งโพธิ์) และสิ้นสุดโครงการบริเวณ กม. ที่ 16+000 (บ้านอ่างทอง) รวมระยะทาง 16 กิโลเมตร โดยได้ดําเนินการก่อสร้างขยายถนนแบบผิวจราจรแอสฟัลท์ติกคอนกรีตจากเดิมกว้าง 6 เมตร มีไหล่ทางกว้างข้างละ 1 เมตร เป็นผิวจราจรแอสฟัลท์ติกคอนกรีตกว้าง 7 เมตร มีไหล่ทางกว้างข้างละ 2.50 เมตร พร้อมงานปรับปรุงขยายสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก 7 แห่ง การก่อสร้างงานระบบระบายน้ํา ติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่าง และอุปกรณ์อํานวยความปลอดภัย โดยใช้งบประมาณในการก่อสร้างรวม 145.400 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบันผลงานการก่อสร้างมีความคืบหน้าไปแล้วกว่าร้อยละ 94 ขณะนี้อยู่ระหว่างการติดตั้งอุปกรณ์อํานวยความปลอดภัย ป้ายจราจร ไฟฟ้าแสงสว่าง และการตีเส้นจราจร ซึ่งคาดว่าจะดําเนินการแล้วเสร็จสมบูรณ์ในเดือนสิงหาคม 2565
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมทางหลวงชนบทสนับสนุนทางเข้าอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา เพิ่มศักยภาพการคมนาคมขนส่ง จังหวัดปราจีนบุรีและสระแก้ว วันพุธที่ 27 กรกฎาคม 2565 กรมทางหลวงชนบทสนับสนุนทางเข้าอ่างเก็บน้ํานฤบดินทรจินดา เพิ่มศักยภาพการคมนาคมขนส่ง จังหวัดปราจีนบุรีและสระแก้ว ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ลาดยางถนน 16 กิโลเมตร คืบหน้ากว่า 94% คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม 2565 กรมทางหลวงชนบท (ทช.) กระทรวงคมนาคม ดําเนินโครงการก่อสร้างถนนสายแยก ทล.304 - บ้านคลองผักขม อําเภอนาดีและอําเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรีและสระแก้ว เพื่อสนับสนุนทางเข้าอ่างเก็บน้ํานฤบดินทรจินดา (โครงการห้วยโสมงอันเนื่องมาจากพระราชดําริ) และเพื่อป้องกันน้ําท่วมขังในเขตชุมชน จึงออกแบบก่อสร้างระบบระบายน้ําในชุมชนให้ผู้ใช้เส้นทางมีความปลอดภัย ทั้งยังช่วยแบ่งเบาการจราจรของถนนสายหลัก (ทล.304) รองรับการคมนาคมขนส่งระหว่างจังหวัดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จากนโยบายของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในการยกระดับโครงข่ายทางเพื่อให้การคมนาคมที่เชื่อมต่อระหว่างจังหวัดและอําเภอเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้ประชาชนสามารถเดินทางได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย ทช. จึงได้ดําเนินโครงการก่อสร้างถนนสายแยก ทล.304 - บ้านคลองผักขม อําเภอนาดีและอําเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรีและสระแก้ว มีจุดเริ่มต้นโครงการบริเวณ กม. ที่ 0+000 (บ้านทุ่งโพธิ์) และสิ้นสุดโครงการบริเวณ กม. ที่ 16+000 (บ้านอ่างทอง) รวมระยะทาง 16 กิโลเมตร โดยได้ดําเนินการก่อสร้างขยายถนนแบบผิวจราจรแอสฟัลท์ติกคอนกรีตจากเดิมกว้าง 6 เมตร มีไหล่ทางกว้างข้างละ 1 เมตร เป็นผิวจราจรแอสฟัลท์ติกคอนกรีตกว้าง 7 เมตร มีไหล่ทางกว้างข้างละ 2.50 เมตร พร้อมงานปรับปรุงขยายสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก 7 แห่ง การก่อสร้างงานระบบระบายน้ํา ติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่าง และอุปกรณ์อํานวยความปลอดภัย โดยใช้งบประมาณในการก่อสร้างรวม 145.400 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบันผลงานการก่อสร้างมีความคืบหน้าไปแล้วกว่าร้อยละ 94 ขณะนี้อยู่ระหว่างการติดตั้งอุปกรณ์อํานวยความปลอดภัย ป้ายจราจร ไฟฟ้าแสงสว่าง และการตีเส้นจราจร ซึ่งคาดว่าจะดําเนินการแล้วเสร็จสมบูรณ์ในเดือนสิงหาคม 2565
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/57326
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-PM praised Thai researchers for developing medical devices to cope with COVID-19, reducing imports and enhancing the potential aiming to become a medical hub in the region
วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน 2565 PM praised Thai researchers for developing medical devices to cope with COVID-19, reducing imports and enhancing the potential aiming to become a medical hub in the region PM praised Thai researchers for developing medical devices to cope with COVID-19, reducing imports and enhancing the potential aiming to become a medical hub in the region June 27, 2022, Ms. Rachada Dhnadirek, Deputy Government Spokesperson, disclosed that under promoting medical technology and innovation policyto support the region's medical center and create stability in the public health system, Prime Minister and Defense Minister Gen. Prayut Chan-o-cha, has closely followed up on the invention of the works of Thai people, and most recently, he expressed his appreciation for researchers who have developed innovative results in health care, which is a product for prevention and control of infection, diagnosis, and care, making Thailand ready to cope with COVID-19 in the last two years under the supervision of the Office of Thailand Science Research and Innovation (TSRI) in order to allocate an overall budget of more than 3 billion baht. Examples of work are as follows: 1. High Flow Nasal Cannula (HFNC) has a production cost of approximately 50,000 baht per device, while the imported price per device requires 200,000–250,000 baht. As a result, the country can reduce imports by up to 150,000 baht per device, and currently, more than 500 devices are delivered to hospitals nationwide, helping to reduce imports and reduce government expenses by more than 75 million baht. Chulabhorn Hospital conducted this research, along with the Thai Red Cross Society (Chulalongkorn Hospital, Thai Red Cross Society, or Chulabhorn Hospital, Chulabhorn Royal College), and Intronic Co., Ltd. 2. A COVID test kit RT-LAMP has been installed and used at screening checkpoints at airports and hospitals; this rapid screening test can check the results within 1 hour. Significantly, this will help support more effective disease screening, leading to further pandemic control and prevention. This Covid test kit has now been delivered to government agencies and distributed over 260,000 sets, worth approximately 65 million baht. It is a research project by startup company "Zenostic" at Mahidol University. 3. The "COVITECT-1" test kit with Real-Time RT PCR has been certified as the international standard. More than 500,000 test kits have been delivered to the government sectors and 80,000 to ASEAN member states, including being sold to laboratories and hospitals, both public and private, in order to reduce the imported products from abroad. This product was generated by collaboration between the Department of Medical Sciences and Siam Bioscience Co., Ltd. 4. Blood collection tube made by Innomade. Blood collection tubes are now a high-volume medical device. This product was developed to replace imports and can continue to be exported. It is designed to replace the use of blood collection tubes from 2 tubes and is suitable for chronic patients who need to draw blood frequently and infectious disease patients. The products are now certified to meet the ISO 13485 standard. Moreover, if this self-made medical product is used, it will reduce the importation of blood collection tubes yearly. It is worth more than 2,700 million baht. Asst. Prof. Dr. Wanwisa Tribuphonchatsakul, Naresuan University and We Made Lab Center Co., Ltd. "Under the situation of the COVID-19 pandemic since 2019, it has now resulted in over 500 million infected people worldwide. In Thailand, in the beginning, there was a shortage of medical equipment, whether it was raw materials, equipment, or medical materials that could not be imported or produced in time to meet the demand. However, the Prime Minister, discussed with all relevant agencies to consider adjusting the management plan in order to contribute to supporting the development and design of products for infection prevention and control, diagnosis, and care to enable Thailand to be ready to cope with COVID-19. Over the past 2 years of the dedicated work of Thai researchers, they have now developed many medical innovations, and it is a confirmation of the Thai people's abilities and readiness to become a medical center in the region. " Ms. Rachada said.
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-PM praised Thai researchers for developing medical devices to cope with COVID-19, reducing imports and enhancing the potential aiming to become a medical hub in the region วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน 2565 PM praised Thai researchers for developing medical devices to cope with COVID-19, reducing imports and enhancing the potential aiming to become a medical hub in the region PM praised Thai researchers for developing medical devices to cope with COVID-19, reducing imports and enhancing the potential aiming to become a medical hub in the region June 27, 2022, Ms. Rachada Dhnadirek, Deputy Government Spokesperson, disclosed that under promoting medical technology and innovation policyto support the region's medical center and create stability in the public health system, Prime Minister and Defense Minister Gen. Prayut Chan-o-cha, has closely followed up on the invention of the works of Thai people, and most recently, he expressed his appreciation for researchers who have developed innovative results in health care, which is a product for prevention and control of infection, diagnosis, and care, making Thailand ready to cope with COVID-19 in the last two years under the supervision of the Office of Thailand Science Research and Innovation (TSRI) in order to allocate an overall budget of more than 3 billion baht. Examples of work are as follows: 1. High Flow Nasal Cannula (HFNC) has a production cost of approximately 50,000 baht per device, while the imported price per device requires 200,000–250,000 baht. As a result, the country can reduce imports by up to 150,000 baht per device, and currently, more than 500 devices are delivered to hospitals nationwide, helping to reduce imports and reduce government expenses by more than 75 million baht. Chulabhorn Hospital conducted this research, along with the Thai Red Cross Society (Chulalongkorn Hospital, Thai Red Cross Society, or Chulabhorn Hospital, Chulabhorn Royal College), and Intronic Co., Ltd. 2. A COVID test kit RT-LAMP has been installed and used at screening checkpoints at airports and hospitals; this rapid screening test can check the results within 1 hour. Significantly, this will help support more effective disease screening, leading to further pandemic control and prevention. This Covid test kit has now been delivered to government agencies and distributed over 260,000 sets, worth approximately 65 million baht. It is a research project by startup company "Zenostic" at Mahidol University. 3. The "COVITECT-1" test kit with Real-Time RT PCR has been certified as the international standard. More than 500,000 test kits have been delivered to the government sectors and 80,000 to ASEAN member states, including being sold to laboratories and hospitals, both public and private, in order to reduce the imported products from abroad. This product was generated by collaboration between the Department of Medical Sciences and Siam Bioscience Co., Ltd. 4. Blood collection tube made by Innomade. Blood collection tubes are now a high-volume medical device. This product was developed to replace imports and can continue to be exported. It is designed to replace the use of blood collection tubes from 2 tubes and is suitable for chronic patients who need to draw blood frequently and infectious disease patients. The products are now certified to meet the ISO 13485 standard. Moreover, if this self-made medical product is used, it will reduce the importation of blood collection tubes yearly. It is worth more than 2,700 million baht. Asst. Prof. Dr. Wanwisa Tribuphonchatsakul, Naresuan University and We Made Lab Center Co., Ltd. "Under the situation of the COVID-19 pandemic since 2019, it has now resulted in over 500 million infected people worldwide. In Thailand, in the beginning, there was a shortage of medical equipment, whether it was raw materials, equipment, or medical materials that could not be imported or produced in time to meet the demand. However, the Prime Minister, discussed with all relevant agencies to consider adjusting the management plan in order to contribute to supporting the development and design of products for infection prevention and control, diagnosis, and care to enable Thailand to be ready to cope with COVID-19. Over the past 2 years of the dedicated work of Thai researchers, they have now developed many medical innovations, and it is a confirmation of the Thai people's abilities and readiness to become a medical center in the region. " Ms. Rachada said.
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/56210
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-โฆษกรัฐบาลเผย นายกฯ ขอความร่วมมือสถานศึกษาปฏิบัติตาม มาตรการความปลอดภัย 6-6-7 ลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดโควิด-19 ในโรงเรียน
วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม 2565 โฆษกรัฐบาลเผย นายกฯ ขอความร่วมมือสถานศึกษาปฏิบัติตาม มาตรการความปลอดภัย 6-6-7 ลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดโควิด-19 ในโรงเรียน โฆษกรัฐบาลเผย นายกฯ ขอความร่วมมือสถานศึกษาปฏิบัติตาม มาตรการความปลอดภัย 6-6-7 ลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดโควิด-19 ในโรงเรียน ร่วมกันดูแลให้นักเรียนยังสามารถเรียน On site ได้อย่างปลอดภัย วันนี้(9กรกฎาคม 2565) นายธนกรวังบุญคงชนะโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรีเปิดเผยว่า พลเอกประยุทธ์จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมห่วงใยครูนักเรียนและบุคลากรด้านการศึกษาหลังพบมีผู้ติดเชื้อโควิด-19ในหลายโรงเรียนโดยขอความร่วมมือสถานศึกษาโรงเรียนลดหรืองดการจัดกิจกรรมที่มีการร่วมตัวของนักเรียนจํานวนมากออกไปก่อน พร้อมให้กระทรวงศึกษาธิการกระทรวงสาธารณสุขประสานการทํางานร่วมกับกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่างๆให้คําแนะนําในการป้องกันลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดโควิด-19ในโรงเรียน ด้วยมาตรการความปลอดภัย6-6-7 กําหนดแผนเผชิญเหตุที่เป็นลําดับขั้นตอนรวมทั้งขอให้ผู้ปกครองนําเด็กนักเรียนที่มีอายุตั้งแต่ 5-18ปี เข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด19-ตามเกณท์ด้วยความยินยอมและสมัครใจเพื่อให้นักเรียนยังสามารถมาเรียนOn siteได้อย่างปลอดภัย ทั้งนี้ มาตรการสร้างความปลอดภัยป้องกันโควิด19ในสถานศึกษา(6หลัก6เสริม7เข้ม) 6มาตรการหลัก(DMHT-RC) :เว้นระยะห่างสวมหน้ากากล้างมือตรวจคัดกรองลดแออัดทําความสะอาด 6มาตรการเสริม(SSET-CQ) :ดูแลตนเองใช้ช้อนส่วนตัวทานอาหารปรุงสุกใหม่ลงทะเบียนเข้า-ออก สํารวจตรวจสอบกักกันตนเอง 7มาตรการเข้ม -ประเมินThai Stop Covid Plus (TSC+)และรายงานผลผ่านMOECOVID ทํากิจกรรมกลุ่มย่อย(Small Bubble) จัดระบบการให้บริการอาหารตามหลักสุขาภิบาลและโภชนาการ อนามัยสิ่งแวดล้อมตามเกณฑ์มาตรฐาน แผนเผชิญเหตุมีการซักซ้อมรวมถึงการเตรียมพร้อมSchool Isolation ควบคุมดูแลการเดินทางจากบ้านไปโรงเรียนให้ปลอดภัยเน้นมาตรการปลอดภัยรถ โรงเรียน School Passสําหรับนักเรียนครูและบุคลากรในสถานศึกษา สําหรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19วันนี้พบผู้ติดเชื้อโควิด-19รายใหม่จํานวน2,084รายจําแนกเป็นผู้ป่วยในประเทศ2,083รายและผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ1รายรวมผู้ป่วยสะสม2,319,604ราย(ตั้งแต่1มกราคม2565)ขณะที่หายป่วยกลับบ้าน2,417รายรวมหายป่วยสะสม2,318,998ราย(ตั้งแต่1มกราคม2565)โดยมีผู้ป่วยกําลังรักษา24,734รายและเสียชีวิต15รายเสียชีวิตสะสม9,115ราย(ตั้งแต่1มกราคม2565)ทั้งนี้จํานวนผู้ป่วยปอดอักเสบรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล754ราย ภาพรวมการฉีดวัคซีนโควิด-19สะสมตั้งแต่(28ก.พ. 2564 - 7ก.ค. 2565)รวม140,221,958โดสใน77จังหวัดผู้ได้รับวัคซีนเข็มที่1สะสม: 57,019,249รายผู้ได้รับวัคซีนเข็มที่2สะสม: 53,252,664รายผู้ได้รับวัคซีนเข็มที่3ขึ้นไปสะสม: 29,950,045ราย -----------
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-โฆษกรัฐบาลเผย นายกฯ ขอความร่วมมือสถานศึกษาปฏิบัติตาม มาตรการความปลอดภัย 6-6-7 ลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดโควิด-19 ในโรงเรียน วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม 2565 โฆษกรัฐบาลเผย นายกฯ ขอความร่วมมือสถานศึกษาปฏิบัติตาม มาตรการความปลอดภัย 6-6-7 ลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดโควิด-19 ในโรงเรียน โฆษกรัฐบาลเผย นายกฯ ขอความร่วมมือสถานศึกษาปฏิบัติตาม มาตรการความปลอดภัย 6-6-7 ลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดโควิด-19 ในโรงเรียน ร่วมกันดูแลให้นักเรียนยังสามารถเรียน On site ได้อย่างปลอดภัย วันนี้(9กรกฎาคม 2565) นายธนกรวังบุญคงชนะโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรีเปิดเผยว่า พลเอกประยุทธ์จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมห่วงใยครูนักเรียนและบุคลากรด้านการศึกษาหลังพบมีผู้ติดเชื้อโควิด-19ในหลายโรงเรียนโดยขอความร่วมมือสถานศึกษาโรงเรียนลดหรืองดการจัดกิจกรรมที่มีการร่วมตัวของนักเรียนจํานวนมากออกไปก่อน พร้อมให้กระทรวงศึกษาธิการกระทรวงสาธารณสุขประสานการทํางานร่วมกับกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่างๆให้คําแนะนําในการป้องกันลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดโควิด-19ในโรงเรียน ด้วยมาตรการความปลอดภัย6-6-7 กําหนดแผนเผชิญเหตุที่เป็นลําดับขั้นตอนรวมทั้งขอให้ผู้ปกครองนําเด็กนักเรียนที่มีอายุตั้งแต่ 5-18ปี เข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด19-ตามเกณท์ด้วยความยินยอมและสมัครใจเพื่อให้นักเรียนยังสามารถมาเรียนOn siteได้อย่างปลอดภัย ทั้งนี้ มาตรการสร้างความปลอดภัยป้องกันโควิด19ในสถานศึกษา(6หลัก6เสริม7เข้ม) 6มาตรการหลัก(DMHT-RC) :เว้นระยะห่างสวมหน้ากากล้างมือตรวจคัดกรองลดแออัดทําความสะอาด 6มาตรการเสริม(SSET-CQ) :ดูแลตนเองใช้ช้อนส่วนตัวทานอาหารปรุงสุกใหม่ลงทะเบียนเข้า-ออก สํารวจตรวจสอบกักกันตนเอง 7มาตรการเข้ม -ประเมินThai Stop Covid Plus (TSC+)และรายงานผลผ่านMOECOVID ทํากิจกรรมกลุ่มย่อย(Small Bubble) จัดระบบการให้บริการอาหารตามหลักสุขาภิบาลและโภชนาการ อนามัยสิ่งแวดล้อมตามเกณฑ์มาตรฐาน แผนเผชิญเหตุมีการซักซ้อมรวมถึงการเตรียมพร้อมSchool Isolation ควบคุมดูแลการเดินทางจากบ้านไปโรงเรียนให้ปลอดภัยเน้นมาตรการปลอดภัยรถ โรงเรียน School Passสําหรับนักเรียนครูและบุคลากรในสถานศึกษา สําหรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19วันนี้พบผู้ติดเชื้อโควิด-19รายใหม่จํานวน2,084รายจําแนกเป็นผู้ป่วยในประเทศ2,083รายและผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ1รายรวมผู้ป่วยสะสม2,319,604ราย(ตั้งแต่1มกราคม2565)ขณะที่หายป่วยกลับบ้าน2,417รายรวมหายป่วยสะสม2,318,998ราย(ตั้งแต่1มกราคม2565)โดยมีผู้ป่วยกําลังรักษา24,734รายและเสียชีวิต15รายเสียชีวิตสะสม9,115ราย(ตั้งแต่1มกราคม2565)ทั้งนี้จํานวนผู้ป่วยปอดอักเสบรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล754ราย ภาพรวมการฉีดวัคซีนโควิด-19สะสมตั้งแต่(28ก.พ. 2564 - 7ก.ค. 2565)รวม140,221,958โดสใน77จังหวัดผู้ได้รับวัคซีนเข็มที่1สะสม: 57,019,249รายผู้ได้รับวัคซีนเข็มที่2สะสม: 53,252,664รายผู้ได้รับวัคซีนเข็มที่3ขึ้นไปสะสม: 29,950,045ราย -----------
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/56719
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ศบค. คง 4 มาตรการป้องกันควบคุมโควิด-19 เตรียม จนท. เตียง ยา เวชภัณฑ์ พร้อมรับสงกรานต์
วันจันทร์ที่ 11 เมษายน 2565 ศบค. คง 4 มาตรการป้องกันควบคุมโควิด-19 เตรียม จนท. เตียง ยา เวชภัณฑ์ พร้อมรับสงกรานต์ ..... ที่ประชุม ศบค. (8 เม.ย. 65) เห็นชอบการคงมาตรการป้องกันควบคุมโรคโควิด-19 ในพื้นที่สีฟ้า - เหลือง ช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2565 ทั้งการจํากัดเวลาดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้านอาหาร ไม่เกิน 23.00 น./ ร้านอาหารจําหน่ายแอลกอฮอล์ ต้องผ่าน SHA+ หรือ Thai Stop COVID 2-Plus และมาตรการ COVID Free Setting/ สถานบริการ สถานบันเทิง เปิดแบบร้านอาหารได้ โดยขออนุญาต คกก.โรคติดต่อจังหวัด - กทม./ Work From Home ตามความเหมาะสม . นายกรัฐมนตรี ย้ําถึงกิจกรรมช่วงเทศกาลสงกรานต์นี้ ขอให้เป็นสงกรานต์ที่ปลอดภัย เป็นไปตามขนบธรรมเนียมประเพณีไทย ควบคู่กับการเตรียมความพร้อมตนเองในการเดินทางและเคารพกฎจราจร พร้อมกําชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมแพทย์ บุคลากร เตียง ยา เวชภัณฑ์ ให้เพียงพอ . สําหรับมติ ศบค. อื่น ๆ ที่น่าสนใจมีดังนี้ 1.รับทราบ (ร่าง) การปรับมาตรการผู้เดินทางเข้าราชอาณาจักร ประเภท Test & Go Sandbox และ Quarantine ระยะ 2 (พ.ค. 65) โดยการยกเลิกการตรวจ RT-PCR ก่อนเดินทางทั้ง 3 กลุ่ม ฯลฯ . อ่านเพิ่มเติม คลิกhttps://www.thaigov.go.th/news/contents/details/53432 #ไทยคู่ฟ้า#ร่วมต้านโควิด19 -------------------
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ศบค. คง 4 มาตรการป้องกันควบคุมโควิด-19 เตรียม จนท. เตียง ยา เวชภัณฑ์ พร้อมรับสงกรานต์ วันจันทร์ที่ 11 เมษายน 2565 ศบค. คง 4 มาตรการป้องกันควบคุมโควิด-19 เตรียม จนท. เตียง ยา เวชภัณฑ์ พร้อมรับสงกรานต์ ..... ที่ประชุม ศบค. (8 เม.ย. 65) เห็นชอบการคงมาตรการป้องกันควบคุมโรคโควิด-19 ในพื้นที่สีฟ้า - เหลือง ช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2565 ทั้งการจํากัดเวลาดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้านอาหาร ไม่เกิน 23.00 น./ ร้านอาหารจําหน่ายแอลกอฮอล์ ต้องผ่าน SHA+ หรือ Thai Stop COVID 2-Plus และมาตรการ COVID Free Setting/ สถานบริการ สถานบันเทิง เปิดแบบร้านอาหารได้ โดยขออนุญาต คกก.โรคติดต่อจังหวัด - กทม./ Work From Home ตามความเหมาะสม . นายกรัฐมนตรี ย้ําถึงกิจกรรมช่วงเทศกาลสงกรานต์นี้ ขอให้เป็นสงกรานต์ที่ปลอดภัย เป็นไปตามขนบธรรมเนียมประเพณีไทย ควบคู่กับการเตรียมความพร้อมตนเองในการเดินทางและเคารพกฎจราจร พร้อมกําชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมแพทย์ บุคลากร เตียง ยา เวชภัณฑ์ ให้เพียงพอ . สําหรับมติ ศบค. อื่น ๆ ที่น่าสนใจมีดังนี้ 1.รับทราบ (ร่าง) การปรับมาตรการผู้เดินทางเข้าราชอาณาจักร ประเภท Test & Go Sandbox และ Quarantine ระยะ 2 (พ.ค. 65) โดยการยกเลิกการตรวจ RT-PCR ก่อนเดินทางทั้ง 3 กลุ่ม ฯลฯ . อ่านเพิ่มเติม คลิกhttps://www.thaigov.go.th/news/contents/details/53432 #ไทยคู่ฟ้า#ร่วมต้านโควิด19 -------------------
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/53458
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐมนตรี ดีอีเอส ร่วมพิธีทำบุญตักบาตร – ลงนามถวายพระพร - ถวายเครื่องสักการะและพิธีทางศาสนามหามงคล 5 ศาสนา เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา
วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม 2565 รัฐมนตรี ดีอีเอส ร่วมพิธีทําบุญตักบาตร – ลงนามถวายพระพร - ถวายเครื่องสักการะและพิธีทางศาสนามหามงคล 5 ศาสนา เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา รัฐมนตรี ดีอีเอส ร่วมพิธีทําบุญตักบาตร – ลงนามถวายพระพร - ถวายเครื่องสักการะและพิธีทางศาสนามหามงคล 5 ศาสนา เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา เมื่อวันที่12สิงหาคม2565นายชัยวุฒิธนาคมานุสรณ์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมดีอีเอสร่วมพิธีทําบุญตักบาตรถวายพระราชกุศลณท้องสนามหลวงโดยมีพล.อ.ประยุทธ์จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหมและภริยาเป็นประธานในพิธีฯ และร่วมลงนามถวายพระพรสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถพระบรมราชชนนีพันปีหลวงเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา90พรรษา12สิงหาคม2565ณพระบรมมหาราชวังจากนั้นรัฐมนตรีดีอีเอสร่วมพิธีทางศาสนามหามงคล5ศาสนาซึ่งมีผู้นํา5ศาสนาและพระสงฆ์จากโครงการบรรพชาอุปสมบทเฉลิมพระเกียรติฯจํานวน91รูปเข้าร่วมพิธีและถวายเครื่องราชสักการะและวางพานพุ่มณพระบรมมหาราชวัง ณท้องสนามหลวง ****************
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐมนตรี ดีอีเอส ร่วมพิธีทำบุญตักบาตร – ลงนามถวายพระพร - ถวายเครื่องสักการะและพิธีทางศาสนามหามงคล 5 ศาสนา เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม 2565 รัฐมนตรี ดีอีเอส ร่วมพิธีทําบุญตักบาตร – ลงนามถวายพระพร - ถวายเครื่องสักการะและพิธีทางศาสนามหามงคล 5 ศาสนา เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา รัฐมนตรี ดีอีเอส ร่วมพิธีทําบุญตักบาตร – ลงนามถวายพระพร - ถวายเครื่องสักการะและพิธีทางศาสนามหามงคล 5 ศาสนา เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา เมื่อวันที่12สิงหาคม2565นายชัยวุฒิธนาคมานุสรณ์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมดีอีเอสร่วมพิธีทําบุญตักบาตรถวายพระราชกุศลณท้องสนามหลวงโดยมีพล.อ.ประยุทธ์จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหมและภริยาเป็นประธานในพิธีฯ และร่วมลงนามถวายพระพรสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถพระบรมราชชนนีพันปีหลวงเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา90พรรษา12สิงหาคม2565ณพระบรมมหาราชวังจากนั้นรัฐมนตรีดีอีเอสร่วมพิธีทางศาสนามหามงคล5ศาสนาซึ่งมีผู้นํา5ศาสนาและพระสงฆ์จากโครงการบรรพชาอุปสมบทเฉลิมพระเกียรติฯจํานวน91รูปเข้าร่วมพิธีและถวายเครื่องราชสักการะและวางพานพุ่มณพระบรมมหาราชวัง ณท้องสนามหลวง ****************
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/57958
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-อนุมัติ 211 ล้านบาท ศึกษาวัคซีนใบยา ในมนุษย์ ระยะที่ 2
วันพุธที่ 13 เมษายน 2565 อนุมัติ 211 ล้านบาท ศึกษาวัคซีนใบยา ในมนุษย์ ระยะที่ 2 วันพุทธที่ 13 เมษายน 2565 ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ค่ะ รัฐบาลสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยอนุมัติโครงการศึกษาความปลอดภัย ความสามารถในการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน และประสิทธิภาพของวัคซีนที่ใช้พืชเป็นแหล่งผลิต ในมนุษย์ระยะที่ 2A กรอบวงเงิน 211 ล้านบาท โดยมอบหมายให้สถาบันวัคซีนแห่งชาติ และบริษัท ใบยาไฟโตฟาร์ม จํากัด เร่งจัดทําแผนฉุกเฉินสําหรับรองรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากปัจจัยต่าง ๆ จนเป็นเหตุให้การดําเนินการล่าช้า พร้อมทั้งให้จัดทําแผนเร่งรัดการดําเนินโครงการระยะที่ 3 เสนอต่อคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองงบประมาณด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้ไทยมีความมั่นคงด้านองค์ความรู้และเทคโนโลยีวัคซีน พร้อมรับมือกับการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสและโรคอุบัติใหม่ในอนาคต “สื่อสารภารกิจรัฐบาล” กับสํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-อนุมัติ 211 ล้านบาท ศึกษาวัคซีนใบยา ในมนุษย์ ระยะที่ 2 วันพุธที่ 13 เมษายน 2565 อนุมัติ 211 ล้านบาท ศึกษาวัคซีนใบยา ในมนุษย์ ระยะที่ 2 วันพุทธที่ 13 เมษายน 2565 ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ค่ะ รัฐบาลสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยอนุมัติโครงการศึกษาความปลอดภัย ความสามารถในการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน และประสิทธิภาพของวัคซีนที่ใช้พืชเป็นแหล่งผลิต ในมนุษย์ระยะที่ 2A กรอบวงเงิน 211 ล้านบาท โดยมอบหมายให้สถาบันวัคซีนแห่งชาติ และบริษัท ใบยาไฟโตฟาร์ม จํากัด เร่งจัดทําแผนฉุกเฉินสําหรับรองรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากปัจจัยต่าง ๆ จนเป็นเหตุให้การดําเนินการล่าช้า พร้อมทั้งให้จัดทําแผนเร่งรัดการดําเนินโครงการระยะที่ 3 เสนอต่อคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองงบประมาณด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้ไทยมีความมั่นคงด้านองค์ความรู้และเทคโนโลยีวัคซีน พร้อมรับมือกับการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสและโรคอุบัติใหม่ในอนาคต “สื่อสารภารกิจรัฐบาล” กับสํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/53589
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ก.อุตฯ-กทม.-เอสซีจี ผนึกกำลังแก้ปัญหาน้ำเสียคลองแสนแสบ ผ่านนวัตกรรมระบบบำบัดน้ำเสียไซโคลนิก
วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม 2565 ก.อุตฯ-กทม.-เอสซีจี ผนึกกําลังแก้ปัญหาน้ําเสียคลองแสนแสบ ผ่านนวัตกรรมระบบบําบัดน้ําเสียไซโคลนิก กระทรวงอุตสาหกรรม จับมือ กทม. เอสซีจี จัดทําโครงการจิตอาสาพัฒนาคลองแสนแสบ ติดตั้งระบบบําบัดน้ําเสียชุมชน ที่ชุมชนกมาลุลอิสลาม” เพื่อเฉลิมพระเกียรติฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ ชุมชนก นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้รับมอบหมายจากศูนย์อํานวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน (ศอญ.จอส.) ให้ร่วมบูรณาการพัฒนาคุณภาพน้ําในคลองเปรมประชากร และคลองแสนแสบตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา เพื่อเทิดพระเกียรติ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 10) โดยในการดําเนินการนําร่องที่คลองแสนแสบร่วมกัน 3 กิจกรรม ได้แก่ 1. การร่วมตรวจกํากับดูแลโรงงานจําพวกที่ 2 จํานวน 62 แห่ง ดําเนินการเสร็จสิ้นแล้วเมื่อเดือนเมษายน 2565 ซึ่งกระทรวงฯ พร้อมสนับสนุนเป็นพี่เลี้ยงให้เจ้าหน้าที่ กทม. ในการให้ความรู้ การตรวจกํากับในเชิงแนะนําและการดําเนินคดีหากพบสถานประกอบการ กระทําผิดกฎหมาย รวมทั้งจัดทําคู่มือการกํากับดูแลสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย ทั้งทางเอกสารและอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้ปฏิบัติงานต่อไป 2. การติดตั้งและใช้งานระบบบําบัดน้ําเสียชุมชน ณ สถานที่จริง (Onsite) โดยกระทรวงฯ ร่วมกับ เอสซีจี ดําเนินการจัดสร้างระบบฯ ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน ชุมชนกมาลุลอิสลาม ซึ่งจะช่วยลดการระบายน้ําเสียของชุมชนลงคลองแสนแสบตั้งแต่ต้นทางได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ 3. การผลิตถังดักไขมัน 1,500 ถัง เพื่อนําไปติดตั้งแก่บ้านเรือนและชุมชนริมคลองแสนแสบและคลองสาขา ในพื้นที่ 21 เขต ปัจจุบันกระทรวงฯ ได้ส่งมอบถังดักไขมันแล้ว 1,122 ถัง ซึ่งจะส่งมอบครบถ้วนภายในเดือนนี้ “กระทรวงฯ ได้สนองพระบรมราโชบายเรื่องจิตอาสามาสู่การปฏิบัติด้วยการร่วมพัฒนาคุณภาพน้ํา ในแม่น้ําและลําคลองสายสําคัญของประเทศ เพื่อแก้ปัญหาน้ําเสีย ทั้งจากภาคอุตสาหกรรมและภาคครัวเรือน ซึ่งนอกจากโครงการจิตอาสาพัฒนาคลองแสนแสบแล้ว ในปีนี้ กระทรวงฯ ได้ดําเนินการใน 10 คลองและแม่น้ําสายหลักทั่วประเทศ เพื่อเฉลิมพระเกียรติฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยกิจกรรมส่งมอบพื้นที่เพื่อจัดสร้างระบบบําบัดน้ําเสียชุมชน และการส่งมอบถังดักไขมันในวันนี้ ได้รับความร่วมมือในการดําเนินงานจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง สิ่งเหล่านี้จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลย หากปราศจากพลังความสามัคคีของทุกฝ่าย”ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าว นายยุทธนา เจียมตระการ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่-การบริหารกลาง เอสซีจี กล่าวเพิ่มเติมว่า “เอสซีจีมีความมุ่งมั่นร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการดูแลสิ่งแวดล้อมและสังคม ตามแนวทาง ESG 4 Plus (มุ่ง Net Zero – Go Green – Lean เหลื่อมล้ํา – ย้ําร่วมมือ ภายใต้ความเชื่อมั่น โปร่งใส) และรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ผนึกกําลังกับกระทรวงอุตสาหกรรม ในโครงการ “จิตอาสาพัฒนาคลองแสนแสบ ติดตั้งระบบบําบัดน้ําเสียชุมชน ที่ชุมชนกมาลุลอิสลาม” เฉลิมพระเกียรติฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อร่วมนํานวัตกรรมมาแก้ไขปัญหาน้ําเสียในลําน้ําสาธารณะและลุ่มน้ําสายหลักของประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนคุณภาพชีวิตของชุมชนเมืองที่อาศัยอยู่ติดกับลําน้ําสาธารณะสําหรับโครงการดังกล่าว เอสซีจีได้สนับสนุน นวัตกรรมระบบบําบัดน้ําเสียไซโคลนิก (Zyclonic) พัฒนาโดย เอสซีจี เคมิคอลส์ หรือ เอสซีจีซี (SCGC) ซึ่งเป็นนวัตกรรมขจัดของเสีย ฆ่าเชื้อโรคในน้ําจากห้องน้ําและครัวเรือน ด้วยกระบวนการชีวภาพและเคมีไฟฟ้า ติดตั้งและบํารุงรักษาง่าย ซึ่งจะช่วยบําบัดน้ําเสียจนได้น้ําที่ปราศจากสีและกลิ่น สามารถนํากลับมาใช้ซ้ําได้ เช่น รดน้ําต้นไม้ ทําความสะอาดพื้นที่ส่วนกลาง เป็นต้น อีกทั้งยังช่วยลดการแพร่กระจายเชื้อโรค โดยจะติดตั้งนวัตกรรมดังกล่าว จํานวน 2 ชุด ซึ่งถังบําบัดน้ําเสีย 1 ชุด จะสามารถบําบัดน้ําเสียได้ถึง 1,000 ลิตรต่อวัน ตอบโจทย์การใช้งานที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียนชุมชนกมาลุลอิสลาม นอกจากนี้ เอสซีจีพี ยังได้ร่วมสนับสนุน ถังดักไขมัน นวัตกรรมแบบดีไอวาย ที่เอสซีจีพีพัฒนาขึ้น โดยทําจากวัสดุที่หาซื้อได้ทั่วไป ประกอบง่าย ราคาประหยัด เพื่อใช้กรองเศษอาหารและช่วยแยกไขมันออกจากน้ําก่อนปล่อยน้ําทิ้งสู่ท่อระบายน้ํา ช่วยเสริมสร้างสุขอนามัยให้ชุมชนน่าอยู่มากยิ่งขึ้น” ----------------------------------------- 12 กรกฎาคม 2565
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ก.อุตฯ-กทม.-เอสซีจี ผนึกกำลังแก้ปัญหาน้ำเสียคลองแสนแสบ ผ่านนวัตกรรมระบบบำบัดน้ำเสียไซโคลนิก วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม 2565 ก.อุตฯ-กทม.-เอสซีจี ผนึกกําลังแก้ปัญหาน้ําเสียคลองแสนแสบ ผ่านนวัตกรรมระบบบําบัดน้ําเสียไซโคลนิก กระทรวงอุตสาหกรรม จับมือ กทม. เอสซีจี จัดทําโครงการจิตอาสาพัฒนาคลองแสนแสบ ติดตั้งระบบบําบัดน้ําเสียชุมชน ที่ชุมชนกมาลุลอิสลาม” เพื่อเฉลิมพระเกียรติฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ ชุมชนก นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้รับมอบหมายจากศูนย์อํานวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน (ศอญ.จอส.) ให้ร่วมบูรณาการพัฒนาคุณภาพน้ําในคลองเปรมประชากร และคลองแสนแสบตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา เพื่อเทิดพระเกียรติ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 10) โดยในการดําเนินการนําร่องที่คลองแสนแสบร่วมกัน 3 กิจกรรม ได้แก่ 1. การร่วมตรวจกํากับดูแลโรงงานจําพวกที่ 2 จํานวน 62 แห่ง ดําเนินการเสร็จสิ้นแล้วเมื่อเดือนเมษายน 2565 ซึ่งกระทรวงฯ พร้อมสนับสนุนเป็นพี่เลี้ยงให้เจ้าหน้าที่ กทม. ในการให้ความรู้ การตรวจกํากับในเชิงแนะนําและการดําเนินคดีหากพบสถานประกอบการ กระทําผิดกฎหมาย รวมทั้งจัดทําคู่มือการกํากับดูแลสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย ทั้งทางเอกสารและอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้ปฏิบัติงานต่อไป 2. การติดตั้งและใช้งานระบบบําบัดน้ําเสียชุมชน ณ สถานที่จริง (Onsite) โดยกระทรวงฯ ร่วมกับ เอสซีจี ดําเนินการจัดสร้างระบบฯ ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน ชุมชนกมาลุลอิสลาม ซึ่งจะช่วยลดการระบายน้ําเสียของชุมชนลงคลองแสนแสบตั้งแต่ต้นทางได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ 3. การผลิตถังดักไขมัน 1,500 ถัง เพื่อนําไปติดตั้งแก่บ้านเรือนและชุมชนริมคลองแสนแสบและคลองสาขา ในพื้นที่ 21 เขต ปัจจุบันกระทรวงฯ ได้ส่งมอบถังดักไขมันแล้ว 1,122 ถัง ซึ่งจะส่งมอบครบถ้วนภายในเดือนนี้ “กระทรวงฯ ได้สนองพระบรมราโชบายเรื่องจิตอาสามาสู่การปฏิบัติด้วยการร่วมพัฒนาคุณภาพน้ํา ในแม่น้ําและลําคลองสายสําคัญของประเทศ เพื่อแก้ปัญหาน้ําเสีย ทั้งจากภาคอุตสาหกรรมและภาคครัวเรือน ซึ่งนอกจากโครงการจิตอาสาพัฒนาคลองแสนแสบแล้ว ในปีนี้ กระทรวงฯ ได้ดําเนินการใน 10 คลองและแม่น้ําสายหลักทั่วประเทศ เพื่อเฉลิมพระเกียรติฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยกิจกรรมส่งมอบพื้นที่เพื่อจัดสร้างระบบบําบัดน้ําเสียชุมชน และการส่งมอบถังดักไขมันในวันนี้ ได้รับความร่วมมือในการดําเนินงานจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง สิ่งเหล่านี้จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลย หากปราศจากพลังความสามัคคีของทุกฝ่าย”ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าว นายยุทธนา เจียมตระการ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่-การบริหารกลาง เอสซีจี กล่าวเพิ่มเติมว่า “เอสซีจีมีความมุ่งมั่นร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการดูแลสิ่งแวดล้อมและสังคม ตามแนวทาง ESG 4 Plus (มุ่ง Net Zero – Go Green – Lean เหลื่อมล้ํา – ย้ําร่วมมือ ภายใต้ความเชื่อมั่น โปร่งใส) และรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ผนึกกําลังกับกระทรวงอุตสาหกรรม ในโครงการ “จิตอาสาพัฒนาคลองแสนแสบ ติดตั้งระบบบําบัดน้ําเสียชุมชน ที่ชุมชนกมาลุลอิสลาม” เฉลิมพระเกียรติฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อร่วมนํานวัตกรรมมาแก้ไขปัญหาน้ําเสียในลําน้ําสาธารณะและลุ่มน้ําสายหลักของประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนคุณภาพชีวิตของชุมชนเมืองที่อาศัยอยู่ติดกับลําน้ําสาธารณะสําหรับโครงการดังกล่าว เอสซีจีได้สนับสนุน นวัตกรรมระบบบําบัดน้ําเสียไซโคลนิก (Zyclonic) พัฒนาโดย เอสซีจี เคมิคอลส์ หรือ เอสซีจีซี (SCGC) ซึ่งเป็นนวัตกรรมขจัดของเสีย ฆ่าเชื้อโรคในน้ําจากห้องน้ําและครัวเรือน ด้วยกระบวนการชีวภาพและเคมีไฟฟ้า ติดตั้งและบํารุงรักษาง่าย ซึ่งจะช่วยบําบัดน้ําเสียจนได้น้ําที่ปราศจากสีและกลิ่น สามารถนํากลับมาใช้ซ้ําได้ เช่น รดน้ําต้นไม้ ทําความสะอาดพื้นที่ส่วนกลาง เป็นต้น อีกทั้งยังช่วยลดการแพร่กระจายเชื้อโรค โดยจะติดตั้งนวัตกรรมดังกล่าว จํานวน 2 ชุด ซึ่งถังบําบัดน้ําเสีย 1 ชุด จะสามารถบําบัดน้ําเสียได้ถึง 1,000 ลิตรต่อวัน ตอบโจทย์การใช้งานที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียนชุมชนกมาลุลอิสลาม นอกจากนี้ เอสซีจีพี ยังได้ร่วมสนับสนุน ถังดักไขมัน นวัตกรรมแบบดีไอวาย ที่เอสซีจีพีพัฒนาขึ้น โดยทําจากวัสดุที่หาซื้อได้ทั่วไป ประกอบง่าย ราคาประหยัด เพื่อใช้กรองเศษอาหารและช่วยแยกไขมันออกจากน้ําก่อนปล่อยน้ําทิ้งสู่ท่อระบายน้ํา ช่วยเสริมสร้างสุขอนามัยให้ชุมชนน่าอยู่มากยิ่งขึ้น” ----------------------------------------- 12 กรกฎาคม 2565
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/56840
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ธอส. คว้ารางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ด้านองค์กรนวัตกรรมดีเด่น ประเภทรางวัลเกียรติคุณ ในกลุ่มองค์กรรัฐวิสาหกิจ ประจำปี 2564
วันอังคารที่ 5 ตุลาคม 2564 ธอส. คว้ารางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ด้านองค์กรนวัตกรรมดีเด่น ประเภทรางวัลเกียรติคุณ ในกลุ่มองค์กรรัฐวิสาหกิจ ประจําปี 2564 สํานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ประกาศให้ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ได้รับรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ “ด้านองค์กรนวัตกรรมดีเด่น ประเภทรางวัลเกียรติคุณ ในกลุ่มองค์กรรัฐวิสาหกิจ” ประจําปี 2564 นับเป็นรัฐวิสาหกิจแห่งแรกในประเทศไทยที่ได้รับรางวัลนี้ สํานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ประกาศให้ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ได้รับรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ “ด้านองค์กรนวัตกรรมดีเด่น ประเภทรางวัลเกียรติคุณ ในกลุ่มองค์กรรัฐวิสาหกิจ” ประจําปี 2564 นับเป็นรัฐวิสาหกิจแห่งแรกในประเทศไทยที่ได้รับรางวัลนี้ สะท้อนความมุ่งมั่นพัฒนาองค์กรมาอย่างต่อเนื่อง ควบคู่การนํากรอบการประเมินศักยภาพนวัตกรรมองค์กรของสํานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) มาเป็นแนวทางในการบริหารจัดการความคิดสร้างสรรค์ และพัฒนานวัตกรรมภายในองค์กร นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า ในวันนี้ (5 ตุลาคม 2564) สํานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ประกาศให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ได้รับรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ “ด้านองค์กรนวัตกรรมดีเด่น ประเภทรางวัลเกียรติคุณ ในกลุ่มองค์กรรัฐวิสาหกิจ” ประจําปี 2564 ซึ่งเป็นรางวัลนวัตกรรมอันทรงเกียรติสูงสุดของประเทศไทย ที่มอบให้กับองค์กรที่มีการบริหารจัดการโดยใช้ความรู้ เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์ มาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดคุณค่าทั้งในเชิงธุรกิจและเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนขององค์กร โดยรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ (National Innovation Awards) จัดขึ้นโดยสํานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ตั้งแต่ปี 2548 จนถึงปัจจุบัน สําหรับรางวัลด้านองค์กรนวัตกรรมดีเด่น ประเภทรางวัลเกียรติคุณ ในกลุ่มองค์กรรัฐวิสาหกิจนั้น ธอส. เป็นรัฐวิสาหกิจแห่งแรกที่ได้รับรางวัลนี้ สําหรับรางวัลที่ ธอส. ได้รับในครั้งนี้ เกิดจากการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการธนาคาร ผู้บริหาร พนักงาน และผู้ปฏิบัติงานทั้งองค์กรที่ร่วมกันคิด ร่วมกันปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และร่วมกันปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมาย มุ่งมั่นพัฒนาองค์กรมาอย่างต่อเนื่อง โดยประยุกต์เกณฑ์การประเมินคุณภาพรัฐวิสาหกิจ (State Enterprise Performance Appraisal : SEPA) ต่อยอดสู่เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award : TQA) รวมถึงการนํากรอบการประเมินศักยภาพนวัตกรรมองค์กรของสํานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ที่บูรณาการร่วมกับเกณฑ์การประเมินกระบวนการปฏิบัติงานและการจัดการของรัฐวิสาหกิจ (Core Business Enablers) มาเป็นแนวทางในการบริหารจัดการความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรมภายในองค์กร มุ่งสู่วิสัยทัศน์ “เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม” เพื่อเป็น “ธนาคารที่ดีที่สุดสําหรับการมีบ้าน” สําหรับการจัดการด้านนวัตกรรมของ ธอส. เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบใน 3 Level ครอบคลุม 8 มิติ ตั้งแต่ (1) Strategy Level ประกอบด้วยมิติด้านยุทธศาสตร์นวัตกรรม ที่เชื่อมโยงนโยบายการจัดการความรู้ และนโยบายส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และการจัดการนวัตกรรมสู่การบริหารจัดการเชิงยุทธศาสตร์ พร้อมทั้งจัดทําแผนแม่บทการจัดการความรู้ และแผนแม่บทการจัดการนวัตกรรมที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายองค์กร และมิติด้านการมุ่งเน้นธุรกิจ โดยวางแผนการตลาดด้วยข้อมูลเชิงลึกจากการรับฟังเสียงลูกค้าตาม Customer Lifecycle โดยรวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อนําไปพัฒนาและนวัตกรรมทางด้านผลิตภัณฑ์ บริการ และกระบวนการที่ตอบโจทย์ลูกค้า (2) Infrastructure Level ประกอบด้วย มิติด้านบุคลากร มิติด้านองค์ความรู้ มิติด้านวัฒนธรรม ซึ่ง ธอส. บูรณาการ โดยส่งเสริมให้บุคลากรมีองค์ความรู้ ความตระหนัก และมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พร้อมปลูกฝังให้พนักงานเกิดความคิดสร้างสรรค์ กล้าคิด กล้าแสดงออก กล้าเปลี่ยนแปลง จนฝังอยู่ในการปฏิบัติงานประจําวันของผู้ปฏิบัติงานทั่วทั้งองค์กร เกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของค่านิยมของ ธอส. คือ Innovative Thoughts สร้างสรรค์สิ่งใหม่ และ (En)Courage to Change กล้าเปลี่ยนแปลง และมิติด้านทรัพยากร ธอส. จัดสรรทรัพยากรทั้งบุคลากร งบประมาณ เทคโนโลยี และเวลา เพื่อส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ไปจนถึง (3) Operation Level ประกอบด้วย มิติด้านกระบวนการ ธอส.เชื่อว่า Good Result comes from Good Process หรือ ผลลัพธ์ที่ดีเกิดขึ้นได้จากกระบวนการที่ดี จึงพัฒนากระบวนการสร้างนวัตกรรมโดยมุ่งเน้นนวัตกรรมที่เกิดจากการจัดการความรู้และความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงการบริหารจัดการเครือข่ายพันธมิตร เช่น โครงการ Fast Track กับกลุ่มบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มีศักยภาพสูง(Developer) เพื่อเป็นแหล่งเงินกู้ระยะยาวให้กับลูกค้ารายย่อยที่ซื้อที่อยู่อาศัยกับ Developer ด้วยกระบวนการบริหารจัดการ “องค์กรนวัตกรรม” ที่ดี ส่งผลให้มิติด้านผลลัพธ์ ซึ่ง ธอส. สามารถยกระดับขีดความสามารถขององค์กรในการแข่งขันอย่างก้าวกระโดด เห็นได้จากนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ เช่น สลากออมทรัพย์ ธอส. ที่แตกต่างจากคู่แข่ง และการออกผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่“ทําให้ผู้มีรายได้น้อยจ่ายค่าผ่อนบ้านได้เท่ากับค่าเช่าบ้าน” นวัตกรรมบริการด้วย Mobile Application “GHB ALL” เพื่อปิด Pain Point ของลูกค้าที่ต้องเดินทางมาทําธุรกรรมที่หน้าเคาน์เตอร์สาขาของ ธอส. และ นวัตกรรมกระบวนการ ด้วยการนํา Digital Dashboard มาแก้ Pain Point และแก้ Flow งานสินเชื่อระหว่างสาขากับสํานักงานใหญ่นําไปสู่การอนุมัติสินเชื่อที่รวดเร็วยิ่งขึ้น รวมทั้ง ธอส. มี Innovation Value ที่สูงกว่าเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ “ด้านองค์กรนวัตกรรมดีเด่น ธอส. ได้รับนี้ตอกย้ําว่า ธอส. เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมโดยแท้จริง เพื่อเป็น “ธนาคารที่ดีที่สุดสําหรับการมีบ้าน”
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ธอส. คว้ารางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ด้านองค์กรนวัตกรรมดีเด่น ประเภทรางวัลเกียรติคุณ ในกลุ่มองค์กรรัฐวิสาหกิจ ประจำปี 2564 วันอังคารที่ 5 ตุลาคม 2564 ธอส. คว้ารางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ด้านองค์กรนวัตกรรมดีเด่น ประเภทรางวัลเกียรติคุณ ในกลุ่มองค์กรรัฐวิสาหกิจ ประจําปี 2564 สํานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ประกาศให้ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ได้รับรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ “ด้านองค์กรนวัตกรรมดีเด่น ประเภทรางวัลเกียรติคุณ ในกลุ่มองค์กรรัฐวิสาหกิจ” ประจําปี 2564 นับเป็นรัฐวิสาหกิจแห่งแรกในประเทศไทยที่ได้รับรางวัลนี้ สํานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ประกาศให้ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ได้รับรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ “ด้านองค์กรนวัตกรรมดีเด่น ประเภทรางวัลเกียรติคุณ ในกลุ่มองค์กรรัฐวิสาหกิจ” ประจําปี 2564 นับเป็นรัฐวิสาหกิจแห่งแรกในประเทศไทยที่ได้รับรางวัลนี้ สะท้อนความมุ่งมั่นพัฒนาองค์กรมาอย่างต่อเนื่อง ควบคู่การนํากรอบการประเมินศักยภาพนวัตกรรมองค์กรของสํานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) มาเป็นแนวทางในการบริหารจัดการความคิดสร้างสรรค์ และพัฒนานวัตกรรมภายในองค์กร นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า ในวันนี้ (5 ตุลาคม 2564) สํานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ประกาศให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ได้รับรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ “ด้านองค์กรนวัตกรรมดีเด่น ประเภทรางวัลเกียรติคุณ ในกลุ่มองค์กรรัฐวิสาหกิจ” ประจําปี 2564 ซึ่งเป็นรางวัลนวัตกรรมอันทรงเกียรติสูงสุดของประเทศไทย ที่มอบให้กับองค์กรที่มีการบริหารจัดการโดยใช้ความรู้ เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์ มาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดคุณค่าทั้งในเชิงธุรกิจและเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนขององค์กร โดยรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ (National Innovation Awards) จัดขึ้นโดยสํานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ตั้งแต่ปี 2548 จนถึงปัจจุบัน สําหรับรางวัลด้านองค์กรนวัตกรรมดีเด่น ประเภทรางวัลเกียรติคุณ ในกลุ่มองค์กรรัฐวิสาหกิจนั้น ธอส. เป็นรัฐวิสาหกิจแห่งแรกที่ได้รับรางวัลนี้ สําหรับรางวัลที่ ธอส. ได้รับในครั้งนี้ เกิดจากการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการธนาคาร ผู้บริหาร พนักงาน และผู้ปฏิบัติงานทั้งองค์กรที่ร่วมกันคิด ร่วมกันปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และร่วมกันปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมาย มุ่งมั่นพัฒนาองค์กรมาอย่างต่อเนื่อง โดยประยุกต์เกณฑ์การประเมินคุณภาพรัฐวิสาหกิจ (State Enterprise Performance Appraisal : SEPA) ต่อยอดสู่เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award : TQA) รวมถึงการนํากรอบการประเมินศักยภาพนวัตกรรมองค์กรของสํานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ที่บูรณาการร่วมกับเกณฑ์การประเมินกระบวนการปฏิบัติงานและการจัดการของรัฐวิสาหกิจ (Core Business Enablers) มาเป็นแนวทางในการบริหารจัดการความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรมภายในองค์กร มุ่งสู่วิสัยทัศน์ “เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม” เพื่อเป็น “ธนาคารที่ดีที่สุดสําหรับการมีบ้าน” สําหรับการจัดการด้านนวัตกรรมของ ธอส. เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบใน 3 Level ครอบคลุม 8 มิติ ตั้งแต่ (1) Strategy Level ประกอบด้วยมิติด้านยุทธศาสตร์นวัตกรรม ที่เชื่อมโยงนโยบายการจัดการความรู้ และนโยบายส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และการจัดการนวัตกรรมสู่การบริหารจัดการเชิงยุทธศาสตร์ พร้อมทั้งจัดทําแผนแม่บทการจัดการความรู้ และแผนแม่บทการจัดการนวัตกรรมที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายองค์กร และมิติด้านการมุ่งเน้นธุรกิจ โดยวางแผนการตลาดด้วยข้อมูลเชิงลึกจากการรับฟังเสียงลูกค้าตาม Customer Lifecycle โดยรวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อนําไปพัฒนาและนวัตกรรมทางด้านผลิตภัณฑ์ บริการ และกระบวนการที่ตอบโจทย์ลูกค้า (2) Infrastructure Level ประกอบด้วย มิติด้านบุคลากร มิติด้านองค์ความรู้ มิติด้านวัฒนธรรม ซึ่ง ธอส. บูรณาการ โดยส่งเสริมให้บุคลากรมีองค์ความรู้ ความตระหนัก และมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พร้อมปลูกฝังให้พนักงานเกิดความคิดสร้างสรรค์ กล้าคิด กล้าแสดงออก กล้าเปลี่ยนแปลง จนฝังอยู่ในการปฏิบัติงานประจําวันของผู้ปฏิบัติงานทั่วทั้งองค์กร เกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของค่านิยมของ ธอส. คือ Innovative Thoughts สร้างสรรค์สิ่งใหม่ และ (En)Courage to Change กล้าเปลี่ยนแปลง และมิติด้านทรัพยากร ธอส. จัดสรรทรัพยากรทั้งบุคลากร งบประมาณ เทคโนโลยี และเวลา เพื่อส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ไปจนถึง (3) Operation Level ประกอบด้วย มิติด้านกระบวนการ ธอส.เชื่อว่า Good Result comes from Good Process หรือ ผลลัพธ์ที่ดีเกิดขึ้นได้จากกระบวนการที่ดี จึงพัฒนากระบวนการสร้างนวัตกรรมโดยมุ่งเน้นนวัตกรรมที่เกิดจากการจัดการความรู้และความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงการบริหารจัดการเครือข่ายพันธมิตร เช่น โครงการ Fast Track กับกลุ่มบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มีศักยภาพสูง(Developer) เพื่อเป็นแหล่งเงินกู้ระยะยาวให้กับลูกค้ารายย่อยที่ซื้อที่อยู่อาศัยกับ Developer ด้วยกระบวนการบริหารจัดการ “องค์กรนวัตกรรม” ที่ดี ส่งผลให้มิติด้านผลลัพธ์ ซึ่ง ธอส. สามารถยกระดับขีดความสามารถขององค์กรในการแข่งขันอย่างก้าวกระโดด เห็นได้จากนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ เช่น สลากออมทรัพย์ ธอส. ที่แตกต่างจากคู่แข่ง และการออกผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่“ทําให้ผู้มีรายได้น้อยจ่ายค่าผ่อนบ้านได้เท่ากับค่าเช่าบ้าน” นวัตกรรมบริการด้วย Mobile Application “GHB ALL” เพื่อปิด Pain Point ของลูกค้าที่ต้องเดินทางมาทําธุรกรรมที่หน้าเคาน์เตอร์สาขาของ ธอส. และ นวัตกรรมกระบวนการ ด้วยการนํา Digital Dashboard มาแก้ Pain Point และแก้ Flow งานสินเชื่อระหว่างสาขากับสํานักงานใหญ่นําไปสู่การอนุมัติสินเชื่อที่รวดเร็วยิ่งขึ้น รวมทั้ง ธอส. มี Innovation Value ที่สูงกว่าเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ “ด้านองค์กรนวัตกรรมดีเด่น ธอส. ได้รับนี้ตอกย้ําว่า ธอส. เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมโดยแท้จริง เพื่อเป็น “ธนาคารที่ดีที่สุดสําหรับการมีบ้าน”
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/46574
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-คปภ. ลงพื้นที่ทันทีเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านประกันภัย กรณีสะพานกลับรถพังถล่ม ย่านถนนพระราม 2 จังหวัดสมุทรสาคร โดยระบบประกันภัยพร้อมเยียวยาผู้ประสบภัยอย่างเต็มที่
วันอังคารที่ 2 สิงหาคม 2565 คปภ. ลงพื้นที่ทันทีเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านประกันภัย กรณีสะพานกลับรถพังถล่ม ย่านถนนพระราม 2 จังหวัดสมุทรสาคร โดยระบบประกันภัยพร้อมเยียวยาผู้ประสบภัยอย่างเต็มที่ จากกรณีสะพานกลับรถหน้าโรงพยาบาลวิภาราม กม.ที่ 34 ต.บางกระเจ้า อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ที่อยู่ระหว่างปิดซ่อมบํารุงพังถล่มลงมาทับรถยนต์ที่สัญจรอยู่บน ถ.พระราม 2 ช่องทางด่วน ขาเข้ากรุงเทพฯ ส่งผลทําให้รถยนต์ได้รับความเสียหายหลายคัน ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เปิดเผยว่า จากกรณีสะพานกลับรถหน้าโรงพยาบาลวิภาราม กม.ที่ 34 ตําบลบางกระเจ้า อําเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ที่อยู่ระหว่างการปิดซ่อมบํารุง พังถล่มลงมาทับรถยนต์ที่สัญจรอยู่บนถนนพระราม 2 ช่องทางด่วน ขาเข้ากรุงเทพฯ ส่งผลทําให้รถยนต์ได้รับความเสียหายหลายคัน และทําให้มีผู้เสียชีวิต 2 ราย บาดเจ็บ 5 ราย เหตุเกิดเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2565 นั้น เบื้องต้นได้สั่งการให้สายคุ้มครองสิทธิประโยชน์ บูรณาการร่วมกับสายส่งเสริมและประกันภัยภูมิภาค สํานักงาน คปภ. ภาค 7 (นครปฐม) และสํานักงาน คปภ. จังหวัดสมุทรสาคร ในฐานะเจ้าของพื้นที่เกิดเหตุ ตรวจสอบการทําประกันภัยพร้อมเร่งอํานวยความสะดวกด้านประกันภัยให้กับผู้ประสบภัย ตลอดจนติดตามรายงานความเสียหายอย่างเร่งด่วนผ่าน Platform การรายงานข้อมูลกรณีอุบัติภัยกลุ่มหรือรายใหญ่ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งให้ลงพื้นที่เพื่ออํานวยความสะดวกด้านประกันภัยให้กับผู้ประสบภัยและครอบครัว เพื่อใช้ระบบประกันภัยช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับครอบครัวของผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรม ทั้งนี้ จากการตรวจสอบความเสียหายทั้งต่อร่างกายและทรัพย์สินจากการเกิดอุบัติเหตุครั้งนี้ พบว่า 1. รถยนต์เก๋ง ทะเบียน ชธ 6271 กรุงเทพมหานคร ถูกแผ่นปูนความยาวกว่า 10 เมตร น้ําหนักราว 5 ตัน หล่นลงมาทับทั้งคันจนรถขาดท่อน ผู้โดยสารเสียชีวิตติดอยู่ภายในรถยนต์ 1 ราย ส่วนคนขับได้รับบาดเจ็บ 1 ราย โดยรถยนต์คันดังกล่าวทําประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (พ.ร.บ.) ไว้กับบริษัท ธนชาตประกันภัย จํากัด (มหาชน) เริ่มคุ้มครองวันที่ 27 เมษายน 2565 สิ้นสุดความคุ้มครองวันที่ 27 เมษายน 2566 โดยคุ้มครองกรณีเสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง 500,000 บาทต่อคน กรณีบาดเจ็บสูงสุดไม่เกิน 80,000 บาทต่อคน กรณีสูญเสียอวัยวะ 200,000-500,000 บาทต่อคน กรณีทุพพลภาพอย่างถาวร 300,000 บาทต่อคน และกรณีเข้ารักษาในสถานพยาบาลในฐานะคนไข้ในจะได้รับค่าชดเชยรายวัน 200 บาทต่อวัน รวมกันไม่เกิน 20 วัน นอกจากนี้ยังได้ทําประกันภัยภาคสมัครใจไว้กับบริษัท ธนชาตประกันภัย จํากัด (มหาชน) เริ่มคุ้มครองวันที่ 27 เมษายน 2565 สิ้นสุดความคุ้มครองวันที่ 27 เมษายน 2566 โดยให้ความคุ้มครองรับผิดต่อบุคคลภายนอกความเสียหายต่อชีวิตร่างกายหรืออนามัย เฉพาะส่วนเกินวงเงินสูงสุด ตาม พ.ร.บ. จํานวน 500,000 บาท รวม 10,000,000 บาท ต่อครั้ง ความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก จํานวนเงิน 5,000,000 บาทต่อครั้ง และประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลแนบท้าย กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพถาวร ของผู้ขับขี่ จํานวน 100,000 บาท และประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลสําหรับผู้โดยสารกรณีเสียชีวิต 100,000 บาทต่อคน 2. รถกระบะ ทะเบียน 3 ฒธ 5940 กรุงเทพมหานคร ด้านหน้ารถถูกแผ่นปูนทับ มีผู้บาดเจ็บ 4 ราย โดยรถยนต์คันดังกล่าวทําประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (พ.ร.บ.) ไว้กับ บริษัท เมืองไทยประกันภัย จํากัด (มหาชน) เริ่มคุ้มครองวันที่ 25 เมษายน 2565 สิ้นสุดความคุ้มครองวันที่ 25 เมษายน 2566 และทําประกันภัยภาคสมัครใจ (ประเภท 1) ไว้กับบริษัท เมืองไทยประกันภัย จํากัด (มหาชน) เริ่มคุ้มครองวันที่ 25 เมษายน 2565 สิ้นสุดความคุ้มครองวันที่ 25 เมษายน 2566 3. รถยนต์บรรทุกน้ํามัน ทะเบียน 70-9316 พระนครศรีอยุธยา ทําประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (พ.ร.บ.) ไว้กับบริษัท นําสินประกันภัย จํากัด (มหาชน) เริ่มความคุ้มครองวันที่ 30 กันยายน 2564 สิ้นสุดความคุ้มครองวันที่ 30 กันยายน 2565 และทําประกันภัยภาคสมัครใจ ไว้กับบริษัท นําสินประกันภัย จํากัด (มหาชน) เริ่มความคุ้มครองวันที่ 30 กันยายน 2564 สิ้นสุดความคุ้มครองวันที่ 30 กันยายน 2565 โดยให้ความคุ้มครองรับผิดต่อบุคลภายนอกความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัย เฉพาะส่วนเกินวงเงินสูงสุด ตาม พ.ร.บ. จํานวน 500,000 บาท รวม 10,000,000 บาท ต่อครั้ง ความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก จํานวนเงิน 10,000,000 บาท ต่อครั้ง และประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลแนบท้ายกรณีเสียชีวิตสูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพถาวร ของผู้ขับขี่ จํานวน 100,000 บาท และประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลสําหรับผู้โดยสารกรณีค่ารักษาพยาบาล 100,000 บาทต่อคน 4. คนงานก่อสร้างสะพานดังกล่าว เสียชีวิต 1 ราย โดยทําประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล ไว้กับบริษัท ทิพยประกันภัย จํากัด (มหาชน) เริ่มความคุ้มครองวันที่ 23 ธันวาคม 2564 สิ้นสุดวันคุ้มครองวันที่ 22 ธันวาคม 2565 โดยความคุ้มครองการเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ สายตาหรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง จํานวน 100,000 บาท และการรักษาพยาบาลต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้งจํานวน 5,000 บาท สําหรับการติดตามการจ่ายค่าสินไหมทดแทนของผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บ สํานักงาน คปภ. จังหวัดสมุทรสาคร ได้ประสานบริษัทประกันภัยที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุในครั้งนี้แล้ว เพื่ออํานวยความสะดวกด้านประกันภัยให้กับครอบครัวของผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บอย่างเต็มที่ นอกจากนี้ สํานักงาน คปภ. อยู่ระหว่างการบูรณาการการทํางานร่วมกับสมาคมประกันชีวิตไทย และสมาคมประกันวินาศภัยไทย เพื่อตรวจสอบเพิ่มเติมว่า ผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บในอุบัติเหตุครั้งนี้มีการทําประกันภัยประเภทอื่น ๆ ไว้ด้วยหรือไม่ หากตรวจสอบพบภายหลังว่าผู้ประสบภัยมีการทําประกันภัยประเภทอื่น ๆ เพิ่มเติมอีก ก็จะได้รับค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติมตามสัญญาประกันภัยที่ระบุไว้ทุกประการ “สํานักงาน คปภ. ขอแสดงความเสียใจอย่างยิ่งกับครอบครัวของผู้เสียชีวิตและมีความห่วงใยต่อผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุครั้งนี้ และพร้อมจะดูแลในด้านประกันภัยอย่างเต็มที่ ทั้งนี้อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ทุกที่ ทุกเวลา และกับทุกคน จึงควรให้ความสําคัญกับการทําประกันภัยเพื่อช่วยบริหารความเสี่ยงภัย โดยเฉพาะการประกันภัยภาคบังคับ (พ.ร.บ.) การประกันภัยรถภาคสมัครใจ และการประกันภัยประเภทอื่น ๆ เพื่อให้ระบบประกันภัยช่วยบริหารความเสี่ยงและเยียวยาความสูญเสียต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันภัย สามารถสอบถามได้ที่ สายด่วน คปภ. 1186” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-คปภ. ลงพื้นที่ทันทีเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านประกันภัย กรณีสะพานกลับรถพังถล่ม ย่านถนนพระราม 2 จังหวัดสมุทรสาคร โดยระบบประกันภัยพร้อมเยียวยาผู้ประสบภัยอย่างเต็มที่ วันอังคารที่ 2 สิงหาคม 2565 คปภ. ลงพื้นที่ทันทีเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านประกันภัย กรณีสะพานกลับรถพังถล่ม ย่านถนนพระราม 2 จังหวัดสมุทรสาคร โดยระบบประกันภัยพร้อมเยียวยาผู้ประสบภัยอย่างเต็มที่ จากกรณีสะพานกลับรถหน้าโรงพยาบาลวิภาราม กม.ที่ 34 ต.บางกระเจ้า อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ที่อยู่ระหว่างปิดซ่อมบํารุงพังถล่มลงมาทับรถยนต์ที่สัญจรอยู่บน ถ.พระราม 2 ช่องทางด่วน ขาเข้ากรุงเทพฯ ส่งผลทําให้รถยนต์ได้รับความเสียหายหลายคัน ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เปิดเผยว่า จากกรณีสะพานกลับรถหน้าโรงพยาบาลวิภาราม กม.ที่ 34 ตําบลบางกระเจ้า อําเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ที่อยู่ระหว่างการปิดซ่อมบํารุง พังถล่มลงมาทับรถยนต์ที่สัญจรอยู่บนถนนพระราม 2 ช่องทางด่วน ขาเข้ากรุงเทพฯ ส่งผลทําให้รถยนต์ได้รับความเสียหายหลายคัน และทําให้มีผู้เสียชีวิต 2 ราย บาดเจ็บ 5 ราย เหตุเกิดเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2565 นั้น เบื้องต้นได้สั่งการให้สายคุ้มครองสิทธิประโยชน์ บูรณาการร่วมกับสายส่งเสริมและประกันภัยภูมิภาค สํานักงาน คปภ. ภาค 7 (นครปฐม) และสํานักงาน คปภ. จังหวัดสมุทรสาคร ในฐานะเจ้าของพื้นที่เกิดเหตุ ตรวจสอบการทําประกันภัยพร้อมเร่งอํานวยความสะดวกด้านประกันภัยให้กับผู้ประสบภัย ตลอดจนติดตามรายงานความเสียหายอย่างเร่งด่วนผ่าน Platform การรายงานข้อมูลกรณีอุบัติภัยกลุ่มหรือรายใหญ่ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งให้ลงพื้นที่เพื่ออํานวยความสะดวกด้านประกันภัยให้กับผู้ประสบภัยและครอบครัว เพื่อใช้ระบบประกันภัยช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับครอบครัวของผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรม ทั้งนี้ จากการตรวจสอบความเสียหายทั้งต่อร่างกายและทรัพย์สินจากการเกิดอุบัติเหตุครั้งนี้ พบว่า 1. รถยนต์เก๋ง ทะเบียน ชธ 6271 กรุงเทพมหานคร ถูกแผ่นปูนความยาวกว่า 10 เมตร น้ําหนักราว 5 ตัน หล่นลงมาทับทั้งคันจนรถขาดท่อน ผู้โดยสารเสียชีวิตติดอยู่ภายในรถยนต์ 1 ราย ส่วนคนขับได้รับบาดเจ็บ 1 ราย โดยรถยนต์คันดังกล่าวทําประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (พ.ร.บ.) ไว้กับบริษัท ธนชาตประกันภัย จํากัด (มหาชน) เริ่มคุ้มครองวันที่ 27 เมษายน 2565 สิ้นสุดความคุ้มครองวันที่ 27 เมษายน 2566 โดยคุ้มครองกรณีเสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง 500,000 บาทต่อคน กรณีบาดเจ็บสูงสุดไม่เกิน 80,000 บาทต่อคน กรณีสูญเสียอวัยวะ 200,000-500,000 บาทต่อคน กรณีทุพพลภาพอย่างถาวร 300,000 บาทต่อคน และกรณีเข้ารักษาในสถานพยาบาลในฐานะคนไข้ในจะได้รับค่าชดเชยรายวัน 200 บาทต่อวัน รวมกันไม่เกิน 20 วัน นอกจากนี้ยังได้ทําประกันภัยภาคสมัครใจไว้กับบริษัท ธนชาตประกันภัย จํากัด (มหาชน) เริ่มคุ้มครองวันที่ 27 เมษายน 2565 สิ้นสุดความคุ้มครองวันที่ 27 เมษายน 2566 โดยให้ความคุ้มครองรับผิดต่อบุคคลภายนอกความเสียหายต่อชีวิตร่างกายหรืออนามัย เฉพาะส่วนเกินวงเงินสูงสุด ตาม พ.ร.บ. จํานวน 500,000 บาท รวม 10,000,000 บาท ต่อครั้ง ความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก จํานวนเงิน 5,000,000 บาทต่อครั้ง และประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลแนบท้าย กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพถาวร ของผู้ขับขี่ จํานวน 100,000 บาท และประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลสําหรับผู้โดยสารกรณีเสียชีวิต 100,000 บาทต่อคน 2. รถกระบะ ทะเบียน 3 ฒธ 5940 กรุงเทพมหานคร ด้านหน้ารถถูกแผ่นปูนทับ มีผู้บาดเจ็บ 4 ราย โดยรถยนต์คันดังกล่าวทําประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (พ.ร.บ.) ไว้กับ บริษัท เมืองไทยประกันภัย จํากัด (มหาชน) เริ่มคุ้มครองวันที่ 25 เมษายน 2565 สิ้นสุดความคุ้มครองวันที่ 25 เมษายน 2566 และทําประกันภัยภาคสมัครใจ (ประเภท 1) ไว้กับบริษัท เมืองไทยประกันภัย จํากัด (มหาชน) เริ่มคุ้มครองวันที่ 25 เมษายน 2565 สิ้นสุดความคุ้มครองวันที่ 25 เมษายน 2566 3. รถยนต์บรรทุกน้ํามัน ทะเบียน 70-9316 พระนครศรีอยุธยา ทําประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (พ.ร.บ.) ไว้กับบริษัท นําสินประกันภัย จํากัด (มหาชน) เริ่มความคุ้มครองวันที่ 30 กันยายน 2564 สิ้นสุดความคุ้มครองวันที่ 30 กันยายน 2565 และทําประกันภัยภาคสมัครใจ ไว้กับบริษัท นําสินประกันภัย จํากัด (มหาชน) เริ่มความคุ้มครองวันที่ 30 กันยายน 2564 สิ้นสุดความคุ้มครองวันที่ 30 กันยายน 2565 โดยให้ความคุ้มครองรับผิดต่อบุคลภายนอกความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัย เฉพาะส่วนเกินวงเงินสูงสุด ตาม พ.ร.บ. จํานวน 500,000 บาท รวม 10,000,000 บาท ต่อครั้ง ความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก จํานวนเงิน 10,000,000 บาท ต่อครั้ง และประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลแนบท้ายกรณีเสียชีวิตสูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพถาวร ของผู้ขับขี่ จํานวน 100,000 บาท และประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลสําหรับผู้โดยสารกรณีค่ารักษาพยาบาล 100,000 บาทต่อคน 4. คนงานก่อสร้างสะพานดังกล่าว เสียชีวิต 1 ราย โดยทําประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล ไว้กับบริษัท ทิพยประกันภัย จํากัด (มหาชน) เริ่มความคุ้มครองวันที่ 23 ธันวาคม 2564 สิ้นสุดวันคุ้มครองวันที่ 22 ธันวาคม 2565 โดยความคุ้มครองการเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ สายตาหรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง จํานวน 100,000 บาท และการรักษาพยาบาลต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้งจํานวน 5,000 บาท สําหรับการติดตามการจ่ายค่าสินไหมทดแทนของผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บ สํานักงาน คปภ. จังหวัดสมุทรสาคร ได้ประสานบริษัทประกันภัยที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุในครั้งนี้แล้ว เพื่ออํานวยความสะดวกด้านประกันภัยให้กับครอบครัวของผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บอย่างเต็มที่ นอกจากนี้ สํานักงาน คปภ. อยู่ระหว่างการบูรณาการการทํางานร่วมกับสมาคมประกันชีวิตไทย และสมาคมประกันวินาศภัยไทย เพื่อตรวจสอบเพิ่มเติมว่า ผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บในอุบัติเหตุครั้งนี้มีการทําประกันภัยประเภทอื่น ๆ ไว้ด้วยหรือไม่ หากตรวจสอบพบภายหลังว่าผู้ประสบภัยมีการทําประกันภัยประเภทอื่น ๆ เพิ่มเติมอีก ก็จะได้รับค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติมตามสัญญาประกันภัยที่ระบุไว้ทุกประการ “สํานักงาน คปภ. ขอแสดงความเสียใจอย่างยิ่งกับครอบครัวของผู้เสียชีวิตและมีความห่วงใยต่อผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุครั้งนี้ และพร้อมจะดูแลในด้านประกันภัยอย่างเต็มที่ ทั้งนี้อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ทุกที่ ทุกเวลา และกับทุกคน จึงควรให้ความสําคัญกับการทําประกันภัยเพื่อช่วยบริหารความเสี่ยงภัย โดยเฉพาะการประกันภัยภาคบังคับ (พ.ร.บ.) การประกันภัยรถภาคสมัครใจ และการประกันภัยประเภทอื่น ๆ เพื่อให้ระบบประกันภัยช่วยบริหารความเสี่ยงและเยียวยาความสูญเสียต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันภัย สามารถสอบถามได้ที่ สายด่วน คปภ. 1186” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/57530
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัด มท. และนายกสมาคมแม่บ้าน มท. เป็นประธานพิธีบำเพ็ญกุศลสวดพระอภิธรรมศพ พระพรหมวชิรเจดีย์ (บำรุง ฐานุตฺตโร ป.ธ.7) อดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 5 อดีตเจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาว
วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน 2565 ปลัด มท. และนายกสมาคมแม่บ้าน มท. เป็นประธานพิธีบําเพ็ญกุศลสวดพระอภิธรรมศพ พระพรหมวชิรเจดีย์ (บํารุง ฐานุตฺตโร ป.ธ.7) อดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 5 อดีตเจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาว ปลัด มท. และนายกสมาคมแม่บ้าน มท. เป็นประธานพิธีบําเพ็ญกุศลสวดพระอภิธรรมศพ พระพรหมวชิรเจดีย์ (บํารุง ฐานุตฺตโร ป.ธ.7) อดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 5 อดีตเจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร เมื่อวันที่ 17 มิ.ย. 65 เวลา 19.00 น. ที่ศาลาพิบูลธรรม วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร อ.เมืองพิษณุโลก จ.พิษณุโลก นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วย ดร. วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย เป็นประธานพิธีบําเพ็ญกุศลสวดพระอภิธรรมศพ พระพรหมวชิรเจดีย์ (บํารุง ฐานุตฺตโร ป.ธ.7) อดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 5 อดีตเจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร ซึ่งได้รับเมตตาพระราชรัตนสุธี เจ้าคณะจังหวัดพิษณุโลก ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นประธานสงฆ์ และพระรัตนโมลี รองเจ้าคณะจังหวัดพิษณุโลก ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร พระมหาธนศักดิ์​ จินตกวี​ รองเจ้าคณะอําเภอเมืองพิษณุโลก ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร พร้อมด้วยคณะสงฆ์ และสามเณร วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร ร่วมพิธี โดยมี ว่าที่ร้อยตรีณรงค์ โรจนโสทร ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย เขตตรวจราชการที่ 17 นายรณชัย จิตรวิเศษ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก นางวัชรินทร์ จิตรวิเศษ ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดพิษณุโลก นายรณรงค์ นครจินดา นายพิศิษฐ์ กิจบุญอนันต์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก หัวหน้าส่วนราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทย นายอําเภอ คณะกรรมการแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดพิษณุโลก และพุทธศาสนิกชน ร่วมในพิธี นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ เปิดเผยว่า พระพรหมวชิรเจดีย์ นามเดิม บํารุง มากก้อน เกิดเมื่อวันที่ 23 ก.พ. 2480 ที่บ้านหมู่ที่ 3 หัววังกร่าง ต.มะขามสูง อ.เมืองพิษณุโลก จ.พิษณุโลก ได้รับการบรรพชา เมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 2495 ณ วัดกระบังมังคลาราม จ.พิษณุโลก ต่อมาในปี 2500 สอบได้นักธรรมเอก สํานักเรียนวัดกระบังมังคลาราม ปี 2509 เป็นเจ้าคณะ 13 วัดทองนพคุณ ปี 2516 เปรียญธรรม 7 ประโยค สํานักเรียนวัดทองนพคุณ กรุงเทพ ปี 2518 เป็นรองเจ้าคณะจังหวัดพิษณุโลก 5 ธ.ค. 2521 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญ ที่พระศรีรัตนมุนี ปี 2531 เป็นเจ้าคณะจังหวัดพิษณุโลก ปี 2534 เป็นเจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร 5 ธ.ค. 2535 เป็น พระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชรัตนมุนี ศรีปาพจนาลงกรณ์ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี 5 ธ.ค. 2541 เป็นรองเจ้าคณะภาค 5 ธ.ค. 2542 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่พระเทพรัตนกวี เมธีธรรมสาธก ตรีปิฎกวราลงกรณ์ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี ปี 2548 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่พระธรรมเสนานุวัตร พิพัฒน์กิจจานุยุต พุทธชินราชวรธาดา ตรีปิฎกวราลงกรณ์ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี 28 ก.ค. 2562 เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรอง มีราชทินนามตามที่จารึกในหิรัญบัฎว่า พระพุทธิวงศมุนีศรีพุทธศาสตรโกศล วิมลพุทธชินราชธํารงวิศิษฎ์ พิพิธศาสนกิจจาทร ตรีปิฎกวราลงกรณ์ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี และวันที่ 8 ก.พ. 2565 ได้รับพระราชทานราชทินนาม เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรอง มีราชทินนามตามที่จารึกในหิรัญบัฏว่า พระพรหมวชิรเจดีย์ ศรีพุทธศาสตรโกศล วิมลพุทธชินราชธ ารงวิศิษฎ์ พิพิธศาสนกิจจาทร ตรีปิฎกวราลงกรณ์ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี "พระพรหมวชิรเจดีย์ (บํารุง ฐานุตฺตโร ป.ธ.7) เป็นพระนักพัฒนาที่มีวิสัยทัศน์ยาวไกล เมื่อได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร ได้พัฒนาวัดอย่างต่อเนื่อง เช่น การจัดสร้างวิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โรงเรียนบาลีพุทธชินราช อําเภอเนินมะปราง ตลอดจนบําเพ็ญสาธารณสงเคราะห์ต่างๆ อันเป็นประโยชน์ต่อพุทธศาสนิกชนอย่างถ้วนหน้า" นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวเพิ่มเติม พระพรหมวชิรเจดีย์ (บํารุง ฐานุตฺตโร ป.ธ.7) อดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 5 อดีตเจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.พิษณุโลก ถึงแก่มรณภาพด้วยอาการสงบ ณ โรงพยาบาลพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก เวลา 12.02 น. สิริอายุรวม 85 ปี
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัด มท. และนายกสมาคมแม่บ้าน มท. เป็นประธานพิธีบำเพ็ญกุศลสวดพระอภิธรรมศพ พระพรหมวชิรเจดีย์ (บำรุง ฐานุตฺตโร ป.ธ.7) อดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 5 อดีตเจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาว วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน 2565 ปลัด มท. และนายกสมาคมแม่บ้าน มท. เป็นประธานพิธีบําเพ็ญกุศลสวดพระอภิธรรมศพ พระพรหมวชิรเจดีย์ (บํารุง ฐานุตฺตโร ป.ธ.7) อดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 5 อดีตเจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาว ปลัด มท. และนายกสมาคมแม่บ้าน มท. เป็นประธานพิธีบําเพ็ญกุศลสวดพระอภิธรรมศพ พระพรหมวชิรเจดีย์ (บํารุง ฐานุตฺตโร ป.ธ.7) อดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 5 อดีตเจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร เมื่อวันที่ 17 มิ.ย. 65 เวลา 19.00 น. ที่ศาลาพิบูลธรรม วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร อ.เมืองพิษณุโลก จ.พิษณุโลก นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วย ดร. วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย เป็นประธานพิธีบําเพ็ญกุศลสวดพระอภิธรรมศพ พระพรหมวชิรเจดีย์ (บํารุง ฐานุตฺตโร ป.ธ.7) อดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 5 อดีตเจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร ซึ่งได้รับเมตตาพระราชรัตนสุธี เจ้าคณะจังหวัดพิษณุโลก ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นประธานสงฆ์ และพระรัตนโมลี รองเจ้าคณะจังหวัดพิษณุโลก ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร พระมหาธนศักดิ์​ จินตกวี​ รองเจ้าคณะอําเภอเมืองพิษณุโลก ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร พร้อมด้วยคณะสงฆ์ และสามเณร วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร ร่วมพิธี โดยมี ว่าที่ร้อยตรีณรงค์ โรจนโสทร ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย เขตตรวจราชการที่ 17 นายรณชัย จิตรวิเศษ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก นางวัชรินทร์ จิตรวิเศษ ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดพิษณุโลก นายรณรงค์ นครจินดา นายพิศิษฐ์ กิจบุญอนันต์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก หัวหน้าส่วนราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทย นายอําเภอ คณะกรรมการแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดพิษณุโลก และพุทธศาสนิกชน ร่วมในพิธี นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ เปิดเผยว่า พระพรหมวชิรเจดีย์ นามเดิม บํารุง มากก้อน เกิดเมื่อวันที่ 23 ก.พ. 2480 ที่บ้านหมู่ที่ 3 หัววังกร่าง ต.มะขามสูง อ.เมืองพิษณุโลก จ.พิษณุโลก ได้รับการบรรพชา เมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 2495 ณ วัดกระบังมังคลาราม จ.พิษณุโลก ต่อมาในปี 2500 สอบได้นักธรรมเอก สํานักเรียนวัดกระบังมังคลาราม ปี 2509 เป็นเจ้าคณะ 13 วัดทองนพคุณ ปี 2516 เปรียญธรรม 7 ประโยค สํานักเรียนวัดทองนพคุณ กรุงเทพ ปี 2518 เป็นรองเจ้าคณะจังหวัดพิษณุโลก 5 ธ.ค. 2521 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญ ที่พระศรีรัตนมุนี ปี 2531 เป็นเจ้าคณะจังหวัดพิษณุโลก ปี 2534 เป็นเจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร 5 ธ.ค. 2535 เป็น พระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชรัตนมุนี ศรีปาพจนาลงกรณ์ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี 5 ธ.ค. 2541 เป็นรองเจ้าคณะภาค 5 ธ.ค. 2542 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่พระเทพรัตนกวี เมธีธรรมสาธก ตรีปิฎกวราลงกรณ์ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี ปี 2548 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่พระธรรมเสนานุวัตร พิพัฒน์กิจจานุยุต พุทธชินราชวรธาดา ตรีปิฎกวราลงกรณ์ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี 28 ก.ค. 2562 เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรอง มีราชทินนามตามที่จารึกในหิรัญบัฎว่า พระพุทธิวงศมุนีศรีพุทธศาสตรโกศล วิมลพุทธชินราชธํารงวิศิษฎ์ พิพิธศาสนกิจจาทร ตรีปิฎกวราลงกรณ์ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี และวันที่ 8 ก.พ. 2565 ได้รับพระราชทานราชทินนาม เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรอง มีราชทินนามตามที่จารึกในหิรัญบัฏว่า พระพรหมวชิรเจดีย์ ศรีพุทธศาสตรโกศล วิมลพุทธชินราชธ ารงวิศิษฎ์ พิพิธศาสนกิจจาทร ตรีปิฎกวราลงกรณ์ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี "พระพรหมวชิรเจดีย์ (บํารุง ฐานุตฺตโร ป.ธ.7) เป็นพระนักพัฒนาที่มีวิสัยทัศน์ยาวไกล เมื่อได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร ได้พัฒนาวัดอย่างต่อเนื่อง เช่น การจัดสร้างวิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โรงเรียนบาลีพุทธชินราช อําเภอเนินมะปราง ตลอดจนบําเพ็ญสาธารณสงเคราะห์ต่างๆ อันเป็นประโยชน์ต่อพุทธศาสนิกชนอย่างถ้วนหน้า" นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวเพิ่มเติม พระพรหมวชิรเจดีย์ (บํารุง ฐานุตฺตโร ป.ธ.7) อดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 5 อดีตเจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.พิษณุโลก ถึงแก่มรณภาพด้วยอาการสงบ ณ โรงพยาบาลพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก เวลา 12.02 น. สิริอายุรวม 85 ปี
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/55875
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีกำชับสาธารณสุขเพิ่มการให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะลองโควิดแก่ประชาชนในวงกว้าง รองรับผู้หายป่วยที่มีผลข้างเคียงจากโรคมากขึ้น ให้สามารถดูแลตนเองได้
วันเสาร์ที่ 16 เมษายน 2565 นายกรัฐมนตรีกําชับสาธารณสุขเพิ่มการให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะลองโควิดแก่ประชาชนในวงกว้าง รองรับผู้หายป่วยที่มีผลข้างเคียงจากโรคมากขึ้น ให้สามารถดูแลตนเองได้ ​นายกรัฐมนตรีกําชับสาธารณสุขเพิ่มการให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะลองโควิดแก่ประชาชนในวงกว้าง วันที่ 16 เม.ย. 2565 น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ได้ติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 กระบวนการให้การรักษาและความพร้อมของเวชภัณฑ์ต่างๆ ซึ่งขณะนี้มีความพร้อมและเพียงพอทุกด้าน อย่างไรก็ตาม ด้วยสายพันธุ์โอมิครอนที่มีลักษณะการแพร่เชื้อได้ง่าย ทําให้จํานวนผู้ติดเชื้อใหม่ที่ยังทรงตัวในระดับสูง แม้ความรุนแรงของโรคจะไม่มากสําหรับผู้มีร่างกายแข็งแรง แต่ก็ได้มีผู้หายป่วยแล้วจํานวนมากที่มีภาวะลองโควิด (Long Covid) หรืออาการที่เกิดขึ้นภายหลังหายป่วยจากโควิด ที่เกิดขึ้นได้กับหลายระบบในร่างกาย ไม่ว่าจะระบบทางเดินหายใจ ระบบประสาท ระบบทางเดินอาหาร ระบบหัวใจและหลอดเลือด นายกรัฐมนตรีจึงได้กําชับให้กระทรวงสาธารณสุขให้ความรู้ และเพิ่มการรับรู้แก่ประชาชนในวงกว้างเกี่ยวกับภาวะลองโควิดและการดูแลตัวเองเมื่อเกิดภาวะดังกล่าว เนื่องจากยังมีผู้ป่วยที่รักษาตนเองที่บ้านที่ไม่ได้มารับการรักษาในโรงพยาบาลบางส่วนที่อาจยังไม่มีความรู้และยังไม่ได้รับการแนะนําในการดูแลตนเองหลังหายป่วยจากโควิด19 “ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขได้มีแนวเวชปฏิบัติเกี่ยวกับการวินิจฉัย การรักษาผู้ที่มีภาวะลองโควิด ตลอดจนข้อแนะนําในการดูแลตนเองของผู้ป่วยอยู่แล้ว ซึ่งท่านนายกรัฐมนตรีก็ได้กําชับให้กระทรวงสาธารณสุข สร้างการรับรู้ ให้ความรู้กับประชาชนในส่วนนี้ในวงกว้างมากขึ้น เนื่องจากยอดผู้ติดเชื้อที่ยังสูงจะทําให้สัดส่วนผู้มีภาวะลองโควิดเพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกัน และผู้ดูแลตัวเองที่บ้านบางส่วนอาจจะยังไม่มีความรู้ในส่วนนี้ โดยหากประชาชนสามารถดูแลตนเองได้ก็จะช่วยลดภาระของบุคลากรทางการแพทย์ลงอีกทางหนึ่งด้วย” น.ส.ไตรศุลี กล่าว
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีกำชับสาธารณสุขเพิ่มการให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะลองโควิดแก่ประชาชนในวงกว้าง รองรับผู้หายป่วยที่มีผลข้างเคียงจากโรคมากขึ้น ให้สามารถดูแลตนเองได้ วันเสาร์ที่ 16 เมษายน 2565 นายกรัฐมนตรีกําชับสาธารณสุขเพิ่มการให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะลองโควิดแก่ประชาชนในวงกว้าง รองรับผู้หายป่วยที่มีผลข้างเคียงจากโรคมากขึ้น ให้สามารถดูแลตนเองได้ ​นายกรัฐมนตรีกําชับสาธารณสุขเพิ่มการให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะลองโควิดแก่ประชาชนในวงกว้าง วันที่ 16 เม.ย. 2565 น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ได้ติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 กระบวนการให้การรักษาและความพร้อมของเวชภัณฑ์ต่างๆ ซึ่งขณะนี้มีความพร้อมและเพียงพอทุกด้าน อย่างไรก็ตาม ด้วยสายพันธุ์โอมิครอนที่มีลักษณะการแพร่เชื้อได้ง่าย ทําให้จํานวนผู้ติดเชื้อใหม่ที่ยังทรงตัวในระดับสูง แม้ความรุนแรงของโรคจะไม่มากสําหรับผู้มีร่างกายแข็งแรง แต่ก็ได้มีผู้หายป่วยแล้วจํานวนมากที่มีภาวะลองโควิด (Long Covid) หรืออาการที่เกิดขึ้นภายหลังหายป่วยจากโควิด ที่เกิดขึ้นได้กับหลายระบบในร่างกาย ไม่ว่าจะระบบทางเดินหายใจ ระบบประสาท ระบบทางเดินอาหาร ระบบหัวใจและหลอดเลือด นายกรัฐมนตรีจึงได้กําชับให้กระทรวงสาธารณสุขให้ความรู้ และเพิ่มการรับรู้แก่ประชาชนในวงกว้างเกี่ยวกับภาวะลองโควิดและการดูแลตัวเองเมื่อเกิดภาวะดังกล่าว เนื่องจากยังมีผู้ป่วยที่รักษาตนเองที่บ้านที่ไม่ได้มารับการรักษาในโรงพยาบาลบางส่วนที่อาจยังไม่มีความรู้และยังไม่ได้รับการแนะนําในการดูแลตนเองหลังหายป่วยจากโควิด19 “ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขได้มีแนวเวชปฏิบัติเกี่ยวกับการวินิจฉัย การรักษาผู้ที่มีภาวะลองโควิด ตลอดจนข้อแนะนําในการดูแลตนเองของผู้ป่วยอยู่แล้ว ซึ่งท่านนายกรัฐมนตรีก็ได้กําชับให้กระทรวงสาธารณสุข สร้างการรับรู้ ให้ความรู้กับประชาชนในส่วนนี้ในวงกว้างมากขึ้น เนื่องจากยอดผู้ติดเชื้อที่ยังสูงจะทําให้สัดส่วนผู้มีภาวะลองโควิดเพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกัน และผู้ดูแลตัวเองที่บ้านบางส่วนอาจจะยังไม่มีความรู้ในส่วนนี้ โดยหากประชาชนสามารถดูแลตนเองได้ก็จะช่วยลดภาระของบุคลากรทางการแพทย์ลงอีกทางหนึ่งด้วย” น.ส.ไตรศุลี กล่าว
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/53628
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-15 - 17 ธ.ค. นี้ พม. จับมือ MBK เชิญชวนช้อปสินค้าฝีมือกลุ่มเปราะบาง ในงาน
วันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม 2564 15 - 17 ธ.ค. นี้ พม. จับมือ MBK เชิญชวนช้อปสินค้าฝีมือกลุ่มเปราะบาง ในงาน 15 - 17 ธ.ค. นี้ พม. จับมือ MBK เชิญชวนช้อปสินค้าฝีมือกลุ่มเปราะบาง ในงาน "Gift to Give มหกรรมของขวัญถูกใจ...ได้บุญ" ครั้งที่ 3 ร่วมแบ่งปันความสุขรับปีใหม่ 2565 เมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 64เวลา 10.00 น. ที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ถนนกรุงเกษม สะพานขาว กรุงเทพมหานครนางสาวแรมรุ้ง วรวัธ รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในฐานะโฆษกกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดเผยว่า เนื่องด้วยเทศกาลปีใหม่ 2565 กําลังใกล้เข้ามาถึง เป็นช่วงเวลาแห่งการส่งมอบและแบ่งปันความสุข ด้วยการมอบคําอวยพร ของขวัญ และการทําความดีให้กันและกัน เพื่อเตรียมรับสิ่งดีๆ ที่กําลังจะเข้ามาในปีใหม่ 2565 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ร่วมกับ บริษัท เอ็ม บี เค จํากัด (มหาชน) เตรียมจัดงาน "Gift to Give มหกรรมของขวัญถูกใจ...ได้บุญ" ตอน Gift & Greet ซึ่งจัดเป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน ระหว่างวันที่ 15 - 17 ธันวาคม 2564 ณ บริเวณลานกิจกรรม ชั้น 4 โซน D ศูนย์การค้า เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ทั้งนี้ งานดังกล่าวเป็นการเปิดพื้นที่ให้กลุ่มเป้าหมายของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ที่เป็นกลุ่มเปราะบาง อาทิ กลุ่มเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ คนไร้ที่พึ่ง และผู้ด้อยโอกาสทางสังคม ในความดูแลของหน่วยงานในสังกัดกระทรวง พม. รวมทั้งภาคีเครือข่าย เข้ามาร่วมออกร้านจําหน่ายสินค้าที่เป็นผลิตภัณฑ์งานฝีมือ อาทิ เทียนหอมอโรม่า ประดับดอกไม้หอม กระเป๋าใส่โทรศัพท์จากฝ้ายทอมือ กระเป๋าสานผักตบชวาสายหนังสไตล์วินเทจ เซ็ทผลิตภัณฑ์ครีมอาบข้าวบาร์เล่ย์ เสื้อมัดย้อม และเคสใส่เปรย์แอลกอฮอลล์ เป็นต้น ซึ่งศูนย์การค้า เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ สนับสนุนพื้นที่ออกร้าน โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด อีกทั้ง มีการแสดงมินิคอนเสิร์ตจากกลุ่มศิลปินไอดอล และกิจกรรม Workshop ตกแต่งขวดสเปรย์แอลกอฮอลล์ และร่วมประมูลผลงาน D.I.Y. ของศิลปินไอดอล และนํารายได้จากการประมูลของขวัญบริจาคให้มูลนิธิเครือข่ายต่างๆ นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมงานสามารถกดรับสิทธิ์ในแอปพลิเคชัน MBK Plus เพื่อรับกระเป๋าที่ระลึกฟรี 1 ใบ เมื่อช้อปสินค้าภายในงานครบ 300 บาท ขึ้นไป (จํากัดจํานวน 150 สิทธิ์ ตลอดรายการ) พร้อมสะสมคะแนนแลกรับสิทธิและส่วนลดพิเศษภายในศูนย์การค้าในเครือ เอ็ม บี เค นางสาวแรมรุ้งกล่าวเพิ่มเติมว่า ขอเชิญชวนประชาชนร่วมสนับสนุนสินค้าที่เป็นผลิตภัณฑ์งานฝีมือของกลุ่มเปราะบางที่อยู่ในความดูแลของกระทรวง พม. และภาคีเครือข่าย เป็นการร่วมแบ่งปันความสุขต้อนรับปีใหม่ 2565 พร้อมอิ่มบุญ อิ่มใจ ได้ที่งาน "Gift to Give มหกรรมของขวัญถูกใจ...ได้บุญ" ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 15-17 ธันวาคม 2564 ณ บริเวณลานกิจกรรม ชั้น 4 โซน D ศูนย์การค้า เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ โดยวันพรุ่งนี้ (15 ธ.ค. 64) เวลา 13.30 น. นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง พม. ให้เกียรติมาเป็นประธานเปิดงานครั้งนี้
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-15 - 17 ธ.ค. นี้ พม. จับมือ MBK เชิญชวนช้อปสินค้าฝีมือกลุ่มเปราะบาง ในงาน วันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม 2564 15 - 17 ธ.ค. นี้ พม. จับมือ MBK เชิญชวนช้อปสินค้าฝีมือกลุ่มเปราะบาง ในงาน 15 - 17 ธ.ค. นี้ พม. จับมือ MBK เชิญชวนช้อปสินค้าฝีมือกลุ่มเปราะบาง ในงาน "Gift to Give มหกรรมของขวัญถูกใจ...ได้บุญ" ครั้งที่ 3 ร่วมแบ่งปันความสุขรับปีใหม่ 2565 เมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 64เวลา 10.00 น. ที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ถนนกรุงเกษม สะพานขาว กรุงเทพมหานครนางสาวแรมรุ้ง วรวัธ รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในฐานะโฆษกกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดเผยว่า เนื่องด้วยเทศกาลปีใหม่ 2565 กําลังใกล้เข้ามาถึง เป็นช่วงเวลาแห่งการส่งมอบและแบ่งปันความสุข ด้วยการมอบคําอวยพร ของขวัญ และการทําความดีให้กันและกัน เพื่อเตรียมรับสิ่งดีๆ ที่กําลังจะเข้ามาในปีใหม่ 2565 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ร่วมกับ บริษัท เอ็ม บี เค จํากัด (มหาชน) เตรียมจัดงาน "Gift to Give มหกรรมของขวัญถูกใจ...ได้บุญ" ตอน Gift & Greet ซึ่งจัดเป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน ระหว่างวันที่ 15 - 17 ธันวาคม 2564 ณ บริเวณลานกิจกรรม ชั้น 4 โซน D ศูนย์การค้า เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ทั้งนี้ งานดังกล่าวเป็นการเปิดพื้นที่ให้กลุ่มเป้าหมายของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ที่เป็นกลุ่มเปราะบาง อาทิ กลุ่มเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ คนไร้ที่พึ่ง และผู้ด้อยโอกาสทางสังคม ในความดูแลของหน่วยงานในสังกัดกระทรวง พม. รวมทั้งภาคีเครือข่าย เข้ามาร่วมออกร้านจําหน่ายสินค้าที่เป็นผลิตภัณฑ์งานฝีมือ อาทิ เทียนหอมอโรม่า ประดับดอกไม้หอม กระเป๋าใส่โทรศัพท์จากฝ้ายทอมือ กระเป๋าสานผักตบชวาสายหนังสไตล์วินเทจ เซ็ทผลิตภัณฑ์ครีมอาบข้าวบาร์เล่ย์ เสื้อมัดย้อม และเคสใส่เปรย์แอลกอฮอลล์ เป็นต้น ซึ่งศูนย์การค้า เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ สนับสนุนพื้นที่ออกร้าน โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด อีกทั้ง มีการแสดงมินิคอนเสิร์ตจากกลุ่มศิลปินไอดอล และกิจกรรม Workshop ตกแต่งขวดสเปรย์แอลกอฮอลล์ และร่วมประมูลผลงาน D.I.Y. ของศิลปินไอดอล และนํารายได้จากการประมูลของขวัญบริจาคให้มูลนิธิเครือข่ายต่างๆ นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมงานสามารถกดรับสิทธิ์ในแอปพลิเคชัน MBK Plus เพื่อรับกระเป๋าที่ระลึกฟรี 1 ใบ เมื่อช้อปสินค้าภายในงานครบ 300 บาท ขึ้นไป (จํากัดจํานวน 150 สิทธิ์ ตลอดรายการ) พร้อมสะสมคะแนนแลกรับสิทธิและส่วนลดพิเศษภายในศูนย์การค้าในเครือ เอ็ม บี เค นางสาวแรมรุ้งกล่าวเพิ่มเติมว่า ขอเชิญชวนประชาชนร่วมสนับสนุนสินค้าที่เป็นผลิตภัณฑ์งานฝีมือของกลุ่มเปราะบางที่อยู่ในความดูแลของกระทรวง พม. และภาคีเครือข่าย เป็นการร่วมแบ่งปันความสุขต้อนรับปีใหม่ 2565 พร้อมอิ่มบุญ อิ่มใจ ได้ที่งาน "Gift to Give มหกรรมของขวัญถูกใจ...ได้บุญ" ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 15-17 ธันวาคม 2564 ณ บริเวณลานกิจกรรม ชั้น 4 โซน D ศูนย์การค้า เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ โดยวันพรุ่งนี้ (15 ธ.ค. 64) เวลา 13.30 น. นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง พม. ให้เกียรติมาเป็นประธานเปิดงานครั้งนี้
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/49507
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐมนตรีเกษตรฯ มอบโล่และประกาศเกียรติคุณแก่ข้าราชการพลเรือนดีเด่น
วันพุธที่ 16 มีนาคม 2565 รัฐมนตรีเกษตรฯ มอบโล่และประกาศเกียรติคุณแก่ข้าราชการพลเรือนดีเด่น รัฐมนตรีเกษตรฯ มอบโล่และประกาศเกียรติคุณแก่ข้าราชการพลเรือนดีเด่น คนดีศรีข้าว ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวดีเด่น และศูนย์วิจัยข้าวดีเด่น ประจําปี พ.ศ. 2564 เนื่องในโอกาสครบรอบ 16 ปี กรมการข้าว ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังพิธีประกาศเกียรติคุณ ข้าราชการพลเรือนดีเด่น คนดีศรีข้าว ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวดีเด่น และศูนย์วิจัยข้าวดีเด่น ประจําปี พ.ศ. 2564 เนื่องในโอกาสครบรอบ 16 ปี วันคล้ายวันสถาปนากรมการข้าว โดยมี ดร.ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าร่วม ณ กรมการข้าว ว่า ข้าวและชาวนานับว่ามีความสําคัญอย่างยิ่งต่อประเทศไทย ซึ่งข้าวถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่หล่อเลี้ยงคนไทยมาอย่างช้านาน สามารถสร้างรายได้และขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยให้เป็นที่ยอมรับ สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ กรมการข้าวจึงมุ่งที่จะศึกษา วิเคราะห์ วิจัยหาแนวทางการดําเนินงาน เพื่อขับเคลื่อนการบริหารจัดการข้าวของประเทศแบบครบวงจร ทั้งในด้านการผลิต การแปรรูป การจําหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยใช้หลักการ “ตลาดนําการผลิต” ซึ่งได้ดูแลชีวิตชาวนาถึง 4.7 ล้านครัวเรือน หรือประมาณ 18 ล้านคน ซึ่งถือว่าเป็นจํานวนมากถึง 1 ใน 3 ของประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวต่อไปว่า ที่ผ่านมารัฐบาลได้ตระหนักและเข้าใจปัญหาที่ชาวนาเผชิญอยู่ ทั้งในเรื่องราคาข้าวตกต่ํา การส่งออกลดลง ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น สถานการณ์ภัยธรรมชาติ ปัญหาการระบาดของโรคโควิด-19 รัฐบาลจึงได้กําหนดนโยบายประกันรายได้เกษตรกร โดยเริ่มดําเนินการตั้งแต่ปีการผลิต 2562 จนถึงปัจจุบัน รวมทั้งได้ดําเนินนโยบายคู่ขนานต่าง ๆ ที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวนาให้ดีขึ้น สําหรับด้านการพัฒนาการผลิตข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีนโยบายปรับปรุงพันธุ์ข้าวและผลิตพันธุ์ข้าวสายพันธุ์ใหม่ให้ตรงกับความต้องการของตลาด สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก รวมถึงการผลิตข้าวอินทรีย์ การตรวจรับรองการผลิตข้าวคุณภาพ การส่งเสริมการทํานาแบบแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่ โดยการนําเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีความหลากหลายมาประยุกต์ใช้ สร้างโอกาสในการเพิ่มคุณภาพการผลิต อีกทั้งยังมีการเชื่อมโยงการตลาดทําให้เกิดความร่วมมือในการผลิต สามารถผลักดันให้ชาวนารวมกลุ่มการผลิต เพื่อจะได้มีอํานาจในการต่อรองร่วมกัน เพื่อให้พี่น้องชาวนามีรายได้เพิ่มขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน และสามารถสร้างความมั่นคงทางอาหารของประเทศไทยอย่างแท้จริง อย่างไรก็ตาม ปัจจัยสําคัญที่จะเป็นกําลังในการพัฒนาการบริหารจัดการข้าวทั้งระบบคือบุคลากร ที่จะต้องเสียสละทุ่มเทอุทิศตน ทั้งกําลังกายและกําลังใจ ปฏิบัติงานหน้าที่ที่รับผิดชอบด้วยความขยันขันแข็งและซื่อสัตย์สุจริต ผู้บริหารจึงต้องให้ความสําคัญและให้โอกาสในการพัฒนาองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญ ความชํานาญในสายงาน เพื่อเป็นกําลังสําคัญในการพัฒนาประเทศต่อไป ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มอบเสื้อสามารถกรมการข้าว ให้แก่ข้าราชการพลเรือนดีเด่นประจําปี พ.ศ.2564 จํานวน 2 ราย มอบเสื้อสามารถกรมการข้าวและโล่รางวัลให้แก่ผู้ได้รับรางวัลคนดีศรีข้าวประจําปี พ.ศ. ๒๕๖๔ ได้แก่ ประเภทข้าราชการ จํานวน 3 ราย ประเภทลูกจ้างประจํา จํานวน 3 ราย ประเภทพนักงานราชการ จํานวน 3 ราย และประเภทจ้างเหมาบริการเพื่อเสริมการปฏิบัติงาน จํานวน 3 ราย มอบประกาศนียบัตรให้แก่ผู้ที่ได้รับรางวัลชมเชยคนดีศรีข้าวประจําปี พ.ศ. ๒๕๖๔ จํานวน 7 ราย ได้แก่ ประเภทข้าราชการ จํานวน 4 ราย ประเภทพนักงานราชการ จํานวน 2 ราย และประเภทจ้างเหมาบริการเพื่อเสริมการปฏิบัติงาน จํานวน 1 ราย มอบโล่รางวัลให้แก่ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวดีเด่น จํานวน 3 ศูนย์ และศูนย์วิจัยข้าวดีเด่น จํานวน 3 ศูนย์ และเยี่ยมชมนิทรรศการวันสถาปนากรมการข้าว เนื่องในโอกาสครบรอบ 16 ปี
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐมนตรีเกษตรฯ มอบโล่และประกาศเกียรติคุณแก่ข้าราชการพลเรือนดีเด่น วันพุธที่ 16 มีนาคม 2565 รัฐมนตรีเกษตรฯ มอบโล่และประกาศเกียรติคุณแก่ข้าราชการพลเรือนดีเด่น รัฐมนตรีเกษตรฯ มอบโล่และประกาศเกียรติคุณแก่ข้าราชการพลเรือนดีเด่น คนดีศรีข้าว ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวดีเด่น และศูนย์วิจัยข้าวดีเด่น ประจําปี พ.ศ. 2564 เนื่องในโอกาสครบรอบ 16 ปี กรมการข้าว ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังพิธีประกาศเกียรติคุณ ข้าราชการพลเรือนดีเด่น คนดีศรีข้าว ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวดีเด่น และศูนย์วิจัยข้าวดีเด่น ประจําปี พ.ศ. 2564 เนื่องในโอกาสครบรอบ 16 ปี วันคล้ายวันสถาปนากรมการข้าว โดยมี ดร.ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าร่วม ณ กรมการข้าว ว่า ข้าวและชาวนานับว่ามีความสําคัญอย่างยิ่งต่อประเทศไทย ซึ่งข้าวถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่หล่อเลี้ยงคนไทยมาอย่างช้านาน สามารถสร้างรายได้และขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยให้เป็นที่ยอมรับ สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ กรมการข้าวจึงมุ่งที่จะศึกษา วิเคราะห์ วิจัยหาแนวทางการดําเนินงาน เพื่อขับเคลื่อนการบริหารจัดการข้าวของประเทศแบบครบวงจร ทั้งในด้านการผลิต การแปรรูป การจําหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยใช้หลักการ “ตลาดนําการผลิต” ซึ่งได้ดูแลชีวิตชาวนาถึง 4.7 ล้านครัวเรือน หรือประมาณ 18 ล้านคน ซึ่งถือว่าเป็นจํานวนมากถึง 1 ใน 3 ของประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวต่อไปว่า ที่ผ่านมารัฐบาลได้ตระหนักและเข้าใจปัญหาที่ชาวนาเผชิญอยู่ ทั้งในเรื่องราคาข้าวตกต่ํา การส่งออกลดลง ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น สถานการณ์ภัยธรรมชาติ ปัญหาการระบาดของโรคโควิด-19 รัฐบาลจึงได้กําหนดนโยบายประกันรายได้เกษตรกร โดยเริ่มดําเนินการตั้งแต่ปีการผลิต 2562 จนถึงปัจจุบัน รวมทั้งได้ดําเนินนโยบายคู่ขนานต่าง ๆ ที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวนาให้ดีขึ้น สําหรับด้านการพัฒนาการผลิตข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีนโยบายปรับปรุงพันธุ์ข้าวและผลิตพันธุ์ข้าวสายพันธุ์ใหม่ให้ตรงกับความต้องการของตลาด สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก รวมถึงการผลิตข้าวอินทรีย์ การตรวจรับรองการผลิตข้าวคุณภาพ การส่งเสริมการทํานาแบบแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่ โดยการนําเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีความหลากหลายมาประยุกต์ใช้ สร้างโอกาสในการเพิ่มคุณภาพการผลิต อีกทั้งยังมีการเชื่อมโยงการตลาดทําให้เกิดความร่วมมือในการผลิต สามารถผลักดันให้ชาวนารวมกลุ่มการผลิต เพื่อจะได้มีอํานาจในการต่อรองร่วมกัน เพื่อให้พี่น้องชาวนามีรายได้เพิ่มขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน และสามารถสร้างความมั่นคงทางอาหารของประเทศไทยอย่างแท้จริง อย่างไรก็ตาม ปัจจัยสําคัญที่จะเป็นกําลังในการพัฒนาการบริหารจัดการข้าวทั้งระบบคือบุคลากร ที่จะต้องเสียสละทุ่มเทอุทิศตน ทั้งกําลังกายและกําลังใจ ปฏิบัติงานหน้าที่ที่รับผิดชอบด้วยความขยันขันแข็งและซื่อสัตย์สุจริต ผู้บริหารจึงต้องให้ความสําคัญและให้โอกาสในการพัฒนาองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญ ความชํานาญในสายงาน เพื่อเป็นกําลังสําคัญในการพัฒนาประเทศต่อไป ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มอบเสื้อสามารถกรมการข้าว ให้แก่ข้าราชการพลเรือนดีเด่นประจําปี พ.ศ.2564 จํานวน 2 ราย มอบเสื้อสามารถกรมการข้าวและโล่รางวัลให้แก่ผู้ได้รับรางวัลคนดีศรีข้าวประจําปี พ.ศ. ๒๕๖๔ ได้แก่ ประเภทข้าราชการ จํานวน 3 ราย ประเภทลูกจ้างประจํา จํานวน 3 ราย ประเภทพนักงานราชการ จํานวน 3 ราย และประเภทจ้างเหมาบริการเพื่อเสริมการปฏิบัติงาน จํานวน 3 ราย มอบประกาศนียบัตรให้แก่ผู้ที่ได้รับรางวัลชมเชยคนดีศรีข้าวประจําปี พ.ศ. ๒๕๖๔ จํานวน 7 ราย ได้แก่ ประเภทข้าราชการ จํานวน 4 ราย ประเภทพนักงานราชการ จํานวน 2 ราย และประเภทจ้างเหมาบริการเพื่อเสริมการปฏิบัติงาน จํานวน 1 ราย มอบโล่รางวัลให้แก่ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวดีเด่น จํานวน 3 ศูนย์ และศูนย์วิจัยข้าวดีเด่น จํานวน 3 ศูนย์ และเยี่ยมชมนิทรรศการวันสถาปนากรมการข้าว เนื่องในโอกาสครบรอบ 16 ปี
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/52613
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-บขส. หารือผู้ประกอบการรถร่วมฯ หาทางรอดจากวิกฤติน้ำมันแพง
วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน 2565 บขส. หารือผู้ประกอบการรถร่วมฯ หาทางรอดจากวิกฤติน้ํามันแพง พร้อมเตรียมสรุปข้อเสนอให้บอร์ดบริษัทฯ และกระทรวงคมนาคมพิจารณาต่อไป นายสัญลักข์ ปัญวัฒนลิขิต กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ขนส่ง จํากัด (บขส.) กระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในวันนี้ (21 มิถุนายน 2565) ได้เชิญผู้ประกอบการรถร่วมฯ ที่อยู่ในกํากับดูแลของ บขส. เข้าหารือ เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาผลกระทบที่เกิดจากราคาน้ํามันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนทําให้ผู้ประกอบการรถร่วมฯ ได้รับความเดือดร้อนไม่สามารถแบกรับภาระต้นทุนดังกล่าวได้ เป็นที่มาของการปรับลดเที่ยววิ่งลง จากการหารือกัน บขส. เข้าใจถึงความจําเป็นในการขอปรับลดจํานวนเที่ยววิ่งในครั้งนี้ โดยขอให้ผู้ประกอบการฯ ดําเนินการตามเงื่อนไขการเดินรถของกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) และขอให้แจ้งรายละเอียดและจํานวนเส้นทางที่จะปรับลดเที่ยววิ่งมายัง บขส. ล่วงหน้า เพื่อที่จะได้มีการวางแผนจัดการเดินรถได้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน ส่วนข้อเสนอของผู้ประกอบการรถร่วมฯ อาทิ การขอปรับราคาค่าโดยสารให้สอดคล้องกับต้นทุนน้ํามัน การแก้ปัญหาเส้นทางเดินรถซ้ําซ้อน การปรับลดค่าธรรมเนียมการเดินรถ และการใช้สิทธิ์โครงการของรัฐบาลในการชําระค่าโดยสาร บขส. จะนําเข้าหารือกับคณะกรรมการบริษัทฯ ภายในเดือนมิถุนายนนี้ จากนั้นจะเสนอกระทรวงคมนาคมต่อไป
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-บขส. หารือผู้ประกอบการรถร่วมฯ หาทางรอดจากวิกฤติน้ำมันแพง วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน 2565 บขส. หารือผู้ประกอบการรถร่วมฯ หาทางรอดจากวิกฤติน้ํามันแพง พร้อมเตรียมสรุปข้อเสนอให้บอร์ดบริษัทฯ และกระทรวงคมนาคมพิจารณาต่อไป นายสัญลักข์ ปัญวัฒนลิขิต กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ขนส่ง จํากัด (บขส.) กระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในวันนี้ (21 มิถุนายน 2565) ได้เชิญผู้ประกอบการรถร่วมฯ ที่อยู่ในกํากับดูแลของ บขส. เข้าหารือ เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาผลกระทบที่เกิดจากราคาน้ํามันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนทําให้ผู้ประกอบการรถร่วมฯ ได้รับความเดือดร้อนไม่สามารถแบกรับภาระต้นทุนดังกล่าวได้ เป็นที่มาของการปรับลดเที่ยววิ่งลง จากการหารือกัน บขส. เข้าใจถึงความจําเป็นในการขอปรับลดจํานวนเที่ยววิ่งในครั้งนี้ โดยขอให้ผู้ประกอบการฯ ดําเนินการตามเงื่อนไขการเดินรถของกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) และขอให้แจ้งรายละเอียดและจํานวนเส้นทางที่จะปรับลดเที่ยววิ่งมายัง บขส. ล่วงหน้า เพื่อที่จะได้มีการวางแผนจัดการเดินรถได้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน ส่วนข้อเสนอของผู้ประกอบการรถร่วมฯ อาทิ การขอปรับราคาค่าโดยสารให้สอดคล้องกับต้นทุนน้ํามัน การแก้ปัญหาเส้นทางเดินรถซ้ําซ้อน การปรับลดค่าธรรมเนียมการเดินรถ และการใช้สิทธิ์โครงการของรัฐบาลในการชําระค่าโดยสาร บขส. จะนําเข้าหารือกับคณะกรรมการบริษัทฯ ภายในเดือนมิถุนายนนี้ จากนั้นจะเสนอกระทรวงคมนาคมต่อไป
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/56111
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมช.ธรรมนัส เปิดงานวันส่งมอบปัจจัยการผลิตให้แก่เกษตรกรโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่
วันพฤหัสบดีที่ 12 สิงหาคม 2564 รมช.ธรรมนัส เปิดงานวันส่งมอบปัจจัยการผลิตให้แก่เกษตรกรโครงการ 1 ตําบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ รมช.ธรรมนัส เปิดงานวันส่งมอบปัจจัยการผลิตให้แก่เกษตรกรโครงการ 1 ตําบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ จ.พะเยา เพื่อกระตุ้นให้เกษตรกรเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ สืบสานพระปณิธานของในหลวงรัชกาลที่ 9 ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการจัดงานวันส่งมอบปัจจัยการผลิตให้แก่เกษตรกรโครงการ 1 ตําบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ ณ แปลงนายสุวัฒน์ พรมตุ้ย ม.3 ต.ท่าวังทอง อ.เมืองพะเยา จ.พะเยา ว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดทําโครงการ 1 ตําบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยน้อมนําหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ มาเป็นแนวทางในการดําเนินงาน เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด – 19 บรรเทาปัญหาการว่างงาน สร้างความเข้มแข็งในท้องถิ่น ให้มีความมั่งคงในการเป็นแหล่งผลิตอาหาร มีทางเลือก มีอาชีพ เพื่อมุ่งสู่ระบบเกษตรกรรมยั่งยืน นอกจากจะช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจในระยะสั้นแล้ว ยังช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้กับเศรษฐกิจไทยในระยะยาว เกษตรกรสามารถเลี้ยงตนเองและสร้างรายได้ให้กับครอบครัวได้อย่างพอเพียงและยั่งยืน “การดําเนินงานตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ ถือว่าเป็นทางออกของสภาวะวิกฤติจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด – 19 ในครั้งนี้ เพราะทําให้เกิดปัญหาการว่างงาน เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานภาคอุตสาหกรรมมาสู่ภาคเกษตร ดังนั้นเกษตรทฤษฎีใหม่จึงเป็นทางเลือกของเกษตรกรไทย และผลความก้าวหน้าของการดําเนินโครงการในจังหวัดพะเยา ได้มีการฝึกอบรมกระบวนการเรียนรู้ จํานวน 4 ครั้ง และดําเนินการขุดสระกักเก็บน้ํา จํานวน 68 ราย โดยสามารถเพิ่มพื้นที่กักเก็บน้ําในช่วงฤดูฝนได้ 50 – 100% และในช่วงฤดูแล้งสามารถกักเก็บน้ําได้ 30 – 50% จากการจัดงานภายในวันนี้จะเป็นการกระตุ้นให้เกษตรกรเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ พร้อมเป็นกําลังใจให้เกษตรกร และเป็นการสืบสานพระปณิธานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรด้วย” ร้อยเอก ธรรมนัส กล่าว ทั้งนี้ จังหวัดพะเยา ได้ดําเนินการขับเคลื่อนโครงการ 1 ตําบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่มาอย่างต่อเนื่อง โดยมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการจํานวน 68 ราย ดําเนินการในพื้นที่ 4 อําเภอ 14 ตําบล ได้แก่ อ.เมือง อ.ดอกคําใต้ อ.ภูซาง และอ.เชียงม่วน โดยภายในงานมีการมอบใบประกาศแก่เกษตรกรผู้ผ่านการฝึกอบรมจํานวน 68 ราย มอบปัจจัยการผลิตให้แก่ตัวแทนเกษตรกรใน 4 อําเภอ ไก่ไข่ อาหารสัตว์ ปล่อยพันธุ์ปลาน้ําจืด และปลูกต้นไม้ ไม้ 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง อีกด้วย
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมช.ธรรมนัส เปิดงานวันส่งมอบปัจจัยการผลิตให้แก่เกษตรกรโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ วันพฤหัสบดีที่ 12 สิงหาคม 2564 รมช.ธรรมนัส เปิดงานวันส่งมอบปัจจัยการผลิตให้แก่เกษตรกรโครงการ 1 ตําบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ รมช.ธรรมนัส เปิดงานวันส่งมอบปัจจัยการผลิตให้แก่เกษตรกรโครงการ 1 ตําบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ จ.พะเยา เพื่อกระตุ้นให้เกษตรกรเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ สืบสานพระปณิธานของในหลวงรัชกาลที่ 9 ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการจัดงานวันส่งมอบปัจจัยการผลิตให้แก่เกษตรกรโครงการ 1 ตําบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ ณ แปลงนายสุวัฒน์ พรมตุ้ย ม.3 ต.ท่าวังทอง อ.เมืองพะเยา จ.พะเยา ว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดทําโครงการ 1 ตําบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยน้อมนําหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ มาเป็นแนวทางในการดําเนินงาน เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด – 19 บรรเทาปัญหาการว่างงาน สร้างความเข้มแข็งในท้องถิ่น ให้มีความมั่งคงในการเป็นแหล่งผลิตอาหาร มีทางเลือก มีอาชีพ เพื่อมุ่งสู่ระบบเกษตรกรรมยั่งยืน นอกจากจะช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจในระยะสั้นแล้ว ยังช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้กับเศรษฐกิจไทยในระยะยาว เกษตรกรสามารถเลี้ยงตนเองและสร้างรายได้ให้กับครอบครัวได้อย่างพอเพียงและยั่งยืน “การดําเนินงานตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ ถือว่าเป็นทางออกของสภาวะวิกฤติจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด – 19 ในครั้งนี้ เพราะทําให้เกิดปัญหาการว่างงาน เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานภาคอุตสาหกรรมมาสู่ภาคเกษตร ดังนั้นเกษตรทฤษฎีใหม่จึงเป็นทางเลือกของเกษตรกรไทย และผลความก้าวหน้าของการดําเนินโครงการในจังหวัดพะเยา ได้มีการฝึกอบรมกระบวนการเรียนรู้ จํานวน 4 ครั้ง และดําเนินการขุดสระกักเก็บน้ํา จํานวน 68 ราย โดยสามารถเพิ่มพื้นที่กักเก็บน้ําในช่วงฤดูฝนได้ 50 – 100% และในช่วงฤดูแล้งสามารถกักเก็บน้ําได้ 30 – 50% จากการจัดงานภายในวันนี้จะเป็นการกระตุ้นให้เกษตรกรเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ พร้อมเป็นกําลังใจให้เกษตรกร และเป็นการสืบสานพระปณิธานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรด้วย” ร้อยเอก ธรรมนัส กล่าว ทั้งนี้ จังหวัดพะเยา ได้ดําเนินการขับเคลื่อนโครงการ 1 ตําบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่มาอย่างต่อเนื่อง โดยมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการจํานวน 68 ราย ดําเนินการในพื้นที่ 4 อําเภอ 14 ตําบล ได้แก่ อ.เมือง อ.ดอกคําใต้ อ.ภูซาง และอ.เชียงม่วน โดยภายในงานมีการมอบใบประกาศแก่เกษตรกรผู้ผ่านการฝึกอบรมจํานวน 68 ราย มอบปัจจัยการผลิตให้แก่ตัวแทนเกษตรกรใน 4 อําเภอ ไก่ไข่ อาหารสัตว์ ปล่อยพันธุ์ปลาน้ําจืด และปลูกต้นไม้ ไม้ 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง อีกด้วย
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/44698
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-โฆษกรัฐบาลเผย ภาคเอกชน-TDRI-ธปท. ขานรับปรับการเพิ่มเพดานหนี้สาธารณะ 70% ชี้เหมาะสมเพิ่มความคล่องตัวให้รัฐ
วันพุธที่ 22 กันยายน 2564 โฆษกรัฐบาลเผย ภาคเอกชน-TDRI-ธปท. ขานรับปรับการเพิ่มเพดานหนี้สาธารณะ 70% ชี้เหมาะสมเพิ่มความคล่องตัวให้รัฐ โฆษกรัฐบาลเผย ภาคเอกชน-TDRI-ธปท. ขานรับปรับการเพิ่มเพดานหนี้สาธารณะ 70% ชี้เหมาะสมเพิ่มความคล่องตัวให้รัฐ วันนี้ (22 กันยายน 2564) นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เผยความเห็นจากหน่วยงานด้านเศรษฐกิจการคลัง/การวิจัย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รวมทั้งภาคเอกชน สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่ชี้ว่าการปรับเพดานหนี้สาธารณะ จาก 60% เป็น 70% เหมาะสมกับสถานการณ์ประเทศในขณะนี้ โดยเป็นไปเพื่อเพิ่มความคล่องตัวให้กับการดําเนินนโยบายเพื่อรองรับสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 และพยุงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะข้างหน้าโดย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ได้ให้ความเห็นว่าการขยายเพดานหนี้สาธารณะจาก 60% เป็น 70% ในขณะนี้ถือว่าเหมาะสม เพราะตัวเลขหนี้สาธารณะในระดับ 60% ถือว่าคาบเส้นมากเกินไป โดยที่ผ่านมาตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP ลดลงจากวิกฤติโควิด-19 ทําให้เพดานหนี้ต่อ GDP จะแคบลงอีก นอกจากนี้ การขยายเพดานการกู้สามารถทําได้จากหลายสาเหตุ เช่น ตัวเลขหนี้ภาครัฐของไทยใช้นิยามที่มาตรฐานสูงกว่าสากล โดยรวมหนี้รัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีจํานวนกว่า 8 แสนล้านบาทเข้าไปด้วย ทําให้ตัวเลขโดยรวมสูงกว่าปกติถ้าวัดตามมาตรฐานสากล ขณะที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ให้ความเห็นว่าการขยายเพดานหนี้สาธารณะจาก 60% เป็น 70% เป็นไปเพื่อเพิ่มความคล่องตัวให้กับการดําเนินนโยบายรัฐเพื่อรองรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และยังคงมีความเสี่ยงต่อเสถียรภาพการคลังในระดับต่ํา ซึ่งปัจจุบันสัดส่วนหนี้สาธารณะของไทยอยู่ที่ 55.6% เทียบกับระดับปัจจุบันของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วที่ประมาณ 120% และกลุ่มประเทศที่กําลังพัฒนาในแถบเอเชียที่ประมาณ 70% นอกจากนี้ หนี้สาธารณะของไทยเกือบทั้งหมดเป็นหนี้ในประเทศ 98.2% และต้นทุนการกู้ยืมของรัฐบาลไทยอยู่ในระดับต่ํา โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะ 10 ปีของไทย ณ วันที่ 20 กันยายน 2564 ต่ํากว่า 1.8% ซึ่งต่ําสุดในกลุ่มประเทศกําลังพัฒนาในอาเซียน ที่ส่วนใหญ่อยู่ในระดับเกิน 3% และ ความเสี่ยงในการถูกปรับลด credit rating ของไทยอยู่ในระดับต่ํา ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าประเทศที่กําลังพัฒนาในแถบเอเชียที่มี credit rating ระดับเดียวกับไทย และมีหนี้สาธารณะต่อจีดีพีสูงกว่าไทยเป็นส่วนใหญ่ อาทิ อินเดียที่ 87% และมาเลเซียที่ 67% นอกจากนี้ นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยยังเห็นว่ารัฐบาลมีความจําเป็นในการขยายเพดานหนี้สาธารณะ เพื่อพยุงเศรษฐกิจไทยในระยะสั้น และกระตุ้นเศรษฐกิจให้กลับมาเดินหน้าได้ เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยืดยื้อทําให้เศรษฐกิจไทยบอบช้ํา จึงจําเป็นต้องต้องอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบมิฉะนั้น อาจเกิดความเสียหายมหาศาล เช่นเดียวกับ หลายประเทศในขณะนี้ก็มีการขยายเพดานหนี้เช่นกัน ในส่วนของนายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) สนับสนุนการเพิ่มเพดานหนี้สาธารณะเพื่อเพิ่มกําลังซื้อให้ประชาชน ส่วนมาตรการที่รัฐบาลควรนํามาใช้เร่งด่วน เช่น การเยียวยาผู้ประกอบการทุกประเภท เป็นต้น “ภาคเอกชนและนักวิชาการ เห็นสอดคล้องมาตรการปรับเพดานหนี้สาธารณะ 70% โดยชี้ว่าเหมาะสมกับสถานการณ์ประเทศในขณะนี้ รัฐบาลมุ่งมันทํางานอย่างหนัก เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจประเทศซึ่งมีสัญญาณบวกหลายตัว อาทิ การส่งออกขยายตัวต่อเนื่อง การท่องเที่ยวที่กําลังจะกลับมาฟื้นตัวและการฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่คาดว่าจะเป็นไปตามเป้าหมายภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งช่วยสร้างเชื่อมั่นให้กับภาคธุรกิจและนักลงทุน และเร่งให้การบริโภคกลับมาสู่ภาวะปกติ ซึ่งส่งผลทําให้ GDP ขยายตัวเพิ่มขึ้น” นายธนกร ฯ กล่าว -------------------------------------------------------- กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-โฆษกรัฐบาลเผย ภาคเอกชน-TDRI-ธปท. ขานรับปรับการเพิ่มเพดานหนี้สาธารณะ 70% ชี้เหมาะสมเพิ่มความคล่องตัวให้รัฐ วันพุธที่ 22 กันยายน 2564 โฆษกรัฐบาลเผย ภาคเอกชน-TDRI-ธปท. ขานรับปรับการเพิ่มเพดานหนี้สาธารณะ 70% ชี้เหมาะสมเพิ่มความคล่องตัวให้รัฐ โฆษกรัฐบาลเผย ภาคเอกชน-TDRI-ธปท. ขานรับปรับการเพิ่มเพดานหนี้สาธารณะ 70% ชี้เหมาะสมเพิ่มความคล่องตัวให้รัฐ วันนี้ (22 กันยายน 2564) นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เผยความเห็นจากหน่วยงานด้านเศรษฐกิจการคลัง/การวิจัย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รวมทั้งภาคเอกชน สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่ชี้ว่าการปรับเพดานหนี้สาธารณะ จาก 60% เป็น 70% เหมาะสมกับสถานการณ์ประเทศในขณะนี้ โดยเป็นไปเพื่อเพิ่มความคล่องตัวให้กับการดําเนินนโยบายเพื่อรองรับสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 และพยุงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะข้างหน้าโดย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ได้ให้ความเห็นว่าการขยายเพดานหนี้สาธารณะจาก 60% เป็น 70% ในขณะนี้ถือว่าเหมาะสม เพราะตัวเลขหนี้สาธารณะในระดับ 60% ถือว่าคาบเส้นมากเกินไป โดยที่ผ่านมาตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP ลดลงจากวิกฤติโควิด-19 ทําให้เพดานหนี้ต่อ GDP จะแคบลงอีก นอกจากนี้ การขยายเพดานการกู้สามารถทําได้จากหลายสาเหตุ เช่น ตัวเลขหนี้ภาครัฐของไทยใช้นิยามที่มาตรฐานสูงกว่าสากล โดยรวมหนี้รัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีจํานวนกว่า 8 แสนล้านบาทเข้าไปด้วย ทําให้ตัวเลขโดยรวมสูงกว่าปกติถ้าวัดตามมาตรฐานสากล ขณะที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ให้ความเห็นว่าการขยายเพดานหนี้สาธารณะจาก 60% เป็น 70% เป็นไปเพื่อเพิ่มความคล่องตัวให้กับการดําเนินนโยบายรัฐเพื่อรองรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และยังคงมีความเสี่ยงต่อเสถียรภาพการคลังในระดับต่ํา ซึ่งปัจจุบันสัดส่วนหนี้สาธารณะของไทยอยู่ที่ 55.6% เทียบกับระดับปัจจุบันของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วที่ประมาณ 120% และกลุ่มประเทศที่กําลังพัฒนาในแถบเอเชียที่ประมาณ 70% นอกจากนี้ หนี้สาธารณะของไทยเกือบทั้งหมดเป็นหนี้ในประเทศ 98.2% และต้นทุนการกู้ยืมของรัฐบาลไทยอยู่ในระดับต่ํา โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะ 10 ปีของไทย ณ วันที่ 20 กันยายน 2564 ต่ํากว่า 1.8% ซึ่งต่ําสุดในกลุ่มประเทศกําลังพัฒนาในอาเซียน ที่ส่วนใหญ่อยู่ในระดับเกิน 3% และ ความเสี่ยงในการถูกปรับลด credit rating ของไทยอยู่ในระดับต่ํา ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าประเทศที่กําลังพัฒนาในแถบเอเชียที่มี credit rating ระดับเดียวกับไทย และมีหนี้สาธารณะต่อจีดีพีสูงกว่าไทยเป็นส่วนใหญ่ อาทิ อินเดียที่ 87% และมาเลเซียที่ 67% นอกจากนี้ นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยยังเห็นว่ารัฐบาลมีความจําเป็นในการขยายเพดานหนี้สาธารณะ เพื่อพยุงเศรษฐกิจไทยในระยะสั้น และกระตุ้นเศรษฐกิจให้กลับมาเดินหน้าได้ เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยืดยื้อทําให้เศรษฐกิจไทยบอบช้ํา จึงจําเป็นต้องต้องอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบมิฉะนั้น อาจเกิดความเสียหายมหาศาล เช่นเดียวกับ หลายประเทศในขณะนี้ก็มีการขยายเพดานหนี้เช่นกัน ในส่วนของนายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) สนับสนุนการเพิ่มเพดานหนี้สาธารณะเพื่อเพิ่มกําลังซื้อให้ประชาชน ส่วนมาตรการที่รัฐบาลควรนํามาใช้เร่งด่วน เช่น การเยียวยาผู้ประกอบการทุกประเภท เป็นต้น “ภาคเอกชนและนักวิชาการ เห็นสอดคล้องมาตรการปรับเพดานหนี้สาธารณะ 70% โดยชี้ว่าเหมาะสมกับสถานการณ์ประเทศในขณะนี้ รัฐบาลมุ่งมันทํางานอย่างหนัก เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจประเทศซึ่งมีสัญญาณบวกหลายตัว อาทิ การส่งออกขยายตัวต่อเนื่อง การท่องเที่ยวที่กําลังจะกลับมาฟื้นตัวและการฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่คาดว่าจะเป็นไปตามเป้าหมายภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งช่วยสร้างเชื่อมั่นให้กับภาคธุรกิจและนักลงทุน และเร่งให้การบริโภคกลับมาสู่ภาวะปกติ ซึ่งส่งผลทําให้ GDP ขยายตัวเพิ่มขึ้น” นายธนกร ฯ กล่าว -------------------------------------------------------- กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สํานักโฆษก
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/46097
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-วธ.ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาศักยภาพเด็กไทย "เก่งดี มีทักษะ แข็งแรง" ในศตวรรษที่ ๒๑
วันพฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน 2565 วธ.ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาศักยภาพเด็กไทย "เก่งดี มีทักษะ แข็งแรง" ในศตวรรษที่ ๒๑ วธ.ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาศักยภาพเด็กไทย "เก่งดี มีทักษะ แข็งแรง" ในศตวรรษที่ ๒๑ วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๖๕ เวลา ๐๙.๐๐ น. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาศักยภาพเด็กไทย "เก่งดี มีทักษะ แข็งแรง" ในศตวรรษที่ ๒๑ พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๗๐ ภายใต้ความร่วมมือของกระทรวง ๑๒ กระทรวง ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม กระทรวงแรงงาน กระทรวงวัฒนธรรม และกระทรวงศึกษาธิการ โดยมี พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม และผู้แทนจากกระทรวงต่าง ๆ เข้าร่วม ณ ตึกสันติไมตรี (หลังใน) ทําเนียบรัฐบาล
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-วธ.ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาศักยภาพเด็กไทย "เก่งดี มีทักษะ แข็งแรง" ในศตวรรษที่ ๒๑ วันพฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน 2565 วธ.ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาศักยภาพเด็กไทย "เก่งดี มีทักษะ แข็งแรง" ในศตวรรษที่ ๒๑ วธ.ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาศักยภาพเด็กไทย "เก่งดี มีทักษะ แข็งแรง" ในศตวรรษที่ ๒๑ วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๖๕ เวลา ๐๙.๐๐ น. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาศักยภาพเด็กไทย "เก่งดี มีทักษะ แข็งแรง" ในศตวรรษที่ ๒๑ พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๗๐ ภายใต้ความร่วมมือของกระทรวง ๑๒ กระทรวง ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม กระทรวงแรงงาน กระทรวงวัฒนธรรม และกระทรวงศึกษาธิการ โดยมี พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม และผู้แทนจากกระทรวงต่าง ๆ เข้าร่วม ณ ตึกสันติไมตรี (หลังใน) ทําเนียบรัฐบาล
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/55552
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัดกระทรวงมหาดไทยและนายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย เป็นประธานมอบหนังสือพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี “รวมน้ำใจ สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน” แก่กลุ่มทอผ้าฯ
วันอังคารที่ 21 มิถุนายน 2565 ปลัดกระทรวงมหาดไทยและนายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย เป็นประธานมอบหนังสือพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี “รวมน้ําใจ สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดํารงไว้ในแผ่นดิน” แก่กลุ่มทอผ้าฯ ปลัดกระทรวงมหาดไทยและนายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย เป็นประธานมอบหนังสือพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี “รวมน้ําใจ สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดํารงไว้ในแผ่นดิน” แก่กลุ่มทอผ้าอัตลักษณ์ประจําท้องถิ่นทั่วประเทศ ปลัดกระทรวงมหาดไทยและนายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย เป็นประธานมอบหนังสือพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี “รวมน้ําใจ สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดํารงไว้ในแผ่นดิน” แก่กลุ่มทอผ้าอัตลักษณ์ประจําท้องถิ่นทั่วประเทศ พร้อมเน้นย้ํา ร่วมกันสืบสาน ถ่ายทอดส่งต่อภูมิปัญญาสู่ลูกหลาน เพื่อสนองพระราชปณิธานอันทรงคุณค่าให้คงอยู่คู่ประเทศไทยอย่างยั่งยืน วันนี้ (21 มิ.ย. 65) เวลา 10.30 น. ณ ห้องประชุมอัษฎางค์ อาคารดํารงราชานุสรณ์ กระทรวงมหาดไทย เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วย ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย เป็นประธานในพิธีมอบหนังสือพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี “รวมน้ําใจ สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดํารงไว้ในแผ่นดิน” โดยมี นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม รองปลัดกระทรวงมหาดไทย หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านพัฒนาชุมชนและส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น นายสมคิด จันทมฤก อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน นายสุรศักดิ์ อักษรกุล รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน นายวิฑูรย์ นวลนุกูล รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน พร้อมด้วยผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ผ้าไทย จํานวน 41 ราย ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ และสื่อมวลชนร่วมในพิธี โอกาสนี้ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดกรวยถวายราชสักการะและกล่าวสํานึกในพระมหากรุณาธิคุณ ใจความสําคัญว่า “นับเนื่องแต่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ได้พระราชทานพระราชดํารัสแก่ผู้นําสตรี ในวันสตรีไทย เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2562 ที่จะสนองพระเดชพระคุณและพระมหากรุณาธิคุณ ในการสืบสาน รักษา และต่อยอด พระราชปณิธานแห่งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ซึ่งเป็นที่ประจักษ์ชัดแจ้งโดยแท้ว่า สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ ทรงช่วยเหลือพสกนิกรชาวไทย เคียงคู่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาโดยตลอด และในภาวการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 พระองค์ได้พระราชทานขวัญกําลังใจ ด้วยการทรงเลือกและบรรจุถุงกําลังใจพระราชทานด้วยพระองค์เอง สําหรับพระราชทานแก่บุคลากรทางการแพทย์ และประชาชนที่เดือดร้อน พระราชทานอุปกรณ์ทางการแพทย์ อาหาร อีกทั้งส่งเสริมให้ราษฎรมีรายได้ โดยพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ผู้ประกอบการ OTOP จําหน่ายผลิตภัณฑ์ในบริเวณพิธีพระราชทานปริญญาบัตรและเสด็จพระราชดําเนินเยี่ยมราษฎร เยี่ยมผู้ประกอบการ ในช่วงพักพิธีพระราชทานปริญญาบัตรทุกวัน นับเป็นเป็นขวัญกําลังใจให้ประชาชนได้ต่อสู้กับปัญหาเศรษฐกิจที่รุมเร้าได้อย่างมาก อีกทั้งยังทรงฉลองพระองค์ผ้าไทยที่ออกแบบอย่างงดงาม ทําให้ผ้าไทยได้รับการสืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ ผ้าถิ่นไทย ดํารงไว้ในแผ่นดิน ทั้งทรงมีพระจริยาวัตรที่งดงามเปี่ยมล้นด้วยพระเมตตาคุณ ยังคงประทับอยู่ในดวงใจของคนไทยทั้งชาติ" “เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2564 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ได้พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้กระทรวงมหาดไทย นําผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ผ้าไทย เข้าเฝ้าถวายผ้าอัตลักษณ์ประจําท้องถิ่นทั่วประเทศ จํานวน 44 ผืน และมีพระดําริจัดทําหนังสือรวบรวมภาพและเรื่องราวของผ้าถิ่นไทยทั้ง 44 ผืน ซึ่งเป็นของขวัญอันทรงคุณค่าที่กลุ่มบุคคลที่มีความรักผ้าไทยได้ถักทอขึ้นด้วยความตั้งใจเพื่อทูลเกล้าฯ ถวายในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 3 มิถุนายน 2564 จึงได้พระราชทานชื่อหนังสือเล่มนี้ว่า “รวมน้ําใจ สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดํารงไว้ในแผ่นดิน” พร้อมทั้งชื่นชมในความสามารถของทุกกลุ่ม ที่ร่วมกันรังสรรค์ผลงาน ผ้าบางผืนอาจจะยังไม่เป็นที่รู้จัก เพราะเป็นผ้าทอที่มีอัตลักษณ์เฉพาะถิ่นที่ใช้เทคนิคพิเศษในการทอ มีการสร้างสรรค์ลายใหม่เพื่อให้เป็นลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของกลุ่มทอผ้า มีการใช้สีธรรมชาติและสีเคมีในการย้อมเส้นใย แต่ศิลปะและลวดลายที่ปรากฏบนผืนผ้าทุกผืน ยังคงคุณค่าแห่งภูมิปัญญาท้องถิ่น สมควรเป็นอย่างยิ่งที่นําภาพผ้าและเรื่องราวของผ้าทั้ง 44 ผืน มาบอกเล่าให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น เพราะนอกจากจะเป็นการส่งเสริมอาชีพการทอผ้าและการสร้างรายได้แล้ว ยังเป็นการอนุรักษ์ผ้าถิ่นไทยให้คงอยู่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สําคัญยิ่งของชาติ โดยกระทรวงมหาดไทยจะมุ่งมั่นน้อมนําแนวพระดําริในการเพิ่มคุณค่าและมูลค่า ยกระดับผลิตภัณฑ์ผ้าไทย ให้สามารถก้าวไกลสู่ระดับสากล เพื่อวิถีชุมชนที่ยั่งยืนและสร้างสรรค์คุณประโยชน์แก่ประเทศชาติสืบไป รวมตลอดจนถึงจะจงรักภักดีและสนองพระเดชพระคุณในการสืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ ผ้าถิ่นไทย ดํารงไว้ในแผ่นดิน สนองตามพระราชปณิธานของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในเรื่องการธํารงรักษาภูมิปัญญาแห่งผ้าไทยให้ยั่งยืนสืบไป” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวเน้นย้ํา นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้กล่าวต่ออีกว่า วันนี้ถือเป็นวันมหามงคลยิ่งของพี่ ๆ น้อง ๆ ผู้ดํารงศิลป์ผ้าถิ่นไทยให้คงอยู่คู่กับแผ่นดินทุกชีวิต ทุกครอบครัว ทั่วทั้งประเทศ รวมทั้งเป็นสิ่งที่เป็นมงคลยิ่งกับชีวิตข้าราชการกระทรวงมหาดไทยในฐานะข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้มีเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ คือ เมื่อปี 2564 ท่านประธานสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชูปถัมภ์สมัยที่ 26 และประธานชมรมแม่บ้านพัฒนาชุมชนในขณะนั้น คือ ดร. วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ได้มีดําริและหารือร่วมกับพี่น้องกลุ่ม OTOP ผ้าไทย ในการร่วมกันถวายความจงรักภักดี ด้วยการรังสรรค์ผ้าไทย จํานวนเท่ากับพระชนมายุในปี 2564 คือ จํานวน 43 ผืน + 1 ผืน เพื่อเป็นการถวายพระพรให้พระองค์ทรงมีพระชนมายุยั่งยืนนาน เป็นมิ่งขวัญให้กับพวกเราสืบต่อไป และเป็นการถวายความจงรักภักดี และสํานึกในพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ท่านมีพระราชปณิธานที่แน่วแน่ ในการสืบสาน รักษา และต่อยอด แนวพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง รวมทั้งก่อนหน้านั้น ทรงมีพระบรมราชานุญาตให้พี่น้องผู้ประกอบการ OTOP ภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ไปชุมนุมรวมกันที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร พี่น้องภาคเหนือรวมตัวที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พี่น้องภาคใต้รวมตัวที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เพื่อจําหน่ายผลิตภัณฑ์และสร้างรายได้ หาเลี้ยงชีพในยามที่โควิด-19 ระบาดมาเป็นระยะเวลากว่า 2 ปีแล้ว พร้อมกันนั้น พระองค์ได้เสด็จพระราชดําเนินเยี่ยมเยียนพวกเราทุกคนถึงบูธที่เราได้นําผ้าไปจัดแสดงผลิตภัณฑ์ ซึ่งกาลเวลาก็ล่วงเลยเนื่องจากโควิด-19 ระบาดรุนแรง ทําให้ผ้าที่เตรียมไว้เพื่อที่จะถวายก็ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ถวายในช่วงปลายปี หลังวันเฉลิมพระชนมพรรษา 3 มิถุนายน 2564 มาหลายเดือน นํามาซึ่งความตื้นตัน ความปลื้มปีติยินดี ที่เห็นพวกเราทุกคนได้รับโอกาสอันเป็นมงคลยิ่งกับวงศ์ตระกูล โอกาสอันสําคัญยิ่งของชีวิต ที่ได้เข้าเฝ้าทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายผ้า และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ได้พระราชทานพระบรมราชวโรกาสในการเสด็จพระราชดําเนินมาประทับเป็นขวัญกําลังใจให้พวกเราทุกคนอีกด้วย “โดยเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา ตนและ ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เข้าเฝ้าเป็นการส่วนพระองค์ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จพระราชดําเนินมาด้วย ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ได้พระราชทานหนังสือที่อยู่ในมือแนบอกพวกเราทุกคนในขณะนี้ ให้กับ ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย และตน เพื่อเชิญมามอบให้กับพี่น้องผู้มีความจงรักภักดี และเป็นกําลังสําคัญของแผ่นดินในการสืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดํารงไว้ในแผ่นดิน เพื่อเป็นมรดกสําคัญของประเทศชาติต่อไป และที่สําคัญยิ่งกว่านั้น พระองค์ได้ตรัสเล่าให้ฟังว่า “พระองค์มีความรู้สึกตื้นตันใจ ขอบคุณและขอบใจพวกเราที่ระลึกถึงพระองค์ท่านและร่วมกันทอผ้าขึ้นทูลเกล้าถวายเป็นของขวัญ เนื่องในวันคล้ายวันเกิดของพระองค์ท่าน ซึ่งพระองค์ท่านได้นําผ้าทั้ง 44 ผืน โปรดให้ถ่ายภาพเก็บรายละเอียด และติดต่อช่างทอเพื่อไปถ่ายรูปและนํามาร้อยเรียงเป็นผืนผ้าแห่งความจงรักภักดีที่พวกเราได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายนั้น ลงไว้ในหนังสือพระราชทาน “รวมน้ําใจ สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดํารงไว้ในแผ่นดิน” ซึ่งไม่ว่าเราทุกคนจะตายแล้วกลับมาเกิดใหม่อีกกี่ชาติก็แล้วแต่ ตํานานของเรื่องนี้ก็จะปรากฏอยู่คู่กับแผ่นดินไทย อยู่ในหนังสือ ในห้องสมุด ในพระราชวังของเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน เพื่อเป็นประจักษ์พยานและหลักฐานว่า ผ้าไทยที่เกิดจากความจงรักภักดีนั้นมีหน้าตาอย่างไร ใช้เทคนิคอย่างไร ใครเป็นผู้ทอ ผู้ถวาย แต่สําคัญยิ่งกว่านั้น รายละเอียดทุกอย่างของหนังสือเล่มนี้ “สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงทําด้วยพระองค์เอง ทรงพระราชทานพระวินิจฉัยประดุจดั่งทรงเป็นบรรณาธิการด้วยพระองค์เอง ซึ่งทรงคุณค่าต่อพวกเราทุกคนในฐานะพสกนิกรของพระองค์ท่าน” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวในช่วงท้าย ดร. วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย กล่าวว่า เชือกสีเหลืองที่พันผูกเคียงคู่กับเชือกสีม่วงที่ถูกร้อยถูกผูกมากับหนังสือพระราชทาน “รวมน้ําใจ สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดํารงไว้ในแผ่นดิน” นั้น เป็นเครื่องหมายแทนความรักความห่วงใยและพระมหากรุณาธิคุณอันเปี่ยมล้นของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เชือกสีเหลือง สื่อความหมายถึง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เชือกสีม่วง สื่อความหมายถึง สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี และปกหนังสือได้อัญเชิญพระนามาภิไธยย่อ ส.ท. ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี โดยใช้สีม่วงซึ่งเป็นสีประจําพระองค์จัดพิมพ์รูปเล่มอย่างสวยงาม ซึ่งสิ่งทุกอย่างนี้ล้วนก่อเกิดจากพระวิริยะอุตสาหะที่ทรงรําลึกนึกถึงและพระราชทานกําลังใจให้กับพวกเราทุกคน อันสัมผัสได้ถึงน้ําพระราชหฤทัยที่เปี่ยมล้นที่ทรงมีให้กับทุกคน และพวกเราทุกคนจะยังอยู่ในพระหทัยของพระองค์ท่านในฐานะพสกนิกรผู้มีความจงรักภักดีและเป็นผู้ที่ช่วยอนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทยให้ดํารงไว้ในแผ่นดิน เหมือนดังพระราชปณิธานที่พระองค์ท่านได้พระราชทานไว้เมื่อวันสตรีไทย 1 สิงหาคม 2562 “ข้าพเจ้ามีความตั้งมั่นที่จะสนองพระเดชพระคุณพระมหากรุณาธิคุณในการสืบสานรักษาและต่อยอดพระราชปณิธานแห่งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เหมือนดั่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตั้งพระราชปณิธานที่จะสืบสานรักษาและต่อยอดและแผ่ขยายพระบารมีแห่งสมเด็จพระบรมชนกนาถและสมเด็จพระบรมราชชนนี...” “พระองค์ท่านได้ทรงมีพระราชดํารัสตรัสว่า หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือเล่มแรกที่พระองค์ท่านทรงมีพระราชดําริด้วยพระองค์เองทั้งเล่ม เพื่อพระราชทานให้กับพวกเรา และทรงมีพระราชกระแส ให้นําเอาคําขอบคุณ ขอบใจ มาให้พวกเราทุกคนด้วย ที่ระลึกนึกถึงพระองค์ท่านและร่วมกันถวายพระพรเนื่องในโอกาสมหามงคลวันเฉลิมพระชนมพรรษา 3 มิถุนายน 2564 ซึ่งขอให้พวกเราได้รับพระราชกระแสขอบใจ กลับไปเป็นสิริมงคลและขวัญกําลังใจในชีวิต และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า สิ่งที่ทุกท่านได้รับมอบในวันนี้จะเป็นขวัญกําลังใจให้พวกเรามีแรงฮึกเหิมที่จะช่วยกันพัฒนา ช่วยกันต่อยอด งานผ้าไทยให้แผ่ขยายออกไปและมีคุณภาพเพิ่มมากขึ้น และส่งต่อถ่ายทอดสู่ลูกหลานคนรอบตัวให้ได้มีฝีมือในการทอผ้าเพิ่มมากขึ้น และขอให้เก็บเรื่องราวเหล่านี้ไว้เป็นเกียรติประวัติของตระกูลอย่างยั่งยืนสืบไป” ดร. วันดีฯ กล่าวเน้นย้ํา
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัดกระทรวงมหาดไทยและนายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย เป็นประธานมอบหนังสือพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี “รวมน้ำใจ สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน” แก่กลุ่มทอผ้าฯ วันอังคารที่ 21 มิถุนายน 2565 ปลัดกระทรวงมหาดไทยและนายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย เป็นประธานมอบหนังสือพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี “รวมน้ําใจ สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดํารงไว้ในแผ่นดิน” แก่กลุ่มทอผ้าฯ ปลัดกระทรวงมหาดไทยและนายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย เป็นประธานมอบหนังสือพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี “รวมน้ําใจ สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดํารงไว้ในแผ่นดิน” แก่กลุ่มทอผ้าอัตลักษณ์ประจําท้องถิ่นทั่วประเทศ ปลัดกระทรวงมหาดไทยและนายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย เป็นประธานมอบหนังสือพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี “รวมน้ําใจ สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดํารงไว้ในแผ่นดิน” แก่กลุ่มทอผ้าอัตลักษณ์ประจําท้องถิ่นทั่วประเทศ พร้อมเน้นย้ํา ร่วมกันสืบสาน ถ่ายทอดส่งต่อภูมิปัญญาสู่ลูกหลาน เพื่อสนองพระราชปณิธานอันทรงคุณค่าให้คงอยู่คู่ประเทศไทยอย่างยั่งยืน วันนี้ (21 มิ.ย. 65) เวลา 10.30 น. ณ ห้องประชุมอัษฎางค์ อาคารดํารงราชานุสรณ์ กระทรวงมหาดไทย เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วย ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย เป็นประธานในพิธีมอบหนังสือพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี “รวมน้ําใจ สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดํารงไว้ในแผ่นดิน” โดยมี นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม รองปลัดกระทรวงมหาดไทย หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านพัฒนาชุมชนและส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น นายสมคิด จันทมฤก อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน นายสุรศักดิ์ อักษรกุล รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน นายวิฑูรย์ นวลนุกูล รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน พร้อมด้วยผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ผ้าไทย จํานวน 41 ราย ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ และสื่อมวลชนร่วมในพิธี โอกาสนี้ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดกรวยถวายราชสักการะและกล่าวสํานึกในพระมหากรุณาธิคุณ ใจความสําคัญว่า “นับเนื่องแต่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ได้พระราชทานพระราชดํารัสแก่ผู้นําสตรี ในวันสตรีไทย เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2562 ที่จะสนองพระเดชพระคุณและพระมหากรุณาธิคุณ ในการสืบสาน รักษา และต่อยอด พระราชปณิธานแห่งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ซึ่งเป็นที่ประจักษ์ชัดแจ้งโดยแท้ว่า สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ ทรงช่วยเหลือพสกนิกรชาวไทย เคียงคู่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาโดยตลอด และในภาวการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 พระองค์ได้พระราชทานขวัญกําลังใจ ด้วยการทรงเลือกและบรรจุถุงกําลังใจพระราชทานด้วยพระองค์เอง สําหรับพระราชทานแก่บุคลากรทางการแพทย์ และประชาชนที่เดือดร้อน พระราชทานอุปกรณ์ทางการแพทย์ อาหาร อีกทั้งส่งเสริมให้ราษฎรมีรายได้ โดยพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ผู้ประกอบการ OTOP จําหน่ายผลิตภัณฑ์ในบริเวณพิธีพระราชทานปริญญาบัตรและเสด็จพระราชดําเนินเยี่ยมราษฎร เยี่ยมผู้ประกอบการ ในช่วงพักพิธีพระราชทานปริญญาบัตรทุกวัน นับเป็นเป็นขวัญกําลังใจให้ประชาชนได้ต่อสู้กับปัญหาเศรษฐกิจที่รุมเร้าได้อย่างมาก อีกทั้งยังทรงฉลองพระองค์ผ้าไทยที่ออกแบบอย่างงดงาม ทําให้ผ้าไทยได้รับการสืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ ผ้าถิ่นไทย ดํารงไว้ในแผ่นดิน ทั้งทรงมีพระจริยาวัตรที่งดงามเปี่ยมล้นด้วยพระเมตตาคุณ ยังคงประทับอยู่ในดวงใจของคนไทยทั้งชาติ" “เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2564 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ได้พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้กระทรวงมหาดไทย นําผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ผ้าไทย เข้าเฝ้าถวายผ้าอัตลักษณ์ประจําท้องถิ่นทั่วประเทศ จํานวน 44 ผืน และมีพระดําริจัดทําหนังสือรวบรวมภาพและเรื่องราวของผ้าถิ่นไทยทั้ง 44 ผืน ซึ่งเป็นของขวัญอันทรงคุณค่าที่กลุ่มบุคคลที่มีความรักผ้าไทยได้ถักทอขึ้นด้วยความตั้งใจเพื่อทูลเกล้าฯ ถวายในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 3 มิถุนายน 2564 จึงได้พระราชทานชื่อหนังสือเล่มนี้ว่า “รวมน้ําใจ สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดํารงไว้ในแผ่นดิน” พร้อมทั้งชื่นชมในความสามารถของทุกกลุ่ม ที่ร่วมกันรังสรรค์ผลงาน ผ้าบางผืนอาจจะยังไม่เป็นที่รู้จัก เพราะเป็นผ้าทอที่มีอัตลักษณ์เฉพาะถิ่นที่ใช้เทคนิคพิเศษในการทอ มีการสร้างสรรค์ลายใหม่เพื่อให้เป็นลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของกลุ่มทอผ้า มีการใช้สีธรรมชาติและสีเคมีในการย้อมเส้นใย แต่ศิลปะและลวดลายที่ปรากฏบนผืนผ้าทุกผืน ยังคงคุณค่าแห่งภูมิปัญญาท้องถิ่น สมควรเป็นอย่างยิ่งที่นําภาพผ้าและเรื่องราวของผ้าทั้ง 44 ผืน มาบอกเล่าให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น เพราะนอกจากจะเป็นการส่งเสริมอาชีพการทอผ้าและการสร้างรายได้แล้ว ยังเป็นการอนุรักษ์ผ้าถิ่นไทยให้คงอยู่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สําคัญยิ่งของชาติ โดยกระทรวงมหาดไทยจะมุ่งมั่นน้อมนําแนวพระดําริในการเพิ่มคุณค่าและมูลค่า ยกระดับผลิตภัณฑ์ผ้าไทย ให้สามารถก้าวไกลสู่ระดับสากล เพื่อวิถีชุมชนที่ยั่งยืนและสร้างสรรค์คุณประโยชน์แก่ประเทศชาติสืบไป รวมตลอดจนถึงจะจงรักภักดีและสนองพระเดชพระคุณในการสืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ ผ้าถิ่นไทย ดํารงไว้ในแผ่นดิน สนองตามพระราชปณิธานของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในเรื่องการธํารงรักษาภูมิปัญญาแห่งผ้าไทยให้ยั่งยืนสืบไป” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวเน้นย้ํา นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้กล่าวต่ออีกว่า วันนี้ถือเป็นวันมหามงคลยิ่งของพี่ ๆ น้อง ๆ ผู้ดํารงศิลป์ผ้าถิ่นไทยให้คงอยู่คู่กับแผ่นดินทุกชีวิต ทุกครอบครัว ทั่วทั้งประเทศ รวมทั้งเป็นสิ่งที่เป็นมงคลยิ่งกับชีวิตข้าราชการกระทรวงมหาดไทยในฐานะข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้มีเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ คือ เมื่อปี 2564 ท่านประธานสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชูปถัมภ์สมัยที่ 26 และประธานชมรมแม่บ้านพัฒนาชุมชนในขณะนั้น คือ ดร. วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ได้มีดําริและหารือร่วมกับพี่น้องกลุ่ม OTOP ผ้าไทย ในการร่วมกันถวายความจงรักภักดี ด้วยการรังสรรค์ผ้าไทย จํานวนเท่ากับพระชนมายุในปี 2564 คือ จํานวน 43 ผืน + 1 ผืน เพื่อเป็นการถวายพระพรให้พระองค์ทรงมีพระชนมายุยั่งยืนนาน เป็นมิ่งขวัญให้กับพวกเราสืบต่อไป และเป็นการถวายความจงรักภักดี และสํานึกในพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ท่านมีพระราชปณิธานที่แน่วแน่ ในการสืบสาน รักษา และต่อยอด แนวพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง รวมทั้งก่อนหน้านั้น ทรงมีพระบรมราชานุญาตให้พี่น้องผู้ประกอบการ OTOP ภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ไปชุมนุมรวมกันที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร พี่น้องภาคเหนือรวมตัวที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พี่น้องภาคใต้รวมตัวที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เพื่อจําหน่ายผลิตภัณฑ์และสร้างรายได้ หาเลี้ยงชีพในยามที่โควิด-19 ระบาดมาเป็นระยะเวลากว่า 2 ปีแล้ว พร้อมกันนั้น พระองค์ได้เสด็จพระราชดําเนินเยี่ยมเยียนพวกเราทุกคนถึงบูธที่เราได้นําผ้าไปจัดแสดงผลิตภัณฑ์ ซึ่งกาลเวลาก็ล่วงเลยเนื่องจากโควิด-19 ระบาดรุนแรง ทําให้ผ้าที่เตรียมไว้เพื่อที่จะถวายก็ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ถวายในช่วงปลายปี หลังวันเฉลิมพระชนมพรรษา 3 มิถุนายน 2564 มาหลายเดือน นํามาซึ่งความตื้นตัน ความปลื้มปีติยินดี ที่เห็นพวกเราทุกคนได้รับโอกาสอันเป็นมงคลยิ่งกับวงศ์ตระกูล โอกาสอันสําคัญยิ่งของชีวิต ที่ได้เข้าเฝ้าทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายผ้า และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ได้พระราชทานพระบรมราชวโรกาสในการเสด็จพระราชดําเนินมาประทับเป็นขวัญกําลังใจให้พวกเราทุกคนอีกด้วย “โดยเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา ตนและ ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เข้าเฝ้าเป็นการส่วนพระองค์ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จพระราชดําเนินมาด้วย ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ได้พระราชทานหนังสือที่อยู่ในมือแนบอกพวกเราทุกคนในขณะนี้ ให้กับ ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย และตน เพื่อเชิญมามอบให้กับพี่น้องผู้มีความจงรักภักดี และเป็นกําลังสําคัญของแผ่นดินในการสืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดํารงไว้ในแผ่นดิน เพื่อเป็นมรดกสําคัญของประเทศชาติต่อไป และที่สําคัญยิ่งกว่านั้น พระองค์ได้ตรัสเล่าให้ฟังว่า “พระองค์มีความรู้สึกตื้นตันใจ ขอบคุณและขอบใจพวกเราที่ระลึกถึงพระองค์ท่านและร่วมกันทอผ้าขึ้นทูลเกล้าถวายเป็นของขวัญ เนื่องในวันคล้ายวันเกิดของพระองค์ท่าน ซึ่งพระองค์ท่านได้นําผ้าทั้ง 44 ผืน โปรดให้ถ่ายภาพเก็บรายละเอียด และติดต่อช่างทอเพื่อไปถ่ายรูปและนํามาร้อยเรียงเป็นผืนผ้าแห่งความจงรักภักดีที่พวกเราได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายนั้น ลงไว้ในหนังสือพระราชทาน “รวมน้ําใจ สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดํารงไว้ในแผ่นดิน” ซึ่งไม่ว่าเราทุกคนจะตายแล้วกลับมาเกิดใหม่อีกกี่ชาติก็แล้วแต่ ตํานานของเรื่องนี้ก็จะปรากฏอยู่คู่กับแผ่นดินไทย อยู่ในหนังสือ ในห้องสมุด ในพระราชวังของเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน เพื่อเป็นประจักษ์พยานและหลักฐานว่า ผ้าไทยที่เกิดจากความจงรักภักดีนั้นมีหน้าตาอย่างไร ใช้เทคนิคอย่างไร ใครเป็นผู้ทอ ผู้ถวาย แต่สําคัญยิ่งกว่านั้น รายละเอียดทุกอย่างของหนังสือเล่มนี้ “สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงทําด้วยพระองค์เอง ทรงพระราชทานพระวินิจฉัยประดุจดั่งทรงเป็นบรรณาธิการด้วยพระองค์เอง ซึ่งทรงคุณค่าต่อพวกเราทุกคนในฐานะพสกนิกรของพระองค์ท่าน” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวในช่วงท้าย ดร. วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย กล่าวว่า เชือกสีเหลืองที่พันผูกเคียงคู่กับเชือกสีม่วงที่ถูกร้อยถูกผูกมากับหนังสือพระราชทาน “รวมน้ําใจ สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดํารงไว้ในแผ่นดิน” นั้น เป็นเครื่องหมายแทนความรักความห่วงใยและพระมหากรุณาธิคุณอันเปี่ยมล้นของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เชือกสีเหลือง สื่อความหมายถึง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เชือกสีม่วง สื่อความหมายถึง สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี และปกหนังสือได้อัญเชิญพระนามาภิไธยย่อ ส.ท. ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี โดยใช้สีม่วงซึ่งเป็นสีประจําพระองค์จัดพิมพ์รูปเล่มอย่างสวยงาม ซึ่งสิ่งทุกอย่างนี้ล้วนก่อเกิดจากพระวิริยะอุตสาหะที่ทรงรําลึกนึกถึงและพระราชทานกําลังใจให้กับพวกเราทุกคน อันสัมผัสได้ถึงน้ําพระราชหฤทัยที่เปี่ยมล้นที่ทรงมีให้กับทุกคน และพวกเราทุกคนจะยังอยู่ในพระหทัยของพระองค์ท่านในฐานะพสกนิกรผู้มีความจงรักภักดีและเป็นผู้ที่ช่วยอนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทยให้ดํารงไว้ในแผ่นดิน เหมือนดังพระราชปณิธานที่พระองค์ท่านได้พระราชทานไว้เมื่อวันสตรีไทย 1 สิงหาคม 2562 “ข้าพเจ้ามีความตั้งมั่นที่จะสนองพระเดชพระคุณพระมหากรุณาธิคุณในการสืบสานรักษาและต่อยอดพระราชปณิธานแห่งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เหมือนดั่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตั้งพระราชปณิธานที่จะสืบสานรักษาและต่อยอดและแผ่ขยายพระบารมีแห่งสมเด็จพระบรมชนกนาถและสมเด็จพระบรมราชชนนี...” “พระองค์ท่านได้ทรงมีพระราชดํารัสตรัสว่า หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือเล่มแรกที่พระองค์ท่านทรงมีพระราชดําริด้วยพระองค์เองทั้งเล่ม เพื่อพระราชทานให้กับพวกเรา และทรงมีพระราชกระแส ให้นําเอาคําขอบคุณ ขอบใจ มาให้พวกเราทุกคนด้วย ที่ระลึกนึกถึงพระองค์ท่านและร่วมกันถวายพระพรเนื่องในโอกาสมหามงคลวันเฉลิมพระชนมพรรษา 3 มิถุนายน 2564 ซึ่งขอให้พวกเราได้รับพระราชกระแสขอบใจ กลับไปเป็นสิริมงคลและขวัญกําลังใจในชีวิต และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า สิ่งที่ทุกท่านได้รับมอบในวันนี้จะเป็นขวัญกําลังใจให้พวกเรามีแรงฮึกเหิมที่จะช่วยกันพัฒนา ช่วยกันต่อยอด งานผ้าไทยให้แผ่ขยายออกไปและมีคุณภาพเพิ่มมากขึ้น และส่งต่อถ่ายทอดสู่ลูกหลานคนรอบตัวให้ได้มีฝีมือในการทอผ้าเพิ่มมากขึ้น และขอให้เก็บเรื่องราวเหล่านี้ไว้เป็นเกียรติประวัติของตระกูลอย่างยั่งยืนสืบไป” ดร. วันดีฯ กล่าวเน้นย้ํา
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/55965
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-การรถไฟแห่งประเทศไทย ชี้แจงภาพศูนย์อาหาร ภายในสถานีกลางบางซื่อ เป็นแค่ศูนย์อาหารที่จัดทำขึ้นชั่วคราวเพื่อรองรับผู้มาฉีดวัคซีน พร้อมรับฟังความเห็นจากทุกภาคส่วน
วันเสาร์ที่ 25 ธันวาคม 2564 การรถไฟแห่งประเทศไทย ชี้แจงภาพศูนย์อาหาร ภายในสถานีกลางบางซื่อ เป็นแค่ศูนย์อาหารที่จัดทําขึ้นชั่วคราวเพื่อรองรับผู้มาฉีดวัคซีน พร้อมรับฟังความเห็นจากทุกภาคส่วน ตามที่มีสื่อสังคมออนไลน์มีการเผยแพร่ภาพศูนย์อาหาร (ชั่วคราว) ภายในสถานีกลางบางซื่อ บริเวณทางเข้าประตู 4 พร้อมแสดงความคิดเห็นว่าไม่มีความเหมาะสม กับตัวอาคารสถานีที่มีความทันสมัย สะอาด สวยงาม เป็นการจัดเตรียมศูนย์อาหารชั่วคราว สําหรับผู้เข้ามาใช้บริการ ตามที่มีสื่อสังคมออนไลน์มีการเผยแพร่ภาพศูนย์อาหาร (ชั่วคราว) ภายในสถานีกลางบางซื่อ บริเวณทางเข้าประตู 4 พร้อมแสดงความคิดเห็นว่าไม่มีความเหมาะสม กับตัวอาคารสถานีที่มีความทันสมัย สะอาด สวยงาม นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ ผู้อํานวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กระทรวงคมนาคม ชี้แจงว่า รูปภาพศูนย์อาหารดังกล่าว เป็นการจัดเตรียมศูนย์อาหารชั่วคราว สําหรับรองรับผู้เข้ามาใช้บริการฉีดวัคซีนที่สถานีกลางบางซื่อ ซึ่งยังไม่ใช้ร้านค้าหรือศูนย์อาหารที่จะให้บริการในพื้นที่เชิงพาณิชย์ของสถานีกลางบางซื่อแต่อย่างใด โดยพื้นที่ให้บริการศูนย์อาหาร และบริการทางเชิงพาณิชย์ในขณะนี้ อยู่ระหว่างขั้นตอนการออกแบบและดําเนินการจัดทําพื้นที่เชิงพาณิชย์ดังกล่าวให้มีความเหมาะสม สะอาด สวยงาม ทันสมัย เหมาะสมกับรูปแบบตัวอาคารสถานีและสามารถให้บริการแก่ประชาชนได้อย่างดีที่สุด อย่างไรก็ตาม รฟท. ขอขอบคุณและพร้อมรับฟังความเห็นจากประชาชน และทุกภาคส่วนเพื่อนําไปทําการปรับปรุงการให้บริการให้ดียิ่งขึ้นเสมอ และสามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้บริการ โดยยึดประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง และเหมาะสมกับภาพลักษณ์ของสถานีกลางบางซื่อ ดังนั้น รฟท. จึงได้สั่งการให้ผู้เกี่ยวข้องเข้าไปปรับรูปแบบของโต๊ะ เก้าอี้ ของศูนย์อาหารชั่วคราวแล้ว อีกทั้ง ยังจัดให้มีตู้อาหาร เครื่องดื่ม แบบหยอดเหรียญอัตโนมัติไว้รองรับให้บริการเพิ่มเติมอีกด้วย เพื่อให้บริการแก่ประชาชนที่มาใช้บริการได้รับความสะดวกสบายสูงสุดต่อไป
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-การรถไฟแห่งประเทศไทย ชี้แจงภาพศูนย์อาหาร ภายในสถานีกลางบางซื่อ เป็นแค่ศูนย์อาหารที่จัดทำขึ้นชั่วคราวเพื่อรองรับผู้มาฉีดวัคซีน พร้อมรับฟังความเห็นจากทุกภาคส่วน วันเสาร์ที่ 25 ธันวาคม 2564 การรถไฟแห่งประเทศไทย ชี้แจงภาพศูนย์อาหาร ภายในสถานีกลางบางซื่อ เป็นแค่ศูนย์อาหารที่จัดทําขึ้นชั่วคราวเพื่อรองรับผู้มาฉีดวัคซีน พร้อมรับฟังความเห็นจากทุกภาคส่วน ตามที่มีสื่อสังคมออนไลน์มีการเผยแพร่ภาพศูนย์อาหาร (ชั่วคราว) ภายในสถานีกลางบางซื่อ บริเวณทางเข้าประตู 4 พร้อมแสดงความคิดเห็นว่าไม่มีความเหมาะสม กับตัวอาคารสถานีที่มีความทันสมัย สะอาด สวยงาม เป็นการจัดเตรียมศูนย์อาหารชั่วคราว สําหรับผู้เข้ามาใช้บริการ ตามที่มีสื่อสังคมออนไลน์มีการเผยแพร่ภาพศูนย์อาหาร (ชั่วคราว) ภายในสถานีกลางบางซื่อ บริเวณทางเข้าประตู 4 พร้อมแสดงความคิดเห็นว่าไม่มีความเหมาะสม กับตัวอาคารสถานีที่มีความทันสมัย สะอาด สวยงาม นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ ผู้อํานวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กระทรวงคมนาคม ชี้แจงว่า รูปภาพศูนย์อาหารดังกล่าว เป็นการจัดเตรียมศูนย์อาหารชั่วคราว สําหรับรองรับผู้เข้ามาใช้บริการฉีดวัคซีนที่สถานีกลางบางซื่อ ซึ่งยังไม่ใช้ร้านค้าหรือศูนย์อาหารที่จะให้บริการในพื้นที่เชิงพาณิชย์ของสถานีกลางบางซื่อแต่อย่างใด โดยพื้นที่ให้บริการศูนย์อาหาร และบริการทางเชิงพาณิชย์ในขณะนี้ อยู่ระหว่างขั้นตอนการออกแบบและดําเนินการจัดทําพื้นที่เชิงพาณิชย์ดังกล่าวให้มีความเหมาะสม สะอาด สวยงาม ทันสมัย เหมาะสมกับรูปแบบตัวอาคารสถานีและสามารถให้บริการแก่ประชาชนได้อย่างดีที่สุด อย่างไรก็ตาม รฟท. ขอขอบคุณและพร้อมรับฟังความเห็นจากประชาชน และทุกภาคส่วนเพื่อนําไปทําการปรับปรุงการให้บริการให้ดียิ่งขึ้นเสมอ และสามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้บริการ โดยยึดประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง และเหมาะสมกับภาพลักษณ์ของสถานีกลางบางซื่อ ดังนั้น รฟท. จึงได้สั่งการให้ผู้เกี่ยวข้องเข้าไปปรับรูปแบบของโต๊ะ เก้าอี้ ของศูนย์อาหารชั่วคราวแล้ว อีกทั้ง ยังจัดให้มีตู้อาหาร เครื่องดื่ม แบบหยอดเหรียญอัตโนมัติไว้รองรับให้บริการเพิ่มเติมอีกด้วย เพื่อให้บริการแก่ประชาชนที่มาใช้บริการได้รับความสะดวกสบายสูงสุดต่อไป
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/49894
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“อนุทิน” เผย WHO ชมไทยรับมือโควิดได้ดี เตรียมเสนอยกเลิก Thailand Pass สำหรับ คนไทย เหตุพบคนเข้าประเทศติดเชื้อลดลง
วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม 2565 “อนุทิน” เผย WHO ชมไทยรับมือโควิดได้ดี เตรียมเสนอยกเลิก Thailand Pass สําหรับ คนไทย เหตุพบคนเข้าประเทศติดเชื้อลดลง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เผย WHO ชื่นชมไทยตอบโต้ “โควิด” ได้ดี เพราะมีความยืดหยุ่น ปรับตัว และมีแนวทางที่ปฏิบัติได้จริง ระบุพบการติดเชื้อในคนเข้าประเทศลดลง อาจเสนอยกเลิก Thailand Pass สําหรับคนไทย ก่อนขยายในกลุ่มต่างชาติ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เผยWHO ชื่นชมไทยตอบโต้ “โควิด” ได้ดี เพราะมีความยืดหยุ่น ปรับตัว และมีแนวทางที่ปฏิบัติได้จริง ระบุพบการติดเชื้อในคนเข้าประเทศลดลง อาจเสนอยกเลิก Thailand Pass สําหรับคนไทย ก่อนขยายในกลุ่มต่างชาติ ย้ําให้ฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นลดอาการรุนแรงและเสียชีวิต ช่วยให้กลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้ วันนี้ (5 พฤษภาคม 2565) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมผู้บริหารระดับสูงกระทรวงสาธารณสุข ประจําเดือนพฤษภาคม 2565 ว่า ก่อนการประชุม มีการนําเสนอผลการทบทวนการเตรียมความพร้อมกรณีภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและสุขภาพถ้วนหน้า หรือUniversal Health and Preparedness Review (UHPR) กรณีการรับมือโควิด 19 ที่มีรองผู้อํานวยการใหญ่องค์การอนามัยโลกนําคณะมาดําเนินการ ซึ่งมีผลสรุปในทิศทางที่ดีและมีประโยชน์ต่อประเทศไทย ทําให้ทั่วโลกให้ความมั่นใจในศักยภาพของประเทศไทยมากขึ้น โดย นพ.จอส ฟอนเดลาร์ ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจําประเทศไทย ระบุว่า ประเทศไทยสามารถตอบโต้กับสถานการณ์โรคระบาดได้อย่างน่าประทับใจ โดยอาศัยความยืดหยุ่น ความสามารถในการปรับตัว และการใช้แนวทางที่นําไปปฏิบัติได้จริง โดยมีประเด็นที่นําไปพัฒนาต่อได้ เช่น การบูรณาการข้อมูล การนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีมาสนับสนุน การพึ่งพาตนเองด้านยา วัคซีน และชุดตรวจ ซึ่งเป็นสิ่งที่กระทรวงสาธารณสุขกําลังดําเนินการอยู่ นอกจากนี้ ที่ประชุมยังมีการนําเสนอความก้าวหน้าการดําเนินงาน เช่น แผนการคัดกรองวัณโรค โดยกรมควบคุมโรค การจัดบริการโรคมะเร็ง โดยกรมการแพทย์ ขณะที่กรมอนามัยจะมีความร่วมมือกับสํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ โดยสนับสนุนผ้าอ้อมสําเร็จรูปสําหรับผู้สูงอายุติดเตียง มีโรคประจําตัว ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ซึ่งได้กําชับเรื่องคุณภาพมาตรฐาน นายอนุทิน กล่าวอีกว่า สําหรับสถานการณ์โควิด 19 ขณะนี้การติดเชื้อและการเสียชีวิตเริ่มลดลง เป็นไปตามคาดการณ์ อัตราครองเตียงและการใช้เครื่องช่วยหายใจประมาณ 20% สอดคล้องกับนโยบาย 3 พอ คือ หมอพอ เตียงพอ และยาพอ ขณะที่อัตราติดเชื้อในผู้เดินทางมาจากต่างประเทศถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับการติดเชื้อในประเทศ อาจจะเสนอยกเลิกThailand Pass สําหรับคนไทยให้เดินทางเข้าประเทศโดยเสรี เพราะหากติดเชื้อจะได้รับการดูแลตามสิทธิสุขภาพอยู่แล้ว และประชาชนส่วนใหญ่ฉีดวัคซีนแล้วอย่างน้อย 2 เข็มส่วนคนต่างชาติจะพิจารณาในลําดับต่อไป ทั้งนี้ ผู้ที่เสียชีวิตจากโควิด 19 เป็นกลุ่มที่ไม่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น จึงขอให้มารับวัคซีนตามกําหนด ซึ่งจะช่วยลดความรุนแรงและการเสียชีวิตลงได้ และเมื่อมีการฉีดวัคซีนมากขึ้นจะช่วยให้ทุกคนกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติมากขึ้น *****************************************5 พฤษภาคม 2565
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“อนุทิน” เผย WHO ชมไทยรับมือโควิดได้ดี เตรียมเสนอยกเลิก Thailand Pass สำหรับ คนไทย เหตุพบคนเข้าประเทศติดเชื้อลดลง วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม 2565 “อนุทิน” เผย WHO ชมไทยรับมือโควิดได้ดี เตรียมเสนอยกเลิก Thailand Pass สําหรับ คนไทย เหตุพบคนเข้าประเทศติดเชื้อลดลง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เผย WHO ชื่นชมไทยตอบโต้ “โควิด” ได้ดี เพราะมีความยืดหยุ่น ปรับตัว และมีแนวทางที่ปฏิบัติได้จริง ระบุพบการติดเชื้อในคนเข้าประเทศลดลง อาจเสนอยกเลิก Thailand Pass สําหรับคนไทย ก่อนขยายในกลุ่มต่างชาติ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เผยWHO ชื่นชมไทยตอบโต้ “โควิด” ได้ดี เพราะมีความยืดหยุ่น ปรับตัว และมีแนวทางที่ปฏิบัติได้จริง ระบุพบการติดเชื้อในคนเข้าประเทศลดลง อาจเสนอยกเลิก Thailand Pass สําหรับคนไทย ก่อนขยายในกลุ่มต่างชาติ ย้ําให้ฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นลดอาการรุนแรงและเสียชีวิต ช่วยให้กลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้ วันนี้ (5 พฤษภาคม 2565) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมผู้บริหารระดับสูงกระทรวงสาธารณสุข ประจําเดือนพฤษภาคม 2565 ว่า ก่อนการประชุม มีการนําเสนอผลการทบทวนการเตรียมความพร้อมกรณีภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและสุขภาพถ้วนหน้า หรือUniversal Health and Preparedness Review (UHPR) กรณีการรับมือโควิด 19 ที่มีรองผู้อํานวยการใหญ่องค์การอนามัยโลกนําคณะมาดําเนินการ ซึ่งมีผลสรุปในทิศทางที่ดีและมีประโยชน์ต่อประเทศไทย ทําให้ทั่วโลกให้ความมั่นใจในศักยภาพของประเทศไทยมากขึ้น โดย นพ.จอส ฟอนเดลาร์ ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจําประเทศไทย ระบุว่า ประเทศไทยสามารถตอบโต้กับสถานการณ์โรคระบาดได้อย่างน่าประทับใจ โดยอาศัยความยืดหยุ่น ความสามารถในการปรับตัว และการใช้แนวทางที่นําไปปฏิบัติได้จริง โดยมีประเด็นที่นําไปพัฒนาต่อได้ เช่น การบูรณาการข้อมูล การนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีมาสนับสนุน การพึ่งพาตนเองด้านยา วัคซีน และชุดตรวจ ซึ่งเป็นสิ่งที่กระทรวงสาธารณสุขกําลังดําเนินการอยู่ นอกจากนี้ ที่ประชุมยังมีการนําเสนอความก้าวหน้าการดําเนินงาน เช่น แผนการคัดกรองวัณโรค โดยกรมควบคุมโรค การจัดบริการโรคมะเร็ง โดยกรมการแพทย์ ขณะที่กรมอนามัยจะมีความร่วมมือกับสํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ โดยสนับสนุนผ้าอ้อมสําเร็จรูปสําหรับผู้สูงอายุติดเตียง มีโรคประจําตัว ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ซึ่งได้กําชับเรื่องคุณภาพมาตรฐาน นายอนุทิน กล่าวอีกว่า สําหรับสถานการณ์โควิด 19 ขณะนี้การติดเชื้อและการเสียชีวิตเริ่มลดลง เป็นไปตามคาดการณ์ อัตราครองเตียงและการใช้เครื่องช่วยหายใจประมาณ 20% สอดคล้องกับนโยบาย 3 พอ คือ หมอพอ เตียงพอ และยาพอ ขณะที่อัตราติดเชื้อในผู้เดินทางมาจากต่างประเทศถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับการติดเชื้อในประเทศ อาจจะเสนอยกเลิกThailand Pass สําหรับคนไทยให้เดินทางเข้าประเทศโดยเสรี เพราะหากติดเชื้อจะได้รับการดูแลตามสิทธิสุขภาพอยู่แล้ว และประชาชนส่วนใหญ่ฉีดวัคซีนแล้วอย่างน้อย 2 เข็มส่วนคนต่างชาติจะพิจารณาในลําดับต่อไป ทั้งนี้ ผู้ที่เสียชีวิตจากโควิด 19 เป็นกลุ่มที่ไม่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น จึงขอให้มารับวัคซีนตามกําหนด ซึ่งจะช่วยลดความรุนแรงและการเสียชีวิตลงได้ และเมื่อมีการฉีดวัคซีนมากขึ้นจะช่วยให้ทุกคนกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติมากขึ้น *****************************************5 พฤษภาคม 2565
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/54259
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รฟฟท. เผยผลสำรวจความพึงพอใจผู้โดยสารรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง
วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม 2565 รฟฟท. เผยผลสํารวจความพึงพอใจผู้โดยสารรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ในช่วงครึ่งปีแรกหลังเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อํานวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จํากัด (รฟฟท.) กระทรวงคมนาคม ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเปิดเผยว่า เพื่อให้สามารถรวบรวมข้อมูล และเข้าถึงความต้องการของผู้โดยสารสําหรับนําข้อมูลมาประยุกต์ใช้ในการยกระดับการให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ บริษัทจึงได้ดําเนินการจ้างหน่วยงานภายนอกที่เชี่ยวชาญจัดทําแบบสํารวจความพึงพอใจผู้โดยสาร หลังเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงมาเป็นระยะเวลา 6 เดือน โดยผลปรากฎว่าจากคะแนนเต็ม 5 ผู้โดยสารมีความพึงพอใจด้านการให้บริการ 4.40 , ด้านความปลอดภัย 4.39 , ด้านคุณภาพและสิ่งอํานวยความสะดวกบนสถานีและในขบวนรถ 4.39 , ด้านการประชาสัมพันธ์และให้ข้อมูล 4.26 , ด้านเหรียญโดยสาร/บัตรโดยสาร และกิจกรรมส่งเสริมการตลาด 4.25 และด้านความน่าเชื่อถือต่อความตรงต่อเวลา ความถี่ และคุณภาพในการเดินรถไฟฟ้า 4.23 ซึ่งผลสํารวจดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าผู้โดยสารมีความเชื่อมั่นต่อการให้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เชื่อว่าเป็นผลมาจากการที่บริษัทให้ความสําคัญในการสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้โดยสาร โดยเฉพาะมาตรฐานการให้บริการที่บริษัทยึดถือปฏิบัติมาตลอด โดยล่าสุดบริษัทได้ผ่านการรับรองมาตรฐาน ISO 9001 : 2015 ขอบเขตการปฏิบัติการเดินรถไฟฟ้า ความปลอดภัย และวิศวกรรมซ่อมบํารุง จากหน่วยรับรอง Bureau Veritas (BV) หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ส่วนบริการลูกค้า 1690 ตลอด 24 ชั่วโมง รถไฟฟ้าสายสีแดง ยกระดับคุณภาพชีวิตชานเมือง
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รฟฟท. เผยผลสำรวจความพึงพอใจผู้โดยสารรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม 2565 รฟฟท. เผยผลสํารวจความพึงพอใจผู้โดยสารรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ในช่วงครึ่งปีแรกหลังเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อํานวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จํากัด (รฟฟท.) กระทรวงคมนาคม ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเปิดเผยว่า เพื่อให้สามารถรวบรวมข้อมูล และเข้าถึงความต้องการของผู้โดยสารสําหรับนําข้อมูลมาประยุกต์ใช้ในการยกระดับการให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ บริษัทจึงได้ดําเนินการจ้างหน่วยงานภายนอกที่เชี่ยวชาญจัดทําแบบสํารวจความพึงพอใจผู้โดยสาร หลังเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงมาเป็นระยะเวลา 6 เดือน โดยผลปรากฎว่าจากคะแนนเต็ม 5 ผู้โดยสารมีความพึงพอใจด้านการให้บริการ 4.40 , ด้านความปลอดภัย 4.39 , ด้านคุณภาพและสิ่งอํานวยความสะดวกบนสถานีและในขบวนรถ 4.39 , ด้านการประชาสัมพันธ์และให้ข้อมูล 4.26 , ด้านเหรียญโดยสาร/บัตรโดยสาร และกิจกรรมส่งเสริมการตลาด 4.25 และด้านความน่าเชื่อถือต่อความตรงต่อเวลา ความถี่ และคุณภาพในการเดินรถไฟฟ้า 4.23 ซึ่งผลสํารวจดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าผู้โดยสารมีความเชื่อมั่นต่อการให้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เชื่อว่าเป็นผลมาจากการที่บริษัทให้ความสําคัญในการสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้โดยสาร โดยเฉพาะมาตรฐานการให้บริการที่บริษัทยึดถือปฏิบัติมาตลอด โดยล่าสุดบริษัทได้ผ่านการรับรองมาตรฐาน ISO 9001 : 2015 ขอบเขตการปฏิบัติการเดินรถไฟฟ้า ความปลอดภัย และวิศวกรรมซ่อมบํารุง จากหน่วยรับรอง Bureau Veritas (BV) หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ส่วนบริการลูกค้า 1690 ตลอด 24 ชั่วโมง รถไฟฟ้าสายสีแดง ยกระดับคุณภาพชีวิตชานเมือง
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/54661
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“รมว.เฉลิมชัย” สั่งกรมชลประทาน ปล่อยน้ำลงทุ่งบางระกำ 2.65 แสนไร่ ตั้งแต่ 15 มี.ค.นี้
วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม 2565 “รมว.เฉลิมชัย” สั่งกรมชลประทาน ปล่อยน้ําลงทุ่งบางระกํา 2.65 แสนไร่ ตั้งแต่ 15 มี.ค.นี้ “รมว.เฉลิมชัย” สั่งกรมชลประทาน ปล่อยน้ําลงทุ่งบางระกํา 2.65 แสนไร่ ตั้งแต่ 15 มี.ค.นี้ ช่วยลดพื้นที่นาข้าวเสียหายจากน้ําหลาก เกษตรกรมีรายได้เสริมจากการประมงภายหลังเก็บเกี่ยวเสร็จ และบรรเทาอุทกภัยในเขตพิษณุโลกและสุโขทัย ตอบโจทย์เกษตรกรผู้ทํานาปีในพื้นที่ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานพิธีเปิดการรับน้ําเข้าระบบส่งน้ํา พื้นที่ลุ่มต่ําบางระกํา ตามแผนการปรับปฏิทินการเพาะปลูกข้าวนาปีให้เร็วขึ้น เพื่อลดผลกระทบผลผลิตข้าวเสียหายในช่วงฤดูน้ําหลาก ณ บริเวณท่อระบายน้ําคลองแยงมุม ต.ท่าช้าง อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก ว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับจังหวัดพิษณุโลก สุโขทัย อุตรดิตถ์ รวมทั้งหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง กลุ่มผู้ใช้น้ํา และเกษตรกรในพื้นที่ บูรณาการการบริหารจัดการน้ําในพื้นที่ลุ่มต่ําบางระกําตามโครงการบางระกําโมเดล ในรูปแบบประชารัฐ เพื่อขับเคลื่อนการดําเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกรในพื้นที่ลุ่มต่ําที่อยู่ระหว่างลุ่มน้ํายมและลุ่มน้ําน่าน ที่ประสบปัญหาอุทกภัยเป็นประจําทุกปี โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาเรื่องการบริหารจัดการน้ําอย่างเป็นระบบ ให้สอดคล้องกับภูมิสังคมและวิถีชีวิตของเกษตรกรในพื้นที่ลุ่มต่ํา โครงการบางระกําโมเดล เป็นการปรับปฏิทินการเพาะปลูกข้าวนาปีพื้นที่ลุ่มต่ําในเขตชลประทานที่อยู่ระหว่างแม่น้ํายมกับแม่น้ําน่าน ที่เกิดผลกระทบจากอุทกภัยช่วงฤดูน้ําหลากในทุกปี ครอบคลุมพื้นที่ 265,000 ไร่ โดยการบริหารจัดการน้ําในรูปแบบประชารัฐ ที่ประสบความสําเร็จเป็นอย่างดี และได้ดําเนินการมาตั้งแต่ปี 2560 จนถึงปัจจุบัน ปี 2565 โดยการเลื่อนเวลาการเพาะปลูกข้าวฤดูนาปีในพื้นที่ลุ่มต่ําเร็วขึ้น ส่งน้ําให้เกษตรกรทําการเพาะปลูกข้าวนาปีในพื้นที่โครงการ จากเดิมที่เริ่มในเดือนพฤษภาคม มาทําการเพาะปลูกเร็วขึ้นเริ่มเดือนเมษายน เพื่อให้เกษตรกรสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ก่อนฤดูน้ําหลาก ทําให้ประหยัดงบประมาณภาครัฐในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติด้านการเกษตร และสามารถใช้พื้นที่นาเก็บเกี่ยวผลผลิต และเป็นพื้นที่รองรับน้ําหลากจากลุ่มน้ํายม ลดผลกระทบจากอุทกภัยทั้งในพื้นที่การเกษตร และพื้นที่ชุมชนเมืองของจังหวัดสุโขทัย ชะลอการระบายน้ําลงสู่ลุ่มแม่น้ําเจ้าพระยา ได้สูงสุด 400 ล้านลูกบาศก์เมตร นอกจากนี้ ยังส่งเสริมให้เกษตรกรมีรายได้เสริมจากผลิตภัณฑ์ข้าว และการทําอาชีพประมง การแปรรูปผลผลิตจากปลา ซึ่งสามารถสร้างรายได้เสริมในช่วงที่รับน้ําเข้าทุ่งได้อีกด้วย สําหรับการบริหารจัดการน้ําพื้นที่ลุ่มต่ําบางระกํา ในปี 2565 นี้ กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมชลประทาน จะเริ่มส่งน้ําจากเขื่อนสิริกิติ์ให้ทุ่งบางระกําพื้นที่ 265,000 ไร่ ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2565 ครอบคลุมพื้นที่ 2 จังหวัด 5 อําเภอ ได้แก่ อ.พรหมพิราม อ.บางระกํา อ.เมือง อ.วัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก และ อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย รวม 21 ตําบล 97 หมู่บ้าน อีกทั้งกระทรวงเกษตรฯ จะนําแนวทางการบริหารจัดการน้ําพื้นที่ลุ่มต่ําบางระกํา ขยายผลสู่พื้นที่ลุ่มต่ําของลุ่มน้ําเจ้าพระยาตอนล่างต่อไปด้วย นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยังมีนโยบายในการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรในกรณีประสบภัย และโครงการสร้างอาชีพเสริมในช่วงฤดูน้ําหลากให้เกษตรกรในเขตพื้นที่ลุ่มต่ําบางระกํา โดยการบูรณาการหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ ทั้งในด้านประมงและปศุสัตว์ อาทิ การส่งเสริมการปลูกพืชหลังนา การนําปลาและกุ้งมาปล่อย เพื่อเพิ่มปริมาณสัตว์น้ํา ให้เกษตรกรมีรายได้เสริมเพิ่มมากขึ้น รวมถึงส่งเสริมการแปรรูปจากผลผลิตจากข้าวและสัตว์น้ํา เป็นต้น “ขอขอบคุณทุกหน่วยงานโดยเฉพาะเกษตรกรในพื้นที่ที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการดําเนินโครงการดังกล่าว ซึ่งที่ผ่านมาได้รับความพึงพอใจและการตอบรับที่ดีจากประชาชนในพื้นที่และเกษตรกรผู้ใช้น้ํา กระทรวงเกษตรฯ มุ่งหวังว่าจะสามารถช่วยบรรเทาปัญหาน้ําท่วมที่เกิดขึ้นซ้ําซาก แก้ปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ที่ขาดแคลนน้ํา ตลอดจนสร้างความมั่นคงด้านน้ําให้กับผู้ใช้น้ําได้ทั้งลุ่มน้ํายมและลุ่มน้ําเจ้าพระยา และช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวด้วย” ดร.เฉลิมชัย กล่าว
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“รมว.เฉลิมชัย” สั่งกรมชลประทาน ปล่อยน้ำลงทุ่งบางระกำ 2.65 แสนไร่ ตั้งแต่ 15 มี.ค.นี้ วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม 2565 “รมว.เฉลิมชัย” สั่งกรมชลประทาน ปล่อยน้ําลงทุ่งบางระกํา 2.65 แสนไร่ ตั้งแต่ 15 มี.ค.นี้ “รมว.เฉลิมชัย” สั่งกรมชลประทาน ปล่อยน้ําลงทุ่งบางระกํา 2.65 แสนไร่ ตั้งแต่ 15 มี.ค.นี้ ช่วยลดพื้นที่นาข้าวเสียหายจากน้ําหลาก เกษตรกรมีรายได้เสริมจากการประมงภายหลังเก็บเกี่ยวเสร็จ และบรรเทาอุทกภัยในเขตพิษณุโลกและสุโขทัย ตอบโจทย์เกษตรกรผู้ทํานาปีในพื้นที่ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานพิธีเปิดการรับน้ําเข้าระบบส่งน้ํา พื้นที่ลุ่มต่ําบางระกํา ตามแผนการปรับปฏิทินการเพาะปลูกข้าวนาปีให้เร็วขึ้น เพื่อลดผลกระทบผลผลิตข้าวเสียหายในช่วงฤดูน้ําหลาก ณ บริเวณท่อระบายน้ําคลองแยงมุม ต.ท่าช้าง อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก ว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับจังหวัดพิษณุโลก สุโขทัย อุตรดิตถ์ รวมทั้งหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง กลุ่มผู้ใช้น้ํา และเกษตรกรในพื้นที่ บูรณาการการบริหารจัดการน้ําในพื้นที่ลุ่มต่ําบางระกําตามโครงการบางระกําโมเดล ในรูปแบบประชารัฐ เพื่อขับเคลื่อนการดําเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกรในพื้นที่ลุ่มต่ําที่อยู่ระหว่างลุ่มน้ํายมและลุ่มน้ําน่าน ที่ประสบปัญหาอุทกภัยเป็นประจําทุกปี โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาเรื่องการบริหารจัดการน้ําอย่างเป็นระบบ ให้สอดคล้องกับภูมิสังคมและวิถีชีวิตของเกษตรกรในพื้นที่ลุ่มต่ํา โครงการบางระกําโมเดล เป็นการปรับปฏิทินการเพาะปลูกข้าวนาปีพื้นที่ลุ่มต่ําในเขตชลประทานที่อยู่ระหว่างแม่น้ํายมกับแม่น้ําน่าน ที่เกิดผลกระทบจากอุทกภัยช่วงฤดูน้ําหลากในทุกปี ครอบคลุมพื้นที่ 265,000 ไร่ โดยการบริหารจัดการน้ําในรูปแบบประชารัฐ ที่ประสบความสําเร็จเป็นอย่างดี และได้ดําเนินการมาตั้งแต่ปี 2560 จนถึงปัจจุบัน ปี 2565 โดยการเลื่อนเวลาการเพาะปลูกข้าวฤดูนาปีในพื้นที่ลุ่มต่ําเร็วขึ้น ส่งน้ําให้เกษตรกรทําการเพาะปลูกข้าวนาปีในพื้นที่โครงการ จากเดิมที่เริ่มในเดือนพฤษภาคม มาทําการเพาะปลูกเร็วขึ้นเริ่มเดือนเมษายน เพื่อให้เกษตรกรสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ก่อนฤดูน้ําหลาก ทําให้ประหยัดงบประมาณภาครัฐในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติด้านการเกษตร และสามารถใช้พื้นที่นาเก็บเกี่ยวผลผลิต และเป็นพื้นที่รองรับน้ําหลากจากลุ่มน้ํายม ลดผลกระทบจากอุทกภัยทั้งในพื้นที่การเกษตร และพื้นที่ชุมชนเมืองของจังหวัดสุโขทัย ชะลอการระบายน้ําลงสู่ลุ่มแม่น้ําเจ้าพระยา ได้สูงสุด 400 ล้านลูกบาศก์เมตร นอกจากนี้ ยังส่งเสริมให้เกษตรกรมีรายได้เสริมจากผลิตภัณฑ์ข้าว และการทําอาชีพประมง การแปรรูปผลผลิตจากปลา ซึ่งสามารถสร้างรายได้เสริมในช่วงที่รับน้ําเข้าทุ่งได้อีกด้วย สําหรับการบริหารจัดการน้ําพื้นที่ลุ่มต่ําบางระกํา ในปี 2565 นี้ กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมชลประทาน จะเริ่มส่งน้ําจากเขื่อนสิริกิติ์ให้ทุ่งบางระกําพื้นที่ 265,000 ไร่ ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2565 ครอบคลุมพื้นที่ 2 จังหวัด 5 อําเภอ ได้แก่ อ.พรหมพิราม อ.บางระกํา อ.เมือง อ.วัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก และ อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย รวม 21 ตําบล 97 หมู่บ้าน อีกทั้งกระทรวงเกษตรฯ จะนําแนวทางการบริหารจัดการน้ําพื้นที่ลุ่มต่ําบางระกํา ขยายผลสู่พื้นที่ลุ่มต่ําของลุ่มน้ําเจ้าพระยาตอนล่างต่อไปด้วย นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยังมีนโยบายในการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรในกรณีประสบภัย และโครงการสร้างอาชีพเสริมในช่วงฤดูน้ําหลากให้เกษตรกรในเขตพื้นที่ลุ่มต่ําบางระกํา โดยการบูรณาการหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ ทั้งในด้านประมงและปศุสัตว์ อาทิ การส่งเสริมการปลูกพืชหลังนา การนําปลาและกุ้งมาปล่อย เพื่อเพิ่มปริมาณสัตว์น้ํา ให้เกษตรกรมีรายได้เสริมเพิ่มมากขึ้น รวมถึงส่งเสริมการแปรรูปจากผลผลิตจากข้าวและสัตว์น้ํา เป็นต้น “ขอขอบคุณทุกหน่วยงานโดยเฉพาะเกษตรกรในพื้นที่ที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการดําเนินโครงการดังกล่าว ซึ่งที่ผ่านมาได้รับความพึงพอใจและการตอบรับที่ดีจากประชาชนในพื้นที่และเกษตรกรผู้ใช้น้ํา กระทรวงเกษตรฯ มุ่งหวังว่าจะสามารถช่วยบรรเทาปัญหาน้ําท่วมที่เกิดขึ้นซ้ําซาก แก้ปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ที่ขาดแคลนน้ํา ตลอดจนสร้างความมั่นคงด้านน้ําให้กับผู้ใช้น้ําได้ทั้งลุ่มน้ํายมและลุ่มน้ําเจ้าพระยา และช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวด้วย” ดร.เฉลิมชัย กล่าว
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/52537
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม เยี่ยมชมการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชน บริษัท เด็กพิเศษ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด (Brand AVAUTIS)
วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม 2565 ผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม เยี่ยมชมการดําเนินงานวิสาหกิจชุมชน บริษัท เด็กพิเศษ วิสาหกิจเพื่อสังคม จํากัด (Brand AVAUTIS) ผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม เยี่ยมชมการดําเนินงานวิสาหกิจชุมชน บริษัท เด็กพิเศษ วิสาหกิจเพื่อสังคม จํากัด (Brand AVAUTIS) ผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม เยี่ยมชมการดําเนินงานวิสาหกิจชุมชน บริษัท เด็กพิเศษ วิสาหกิจเพื่อสังคม จํากัด (Brand AVAUTIS) พังงา - วันนี้ (20 พฤษภาคม 2565) เวลา 13.00 น. นายสุชาติ ไตรแสงรุจิระ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายสุรพล ชามาตย์ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายสกล จุลาภา รองอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ นายธีระ แก้วพิมล อุตสาหกรรมจังหวัดพังงา และคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม เยี่ยมชมการดําเนินงานวิสาหกิจชุมชน บริษัท เด็กพิเศษ วิสาหกิจเพื่อสังคม จํากัด (Brand AVAUTIS) โดยมี นายกัมปนาท มหันต์ ผู้ก่อตั้ง วิสาหกิจชุมชน บริษัท เด็กพิเศษ วิสาหกิจเพื่อสังคม จํากัด และคณะผู้ปกครองเด็กพิเศษ ให้การต้อนรับ ณ บริษัท เด็กพิเศษ วิสาหกิจเพื่อสังคม จํากัด ตําบลเหล อําเภอปะกง จังหวัดพังงา สําหรับ บริษัท เด็กพิเศษ วิสาหกิจเพื่อสังคม จํากัด เป็นการรวมกลุ่มกันของผู้ปกครองเด็กพิเศษ ในจังหวัดพังงา โดยเมื่อปี พ.ศ.2553 ได้จัดตั้ง “ชมรมผู้ปกครองบุคคลออทิสติก จังหวัดพังงา” ขึ้นเพื่อเป็นกําลังใจให้กันและกัน แลกเปลี่ยนการดูแลและพัฒนาเด็กพิเศษ เพื่อให้เขาสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจําวัน และสามารถดํารงชีวิตได้ในสังคมปัจจุบัน ซึ่งเด็กพิเศษเมื่อเข้าสู่วัยทํางานแล้วส่วนใหญ่ไม่สามารถทํางานได้ด้วยตังเอง หากไม่มีผู้ปกครองคอยช่วยในการทํางาน และการใช้ชีวิตประจําวัน อีกทั้งเด็กพิเศษยังต้องการสภาวะแวดล้อมที่เข้าใจปลอดภัย ด้วยต้นทุนในตัวของเด็กแต่ละคนไม่เท่ากัน (ระดับความรุนแรงไม่เท่ากัน) ซึ่งเด็กต้องการการดูเป็นพิเศษ ทั้งความรัก ความเข้าใจ ทั้งนี้กลุ่มผู้ปกครองเด็กพิเศษจึงรวมตัวกัน สร้างงานที่ผู้ปกครองสามารถทํางานร่วมกันกับเด็กพิเศษ ด้วยความรักและเข้าใจในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เป็นการพัฒนาอาชีพก่อให้เกิดรายได้เลี้ยงตนเอง จึงเป็นที่มาของผลิตภัณฑ์ ภายใต้ แบรนด์ "AVAUTIS" (เอวาร์ติส) ซึ่งเป็นผลิตภันฑ์สกินแคร์ที่มีคุณภาพ เป็นมิตรต่อผู้บริโภค โดยมุ่งเน้นไปที่การคัดสรรค์วัตถุดิบจากธรรมชาติอย่างพิถีพิถันเพื่อให้ปลอดภัย 100% พร้อมสรรพคุณที่ช่วยบํารุงผิวอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และได้รับการรับรองจากองค์กรต่าง ๆ อย่างถูกต้อง เพื่อให้มั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์ได้ผ่านมาตรฐานและปลอดภัยต่อผู้บริโภค ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรม โดยอุตสาหกรรมจังหวัดพังงา ได้สนับสนุนส่งเสริมโครงการกิจกรรมให้คําปรึกษาเชิงลึกด้านการส่งเสริมและพัฒนาตามแนวทางเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG Model) เพื่อเพิ่มความรู้ทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม ช่วยปรับปรุงในกระบวนการผลิต ทั้งในด้านรักษาสิ่งแวดล้อม ต้นทุนการผลิต และในอีกหลายขั้นตอน
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม เยี่ยมชมการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชน บริษัท เด็กพิเศษ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด (Brand AVAUTIS) วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม 2565 ผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม เยี่ยมชมการดําเนินงานวิสาหกิจชุมชน บริษัท เด็กพิเศษ วิสาหกิจเพื่อสังคม จํากัด (Brand AVAUTIS) ผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม เยี่ยมชมการดําเนินงานวิสาหกิจชุมชน บริษัท เด็กพิเศษ วิสาหกิจเพื่อสังคม จํากัด (Brand AVAUTIS) ผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม เยี่ยมชมการดําเนินงานวิสาหกิจชุมชน บริษัท เด็กพิเศษ วิสาหกิจเพื่อสังคม จํากัด (Brand AVAUTIS) พังงา - วันนี้ (20 พฤษภาคม 2565) เวลา 13.00 น. นายสุชาติ ไตรแสงรุจิระ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายสุรพล ชามาตย์ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายสกล จุลาภา รองอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ นายธีระ แก้วพิมล อุตสาหกรรมจังหวัดพังงา และคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม เยี่ยมชมการดําเนินงานวิสาหกิจชุมชน บริษัท เด็กพิเศษ วิสาหกิจเพื่อสังคม จํากัด (Brand AVAUTIS) โดยมี นายกัมปนาท มหันต์ ผู้ก่อตั้ง วิสาหกิจชุมชน บริษัท เด็กพิเศษ วิสาหกิจเพื่อสังคม จํากัด และคณะผู้ปกครองเด็กพิเศษ ให้การต้อนรับ ณ บริษัท เด็กพิเศษ วิสาหกิจเพื่อสังคม จํากัด ตําบลเหล อําเภอปะกง จังหวัดพังงา สําหรับ บริษัท เด็กพิเศษ วิสาหกิจเพื่อสังคม จํากัด เป็นการรวมกลุ่มกันของผู้ปกครองเด็กพิเศษ ในจังหวัดพังงา โดยเมื่อปี พ.ศ.2553 ได้จัดตั้ง “ชมรมผู้ปกครองบุคคลออทิสติก จังหวัดพังงา” ขึ้นเพื่อเป็นกําลังใจให้กันและกัน แลกเปลี่ยนการดูแลและพัฒนาเด็กพิเศษ เพื่อให้เขาสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจําวัน และสามารถดํารงชีวิตได้ในสังคมปัจจุบัน ซึ่งเด็กพิเศษเมื่อเข้าสู่วัยทํางานแล้วส่วนใหญ่ไม่สามารถทํางานได้ด้วยตังเอง หากไม่มีผู้ปกครองคอยช่วยในการทํางาน และการใช้ชีวิตประจําวัน อีกทั้งเด็กพิเศษยังต้องการสภาวะแวดล้อมที่เข้าใจปลอดภัย ด้วยต้นทุนในตัวของเด็กแต่ละคนไม่เท่ากัน (ระดับความรุนแรงไม่เท่ากัน) ซึ่งเด็กต้องการการดูเป็นพิเศษ ทั้งความรัก ความเข้าใจ ทั้งนี้กลุ่มผู้ปกครองเด็กพิเศษจึงรวมตัวกัน สร้างงานที่ผู้ปกครองสามารถทํางานร่วมกันกับเด็กพิเศษ ด้วยความรักและเข้าใจในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เป็นการพัฒนาอาชีพก่อให้เกิดรายได้เลี้ยงตนเอง จึงเป็นที่มาของผลิตภัณฑ์ ภายใต้ แบรนด์ "AVAUTIS" (เอวาร์ติส) ซึ่งเป็นผลิตภันฑ์สกินแคร์ที่มีคุณภาพ เป็นมิตรต่อผู้บริโภค โดยมุ่งเน้นไปที่การคัดสรรค์วัตถุดิบจากธรรมชาติอย่างพิถีพิถันเพื่อให้ปลอดภัย 100% พร้อมสรรพคุณที่ช่วยบํารุงผิวอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และได้รับการรับรองจากองค์กรต่าง ๆ อย่างถูกต้อง เพื่อให้มั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์ได้ผ่านมาตรฐานและปลอดภัยต่อผู้บริโภค ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรม โดยอุตสาหกรรมจังหวัดพังงา ได้สนับสนุนส่งเสริมโครงการกิจกรรมให้คําปรึกษาเชิงลึกด้านการส่งเสริมและพัฒนาตามแนวทางเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG Model) เพื่อเพิ่มความรู้ทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม ช่วยปรับปรุงในกระบวนการผลิต ทั้งในด้านรักษาสิ่งแวดล้อม ต้นทุนการผลิต และในอีกหลายขั้นตอน
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/54898
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงเกษตรฯ พร้อมเป็นเจ้าภาพการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก พ.ศ. 2569 (ค.ศ. 2026) ระหว่างการประชุมสามัญประจำปีของสมาคมพืชสวนระหว่างประเทศ (AIPH Spring Conference 2022)
วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม 2565 กระทรวงเกษตรฯ พร้อมเป็นเจ้าภาพการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก พ.ศ. 2569 (ค.ศ. 2026) ระหว่างการประชุมสามัญประจําปีของสมาคมพืชสวนระหว่างประเทศ (AIPH Spring Conference 2022) กระทรวงเกษตรฯ พร้อมเป็นเจ้าภาพการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก พ.ศ. 2569 (ค.ศ. 2026) ระหว่างการประชุมสามัญประจําปีของสมาคมพืชสวนระหว่างประเทศ (AIPH Spring Conference 2022) วันที่ 7 มีนาคม 2565 เวลา 17.40 น.( หรือเวลา 14.40 น. ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มอบหมาย ดร.ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยนายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดํารง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี และผู้อํานวยการสํานักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (TCEB) เข้าร่วมนําเสนอความพร้อมของประเทศไทยในการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก พ.ศ. 2569 (ค.ศ. 2026) ระหว่างการประชุมสามัญประจําปีของสมาคมพืชสวนระหว่างประเทศ (AIPH Spring Conference 2022) ณ Crowne Plaza Dubai Marina เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งคณะกรรมการของ AIPH จะประกาศผลในวันที่ 8 มีนาคม นี้
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงเกษตรฯ พร้อมเป็นเจ้าภาพการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก พ.ศ. 2569 (ค.ศ. 2026) ระหว่างการประชุมสามัญประจำปีของสมาคมพืชสวนระหว่างประเทศ (AIPH Spring Conference 2022) วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม 2565 กระทรวงเกษตรฯ พร้อมเป็นเจ้าภาพการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก พ.ศ. 2569 (ค.ศ. 2026) ระหว่างการประชุมสามัญประจําปีของสมาคมพืชสวนระหว่างประเทศ (AIPH Spring Conference 2022) กระทรวงเกษตรฯ พร้อมเป็นเจ้าภาพการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก พ.ศ. 2569 (ค.ศ. 2026) ระหว่างการประชุมสามัญประจําปีของสมาคมพืชสวนระหว่างประเทศ (AIPH Spring Conference 2022) วันที่ 7 มีนาคม 2565 เวลา 17.40 น.( หรือเวลา 14.40 น. ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มอบหมาย ดร.ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยนายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดํารง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี และผู้อํานวยการสํานักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (TCEB) เข้าร่วมนําเสนอความพร้อมของประเทศไทยในการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก พ.ศ. 2569 (ค.ศ. 2026) ระหว่างการประชุมสามัญประจําปีของสมาคมพืชสวนระหว่างประเทศ (AIPH Spring Conference 2022) ณ Crowne Plaza Dubai Marina เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งคณะกรรมการของ AIPH จะประกาศผลในวันที่ 8 มีนาคม นี้
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/52283
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ร่วมถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๗๐ พรรษา (๒๘ ก.ค.๖๕)
วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม 2565 สํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ร่วมถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๗๐ พรรษา (๒๘ ก.ค.๖๕) เช้าวันนี้ (วันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๕ เวลา ๐๗.๓๐ น.) พลเอก วรเกียรติ รัตนานนท์ ปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในการจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๗๐ พรรษา (๒๘ ก.ค.๖๕) โดยมีพิธีถวายพระพรชัยมงคลและพิธีเจริญพระพุทธมนต์ พิธีทําบุญตักบาตรพระสงฆ์และสามเณร จํานวน ๗๑ รูป ถวายเป็นพระราชกุศล และพิธีลงนามถวายพระพรชัยมงคลณ ศาลาว่าการกลาโหม ทั้งนี้ เพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดี และน้อมสํานึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ที่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาททรงปฏิบัติบําเพ็ญพระราชกรณียกิจนานัปการ เพื่อบําบัดทุกข์บํารุงสุขแก่อาณาประชาราษฎร์ด้วยพระวิริยอุตสาหะและพระราชหฤทัยที่เปี่ยมด้วยพระเมตตา เพื่อให้พสกนิกรทุกหมู่เหล่ามีความร่มเย็นเป็นสุข เป็นที่ประจักษ์ประทับอยู่ในใจของพสกนิกรตลอดมา
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ร่วมถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๗๐ พรรษา (๒๘ ก.ค.๖๕) วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม 2565 สํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ร่วมถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๗๐ พรรษา (๒๘ ก.ค.๖๕) เช้าวันนี้ (วันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๕ เวลา ๐๗.๓๐ น.) พลเอก วรเกียรติ รัตนานนท์ ปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในการจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๗๐ พรรษา (๒๘ ก.ค.๖๕) โดยมีพิธีถวายพระพรชัยมงคลและพิธีเจริญพระพุทธมนต์ พิธีทําบุญตักบาตรพระสงฆ์และสามเณร จํานวน ๗๑ รูป ถวายเป็นพระราชกุศล และพิธีลงนามถวายพระพรชัยมงคลณ ศาลาว่าการกลาโหม ทั้งนี้ เพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดี และน้อมสํานึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ที่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาททรงปฏิบัติบําเพ็ญพระราชกรณียกิจนานัปการ เพื่อบําบัดทุกข์บํารุงสุขแก่อาณาประชาราษฎร์ด้วยพระวิริยอุตสาหะและพระราชหฤทัยที่เปี่ยมด้วยพระเมตตา เพื่อให้พสกนิกรทุกหมู่เหล่ามีความร่มเย็นเป็นสุข เป็นที่ประจักษ์ประทับอยู่ในใจของพสกนิกรตลอดมา
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/57395
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมทางหลวงดำเนินการโครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 33 บ้านภาชี - บ้านหินกอง
วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน 2565 กรมทางหลวงดําเนินการโครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 33 บ้านภาชี - บ้านหินกอง สายอําเภอบางปะหัน - อําเภอนครหลวง - อําเภอภาชี - บ้านหินกอง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 4 ช่องจราจร แล้วเสร็จ กรมทางหลวง (ทล.) กระทรวงคมนาคม โดยสํานักก่อสร้างทางที่ 1 ดําเนินการก่อสร้างขยายทางหลวงหมายเลข 33 สายอําเภอบางปะหัน - อําเภอนครหลวง - อําเภอภาชี - บ้านหินกอง ตอนบ้านภาชี - บ้านหินกอง แล้วเสร็จ ระยะทาง 26.72 กิโลเมตร ในพื้นที่อําเภอนครหลวงและภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และอําเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี เพื่อรองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษสระแก้วตามนโยบายของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ที่ต้องการบูรณาการพัฒนาด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ เร่งรัดขยายทางสายประธานให้เป็น 4 ช่องจราจร ทางหลวงหมายเลข 33 มีความสําคัญทางด้านการคมนาคมและทางด้านเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก เชื่อมต่อการเดินทางระหว่างจังหวัดในภาคกลางและภาคตะวันออกในประเทศไทย โดยเริ่มต้นจากทางหลวงหมายเลข 340 จังหวัดสุพรรณบุรี ไปสิ้นสุดที่อําเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว (เขตแดนไทย/กัมพูชา) รวมระยะทาง 299 กิโลเมตร โดยช่วงจังหวัดสุพรรณบุรี - ป่าโมก - ถนนสายเอเชียเป็นทาง 4 ช่องจราจร มีเพียงช่วงเขตบางปะอิน - นครหลวง - ภาชี - หินกอง ที่เป็นทาง 2 ช่องจราจร ซึ่งไม่สามารถรองรับปริมาณการจราจรที่เพิ่มมากขึ้นได้อย่างสะดวก และปลอดภัยแก่ผู้ใช้เส้นทาง ทล. จึงได้ศึกษาถึงความเหมาะสมและความจําเป็นดังกล่าวได้พิจารณาปรับปรุงและกําหนดมาตรฐานการออกแบบชั้นพิเศษ 4 ช่องจราจร เพื่อเป็นการอํานวยความสะดวกและปลอดภัยแก่ผู้ใช้ทาง โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 33 สายอําเภอบางปะหัน - อําเภอนครหลวง - อําเภอภาชี - บ้านหินกอง ตอนบ้านภาชี - บ.หินกอง อยู่ในพื้นที่อําเภอนครหลวงและภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และอําเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี เดิมทางสายนี้เป็นทางหลวงขนาด 2 ช่องจราจร ไป - กลับ แต่เนื่องจากปัจจุบันไม่สามารถรองรับปริมาณจราจรที่เพิ่มจํานวนมากขึ้น จึงได้ทําการขยายช่องจราจร โดยก่อสร้างเป็นมาตรฐานทางชั้นพิเศษ 4 ช่องจราจร ระหว่าง กม. ที่ 54+273 - 81+000 ระยะทาง 26.72 กิโลเมตร ขยายคันทางจาก 2 ช่องจราจร เป็น 4 ช่องจราจร (ไป - กลับ ข้างละ 2 ช่องจราจร) กว้างช่องละ 3.5 เมตร ผิวทางและไหล่ทางเป็นคอนกรีต ไหล่ทางด้านนอกกว้าง 2.5 เมตร แบ่งทิศทางจราจรด้วยเกาะกลางแบบยก พร้อมติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่าง ไฟสัญญาณจราจร ไฟกะพริบบนทางหลวงเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด งบประมาณ 1,257,757,580 บาท โครงการดังกล่าวเมื่อแล้วเสร็จจะเป็นทางหลวงที่เชื่อมต่อระหว่างจังหวัดในภาคกลางและภาคตะวันออกของประเทศไทย เพื่อให้มีประสิทธิภาพสามารถรองรับการจราจรที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต และมีความปลอดภัยในการใช้ทางมากยิ่งขึ้น ช่วยส่งเสริมศักยภาพการกระจายความเจริญทางด้านเศรษฐกิจระดับท้องถิ่นและในระดับประเทศ เพิ่มความสะดวกและรวดเร็วในการเดินทางของประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนน ทล. ขอความร่วมมือผู้ใช้ทางปฏิบัติตาม “ชีวิตวิถีใหม่ ขับขี่อย่างปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ” ขับขี่ด้วยความระมัดระวังเพื่อความปลอดภัยของตัวท่านและผู้ร่วมทาง ประชาชนสามารถสอบถามเส้นทางการเดินทางได้ที่สายด่วน ทล. โทร. 1586 (โทรฟรีทุกเครือข่ายตลอด 24 ชั่วโมง)
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมทางหลวงดำเนินการโครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 33 บ้านภาชี - บ้านหินกอง วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน 2565 กรมทางหลวงดําเนินการโครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 33 บ้านภาชี - บ้านหินกอง สายอําเภอบางปะหัน - อําเภอนครหลวง - อําเภอภาชี - บ้านหินกอง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 4 ช่องจราจร แล้วเสร็จ กรมทางหลวง (ทล.) กระทรวงคมนาคม โดยสํานักก่อสร้างทางที่ 1 ดําเนินการก่อสร้างขยายทางหลวงหมายเลข 33 สายอําเภอบางปะหัน - อําเภอนครหลวง - อําเภอภาชี - บ้านหินกอง ตอนบ้านภาชี - บ้านหินกอง แล้วเสร็จ ระยะทาง 26.72 กิโลเมตร ในพื้นที่อําเภอนครหลวงและภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และอําเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี เพื่อรองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษสระแก้วตามนโยบายของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ที่ต้องการบูรณาการพัฒนาด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ เร่งรัดขยายทางสายประธานให้เป็น 4 ช่องจราจร ทางหลวงหมายเลข 33 มีความสําคัญทางด้านการคมนาคมและทางด้านเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก เชื่อมต่อการเดินทางระหว่างจังหวัดในภาคกลางและภาคตะวันออกในประเทศไทย โดยเริ่มต้นจากทางหลวงหมายเลข 340 จังหวัดสุพรรณบุรี ไปสิ้นสุดที่อําเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว (เขตแดนไทย/กัมพูชา) รวมระยะทาง 299 กิโลเมตร โดยช่วงจังหวัดสุพรรณบุรี - ป่าโมก - ถนนสายเอเชียเป็นทาง 4 ช่องจราจร มีเพียงช่วงเขตบางปะอิน - นครหลวง - ภาชี - หินกอง ที่เป็นทาง 2 ช่องจราจร ซึ่งไม่สามารถรองรับปริมาณการจราจรที่เพิ่มมากขึ้นได้อย่างสะดวก และปลอดภัยแก่ผู้ใช้เส้นทาง ทล. จึงได้ศึกษาถึงความเหมาะสมและความจําเป็นดังกล่าวได้พิจารณาปรับปรุงและกําหนดมาตรฐานการออกแบบชั้นพิเศษ 4 ช่องจราจร เพื่อเป็นการอํานวยความสะดวกและปลอดภัยแก่ผู้ใช้ทาง โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 33 สายอําเภอบางปะหัน - อําเภอนครหลวง - อําเภอภาชี - บ้านหินกอง ตอนบ้านภาชี - บ.หินกอง อยู่ในพื้นที่อําเภอนครหลวงและภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และอําเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี เดิมทางสายนี้เป็นทางหลวงขนาด 2 ช่องจราจร ไป - กลับ แต่เนื่องจากปัจจุบันไม่สามารถรองรับปริมาณจราจรที่เพิ่มจํานวนมากขึ้น จึงได้ทําการขยายช่องจราจร โดยก่อสร้างเป็นมาตรฐานทางชั้นพิเศษ 4 ช่องจราจร ระหว่าง กม. ที่ 54+273 - 81+000 ระยะทาง 26.72 กิโลเมตร ขยายคันทางจาก 2 ช่องจราจร เป็น 4 ช่องจราจร (ไป - กลับ ข้างละ 2 ช่องจราจร) กว้างช่องละ 3.5 เมตร ผิวทางและไหล่ทางเป็นคอนกรีต ไหล่ทางด้านนอกกว้าง 2.5 เมตร แบ่งทิศทางจราจรด้วยเกาะกลางแบบยก พร้อมติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่าง ไฟสัญญาณจราจร ไฟกะพริบบนทางหลวงเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด งบประมาณ 1,257,757,580 บาท โครงการดังกล่าวเมื่อแล้วเสร็จจะเป็นทางหลวงที่เชื่อมต่อระหว่างจังหวัดในภาคกลางและภาคตะวันออกของประเทศไทย เพื่อให้มีประสิทธิภาพสามารถรองรับการจราจรที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต และมีความปลอดภัยในการใช้ทางมากยิ่งขึ้น ช่วยส่งเสริมศักยภาพการกระจายความเจริญทางด้านเศรษฐกิจระดับท้องถิ่นและในระดับประเทศ เพิ่มความสะดวกและรวดเร็วในการเดินทางของประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนน ทล. ขอความร่วมมือผู้ใช้ทางปฏิบัติตาม “ชีวิตวิถีใหม่ ขับขี่อย่างปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ” ขับขี่ด้วยความระมัดระวังเพื่อความปลอดภัยของตัวท่านและผู้ร่วมทาง ประชาชนสามารถสอบถามเส้นทางการเดินทางได้ที่สายด่วน ทล. โทร. 1586 (โทรฟรีทุกเครือข่ายตลอด 24 ชั่วโมง)
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/56361
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-วัคซีนไฟเซอร์เด็ก 3 แสนโดสแรกถึงไทยแล้ว เริ่มฉีด 31 ม.ค. นี้ ณ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม 2565 วัคซีนไฟเซอร์เด็ก 3 แสนโดสแรกถึงไทยแล้ว เริ่มฉีด 31 ม.ค. นี้ ณ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ..... กระทรวงสาธารณสุข เผยวัคซีนไฟเซอร์เด็กที่จะฉีดให้เด็กอายุ 5 - 11 ปี ล็อตแรก 3 แสนโดสถึงไทยแล้ว ขณะนี้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กําลังตรวจสอบคุณภาพ และจะส่งไปยังจุดฉีดทั่วประเทศต่อไป ส่วนวัคซีนที่เหลือจะทยอยส่งทุกสัปดาห์จนครบ 3.5 ล้านโดส ภายในไตรมาสแรก . วัคซีนสูตรเด็กอายุ 5 - 11 ปีนั้น จะฉีดคนละ 0.2 มิลลิลิตร (10 ไมโครกรัม) 1 ขวดฉีดได้ 10 คน ข้อดีคือ เก็บในอุณหภูมิ 2 - 8 องศาเซลเซียสได้นานขึ้นเป็น 10 สัปดาห์ และหลังเปิดใช้แล้วต้องฉีดให้หมดภายใน 2 - 6 ชั่วโมง . มีขั้นตอนการฉีด ดังนี้ . การคัดกรอง กุมารแพทย์จะเป็นผู้ประเมิน หากกําลังมีไข้ ร่างกายอ่อนเพลีย หรือโรคประจําตัวอาการรุนแรงขึ้น อาการไม่คงที่ จะให้ชะลอการฉีดออกไปก่อน . การลงทะเบียน มีการเซ็นใบยินยอมของผู้ปกครอง . การฉีดวัคซีน จัดสถานที่มิดชิด มีม่านหรือฉากกั้น หรือฉีดในห้อง เพื่อลดผลกระทบด้านจิตใจ เนื่องจากเด็กเล็กเมื่อเห็นเด็กถูกฉีดแล้วร้อง อาจเกิดอุปาทานหมู่ยอมรับการฉีดยากขึ้น . หลังฉีดรอดูอาการ 30 เมื่อกลับบ้านแล้วไม่ควรออกกําลังกายหรือทํากิจกรรมที่ใช้แรง 1 สัปดาห์ . โดยจะเริ่มต้นฉีดวัคซีนเด็กอายุ 5 - 11 ปี กลุ่มโรคประจําตัว วันที่ 31 ม.ค. นี้ ที่สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี #ไทยคู่ฟ้า#ร่วมต้านโควิด19 -------------------
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-วัคซีนไฟเซอร์เด็ก 3 แสนโดสแรกถึงไทยแล้ว เริ่มฉีด 31 ม.ค. นี้ ณ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม 2565 วัคซีนไฟเซอร์เด็ก 3 แสนโดสแรกถึงไทยแล้ว เริ่มฉีด 31 ม.ค. นี้ ณ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ..... กระทรวงสาธารณสุข เผยวัคซีนไฟเซอร์เด็กที่จะฉีดให้เด็กอายุ 5 - 11 ปี ล็อตแรก 3 แสนโดสถึงไทยแล้ว ขณะนี้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กําลังตรวจสอบคุณภาพ และจะส่งไปยังจุดฉีดทั่วประเทศต่อไป ส่วนวัคซีนที่เหลือจะทยอยส่งทุกสัปดาห์จนครบ 3.5 ล้านโดส ภายในไตรมาสแรก . วัคซีนสูตรเด็กอายุ 5 - 11 ปีนั้น จะฉีดคนละ 0.2 มิลลิลิตร (10 ไมโครกรัม) 1 ขวดฉีดได้ 10 คน ข้อดีคือ เก็บในอุณหภูมิ 2 - 8 องศาเซลเซียสได้นานขึ้นเป็น 10 สัปดาห์ และหลังเปิดใช้แล้วต้องฉีดให้หมดภายใน 2 - 6 ชั่วโมง . มีขั้นตอนการฉีด ดังนี้ . การคัดกรอง กุมารแพทย์จะเป็นผู้ประเมิน หากกําลังมีไข้ ร่างกายอ่อนเพลีย หรือโรคประจําตัวอาการรุนแรงขึ้น อาการไม่คงที่ จะให้ชะลอการฉีดออกไปก่อน . การลงทะเบียน มีการเซ็นใบยินยอมของผู้ปกครอง . การฉีดวัคซีน จัดสถานที่มิดชิด มีม่านหรือฉากกั้น หรือฉีดในห้อง เพื่อลดผลกระทบด้านจิตใจ เนื่องจากเด็กเล็กเมื่อเห็นเด็กถูกฉีดแล้วร้อง อาจเกิดอุปาทานหมู่ยอมรับการฉีดยากขึ้น . หลังฉีดรอดูอาการ 30 เมื่อกลับบ้านแล้วไม่ควรออกกําลังกายหรือทํากิจกรรมที่ใช้แรง 1 สัปดาห์ . โดยจะเริ่มต้นฉีดวัคซีนเด็กอายุ 5 - 11 ปี กลุ่มโรคประจําตัว วันที่ 31 ม.ค. นี้ ที่สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี #ไทยคู่ฟ้า#ร่วมต้านโควิด19 -------------------
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/50948
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ความก้าวหน้าการออกแบบพัฒนาสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา
วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน 2564 ความก้าวหน้าการออกแบบพัฒนาสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย นําคณะผู้บริหารการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ลงพื้นที่ตรวจติดตามความก้าวหน้าการออกแบบพัฒนาสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเพื่อให้การก่อสร้างสอดคล้องกับผลการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2564 เวลา 09.30 น. นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย นําคณะผู้บริหารการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ลงพื้นที่ตรวจติดตามความก้าวหน้าการออกแบบพัฒนาสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเพื่อให้การก่อสร้างสอดคล้องกับผลการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และรองรับการเป็นเมืองมรดกโลกพระนครศรีอยุธยา ตามข้อกําหนดของยูเนสโก ทั้งนี้ สถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา ถูกออกแบบภายใต้ข้อตกลงในการประชุมร่วมไทย-จีน ซึ่ง รฟท. ได้คํานึงถึงอัตลักษณ์ท้องถิ่น และต่อมาทางองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ-ยูเนสโก ได้มีข้อห่วงกังวลว่าโครงการอาจส่งผลกระทบต่อเมืองมรดกโลกพระนครศรีอยุธยา กระทรวงคมนาคม การรถไฟแห่งประเทศไทย กรมศิลปากร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงได้ร่วมกันแก้ปัญหาดังกล่าว โดยให้มีการจัดทํารายงานผลกระทบ (Heritage Impact Assessment,HIA.) และให้ รฟท. เป็นผู้ดําเนินการปรับรูปแบบอาคารสถานี ให้เป็นไปตามรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมและลดความสูงของทางวิ่งลงอีก 4 เมตร เพื่อเป็นการลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับเมืองมรดกโลกพระนครศรีอยุธยา
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ความก้าวหน้าการออกแบบพัฒนาสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน 2564 ความก้าวหน้าการออกแบบพัฒนาสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย นําคณะผู้บริหารการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ลงพื้นที่ตรวจติดตามความก้าวหน้าการออกแบบพัฒนาสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเพื่อให้การก่อสร้างสอดคล้องกับผลการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2564 เวลา 09.30 น. นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย นําคณะผู้บริหารการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ลงพื้นที่ตรวจติดตามความก้าวหน้าการออกแบบพัฒนาสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเพื่อให้การก่อสร้างสอดคล้องกับผลการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และรองรับการเป็นเมืองมรดกโลกพระนครศรีอยุธยา ตามข้อกําหนดของยูเนสโก ทั้งนี้ สถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา ถูกออกแบบภายใต้ข้อตกลงในการประชุมร่วมไทย-จีน ซึ่ง รฟท. ได้คํานึงถึงอัตลักษณ์ท้องถิ่น และต่อมาทางองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ-ยูเนสโก ได้มีข้อห่วงกังวลว่าโครงการอาจส่งผลกระทบต่อเมืองมรดกโลกพระนครศรีอยุธยา กระทรวงคมนาคม การรถไฟแห่งประเทศไทย กรมศิลปากร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงได้ร่วมกันแก้ปัญหาดังกล่าว โดยให้มีการจัดทํารายงานผลกระทบ (Heritage Impact Assessment,HIA.) และให้ รฟท. เป็นผู้ดําเนินการปรับรูปแบบอาคารสถานี ให้เป็นไปตามรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมและลดความสูงของทางวิ่งลงอีก 4 เมตร เพื่อเป็นการลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับเมืองมรดกโลกพระนครศรีอยุธยา
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/48482
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมทางหลวงชนบท รายงานสถานการณ์สายทางที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในวันที่ 11 ตุลาคม 2564 เวลา 17.00 น. ยังไม่สามารถสัญจรผ่านได้ 22 สายทาง พร้อมเร่งฟื้นฟูเส้นทางอย่างเร่งด่วน
วันจันทร์ที่ 11 ตุลาคม 2564 กรมทางหลวงชนบท รายงานสถานการณ์สายทางที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในวันที่ 11 ตุลาคม 2564 เวลา 17.00 น. ยังไม่สามารถสัญจรผ่านได้ 22 สายทาง พร้อมเร่งฟื้นฟูเส้นทางอย่างเร่งด่วน กรมทางหลวงชนบท (ทช.) กระทรวงคมนาคม โดยสํานักบํารุงทาง รายงานถึงสถานการณ์อุทกภัยในวันที่ 11 ตุลาคม 2564 เวลา 17.00 น. ว่า มีถนนทางหลวงชนบทที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ 12 จังหวัด รวม 30 สายทาง สามารถสัญจรผ่านได้ 8 สายทาง และไม่สามารถสัญจรผ่านได้ 22 สายทาง กรมทางหลวงชนบท (ทช.) กระทรวงคมนาคม โดยสํานักบํารุงทาง รายงานถึงสถานการณ์อุทกภัยในวันที่ 11 ตุลาคม 2564 เวลา 17.00 น. ว่า มีถนนทางหลวงชนบทที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ 12 จังหวัด ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง ลพบุรี สิงห์บุรี นครราชสีมา ชัยภูมิ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ขอนแก่น มหาสารคาม นครสวรรค์ และสุพรรณบุรี รวม 30 สายทาง สามารถสัญจรผ่านได้ 8 สายทาง และไม่สามารถสัญจรผ่านได้ 22 สายทาง แบ่งเป็น น้ําท่วมสูง 16 สายทาง (16 แห่ง) ทางขาด โครงสร้างทางชํารุด กัดเซาะ 6 สายทาง (6 แห่ง) รายละเอียดดังนี้ 1. สายทาง นว.3102 แยก ทล.117 - บ้านเนิน อําเภอเก้าเลี้ยว และชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ น้ําท่วมสูง 40 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 8+300 - 11+100) 2. สายทาง ชย.3010 แยก ทล.205 - อ่างเก็บน้ําลําคันฉู อําเภอบําเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ เส้นทางขาด (ช่วง กม. ที่ 2+600 - 2+800) 3. สายทาง ชย.024 สะพานข้ามแม่น้ําชี ท่านกโง่ อําเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ เส้นทางขาด (ช่วง กม. ที่ 2+000 - 3+600) 4. สายทาง ขก.026 สะพานข้ามห้วยน้ําชี อําเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น เส้นทางขาด (ช่วง กม. ที่ 1+200 - 5+700) 5. สายทาง สร.021 ถนนเชิงลาดสะพานมิตรภาพสระขุด อําเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ น้ําท่วมสูง 50 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 1+200 - 3+800) 6. สายทาง บร.018 สะพานชุมชนข้ามแม่น้ํามูล อําเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ น้ําท่วมสูง 50 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 1+400 - 1+700) 7. สายทาง ขก.4008 แยก ทล. 2062 - บ้านเหล่านาดี อําเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น น้ําท่วมสูง 60 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 42+800 - 44+200) 8. สายทาง ขก.1011 แยก ทล.2 - บ้านพระยืน อําเภอเมือง และพระยืน จังหวัดขอนแก่น เส้นทางขาด (ช่วง กม. ที่ 2+000 - 3+800) 9. สายทาง ขก.020 สะพานข้ามลําน้ําชี อําเภอโคกโพธิ์ไชย และแวงใหญ่ จังหวัดขอนแก่น เส้นทางขาด (ช่วง กม. ที่ 0+500 - 5+400) 10. สายทาง ขก.3029 แยก ทล.229 - บ้านโนนสะอาด อําเภอชนบท และแวงใหญ่ จังหวัดขอนแก่น น้ําท่วมสูง 30 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 12+000 - 15+320) 11. สายทาง ขก.3037 แยก ทล.229 - บ้านสําราญ อําเภอโคกโพธิ์ไชย จังหวัดขอนแก่น น้ําท่วมสูง 45 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 3+200 - 5+100) 12. สายทาง ขก.1039 แยก ทล.2 - บ้านหนองไห อําเภอบ้านแฮด และมัจฉาคีรี จังหวัดขอนแก่น น้ําท่วมสูง 30 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 10+200 - 14+250) 13. สายทาง ขก.3054 แยก ทล.229 - บ้านโพธิ์ไชย อําเภอมัจฉาคีรี และโคกโพธิ์ไชย จังหวัดขอนแก่น น้ําท่วมสูง 40 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 11+000 - 16+600) 14. สายทาง มค.005 ถนนเชิงลาดสะพานลดาวัลย์ข้ามลําน้ําชี อําเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม น้ําท่วมสูง 100 เซนติเมตร 15. สายทาง มค.009 ถนนเชิงลาดสะพานบ้านคุยเชือก อําเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม น้ําท่วมสูง 100 เซนติเมตร 16. สายทาง มค.3062 แยก ทล.208 - บ้านหนองผือ อําเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม น้ําท่วมสูง 100 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 7+500 - 8+450) 17. สายทาง อย.019 สะพานข้ามแม่น้ําน้อย อําเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา น้ําท่วมสูง 50 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 0+000 - 0+050) 18. สายทาง อย.026 สะพานวัดอินทาราม อําเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา น้ําท่วมสูง 56 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 0+000 - 0+100) 19. สายทาง อย.4055 แยก ทล.3267 - บ้านตาลเอน อําเภอมหาราช และบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา น้ําท่วมสูง 35 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 0+300 - 4+100) 20. สายทาง อท.2034 แยก ทล.32 - บ้านมหานาม อําเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง น้ําท่วมสูง 40 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 3+500 - 7+300) 21. สายทาง สห.5042 แยกทางหลวงชนบท สห.3008 - แยกทางหลวงชนบท สห.5043 อําเภอค่ายบางระจัน และท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี น้ําท่วมสูง 30 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 4+700 - 5+150) 22. สายทาง ลบ.1030 แยก ทล.1 - บ้านถลุงเหล็ก อําเภอโคกสําโรง จังหวัดลพบุรี เส้นทางขาด (ช่วง กม. ที่ 11+600 - 11+650) ทั้งนี้ ทช. ได้ดําเนินการติดตั้งป้ายเตือนในเส้นทางที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยภัย จัดเจ้าหน้าที่เข้าอํานวยความสะดวกให้ประชาชน และดําเนินการฟื้นฟูซ่อมแซมเส้นทางที่ได้รับผลกระทบอย่างเร่งด่วน พร้อมทั้งจัดชุดลาดตระเวนติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ตามนโยบายของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ทั้งนี้ ประชาชนสามารถแจ้งเหตุอุทกภัยหรือสอบถามเส้นทางได้ที่สายด่วนกรมทางหลวงชนบท โทร. 1146
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมทางหลวงชนบท รายงานสถานการณ์สายทางที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในวันที่ 11 ตุลาคม 2564 เวลา 17.00 น. ยังไม่สามารถสัญจรผ่านได้ 22 สายทาง พร้อมเร่งฟื้นฟูเส้นทางอย่างเร่งด่วน วันจันทร์ที่ 11 ตุลาคม 2564 กรมทางหลวงชนบท รายงานสถานการณ์สายทางที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในวันที่ 11 ตุลาคม 2564 เวลา 17.00 น. ยังไม่สามารถสัญจรผ่านได้ 22 สายทาง พร้อมเร่งฟื้นฟูเส้นทางอย่างเร่งด่วน กรมทางหลวงชนบท (ทช.) กระทรวงคมนาคม โดยสํานักบํารุงทาง รายงานถึงสถานการณ์อุทกภัยในวันที่ 11 ตุลาคม 2564 เวลา 17.00 น. ว่า มีถนนทางหลวงชนบทที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ 12 จังหวัด รวม 30 สายทาง สามารถสัญจรผ่านได้ 8 สายทาง และไม่สามารถสัญจรผ่านได้ 22 สายทาง กรมทางหลวงชนบท (ทช.) กระทรวงคมนาคม โดยสํานักบํารุงทาง รายงานถึงสถานการณ์อุทกภัยในวันที่ 11 ตุลาคม 2564 เวลา 17.00 น. ว่า มีถนนทางหลวงชนบทที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ 12 จังหวัด ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง ลพบุรี สิงห์บุรี นครราชสีมา ชัยภูมิ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ขอนแก่น มหาสารคาม นครสวรรค์ และสุพรรณบุรี รวม 30 สายทาง สามารถสัญจรผ่านได้ 8 สายทาง และไม่สามารถสัญจรผ่านได้ 22 สายทาง แบ่งเป็น น้ําท่วมสูง 16 สายทาง (16 แห่ง) ทางขาด โครงสร้างทางชํารุด กัดเซาะ 6 สายทาง (6 แห่ง) รายละเอียดดังนี้ 1. สายทาง นว.3102 แยก ทล.117 - บ้านเนิน อําเภอเก้าเลี้ยว และชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ น้ําท่วมสูง 40 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 8+300 - 11+100) 2. สายทาง ชย.3010 แยก ทล.205 - อ่างเก็บน้ําลําคันฉู อําเภอบําเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ เส้นทางขาด (ช่วง กม. ที่ 2+600 - 2+800) 3. สายทาง ชย.024 สะพานข้ามแม่น้ําชี ท่านกโง่ อําเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ เส้นทางขาด (ช่วง กม. ที่ 2+000 - 3+600) 4. สายทาง ขก.026 สะพานข้ามห้วยน้ําชี อําเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น เส้นทางขาด (ช่วง กม. ที่ 1+200 - 5+700) 5. สายทาง สร.021 ถนนเชิงลาดสะพานมิตรภาพสระขุด อําเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ น้ําท่วมสูง 50 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 1+200 - 3+800) 6. สายทาง บร.018 สะพานชุมชนข้ามแม่น้ํามูล อําเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ น้ําท่วมสูง 50 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 1+400 - 1+700) 7. สายทาง ขก.4008 แยก ทล. 2062 - บ้านเหล่านาดี อําเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น น้ําท่วมสูง 60 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 42+800 - 44+200) 8. สายทาง ขก.1011 แยก ทล.2 - บ้านพระยืน อําเภอเมือง และพระยืน จังหวัดขอนแก่น เส้นทางขาด (ช่วง กม. ที่ 2+000 - 3+800) 9. สายทาง ขก.020 สะพานข้ามลําน้ําชี อําเภอโคกโพธิ์ไชย และแวงใหญ่ จังหวัดขอนแก่น เส้นทางขาด (ช่วง กม. ที่ 0+500 - 5+400) 10. สายทาง ขก.3029 แยก ทล.229 - บ้านโนนสะอาด อําเภอชนบท และแวงใหญ่ จังหวัดขอนแก่น น้ําท่วมสูง 30 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 12+000 - 15+320) 11. สายทาง ขก.3037 แยก ทล.229 - บ้านสําราญ อําเภอโคกโพธิ์ไชย จังหวัดขอนแก่น น้ําท่วมสูง 45 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 3+200 - 5+100) 12. สายทาง ขก.1039 แยก ทล.2 - บ้านหนองไห อําเภอบ้านแฮด และมัจฉาคีรี จังหวัดขอนแก่น น้ําท่วมสูง 30 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 10+200 - 14+250) 13. สายทาง ขก.3054 แยก ทล.229 - บ้านโพธิ์ไชย อําเภอมัจฉาคีรี และโคกโพธิ์ไชย จังหวัดขอนแก่น น้ําท่วมสูง 40 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 11+000 - 16+600) 14. สายทาง มค.005 ถนนเชิงลาดสะพานลดาวัลย์ข้ามลําน้ําชี อําเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม น้ําท่วมสูง 100 เซนติเมตร 15. สายทาง มค.009 ถนนเชิงลาดสะพานบ้านคุยเชือก อําเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม น้ําท่วมสูง 100 เซนติเมตร 16. สายทาง มค.3062 แยก ทล.208 - บ้านหนองผือ อําเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม น้ําท่วมสูง 100 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 7+500 - 8+450) 17. สายทาง อย.019 สะพานข้ามแม่น้ําน้อย อําเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา น้ําท่วมสูง 50 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 0+000 - 0+050) 18. สายทาง อย.026 สะพานวัดอินทาราม อําเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา น้ําท่วมสูง 56 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 0+000 - 0+100) 19. สายทาง อย.4055 แยก ทล.3267 - บ้านตาลเอน อําเภอมหาราช และบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา น้ําท่วมสูง 35 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 0+300 - 4+100) 20. สายทาง อท.2034 แยก ทล.32 - บ้านมหานาม อําเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง น้ําท่วมสูง 40 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 3+500 - 7+300) 21. สายทาง สห.5042 แยกทางหลวงชนบท สห.3008 - แยกทางหลวงชนบท สห.5043 อําเภอค่ายบางระจัน และท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี น้ําท่วมสูง 30 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 4+700 - 5+150) 22. สายทาง ลบ.1030 แยก ทล.1 - บ้านถลุงเหล็ก อําเภอโคกสําโรง จังหวัดลพบุรี เส้นทางขาด (ช่วง กม. ที่ 11+600 - 11+650) ทั้งนี้ ทช. ได้ดําเนินการติดตั้งป้ายเตือนในเส้นทางที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยภัย จัดเจ้าหน้าที่เข้าอํานวยความสะดวกให้ประชาชน และดําเนินการฟื้นฟูซ่อมแซมเส้นทางที่ได้รับผลกระทบอย่างเร่งด่วน พร้อมทั้งจัดชุดลาดตระเวนติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ตามนโยบายของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ทั้งนี้ ประชาชนสามารถแจ้งเหตุอุทกภัยหรือสอบถามเส้นทางได้ที่สายด่วนกรมทางหลวงชนบท โทร. 1146
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/46864
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-โครงการกระจายวัคซีนทางเลือกให้กับประชาชนในพื้นที่ปากเกร็ด จ.นนทบุรี (สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม พื้นที่ ศรีสมาน) (7 ก.ย.64)
วันพุธที่ 8 กันยายน 2564 โครงการกระจายวัคซีนทางเลือกให้กับประชาชนในพื้นที่ปากเกร็ด จ.นนทบุรี (สํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม พื้นที่ ศรีสมาน) (7 ก.ย.64) สู่เป้าหมาย 33,000 คน ภายใน กันยายน 2564 อัปเดต “ศูนย์ฉีดวัคซีนทางเลือก ซิโนฟาร์ม”อํานวยความสะดวกให้ประชาชน พื้นที่ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ฉีดวันที่ 7 ก.ย.64 จํานวน 900 คน ฉีดไปแล้ว 18,800 คน ต้องฉีดอีก 14,200 คน
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-โครงการกระจายวัคซีนทางเลือกให้กับประชาชนในพื้นที่ปากเกร็ด จ.นนทบุรี (สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม พื้นที่ ศรีสมาน) (7 ก.ย.64) วันพุธที่ 8 กันยายน 2564 โครงการกระจายวัคซีนทางเลือกให้กับประชาชนในพื้นที่ปากเกร็ด จ.นนทบุรี (สํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม พื้นที่ ศรีสมาน) (7 ก.ย.64) สู่เป้าหมาย 33,000 คน ภายใน กันยายน 2564 อัปเดต “ศูนย์ฉีดวัคซีนทางเลือก ซิโนฟาร์ม”อํานวยความสะดวกให้ประชาชน พื้นที่ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ฉีดวันที่ 7 ก.ย.64 จํานวน 900 คน ฉีดไปแล้ว 18,800 คน ต้องฉีดอีก 14,200 คน
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/45616
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐบาลชี้ช่องโอกาสส่งออกสินค้าหมวดขนม จีน/ญี่ปุนมาแรง ก.พาณิชย์พร้อมสนับสนุนข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภค
วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม 2565 รัฐบาลชี้ช่องโอกาสส่งออกสินค้าหมวดขนม จีน/ญี่ปุนมาแรง ก.พาณิชย์พร้อมสนับสนุนข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภค รัฐบาลชี้ช่องโอกาสส่งออกสินค้าหมวดขนม จีน/ญี่ปุนมาแรง ก.พาณิชย์พร้อมสนับสนุนข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภค วันที่ 21 มีนาคม 2565 นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ภายใต้การขับเคลื่อนนโยบายการตลาดนําการผลิตของรัฐบาล นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ที่ได้สั่งการให้กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) ศึกษาพฤติกรรมการบริโภคของผู้บริโภคกลุ่มต่าง ๆ ในประเทศที่เป็นตลาดส่งออก เพื่อนํามาใช้ในการวางแผนการผลิตและส่งออกให้กับผู้ประกอบการของไทย ซึ่งกลุ่มสินค้าขนม เป็นหนึ่งในสินค้าหมวดอาหารที่มีโอกาสเติบโตอย่างมากในหลายประเทศ โดยเฉพาะ ในจีน และญี่ปุ่น กอปรกับภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ที่คนหาสิ่งเพลิดเพลินทําในบ้านแทนการออกไปใช้เวลาในที่สาธารณะ ถือเป็นปัจจัยเสริมการส่งออกในภาพรวมอีกด้วย นางสาวรัชดา กล่าวว่า การส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยผลิตสินค้าให้ตรงกับพฤติกรรมการบริโภค เอาผู้ซื้อเป็นตัวตั้ง เป็นนโยบายหลักของกระทรวงพาณิชย์ และที่ผ่านมา ตัวเลขการส่งออกสินค้าอาหารที่โตขึ้นอย่างมาก สะท้อนให้เห็นถึงความสําเร็จในการขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าว ข้อมูลที่น่าสนใจจากการศึกษา อาทิ กลุ่มนักศึกษาจีน กลุ่มเพศหญิงจะนิยม ขนมแป้งเส้นรสเผ็ด ขนมหรืออาหารกระป๋อง และคุกกี้หรือเค้ก กลุ่มเพศชายจะนิยมบะหมี่กึ่งสําเร็จรูป ถั่ว และผลไม้อบแห้ง เครื่องดื่ม กลุ่มนักศึกษาที่เกิดหลังปี 2000 ไม่ว่าจะเป็นเพศหญิงหรือชายนิยมดื่มน้ําผลไม้และชานม ขณะที่ชาวญี่ปุ่นมีความต้องการสินค้าใหม่ ๆ รองรับสังคมผู้สูงอายุ เช่น ขนมที่มีการพัฒนาเป็นFunctional foodที่มีคุณสมบัติการให้สารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น เยลลี่เหลวแบบสําหรับดื่มที่ให้พลังงานและเส้นใย หรือขนมที่มีนวัตกรรม เช่น ลูกอมดับกลิ่นปากที่ลดความแรงของมินท์ เพื่อให้เหมาะกับเวลาใส่หน้ากากอนามัย และขนมเคี้ยวหนึบ ที่มีการใช้นวัตกรรมในการผลิต เพื่อสร้างความแปลกใหม่ รวมถึงให้ความสําคัญกับการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ผู้ผลิตเปลี่ยนจากการใช้พลาสติกมาเป็นกระดาษมากขึ้น และลดปริมาณบรรจุภัณฑ์มากเกินจําเป็นลงมา เช่น ใช้พลาสติกที่บางลง หรือยกเลิกการใช้ถาดพลาสติก เป็นต้น “สินค้าขนมของไทยมีโอกาสเติบโตในหลายประเทศ ซึ่งในการผลิตต้องให้ความสําคัญกับคุณภาพและมาตรฐานความปลอดภัย โดยเป็นปัจจัยที่ผู้ผลิตผู้ส่งออกไทยจะต้องให้ความสําคัญเป็นอันดับแรก นอกจากนั้น จะต้องพิจารณาใช้บรรจุภัณฑ์และขนาดบรรจุที่เหมาะสมกับแนวโน้มของตลาด รวมทั้งควรติดตามศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อมในช่วงนั้น ๆ สําหรับผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP)กระทรวงพาณิชย์www.ditp.go.thหรือสายตรงการค้าระหว่างประเทศ โทร 1169” นางสาวรัชดา กล่าว ------------
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐบาลชี้ช่องโอกาสส่งออกสินค้าหมวดขนม จีน/ญี่ปุนมาแรง ก.พาณิชย์พร้อมสนับสนุนข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภค วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม 2565 รัฐบาลชี้ช่องโอกาสส่งออกสินค้าหมวดขนม จีน/ญี่ปุนมาแรง ก.พาณิชย์พร้อมสนับสนุนข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภค รัฐบาลชี้ช่องโอกาสส่งออกสินค้าหมวดขนม จีน/ญี่ปุนมาแรง ก.พาณิชย์พร้อมสนับสนุนข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภค วันที่ 21 มีนาคม 2565 นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ภายใต้การขับเคลื่อนนโยบายการตลาดนําการผลิตของรัฐบาล นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ที่ได้สั่งการให้กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) ศึกษาพฤติกรรมการบริโภคของผู้บริโภคกลุ่มต่าง ๆ ในประเทศที่เป็นตลาดส่งออก เพื่อนํามาใช้ในการวางแผนการผลิตและส่งออกให้กับผู้ประกอบการของไทย ซึ่งกลุ่มสินค้าขนม เป็นหนึ่งในสินค้าหมวดอาหารที่มีโอกาสเติบโตอย่างมากในหลายประเทศ โดยเฉพาะ ในจีน และญี่ปุ่น กอปรกับภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ที่คนหาสิ่งเพลิดเพลินทําในบ้านแทนการออกไปใช้เวลาในที่สาธารณะ ถือเป็นปัจจัยเสริมการส่งออกในภาพรวมอีกด้วย นางสาวรัชดา กล่าวว่า การส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยผลิตสินค้าให้ตรงกับพฤติกรรมการบริโภค เอาผู้ซื้อเป็นตัวตั้ง เป็นนโยบายหลักของกระทรวงพาณิชย์ และที่ผ่านมา ตัวเลขการส่งออกสินค้าอาหารที่โตขึ้นอย่างมาก สะท้อนให้เห็นถึงความสําเร็จในการขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าว ข้อมูลที่น่าสนใจจากการศึกษา อาทิ กลุ่มนักศึกษาจีน กลุ่มเพศหญิงจะนิยม ขนมแป้งเส้นรสเผ็ด ขนมหรืออาหารกระป๋อง และคุกกี้หรือเค้ก กลุ่มเพศชายจะนิยมบะหมี่กึ่งสําเร็จรูป ถั่ว และผลไม้อบแห้ง เครื่องดื่ม กลุ่มนักศึกษาที่เกิดหลังปี 2000 ไม่ว่าจะเป็นเพศหญิงหรือชายนิยมดื่มน้ําผลไม้และชานม ขณะที่ชาวญี่ปุ่นมีความต้องการสินค้าใหม่ ๆ รองรับสังคมผู้สูงอายุ เช่น ขนมที่มีการพัฒนาเป็นFunctional foodที่มีคุณสมบัติการให้สารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น เยลลี่เหลวแบบสําหรับดื่มที่ให้พลังงานและเส้นใย หรือขนมที่มีนวัตกรรม เช่น ลูกอมดับกลิ่นปากที่ลดความแรงของมินท์ เพื่อให้เหมาะกับเวลาใส่หน้ากากอนามัย และขนมเคี้ยวหนึบ ที่มีการใช้นวัตกรรมในการผลิต เพื่อสร้างความแปลกใหม่ รวมถึงให้ความสําคัญกับการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ผู้ผลิตเปลี่ยนจากการใช้พลาสติกมาเป็นกระดาษมากขึ้น และลดปริมาณบรรจุภัณฑ์มากเกินจําเป็นลงมา เช่น ใช้พลาสติกที่บางลง หรือยกเลิกการใช้ถาดพลาสติก เป็นต้น “สินค้าขนมของไทยมีโอกาสเติบโตในหลายประเทศ ซึ่งในการผลิตต้องให้ความสําคัญกับคุณภาพและมาตรฐานความปลอดภัย โดยเป็นปัจจัยที่ผู้ผลิตผู้ส่งออกไทยจะต้องให้ความสําคัญเป็นอันดับแรก นอกจากนั้น จะต้องพิจารณาใช้บรรจุภัณฑ์และขนาดบรรจุที่เหมาะสมกับแนวโน้มของตลาด รวมทั้งควรติดตามศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อมในช่วงนั้น ๆ สําหรับผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP)กระทรวงพาณิชย์www.ditp.go.thหรือสายตรงการค้าระหว่างประเทศ โทร 1169” นางสาวรัชดา กล่าว ------------
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/52760
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-​ครม. เห็นชอบสินค้าและบริการควบคุมปี 2565 จำนวน 51 รายการ 11 หมวดสินค้า รวมทั้งปุ๋ย ก๊าซปิโตรเลียมเหลว น้ำมันเชื้อเพลิง ผลปาล์มน้ำมัน น้ำมัน และไขมันที่ได้จากพืชหรือสัตว์
วันอังคารที่ 28 มิถุนายน 2565 ​ครม. เห็นชอบสินค้าและบริการควบคุมปี 2565 จํานวน 51 รายการ 11 หมวดสินค้า รวมทั้งปุ๋ย ก๊าซปิโตรเลียมเหลว น้ํามันเชื้อเพลิง ผลปาล์มน้ํามัน น้ํามัน และไขมันที่ได้จากพืชหรือสัตว์ ​ครม. เห็นชอบสินค้าและบริการควบคุมปี 2565 จํานวน 51 รายการ 11 หมวดสินค้า รวมทั้งปุ๋ย ก๊าซปิโตรเลียมเหลว น้ํามันเชื้อเพลิง ผลปาล์มน้ํามัน น้ํามัน และไขมันที่ได้จากพืชหรือสัตว์ ยังคงให้เป็นสินค้าควบคุม วันที่ 28 มิถุนายน 2565 นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี แถลงมติคณะรัฐมนตรี เห็นชอบการกําหนดสินค้าและบริการควบคุมปี 65 จํานวน 51รายการ ใน 11 หมวด โดยเป็นสินค้าและบริการควบคุมเช่นเดียวกับ ปี 64 จํานวน 51 รายการ จําแนกเป็น 46 สินค้า 5 บริการ 11 หมวด ได้แก่ (1) หมวดกระดาษและผลิตภัณฑ์ (2) หมวดบริภัณฑ์ขนส่ง (3) หมวดปัจจัยทางการเกษตร (4) หมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (5) หมวดยารักษาโรคและเวชภัณฑ์ (6) หมวดวัสดุก่อสร้าง (7) หมวดสินค้าเกษตรที่สําคัญ (8) หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค (9) หมวดอาหาร (10) หมวดอื่น ๆ และ (11) หมวดบริการ ซึ่งเป็นตามมติที่ประชุมคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) ครั้งที่ 3/2565 เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2565 สําหรับ รายการสินค้าและบริการควบคุม ปี 65 (1) หมวดกระดาษและผลิตภัณฑ์ ได้แก่ กระดาษทําลูกฟูก กระดาษเหนียว กระดาษพิมพ์และเขียน (2) หมวดบริภัณฑ์ขนส่ง ยางรถจักรยานยนต์ ยางรถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถยนต์บรรทุก (3) หมวดปัจจัยทางการเกษตร กากดีดีจีเอส เครื่องสูบน้ํา ปุ๋ย ยาป้องกันหรือกําจัดศัตรูพืชหรือโรคพืช รถเกี่ยวข้าว รถไถนา หัวอาหารสัตว์ อาหารสัตว์ (4) หมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ก๊าซปิโตรเลียมเหลว น้ํามันเชื้อเพลิง (5) หมวดยารักษาโรคและเวชภัณฑ์ ยารักษาโรค เวชภัณฑ์ เกี่ยวกับการรักษาโรค (6) หมวดวัสดุก่อสร้าง ท่อพีวีซี ปูนซีเมนต์ สายไฟฟ้า เหล็กโครงสร้าง รูปพรรณ เหล็กแผ่น เหล็กเส้น (7) หมวดสินค้าเกษตรที่สําคัญ ข้าวเปลือก ข้าวสาร ข้าวสําลี ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโพด ต้นพันธุ์ ท่อนพันธุ์ มันสําปะหลังและผลิตภัณฑ์ ผลปาล์มน้ํามัน มะพร้าวผลแก่ และผลิตภัณฑ์ ยางพารา ได้แก่ น้ํายางสด ยางก้อน เศษยาง น้ํายางข้น ยางแผ่น ยางแท่ง ยางเครพ (8) หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค กระดาษชําระ กระดาษเช็ดหน้า แชมพู ผงซักฟอก น้ํายาซักฟอก ผลิตภัณฑ์ล้างจาน ผ้าอนามัย ผ้าอ้อมสําเร็จรูปเด็กและผู้ใหญ่ สบู่ก้อน สบู่เหลว (9) หมวดอาหาร กระเทียม ไข่ไก่ ทุเรียน นมผง ผลิตภัณฑ์นมพร้อมบริโภคชนิดเหลว ไม่รวมถึงนมเปรี้ยว น้ํามัน และไขมัน ที่ได้จากพืชหรือสัตว์ทั้งที่บริโภคได้หรือไม่ได้ แป้งสาลี มังคุด ลําไย สุกร เนื้อสุกร หอมหัวใหญ่ อาหารกึ่งสําเร็จรูปบรรจุภาชนะผนึก อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (10) หมวดอื่น ๆ เครื่องแบบนักเรียน (11) หมวดบริการ การให้สิทธิในการเผยแพร่งานลิขสิทธิ์เพลงเพื่อการค้า บริการซื้อขาย และหรือบริการขนส่งสินค้าสําหรับธุรกิจออนไลน์ บริการทางการเกษตร บริการรักษาพยาบาล บริการทางการแพทย์ และบริการอื่นของสถานพยาบาลเกี่ยวกับการรักษาโรค และบริการรับชําระเงิน ณ จุดบริการ โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรียังเปิดเผยว่าคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2564 เห็นชอบกําหนดสินค้าและบริการควบคุมปี 2564 ซึ่งจะสิ้นสุดการบังคับใช้ในวันที่ 30 มิถุนายน 65 นี้ เพื่อเป็นการดูแลสินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจําวันของพี่น้องประชาชน เพื่อป้องกันการกําหนดราคาซื้อ ราคาจําหน่าย หรือกําหนดเงื่อนไขและวิธีปฏิบัติทางการค้าอันไม่เป็นธรรม ไม่เกี่ยวกับกรณีราคาสินค้าหรือบริการแพงขึ้นตามกลไกตลาดปกติ
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-​ครม. เห็นชอบสินค้าและบริการควบคุมปี 2565 จำนวน 51 รายการ 11 หมวดสินค้า รวมทั้งปุ๋ย ก๊าซปิโตรเลียมเหลว น้ำมันเชื้อเพลิง ผลปาล์มน้ำมัน น้ำมัน และไขมันที่ได้จากพืชหรือสัตว์ วันอังคารที่ 28 มิถุนายน 2565 ​ครม. เห็นชอบสินค้าและบริการควบคุมปี 2565 จํานวน 51 รายการ 11 หมวดสินค้า รวมทั้งปุ๋ย ก๊าซปิโตรเลียมเหลว น้ํามันเชื้อเพลิง ผลปาล์มน้ํามัน น้ํามัน และไขมันที่ได้จากพืชหรือสัตว์ ​ครม. เห็นชอบสินค้าและบริการควบคุมปี 2565 จํานวน 51 รายการ 11 หมวดสินค้า รวมทั้งปุ๋ย ก๊าซปิโตรเลียมเหลว น้ํามันเชื้อเพลิง ผลปาล์มน้ํามัน น้ํามัน และไขมันที่ได้จากพืชหรือสัตว์ ยังคงให้เป็นสินค้าควบคุม วันที่ 28 มิถุนายน 2565 นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี แถลงมติคณะรัฐมนตรี เห็นชอบการกําหนดสินค้าและบริการควบคุมปี 65 จํานวน 51รายการ ใน 11 หมวด โดยเป็นสินค้าและบริการควบคุมเช่นเดียวกับ ปี 64 จํานวน 51 รายการ จําแนกเป็น 46 สินค้า 5 บริการ 11 หมวด ได้แก่ (1) หมวดกระดาษและผลิตภัณฑ์ (2) หมวดบริภัณฑ์ขนส่ง (3) หมวดปัจจัยทางการเกษตร (4) หมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (5) หมวดยารักษาโรคและเวชภัณฑ์ (6) หมวดวัสดุก่อสร้าง (7) หมวดสินค้าเกษตรที่สําคัญ (8) หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค (9) หมวดอาหาร (10) หมวดอื่น ๆ และ (11) หมวดบริการ ซึ่งเป็นตามมติที่ประชุมคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) ครั้งที่ 3/2565 เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2565 สําหรับ รายการสินค้าและบริการควบคุม ปี 65 (1) หมวดกระดาษและผลิตภัณฑ์ ได้แก่ กระดาษทําลูกฟูก กระดาษเหนียว กระดาษพิมพ์และเขียน (2) หมวดบริภัณฑ์ขนส่ง ยางรถจักรยานยนต์ ยางรถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถยนต์บรรทุก (3) หมวดปัจจัยทางการเกษตร กากดีดีจีเอส เครื่องสูบน้ํา ปุ๋ย ยาป้องกันหรือกําจัดศัตรูพืชหรือโรคพืช รถเกี่ยวข้าว รถไถนา หัวอาหารสัตว์ อาหารสัตว์ (4) หมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ก๊าซปิโตรเลียมเหลว น้ํามันเชื้อเพลิง (5) หมวดยารักษาโรคและเวชภัณฑ์ ยารักษาโรค เวชภัณฑ์ เกี่ยวกับการรักษาโรค (6) หมวดวัสดุก่อสร้าง ท่อพีวีซี ปูนซีเมนต์ สายไฟฟ้า เหล็กโครงสร้าง รูปพรรณ เหล็กแผ่น เหล็กเส้น (7) หมวดสินค้าเกษตรที่สําคัญ ข้าวเปลือก ข้าวสาร ข้าวสําลี ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโพด ต้นพันธุ์ ท่อนพันธุ์ มันสําปะหลังและผลิตภัณฑ์ ผลปาล์มน้ํามัน มะพร้าวผลแก่ และผลิตภัณฑ์ ยางพารา ได้แก่ น้ํายางสด ยางก้อน เศษยาง น้ํายางข้น ยางแผ่น ยางแท่ง ยางเครพ (8) หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค กระดาษชําระ กระดาษเช็ดหน้า แชมพู ผงซักฟอก น้ํายาซักฟอก ผลิตภัณฑ์ล้างจาน ผ้าอนามัย ผ้าอ้อมสําเร็จรูปเด็กและผู้ใหญ่ สบู่ก้อน สบู่เหลว (9) หมวดอาหาร กระเทียม ไข่ไก่ ทุเรียน นมผง ผลิตภัณฑ์นมพร้อมบริโภคชนิดเหลว ไม่รวมถึงนมเปรี้ยว น้ํามัน และไขมัน ที่ได้จากพืชหรือสัตว์ทั้งที่บริโภคได้หรือไม่ได้ แป้งสาลี มังคุด ลําไย สุกร เนื้อสุกร หอมหัวใหญ่ อาหารกึ่งสําเร็จรูปบรรจุภาชนะผนึก อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (10) หมวดอื่น ๆ เครื่องแบบนักเรียน (11) หมวดบริการ การให้สิทธิในการเผยแพร่งานลิขสิทธิ์เพลงเพื่อการค้า บริการซื้อขาย และหรือบริการขนส่งสินค้าสําหรับธุรกิจออนไลน์ บริการทางการเกษตร บริการรักษาพยาบาล บริการทางการแพทย์ และบริการอื่นของสถานพยาบาลเกี่ยวกับการรักษาโรค และบริการรับชําระเงิน ณ จุดบริการ โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรียังเปิดเผยว่าคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2564 เห็นชอบกําหนดสินค้าและบริการควบคุมปี 2564 ซึ่งจะสิ้นสุดการบังคับใช้ในวันที่ 30 มิถุนายน 65 นี้ เพื่อเป็นการดูแลสินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจําวันของพี่น้องประชาชน เพื่อป้องกันการกําหนดราคาซื้อ ราคาจําหน่าย หรือกําหนดเงื่อนไขและวิธีปฏิบัติทางการค้าอันไม่เป็นธรรม ไม่เกี่ยวกับกรณีราคาสินค้าหรือบริการแพงขึ้นตามกลไกตลาดปกติ
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/56250
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รณรงค์ “สวมหมวก ใส่แมส ไม่เมา” ลดบาดเจ็บ – เสียชีวิต จากอุบัติเหตุช่วงเทศกาลปีใหม่ 2565
วันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม 2564 รณรงค์ “สวมหมวก ใส่แมส ไม่เมา” ลดบาดเจ็บ – เสียชีวิต จากอุบัติเหตุช่วงเทศกาลปีใหม่ 2565 ..... คณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ กําหนดแนวทางการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ช่วงเทศกาลปีใหม่ 2565 รณรงค์ “ขับไม่ดื่ม ดื่มไม่ขับ” ภายใต้คําขวัญ 3 ม “สวมหมวก ใส่แมส ไม่เมา” . เน้นผู้ขับขี่ยานยนต์ทุกประเภท โดยเฉพาะกลุ่มผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ เยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 20 ปี รวมถึงควบคุมการจําหน่ายให้กับเยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 20 ปี ห้ามมีโปรโมชั่นและการโฆษณาในสื่อทุกประเภท จําหน่ายตามเวลาและสถานที่ และเปิด - ปิด ตามเวลาที่กฎหมายกําหนด . นอกจากนี้ ยังเพิ่มมาตรการที่เข้มข้นขึ้น เพื่อลดปัญหาอุบัติเหตุทางถนน ได้แก่ • เพิ่มมาตรการทดสอบผู้ขับขี่ที่สงสัยดื่มแอลกอฮอล์ที่ด่านชุมชน คัดกรอง และรายงานข้อมูลผ่านระบบ E-Report ของศูนย์อํานวยการความปลอดภัยทางถนน • ส่งต่อผู้กระทําความผิดฐานเมาแล้วขับทุกรายที่ยินยอมเข้าสู่กระบวนการบําบัดรักษาที่สถานพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข • ร่วมมือกับสํานักงานตํารวจแห่งชาติตั้งจุดตรวจวัดแอลกอฮอล์และสนับสนุนด่านชุมชน สุ่มตรวจสถานบริการ และบริเวณที่จัดงานเทศกาล #ไทยคู่ฟ้า#ร่วมต้านโควิด19 -------------------
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รณรงค์ “สวมหมวก ใส่แมส ไม่เมา” ลดบาดเจ็บ – เสียชีวิต จากอุบัติเหตุช่วงเทศกาลปีใหม่ 2565 วันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม 2564 รณรงค์ “สวมหมวก ใส่แมส ไม่เมา” ลดบาดเจ็บ – เสียชีวิต จากอุบัติเหตุช่วงเทศกาลปีใหม่ 2565 ..... คณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ กําหนดแนวทางการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ช่วงเทศกาลปีใหม่ 2565 รณรงค์ “ขับไม่ดื่ม ดื่มไม่ขับ” ภายใต้คําขวัญ 3 ม “สวมหมวก ใส่แมส ไม่เมา” . เน้นผู้ขับขี่ยานยนต์ทุกประเภท โดยเฉพาะกลุ่มผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ เยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 20 ปี รวมถึงควบคุมการจําหน่ายให้กับเยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 20 ปี ห้ามมีโปรโมชั่นและการโฆษณาในสื่อทุกประเภท จําหน่ายตามเวลาและสถานที่ และเปิด - ปิด ตามเวลาที่กฎหมายกําหนด . นอกจากนี้ ยังเพิ่มมาตรการที่เข้มข้นขึ้น เพื่อลดปัญหาอุบัติเหตุทางถนน ได้แก่ • เพิ่มมาตรการทดสอบผู้ขับขี่ที่สงสัยดื่มแอลกอฮอล์ที่ด่านชุมชน คัดกรอง และรายงานข้อมูลผ่านระบบ E-Report ของศูนย์อํานวยการความปลอดภัยทางถนน • ส่งต่อผู้กระทําความผิดฐานเมาแล้วขับทุกรายที่ยินยอมเข้าสู่กระบวนการบําบัดรักษาที่สถานพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข • ร่วมมือกับสํานักงานตํารวจแห่งชาติตั้งจุดตรวจวัดแอลกอฮอล์และสนับสนุนด่านชุมชน สุ่มตรวจสถานบริการ และบริเวณที่จัดงานเทศกาล #ไทยคู่ฟ้า#ร่วมต้านโควิด19 -------------------
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/49504
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-โฆษกรัฐบาลชี้แจงขั้นตอนการเดินทางเข้าประเทศต้องลงทะเบียนผ่านระบบ Thailand Pass ยืนยันขั้นตอนการขอ SHA+ ไม่ยุ่งยาก
วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน 2564 โฆษกรัฐบาลชี้แจงขั้นตอนการเดินทางเข้าประเทศต้องลงทะเบียนผ่านระบบ Thailand Pass ยืนยันขั้นตอนการขอ SHA+ ไม่ยุ่งยาก โฆษกรัฐบาลชี้แจงขั้นตอนการเดินทางเข้าประเทศทุกรูปแบบต้องลงทะเบียนผ่านระบบ Thailand Pass ยืนยันขั้นตอนการขอ SHA+ ไม่ยุ่งยาก "นายกฯ" ย้ําต้อนรับนักท่องเที่ยวด้วยมาตรฐานความปลอดภัยด้านสาธารณสุข นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีการยื่นเรื่องลงทะเบียน SHA Plus สําหรับร้านอาหาร สถานประกอบการ ธุรกิจท่องเที่ยว เพื่อได้รับสัญลักษณ์ SHA+ ผ่านเว็บไซต์ www.thailandsha.com ยืนยันว่าระบบไม่ล่ม และไม่ได้ล่าช้า แต่มีผู้ประกอบจํานวนมาก ให้ความสนใจยื่นขอเข้ามาเป็นจํานวนมาก โดยเจ้าของธุรกิจสามารถยื่นเรื่องลงทะเบียน SHA Plus ได้ที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) นอกเหนือจากระบบออนไลน์อีกด้วย ขอยืนยันว่าระบบขั้นตอนการขอไม่ยุ่งยาก เอกสารที่ใช่ในการยื่นขอเพียง ใบอนุญาตประกอบธุรกิจ แบบแสดงรายการส่งเงินสมทบ ใบเสร็จรับเงินกองทุนประกันสังคมมาตรา 33 และรายชื่อลูกจ้าง/พนักงาน พร้อมเอกสารรับการฉีดวัคซีนของพนักงานในสถานประกอบการมากกว่าร้อยละ 70 เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยว และผู้เดินทางว่ากิจการ/สถานประกอบการ ได้รับมาตรฐานความปลอดภัยด้านสาธารณสุข ล่าสุด (4 พ.ย. ) ททท. เปิดเผยว่า มีสถานประกอบการในกรุงเทพมหานคร ที่ผ่านมาตราฐานแล้ว 4,272 สถานประกอบการ โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ยังชี้แจงขั้นตอนการเดินทางเข้าประเทศไทย สําหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ หรือชาวไทยที่มีความประสงค์เดินทางกลับเข้าประเทศไทย ภายหลังการประกาศเปิดประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 เป็นต้นไป ผ่านระบบ Thailand Pass และการติดตามโดยแอปพลิเคชัน “หมอชนะ” เพื่อลดขั้นตอนการกรอกเอกสาร อํานวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว และเป็นไปตามมาตรการป้องกันควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยชาวต่างชาติและชาวไทยจะต้องลงทะเบียนในระบบ Thailand Pass ออนไลน์ เพื่อเดินทางเข้าประเทศไทยที่เว็บไซต์ https://tp.consular.go.th/ โดยเตรียมเอกสาร อาทิ หนังสือเดินทาง เอกสารรับรองการฉีดวัคซีน และหลักฐานการจองโรงแรม จากนั้นจะได้รับ Thailand Pass QR Code เพื่อใช้แสดงต่อสายการบิน และเจ้าหน้าที่คัดกรอง ณ ด่านตรวจคนเข้าเมือง พร้อมด้วยผลการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR ในระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมงก่อนเดินทาง สําหรับผู้ที่เดินทางจาก 63 ประเทศ/พื้นที่ ต้นทางที่สามารถเดินทางเข้าไทยได้โดยยกเว้นการกักตัว ภายใต้โครงการ “Test & Go” เมื่อผ่านด่านควบคุมโรคแล้วจะต้องเข้าพักในโรงแรม SHA+/AQ อย่างต่ํา 1 คืน เพื่อรอผลตรวจการตรวจหาเชื้อโควิด-19 เมื่อผลเป็นลบสามารถออกเดินทางทั่วประเทศได้โดยไม่มีข้อจํากัด ทั้งนี้ ผู้ที่เข้าข่ายไม่ต้องกักตัวจะต้องพํานักอยู่ในประเทศที่ได้รับอนุญาตไม่ต่ํากว่า 21 วัน ยกเว้นเดินทางมาจากประเทศไทย และด็กอายุต่ํากว่า 12 ปี ที่ยังไม่ได้รับวัคซีน แต่เดินทางพร้อมผู้ปกครองที่ได้รับวัคซีนครบถ้วนตามเกณฑ์แล้ว สามารถเดินทางเข้าประเทศไทยได้ภายใต้เงื่อนไข ไม่ต้องกักตัวเช่นเดียวกับผู้ปกครอง สําหรับผู้ที่เดินทางเข้าพื้นที่นําร่องท่องเที่ยว (Sandbox) ในประเทศไทย 17 จังหวัด จะต้องพํานักในพื้นที่ Sandbox ครบ 7 วันและมีผลตรวจหาเชื้อโควิด-19 ครั้งที่ 2 เพื่อรับ Release Form ในการเดินทางไปยังพื้นที่อื่น ๆ ในประเทศไทยต่อไป สําหรับการเดินทางเข้าประเทศไทยนอกเหนือ 63 ประเทศ/พื้นที่ ที่กําหนด เข้าพักในสถานที่กักกันทางเลือก (Alternative Quarantine) จะต้องเข้ารับการกักตัวในโรงแรม SHA+ เป็นเวลา 10 วัน และต้องมีประกันภัยที่มีวงเงินคุ้มครองไม่น้อยกว่า 50,000 ดอลลาร์สหรัฐ ยกเว้นผู้มีสัญชาติไทย “พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมขอให้ประชาชนทุกคนร่วมใจกันปฏิบัติตามมาตรการของ ศบค. เพื่อต้อนรับการเปิดบ้าน เปิดเมือง เปิดประเทศ โดยเลือกไปสถานที่ที่มีสัญลักษณ์ CFS, SHA+ พร้อมการแสดงหลักฐานการฉีดวัคซีนหรือผลตรวจ ATK ก่อนเข้าสถานที่ ควบคู่ไปกับมาตรการป้องกันตัวเองแบบ Universal Prevention ด้วย เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดและสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางมาท่องเที่ยวที่ประเทศไทยอีกด้วย” นายธนกรฯ กล่าว
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-โฆษกรัฐบาลชี้แจงขั้นตอนการเดินทางเข้าประเทศต้องลงทะเบียนผ่านระบบ Thailand Pass ยืนยันขั้นตอนการขอ SHA+ ไม่ยุ่งยาก วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน 2564 โฆษกรัฐบาลชี้แจงขั้นตอนการเดินทางเข้าประเทศต้องลงทะเบียนผ่านระบบ Thailand Pass ยืนยันขั้นตอนการขอ SHA+ ไม่ยุ่งยาก โฆษกรัฐบาลชี้แจงขั้นตอนการเดินทางเข้าประเทศทุกรูปแบบต้องลงทะเบียนผ่านระบบ Thailand Pass ยืนยันขั้นตอนการขอ SHA+ ไม่ยุ่งยาก "นายกฯ" ย้ําต้อนรับนักท่องเที่ยวด้วยมาตรฐานความปลอดภัยด้านสาธารณสุข นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีการยื่นเรื่องลงทะเบียน SHA Plus สําหรับร้านอาหาร สถานประกอบการ ธุรกิจท่องเที่ยว เพื่อได้รับสัญลักษณ์ SHA+ ผ่านเว็บไซต์ www.thailandsha.com ยืนยันว่าระบบไม่ล่ม และไม่ได้ล่าช้า แต่มีผู้ประกอบจํานวนมาก ให้ความสนใจยื่นขอเข้ามาเป็นจํานวนมาก โดยเจ้าของธุรกิจสามารถยื่นเรื่องลงทะเบียน SHA Plus ได้ที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) นอกเหนือจากระบบออนไลน์อีกด้วย ขอยืนยันว่าระบบขั้นตอนการขอไม่ยุ่งยาก เอกสารที่ใช่ในการยื่นขอเพียง ใบอนุญาตประกอบธุรกิจ แบบแสดงรายการส่งเงินสมทบ ใบเสร็จรับเงินกองทุนประกันสังคมมาตรา 33 และรายชื่อลูกจ้าง/พนักงาน พร้อมเอกสารรับการฉีดวัคซีนของพนักงานในสถานประกอบการมากกว่าร้อยละ 70 เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยว และผู้เดินทางว่ากิจการ/สถานประกอบการ ได้รับมาตรฐานความปลอดภัยด้านสาธารณสุข ล่าสุด (4 พ.ย. ) ททท. เปิดเผยว่า มีสถานประกอบการในกรุงเทพมหานคร ที่ผ่านมาตราฐานแล้ว 4,272 สถานประกอบการ โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ยังชี้แจงขั้นตอนการเดินทางเข้าประเทศไทย สําหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ หรือชาวไทยที่มีความประสงค์เดินทางกลับเข้าประเทศไทย ภายหลังการประกาศเปิดประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 เป็นต้นไป ผ่านระบบ Thailand Pass และการติดตามโดยแอปพลิเคชัน “หมอชนะ” เพื่อลดขั้นตอนการกรอกเอกสาร อํานวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว และเป็นไปตามมาตรการป้องกันควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยชาวต่างชาติและชาวไทยจะต้องลงทะเบียนในระบบ Thailand Pass ออนไลน์ เพื่อเดินทางเข้าประเทศไทยที่เว็บไซต์ https://tp.consular.go.th/ โดยเตรียมเอกสาร อาทิ หนังสือเดินทาง เอกสารรับรองการฉีดวัคซีน และหลักฐานการจองโรงแรม จากนั้นจะได้รับ Thailand Pass QR Code เพื่อใช้แสดงต่อสายการบิน และเจ้าหน้าที่คัดกรอง ณ ด่านตรวจคนเข้าเมือง พร้อมด้วยผลการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR ในระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมงก่อนเดินทาง สําหรับผู้ที่เดินทางจาก 63 ประเทศ/พื้นที่ ต้นทางที่สามารถเดินทางเข้าไทยได้โดยยกเว้นการกักตัว ภายใต้โครงการ “Test & Go” เมื่อผ่านด่านควบคุมโรคแล้วจะต้องเข้าพักในโรงแรม SHA+/AQ อย่างต่ํา 1 คืน เพื่อรอผลตรวจการตรวจหาเชื้อโควิด-19 เมื่อผลเป็นลบสามารถออกเดินทางทั่วประเทศได้โดยไม่มีข้อจํากัด ทั้งนี้ ผู้ที่เข้าข่ายไม่ต้องกักตัวจะต้องพํานักอยู่ในประเทศที่ได้รับอนุญาตไม่ต่ํากว่า 21 วัน ยกเว้นเดินทางมาจากประเทศไทย และด็กอายุต่ํากว่า 12 ปี ที่ยังไม่ได้รับวัคซีน แต่เดินทางพร้อมผู้ปกครองที่ได้รับวัคซีนครบถ้วนตามเกณฑ์แล้ว สามารถเดินทางเข้าประเทศไทยได้ภายใต้เงื่อนไข ไม่ต้องกักตัวเช่นเดียวกับผู้ปกครอง สําหรับผู้ที่เดินทางเข้าพื้นที่นําร่องท่องเที่ยว (Sandbox) ในประเทศไทย 17 จังหวัด จะต้องพํานักในพื้นที่ Sandbox ครบ 7 วันและมีผลตรวจหาเชื้อโควิด-19 ครั้งที่ 2 เพื่อรับ Release Form ในการเดินทางไปยังพื้นที่อื่น ๆ ในประเทศไทยต่อไป สําหรับการเดินทางเข้าประเทศไทยนอกเหนือ 63 ประเทศ/พื้นที่ ที่กําหนด เข้าพักในสถานที่กักกันทางเลือก (Alternative Quarantine) จะต้องเข้ารับการกักตัวในโรงแรม SHA+ เป็นเวลา 10 วัน และต้องมีประกันภัยที่มีวงเงินคุ้มครองไม่น้อยกว่า 50,000 ดอลลาร์สหรัฐ ยกเว้นผู้มีสัญชาติไทย “พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมขอให้ประชาชนทุกคนร่วมใจกันปฏิบัติตามมาตรการของ ศบค. เพื่อต้อนรับการเปิดบ้าน เปิดเมือง เปิดประเทศ โดยเลือกไปสถานที่ที่มีสัญลักษณ์ CFS, SHA+ พร้อมการแสดงหลักฐานการฉีดวัคซีนหรือผลตรวจ ATK ก่อนเข้าสถานที่ ควบคู่ไปกับมาตรการป้องกันตัวเองแบบ Universal Prevention ด้วย เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดและสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางมาท่องเที่ยวที่ประเทศไทยอีกด้วย” นายธนกรฯ กล่าว
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/47815
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัด สธ. ให้แนวคิดบุคลากร รพ. “จัดบริการมีประสิทธิภาพ บุคลากรปฏิบัติหน้าที่ด้วยความภาคภูมิใจ”
วันอังคารที่ 16 สิงหาคม 2565 ปลัด สธ. ให้แนวคิดบุคลากร รพ. “จัดบริการมีประสิทธิภาพ บุคลากรปฏิบัติหน้าที่ด้วยความภาคภูมิใจ” ปลัดกระทรวงสาธารณสุข บรรยายพิเศษ “ทิศทางโรงพยาบาลไทย เรื่องเล่าจากพี่สู่น้อง” มอบแนวคิดให้บุคลากรการแพทย์ รพ.สมุทรปราการ ยึดหลัก EMS จัดระบบบริการก้าวหน้า ให้ประชาชนได้รับบริการที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพและประทับใจ บุคลากรภาคภูมิใจในการปฏิบัติหน้าที่ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข บรรยายพิเศษ “ทิศทางโรงพยาบาลไทย เรื่องเล่าจากพี่สู่น้อง” มอบแนวคิดให้บุคลากรการแพทย์ รพ.สมุทรปราการ ยึดหลัก EMS จัดระบบบริการก้าวหน้า ให้ประชาชนได้รับบริการที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพและประทับใจ บุคลากรภาคภูมิใจในการปฏิบัติหน้าที่ พร้อมเปิดศูนย์รับบริจาคอวัยวะ รพ.บางพลี เพิ่มโอกาสเข้าถึงการรักษาด้วยการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะให้ประชาชน วันนี้ (16 สิงหาคม 2565) ที่ โรงพยาบาลสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข บรรยายพิเศษ เรื่อง “ทิศทางโรงพยาบาลไทย เรื่องเล่าจากพี่สู่น้อง” และเปิดกิจกรรม Mission to Smart and Modernized Hospital โดยมี นายแพทย์ณรงค์ อภิกุลวณิชย์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 6 นายแพทย์นเรศฤทธิ์ ขัดธะสีมา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ นายแพทย์นําพล แดนพิพัฒน์ ผู้อํานวยการโรงพยาบาลสมุทรปราการ ให้การต้อนรับ นายแพทย์เกียรติภูมิกล่าวว่า ในฐานะปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้มีนโยบายให้สถานบริการจัดระบบบริการสุขภาพก้าวหน้า (Innovative Healthcare Management ) ซึ่งมีองค์ประกอบสําคัญ 3 ส่วน คือ EMS : Environment พัฒนาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมให้มีความร่มรื่น สะอาด, Modernization มีความทันสมัยในการบริการ และ Smart Service ให้ความสําคัญกับระบบและพฤติกรรมบริการ เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่มีประสิทธิภาพทัดเทียมสถานพยาบาลเอกชน มีความสะดวก รวดเร็ว ทันสมัย ลดความแออัดและเกิดความประทับใจ ส่วนบุคลากรผู้ให้บริการได้เกิดความภาคภูมิใจในการปฏิบัติหน้าที่ และยังจะเป็นจุดเริ่มต้นของการต่อยอดพัฒนางานในด้านอื่นๆ อาทิ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และงานวิชาการ ต่อไป สําหรับการจัดกิจกรรม Mission to Smart and Modernized Hospital ของโรงพยาบาลสมุทรปราการครั้งนี้ เป็นการดําเนินงานที่สอดรับกับนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ทั้งการพัฒนาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาล รวมถึงการนําเทคโนโลยีมาใช้ในการบริการ เช่น หุ่นยนต์คัดกรองอาการเบื้องต้น ระบบคิวอัตโนมัติ ตู้ชําระเงินอัตโนมัติ เป็นต้น ช่วยอํานวยความสะดวกให้กับผู้มารับบริการ และช่วยลดความแออัดในจุดบริการต่างๆ ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ปลัดกระทรวงสาธารณสุขยังได้เปิดศูนย์รับบริจาคอวัยวะและดวงตา โรงพยาบาลบางพลี ซึ่งเป็นศูนย์ประสานงานเกี่ยวกับการรับบริจาคอวัยวะและดวงตา บูรณาการการทํางานร่วมกับศูนย์การรักษาแบบประคับประคอง โดยในปี 2566 มีแผนที่จะลงพื้นที่เชิงรุกเพื่อเก็บดวงตาผู้ป่วยระยะประคับประคองที่เสียชีวิตถึงบ้าน เป็นการช่วยให้ผู้ที่มีความประสงค์จะบริจาคอวัยวะได้เข้าถึงการบริจาคมากขึ้น และเพิ่มโอกาสให้ผู้ป่วยที่รอคิวได้รับรักษาด้วยการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะมากขึ้นด้วย ************************************ 16 สิงหาคม 2565
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัด สธ. ให้แนวคิดบุคลากร รพ. “จัดบริการมีประสิทธิภาพ บุคลากรปฏิบัติหน้าที่ด้วยความภาคภูมิใจ” วันอังคารที่ 16 สิงหาคม 2565 ปลัด สธ. ให้แนวคิดบุคลากร รพ. “จัดบริการมีประสิทธิภาพ บุคลากรปฏิบัติหน้าที่ด้วยความภาคภูมิใจ” ปลัดกระทรวงสาธารณสุข บรรยายพิเศษ “ทิศทางโรงพยาบาลไทย เรื่องเล่าจากพี่สู่น้อง” มอบแนวคิดให้บุคลากรการแพทย์ รพ.สมุทรปราการ ยึดหลัก EMS จัดระบบบริการก้าวหน้า ให้ประชาชนได้รับบริการที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพและประทับใจ บุคลากรภาคภูมิใจในการปฏิบัติหน้าที่ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข บรรยายพิเศษ “ทิศทางโรงพยาบาลไทย เรื่องเล่าจากพี่สู่น้อง” มอบแนวคิดให้บุคลากรการแพทย์ รพ.สมุทรปราการ ยึดหลัก EMS จัดระบบบริการก้าวหน้า ให้ประชาชนได้รับบริการที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพและประทับใจ บุคลากรภาคภูมิใจในการปฏิบัติหน้าที่ พร้อมเปิดศูนย์รับบริจาคอวัยวะ รพ.บางพลี เพิ่มโอกาสเข้าถึงการรักษาด้วยการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะให้ประชาชน วันนี้ (16 สิงหาคม 2565) ที่ โรงพยาบาลสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข บรรยายพิเศษ เรื่อง “ทิศทางโรงพยาบาลไทย เรื่องเล่าจากพี่สู่น้อง” และเปิดกิจกรรม Mission to Smart and Modernized Hospital โดยมี นายแพทย์ณรงค์ อภิกุลวณิชย์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 6 นายแพทย์นเรศฤทธิ์ ขัดธะสีมา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ นายแพทย์นําพล แดนพิพัฒน์ ผู้อํานวยการโรงพยาบาลสมุทรปราการ ให้การต้อนรับ นายแพทย์เกียรติภูมิกล่าวว่า ในฐานะปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้มีนโยบายให้สถานบริการจัดระบบบริการสุขภาพก้าวหน้า (Innovative Healthcare Management ) ซึ่งมีองค์ประกอบสําคัญ 3 ส่วน คือ EMS : Environment พัฒนาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมให้มีความร่มรื่น สะอาด, Modernization มีความทันสมัยในการบริการ และ Smart Service ให้ความสําคัญกับระบบและพฤติกรรมบริการ เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่มีประสิทธิภาพทัดเทียมสถานพยาบาลเอกชน มีความสะดวก รวดเร็ว ทันสมัย ลดความแออัดและเกิดความประทับใจ ส่วนบุคลากรผู้ให้บริการได้เกิดความภาคภูมิใจในการปฏิบัติหน้าที่ และยังจะเป็นจุดเริ่มต้นของการต่อยอดพัฒนางานในด้านอื่นๆ อาทิ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และงานวิชาการ ต่อไป สําหรับการจัดกิจกรรม Mission to Smart and Modernized Hospital ของโรงพยาบาลสมุทรปราการครั้งนี้ เป็นการดําเนินงานที่สอดรับกับนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ทั้งการพัฒนาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาล รวมถึงการนําเทคโนโลยีมาใช้ในการบริการ เช่น หุ่นยนต์คัดกรองอาการเบื้องต้น ระบบคิวอัตโนมัติ ตู้ชําระเงินอัตโนมัติ เป็นต้น ช่วยอํานวยความสะดวกให้กับผู้มารับบริการ และช่วยลดความแออัดในจุดบริการต่างๆ ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ปลัดกระทรวงสาธารณสุขยังได้เปิดศูนย์รับบริจาคอวัยวะและดวงตา โรงพยาบาลบางพลี ซึ่งเป็นศูนย์ประสานงานเกี่ยวกับการรับบริจาคอวัยวะและดวงตา บูรณาการการทํางานร่วมกับศูนย์การรักษาแบบประคับประคอง โดยในปี 2566 มีแผนที่จะลงพื้นที่เชิงรุกเพื่อเก็บดวงตาผู้ป่วยระยะประคับประคองที่เสียชีวิตถึงบ้าน เป็นการช่วยให้ผู้ที่มีความประสงค์จะบริจาคอวัยวะได้เข้าถึงการบริจาคมากขึ้น และเพิ่มโอกาสให้ผู้ป่วยที่รอคิวได้รับรักษาด้วยการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะมากขึ้นด้วย ************************************ 16 สิงหาคม 2565
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/58098
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-โฆษกรัฐบาลเผย “นายกฯ” ยินดีภาคธุรกิจโรงแรม ภาคบริการการท่องเที่ยว ร้านอาหาร ได้รับผลดีช่วงหยุดยาวปีใหม่ไทย หลัง ศบค. ผ่อนคลายมาตรการให้จัดงานเทศกาลสงกรานต์ปี 65 ตามประเพณี
วันพฤหัสบดีที่ 14 เมษายน 2565 โฆษกรัฐบาลเผย “นายกฯ” ยินดีภาคธุรกิจโรงแรม ภาคบริการการท่องเที่ยว ร้านอาหาร ได้รับผลดีช่วงหยุดยาวปีใหม่ไทย หลัง ศบค. ผ่อนคลายมาตรการให้จัดงานเทศกาลสงกรานต์ปี 65 ตามประเพณี โฆษกรัฐบาลเผย “นายกฯ” ยินดีภาคธุรกิจโรงแรม ภาคบริการการท่องเที่ยว ร้านอาหาร ได้รับผลดีช่วงหยุดยาวปีใหม่ไทย หลัง ศบค. ผ่อนคลายมาตรการให้จัดงานเทศกาลสงกรานต์ปี 65 ตามประเพณี ดันยอดจองที่พัก-สถานที่ท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง วันที่ 14 เมษายน 2565 นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รับทราบการประเมินของศูนย์วิจัยกสิกรไทยที่คาดการณ์ว่า การใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวในช่วงวันหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ระหว่างวันที่ 9-17 เม.ย. 65 มีมูลค่า 2.23 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน การเดินทางท่องเที่ยวในประเทศของคนไทย จํานวน 4.6 ล้านคน-ครั้ง เพิ่มขึ้น 2.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนภายหลังจากที่ ศบค. ได้ผ่อนคลายมาตรการให้จัดงานเทศกาลสงกรานต์ในปี 2565 ตามประเพณีไทย ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีต่อภาคการท่องเที่ยวที่พบว่ามียอดการจองใช้บริการเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ทั้งภาคธุรกิจโรงแรม ภาคบริการสถานที่ท่องเที่ยว และร้านอาหารต่าง ๆ ส่งผลดีต่อชุมชนและเศรษฐกิจในพื้นที่ โดยนายกรัฐมนตรีแสดงความยินดีกับผู้ประกอบการภาคธุรกิจโรงแรม-ภาคบริการการท่องเที่ยว ที่ได้รับผลดีจากช่วงวันหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งถือเป็นโอกาสที่ดีของประเทศไทยในช่วงเวลานี้ รวมถึงการขับเคลื่อนในโอกาสต่อไป โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรีกล่าวต่อว่า นายกรัฐมนตรีย้ําให้ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันดําเนินการให้เกิดผลเป็นรูปธรรมให้มากที่สุด ภายใต้สถานการณ์ของจํานวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายวันที่ยังทรงตัวสูง ขณะที่รายจ่ายในชีวิตประจําวันของประชาชนยังปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งอาจส่งผลต่อการตัดสินใจในการเดินทางท่องเที่ยว และทําให้การฟื้นตัวภาคการท่องเที่ยวเป็นไปอย่างจํากัด จึงขอให้ผู้ประกอบการมีการปรับตัวและดําเนินการให้ทันต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น อย่างสอดคล้องกับพฤติกรรมความต้องการของผู้บริโภค หรือนักท่องเที่ยว ซึ่งในปัจจุบันคนไทยส่วนใหญ่หันมาให้ความสนใจต่อการเดินทางท่องเที่ยวทางธรรมชาติและสถานที่ท่องเที่ยวระยะใกล้ หรือเป็นจุดหมายปลายทางท่องเที่ยวหลัก ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางทะเล อาทิ พัทยาและสัตหีบ จ.ชลบุรี เกาะกูดและเกาะช้าง จ.ตราด หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ จ.ภูเก็ต เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี รวมถึงจุดหมายปลายทางท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ภูเขา น้ําตก เช่น อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จ.กาญจนบุรี และจ.เชียงใหม่ เป็นต้น โดยควรปรับหรือใช้กลยุทธ์ด้านราคาเพื่อกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวมาใช้บริการเพิ่มขึ้น ตลอดจนปรับให้สอดคล้องกับการเดินทางท่องเที่ยวที่มีวัตถุประสงค์หลากหลายขึ้น เหมาะสําหรับนักท่องเที่ยวแต่ละกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางท่องเที่ยวพักผ่อน (Leisure Travel) การเปลี่ยนบรรยากาศการทํางานในสถานที่ท่องเที่ยว (Workcations) เป็นต้น ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีพร้อมรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของทุกฝ่าย ทั้งสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ตลอดจนภาคส่วนอื่น ๆ ที่ทําให้เกิดการลงทุนใหม่ขึ้นในปัจจุบัน รวมถึงการเปิดโรงงานใหม่ที่ส่งผลดีต่อการจ้างงานทั้งภาคการผลิต ภาคบริการ การท่องเที่ยว ฯลฯ ขณะเดียวกันรัฐบาลก็ให้ความสําคัญกับการพัฒนาศักยภาพฝีมือแรงงานอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับแรงงานต่าง ๆ ด้วย “ช่วงสงกรานต์นี้ประชาชนเดินทางท่องเที่ยวเป็นจํานวนมาก เป็นเรื่องที่น่ายินดีสําหรับภาคธุรกิจโรงแรมและร้านค้า อย่างไรก็ตามนายกฯ ได้เน้นย้ําให้เป็นสงกรานต์ที่ปลอดภัย พร้อมส่งความห่วงใยมายังประชาชนที่เดินทางทุกคนให้เตรียมพร้อมตัวเองให้ดี พักผ่อนให้เพียงพอ ก่อนออกเดินทางทุกครั้ง ควรตรวจสอบความพร้อมของยานพาหนะให้เรียบร้อย ขับขี่ด้วยความระมัดระวัง เคารพกฎหมาย ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระหว่างขับรถ เพื่อให้ทุกคนเดินทางท่องเที่ยวและกลับบ้านไปฉลองสงกรานต์กับครอบครัวอย่างปลอดภัย และมีความสุขในเทศกาลปีใหม่ไทยนี้” โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรีกล่าว
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-โฆษกรัฐบาลเผย “นายกฯ” ยินดีภาคธุรกิจโรงแรม ภาคบริการการท่องเที่ยว ร้านอาหาร ได้รับผลดีช่วงหยุดยาวปีใหม่ไทย หลัง ศบค. ผ่อนคลายมาตรการให้จัดงานเทศกาลสงกรานต์ปี 65 ตามประเพณี วันพฤหัสบดีที่ 14 เมษายน 2565 โฆษกรัฐบาลเผย “นายกฯ” ยินดีภาคธุรกิจโรงแรม ภาคบริการการท่องเที่ยว ร้านอาหาร ได้รับผลดีช่วงหยุดยาวปีใหม่ไทย หลัง ศบค. ผ่อนคลายมาตรการให้จัดงานเทศกาลสงกรานต์ปี 65 ตามประเพณี โฆษกรัฐบาลเผย “นายกฯ” ยินดีภาคธุรกิจโรงแรม ภาคบริการการท่องเที่ยว ร้านอาหาร ได้รับผลดีช่วงหยุดยาวปีใหม่ไทย หลัง ศบค. ผ่อนคลายมาตรการให้จัดงานเทศกาลสงกรานต์ปี 65 ตามประเพณี ดันยอดจองที่พัก-สถานที่ท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง วันที่ 14 เมษายน 2565 นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รับทราบการประเมินของศูนย์วิจัยกสิกรไทยที่คาดการณ์ว่า การใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวในช่วงวันหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ระหว่างวันที่ 9-17 เม.ย. 65 มีมูลค่า 2.23 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน การเดินทางท่องเที่ยวในประเทศของคนไทย จํานวน 4.6 ล้านคน-ครั้ง เพิ่มขึ้น 2.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนภายหลังจากที่ ศบค. ได้ผ่อนคลายมาตรการให้จัดงานเทศกาลสงกรานต์ในปี 2565 ตามประเพณีไทย ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีต่อภาคการท่องเที่ยวที่พบว่ามียอดการจองใช้บริการเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ทั้งภาคธุรกิจโรงแรม ภาคบริการสถานที่ท่องเที่ยว และร้านอาหารต่าง ๆ ส่งผลดีต่อชุมชนและเศรษฐกิจในพื้นที่ โดยนายกรัฐมนตรีแสดงความยินดีกับผู้ประกอบการภาคธุรกิจโรงแรม-ภาคบริการการท่องเที่ยว ที่ได้รับผลดีจากช่วงวันหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งถือเป็นโอกาสที่ดีของประเทศไทยในช่วงเวลานี้ รวมถึงการขับเคลื่อนในโอกาสต่อไป โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรีกล่าวต่อว่า นายกรัฐมนตรีย้ําให้ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันดําเนินการให้เกิดผลเป็นรูปธรรมให้มากที่สุด ภายใต้สถานการณ์ของจํานวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายวันที่ยังทรงตัวสูง ขณะที่รายจ่ายในชีวิตประจําวันของประชาชนยังปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งอาจส่งผลต่อการตัดสินใจในการเดินทางท่องเที่ยว และทําให้การฟื้นตัวภาคการท่องเที่ยวเป็นไปอย่างจํากัด จึงขอให้ผู้ประกอบการมีการปรับตัวและดําเนินการให้ทันต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น อย่างสอดคล้องกับพฤติกรรมความต้องการของผู้บริโภค หรือนักท่องเที่ยว ซึ่งในปัจจุบันคนไทยส่วนใหญ่หันมาให้ความสนใจต่อการเดินทางท่องเที่ยวทางธรรมชาติและสถานที่ท่องเที่ยวระยะใกล้ หรือเป็นจุดหมายปลายทางท่องเที่ยวหลัก ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางทะเล อาทิ พัทยาและสัตหีบ จ.ชลบุรี เกาะกูดและเกาะช้าง จ.ตราด หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ จ.ภูเก็ต เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี รวมถึงจุดหมายปลายทางท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ภูเขา น้ําตก เช่น อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จ.กาญจนบุรี และจ.เชียงใหม่ เป็นต้น โดยควรปรับหรือใช้กลยุทธ์ด้านราคาเพื่อกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวมาใช้บริการเพิ่มขึ้น ตลอดจนปรับให้สอดคล้องกับการเดินทางท่องเที่ยวที่มีวัตถุประสงค์หลากหลายขึ้น เหมาะสําหรับนักท่องเที่ยวแต่ละกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางท่องเที่ยวพักผ่อน (Leisure Travel) การเปลี่ยนบรรยากาศการทํางานในสถานที่ท่องเที่ยว (Workcations) เป็นต้น ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีพร้อมรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของทุกฝ่าย ทั้งสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ตลอดจนภาคส่วนอื่น ๆ ที่ทําให้เกิดการลงทุนใหม่ขึ้นในปัจจุบัน รวมถึงการเปิดโรงงานใหม่ที่ส่งผลดีต่อการจ้างงานทั้งภาคการผลิต ภาคบริการ การท่องเที่ยว ฯลฯ ขณะเดียวกันรัฐบาลก็ให้ความสําคัญกับการพัฒนาศักยภาพฝีมือแรงงานอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับแรงงานต่าง ๆ ด้วย “ช่วงสงกรานต์นี้ประชาชนเดินทางท่องเที่ยวเป็นจํานวนมาก เป็นเรื่องที่น่ายินดีสําหรับภาคธุรกิจโรงแรมและร้านค้า อย่างไรก็ตามนายกฯ ได้เน้นย้ําให้เป็นสงกรานต์ที่ปลอดภัย พร้อมส่งความห่วงใยมายังประชาชนที่เดินทางทุกคนให้เตรียมพร้อมตัวเองให้ดี พักผ่อนให้เพียงพอ ก่อนออกเดินทางทุกครั้ง ควรตรวจสอบความพร้อมของยานพาหนะให้เรียบร้อย ขับขี่ด้วยความระมัดระวัง เคารพกฎหมาย ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระหว่างขับรถ เพื่อให้ทุกคนเดินทางท่องเที่ยวและกลับบ้านไปฉลองสงกรานต์กับครอบครัวอย่างปลอดภัย และมีความสุขในเทศกาลปีใหม่ไทยนี้” โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรีกล่าว
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/53600
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัด วธ. เป็นประธานการประชุมติดตามผลการดำเนินงานของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) กระทรวงวัฒนธรรม
วันพุธที่ 18 สิงหาคม 2564 ปลัด วธ. เป็นประธานการประชุมติดตามผลการดําเนินงานของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) กระทรวงวัฒนธรรม การประชุมติดตามผลการดําเนินงานของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) กระทรวงวัฒนธรรม ผ่านระบบประชุมทางไกล (Zoom) วันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๖๔ เวลา ๑๓.๐๐ น. นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานการประชุมติดตามผลการดําเนินงานของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) กระทรวงวัฒนธรรม ผ่านระบบประชุมทางไกล (Zoom) โดยมีนางยุถิกา อิศรางกูร ณ อยุธยา นายชัยพล สุขเอี่ยม ผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม และผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม ๑ ชั้น ๘ อาคารวัฒนธรรมวิศิษฏ์ กระทรวงวัฒนธรรม
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัด วธ. เป็นประธานการประชุมติดตามผลการดำเนินงานของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) กระทรวงวัฒนธรรม วันพุธที่ 18 สิงหาคม 2564 ปลัด วธ. เป็นประธานการประชุมติดตามผลการดําเนินงานของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) กระทรวงวัฒนธรรม การประชุมติดตามผลการดําเนินงานของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) กระทรวงวัฒนธรรม ผ่านระบบประชุมทางไกล (Zoom) วันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๖๔ เวลา ๑๓.๐๐ น. นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานการประชุมติดตามผลการดําเนินงานของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) กระทรวงวัฒนธรรม ผ่านระบบประชุมทางไกล (Zoom) โดยมีนางยุถิกา อิศรางกูร ณ อยุธยา นายชัยพล สุขเอี่ยม ผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม และผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม ๑ ชั้น ๘ อาคารวัฒนธรรมวิศิษฏ์ กระทรวงวัฒนธรรม
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/44886
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-Fitch Ratings คงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Sovereign Credit Rating) ที่ BBB+ และคงมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Outlook) อยู่ในระดับมีเสถียรภาพ (Stable Outlook)
วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน 2564 Fitch Ratings คงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Sovereign Credit Rating) ที่ BBB+ และคงมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Outlook) อยู่ในระดับมีเสถียรภาพ (Stable Outlook) เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2564 บริษัท Fitch Ratings (Fitch) ได้คงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Sovereign Credit Rating) ที่ BBB+ และคงมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Outlook) อยู่ในระดับมีเสถียรภาพ (Stable Outlook) นางแพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อํานวยการสํานักงานบริหารหนี้สาธารณะ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2564 บริษัท Fitch Ratings (Fitch) ได้คงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Sovereign Credit Rating) ที่ BBB+ และคงมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Outlook) อยู่ในระดับมีเสถียรภาพ (Stable Outlook) โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1) ภาคการคลังสาธารณะ (Public Finance) มีความแข็งแกร่งเป็นผลจากการบริหารจัดการทางการคลังอย่างรอบคอบและเป็นไปตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 เพื่อรักษาวินัยทางการคลัง แม้ว่าหนี้สาธารณะจะเพิ่มขึ้นจากการกู้เงินเพื่อสนับสนุนการดําเนินมาตรการทางการคลังเพื่อช่วยเหลือประชาชนและผู้ประกอบการ และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 เช่น การจัดทํางบประมาณรายจ่ายขาดดุล การตราพระราชกําหนดให้อํานาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 วงเงินไม่เกิน 1 ล้านล้านบาท และพระราชกําหนดให้อํานาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 วงเงินไม่เกิน 500,000 ล้านบาท แต่ Fitch เชื่อมั่นว่า รัฐบาลไทย สามารถบริหารจัดการความเสี่ยงหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้นได้เป็นอย่างดี เนื่องจากมีกลยุทธ์การบริหารหนี้สาธารณะภายใต้กรอบวินัยการเงินการคลังที่เข้มแข็ง ส่งผลให้หนี้สาธารณะของประเทศไทย ณ เดือนเมษายน 2564 มีอายุเฉลี่ย (Average Time to Maturity: ATM) ค่อนข้างยาว คือ 9.5 ปี และมีสัดส่วนหนี้สาธารณะสกุลเงินบาทมากกว่าร้อยละ 98 ซึ่งอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศที่มีอันดับความน่าเชื่อถือในระดับเดียวกัน (BBB peers) เช่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ โปรตุเกส ฮังการี บัลกาเรีย รัสเซีย และคาซัคสถาน เป็นต้น ที่มีค่ากลางของหนี้สกุลท้องถิ่นอยู่ที่ร้อยละ 68.8 Fitch คาดว่า สัดส่วนหนี้ภาครัฐบาล (General Government Debt) ต่อ GDP ของประเทศไทย ในปี 2565 จะเพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 52.7 ต่อ GDP จากการดําเนินนโยบายการคลังเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 และการมีกฎหมายการกู้เงินเพิ่มเติม ซึ่งยังคงอยู่ในระดับต่ํากว่าค่ากลางของกลุ่มประเทศที่มีอันดับความน่าเชื่อถือในระดับเดียวกันที่ร้อยละ 59.4 อย่างไรก็ดี Fitch เชื่อมั่นว่า แนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศไทยในไตรมาสที่ 2 ของปี 2564 จะเริ่มฟื้นตัวเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของการส่งออกสินค้าและการเร่งรัดการเบิกจ่ายโครงการลงทุนของภาครัฐ อีกทั้ง คาดว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยในปี 2565 จะขยายตัวที่ร้อยละ 4.2 เนื่องจากการขยายตัวของอุปสงค์ภายนอกประเทศ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ และการเริ่มเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ทั้งนี้ เมื่อสถานการณ์การระบาดคลี่คลาย เศรษฐกิจฟื้นตัวและรายได้ของรัฐบาลเพิ่มขึ้นจะทําให้รัฐบาลจัดทํางบประมาณขาดดุลลดลง 2) ภาคการเงินต่างประเทศ (External Finance) ที่ยังคงมีความเข้มแข็ง และส่งผลต่อการจัดอันดับความเชื่อถือของประเทศไทย โดยมีดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลและทุนสํารองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูง เพียงพอสําหรับใช้จ่ายถึง 10.8 เดือน ขณะที่กลุ่มประเทศที่มีอันดับความน่าเชื่อถือในระดับเดียวกัน (Peers) มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 9.3 เดือน นอกจากนี้ คาดว่าในปี 2564 ดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศไทยจะยังคงเกินดุลที่ร้อยละ 0.5 ต่อ GDP และจะเกินดุลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว เนื่องจากการเร่งฉีดวัคซีนให้ประชาชนอย่างกว้างขวางให้ครอบคลุมประชากรกว่าร้อยละ 70 ตั้งแต่ต้นเดือนมิถุนายน 2564 และแผนการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงที่ได้รับการฉีดวัคซีนครบโดสแล้วจากประเทศที่มีความเสี่ยงต่ําและปานกลาง ตามหลักเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย โดยจะเริ่มจากจังหวัดภูเก็ตเป็นจังหวัดนําร่อง (Phuket Sandbox) ภายในเดือนตุลาคม 2564 ประเด็นที่ Fitch ให้ความสนใจและจะติดตามอย่างใกล้ชิด คือ ธรรมาภิบาล รายได้เฉลี่ยต่อหัวหนี้ครัวเรือน และความเสี่ยงทางการเมือง รวมทั้งโครงสร้างประชากรสูงอายุที่จะส่งผลต่อการเติบโตของประเทศในระยะปานกลาง สํานักนโยบายและแผน สํานักงานบริหารสาธารณะ โทร. 02 265 8050 ต่อ 5516
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-Fitch Ratings คงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Sovereign Credit Rating) ที่ BBB+ และคงมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Outlook) อยู่ในระดับมีเสถียรภาพ (Stable Outlook) วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน 2564 Fitch Ratings คงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Sovereign Credit Rating) ที่ BBB+ และคงมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Outlook) อยู่ในระดับมีเสถียรภาพ (Stable Outlook) เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2564 บริษัท Fitch Ratings (Fitch) ได้คงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Sovereign Credit Rating) ที่ BBB+ และคงมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Outlook) อยู่ในระดับมีเสถียรภาพ (Stable Outlook) นางแพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อํานวยการสํานักงานบริหารหนี้สาธารณะ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2564 บริษัท Fitch Ratings (Fitch) ได้คงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Sovereign Credit Rating) ที่ BBB+ และคงมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Outlook) อยู่ในระดับมีเสถียรภาพ (Stable Outlook) โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1) ภาคการคลังสาธารณะ (Public Finance) มีความแข็งแกร่งเป็นผลจากการบริหารจัดการทางการคลังอย่างรอบคอบและเป็นไปตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 เพื่อรักษาวินัยทางการคลัง แม้ว่าหนี้สาธารณะจะเพิ่มขึ้นจากการกู้เงินเพื่อสนับสนุนการดําเนินมาตรการทางการคลังเพื่อช่วยเหลือประชาชนและผู้ประกอบการ และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 เช่น การจัดทํางบประมาณรายจ่ายขาดดุล การตราพระราชกําหนดให้อํานาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 วงเงินไม่เกิน 1 ล้านล้านบาท และพระราชกําหนดให้อํานาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 วงเงินไม่เกิน 500,000 ล้านบาท แต่ Fitch เชื่อมั่นว่า รัฐบาลไทย สามารถบริหารจัดการความเสี่ยงหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้นได้เป็นอย่างดี เนื่องจากมีกลยุทธ์การบริหารหนี้สาธารณะภายใต้กรอบวินัยการเงินการคลังที่เข้มแข็ง ส่งผลให้หนี้สาธารณะของประเทศไทย ณ เดือนเมษายน 2564 มีอายุเฉลี่ย (Average Time to Maturity: ATM) ค่อนข้างยาว คือ 9.5 ปี และมีสัดส่วนหนี้สาธารณะสกุลเงินบาทมากกว่าร้อยละ 98 ซึ่งอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศที่มีอันดับความน่าเชื่อถือในระดับเดียวกัน (BBB peers) เช่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ โปรตุเกส ฮังการี บัลกาเรีย รัสเซีย และคาซัคสถาน เป็นต้น ที่มีค่ากลางของหนี้สกุลท้องถิ่นอยู่ที่ร้อยละ 68.8 Fitch คาดว่า สัดส่วนหนี้ภาครัฐบาล (General Government Debt) ต่อ GDP ของประเทศไทย ในปี 2565 จะเพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 52.7 ต่อ GDP จากการดําเนินนโยบายการคลังเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 และการมีกฎหมายการกู้เงินเพิ่มเติม ซึ่งยังคงอยู่ในระดับต่ํากว่าค่ากลางของกลุ่มประเทศที่มีอันดับความน่าเชื่อถือในระดับเดียวกันที่ร้อยละ 59.4 อย่างไรก็ดี Fitch เชื่อมั่นว่า แนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศไทยในไตรมาสที่ 2 ของปี 2564 จะเริ่มฟื้นตัวเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของการส่งออกสินค้าและการเร่งรัดการเบิกจ่ายโครงการลงทุนของภาครัฐ อีกทั้ง คาดว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยในปี 2565 จะขยายตัวที่ร้อยละ 4.2 เนื่องจากการขยายตัวของอุปสงค์ภายนอกประเทศ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ และการเริ่มเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ทั้งนี้ เมื่อสถานการณ์การระบาดคลี่คลาย เศรษฐกิจฟื้นตัวและรายได้ของรัฐบาลเพิ่มขึ้นจะทําให้รัฐบาลจัดทํางบประมาณขาดดุลลดลง 2) ภาคการเงินต่างประเทศ (External Finance) ที่ยังคงมีความเข้มแข็ง และส่งผลต่อการจัดอันดับความเชื่อถือของประเทศไทย โดยมีดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลและทุนสํารองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูง เพียงพอสําหรับใช้จ่ายถึง 10.8 เดือน ขณะที่กลุ่มประเทศที่มีอันดับความน่าเชื่อถือในระดับเดียวกัน (Peers) มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 9.3 เดือน นอกจากนี้ คาดว่าในปี 2564 ดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศไทยจะยังคงเกินดุลที่ร้อยละ 0.5 ต่อ GDP และจะเกินดุลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว เนื่องจากการเร่งฉีดวัคซีนให้ประชาชนอย่างกว้างขวางให้ครอบคลุมประชากรกว่าร้อยละ 70 ตั้งแต่ต้นเดือนมิถุนายน 2564 และแผนการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงที่ได้รับการฉีดวัคซีนครบโดสแล้วจากประเทศที่มีความเสี่ยงต่ําและปานกลาง ตามหลักเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย โดยจะเริ่มจากจังหวัดภูเก็ตเป็นจังหวัดนําร่อง (Phuket Sandbox) ภายในเดือนตุลาคม 2564 ประเด็นที่ Fitch ให้ความสนใจและจะติดตามอย่างใกล้ชิด คือ ธรรมาภิบาล รายได้เฉลี่ยต่อหัวหนี้ครัวเรือน และความเสี่ยงทางการเมือง รวมทั้งโครงสร้างประชากรสูงอายุที่จะส่งผลต่อการเติบโตของประเทศในระยะปานกลาง สํานักนโยบายและแผน สํานักงานบริหารสาธารณะ โทร. 02 265 8050 ต่อ 5516
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/42901
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-​Govt Spokesperson thanks Parliament for voting in favor of PM and cabinet members and giving suggestions for national administration
วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม 2565 ​Govt Spokesperson thanks Parliament for voting in favor of PM and cabinet members and giving suggestions for national administration ​Govt Spokesperson thanks Parliament for voting in favor of PM and cabinet members and giving suggestions for national administration July 23, 2022, Government Spokesperson Thanakorn Wangboonkongchana expressed appreciation toward the House Speaker and MPs for voting in favor of Prime Minister and Defense Minister Gen. Prayut Chan-o-cha and other ten ministers, following the censure debate held during July 19-22, 2022. According to the Government Spokesperson, this was also a good opportunity for the Government to make clarification to wide-ranging issues raised at the session. The Government welcomed suggestions and recommendations made by the House MPs, and will take them into consideration for the best interest of the country and people. He also affirmed the Government’s commitment to administer the nation with integrity and transparency, and to have a zero-tolerance approach to graft and corruption. This is with an aim to ensure national security, prosperity, and sustainability, and to navigate the country out of all crises. Although some of the information presented by the Opposition are distorted, the Government took the opportunity to clear all the allegations and those distorted information. Since the censure debate is now over, the Government Spokesperson urged the Opposition to join forces with the Government and the Coalition to fight against all obstacles and problems that are hindering the nation and people.
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-​Govt Spokesperson thanks Parliament for voting in favor of PM and cabinet members and giving suggestions for national administration วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม 2565 ​Govt Spokesperson thanks Parliament for voting in favor of PM and cabinet members and giving suggestions for national administration ​Govt Spokesperson thanks Parliament for voting in favor of PM and cabinet members and giving suggestions for national administration July 23, 2022, Government Spokesperson Thanakorn Wangboonkongchana expressed appreciation toward the House Speaker and MPs for voting in favor of Prime Minister and Defense Minister Gen. Prayut Chan-o-cha and other ten ministers, following the censure debate held during July 19-22, 2022. According to the Government Spokesperson, this was also a good opportunity for the Government to make clarification to wide-ranging issues raised at the session. The Government welcomed suggestions and recommendations made by the House MPs, and will take them into consideration for the best interest of the country and people. He also affirmed the Government’s commitment to administer the nation with integrity and transparency, and to have a zero-tolerance approach to graft and corruption. This is with an aim to ensure national security, prosperity, and sustainability, and to navigate the country out of all crises. Although some of the information presented by the Opposition are distorted, the Government took the opportunity to clear all the allegations and those distorted information. Since the censure debate is now over, the Government Spokesperson urged the Opposition to join forces with the Government and the Coalition to fight against all obstacles and problems that are hindering the nation and people.
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/57189
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ก.อุตฯ ร้อง WTO ต่อเนื่อง เหตุอินเดียบล็อกนำเข้าแอร์ไทยที่ใส่สารทำความเย็น อ้างปฏิบัติตามพันธกรณีพิธีสารมอนทรีออล
วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม 2565 ก.อุตฯ ร้อง WTO ต่อเนื่อง เหตุอินเดียบล็อกนําเข้าแอร์ไทยที่ใส่สารทําความเย็น อ้างปฏิบัติตามพันธกรณีพิธีสารมอนทรีออล ก.อุตฯ เร่งช่วยเหลือผู้ส่งออกเครื่องปรับอากาศของไทย เหตุอินเดียห้ามนําเข้าเครื่องปรับ อากาศที่มีสารทําความเย็น อ้างความปลอดภัยด้านสุขภาพ ตามพันธกรณีพิธีสารมอนทรีออล สั่ง สมอ. จี้อินเดียแจ้งเวียนมาตรการต่อ WTO พร้อมขอหลักฐานพันธกรณีที่อ้าง นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า จากกรณีที่ประเทศอินเดียกําหนดมาตรการห้ามนําเข้าเครื่องปรับอากาศที่บรรจุสารทําความเย็น ได้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่องทําความเย็นของไทยเป็นอย่างมาก ตนจึงสั่งการให้สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ในฐานะผู้แทนประเทศไทยในคณะกรรมการว่าด้วยอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า (Committee on Technical Barriers to Trade : TBT) ภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) ดําเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการไทยอย่างเร่งด่วน ด้าน นายบรรจง สุกรีฑา เลขาธิการสํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กล่าวเพิ่มเติมว่า จากข้อสั่งการของท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และข้อร้องเรียนจากผู้ประกอบการที่สมอ. ได้รับเมื่อเดือนกันยายน 2564 สมอ. ได้ติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด โดยหยิบยกประเด็นดังกล่าวเข้าในการประชุม Committee on TBT ครั้งที่ 86 เมื่อวันที่ 8-11 มีนาคม 2565 ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ตามพันธกรณีความตกลงที่ประเทศสมาชิกต้องถือปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันระหว่างสินค้าที่ผลิตในประเทศและนําเข้าจากต่างประเทศ และถือเป็นอุปสรรคทางการค้าโดยไม่จําเป็น แต่อินเดียยังไม่ปฏิบัติตาม และอ้างความปลอดภัยด้านสุขภาพ ตามพันธกรณีพิธีสารมอนทรีออล โดยชี้แจงว่ามาตรการห้ามนําเข้าเครื่องปรับอากาศที่บรรจุสารทําความเย็นแล้ว เป็นมาตรการที่มีความจําเป็นเพื่อความปลอดภัยของชีวิตและสุขภาพของมนุษย์ สัตว์ และพืช สอดคล้องกับพันธกรณีตามพิธีสารมอนทรีออลที่อินเดียเข้าร่วมเป็นภาคี สมอ. จึงได้หยิบยกประเด็นดังกล่าวอีกครั้งในการประชุม Committee on TBT ครั้งที่ 87 เมื่อวันที่ 13 - 15 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส โดย สมอ. ได้เน้นย้ําให้อินเดียแจ้งเวียนมาตรการดังกล่าวเพื่อให้เป็นไปตามพันธกรณี WTO รวมทั้งขอหลักฐานพันธกรณีที่อ้างว่า มาตรการห้ามนําเข้าเครื่องปรับอากาศที่บรรจุสารทําความเย็นเป็นไปตามที่กําหนดในพิธีสารมอนทรีออล เลขาธิการ สมอ. กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “การร้องเรียนต่อ WTO ที่ สมอ. ดําเนินการนี้ เป็นไปตามสิทธิขั้นพื้นฐานของประเทศสมาชิกของ WTO และถือเป็นเรื่องที่ทุกประเทศสามารถกระทําได้ หากเห็นว่ามีกฎระเบียบใด ๆ ที่ไม่เป็นธรรมหรือเป็นอุปสรรคทางการค้าของประเทศนั้น ๆ ซึ่ง สมอ. ก็จะร้องเรียนต่อ WTO ในกรณีดังกล่าวจนกว่าอินเดียจะยกเลิกกฎระเบียบที่ทําให้ผู้ประกอบการไทยต้องแบกรับต้นทุนเพิ่มในการส่งออกเครื่องปรับอากาศไปจําหน่ายในอินเดีย โดยถือเป็นการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันระหว่างสินค้าที่ผลิตในประเทศและนําเข้าจากต่างประเทศ” เลขาธิการ สมอ. กล่าว 3 สิงหาคม 2565
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ก.อุตฯ ร้อง WTO ต่อเนื่อง เหตุอินเดียบล็อกนำเข้าแอร์ไทยที่ใส่สารทำความเย็น อ้างปฏิบัติตามพันธกรณีพิธีสารมอนทรีออล วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม 2565 ก.อุตฯ ร้อง WTO ต่อเนื่อง เหตุอินเดียบล็อกนําเข้าแอร์ไทยที่ใส่สารทําความเย็น อ้างปฏิบัติตามพันธกรณีพิธีสารมอนทรีออล ก.อุตฯ เร่งช่วยเหลือผู้ส่งออกเครื่องปรับอากาศของไทย เหตุอินเดียห้ามนําเข้าเครื่องปรับ อากาศที่มีสารทําความเย็น อ้างความปลอดภัยด้านสุขภาพ ตามพันธกรณีพิธีสารมอนทรีออล สั่ง สมอ. จี้อินเดียแจ้งเวียนมาตรการต่อ WTO พร้อมขอหลักฐานพันธกรณีที่อ้าง นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า จากกรณีที่ประเทศอินเดียกําหนดมาตรการห้ามนําเข้าเครื่องปรับอากาศที่บรรจุสารทําความเย็น ได้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่องทําความเย็นของไทยเป็นอย่างมาก ตนจึงสั่งการให้สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ในฐานะผู้แทนประเทศไทยในคณะกรรมการว่าด้วยอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า (Committee on Technical Barriers to Trade : TBT) ภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) ดําเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการไทยอย่างเร่งด่วน ด้าน นายบรรจง สุกรีฑา เลขาธิการสํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กล่าวเพิ่มเติมว่า จากข้อสั่งการของท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และข้อร้องเรียนจากผู้ประกอบการที่สมอ. ได้รับเมื่อเดือนกันยายน 2564 สมอ. ได้ติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด โดยหยิบยกประเด็นดังกล่าวเข้าในการประชุม Committee on TBT ครั้งที่ 86 เมื่อวันที่ 8-11 มีนาคม 2565 ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ตามพันธกรณีความตกลงที่ประเทศสมาชิกต้องถือปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันระหว่างสินค้าที่ผลิตในประเทศและนําเข้าจากต่างประเทศ และถือเป็นอุปสรรคทางการค้าโดยไม่จําเป็น แต่อินเดียยังไม่ปฏิบัติตาม และอ้างความปลอดภัยด้านสุขภาพ ตามพันธกรณีพิธีสารมอนทรีออล โดยชี้แจงว่ามาตรการห้ามนําเข้าเครื่องปรับอากาศที่บรรจุสารทําความเย็นแล้ว เป็นมาตรการที่มีความจําเป็นเพื่อความปลอดภัยของชีวิตและสุขภาพของมนุษย์ สัตว์ และพืช สอดคล้องกับพันธกรณีตามพิธีสารมอนทรีออลที่อินเดียเข้าร่วมเป็นภาคี สมอ. จึงได้หยิบยกประเด็นดังกล่าวอีกครั้งในการประชุม Committee on TBT ครั้งที่ 87 เมื่อวันที่ 13 - 15 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส โดย สมอ. ได้เน้นย้ําให้อินเดียแจ้งเวียนมาตรการดังกล่าวเพื่อให้เป็นไปตามพันธกรณี WTO รวมทั้งขอหลักฐานพันธกรณีที่อ้างว่า มาตรการห้ามนําเข้าเครื่องปรับอากาศที่บรรจุสารทําความเย็นเป็นไปตามที่กําหนดในพิธีสารมอนทรีออล เลขาธิการ สมอ. กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “การร้องเรียนต่อ WTO ที่ สมอ. ดําเนินการนี้ เป็นไปตามสิทธิขั้นพื้นฐานของประเทศสมาชิกของ WTO และถือเป็นเรื่องที่ทุกประเทศสามารถกระทําได้ หากเห็นว่ามีกฎระเบียบใด ๆ ที่ไม่เป็นธรรมหรือเป็นอุปสรรคทางการค้าของประเทศนั้น ๆ ซึ่ง สมอ. ก็จะร้องเรียนต่อ WTO ในกรณีดังกล่าวจนกว่าอินเดียจะยกเลิกกฎระเบียบที่ทําให้ผู้ประกอบการไทยต้องแบกรับต้นทุนเพิ่มในการส่งออกเครื่องปรับอากาศไปจําหน่ายในอินเดีย โดยถือเป็นการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันระหว่างสินค้าที่ผลิตในประเทศและนําเข้าจากต่างประเทศ” เลขาธิการ สมอ. กล่าว 3 สิงหาคม 2565
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/57603
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ครม. รับทราบความคืบหน้าโครงการ Factory Sandbox นำร่องดูแลแรงงาน 9.2 หมื่นคน ปลอดโควิด19 สร้างความเชื่อมั่นนักลงทุน
วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม 2564 ครม. รับทราบความคืบหน้าโครงการ Factory Sandbox นําร่องดูแลแรงงาน 9.2 หมื่นคน ปลอดโควิด19 สร้างความเชื่อมั่นนักลงทุน ครม. รับทราบความคืบหน้าโครงการ Factory Sandbox นําร่องดูแลแรงงาน 9.2 หมื่นคน ปลอดโควิด19 สร้างความเชื่อมั่นนักลงทุน วันที่ 30 ส.ค. 64 นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2564 ว่า ครม.รับทราบความคืบหน้าการดําเนินโครงการนําร่องการป้องกันและการควบคุมการแพร่ระบาดในโรงงาน (Factory Sandbox) ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ ซึ่งโครงการนี้เป็นการดําเนินการภายใต้แนวคิด “เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข”โดยมุ่งเน้นให้สถานประกอบการ กิจการ โรงงานภาคการผลิตส่งออกขนาดใหญ่ (แรงงาน 500 คนขึ้นไป) ที่มีความสําคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้สามารถดําเนินการต่อไปได้ภายใต้มาตรการควบคุมและป้องกันโรคโควิด19 สําหรับการดําเนินการโครงการ Factory Sandbox ในพื้นที่เป้าหมาย จะแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรสาคร และชลบุรี ระยะที่ 2 อยุธยา ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ ซึ่งจะมุ่งเป้าไปยังกลุ่มสถานประกอบการ 4 ประเภทอุตสาหกรรม ได้แก่ 1.ยานยนต์ 2.ชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์ 3.อาหาร และ 4.อุปกรณ์การแพทย์ โดยขับเคลื่อนภายใต้ 4 หลักการสําคัญคือ 1.ตรวจ ดําเนินการตรวจคัดกรองเชื้อโควิด19 ด้วยวิธี RT-PCR แรงงานในสถานประกอบการทุกคน เพื่อแยกคนป่วยไปรักษาทันทีและดําเนินการตรวจโดยชุดตรวจ ATK ทุกสัปดาห์ 2.รักษา สถานประกอบการจัดให้มีสถานพยาบาลขึ้นดังนี้ 1)สถานแยกกักตัว (Factory Isolation: FAI) และ Hospitel สําหรับผู้ป่วยสีเขียว 2)โรงพยาบาลสนาม สําหรับผู้ป่วยสีเหลือง และ3)ICU สําหรับผู้ป่วยสีแดง 3.ดูแล ดําเนินฉีดวัคซีนเข็มที่ 1 และเข็มที่ 2 ให้แรงงาน โดยเน้นกลุ่ม 7 โรคเสี่ยง คนท้อง และออกใบรับรอง "โรงงานสีฟ้า" เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ลงทุน 4.ควบคุม ให้สถานประกอบการดําเนินการตามมาตรการป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่เฉพาะ(Bubble and Seal) และมาตรการด้านสาธารณสุข (DMHTT) เบื้องต้น ข้อมูล ณ วันที่ 24 สิงหาคม 2562 มีสถานการประกอบการร่วมโครงการ โดยลงนามทําข้อตกลง (MOU) แล้วจํานวน 46 แห่ง และมีสถานพยาบาลเข้าร่วมโครงการ 4 แห่ง สามารถดูแลผู้ประกันได้จํานวน 9.2 หมื่นคน นอกจากนี้ การดําเนินการตรวจคัดกรองเชื้อโควิด19 ด้วยวิธี RT-PCR ได้ดําเนินการตรวจเชื้อในสถานประกอบการแล้วจํานวน 11 แห่ง มีผู้ประกันตนที่ได้รับคัดกรอง จํานวน 1.2 หมื่นคน นางสาวรัชดากล่าวเพิ่มเติมว่า การดําเนินโครงการ Factory Sandbox นี้ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการ 1)รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในภาคการผลิตส่งออก ซึ่งมีมูลค่าสูงกว่า 7แสนล้านบาท 2)ป้องกันคลัสเตอร์โรงงานจากการติดเชื้อ สร้างสมดุลระหว่างมาตรการด้านสาธารณสุขและการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เดินหน้าต่อไปได้ 3.สร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ 4.รักษาระดับการจ้างงานในภาคการผลิตส่งออกได้กว่า 3ล้านตําแหน่ง และจากที่เริ่มดําเนินโครงการ สมาคมผู้ประกอบการญี่ปุ่นในพื้นที่ชลบุรี-ระยอง ได้ทําหนังสือขอบคุณมายังนายกรัฐมนตรีด้วย ---------------------
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ครม. รับทราบความคืบหน้าโครงการ Factory Sandbox นำร่องดูแลแรงงาน 9.2 หมื่นคน ปลอดโควิด19 สร้างความเชื่อมั่นนักลงทุน วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม 2564 ครม. รับทราบความคืบหน้าโครงการ Factory Sandbox นําร่องดูแลแรงงาน 9.2 หมื่นคน ปลอดโควิด19 สร้างความเชื่อมั่นนักลงทุน ครม. รับทราบความคืบหน้าโครงการ Factory Sandbox นําร่องดูแลแรงงาน 9.2 หมื่นคน ปลอดโควิด19 สร้างความเชื่อมั่นนักลงทุน วันที่ 30 ส.ค. 64 นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2564 ว่า ครม.รับทราบความคืบหน้าการดําเนินโครงการนําร่องการป้องกันและการควบคุมการแพร่ระบาดในโรงงาน (Factory Sandbox) ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ ซึ่งโครงการนี้เป็นการดําเนินการภายใต้แนวคิด “เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข”โดยมุ่งเน้นให้สถานประกอบการ กิจการ โรงงานภาคการผลิตส่งออกขนาดใหญ่ (แรงงาน 500 คนขึ้นไป) ที่มีความสําคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้สามารถดําเนินการต่อไปได้ภายใต้มาตรการควบคุมและป้องกันโรคโควิด19 สําหรับการดําเนินการโครงการ Factory Sandbox ในพื้นที่เป้าหมาย จะแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรสาคร และชลบุรี ระยะที่ 2 อยุธยา ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ ซึ่งจะมุ่งเป้าไปยังกลุ่มสถานประกอบการ 4 ประเภทอุตสาหกรรม ได้แก่ 1.ยานยนต์ 2.ชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์ 3.อาหาร และ 4.อุปกรณ์การแพทย์ โดยขับเคลื่อนภายใต้ 4 หลักการสําคัญคือ 1.ตรวจ ดําเนินการตรวจคัดกรองเชื้อโควิด19 ด้วยวิธี RT-PCR แรงงานในสถานประกอบการทุกคน เพื่อแยกคนป่วยไปรักษาทันทีและดําเนินการตรวจโดยชุดตรวจ ATK ทุกสัปดาห์ 2.รักษา สถานประกอบการจัดให้มีสถานพยาบาลขึ้นดังนี้ 1)สถานแยกกักตัว (Factory Isolation: FAI) และ Hospitel สําหรับผู้ป่วยสีเขียว 2)โรงพยาบาลสนาม สําหรับผู้ป่วยสีเหลือง และ3)ICU สําหรับผู้ป่วยสีแดง 3.ดูแล ดําเนินฉีดวัคซีนเข็มที่ 1 และเข็มที่ 2 ให้แรงงาน โดยเน้นกลุ่ม 7 โรคเสี่ยง คนท้อง และออกใบรับรอง "โรงงานสีฟ้า" เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ลงทุน 4.ควบคุม ให้สถานประกอบการดําเนินการตามมาตรการป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่เฉพาะ(Bubble and Seal) และมาตรการด้านสาธารณสุข (DMHTT) เบื้องต้น ข้อมูล ณ วันที่ 24 สิงหาคม 2562 มีสถานการประกอบการร่วมโครงการ โดยลงนามทําข้อตกลง (MOU) แล้วจํานวน 46 แห่ง และมีสถานพยาบาลเข้าร่วมโครงการ 4 แห่ง สามารถดูแลผู้ประกันได้จํานวน 9.2 หมื่นคน นอกจากนี้ การดําเนินการตรวจคัดกรองเชื้อโควิด19 ด้วยวิธี RT-PCR ได้ดําเนินการตรวจเชื้อในสถานประกอบการแล้วจํานวน 11 แห่ง มีผู้ประกันตนที่ได้รับคัดกรอง จํานวน 1.2 หมื่นคน นางสาวรัชดากล่าวเพิ่มเติมว่า การดําเนินโครงการ Factory Sandbox นี้ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการ 1)รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในภาคการผลิตส่งออก ซึ่งมีมูลค่าสูงกว่า 7แสนล้านบาท 2)ป้องกันคลัสเตอร์โรงงานจากการติดเชื้อ สร้างสมดุลระหว่างมาตรการด้านสาธารณสุขและการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เดินหน้าต่อไปได้ 3.สร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ 4.รักษาระดับการจ้างงานในภาคการผลิตส่งออกได้กว่า 3ล้านตําแหน่ง และจากที่เริ่มดําเนินโครงการ สมาคมผู้ประกอบการญี่ปุ่นในพื้นที่ชลบุรี-ระยอง ได้ทําหนังสือขอบคุณมายังนายกรัฐมนตรีด้วย ---------------------
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/45325
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกฯ เป็นประธานเปิดการสัมมนา Thailand Tourism Congress 2022 ขอบคุณชาวภูเก็ตและหน่วยงานเกี่ยวข้องร่วมขับเคลื่อน Phuket Sandbox จนเป็นต้นแบบฟื้นฟูการท่องเที่ยวประเทศ
วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน 2565 นายกฯ เป็นประธานเปิดการสัมมนา Thailand Tourism Congress 2022 ขอบคุณชาวภูเก็ตและหน่วยงานเกี่ยวข้องร่วมขับเคลื่อน Phuket Sandbox จนเป็นต้นแบบฟื้นฟูการท่องเที่ยวประเทศ นายกฯ เป็นประธานเปิดการสัมมนา Thailand Tourism Congress 2022 ขอบคุณชาวภูเก็ตและหน่วยงานเกี่ยวข้องร่วมขับเคลื่อน Phuket Sandbox จนเป็นต้นแบบฟื้นฟูการท่องเที่ยวประเทศและเป็นแบบอย่างให้หลายประเทศ พร้อมฝากกลยุทธ์รอยยิ้ม “SMILES” ให้ภาคการท่องเที่ยว น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า วันนี้ (6 มิ.ย. 2565) เวลาประมาณ 15.30 น. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม เป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนากําหนดยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวประเทศไทย (Thailand Tourism Congress 2022) ณ โรงแรมบียอนด์ รีสอร์ท กะตะจ.ภูเก็ต โดยมีนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา นายสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน นางกนกวรรณ วิลาวัลย์ รมช.ศึกษาธิการ นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) พร้อมคณะผู้บริหาร ททท. เข้าร่วม และมีนายณรงค์ วุ่นซิ่ว ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต และภาคธุรกิจโรงแรมและการท่องเที่ยว จ.ภูเก็ต ให้การต้อนรับ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวในปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ยุทธศาสตร์การยกระดับการท่องเที่ยวไทย สู่การท่องเที่ยวคุณภาพที่ยั่งยืน” ขอบคุณชาวจังหวัดภูเก็ตและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่รวมกันผลักดัน Phuket Sandbox จนกลายเป็นแบบอย่างให้ของหลายประเทศ มีการร่วมมือระหว่างหน่วยงานรัฐและเอกชนในการผ่านความยากลําบากตลอดเวลา 2 ปีที่ผ่านมา โดยนายกรัฐมนตรีแสดงความเชื่อมั่นว่าการท่องเที่ยวไทยกําลังเริ่มต้นกลับมาอีกครั้ง จากจํานวนตัวเลขนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าประเทศเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆและสามารถกลับคืนสู่ภาวะปกติได้ด้วยการปรับปรุงเงื่อนไขการเดินทางเข้าประเทศ ตลอดจนมาตรการต่าง ๆ ที่จะทําให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันกับประเทศต่าง ๆ ได้ อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมท่องเที่ยวจะต้องมีรูปแบบที่เปลี่ยนไป โดยต้องเป็นเครื่องมือในการกระจายรายได้ ให้ประชาชน ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยรัฐบาลสนับสนุนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ ให้ความสนใจกับมิติคุณภาพของนักท่องเที่ยว มากกว่าปริมาณนักท่องเที่ยว ส่งเสริมการท่องเที่ยวที่รับผิดชอบต่อคุณค่าสิ่งแวดล้อม ต่อคุณค่าวัฒนธรรม และต่อคุณค่าความเป็นไทย แต่การสร้างการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพนี้ไม่ใช่หน้าที่ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่ต้องร่วมกันทั้งรัฐบาลกับผู้ที่อยู่ในภาคการท่องเที่ยวทุกคน นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า อนาคตการท่องเที่ยวโลกจะเผชิญกับภาวะที่เรียกว่า VUCA World คือโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอยู่บนความแน่นอน และเต็มไปด้วยความท้าทายทุกรูปแบบ การจะรับมือกับ VUCA World ทุกฝ่ายต้องร่วมกันกําหนดยุทธศาสตร์ที่มีความยืดหยุ่น และปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่มีความเปราะบาง และอ่อนไหวมาก ซึ่งขณะนี้ภาคการท่องเที่ยวของไทยก็มีความร่วมมือได้อย่างน่าชื่นชม อย่างไรก็ตาม ประเด็นขอฝากให้ธุรกิจการท่องเที่ยวนําไปประกอบการกําหนดยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวร่วมกันคือ แนวโน้มของกลุ่มประเทศลูกค้าหลักของการท่องเที่ยวไทยที่หลายประเทศให้ความสนใจคือ เรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องสังคม โดยเฉพาะ เรื่องความเหลื่อมล้ํา และเรื่องธรรมมาภิบาล ทั้งของภาครัฐและเอกชน รวมถึงการให้ความสําคัญกับการใช้โลกของดิจิทัลเข้ามาขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยเฉพาะเรื่อง Metaverse กับการท่องเที่ยว นอกจากนี้ รัฐบาลขอมอบยุทธศาสตร์แห่งรอยยิ้ม (SMILES) ให้ภาคการท่องเที่ยวได้นําไปเป็นกรอบในการระดมสมองในโครงการสัมมนา Thailand Tourism Congress 2022 ได้แก่ S – Sustainability ให้ความสําคัญกับความยั่งยืน ทั้งเรื่องการใช้พลังงาน Carbon Footprint ไปจนถึง Food Waste , M – Manpower ให้ความสําคัญกับทรัพยากรมนุษย์ทางด้านการท่องเที่ยว ที่มีทักษะในระดับนานาชาติ แต่รักษาเอกลักษณ์ความเป็นไทยได้อย่างมีเสน่ห์ I – Inclusive Economy ให้ความสําคัญกับเศรษฐกิจแบบมีส่วนร่วม ให้ความสําคัญกับคนทุกเพศ ทุกวัย เด็ก คนชรา ออกแบบสถานที่การท่องเที่ยวให้ตอบสนองทุกกลุ่มคน และสร้างโอกาสในการทํางานด้านการท่องเที่ยวให้กับผู้ด้อยโอกาส, L – Localization ให้ความสําคัญกับอัตลักษณ์ท้องถิ่นในแต่ละพื้นที่ ชูจุดเด่นที่แตกต่างกัน และนํามาร้อยเรียงกันให้สนับสนุนกัน รัฐบาลอยากเห็น การเชื่อมโยงของภูมิภาค ที่สามารถนํากลุ่มจังหวัดไปประสานและสอดรับกันได้ E – Ecosystems ให้ความสําคัญกับระบบนิเวศทางการท่องเที่ยว ทั้งเรื่องระบบนิเวศธรรมชาติ และระบบนิเวศทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว รวมถึงการลดเงื่อนไข ทอนขั้นตอนทางด้านกฎหมาย เพื่อให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวมีภูมิต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงได้ และ S – Social Innovation ให้ความสําคัญกับนวัตกรรมด้านสังคม ที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวมีความสอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนไป จากปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ รวมถึงให้ความสําคัญกับ ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวให้กําลังใจกับทุก ๆ ฝ่ายที่อยู่ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ในการจะร่วมกันแก้ปัญหาที่ค้างคามานาน ตั้งแต่เรื่องพระราชบัญญัติโรงแรมที่กําลังปรับปรุงให้สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนไป รวมถึงการจะให้ภูเก็ตเป็นพื้นที่นําร่อง ในรูปแบบ sandbox ในหลายมิติสําคัญ เช่น การปรับปรุงกฎหมายบางฉบับที่สนับสนุนการท่องเที่ยว ซึ่งเรื่องนี้คณะที่ปรึกษาด้านผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม ใน ศบค. ได้ให้ความสนใจและประสานงานกับทางจังหวัดภูเก็ตอย่างต่อเนื่องและใกล้ชิด พร้อมกับขอให้ร่วมกันระดมความคิดในการกําหนดยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทย เพราะนี่จะเป็นโอกาสสําคัญของคนท่องเที่ยวทั่วประเทศไทยที่จะได้กําหนดอนาคตท่องเที่ยวไทย ด้วยคนท่องเที่ยวเอง โดยรัฐบาลจะรอรับบทสรุปจากการระดมสมองกําหนดยุทธศาสตร์ท่องเที่ยวไทยในครั้งนี้ จะนําทุกข้อเสนอไปพิจารณา และจะลงมือทําในสิ่งที่ทําได้ทันที เพื่อให้เครื่องยนต์เศรษฐกิจสําคัญนี้ เป็นกําลังหลักให้ประเทศไทยต่อไป ในการนี้นายกรัฐมนตรีได้ร่วมรับฟังสถานการณ์ด้านการท่องเที่ยวภายหลังรัฐบาลทยอยผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 การผ่อนปรนข้อกําหนดการเดินทางเข้าราชอาณาจักร รวมถึงรับฟังแนวคิดและเป้าหมายการจัดสัมมนา Thailand Tourism Congress 2022 จาก ททท. และภาคเอกชน ที่ต้องการให้งานในครั้งนี้เป็นการแลกเปลี่ยนระดมสมองของภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวทั้งรัฐ เอกชน เพื่อให้ได้ข้อสรุปองค์ความรู้ในการไปพัฒนาการท่องเที่ยวของประเทศไทยเป็นจุดหมายของการท่องเที่ยวสําคัญของโลกอย่างยั่งยืนและสมดุล โดยมีเครือข่ายของภาครัฐและเอกชนร่วมกันขับเคลื่อน
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกฯ เป็นประธานเปิดการสัมมนา Thailand Tourism Congress 2022 ขอบคุณชาวภูเก็ตและหน่วยงานเกี่ยวข้องร่วมขับเคลื่อน Phuket Sandbox จนเป็นต้นแบบฟื้นฟูการท่องเที่ยวประเทศ วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน 2565 นายกฯ เป็นประธานเปิดการสัมมนา Thailand Tourism Congress 2022 ขอบคุณชาวภูเก็ตและหน่วยงานเกี่ยวข้องร่วมขับเคลื่อน Phuket Sandbox จนเป็นต้นแบบฟื้นฟูการท่องเที่ยวประเทศ นายกฯ เป็นประธานเปิดการสัมมนา Thailand Tourism Congress 2022 ขอบคุณชาวภูเก็ตและหน่วยงานเกี่ยวข้องร่วมขับเคลื่อน Phuket Sandbox จนเป็นต้นแบบฟื้นฟูการท่องเที่ยวประเทศและเป็นแบบอย่างให้หลายประเทศ พร้อมฝากกลยุทธ์รอยยิ้ม “SMILES” ให้ภาคการท่องเที่ยว น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า วันนี้ (6 มิ.ย. 2565) เวลาประมาณ 15.30 น. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม เป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนากําหนดยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวประเทศไทย (Thailand Tourism Congress 2022) ณ โรงแรมบียอนด์ รีสอร์ท กะตะจ.ภูเก็ต โดยมีนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา นายสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน นางกนกวรรณ วิลาวัลย์ รมช.ศึกษาธิการ นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) พร้อมคณะผู้บริหาร ททท. เข้าร่วม และมีนายณรงค์ วุ่นซิ่ว ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต และภาคธุรกิจโรงแรมและการท่องเที่ยว จ.ภูเก็ต ให้การต้อนรับ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวในปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ยุทธศาสตร์การยกระดับการท่องเที่ยวไทย สู่การท่องเที่ยวคุณภาพที่ยั่งยืน” ขอบคุณชาวจังหวัดภูเก็ตและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่รวมกันผลักดัน Phuket Sandbox จนกลายเป็นแบบอย่างให้ของหลายประเทศ มีการร่วมมือระหว่างหน่วยงานรัฐและเอกชนในการผ่านความยากลําบากตลอดเวลา 2 ปีที่ผ่านมา โดยนายกรัฐมนตรีแสดงความเชื่อมั่นว่าการท่องเที่ยวไทยกําลังเริ่มต้นกลับมาอีกครั้ง จากจํานวนตัวเลขนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าประเทศเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆและสามารถกลับคืนสู่ภาวะปกติได้ด้วยการปรับปรุงเงื่อนไขการเดินทางเข้าประเทศ ตลอดจนมาตรการต่าง ๆ ที่จะทําให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันกับประเทศต่าง ๆ ได้ อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมท่องเที่ยวจะต้องมีรูปแบบที่เปลี่ยนไป โดยต้องเป็นเครื่องมือในการกระจายรายได้ ให้ประชาชน ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยรัฐบาลสนับสนุนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ ให้ความสนใจกับมิติคุณภาพของนักท่องเที่ยว มากกว่าปริมาณนักท่องเที่ยว ส่งเสริมการท่องเที่ยวที่รับผิดชอบต่อคุณค่าสิ่งแวดล้อม ต่อคุณค่าวัฒนธรรม และต่อคุณค่าความเป็นไทย แต่การสร้างการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพนี้ไม่ใช่หน้าที่ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่ต้องร่วมกันทั้งรัฐบาลกับผู้ที่อยู่ในภาคการท่องเที่ยวทุกคน นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า อนาคตการท่องเที่ยวโลกจะเผชิญกับภาวะที่เรียกว่า VUCA World คือโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอยู่บนความแน่นอน และเต็มไปด้วยความท้าทายทุกรูปแบบ การจะรับมือกับ VUCA World ทุกฝ่ายต้องร่วมกันกําหนดยุทธศาสตร์ที่มีความยืดหยุ่น และปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่มีความเปราะบาง และอ่อนไหวมาก ซึ่งขณะนี้ภาคการท่องเที่ยวของไทยก็มีความร่วมมือได้อย่างน่าชื่นชม อย่างไรก็ตาม ประเด็นขอฝากให้ธุรกิจการท่องเที่ยวนําไปประกอบการกําหนดยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวร่วมกันคือ แนวโน้มของกลุ่มประเทศลูกค้าหลักของการท่องเที่ยวไทยที่หลายประเทศให้ความสนใจคือ เรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องสังคม โดยเฉพาะ เรื่องความเหลื่อมล้ํา และเรื่องธรรมมาภิบาล ทั้งของภาครัฐและเอกชน รวมถึงการให้ความสําคัญกับการใช้โลกของดิจิทัลเข้ามาขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยเฉพาะเรื่อง Metaverse กับการท่องเที่ยว นอกจากนี้ รัฐบาลขอมอบยุทธศาสตร์แห่งรอยยิ้ม (SMILES) ให้ภาคการท่องเที่ยวได้นําไปเป็นกรอบในการระดมสมองในโครงการสัมมนา Thailand Tourism Congress 2022 ได้แก่ S – Sustainability ให้ความสําคัญกับความยั่งยืน ทั้งเรื่องการใช้พลังงาน Carbon Footprint ไปจนถึง Food Waste , M – Manpower ให้ความสําคัญกับทรัพยากรมนุษย์ทางด้านการท่องเที่ยว ที่มีทักษะในระดับนานาชาติ แต่รักษาเอกลักษณ์ความเป็นไทยได้อย่างมีเสน่ห์ I – Inclusive Economy ให้ความสําคัญกับเศรษฐกิจแบบมีส่วนร่วม ให้ความสําคัญกับคนทุกเพศ ทุกวัย เด็ก คนชรา ออกแบบสถานที่การท่องเที่ยวให้ตอบสนองทุกกลุ่มคน และสร้างโอกาสในการทํางานด้านการท่องเที่ยวให้กับผู้ด้อยโอกาส, L – Localization ให้ความสําคัญกับอัตลักษณ์ท้องถิ่นในแต่ละพื้นที่ ชูจุดเด่นที่แตกต่างกัน และนํามาร้อยเรียงกันให้สนับสนุนกัน รัฐบาลอยากเห็น การเชื่อมโยงของภูมิภาค ที่สามารถนํากลุ่มจังหวัดไปประสานและสอดรับกันได้ E – Ecosystems ให้ความสําคัญกับระบบนิเวศทางการท่องเที่ยว ทั้งเรื่องระบบนิเวศธรรมชาติ และระบบนิเวศทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว รวมถึงการลดเงื่อนไข ทอนขั้นตอนทางด้านกฎหมาย เพื่อให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวมีภูมิต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงได้ และ S – Social Innovation ให้ความสําคัญกับนวัตกรรมด้านสังคม ที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวมีความสอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนไป จากปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ รวมถึงให้ความสําคัญกับ ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวให้กําลังใจกับทุก ๆ ฝ่ายที่อยู่ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ในการจะร่วมกันแก้ปัญหาที่ค้างคามานาน ตั้งแต่เรื่องพระราชบัญญัติโรงแรมที่กําลังปรับปรุงให้สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนไป รวมถึงการจะให้ภูเก็ตเป็นพื้นที่นําร่อง ในรูปแบบ sandbox ในหลายมิติสําคัญ เช่น การปรับปรุงกฎหมายบางฉบับที่สนับสนุนการท่องเที่ยว ซึ่งเรื่องนี้คณะที่ปรึกษาด้านผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม ใน ศบค. ได้ให้ความสนใจและประสานงานกับทางจังหวัดภูเก็ตอย่างต่อเนื่องและใกล้ชิด พร้อมกับขอให้ร่วมกันระดมความคิดในการกําหนดยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทย เพราะนี่จะเป็นโอกาสสําคัญของคนท่องเที่ยวทั่วประเทศไทยที่จะได้กําหนดอนาคตท่องเที่ยวไทย ด้วยคนท่องเที่ยวเอง โดยรัฐบาลจะรอรับบทสรุปจากการระดมสมองกําหนดยุทธศาสตร์ท่องเที่ยวไทยในครั้งนี้ จะนําทุกข้อเสนอไปพิจารณา และจะลงมือทําในสิ่งที่ทําได้ทันที เพื่อให้เครื่องยนต์เศรษฐกิจสําคัญนี้ เป็นกําลังหลักให้ประเทศไทยต่อไป ในการนี้นายกรัฐมนตรีได้ร่วมรับฟังสถานการณ์ด้านการท่องเที่ยวภายหลังรัฐบาลทยอยผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 การผ่อนปรนข้อกําหนดการเดินทางเข้าราชอาณาจักร รวมถึงรับฟังแนวคิดและเป้าหมายการจัดสัมมนา Thailand Tourism Congress 2022 จาก ททท. และภาคเอกชน ที่ต้องการให้งานในครั้งนี้เป็นการแลกเปลี่ยนระดมสมองของภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวทั้งรัฐ เอกชน เพื่อให้ได้ข้อสรุปองค์ความรู้ในการไปพัฒนาการท่องเที่ยวของประเทศไทยเป็นจุดหมายของการท่องเที่ยวสําคัญของโลกอย่างยั่งยืนและสมดุล โดยมีเครือข่ายของภาครัฐและเอกชนร่วมกันขับเคลื่อน
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/55435
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-การรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเดินขบวนรถจักรไอน้ำประวัติศาสตร์ เส้นทางกรุงเทพ - อยุธยา - กรุงเทพ เนื่องในวันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2564
วันอาทิตย์ที่ 5 ธันวาคม 2564 การรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเดินขบวนรถจักรไอน้ําประวัติศาสตร์ เส้นทางกรุงเทพ - อยุธยา - กรุงเทพ เนื่องในวันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2564 นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นประธานในพิธีปล่อยขบวนรถจักรไอน้ําประวัติศาสตร์ เส้นทาง กรุงเทพ - อยุธยา - กรุงเทพ เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร 5 ธันวาคม 2564 เมื่อเวลา 08.00 น. วันที่ 5 ธันวาคม 2564 สถานีกรุงเทพ (หัวลําโพง) นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นประธานในพิธีปล่อยขบวนรถจักรไอน้ําประวัติศาสตร์ เส้นทาง กรุงเทพ - อยุธยา - กรุงเทพ เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร 5 ธันวาคม 2564 โดยมีผู้บริหารการรถไฟฯ เจ้าหน้าที่ ประชาชน พร้อมสื่อมวลชนเข้าร่วมในพิธี นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ ผู้อํานวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า เนื่องในวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี รัฐบาลประกาศให้เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ ในโอกาสนี้ การรถไฟฯ ได้จัดกิจกรรมเพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดี นําขบวนรถจักรไอน้ําประวัติศาสตร์แบบแปซิฟิค หมายเลข 824 และ 850 รุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มาจัดเดินขบวนรถพิเศษนําเที่ยวเส้นทางกรุงเทพถึงอยุธยา ให้บริการแก่ประชาชน และนักท่องเที่ยว เพื่อให้มีส่วนร่วมน้อมรําลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่มีต่อปวงชนชาวไทย ทั้งนี้ การจัดเดินขบวนรถจักรไอน้ําขบวนประวัติศาสตร์ เส้นทางกรุงเทพ - อยุธยา ครั้งนี้ รฟท. ได้จัดให้บริการ 2 รูปแบบ ➡️ ขบวนรถไฟชั้น 3 ธรรมดา อัตราค่าโดยสารไป - กลับ ผู้ใหญ่/เด็ก คนละ 299 บาท บริการอาหารว่าง น้ําดื่มบนขบวนรถ ทั้งเที่ยวไป - กลับ พร้อมกิจกรรมบนขบวนรถไฟ) เดินทางท่องเที่ยวเองภายในเกาะเมืองอยุธยา สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และวัดสําคัญๆ รอบเมืองกรุงเก่า เพลิดเพลินกับการซื้อสินค้าในแหล่งท่องเที่ยวสําคัญ ➡️ แบบแพคเกจด้วยตู้รถไฟ OTOP TRAIN อัตราค่าโดยสารไป - กลับ ผู้ใหญ่/เด็ก คนละ 2,999 บาท บริการอาหารว่าง น้ําดื่มบนขบวนรถ ทั้งทั้งไป - กลับ นําท่านล่องเรือชมความงามรอบเกาะอยุธยา รื่นรมย์กับบรรยากาศสองฟากฝั่งแม่น้ําป่าสัก เชื่อมต่อกับแม่น้ําเจ้าพระยา ผ่านสักการะวัดสําคัญ ๆ รอบเมืองกรุงเก่า เช่น วัดพุทไธสวรรค์ โบสถ์คริสต์ เซนต์ยอเซฟ วัดไชยวัฒนาราม พร้อมบริการอาหารกลางวันบนเรือเจ้าพระยามารวย เที่ยวชมสถานที่สําคัญๆ ด้วยรถปรับอากาศ ปิดท้ายด้วยการร่วมถวายสังฆทาน ณ พระอุโบสถวัดหน้าพระเมรุ พร้อมให้บริการโดยมัคคุเทศก์ ทีมงานดูแลตลอดการเดินทาง และมีประกันอุบัติเหตุการเดินทางให้ สําหรับขบวนรถจักรไอน้ําประวัติศาสตร์ ออกเดินทางจากสถานีกรุงเทพเวลา 08:10 น. ถึงสถานีอยุธยาเวลา 10:25 น. ขบวนจะหยุดรับ - ส่งผู้โดยสาร ที่สถานีสามเสน บางซื่อ บางเขน หลักสี่ ดอนเมือง รังสิต นักท่องเที่ยวสามารถขึ้นหรือลงตามสถานีดังกล่าวข้างต้นได้ และนักท่องเที่ยวสามารถเที่ยวชมเมืองอยุธยาได้ตามอัธยาศัยประมาณ 6 ชั่วโมง จากนั้นรถจักรไอน้ําจะออกจากสถานีอยุธยาเวลา 16:40 น. และถึงสถานีกรุงเทพเวลา 18: 55 น. นายเอกรัชกล่าวว่า รฟท. ได้จัดเดินขบวนรถพิเศษนําเที่ยวสายประวัติศาสตร์ ขบวนรถจักรไอน้ําแบบแปซิฟิค หมายเลข 824 และ 850 รุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มาใช้ลากจูงขบวนในโอกาสพิเศษและในวันสําคัญ โดยจะนําออกมาให้บริการประชาชน 6 ครั้ง ประกอบด้วย 1. วันที่ 23 ตุลาคม 2564 วันปิยมหาราช 2. วันที่ 5 ธันวาคม 2564 วันพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช บรมนาถบพิตร เส้นทางกรุงเทพ - อยุธยา - กรุงเทพ 3. วันที่ 26 มีนาคม 2565 วันสถาปนากิจการรถไฟ 4. วันที่ 3 มิถุนายน 2565 วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี 5. วันที่ 28 กรกฎาคม 2565 วันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร 6. วันที่ 12 สิงหาคม 2565 วันแม่แห่งชาติ Facebook ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย (red arrow right)https://www.facebook.com/129946050353608/posts/5246943061987189/?d=n Twitter SRT OFFICIAL @PR_SRT (red arrow right) https://twitter.com/pr_srt/status/1467311781735321601?s=21 INSTAGRAM SRT OFFICIAL (red arrow right)https://www.instagram.com/p/CXFW9Gph3ce/?utm_medium=copy_link
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-การรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเดินขบวนรถจักรไอน้ำประวัติศาสตร์ เส้นทางกรุงเทพ - อยุธยา - กรุงเทพ เนื่องในวันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2564 วันอาทิตย์ที่ 5 ธันวาคม 2564 การรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเดินขบวนรถจักรไอน้ําประวัติศาสตร์ เส้นทางกรุงเทพ - อยุธยา - กรุงเทพ เนื่องในวันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2564 นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นประธานในพิธีปล่อยขบวนรถจักรไอน้ําประวัติศาสตร์ เส้นทาง กรุงเทพ - อยุธยา - กรุงเทพ เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร 5 ธันวาคม 2564 เมื่อเวลา 08.00 น. วันที่ 5 ธันวาคม 2564 สถานีกรุงเทพ (หัวลําโพง) นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นประธานในพิธีปล่อยขบวนรถจักรไอน้ําประวัติศาสตร์ เส้นทาง กรุงเทพ - อยุธยา - กรุงเทพ เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร 5 ธันวาคม 2564 โดยมีผู้บริหารการรถไฟฯ เจ้าหน้าที่ ประชาชน พร้อมสื่อมวลชนเข้าร่วมในพิธี นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ ผู้อํานวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า เนื่องในวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี รัฐบาลประกาศให้เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ ในโอกาสนี้ การรถไฟฯ ได้จัดกิจกรรมเพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดี นําขบวนรถจักรไอน้ําประวัติศาสตร์แบบแปซิฟิค หมายเลข 824 และ 850 รุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มาจัดเดินขบวนรถพิเศษนําเที่ยวเส้นทางกรุงเทพถึงอยุธยา ให้บริการแก่ประชาชน และนักท่องเที่ยว เพื่อให้มีส่วนร่วมน้อมรําลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่มีต่อปวงชนชาวไทย ทั้งนี้ การจัดเดินขบวนรถจักรไอน้ําขบวนประวัติศาสตร์ เส้นทางกรุงเทพ - อยุธยา ครั้งนี้ รฟท. ได้จัดให้บริการ 2 รูปแบบ ➡️ ขบวนรถไฟชั้น 3 ธรรมดา อัตราค่าโดยสารไป - กลับ ผู้ใหญ่/เด็ก คนละ 299 บาท บริการอาหารว่าง น้ําดื่มบนขบวนรถ ทั้งเที่ยวไป - กลับ พร้อมกิจกรรมบนขบวนรถไฟ) เดินทางท่องเที่ยวเองภายในเกาะเมืองอยุธยา สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และวัดสําคัญๆ รอบเมืองกรุงเก่า เพลิดเพลินกับการซื้อสินค้าในแหล่งท่องเที่ยวสําคัญ ➡️ แบบแพคเกจด้วยตู้รถไฟ OTOP TRAIN อัตราค่าโดยสารไป - กลับ ผู้ใหญ่/เด็ก คนละ 2,999 บาท บริการอาหารว่าง น้ําดื่มบนขบวนรถ ทั้งทั้งไป - กลับ นําท่านล่องเรือชมความงามรอบเกาะอยุธยา รื่นรมย์กับบรรยากาศสองฟากฝั่งแม่น้ําป่าสัก เชื่อมต่อกับแม่น้ําเจ้าพระยา ผ่านสักการะวัดสําคัญ ๆ รอบเมืองกรุงเก่า เช่น วัดพุทไธสวรรค์ โบสถ์คริสต์ เซนต์ยอเซฟ วัดไชยวัฒนาราม พร้อมบริการอาหารกลางวันบนเรือเจ้าพระยามารวย เที่ยวชมสถานที่สําคัญๆ ด้วยรถปรับอากาศ ปิดท้ายด้วยการร่วมถวายสังฆทาน ณ พระอุโบสถวัดหน้าพระเมรุ พร้อมให้บริการโดยมัคคุเทศก์ ทีมงานดูแลตลอดการเดินทาง และมีประกันอุบัติเหตุการเดินทางให้ สําหรับขบวนรถจักรไอน้ําประวัติศาสตร์ ออกเดินทางจากสถานีกรุงเทพเวลา 08:10 น. ถึงสถานีอยุธยาเวลา 10:25 น. ขบวนจะหยุดรับ - ส่งผู้โดยสาร ที่สถานีสามเสน บางซื่อ บางเขน หลักสี่ ดอนเมือง รังสิต นักท่องเที่ยวสามารถขึ้นหรือลงตามสถานีดังกล่าวข้างต้นได้ และนักท่องเที่ยวสามารถเที่ยวชมเมืองอยุธยาได้ตามอัธยาศัยประมาณ 6 ชั่วโมง จากนั้นรถจักรไอน้ําจะออกจากสถานีอยุธยาเวลา 16:40 น. และถึงสถานีกรุงเทพเวลา 18: 55 น. นายเอกรัชกล่าวว่า รฟท. ได้จัดเดินขบวนรถพิเศษนําเที่ยวสายประวัติศาสตร์ ขบวนรถจักรไอน้ําแบบแปซิฟิค หมายเลข 824 และ 850 รุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มาใช้ลากจูงขบวนในโอกาสพิเศษและในวันสําคัญ โดยจะนําออกมาให้บริการประชาชน 6 ครั้ง ประกอบด้วย 1. วันที่ 23 ตุลาคม 2564 วันปิยมหาราช 2. วันที่ 5 ธันวาคม 2564 วันพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช บรมนาถบพิตร เส้นทางกรุงเทพ - อยุธยา - กรุงเทพ 3. วันที่ 26 มีนาคม 2565 วันสถาปนากิจการรถไฟ 4. วันที่ 3 มิถุนายน 2565 วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี 5. วันที่ 28 กรกฎาคม 2565 วันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร 6. วันที่ 12 สิงหาคม 2565 วันแม่แห่งชาติ Facebook ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย (red arrow right)https://www.facebook.com/129946050353608/posts/5246943061987189/?d=n Twitter SRT OFFICIAL @PR_SRT (red arrow right) https://twitter.com/pr_srt/status/1467311781735321601?s=21 INSTAGRAM SRT OFFICIAL (red arrow right)https://www.instagram.com/p/CXFW9Gph3ce/?utm_medium=copy_link
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/49129
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมทางหลวงชนบท รายงานสถานการณ์สายทางที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในพื้นที่ 12 จังหวัด สัญจรผ่านได้ 19 สายทาง ไม่สามารถสัญจรผ่านได้ 28 สายทาง
วันอังคารที่ 5 ตุลาคม 2564 กรมทางหลวงชนบท รายงานสถานการณ์สายทางที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในพื้นที่ 12 จังหวัด สัญจรผ่านได้ 19 สายทาง ไม่สามารถสัญจรผ่านได้ 28 สายทาง กรมทางหลวงชนบท (ทช.) กระทรวงคมนาคม โดยสํานักบํารุงทาง รายงานถึงสถานการณ์อุทกภัยในขณะนี้ (5 ตุลาคม 2564 เวลา 12.00 น.) ว่ามีถนนทางหลวงชนบทที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ 12 จังหวัด รวม 47 สายทาง สามารถสัญจรผ่านได้ 19 สายทาง และไม่สามารถสัญจรผ่านได้ 28 สายทาง กรมทางหลวงชนบท (ทช.) กระทรวงคมนาคม โดยสํานักบํารุงทาง รายงานถึงสถานการณ์อุทกภัยในขณะนี้ (5 ตุลาคม 2564 เวลา 12.00 น.) ว่า มีถนนทางหลวงชนบทที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ 12 จังหวัด ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สระบุรี ลพบุรี สิงห์บุรี นครราชสีมา ชัยภูมิ ขอนแก่น นครสวรรค์ อุทัยธานี สุโขทัย และสระแก้ว รวม 47 สายทาง สามารถสัญจรผ่านได้ 19 สายทาง และไม่สามารถสัญจรผ่านได้ 28 สายทาง แบ่งเป็น - น้ําท่วมสูง 21 สายทาง (21 แห่ง) - ทางขาด โครงสร้างทางชํารุด กัดเซาะ 3 สายทาง (3 แห่ง) - สะพานขาด คอสะพานขาด ทรุดตัว 4 สายทาง (4 แห่ง) 1. สายทาง สท.4001 แยก ทล.1293 - บ้านหนองกระดิ่ง อําเภอกงไกรลาศ และคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย น้ําท่วมสูง 33 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 0+300 - 2+500) 2. สายทาง นว.4048 แยก ทล.3004 - บ้านเขาน้อย อําเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ คอสะพานทรุดตัว (ช่วง กม.ที่ 14+461) 3. สายทาง นว.2057 แยก ทล.11 - บ้านโคกเดื่อ อําเภอท่าจะโก จังหวัดนครสวรรค์ คอสะพานทรุดตัว (ช่วง กม. ที่ 13+000) 4. สายทาง นว.3102 แยก ทล.117 - บ้านเนิน อําเภอเก้าเลี้ยว และชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ น้ําท่วมสูง 50 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 8+300 - 11+100) 5. สายทาง นม.1015 แยก ทล.2 - บ้านหนองหัวฟาน อําเภอโนนสูง และขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา น้ําท่วมสูง 40 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 1+000 - 4+200) 6. สายทาง นม.6019 บ้านโนนสูง - บ้านโนนไทย อําเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา น้ําท่วมสูง 120 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 0+700 - 7+500) 7. สายทาง นม.4027 แยก ทล.2160 - บ้านโคก อําเภอคง และแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา น้ําท่วมสูง 100 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 36+500 - 36+935) 8. สายทาง นม.1046 แยก ทล.2 - บ้านสะแทด อําเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา น้ําท่วมสูง 70 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 0+800 - 1+550) 9. สายทาง นม.1063 แยก ทล.2 - บ้านบุหญ้าคา อําเภอคง โนนสูง จังหวัดนครราชสีมา น้ําท่วมสูง 80 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 0+000 - 0+200) 10. สายทาง ชย.3002 แยก ทล.201 - บ้านเขว้า อําเภอเมืองชัยภูมิ และบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ น้ําท่วมสูง 40 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 2+600 - 3+900) 11. สายทาง ชย.3003 แยก ทล.202 - แยก ทล.2065 อําเภอเมือง และคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ น้ําท่วมสูง 80 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 4+300 - 5+800) 12. สายทาง ชย.3010 แยก ทล.205 - อ่างเก็บน้ําลําคันฉู อําเภอบําเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ เส้นทางขาด (ช่วง กม. ที่ 2+600 - 2+800) 13. สายทาง ชย.4040 แยก ทล.2065 - แยก ทล.2233 อําเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ น้ําท่วมสูง 40 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 3+500 - 5+350) 14. สายทาง ชย.5041 แยกทางหลวงชนบท ชย.3003 - แยก ทล.202 อําเภอคอนสวรรค์ และแก้งสนามนาง จังหวัดชัยภูมิ น้ําท่วมสูง 70 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 1+600 - 3+800) 15. สายทาง ขก.1011 แยก ทล.2 - บ้านพระยืน อําเภอเมือง และพระยืน จังหวัดขอนแก่น น้ําท่วมสูง 60 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 2+000 - 3+800) 16. สายทาง ขก.3037 แยก ทล.229 - บ้านสําราญ อําเภอโคกโพธิ์ไชย จังหวัดขอนแก่น น้ําท่วมสูง 150 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 3+300 - 4+300) 17. สายทาง ขก.1039 แยก ทล.2 ข บ้านหนองไห อําเภอบ้านแฮด และมัจฉาคีรี จังหวัดขอนแก่น น้ําท่วมสูง 40 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 10+200 - 14+250) 18. สายทาง ขก.3054 แยก ทล.229 - บ้านโพธิ์ไชย อําเภอมัจฉาคีรี และโคกโพธิ์ไชย จังหวัดขอนแก่น น้ําท่วมสูง 150 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 5+900 - 16+600) 19. สายทาง ขก.3029 แยก ทล.229 - บ้านโนนสะอาด อําเภอชนบท และแวงใหญ่ จังหวัดขอนแก่น น้ําท่วมสูง 60 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 0+200 - 30+000) 20. สายทาง อท.2034 แยก ทล. 32 - บ้านมหานาม อําเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง ท่วมสูง 35 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 5+000 - 7+300) 21. สายทาง สห.2006 แยก ทล.32 แยก ทล.311 อําเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี น้ําท่วมสูง 60 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 1+429 - 1+800) 22. สายทาง ลบ.1030 แยก ทล.1 - บ้านถลุงเหล็ก อําเภอโคกสําโรง จังหวัดลพบุรี เส้นทางขาด (ช่วง กม. ที่ 9+800 - 12+463) 23. สายทาง ลบ.5129 เลียบเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ฝั่งซ้าย (ตอนลพบุรี) อําเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี น้ําท่วมสูง 90 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 0+000 - 6+000) 24. สายทาง ลบ.5183 แยกทางหลวงชนบท ลบ.4056 - บ้านเขาราบ อําเภอโคกเจริญ จังหวัดลพบุรี คอสะพานทรุดตัว (ช่วง กม. ที่ 0+000 - 1+135) 25. สายทาง สบ.3004 แยก ทล.362 - บ้านหาดสองแคว อําเภอเมือง จังหวัดสระบุรี คอสะพานทรุดตัว (ช่วง กม. ที่ 1+900) 26. สายทาง สบ.4016 แยก ทล.3224 - บ้านแสลงพัน อําเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี น้ําท่วมสูง 50 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 7+000 - 7+150) 27. สายทาง สบ.4020 แยก ทล.3017 - บ้านดงมะเกลือ อําเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี น้ําท่วมสูง 50 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 6+200 - 6+450) 28. สายทาง สก.3007 แยก ทล.348 - บ้านเขาน้อยพรมสุวรรณ อําเภอโคกสูง และวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว เส้นทางขาด (ช่วง กม. ที่ 11+450 - 11+650) ทั้งนี้ สํานักงานทางหลวงชนบทและแขวงทางหลวงชนบทในพื้นที่ประสบภัย ได้ติดตั้งป้ายเตือนห้ามผ่านทาง และจัดเจ้าหน้าที่ช่วยเหลืออํานวยความสะดวก บรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ดําเนินการติดตั้งสะพานเบลีย์ให้ประชาชนสามารถสัญจรได้ชั่วคราว พร้อมเร่งดําเนินการวางแผนเพื่อฟื้นฟูเส้นทางที่ได้รับผลกระทบต่อไป ตามนโยบายของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม โดย ทช. จะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและรายงานให้ทราบเป็นระยะ ๆ ประชาชนสามารถแจ้งเหตุอุทกภัยหรือสอบถามเส้นทางได้ที่สายด่วนกรมทางหลวงชนบท โทร.1146
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมทางหลวงชนบท รายงานสถานการณ์สายทางที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในพื้นที่ 12 จังหวัด สัญจรผ่านได้ 19 สายทาง ไม่สามารถสัญจรผ่านได้ 28 สายทาง วันอังคารที่ 5 ตุลาคม 2564 กรมทางหลวงชนบท รายงานสถานการณ์สายทางที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในพื้นที่ 12 จังหวัด สัญจรผ่านได้ 19 สายทาง ไม่สามารถสัญจรผ่านได้ 28 สายทาง กรมทางหลวงชนบท (ทช.) กระทรวงคมนาคม โดยสํานักบํารุงทาง รายงานถึงสถานการณ์อุทกภัยในขณะนี้ (5 ตุลาคม 2564 เวลา 12.00 น.) ว่ามีถนนทางหลวงชนบทที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ 12 จังหวัด รวม 47 สายทาง สามารถสัญจรผ่านได้ 19 สายทาง และไม่สามารถสัญจรผ่านได้ 28 สายทาง กรมทางหลวงชนบท (ทช.) กระทรวงคมนาคม โดยสํานักบํารุงทาง รายงานถึงสถานการณ์อุทกภัยในขณะนี้ (5 ตุลาคม 2564 เวลา 12.00 น.) ว่า มีถนนทางหลวงชนบทที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ 12 จังหวัด ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สระบุรี ลพบุรี สิงห์บุรี นครราชสีมา ชัยภูมิ ขอนแก่น นครสวรรค์ อุทัยธานี สุโขทัย และสระแก้ว รวม 47 สายทาง สามารถสัญจรผ่านได้ 19 สายทาง และไม่สามารถสัญจรผ่านได้ 28 สายทาง แบ่งเป็น - น้ําท่วมสูง 21 สายทาง (21 แห่ง) - ทางขาด โครงสร้างทางชํารุด กัดเซาะ 3 สายทาง (3 แห่ง) - สะพานขาด คอสะพานขาด ทรุดตัว 4 สายทาง (4 แห่ง) 1. สายทาง สท.4001 แยก ทล.1293 - บ้านหนองกระดิ่ง อําเภอกงไกรลาศ และคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย น้ําท่วมสูง 33 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 0+300 - 2+500) 2. สายทาง นว.4048 แยก ทล.3004 - บ้านเขาน้อย อําเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ คอสะพานทรุดตัว (ช่วง กม.ที่ 14+461) 3. สายทาง นว.2057 แยก ทล.11 - บ้านโคกเดื่อ อําเภอท่าจะโก จังหวัดนครสวรรค์ คอสะพานทรุดตัว (ช่วง กม. ที่ 13+000) 4. สายทาง นว.3102 แยก ทล.117 - บ้านเนิน อําเภอเก้าเลี้ยว และชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ น้ําท่วมสูง 50 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 8+300 - 11+100) 5. สายทาง นม.1015 แยก ทล.2 - บ้านหนองหัวฟาน อําเภอโนนสูง และขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา น้ําท่วมสูง 40 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 1+000 - 4+200) 6. สายทาง นม.6019 บ้านโนนสูง - บ้านโนนไทย อําเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา น้ําท่วมสูง 120 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 0+700 - 7+500) 7. สายทาง นม.4027 แยก ทล.2160 - บ้านโคก อําเภอคง และแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา น้ําท่วมสูง 100 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 36+500 - 36+935) 8. สายทาง นม.1046 แยก ทล.2 - บ้านสะแทด อําเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา น้ําท่วมสูง 70 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 0+800 - 1+550) 9. สายทาง นม.1063 แยก ทล.2 - บ้านบุหญ้าคา อําเภอคง โนนสูง จังหวัดนครราชสีมา น้ําท่วมสูง 80 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 0+000 - 0+200) 10. สายทาง ชย.3002 แยก ทล.201 - บ้านเขว้า อําเภอเมืองชัยภูมิ และบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ น้ําท่วมสูง 40 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 2+600 - 3+900) 11. สายทาง ชย.3003 แยก ทล.202 - แยก ทล.2065 อําเภอเมือง และคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ น้ําท่วมสูง 80 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 4+300 - 5+800) 12. สายทาง ชย.3010 แยก ทล.205 - อ่างเก็บน้ําลําคันฉู อําเภอบําเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ เส้นทางขาด (ช่วง กม. ที่ 2+600 - 2+800) 13. สายทาง ชย.4040 แยก ทล.2065 - แยก ทล.2233 อําเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ น้ําท่วมสูง 40 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 3+500 - 5+350) 14. สายทาง ชย.5041 แยกทางหลวงชนบท ชย.3003 - แยก ทล.202 อําเภอคอนสวรรค์ และแก้งสนามนาง จังหวัดชัยภูมิ น้ําท่วมสูง 70 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 1+600 - 3+800) 15. สายทาง ขก.1011 แยก ทล.2 - บ้านพระยืน อําเภอเมือง และพระยืน จังหวัดขอนแก่น น้ําท่วมสูง 60 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 2+000 - 3+800) 16. สายทาง ขก.3037 แยก ทล.229 - บ้านสําราญ อําเภอโคกโพธิ์ไชย จังหวัดขอนแก่น น้ําท่วมสูง 150 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 3+300 - 4+300) 17. สายทาง ขก.1039 แยก ทล.2 ข บ้านหนองไห อําเภอบ้านแฮด และมัจฉาคีรี จังหวัดขอนแก่น น้ําท่วมสูง 40 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 10+200 - 14+250) 18. สายทาง ขก.3054 แยก ทล.229 - บ้านโพธิ์ไชย อําเภอมัจฉาคีรี และโคกโพธิ์ไชย จังหวัดขอนแก่น น้ําท่วมสูง 150 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 5+900 - 16+600) 19. สายทาง ขก.3029 แยก ทล.229 - บ้านโนนสะอาด อําเภอชนบท และแวงใหญ่ จังหวัดขอนแก่น น้ําท่วมสูง 60 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 0+200 - 30+000) 20. สายทาง อท.2034 แยก ทล. 32 - บ้านมหานาม อําเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง ท่วมสูง 35 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 5+000 - 7+300) 21. สายทาง สห.2006 แยก ทล.32 แยก ทล.311 อําเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี น้ําท่วมสูง 60 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 1+429 - 1+800) 22. สายทาง ลบ.1030 แยก ทล.1 - บ้านถลุงเหล็ก อําเภอโคกสําโรง จังหวัดลพบุรี เส้นทางขาด (ช่วง กม. ที่ 9+800 - 12+463) 23. สายทาง ลบ.5129 เลียบเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ฝั่งซ้าย (ตอนลพบุรี) อําเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี น้ําท่วมสูง 90 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 0+000 - 6+000) 24. สายทาง ลบ.5183 แยกทางหลวงชนบท ลบ.4056 - บ้านเขาราบ อําเภอโคกเจริญ จังหวัดลพบุรี คอสะพานทรุดตัว (ช่วง กม. ที่ 0+000 - 1+135) 25. สายทาง สบ.3004 แยก ทล.362 - บ้านหาดสองแคว อําเภอเมือง จังหวัดสระบุรี คอสะพานทรุดตัว (ช่วง กม. ที่ 1+900) 26. สายทาง สบ.4016 แยก ทล.3224 - บ้านแสลงพัน อําเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี น้ําท่วมสูง 50 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 7+000 - 7+150) 27. สายทาง สบ.4020 แยก ทล.3017 - บ้านดงมะเกลือ อําเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี น้ําท่วมสูง 50 เซนติเมตร (ช่วง กม. ที่ 6+200 - 6+450) 28. สายทาง สก.3007 แยก ทล.348 - บ้านเขาน้อยพรมสุวรรณ อําเภอโคกสูง และวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว เส้นทางขาด (ช่วง กม. ที่ 11+450 - 11+650) ทั้งนี้ สํานักงานทางหลวงชนบทและแขวงทางหลวงชนบทในพื้นที่ประสบภัย ได้ติดตั้งป้ายเตือนห้ามผ่านทาง และจัดเจ้าหน้าที่ช่วยเหลืออํานวยความสะดวก บรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ดําเนินการติดตั้งสะพานเบลีย์ให้ประชาชนสามารถสัญจรได้ชั่วคราว พร้อมเร่งดําเนินการวางแผนเพื่อฟื้นฟูเส้นทางที่ได้รับผลกระทบต่อไป ตามนโยบายของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม โดย ทช. จะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและรายงานให้ทราบเป็นระยะ ๆ ประชาชนสามารถแจ้งเหตุอุทกภัยหรือสอบถามเส้นทางได้ที่สายด่วนกรมทางหลวงชนบท โทร.1146
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/46570
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สมัชชาอนามัยโลกสมัยพิเศษเริ่มแล้วภายใต้มาตรการเข้มงวด รองนายกฯ อนุทิน นำคณะร่วม ณ ห้องประชุมใหญ่องค์การอนามัยโลก ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส สานต่อนโยบายนายกรัฐมนตรี
วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน 2564 สมัชชาอนามัยโลกสมัยพิเศษเริ่มแล้วภายใต้มาตรการเข้มงวด รองนายกฯ อนุทิน นําคณะร่วม ณ ห้องประชุมใหญ่องค์การอนามัยโลก ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส สานต่อนโยบายนายกรัฐมนตรี สมัชชาอนามัยโลกสมัยพิเศษเริ่มแล้ว รองนายกฯ อนุทิน นําคณะร่วม ณ ห้องประชุมใหญ่องค์การอนามัยโลก ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส สานต่อนโยบายนายกรัฐมนตรี แสดงความมุ่งมั่นของประเทศไทยในการร่วมมือกับทั่วโลกสร้างกลไกและเครื่องมือตอบโต้โควิด-19และโรคอุบัติใหม่ น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า วันนี้ (29 พ.ย.64 ) เวลา 10.00 น. ตามเวลา นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส(ช้ากว่าประเทศไทย 6 ชม.) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข นําคณะผู้แทนประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วย ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค ที่ปรึกษาด้านต่างประเทศ กองการต่างประเทศ สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ เข้าร่วมการประชุมสมัชชาอนามัยโลก สมัยพิเศษ ณ สํานักงานใหญ่องค์การอนามัยโลก(WHO) นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ทั้งนี้ WHO ได้ตัดสินใจเดินหน้าการจัดประชุมตามที่กําหนดระหว่างวันที่ 29 พ.ย-1ธ.ค.64 แม้จะมีกรณีการพบการระบาดของโรคโควิด-19 สายพันธ์ุโอไมคอนในแอฟริกาใต้ เนื่องจากเห็นว่าการประชุมนี้มีขึ้นเพื่อเริ่มต้นพิจารณาการจัดทํากฏหมายระหว่างประเทศเพื่อสร้างพันธสัญญาระหว่างประชาคมโลก ในการร่วมกันป้องกัน ตรวจจับและตอบโต้โรคระบาดระดับโลก ไม่จํากัดเฉพาะ โควิด-19 ซึ่งระหว่างการประชุมผู้จัดประชุมดําเนินมาตรการคัดกรองที่เข้มงวด น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า การเปิดประชุมสมัชชาอนามัยโลก สมัยพิเศษ ครั้งนี้ สืบเนื่องจากการประชุมสมัชชาอนามัยโลก สมัยที่ 74 เมื่อเดือนพ.ค. 64 ที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ได้เข้าร่วม มีสมาชิก WHO รวม 25 ประเทศ ที่เรียกว่า “Group of Friends of the Treaty” ซึ่งรวมถึงประเทศไทย เสนอให้มีการจัดการประชุมสมัชชาอนามัยโลก สมัยพิเศษ เพื่อพิจารณาการจัดทําสนธิสัญญา (Treaty) หรืออนุสัญญา (Convention) หรือข้อตกลง (agreement) หรือ ตราสารระหว่างประเทศประเภทอื่น (international instrument) ว่าด้วยการเตรียมพร้อมและตอบสนองต่อการระบาดใหญ่ ซึ่งเป็นความตกลงระหว่างประเทศที่อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ และให้มีการจัดตั้งกระบวนการเพื่อร่างและหารือเครื่องมือดังกล่าว ทั้งนี้ เนื่องจากการเตรียมพร้อมและตอบสนองต่อการระบาดใหญ่นั้นเกินขอบเขตของกฎอนามัยระหว่างประเทศ (International Health Regulation, IHR 2005) ที่ประเทศต่างๆทั่วโลกใช้อยู่ในปัจจุบัน จึงจําเป็นต้องมีการจัดทําข้อตกลงระหว่างประเทศขึ้นใหม่ ที่มีสาระสําคัญกว้างขวางมากกว่าเดิม เพื่อให้ประเทศต่างๆทั่วโลกสามารถรับมือกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาไวรัส2019 (โควิด-19) หรือโรคอุบัติใหม่ในอนาคต ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะประเด็นของความเท่าเทียมในการเข้าถึงบริการสุขภาพ รวมถึงศักยภาพในการผลิตยา และเวชภัณฑ์ในภาวะฉุกเฉิน การคลังด้านสุขภาพที่เพียงพอต่อการให้บริการต่างๆ ศักยภาพของระบบสาธารณสุขในการรับมือต่อการระบาดใหญ่ การปฏิบัติตาม IHR (2005) การแลกเปลี่ยนตัวอย่างเชื้อและข้อมูลต่างๆ ผ่านเครือข่าย การสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า ผลลัพธ์จากการประชุมที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 29 พ.ย.-1 ธ.ค. จะเป็นข้อตัดสินใจ(Decision) ว่าด้วยการจัดตั้งกลไกการหารือและต่อรองระหว่างประเทศสมาชิก หรือที่เรียกว่า Intergovernmental Negotiating Body (INB) ให้เป็นกลไกการหารือระหว่างประเทศสมาชิก ในการกําหนดการจัดทําข้อผูกพันต่างๆ ข้อกําหนดการทํางาน ตลอดจนระยะเวลาการทํางานของ INB โดยมีเป้าหมายว่าจะสามารถนําเสนอผลการทํางานของ INB ต่อที่ประชุมสมัชชาสุขภาพ สมัยที่ 76 ในปี 2566 ซึ่งจะเป็นการยกระดับกฎเกณฑ์สําหรับการตอบสนองต่อโรคระบาดขึ้นไปเป็นกฎหมายระหว่างประเทศ เพื่อให้ประชาคมโลกสามารถจัดการกับโรคระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป “จากที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ร่วมกับประเทศสมาชิก WHO รวม 25 ประเทศเสนอให้มีการจัดทําข้อตกลงระหว่างประเทศ ต่อเนื่องมาถึงที่รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุขนําคณะผู้แทนประเทศไทยเข้าร่วมการประชุมสมัชชาอนามัยโลก สมัยพิเศษครั้งนี้ แสดงถึงความมุ่งมั่นของไทยในการร่วมกับทุกประเทศทั่วโลกในการหากลไกที่จะเพิ่มประสิทธิภาพต่อการตอบโต้ต่อภัยคุกคามจากโควิด-19 และโรคอุบัติใหม่ ด้วยเป้าหมายสําคัญว่าคนไทยจะได้รับประโยชน์ เข้าถึงบริการด้านสุขภาพได้รับการปกป้องจากโรคระบาดอย่างเท่าเทียม” น.ส.ไตรศุลี กล่าว รองโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในการประชุมสมัยชาอนามัยโลกสมัยพิเศษ วันที่ 30 พ.ย. 64 ซึ่งเป็นวันที่2 ของการประชุม รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข มีกําหนดจะกล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุม เพื่อแสดงจุดยืนของประเทศไทยในการพิจารณาจัดทําข้อตกลงระหว่างประเทศเตรียมพร้อมและตอบสนองต่อการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 และโรคอุบัติใหม่ในอนาคต ...............................
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สมัชชาอนามัยโลกสมัยพิเศษเริ่มแล้วภายใต้มาตรการเข้มงวด รองนายกฯ อนุทิน นำคณะร่วม ณ ห้องประชุมใหญ่องค์การอนามัยโลก ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส สานต่อนโยบายนายกรัฐมนตรี วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน 2564 สมัชชาอนามัยโลกสมัยพิเศษเริ่มแล้วภายใต้มาตรการเข้มงวด รองนายกฯ อนุทิน นําคณะร่วม ณ ห้องประชุมใหญ่องค์การอนามัยโลก ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส สานต่อนโยบายนายกรัฐมนตรี สมัชชาอนามัยโลกสมัยพิเศษเริ่มแล้ว รองนายกฯ อนุทิน นําคณะร่วม ณ ห้องประชุมใหญ่องค์การอนามัยโลก ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส สานต่อนโยบายนายกรัฐมนตรี แสดงความมุ่งมั่นของประเทศไทยในการร่วมมือกับทั่วโลกสร้างกลไกและเครื่องมือตอบโต้โควิด-19และโรคอุบัติใหม่ น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า วันนี้ (29 พ.ย.64 ) เวลา 10.00 น. ตามเวลา นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส(ช้ากว่าประเทศไทย 6 ชม.) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข นําคณะผู้แทนประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วย ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค ที่ปรึกษาด้านต่างประเทศ กองการต่างประเทศ สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ เข้าร่วมการประชุมสมัชชาอนามัยโลก สมัยพิเศษ ณ สํานักงานใหญ่องค์การอนามัยโลก(WHO) นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ทั้งนี้ WHO ได้ตัดสินใจเดินหน้าการจัดประชุมตามที่กําหนดระหว่างวันที่ 29 พ.ย-1ธ.ค.64 แม้จะมีกรณีการพบการระบาดของโรคโควิด-19 สายพันธ์ุโอไมคอนในแอฟริกาใต้ เนื่องจากเห็นว่าการประชุมนี้มีขึ้นเพื่อเริ่มต้นพิจารณาการจัดทํากฏหมายระหว่างประเทศเพื่อสร้างพันธสัญญาระหว่างประชาคมโลก ในการร่วมกันป้องกัน ตรวจจับและตอบโต้โรคระบาดระดับโลก ไม่จํากัดเฉพาะ โควิด-19 ซึ่งระหว่างการประชุมผู้จัดประชุมดําเนินมาตรการคัดกรองที่เข้มงวด น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า การเปิดประชุมสมัชชาอนามัยโลก สมัยพิเศษ ครั้งนี้ สืบเนื่องจากการประชุมสมัชชาอนามัยโลก สมัยที่ 74 เมื่อเดือนพ.ค. 64 ที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ได้เข้าร่วม มีสมาชิก WHO รวม 25 ประเทศ ที่เรียกว่า “Group of Friends of the Treaty” ซึ่งรวมถึงประเทศไทย เสนอให้มีการจัดการประชุมสมัชชาอนามัยโลก สมัยพิเศษ เพื่อพิจารณาการจัดทําสนธิสัญญา (Treaty) หรืออนุสัญญา (Convention) หรือข้อตกลง (agreement) หรือ ตราสารระหว่างประเทศประเภทอื่น (international instrument) ว่าด้วยการเตรียมพร้อมและตอบสนองต่อการระบาดใหญ่ ซึ่งเป็นความตกลงระหว่างประเทศที่อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ และให้มีการจัดตั้งกระบวนการเพื่อร่างและหารือเครื่องมือดังกล่าว ทั้งนี้ เนื่องจากการเตรียมพร้อมและตอบสนองต่อการระบาดใหญ่นั้นเกินขอบเขตของกฎอนามัยระหว่างประเทศ (International Health Regulation, IHR 2005) ที่ประเทศต่างๆทั่วโลกใช้อยู่ในปัจจุบัน จึงจําเป็นต้องมีการจัดทําข้อตกลงระหว่างประเทศขึ้นใหม่ ที่มีสาระสําคัญกว้างขวางมากกว่าเดิม เพื่อให้ประเทศต่างๆทั่วโลกสามารถรับมือกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาไวรัส2019 (โควิด-19) หรือโรคอุบัติใหม่ในอนาคต ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะประเด็นของความเท่าเทียมในการเข้าถึงบริการสุขภาพ รวมถึงศักยภาพในการผลิตยา และเวชภัณฑ์ในภาวะฉุกเฉิน การคลังด้านสุขภาพที่เพียงพอต่อการให้บริการต่างๆ ศักยภาพของระบบสาธารณสุขในการรับมือต่อการระบาดใหญ่ การปฏิบัติตาม IHR (2005) การแลกเปลี่ยนตัวอย่างเชื้อและข้อมูลต่างๆ ผ่านเครือข่าย การสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า ผลลัพธ์จากการประชุมที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 29 พ.ย.-1 ธ.ค. จะเป็นข้อตัดสินใจ(Decision) ว่าด้วยการจัดตั้งกลไกการหารือและต่อรองระหว่างประเทศสมาชิก หรือที่เรียกว่า Intergovernmental Negotiating Body (INB) ให้เป็นกลไกการหารือระหว่างประเทศสมาชิก ในการกําหนดการจัดทําข้อผูกพันต่างๆ ข้อกําหนดการทํางาน ตลอดจนระยะเวลาการทํางานของ INB โดยมีเป้าหมายว่าจะสามารถนําเสนอผลการทํางานของ INB ต่อที่ประชุมสมัชชาสุขภาพ สมัยที่ 76 ในปี 2566 ซึ่งจะเป็นการยกระดับกฎเกณฑ์สําหรับการตอบสนองต่อโรคระบาดขึ้นไปเป็นกฎหมายระหว่างประเทศ เพื่อให้ประชาคมโลกสามารถจัดการกับโรคระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป “จากที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ร่วมกับประเทศสมาชิก WHO รวม 25 ประเทศเสนอให้มีการจัดทําข้อตกลงระหว่างประเทศ ต่อเนื่องมาถึงที่รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุขนําคณะผู้แทนประเทศไทยเข้าร่วมการประชุมสมัชชาอนามัยโลก สมัยพิเศษครั้งนี้ แสดงถึงความมุ่งมั่นของไทยในการร่วมกับทุกประเทศทั่วโลกในการหากลไกที่จะเพิ่มประสิทธิภาพต่อการตอบโต้ต่อภัยคุกคามจากโควิด-19 และโรคอุบัติใหม่ ด้วยเป้าหมายสําคัญว่าคนไทยจะได้รับประโยชน์ เข้าถึงบริการด้านสุขภาพได้รับการปกป้องจากโรคระบาดอย่างเท่าเทียม” น.ส.ไตรศุลี กล่าว รองโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในการประชุมสมัยชาอนามัยโลกสมัยพิเศษ วันที่ 30 พ.ย. 64 ซึ่งเป็นวันที่2 ของการประชุม รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข มีกําหนดจะกล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุม เพื่อแสดงจุดยืนของประเทศไทยในการพิจารณาจัดทําข้อตกลงระหว่างประเทศเตรียมพร้อมและตอบสนองต่อการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 และโรคอุบัติใหม่ในอนาคต ...............................
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/48852
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมทางหลวงดำเนินโครงการก่อสร้างขยายทางหลวงหมายเลข 3423 สายสมุทรสาคร - ตำบลโคกขาม จังหวัดสมุทรสาคร แล้วเสร็จ
วันพุธที่ 15 ธันวาคม 2564 กรมทางหลวงดําเนินโครงการก่อสร้างขยายทางหลวงหมายเลข 3423 สายสมุทรสาคร - ตําบลโคกขาม จังหวัดสมุทรสาคร แล้วเสร็จ ทล. จึงขอความร่วมมือผู้ใช้ทาง “ชีวิตวิถีใหม่ ขับขี่อย่างปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ” ขับขี่ด้วยความระมัดระวังเพื่อความปลอดภัยของตัวท่านและผู้ร่วมทาง กรมทางหลวง (ทล.) กระทรวงคมนาคม โดยสํานักก่อสร้างทางที่ 1 ดําเนินโครงการก่อสร้างขยายทางหลวงหมายเลข 3423 สายสมุทรสาคร - ตําบลโคกขาม จังหวัดสมุทรสาคร ระหว่าง กม. ที่ 0 - กม. ที่ 7 ระยะทางยาวประมาณ 6.93 กิโลเมตร จาก 2 ช่องจราจร เป็น 4 ช่องจราจร แล้วเสร็จ ตามนโยบายของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ที่ต้องการบูรณาการพัฒนาด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ แก้ไขปัญหาการจราจรในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ปริมณฑลและเมืองหลัก โครงการทางหลวงหมายเลข 3423 หรือถนนสหกรณ์ เป็นเส้นทางสายสําคัญในการเดินทางเชื่อมต่อระหว่างจังหวัดสมุทรสาครกับเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร และจังหวัดสมุทรปราการ อีกทั้งยังแบ่งเบาปริมาณจราจรบนทางหลวงหมายเลข 35 (ถนนพระราม 2) สําหรับสายสมุทรสาคร - ตําบลโคกขาม อยู่ในพื้นที่ตําบลบางหญ้าแพรก และตําบลโคกขาม อําเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร จุดเริ่มต้นโครงการ ที่ กม. 0 เริ่มจากบริเวณสี่แยกเชิงสะพาน วัดเจษฎาราม (สะพานมหาชัย) และจุดสิ้นสุดโครงการที่ กม. 7 บริเวณเชิงสะพานวัดสหกรณ์โฆสิตาราม เดิมเป็นถนนขนาด 2 ช่องจราจร ซึ่งต่อมาชุมชนมีการขยายตัวจึงทําให้มีการเพิ่มการจราจรมากขึ้น ทล. จึงได้ดําเนินการเพิ่มศักยภาพทางหลวงโดยก่อสร้างเป็นมาตรฐานทางชั้นพิเศษ 4 ช่องจราจร (ไป - กลับ ข้างละ 2 ช่องจราจร) ผิวจราจรเป็นแบบแอสฟัลท์คอนกรีต กว้างช่องละ 3.5 เมตร ไหล่ทางด้านนอกกว้างข้างละ 2.5 เมตร เกาะกลางแบบยกและมีงานก่อสร้างทางเท้าบริเวณย่านชุมชนกว้างข้างละ 3.45 เมตร รวมงานไฟฟ้าแสงสว่างและไฟกะพริบบนทางเท้า งบประมาณ 150,099,000 บาท โครงการดังกล่าวช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการคมนาคมขนส่งบนโครงข่ายทางหลวงที่สําคัญของประเทศ มีความปลอดภัยในการใช้งานช่วยให้การเดินทางและจราจรขนส่งมีความสะดวกรวดเร็ว ส่งเสริมการพัฒนาด้านเศรษฐกิจในพื้นที่โครงการฯ เช่น ด้านอุตสาหกรรมและการคมนาคมขนส่ง ทล. จึงขอความร่วมมือผู้ใช้ทาง “ชีวิตวิถีใหม่ ขับขี่อย่างปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ” ขับขี่ด้วยความระมัดระวังเพื่อความปลอดภัยของตัวท่านและผู้ร่วมทาง ประชาชนสามารถสอบถามเส้นทางการเดินทางได้ที่สายด่วนกรมทางหลวง โทร. 1586 (โทรฟรีทุกเครือข่ายตลอด 24 ชั่วโมง)
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมทางหลวงดำเนินโครงการก่อสร้างขยายทางหลวงหมายเลข 3423 สายสมุทรสาคร - ตำบลโคกขาม จังหวัดสมุทรสาคร แล้วเสร็จ วันพุธที่ 15 ธันวาคม 2564 กรมทางหลวงดําเนินโครงการก่อสร้างขยายทางหลวงหมายเลข 3423 สายสมุทรสาคร - ตําบลโคกขาม จังหวัดสมุทรสาคร แล้วเสร็จ ทล. จึงขอความร่วมมือผู้ใช้ทาง “ชีวิตวิถีใหม่ ขับขี่อย่างปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ” ขับขี่ด้วยความระมัดระวังเพื่อความปลอดภัยของตัวท่านและผู้ร่วมทาง กรมทางหลวง (ทล.) กระทรวงคมนาคม โดยสํานักก่อสร้างทางที่ 1 ดําเนินโครงการก่อสร้างขยายทางหลวงหมายเลข 3423 สายสมุทรสาคร - ตําบลโคกขาม จังหวัดสมุทรสาคร ระหว่าง กม. ที่ 0 - กม. ที่ 7 ระยะทางยาวประมาณ 6.93 กิโลเมตร จาก 2 ช่องจราจร เป็น 4 ช่องจราจร แล้วเสร็จ ตามนโยบายของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ที่ต้องการบูรณาการพัฒนาด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ แก้ไขปัญหาการจราจรในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ปริมณฑลและเมืองหลัก โครงการทางหลวงหมายเลข 3423 หรือถนนสหกรณ์ เป็นเส้นทางสายสําคัญในการเดินทางเชื่อมต่อระหว่างจังหวัดสมุทรสาครกับเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร และจังหวัดสมุทรปราการ อีกทั้งยังแบ่งเบาปริมาณจราจรบนทางหลวงหมายเลข 35 (ถนนพระราม 2) สําหรับสายสมุทรสาคร - ตําบลโคกขาม อยู่ในพื้นที่ตําบลบางหญ้าแพรก และตําบลโคกขาม อําเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร จุดเริ่มต้นโครงการ ที่ กม. 0 เริ่มจากบริเวณสี่แยกเชิงสะพาน วัดเจษฎาราม (สะพานมหาชัย) และจุดสิ้นสุดโครงการที่ กม. 7 บริเวณเชิงสะพานวัดสหกรณ์โฆสิตาราม เดิมเป็นถนนขนาด 2 ช่องจราจร ซึ่งต่อมาชุมชนมีการขยายตัวจึงทําให้มีการเพิ่มการจราจรมากขึ้น ทล. จึงได้ดําเนินการเพิ่มศักยภาพทางหลวงโดยก่อสร้างเป็นมาตรฐานทางชั้นพิเศษ 4 ช่องจราจร (ไป - กลับ ข้างละ 2 ช่องจราจร) ผิวจราจรเป็นแบบแอสฟัลท์คอนกรีต กว้างช่องละ 3.5 เมตร ไหล่ทางด้านนอกกว้างข้างละ 2.5 เมตร เกาะกลางแบบยกและมีงานก่อสร้างทางเท้าบริเวณย่านชุมชนกว้างข้างละ 3.45 เมตร รวมงานไฟฟ้าแสงสว่างและไฟกะพริบบนทางเท้า งบประมาณ 150,099,000 บาท โครงการดังกล่าวช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการคมนาคมขนส่งบนโครงข่ายทางหลวงที่สําคัญของประเทศ มีความปลอดภัยในการใช้งานช่วยให้การเดินทางและจราจรขนส่งมีความสะดวกรวดเร็ว ส่งเสริมการพัฒนาด้านเศรษฐกิจในพื้นที่โครงการฯ เช่น ด้านอุตสาหกรรมและการคมนาคมขนส่ง ทล. จึงขอความร่วมมือผู้ใช้ทาง “ชีวิตวิถีใหม่ ขับขี่อย่างปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ” ขับขี่ด้วยความระมัดระวังเพื่อความปลอดภัยของตัวท่านและผู้ร่วมทาง ประชาชนสามารถสอบถามเส้นทางการเดินทางได้ที่สายด่วนกรมทางหลวง โทร. 1586 (โทรฟรีทุกเครือข่ายตลอด 24 ชั่วโมง)
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/49462
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมทางหลวง ขยายทางคู่ขนานรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ด้านตะวันตก) เพื่อแก้ปัญหาจราจรเชื่อมต่อโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองในอนาคต
วันจันทร์ที่ 4 เมษายน 2565 กรมทางหลวง ขยายทางคู่ขนานรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ด้านตะวันตก) เพื่อแก้ปัญหาจราจรเชื่อมต่อโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองในอนาคต ตามนโยบายของ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ที่ต้องการแก้ไขปัญหาการจราจรในพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล และเมืองหลัก นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 3901 และ 3902 สายทางคู่ขนานวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ด้านตะวันตก) ว่า กรมทางหลวง (ทล.) ได้ตระหนักถึงความสําคัญในการคมนาคมขนส่งที่มีความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยพร้อมทั้งอํานวยความสะดวกในการเดินทางแก่ประชาชน รองรับการพัฒนาเครือข่ายการขนส่งและระบบบริหารขนส่งสินค้าและบริการ จึงได้มีการออกแบบก่อสร้างทางคู่ขนาน 3 ช่องจราจร เพื่อให้สามารถรองรับกับปริมาณจราจรในอนาคต ซึ่งได้ทําการออกแบบให้สอดคล้องกับลักษณะภูมิประเทศและเขตทางหลวงที่มีอยู่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริการและพัฒนาส่งเสริมโครงข่ายถนนด้านทิศตะวันตกของกรุงเทพมหานคร ลดปัญหาการจราจรในพื้นที่ เชื่อมต่อโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสาย M6 บางปะอิน - นครราชสีมา และ M81 บางใหญ่ - กาญจนบุรี ต่อลงภาคใต้ และโครงข่ายอื่น ๆ ในอนาคต เพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่งของประเทศที่ปัจจุบันมีปริมาณจราจรสูง โครงการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของแผนแม่บทและแผนดําเนินการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองของ ทล. โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 3901 และ 3902 สายทางคู่ขนานวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ด้านตะวันตก) แบ่งการก่อสร้างเป็น 8 ตอน ฝั่งซ้าย 4 ตอน และฝั่งขวา 4 ตอน มีจุดเริ่มต้นอยู่ที่บริเวณทางแยกต่างระดับบางบัวทองไปสิ้นสุดที่ทางแยกต่างระดับบางปะอิน ระหว่าง กม. ที่ 59+988 - 86+559 ระยะทางยาวประมาณ 35.57 กิโลเมตร แล้วเสร็จจํานวน 1 ตอน ได้แก่ ตอน 1 ด้านขวาทาง บริเวณ กม. ที่ 62 - 73 ลักษณะโครงการก่อสร้างเป็นงานก่อสร้างทางคู่ขนาน เป็นการก่อสร้างขยายช่องจราจร จากเดิม 2 ช่องจราจร มาตรฐานทางชั้นพิเศษ ขนาด 3 ช่องจราจร ผิวจราจรแบบคอนกรีต กว้างช่องจราจรละ 3.5 เมตร ไหล่ทางด้านนอกกว้าง 1.5 - 2.5 เมตร ด้านในกว้าง 1.5 เมตร กั้นขอบทางด้านในด้วยคอนกรีตแบริออร์ กว้าง 0.45 เมตร ผิวทาง แบบคอนกรีต งานก่อสร้างสะพานใหม่ จํานวน 7 แห่ง และขยายความกว้างสะพานเดิม จํานวน 1 แห่ง พร้อมทั้งออกแบบระบบระบายน้ําและการติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่าง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด งบประมาณ 7,376.59 ล้านบาท ปัจจุบันมีความคืบหน้าร้อยละ 78 คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนมกราคม 2566 ทั้งนี้เมื่อโครงการดังกล่าวก่อสร้างแล้วเสร็จจะทําให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการเดินทางลดค่าใช้จ่ายและระยะเวลาในการเดินทาง ทําให้โครงข่ายทางหลวงและทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองของประเทศ มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ช่วยเพิ่มความปลอดภัยและลดการเกิดอุบัติเหตุบนถนน ช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดลดการสิ้นเปลืองพลังงานจากการจราจรติดขัดที่ทําให้ต้นทุนการขนส่งของประเทศลดลง ทําให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของจังหวัดใกล้เคียง เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวระหว่างต่างจังหวัดและกรุงเทพมหานครให้มีเพิ่มมากยิ่งขึ้น และเป็นการพัฒนาและปรับปรุงทัศนียภาพสองข้างทางให้ดูเรียบร้อยสวยงาม อีกทั้งยังเป็นโครงสร้างพื้นฐานสําคัญ ที่จะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในภูมิภาคให้ดีขึ้น ทล. ขอความร่วมมือผู้ใช้ทาง “ชีวิตวิถีใหม่ ขับขี่อย่างปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ” ขับขี่ด้วยความระมัดระวังเพื่อความปลอดภัยของตัวท่านและผู้ร่วมทาง ประชาชนสามารถสอบถามข้อมูลการเดินทางได้ที่สายด่วนกรมทางหลวง โทร. 1586 (โทรฟรีทุกเครือข่ายตลอด 24 ชั่วโมง)
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมทางหลวง ขยายทางคู่ขนานรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ด้านตะวันตก) เพื่อแก้ปัญหาจราจรเชื่อมต่อโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองในอนาคต วันจันทร์ที่ 4 เมษายน 2565 กรมทางหลวง ขยายทางคู่ขนานรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ด้านตะวันตก) เพื่อแก้ปัญหาจราจรเชื่อมต่อโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองในอนาคต ตามนโยบายของ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ที่ต้องการแก้ไขปัญหาการจราจรในพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล และเมืองหลัก นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 3901 และ 3902 สายทางคู่ขนานวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ด้านตะวันตก) ว่า กรมทางหลวง (ทล.) ได้ตระหนักถึงความสําคัญในการคมนาคมขนส่งที่มีความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยพร้อมทั้งอํานวยความสะดวกในการเดินทางแก่ประชาชน รองรับการพัฒนาเครือข่ายการขนส่งและระบบบริหารขนส่งสินค้าและบริการ จึงได้มีการออกแบบก่อสร้างทางคู่ขนาน 3 ช่องจราจร เพื่อให้สามารถรองรับกับปริมาณจราจรในอนาคต ซึ่งได้ทําการออกแบบให้สอดคล้องกับลักษณะภูมิประเทศและเขตทางหลวงที่มีอยู่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริการและพัฒนาส่งเสริมโครงข่ายถนนด้านทิศตะวันตกของกรุงเทพมหานคร ลดปัญหาการจราจรในพื้นที่ เชื่อมต่อโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสาย M6 บางปะอิน - นครราชสีมา และ M81 บางใหญ่ - กาญจนบุรี ต่อลงภาคใต้ และโครงข่ายอื่น ๆ ในอนาคต เพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่งของประเทศที่ปัจจุบันมีปริมาณจราจรสูง โครงการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของแผนแม่บทและแผนดําเนินการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองของ ทล. โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 3901 และ 3902 สายทางคู่ขนานวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ด้านตะวันตก) แบ่งการก่อสร้างเป็น 8 ตอน ฝั่งซ้าย 4 ตอน และฝั่งขวา 4 ตอน มีจุดเริ่มต้นอยู่ที่บริเวณทางแยกต่างระดับบางบัวทองไปสิ้นสุดที่ทางแยกต่างระดับบางปะอิน ระหว่าง กม. ที่ 59+988 - 86+559 ระยะทางยาวประมาณ 35.57 กิโลเมตร แล้วเสร็จจํานวน 1 ตอน ได้แก่ ตอน 1 ด้านขวาทาง บริเวณ กม. ที่ 62 - 73 ลักษณะโครงการก่อสร้างเป็นงานก่อสร้างทางคู่ขนาน เป็นการก่อสร้างขยายช่องจราจร จากเดิม 2 ช่องจราจร มาตรฐานทางชั้นพิเศษ ขนาด 3 ช่องจราจร ผิวจราจรแบบคอนกรีต กว้างช่องจราจรละ 3.5 เมตร ไหล่ทางด้านนอกกว้าง 1.5 - 2.5 เมตร ด้านในกว้าง 1.5 เมตร กั้นขอบทางด้านในด้วยคอนกรีตแบริออร์ กว้าง 0.45 เมตร ผิวทาง แบบคอนกรีต งานก่อสร้างสะพานใหม่ จํานวน 7 แห่ง และขยายความกว้างสะพานเดิม จํานวน 1 แห่ง พร้อมทั้งออกแบบระบบระบายน้ําและการติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่าง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด งบประมาณ 7,376.59 ล้านบาท ปัจจุบันมีความคืบหน้าร้อยละ 78 คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนมกราคม 2566 ทั้งนี้เมื่อโครงการดังกล่าวก่อสร้างแล้วเสร็จจะทําให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการเดินทางลดค่าใช้จ่ายและระยะเวลาในการเดินทาง ทําให้โครงข่ายทางหลวงและทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองของประเทศ มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ช่วยเพิ่มความปลอดภัยและลดการเกิดอุบัติเหตุบนถนน ช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดลดการสิ้นเปลืองพลังงานจากการจราจรติดขัดที่ทําให้ต้นทุนการขนส่งของประเทศลดลง ทําให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของจังหวัดใกล้เคียง เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวระหว่างต่างจังหวัดและกรุงเทพมหานครให้มีเพิ่มมากยิ่งขึ้น และเป็นการพัฒนาและปรับปรุงทัศนียภาพสองข้างทางให้ดูเรียบร้อยสวยงาม อีกทั้งยังเป็นโครงสร้างพื้นฐานสําคัญ ที่จะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในภูมิภาคให้ดีขึ้น ทล. ขอความร่วมมือผู้ใช้ทาง “ชีวิตวิถีใหม่ ขับขี่อย่างปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ” ขับขี่ด้วยความระมัดระวังเพื่อความปลอดภัยของตัวท่านและผู้ร่วมทาง ประชาชนสามารถสอบถามข้อมูลการเดินทางได้ที่สายด่วนกรมทางหลวง โทร. 1586 (โทรฟรีทุกเครือข่ายตลอด 24 ชั่วโมง)
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/53278
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกฯ เชิญชวนคนไทยงดเหล้า เลิกบุหรี่ ละเว้นอบายมุข เข้าพรรษา เพื่อสุขภาพ ร่างกายและจิตใจที่แข็งแรงและป้องกันโควิด
วันอาทิตย์ที่ 25 กรกฎาคม 2564 นายกฯ เชิญชวนคนไทยงดเหล้า เลิกบุหรี่ ละเว้นอบายมุข เข้าพรรษา เพื่อสุขภาพ ร่างกายและจิตใจที่แข็งแรงและป้องกันโควิด นายกฯ เชิญชวนคนไทยงดเหล้า เลิกบุหรี่ ละเว้นอบายมุข เข้าพรรษา เพื่อสุขภาพ ร่างกายและจิตใจที่แข็งแรงและป้องกันโควิด เมื่อวันที่ 25 ก.ค. น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม เชิญชวนประชาชนงดเหล้า เลิกบุหรี่ ละเว้นอบายมุขในช่วงเข้าพรรษา 2564 เพื่อดูแลสุขภาพตัวเอง ทั้งสุขภาพร่างกายและจิตใจให้เข้มแข็งในช่วงที่สถานการณ์โควิด-19 กําลังระบาดรุนแรงทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ซึ่งการละเว้นอบายมุขทุกประเภท แล้วหันมาดูแลตัวเอง จะทําให้มีสุขภาพที่แข็งแรง ทั้งร่างกายและจิตใจ มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคภัยไข้เจ็บ นอกจากนี้ ยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในชีวิตประจําวันได้เป็นอย่างดี น.ส.ไตรศุลี เปิดเผยว่า สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้จัดโครงการรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษาทุกปี โดยในปี 2563 ที่ผ่านมา พบว่า คนไทยร่วมงดดื่มเหล้าในช่วงเข้าพรรษามากถึง 12.05 ล้านคน แบ่งเป็น งดตลอด 3 เดือนเข้าพรรษา 6.95 ล้านคน งดบางช่วง 2.3 ล้านคน และไม่งดแต่ลดการดื่มลง 2.8 ล้านคน สามารถประหยัดเงินค่าซื้อเหล้าได้ 6,326 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 1,885 บาท/คน ซึ่งผลของการลด ละ เลิกดื่มเหล้า พบว่าประชาชนมีสภาพร่างกายดีขึ้น ร้อยละ 40.7 สุขภาพจิตดีขึ้น ร้อยละ 24.0 สะท้อนให้เห็นว่าการหยุดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นผลดีกับคุณภาพชีวิตทุกมิติ น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า สําหรับผู้ที่สูบบุหรี่ ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก หรือ WHO และกระทรวงสาธารณสุขไทย พบว่า ผู้สูบบุหรี่ มีโอกาสติดเชื้อโควิด-19 มากกว่าคนปกติหลายเท่า และการสูบบุหรี่ ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลให้เกิดอาการรุนแรงจนถึงเสียชีวิตในผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 ยิ่งในช่วงสถานการณ์โควิด-19 กําลังมีการระบาดรุนแรงอยู่ขณะนี้ รัฐบาลจึงขอเชิญชวนประชาชนลด ละ เลิกพฤติกรรมเสี่ยง อันเกิดจากสิ่งอบายมุข เพื่อสุขภาพที่ดีของตัวเอง "นายกรัฐมนตรี มีความห่วงใยประชาชนในเรื่องดังกล่าว จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพิ่มการรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงพิษภัยของเหล้า บุหรี่ และสิ่งอบายมุขทั้งปวง พร้อมสร้างแรงจูงใจในการ ออกกําลังกาย แม้ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ภาครัฐจะขอให้งดเดินทางออกนอกบ้าน แต่ก็สามารถออกกําลังกายภายในบ้านหรือที่พัก รัฐบาลต้องการให้ประชาชนมีสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจที่แข็งแรง สิ่งสําคัญคือการงดเหล้า เลิกบุหรี่และอบายมุข ยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในชีวิตประจําวันได้อีกทางหนึ่ง โดยการลด ละ เลิกอบายมุข ถือว่าเป็นประโยชน์อย่างมากในสถานการณ์เช่นนี้" น.ส.ไตรศุลี กล่าว
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกฯ เชิญชวนคนไทยงดเหล้า เลิกบุหรี่ ละเว้นอบายมุข เข้าพรรษา เพื่อสุขภาพ ร่างกายและจิตใจที่แข็งแรงและป้องกันโควิด วันอาทิตย์ที่ 25 กรกฎาคม 2564 นายกฯ เชิญชวนคนไทยงดเหล้า เลิกบุหรี่ ละเว้นอบายมุข เข้าพรรษา เพื่อสุขภาพ ร่างกายและจิตใจที่แข็งแรงและป้องกันโควิด นายกฯ เชิญชวนคนไทยงดเหล้า เลิกบุหรี่ ละเว้นอบายมุข เข้าพรรษา เพื่อสุขภาพ ร่างกายและจิตใจที่แข็งแรงและป้องกันโควิด เมื่อวันที่ 25 ก.ค. น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม เชิญชวนประชาชนงดเหล้า เลิกบุหรี่ ละเว้นอบายมุขในช่วงเข้าพรรษา 2564 เพื่อดูแลสุขภาพตัวเอง ทั้งสุขภาพร่างกายและจิตใจให้เข้มแข็งในช่วงที่สถานการณ์โควิด-19 กําลังระบาดรุนแรงทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ซึ่งการละเว้นอบายมุขทุกประเภท แล้วหันมาดูแลตัวเอง จะทําให้มีสุขภาพที่แข็งแรง ทั้งร่างกายและจิตใจ มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคภัยไข้เจ็บ นอกจากนี้ ยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในชีวิตประจําวันได้เป็นอย่างดี น.ส.ไตรศุลี เปิดเผยว่า สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้จัดโครงการรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษาทุกปี โดยในปี 2563 ที่ผ่านมา พบว่า คนไทยร่วมงดดื่มเหล้าในช่วงเข้าพรรษามากถึง 12.05 ล้านคน แบ่งเป็น งดตลอด 3 เดือนเข้าพรรษา 6.95 ล้านคน งดบางช่วง 2.3 ล้านคน และไม่งดแต่ลดการดื่มลง 2.8 ล้านคน สามารถประหยัดเงินค่าซื้อเหล้าได้ 6,326 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 1,885 บาท/คน ซึ่งผลของการลด ละ เลิกดื่มเหล้า พบว่าประชาชนมีสภาพร่างกายดีขึ้น ร้อยละ 40.7 สุขภาพจิตดีขึ้น ร้อยละ 24.0 สะท้อนให้เห็นว่าการหยุดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นผลดีกับคุณภาพชีวิตทุกมิติ น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า สําหรับผู้ที่สูบบุหรี่ ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก หรือ WHO และกระทรวงสาธารณสุขไทย พบว่า ผู้สูบบุหรี่ มีโอกาสติดเชื้อโควิด-19 มากกว่าคนปกติหลายเท่า และการสูบบุหรี่ ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลให้เกิดอาการรุนแรงจนถึงเสียชีวิตในผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 ยิ่งในช่วงสถานการณ์โควิด-19 กําลังมีการระบาดรุนแรงอยู่ขณะนี้ รัฐบาลจึงขอเชิญชวนประชาชนลด ละ เลิกพฤติกรรมเสี่ยง อันเกิดจากสิ่งอบายมุข เพื่อสุขภาพที่ดีของตัวเอง "นายกรัฐมนตรี มีความห่วงใยประชาชนในเรื่องดังกล่าว จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพิ่มการรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงพิษภัยของเหล้า บุหรี่ และสิ่งอบายมุขทั้งปวง พร้อมสร้างแรงจูงใจในการ ออกกําลังกาย แม้ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ภาครัฐจะขอให้งดเดินทางออกนอกบ้าน แต่ก็สามารถออกกําลังกายภายในบ้านหรือที่พัก รัฐบาลต้องการให้ประชาชนมีสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจที่แข็งแรง สิ่งสําคัญคือการงดเหล้า เลิกบุหรี่และอบายมุข ยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในชีวิตประจําวันได้อีกทางหนึ่ง โดยการลด ละ เลิกอบายมุข ถือว่าเป็นประโยชน์อย่างมากในสถานการณ์เช่นนี้" น.ส.ไตรศุลี กล่าว
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/44105
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมสรรพากรเปิดทดสอบเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร สมัครผ่านระบบออนไลน์ ตั้งแต่วันที่ 1 – 16 มกราคม 2565
วันจันทร์ที่ 27 ธันวาคม 2564 กรมสรรพากรเปิดทดสอบเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร สมัครผ่านระบบออนไลน์ ตั้งแต่วันที่ 1 – 16 มกราคม 2565 กรมสรรพากรเปิดรับสมัครผู้สําเร็จศึกษาไม่ต่ํากว่าปริญญาตรีทางการบัญชี หรือประกาศนียบัตรทางการบัญชี เข้ารับการทดสอบเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร (Tax Auditor) สมัครผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th ระหว่างวันที่ 1 - 16 มกราคม 2565 กรมสรรพากรเปิดรับสมัครทดสอบความรู้เป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร (Tax Auditor) ครั้งที่ 52 (1/2565) โดยผู้ประสงค์เข้ารับการทดสอบต้องสําเร็จการศึกษาไม่ต่ํากว่าปริญญาตรีทางการบัญชี หรือประกาศนียบัตรทางการบัญชี ผู้สนใจสามารถตรวจสอบคุณสมบัติและยื่นคําขอเข้ารับการทดสอบผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ตลอด 24 ชั่วโมงไม่เว้นวันหยุดราชการ ที่เว็บไซต์กรมสรรพากร (www.rd.go.th) เพียงช่องทางเดียวเท่านั้น ระหว่างวันที่ 1 - 16 มกราคม 2565 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการทดสอบในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565 และดําเนินการทดสอบในวันที่ 5 - 6 กุมภาพันธ์ 2565 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เขตดุสิต กรุงเทพฯ ทั้งนี้ ผลการทดสอบเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรจะประกาศที่เว็บไซต์กรมสรรพากร (www.rd.go.th) ในวันที่ 30 เมษายน 2565 หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อสอบถามได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 0 2272 8188 ในวันและเวลาราชการ หรือที่กองมาตรฐานการสอบบัญชีภาษีอากร ชั้น 17 อาคารกรมสรรพากร เลขที่ ๙๐ ซอยพหลโยธิน ๗ ถนนพหลโยธิน แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมสรรพากรเปิดทดสอบเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร สมัครผ่านระบบออนไลน์ ตั้งแต่วันที่ 1 – 16 มกราคม 2565 วันจันทร์ที่ 27 ธันวาคม 2564 กรมสรรพากรเปิดทดสอบเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร สมัครผ่านระบบออนไลน์ ตั้งแต่วันที่ 1 – 16 มกราคม 2565 กรมสรรพากรเปิดรับสมัครผู้สําเร็จศึกษาไม่ต่ํากว่าปริญญาตรีทางการบัญชี หรือประกาศนียบัตรทางการบัญชี เข้ารับการทดสอบเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร (Tax Auditor) สมัครผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th ระหว่างวันที่ 1 - 16 มกราคม 2565 กรมสรรพากรเปิดรับสมัครทดสอบความรู้เป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร (Tax Auditor) ครั้งที่ 52 (1/2565) โดยผู้ประสงค์เข้ารับการทดสอบต้องสําเร็จการศึกษาไม่ต่ํากว่าปริญญาตรีทางการบัญชี หรือประกาศนียบัตรทางการบัญชี ผู้สนใจสามารถตรวจสอบคุณสมบัติและยื่นคําขอเข้ารับการทดสอบผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ตลอด 24 ชั่วโมงไม่เว้นวันหยุดราชการ ที่เว็บไซต์กรมสรรพากร (www.rd.go.th) เพียงช่องทางเดียวเท่านั้น ระหว่างวันที่ 1 - 16 มกราคม 2565 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการทดสอบในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565 และดําเนินการทดสอบในวันที่ 5 - 6 กุมภาพันธ์ 2565 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เขตดุสิต กรุงเทพฯ ทั้งนี้ ผลการทดสอบเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรจะประกาศที่เว็บไซต์กรมสรรพากร (www.rd.go.th) ในวันที่ 30 เมษายน 2565 หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อสอบถามได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 0 2272 8188 ในวันและเวลาราชการ หรือที่กองมาตรฐานการสอบบัญชีภาษีอากร ชั้น 17 อาคารกรมสรรพากร เลขที่ ๙๐ ซอยพหลโยธิน ๗ ถนนพหลโยธิน แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/49935
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-​รมว.เฮ้ง เชิญ 127 บ.รับอนุญาตจัดหางาน เร่งเครื่องหารือขยายตลาดแรงงานไทยในต่างประเทศ
วันศุกร์ที่ 22 เมษายน 2565 ​รมว.เฮ้ง เชิญ 127 บ.รับอนุญาตจัดหางาน เร่งเครื่องหารือขยายตลาดแรงงานไทยในต่างประเทศ วันที่ 22 เมษายน 2565 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานการประชุมมอบนโยบายด้านการจัดส่งแรงงานไทยไปทํางานในต่างประเทศ ประจําปี 2565 โดยมีคณะผู้บริหารฝ่ายการเมือง นายวรรณรัตน์ ศรีสุขใส รองปลัดกระทรวงแรงงาน ร่วมเป็นเกียรติ นายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวรายงาน และผู้รับอนุญาตจัดหางานเพื่อไปทํางานในต่างประเทศ จํานวน 127 บริษัท ร่วมประชุม ณ ห้องประชุม ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน โดยนายสุชาติฯ เปิดเผยว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ผ่านมา ทําให้มีข้อจํากัดในการเดินทางระหว่างประเทศ เพราะประเทศผู้รับแรงงานบางประเทศ มีการปรับนโยบายและชะลอการรับแรงงานต่างชาติเข้าไปทํางาน แต่ปัจจุบันประเทศผู้รับแรงงานเริ่มมีมาตรการผ่อนคลายในการเดินทางระหว่างประเทศมากขึ้น โดยปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ตั้งเป้าหมายจัดส่งแรงงานไปทํางานต่างประเทศไว้ประมาณ 50,000 คน ไม่รวมการเดินทางแบบ Re-entry จึงเป็นโอกาสที่ดีสําหรับแรงงานไทย และภาคเอกชนที่ดําเนินธุรกิจด้านการจัดส่งแรงงานไทยไปทํางานในต่างประเทศ ในวันนี้กระทรวงแรงงานได้เชิญผู้รับอนุญาตจัดหางานเพื่อไปทํางานต่างประเทศ จํานวน 127 บริษัท และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในภารกิจการจัดส่งแรงงานไปทํางานต่างประเทศ มาร่วมกันหารือ รับฟังข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะ เพื่อให้การจัดส่งแรงานไทยไปทํางานในต่างประเทศเกิดผลสัมฤทธิ์เป็นรูปธรรม แรงงานไทยได้รับประโยชน์สูงสุด รับค่าจ้าง สวัสดิการ และการคุ้มครองที่เหมาะสม ตลอดจนป้องกันปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน เพื่อปลดล็อก Tier 2 Watch List “ผมขอขอบคุณ ผู้รับอนุญาตจัดหางานเพื่อไปทํางานในต่างประเทศที่มีการจัดหางานอย่างมีจริยธรรม ให้ความสําคัญกับประโยชน์สูงสุดของแรงงานไทยซึ่งเป็นกลไกหลักในระบบเศรษฐกิจของประเทศ และมาร่วมงานในวันนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และพล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกํากับดูแลกระทรวงแรงงาน ทั้ง 2 ท่านต่างให้ความสําคัญกับการสร้างโอกาสให้แรงงานไทยในการไปทํางานในต่างประเทศมาโดยตลอด ในปีนี้กระทรวงแรงงานจะเป็นเรี่ยวแรงหลัก ในการเจรจากับทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อกระชับความสัมพันธ์ และร่วมกันแก้ไขปัญหาอุปสรรค ตลอดจนสร้างความเชื่อมั่นและเพิ่มแรงจูงใจในการจ้างแรงงานไทยของนายจ้างในต่างประเทศ เพื่อรักษาตลาดแรงงานเดิม และเร่งขยายตลาดแรงงานใหม่” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าว ด้านนายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่าหนึ่งในภารกิจสําคัญของกรมการจัดหางาน คือการส่งเสริมแรงงานไทยไปทํางานในต่างประเทศ ซึ่งนายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มีนโยบายขยายตลาดแรงงานใหม่ในต่างประเทศ โดยปีที่ผ่านมาสามารถจัดทําข้อตกลงความร่วมมือด้านแรงงานกับซาอุดีอาระเบีย ลงนามบันทึกความร่วมมือด้านข้อมูลพื้นฐานเพื่อการจัดระบบและการพํานักของแรงงานที่มีทักษะเฉพาะ ร่วมกับประเทศญี่ปุ่น อยู่ระหว่างความพยายามในการจัดทําบันทึกความร่วมมือโครงการวีซ่าเกษตรออสเตรเลีย (Australian Agriculture Visa (AAV) Program) กับออสเตรเลีย และเสนอให้มีการจัดส่งแรงงานรูปแบบ G to G (Government to Government) และ A to A (Agency to Agency) ภายใต้การกํากับดูแล ควบคุมของกระทรวงแรงงาน กับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยดําเนินการควบคู่กับการคุ้มครองดูแลสิทธิประโยชน์ของแรงงานไทยไม่ให้ถูกเอารัดเอาเปรียบ ป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน มิให้แรงงานไทยถูกหลอกลวงจากสาย/นายหน้าจัดหางานเถื่อน ที่ปัจจุบันนิยมใช้สื่อโซเชียลมีเดียที่มีอิทธิพลอย่างมากในการโฆษณาเชิญชวนหลอกลวงแรงงานไทยไปทํางานต่างประเทศ ซึ่งผู้รับอนุญาตจัดหางานฯ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในภารกิจการจัดส่งแรงงานไปทํางานต่างประเทศที่มาร่วมประชุมหารือในวันนี้ มีบทบาทสําคัญในการส่งเสริมแรงงานไทยไปทํางานต่างประเทศผ่านช่องทางที่ถูกต้องตามกฎหมาย
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-​รมว.เฮ้ง เชิญ 127 บ.รับอนุญาตจัดหางาน เร่งเครื่องหารือขยายตลาดแรงงานไทยในต่างประเทศ วันศุกร์ที่ 22 เมษายน 2565 ​รมว.เฮ้ง เชิญ 127 บ.รับอนุญาตจัดหางาน เร่งเครื่องหารือขยายตลาดแรงงานไทยในต่างประเทศ วันที่ 22 เมษายน 2565 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานการประชุมมอบนโยบายด้านการจัดส่งแรงงานไทยไปทํางานในต่างประเทศ ประจําปี 2565 โดยมีคณะผู้บริหารฝ่ายการเมือง นายวรรณรัตน์ ศรีสุขใส รองปลัดกระทรวงแรงงาน ร่วมเป็นเกียรติ นายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวรายงาน และผู้รับอนุญาตจัดหางานเพื่อไปทํางานในต่างประเทศ จํานวน 127 บริษัท ร่วมประชุม ณ ห้องประชุม ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน โดยนายสุชาติฯ เปิดเผยว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ผ่านมา ทําให้มีข้อจํากัดในการเดินทางระหว่างประเทศ เพราะประเทศผู้รับแรงงานบางประเทศ มีการปรับนโยบายและชะลอการรับแรงงานต่างชาติเข้าไปทํางาน แต่ปัจจุบันประเทศผู้รับแรงงานเริ่มมีมาตรการผ่อนคลายในการเดินทางระหว่างประเทศมากขึ้น โดยปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ตั้งเป้าหมายจัดส่งแรงงานไปทํางานต่างประเทศไว้ประมาณ 50,000 คน ไม่รวมการเดินทางแบบ Re-entry จึงเป็นโอกาสที่ดีสําหรับแรงงานไทย และภาคเอกชนที่ดําเนินธุรกิจด้านการจัดส่งแรงงานไทยไปทํางานในต่างประเทศ ในวันนี้กระทรวงแรงงานได้เชิญผู้รับอนุญาตจัดหางานเพื่อไปทํางานต่างประเทศ จํานวน 127 บริษัท และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในภารกิจการจัดส่งแรงงานไปทํางานต่างประเทศ มาร่วมกันหารือ รับฟังข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะ เพื่อให้การจัดส่งแรงานไทยไปทํางานในต่างประเทศเกิดผลสัมฤทธิ์เป็นรูปธรรม แรงงานไทยได้รับประโยชน์สูงสุด รับค่าจ้าง สวัสดิการ และการคุ้มครองที่เหมาะสม ตลอดจนป้องกันปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน เพื่อปลดล็อก Tier 2 Watch List “ผมขอขอบคุณ ผู้รับอนุญาตจัดหางานเพื่อไปทํางานในต่างประเทศที่มีการจัดหางานอย่างมีจริยธรรม ให้ความสําคัญกับประโยชน์สูงสุดของแรงงานไทยซึ่งเป็นกลไกหลักในระบบเศรษฐกิจของประเทศ และมาร่วมงานในวันนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และพล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกํากับดูแลกระทรวงแรงงาน ทั้ง 2 ท่านต่างให้ความสําคัญกับการสร้างโอกาสให้แรงงานไทยในการไปทํางานในต่างประเทศมาโดยตลอด ในปีนี้กระทรวงแรงงานจะเป็นเรี่ยวแรงหลัก ในการเจรจากับทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อกระชับความสัมพันธ์ และร่วมกันแก้ไขปัญหาอุปสรรค ตลอดจนสร้างความเชื่อมั่นและเพิ่มแรงจูงใจในการจ้างแรงงานไทยของนายจ้างในต่างประเทศ เพื่อรักษาตลาดแรงงานเดิม และเร่งขยายตลาดแรงงานใหม่” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าว ด้านนายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่าหนึ่งในภารกิจสําคัญของกรมการจัดหางาน คือการส่งเสริมแรงงานไทยไปทํางานในต่างประเทศ ซึ่งนายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มีนโยบายขยายตลาดแรงงานใหม่ในต่างประเทศ โดยปีที่ผ่านมาสามารถจัดทําข้อตกลงความร่วมมือด้านแรงงานกับซาอุดีอาระเบีย ลงนามบันทึกความร่วมมือด้านข้อมูลพื้นฐานเพื่อการจัดระบบและการพํานักของแรงงานที่มีทักษะเฉพาะ ร่วมกับประเทศญี่ปุ่น อยู่ระหว่างความพยายามในการจัดทําบันทึกความร่วมมือโครงการวีซ่าเกษตรออสเตรเลีย (Australian Agriculture Visa (AAV) Program) กับออสเตรเลีย และเสนอให้มีการจัดส่งแรงงานรูปแบบ G to G (Government to Government) และ A to A (Agency to Agency) ภายใต้การกํากับดูแล ควบคุมของกระทรวงแรงงาน กับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยดําเนินการควบคู่กับการคุ้มครองดูแลสิทธิประโยชน์ของแรงงานไทยไม่ให้ถูกเอารัดเอาเปรียบ ป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน มิให้แรงงานไทยถูกหลอกลวงจากสาย/นายหน้าจัดหางานเถื่อน ที่ปัจจุบันนิยมใช้สื่อโซเชียลมีเดียที่มีอิทธิพลอย่างมากในการโฆษณาเชิญชวนหลอกลวงแรงงานไทยไปทํางานต่างประเทศ ซึ่งผู้รับอนุญาตจัดหางานฯ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในภารกิจการจัดส่งแรงงานไปทํางานต่างประเทศที่มาร่วมประชุมหารือในวันนี้ มีบทบาทสําคัญในการส่งเสริมแรงงานไทยไปทํางานต่างประเทศผ่านช่องทางที่ถูกต้องตามกฎหมาย
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/53826
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงยุติธรรม ประชุมคณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายของกระทรวงยุติธรรม ครั้งที่ ๒/๒๕๖๔
วันพุธที่ 16 มิถุนายน 2564 กระทรวงยุติธรรม ประชุมคณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายของกระทรวงยุติธรรม ครั้งที่ ๒/๒๕๖๔ กระทรวงยุติธรรม ประชุมคณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายของกระทรวงยุติธรรม ครั้งที่ ๒/๒๕๖๔ ผ่านระบบการประชุมทางไกล (Video Conference) ในวันพุธที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๔ เวลา ๑๓.๓๐ น. ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม มอบหมายให้นายวัลลภ นาคบัว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายของกระทรวงยุติธรรม ครั้งที่ ๒/๒๕๖๔ ร่วมกับคณะกรรมการ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ณ ห้องประชุม ๑๐ - ๐๑ ชั้น ๑๐ อาคารกระทรวงยุติธรรม ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร โดยผ่านระบบการประชุมทางไกล (Video Conference) โดยที่ประชุมรับทราบรายงานสถานะความคืบหน้าการเสนอร่างกฎหมายของกระทรวงยุติธรรม ในการนี้ คณะกรรมการฯ ได้หารือร่วมกันในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จําเลยในคดีอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพเสนอ โดยเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จําเลยในคดีอาญา พ.ศ.๒๕๔๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ทั้งในส่วนของชื่อพระราชบัญญัติ บทนิยาม การเพิ่มการคุ้มครองช่วยเหลือผู้ต้องหาในชั้นสอบสวน การขยายการช่วยเหลือจําเลยในชั้นสอบสวน การแจ้งสิทธิผู้เสียหาย ผู้ต้องหา จําเลยในคดีอาญา รวมทั้งพิจารณาขยายระยะเวลาการยื่นขอรับค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่ผู้ต้องหาและจําเลยในคดีอาญา
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงยุติธรรม ประชุมคณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายของกระทรวงยุติธรรม ครั้งที่ ๒/๒๕๖๔ วันพุธที่ 16 มิถุนายน 2564 กระทรวงยุติธรรม ประชุมคณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายของกระทรวงยุติธรรม ครั้งที่ ๒/๒๕๖๔ กระทรวงยุติธรรม ประชุมคณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายของกระทรวงยุติธรรม ครั้งที่ ๒/๒๕๖๔ ผ่านระบบการประชุมทางไกล (Video Conference) ในวันพุธที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๔ เวลา ๑๓.๓๐ น. ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม มอบหมายให้นายวัลลภ นาคบัว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายของกระทรวงยุติธรรม ครั้งที่ ๒/๒๕๖๔ ร่วมกับคณะกรรมการ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ณ ห้องประชุม ๑๐ - ๐๑ ชั้น ๑๐ อาคารกระทรวงยุติธรรม ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร โดยผ่านระบบการประชุมทางไกล (Video Conference) โดยที่ประชุมรับทราบรายงานสถานะความคืบหน้าการเสนอร่างกฎหมายของกระทรวงยุติธรรม ในการนี้ คณะกรรมการฯ ได้หารือร่วมกันในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จําเลยในคดีอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพเสนอ โดยเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จําเลยในคดีอาญา พ.ศ.๒๕๔๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ทั้งในส่วนของชื่อพระราชบัญญัติ บทนิยาม การเพิ่มการคุ้มครองช่วยเหลือผู้ต้องหาในชั้นสอบสวน การขยายการช่วยเหลือจําเลยในชั้นสอบสวน การแจ้งสิทธิผู้เสียหาย ผู้ต้องหา จําเลยในคดีอาญา รวมทั้งพิจารณาขยายระยะเวลาการยื่นขอรับค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่ผู้ต้องหาและจําเลยในคดีอาญา
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/42785
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พิธีปิดการฝึกอบรมหลักสูตรนักบริหารการอุตสาหกรรมระดับกลาง (นบก.) รุ่นที่ 39 ของกระทรวงอุตสาหกรรม
วันศุกร์ที่ 17 กันยายน 2564 พิธีปิดการฝึกอบรมหลักสูตรนักบริหารการอุตสาหกรรมระดับกลาง (นบก.) รุ่นที่ 39 ของกระทรวงอุตสาหกรรม นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานในพิธีปิดการฝึกอบรมหลักสูตรนักบริหารการอุตสาหกรรมระดับกลาง (นบก.) รุ่นที่ 39 ของกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 16 สิงหาคม - 17 กันยายน 2564 พิธีปิดการฝึกอบรมหลักสูตรนักบริหารการอุตสาหกรรมระดับกลาง (นบก.) รุ่นที่ 39 ของกระทรวงอุตสาหกรรม วันนี้ (17 กันยายน 2564) เวลา 10.00 น. นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานในพิธีปิดการฝึกอบรมหลักสูตรนักบริหารการอุตสาหกรรมระดับกลาง (นบก.) รุ่นที่ 39 ของกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 16 สิงหาคม – 17 กันยายน 2564 โดยมีผู้ผ่านการอบรม จํานวน 46 คน ณ ห้องประชุมชุณหะวัณ ชั้น 3 อาคารสํานักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และผ่านระบบ Web Conference (ZOOM) ทั้งนี้ การประชุมดังกล่าวเป็นไปตามข้อกําหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ฉบับที่ 32 ลงวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2564
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-พิธีปิดการฝึกอบรมหลักสูตรนักบริหารการอุตสาหกรรมระดับกลาง (นบก.) รุ่นที่ 39 ของกระทรวงอุตสาหกรรม วันศุกร์ที่ 17 กันยายน 2564 พิธีปิดการฝึกอบรมหลักสูตรนักบริหารการอุตสาหกรรมระดับกลาง (นบก.) รุ่นที่ 39 ของกระทรวงอุตสาหกรรม นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานในพิธีปิดการฝึกอบรมหลักสูตรนักบริหารการอุตสาหกรรมระดับกลาง (นบก.) รุ่นที่ 39 ของกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 16 สิงหาคม - 17 กันยายน 2564 พิธีปิดการฝึกอบรมหลักสูตรนักบริหารการอุตสาหกรรมระดับกลาง (นบก.) รุ่นที่ 39 ของกระทรวงอุตสาหกรรม วันนี้ (17 กันยายน 2564) เวลา 10.00 น. นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานในพิธีปิดการฝึกอบรมหลักสูตรนักบริหารการอุตสาหกรรมระดับกลาง (นบก.) รุ่นที่ 39 ของกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 16 สิงหาคม – 17 กันยายน 2564 โดยมีผู้ผ่านการอบรม จํานวน 46 คน ณ ห้องประชุมชุณหะวัณ ชั้น 3 อาคารสํานักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และผ่านระบบ Web Conference (ZOOM) ทั้งนี้ การประชุมดังกล่าวเป็นไปตามข้อกําหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ฉบับที่ 32 ลงวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2564
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/45920
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ทริป รถไฟ ม่วนแต้​ ๆ แอ่ว “แม่เมาะ” By SRT x EGAT  เส้นทาง กรุงเทพ​ - ลำปาง สุดปัง!!! จองเต็มเร็วภายใน 1 ชั่วโมง การรถไฟแห่งประเทศไทย ลั่นเตรียม จัดทริปท่องเที่ยวทางรถไฟต่อเนื่อง
วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน 2564 ทริป รถไฟ ม่วนแต้​ ๆ แอ่ว “แม่เมาะ” By SRT x EGAT เส้นทาง กรุงเทพ​ - ลําปาง สุดปัง!!! จองเต็มเร็วภายใน 1 ชั่วโมง การรถไฟแห่งประเทศไทย ลั่นเตรียม จัดทริปท่องเที่ยวทางรถไฟต่อเนื่อง ทริป รถไฟ ม่วนแต้​ ๆ แอ่ว “แม่เมาะ” By SRT x EGAT เส้นทาง กรุงเทพ​ - ลําปาง สุดปัง!!! จองเต็มเร็วภายใน 1 ชั่วโมง การรถไฟแห่งประเทศไทย​ (รฟท.)​ ลั่นเตรียม จัดทริปท่องเที่ยวทางรถไฟต่อเนื่องทุกเดือน ช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ ทริป รถไฟ ม่วนแต้​ ๆ แอ่ว “แม่เมาะ” By SRT x EGAT เส้นทาง กรุงเทพ​ - ลําปาง สุดปัง!!! จองเต็มเร็วภายใน 1 ชั่วโมง การรถไฟแห่งประเทศไทย​ (รฟท.)​ ลั่นเตรียม จัดทริปท่องเที่ยวทางรถไฟต่อเนื่องทุกเดือน ช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ ผู้อํานวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย​ เปิดเผยว่า ตามที่ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)​ กระทรวงคมนาคม ได้ร่วมมือกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จัดโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ นั่งรถไฟ ม่วนแต้​ ๆ แอ่ว “แม่เมาะ” By SRT x EGAT กรุงเทพ​ - ลําปาง แบบ 3 วัน 2 คืน ในราคาโปรโมชั่น 1,999 บาท และได้มีการเปิดจองเป็นวันแรกเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2564 ซึ่งปรากฏว่าได้รับความสนใจจากพี่น้องประชาชนจํานวนมาก เข้าจองเต็มทุกที่นั่งอย่างรวดเร็วภายใน 1 ชั่วโมง “รฟท. และ กฟผ. จึงขอแจ้งปิดการจองตั๋ว และขอขอบคุณทุกคนที่ให้ความสนใจเดินทางท่องเที่ยวในทริปนี้ ส่วนประชาชนที่พลาดหวังไป ไม่ต้องเสียใจ ขอให้คอยติดตามทริปการท่องเที่ยวดี​ ๆ​ ทางรถไฟ ได้ที่เฟซบุ๊คเพจทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งจะคอยประชาสัมพันธ์ทริปการท่องเที่ยวของ​ รฟท.​ อย่างต่อเนื่องเป็นประจําทุกเดือน เพื่อช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยว และรองรับการเปิดประเทศตามนโยบายของรัฐบาล และกระทรวงคมนาคม” สําหรับโครงการ นั่งรถไฟ ม่วนแต้​ ๆ แอ่ว "แม่เมาะ" By SRT x EGAT จัดทําขึ้นตามนโยบายของนายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย และนายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่ต้องการร่วมมือกันส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ และสนับสนุนให้คนไทยเดินทางท่องเที่ยวโดยรถไฟเพิ่มขึ้น เพื่อเป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น ตลอดจนลดการใช้รถส่วนบุคคลและหันมาเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้น ท้ายนี้ รฟท. ขอฝากถึงนักท่องเที่ยวที่ร่วมเดินทางทริปการท่องเที่ยว จะต้องได้รับการฉีดวัคซีน ครบ 2 เข็ม ซึ่งสามารถแสดงหลักฐานผ่าน Digital Health Pass บนหมอพร้อม Application หรือแสดงผลตรวจ ATK ไม่เกิน 72 ชั่วโมง ต่อเจ้าหน้าที่ ณ จุดคัดกรองในวันเดินทาง
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ทริป รถไฟ ม่วนแต้​ ๆ แอ่ว “แม่เมาะ” By SRT x EGAT  เส้นทาง กรุงเทพ​ - ลำปาง สุดปัง!!! จองเต็มเร็วภายใน 1 ชั่วโมง การรถไฟแห่งประเทศไทย ลั่นเตรียม จัดทริปท่องเที่ยวทางรถไฟต่อเนื่อง วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน 2564 ทริป รถไฟ ม่วนแต้​ ๆ แอ่ว “แม่เมาะ” By SRT x EGAT เส้นทาง กรุงเทพ​ - ลําปาง สุดปัง!!! จองเต็มเร็วภายใน 1 ชั่วโมง การรถไฟแห่งประเทศไทย ลั่นเตรียม จัดทริปท่องเที่ยวทางรถไฟต่อเนื่อง ทริป รถไฟ ม่วนแต้​ ๆ แอ่ว “แม่เมาะ” By SRT x EGAT เส้นทาง กรุงเทพ​ - ลําปาง สุดปัง!!! จองเต็มเร็วภายใน 1 ชั่วโมง การรถไฟแห่งประเทศไทย​ (รฟท.)​ ลั่นเตรียม จัดทริปท่องเที่ยวทางรถไฟต่อเนื่องทุกเดือน ช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ ทริป รถไฟ ม่วนแต้​ ๆ แอ่ว “แม่เมาะ” By SRT x EGAT เส้นทาง กรุงเทพ​ - ลําปาง สุดปัง!!! จองเต็มเร็วภายใน 1 ชั่วโมง การรถไฟแห่งประเทศไทย​ (รฟท.)​ ลั่นเตรียม จัดทริปท่องเที่ยวทางรถไฟต่อเนื่องทุกเดือน ช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ ผู้อํานวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย​ เปิดเผยว่า ตามที่ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)​ กระทรวงคมนาคม ได้ร่วมมือกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จัดโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ นั่งรถไฟ ม่วนแต้​ ๆ แอ่ว “แม่เมาะ” By SRT x EGAT กรุงเทพ​ - ลําปาง แบบ 3 วัน 2 คืน ในราคาโปรโมชั่น 1,999 บาท และได้มีการเปิดจองเป็นวันแรกเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2564 ซึ่งปรากฏว่าได้รับความสนใจจากพี่น้องประชาชนจํานวนมาก เข้าจองเต็มทุกที่นั่งอย่างรวดเร็วภายใน 1 ชั่วโมง “รฟท. และ กฟผ. จึงขอแจ้งปิดการจองตั๋ว และขอขอบคุณทุกคนที่ให้ความสนใจเดินทางท่องเที่ยวในทริปนี้ ส่วนประชาชนที่พลาดหวังไป ไม่ต้องเสียใจ ขอให้คอยติดตามทริปการท่องเที่ยวดี​ ๆ​ ทางรถไฟ ได้ที่เฟซบุ๊คเพจทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งจะคอยประชาสัมพันธ์ทริปการท่องเที่ยวของ​ รฟท.​ อย่างต่อเนื่องเป็นประจําทุกเดือน เพื่อช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยว และรองรับการเปิดประเทศตามนโยบายของรัฐบาล และกระทรวงคมนาคม” สําหรับโครงการ นั่งรถไฟ ม่วนแต้​ ๆ แอ่ว "แม่เมาะ" By SRT x EGAT จัดทําขึ้นตามนโยบายของนายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย และนายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่ต้องการร่วมมือกันส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ และสนับสนุนให้คนไทยเดินทางท่องเที่ยวโดยรถไฟเพิ่มขึ้น เพื่อเป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น ตลอดจนลดการใช้รถส่วนบุคคลและหันมาเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้น ท้ายนี้ รฟท. ขอฝากถึงนักท่องเที่ยวที่ร่วมเดินทางทริปการท่องเที่ยว จะต้องได้รับการฉีดวัคซีน ครบ 2 เข็ม ซึ่งสามารถแสดงหลักฐานผ่าน Digital Health Pass บนหมอพร้อม Application หรือแสดงผลตรวจ ATK ไม่เกิน 72 ชั่วโมง ต่อเจ้าหน้าที่ ณ จุดคัดกรองในวันเดินทาง
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/48862
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมทางหลวงชนบท สร้างถนนบนเกาะลันตา จ.กระบี่ กว่า 21 กิโลเมตร แล้วเสร็จ รองรับปริมาณการจราจร ส่งเสริมเศรษฐกิจการท่องเที่ยวในอนาคต
วันอังคารที่ 24 สิงหาคม 2564 กรมทางหลวงชนบท สร้างถนนบนเกาะลันตา จ.กระบี่ กว่า 21 กิโลเมตร แล้วเสร็จ รองรับปริมาณการจราจร ส่งเสริมเศรษฐกิจการท่องเที่ยวในอนาคต กรมทางหลวงชนบท (ทช.) ดําเนินโครงการก่อสร้างถนนสายบ้านศาลาด่าน - บ้านสังกาอู้ อําเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ แล้วเสร็จ กรมทางหลวงชนบท (ทช.) ดําเนินโครงการก่อสร้างถนนสายบ้านศาลาด่าน – บ้านสังกาอู้ อําเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ แล้วเสร็จ นายปฐม เฉลยวาเรศ อธิบดีกรมทางหลวงชนบท เปิดเผยว่า ถนนสายบ้านศาลาด่าน – บ้านสังกาอู้ อําเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ เป็นโครงข่ายคมนาคมขนส่งด้านทิศตะวันออกของเกาะลันตาใหญ่ แต่เดิมถนนมีสภาพเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็กและผิวทางลาดยางในบางช่วง ขนาด 2 ช่องจราจร มีสภาพคับแคบ ซึ่งถนนดังกล่าวมีการสัญจรของประชาชนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวเป็นจํานวนมาก ส่งผลให้การจราจรไม่คล่องตัว ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวบริเวณเกาะลันตาและยกระดับการคมนาคมขนส่งในเกาะลันตา ให้มีความสะดวกรวดเร็วปลอดภัยมากยิ่งขึ้น รองรับนักท่องเที่ยวและปริมาณการจราจรที่จะเกิดขึ้นในอนาคต สอดรับนโยบายของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ทช. จึงได้ดําเนินโครงการก่อสร้างถนนสายบ้านศาลาด่าน – บ้านสังกาอู้ อําเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ โดยก่อสร้างเป็นถนนผิวจราจรคอนกรีต ขนาด 2 ช่องจราจร กว้าง 6 เมตร ไหล่ทางข้างละ 0 - 2 เมตรพร้อมก่อสร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก 3 แห่ง จุดจอดรถบริการนักท่องเที่ยว 1 แห่ง ระบบระบายน้ํา ติดตั้งระบบไฟฟ้าแสงสว่างบริเวณย่านชุมชน งานเครื่องหมายจราจร งานอํานวยความปลอดภัย และปรับปรุงภูมิทัศน์ตลอดสายทาง โดยมีจุดเริ่มต้นสายทางบริเวณสามแยกที่เชื่อมต่อกับสะพานสิริลันตา (กม.ที่ 0+000) และไปสิ้นสุดสายทางที่โรงเรียนบ้านสังกาอู้ (กม.ที่ 20+498) พร้อมทางเชื่อม (บริเวณ กม.ที่ 10+668)รวมระยะทางประมาณ 21.698 กิโลเมตร ซึ่งปัจจุบันได้ดําเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จสมบูรณ์และเปิดให้ประชาชนใช้สัญจรเรียบร้อยแล้ว
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมทางหลวงชนบท สร้างถนนบนเกาะลันตา จ.กระบี่ กว่า 21 กิโลเมตร แล้วเสร็จ รองรับปริมาณการจราจร ส่งเสริมเศรษฐกิจการท่องเที่ยวในอนาคต วันอังคารที่ 24 สิงหาคม 2564 กรมทางหลวงชนบท สร้างถนนบนเกาะลันตา จ.กระบี่ กว่า 21 กิโลเมตร แล้วเสร็จ รองรับปริมาณการจราจร ส่งเสริมเศรษฐกิจการท่องเที่ยวในอนาคต กรมทางหลวงชนบท (ทช.) ดําเนินโครงการก่อสร้างถนนสายบ้านศาลาด่าน - บ้านสังกาอู้ อําเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ แล้วเสร็จ กรมทางหลวงชนบท (ทช.) ดําเนินโครงการก่อสร้างถนนสายบ้านศาลาด่าน – บ้านสังกาอู้ อําเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ แล้วเสร็จ นายปฐม เฉลยวาเรศ อธิบดีกรมทางหลวงชนบท เปิดเผยว่า ถนนสายบ้านศาลาด่าน – บ้านสังกาอู้ อําเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ เป็นโครงข่ายคมนาคมขนส่งด้านทิศตะวันออกของเกาะลันตาใหญ่ แต่เดิมถนนมีสภาพเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็กและผิวทางลาดยางในบางช่วง ขนาด 2 ช่องจราจร มีสภาพคับแคบ ซึ่งถนนดังกล่าวมีการสัญจรของประชาชนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวเป็นจํานวนมาก ส่งผลให้การจราจรไม่คล่องตัว ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวบริเวณเกาะลันตาและยกระดับการคมนาคมขนส่งในเกาะลันตา ให้มีความสะดวกรวดเร็วปลอดภัยมากยิ่งขึ้น รองรับนักท่องเที่ยวและปริมาณการจราจรที่จะเกิดขึ้นในอนาคต สอดรับนโยบายของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ทช. จึงได้ดําเนินโครงการก่อสร้างถนนสายบ้านศาลาด่าน – บ้านสังกาอู้ อําเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ โดยก่อสร้างเป็นถนนผิวจราจรคอนกรีต ขนาด 2 ช่องจราจร กว้าง 6 เมตร ไหล่ทางข้างละ 0 - 2 เมตรพร้อมก่อสร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก 3 แห่ง จุดจอดรถบริการนักท่องเที่ยว 1 แห่ง ระบบระบายน้ํา ติดตั้งระบบไฟฟ้าแสงสว่างบริเวณย่านชุมชน งานเครื่องหมายจราจร งานอํานวยความปลอดภัย และปรับปรุงภูมิทัศน์ตลอดสายทาง โดยมีจุดเริ่มต้นสายทางบริเวณสามแยกที่เชื่อมต่อกับสะพานสิริลันตา (กม.ที่ 0+000) และไปสิ้นสุดสายทางที่โรงเรียนบ้านสังกาอู้ (กม.ที่ 20+498) พร้อมทางเชื่อม (บริเวณ กม.ที่ 10+668)รวมระยะทางประมาณ 21.698 กิโลเมตร ซึ่งปัจจุบันได้ดําเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จสมบูรณ์และเปิดให้ประชาชนใช้สัญจรเรียบร้อยแล้ว
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/45096
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-​สมาชิก กอช. หยุดส่งเงินออมจากพิษโควิด-19 ไม่เสียสิทธิ
วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565 ​สมาชิก กอช. หยุดส่งเงินออมจากพิษโควิด-19 ไม่เสียสิทธิ วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2565 ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ค่ะ รัฐบาลสนับสนุนให้ประชาชนที่ประกอบอาชีพอิสระและเยาวชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป สร้างระบบบํานาญด้วยตนเองกับกองทุนการออมแห่งชาติ หรือ กอช. โดยรัฐบาลจ่ายเงินสมทบให้ตามระดับอายุของผู้เป็นสมาชิกและเป็นอัตราส่วนกับจํานวนเงินสะสม สําหรับสมาชิกที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด-19 จนไม่สามารถส่งเงินออมสะสมได้ทุกเดือนจะไม่เสียสิทธิความเป็นสมาชิก เมื่อมีรายได้เพียงพอแล้วสามารถกลับมาส่งเงินสะสมต่อได้ ผู้สนใจสมัครและส่งเงินออมได้ที่ แอปพลิเคชัน กอช. หรือ หน่วยรับสมัครใกล้บ้าน เช่น ที่ว่าการอําเภอ ธนาคารของรัฐ เช่น ธนาคารออมสิน ธ.ก.ส. ธนาคารกรุงไทย ไปรษณีย์ และเคาน์เตอร์เซอร์วิสที่เข้าร่วมทั่วประเทศ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนเงินออม 02-049-9000 “สื่อสารภารกิจรัฐบาล” กับสํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-​สมาชิก กอช. หยุดส่งเงินออมจากพิษโควิด-19 ไม่เสียสิทธิ วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565 ​สมาชิก กอช. หยุดส่งเงินออมจากพิษโควิด-19 ไม่เสียสิทธิ วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2565 ต่อจากนี้ไป ขอเชิญรับฟังไทยคู่ฟ้า ค่ะ รัฐบาลสนับสนุนให้ประชาชนที่ประกอบอาชีพอิสระและเยาวชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป สร้างระบบบํานาญด้วยตนเองกับกองทุนการออมแห่งชาติ หรือ กอช. โดยรัฐบาลจ่ายเงินสมทบให้ตามระดับอายุของผู้เป็นสมาชิกและเป็นอัตราส่วนกับจํานวนเงินสะสม สําหรับสมาชิกที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด-19 จนไม่สามารถส่งเงินออมสะสมได้ทุกเดือนจะไม่เสียสิทธิความเป็นสมาชิก เมื่อมีรายได้เพียงพอแล้วสามารถกลับมาส่งเงินสะสมต่อได้ ผู้สนใจสมัครและส่งเงินออมได้ที่ แอปพลิเคชัน กอช. หรือ หน่วยรับสมัครใกล้บ้าน เช่น ที่ว่าการอําเภอ ธนาคารของรัฐ เช่น ธนาคารออมสิน ธ.ก.ส. ธนาคารกรุงไทย ไปรษณีย์ และเคาน์เตอร์เซอร์วิสที่เข้าร่วมทั่วประเทศ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนเงินออม 02-049-9000 “สื่อสารภารกิจรัฐบาล” กับสํานักโฆษก สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/51528
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงยุติธรรม เผย สถานการณ์โควิด-19 กรมราชทัณฑ์ เร่งปลูกและศึกษายาฟ้าทะลายโจร ทั้งการรักษาและสร้างภูมิคุ้มกัน พร้อมเตรียมแผน EXIT เรือนจำเพิ่ม หลังเริ่มควบคุมโรคได้
วันจันทร์ที่ 2 สิงหาคม 2564 กระทรวงยุติธรรม เผย สถานการณ์โควิด-19 กรมราชทัณฑ์ เร่งปลูกและศึกษายาฟ้าทะลายโจร ทั้งการรักษาและสร้างภูมิคุ้มกัน พร้อมเตรียมแผน EXIT เรือนจําเพิ่ม หลังเริ่มควบคุมโรคได้ กระทรวงยุติธรรม เผย สถานการณ์โควิด-19 กรมราชทัณฑ์ เร่งปลูกและศึกษายาฟ้าทะลายโจร ทั้งการรักษาและสร้างภูมิคุ้มกัน พร้อมเตรียมแผน EXIT เรือนจําเพิ่ม หลังเริ่มควบคุมโรคได้ ในวันจันทร์ที่ 2 สิงหาคม 2564 เวลา 10.30 น. ศาตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ในฐานะผู้อํานวยการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ภายในสถานที่ควบคุมของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการประชุมติดตามการดําเนินงานตาม 5 แผนงานการป้องกันและแก้ไขสถานการณ์ Covid-19 ภายในสถานที่ควบคุมของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม ครั้งที่ 51/2564 โดยมี นายนิยม เติมศรีสุข รองปลัดกระทรวงยุติธรรม นายอายุตม์ สินธพพันธุ์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ พ.ต.ท.วรรณพงษ์ คชรักษ์ อธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน พันตํารวจโท มนตรี บุญยโยธิน รองอธิบดีกรมคุมประพฤติ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมผ่านระบบการประชุมทางไกล (Video Conference) ร่วมกับผู้บัญชาการเรือนจําในจังหวัดที่มีสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) นายวัลลภ นาคบัว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม และโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ภายในสถานที่ควบคุมของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม หรือ ศบค.ยธ. เผย ภาพรวมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในเรือนจํา/ทัณฑสถาน ในวันนี้ สถานะเรือนจําที่แพร่ระบาดคงที่ มีเรือนจําสีแดง 29 แห่ง เรือนจําสีขาวที่ไม่พบการแพร่ระบาดลดลงอยู่ที่ 106 แห่ง และที่สิ้นสุดการระบาดแล้ว 7 แห่งคงเดิม ขณะที่ผู้ติดเชื้อรายใหม่วันนี้ จํานวน 175 ราย (พบในเรือนจําสีแดง 168 ราย และพบในห้องแยกกักโรคผู้ต้องขังรับใหม่ 7 ราย) รักษาหายเพิ่ม 372 ราย ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต รวมมีผู้ติดเชื้อที่ยังอยู่ในการดูแลของกรมราชทัณฑ์ 7,715 ราย (กลุ่มสีเขียว 80.1% สีเหลือง 19.5% และสีแดง 0.4%) มีผู้ติดเชื้อรักษาหายสะสม 39,258 ราย หรือ 82.6% ของผู้ติดเชื้อสะสม 47,551 ราย เสียชีวิตสะสมรวม 61 ราย คิดเป็นอัตรา 0.1% ของผู้ติดเชื้อสะสมทั้งหมด นายวัลลภ กล่าวต่อว่า ที่ประชุมฯ ในช่วงเช้าวันนี้ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ให้เกียรติเข้าร่วมประชุมเพื่อมอบนโยบายแก่ผู้บริหารสถานที่ควบคุมทุกแห่งโดยได้เน้นย้ําให้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อป้องกันและรักษาผู้ติดเชื้ออย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะการใช้ยาฟ้าทะลายโจร ที่ข้อมูลจากกรมราชทัณฑ์ถือว่ามีประโยชน์มาก โดยจากการใช้เพื่อรักษาโรคที่ผ่านมานับว่ามีประสิทธิผลมากสามารถลดความรุนแรงของโรคได้เป็นอย่างดี แต่อย่างไรก็ตาม ยังต้องเร่งศึกษาข้อมูลและลักษณะการใช้งานให้ถูกต้อง ทั้งในแง่ของการใช้เพื่อการรักษา และการสร้างภูมิคุ้มกันรวมถึงการปลูกและผลิตยาแคปซูลฟ้าทะลายโจรด้วย ที่ได้สั่งการไปยังเรือนจําและทัณฑสถานแต่ละแห่งให้เริ่มดําเนินการแล้ว โดยวันที่ 2 กันยายน 2564 จะเก็บเกี่ยวได้ 8 ไร่ ซึ่งจะผลิตได้ประมาณ 8 ล้านแคปซูล และวันที่ 22 ตุลาคม 2564 จะเก็บเกี่ยวได้อีก 50 ไร่ และวันที่ 20 พฤศจิกายน 2564 จะเก็บเกี่ยวได้อีก 7 ไร่ ซึ่งคาดว่าอีกไม่นานจะมียาฟ้าทะลายโจรใช้อย่างเพียงพอทั้งต่อผู้ต้องขังในเรือนจําและทัณฑสถาน และกับคนทั้งประเทศต่อไป นอกจากนี้ ที่ประชุม ศบค.ยธ. โดยท่านปลัดกระทรวงยุติธรรมเป็นประธานการประชุมในวันนี้ ได้มีข้อสั่งการให้สํารวจเรือนจําและทัณฑสถานที่เข้าเกณฑ์ตามแผนการสิ้นสุดการระบาดของโรค (EXIT) เพิ่มเติม ซึ่งคาดว่าจะมีเรือนจํากลางสมุทรปราการ เรือนจําพิเศษมีนบุรี ทัณฑสถานหญิงสงขลา และเรือนจําจังหวัดสตูล รวมถึงเรือนจําขนาดเล็กที่พบว่ามีแพร่ระบาดของเชื้อมาแล้วไม่ต่ํากว่า 2 สัปดาห์ โดยให้ดําเนินการจัดทําแผนเพื่อ EXIT และประสานหน่วยงานสาธารณสุขในแต่ละพื้นที่เพื่อจัดทําแผน ก่อนจะเสนอแผนการ EXIT เข้าที่ประชุมฯ เพื่อพิจารณาอีกครั้งจึงจะสามารถดําเนินการในระยะต่อไปได้ ทั้งนี้ ได้เน้นย้ําการป้องกันเชื้อที่จะถูกนําเข้าเรือนจําและทัณฑสถาน ด้วยการตรวจหาเชื้อในเจ้าหน้าที่ก่อนเข้าเวรรักษาการณ์ทุกครั้ง โดยเฉพาะในเรือนจําสีแดงที่พบการแพร่ระบาดแล้ว จะต้องตรวจหาเชื้อโควิด -19 ทั้งก่อนเข้าและก่อนออก และห้ามเจ้าหน้าที่ทุกรายเดินทางเข้าไปในพื้นที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย พร้อมให้รักษามาตรการ D-M-H-T อย่างเคร่งครัด ด้านสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนประจําวันจันทร์ที่ 2 สิงหาคม 2564 มีผู้ติดเชื้อเป็นเยาวชน 32 ราย เเละเจ้าหน้าที่ 12 ราย รวมผู้ติดเชื้อทั้งหมด 44 ราย ด้านผลการดําเนินงานสถานพินิจฯ/ศูนย์ฝึกและอบรมฯ สีขาว มีจํานวน 43 แห่ง หรือคิดเป็น 76.7% จากทั้งหมด 56 แห่ง อีก 13 แห่ง อยู่ระหว่างการรอตรวจและรอผล 6 แห่ง หมดสถานะสีขาว 2 แห่ง และติดเชื้อ 5 แห่ง สถิติการฉีดวัคซีนของเด็กและเยาวชน คงที่ 121 ราย หรือคิดเป็น 2.84% จากทั้งหมด 4,245 ราย และเจ้าหน้าที่ได้รับการฉีดวัคซีนคงที่ 3,792 ราย หรือคิดเป็น 86% จากทั้งหมด 4,394 ราย
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงยุติธรรม เผย สถานการณ์โควิด-19 กรมราชทัณฑ์ เร่งปลูกและศึกษายาฟ้าทะลายโจร ทั้งการรักษาและสร้างภูมิคุ้มกัน พร้อมเตรียมแผน EXIT เรือนจำเพิ่ม หลังเริ่มควบคุมโรคได้ วันจันทร์ที่ 2 สิงหาคม 2564 กระทรวงยุติธรรม เผย สถานการณ์โควิด-19 กรมราชทัณฑ์ เร่งปลูกและศึกษายาฟ้าทะลายโจร ทั้งการรักษาและสร้างภูมิคุ้มกัน พร้อมเตรียมแผน EXIT เรือนจําเพิ่ม หลังเริ่มควบคุมโรคได้ กระทรวงยุติธรรม เผย สถานการณ์โควิด-19 กรมราชทัณฑ์ เร่งปลูกและศึกษายาฟ้าทะลายโจร ทั้งการรักษาและสร้างภูมิคุ้มกัน พร้อมเตรียมแผน EXIT เรือนจําเพิ่ม หลังเริ่มควบคุมโรคได้ ในวันจันทร์ที่ 2 สิงหาคม 2564 เวลา 10.30 น. ศาตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ในฐานะผู้อํานวยการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ภายในสถานที่ควบคุมของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานการประชุมติดตามการดําเนินงานตาม 5 แผนงานการป้องกันและแก้ไขสถานการณ์ Covid-19 ภายในสถานที่ควบคุมของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม ครั้งที่ 51/2564 โดยมี นายนิยม เติมศรีสุข รองปลัดกระทรวงยุติธรรม นายอายุตม์ สินธพพันธุ์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ พ.ต.ท.วรรณพงษ์ คชรักษ์ อธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน พันตํารวจโท มนตรี บุญยโยธิน รองอธิบดีกรมคุมประพฤติ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมผ่านระบบการประชุมทางไกล (Video Conference) ร่วมกับผู้บัญชาการเรือนจําในจังหวัดที่มีสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) นายวัลลภ นาคบัว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม และโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ภายในสถานที่ควบคุมของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม หรือ ศบค.ยธ. เผย ภาพรวมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในเรือนจํา/ทัณฑสถาน ในวันนี้ สถานะเรือนจําที่แพร่ระบาดคงที่ มีเรือนจําสีแดง 29 แห่ง เรือนจําสีขาวที่ไม่พบการแพร่ระบาดลดลงอยู่ที่ 106 แห่ง และที่สิ้นสุดการระบาดแล้ว 7 แห่งคงเดิม ขณะที่ผู้ติดเชื้อรายใหม่วันนี้ จํานวน 175 ราย (พบในเรือนจําสีแดง 168 ราย และพบในห้องแยกกักโรคผู้ต้องขังรับใหม่ 7 ราย) รักษาหายเพิ่ม 372 ราย ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต รวมมีผู้ติดเชื้อที่ยังอยู่ในการดูแลของกรมราชทัณฑ์ 7,715 ราย (กลุ่มสีเขียว 80.1% สีเหลือง 19.5% และสีแดง 0.4%) มีผู้ติดเชื้อรักษาหายสะสม 39,258 ราย หรือ 82.6% ของผู้ติดเชื้อสะสม 47,551 ราย เสียชีวิตสะสมรวม 61 ราย คิดเป็นอัตรา 0.1% ของผู้ติดเชื้อสะสมทั้งหมด นายวัลลภ กล่าวต่อว่า ที่ประชุมฯ ในช่วงเช้าวันนี้ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ให้เกียรติเข้าร่วมประชุมเพื่อมอบนโยบายแก่ผู้บริหารสถานที่ควบคุมทุกแห่งโดยได้เน้นย้ําให้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อป้องกันและรักษาผู้ติดเชื้ออย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะการใช้ยาฟ้าทะลายโจร ที่ข้อมูลจากกรมราชทัณฑ์ถือว่ามีประโยชน์มาก โดยจากการใช้เพื่อรักษาโรคที่ผ่านมานับว่ามีประสิทธิผลมากสามารถลดความรุนแรงของโรคได้เป็นอย่างดี แต่อย่างไรก็ตาม ยังต้องเร่งศึกษาข้อมูลและลักษณะการใช้งานให้ถูกต้อง ทั้งในแง่ของการใช้เพื่อการรักษา และการสร้างภูมิคุ้มกันรวมถึงการปลูกและผลิตยาแคปซูลฟ้าทะลายโจรด้วย ที่ได้สั่งการไปยังเรือนจําและทัณฑสถานแต่ละแห่งให้เริ่มดําเนินการแล้ว โดยวันที่ 2 กันยายน 2564 จะเก็บเกี่ยวได้ 8 ไร่ ซึ่งจะผลิตได้ประมาณ 8 ล้านแคปซูล และวันที่ 22 ตุลาคม 2564 จะเก็บเกี่ยวได้อีก 50 ไร่ และวันที่ 20 พฤศจิกายน 2564 จะเก็บเกี่ยวได้อีก 7 ไร่ ซึ่งคาดว่าอีกไม่นานจะมียาฟ้าทะลายโจรใช้อย่างเพียงพอทั้งต่อผู้ต้องขังในเรือนจําและทัณฑสถาน และกับคนทั้งประเทศต่อไป นอกจากนี้ ที่ประชุม ศบค.ยธ. โดยท่านปลัดกระทรวงยุติธรรมเป็นประธานการประชุมในวันนี้ ได้มีข้อสั่งการให้สํารวจเรือนจําและทัณฑสถานที่เข้าเกณฑ์ตามแผนการสิ้นสุดการระบาดของโรค (EXIT) เพิ่มเติม ซึ่งคาดว่าจะมีเรือนจํากลางสมุทรปราการ เรือนจําพิเศษมีนบุรี ทัณฑสถานหญิงสงขลา และเรือนจําจังหวัดสตูล รวมถึงเรือนจําขนาดเล็กที่พบว่ามีแพร่ระบาดของเชื้อมาแล้วไม่ต่ํากว่า 2 สัปดาห์ โดยให้ดําเนินการจัดทําแผนเพื่อ EXIT และประสานหน่วยงานสาธารณสุขในแต่ละพื้นที่เพื่อจัดทําแผน ก่อนจะเสนอแผนการ EXIT เข้าที่ประชุมฯ เพื่อพิจารณาอีกครั้งจึงจะสามารถดําเนินการในระยะต่อไปได้ ทั้งนี้ ได้เน้นย้ําการป้องกันเชื้อที่จะถูกนําเข้าเรือนจําและทัณฑสถาน ด้วยการตรวจหาเชื้อในเจ้าหน้าที่ก่อนเข้าเวรรักษาการณ์ทุกครั้ง โดยเฉพาะในเรือนจําสีแดงที่พบการแพร่ระบาดแล้ว จะต้องตรวจหาเชื้อโควิด -19 ทั้งก่อนเข้าและก่อนออก และห้ามเจ้าหน้าที่ทุกรายเดินทางเข้าไปในพื้นที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย พร้อมให้รักษามาตรการ D-M-H-T อย่างเคร่งครัด ด้านสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนประจําวันจันทร์ที่ 2 สิงหาคม 2564 มีผู้ติดเชื้อเป็นเยาวชน 32 ราย เเละเจ้าหน้าที่ 12 ราย รวมผู้ติดเชื้อทั้งหมด 44 ราย ด้านผลการดําเนินงานสถานพินิจฯ/ศูนย์ฝึกและอบรมฯ สีขาว มีจํานวน 43 แห่ง หรือคิดเป็น 76.7% จากทั้งหมด 56 แห่ง อีก 13 แห่ง อยู่ระหว่างการรอตรวจและรอผล 6 แห่ง หมดสถานะสีขาว 2 แห่ง และติดเชื้อ 5 แห่ง สถิติการฉีดวัคซีนของเด็กและเยาวชน คงที่ 121 ราย หรือคิดเป็น 2.84% จากทั้งหมด 4,245 ราย และเจ้าหน้าที่ได้รับการฉีดวัคซีนคงที่ 3,792 ราย หรือคิดเป็น 86% จากทั้งหมด 4,394 ราย
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/44367
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“รัฐมนตรีเฉลิมชัย” พอใจผลการส่งออกผลไม้ไทยไปจีนล็อตแรกด้วยรถไฟสาย “จีน-ลาว” ผ่านด่านโมฮ่านในมณฑลยูนนานแล้ววันนี้
วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน 2565 “รัฐมนตรีเฉลิมชัย” พอใจผลการส่งออกผลไม้ไทยไปจีนล็อตแรกด้วยรถไฟสาย “จีน-ลาว” ผ่านด่านโมฮ่านในมณฑลยูนนานแล้ววันนี้ “รัฐมนตรีเฉลิมชัย” พอใจผลการส่งออกผลไม้ไทยไปจีนล็อตแรกด้วยรถไฟสาย “จีน-ลาว” ผ่านด่านโมฮ่านในมณฑลยูนนานแล้ววันนี้ “อลงกรณ์” เผยแผนต่อไปเดินหน้าจับมือ “ลาว-เวียดนาม” เปิดประตูอีสานสู่แปซิฟิกจากนครพนมเชื่อมท่าเรือหวุงอ๋าง เพิ่มช่องทางขนส่งสินค้าเกษตรทางเรือ นายอลงกรณ์พลบุตรที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะประธานคณะทํางานของคณะกรรมการบริหารจัดการผลไม้(Fruit Board)เปิดเผยวันนี้(3เม.ย)ว่าการขนส่งทุเรียน2ตู้คอนเทนเนอร์และมะพร้าวจํานวน1ตู้คอนเทนเนอร์ทางรถไฟจากสถานีรถไฟมาบตาพุตจังหวัดระยองในภาคตะวันออกสู่ประเทศจีนโดยมีนายสาธิตปิตุเตชะรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระยองเป็นประธานการปล่อยขบวนรถเมื่อวันที่27มีนาคมได้ถึงช่วงสุดท้ายที่สําคัญมากคือการขนส่งข้ามพรมแดนลาวที่ด่านบ่อเตนสู่แผ่นดินใหญ่จีนที่ด่านโมฮ่านมณฑลยูนนานได้ในวันนี้ นับเป็นระบบการขนส่งหลายรูปแบบ(Multi Modal Transportation)คือใช้ทั้งระบบรางและระบบรถที่เริ่มดําเนินการเป็นครั้งแรกเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้ากรณีที่ยังไม่สามารถขนส่งผลไม้ทางรถไฟจากลาวข้ามแดนไปด่านรถไฟโมฮ่านโดยตรงเนื่องจากจีนกําลังก่อสร้างอาคารและลานตรวจโรคพืชที่ด่านรถไฟโมฮ่านจึงต้องไปใช้การตรวจโรคพืชที่ด่านโมฮ่านซึ่งเป็นด่านใหญ่ด่านเดิมไปพรางก่อน “ทั้งนี้ได้รายงานให้ดร.เฉลิมชัยศรีอ่อนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารจัดการผลไม้(Fruit Board)ทราบแล้วโดยท่านรมว.เกษตรฯได้แสดงความพอใจแผนโลจิสติกส์เกษตรที่ประสบผลสําเร็จจากการทดสอบการขนส่งทุเรียนและมะพร้าวน้ําหอมล็อตแรกจากไทยผ่านลาวไปจีนภายใต้พิธีสารผลไม้ไทย-จีนด้วยเส้นทางรถไฟจีน-ลาวโดยได้สั่งการให้มีการจัดประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการผลไม้(Fruit Board)ในวันพฤหัสบดีที่7เมษายน2565เพื่อพิจารณาแก้ไขปัญหาทุกขั้นตอนเนื่องจากการขนส่งล็อตแรกยังมีความล่าช้ากว่าเป้าหมายรวมทั้งการจัดการเรื่องพิธีการเอกสารของหน่วยงานต่างๆการจองขบวนรถไฟตารางการเดินรถและค่าระวางการขนส่งในระบบ“ราง-รถ”ให้สามารถเพิ่มปริมาณการขนส่งผลไม้บนเส้นทาง“หนองคาย-เวียงจันทน์-บ่อเตน-โมฮ่าน”ให้ได้มากที่สุดและเร็วที่สุดเพื่อเป็นอีกทางเลือกใหม่ของการขนส่งผลไม้ไทยไปจีนสําหรับฤดูการผลิตปี2565”นายอลงกรณ์กล่าว นายอลงกรณ์กล่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการขนส่งผ่านท่าเรือหวุงอ๋างว่าขณะนี้มีความคืบหน้าอย่างมากในการประสานงานกับลาวและเวียดนามในการเปิดเส้นทางขนส่งผลไม้และสินค้าเกษตรออกทางด่านนครพนม-ด่านท่าแขกแขวงคําม่วนของลาวเข้าสู่เวียดนามที่ด่านชายแดนนาเพ้า-จาลอจังหวัดกว๋างบิ่ญโดยมีปลายทางที่ท่าเรือน้ําลึกหวุงอ๋างจังหวัดฮาติงห์ชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกโดยมีระยะทางไม่ถึง300กิโลเมตรเพื่อลงเรือสินค้าไปยังตลาดปลายทางเช่นท่าเรือซินโจวและฟรีโซนหนานหนิงในเขตปกครองตนเองกว่างสีท่าเรือกวางโจวเซิ่นเจิ้นฮ่องกงเซี๊ยะเหมินหนิงโปเซี่ยงไฮ้เกาหลีญี่ปุ่นและทวีปอเมริกาเหนืออเมริกาใต้เพื่อย่นระยะทางและเวลาในการขนส่งโดยไม่ต้องย้อนใต้ไปผ่านท่าเรือสิงคโปร์ซึ่งเป็นไปตามนโยบายอีสานเกตเวย์และระเบียงเศรษฐกิจอีสานภายใต้การบริหารโลจิสติกส์เกษตรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์โดยบูรณาการทํางานเชิงรุกกับหน่วยงานภาครัฐภาคเอกชนภาควิชาการและภาคเกษตรกรซึ่งประสบความสําเร็จในการเปิดอีสานเหนือไปแล้วทั้งเส้นทางขนส่ง“ราง-รถ”ผ่านด่านหนองคายและงานมหกรรมพืชสวนโลกปี2569ที่จังหวัดอุดรธานีเป็นการโปรโมทภาคอีสานและประเทศไทยโดยความร่วมมือกับประเทศอาเซียนและจีนและยังเป็นการเชื่อมโยงตามแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตกระหว่างไทยลาวเวียดนามและจีนหนึ่งในยุทธศาสตร์การเปิดเสรีทางการค้าของกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC) .
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“รัฐมนตรีเฉลิมชัย” พอใจผลการส่งออกผลไม้ไทยไปจีนล็อตแรกด้วยรถไฟสาย “จีน-ลาว” ผ่านด่านโมฮ่านในมณฑลยูนนานแล้ววันนี้ วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน 2565 “รัฐมนตรีเฉลิมชัย” พอใจผลการส่งออกผลไม้ไทยไปจีนล็อตแรกด้วยรถไฟสาย “จีน-ลาว” ผ่านด่านโมฮ่านในมณฑลยูนนานแล้ววันนี้ “รัฐมนตรีเฉลิมชัย” พอใจผลการส่งออกผลไม้ไทยไปจีนล็อตแรกด้วยรถไฟสาย “จีน-ลาว” ผ่านด่านโมฮ่านในมณฑลยูนนานแล้ววันนี้ “อลงกรณ์” เผยแผนต่อไปเดินหน้าจับมือ “ลาว-เวียดนาม” เปิดประตูอีสานสู่แปซิฟิกจากนครพนมเชื่อมท่าเรือหวุงอ๋าง เพิ่มช่องทางขนส่งสินค้าเกษตรทางเรือ นายอลงกรณ์พลบุตรที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะประธานคณะทํางานของคณะกรรมการบริหารจัดการผลไม้(Fruit Board)เปิดเผยวันนี้(3เม.ย)ว่าการขนส่งทุเรียน2ตู้คอนเทนเนอร์และมะพร้าวจํานวน1ตู้คอนเทนเนอร์ทางรถไฟจากสถานีรถไฟมาบตาพุตจังหวัดระยองในภาคตะวันออกสู่ประเทศจีนโดยมีนายสาธิตปิตุเตชะรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระยองเป็นประธานการปล่อยขบวนรถเมื่อวันที่27มีนาคมได้ถึงช่วงสุดท้ายที่สําคัญมากคือการขนส่งข้ามพรมแดนลาวที่ด่านบ่อเตนสู่แผ่นดินใหญ่จีนที่ด่านโมฮ่านมณฑลยูนนานได้ในวันนี้ นับเป็นระบบการขนส่งหลายรูปแบบ(Multi Modal Transportation)คือใช้ทั้งระบบรางและระบบรถที่เริ่มดําเนินการเป็นครั้งแรกเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้ากรณีที่ยังไม่สามารถขนส่งผลไม้ทางรถไฟจากลาวข้ามแดนไปด่านรถไฟโมฮ่านโดยตรงเนื่องจากจีนกําลังก่อสร้างอาคารและลานตรวจโรคพืชที่ด่านรถไฟโมฮ่านจึงต้องไปใช้การตรวจโรคพืชที่ด่านโมฮ่านซึ่งเป็นด่านใหญ่ด่านเดิมไปพรางก่อน “ทั้งนี้ได้รายงานให้ดร.เฉลิมชัยศรีอ่อนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารจัดการผลไม้(Fruit Board)ทราบแล้วโดยท่านรมว.เกษตรฯได้แสดงความพอใจแผนโลจิสติกส์เกษตรที่ประสบผลสําเร็จจากการทดสอบการขนส่งทุเรียนและมะพร้าวน้ําหอมล็อตแรกจากไทยผ่านลาวไปจีนภายใต้พิธีสารผลไม้ไทย-จีนด้วยเส้นทางรถไฟจีน-ลาวโดยได้สั่งการให้มีการจัดประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการผลไม้(Fruit Board)ในวันพฤหัสบดีที่7เมษายน2565เพื่อพิจารณาแก้ไขปัญหาทุกขั้นตอนเนื่องจากการขนส่งล็อตแรกยังมีความล่าช้ากว่าเป้าหมายรวมทั้งการจัดการเรื่องพิธีการเอกสารของหน่วยงานต่างๆการจองขบวนรถไฟตารางการเดินรถและค่าระวางการขนส่งในระบบ“ราง-รถ”ให้สามารถเพิ่มปริมาณการขนส่งผลไม้บนเส้นทาง“หนองคาย-เวียงจันทน์-บ่อเตน-โมฮ่าน”ให้ได้มากที่สุดและเร็วที่สุดเพื่อเป็นอีกทางเลือกใหม่ของการขนส่งผลไม้ไทยไปจีนสําหรับฤดูการผลิตปี2565”นายอลงกรณ์กล่าว นายอลงกรณ์กล่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการขนส่งผ่านท่าเรือหวุงอ๋างว่าขณะนี้มีความคืบหน้าอย่างมากในการประสานงานกับลาวและเวียดนามในการเปิดเส้นทางขนส่งผลไม้และสินค้าเกษตรออกทางด่านนครพนม-ด่านท่าแขกแขวงคําม่วนของลาวเข้าสู่เวียดนามที่ด่านชายแดนนาเพ้า-จาลอจังหวัดกว๋างบิ่ญโดยมีปลายทางที่ท่าเรือน้ําลึกหวุงอ๋างจังหวัดฮาติงห์ชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกโดยมีระยะทางไม่ถึง300กิโลเมตรเพื่อลงเรือสินค้าไปยังตลาดปลายทางเช่นท่าเรือซินโจวและฟรีโซนหนานหนิงในเขตปกครองตนเองกว่างสีท่าเรือกวางโจวเซิ่นเจิ้นฮ่องกงเซี๊ยะเหมินหนิงโปเซี่ยงไฮ้เกาหลีญี่ปุ่นและทวีปอเมริกาเหนืออเมริกาใต้เพื่อย่นระยะทางและเวลาในการขนส่งโดยไม่ต้องย้อนใต้ไปผ่านท่าเรือสิงคโปร์ซึ่งเป็นไปตามนโยบายอีสานเกตเวย์และระเบียงเศรษฐกิจอีสานภายใต้การบริหารโลจิสติกส์เกษตรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์โดยบูรณาการทํางานเชิงรุกกับหน่วยงานภาครัฐภาคเอกชนภาควิชาการและภาคเกษตรกรซึ่งประสบความสําเร็จในการเปิดอีสานเหนือไปแล้วทั้งเส้นทางขนส่ง“ราง-รถ”ผ่านด่านหนองคายและงานมหกรรมพืชสวนโลกปี2569ที่จังหวัดอุดรธานีเป็นการโปรโมทภาคอีสานและประเทศไทยโดยความร่วมมือกับประเทศอาเซียนและจีนและยังเป็นการเชื่อมโยงตามแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตกระหว่างไทยลาวเวียดนามและจีนหนึ่งในยุทธศาสตร์การเปิดเสรีทางการค้าของกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC) .
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/53245
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกฯ ยินดี “บาส-ปอป้อ” คว้าแชมป์การแข่งขันแบดมินตันในประเภทคู่ผสม และวิว กุลวุฒิ คว้าแชมป์ในประเภทชายเดี่ยว ในรายการ Yonex Gainward German Open 2022
วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม 2565 นายกฯ ยินดี “บาส-ปอป้อ” คว้าแชมป์การแข่งขันแบดมินตันในประเภทคู่ผสม และวิว กุลวุฒิ คว้าแชมป์ในประเภทชายเดี่ยว ในรายการ Yonex Gainward German Open 2022 นายกฯ ยินดี “บาส-ปอป้อ” คว้าแชมป์การแข่งขันแบดมินตันในประเภทคู่ผสม และวิว กุลวุฒิ คว้าแชมป์ในประเภทชายเดี่ยว ในรายการ Yonex Gainward German Open 2022 วันที่ 14 มี.ค. 65 นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แสดงความยินดีที่ บาส เดชาพล พัววรานุเคราะห์ และ ปอป้อ ทรัพย์สิรี แต้รัตนชัย คู่มืออันดับ 1 ของโลก ชนะ Ou Xuan Yi และ Huang Ya Qiong จากจีน ด้วยคะแนน 21-11 และ 21-9 ในการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศแบดมินตันคู่ผสม รายการ โยเน็กซ์ เกนวอร์ด เยอรมัน โอเพน 2022 (Yonex Gainward German Open 2022) ทัวร์นาเมนต์ระดับเวิลด์ทัวร์ 300 ที่เมืองมูลไฮม์อันแดร์รูร์ ประเทศเยอรมนี โฆษกรัฐบาลระบุว่า การได้แชมป์รายการนี้ส่งผลให้บาสและปอป้อได้แชมป์เวิลด์ทัวร์เป็นรายการที่ 6 ติดต่อกัน ต่อเนื่องจากปีที่แล้ว นับเป็นผลงานที่ยอดเยี่ยมของนักแบดมินตันประเภทคู่ผสมของไทย ด้านประเภทชายเดี่ยว วิว กุลวุฒิ วิทิตศานต์ นักกีฬาแบดมินตันดาวรุ่งมือ 20 ของไทย ในรอบชิงชนะเลิศ พบกับ Sen Lakshya ของอินเดีย ที่ชนะ Viktor Axelsen มือ 1 ของโลก จากเดนมาร์ก มาในรอบก่อนชิงชนะเลิศ โดยในรอบชิงชนะเลิศ วิวสามารถเอาชนะไปได้ทั้ง 2 เซต ด้วยคะแนน 21-18 และ 21-15 “ความสําเร็จของนักกีฬาไทยในรายการแข่งขันกีฬาระดับโลกสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพ และความสามารถของนักกีฬาไทยที่สามารถสร้างผลงานได้โดดเด่น นําความสุขมาสู่คนไทยทั้งประเทศ รวมทั้งเป็นแบบอย่างของเยาวชนที่ประสบความสําเร็จจากความมุ่งมั่น ไม่ย่อท้อ นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังกล่าวชื่นชมสมาคมกีฬาแบดมินตันแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ รวมถึงทุกคน ที่มีส่วนสนับสนุนผลักดันนักกีฬาแบดมินตันของไทย” นายธนกร กล่าว
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกฯ ยินดี “บาส-ปอป้อ” คว้าแชมป์การแข่งขันแบดมินตันในประเภทคู่ผสม และวิว กุลวุฒิ คว้าแชมป์ในประเภทชายเดี่ยว ในรายการ Yonex Gainward German Open 2022 วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม 2565 นายกฯ ยินดี “บาส-ปอป้อ” คว้าแชมป์การแข่งขันแบดมินตันในประเภทคู่ผสม และวิว กุลวุฒิ คว้าแชมป์ในประเภทชายเดี่ยว ในรายการ Yonex Gainward German Open 2022 นายกฯ ยินดี “บาส-ปอป้อ” คว้าแชมป์การแข่งขันแบดมินตันในประเภทคู่ผสม และวิว กุลวุฒิ คว้าแชมป์ในประเภทชายเดี่ยว ในรายการ Yonex Gainward German Open 2022 วันที่ 14 มี.ค. 65 นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แสดงความยินดีที่ บาส เดชาพล พัววรานุเคราะห์ และ ปอป้อ ทรัพย์สิรี แต้รัตนชัย คู่มืออันดับ 1 ของโลก ชนะ Ou Xuan Yi และ Huang Ya Qiong จากจีน ด้วยคะแนน 21-11 และ 21-9 ในการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศแบดมินตันคู่ผสม รายการ โยเน็กซ์ เกนวอร์ด เยอรมัน โอเพน 2022 (Yonex Gainward German Open 2022) ทัวร์นาเมนต์ระดับเวิลด์ทัวร์ 300 ที่เมืองมูลไฮม์อันแดร์รูร์ ประเทศเยอรมนี โฆษกรัฐบาลระบุว่า การได้แชมป์รายการนี้ส่งผลให้บาสและปอป้อได้แชมป์เวิลด์ทัวร์เป็นรายการที่ 6 ติดต่อกัน ต่อเนื่องจากปีที่แล้ว นับเป็นผลงานที่ยอดเยี่ยมของนักแบดมินตันประเภทคู่ผสมของไทย ด้านประเภทชายเดี่ยว วิว กุลวุฒิ วิทิตศานต์ นักกีฬาแบดมินตันดาวรุ่งมือ 20 ของไทย ในรอบชิงชนะเลิศ พบกับ Sen Lakshya ของอินเดีย ที่ชนะ Viktor Axelsen มือ 1 ของโลก จากเดนมาร์ก มาในรอบก่อนชิงชนะเลิศ โดยในรอบชิงชนะเลิศ วิวสามารถเอาชนะไปได้ทั้ง 2 เซต ด้วยคะแนน 21-18 และ 21-15 “ความสําเร็จของนักกีฬาไทยในรายการแข่งขันกีฬาระดับโลกสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพ และความสามารถของนักกีฬาไทยที่สามารถสร้างผลงานได้โดดเด่น นําความสุขมาสู่คนไทยทั้งประเทศ รวมทั้งเป็นแบบอย่างของเยาวชนที่ประสบความสําเร็จจากความมุ่งมั่น ไม่ย่อท้อ นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังกล่าวชื่นชมสมาคมกีฬาแบดมินตันแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ รวมถึงทุกคน ที่มีส่วนสนับสนุนผลักดันนักกีฬาแบดมินตันของไทย” นายธนกร กล่าว
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/52503
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-บริษัท ขนส่ง จำกัด จัดรถโดยสารรับส่ง “กลุ่มจะนะรักษ์ถิ่น” กลับถึงบ้านเรียบร้อยแล้ว
วันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม 2564 บริษัท ขนส่ง จํากัด จัดรถโดยสารรับส่ง “กลุ่มจะนะรักษ์ถิ่น” กลับถึงบ้านเรียบร้อยแล้ว ... นายสัญลักข์ ปัญวัฒนลิขิต กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ขนส่ง จํากัด (บขส.) กระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ตามที่ บขส. ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลและกระทรวงคมนาคม ให้จัดรถโดยสารเพื่อรับ - ส่งกลุ่มจะนะรักษ์ถิ่น ผู้ร่วมชุมนุมบริเวณหน้าทําเนียบรัฐบาล กลับไปส่งที่อําเภอจะนะ จังหวัดสงขลา นั้น บขส. ได้ดําเนินการในภารกิจดังกล่าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยจัดรถโดยสาร 2 คัน เดินทางออกจากหน้าทําเนียบรัฐบาล เวลา 07.30 น. และถึงจุดหมายปลางทางอําเภอจะนะ จังหวัดสงขลา เวลา 23.00 น. ของวันที่ 15 ธันวาคม 2564 ด้วยความปลอดภัย
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-บริษัท ขนส่ง จำกัด จัดรถโดยสารรับส่ง “กลุ่มจะนะรักษ์ถิ่น” กลับถึงบ้านเรียบร้อยแล้ว วันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม 2564 บริษัท ขนส่ง จํากัด จัดรถโดยสารรับส่ง “กลุ่มจะนะรักษ์ถิ่น” กลับถึงบ้านเรียบร้อยแล้ว ... นายสัญลักข์ ปัญวัฒนลิขิต กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ขนส่ง จํากัด (บขส.) กระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ตามที่ บขส. ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลและกระทรวงคมนาคม ให้จัดรถโดยสารเพื่อรับ - ส่งกลุ่มจะนะรักษ์ถิ่น ผู้ร่วมชุมนุมบริเวณหน้าทําเนียบรัฐบาล กลับไปส่งที่อําเภอจะนะ จังหวัดสงขลา นั้น บขส. ได้ดําเนินการในภารกิจดังกล่าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยจัดรถโดยสาร 2 คัน เดินทางออกจากหน้าทําเนียบรัฐบาล เวลา 07.30 น. และถึงจุดหมายปลางทางอําเภอจะนะ จังหวัดสงขลา เวลา 23.00 น. ของวันที่ 15 ธันวาคม 2564 ด้วยความปลอดภัย
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/49517
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีเตรียมนำคณะรัฐมนตรี ลงพื้นที่และประชุม ครม. สัญจร และลงพื้นที่ ณ กระบี่/ตรัง ระหว่างวันที่ 15-16 พ.ย. นี้ เป็นการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ครั้งแรกของปี
วันอังคารที่ 9 พฤศจิกายน 2564 นายกรัฐมนตรีเตรียมนําคณะรัฐมนตรี ลงพื้นที่และประชุม ครม. สัญจร และลงพื้นที่ ณ กระบี่/ตรัง ระหว่างวันที่ 15-16 พ.ย. นี้ เป็นการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ครั้งแรกของปี นายกรัฐมนตรีเตรียมนําคณะรัฐมนตรี ลงพื้นที่และประชุม ครม. สัญจร และลงพื้นที่ ณ กระบี่/ตรัง ระหว่างวันที่ 15-16 พ.ย. นี้ เป็นการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ครั้งแรกของปีนี้ พร้อมพบปะผู้ประกอบการเดินหน้าการท่องเที่ยวฝั่งอันดามัน วันนี้ (9 พ.ย.64) นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เตรียมเดินทางตรวจราชการจังหวัดกระบี่ และจังหวัดตรัง และประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ (ครม. สัญจร) ครั้งที่ 1/2564 ระหว่างวันที่ 15-16 พฤศจิกายน 2564 ณ จังหวัดกระบี่ ติดตามความก้าวหน้าพร้อมหารือผู้ประกอบการในพื้นที่ ภายหลังจากที่มีการเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภารกิจนายกรัฐมนตรี ดังนี้ วันที่ 15 พ.ย. ช่วงเช้า นายกรัฐมนตรีจะเดินทางไปจังหวัดกระบี่ เพื่อรับฟังบรรยายสรุป โครงการปรับปรุงอาคารที่พักผู้โดยสารท่าอากาศยานนานาชาติ จ.กระบี่ จากนั้นไปยังศูนย์พัฒนาประสิทธิภาพการให้ความช่วยเหลือและสร้างความปลอดภัยทางการท่องเที่ยว จ.กระบี่ ต.ไสไทย อ.เมืองกระบี่ ซึ่งองค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ และสํานักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดกระบี่ ได้ดําเนินการจัดตั้งศูนย์นี้ขึ้นมา เพื่อเป็นศูนย์ฝึกอบรมให้ความช่วยเหลือประชาชน ที่ได้คุณภาพมาตรฐานสากล เป็นสถานที่ฝึกอบรมฝึกสอนด้านการดับเพลิงและกู้ภัยแก่เจ้าหน้าที่ดับเพลิงและกู้ภัยของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับผู้ที่สนใจจากจังหวัดอื่นๆ ให้มาศึกษาหลักสูตรการดับเพลิงและการกู้ภัยที่ครบวงจร จากนั้น ไปยังศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรมอันดามันเทศบาลเมืองกระบี่ ต.ปากน้ํา เพื่อเป็นประธานพิธีในเปิดศูนย์จําหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนสินค้าโอทอปชุมชน(ANDAMAN OTOP SHOP) 6 จังหวัด (ระนอง ภูเก็ต พังงาน กระบี่ ตรัง และสตูล) พร้อมเยี่ยมชมศูนย์จําหน่ายและทักทายผู้ประกอบการร้านค้าและประชาชน ในช่วงบ่าย นายกรัฐมนตรีและคณะจะตรวจเยี่ยมชุมชนท่องเที่ยวคลองหรูด (คลองน้ําใส) ต.หนองทะเล และ เป็นประธานพิธีเปิดอุทยานต้อนรับการท่องเที่ยวเมืองกระบี่ และพบผู้ประกอบการ ผู้นําท้องถิ่น และประชาชน พร้อมร่วมปลูกต้นจิกทะเล ณ อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี ต.อ่าวนาง อ.เมืองกระบี่ รุ่งขึ้น วันที่ 16 พ.ย. นายกรัฐมนตรีจะเป็นประธานการประชุม ครม.สัญจร ณ โรงแรมโซฟิเทล กระบี่ โภคีธรา กอล์ฟ แอนด์ สปา รีสอร์ท โดยก่อนการประชุม นายกรัฐมนตรีจะเยี่ยมชมนิทรรศการกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน จากนั้นเป็นประธานการประชุมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ร่วมกับผู้ว่าราชการ 6 จังหวัด ต่อด้วยการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 1/2564 ซึ่งภายหลังจากการประชุมเสร็จสิ้น นายกรัฐมนตรีออกเดินทางโดยเฮลิคอปเตอร์ไปยัง จังหวัดตรัง เพื่อเป็นประธานในพิธีเปิด "ท่าเรือปากเมงเปิดประตูสู่อันดามัน" ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีการพัฒนาปรับปรุงโครงสร้างท่าเรือฯ เนื่องมาจากอายุการใช้งานของท่าเรือที่มีมากกว่า 20 ปี ทําให้ท่าเรือฯ มีสภาพชํารุดทรุดโทรม อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อนักม่องเที่ยวที่ใช้บริการ ปัจจุบันการปรับปรุงแล้วเสร็จ คาดว่าจะพร้อมให้บริการประชาชนและนักท่องเที่ยว พร้อมต้อนรับการเปิดประเทศและการท่องเที่ยวให้กับจังหวัดตรัง รับนักท่องเที่ยวที่เดินทางจากหาดปากเมงไปยังแหล่งท่องเที่ยวตามเกาะต่างๆ คาดว่า จะมีนักท่องเที่ยวมาใช้บริการจํานวนมาก โอกาสนี้ นายกฯ พบผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวและประชาชนในพื้นที่ ก่อนเดินทางกลับกรุงเทพมหานคร โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ยังกล่าวว่า การประชุม ครม.สัญจร จังหวัดกระบี่ในครั้งนี้ รัฐบาลให้ความสําคัญต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจและส่งเสริมการท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวที่สําคัญ โดยเฉพาะการท่องเที่ยวฝั่งอันดามันที่จะมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามา ภายหลังจากที่ได้มีการประกาศ "เปิดประเทศ" รับนักท่องเที่ยว โดยได้มีการบริหารจัดการรองรับนักท่องเที่ยวเพื่อเชื่อมโยง Phuket SandboxและSamui Plus Modelเป็นจุดที่จะส่งต่อนักท่องเที่ยวไปยังแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ เพื่อกระจายรายได้จากการท่องเที่ยวให้เกิดขึ้นมากที่สุด ยกระดับการท่องเที่ยวที่มีมาตรฐานและคุณภาพระดับโลก นอกจากนี้ ยังมีการหารือกับภาคธุรกิจ เอกชน และผู้ประกอบการในพื้นที่ เพี่อส่งเสริมการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่ในประเทศ จําเป็นต้องทีการปรับตัวและแก้ไขปัญหา ควบคู่ไปกับการพัฒนา โดยต้องอาศัยเทคโนโลยีและการเชื่อมโยงของแหล่งท่องเที่ยวให้มีศักยภาพซึ่งนายกรัฐมนตรีหวังการลงพื้นที่ในครั้งนี้ จะสร้างความเชื่อมั่นให้คนไทยกลับมาใช้ชีวิตตามปกติ ตามมาตรการด้านสาธารณสุข การป้องกันโรคที่ยังเข้มงวด และอีกด้านหนึ่งกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวกลับมาคึกคักอีกครั้ง
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกรัฐมนตรีเตรียมนำคณะรัฐมนตรี ลงพื้นที่และประชุม ครม. สัญจร และลงพื้นที่ ณ กระบี่/ตรัง ระหว่างวันที่ 15-16 พ.ย. นี้ เป็นการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ครั้งแรกของปี วันอังคารที่ 9 พฤศจิกายน 2564 นายกรัฐมนตรีเตรียมนําคณะรัฐมนตรี ลงพื้นที่และประชุม ครม. สัญจร และลงพื้นที่ ณ กระบี่/ตรัง ระหว่างวันที่ 15-16 พ.ย. นี้ เป็นการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ครั้งแรกของปี นายกรัฐมนตรีเตรียมนําคณะรัฐมนตรี ลงพื้นที่และประชุม ครม. สัญจร และลงพื้นที่ ณ กระบี่/ตรัง ระหว่างวันที่ 15-16 พ.ย. นี้ เป็นการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ครั้งแรกของปีนี้ พร้อมพบปะผู้ประกอบการเดินหน้าการท่องเที่ยวฝั่งอันดามัน วันนี้ (9 พ.ย.64) นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เตรียมเดินทางตรวจราชการจังหวัดกระบี่ และจังหวัดตรัง และประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ (ครม. สัญจร) ครั้งที่ 1/2564 ระหว่างวันที่ 15-16 พฤศจิกายน 2564 ณ จังหวัดกระบี่ ติดตามความก้าวหน้าพร้อมหารือผู้ประกอบการในพื้นที่ ภายหลังจากที่มีการเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภารกิจนายกรัฐมนตรี ดังนี้ วันที่ 15 พ.ย. ช่วงเช้า นายกรัฐมนตรีจะเดินทางไปจังหวัดกระบี่ เพื่อรับฟังบรรยายสรุป โครงการปรับปรุงอาคารที่พักผู้โดยสารท่าอากาศยานนานาชาติ จ.กระบี่ จากนั้นไปยังศูนย์พัฒนาประสิทธิภาพการให้ความช่วยเหลือและสร้างความปลอดภัยทางการท่องเที่ยว จ.กระบี่ ต.ไสไทย อ.เมืองกระบี่ ซึ่งองค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ และสํานักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดกระบี่ ได้ดําเนินการจัดตั้งศูนย์นี้ขึ้นมา เพื่อเป็นศูนย์ฝึกอบรมให้ความช่วยเหลือประชาชน ที่ได้คุณภาพมาตรฐานสากล เป็นสถานที่ฝึกอบรมฝึกสอนด้านการดับเพลิงและกู้ภัยแก่เจ้าหน้าที่ดับเพลิงและกู้ภัยของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับผู้ที่สนใจจากจังหวัดอื่นๆ ให้มาศึกษาหลักสูตรการดับเพลิงและการกู้ภัยที่ครบวงจร จากนั้น ไปยังศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรมอันดามันเทศบาลเมืองกระบี่ ต.ปากน้ํา เพื่อเป็นประธานพิธีในเปิดศูนย์จําหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนสินค้าโอทอปชุมชน(ANDAMAN OTOP SHOP) 6 จังหวัด (ระนอง ภูเก็ต พังงาน กระบี่ ตรัง และสตูล) พร้อมเยี่ยมชมศูนย์จําหน่ายและทักทายผู้ประกอบการร้านค้าและประชาชน ในช่วงบ่าย นายกรัฐมนตรีและคณะจะตรวจเยี่ยมชุมชนท่องเที่ยวคลองหรูด (คลองน้ําใส) ต.หนองทะเล และ เป็นประธานพิธีเปิดอุทยานต้อนรับการท่องเที่ยวเมืองกระบี่ และพบผู้ประกอบการ ผู้นําท้องถิ่น และประชาชน พร้อมร่วมปลูกต้นจิกทะเล ณ อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี ต.อ่าวนาง อ.เมืองกระบี่ รุ่งขึ้น วันที่ 16 พ.ย. นายกรัฐมนตรีจะเป็นประธานการประชุม ครม.สัญจร ณ โรงแรมโซฟิเทล กระบี่ โภคีธรา กอล์ฟ แอนด์ สปา รีสอร์ท โดยก่อนการประชุม นายกรัฐมนตรีจะเยี่ยมชมนิทรรศการกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน จากนั้นเป็นประธานการประชุมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ร่วมกับผู้ว่าราชการ 6 จังหวัด ต่อด้วยการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 1/2564 ซึ่งภายหลังจากการประชุมเสร็จสิ้น นายกรัฐมนตรีออกเดินทางโดยเฮลิคอปเตอร์ไปยัง จังหวัดตรัง เพื่อเป็นประธานในพิธีเปิด "ท่าเรือปากเมงเปิดประตูสู่อันดามัน" ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีการพัฒนาปรับปรุงโครงสร้างท่าเรือฯ เนื่องมาจากอายุการใช้งานของท่าเรือที่มีมากกว่า 20 ปี ทําให้ท่าเรือฯ มีสภาพชํารุดทรุดโทรม อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อนักม่องเที่ยวที่ใช้บริการ ปัจจุบันการปรับปรุงแล้วเสร็จ คาดว่าจะพร้อมให้บริการประชาชนและนักท่องเที่ยว พร้อมต้อนรับการเปิดประเทศและการท่องเที่ยวให้กับจังหวัดตรัง รับนักท่องเที่ยวที่เดินทางจากหาดปากเมงไปยังแหล่งท่องเที่ยวตามเกาะต่างๆ คาดว่า จะมีนักท่องเที่ยวมาใช้บริการจํานวนมาก โอกาสนี้ นายกฯ พบผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวและประชาชนในพื้นที่ ก่อนเดินทางกลับกรุงเทพมหานคร โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ยังกล่าวว่า การประชุม ครม.สัญจร จังหวัดกระบี่ในครั้งนี้ รัฐบาลให้ความสําคัญต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจและส่งเสริมการท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวที่สําคัญ โดยเฉพาะการท่องเที่ยวฝั่งอันดามันที่จะมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามา ภายหลังจากที่ได้มีการประกาศ "เปิดประเทศ" รับนักท่องเที่ยว โดยได้มีการบริหารจัดการรองรับนักท่องเที่ยวเพื่อเชื่อมโยง Phuket SandboxและSamui Plus Modelเป็นจุดที่จะส่งต่อนักท่องเที่ยวไปยังแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ เพื่อกระจายรายได้จากการท่องเที่ยวให้เกิดขึ้นมากที่สุด ยกระดับการท่องเที่ยวที่มีมาตรฐานและคุณภาพระดับโลก นอกจากนี้ ยังมีการหารือกับภาคธุรกิจ เอกชน และผู้ประกอบการในพื้นที่ เพี่อส่งเสริมการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่ในประเทศ จําเป็นต้องทีการปรับตัวและแก้ไขปัญหา ควบคู่ไปกับการพัฒนา โดยต้องอาศัยเทคโนโลยีและการเชื่อมโยงของแหล่งท่องเที่ยวให้มีศักยภาพซึ่งนายกรัฐมนตรีหวังการลงพื้นที่ในครั้งนี้ จะสร้างความเชื่อมั่นให้คนไทยกลับมาใช้ชีวิตตามปกติ ตามมาตรการด้านสาธารณสุข การป้องกันโรคที่ยังเข้มงวด และอีกด้านหนึ่งกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวกลับมาคึกคักอีกครั้ง
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/47998
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รฟม. กำชับ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ผู้รับจ้างขุดลอกท่อระบายน้ำและลำรางในแนวก่อสร้างรถไฟฟ้า
วันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม 2565 รฟม. กําชับ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ผู้รับจ้างขุดลอกท่อระบายน้ําและลํารางในแนวก่อสร้างรถไฟฟ้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ํา และเตรียมพร้อมรับมือช่วงพายุฤดูร้อน การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กระทรวงคมนาคมในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบดําเนินการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ได้ติดตามเฝ้าระวังพื้นที่ก่อสร้างรถไฟฟ้าตลอดแนวถนนรามคําแหงในช่วงฤดูฝน โดยกําชับให้ผู้รับจ้างก่อสร้างงานโยธาทุกสัญญา ดําเนินการลอกท่อระบายน้ําและลํารางสาธารณะในแนวก่อสร้างรถไฟฟ้า เพื่อเตรียมพร้อมรับมือช่วงพายุ ฤดูร้อนและเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ําให้ดีมากยิ่งขึ้น โดย บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จํากัด (มหาชน) ผู้รับจ้างก่อสร้างงานโยธาอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน สัญญาที่ 3 ช่วงหัวหมาก - คลองบ้านม้า ได้ดําเนินการลอกท่อระบายน้ําถนนรามคําแหง บริเวณพื้นที่ก่อสร้างสถานีแยกลําสาลี สถานีศรีบูรพา และสถานีคลองบ้านม้า เพื่อป้องกันเศษวัสดุ อุดตันในแนวก่อสร้างรถไฟฟ้า และบรรเทาปัญหาน้ําท่วมขังบนถนนรามคําแหง ทั้งนี้ รฟม. ได้เน้นย้ําให้ที่ปรึกษาโครงการ กํากับดูแลให้ผู้รับจ้าง ลอกท่อระบายน้ําตามแนวก่อสร้างรถไฟฟ้า อย่างต่อเนื่องทุก ๆ 3 เดือน เพื่อเตรียมพร้อมหากกรณีเกิดฝนตกในพื้นที่ พร้อมจัดเตรียมเจ้าหน้าที่และเครื่องสูบน้ํา เพื่อช่วยเหลือและอํานวยความสะดวกให้แก่ประชาชน ตามนโยบายด้านความรับผิดชอบต่อสังคมในการให้ความสําคัญแก่ประชาชนและชุมชนตามแนวสายทางโครงการรถไฟฟ้าซึ่งอาจจะได้รับผลกระทบจากการดําเนินงานก่อสร้างโครงการฯ ติดตามข้อมูลข่าวสารโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ได้ที่เฟซบุ๊กแฟนเพจ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม เว็บไซต์โครงการ www.mrta-orangelineeast.com และ Line Official : OrangeLine
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รฟม. กำชับ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ผู้รับจ้างขุดลอกท่อระบายน้ำและลำรางในแนวก่อสร้างรถไฟฟ้า วันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม 2565 รฟม. กําชับ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ผู้รับจ้างขุดลอกท่อระบายน้ําและลํารางในแนวก่อสร้างรถไฟฟ้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ํา และเตรียมพร้อมรับมือช่วงพายุฤดูร้อน การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กระทรวงคมนาคมในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบดําเนินการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ได้ติดตามเฝ้าระวังพื้นที่ก่อสร้างรถไฟฟ้าตลอดแนวถนนรามคําแหงในช่วงฤดูฝน โดยกําชับให้ผู้รับจ้างก่อสร้างงานโยธาทุกสัญญา ดําเนินการลอกท่อระบายน้ําและลํารางสาธารณะในแนวก่อสร้างรถไฟฟ้า เพื่อเตรียมพร้อมรับมือช่วงพายุ ฤดูร้อนและเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ําให้ดีมากยิ่งขึ้น โดย บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จํากัด (มหาชน) ผู้รับจ้างก่อสร้างงานโยธาอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน สัญญาที่ 3 ช่วงหัวหมาก - คลองบ้านม้า ได้ดําเนินการลอกท่อระบายน้ําถนนรามคําแหง บริเวณพื้นที่ก่อสร้างสถานีแยกลําสาลี สถานีศรีบูรพา และสถานีคลองบ้านม้า เพื่อป้องกันเศษวัสดุ อุดตันในแนวก่อสร้างรถไฟฟ้า และบรรเทาปัญหาน้ําท่วมขังบนถนนรามคําแหง ทั้งนี้ รฟม. ได้เน้นย้ําให้ที่ปรึกษาโครงการ กํากับดูแลให้ผู้รับจ้าง ลอกท่อระบายน้ําตามแนวก่อสร้างรถไฟฟ้า อย่างต่อเนื่องทุก ๆ 3 เดือน เพื่อเตรียมพร้อมหากกรณีเกิดฝนตกในพื้นที่ พร้อมจัดเตรียมเจ้าหน้าที่และเครื่องสูบน้ํา เพื่อช่วยเหลือและอํานวยความสะดวกให้แก่ประชาชน ตามนโยบายด้านความรับผิดชอบต่อสังคมในการให้ความสําคัญแก่ประชาชนและชุมชนตามแนวสายทางโครงการรถไฟฟ้าซึ่งอาจจะได้รับผลกระทบจากการดําเนินงานก่อสร้างโครงการฯ ติดตามข้อมูลข่าวสารโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ได้ที่เฟซบุ๊กแฟนเพจ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม เว็บไซต์โครงการ www.mrta-orangelineeast.com และ Line Official : OrangeLine
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/54364
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัดกอบชัยฯ เป็นประธานแถลงข่าวผลรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ประจำปี 2564 Thailand Quality Award 2021 (TQA)
วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม 2565 ปลัดกอบชัยฯ เป็นประธานแถลงข่าวผลรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ประจําปี 2564 Thailand Quality Award 2021 (TQA) นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานแถลงข่าวผลรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ประจําปี 2564 Thailand Quality Award 2021 (TQA) ปลัดกอบชัยฯ เป็นประธานแถลงข่าวผลรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ประจําปี 2564 Thailand Quality Award 2021 (TQA) วันนี้ (3 มีนาคม 2565) นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานในงานแถลงข่าวผลรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ประจําปี 2564 Thailand Quality Award 2021 (TQA) พร้อมมอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีแก่ผู้บริหารองค์กรที่ได้รับรางวัล และมอบรางวัล APO National Award แก่ ดร.อภิชาติ พงษ์ศรีหดุลชัย ทั้งนี้การมอบรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award : TQA) จัดขึ้นเพื่อเชิดชูองค์กรจากหลากหลายภาคส่วนที่มุ่งมั่นปรับปรุงและพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง จนสามารถคว้ารางวัลคุณภาพแห่งชาติ รางวัลที่การันตีถึงศักยภาพ ความพร้อมด้านสมรรถนะ และมาตรฐานการดําเนินงานที่เป็นเลิศ ทัดเทียมระดับสากล โดยมี ผศ.ดร.อธิศานต์ วายุภาพ ผู้อํานวยการสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ นายปิยะบุตร ชลวิจารณ์ ประธานกรรมการรางวัลคุณภาพแห่งชาติ และคณะผู้บริหารสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ร่วมงาน ณ โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ ปลัดกอบชัยฯ กล่าวว่า รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award : TQA) เปรียบเสมือนกลไกที่ช่วยขับเคลื่อนและยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันของอุตสาหกรรมในภาพรวม อีกทั้งยังมุ่งส่งเสริมประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ และกระตุ้นให้เกิดการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการปรับปรุงกระบวนการดําเนินงานให้มีความทันสมัย พร้อมสร้างคุณค่าให้แก่องค์กรไทยทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการ ภาครัฐวิสาหกิจ และภาคการศึกษา ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นเรี่ยวแรงสําคัญของการพัฒนาประเทศ รวมถึงภาครัฐที่มีบทบาทต่อการสนับสนุนให้การดําเนินกิจกรรมในภาคเศรษฐกิจดําเนินไปอย่างราบรื่น รวดเร็ว และมีผลิตภาพสอดรับกับกรอบทิศทางการพัฒนาประเทศในระยะของแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ฉบับที่ 13 ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อพลิกโฉมประเทศไทย หรือเปลี่ยนแปลงประเทศขนานใหญ่ ภายใต้แนวคิด Resilience มุ่งลดความเปราะบาง และสร้างความพร้อมต่อการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและวิกฤตต่าง ๆ สามารถเติบโตและอยู่รอดท่ามกลางความท้าทาย ทั้งนี้ มีองค์กรที่ได้รับรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ประจําปี 2564 จํานวนทั้งสิ้น 14 องค์กร ประกอบด้วย รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award : TQA) จํานวน 1 องค์กร ได้แก่ บริษัท เคาท์เตอร์เซอร์วิส จํากัด ซึ่งเคยได้รับรางวัล TQC ในปี 2549 และ 2555-2557 รางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศที่มีความโดดเด่นด้านนวัตกรรม (Thailand Quality Class Plus: Innovation - TQC Plus: Innovation) จํานวน 2 องค์กร ได้แก่ 1. คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล 2. บริษัท พีทีที แอลเอ็นจี จํากัด รางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศที่มีความโดดเด่นด้านลูกค้า (Thailand Quality Class Plus: Customer - TQC Plus: Customer) จํานวน 1 องค์กร ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร รางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศที่มีความโดดเด่นด้านบุคลากร (Thailand Quality Class Plus: People - TQC Plus: People) จํานวน 2 องค์กร ได้แก่ 1. คณะทันตแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2. โรงพยาบาลพญาไท 2 รางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศ (Thailand Quality Class: TQC) จํานวน 8 องค์กร ได้แก่ 1. เขื่อนสิริกิติ์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 2. คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล 3. คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 4. บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม 5. บริษัท อาร์เอฟเอส จํากัด 6. มหาวิทยาลัยมหิดล 7. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 8. โรงไฟฟ้าวังน้อย #TQA 2564 #กระทรวงอุตสาหกรรม
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-ปลัดกอบชัยฯ เป็นประธานแถลงข่าวผลรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ประจำปี 2564 Thailand Quality Award 2021 (TQA) วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม 2565 ปลัดกอบชัยฯ เป็นประธานแถลงข่าวผลรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ประจําปี 2564 Thailand Quality Award 2021 (TQA) นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานแถลงข่าวผลรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ประจําปี 2564 Thailand Quality Award 2021 (TQA) ปลัดกอบชัยฯ เป็นประธานแถลงข่าวผลรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ประจําปี 2564 Thailand Quality Award 2021 (TQA) วันนี้ (3 มีนาคม 2565) นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานในงานแถลงข่าวผลรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ประจําปี 2564 Thailand Quality Award 2021 (TQA) พร้อมมอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีแก่ผู้บริหารองค์กรที่ได้รับรางวัล และมอบรางวัล APO National Award แก่ ดร.อภิชาติ พงษ์ศรีหดุลชัย ทั้งนี้การมอบรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award : TQA) จัดขึ้นเพื่อเชิดชูองค์กรจากหลากหลายภาคส่วนที่มุ่งมั่นปรับปรุงและพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง จนสามารถคว้ารางวัลคุณภาพแห่งชาติ รางวัลที่การันตีถึงศักยภาพ ความพร้อมด้านสมรรถนะ และมาตรฐานการดําเนินงานที่เป็นเลิศ ทัดเทียมระดับสากล โดยมี ผศ.ดร.อธิศานต์ วายุภาพ ผู้อํานวยการสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ นายปิยะบุตร ชลวิจารณ์ ประธานกรรมการรางวัลคุณภาพแห่งชาติ และคณะผู้บริหารสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ร่วมงาน ณ โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ ปลัดกอบชัยฯ กล่าวว่า รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award : TQA) เปรียบเสมือนกลไกที่ช่วยขับเคลื่อนและยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันของอุตสาหกรรมในภาพรวม อีกทั้งยังมุ่งส่งเสริมประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ และกระตุ้นให้เกิดการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการปรับปรุงกระบวนการดําเนินงานให้มีความทันสมัย พร้อมสร้างคุณค่าให้แก่องค์กรไทยทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการ ภาครัฐวิสาหกิจ และภาคการศึกษา ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นเรี่ยวแรงสําคัญของการพัฒนาประเทศ รวมถึงภาครัฐที่มีบทบาทต่อการสนับสนุนให้การดําเนินกิจกรรมในภาคเศรษฐกิจดําเนินไปอย่างราบรื่น รวดเร็ว และมีผลิตภาพสอดรับกับกรอบทิศทางการพัฒนาประเทศในระยะของแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ฉบับที่ 13 ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อพลิกโฉมประเทศไทย หรือเปลี่ยนแปลงประเทศขนานใหญ่ ภายใต้แนวคิด Resilience มุ่งลดความเปราะบาง และสร้างความพร้อมต่อการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและวิกฤตต่าง ๆ สามารถเติบโตและอยู่รอดท่ามกลางความท้าทาย ทั้งนี้ มีองค์กรที่ได้รับรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ประจําปี 2564 จํานวนทั้งสิ้น 14 องค์กร ประกอบด้วย รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award : TQA) จํานวน 1 องค์กร ได้แก่ บริษัท เคาท์เตอร์เซอร์วิส จํากัด ซึ่งเคยได้รับรางวัล TQC ในปี 2549 และ 2555-2557 รางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศที่มีความโดดเด่นด้านนวัตกรรม (Thailand Quality Class Plus: Innovation - TQC Plus: Innovation) จํานวน 2 องค์กร ได้แก่ 1. คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล 2. บริษัท พีทีที แอลเอ็นจี จํากัด รางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศที่มีความโดดเด่นด้านลูกค้า (Thailand Quality Class Plus: Customer - TQC Plus: Customer) จํานวน 1 องค์กร ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร รางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศที่มีความโดดเด่นด้านบุคลากร (Thailand Quality Class Plus: People - TQC Plus: People) จํานวน 2 องค์กร ได้แก่ 1. คณะทันตแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2. โรงพยาบาลพญาไท 2 รางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศ (Thailand Quality Class: TQC) จํานวน 8 องค์กร ได้แก่ 1. เขื่อนสิริกิติ์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 2. คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล 3. คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 4. บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม 5. บริษัท อาร์เอฟเอส จํากัด 6. มหาวิทยาลัยมหิดล 7. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 8. โรงไฟฟ้าวังน้อย #TQA 2564 #กระทรวงอุตสาหกรรม
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/52184
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกฯ ปลื้ม "กรุงเทพฯ" ถูกจัดอันดับ 1 "Best City" ภูเก็ต - สมุย ได้อันดับ 3 และ 4 "เกาะที่ดีที่สุด" โดยนิตยสาร DestinAsian
วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม 2565 นายกฯ ปลื้ม "กรุงเทพฯ" ถูกจัดอันดับ 1 "Best City" ภูเก็ต - สมุย ได้อันดับ 3 และ 4 "เกาะที่ดีที่สุด" โดยนิตยสาร DestinAsian .... พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้รับทราบและร่วมยินดี หลังจากที่นิตยสาร DestinAsian จัดให้ "กรุงเทพฯ" เป็นอันดับ 1 เมืองที่นักท่องเที่ยวทั่วโลกชื่นชอบมากที่สุด (Best City) ในการท่องเที่ยวเอเชียแปซิฟิค ซึ่งมาจากผลการคัดเลือกของผู้อ่าน (Reader's Choice Awards 2022) . โดย 5 อันดับแรก คือ กรุงเทพฯ สิงคโปร์ โตเกียว ฮ่องกง และโซล ทั้งนี้ กรุงเทพฯ เคยได้รับเลือกอันดับ 1 มาแล้วเมื่อปี 2020 . นอกจากนี้ เกาะภูเก็ต และสมุย ยังได้รับการเสนอให้เป็น "เกาะที่ดีที่สุด" ลําดับ 3 และ 4 รวมทั้งท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิที่ได้รับเลือกให้เป็นสนามบินที่ดีที่สุดอันดับ 3 อีกด้วย . นิตยสาร DestinAsian ถือเป็นนิตยสารท่องเที่ยวชั้นนํา และได้จัดงาน Readers’ Choice Awards เป็นประจําทุกปีและต่อเนื่องมากกว่า 10 ปี เป็นการจัดอันดับความเป็นเลิศในภาคการท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยตัดสินจากผลโหวตของผู้อ่านทั่วโลก . อ่านเพิ่มเติม คลิกhttps://www.thaigov.go.th/news/contents/details/52752 #ไทยคู่ฟ้า#ร่วมต้านโควิด19 -------------------
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกฯ ปลื้ม "กรุงเทพฯ" ถูกจัดอันดับ 1 "Best City" ภูเก็ต - สมุย ได้อันดับ 3 และ 4 "เกาะที่ดีที่สุด" โดยนิตยสาร DestinAsian วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม 2565 นายกฯ ปลื้ม "กรุงเทพฯ" ถูกจัดอันดับ 1 "Best City" ภูเก็ต - สมุย ได้อันดับ 3 และ 4 "เกาะที่ดีที่สุด" โดยนิตยสาร DestinAsian .... พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้รับทราบและร่วมยินดี หลังจากที่นิตยสาร DestinAsian จัดให้ "กรุงเทพฯ" เป็นอันดับ 1 เมืองที่นักท่องเที่ยวทั่วโลกชื่นชอบมากที่สุด (Best City) ในการท่องเที่ยวเอเชียแปซิฟิค ซึ่งมาจากผลการคัดเลือกของผู้อ่าน (Reader's Choice Awards 2022) . โดย 5 อันดับแรก คือ กรุงเทพฯ สิงคโปร์ โตเกียว ฮ่องกง และโซล ทั้งนี้ กรุงเทพฯ เคยได้รับเลือกอันดับ 1 มาแล้วเมื่อปี 2020 . นอกจากนี้ เกาะภูเก็ต และสมุย ยังได้รับการเสนอให้เป็น "เกาะที่ดีที่สุด" ลําดับ 3 และ 4 รวมทั้งท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิที่ได้รับเลือกให้เป็นสนามบินที่ดีที่สุดอันดับ 3 อีกด้วย . นิตยสาร DestinAsian ถือเป็นนิตยสารท่องเที่ยวชั้นนํา และได้จัดงาน Readers’ Choice Awards เป็นประจําทุกปีและต่อเนื่องมากกว่า 10 ปี เป็นการจัดอันดับความเป็นเลิศในภาคการท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยตัดสินจากผลโหวตของผู้อ่านทั่วโลก . อ่านเพิ่มเติม คลิกhttps://www.thaigov.go.th/news/contents/details/52752 #ไทยคู่ฟ้า#ร่วมต้านโควิด19 -------------------
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/52768
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-​รองนายกรัฐมนตรี “อนุทิน”ประกาศ ตั้งแต่ปี 65 เร่งผลักดันทุกส่วนของพืชกัญชารวมถึงดอก ช่อดอก เมล็ด ไม่เป็นยาเสพติด เผยประมวลกฎหมายยาเสพติดเริ่มมีผลบังคับ 9 ธ.ค. ที่ผ่านมา
วันเสาร์ที่ 11 ธันวาคม 2564 ​รองนายกรัฐมนตรี “อนุทิน”ประกาศ ตั้งแต่ปี 65 เร่งผลักดันทุกส่วนของพืชกัญชารวมถึงดอก ช่อดอก เมล็ด ไม่เป็นยาเสพติด เผยประมวลกฎหมายยาเสพติดเริ่มมีผลบังคับ 9 ธ.ค. ที่ผ่านมา ​รองนายกรัฐมนตรี “อนุทิน”ประกาศ ตั้งแต่ปี 65 เร่งผลักดันทุกส่วนของพืชกัญชารวมถึงดอก ช่อดอก เมล็ด ไม่เป็นยาเสพติด เผยประมวลกฎหมายยาเสพติดเริ่มมีผลบังคับ 9 ธ.ค. ที่ผ่านมาไม่มีกัญชาเป็นพืชผิดกฎหมาย ส่งเสริมเป็นพืชทางเลือกสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ฟื้นฟูเศรษฐกิจ ​รองนายกรัฐมนตรี “อนุทิน” ประกาศ ตั้งแต่ปี 2565 เร่งผลักดันทุกส่วนของพืชกัญชารวมถึงดอก ช่อดอก เมล็ด ไม่เป็นยาเสพติด เผยประมวลกฎหมายยาเสพติดเริ่มมีผลบังคับ 9 ธ.ค. ที่ผ่านมาไม่มีกัญชาเป็นพืชผิดกฎหมาย ส่งเสริมเป็นพืชทางเลือกสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ฟื้นฟูเศรษฐกิจ น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า วันนี้(11 ธ.ค.64) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข ได้เป็นประธานในงาน Kick off กัญชาริมฝั่งโขง ที่ถนนสวรรค์ชายโขง หมู่บ้าน8ชนเผ่า อําเภอเมือง จังหวัดนครพนม ซึ่งเป็นโครงการต้นแบบการเชื่อมโยงระหว่างกัญชาทางการแพทย์ ตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข กับการส่งเสริมการท่องเที่ยวท้องถิ่น เป็นอีกโมเดลเศรษฐกิจที่สามารถสร้างรายได้ตั้งแต่เกษตรกรผู้ปลูกพืชกัญชา ผู้ผลิตแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่อง ตลอดจนภาคการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นไปตามนโยบายขอ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ที่กําหนดให้ทุกกระทรวงเร่งหาแนวทางที่จะกระตุ้นให้เศรษฐกิจฟื้นตัวจากผลกระทบของโควิด-19 ให้เร็วที่สุด ทั้งนี้ นายอนุทิน กล่าวระหว่างการเป็นประธานในงานฯ ว่า กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายส่งเสริมพืชสมุนไพรทั้ง กัญชา กัญชง กระท่อม โดยให้กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก คิดค้นนโยบายเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ที่สามารถสร้างงานอาชีพให้ประชาชนทั้งในฐานะผู้ปลูก ผู้ผลิตสินค้า สร้างโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงผลิตภัณฑ์ การแทพย์ทางเลือกในการรักษาโรค ผลจากนโยบายและการผลักดันที่จริงจัง ทําให้ขณะนี้ในโรงพยาบาลหลักๆ ทั่วประเทศก็มีคลีนิคกัญชาที่ให้ประชาชนได้รับบริการอย่างทั่วถึง สารสกัดจากพืชกัญชาสามารถรักษา บรรเทาการเจ็บป่วยจากโรคต่างๆ ได้ และขณะนี้หน่วยงานภายใต้กระทรวงสาธารณสุขได้เร่งวิจัยพัฒนาเพื่อคิดค้นผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรทั้งกัญชา กัญชง เพื่อนําไปสู่การส่งเสริมสุขภาพที่ดีของประชาชนโดยไม่ผิดกฎหมายอีกต่อไป จากเดิมต้องแอบใช้ แต่ต่อไปหากประชาชนใช้อย่างถูกวิธี เพื่อดูแลสุขาพ ภายใต้กฎระเบียบที่สาธารณสุขขกําหนด ก็สามารถใช้กัญชาได้ถูกกฎหมาย รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข กล่าวว่า ที่ผ่านมาหน่วยงานในกระทรวงสาธารณสุขไม่ว่าจะเป็นกรมการแพทย์แผนไทยฯ องค์การอาหารและยา(อย.) สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้ผลักดันพืชสมุนไพรกัญชา กัญชง มาได้ระดับหนึ่งโดยปลดล็อกออกจากยาเสพติดควบคุมประเภทที่5 โดยต้น กิ่งก้าน ใบ ราก ของกัญชาไม่เป็นยาเสพติดอีกต่อไป และ ประมวลกฎหมายยาเสพติดมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 9 ธ.ค. 64 ที่ผ่านมา ในกฎหมายฉบับใหม่นี้ ไม่มีกัญชาและกัญชงเป็นพืชที่ผิดกฎหมายแล้ว ทั้งนี้ สิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังจากนี้กระทรวงสาธารณสุขจะประกาศรายชื่อบัญชียาเสพติดฉบับใหม่ทั้ง 5 ประเภท โดยจะไม่มีกัญชาอยู่ในนั้น กําหนดให้สารสกัดกัญชาที่มีทีเอสซีเกินกว่า 02% เท่านั้นจึงจะเป็นยาเสพติด แต่หากเป็นผลิตภัณฑ์น้ํามัน สารสกัด ผลิตภัณฑ์สบู่ เครื่องสําอาง อาหารเสริมที่มีค่าทีเอสซีต่ํากว่า 0.2% สามารถใช้ได้ทั้งหมด และนี่ไม่ใช่มาตรฐานที่สาธารณสุขหรือประเทศไทยกําหนดขึ้นมาเอง แต่องค์การอนามัยโลกก็กําหนดด้วย “ที่เราผลักดันได้ไปก่อนหน้านี้เราบอกว่าเฉพาะต้น ราก ใบ กิ่ง ก้าน เท่านั้นไม่ใช่ยาเสพติด จากนี้ไป ตั้งแต่ปี 2565 เราจะผลักดันให้ทั้ง ต้น ราก กิ่ง ก้าน ใบ ดอก ช่อดอก เมล็ด จะต้องไม่อยู่ในบัญชียาเสพติดอีกต่อไปด้วย นี่คือสิ่งที่น่ายินดีที่เราต่อสู้ให้มันสําเร็จ โดยเฉพาะในภาวะเศรษฐกิจที่ถูกกระทบจากโควิด-19 แบบนี้ เมื่อสถานการณ์เริ่มดีขึ้น ประชาชนต้องเร่งทํามาหากิน ถ้าเราไม่มีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆเป็นทางเลือก คนก็จะแย่งกันทําอะไรที่เหมือนๆกัน แต่ถ้าเรามีทางเลือกให้ เขาจะพัฒนาต่อยอดขึ้นมาเองเกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ โมเดลธุรกิจใหม่ เป็นทางเลือกที่จะช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจได้”นายอนุทิน กล่าว นายอนุทิน กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขจะดําเนินการแก้ไขกระบวนการทางกฎหมายเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงการใช้ประโยชน์กัญชาให้มากที่สุด โดยได้ให้นโยบาย อย. ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักดูแลการอนุญาตปลูกรวมถึงพัฒนาผลิตภัณฑ์กัญชาให้อํานวยความสะดวกให้ประชาชนที่มาขออนุญาตอย่างเต็มที่ นอกจากนี้ ฝากให้ทาง อสม. ไปแจ้งให้พี่น้องประชาชนในชุมชนได้ทราบว่าปัจจุบันโรงพยาบาลเกือบทุกแห่งมีคลินิกกัญชา เป็นการแพทย์แผนไทยทางเลือกในการดูแลประชาชน และหลังจากนี้ยาที่ผลิตออกมาจากสารสกัดกัญชาจะนํามาใช้อย่างถูกต้อง อยู่ในบัญชียาหลักให้ประชาชนเข้าได้ผ่านโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ที่สํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช. ) ดูแลด้วย
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-​รองนายกรัฐมนตรี “อนุทิน”ประกาศ ตั้งแต่ปี 65 เร่งผลักดันทุกส่วนของพืชกัญชารวมถึงดอก ช่อดอก เมล็ด ไม่เป็นยาเสพติด เผยประมวลกฎหมายยาเสพติดเริ่มมีผลบังคับ 9 ธ.ค. ที่ผ่านมา วันเสาร์ที่ 11 ธันวาคม 2564 ​รองนายกรัฐมนตรี “อนุทิน”ประกาศ ตั้งแต่ปี 65 เร่งผลักดันทุกส่วนของพืชกัญชารวมถึงดอก ช่อดอก เมล็ด ไม่เป็นยาเสพติด เผยประมวลกฎหมายยาเสพติดเริ่มมีผลบังคับ 9 ธ.ค. ที่ผ่านมา ​รองนายกรัฐมนตรี “อนุทิน”ประกาศ ตั้งแต่ปี 65 เร่งผลักดันทุกส่วนของพืชกัญชารวมถึงดอก ช่อดอก เมล็ด ไม่เป็นยาเสพติด เผยประมวลกฎหมายยาเสพติดเริ่มมีผลบังคับ 9 ธ.ค. ที่ผ่านมาไม่มีกัญชาเป็นพืชผิดกฎหมาย ส่งเสริมเป็นพืชทางเลือกสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ฟื้นฟูเศรษฐกิจ ​รองนายกรัฐมนตรี “อนุทิน” ประกาศ ตั้งแต่ปี 2565 เร่งผลักดันทุกส่วนของพืชกัญชารวมถึงดอก ช่อดอก เมล็ด ไม่เป็นยาเสพติด เผยประมวลกฎหมายยาเสพติดเริ่มมีผลบังคับ 9 ธ.ค. ที่ผ่านมาไม่มีกัญชาเป็นพืชผิดกฎหมาย ส่งเสริมเป็นพืชทางเลือกสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ฟื้นฟูเศรษฐกิจ น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า วันนี้(11 ธ.ค.64) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข ได้เป็นประธานในงาน Kick off กัญชาริมฝั่งโขง ที่ถนนสวรรค์ชายโขง หมู่บ้าน8ชนเผ่า อําเภอเมือง จังหวัดนครพนม ซึ่งเป็นโครงการต้นแบบการเชื่อมโยงระหว่างกัญชาทางการแพทย์ ตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข กับการส่งเสริมการท่องเที่ยวท้องถิ่น เป็นอีกโมเดลเศรษฐกิจที่สามารถสร้างรายได้ตั้งแต่เกษตรกรผู้ปลูกพืชกัญชา ผู้ผลิตแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่อง ตลอดจนภาคการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นไปตามนโยบายขอ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ที่กําหนดให้ทุกกระทรวงเร่งหาแนวทางที่จะกระตุ้นให้เศรษฐกิจฟื้นตัวจากผลกระทบของโควิด-19 ให้เร็วที่สุด ทั้งนี้ นายอนุทิน กล่าวระหว่างการเป็นประธานในงานฯ ว่า กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายส่งเสริมพืชสมุนไพรทั้ง กัญชา กัญชง กระท่อม โดยให้กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก คิดค้นนโยบายเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ที่สามารถสร้างงานอาชีพให้ประชาชนทั้งในฐานะผู้ปลูก ผู้ผลิตสินค้า สร้างโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงผลิตภัณฑ์ การแทพย์ทางเลือกในการรักษาโรค ผลจากนโยบายและการผลักดันที่จริงจัง ทําให้ขณะนี้ในโรงพยาบาลหลักๆ ทั่วประเทศก็มีคลีนิคกัญชาที่ให้ประชาชนได้รับบริการอย่างทั่วถึง สารสกัดจากพืชกัญชาสามารถรักษา บรรเทาการเจ็บป่วยจากโรคต่างๆ ได้ และขณะนี้หน่วยงานภายใต้กระทรวงสาธารณสุขได้เร่งวิจัยพัฒนาเพื่อคิดค้นผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรทั้งกัญชา กัญชง เพื่อนําไปสู่การส่งเสริมสุขภาพที่ดีของประชาชนโดยไม่ผิดกฎหมายอีกต่อไป จากเดิมต้องแอบใช้ แต่ต่อไปหากประชาชนใช้อย่างถูกวิธี เพื่อดูแลสุขาพ ภายใต้กฎระเบียบที่สาธารณสุขขกําหนด ก็สามารถใช้กัญชาได้ถูกกฎหมาย รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข กล่าวว่า ที่ผ่านมาหน่วยงานในกระทรวงสาธารณสุขไม่ว่าจะเป็นกรมการแพทย์แผนไทยฯ องค์การอาหารและยา(อย.) สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้ผลักดันพืชสมุนไพรกัญชา กัญชง มาได้ระดับหนึ่งโดยปลดล็อกออกจากยาเสพติดควบคุมประเภทที่5 โดยต้น กิ่งก้าน ใบ ราก ของกัญชาไม่เป็นยาเสพติดอีกต่อไป และ ประมวลกฎหมายยาเสพติดมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 9 ธ.ค. 64 ที่ผ่านมา ในกฎหมายฉบับใหม่นี้ ไม่มีกัญชาและกัญชงเป็นพืชที่ผิดกฎหมายแล้ว ทั้งนี้ สิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังจากนี้กระทรวงสาธารณสุขจะประกาศรายชื่อบัญชียาเสพติดฉบับใหม่ทั้ง 5 ประเภท โดยจะไม่มีกัญชาอยู่ในนั้น กําหนดให้สารสกัดกัญชาที่มีทีเอสซีเกินกว่า 02% เท่านั้นจึงจะเป็นยาเสพติด แต่หากเป็นผลิตภัณฑ์น้ํามัน สารสกัด ผลิตภัณฑ์สบู่ เครื่องสําอาง อาหารเสริมที่มีค่าทีเอสซีต่ํากว่า 0.2% สามารถใช้ได้ทั้งหมด และนี่ไม่ใช่มาตรฐานที่สาธารณสุขหรือประเทศไทยกําหนดขึ้นมาเอง แต่องค์การอนามัยโลกก็กําหนดด้วย “ที่เราผลักดันได้ไปก่อนหน้านี้เราบอกว่าเฉพาะต้น ราก ใบ กิ่ง ก้าน เท่านั้นไม่ใช่ยาเสพติด จากนี้ไป ตั้งแต่ปี 2565 เราจะผลักดันให้ทั้ง ต้น ราก กิ่ง ก้าน ใบ ดอก ช่อดอก เมล็ด จะต้องไม่อยู่ในบัญชียาเสพติดอีกต่อไปด้วย นี่คือสิ่งที่น่ายินดีที่เราต่อสู้ให้มันสําเร็จ โดยเฉพาะในภาวะเศรษฐกิจที่ถูกกระทบจากโควิด-19 แบบนี้ เมื่อสถานการณ์เริ่มดีขึ้น ประชาชนต้องเร่งทํามาหากิน ถ้าเราไม่มีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆเป็นทางเลือก คนก็จะแย่งกันทําอะไรที่เหมือนๆกัน แต่ถ้าเรามีทางเลือกให้ เขาจะพัฒนาต่อยอดขึ้นมาเองเกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ โมเดลธุรกิจใหม่ เป็นทางเลือกที่จะช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจได้”นายอนุทิน กล่าว นายอนุทิน กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขจะดําเนินการแก้ไขกระบวนการทางกฎหมายเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงการใช้ประโยชน์กัญชาให้มากที่สุด โดยได้ให้นโยบาย อย. ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักดูแลการอนุญาตปลูกรวมถึงพัฒนาผลิตภัณฑ์กัญชาให้อํานวยความสะดวกให้ประชาชนที่มาขออนุญาตอย่างเต็มที่ นอกจากนี้ ฝากให้ทาง อสม. ไปแจ้งให้พี่น้องประชาชนในชุมชนได้ทราบว่าปัจจุบันโรงพยาบาลเกือบทุกแห่งมีคลินิกกัญชา เป็นการแพทย์แผนไทยทางเลือกในการดูแลประชาชน และหลังจากนี้ยาที่ผลิตออกมาจากสารสกัดกัญชาจะนํามาใช้อย่างถูกต้อง อยู่ในบัญชียาหลักให้ประชาชนเข้าได้ผ่านโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ที่สํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช. ) ดูแลด้วย
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/49346
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ดันร่าง พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. .... ผ่านสภาผู้แทนราษฎร วาระที่ 1
วันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน 2564 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ดันร่าง พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทําให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. .... ผ่านสภาผู้แทนราษฎร วาระที่ 1 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ดันร่าง พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทําให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. .... ผ่านสภาผู้แทนราษฎร วาระที่ 1 สืบเนื่องจาก เมื่อวันพุธที่ 15 กันยายน 2564 เวลา 16.30 -18.00 น. ณ ห้องประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชั้น 2 อาคารรัฐสภา นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พร้อมด้วย นายเรืองศักดิ์ สุวารี อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ นายเกิดโชค เกษมวงศ์จิตร รองอธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ นางสาวนรีลักษณ์ แพไชยภูมิ ผู้อํานวยการกองสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ และคณะเจ้าหน้าที่จากกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม เข้าร่วมการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 25 ปีที่ 3 ครั้งที่ 20 (สมัยสามัญประจําปี ครั้งที่ 1) เพื่อชี้แจงร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทําให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. .... ต่อสภาผู้แทนราษฎร วาระที่ 1 โดยมี นายชวน หลีกภัย เป็นประธาน สําหรับในการประชุมฯ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นผู้แถลงเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าว โดยได้เน้นย้ําความสําคัญของการผลักดันร่างพระราชบัญญัติฯ พร้อมทั้งชี้แจงหลักการ เหตุผล ความจําเป็น และสรุปสาระสําคัญของร่างพระราชบัญญัติฯ ประโยชน์ที่จะได้รับหากร่างพระราชบัญญัติมีผลบังคับใช้ อาทิ การยืนยันนโยบายของรัฐบาลว่าไม่สนับสนุนการทรมานและการกระทําให้บุคคลสูญหายโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ การสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับประเทศไทย และสร้างความเชื่อมั่นด้านกระบวนการยุติธรรมและลดความเหลื่อมล้ําให้กับประชาชน เป็นต้น ทั้งนี้ ในวันนี้ (วันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน 2564 ) เวลา 13.40 น. ที่ประชุมฯ มีมติเห็นชอบรับหลักการร่างพระราชบัญญัติฯ วาระ 1 โดยมีมติเห็นด้วย จํานวนทั้งสิ้น 368 คน (จํานวนผู้ลงมติ 365 คน เห็นด้วย 363 คน งดออกเสียง 1 คน ไม่ลงคะแนนเสียง 1 คน และ ขอโหวตเห็นด้วยเพิ่มเติม อีก 5 คน รวม 368 คน) โดยให้ใช้ร่างพระราชบัญญัติฯ ฉบับของกระทรวงยุติธรรม เป็นหลัก รวมทั้งได้มีมติตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทําให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. .... ในรายละเอียดต่อไป
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ดันร่าง พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. .... ผ่านสภาผู้แทนราษฎร วาระที่ 1 วันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน 2564 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ดันร่าง พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทําให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. .... ผ่านสภาผู้แทนราษฎร วาระที่ 1 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ดันร่าง พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทําให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. .... ผ่านสภาผู้แทนราษฎร วาระที่ 1 สืบเนื่องจาก เมื่อวันพุธที่ 15 กันยายน 2564 เวลา 16.30 -18.00 น. ณ ห้องประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชั้น 2 อาคารรัฐสภา นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พร้อมด้วย นายเรืองศักดิ์ สุวารี อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ นายเกิดโชค เกษมวงศ์จิตร รองอธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ นางสาวนรีลักษณ์ แพไชยภูมิ ผู้อํานวยการกองสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ และคณะเจ้าหน้าที่จากกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม เข้าร่วมการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 25 ปีที่ 3 ครั้งที่ 20 (สมัยสามัญประจําปี ครั้งที่ 1) เพื่อชี้แจงร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทําให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. .... ต่อสภาผู้แทนราษฎร วาระที่ 1 โดยมี นายชวน หลีกภัย เป็นประธาน สําหรับในการประชุมฯ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นผู้แถลงเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าว โดยได้เน้นย้ําความสําคัญของการผลักดันร่างพระราชบัญญัติฯ พร้อมทั้งชี้แจงหลักการ เหตุผล ความจําเป็น และสรุปสาระสําคัญของร่างพระราชบัญญัติฯ ประโยชน์ที่จะได้รับหากร่างพระราชบัญญัติมีผลบังคับใช้ อาทิ การยืนยันนโยบายของรัฐบาลว่าไม่สนับสนุนการทรมานและการกระทําให้บุคคลสูญหายโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ การสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับประเทศไทย และสร้างความเชื่อมั่นด้านกระบวนการยุติธรรมและลดความเหลื่อมล้ําให้กับประชาชน เป็นต้น ทั้งนี้ ในวันนี้ (วันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน 2564 ) เวลา 13.40 น. ที่ประชุมฯ มีมติเห็นชอบรับหลักการร่างพระราชบัญญัติฯ วาระ 1 โดยมีมติเห็นด้วย จํานวนทั้งสิ้น 368 คน (จํานวนผู้ลงมติ 365 คน เห็นด้วย 363 คน งดออกเสียง 1 คน ไม่ลงคะแนนเสียง 1 คน และ ขอโหวตเห็นด้วยเพิ่มเติม อีก 5 คน รวม 368 คน) โดยให้ใช้ร่างพระราชบัญญัติฯ ฉบับของกระทรวงยุติธรรม เป็นหลัก รวมทั้งได้มีมติตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทําให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. .... ในรายละเอียดต่อไป
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/45892
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“อนุทิน” เผย ผลตรวจผู้ป่วยสงสัยจากประเทศเฝ้าระวังยังไม่พบ “ฝีดาษวานร”
วันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม 2565 “อนุทิน” เผย ผลตรวจผู้ป่วยสงสัยจากประเทศเฝ้าระวังยังไม่พบ “ฝีดาษวานร” รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เผย ไทยมีมาตรการเฝ้าระวังคัดกรองโรคฝีดาษวานรในผู้เดินทางจากประเทศเฝ้าระวัง ผลตรวจเชื้อของผู้ป่วยสงสัยยังไม่พบฝีดาษวานร แต่เป็นเชื้อเริม เตรียมการรับมือโดยส่งวัคซีนฝีดาษคนที่องค์การเภสัชกรรมแช่แข็งรักษา รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เผย ไทยมีมาตรการเฝ้าระวังคัดกรองโรคฝีดาษวานรในผู้เดินทางจากประเทศเฝ้าระวัง ผลตรวจเชื้อของผู้ป่วยสงสัยยังไม่พบฝีดาษวานร แต่เป็นเชื้อเริม เตรียมการรับมือโดยส่งวัคซีนฝีดาษคนที่องค์การเภสัชกรรมแช่แข็งรักษาไว้กว่า 40 ปี ตรวจสอบคุณภาพที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ วันนี้ (27 พฤษภาคม 2565) ที่กระทรวงสาธารณสุข นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ถึงการเฝ้าระวังโรคฝีดาษวานร (Monkeypox) ว่า หลังเดินทางกลับจากการประชุมสมัชชาอนามัยโลก (WHA) สมัยที่ 75 มาถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคมที่ผ่านมา ได้รับรายงานการเฝ้าระวังโรคฝีดาษวานรและมาตรการเฝ้าระวังคัดกรองโรค จาก นายแพทย์โรม บัวทอง ผู้อํานวยการกองด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศและกักกันโรค กรมควบคุมโรค ซึ่งผู้ที่เดินทางเข้าประเทศไทยยังต้องลงทะเบียนผ่าน Thailand pass หากพบผู้ป่วยที่สงสัยโรคฝีดาษวานร จะส่งมายังสถาบันบําราศนราดูร เพื่อเก็บตัวอย่างส่งตรวจที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยขณะนี้ผลการตรวจผู้ป่วยสงสัยที่เดินทางมาจากประเทศที่เฝ้าระวังยังไม่พบเชื้อโรคฝีดาษวานร แต่พบเป็นเชื้อเริม ซึ่งไม่ว่าจะเป็นเชื้อโรคใดก็ต้องระวังเรื่องการสัมผัสใกล้ชิด ดังนั้น การสวมหน้ากากอนามัย การล้างมือบ่อยๆ และการเว้นระยะห่าง สามารถช่วยป้องกันได้ นายอนุทินกล่าวต่อว่า ในการประชุมสมัชชาอนามัยโลก ได้เข้าพบ นายเท็ดรอส อัดฮานอม เกเบรเยซุส ผู้อํานวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก หารือเรื่องการขอสนับสนุนวัคซีนฝีดาษ ซึ่งรับปากว่าหากมีความจําเป็นจะให้การสนับสนุนตามสถานการณ์ของแต่ละประเทศ อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยได้เตรียมการพึ่งพาตนเองด้วยโดยองค์การเภสัชกรรมมีการเก็บวัคซีนโรคฝีดาษคนแช่แข็งไว้กว่า 40 ปี ได้ส่งไปยังกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เพื่อตรวจสอบคุณภาพแล้ว ******************************************** 27 พฤษภาคม 2565
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-“อนุทิน” เผย ผลตรวจผู้ป่วยสงสัยจากประเทศเฝ้าระวังยังไม่พบ “ฝีดาษวานร” วันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม 2565 “อนุทิน” เผย ผลตรวจผู้ป่วยสงสัยจากประเทศเฝ้าระวังยังไม่พบ “ฝีดาษวานร” รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เผย ไทยมีมาตรการเฝ้าระวังคัดกรองโรคฝีดาษวานรในผู้เดินทางจากประเทศเฝ้าระวัง ผลตรวจเชื้อของผู้ป่วยสงสัยยังไม่พบฝีดาษวานร แต่เป็นเชื้อเริม เตรียมการรับมือโดยส่งวัคซีนฝีดาษคนที่องค์การเภสัชกรรมแช่แข็งรักษา รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เผย ไทยมีมาตรการเฝ้าระวังคัดกรองโรคฝีดาษวานรในผู้เดินทางจากประเทศเฝ้าระวัง ผลตรวจเชื้อของผู้ป่วยสงสัยยังไม่พบฝีดาษวานร แต่เป็นเชื้อเริม เตรียมการรับมือโดยส่งวัคซีนฝีดาษคนที่องค์การเภสัชกรรมแช่แข็งรักษาไว้กว่า 40 ปี ตรวจสอบคุณภาพที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ วันนี้ (27 พฤษภาคม 2565) ที่กระทรวงสาธารณสุข นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ถึงการเฝ้าระวังโรคฝีดาษวานร (Monkeypox) ว่า หลังเดินทางกลับจากการประชุมสมัชชาอนามัยโลก (WHA) สมัยที่ 75 มาถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคมที่ผ่านมา ได้รับรายงานการเฝ้าระวังโรคฝีดาษวานรและมาตรการเฝ้าระวังคัดกรองโรค จาก นายแพทย์โรม บัวทอง ผู้อํานวยการกองด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศและกักกันโรค กรมควบคุมโรค ซึ่งผู้ที่เดินทางเข้าประเทศไทยยังต้องลงทะเบียนผ่าน Thailand pass หากพบผู้ป่วยที่สงสัยโรคฝีดาษวานร จะส่งมายังสถาบันบําราศนราดูร เพื่อเก็บตัวอย่างส่งตรวจที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยขณะนี้ผลการตรวจผู้ป่วยสงสัยที่เดินทางมาจากประเทศที่เฝ้าระวังยังไม่พบเชื้อโรคฝีดาษวานร แต่พบเป็นเชื้อเริม ซึ่งไม่ว่าจะเป็นเชื้อโรคใดก็ต้องระวังเรื่องการสัมผัสใกล้ชิด ดังนั้น การสวมหน้ากากอนามัย การล้างมือบ่อยๆ และการเว้นระยะห่าง สามารถช่วยป้องกันได้ นายอนุทินกล่าวต่อว่า ในการประชุมสมัชชาอนามัยโลก ได้เข้าพบ นายเท็ดรอส อัดฮานอม เกเบรเยซุส ผู้อํานวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก หารือเรื่องการขอสนับสนุนวัคซีนฝีดาษ ซึ่งรับปากว่าหากมีความจําเป็นจะให้การสนับสนุนตามสถานการณ์ของแต่ละประเทศ อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยได้เตรียมการพึ่งพาตนเองด้วยโดยองค์การเภสัชกรรมมีการเก็บวัคซีนโรคฝีดาษคนแช่แข็งไว้กว่า 40 ปี ได้ส่งไปยังกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เพื่อตรวจสอบคุณภาพแล้ว ******************************************** 27 พฤษภาคม 2565
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/55092
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกฯ ให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานช่วงวันหยุดยาว ขอประชาชนเดินทางท่องเที่ยวกลับภูมิลำเนาอย่างมีความสุข ปลอดภัย ย้ำกลุ่ม 608 นักเรียน นักศึกษา ฉีดวัคซีนให้ครบโดส
วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม 2565 นายกฯ ให้กําลังใจเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานช่วงวันหยุดยาว ขอประชาชนเดินทางท่องเที่ยวกลับภูมิลําเนาอย่างมีความสุข ปลอดภัย ย้ํากลุ่ม 608 นักเรียน นักศึกษา ฉีดวัคซีนให้ครบโดส นายกฯ ให้กําลังใจเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานช่วงวันหยุดยาว ขอประชาชนเดินทางท่องเที่ยวกลับภูมิลําเนาอย่างมีความสุข ปลอดภัย ย้ํากลุ่ม 608 นักเรียน นักศึกษา ฉีดวัคซีนให้ครบโดส เตือน การเว้นระยะห่าง-สวมหน้ากาก ยังมีความจําเป็น วันนี้ (12 กรกฎาคม 2565) เวลา 12.00 น. ณ ทางเชื่อมตึกสันติไมตรีและตึกไทยคู่ฟ้า ทําเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี ว่า รัฐบาลเร่งเดินหน้าขับเคลื่อนงานด้านต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือพี่น้องประชาชนทุกกลุ่มอย่างเต็มที่ ท่ามกลางสถานการณ์ที่ยังคงได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกอย่างต่อเนื่อง ยืนยันรัฐบาลมีสถานะทางการคลังที่มีเสถียรภาพและมีความมั่นคง จากโอกาสใหม่ ๆ ในการเจรจากับต่างประเทศ รวมทั้งรายได้จากภาคการท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศในช่วงครึ่งปีหลัง ตามนโยบายเปิดประเทศของรัฐบาล ทั้งนี้ ขอให้เฝ้าระวังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง นายกรัฐมนตรีขอบคุณพร้อมให้กําลังใจเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานที่เสียสละ ทุ่มเท และอุทิศตนทํางานหนักเพื่ออํานวยความสะดวกและให้บริการประชาชนในการเดินทางท่องเที่ยวและกลับภูมิลําเนา รวมทั้งเจ้าหน้าที่ กําลังพลที่ปฏิบัติหน้าที่เฝ้าระวังในพื้นที่ทุรกันดารและแนวชายแดนด้วย พร้อมขอให้ประชาชนเดินทางไป-กลับด้วยความระมัดระวัง ไม่ประมาท ดูแลรักษาสุขภาพ ปฏิบัติตนตามมาตรการทางสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยทั้งต่อตนเองและครอบครัว และขอให้ทุกคนมีความสุขตลอดช่วงวันหยุดยาวนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงกรณีการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ (BA.4 - BA.5) ที่กําลังแพร่ระบาดในประเทศ จากรายงานพบว่ามีการติดเชื้อได้ง่าย อัตราการแพร่เชื้อเร็ว และหลบภูมิได้ และข้อมูลสถิติยอดผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเสี่ยง 608 ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน หรือฉีดไม่ครบโดส หรือมีโรคประจําตัว ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันความรุนแรงของโรคเป็นสิ่งสําคัญ ดังนั้น จึงขอความร่วมมือกลุ่มเสี่ยง 608 นักเรียน นักศึกษา และประชาชนที่ยังไม่ฉีดวัคซีน ฉีดไม่ครบ หรือครบรอบการฉีดเข็มกระตุ้น เข้ารับการฉีดวัคซีนเพื่อตนเองและครอบครัว โดยรัฐบาลได้เตรียมสถานที่ฉีด จํานวนวัคซีน และบุคลากรทางการแพทย์ไว้เพียงพอสําหรับให้บริการประชาชน อย่างไรก็ตาม แม้เข้ารับการฉีดวัคซีนครบจํานวนแล้ว การปฏิบัติตามมาตรการป้องกันตนเองส่วนบุคคลอย่างเคร่งครัด เช่น การเว้นระยะห่าง สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาเมื่ออยู่ท่ามกลางคนหมู่มาก ยังเป็นสิ่งจําเป็นที่ต้องปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ นายกรัฐนตรีกล่าวแสดงความมั่นใจในระบบสาธารณสุขของไทย รวมทั้งบุคลากรทางการแพทย์ที่มีศักยภาพในการดูแลประชาชนหากสถานการณ์การแพร่ระบาดเปลี่ยนแปลงหรือมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-นายกฯ ให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานช่วงวันหยุดยาว ขอประชาชนเดินทางท่องเที่ยวกลับภูมิลำเนาอย่างมีความสุข ปลอดภัย ย้ำกลุ่ม 608 นักเรียน นักศึกษา ฉีดวัคซีนให้ครบโดส วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม 2565 นายกฯ ให้กําลังใจเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานช่วงวันหยุดยาว ขอประชาชนเดินทางท่องเที่ยวกลับภูมิลําเนาอย่างมีความสุข ปลอดภัย ย้ํากลุ่ม 608 นักเรียน นักศึกษา ฉีดวัคซีนให้ครบโดส นายกฯ ให้กําลังใจเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานช่วงวันหยุดยาว ขอประชาชนเดินทางท่องเที่ยวกลับภูมิลําเนาอย่างมีความสุข ปลอดภัย ย้ํากลุ่ม 608 นักเรียน นักศึกษา ฉีดวัคซีนให้ครบโดส เตือน การเว้นระยะห่าง-สวมหน้ากาก ยังมีความจําเป็น วันนี้ (12 กรกฎาคม 2565) เวลา 12.00 น. ณ ทางเชื่อมตึกสันติไมตรีและตึกไทยคู่ฟ้า ทําเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี ว่า รัฐบาลเร่งเดินหน้าขับเคลื่อนงานด้านต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือพี่น้องประชาชนทุกกลุ่มอย่างเต็มที่ ท่ามกลางสถานการณ์ที่ยังคงได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกอย่างต่อเนื่อง ยืนยันรัฐบาลมีสถานะทางการคลังที่มีเสถียรภาพและมีความมั่นคง จากโอกาสใหม่ ๆ ในการเจรจากับต่างประเทศ รวมทั้งรายได้จากภาคการท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศในช่วงครึ่งปีหลัง ตามนโยบายเปิดประเทศของรัฐบาล ทั้งนี้ ขอให้เฝ้าระวังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง นายกรัฐมนตรีขอบคุณพร้อมให้กําลังใจเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานที่เสียสละ ทุ่มเท และอุทิศตนทํางานหนักเพื่ออํานวยความสะดวกและให้บริการประชาชนในการเดินทางท่องเที่ยวและกลับภูมิลําเนา รวมทั้งเจ้าหน้าที่ กําลังพลที่ปฏิบัติหน้าที่เฝ้าระวังในพื้นที่ทุรกันดารและแนวชายแดนด้วย พร้อมขอให้ประชาชนเดินทางไป-กลับด้วยความระมัดระวัง ไม่ประมาท ดูแลรักษาสุขภาพ ปฏิบัติตนตามมาตรการทางสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยทั้งต่อตนเองและครอบครัว และขอให้ทุกคนมีความสุขตลอดช่วงวันหยุดยาวนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงกรณีการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ (BA.4 - BA.5) ที่กําลังแพร่ระบาดในประเทศ จากรายงานพบว่ามีการติดเชื้อได้ง่าย อัตราการแพร่เชื้อเร็ว และหลบภูมิได้ และข้อมูลสถิติยอดผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเสี่ยง 608 ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน หรือฉีดไม่ครบโดส หรือมีโรคประจําตัว ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันความรุนแรงของโรคเป็นสิ่งสําคัญ ดังนั้น จึงขอความร่วมมือกลุ่มเสี่ยง 608 นักเรียน นักศึกษา และประชาชนที่ยังไม่ฉีดวัคซีน ฉีดไม่ครบ หรือครบรอบการฉีดเข็มกระตุ้น เข้ารับการฉีดวัคซีนเพื่อตนเองและครอบครัว โดยรัฐบาลได้เตรียมสถานที่ฉีด จํานวนวัคซีน และบุคลากรทางการแพทย์ไว้เพียงพอสําหรับให้บริการประชาชน อย่างไรก็ตาม แม้เข้ารับการฉีดวัคซีนครบจํานวนแล้ว การปฏิบัติตามมาตรการป้องกันตนเองส่วนบุคคลอย่างเคร่งครัด เช่น การเว้นระยะห่าง สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาเมื่ออยู่ท่ามกลางคนหมู่มาก ยังเป็นสิ่งจําเป็นที่ต้องปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ นายกรัฐนตรีกล่าวแสดงความมั่นใจในระบบสาธารณสุขของไทย รวมทั้งบุคลากรทางการแพทย์ที่มีศักยภาพในการดูแลประชาชนหากสถานการณ์การแพร่ระบาดเปลี่ยนแปลงหรือมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/56813
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-เจ๋ง! ไทยติดระดับโลก ลดเชื้อ HIV - ซิฟิลิส จากแม่สู่ลูก
วันพฤหัสบดีที่ 17 มิถุนายน 2564 เจ๋ง! ไทยติดระดับโลก ลดเชื้อ HIV - ซิฟิลิส จากแม่สู่ลูก .... ถือเป็นข่าวดี ที่ประเทศไทยได้รับการประกาศรับรองคุณภาพความสําเร็จในการยุติการถ่ายทอดเชื้อ HIV และซิฟิลิสจากแม่สู่ลูก เป็นครั้งที่ 3 และยังได้รับรางวัลจากองค์การอนามัยโลกอีกด้วย . ถือว่าเป็นประเทศที่ 2 ของโลกที่ได้ประกาศความสําเร็จดังกล่าว ในเวทีการประชุม Global Validation Advisory Committee ณ นครเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ . ต่อจากนี้ไป รัฐบาลจะดําเนินการดูแลควบคุมป้องกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เด็กทารกที่เกิดจากแม่ติดเชื้อ HIV มีความปลอดภัยเพิ่มขึ้น . โดยช่วงเวลาที่ผ่าน สามารถป้องกันเด็กที่เกิดจากแม่ที่ติดเชื้อ HIV ขณะตั้งครรภ์ ได้ปีละประมาณ 3,500 คน ทําให้มีเด็กทารกที่ติดเชื้อ HIV ต่ํากว่า 50 รายต่อปี . ระยะต่อไป จะเร่งพัฒนาระบบฐานข้อมูลสําหรับการติดตามสถานการณ์การแพร่ของโรคให้ครอบคลุมมากขึ้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ว่า ภายในปี 2573 จะต้องลดการติดเชื้อรายใหม่ให้ต่ํากว่า 1,000 ราย #ไทยคู่ฟ้า#รวมไทยสร้างชาติ#ร่วมต้านโควิด19 -------------------
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-เจ๋ง! ไทยติดระดับโลก ลดเชื้อ HIV - ซิฟิลิส จากแม่สู่ลูก วันพฤหัสบดีที่ 17 มิถุนายน 2564 เจ๋ง! ไทยติดระดับโลก ลดเชื้อ HIV - ซิฟิลิส จากแม่สู่ลูก .... ถือเป็นข่าวดี ที่ประเทศไทยได้รับการประกาศรับรองคุณภาพความสําเร็จในการยุติการถ่ายทอดเชื้อ HIV และซิฟิลิสจากแม่สู่ลูก เป็นครั้งที่ 3 และยังได้รับรางวัลจากองค์การอนามัยโลกอีกด้วย . ถือว่าเป็นประเทศที่ 2 ของโลกที่ได้ประกาศความสําเร็จดังกล่าว ในเวทีการประชุม Global Validation Advisory Committee ณ นครเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ . ต่อจากนี้ไป รัฐบาลจะดําเนินการดูแลควบคุมป้องกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เด็กทารกที่เกิดจากแม่ติดเชื้อ HIV มีความปลอดภัยเพิ่มขึ้น . โดยช่วงเวลาที่ผ่าน สามารถป้องกันเด็กที่เกิดจากแม่ที่ติดเชื้อ HIV ขณะตั้งครรภ์ ได้ปีละประมาณ 3,500 คน ทําให้มีเด็กทารกที่ติดเชื้อ HIV ต่ํากว่า 50 รายต่อปี . ระยะต่อไป จะเร่งพัฒนาระบบฐานข้อมูลสําหรับการติดตามสถานการณ์การแพร่ของโรคให้ครอบคลุมมากขึ้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ว่า ภายในปี 2573 จะต้องลดการติดเชื้อรายใหม่ให้ต่ํากว่า 1,000 ราย #ไทยคู่ฟ้า#รวมไทยสร้างชาติ#ร่วมต้านโควิด19 -------------------
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/42808
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงการคลังรักษ์โลก หนุนพลังงานสะอาด จับมือ EGAT เปิดสถานีอัดประจุไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ ในสถานที่ราชการแห่งแรก
วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน 2564 กระทรวงการคลังรักษ์โลก หนุนพลังงานสะอาด จับมือ EGAT เปิดสถานีอัดประจุไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ ในสถานที่ราชการแห่งแรก ตามที่รัฐบาลได้มีนโยบายสนับสนุน ส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ และมลภาวะทางอากาศ รวมถึงตั้งเป้าหมายให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สําคัญของโลก นายธีรัชย์ อัตนวานิช รองปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลได้มีนโยบายสนับสนุน ส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ และมลภาวะทางอากาศ รวมถึงตั้งเป้าหมายให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สําคัญของโลก ซึ่งจะส่งผลดีต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ กระทรวงการคลัง ตระหนักดีถึงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การใช้พลังงานสะอาด จึงได้สนับสนุนการดําเนินงานที่เกี่ยวข้องมาอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดได้มีการร่วมมือกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. ในการติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้า EleX by EGAT ภายในพื้นที่ของกระทรวงการคลัง เพื่อใช้สําหรับรถยนต์ของทางราชการ อํานวยความสะดวกให้ข้าราชการและผู้มาติดต่อราชการกระทรวงการคลัง โดยสถานีดังกล่าวเป็นสถานีอัดประจุไฟฟ้าแบบ Normal Charge ขนาด 22 กิโลวัตต์ จํานวน 2 เครื่อง ซึ่งจะเป็นโมเดลสถานีอัดประจุไฟฟ้าต้นแบบสถานีอัดประจุไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ในสถานที่ราชการแห่งแรก และจะใช้เป็นตัวอย่างให้กับหน่วยงานราชการอื่นต่อไป “โครงการนี้นับเป็นก้าวสําคัญในการสร้างสรรค์แนวทางการใช้พลังงานสะอาดในหน่วยงานราชการ ความร่วมมือระหว่างกระทรวงการคลัง กระทรวงพลังงาน และ กฟผ. ซึ่งจะมีส่วนสําคัญในการส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในส่วนราชการ เพื่อให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (carbon neutrality) แก้ปัญหามลพิษที่เกิดขึ้นจากภาคขนส่งในปัจจุบัน และบรรลุเป้าหมายการสร้างเศรษฐกิจใหม่ผ่านอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของคนไทยต่อไปในอนาคต” สํานักบริหารกลาง สํานักงานปลัดกระทรวงการคลัง 0 2126 5800 ต่อ 2237, 2277
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงการคลังรักษ์โลก หนุนพลังงานสะอาด จับมือ EGAT เปิดสถานีอัดประจุไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ ในสถานที่ราชการแห่งแรก วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน 2564 กระทรวงการคลังรักษ์โลก หนุนพลังงานสะอาด จับมือ EGAT เปิดสถานีอัดประจุไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ ในสถานที่ราชการแห่งแรก ตามที่รัฐบาลได้มีนโยบายสนับสนุน ส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ และมลภาวะทางอากาศ รวมถึงตั้งเป้าหมายให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สําคัญของโลก นายธีรัชย์ อัตนวานิช รองปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลได้มีนโยบายสนับสนุน ส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ และมลภาวะทางอากาศ รวมถึงตั้งเป้าหมายให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สําคัญของโลก ซึ่งจะส่งผลดีต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ กระทรวงการคลัง ตระหนักดีถึงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การใช้พลังงานสะอาด จึงได้สนับสนุนการดําเนินงานที่เกี่ยวข้องมาอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดได้มีการร่วมมือกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. ในการติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้า EleX by EGAT ภายในพื้นที่ของกระทรวงการคลัง เพื่อใช้สําหรับรถยนต์ของทางราชการ อํานวยความสะดวกให้ข้าราชการและผู้มาติดต่อราชการกระทรวงการคลัง โดยสถานีดังกล่าวเป็นสถานีอัดประจุไฟฟ้าแบบ Normal Charge ขนาด 22 กิโลวัตต์ จํานวน 2 เครื่อง ซึ่งจะเป็นโมเดลสถานีอัดประจุไฟฟ้าต้นแบบสถานีอัดประจุไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ในสถานที่ราชการแห่งแรก และจะใช้เป็นตัวอย่างให้กับหน่วยงานราชการอื่นต่อไป “โครงการนี้นับเป็นก้าวสําคัญในการสร้างสรรค์แนวทางการใช้พลังงานสะอาดในหน่วยงานราชการ ความร่วมมือระหว่างกระทรวงการคลัง กระทรวงพลังงาน และ กฟผ. ซึ่งจะมีส่วนสําคัญในการส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในส่วนราชการ เพื่อให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (carbon neutrality) แก้ปัญหามลพิษที่เกิดขึ้นจากภาคขนส่งในปัจจุบัน และบรรลุเป้าหมายการสร้างเศรษฐกิจใหม่ผ่านอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของคนไทยต่อไปในอนาคต” สํานักบริหารกลาง สํานักงานปลัดกระทรวงการคลัง 0 2126 5800 ต่อ 2237, 2277
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/48682
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงยุติธรรม เผย สถานการณ์โควิด-19 หายป่วยแล้วกว่า 80% พร้อมเตรียมลดสถานะ 2 เรือนจำสีแดงเป็นเรือนจำสีขาว
วันพุธที่ 16 มิถุนายน 2564 กระทรวงยุติธรรม เผย สถานการณ์โควิด-19 หายป่วยแล้วกว่า 80% พร้อมเตรียมลดสถานะ 2 เรือนจําสีแดงเป็นเรือนจําสีขาว กระทรวงยุติธรรม เผย สถานการณ์โควิด-19 หายป่วยแล้วกว่า 80% พร้อมเตรียมลดสถานะ 2 เรือนจําสีแดงเป็นเรือนจําสีขาว วันพุธที่ 16 มิถุนายน 2564 เวลา 17.00 นาฬิกา นายวัลลภ นาคบัว รองปลัดกระทรวงยุติธรรมและโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ภายในสถานที่ควบคุมของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม เผย ภาพรวมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในเรือนจําและทัณฑสถาน พบแนวโน้มยังดีขึ้นต่อเนื่อง หายป่วยแล้วกว่า 80% นายวัลลภฯ เปิดเผยว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดในเรือนจําและทัณฑสถานในวันนี้ พบว่ามีแนวโน้มที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน มีผู้ติดเชื้อรายใหม่น้อยกว่าผู้ติดเชื้อที่รักษาหายอย่างต่อเนื่อง โดยพบผู้ป่วยรักษาหายสะสมกว่า 80% ของผู้ติดเชื้อทั้งหมด ส่งผลให้มีจํานวนผู้ติดเชื้อที่ยังอยู่ระหว่างการรักษา 6,499 ราย และคาดว่าจะมีจํานวนผู้ที่หายป่วยเพิ่มขึ้นอีกต่อเนื่อง จากจํานวนผู้ป่วยกลุ่มสีเขียวที่มีกว่าร้อยละ 90 ของผู้ติดเชื้อที่ยังอยู่ระหว่างการรักษา ที่ส่วนใหญ่จะสามารถหายป่วยได้ตามกําหนดระยะเวลาของโรคคือประมาณ 14 วัน นับจากวันตรวจพบเชื้อ ภายใต้การดูแลของกรมราชทัณฑ์ ตามลักษณะอาการร่วมกับการให้ยาสารสกัดฟ้าทะลายโจรและยาผงฟ้าทะลายโจรร่วมด้วย และในส่วนของผู้ป่วยกลุ่มสีเหลือง และสีแดง ซึ่งได้รับการรักษาภายในทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ และโรงพยาบาลเรือนจํากลางบางขวาง ยังคงพบว่ามีแนวโน้มของผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวลดลง และไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตเพิ่มต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 โดยมีผู้เสียชีวิตอยู่ที่ 28 ราย หรือร้อยละ 0.08 ของผู้ติดเชื้อทั้งหมด นายวัลลภฯ กล่าวต่อว่า ด้านมาตรการเพื่อลดสถานะเรือนจํา/ทัณฑสถานจากการเป็นเรือนจําสีแดงเป็นเรือนจําปกติ ปัจจุบัน มีเรือนจํา/ทัณฑสถานที่อยู่ระหว่างรอระยะเวลาเพื่อลดสถานะจํานวน 2 แห่ง คือ เรือนจําจังหวัดนนทบุรี และทัณฑสถานวัยหนุ่มกลาง ซึ่งคาดว่าจะประกาศลดสถานะได้ภายในเดือนมิถุนายน 2564 นี้ ส่วนเรือนจําที่เริ่มดําเนินการได้บางส่วน คือ สามารถแบ่งแยกแดนที่เป็นสีขาวปลอดเชื้อบางส่วนได้แล้ว คือ เรือนจํากลางเชียงใหม่ ทัณฑสถานหญิงกลาง และเรือนจํากลางบางขวาง ที่เป็นเรือนจําขนาดใหญ่ที่สามารถบริหารจัดการพื้นที่ รวมถึงการคัดกรองที่รวดเร็ว จนสามารถรักษาและลดจํานวนผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งอยู่ระหว่างการประเมินเพื่อเข้าแผนการปรับลดสถานะจากเรือนจําสีแดงเป็นเรือนจําปกติ เช่นเดียวกับ เรือนจําพิเศษกรุงเทพมหานคร และเรือนจําพิเศษธนบุรี ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาเช่นเดียวกัน นายวัลลภฯ กล่าวปิดท้ายว่า ในส่วนของแผนการดําเนินงานระยะต่อไป จะเป็นการเริ่มวางแผนเพื่อคืนพื้นที่เรือนจํา/ทัณฑสถาน จากเรือนจําสีแดงเป็นเรือนจําสีขาว ที่สามารถรับตัวผู้ต้องขังเข้าใหม่ได้ปกติ ควบคู่กับแผนการป้องกันเชื้อเข้าสู่เรือนจํา/ทัณฑสถาน ที่ต้องมีการดําเนินการอย่างเข้มงวดและเป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดในเรือนจํา/ทัณฑสถานชั้นในได้อีก โดยเฉพาะการเร่งฉีดวัคซีนแก่ผู้ต้องขังเพื่อให้ครอบคลุมทุกราย ซึ่งเป็นนโยบายที่ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมได้เน้นย้ําเป็นพิเศษ เนื่องจากถือเป็นกลุ่มเปราะบางที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเป็นพิเศษ ควบคู่กับแผนการฉีดวัคซีนของประชาชนทั่วไป
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กระทรวงยุติธรรม เผย สถานการณ์โควิด-19 หายป่วยแล้วกว่า 80% พร้อมเตรียมลดสถานะ 2 เรือนจำสีแดงเป็นเรือนจำสีขาว วันพุธที่ 16 มิถุนายน 2564 กระทรวงยุติธรรม เผย สถานการณ์โควิด-19 หายป่วยแล้วกว่า 80% พร้อมเตรียมลดสถานะ 2 เรือนจําสีแดงเป็นเรือนจําสีขาว กระทรวงยุติธรรม เผย สถานการณ์โควิด-19 หายป่วยแล้วกว่า 80% พร้อมเตรียมลดสถานะ 2 เรือนจําสีแดงเป็นเรือนจําสีขาว วันพุธที่ 16 มิถุนายน 2564 เวลา 17.00 นาฬิกา นายวัลลภ นาคบัว รองปลัดกระทรวงยุติธรรมและโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ภายในสถานที่ควบคุมของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม เผย ภาพรวมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในเรือนจําและทัณฑสถาน พบแนวโน้มยังดีขึ้นต่อเนื่อง หายป่วยแล้วกว่า 80% นายวัลลภฯ เปิดเผยว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดในเรือนจําและทัณฑสถานในวันนี้ พบว่ามีแนวโน้มที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน มีผู้ติดเชื้อรายใหม่น้อยกว่าผู้ติดเชื้อที่รักษาหายอย่างต่อเนื่อง โดยพบผู้ป่วยรักษาหายสะสมกว่า 80% ของผู้ติดเชื้อทั้งหมด ส่งผลให้มีจํานวนผู้ติดเชื้อที่ยังอยู่ระหว่างการรักษา 6,499 ราย และคาดว่าจะมีจํานวนผู้ที่หายป่วยเพิ่มขึ้นอีกต่อเนื่อง จากจํานวนผู้ป่วยกลุ่มสีเขียวที่มีกว่าร้อยละ 90 ของผู้ติดเชื้อที่ยังอยู่ระหว่างการรักษา ที่ส่วนใหญ่จะสามารถหายป่วยได้ตามกําหนดระยะเวลาของโรคคือประมาณ 14 วัน นับจากวันตรวจพบเชื้อ ภายใต้การดูแลของกรมราชทัณฑ์ ตามลักษณะอาการร่วมกับการให้ยาสารสกัดฟ้าทะลายโจรและยาผงฟ้าทะลายโจรร่วมด้วย และในส่วนของผู้ป่วยกลุ่มสีเหลือง และสีแดง ซึ่งได้รับการรักษาภายในทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ และโรงพยาบาลเรือนจํากลางบางขวาง ยังคงพบว่ามีแนวโน้มของผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวลดลง และไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตเพิ่มต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 โดยมีผู้เสียชีวิตอยู่ที่ 28 ราย หรือร้อยละ 0.08 ของผู้ติดเชื้อทั้งหมด นายวัลลภฯ กล่าวต่อว่า ด้านมาตรการเพื่อลดสถานะเรือนจํา/ทัณฑสถานจากการเป็นเรือนจําสีแดงเป็นเรือนจําปกติ ปัจจุบัน มีเรือนจํา/ทัณฑสถานที่อยู่ระหว่างรอระยะเวลาเพื่อลดสถานะจํานวน 2 แห่ง คือ เรือนจําจังหวัดนนทบุรี และทัณฑสถานวัยหนุ่มกลาง ซึ่งคาดว่าจะประกาศลดสถานะได้ภายในเดือนมิถุนายน 2564 นี้ ส่วนเรือนจําที่เริ่มดําเนินการได้บางส่วน คือ สามารถแบ่งแยกแดนที่เป็นสีขาวปลอดเชื้อบางส่วนได้แล้ว คือ เรือนจํากลางเชียงใหม่ ทัณฑสถานหญิงกลาง และเรือนจํากลางบางขวาง ที่เป็นเรือนจําขนาดใหญ่ที่สามารถบริหารจัดการพื้นที่ รวมถึงการคัดกรองที่รวดเร็ว จนสามารถรักษาและลดจํานวนผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งอยู่ระหว่างการประเมินเพื่อเข้าแผนการปรับลดสถานะจากเรือนจําสีแดงเป็นเรือนจําปกติ เช่นเดียวกับ เรือนจําพิเศษกรุงเทพมหานคร และเรือนจําพิเศษธนบุรี ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาเช่นเดียวกัน นายวัลลภฯ กล่าวปิดท้ายว่า ในส่วนของแผนการดําเนินงานระยะต่อไป จะเป็นการเริ่มวางแผนเพื่อคืนพื้นที่เรือนจํา/ทัณฑสถาน จากเรือนจําสีแดงเป็นเรือนจําสีขาว ที่สามารถรับตัวผู้ต้องขังเข้าใหม่ได้ปกติ ควบคู่กับแผนการป้องกันเชื้อเข้าสู่เรือนจํา/ทัณฑสถาน ที่ต้องมีการดําเนินการอย่างเข้มงวดและเป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดในเรือนจํา/ทัณฑสถานชั้นในได้อีก โดยเฉพาะการเร่งฉีดวัคซีนแก่ผู้ต้องขังเพื่อให้ครอบคลุมทุกราย ซึ่งเป็นนโยบายที่ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมได้เน้นย้ําเป็นพิเศษ เนื่องจากถือเป็นกลุ่มเปราะบางที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเป็นพิเศษ ควบคู่กับแผนการฉีดวัคซีนของประชาชนทั่วไป
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/42786
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.วธ. บันทึกเทปวีดิทัศน์ผลการประกวดคลิปดนตรีพื้นบ้านและการแสดงพื้นบ้านฯ ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พุทธศักราช ๒๕๖๔ “รวมศิล
วันจันทร์ที่ 6 กันยายน 2564 รมว.วธ. บันทึกเทปวีดิทัศน์ผลการประกวดคลิปดนตรีพื้นบ้านและการแสดงพื้นบ้านฯ ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พุทธศักราช ๒๕๖๔ “รวมศิล บันทึกเทปวีดิทัศน์ผลการประกวดคลิปดนตรีพื้นบ้านและการแสดงพื้นบ้านฯ ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พุทธศักราช ๒๕๖๔ “รวมศิลป์ แผ่นดินสยาม” วันที่ ๖ กันยายน ๒๕๖๔ เวลา ๑๓.๐๐ น. นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม บันทึกเทปวีดิทัศน์ผลการประกวดคลิปดนตรีพื้นบ้านและการแสดงพื้นบ้านฯ ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พุทธศักราช ๒๕๖๔ “รวมศิลป์ แผ่นดินสยาม” โดยมีนางสาวอัจฉราพร พงษ์ฉวี รองอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม ณ ห้องประชุม ๑ ชั้น ๘ อาคารวัฒนธรรมวิศิษฏ์ กระทรวงวัฒนธรรม
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมว.วธ. บันทึกเทปวีดิทัศน์ผลการประกวดคลิปดนตรีพื้นบ้านและการแสดงพื้นบ้านฯ ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พุทธศักราช ๒๕๖๔ “รวมศิล วันจันทร์ที่ 6 กันยายน 2564 รมว.วธ. บันทึกเทปวีดิทัศน์ผลการประกวดคลิปดนตรีพื้นบ้านและการแสดงพื้นบ้านฯ ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พุทธศักราช ๒๕๖๔ “รวมศิล บันทึกเทปวีดิทัศน์ผลการประกวดคลิปดนตรีพื้นบ้านและการแสดงพื้นบ้านฯ ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พุทธศักราช ๒๕๖๔ “รวมศิลป์ แผ่นดินสยาม” วันที่ ๖ กันยายน ๒๕๖๔ เวลา ๑๓.๐๐ น. นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม บันทึกเทปวีดิทัศน์ผลการประกวดคลิปดนตรีพื้นบ้านและการแสดงพื้นบ้านฯ ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พุทธศักราช ๒๕๖๔ “รวมศิลป์ แผ่นดินสยาม” โดยมีนางสาวอัจฉราพร พงษ์ฉวี รองอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม ณ ห้องประชุม ๑ ชั้น ๘ อาคารวัฒนธรรมวิศิษฏ์ กระทรวงวัฒนธรรม
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/45566
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-โฆษกรัฐบาลวอน อย่าแปลคำพูดนายกฯ เกินความหมาย ชี้ “สวดมนต์” นายกฯ มีเจตนาเพื่อให้คลายความทุกข์พร้อมรับสถานการณ์ โดยนายกฯ จะลงพื้นที่ตรวจสถานการณ์น้ำ จ.ชัยภูมิ วันที่ 29 นี้
วันจันทร์ที่ 27 กันยายน 2564 โฆษกรัฐบาลวอน อย่าแปลคําพูดนายกฯ เกินความหมาย ชี้ “สวดมนต์” นายกฯ มีเจตนาเพื่อให้คลายความทุกข์พร้อมรับสถานการณ์ โดยนายกฯ จะลงพื้นที่ตรวจสถานการณ์น้ํา จ.ชัยภูมิ วันที่ 29 นี้ โฆษกรัฐบาลวอน อย่าแปลคําพูดนายกฯ เกินความหมาย ชี้ “สวดมนต์” นายกฯ มีเจตนาเพื่อให้คลายความทุกข์พร้อมรับสถานการณ์ โดยนายกฯ จะลงพื้นที่ตรวจสถานการณ์น้ํา จ.ชัยภูมิ วันที่ 29 นี้ วันที่ 27 กันยายน 2564 นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจํานายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ติดตามสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดจากพายุเตี้ยนหมู่อย่างใกล้ชิด ตั้งแต่วันที่ 23 กันยายนจนถึงปัจจุบัน มีพื้นที่ 27 จังหวัดได้รับผลกระทบน้ําท่วมฉับพลันและน้ําป่าไหลหลาก นอกจากนี้ กรมอุตุนิยมวิทยาได้พยากรณ์อากาศตั้งแต่วันที่ 26 กันยายน – 2 ตุลาคม จะยังคงมีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคกลางและภาคกลางตอนล่าง โดยเฉพาะ 12 จังหวัด ได้แก่ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร รวมถึงกรุงเทพมหานคร ขอให้มีการเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์น้ําล้นตลิ่งจากระดับน้ําในแม่น้ําเจ้าพระยาที่เพิ่มสูงขึ้น สําหรับประชาชนที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ําเจ้าพระยา บริษัทห้างร้าน หรือการเพาะปลูก/เลี้ยงสัตว์ เตรียมขนย้ายของขึ้นที่สูงและระมัดระวังการสัญจรทางน้ํา โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี กล่าวอีกว่า นายกรัฐมนตรีห่วงพี่น้องประชาชนในพื้นที่น้ําท่วม โดยเฉพาะหลายพื้นที่ระดับน้ํายังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งยังอาจมีน้ําป่าไหลหลากที่จะส่งผลให้น้ําท่วมเฉียบพลันได้ ขอให้กระทรวง หน่วยงาน เร่งให้การช่วยเหลือดูแล โดยเฉพาะสถานที่เปราะบาง เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน วัด ศาสนสถาน รวมถึงพื้นที่สาธารณประโยชน์อื่น ๆ ที่ได้รับความเสียหายด้วย พร้อมทั้งยังฝากขอบคุณเจ้าหน้าที่ทุกฝ่าย ทหาร รวมถึงจิตอาสา กู้ภัย ที่ร่วมกันปฏิบัติงานท่ามกลางสถานการณ์อันยากลําบากด้วย นายธนกรกล่าวเพิ่มเติมว่า ตนขอความเป็นธรรมให้กับนายกรัฐมนตรีด้วย ในฐานะโฆษกรัฐบาลได้ติดตามนายกฯ ลงพื้นที่ ล่าสุดได้ร่วมตรวจเยี่ยมพื้นที่น้ําท่วมสุโขทัย ยืนยันว่า นายกรัฐมนตรีไม่ได้บอกสวดมนต์ไล่น้ํา แต่มีเจตนาให้ทําทุกอย่างเพื่อให้คลายความทุกข์ พร้อมรับสถานการณ์ ซึ่งนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลทํางานอย่างเต็มที่ทุกมาตรการ ยังเตรียมลงพื้นที่ จ. ชัยภูมิ และจังหวัดอื่น ๆ ภายในสัปดาห์นี้ด้วย
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-โฆษกรัฐบาลวอน อย่าแปลคำพูดนายกฯ เกินความหมาย ชี้ “สวดมนต์” นายกฯ มีเจตนาเพื่อให้คลายความทุกข์พร้อมรับสถานการณ์ โดยนายกฯ จะลงพื้นที่ตรวจสถานการณ์น้ำ จ.ชัยภูมิ วันที่ 29 นี้ วันจันทร์ที่ 27 กันยายน 2564 โฆษกรัฐบาลวอน อย่าแปลคําพูดนายกฯ เกินความหมาย ชี้ “สวดมนต์” นายกฯ มีเจตนาเพื่อให้คลายความทุกข์พร้อมรับสถานการณ์ โดยนายกฯ จะลงพื้นที่ตรวจสถานการณ์น้ํา จ.ชัยภูมิ วันที่ 29 นี้ โฆษกรัฐบาลวอน อย่าแปลคําพูดนายกฯ เกินความหมาย ชี้ “สวดมนต์” นายกฯ มีเจตนาเพื่อให้คลายความทุกข์พร้อมรับสถานการณ์ โดยนายกฯ จะลงพื้นที่ตรวจสถานการณ์น้ํา จ.ชัยภูมิ วันที่ 29 นี้ วันที่ 27 กันยายน 2564 นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจํานายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ติดตามสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดจากพายุเตี้ยนหมู่อย่างใกล้ชิด ตั้งแต่วันที่ 23 กันยายนจนถึงปัจจุบัน มีพื้นที่ 27 จังหวัดได้รับผลกระทบน้ําท่วมฉับพลันและน้ําป่าไหลหลาก นอกจากนี้ กรมอุตุนิยมวิทยาได้พยากรณ์อากาศตั้งแต่วันที่ 26 กันยายน – 2 ตุลาคม จะยังคงมีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคกลางและภาคกลางตอนล่าง โดยเฉพาะ 12 จังหวัด ได้แก่ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร รวมถึงกรุงเทพมหานคร ขอให้มีการเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์น้ําล้นตลิ่งจากระดับน้ําในแม่น้ําเจ้าพระยาที่เพิ่มสูงขึ้น สําหรับประชาชนที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ําเจ้าพระยา บริษัทห้างร้าน หรือการเพาะปลูก/เลี้ยงสัตว์ เตรียมขนย้ายของขึ้นที่สูงและระมัดระวังการสัญจรทางน้ํา โฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี กล่าวอีกว่า นายกรัฐมนตรีห่วงพี่น้องประชาชนในพื้นที่น้ําท่วม โดยเฉพาะหลายพื้นที่ระดับน้ํายังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งยังอาจมีน้ําป่าไหลหลากที่จะส่งผลให้น้ําท่วมเฉียบพลันได้ ขอให้กระทรวง หน่วยงาน เร่งให้การช่วยเหลือดูแล โดยเฉพาะสถานที่เปราะบาง เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน วัด ศาสนสถาน รวมถึงพื้นที่สาธารณประโยชน์อื่น ๆ ที่ได้รับความเสียหายด้วย พร้อมทั้งยังฝากขอบคุณเจ้าหน้าที่ทุกฝ่าย ทหาร รวมถึงจิตอาสา กู้ภัย ที่ร่วมกันปฏิบัติงานท่ามกลางสถานการณ์อันยากลําบากด้วย นายธนกรกล่าวเพิ่มเติมว่า ตนขอความเป็นธรรมให้กับนายกรัฐมนตรีด้วย ในฐานะโฆษกรัฐบาลได้ติดตามนายกฯ ลงพื้นที่ ล่าสุดได้ร่วมตรวจเยี่ยมพื้นที่น้ําท่วมสุโขทัย ยืนยันว่า นายกรัฐมนตรีไม่ได้บอกสวดมนต์ไล่น้ํา แต่มีเจตนาให้ทําทุกอย่างเพื่อให้คลายความทุกข์ พร้อมรับสถานการณ์ ซึ่งนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลทํางานอย่างเต็มที่ทุกมาตรการ ยังเตรียมลงพื้นที่ จ. ชัยภูมิ และจังหวัดอื่น ๆ ภายในสัปดาห์นี้ด้วย
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/46244
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รายงานความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบประจำเดือนพฤษภาคม 2564
วันอังคารที่ 29 มิถุนายน 2564 รายงานความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบประจําเดือนพฤษภาคม 2564 ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2564 ภาพรวมการประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกํากับ (สินเชื่อพิโกไฟแนนซ์) มีจํานวนผู้ที่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้ประกอบธุรกิจสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์และเปิดดําเนินการแล้วสะสมสุทธิ 979 ราย ใน 75 จังหวัด นางสาวสภัทร์พร ธรรมาภรณ์พิลาศ รองผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะรองโฆษกสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยว่า ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2564 ภาพรวมการประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกํากับ (สินเชื่อพิโกไฟแนนซ์) มีจํานวนผู้ที่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้ประกอบธุรกิจสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์และเปิดดําเนินการแล้วสะสมสุทธิ 979 ราย ใน 75 จังหวัด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบธุรกิจในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (575 ราย) รองลงมา ได้แก่ ภาคกลาง (159 ราย) ภาคเหนือ (126 ราย) ภาคตะวันออก (67 ราย) และภาคใต้ (52 ราย) ตามลําดับ ทั้งนี้ นับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2559 ที่กระทรวงการคลังได้เปิดให้มีการประกอบธุรกิจสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์จนถึงสิ้นเดือนเมษายน 2564 ได้มีการอนุมัติสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ให้กับประชาชนรายย่อยไปแล้วจํานวนทั้งสิ้น 529,909 บัญชี รวมเป็นวงเงิน 12,216.13 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 23,053.26 บาทต่อบัญชี ซึ่งมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้ (1) สินเชื่อประเภทพิโกไฟแนนซ์ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2564 มีจํานวนผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจสินเชื่อประเภทพิโกไฟแนนซ์สะสมสุทธิทั้งสิ้น 880 ราย ใน 74 จังหวัด และมีจํานวนผู้เปิดดําเนินการแล้ว 841 ราย ใน 74 จังหวัด โดยจังหวัดที่มีผู้เปิดดําเนินการมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ นครราชสีมา (77 ราย) กรุงเทพมหานคร (66 ราย) และขอนแก่น (51 ราย) (2) สินเชื่อประเภทพิโกพลัส ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2564 มีจํานวนผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจสินเชื่อประเภทพิโกพลัสสะสมสุทธิทั้งสิ้น 153 ราย ใน 49 จังหวัด (เพิ่มขึ้น 3 จังหวัด ได้แก่ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) และมีจํานวนผู้เปิดดําเนินการแล้ว 138 ราย ใน45 จังหวัด โดยจังหวัดที่มีผู้เปิดดําเนินการมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ นครราชสีมา (20 ราย) อุดรธานี (9 ราย) อุบลราชธานีและกรุงเทพมหานคร (จังหวัดละ 8 ราย) (3) ภาพรวมสถานะสินเชื่อคงค้าง ณ สิ้นเดือนเมษายน 2564 มียอดสินเชื่อคงค้างจํานวนทั้งสิ้น 191,469 บัญชี คิดเป็นจํานวนเงิน 4,131.24 ล้านบาท โดยมีสินเชื่อค้างชําระ 1 - 3 เดือน สะสมรวมทั้งสิ้น 26,404 บัญชี หรือคิดเป็นจํานวนเงินสะสมรวม 602.70 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 14.59 ของยอดสินเชื่อคงค้างสะสม และมีสินเชื่อค้างชําระที่เกินกว่า 3 เดือน (NPL) สะสมรวมจํานวน 31,210 บัญชี หรือคิดเป็นจํานวนเงินสะสมรวม 738.43 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 17.87 ของยอดสินเชื่อคงค้างสะสม นอกจากนี้ กระทรวงการคลังยังคงดําเนินการร่วมกับหน่วยงานภาคีแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบให้กับประชาชนอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ การดําเนินการอย่างจริงจังกับเจ้าหนี้นอกระบบที่ผิดกฎหมาย ซึ่งนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2559 จนถึงสิ้นเดือนพฤษภาคม 2564 สํานักงานตํารวจแห่งชาติได้ดําเนินการจับกุมผู้ปล่อยเงินกู้นอกระบบที่กระทําผิดกฎหมายจํานวนสะสม 9,352 ราย เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2564 จํานวน 146 ราย ทั้งนี้ ประชาชนสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารและรายชื่อผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ที่เปิดดําเนินการได้ทางเว็บไซต์ www.1359.go.th และสามารถร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับเงินกู้นอกระบบที่ผิดกฎหมายได้โดยตรงที่ •สํานักงานตํารวจแห่งชาติ สายด่วน 1599 •ศูนย์ดํารงธรรม สายด่วน 1567 •ศูนย์รับแจ้งการเงินนอกระบบ สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง สายด่วน 1359 •ศูนย์ช่วยเหลือลูกหนี้และประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม กระทรวงยุติธรรม (ศนธ.ยธ.) โทร. 0 2575 3344 สํานักนโยบายพัฒนาระบบการเงินภาคประชาชน โทร. สายด่วน 1359
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รายงานความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบประจำเดือนพฤษภาคม 2564 วันอังคารที่ 29 มิถุนายน 2564 รายงานความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบประจําเดือนพฤษภาคม 2564 ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2564 ภาพรวมการประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกํากับ (สินเชื่อพิโกไฟแนนซ์) มีจํานวนผู้ที่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้ประกอบธุรกิจสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์และเปิดดําเนินการแล้วสะสมสุทธิ 979 ราย ใน 75 จังหวัด นางสาวสภัทร์พร ธรรมาภรณ์พิลาศ รองผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะรองโฆษกสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยว่า ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2564 ภาพรวมการประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกํากับ (สินเชื่อพิโกไฟแนนซ์) มีจํานวนผู้ที่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้ประกอบธุรกิจสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์และเปิดดําเนินการแล้วสะสมสุทธิ 979 ราย ใน 75 จังหวัด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบธุรกิจในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (575 ราย) รองลงมา ได้แก่ ภาคกลาง (159 ราย) ภาคเหนือ (126 ราย) ภาคตะวันออก (67 ราย) และภาคใต้ (52 ราย) ตามลําดับ ทั้งนี้ นับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2559 ที่กระทรวงการคลังได้เปิดให้มีการประกอบธุรกิจสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์จนถึงสิ้นเดือนเมษายน 2564 ได้มีการอนุมัติสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ให้กับประชาชนรายย่อยไปแล้วจํานวนทั้งสิ้น 529,909 บัญชี รวมเป็นวงเงิน 12,216.13 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 23,053.26 บาทต่อบัญชี ซึ่งมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้ (1) สินเชื่อประเภทพิโกไฟแนนซ์ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2564 มีจํานวนผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจสินเชื่อประเภทพิโกไฟแนนซ์สะสมสุทธิทั้งสิ้น 880 ราย ใน 74 จังหวัด และมีจํานวนผู้เปิดดําเนินการแล้ว 841 ราย ใน 74 จังหวัด โดยจังหวัดที่มีผู้เปิดดําเนินการมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ นครราชสีมา (77 ราย) กรุงเทพมหานคร (66 ราย) และขอนแก่น (51 ราย) (2) สินเชื่อประเภทพิโกพลัส ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2564 มีจํานวนผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจสินเชื่อประเภทพิโกพลัสสะสมสุทธิทั้งสิ้น 153 ราย ใน 49 จังหวัด (เพิ่มขึ้น 3 จังหวัด ได้แก่ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) และมีจํานวนผู้เปิดดําเนินการแล้ว 138 ราย ใน45 จังหวัด โดยจังหวัดที่มีผู้เปิดดําเนินการมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ นครราชสีมา (20 ราย) อุดรธานี (9 ราย) อุบลราชธานีและกรุงเทพมหานคร (จังหวัดละ 8 ราย) (3) ภาพรวมสถานะสินเชื่อคงค้าง ณ สิ้นเดือนเมษายน 2564 มียอดสินเชื่อคงค้างจํานวนทั้งสิ้น 191,469 บัญชี คิดเป็นจํานวนเงิน 4,131.24 ล้านบาท โดยมีสินเชื่อค้างชําระ 1 - 3 เดือน สะสมรวมทั้งสิ้น 26,404 บัญชี หรือคิดเป็นจํานวนเงินสะสมรวม 602.70 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 14.59 ของยอดสินเชื่อคงค้างสะสม และมีสินเชื่อค้างชําระที่เกินกว่า 3 เดือน (NPL) สะสมรวมจํานวน 31,210 บัญชี หรือคิดเป็นจํานวนเงินสะสมรวม 738.43 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 17.87 ของยอดสินเชื่อคงค้างสะสม นอกจากนี้ กระทรวงการคลังยังคงดําเนินการร่วมกับหน่วยงานภาคีแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบให้กับประชาชนอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ การดําเนินการอย่างจริงจังกับเจ้าหนี้นอกระบบที่ผิดกฎหมาย ซึ่งนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2559 จนถึงสิ้นเดือนพฤษภาคม 2564 สํานักงานตํารวจแห่งชาติได้ดําเนินการจับกุมผู้ปล่อยเงินกู้นอกระบบที่กระทําผิดกฎหมายจํานวนสะสม 9,352 ราย เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2564 จํานวน 146 ราย ทั้งนี้ ประชาชนสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารและรายชื่อผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ที่เปิดดําเนินการได้ทางเว็บไซต์ www.1359.go.th และสามารถร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับเงินกู้นอกระบบที่ผิดกฎหมายได้โดยตรงที่ •สํานักงานตํารวจแห่งชาติ สายด่วน 1599 •ศูนย์ดํารงธรรม สายด่วน 1567 •ศูนย์รับแจ้งการเงินนอกระบบ สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง สายด่วน 1359 •ศูนย์ช่วยเหลือลูกหนี้และประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม กระทรวงยุติธรรม (ศนธ.ยธ.) โทร. 0 2575 3344 สํานักนโยบายพัฒนาระบบการเงินภาคประชาชน โทร. สายด่วน 1359
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/43253
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รองปลัด.อำพันธุ์ ติดตามสถานการณ์น้ำตาลทราย อุตสาหกรรมต่อเนื่อง และการส่งออกน้ำตาลทราย ณ ด่านศุลกากรคลองใหญ่ จ.ตราด
วันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565 รองปลัด.อําพันธุ์ ติดตามสถานการณ์น้ําตาลทราย อุตสาหกรรมต่อเนื่อง และการส่งออกน้ําตาลทราย ณ ด่านศุลกากรคลองใหญ่ จ.ตราด รองปลัด.อําพันธุ์ ติดตามสถานการณ์น้ําตาลทราย อุตสาหกรรมต่อเนื่อง และการส่งออกน้ําตาลทราย ณ ด่านศุลกากรคลองใหญ่ จ.ตราด นายอําพันธุ์ เวฬุตันติ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการน้ําตาลทราย พร้อมด้วย นายประสิทธิ์ วงษาเทียม ผู้อํานวยการกองอุตสาหกรรมอ้อย น้ําตาลทราย และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง นายสมนึก มั่นในบุญธรรม ผู้อํานวยการสํานักบริหารอ้อยและน้ําตาลทราย คณะกรรมการน้ําตาลทราย เจ้าหน้าที่ของ สอน. และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ําตาลทราย อุตสาหกรรมต่อเนื่อง และการส่งออกน้ําตาลทราย ณ ด่านศุลกากรคลองใหญ่ ต.คลองใหญ่ อ.คลองใหญ่ จ.ตราด โดยมี นางสุทัศนีย์ สุภาพันธ์ นายด่านศุลกากรคลองใหญ่ ให้การต้อนรับและบรรยายพิธีการศุลกากรการส่งสินค้าออก ขั้นตอนในการส่งสินค้า ภารกิจ บทบาทหน้าที่ของด่านศุลกากรคลองใหญ่ จากนั้นคณะได้เดินทางไปดูงานการขนย้ายน้ําตาลทราย ณ ท่าเรือส.กฤตรวัณ ด้วย
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รองปลัด.อำพันธุ์ ติดตามสถานการณ์น้ำตาลทราย อุตสาหกรรมต่อเนื่อง และการส่งออกน้ำตาลทราย ณ ด่านศุลกากรคลองใหญ่ จ.ตราด วันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565 รองปลัด.อําพันธุ์ ติดตามสถานการณ์น้ําตาลทราย อุตสาหกรรมต่อเนื่อง และการส่งออกน้ําตาลทราย ณ ด่านศุลกากรคลองใหญ่ จ.ตราด รองปลัด.อําพันธุ์ ติดตามสถานการณ์น้ําตาลทราย อุตสาหกรรมต่อเนื่อง และการส่งออกน้ําตาลทราย ณ ด่านศุลกากรคลองใหญ่ จ.ตราด นายอําพันธุ์ เวฬุตันติ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการน้ําตาลทราย พร้อมด้วย นายประสิทธิ์ วงษาเทียม ผู้อํานวยการกองอุตสาหกรรมอ้อย น้ําตาลทราย และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง นายสมนึก มั่นในบุญธรรม ผู้อํานวยการสํานักบริหารอ้อยและน้ําตาลทราย คณะกรรมการน้ําตาลทราย เจ้าหน้าที่ของ สอน. และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ําตาลทราย อุตสาหกรรมต่อเนื่อง และการส่งออกน้ําตาลทราย ณ ด่านศุลกากรคลองใหญ่ ต.คลองใหญ่ อ.คลองใหญ่ จ.ตราด โดยมี นางสุทัศนีย์ สุภาพันธ์ นายด่านศุลกากรคลองใหญ่ ให้การต้อนรับและบรรยายพิธีการศุลกากรการส่งสินค้าออก ขั้นตอนในการส่งสินค้า ภารกิจ บทบาทหน้าที่ของด่านศุลกากรคลองใหญ่ จากนั้นคณะได้เดินทางไปดูงานการขนย้ายน้ําตาลทราย ณ ท่าเรือส.กฤตรวัณ ด้วย
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/51919
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมต. นร. นายอนุชาฯ ถวายเครื่องสักการะเนื่องในเทศกาลเข้าพรรษา ประจำปี 2564 พร้อมตรวจเยี่ยมศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อ เขตสัมพันธวงศ์ หรือ Community Isolation (CI)
วันพุธที่ 18 สิงหาคม 2564 รมต. นร. นายอนุชาฯ ถวายเครื่องสักการะเนื่องในเทศกาลเข้าพรรษา ประจําปี 2564 พร้อมตรวจเยี่ยมศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อ เขตสัมพันธวงศ์ หรือ Community Isolation (CI) รมต. นร. นายอนุชาฯ ถวายเครื่องสักการะเนื่องในเทศกาลเข้าพรรษา ประจําปี 2564 พร้อมตรวจเยี่ยมศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อ เขตสัมพันธวงศ์ หรือ Community Isolation (CI) วันนี้ (18 สิงหาคม 2564) เวลา 09.00 น. นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้แทน พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เดินทางไปยังวัดปทุมคงคาราชวรวิหาร เข้าถวายเครื่องสักการะ ประกอบด้วย พานธูปเทียนแพ พุ่มดอกไม้ ผ้าไตร และเครื่องไทยธรรม แด่พระพรหมเสนาบดี (พิมพ์ ญาณวีโร ป.ธ.๗) กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดปทุมคงคาราชวรวิหาร เนื่องในเทศกาลเข้าพรรษา ประจําปี 2564 โอกาสนี้ รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ได้ตรวจเยี่ยมศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อ เขตสัมพันธวงศ์ หรือ Community Isolation (CI) จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม ที่ผ่านมา เพื่อรองรับผู้ป่วยที่มีผลการตรวจรับรองว่าติดเชื้อโควิด 19 กลุ่มสีเขียวที่ไม่มีอาการในพื้นที่เขต โดยจะใช้แยกผู้ป่วยที่ต้องการแยกกักตัวจากครอบครัวและชุมชน เนื่องจากไม่สามารถแยกกักตัวที่บ้านได้ (Home Isolation : HI) ซึ่งจะมีการประเมินคัดกรองอาการผู้ป่วยในเบื้องต้น เพื่อรอการส่งต่อไปรักษาที่โรงพยาบาล เป็นการลดปัญหาการแพร่ระบาดและติดเชื้อของคนในครอบครัวและชุมชน โดยทางศูนย์มีการแยกโซนผู้ป่วยชายและหญิง มีจํานวนเตียงทั้งสิ้น 46 เตียง แบ่งเป็น เตียงผู้ชาย จํานวน 23 เตียง เตียงผู้หญิง จํานวน 23 เตียง และแยกโซนผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ให้มีความเป็นสัดส่วน เพื่อป้องกันการติดเชื้อ ตลอดจนจัดเตรียมจุดรับลงทะเบียนผู้ป่วย ซึ่งเป็นจุดแรกเข้า พร้อมอุปกรณ์สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่จําเป็นให้แก่ผู้ป่วย รวมถึงสถานที่คัดแยกขยะติดเชื้อ การจัดระบบการดูแลเรื่องความสะอาดภายในศูนย์ฯ ระบบไฟฟ้า ระบบกล้อง CCTV ระบบการสื่อสารภายในระหว่างผู้ป่วยกับบุคลากรทางทางแพทย์ และการดูแลรักษาความปลอดภัยให้แก่ผู้ป่วยภายในศูนย์พักคอยฯ เป็นต้น ......................
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-รมต. นร. นายอนุชาฯ ถวายเครื่องสักการะเนื่องในเทศกาลเข้าพรรษา ประจำปี 2564 พร้อมตรวจเยี่ยมศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อ เขตสัมพันธวงศ์ หรือ Community Isolation (CI) วันพุธที่ 18 สิงหาคม 2564 รมต. นร. นายอนุชาฯ ถวายเครื่องสักการะเนื่องในเทศกาลเข้าพรรษา ประจําปี 2564 พร้อมตรวจเยี่ยมศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อ เขตสัมพันธวงศ์ หรือ Community Isolation (CI) รมต. นร. นายอนุชาฯ ถวายเครื่องสักการะเนื่องในเทศกาลเข้าพรรษา ประจําปี 2564 พร้อมตรวจเยี่ยมศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อ เขตสัมพันธวงศ์ หรือ Community Isolation (CI) วันนี้ (18 สิงหาคม 2564) เวลา 09.00 น. นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้แทน พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เดินทางไปยังวัดปทุมคงคาราชวรวิหาร เข้าถวายเครื่องสักการะ ประกอบด้วย พานธูปเทียนแพ พุ่มดอกไม้ ผ้าไตร และเครื่องไทยธรรม แด่พระพรหมเสนาบดี (พิมพ์ ญาณวีโร ป.ธ.๗) กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดปทุมคงคาราชวรวิหาร เนื่องในเทศกาลเข้าพรรษา ประจําปี 2564 โอกาสนี้ รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ได้ตรวจเยี่ยมศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อ เขตสัมพันธวงศ์ หรือ Community Isolation (CI) จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม ที่ผ่านมา เพื่อรองรับผู้ป่วยที่มีผลการตรวจรับรองว่าติดเชื้อโควิด 19 กลุ่มสีเขียวที่ไม่มีอาการในพื้นที่เขต โดยจะใช้แยกผู้ป่วยที่ต้องการแยกกักตัวจากครอบครัวและชุมชน เนื่องจากไม่สามารถแยกกักตัวที่บ้านได้ (Home Isolation : HI) ซึ่งจะมีการประเมินคัดกรองอาการผู้ป่วยในเบื้องต้น เพื่อรอการส่งต่อไปรักษาที่โรงพยาบาล เป็นการลดปัญหาการแพร่ระบาดและติดเชื้อของคนในครอบครัวและชุมชน โดยทางศูนย์มีการแยกโซนผู้ป่วยชายและหญิง มีจํานวนเตียงทั้งสิ้น 46 เตียง แบ่งเป็น เตียงผู้ชาย จํานวน 23 เตียง เตียงผู้หญิง จํานวน 23 เตียง และแยกโซนผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ให้มีความเป็นสัดส่วน เพื่อป้องกันการติดเชื้อ ตลอดจนจัดเตรียมจุดรับลงทะเบียนผู้ป่วย ซึ่งเป็นจุดแรกเข้า พร้อมอุปกรณ์สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่จําเป็นให้แก่ผู้ป่วย รวมถึงสถานที่คัดแยกขยะติดเชื้อ การจัดระบบการดูแลเรื่องความสะอาดภายในศูนย์ฯ ระบบไฟฟ้า ระบบกล้อง CCTV ระบบการสื่อสารภายในระหว่างผู้ป่วยกับบุคลากรทางทางแพทย์ และการดูแลรักษาความปลอดภัยให้แก่ผู้ป่วยภายในศูนย์พักคอยฯ เป็นต้น ......................
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/44875
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมเจ้าท่า ส่งเสริมนวัตกรรมและเทคโนโลยีพลังงานไฟฟ้าในระบบขนส่งทางน้ำ ลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม
วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม 2565 กรมเจ้าท่า ส่งเสริมนวัตกรรมและเทคโนโลยีพลังงานไฟฟ้าในระบบขนส่งทางน้ํา ลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม ... จากนโยบายรัฐบาลและกระทรวงคมนาคม โดย นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และนายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ที่มอบนโยบายให้กรมเจ้าท่าส่งเสริมการนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีพลังงานไฟฟ้าใช้ในระบบขนส่งทางน้ํา เพื่อประหยัดพลังงานของประเทศ ลดผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม โดยสํานักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขานครปฐม ได้นําเจ้าหน้าที่ออกตรวจพื้นที่ เพื่ออํานวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว โดยใช้เรือเพลาใบจักรยาวที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเป็นยานพาหนะเพื่อเป็นแบบอย่างในการรณรงค์ให้เกิดการปฏิบัติตามนโยบายฯ พร้อมกํากับดูแลความปลอดภัย รวมถึงตรวจวัดความดังเครื่องยนต์ของเรือบรรทุกผู้โดยสารในพื้นที่เขตควบคุมความเร็ว พื้นที่คลองดําเนินสะดวก อําเภอดําเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี กรมจ้าท่า ได้ร่วมกับภาคเอกชนและภาคประชาชนในพื้นที่ ในการแก้ไขปัญหามลภาวะทางเสียงและทางอากาศจากเรือหางยาว ซึ่งได้มีการจัดทําเรือหางยาวไฟฟ้าต้นแบบขึ้น ซึ่งได้รับการสนับสนุนเรือหางยาวจากประชาชนในพื้นที่ในการพัฒนาเรือต้นแบบ เป็นเรือที่ชาวบ้านใช้ประกอบอาชีพอยู่เดิมนํามาดัดแปลงเปลี่ยนเครื่องยนต์มอเตอร์ไฟฟ้าทดแทนเครื่องยนต์เดิม 1 ลํา และภาคเอกชนสนับสนุนเพิ่มเติมอีก 1 ลํา (เสร็จสมบูรณ์เมื่อเดือนมีนาคม 2564) ซึ่งเป็นไปตามข้อบังคับฯ ของสํานักมาตรฐานเรือ กรมเจ้าท่า เพื่อแก้ไขปัญหา ความเดือดร้อนของประชาชนกรณีเรือเสียงดัง ควันดํา ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จากการทดลองใช้งานเรือขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้านั้นสามารถลดมลพิษทางเสียงได้จาก 90-100 เดซิเบล ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางอากาศ ลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิง และช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการใช้น้ํามันเชื้อเพลิงจาก 100 บาท/ชั่วโมง/เที่ยว เหลือเป็นค่าใช้จ่ายสําหรับการชาร์จแบตเตอรี่เพียง 25 บาท/ชั่วโมง/เที่ยว โดยเครื่องยนต์จะขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้ามีแบตเตอรี่เพื่อเก็บพลังงาน ซึ่งการชาร์จ 1 ครั้ง จะวิ่งได้ประมาณ 2 ชั่วโมง รวมถึงการใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ขณะใช้เรือได้อีกทางหนึ่งด้วย สําหรับเรือพลังงานไฟฟ้าลําดังกล่าว เป็นเรือที่ใช้งานในคลองดําเนินสะดวก เป็นเรือต้นแบบที่ไร้มลพิษ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นไปตามนโยบายรัฐบาล เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ทั้งนี้ กรมเจ้าท่า ขอความร่วมมือผู้ประกอบการท่าเรือ เจ้าของเรือ ผู้ควบคุมเรือ และนักท่องเที่ยวให้สวมใส่เสื้อชูชีพตลอดเวลา ขณะเดินทางทางน้ํา เพื่อความปลอดภัย สวมหน้ากากอนามัย และหมั่นทําความสะอาดมือ และให้ปฏิบัติตามคําแนะนําจากหน่วยงาน ด้านสาธารณสุขในท้องถิ่นอย่างเคร่งครัด หากพบเห็นความไม่ปลอดภัยทางน้ํา สามารถโทรแจ้งสายด่วน 1199 กรมเจ้าท่า ตลอด 24 ชั่วโมง
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-กรมเจ้าท่า ส่งเสริมนวัตกรรมและเทคโนโลยีพลังงานไฟฟ้าในระบบขนส่งทางน้ำ ลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม 2565 กรมเจ้าท่า ส่งเสริมนวัตกรรมและเทคโนโลยีพลังงานไฟฟ้าในระบบขนส่งทางน้ํา ลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม ... จากนโยบายรัฐบาลและกระทรวงคมนาคม โดย นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และนายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ที่มอบนโยบายให้กรมเจ้าท่าส่งเสริมการนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีพลังงานไฟฟ้าใช้ในระบบขนส่งทางน้ํา เพื่อประหยัดพลังงานของประเทศ ลดผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม โดยสํานักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขานครปฐม ได้นําเจ้าหน้าที่ออกตรวจพื้นที่ เพื่ออํานวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว โดยใช้เรือเพลาใบจักรยาวที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเป็นยานพาหนะเพื่อเป็นแบบอย่างในการรณรงค์ให้เกิดการปฏิบัติตามนโยบายฯ พร้อมกํากับดูแลความปลอดภัย รวมถึงตรวจวัดความดังเครื่องยนต์ของเรือบรรทุกผู้โดยสารในพื้นที่เขตควบคุมความเร็ว พื้นที่คลองดําเนินสะดวก อําเภอดําเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี กรมจ้าท่า ได้ร่วมกับภาคเอกชนและภาคประชาชนในพื้นที่ ในการแก้ไขปัญหามลภาวะทางเสียงและทางอากาศจากเรือหางยาว ซึ่งได้มีการจัดทําเรือหางยาวไฟฟ้าต้นแบบขึ้น ซึ่งได้รับการสนับสนุนเรือหางยาวจากประชาชนในพื้นที่ในการพัฒนาเรือต้นแบบ เป็นเรือที่ชาวบ้านใช้ประกอบอาชีพอยู่เดิมนํามาดัดแปลงเปลี่ยนเครื่องยนต์มอเตอร์ไฟฟ้าทดแทนเครื่องยนต์เดิม 1 ลํา และภาคเอกชนสนับสนุนเพิ่มเติมอีก 1 ลํา (เสร็จสมบูรณ์เมื่อเดือนมีนาคม 2564) ซึ่งเป็นไปตามข้อบังคับฯ ของสํานักมาตรฐานเรือ กรมเจ้าท่า เพื่อแก้ไขปัญหา ความเดือดร้อนของประชาชนกรณีเรือเสียงดัง ควันดํา ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จากการทดลองใช้งานเรือขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้านั้นสามารถลดมลพิษทางเสียงได้จาก 90-100 เดซิเบล ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางอากาศ ลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิง และช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการใช้น้ํามันเชื้อเพลิงจาก 100 บาท/ชั่วโมง/เที่ยว เหลือเป็นค่าใช้จ่ายสําหรับการชาร์จแบตเตอรี่เพียง 25 บาท/ชั่วโมง/เที่ยว โดยเครื่องยนต์จะขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้ามีแบตเตอรี่เพื่อเก็บพลังงาน ซึ่งการชาร์จ 1 ครั้ง จะวิ่งได้ประมาณ 2 ชั่วโมง รวมถึงการใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ขณะใช้เรือได้อีกทางหนึ่งด้วย สําหรับเรือพลังงานไฟฟ้าลําดังกล่าว เป็นเรือที่ใช้งานในคลองดําเนินสะดวก เป็นเรือต้นแบบที่ไร้มลพิษ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นไปตามนโยบายรัฐบาล เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ทั้งนี้ กรมเจ้าท่า ขอความร่วมมือผู้ประกอบการท่าเรือ เจ้าของเรือ ผู้ควบคุมเรือ และนักท่องเที่ยวให้สวมใส่เสื้อชูชีพตลอดเวลา ขณะเดินทางทางน้ํา เพื่อความปลอดภัย สวมหน้ากากอนามัย และหมั่นทําความสะอาดมือ และให้ปฏิบัติตามคําแนะนําจากหน่วยงาน ด้านสาธารณสุขในท้องถิ่นอย่างเคร่งครัด หากพบเห็นความไม่ปลอดภัยทางน้ํา สามารถโทรแจ้งสายด่วน 1199 กรมเจ้าท่า ตลอด 24 ชั่วโมง
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/55223
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-มท.1 นำประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการขจัดความยากจนฯ (อขจพ.) พร้อมเตรียมนำผลงานสำคัญเสนอต่อที่ประชุม คจพ.
วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน 2565 มท.1 นําประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการขจัดความยากจนฯ (อขจพ.) พร้อมเตรียมนําผลงานสําคัญเสนอต่อที่ประชุม คจพ. มท.1 นําประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการขจัดความยากจนฯ (อขจพ.) พร้อมเตรียมนําผลงานสําคัญเสนอต่อที่ประชุม คจพ. วันนี้ (13 มิ.ย. 65) เวลา 13.30 น. ที่ห้องประชุมราชสีห์ อาคารศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (อขจพ.) โดยมี นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม รองปลัดกระทรวงมหาดไทย หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านพัฒนาชุมชนและส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น นายสมคิด จันทมฤก อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน นางสาวกาญจนา ภูพิพัฒน์ผล รองผู้อํานวยการสํานักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร ดร.นิรันดร์ จงวุฒิเวศย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ ดร. สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิ พร้อมด้วยผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในฐานะคณะอนุกรรมการฯ อาทิ นางบุปผา พันธุ์เพ็ง รองปลัดกระทรวงแรงงาน นางสาวมนิดา ลิ่มนิจสรกุล ผู้ช่วยปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นางสาวนฤมล สงวนวงศ์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ (พิเศษ) นพ.สุภโชค เวชภัณฑ์เภสัช ผู้แทนปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยมี นายนิวัฒน์ น้อยผาง นายวิฑูรย์ นวลนุกูล นายสุรศักดิ์ อักษรกุล รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุม พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า การดําเนินการในช่วงที่ผ่านมาพบว่า กลไกทุกระดับมีแนวทางการดําเนินงานในพื้นที่ครบถ้วนตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรีและแนวทาง คจพ. โดยในขณะนี้อยู่ในช่วงเวลาของขั้นตอนการบูรณาการความช่วยเหลือจากทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้องของพื้นที่ ขณะนี้ถือว่ามีความคืบหน้าตามลําดับ และนอกจากนี้ จากการลงพื้นที่ของผู้ปฏิบัติได้มีเสียงสะท้อนจากระดับพื้นที่เกี่ยวกับการดําเนินงานขับเคลื่อนฯ ที่จําเป็นต้องหารือเพื่อเสนอต่อที่ประชุม คจพ. พิจารณา จึงเป็นที่มาของการประชุมในวันนี้ นายสมคิด จันทมฤก อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ในฐานะฝ่ายเลขานุการที่ประชุม ได้รายงานผลความก้าวหน้า โดยจํานวนครัวเรือนที่ได้รับการสํารวจปัญหาและเป็นเป้าหมายที่ต้องให้ความช่วยเหลือตามระบบ TPMAP มีจํานวน 647,139 ครัวเรือน ซึ่งได้ดําเนินการสํารวจและแก้ไขปัญหาโดยหน่วยงานตามอํานาจหน้าที่ตามเมนูแก้จนใน 5 มิติ ได้แก่ 1) มิติสุขภาพ พบสภาพปัญหา 133,872 ครัวเรือน ได้รับความช่วยเหลือแล้ว 71,947 ครัวเรือน 2) มิติความเป็นอยู่ พบสภาพปัญหา 134,901 ครัวเรือน ได้รับความช่วยเหลือ แล้ว 66,315 ครัวเรือน 3) มิติการศึกษา พบสภาพปัญหา 134,044 ครัวเรือน ได้รับความช่วยเหลือแล้ว 79,153 ครัวเรือน 4) มิติรายได้ พบสภาพปัญหา 314,667 ครัวเรือน ได้รับความช่วยเหลือแล้ว 150,403 ครัวเรือน และ 5) มิติการเข้าถึงบริการภาครัฐ พบสภาพปัญหา 2,649 ครัวเรือน ได้รับความช่วยเหลือแล้ว 1,215 ครัวเรือน พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการลงพื้นที่ของเจ้าหน้าที่ได้สะท้อนว่ายังมีครัวเรือนที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนนอกเหนือจากตัวชี้วัดของระบบ TPMAP ซึ่งสภาพปัญหาความเดือดร้อนดังกล่าว จําเป็นต้องได้รับการแก้ไขและช่วยเหลือ และที่ประชุมคณะอนุกรรมการฯ ในวันนี้ ได้พิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อพี่น้องประชาชน จึงมีมติเห็นชอบในหลักการให้นําเรื่องดังกล่าวเสนอต่อที่ประชุม คจพ. ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้พิจารณาให้กลุ่มเป้าหมายที่ตกหล่นได้รับการกําหนดเป็นเป้าหมายในระบบ TPMAP ““คนเราเวลามีปัญหาจะรอไม่ได้” ต้องเข้าไปแก้ทันที เช่น ถ้าเขามีหนี้ และเราช่วยหาวิธีการทําให้เขาหมดหนี้ และมีเงินทุนในการประกอบอาชีพ แบบนี้เรียก “สําเร็จ” แต่ถ้าเขาไปเจอสาธารณภัยซ้ําทําให้ล้มเหลวอีก เราก็ต้องไปประเมินหาทางช่วยเหลือต่อไป เพราะของเก่าก็แย่ ของใหม่ก็แย่ไปอีก ก็ต้องช่วยกันอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่เสร็จในคราวเดียว ซึ่งเปรียบคนกลุ่มนี้เป็นนักเรียนที่เรียนหนังสือในห้องเรียน จะมีคนกลุ่มหนึ่งเรียนอ่อน ซึ่งเราก็ติวเสริมพิเศษให้ แล้วก็ต้องสอบปลายภาค โดยนักเรียนคนที่เราติวไปแล้ว ไม่ใช่ว่าจะเก่งเลย ในปีต่อไปถ้าเขาเก่งขึ้นจนช่วยตัวเองได้ เราก็จะติวต่อไป และต้องทําให้สําเร็จภายในวันที่ 30 กันยายน 2565 เพื่อให้ทุกส่วนราชการได้ดําเนินการช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อนตามอํานาจหน้าที่ภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และได้เน้นย้ําให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องสื่อสารให้สังคมเกิดความตื่นตัว ทําให้สังคมรับรู้ว่าเราไม่ได้นิ่งเฉยกับการดูแลคนที่ยากลําบาก” พลเอก อนุพงษ์ฯ กล่าวในช่วงท้าย ด้าน นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า กระทรวงมหาดไทยได้เน้นย้ําให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอําเภอในฐานะนายกรัฐมนตรีของจังหวัดและอําเภอได้เป็นผู้นําแก้ไขปัญหาความยากจนร่วมกับภาคีเครือข่าย เช่น เหล่ากาชาดจังหวัด แม่บ้านมหาดไทยจังหวัด รวมถึงห้างร้าน สมาคม มูลนิธิ ในระดับพื้นที่ พุ่งเป้าช่วยเหลือครัวเรือนยากจากและประสบความเดือดร้อนทุกเรื่องที่ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง อาทิ การสร้างที่อยู่อาศัยที่มั่นคงแข็งแรง การจัดหารถวีลแชร์ให้กับผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยติดเตียง ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ พร้อมทั้งเน้นย้ําในการสร้างการรับรู้สื่อสารสังคมตามนโยบายของ พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นเรื่องที่สําคัญ ด้วยการใช้ช่องทางการสื่อสารทุกรูปแบบ ทั้ง Online Onsite Onground ให้เข้าถึงทุกกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้เกิดพลังความร่วมมือ พลังแห่งความเข้าใจจากทุกภาคส่วน เพื่อปลายทาง คือ “ทําให้พี่น้องประชาชนทุกคนมีความสุข” อย่างยั่งยืน
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-มท.1 นำประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการขจัดความยากจนฯ (อขจพ.) พร้อมเตรียมนำผลงานสำคัญเสนอต่อที่ประชุม คจพ. วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน 2565 มท.1 นําประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการขจัดความยากจนฯ (อขจพ.) พร้อมเตรียมนําผลงานสําคัญเสนอต่อที่ประชุม คจพ. มท.1 นําประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการขจัดความยากจนฯ (อขจพ.) พร้อมเตรียมนําผลงานสําคัญเสนอต่อที่ประชุม คจพ. วันนี้ (13 มิ.ย. 65) เวลา 13.30 น. ที่ห้องประชุมราชสีห์ อาคารศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (อขจพ.) โดยมี นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม รองปลัดกระทรวงมหาดไทย หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านพัฒนาชุมชนและส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น นายสมคิด จันทมฤก อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน นางสาวกาญจนา ภูพิพัฒน์ผล รองผู้อํานวยการสํานักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร ดร.นิรันดร์ จงวุฒิเวศย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ ดร. สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิ พร้อมด้วยผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในฐานะคณะอนุกรรมการฯ อาทิ นางบุปผา พันธุ์เพ็ง รองปลัดกระทรวงแรงงาน นางสาวมนิดา ลิ่มนิจสรกุล ผู้ช่วยปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นางสาวนฤมล สงวนวงศ์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ (พิเศษ) นพ.สุภโชค เวชภัณฑ์เภสัช ผู้แทนปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยมี นายนิวัฒน์ น้อยผาง นายวิฑูรย์ นวลนุกูล นายสุรศักดิ์ อักษรกุล รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุม พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า การดําเนินการในช่วงที่ผ่านมาพบว่า กลไกทุกระดับมีแนวทางการดําเนินงานในพื้นที่ครบถ้วนตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรีและแนวทาง คจพ. โดยในขณะนี้อยู่ในช่วงเวลาของขั้นตอนการบูรณาการความช่วยเหลือจากทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้องของพื้นที่ ขณะนี้ถือว่ามีความคืบหน้าตามลําดับ และนอกจากนี้ จากการลงพื้นที่ของผู้ปฏิบัติได้มีเสียงสะท้อนจากระดับพื้นที่เกี่ยวกับการดําเนินงานขับเคลื่อนฯ ที่จําเป็นต้องหารือเพื่อเสนอต่อที่ประชุม คจพ. พิจารณา จึงเป็นที่มาของการประชุมในวันนี้ นายสมคิด จันทมฤก อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ในฐานะฝ่ายเลขานุการที่ประชุม ได้รายงานผลความก้าวหน้า โดยจํานวนครัวเรือนที่ได้รับการสํารวจปัญหาและเป็นเป้าหมายที่ต้องให้ความช่วยเหลือตามระบบ TPMAP มีจํานวน 647,139 ครัวเรือน ซึ่งได้ดําเนินการสํารวจและแก้ไขปัญหาโดยหน่วยงานตามอํานาจหน้าที่ตามเมนูแก้จนใน 5 มิติ ได้แก่ 1) มิติสุขภาพ พบสภาพปัญหา 133,872 ครัวเรือน ได้รับความช่วยเหลือแล้ว 71,947 ครัวเรือน 2) มิติความเป็นอยู่ พบสภาพปัญหา 134,901 ครัวเรือน ได้รับความช่วยเหลือ แล้ว 66,315 ครัวเรือน 3) มิติการศึกษา พบสภาพปัญหา 134,044 ครัวเรือน ได้รับความช่วยเหลือแล้ว 79,153 ครัวเรือน 4) มิติรายได้ พบสภาพปัญหา 314,667 ครัวเรือน ได้รับความช่วยเหลือแล้ว 150,403 ครัวเรือน และ 5) มิติการเข้าถึงบริการภาครัฐ พบสภาพปัญหา 2,649 ครัวเรือน ได้รับความช่วยเหลือแล้ว 1,215 ครัวเรือน พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการลงพื้นที่ของเจ้าหน้าที่ได้สะท้อนว่ายังมีครัวเรือนที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนนอกเหนือจากตัวชี้วัดของระบบ TPMAP ซึ่งสภาพปัญหาความเดือดร้อนดังกล่าว จําเป็นต้องได้รับการแก้ไขและช่วยเหลือ และที่ประชุมคณะอนุกรรมการฯ ในวันนี้ ได้พิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อพี่น้องประชาชน จึงมีมติเห็นชอบในหลักการให้นําเรื่องดังกล่าวเสนอต่อที่ประชุม คจพ. ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้พิจารณาให้กลุ่มเป้าหมายที่ตกหล่นได้รับการกําหนดเป็นเป้าหมายในระบบ TPMAP ““คนเราเวลามีปัญหาจะรอไม่ได้” ต้องเข้าไปแก้ทันที เช่น ถ้าเขามีหนี้ และเราช่วยหาวิธีการทําให้เขาหมดหนี้ และมีเงินทุนในการประกอบอาชีพ แบบนี้เรียก “สําเร็จ” แต่ถ้าเขาไปเจอสาธารณภัยซ้ําทําให้ล้มเหลวอีก เราก็ต้องไปประเมินหาทางช่วยเหลือต่อไป เพราะของเก่าก็แย่ ของใหม่ก็แย่ไปอีก ก็ต้องช่วยกันอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่เสร็จในคราวเดียว ซึ่งเปรียบคนกลุ่มนี้เป็นนักเรียนที่เรียนหนังสือในห้องเรียน จะมีคนกลุ่มหนึ่งเรียนอ่อน ซึ่งเราก็ติวเสริมพิเศษให้ แล้วก็ต้องสอบปลายภาค โดยนักเรียนคนที่เราติวไปแล้ว ไม่ใช่ว่าจะเก่งเลย ในปีต่อไปถ้าเขาเก่งขึ้นจนช่วยตัวเองได้ เราก็จะติวต่อไป และต้องทําให้สําเร็จภายในวันที่ 30 กันยายน 2565 เพื่อให้ทุกส่วนราชการได้ดําเนินการช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อนตามอํานาจหน้าที่ภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และได้เน้นย้ําให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องสื่อสารให้สังคมเกิดความตื่นตัว ทําให้สังคมรับรู้ว่าเราไม่ได้นิ่งเฉยกับการดูแลคนที่ยากลําบาก” พลเอก อนุพงษ์ฯ กล่าวในช่วงท้าย ด้าน นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า กระทรวงมหาดไทยได้เน้นย้ําให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอําเภอในฐานะนายกรัฐมนตรีของจังหวัดและอําเภอได้เป็นผู้นําแก้ไขปัญหาความยากจนร่วมกับภาคีเครือข่าย เช่น เหล่ากาชาดจังหวัด แม่บ้านมหาดไทยจังหวัด รวมถึงห้างร้าน สมาคม มูลนิธิ ในระดับพื้นที่ พุ่งเป้าช่วยเหลือครัวเรือนยากจากและประสบความเดือดร้อนทุกเรื่องที่ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง อาทิ การสร้างที่อยู่อาศัยที่มั่นคงแข็งแรง การจัดหารถวีลแชร์ให้กับผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยติดเตียง ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ พร้อมทั้งเน้นย้ําในการสร้างการรับรู้สื่อสารสังคมตามนโยบายของ พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นเรื่องที่สําคัญ ด้วยการใช้ช่องทางการสื่อสารทุกรูปแบบ ทั้ง Online Onsite Onground ให้เข้าถึงทุกกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้เกิดพลังความร่วมมือ พลังแห่งความเข้าใจจากทุกภาคส่วน เพื่อปลายทาง คือ “ทําให้พี่น้องประชาชนทุกคนมีความสุข” อย่างยั่งยืน
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/55674
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-PM pleased with success of historic visit to Saudi Arabia
วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม 2565 PM pleased with success of historic visit to Saudi Arabia PM pleased with success of historic visit to Saudi Arabia January 26, 2022, following Prime Minister and Defense Minister Gen. Prayut Chan-o-cha’s official visit to the Kingdom of Saudi Arabia upon an invitation of His Royal Highness Prince Mohammad bin Salman bin Abdulaziz Al Saud, Crown Prince, Deputy Prime Minister, and Minister of Defense of Saudi Arabia, Government Spokesperson Thanakorn Wangboonkongchana disclosed that the Prime Minister commended relevant agencies for their hard work under the Prime Minister’s policy and guidance that has led to the success of the historic visit. This visit also marks the first Government-level visit in more than 30 years. The meeting took place in a cordial manner, and the Prime Minister received a warm welcome that fitted his honor. The Prime Minister was very pleased with the success in the opening of a new chapter in the relations between Thailand and Saudi Arabia, and expressed confidence that restoration of bilateral relations between the two Kingdoms would bring about mutual benefits at all levels in a comprehensive manner. At the meeting with Thai community and students in Riyadh, the Prime Minister also called on everyone to join hands in advancing toward this new chapter of mutual relations. The Government would like to promote bilateral relations under which all the people enjoy the benefits. The Prime Minister also emphasized the Government’s commitment to take good care of the Thai people in Saudi Arabia. According to the Government Spokesperson, the Prime Minister instructed concerned ministers and agencies to take immediate action in establishing dialogue and liaison mechanisms to advance bilateral relations and cooperation, especially in key strategic areas, in a tangible manner.
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-PM pleased with success of historic visit to Saudi Arabia วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม 2565 PM pleased with success of historic visit to Saudi Arabia PM pleased with success of historic visit to Saudi Arabia January 26, 2022, following Prime Minister and Defense Minister Gen. Prayut Chan-o-cha’s official visit to the Kingdom of Saudi Arabia upon an invitation of His Royal Highness Prince Mohammad bin Salman bin Abdulaziz Al Saud, Crown Prince, Deputy Prime Minister, and Minister of Defense of Saudi Arabia, Government Spokesperson Thanakorn Wangboonkongchana disclosed that the Prime Minister commended relevant agencies for their hard work under the Prime Minister’s policy and guidance that has led to the success of the historic visit. This visit also marks the first Government-level visit in more than 30 years. The meeting took place in a cordial manner, and the Prime Minister received a warm welcome that fitted his honor. The Prime Minister was very pleased with the success in the opening of a new chapter in the relations between Thailand and Saudi Arabia, and expressed confidence that restoration of bilateral relations between the two Kingdoms would bring about mutual benefits at all levels in a comprehensive manner. At the meeting with Thai community and students in Riyadh, the Prime Minister also called on everyone to join hands in advancing toward this new chapter of mutual relations. The Government would like to promote bilateral relations under which all the people enjoy the benefits. The Prime Minister also emphasized the Government’s commitment to take good care of the Thai people in Saudi Arabia. According to the Government Spokesperson, the Prime Minister instructed concerned ministers and agencies to take immediate action in establishing dialogue and liaison mechanisms to advance bilateral relations and cooperation, especially in key strategic areas, in a tangible manner.
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/50959
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-หัวหน้าผู้ตรวจกระทรวงมหาดไทย เผยประเด็นการตรวจราชการ ประจำเดือนสิงหาคม 2565 กำชับตรวจติดตามอย่างต่อเนื่อง มุ่งสู่ผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม
วันพุธที่ 3 สิงหาคม 2565 หัวหน้าผู้ตรวจกระทรวงมหาดไทย เผยประเด็นการตรวจราชการ ประจําเดือนสิงหาคม 2565 กําชับตรวจติดตามอย่างต่อเนื่อง มุ่งสู่ผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม หัวหน้าผู้ตรวจกระทรวงมหาดไทย เผยประเด็นการตรวจราชการ ประจําเดือนสิงหาคม 2565 กําชับตรวจติดตามอย่างต่อเนื่อง มุ่งสู่ผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2565 นายไตรภพ วงศ์ไตรรัตน์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า จากการประชุมผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย ครั้งที่ 5/2565 พร้อมด้วย ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย ผู้ตรวจราชการกรม ผู้แทนจากส่วนราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทยสํานักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย และผู้ช่วยผู้ตรวจราชการกระทรวง และกรมในสังกัดกระทรวงมหาดไทย เข้าร่วมประชุมฯ ณ ห้องประชุมสํานักตรวจราชการและเรื่องราวร้องทุกข์ ชั้น 5 อาคารดํารงราชานุภาพ และผ่านระบบออนไลน์ นายไตรภพ วงศ์ไตรรัตน์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาข้อราชการสําคัญตามภารกิจของกระทรวงมหาดไทย และกําหนดเป็นประเด็นการตรวจราชการ ประจําเดือนสิงหาคม 2565 ดังนี้ 1. การตรวจติดตามการดําเนินโครงการพัฒนาพื้นที่ตามแนวพระราชดําริและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ซึ่งเป็นกิจกรรมขยายผลเกษตรเพื่ออาหารกลางวันอันเนื่องมาจากพระราชดําริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้จัดทําโครงการในพื้นที่ 21 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ตาก น่าน แม่ฮ่องสอน กาญจนบุรี ตราด พระนครศรีอยุธยา สระแก้ว สุพรรณบุรี นครพนม บุรีรัมย์ สุรินทร์ หนองบัวลําภู อุบลราชธานี กระบี่ นครศรีธรรมราช พังงา ระนอง สตูล และสุราษฎร์ธานี เพื่อน้อมนําแนวพระราชดําริ และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้เป็นหลักในการพัฒนาและแก้ไขความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ ให้สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน 2. การตรวจติดตามการดําเนินโครงการสนับสนุนการดําเนินกิจกรรมจิตอาสาของจังหวัด ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เพื่อให้มีการขับเคลื่อนการดําเนินกิจกรรมจิตอาสาในจังหวัด และติดตามความก้าวหน้าการดําเนินงาน 3. การตรวจติดตามการบริหารจัดการสินทรัพย์ที่ได้มาจากการใช้จ่ายงบประมาณของจังหวัดหรือกลุ่มจังหวัด เพื่อให้การบริหารจัดการสินทรัพย์ที่ได้มาจากการใช้จ่ายงบประมาณของจังหวัดหรือกลุ่มจังหวัดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 4. การตรวจติดตามการขับเคลื่อนการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยได้นําข้อสั่งการของปลัดกระทรวงมหาดไทย ในการประชุมขับเคลื่อนและติดตามนโยบายของรัฐบาล และภารกิจสําคัญของสํานักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ซึ่งได้เน้นย้ําให้ทุกจังหวัด เร่งดําเนินการในการแก้ไขปัญหาความยากจน ทั้งนี้ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย ได้กําชับให้ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย เน้นย้ําให้จังหวัดตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อสํารวจคนยากจนให้ครบทุกครัวเรือนไม่ให้ตกหล่น และช่วยกันแก้ไขปัญหาความยากจนให้กับประชาชนในพื้นที่ นายโสภณ สุวรรณรัตน์ รองหัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า ในการตรวจราชการที่ผ่านมา ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทยทุกท่าน ได้ลงพื้นที่ตรวจติดตามอย่างต่อเนื่อง ทําให้การขับเคลื่อนโครงการขับเคลื่อนการขจัดความยากจน เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมในการบําบัดทุกข์ บํารุงสุข ให้พี่น้องประชาชน โดยบูรณาการในทุกภาคส่วนทั้งพื้นที่ในระดับอําเภอ และช่วยแบ่งเบาภาระของผู้ว่าราชการจังหวัดในการติดตามขับเคลื่อนโครงการฯ ดังกล่าว นอกจากนี้ ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาประเด็นเน้นย้ําในการขับเคลื่อนงานตามภารกิจของกระทรวงมหาดไทย 3 ประเด็น 1) การบริหารงานตามมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้และการสวมใส่ผ้าไทย และประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ไปยังกลุ่ม OTOP กลุ่มศิลปาชีพ กลุ่มผ้าบาติก กลุ่มผ้ามัดหมี่ ผ้าขิด ผ้าแพรวา ยกดอก ทุกเทคนิค ทุกรูปแบบ เพื่อให้การส่งผ้าเข้าร่วมประกวดโครงการประกวดผ้าลายพระราชทาน “ผ้าขิดลายนารีรัตนราชกัญญา” ซึ่งได้มีการขยายเปิดรับสมัครถึงวันที่ 15 สิงหาคม 2565 2) การดําเนินการจัดทําแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด พ.ศ. 2564 – 2570 ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กําหนด และ 3) การลดอุบัติเหตุทางถนน เนื่องจากเป็นโยบายที่รัฐบาลให้ความสําคัญ จึงมีมติเน้นย้ําผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดในฐานะผู้อํานวยการศูนย์อํานวยการความปลอดภัยทางถนนจังหวัดให้สั่งการหน่วยงานและเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ วางแผน แก้ไขปัญหา วางมาตรการฯ ให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ และกําชับจังหวัดที่มีอัตราผู้เสียชีวิต เกินร้อยละ 50 ของค่าเป้าหมาย ให้เพิ่มความเข้มข้นในการดําเนินมาตรการป้องกันและลดอุบัติเหตุทาง นายไตรภพ วงศ์ไตรรัตน์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย ได้กล่าวทิ้งท้ายว่า ในการตรวจราชการ ขอให้ผู้ตรวจราชการทุกท่าน ตรวจติดตามการขับเคลื่อนโครงการต่าง ๆ ตามประเด็นเน้นย้ําอย่างต่อเนื่อง เพื่อจะได้ทราบปัญหาและอุปสรรค และเร่งแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ตามประเด็น เพื่อมุ่งสู่ผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมสําหรับประเด็นการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ขอให้ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทยทุกเขตตรวจราชการ กําชับส่วนราชการในทุกจังหวัดร่วมพูดคุยกับประชาคมด้านการปกครองท้องที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสํานักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในจังหวัดในการหาระบบสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยจากสาธารณภัยในทุกสาธารณภัยด้วย
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-หัวหน้าผู้ตรวจกระทรวงมหาดไทย เผยประเด็นการตรวจราชการ ประจำเดือนสิงหาคม 2565 กำชับตรวจติดตามอย่างต่อเนื่อง มุ่งสู่ผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม วันพุธที่ 3 สิงหาคม 2565 หัวหน้าผู้ตรวจกระทรวงมหาดไทย เผยประเด็นการตรวจราชการ ประจําเดือนสิงหาคม 2565 กําชับตรวจติดตามอย่างต่อเนื่อง มุ่งสู่ผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม หัวหน้าผู้ตรวจกระทรวงมหาดไทย เผยประเด็นการตรวจราชการ ประจําเดือนสิงหาคม 2565 กําชับตรวจติดตามอย่างต่อเนื่อง มุ่งสู่ผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2565 นายไตรภพ วงศ์ไตรรัตน์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า จากการประชุมผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย ครั้งที่ 5/2565 พร้อมด้วย ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย ผู้ตรวจราชการกรม ผู้แทนจากส่วนราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทยสํานักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย และผู้ช่วยผู้ตรวจราชการกระทรวง และกรมในสังกัดกระทรวงมหาดไทย เข้าร่วมประชุมฯ ณ ห้องประชุมสํานักตรวจราชการและเรื่องราวร้องทุกข์ ชั้น 5 อาคารดํารงราชานุภาพ และผ่านระบบออนไลน์ นายไตรภพ วงศ์ไตรรัตน์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาข้อราชการสําคัญตามภารกิจของกระทรวงมหาดไทย และกําหนดเป็นประเด็นการตรวจราชการ ประจําเดือนสิงหาคม 2565 ดังนี้ 1. การตรวจติดตามการดําเนินโครงการพัฒนาพื้นที่ตามแนวพระราชดําริและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ซึ่งเป็นกิจกรรมขยายผลเกษตรเพื่ออาหารกลางวันอันเนื่องมาจากพระราชดําริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้จัดทําโครงการในพื้นที่ 21 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ตาก น่าน แม่ฮ่องสอน กาญจนบุรี ตราด พระนครศรีอยุธยา สระแก้ว สุพรรณบุรี นครพนม บุรีรัมย์ สุรินทร์ หนองบัวลําภู อุบลราชธานี กระบี่ นครศรีธรรมราช พังงา ระนอง สตูล และสุราษฎร์ธานี เพื่อน้อมนําแนวพระราชดําริ และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้เป็นหลักในการพัฒนาและแก้ไขความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ ให้สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน 2. การตรวจติดตามการดําเนินโครงการสนับสนุนการดําเนินกิจกรรมจิตอาสาของจังหวัด ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เพื่อให้มีการขับเคลื่อนการดําเนินกิจกรรมจิตอาสาในจังหวัด และติดตามความก้าวหน้าการดําเนินงาน 3. การตรวจติดตามการบริหารจัดการสินทรัพย์ที่ได้มาจากการใช้จ่ายงบประมาณของจังหวัดหรือกลุ่มจังหวัด เพื่อให้การบริหารจัดการสินทรัพย์ที่ได้มาจากการใช้จ่ายงบประมาณของจังหวัดหรือกลุ่มจังหวัดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 4. การตรวจติดตามการขับเคลื่อนการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยได้นําข้อสั่งการของปลัดกระทรวงมหาดไทย ในการประชุมขับเคลื่อนและติดตามนโยบายของรัฐบาล และภารกิจสําคัญของสํานักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ซึ่งได้เน้นย้ําให้ทุกจังหวัด เร่งดําเนินการในการแก้ไขปัญหาความยากจน ทั้งนี้ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย ได้กําชับให้ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย เน้นย้ําให้จังหวัดตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อสํารวจคนยากจนให้ครบทุกครัวเรือนไม่ให้ตกหล่น และช่วยกันแก้ไขปัญหาความยากจนให้กับประชาชนในพื้นที่ นายโสภณ สุวรรณรัตน์ รองหัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า ในการตรวจราชการที่ผ่านมา ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทยทุกท่าน ได้ลงพื้นที่ตรวจติดตามอย่างต่อเนื่อง ทําให้การขับเคลื่อนโครงการขับเคลื่อนการขจัดความยากจน เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมในการบําบัดทุกข์ บํารุงสุข ให้พี่น้องประชาชน โดยบูรณาการในทุกภาคส่วนทั้งพื้นที่ในระดับอําเภอ และช่วยแบ่งเบาภาระของผู้ว่าราชการจังหวัดในการติดตามขับเคลื่อนโครงการฯ ดังกล่าว นอกจากนี้ ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาประเด็นเน้นย้ําในการขับเคลื่อนงานตามภารกิจของกระทรวงมหาดไทย 3 ประเด็น 1) การบริหารงานตามมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้และการสวมใส่ผ้าไทย และประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ไปยังกลุ่ม OTOP กลุ่มศิลปาชีพ กลุ่มผ้าบาติก กลุ่มผ้ามัดหมี่ ผ้าขิด ผ้าแพรวา ยกดอก ทุกเทคนิค ทุกรูปแบบ เพื่อให้การส่งผ้าเข้าร่วมประกวดโครงการประกวดผ้าลายพระราชทาน “ผ้าขิดลายนารีรัตนราชกัญญา” ซึ่งได้มีการขยายเปิดรับสมัครถึงวันที่ 15 สิงหาคม 2565 2) การดําเนินการจัดทําแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด พ.ศ. 2564 – 2570 ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กําหนด และ 3) การลดอุบัติเหตุทางถนน เนื่องจากเป็นโยบายที่รัฐบาลให้ความสําคัญ จึงมีมติเน้นย้ําผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดในฐานะผู้อํานวยการศูนย์อํานวยการความปลอดภัยทางถนนจังหวัดให้สั่งการหน่วยงานและเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ วางแผน แก้ไขปัญหา วางมาตรการฯ ให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ และกําชับจังหวัดที่มีอัตราผู้เสียชีวิต เกินร้อยละ 50 ของค่าเป้าหมาย ให้เพิ่มความเข้มข้นในการดําเนินมาตรการป้องกันและลดอุบัติเหตุทาง นายไตรภพ วงศ์ไตรรัตน์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย ได้กล่าวทิ้งท้ายว่า ในการตรวจราชการ ขอให้ผู้ตรวจราชการทุกท่าน ตรวจติดตามการขับเคลื่อนโครงการต่าง ๆ ตามประเด็นเน้นย้ําอย่างต่อเนื่อง เพื่อจะได้ทราบปัญหาและอุปสรรค และเร่งแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ตามประเด็น เพื่อมุ่งสู่ผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมสําหรับประเด็นการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ขอให้ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทยทุกเขตตรวจราชการ กําชับส่วนราชการในทุกจังหวัดร่วมพูดคุยกับประชาคมด้านการปกครองท้องที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสํานักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในจังหวัดในการหาระบบสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยจากสาธารณภัยในทุกสาธารณภัยด้วย
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/57563
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-แนวทางช่วยเหลือและส่งเสริมผู้ประกอบการในจังหวัดชายแดนเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวมีอย่างไร
วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน 2564 แนวทางช่วยเหลือและส่งเสริมผู้ประกอบการในจังหวัดชายแดนเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวมีอย่างไร กระทู้ถามของสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง มาตรการในการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเชื่อมต่อโครงการก่อสร้างทางรถไฟของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวสู่จังหวัดหนองคาย ถาม แนวทางช่วยเหลือและส่งเสริมผู้ประกอบการในจังหวัดชายแดนเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวมีอย่างไร ตอบ ผู้ประกอบการจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีและสิทธิประโยชน์อื่นๆ ดังนี้ 1. การขอรับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI ใน 5 กิจการเป้าหมาย 2. การสนับสนุนการลงทุนของผู้ประกอบการ SMEs 2.1 การผ่อนคลายเงื่อนไขการขอรับสิทธิประโยชน์การลงทุน 2.2 การยกระดับการให้บริการด้านสาธารณสุขในพื้นที่ชายแดน 2.3 การส่งเสริมผู้ประกอบการด้านอื่น เช่น ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จด้านการลงทุนและศูนย์บริการเบ็ดเสร็จด้านแรงงาน ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 138 ตอนพิเศษ 109 ง วันที่ 20 พ.ค. 64
รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-แนวทางช่วยเหลือและส่งเสริมผู้ประกอบการในจังหวัดชายแดนเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวมีอย่างไร วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน 2564 แนวทางช่วยเหลือและส่งเสริมผู้ประกอบการในจังหวัดชายแดนเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวมีอย่างไร กระทู้ถามของสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง มาตรการในการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเชื่อมต่อโครงการก่อสร้างทางรถไฟของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวสู่จังหวัดหนองคาย ถาม แนวทางช่วยเหลือและส่งเสริมผู้ประกอบการในจังหวัดชายแดนเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวมีอย่างไร ตอบ ผู้ประกอบการจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีและสิทธิประโยชน์อื่นๆ ดังนี้ 1. การขอรับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI ใน 5 กิจการเป้าหมาย 2. การสนับสนุนการลงทุนของผู้ประกอบการ SMEs 2.1 การผ่อนคลายเงื่อนไขการขอรับสิทธิประโยชน์การลงทุน 2.2 การยกระดับการให้บริการด้านสาธารณสุขในพื้นที่ชายแดน 2.3 การส่งเสริมผู้ประกอบการด้านอื่น เช่น ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จด้านการลงทุนและศูนย์บริการเบ็ดเสร็จด้านแรงงาน ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 138 ตอนพิเศษ 109 ง วันที่ 20 พ.ค. 64
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/45455