translation
dict |
---|
{
"en": "Background: Intravenous chemotherapy showed phlebitis up to 70%. Phlebitis is a risk of superficial vein thrombophlebitis and is another cause of deep vein thrombosis, resulting in death and disability of the cancer patients. Objective: Aimed to study the incidence of superficial vein thrombophlebitis in the cancer patient after chemotherapy. Method: This study employed prospective study design. The samples included 495 new case undergone chemotherapy admitted in 6 units at Lopburi Cancer Hospital. The research instruments was questionnaire consisted of two sections (1) personal data, (2) vein thrombophlebitis questionnaire revealed that the data were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation. Result: The research finding incidence of superficial vein thrombophlebitis accounted for 30.71%in new case undergone chemotherapy. Conclusion: The incidence of superficial vein thrombophlebitis is not high, but there is still a need to educate on prevention of superficial vein thrombophlebitis in cancer patient after chemotherapy.",
"th": "ภูมิหลัง: การบริหารยาเคมีทางหลอดเลือดดำพบภาวะหลอดเลือดดำอักเสบสูงถึงร้อยละ 70 ภาวะหลอดเลือดดำอักเสบมีความเสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดดำอุดตันและมีรายงานว่าภาวะหลอดเลือดดำอุดตันเป็นอีกหนึ่งสาเหตุของการเกิดภาวะหลอดเลือดลึกอุดตัน (deep vein thrombosis) ที่เป็นสาเหตุของการตายและทุพพลภาพในผู้ป่วยมะเร็ง วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอุบัติการณ์การเกิดหลอดเลือดดำอักเสบอุดตันในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด วิธีการ: การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาไปข้างหน้า กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยได้รับยาเคมีรายใหม่ทั้งหมดที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยใน 6 หอผู้ป่วย โรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี จำนวน 495 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มี 2 ส่วน ได้แก่ (1) ข้อมูลส่วนบุคคล (2) แบบประเมินการเกิดหลอดเลือดอักเสบดำอุดตัน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผล: จากการศึกษา พบว่าอุบัติการณ์การเกิดหลอดเลือดดำอักเสบอุดตัน คิดเป็นร้อยละ 30.71 ในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วย โรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี สรุป: อุบัติการณ์การเกิดหลอดเลือดดำอักเสบไม่สูงนัก แต่ยังต้องมีความจำเป็นในการให้ความรู้ เกี่ยวกับแนวทางการป้องกันการเกิดหลอดเลือดดำอักเสบอุดตัน ในผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัดต่อไป"
} |
{
"en": "Background: Moisturizers are topical products designed to improve and maintain skin barrier function and to help prevent dry skin. Newly developed moisturizers were formulated by pharmaceutical production unit of Institute of Dermatology in order to get better qualifications than currently used and commercial moisturizers. Objective: To determine the effects of the newly developed formulas of moisturizers on transepidermal water loss (TEWL) and skin hydration compared to the currently used hospital formulas and the commercially available moisturizers. Method: An experimental study in 75 healthy skin volunteers was performed. The transepidermal water loss and skin hydration were determined before and after a single application of the tested cream at 1, 2 and 24 hours. Data were analyzed by descriptive statistics, repeated ANOVA. Results: After 1-2 h of a single application, the measured skin hydration of 3 newly developed cream bases were significantly greater than that of the currently used cream base (P<0.05). TEWL measured for the two newly developed formulae of cream base were also found to significantly less than that measured for the currently used formula (p<0.05). Same as the newly developed urea cream, skin hydration was significantly greater than the commercial formula (p<0.05) and TEWL was significantly less than the commercial formula (p<0.05). Skin hydration measured after applying the newly developed cold cream was significantly less than that measured for the currently used formula (p<0.05). TEWL measured for the newly developed cold cream was also found to significantly more than that measured for the currently used formula (p<0.05). Conclusion: The 3 newly developed cream bases are more effective than the currently used formula. Moreover, it was found that the newly urea cream using the developed cream base showed highly skin hydration compare to the commercial one.",
"th": "ภูมิหลัง: ครีมบำรุงผิวให้ความชุ่มชื้นแก่ผิว ทำหน้าที่เคลือบผิวชั้นบนและลดการสูญเสียน้ำ มีส่วนสำคัญในการรักษาโรคผิวหนัง กลุ่มงานเภสัชกรรม สถาบันโรคผิวหนัง ได้พัฒนาสูตรตำรับครีมบำรุงผิวขึ้นมาใหม่ เพื่อให้มีคุณสมบัติที่ดีกว่าสูตรเดิม วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการสูญเสียน้ำที่ผิวหนัง และความชุ่มชื้นที่ผิว หลังทาครีมบำรุงผิวสูตรที่พัฒนาใหม่ เปรียบเทียบกับสูตรเดิม วิธีการ: เป็นการวิจัยเชิงทดลองในอาสาสมัคร 75 คน โดยการทาครีมเพียงครั้งเดียว ทำการวัดค่าการสูญเสียน้ำและความชุ่มชื้นที่ผิวหนังก่อนและหลังทาครีมที่ 1, 2 และ 24 ชั่วโมง วิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา,repeated ANOVA ผล: หลังทาครีมทุกชนิดที่ 1 และ 2 ชั่วโมง ค่าความชุ่มชื้นผิวบริเวณที่ทาครีมเบสสูตรพัฒนาใหม่ทั้ง 3 สูตร มากกว่าสูตรเดิมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (pสรุป: ครีมเบสที่พัฒนาใหม่ 2 สูตร มีประสิทธิผลดีกว่าครีมเบสสูตรเดิม เช่นเดียวกับยูเรียครีมสูตรใหม่ ทั้งผลการลดการสูญเสียน้ำและการเพิ่มความชุ่มชื้นที่ผิวหนัง"
} |
{
"en": "Background: Dizziness is one of the most common problems encountered by older people as a result of age-related physical deterioration. It causes falls and disability. The etiology of dizziness can be identified in most cases, remains unclear in some patients. The association between lipid levels and dizziness are still debatable. Objective: We aimed to determine factors associated with unexplained dizziness and the association of unexplained dizziness with lipid levels in older patients. Method: This case-control study was based on data of 1,011 patients aged ≥ 55 years who visited the outpatient department of Rajavithi Hospital between January 1 and December 31, 2020 and had available data on at least one parameter on the lipid profile in 2020. The control groups were randomized with a 1:2 case-control ratio using a computer. Result: The mean age was 67.77 years (SD = 9.10). This study included 337 patients with diagnosed dizziness and giddiness (ICD-10 code R42) by physicians, whereas 674 participants did not have dizziness. Chi-Square test, independent samples t-test and Mann-Whitney U test revealed that age (p < 0.001), female sex (p < 0.001), number of chronic health conditions (p < 0.001), numbers of lipid-lowering (p < 0.001), hypoglycemic (p < 0.001), and antihypertensive medications (p < 0.001), and total cholesterol (p < 0.001), low-density lipoprotein (LDL) (p = 0.02) and high-density lipoprotein levels (HDL) (p < 0.001) were independently associated with unexplained dizziness. Multivariate logistic regression revealed that age (Adj.OR 1.072, 95%CI 1.053-1.092, p < 0.001), female (Adj.OR 2.333, 95%CI 1.664-3.271, p < 0.001), and number of chronic health conditions (Adj.OR 0.470, 95%CI 0.399-0.554, p < 0.001) were significantly associated with unexplained dizziness. Conclusion: There are nine factors solely associated with unexplained dizziness among older people, age, female, number of chronic health conditions, number of lipids lowering drugs, hypoglycemic drugs and antihypertensive drugs, as well as total cholesterol, LDL and HDL levels. However, after combine all factors together, lipid levels were not significantly associated with dizziness. Age, female and number of chronic health conditions are associated with dizziness.",
"th": "ภูมิหลัง: อาการเวียนศีรษะเป็นหนึ่งในอาการที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ที่เป็นผลมาจากความเสื่อมของร่างกายตามอายุ ซึ่งอาจส่งผลกระทบให้เกิดกาพลัดตกหกล้ม และความพิการตามมาได้ อาการเวียนศีรษะอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่ในบางครั้งอาการเวียนศีรษะในผู้สูงอายุก็หาสาเหตุที่แน่ชัดไม่ได้ทั้งนี้ในปัจจุบันความสัมพันธ์ระหว่างระดับไขมันในเลือดและอาการเวียนศีรษะยังไม่มีข้อสรุปอย่างชัดเจนว่าเกี่ยวข้องกันหรือไม่ วัตถุประสงค์: การศึกษานี้มีเป้าหมายเพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับอาการเวียนศีรษะที่ไม่ทราบสาเหตุ และความสัมพันธ์ระหว่างระดับไขมันในเลือดและอาการเวียนศีรษะที่ไม่ทราบสาเหตุในผู้สูงอายุ วิธีการ: การศึกษานี้ทำโดย case-control study โดยมีผู้ร่วมวิจัย จำนวนทั้งสิ้น 1,011 คนซึ่งมีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป ที่มารับบริการในแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลราชวิถี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2563 และมีผลระดับไขมันในเลือดอย่างน้อย 1 ชนิดในปี 2563 กลุ่มควบคุม คือกลุ่มที่ไม่มีอาการเวียนศีรษะถูกสุ่มโดยใช้คอมพิวเตอร์ในอัตราส่วน 1:2 case-control ผล: ผู้เข้าร่วมวิจัยมีอายุเฉลี่ย 67.77 ปี (SD = 9.10) ประกอบด้วย กลุ่มที่ได้รับการวินิจฉัยเวียนศีรษะ (รหัส ICD-10: R42) โดยแพทย์ จำนวน 337 และ กลุ่มควบคุมที่ไม่มีอาการเวียนศีรษะจำนวน 674 คน ผลจาก Chi-Square test, Independent Samples T-test และ Mann-Whitney U test พบว่า อายุ (p <0.001) เพศหญิง (p <0.001) จำนวนโรคเรื้อรัง (p <0.001) จำนวนยาลดไขมัน (p <0.001) ยาลดระดับน้ำตาล (p <0.001)และยาลดความดันโลหิต (p <0.001) รวมถึงระดับ total cholesterol (p <0.001) LDL (p = 0.02) และ HDL (p < 0.001) ในเลือดมีความสัมพันธ์กับอาการเวียนศีรษะที่ไม่ทราบสาเหตุ แต่เมื่อวิเคราะห์โดย Multivariate logistic regression พบว่า อายุ (Adj.OR 1.072, 95%CI 1.053-1.092, p <0.001) เพศหญิง (Adj.OR 2.333, 95%CI 1.664-3.271, p <0.001) และจำนวนโรคเรื้อรัง (Adj.OR 0.470, 95%CI 0.399-0.554, p <0.001) เท่านั้นที่มีความสัมพันธ์กับอาการเวียนศีรษะเรื้อรังที่ไม่ทราบสาเหตุ สรุป: มี 9 ปัจจัย ที่มีความสัมพันธ์กับการเวียนศีรษะที่ไม่ทราบสาเหตุ ได้แก่ อายุ เพศหญิง จำนวนโรคเรื้อรัง จำนวนยาลดไขมัน ยาลดระดับน้ำตาล และยาลดความดันโลหิต รวมทั้งระดับ total cholesterol LDL และ HDL ในเลือด อย่างไรก็ตามเมื่อนำปัจจัยมาวิเคราะห์ร่วมกัน พบว่า ระดับไขมันในเลือดไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับอาการเวียนศีรษะ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการเวียนศีรษะ ได้แก่ อายุ เพศหญิง และจำนวนโรคเรื้อรัง"
} |
{
"en": "Background: Hyperthyroidism is due to the thyroid gland increasing level of thyroid hormone secretion. The causes of hyperthyroidism vary from region to region, but the most common is Graves' disease. Graves' disease is a type of autoimmune disease caused by autoantibodies that activate TSH receptor to stimulate overproduction of thyroid hormones. In the treatment of hyperthyroidism, anti-thyroid drugs are often used at first. Currently, the use of radioactive iodine to treat hyperthyroidism is increasing. It is worth noting that the process of radioactive iodine treatment in each institute is different. The main reason is that there is no standardized treatment. The following explanation may be due to differences in the treatment philosophy for healing of toxic thyroid. Objective: This study aimed to compare fixed versus calculated activity of radioactive iodine treatment of hyperthyroidism. Method: This study was a systematic review searching data from the MEDLINE database via PubMed and the Cochrane Library. Documents were limited to English language. Research studies with randomized controlled trials between fixed versus calculated activity of radioiodine treatment of hyperthyroidism were recruited. Result: A total of 49 studies papers, when considering the entire study document and issues relating to the measurement of the remaining results, only three studies were included. Comparison between the use of fixed activity and the calculated activity of radioiodine from all three studies, there was no significant difference in treatment failure with no heterogeneity by I2 = 0% at 3-month follow up. Conclusion: Hyperthyroidism patient with radioiodine treatment using fixed activity versus calculated activity showed no significant difference in treatment failure. Radioiodine treatment of hyperthyroidism caned be used either fixed activity or calculated activity depending on individual treatment plan. ",
"th": "ภูมิหลัง: โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ (hyperthyroidism) เป็นความผิดปกติ ที่ต่อมไทรอยด์ผลิตไทรอยด์ฮอร์โมนมากเกินไป สาเหตุของต่อมไทรอยด์เป็นพิษ แตกต่างกันไปในแต่ละท้องที่แต่ที่พบมากที่สุดคือโรค Graves’ disease โรค Graves’ disease เป็นโรคที่จัดอยู่ในกลุ่ม autoimmune disease ชนิดหนึ่ง เกิดจากการที่ร่างกายสร้าง autoantibodies มากระตุ้น TSH receptor ให้เพิ่มการสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ ยาต้านไทรอยด์มักใช้เป็นอันดับแรก ในการรักษาไทรอยด์เป็นพิษ ปัจจุบันนิยมใช้สารรังสีไอโอดีน เพื่อรักษาภาวะไทรอยด์เป็นพิษเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันเป็นที่น่าสังเกตว่าขั้นตอนของการรักษาด้วยสารรังสีไอโอดีนในแต่ละสถาบันยังแตกต่างกัน ซึ่งเหตุผลหลักมาจากการที่ไม่มีการศึกษาที่เป็นมาตรฐาน เหตุผลถัดมาอาจเป็นเพราะความแตกต่างของ ปรัชญาการรักษาให้หายจากไทรอยด์เป็นพิษ วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบผลการรักษาโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ ด้วยสารรังสีไอโอดีน ระหว่างการใช้ปริมาณรังสีคงที่ กับการคำนวณปริมาณรังสี วิธีการ: รูปแบบการศึกษาเป็นการทบทวนอย่างเป็นระบบ (systematic review) สืบค้นจากฐานข้อมูล MEDLINE ผ่าน PubMed และ Cochrane Libraryโดยดำเนินการตามกลยุทธ์การสืบค้น เอกสารการศึกษาถูกจำกัดไว้เฉพาะการศึกษาที่เป็นภาษาอังกฤษ และเลือกการศึกษาวิจัยที่เป็น randomized controlled trials ที่มีผลการรักษาโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ ด้วยสารรังสีไอโอดีน ด้วยการใช้ปริมาณรังสีคงที่ กับการคำนวณปริมาณรังสี ผล: ได้เอกสารรายงานการศึกษาทั้งสิ้นจำนวน 49 การศึกษา เมื่อพิจารณาเอกสารการศึกษาฉบับเต็ม และประเด็นที่เกี่ยวกับการวัดผลลัพธ์ เหลือจำนวน 3 การศึกษา จากการสังเคราะห์ข้อมูล มีอัตราความไม่สำเร็จในการรักษาโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ ที่วางแผนการรักษาด้วยสารรังสีไอโอดีน เปรียบเทียบระหว่างการใช้ปริมาณรังสีคงที่ กับการคำนวณปริมาณรังสี จากทั้ง 3 การศึกษา ไม่มีความแตกต่างกัน (no heterogeneity) โดยค่า I2 = 0% ที่ 3 เดือน สรุป: ผู้ป่วยโรคไทรอยด์เป็นพิษที่รักษาด้วยสารรังสีไอโอดีน โดยการใช้ปริมาณรังสีคงที่ กับการคำนวณปริมาณรังสีมีอัตราความไม่สำเร็จในการรักษาโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษไม่แตกต่างกัน การรักษาผู้ป่วยโรคไทรอยด์เป็นพิษด้วยสารรังสีไอดีน สามารถทำได้ ทั้งสองวิธี คือการใช้ปริมาณรังสีคงที่ กับการคำนวณปริมาณรังสี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแผนการรักษาในผู้ป่วยเฉพาะราย"
} |
{
"en": "Background: Alzheimer’s disease (AD) is a common chronic disease in the elderly caused by degeneration of a nervous system of thought, intelligence and behavior. The efficacy of pharmacological treatment options is limited. Objective: This study aimed to evaluate efficacy and safety of medical cannabis extract as a part of treatment for patients with Alzheimer’s disease. Methods: This study was conducted as an open label study comparing pre and post-treatment with medical cannabis in 9 patients with Alzheimer’s disease. The collected parameters were Thai-mental state examination (TMSE), Montreal Cognitive Assessment (MoCA), adverse event evaluation, emotional and behavioral assessments, Barthel activity daily living (ADL) Index and quality of life (QOL). Result: Most of the samples were female (77.8%), mean age 71 years, and average duration of disease was 2 years. All patients received 1 drop of cannabis (THC:CBD=1:1) sublingually before bed time. The addition of medical cannabis to patients’ disease regimen was associated with significant decrease in depression scale (p <0.05). A report adverse event was dizziness (11%). Conclusion: The administration of medical cannabis in this study was safe and tended to reduce depression in patients with Alzheimer’s disease.",
"th": "ภูมิหลัง: โรคอัลไซเมอร์เป็นโรคเรื้อรังที่พบมากในผู้สูงอายุ เกิดจากความเสื่อมของระบบประสาทด้านความคิดและสติปัญญา ปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยยา มีเพียงการชะลอความผิดปกติด้านความจำ ควบคุมปัญหาด้านอารมณ์และพฤติกรรม วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความปลอดภัยและประสิทธิผลของการใช้สารสกัดจากกัญชาทางการแพทย์ในผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ในโรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่ วิธีการ: ทำการศึกษาวิจัยแบบเปิด (open label study) เปรียบเทียบความแตกต่างก่อนและหลังการได้รับการรักษาด้วยกัญชา ในกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์จำนวน 9 ราย เครื่องที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบประเมินความจำ Thai-mental state examination (TMSE) แบบประเมินภาวะพุทธิปัญญา Montreal Cognitive Assessment (MoCA) แบบประเมินอาการไม่พึงประสงค์ แบบประเมินด้านอารมณ์และพฤติกรรม แบบประเมินการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และแบบประเมินคุณภาพชีวิต ผล: กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 77.8) อายุเฉลี่ย 71 ปี ระยะเวลาเฉลี่ยของการเป็นโรคอัลไซเมอร์ 2 ปี ทุกรายได้รับกัญชา (THC:CBD = 1:1) 1 หยดต่อวัน หยดใต้ลิ้นก่อนนอน ผลการศึกษาเปรียบเทียบก่อนและหลัง พบว่า อาการซึมเศร้าลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) อาการข้างเคียงที่พบ ได้แก่ อาการเวียนศีรษะ (ร้อยละ 11) สรุป: การใช้สารสกัดกัญชาในผู้ป่วยตามขนาดที่ศึกษาในครั้งนี้ มีความปลอดภัยและมีแนวโน้มลดอาการซึมเศร้าให้กับผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์\n "
} |
{
"en": "Background: Medication reconciliation (MR) has been identified as an important process to prevent medication errors at transitions of care. The pharmacist completed all process of MR, but did not cover all wards and all care transitions due to time limitation. Objective: To develop MR system by using computerized program on admission and discharge, and to evaluate MR system in pediatric patients at Queen Sirikit National Institute of Child Health. Method: This descriptive study was designed to determine the development of MR computerized program. Medication data of patients was collected between October 1st 2017 to September 30th 2018. The coverage of MR program and medication errors were analyzed by descriptive statistics. Result: It was found that 15,357 patients admitted, 96.58% had been approached through MR computerized program and 95.22% were taken within 24 hours. Most of them (77.71%) had no medication use before admission. About 15,317 discharge patients, 75.61% had been approached through MR computerized program. Those were 50.71% of the patients used medicine 1 – 5 times during discharge. Medication errors were found in 145 patients (171 medications) on discharge more than admission. The highest proportions of medication errors were due to wrong dose (67.59%), followed by omission error (26.90%). After the errors were found, pharmacist consulted physicians to correct prescriptions for all patients (100%). Therefore, all of medication errors were in category B (100%). The most errors were found in the medication that used in respiratory tract (25.15%), gastrointestinal tract (21.05%), and nervous system (14.62%). Conclusion: The development of MR system in pediatric patients using effective computerized program and the coverage of process on admission and discharge within an appropriate time can prevent potential medication errors. Due to computerized program, MR process was completed on time and covered all wards. Therefore, MR is an essential process to confirm the safety of medication use in patients. ",
"th": "ภูมิหลัง: การประสานรายการยาเป็นกระบวนการสำคัญในการป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยาในช่วงรอยต่อของการรักษา โดยเภสัชกรดำเนินการครบตามขั้นตอนของกระบวนการประสานรายการยา แต่มีข้อจำกัดด้านเวลาในการดำเนินงาน ทำให้ยังไม่ครอบคลุมทุกหอผู้ป่วยและทุกรอยต่อการรักษาพยาบาล วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาระบบประสานรายการยาโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ทั้งขั้นตอนแรกรับผู้ป่วยและจำหน่าย และประเมินประสิทธิผลของการพัฒนาระบบประสานรายการยาในผู้ป่วยเด็ก สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี วิธีการ: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาโดยการพัฒนาและออกแบบโปรแกรมประสานรายการยา และเก็บข้อมูลการใช้ยาของผู้ป่วยในระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2560 ถึง 30 กันยายน 2561 แสดงข้อมูลความครอบคลุมของการใช้โปรแกรมและข้อมูลความคลาดเคลื่อนทางยา โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผล: ผู้ป่วยในที่รับเข้ารักษาในสถาบันฯ 15,357 ราย ได้รับการประสานรายการยาผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ร้อยละ 96.58 และดำเนินการภายใน 24 ชั่วโมง ร้อยละ 95.22 ผู้ป่วยส่วนใหญ่ร้อยละ 77.71 ไม่มียาประจำตัว สำหรับผู้ป่วยจำหน่าย 15,317 ราย ได้รับการประสานรายการยาผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ร้อยละ 75.61 ร้อยละ 50.71 มียา 1 – 5 รายการ พบความคลาดเคลื่อนจากการสั่งใช้ยาในผู้ป่วย 145 ราย (171 รายการยา) โดยพบในขั้นตอนจำหน่ายมากกว่าขั้นตอนแรกรับ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการสั่งใช้ยาผิดขนาดร้อยละ 67.59 รองมาคือ สั่งยาไม่ครบรายการ ร้อยละ 26.90 ซึ่งความคลาดเคลื่อนทางยาที่พบทั้งหมดเภสัชกรได้ปรึกษาแพทย์ เพื่อพิจารณาคำสั่งใช้ยาของผู้ป่วยทุกราย ระดับความรุนแรงของความคลาดเคลื่อนทั้งหมดจึงเป็นระดับ B กลุ่มยาที่พบความคลาดเคลื่อนทางยาสูงสุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ กลุ่มยาโรคระบบทางเดินหายใจ (ร้อยละ 25.15) โรคระบบทางเดินอาหาร (ร้อยละ21.05) และโรคสมองและระบบประสาท (ร้อยละ 14.62) สรุป: การพัฒนาระบบประสานรายการยาในผู้ป่วยเด็ก โดยการใช้โปรแกรมประสานรายการยาที่มีประสิทธิภาพช่วยทำให้ดำเนินการประสานรายการยาได้ในเวลาที่กำหนด ครอบคลุมทุกหอผู้ป่วยและทุกรอยต่อในเวลาที่เหมาะสม ช่วยดักจับและป้องกันไม่ให้เกิดความคลาดเคลื่อนทางยาที่รุนแรง นำไปสู่การเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ป่วย"
} |
{
"en": "Inotropes and asopressors are essential for improving blood flow in patients with shock. These drugs were originally administered through a central venous catheter (CVC). Since they induce vasoconstriction, the leakage from the distal venous catheter can cause severe tissue injury. However, central venous catheterization can cause various complications, especially sepsis. More studies have been conducted on peripheral venous catheter (PVC) administration, which could be viable and safe when rapid dosing is required in critical conditions. The rapid administration of inotropes and vasopressors through PVC can reduce the need for an urgent central venous catheter and the mortality of patients when properly administered according to reliable guidelines.",
"th": "ยากลุ่มเพิ่มแรงบีบตัวของหัวใจและหลอดเลือด (inotropes and vasopressors) มีความจำเป็นต่อการกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตในคนไข้ที่มีภาวะช็อก โดยยาเหล่านี้แต่เดิมจะให้ผ่านสายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลาง (central venous catheter; CVC) เพราะหากมีการรั่วจากการให้ยาผ่านสายสวนหลอดเลือดดำส่วนปลายจะทำให้เกิดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อได้มาก เนื่องจากยาออกฤทธิ์เพิ่มการหดตัวของหลอดเลือด อย่างไรก็ตามการใส่สายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลางอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้หลายอย่างโดยเฉพาะการติดเชื้อในกระแสโลหิต ปัจจุบันจึงมีการศึกษาเกี่ยวกับการให้ยากระตุ้นความดันโลหิตผ่านสายสวนหลอดเลือดดำส่วนปลาย (Peripheral Venous Catheter; PVC) มากขึ้น ซึ่งอาจเป็นทางเลือกที่เป็นไปได้และปลอดภัยเมื่อต้องให้ยาอย่างรวดเร็วในภาวะวิกฤติ ซึ่งการให้ยากลุ่มเพิ่มแรงบีบตัวของหัวใจและหลอดเลือดผ่านหลอดเลือดดำส่วนปลายได้อย่างรวดเร็ว ช่วยลดความจำเป็นในการใช้สายสวนผ่านหลอดเลือดดำส่วนกลางและยังสามารถลดอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยได้ หากมีการให้ยาอย่างเหมาะสมตามแนวทางที่เชื่อถือได้"
} |
{
"en": "Background: Laryngeal and hypopharyngeal biopsies are traditionally performed with direct laryngoscope (DL), however the transnasal flexible laryngoscope (TFL) is now increasingly used. Objective:To determine the efficiency of laryngeal/ hypopharyngeal biopsies via the office-based TFL versus the gold standard DL. Methods: Retrospective data collection from patient records including histopathology result among 92 patients underwent laryngeal/hypopharyngeal biopsies at Mae Sot Hospital, from 1st October 2015 to 30th September 2021. Results: Of the 92 patients, 110 biopsies were performed. Biopsies via TFL showed 75%-sensitivity, 100%-specificity and overall accuracy, as represented by area under receiver operating characteristic (AuROC), was 0.88. In comparison, biopsies via DL presented the sensitivity of 94.6%, 100%-specificity, and AuROC was 0.97. Additionally, TFL biopsies costed significantly less than DL [median (IQR): 2258.5 (1470, 2930) versus 14076.5 (9607, 29138.5) BHT, respectively, p<0.001]. The waiting time for TFL biopsies was approximately 4.5 days shorter than DL. Time for diagnosis by TFL vs DL in the malignant group were significantly different [median (IQR): 8.5 (6, 19) vs. 13 (9, 18), respectively, p=0.044]. The both procedures had low incidences of complications and were not different. Conclusion: Office-based biopsy under local anesthesia using TFL is safe, lower cost and reducing diagnosis work up time. Due to less validity on obtaining tissue from suspicious lesion located on larynx or hypopharynx by TFL than DL, all patients with highly suspicious of malignant lesion should undergo DL biopsy performed for accurate diagnosis if the result from TFL biopsy is benign or CIS.",
"th": "ภูมิหลัง: การตัดชิ้นเนื้อเพื่อวินิจฉัยโรคในกล่องเสียงและช่องลำคอส่วนล่างแต่เดิมใช้การตัดผ่าน direct laryngoscope (DL) แต่ในปัจจุบันมีการนำ transnasal flexible laryngoscope (TFL) มาใช้มากขึ้น วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการใช้ TFL เปรียบเทียบกับ direct laryngoscope (DL) ในการตัดชิ้นเนื้อบริเวณกล่องเสียงและช่องลำคอส่วนล่างเพื่อวินิจฉัย วิธีการ: ทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยที่เข้ารับการตัดชิ้นเนื้อบริเวณกล่องเสียงและช่องลำคอส่วนล่าง ที่โรงพยาบาลแม่สอด ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2558 ถึง 30 กันยายาน 2564 ผล: ผู้ป่วย 92 คน ได้รับการตัดชิ้นเนื้อ 110 ครั้ง โดยเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการตัดชิ้นเนื้อครั้งแรกด้วยวิธี TFL 38 คน และเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการตัดชิ้นเนื้อครั้งแรกด้วยวิธี DL 54 คน การตัดชิ้นเนื้อด้วยวิธี TFL มีความไว 75% ความจำเพาะ 100% เปรียบเทียบกับ DL ซึ่งมีความไว 94.6% ความจำเพาะ 100% การตัดชิ้นเนื้อด้วยวิธี TFL มีค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่าการใช้ DL [มัธยฐาน (ส่วนเบี่ยงเบนควอไทล์): 2258.5 (1470, 2930) เทียบกับ 14076.5 (9607, 29138.5) บาท ตามลำดับ p<0.001] และระยะเวลาที่ใช้ในการวินิจฉัยโรคในคนไข้ที่เป็น malignant ของทั้งสองวิธีมีความแตกต่างกันทางสถิติ [มัธยฐาน (ส่วนเบี่ยงเบนควอไทล์): 8.5 (6, 19) เทียบกับ 13 (9, 18) ตามลำดับ p=0.044] ไม่พบความแตกต่างของการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการทำหัตถการของทั้งสองวิธี และอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่ำ สรุป: การใช้ TFL ในการตัดชิ้นเนื้อบริเวณกล่องเสียงและช่องลำคอส่วนล่างเพื่อวินิจฉัยมีความปลอดภัย ช่วยลดระยะเวลาที่ใช้ในการวินิจฉัยโรคและค่าใช้จ่ายในการรักษา แต่เนื่องจากความไวของการตัดชิ้นเนื้อด้วยวิธี TFL น้อยกว่า DL ดังนั้นหากผลที่ได้เป็น benign หรือ carcinoma in situ ควรจะทำการตัดชิ้นเนื้อซ้ำด้วยวิธี DL เพื่อยืนยันการวินิจฉัย"
} |
{
"en": "Background: Neurological Institute of Thailanddoes not yethave the data collection of patients’ radiation doses from a computed tomography (CT) in adults. For comparison toDiagnostic Reference Levels (DRLs) from other countries. Objective: To evaluate the patient’s radiation doses received from a CT scan in adults. Method: The retrospective study of the patient’s radiation doses reported fromPACS thatwe evaluate between October 2019 toMarch2020. The data of 213 adult patients (100 males and 113 females) had standard body size (45-75 kg) in Thai people. The single phase studies were CT brain non contrast media (CT brain NC), CT brain with contrast media (CT brain CM), CT C-Spine, CT L-Spine, CT Angiogram (CTA) brain, and CTA carotid. The multi-phase studieswere CT brain CM,CTA brain, and CTA carotid. We recorded and calculated data of the CTDIvol, DLP and effective dose (E) to show mean (SD), P50, P75 and range. Then P50 of each study was compared to other DRLs. Results:The P50 of the CTDIvol, DLP, and Efor single phase CT brain NCwas47.52 mGy, 990 mGy-cm, and 2.08 mSv.CT brain CMwas45.37 mGy, 906.50 mGy-cm, and 1.90 mSv.CT C-Spinewas24.53 mGy, 560.50 mGy-cm, and 3.31 mSv.CT L-Spinewas14.94 mGy, 379 mGy-cm, and 5.69 mSv.CTA brainwas24.14 mGy, 279 mGy-cm, and 0.59 mSv.CTA carotidwas8.75 mGy, 327 mGy-cm, and 1.01 mSv, respectively. For multi-phase CT brain CMwas45.37 mGy, 1848 mGy-cm, and 3.88 mSv, respectively. CTA brainwas27.40 mGy, 1956 mGy-cm, and 4.11 mSv.CTA carotidwas17.71 mGy, 2150.50 mGy-cm, and 6.67 mSv, respectively. Conclusion: The study found that most of the CTDIvol were lower than standard international DRLs of other countries, but the DLP was higher in some CT protocols due to scan length. Furthermore the results of DRLs in this study should be practical tools to promote optimization and monitoring of patient radiation dose in Neurological Institute of Thailand.",
"th": "ภูมิหลัง: สถาบันประสาทวิทยายังไม่มีการเก็บข้อมูลและหาปริมาณรังสีของผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจด้วยเครื่อง CT ในผู้ใหญ่ เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการเปรียบเทียบค่า DRLs กับประเทศอื่น ๆ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาและประเมินปริมาณรังสีจากผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจด้วยเครื่อง CT ในผู้ใหญ่ วิธีการ: เป็นการศึกษาข้อมูลย้อนหลัง (retrospective study) ของผู้ป่วยจากระบบ PACS ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2562 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 โดยวิธีสุ่มตัวอย่างจำนวน 213 คน (ชาย 100 คน และหญิง 113 คน) ซึ่งมีน้ำหนักอยู่ในช่วง 45-75 กิโลกรัม แบ่งเป็นการตรวจ CT brain non contrast media (CT brain NC), CT brain with contrast media (CM), CT C-Spine, CT L-Spine, CT Angiogram (CTA) brain และ CTA carotid artery จากนั้นบันทึกและคำนวณค่าปริมาณรังสี CTDIvol, DLP และ E แต่ละส่วนตรวจในรูปแบบการตรวจแบบ single phase และ multi-phase แสดงค่า mean (SD), P50, P75 และ range เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบค่า DRLs กับประเทศอื่น ๆ ผล: ค่า P50 ของปริมาณรังสี CTDIvol, DLP และ E การตรวจแบบ single phase ของ CT brain NC มีค่าเท่ากับ 47.52 mGy, 990 mGy-cm และ 2.08 mSv การตรวจ CT brain CM มีค่าเท่ากับ 45.37 mGy, 906.50 mGy-cm และ 1.90 mSv การตรวจ CT C-Spine มีค่าเท่ากับ 24.53 mGy, 560.50 mGy-cm และ 3.31 mSv การตรวจ CT L-Spine มีค่าเท่ากับ 14.94 mGy, 379 mGy-cm และ 5.69 mSv การตรวจ CTA brain มีค่าเท่ากับ 24.14 mGy, 279 mGy-cm และ 0.59 mSv และการตรวจ CTA carotid มีค่าเท่ากับ 8.75 mGy, 327 mGy-cm และ 1.01 mSv ตามลำดับ สำหรับการตรวจแบบ multi-phase การตรวจ CT brain CM มีค่าเท่ากับ 45.37 mGy, 1848 mGy-cm และ 3.88 mSv การตรวจ CTA brain มีค่าเท่ากับ 27.40 mGy, 1956 mGy-cm และ 4.11 mSv และการตรวจ CTA carotid มีค่าเท่ากับ 17.71 mGy, 2150.50 mGy-cm และ 6.67 mSv ตามลำดับ สรุป: ค่า DRLs ของ CTDIvol ของการศึกษานี้ ส่วนใหญ่มีค่าต่ำกว่าประเทศอื่น ๆ แต่ค่า DRLs ของ DLP นั้น ในบางการตรวจมีค่าสูงกว่า เกิดจาก scan length เราสามารถนำไปปรับใช้ในการทำงานภายในสถาบันต่อไป"
} |
{
"en": "Background: The incidence of strokes in Thailand has been increasing annually. The stroke fast track network aims to promptly provide intravenous thrombolytic drugs to acute ischemic stroke patients. Objective: To analyze the demographics, clinical presentations, and computed tomography (CT) findings of the brain (pre- and post-thrombolytic therapy) of stroke fast track patients at Thabo Crown Hospital. Method: This retrospective descriptive study was conducted from July 1, 2019, to December 31, 2021. The data were analyzed by descriptive statistics, i.e., percentage and frequency. Result: A total of 52 stroke fast track patients diagnosed with acute ischemic stroke and who underwent intravenous thrombolytic therapy were recruited. The majority sex was male (54%) and 71-90 years old (36.5%). The most frequent clinical presentations were 48.1% of right hemiparesis, followed by left hemiparesis, dysarthria or aphasia, facial palsy, and paresthesia, respectively. The first abnormal CT scan findings (pre-thrombolytic therapy) were obscuration of the lentiform nucleus, loss of the insular ribbon, parenchymal hypodensity, and hyperdense middle cerebral artery, respectively, the same as the second abnormal (post-thrombolytic therapy) findings with 11.5% hemorrhagic transformation. The six patients were normal first CT scan findings (pre-thrombolytic therapy). In contrast, parenchymal hypodensity, followed by obscuration of the lentiform nucleus and hemispheric sulcal effacement, respectively, were found in the second CT scan. Conclusion: The earliest CT finding of stroke fast track patients (pre- and post-thrombolytic therapy) found from this study is obscuration of the lentiform nucleus. At the same time, patients with no abnormal findings on the first CT scan are mostly found with parenchymal hypodensity on the post-thrombolytic CT scan (24 hours later).",
"th": "ภูมิหลัง: อุบัติการณ์ของโรคหลอดเลือดสมองในประเทศไทยเพิ่มขึ้นในทุกๆ ปี ระบบทางด่วนโรคหลอดเลือดสมอง (stroke fast track) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ป่วยที่มีภาวะสมองขาดเลือดเฉียบพลันได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดได้อย่างทันท่วงที วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐาน อาการสำคัญทางคลินิกและลักษณะภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองก่อนและหลังได้รับยาละลายลิ่มเลือดของผู้ป่วยระบบทางด่วนโรคหลอดเลือดสมองในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ วิธีการ: การศึกษาเชิงพรรณนาย้อนหลัง ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2562 จนถึง 31 ธันวาคม 2564 วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละและความถี่ ผล: ผู้ป่วยทั้งหมด 52 ราย ที่เข้าเกณฑ์ระบบทางด่วนโรคหลอดเลือดสมองได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมองขาดเลือดเฉียบพลันและได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด โดยพบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 54) อยู่ในช่วงอายุ 71-90 ปี (ร้อยละ 36.5) อาการสำคัญทางคลินิกที่พบมากที่สุด ได้แก่ แขน/ ขาอ่อนแรงด้านขวาร้อยละ 48.1 รองลงมาคือ แขน/ ขาอ่อนแรงด้านซ้าย พูดไม่ชัดหรือไม่พูด ปากเบี้ยว และชา ตามลำดับ ลักษณะภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองครั้งที่ 1 (ก่อนได้รับยาละลายลิ่มเลือด) พบลักษณะผิดปกติ คือ obscuration of the lentiform nucleus, loss of the insular ribbon, parenchymal hypodensity, hemispheric sulcal effacement ตามลำดับ เช่นเดียวกับลักษณะผิดปกติ ของภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองครั้งที่ 2 (หลังได้รับยาละลายลิ่มเลือด) และพบเลือดออกบริเวณที่สมองขาดเลือด (hemorrhagic transformation) ร้อยละ 11.5 มีผู้ป่วยจำนวน 6 รายที่ไม่พบลักษณะความผิดปกติในภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองครั้งที่ 1 (ก่อนได้รับยาละลายลิ่มเลือด) แต่พบความผิดปกติในภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองครั้งที่ 2 (หลังได้รับยาละลายลิ่มเลือด) โดยพบความผิดปกติ parenchymal hypodensity มากที่สุด รองลงมาคือ obscuration of the lentiform nucleus และ hemispheric sulcul effacement ตามลำดับ สรุป: ลักษณะภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองของผู้ป่วยสมองขาดเลือดเฉียบพลันในระยะเริ่มแรกทั้งก่อนและหลังได้รับยาละลายลิ่มเลือดจากการศึกษานี้ พบลักษณะผิดปกติเป็น obscuration of the lentiform nucleus มากที่สุด สำหรับผู้ป่วยที่ไม่พบภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองผิดปกติในการตรวจครั้งแรกจะพบลักษณะของ parenchymal hypodensity มากที่สุดในการตรวจครั้งที่ 2 หลังได้รับยาละลายลิ่มเลือด (24 ชั่วโมงถัดมา)"
} |
{
"en": "Background: Buddhist monks usually sit on the floor in a cross-legged posture. Deep flexion of knees more than 90-degree increases mechanical loads at the knee joint, which is one of the causes of osteoarthritis of the knee. The use of a higher asana seat may decrease flexion knee angle. Objective: To find the proper height of the asana seat that decreases flexion knee angle and increases the satisfaction of the monk. Method: This was an experimental study of 50 Buddhist monks sitting on the asana seats at different heights of 5, 10, and 15 centimeters. Then the Buddhist monks were asked to answer the satisfaction questionnaire and did a knee X-ray to measure flexion knee angle. Result: While sitting on the 5 cm, 10 cm, and 15 cm height asana seats, the flexion knee angle was 129.2 ± 11.9, 128.4 ± 11.2, 126.8 ± 11.1, respectively. The difference in flexion knee angle was not statistically significant (p-value > 0.05). The satisfaction score on comfortability was 4.36 ± 0.75, 3.64 ± 1.06, 3.04 ± 1.5, and the satisfaction score on suitability was 4.28 ± 0.93, 3.32 ± 1.04, 2.56 ± 1.36, respectively. Both satisfaction scores of 5 cm height asana seat were higher than 10 cm and 15 cm height asana seats significantly (p-value < 0.05). Conclusion: The most suitable height of the asana seat in this study is 5 centimeters, nearly the same height as the commonly used asana.",
"th": "ภูมิหลัง: การนั่งขัดสมาธิบนพื้นเป็นท่านั่งที่พระภิกษุสงฆ์นิยมปฏิบัติในชีวิตประจำวัน องศาการงอเข่าที่มากกว่า 90 องศาพบว่าทำให้แรงกระทำผ่านผิวข้อเพิ่มสูงขึ้นซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคข้อเข่าเสื่อม การนั่งบนอาสนะที่สูงขึ้นอาจช่วยทำให้องศาการงอเข่าลดลงได้ วัตถุประสงค์: ต้องการหาความสูงของอาสนะที่เหมาะสมทั้งในด้านลดองศาการงอเข่าและความพึงพอใจของพระภิกษุสงฆ์ วิธีการ: เป็น experimental study ศึกษาพระภิกษุสงฆ์จำนวน 50 รูป โดยให้ท่านนั่งขัดสมาธิบนอาสนะที่ความสูงต่างกันคือ 5, 10, และ 15 เซนติเมตร จากนั้นให้ตอบแบบสอบถามความพึงพอใจและทำ X-ray ข้อเข่าเพื่อวัดองศาการงอข้อเข่า ผล: การนั่งขัดสมาธิบนอาสนะสูง 5,10, และ 15 เซนติเมตร จะมีองศาการงอเท่ากับ 129.2 ± 11.9, 128.4 ± 11.2, 126.8 ± 11.1 ตามลำดับ ซึ่งไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value > 0.05) โดยคะแนนความพึงพอใจด้านความสบายเท่ากับ 4.36 ± 0.75, 3.64 ± 1.06, 3.04 ± 1.5 และคะแนนความพึงพอใจด้านความเหมาะสมเท่ากับ 4.28 ± 0.93, 3.32 ± 1.04, 2.56 ± 1.36 ตามลำดับ โดยการนั่งบนอาสนะความสูง 5 เซนติเมตรได้คะแนนความพึงพอใจสูงกว่าระดับ 10 และ 15 เซนติเมตรอย่างมีนัยสำคัญ (p-value < 0.05) ทั้งในด้านความสบายและความเหมาะสม สรุป: ความสูงของอาสนะที่เหมาะสำหรับการนั่งขัดสมาธิจากการศึกษานี้คือ 5 เซนติเมตร ซึ่งเป็นความสูงใกล้เคียงอาสนะทั่วไปที่ใช้ในปัจจุบัน"
} |
{
"en": "Background: Peptic ulcer disease (PUD) embraces both gastric and duodenal ulcers. PUD is a source of significant morbidity and mortality worldwide. The predominant symptom of PUD is epigastric pain but some patients are asymptomatic. The causes of PUD are multifactorial. Buddhist monks who practice religious asceticism by monastic living, abbot environment and one or twice eating before mid-day. The previous studies found different risk factors of PUD. However, nearly total of studies were conducted among laity. Objective: To identify the factors associated with PUD in Thai monks. Methods: A case-control study was conducted among monks who underwent esophagogastroduodenoscopy (EGD) from 1st September 2018 to 31st October 2021 at Department of Medicine, Priest Hospital. From 215 monks, after exclusion criteria, 179 monks were included. The statistics was used by binary logistic regression for identifying risk factors of PUD. Results: Total of 179 monks were enrolled in this study. The median age was 63 years old (ranged 22-88). In all, 72 monks (40.2%) had PUD. The prevalence of H. pylori infection was 44.7% (80 of 179 monks). The factors associated with PUD were statistically significant in tobacco smoking (adjusted OR 7.40, 95% CI: 2.99, 18.29), prior history of PUD (adjusted OR 8.94, 95% CI: 2.11, 37.76) and H. pylori infection (adjusted OR 4.20, 95% CI: 1.88, 9.42). However, PUD was not significantly associated with age, intake of nonsteroidal anti-inflammatory drugs (NSAIDS), number of meals per day or duration of ordination. Conclusion: Tobacco smoking, prior history of PUD and H. pylori infection are the factors associated with PUD in Buddhist monks at Priest Hospital. Nonetheless, the Buddhist priests way of living is not a risk factor causing PUD.",
"th": "ภูมิหลัง: โรคแผลเป็บติคคือแผลที่เกิดขึ้นบริเวณกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น ถือเป็นโรคหนึ่งที่ส่งผลต่อการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตทั่วโลก อาการหลักของโรคคือปวดท้องบริเวณลิ้นปี่แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจไม่มีอาการ โรคแผลเป็บติคเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุร่วมกัน พระภิกษุสงฆ์ผู้เผยแพร่ในศาสนาพุทธมีการดำเนินชีวิตตามหลักพระธรรมวินัยที่เคร่งครัดและฉันภัตตาหารเพียง 1-2 มื้อต่อวันก่อนเวลาเพล จากการศึกษาที่ผ่านมาพบปัจจัยเสี่ยงของโรคแผลเป็บติคแตกต่างกันไป อย่างไรก็ตามการศึกษาเกือบทั้งหมดเป็นการศึกษาในฆราวาส วัตถุประสงค์: เพื่อหาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นในพระภิกษุสงฆ์ วิธีการ: เป็นการศึกษาแบบย้อนหลังในพระภิกษุสงฆ์ที่เข้ารับการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบนตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2561 ถึงวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ที่แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลสงฆ์ จำนวน 215 รูป หลังจากแยกผู้ป่วยออกตามเกณฑ์การคัดเลือกออก จึงมีผู้ป่วยที่เข้าร่วมในการศึกษานี้ทั้งหมดจำนวน 179 รูป ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ทางสถิติด้วยวิธี binary logistic regression เพื่อหาปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคแผลเป็บติค ผล: มีพระภิกษุสงฆ์ที่เข้าร่วมในการศึกษานี้ทั้งหมดจำนวน 179 รูป ค่ามัธยฐานของอายุคือ 63 ปี โดยมีอายุน้อยที่สุด 22 ปีและอายุมากที่สุด 88 ปี ตรวจพบมีโรคแผลเป็บติคจำนวน 72 รูป (ร้อยละ 40.2) ความชุกของการติดเชื้อ H. pylori คือ ร้อยละ 44.7 (80 จาก 179 รูป) โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคแผลเป็บติค อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การสูบบุหรี่ (adjusted OR 7.40, 95% CI 2.99, 18.29) การมีประวัติเคยตรวจพบแผลเป็บติค (adjusted OR 8.94, 95% CI 2.11, 37.76) และการติดเชื้อ H. pylori (adjusted OR 4.20, 95% CI 1.88, 9.42) อย่างไรก็ตามพบว่าอายุ การฉันยากลุ่ม nonsteroidal anti-inflammatory drugs (NSAIDs) จำนวนมื้อภัตตาหารที่ฉันต่อวันหรือจำนวนพรรษาที่บวชไม่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคแผลเป็บติค อย่างมีนัยสำคัญ สรุป: การสูบบุหรี่ การมีประวัติเคยตรวจพบแผลเป็บติคและการติดเชื้อ H. pylori เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นในพระภิกษุสงฆ์ที่โรงพยาบาลสงฆ์ อย่างไรก็ตามการดำเนินชีวิตตามหลักพระธรรมวินัยที่เคร่งครัดของพระภิกษุสงฆ์ไม่ใช่ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคแผลเป็บติค"
} |
{
"en": "Background: Drug-resistant bacterial infection of Carbapenem-resistant Enterobacteriaceae (CRE) and Vancomycin-resistant Enterococci (VRE) is a worldwide problem. The severity of this issue has been increasing, thus, it affects patients and healthcare staff both in hospitals and local communities. Objectives: To evaluate the incidence of CRE and VRE infection, and to study factors related to the occurrence of CRE and VRE. Methods: A retrospective cohort study research method was conducted in a sample group of 495 patients diagnosed with an infection of CRE or VRE in the fiscal year of 2019. The data analysis was done via descriptive statistics, poisson regression analysis, and identification of factors related to CRE and VRE occurrence. This study is ethically accepted by the Research Ethics Committee, Rajavithi Hospital. Results: This study found that among 495 patients of the sample group, 418 were infected with CRE-which were Hospital acquired infection (HAI), Community acquired infection (CAI), and colonization infections of 12, 28.8, and 10.4 events per 1,000 days of hospital stay respectively. The remaining 77 VRE-infected patients were categorized into HAI, CAI, and colonization infections of 2.1, 4.9, and 2.9 events per 1,000 days of hospital stay, respectively. The most common sites of CRE infection were the urinary tract (24.9%), the respiratory tract (22.7%), and the urinary tract with a retained urinary catheter (17.1%). As for VRE, the most common sites of infection were the urinary tract (41.9%), the urinary tract with a retained urinary catheter, ventilator-associated pneumonia, and skin infection - with the same percentage of 12.9. The most prevalent CRE species were Kleb. pneumoniae, E.coli, and E. cloacae, with the percentage of 70.7, 21.2, and 4.8, respectively. The most prevalent species of VRE, on the other hand, is E. faecium, being 100 percent in total. 51.3 percent of the patients are male, and 64 percent of the patients are 60 years old or older. Statistically significant factors related to drug-resistant bacterial infection (CRE and VRE) found in Rajavithi Hospital are patients whose first diagnosis before admission is Immunocompromise (RR 1.65; 95% CI: 1.09 to 2.50; p=0.019), and patients admitted in surgical ward (RR 1.58; 95% CI: 1.01 to 2.49; p=0.048). Conclusion: Incidence of CRE and VRE infection at Rajavithi Hospital is 12 and 2.1 times per 1,000 days of hospital stay, respectively. Factors such as sex, age, underlying diseases, severity of symptoms before admission, and discharge status, are not significantly different between CRE and VRE groups. However, associated factors that show statistically significant difference between these two groups are first diagnosis before admission and hospital wards. Thus, medical staff should have policies about continuous infection surveillance, prevention and control of the spreading of drug-resistant bacterial infection.",
"th": "ภูมิหลัง: การติดเชื้อดื้อยา Carbapenem-resistant Enterobacteriaceae (CRE) และ Vancomycin-resistant Enterococci (VRE) เป็นปัญหาระดับโลก ซึ่งมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นมีผลกระทบต่อผู้ป่วย บุคลากร โรงพยาบาลและชุมชน วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินอุบัติการณ์การเกิดเชื้อ CRE, VRE และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดเชื้อ CRE , VRE วิธีการ: การวิจัยแบบ retrospective cohort study กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยทุกรายที่มีผลการตรวจพบเชื้อ CRE, VRE ปีงบ พ.ศ. 2562 จำนวน 495 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดเชื้อ CRE และ VRE โดยใช้สถิติ Poisson regression analysis และการศึกษานี้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย โรงพยาบาลราชวิถี ผล: พบว่าจากจำนวนที่ศึกษา 495 ราย ตรวจพบเชื้อ CRE จำนวน 418 ราย เป็นการติดเชื้อ Hospital acquired infection (HAI), Community acquired infection (CAI) และcolonization คิดเป็นอุบัติการณ์ 12 , 28.8 , 10.4 ครั้ง/1,000 วันนอนในโรงพยาบาล ตามลำดับ และเชื้อ VRE จำนวน 77 ราย เป็นการติดเชื้อ HAI, CAI , colonization คิดเป็นอุบัติการณ์ 2.1, 4.9, 2.9 ครั้ง/1,000 วันนอนในโรงพยาบาลตามลำดับ ตำแหน่งการติดเชื้อ CRE พบมากที่สุดคือตำแหน่งทางเดินปัสสาวะร้อยละ 24.9 รองลงมาคือ ระบบทางเดินหายใจร้อยละ 22.7 และทางเดินปัสสาวะจากการคาสายสวนปัสสาวะร้อยละ 17.1 และการติดเชื้อ VRE พบมากที่สุดคือระบบทางเดินปัสสาวะ ร้อยละ 41.9 รองลงมาคือ ระบบทางเดินปัสสาวะจากการคาสายสวนปัสสาวะ ปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ และการติดเชื้อระบบผิวหนังซึ่งพบในอัตราที่เท่ากันคือ ร้อยละ 12.9 เชื้อ CRE ที่พบมากที่สุดคือ Kleb. pneumoniae, E.coli , E. cloacae ร้อยละ 70.7, 21.2, 4.8 ตามลำดับ และ VRE เชื้อที่พบมากที่สุดคือ E. faecium ร้อยละ 100 ผู้ป่วยส่วนมากเป็นเพศชาย ร้อยละ 51.3 อายุมากกว่า/เท่ากับ 60 ปี ร้อยละ 64 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดเชื้อ CRE และVRE พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาควบคุมพิเศษ (CRE,VRE) ที่พบในโรงพยาบาลราชวิถีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การวินิจฉัยโรคแรกรับ กลุ่มโรค immunocompromise (RR 1.65; 95% CI: 1.09, 2.50; p=0.019) และหอผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา หอผู้ป่วยศัลยกรรม (RR 1.58; 95% CI: 1.01, 2.49; p=0.048) สรุป: อุบัติการณ์ของการเกิดเชื้อ CRE และ VRE ในโรงพยาบาลราชวิถีเท่ากับ 12, 2.1 ครั้ง/1,000 วันนอนในโรงพยาบาล ตามลำดับและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดเชื้อ CRE และ VRE พบว่าไม่แตกต่างในเรื่องของเพศ อายุ โรคประจำตัว ระดับความรุนแรงของอาการแรกรับและสถานะขณะจำหน่าย แต่พบว่ามีความแตกต่างกันในเรื่องของ การวินิจฉัยโรคแรกรับ และหอผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้นบุคลากรทางการแพทย์และผู้เกี่ยวข้องควรมีมาตรการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง ป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาต่อไป"
} |
{
"en": "Background: Prosthodontics procedure usually be contaminated by saliva, blood and secretion. The American Dental Association has recommended to disinfect dentures using intermediated-level chemical disinfectants at least for preventing cross-contamination and decreasing the spread of infection. Ortho-Phthaladehyde (OPA) is a high-level disinfectant with rapid onset and easy to use. However, Studies support effectiveness of OPA in dentistry still limited. Objective: The purpose of this study was to evaluate the effect of OPA disinfectants on the color stability of acrylic denture teeth using spectrophotometric analysis. Methods: A two different brands of acrylic central incisor were Cosmo and Major dent. The specimens from each band (n=30) were randomly divided into 2 groups (n=15) and immersed in distilled water (control group) and OPA. Each acrylic tooth was immersed repeatedly and measured the color using a spectrophotometer at the end of cycle 1, 5, 10, 20, 30, and 50. Color differences (∆E*)were then evaluated using CIE Lab system. Friedman, Mann-Whitney U and Wilcoxon signed rank tests were used as a statistical analysis at 95% confidence level. Result: There were decreases in ∆L*∆a*∆b* of an acrylic tooth from both brands after immersion in OPA. Both brands of acrylic teeth showed significant differences in ∆E* values (p < 0.05) between the control and the experimental group after cycle 1, 20, 30 and 50 of an immersion. In addition, the ∆E* values increased along with the number of immersion cycles and became highest when the tooth was immersed for 50 cycles. While comparison between Cosmo and Major dent displayed a significant difference in ∆E* values after immersion for 10 cycles. Conclusion: OPA disinfectant can significantly alter color stability of acrylic resin teeth. The number of repetitive immersion cycles and the type of acrylic denture teeth can affect the change in color stability with a significant difference.",
"th": "ภูมิหลัง : ขั้นตอนทางทันตกรรมประดิษฐ์ถือเป็นขั้นตอนที่มีการปนเปื้อนน้ำลาย เลือด และสารคัดหลั่งอยู่เสมอ สมาคมทันตแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกาจึงได้แนะนำวิธีการฆ่าเชื้อฟันเทียมโดยใช้น้ำยาฆ่าเชื้อระดับกลางขึ้นไป เพื่อป้องกันการปนเปื้อนข้ามและลดการแพร่กระจายเชื้อ ซึ่งน้ำยาฆ่าเชื้อชนิดออร์โทพทาลอัลดีไฮด์จัดเป็นกลุ่มน้ำยาฆ่าเชื้อระดับสูง ใช้เวลาในการฆ่าเชื้อน้อย ง่ายต่อการใช้งาน แต่ทั้งนี้การนำมาใช้ทางทันตกรรมยังไม่ค่อยมีการศึกษาเกี่ยวกับผลของน้ำยาฆ่าเชื้อชนิดนี้ วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของน้ำยาฆ่าเชื้อชนิดออร์โทพทาลอัลดีไฮด์ต่อเสถียรภาพสีของซี่ฟันอะคริลิกเรซิน วิธีการ: ซี่ฟันเทียมอะคริลิกเรซินฟันตัดหน้าซี่กลาง 2 ชนิด ได้แก่ Cosmo และ Major dent จำนวน 30ซี่/ชนิด โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มเพื่อแช่ในน้ำกลั่นและน้ำยาฆ่าเชื้อชนิดออร์โทพทาลอัลดีไฮด์ (กลุ่มละ 15 ซี่/ชนิด) และ แช่ซ้ำจำนวน 1, 5, 10, 20, 30 และ 50 รอบ วัดเสถียรภาพสีด้วยเครื่องสเปคโตรโฟโตมิเตอร์ (spectrophotometer) โดยใช้ระบบซีไออี แอลเอบี (CIE Lab) เพื่อหาค่าผลรวมความต่างของสี (total color difference, ∆E*) และใช้สถิติ Friedman, Wilcoxon signed rank test และ Mann-Whitney U tests ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่ม ผล: พบการเปลี่ยนแปลงค่าพารามิเตอร์สี ∆L*∆a*∆b* ของซี่ฟันเทียมทั้งสองชนิดมีค่าลดลงทุกกลุ่มการทดลองหลังจากแช่ในน้ำยาฆ่าเชื้อออร์โทพทาลอัลดีไฮด์และเมื่อหาค่า ∆E* ของซี่ฟันเทียมทั้งสองชนิดพบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่มควบคุมที่แช่ในน้ำกลั่นและกลุ่มทดลองที่แช่ในน้ำยาฆ่าเชื้อออร์โทพทาลอัลดีไฮด์ผ่านไป 1,20,30 และ 50 รอบ นอกจากนี้ยังพบว่าค่า ∆E* มีค่าเพิ่มขึ้นตามจำนวนรอบในการแช่ซ้ำและมีค่า∆E* สูงสุดเมื่อแช่ซ้ำผ่านไป 50 รอบ และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างชนิดซี่ฟันเทียม Cosmo และ Major dent พบว่ามีค่า ∆E* ที่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติหลังจากแช่ซ้ำผ่านไป 10 รอบ สรุป: น้ำยาฆ่าเชื้อออร์โทพทาลอัลดีไฮด์สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเสถียรภาพสีของซี่ฟันเทียมอะคริลิกเรซินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และพบว่าปัจจัยของจำนวนรอบและชนิดของซี่ฟันเทียมที่แตกต่างกันส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงเสถียรภาพสีอย่างมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติด้วยเช่นกัน"
} |
{
"en": "Background: Usually, tooth preparation for dental veneer restorations at anterior teeth are limited within enamel. In some cases require extensive tooth preparation that may expose to dentin, such as severe tooth discoloration and misaligned teeth. Tooth preparation with dentin exposure can cause decreasing retention and dentin hypersensitivity. Nowadays, glutaraldehyde is the effective desensitizer. Many studies found the influence of glutaraldehyde on adhesive system. Objective: The purpose of this study was to compare fracture resistance of porcelain laminated veneer after using resin cement application with using glutaraldehyde desensitizer and resin cement application. Method: 20 sound upper premolars were selected. Teeth were randomly divided into two groups (n= 10). Test group were prepared with glutaraldehyde desensitizer (Gluma Desensitizer®) before resin cement application (RelyX ® Veneer TR). Control group were applied only resin cement. Determination of tooth preparation was in enamel but the cervical 1/3 of crown was in dentin. Depth of preparation was qualified by CBCT scan (Orthophos S 3D, Sirona®). After tooth preparation, teeth scanning and dental veneer design were performed by 3Shape Trios3® and 3Shape dental system 2019 Program respectively. The lithium disilicate glass‑ceramic (IPS e.max® CAD) were selected. Dental veneer were fabricated by CORiTEC ONE (imes-icore®). 10,000 cycles of thermocycling was performed in all specimens. Fracture resistance of porcelain laminated veneers were evaluated by universal testing machine (Intron 5566). Statistical analysis were conducted using independent t-test (p < 0.05). Result: There are no statistical difference in fracture resistance value between control group (1793.48 ± 140.39 N) and test group (2237.47 ± 207.28 N) (p <0.05). Conclusion: Using glutaraldehyde desensitizer before resin cement application did not affect the fracture resistance of porcelain laminated veneer when compare with no using glutaraldehyde desensitizer before resin cement application.",
"th": "ภูมิหลัง: การเตรียมผิวฟันเพื่อทำวีเนียร์อาจสูญเสียแรงยึดติด และมีอาการเสียวฟัน สารลดเสียวฟัน กลูตารัลดีไฮด์จะถูกนำมาทาก่อนทาสารยึดติด ทั้งนี้หลายการศึกษาพบว่ากลูตารัลดีไฮด์มีผลต่อระบบยึดติด วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการใช้สารลดเสียวฟันกลูตารัลดีไฮด์ต่อแรงต้านการแตกหักของวีเนียร์ที่ยึดกับฟันด้วยเรซินซีเมนต์ วิธีการ: แบบจำลองวีเนียร์จำนวน 20 ซี่ แบ่ง 2 กลุ่ม กลุ่มทดสอบยึดด้วยกลูตารัลดีไฮด์ และเรซินซีเมนต์ กลุ่มควบคุมยึดด้วยเรซินซีเมนต์ กรอแต่งผิวฟันให้ลึกอยู่ในชั้นเคลือบฟัน ยกเว้นบริเวณคอฟันให้ลึกเข้าชั้นเนื้อฟัน ตรวจสอบด้วยภาพถ่ายรังสีโคนบีมคอมพิวเตดโทโมกราฟฟี พิมพ์ปากด้วยเครื่องสแกนในช่องปาก ออกแบบด้วยโปรแกรมทรีเชฟ เดนทัล ซิสเทม และกลึงชิ้นงานด้วยเครื่องคอไอเทค วัน ใช้วัสดุลิเทียมไดซิลิเกต แล้วนำเข้าเครื่องควบคุมอุณหภูมิร้อน เย็นเป็นจังหวะ จำนวน 10,000 รอบ ศึกษาค่ากำลังแรงต้านต่อการแตกหักโดยใช้เครื่องทดสอบแรงดึงแรงอัด ทดสอบการกระจายตัวของข้อมูลด้วย Shapiro-Wilk วิเคราะห์สถิติ independent t-test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติน้อยกว่า 0.05 ผล : ค่ากำลังแรงต้านต่อการแตกหัก กลุ่มควบคุม (1793.48 ± 140.39 นิวตัน) และกลุ่มทดสอบ (2237.47 ± 207.28 นิวตัน) ซึ่งไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) สรุป: การใช้กลูตารัลดีไฮด์ ไม่ส่งผลต่อค่ากำลังแรงต้านต่อการแตกหักแตกวีเนียร์เมื่อเทียบกับการไม่ใช้"
} |
{
"en": "Background: Childhood nutrition is the cornerstone of good health and intelligence. But currently, Thai children have a nutritional status of “proportionately” below the target. Therefor, it is necessary to find a solution according to the context. Objective: To study factors affecting nutritional status and the trial of the NATT Model to solve early childhood malnutrition problems in child development centers. Method: Study of secondary nutrition information for children aged 2–5 years, in the child development center, 505 children with nutritional status results in September 2021 and health diaries. Using the NATT Model to solve malnutrition problems, it a quasi–experimental research between December 2021–April 2022, data were analyzed by descriptive statistics, Chi –square, Odds ratio, Paired–samples T test. Result: The sample was male (56.6%), well–balanced nutrition (57.2%). Risk factors for malnutrition Child: Unweighted weight–age (OR = 3.703), breastfed for less than 6 months (OR = 1.394) no iron supplementation (OR = 1.337), Maternal: First antenatal care >12 weeks (OR = 3.766), no folic acid (OR = 1.232), Teachers/caregivers: knowledge level (OR = 3.438), attitude level (OR = 3.320), children’s eating behavior (OR = 1.478). After using the NATT Model, the children had increased nutritional status, and there were differences in average weight and height before and after participating in the activity. Conclusion: Early childhood children were malnourished 57.2%. Child, mother, teacher/caregiver factors were found to be related to nutritional status. After using the NATT Model, the children had increased nutritional status, and found the difference in mean weight height before and after participating in the activity.",
"th": "ภูมิหลัง: ภาวะโภชนาการในวัยเด็กเป็นพื้นฐานที่สำคัญของสุขภาพและเชาว์ปัญญาที่ดี แต่ปัจจุบันเด็กไทยมีภาวะโภชนาการ “สมส่วน” ต่ำกว่าเป้าหมาย จึงต้องหาวิธีแก้ไขตามบริบท วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อภาวะโภชนาการและทดลองใช้ NATT Model แก้ปัญหาทุพโภชนาการเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก วิธีการ: ศึกษาข้อมูลทุติยภูมิโภชนาการเด็กอายุ 2–5 ปีในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 505 คน ที่มีผลภาวะโภชนาการเดือนกันยายน 2564 และสมุดบันทึกสุขภาพ การใช้ NATT Model แก้ปัญหาทุพโภชนาการ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ระหว่างเดือนธันวาคม 2564–เมษายน 2565 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา, chi–square, odds ratio, paired–samples t test ผล: กลุ่มตัวอย่างเพศชาย (ร้อยละ 56.6) ภาวะโภชนาการสมส่วน (ร้อยละ 57.2) ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะทุพโภชนาการ ด้านเด็ก ได้แก่ น้ำหนักไม่เป็นตามเกณฑ์อายุ (OR = 3.703) กินนมแม่น้อยกว่า 6 เดือน (OR = 1.394) ไม่กินยาเสริมธาตุเหล็ก (OR = 1.337) ด้านมารดา ได้แก่ ฝากครรภ์ครั้งแรก>12 สัปดาห์ (OR = 3.766) ไม่รับยาโฟลิก (OR = 1.232) ด้านครู/ ผู้ดูแล ได้แก่ ระดับความรู้ (OR = 3.438) ระดับเจตคติ (OR = 3.320) พฤติกรรมการรับประทานของเด็ก (OR = 1.478) หลังใช้ NATT Model เด็กมีภาวะโภชนาการสมส่วนเพิ่มขึ้น และมีความแตกต่างของค่าเฉลี่ยน้ำหนัก ส่วนสูง ก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรม สรุป: เด็กปฐมวัยมีภาวะโภชนาการสมส่วน ร้อยละ 57.2 พบปัจจัยด้านเด็ก มารดา ครู/ผู้ดูแล มีความ สัมพันธ์กับภาวะโภชนาการ หลังใช้ NATT Model เด็กมีภาวะโภชนาการสมส่วนเพิ่มขึ้นและพบความแตกต่างค่าเฉลี่ยน้ำหนัก ส่วนสูงก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรม"
} |
{
"en": "Background: Post COVID-19 infection has long-term health impacts on patients’ mental health and lifestyle, and self-management support can help patients better manage their residual COVID symptoms. Objectives: To develop and evaluate a model of self-management support for residual symptoms among COVID-19 patients. Methods: Data were analyzed for descriptive statistics and repeated measure MANOVA. 62 COVID-19 patients who met the criteria were recruited from Chonburi Hospital and they completed the measures of self-management behaviors and clinical outcomes at baseline (one-week after discharge), 4 weeks and 8 weeks after discharge with Cronbach's alpha coefficients of 0.88 and 0.82, respectively. Results: Self-management model including 1. Identifying the problem and evaluate residual symptoms 2. Problem solving and self-management support 3. Self-management assessment 4. Follow up. Behavior outcome showed more self-management support and better quality of life. Clinical outcomes showed lower mean scores on dyspnea, fatigue depression, and insomnia with greater SpO2 and lung efficiency. Conclusion: Self-management model support facilitates patients with post-COVID-19 symptoms to perform self-management behaviors and mitigate symptoms of post COVID-19 symptoms. Therefore, patients with post COVID-19 should receive a great deal of self-management support for better self-care after discharge from the hospital.",
"th": "ภูมิหลัง: อาการหลงเหลือหลังการติดเชื้อโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต การสนับสนุนการจัดการตนเองส่งเสริมให้ผู้ป่วยจัดการสุขภาพตนเองต่ออาการหลงเหลือได้ วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาและประเมินผลรูปแบบสนับสนุนการจัดการตนเองของผู้ป่วยโควิด-19 หลังรักษาหาย วิธีการ: เป็นการวิจัยแบบวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ที่มีอาการหลงเหลือ จำนวน 62 ราย เปรียบเทียบ ก่อน หลังการทดลอง และติดตามผล เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดพฤติกรรมการจัดการตนเองต่ออาการหลงเหลือและแบบวัดคุณภาพชีวิตค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบราค เท่ากับ 0.88 และ 0.82 ตามลำดับ และการประเมินผลลัพธ์ทางคลินิก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและ repeated measure ANOVA ผล: รูปแบบสนับสนุนการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการสุขภาพตนเอง มี 4 ด้าน คือ การค้นหาปัญหาและประเมินอาการหลงเหลือ การแก้ไขปัญหาและสนับสนุนการจัดการสุขภาพตนเองต่ออาการหลงเหลือ ประเมินผลการปฏิบัติตนในการจัดการสุขภาพตนเอง และติดตามผลการจัดการสุขภาพตนเอง ผลลัพธ์ด้านผู้ป่วย พบว่า มีพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยภายหลังหายจาก COVID-19 มากขึ้น คุณภาพชีวิตดีขึ้น และผลลัพธ์ทางคลินิก: เหนื่อย อ่อนล้า นอนไม่หลับ และหดหู่ซึมเศร้าลดลง สมรรถภาพปอดและ SpO2 มีแนวโน้มดีขึ้น แต่ความจำสั้นเพิ่มขึ้น สรุป: การใช้รูปแบบสนับสนุนการจัดการตนเองกับผู้มีอาการหลงเหลือจากการติดเชื้อโควิด-19 สามารถส่งเสริมให้ผู้ป่วยจัดการสุขภาพตนเองได้ดีขึ้นและความรุนแรงอาการหลงเหลือบรรเทาลง จึงควรมีระบบสนับสนุนการจัดการตนเองเพื่อส่งเสริมการจัดการสุขภาพตนเองของผู้ติดเชื้อเพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี"
} |
{
"en": null,
"th": "โรคฝีดาษวานร (monkeypox) เกิดจากเชื้อไวรัสที่อยู่ในกลุ่ม Poxvirus ซึ่งเชื้อในกลุ่มนี้สามารถก่อให้เกิดโรคไข้ทรพิษหรือฝีดาษและโรคหูดข้าวสุก โดยปกติไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคฝีดาษวานรเป็นไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคในสัตว์ตระกูลหนู กระรอก รวมไปถึงลิง แต่ที่เรียกว่าฝีดาษวานรเพราะพบการติดเชื้อครั้งแรกในลิง ในปี พ.ศ. 2501 จากนั้นพบการติดเชื้อในมนุษย์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2513 ซึ่งพบในเด็กที่ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก การติดเชื้อจากสัตว์มาสู่มนุษย์อาจจะเป็นในรูปแบบการสัมผัส รวมถึงการถูกสัตว์กัด สำหรับการแพร่เชื้อจากมนุษย์สู่มนุษย์สามารถเกิดได้จากการสัมผัสสารคัดหลั่ง การสัมผัสบาดแผลหรือรอยโรค รวมไปถึงจากการหายใจเอาละอองฝอยเข้าไป ซึ่งการแพร่เชื้อมักจะพบเมื่อมีการสัมผัสใกล้ชิดหรือพักอาศัยร่วมกันเป็นระยะเวลานานพอสมควร"
} |
{
"en": "Background: Meconium aspiration syndrome (MAS) is an important cause of acute respiratory distress in newborn , which has serious complication and high mortality rate. Objectives: To determine the incidence, outcome and complications of infants with MAS and pognostic factors of this conditions at Trang Hospital. Methods: This study was a retrospective descriptive study. Medical records of infants who diagnosed with MAS at Trang hospital between 1st October 2016 and 30nd September 2019 were reviewed. Data on maternal and neonatal demographics, clinical course and outcome were recorded. Results: Meconium stained amniotic fluid (MSAF) was found in 556 neonates. Two hundred three neonates of MAS cases were enrolled , (36.5% of MSAF), one hundred and fifty-nine newborn was born at Trang Hospital The incidence of MAS was 14.76 per 1000 live birth. Fifteen cases of MAS died (mortality 7.4%) and 38.9% of MAS needed mechanical ventilation. The most common cause of death was persistent pulmonary hypertension of newborn (PPHN, 100 %). Other cause was sepsis (87.6%). The significant poor prognostic factor of MAS were non vigorous neonate, APGAR score at 1 min and at 5 min < 3, on mechanical ventilation, MAS with complication : PPHN, sepsis, birth asphyxia, pneumothorax and pulmonary hemorrhage. Conclusions: Incidence of MAS during this period at Trang Hospital was 14.76 per 1000 live birth. The mortality rate was 7.4%. Poor prognostic factor was non vigorous neonate, severe birth asphyxia, on mechanical ventilation, PPHN, sepsis, pneumothorax and pulmonary hemorrhage The most common cause of death was PPHN.",
"th": "ภูมิหลัง: ภาวะสูดสำลักขี้เทา(Meconium aspiration syndrome; MAS) เป็นสาเหตุสำคัญของภาวะหายใจลำบากในทารกแรกเกิดและมีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงและเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่พบมาก วัตถุประสงค์: เพื่อหาอุบัติการณ์ของการเกิดภาวะสูดสำลักขี้เทาในทารกแรกเกิดใน โรงพยาบาลตรัง และศึกษาผลการรักษา รวมถึงปัจจัยที่มีผลต่อการพยากรณ์โรคและการเสียชีวิต วิธีการ: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง โดยทบทวนข้อมูลจากเวชระเบียนของทารกที่ได้รับการวินิจฉัยภาวะสูดสำลักขี้เทาในโรงพยาบาลตรังตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2559 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2562 รวบรวมข้อมูลพื้นฐานของทารกและมารดา อาการ การรักษาและ ผลการรักษา ผล: จากจำนวนทารกที่มีขี้เทาปนในน้ำคร่ำ 556 ราย วินิจฉัยภาวะสูดสำลักขี้เทา (MAS) 203 ราย (ร้อยละ 36.5) คลอดใน รพ.ตรัง 159 ราย คิดเป็นอุบัติการณ์ 14.76 รายต่อ 1000 ทารกเกิดมีชีพ เสียชีวิต 15 ราย (อัตราตายร้อยละ 7.4) ร้อยละ 38.9 ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยมากที่สุด ได้แก่ Persistent Pulmonary Hypertension of newborn ; PPHN (ร้อยละ 100) และ sepsis (ร้อยละ 87.6) ปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ ทารกที่ไม่ตื่นตัวดีหลังคลอด, APGAR score ที่ 1 นาที และที่ 5 นาทีน้อยกว่า 3, ทารกที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ และทารกที่มีภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ PPHN, sepsis, pneumothorax และ pulmonary hemorrhage สรุป: พบอัตราการเกิด MAS 14.76 รายต่อทารกเกิดมีชีพ 1000 ราย อัตราตาย ร้อยละ 7.4 ปัจจัยที่มีผลต่อการพยากรณ์โรค คือ ทารกที่ไม่ตื่นตัวดีหลังคลอด, ขาดออกซิเจนปริกำเนิดรุนแรง, ทารกที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ และทารกที่มี PPHN, sepsis, pneumothorax และ pulmonary hemorrhage สาเหตุการตายเกิดจาก PPHN มากที่สุด"
} |
{
"en": "Background: Epilepsy is a common neurological disorder and a major public health problem in Thailand. In children with epilepsy, it is necessary to receive proper care. The proper care can prevent and control seizures. Therefore, pediatric nurses need to be promote accurate epilepsy knowledge and understanding of epilepsy care that led to caregivers can properly care for children with epilepsy. Objectives: To examine the effect of educational program using cartoon animation video for caregivers of children with epilepsy on epilepsy knowledge of caregivers. Methods: This research was quasi-experimental research.( the one group pre-posttest design). The samples were caregivers of 36 children with newly diagnosed with epilepsy who were received antiepileptic drugs, aged 1-12 years. The statistics used for data analysis were one-way repeated measure ANOVA. Results: After the experiment, scores of epilepsy knowledge in caregivers were significantly higher scores than those before the experiment. (p<0.001) These finding showed that the educational program using cartoon animation video can enhance epilepsy knowledge. Conclusion: Educational program using video animation was a tool to improve epilepsy knowledge in caregivers of children with epilepsy. Therefore, nurse should use the educational program using cartoon animation video to promote epilepsy knowledge in caregivers, leading to appropriate care of children with epilepsy.",
"th": "ภูมิหลัง: โรคลมชักเป็นโรคระบบประสาทที่พบบ่อยและเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย ซึ่งผู้ป่วยเด็กโรคลมชักจำเป็นต้องได้รับการดูแลที่เหมาะสม การดูแลที่เหมาะสมสามารถป้องกันและควบคุมอาการชักได้ ดังนั้นพยาบาลเด็กจำเป็นต้องส่งเสริมความรู้ที่ถูกต้องและความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคลมชัก เพื่อให้ผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กโรคลมชักสามารถให้การดูแลที่เหมาะสมสำหรับเด็กโรคลมชักตามแผนการรักษา วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้ความรู้โดยใช้การ์ตูนแอนิเมชั่นวิดีโอสำหรับผู้ดูแลเด็กที่เป็นโรคลมชักต่อความรู้เรื่องโรคลมชักของผู้ดูแลเด็กโรคลมชัก วิธีการ: การวิจัยเป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi-experimental research) แบบกลุ่มเดียววัดก่อน-หลัง (one group pretest posttest design) กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลเด็ก 36 คนที่เพิ่งได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคลมชักที่ได้รับยากันชัก อายุ 1-12 ปี สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ one - way repeated measure ANOVA ผลลัพธ์: หลังการทดลอง คะแนนความรู้โรคลมชักในผู้ดูแลมีคะแนนสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการให้ความรู้โดยใช้วิดีโอการ์ตูนแอนิเมชั่นสามารถเสริมสร้างความรู้โรคลมชักได้ สรุป: โปรแกรมการให้ความรู้โดยใช้สื่อวิดีทัศน์แอนิเมชั่น เป็นเครื่องมือที่สามารถส่งเสริมความรู้โรคลมชักในผู้ดูแลเด็กโรคลมชัก ดังนั้นพยาบาลควรใช้โปรแกรมการให้ความรู้โดยใช้การ์ตูนแอนิเมชั่นวิดีโอ เพื่อส่งเสริมความรู้ของผู้ดูแล นำไปสู่การดูแลเด็กที่เป็นโรคลมชักอย่างเหมาะสม"
} |
{
"en": "The severe acute respiratory syndrome coronavirus 2 (SARS-CoV-2) causes the coronavirus disease 2019 (COVID-19) systemic viral syndrome responsible for an ongoing global pandemic. COVID-19 has led to high morbidity and mortality worldwide. The absence of immunity in the population could be susceptible to new waves of COVID-19 infection. The effective equipment to prevent this pandemic is the development of a potential vaccine against the disease. CoronaVac (Sinovac Life Sciences, Beijing, China) is an inactivated vaccine alternative against COVID-19, that has shown immunogenicity with vaccine-induced neutralizing antibodies to SARS-CoV-2. Nowadays, we have few reports about this vaccine, due to a short time of development. Currently, we report a case of 29-year-old Thai female with the developing of morbilliform rash on the face and chest 40 minutes following the first dose vaccination.",
"th": "โรคโควิด 19 (COVID-19) คือโรคติดต่อของระบบทาง เดินหายใจซึ่งเกิดจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ซาร์-โควี-2 (SARS-CoV-2) เป็นโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ ค้นพบการระบาดครั้งแรก ในเมืองอู่ฮั่น ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนในช่วงเดือนธันวาคม ปี 2562 ต่อมาได้มีการระบาดไปทั่วโลก แต่ถึงอย่างไรก็ตามการขาดภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ซาร์-โควี-2 อาจนำไปสู่การติดเชื้อระลอกใหม่ได้ เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการป้องกัน การแพร่ระบาดคือการมีวัคซีนเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด ด้วย เหตุนี้หลายประเทศทั่วโลกจึงได้มีการคิดค้นพัฒนาวัคซีน เพื่อสร้าง ภูมิคุ้มกันให้กับประชากร โคโรนาแวค (CoronaVac) เป็นวัคซีนที่พัฒนามาจากเชื้อตาย (Inactived vaccine) กระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ซาร์-โควี-2 แต่เนื่องด้วยระยะเวลาการศึกษา ที่จำกัด ประกอบกับมีความจำเป็นต้องนำวัคซีนมาใช้อย่างเร่งด่วน ทำให้ข้อมูลการศึกษาผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้น รวมไปถึงข้อมูลความปลอดภัยยังค่อนข้างมีอยู่น้อยรายงานฉบับนี้เป็นการนำเสนอผู้ป่วยหญิงไทยอายุ 29 ปี มี อาการผื่นแดง คัน บริเวณใบหน้า และหน้าอก ภายหลังการได้รับ วัคซีนซิโนแวคเข็มแรกประมาณ 40 นาที"
} |
{
"en": "Submandibular space infection is a serious infection that can occur as a result of odontogenic or nonodontogenic infections. The infection should be treated promptly, as it can spread rapidly, resulting in airway obstruction. The author reported an eight-month-old boy without any systemic diseases presenting with a swelling of the lower right facial region for three days that rapidly grew in size for one day despite intravenous antibiotic administration ,suspected source from submandibular gland abscess. Intravenous fluids, more proper empirical antibiotics, and analgesics were administered to the patient. The incision and drainage were done extraorally under general anesthesia. The patient improved gradually and full recovery was within 10 days.",
"th": "การติดเชื้อของช่องว่างใต้ขากรรไกรเกิดจากการติดเชื้อจากฟันหรือไม่เกี่ยวข้องกับฟันก็ได้ การติดเชื้อที่ตำแหน่งนี้ควรต้องรีบรักษาทันทีเนื่องจากสามารถติดเชื้อลุกลามจนทาให้เกิดภาวะทางเดินหายใจอุดกั้นได้ ผู้เขียนรายงานผู้ป่วยชายอายุ 8 เดือน ไม่มีโรคประจำตัวมาก่อน มีอาการคอด้านขวาบวมนาน 3 วัน และบวมมากขึ้นอย่างรวดเร็ว 1 วันแม้จะได้ยาฆ่าเชื้อทางหลอดเลือดดาแล้ว ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากต่อมน้ำลายใต้ขากรรไกรอักเสบเป็นหนอง ผู้ป่วยได้รับการรักษาโดยให้สารน้ำทดแทน เปลี่ยนยาฆ่าเชื้อให้เหมาะสมและได้รับการผ่าตัดระบายหนองจากคอภายนอก ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นตามลำดับ และหายภายใน 10 วัน"
} |
{
"en": "This article is a case report of difficult to treat asthmatic patient leading to investigate the associated co-morbid conditions. CORE syndrome consists of coughing from asthma (cough/asthma), obesity associated with obstructive sleep apnea (obesity/OSA), rhinosinusitis or allergic rhinitis and esophageal reflux. They are often combined and contribute patients with pre-existing asthma that are difficult to control and unresponsive to existing treatments. Therefore, the physician must assess the severity and symptoms of asthma patients by considering co-morbidities or contributing factors that make asthma difficult to control and lead to the proper treatment.",
"th": "บทความนี้เป็นรายงานผู้ป่วยโรคหอบหืดที่ยากต่อการรักษา จึงนำไปสู่การค้นหาโรคร่วมที่เกี่ยวข้อง โดยพบว่า CORE syndrome เป็นกลุ่มอาการไอจากโรคหอบหืด ภาวะอ้วนที่สัมพันธ์กับภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น โรคไซนัสอักเสบหรือโรคภูมิแพ้ จมูกอักเสบ และภาวะกรดไหลย้อน ซึ่งเป็นกลุ่มอาการที่มักพบร่วมกัน และเป็นปัจจัยส่งเสริมให้คนไข้โรคหอบหืดควบคุมอาการได้ยาก และไม่ตอบสนองต่อการรักษาที่มีอยู่ จึงมีความสำคัญที่แพทย์ควรคำนึงถึงโรคร่วมและปัจจัยส่งเสริมในผู้ป่วยที่มีอาการของโรคหอบหืดควบคุมได้ยาก และนำไปสู่การรักษาที่ถูกต้อง"
} |
{
"en": "Background: Discoloration of restorations is the common obstacle in dentistry. Some beverages may affect color stability of resin composites and diminish esthetics.Objective: To evaluate the effects of popular beverages in Thailand on color stability of resin composites.Method: Filtek-Z250, Filtek-Z350, and Filtek-Bulk fill were immersed in coffee, green tea, Thai tea, orange juice and cola for 28 days. The color of resib composite was observed according to CIE L*a*b* system using spectrophotometer. Then, color change (∆E) and whiteness index were calculated. Statistical analysis was performed with MANOVA with Post Hoc Tukey’s test (p < 0.05 and 95% confidence interval).Results: Resin composites in this study showed a statistically significant in color changes after 28 days of immersion in various beverages. Filtek-Bulk fill which immersed in coffee showed the highest color change, followed by Filtek- Z250 and Filtek-Z350 immersed in coffee, respectively. Coffee and Thai tea induced the highest color change of resin composite. Beverages in this study except cola significantly decreased the whiteness index of resin composites.Conclusion: Type of resin composite and the drink affects the color change. The nanofilled composite resin exhibited the least color change, while coffee and Thai tea produced the highest color change.",
"th": "ภูมิหลัง: การเปลี่ยนแปลงสีของเรซินคอมโพสิตเป็นปัญหาทางทันตกรรมที่พบบ่อย โดยเครื่องดื่มบางชนิดทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสีของเรซินคอมโพสิต ส่งผลให้ความสวยงามลดลงวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความคงที่ของสีเรซินคอมโพสิตหลังจากแช่ในเครื่องดื่มมีสีที่นิยมดื่มในประเทศไทย วิธีการ: นำชิ้นงาน Filtek-Z350, Filtek-Z250 และ Filtek-Bulk fill รูปทรงกระบอกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 10 มิลลิเมตร หนา 2 มิลลิเมตรแช่ในกาแฟ ชาไทย ชาเขียว น้ำส้ม และโคล่า เป็นเวลา 28 วัน ทำการวัดค่าสีตามระบบ CIE L*a*b* ด้วยสเปกโตรโฟโตมิเตอร์ แล้วจึงคำนวณการเปลี่ยนแปลงค่าสี (∆E) และค่าดัชนีความขาว (whiteness index) โดยทำการวิเคราะห์ทางสถิติด้วย MANOVA ร่วมกับ Post Hoc Tukey’s test (p < 0.05) ผล: เรซินคอมโพสิตในการศึกษานี้มีการเปลี่ยนแปลงค่าสีอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติเมื่อแช่ในเครื่องดื่มต่าง ๆ 28 วัน โดย Filtek-Bulk fill ที่แช่ในกาแฟมีการเปลี่ยนแปลงค่าสีสูงสุด ตามมาด้วย Filtek-Z250 และ Filtek-Z350 และพบว่ากาแฟ และชาไทยทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงค่าสีที่เห็นได้ชัดทางคลินิก (∆E > 3.3) สูงสุด ส่วนโคล่านั้นทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของค่าสีน้อยที่สุด และพบว่าเครื่องดื่มที่ใช้ในการศึกษานี้ยกเว้นโคล่าส่งผลให้เรซินคอมโพสิตทุกกลุ่มมีค่าดัชนีความขาวลดลง สรุป: ชนิดของเรซินคอมโพสิต และเครื่องดื่มมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงค่าสี โดยนาโนฟิลล์เรซินคอมโพสิตมีการเปลี่ยนแปลงสีน้อยที่สุด ในขณะที่กาแฟและชาไทย ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงค่าสีสูงสุด"
} |
{
"en": "Background: Discoloration of resin composite restorations is attributed to a variety of reasons, which includes stained color that transfer from beverages such as tea and coffee. Various methods of stain removal on resin composite have been used to maintain the original color of restorations. Objective: To compare the efficacy of various finishing and polishing systems; in-office bleaching; home bleaching for stain removal on nanofilled resin composite. Method: The simulation of resin composite discoloration was prepared using A2 nanofilled resin composite immersed in coffee for 14 days and divided into 6 groups: pumice powder, Sof-Lex, Enhance/Pogo polishing system, home and in-office tooth bleaching reagents. The color values were then measured with a spectrophotometer using CIE L*a*b* system and whiteness index. Furthermore, the surface characteristics of the resin composite were studies using an Atomic Force Microscope. The data was analyzed using one-way ANOVA with post hoc Tukey’s test (p < 0.05). Results: A significant differences among groups in color values (p <0.05) compared to the controlled group were observed. The Enhance/PoGo polishing system and the Sof-Lex produced the highest color difference, while in-office bleaching resulted in the lowest color difference. However no statistically significant difference colors of all group were compared to the baseline group. Conclusion: Within the limitation of this study, Sof-Lex and Enhance/Pogo were the most effective polishing tools for coffee staining removal on resin composite.",
"th": "ภูมิหลัง: การเปลี่ยนแปลงสีของเรซินคอมโพสิตหลังจากบูรณะฟันเกิดจากหลายสาเหตุ รวมถึงการติดสีจากอาหารและเครื่องดื่ม เช่น ชาและกาแฟ ซึ่งส่งผลต่อความสวยงาม การกำจัดคราบสีบนพื้นผิวเรซินคอมโพสิตโดยวิธีต่าง ๆ ได้ถูกนำมาใช้เพื่อให้วัสดุคงความสวยงามดังเดิม วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของชุดหัวขัดที่ใช้ตกแต่งและขัดผิวเรซินคอมโพสิต น้ำยาฟอกสีฟันชนิดทำที่บ้านและน้ำยาฟอกสีฟันชนิดทำที่คลินิกในการกำจัดคราบสีบนพื้นผิวนาโนฟิลด์เรซินคอมโพสิต วิธีการ: จำลองการติดสีบนพื้นผิวนาโนฟิลด์เรซินคอมโพสิตด้วยกาแฟเป็นเวลา 14 วัน แล้วกำจัดคราบสีบนพื้นผิวเรซินคอมโพสิตด้วยผงขัดพิวมิส ชุดหัวขัดซอฟเลกซ์ ชุดหัวขัดเอ็นฮานซ์โพโก้ น้ำยาฟอกสีฟันชนิดทำที่บ้านและน้ำยาฟอกสีฟันชนิดทำที่คลินิก จากนั้นทำการวัดค่าสีด้วยเครื่องสเปกโตรโฟโตมิเตอร์ โดยใช้ระบบค่าสี CIE L*a*b* และค่าดัชนีความขาว รวมถึงศึกษาลักษณะพื้นผิวของเรซินคอมโพสิตด้วยเครื่อง Atomic Force Microscope แล้วทำการวิเคราะห์ทางสถิติด้วย One-way ANOVA ร่วมกับ post hoc Tukey’s test (p < 0.05) ผล: ชุดหัวขัดเอ็นฮานซ์โพโก้และชุดหัวขัดซอฟเลกซ์ ทำให้เกิดความแตกต่างของสีสูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม ในขณะที่น้ำยาฟอกสีฟันชนิดทำที่คลินิกทำให้เกิดความแตกต่างของสีต่ำที่สุด แต่อย่างไรก็ตามไม่พบความแตกต่างของสีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทุกเครื่องมือกำจัดคราบสีเมื่อเทียบกับค่าเริ่มต้น สรุป: การศึกษาครั้งนี้พบว่าชุดหัวขัดซอฟเลกซ์และชุดหัวขัดเอ็นฮานซ์โพโก้ มีประสิทธิภาพในการกำจัดคราบสีจากกาแฟบนพื้นผิวเรซินคอมโพสิตได้ดีสุด"
} |
{
"en": "Background: Chronic low back pain syndrome is more common in musculoskeletal disorders. Understanding back pain and self-care can help reduce low back pain and have the ability to use daily life better. Objective: To study the effect of education and self-care with back pain school program on the level of numerical resting scale (NRS), disability (Roland – Morris disability questionnaire), knowledge of back pain, and self-care behaviors in patients with chronic low back pain. Method: This study was a quasi-experimental study that recruited a specific sample of 30 people who were diagnosed by a physician and referred to a multidisciplinary team for pain relief and a record form for indicators in this study. The data in this study are presented in terms of percentage, mean, and standard deviation. Result: The results showed no statistically significant difference in the mean level of NRS and disability when comparing the results between before and after participating in the Back pain school program at two weeks (p > 0.05). There was a statistically significant difference in these indicators when comparing the results before and after the program at one month, three months and six months, respectively (p < 0.05). The mean scores of patients' knowledge of back pain and self-care behaviors were statistically improved across all assessment periods compared to before participating in the program (p < 0.05). Conclusion: Back pain school programs can reduce pain and disability and make patients with chronic low back pain have better knowledge and behavior in taking care of themselves.",
"th": "ภูมิหลัง: กลุ่มอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรังสามารถพบได้บ่อยในกลุ่มโรคกล้ามเนื้อและกระดูก ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาการปวดหลังและการดูแลตนเองจะช่วยให้อาการปวดหลังส่วนล่างลดลง และมีความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการให้ความรู้และการดูแลตนเองด้วยโปรแกรมโรงเรียนปวดหลัง ต่อระดับความเจ็บปวดขณะ พักภาวะทุพพลภาพ (แบบประเมิน Roland – Morris disability questionnaire ฉบับภาษาไทย) ความรู้เกี่ยวกับอาการปวดหลัง และพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรัง วิธีการ: การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษากึ่งทดลองโดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน ที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์และส่งปรึกษาทีมสหวิชาชีพเพื่อลดอาการปวด เครื่องมือ ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป และแบบบันทึกตัวชี้วัดในการศึกษาครั้งนี้ ข้อมูลในศึกษานี้จะแสดงในรูปของร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผล: ผลการศึกษาพบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของค่าเฉลี่ยของระดับความเจ็บปวดขณะพัก ภาวะทุพพลภาพ เมื่อเปรียบเทียบผลระหว่างก่อนและหลังจากเข้าร่วมโปรแกรมโรงเรียนปวดหลังที่ 2 สัปดาห์ (p > 0.05) แต่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของตัวชี้วัดดังกล่าวเมื่อเปรียบเทียบผลระหว่างก่อนและหลังจากได้รับโปรแกรมที่ 1 เดือน 3 เดือน และ 6 เดือน ตามลำดับ (p < 0.05) นอกจากนี้ยังพบว่า คะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับโรคปวดหลังและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทุกช่วงการประเมินเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการเข้าร่วมโปรแกรม (p < 0.05) สรุป: โปรแกรมโรงเรียนปวดหลังสามารถลดอาการปวดและภาวะทุพพลภาพ และทำให้ผู้ป่วยที่มีภาวะปวดหลังส่วนล่างเรื้อรังมีความรู้และพฤติกรรมในการดูแลตัวเองดีขึ้น"
} |
{
"en": "Background: Gout is the most common inflammatory arthritis worldwide. In the past 20-30 years, there has been a tendency to find more patients worldwide. As in Asia, where the number of cases is rapidly increasing in China, Thailand, South Korea, and Taiwan, there are still many problems in terms of diagnosis and treatment. Objective: To determine the factors related to the targeted treatment of gouty arthritis which uric acid levels were less than 5.0 mg/dL in patients with tophi and less than 5.5 mg/dl in patients without tophi. Methods: The present study method was descriptive by collecting retrospective data of patients with gouty arthritis, ICD 10 M100-109 code, who received treatment at Rak-Kor Clinic, Nongkhai Hospital between 1st July 2010 and 31st December 2020. The factors involved in the treat-to-target of gouty arthritis were analyzed by chi-square test or Fisher’s exact test, and multiple logistic regression (95% , p<0.05). Results: Of eligible 585 patients, 94.0% and 90.4% of patients achieved the target uric acid level at one year and throughout the treatment period, respectively. The factors associated with achieving treat-to-target for gouty arthritis with the first 1-year were glomerular filtration rate before treatment ≥ 60 ml/min/1.73 m2 (p=0.024, adjusted OR 2.548, 95% 1.133, 5.726) and no drug discontinuation (p=0.011, adjusted OR 2.652, 95% 1.245, 5.649). The factors associated with achieving treat-to-target for gouty arthritis throughout the treatment period were body mass index ≤ 25 kg/m2 (p=0.012, adjusted OR 0.355, 95% 0.158, 0.797), absence of tophi (p=0.022, adjusted OR 2.172, 95% 1.120, 4.211), glomerular filtration rate before treatment ≥ 60 ml/min/1.73 m2 (p=0.001, adjusted OR 3.493, 95% 1.639, 7.447), and no drug discontinuation (p=0.039, adjusted OR 2.056, 95% 1.037, 4.079). Conclusion: Assessment of the presence of tophi, body mass index, glomerular filtration rate before treatment, and the patient’s regular medication intake will help in planning the treatment and increasing the patient’s target uric acid level.",
"th": "ภูมิหลัง: โรคเกาต์เป็นโรคข้ออักเสบที่พบได้บ่อยที่สุดทั่วโลกโดยในช่วง 20-30 ปีที่ผ่านมามีแนวโน้มพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทั่วโลกเช่นเดียวกับในเอเชียที่พบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งในประเทศจีนไทย เกาหลีใต้ และไต้หวัน แต่ก็ยังเป็นโรคที่มีปัญหาทั้งการวินิจฉัยและการรักษาวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรักษาผู้ป่วยโรคข้ออักเสบเกาต์ให้ได้ตามเป้าหมายคือ ระดับกรดยูริกต่ำกว่า 5.0 มก.ต่อ ดล.ในผู้ป่วยที่มีปุ่มก้อนโทฟัส และต่ำกว่า 5.5 มก.ต่อ ดล.ในผู้ป่วยที่ไม่มีปุ่มก้อนโทฟัส วิธีการ: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา โดยเก็บข้อมูลแบบย้อนหลังของผู้ป่วยโรคข้อ อักเสบเกาต์รหัส ICD 10 M100-109 ที่มารับการรักษาที่คลินิกรักษ์ข้อ โรงพยาบาลหนองคายตั้งแต่ 1 ก.ค. 2553-31 ธ.ค. 2563 วิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรักษาโรคข้ออักเสบเกาต์ให้ได้ตามเป้าหมาย ใช้สถิติ chi-square test หรือ Fisher’s exact test และmultiple logistic regression (95% , p<0.05) ผล: ผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์การศึกษา 585 ราย ได้ระดับกรดยูริกตามเป้าหมายที่ 1 ปี ร้อยละ 94.0 และตลอดระยะเวลาที่รักษาร้อยละ 90.4 โดยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรักษาโรคข้ออักเสบเกาต์ให้ได้ตามเป้าหมายในระยะ 1 ปีแรกได้แก่ ระดับการทำงานของไต ≥ 60 มล.ต่อนาที ต่อ 1.73 ม.2 ก่อนรักษา (p=0.024, adjusted OR 2.548, 95% 1.133, 5.726) และไม่มีการหยุดยา (p=0.011, adjusted OR 2.652, 95% CI 1.245, 5.649) ส่วนปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรักษาโรคข้ออักเสบเกาต์ให้ได้ตามเป้าหมายตลอดระยะเวลาที่รักษาได้แก่ ดัชนีมวลกาย ≤ 25 กก.ต่อ ม.2 (p=0.012, adjusted OR 0.355, 95% 0.158, 0.797) ไม่มีปุ่มก้อนโทฟัส (p=0.022, adjusted OR 2.172, 95% 1.120, 4.211) ระดับการทำงานของไต ≥ 60 มล.ต่อนาทีต่อ 1.73 ม.2 ก่อนรักษา (p=0.001, adjusted OR 3.493, 95% 1.639, 7.447) และไม่มีการหยุดยา (p=0.039, adjusted OR 2.056, 95% 1.037, 4.079) สรุป: การประเมินปุ่มก้อนโทฟัส ดัชนีมวลกาย ระดับการทำงานของไตก่อนรักษา และการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอของผู้ป่วย จะช่วยในการวางแผนการรักษาและทำให้ผู้ป่วยได้ระดับกรดยูริกตามเป้าหมายเพิ่มขึ้น"
} |
{
"en": "Background: Intrathecal morphine is the frequently used technique for cesarean section because of the safety and postoperative analgesia efficacy. However, pruritus is the most common side effect associated with spinal opioid administration. It is often difficult to treat and may be unpleasant for patient leading to patient dissatisfaction. Objective: This randomized controlled trial aimed to compare the effect of ondansetron and ondansetron with propofol to prevent intrathecal morphine-induced pruritus in patients undergoing cesarean section. Methods: 90 patients scheduled for cesarean section under spinal anesthesia with intrathecal morphine 0.2 mg added to 10 -12 mg bupivacaine were randomly allocated into two groups. After child birth, group 1(n=45) received intravenous 8 mg ondansetron. Group 2 (n=45) received intravenous 8 mg ondansetron and propofol 0.5 mg/kg. The incidence and severity of pruritus, postoperative nausea and vomiting and other complication were assessed during recovery and at 4, 8, 24 hours following intrathecal morphine. Results: The incidence of pruritus was significantly less frequent in patients who received ondansetron with propofol compare with those who received ondansetron alone (31.1% vs. 55.5%, p=0.029 at 4 hours and 57.7% vs. 75.6%, p=0.037 at 8 hours). The number of patients requesting treatment for moderate to severe pruritus was significantly lower in the ondansetron with propofol group than the ondansetron group (6.7% vs 24.4%, p=0.02). There was no significant difference between two groups in PONV. Conclusion: Ondansetron with propofol prophylaxis significantly reduced incidence and severity of intrathecal morphine induced pruritus compared with ondansetron alone in patient undergoing cesarean section.",
"th": "ภูมิหลัง: การระงับความรู้สึกเฉพาะส่วนโดยการใส่ยามอร์ฟีนเข้าช่องน้ำไขสันหลัง เป็นวิธีที่นิยมใช้ในการผ่าท้องทำคลอด เพราะว่าปลอดภัยและมีประสิทธิผลในการระงับอาการปวดหลังการผ่าตัด อย่างไรก็ตามอาการคันจากการใส่ยากลุ่ม opioid เข้าช่องน้ำไขสันหลังเป็นผลข้างเคียงที่พบได้บ่อย ซึ่งค่อนข้างรักษายาก อาจทำให้ผู้ป่วยไม่สุขสบายและไม่พึงพอใจต่อการระงับความรู้สึกได้ วัตถุประสงค์: การศึกษาแบบสุ่มมีกลุ่มควบคุม (randomized controlled trial) เพื่อเปรียบเทียบผลของการให้ยา ondansetron กับการให้ยา ondansetron ร่วมกับ propofol ในการป้องกันการเกิดอาการคันจากการใส่ยามอร์ฟีนเข้าช่องน้ำไขสันหลังในผู้ป่วยที่ผ่าท้องทำคลอด วิธีการ: ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าท้องทำคลอด 90 คน ได้รับการระงับความรู้สึกโดยการใส่ยามอร์ฟีน 0.2 มิลลิกรัม ในยา bupivacaine 10-12 มิลลิกรัม เข้าช่องน้ำไขสันหลังถูกแบ่งเป็นสองกลุ่มโดยการสุ่ม หลังทารกคลอด ผู้ป่วยกลุ่มแรก (45 คน) ได้รับยา ondansetron 8 มิลลิกรัม กลุ่มที่สอง (45 คน) ได้รับยา ondansetron 8 มิลลิกรัมและ propofol 0.5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ประเมินอาการคัน คลื่นไส้อาเจียน รวมทั้งภาวะแทรกซ้อนอย่างอื่นระหว่างอยู่ในห้องพักฟื้น และหลังระงับความรู้สึก 4, 8, 24 ชั่วโมง ผล: อุบัติการณ์การเกิดอาการคันในกลุ่มที่ได้รับ ondansetron ร่วมกับ propofol น้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับ ondansetron อย่างเดียวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (31.1% กับ 55.5%, p=0.029 ที่ 4 ชั่วโมง และ 57.7% กับ 75.6%, p=0.037 ที่ 8 ชั่วโมง) นอกจากนี้กลุ่มที่ได้รับยา ondansetron ร่วมกับ propofol มีอาการคันปานกลางถึงคันมากและได้รับยารักษาอาการคันน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับ ondansetron อย่างเดียวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (6.7% กับ 24.4%, p=0.02) ไม่พบความแตกต่างของอาการคลื่นไส้อาเจียนหลังการผ่าตัดระหว่างผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม สรุป: การให้ ondansetron ร่วมกับ propofol สามารถลดการเกิดอาการคันจากการได้รับยามอร์ฟีนเข้าช่องน้ำไขสันหลังและลดการเกิดอาการคันที่รุนแรงได้เมื่อเปรียบเทียบกับการให้ยา ondansetron เพียงอย่างเดียวในผู้ป่วยผ่าท้องทำคลอด"
} |
{
"en": "After extraction the natural teeth, the alveolar part of the jaw will be minimized its size due to loss of balance between compressive and tensile forces on it. The disuse atrophic alveolar bone cannot support the dental implant. It can be solved by bone augmentation surgery in many techniques. The upper molar regions usually augmented by lifting the floor of maxillary sinus with bone graft. This paper reports the case of severe atrophic ridge at the area of the tooth 16 with maxillary sinus floor pneumatization. It was augmented by surgical lift with lateral window approach technique and xenograft bone placement. The crestal approach for lifting the sinus floor has 2 methods (1) sinus floor lift with DASK kit (Dentium Advanced Sinus kit) and (2) hydraulic pressure sinus lift with CAS kit (OSSTEM).",
"th": "ภายหลังการถอนฟันโดยทั่วไปกระดูกขากรรไกรส่วนที่รองรับรากฟันจะฝ่อลีบลง เนื่องจากไม่มีสมดุลของแรงบดเคี้ยวที่ส่งผ่านรากฟันสู่กระดูก (disuse atrophy) จนกระดูกมีขนาดเล็กไม่เพียงพอรองรับการใส่รากฟันเทียม ปัญหาดังกล่าวแก้ไขได้โดยการผ่าตัดเสริมกระดูก ซึ่งมีหลากหลายวิธีการ ในบริเวณฟันกรามบนนิยมใช้เทคนิคการยกพื้นโพรงอากาศแม็กซิลลาร่วมกับการปลูกถ่ายกระดูกเทียมเพิ่มขนาดกระดูกรองรับรากฟันเทียม บทความนี้ รายงานการรักษาผู้ป่วยที่สูญเสียฟันซี่ 16 มีการฝ่อลีบของสันกระดูกร่วมกับย้อยของพื้นโพรงอากาศ แม็กซิลลา (maxillary sinus pneumatization) รักษาโดยการผ่าตัดยกพื้นโพรงอากาศแม็กซิลลาด้วยเทคนิคการเข้าถึงด้านข้าง (lateral window approach) ร่วมกับการเสริมกระดูกรองรับรากฟันเทียมด้วยกระดูกปลูกถ่ายวิวิธพันธุ์ (xenograft) การติดตามผลการรักษา 5 ปี และนำเสนอวิธีการผ่าตัดเสริมพื้นโพรงอากาศแม็กซิลาด้วยเทคนิคเข้าถึงทางสันกระดูก (crestal approach) 2 วิธี คือ 1. วิธียกพื้นโพรงอากาศแม็กซิลลาด้วย Dentium Advanced Sinus Kit (DASK kit) 2. วิธียกพื้นโพรงอากาศแม็กซิลลาด้วยแรงดันจากน้ำ (hydraulic pressure sinus lift) ใช้ CAS kit (OSSTEM)"
} |
{
"en": "Background: The JAK2 V617F mutation has been described as a frequent genetic event among a majority of patients with Myeloproliferative neoplasms (MPNs) including Polycythemia Vera (PV), Essential Thrombocythemia (ET), and Primary Myelofibrosis (PMF). Its frequency varies in different populations, but there are no data from northeast Thailand. Objective: Therefore, we aim to report the JAK2 V617F mutation frequency and laboratory correlation in northeast Thailand patients. Methods: This study included retrospective reviews of all hematologist patients requested to test for JAK2V167F mutations from Srinagarind and Khon Kaen hospitals, the main tertiary medical center in the northeastern region Thailand. Collected data from January 2017 to January 2021. 418 Peripheral blood and bone marrow samples were analyzed by qRT-PCR using the Quantitative Allele Specific Amplification (QASA) JAK2V617F kit. Results: 418 patients were referred by physicians for JAK V617F mutation analysis. In this group, 101 (24.17%) were positive for the JAK2V617F mutation, whereas 317 (75.87%) patients were negative for the JAK2V617F mutation. The JAK2V617F mutation positive group (101 patients) included 46 (45.54%) patients with PV, 39 (38.61%) patients with ET, 11 (10.90%) patients with primary myelofibrosis (PMF), and 5 (4.95%) patients with unclassified MPNs. Conclusions: The frequency of the JAK2V617F mutation in our study is compatible with previous reports. JAK2V617F mutation screening can be incorporated in the initial evaluation of patients suspected of having MPNs. Detection of JAK2V617F is of diagnostic significance, and quantification of this mutation is also useful in monitoring patients as a residual disease marker.",
"th": "ภูมิหลัง: การกลายพันธุ์ของยีน JAK2V617F ได้รับการอธิบายว่าเป็นเหตุการณ์ทางพันธุกรรมที่เกิดขึ้นบ่อยในผู้ป่วยกลุ่ม Myeloproliferative neoplasms (MPNs) ได้แก่ Polycythemia Vera (PV), Essential Thrombocythemia (ET) และ Primary Myelofibrosis (PMF) ความถี่แตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่มประชากรแต่ยังไม่มีข้อมูลจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยวัตถุประสงค์: เพื่อรายงานความถี่ของการกลายพันธุ์ของยีน JAK2V617F และความสัมพันธ์กับผลทางห้องปฏิบัติการในผู้ป่วยภาคจากตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย วิธีการ: การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง ในผู้ป่วยทุกรายที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์เฉพาะทางสาขาโลหิตวิทยา และส่งทดสอบการกลายพันธุ์ของยีน JAK2V167F จากโรงพยาบาลศรีนครินทร์และโรงพยาบาลขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นศูนย์การแพทย์ระดับตติยภูมิในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย รวบรวมข้อมูลตั้งแต่มกราคม 2560 ถึงมกราคม 2564 ตัวอย่างเลือดและไขกระดูกจำนวน 418 ราย ถูกวิเคราะห์ด้วยเทคนิค real-time quantitative polymerase chain reaction (qRT-PCR). โดยใช้ชุดตรวจวิเคราะห์ Quantitative Allele Specific Amplification (QASA) JAK2 V617F ผล: ในผู้ป่วยจำนวน 418 ราย พบ 101 ราย (24.17%) มีผลบวกต่อการกลายพันธุ์ของยีน JAK2 V617F ในขณะที่ผู้ป่วย 317 ราย (75.87%) มีผลลบต่อการกลายพันธุ์ของยีน JAK2V617F กลุ่มผลบวกของการกลายพันธุ์ของยีน JAK2V617F เป็นผู้ป่วย PV 46 ราย (45.54%) ผู้ป่วย ET 39 ราย (38.61%) ผู้ป่วย PMF 11 ราย (10.90%) และผู้ป่วยผู้ป่วย MPN ที่ไม่จำแนกประเภท 5 ราย (4.95%)สรุป: ความถี่ของการกลายพันธุ์ยีน JAK2V617F ในการศึกษาครั้งนี้สอดคล้องกับรายงานก่อนหน้านี้ การตรวจคัดกรองการกลายพันธุ์ของยีน JAK2V617F สามารถใช้ในการประเมินเบื้องต้นและวินิจฉัยโรคในกลุ่ม Myeloproliferative neoplasms (MPNs) นอกจากนี้การหาปริมาณของการกลายพันธุ์นี้ยังมีประโยชน์ในการติดตามการรักษาผู้ป่วย"
} |
{
"en": "Background: Dengue Hemorrhagic Fever (DHF) is recognized as a significant causeof morbidity and mortality among children. Especially with the rapid change of clinical manifestation during the toxic stage, the patient’s clinical status can be worse and fatal if left untreated. Nurses play a vital role in evaluating the patient clinical status. Therefore, theuseof thePediatric Early Warning Systems screening (PEWS) complies withthe Clinical Nursing Practice GuidelineforPediatric Dengue HemorrhagicFever during CriticalPhasefor monitoringand assessing patient’s clinical manifestationsenablesnurses to prioritizethe diseaseseveritycontributed tostandard ofclinical judgement, monitoring, and timelinessof care which preventing potential serious consequences. Objective: This researchaimed toinvestigatetheeffect of using the Pediatric Early Warning Systems (PEWS) screening complying with Clinical Nursing Practice Guideline for Pediatric Dengue Hemorrhagic Fever during Critical Phase on nursing outcomes. Method: This research was quasi -experimental research. Samples were 40 pediatric patients diagnosed with dengue hemorrhagic fever aged between 6 and 15 years equally divided into experimental and control group. The data were analyzed usingchi-squared test and independent samplet-test. Result: Theexperimentalgroup demonstrated significantlyless disease severity than the control group (p<0.05). The mean length of stay between two group was not significantly different. In addition, the nurses’ satisfaction with the use of the Pediatric Early Warning Systems (PEWS) screening complies with Clinical Nursing Practice Guideline for Pediatric Dengue Hemorrhagic Fever during Critical Phase were at the highest level, with an average of 85.94% Conclusion: The PEWS tool enhance nurse capacity in monitoring and providing timeliness of clinical management contribute to decrease the disease severity as well as patient’s length of stay.",
"th": "ภูมิหลัง: โรคไข้เลือดออกนับเป็นสาเหตุที่สำคัญของการป่วยและการตายในเด็ก โดยเฉพาะระยะวิกฤต/ช็อก จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ถ้าไม่ได้รับการดูแลรักษาผู้ป่วยจะมีอาการเลวลงอาจเสยชีวีตได้ พยาบาลมบทบาทสำคัญในการประเมินอาการอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย ดังนั้นการนำแบบประเมิน การคัดกรองโดยใช้สัญญาณเตือนภาวะวิกฤต (PEWS) ร่วมกับการดูแลตามมาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยโรคเด็กไข้เลือดออกในระยะวิกฤต มาใช้ในการเฝ้าระวัง ติดตาม ประเมินอาการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยช่วยให้สามารถแบ่งระดับความรุนแรงนำไปสู่การตัดสินใจในการให้การดูแลรักษาพยาบาล และเฝ้าระวังติดตามอาการเปลี่ยนแปลงผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง เป็นมาตรฐานเดียวกัน ทำให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาอย่างทันท่วงที ป้องกันการเกิดภาวtแทรกซ้อนที่รุนแรง วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการใช้แบบประเมินการคัดกรองโดยใช้สัญญาณเตือนภาวะวิกฤตร่วมกับการดูแลตามมาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรคไข้เลือดออกต่อผลลัพธ์การปฏิบัติการพยาบาล วิธีการ: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (quasi-experimental research) กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยเด็กโรคไข้เลือดออก อายุตั้งแต่ 6-15 ปี โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 ราย สถิติทีใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ chi-squared test และ independent sample t-test ผล: ผู้ป่วยกลุ่มทดลองมีระดับความรุนแรงของโรคน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และผู้ป่วยกลุ่มทดลองมีจำนวนวันนอนในโรงพยาบาลเฉลี่ยน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างไม่มีนับสำคัญทางสถิติ (p>0.05) รวมถึงความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อการใช้แบบประเมินการคิดกรองโดยใช้สัญญาณเตือนภาวะวิกฤติร่วมกับการดูแลตามมาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรคไข้เลือดออกอยู่ในระดับมากที่สุดเฉลี่ยร้อยละ 85.94 สรุป: เครื่องมือ PEWS ช่วยในการเฝ้าระวัง และสามารถดักจับอาการของผู้ป่วยเด็กโรคไข้เลือดออกที่แย่ลงได้ อย่างรวดเร็ว และยังสามารถลดระดับความรุนแรงของโรคได้ รวมทั้งสามารถลดจำนวนวันนอนในโรงพยาบาลได้ "
} |
{
"en": "This article focuses on reviewing radiation contrast media knowledge and guidelines for treating allergic patients to contrast media, including emergency medicine and emergency equipment available in the diagnostic radiology unit. This guideline is useful for all care personnel to management in a timely, safe, efficient manner when a severe allergic reaction occurs.",
"th": "บทความนี้มุ่งเน้นทบทวนความรู้เกี่ยวกับสารทึบรังสี และแนวทางการปฏิบัติเมื่อผู้ป่วยเกิดภาวะแพ้สารทึบรังสี รวมถึงยาและอุปกรณ์ฉุกเฉินพื้นฐานที่มีในแผนกรังสีวินิจฉัย เพื่อให้บุคลากรทุกท่านที่มีส่วนร่วมในการดูแลผู้ที่ได้รับสารทึบรังสี ดูแลผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงที ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ เมื่อผู้ป่วยเกิดภาวะแพ้สารทึบรังสีระดับรุนแรง"
} |
{
"en": "Background: Open appendectomy was an emergency operation. ERAS (enhanced recovery after surgery) could decrease the length of stay (LOS) to less than 24 hours and decrease medical costs. If we studied the factor that affected the patients with open appendectomy discharge within 24 hours, we would have clinical practice guideline to decrease LOS. Objective: Studied factor affecting the success of patient with open appendectomy who had LOS less than 24 hours. Methods: A case-control study was conduct in the In Patient Department and collected data form medical record of Yasothon hospital between 1 October 2020 and 30 September 2021. Study factor affected success LOS less than 24 hours and analyzed by multiple logistic regression. Results: The factor affected to success were age Conclusion: The patients with open appendectomy who were less than 45 years old, suppurative appendicitis, oral NSIAD, admission time at 08:01-16:00 o’clock, duration of symptom onset no more than 24 hours and waiting time for surgery no more than 4 hours would have the length of stay (LOS) less than 24 hours.",
"th": "ภูมิหลัง: การผ่าตัดไส้ติ่งแบบแผลเปิดเป็นการผ่าตัดเร่งด่วนเมื่อประยุกต์นำกระบวนการ ERAS (enhanced recovery after surgery) มาใช้ทำให้ผู้ป่วยบางรายมีระยะเวลานอนโรงพยาบาลน้อยกว่า 24 ชั่วโมง ลดค่าใช้จ่ายในทางการแพทย์ ดังนั้นการศึกษาหาปัจจัยของผู้ป่วยที่นอนโรงพยาบาลน้อยกว่า 24 ชั่วโมง จะทำให้มีแนวทางในการดูแลผู้ป่วยเพื่อลดวันนอนโรงพยาบาล วัตถุประสงค์: เพื่อหาปัจจัยส่งเสริมให้ผู้ป่วยผ่าตัดไส้ติ่งแบบแผลเปิดมีวันนอนโรงพยาบาลน้อยกว่า 24 ชั่วโมง วิธีการ: ศึกษาแบบ case-control study เก็บข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยในโรงพยาบาลยโสธรตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2563 จนถึง 30 กันยายน 2564 วิเคราะห์หาปัจจัยที่ส่งเสริมให้ผู้ป่วยนอนโรงพยาบาลน้อยกว่า 24 ชั่วโมงโดยใช้สถิติ multiple logistic regression ผล: ปัจจัยที่มีผลได้แก่ อายุ"
} |
{
"en": "Background: Myofascial pain syndrome (MPS) in the upper trapezius muscle is a highly prevalent pain condition and affects the quality of life. Although there are treatments such as dry needling and ultrasound-guided interfascial hydrodissection to reduce pain, there is no study to compare the effectiveness of the two treatments. Objective: To compare the effectiveness of dry needling and ultrasound-guided interfascial hydrodissection on the upper trapezius muscle in myofascial pain syndrome. Method: Participants were randomized to receive dry needling or ultrasound-guided interfascial hydrodissection on the upper trapezius muscle in myofascial pain syndrome. Measurements were changed in the visual analog scale (VAS) scores and neck disability index (NDI). The assessmentwas performed at pre-treatment, post-treatment at week 0 and 4. Result: The demographic differences between the two groups are insignificant. The mean difference of both groups in VAS scores post-treatment at week 0 and week 4 declined statistically as compared to the pre-treatment value. The mean difference in VAS scores between groups is not statistically different at all time points. The mean difference in NDI scores between pre-treatment and post-treatment at week 4 is not statistically different. Conclusion: The effectiveness of dry needling in reducing the VAS and NDI scores is not statistically different from ultrasound-guided interfascial hydrodissection at the upper trapezius muscle in myofascial pain syndrome compared post-treatment at week 0 and week 4 to pre-treatment.",
"th": "ภูมิหลัง: กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อพังผืดที่กล้ามเนื้อทราพีเซียสส่วนบนมีความชุกมากและส่งผลต่อคุณภาพชีวิต แม้มีการรักษาเช่นการฝังเข็ม dry needling และการฉีดสารน้ำแยกบริเวณพังผืดโดยใช้อัลตราซาวน์นำทางเพื่อลดอาการปวดแต่ยังไม่มีการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลการรักษาทั้งสองวิธี วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลระหว่างการฝังเข็ม dry needling และการฉีดสารน้ำแยกบริเวณพังผืดโดยใช้อัลตราซาวน์นำทางที่กล้ามเนื้อทราพีเซียสส่วนบนในกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อพังผืด วิธีการ: อาสาสมัครได้รับการสุ่มการรักษาด้วยการฝังเข็ม dry needling หรือฉีดสารน้ำแยกบริเวณพังผืดโดยใช้อัลตราซาวน์นำทางที่กล้ามเนื้อทราพีเซียสส่วนบน วัดความเปลี่ยนแปลงของคะแนน visual analog scale (VAS) และ neck disability index (NDI) ประเมินผลก่อนรักษา หลังรักษาที่ 0 และ4 สัปดาห์ ผล: ข้อมูลพื้นฐานของอาสาสมัครทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนน VAS ของทั้งสองกลุ่มหลังการรักษาทันทีและหลังการรักษา 4 สัปดาห์เมื่อเทียบกับคะแนน VAS ก่อนการรักษาลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ค่าความแตกต่างของคะแนนค่าเฉลี่ย VAS ระหว่างกลุ่มเมื่อเปรียบเทียบระหว่างทุกช่วงเวลาไม่แตกต่างกัน ค่าความแตกต่างของคะแนนค่าเฉลี่ย NDI ระหว่างก่อนการรักษาและหลังการรักษา 4 สัปดาห์ระหว่างกลุ่มไม่แตกต่างกัน สรุป: การฝังเข็ม dry needling ลดคะแนน VAS และ NDI ไม่แตกต่างกันกับเมื่อเทียบด้วยการฉีดสารน้ำแยกบริเวณพังผืดโดยใช้อัลตราซาวน์นำพทางในกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อพังผืดที่กล้ามเนื้อทราพีเซียสส่วนบน หลังรักษาที่ 0 สัปดาห์ และ 4 สัปดาห์เทียบกับก่อนรักษา"
} |
{
"en": "Background: Asymptomatic and mild symptomatic patients with no risk of severe coronavirus disease (COVID-19) will be quarantine for 10 days as Thai guideline’s recommendation. If the quarantine period can be shortened from 10 to 7 days, we can save many resources. Objective: to assess the rate of SARS-CoV-2 (viral infectivity) in asymptomatic and mild symptomatic COVID-19 patients diagnosed on 7th day and 10th day after diagnosis. Method: This prospective descriptive study performed at the hospitel (Narai Hotel) under the supervision of Lerdsin Hospital from March to December 2021. 88 of subjects were recruited. Nasopharyngeal and throat secretion culture for SARS-CoV-2, subgenomic RNA and clotted blood for IgM and IgG using ELISA were collected. Results: We found 64.4% female, mean age 37.1 ± 12.3 years and BMI 23.1 ± 3.5 kg/m2. Asymptomatic and mild symptomatic subjects were 34.1% and 65.9% respectively. rRT-PCR on 7th day and 10th day showed “detected” result 82.9% (95% CI 75.1, 90.8) and 81.8% (95% CI 73.8, 89.9) respectively whereas, virus culture on 7th day were “not detected” 98.9% (95 CI 96.7, 100) and no virus was found on 10th day. Subgenomic RNA method showed alpha (B.1.1.7) 53.4%, delta 11.4%, and neither alpha nor delta strains 35.2%. Geometric mean titer (GMT) of anti-spike IgM on day 7 and day 10 were 2.42 (95%CI 1.77, 3.30) and 3.45 (95%CI 2.6, 4.6) respectively (p < .001) while anti-RBD IgG were 209.2 and 520.1, respectively (p < .0001). Moreover, IgM and IgG levels on 7th day, the seropositive rates were 79.6% and 77.3% while on 10th day, were 89.8% and 93.2% respectively. Conclusion: The infection on 7th days and 10th day from diagnostic date by RT-PCR showed a large number of infections, virus culture showed very rarely “detected” report on 7th day and “not detected” on 10th day after diagnosis.",
"th": "ภูมิหลัง: ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ไม่มีอาการ และมีอาการไม่รุนแรงและไม่มีปัจจัยเสี่ยงร่วมด้วยจะต้องได้รับการกักตัวเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 10 วัน หากสามารถลดระยะเวลาการกักตัวลงเหลือ 7 วันได้ จะเป็นการลดทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้ลงได้ วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินการแพร่เชื้อ SARS-CoV-2 (viral infectivity) ในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็น COVID-19 ที่ไม่มีอาการและมีอาการไม่รุนแรงในวันที่ 7 และ 10 นับจากวันที่ได้รับการวินิจฉัย วิธีการ: การศึกษาเชิงพรรณนาไปข้างหน้าโดยเก็บข้อมูลจากผู้ยืนยันการติดเชื้อ COVID-19 ด้วย rRT-PCR ที่เข้ารับการกักตัวที่หอผู้ป่วยเฉพาะกิจ (โรงแรมนารายณ์) ภายใต้การกำกับดูแลของโรงพยาบาลเลิดสินในระหว่างเดือนมีนาคม-ธันวาคม 2564 อาสาสมัครจำนวน 88 คนได้รับการเก็บสารคัดหลั่งในช่องจมูกและลำคอเพื่อตรวจ RT-PCR และ subgenomic RNA รวมถึงการเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อตรวจระดับภูมิต้านทานต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ผล: ผู้ติดเชื้อเป็นเพศหญิงร้อยละ 64.4 อายุเฉลี่ย 37.1 ± 12.3 ปี และดัชนีมวลกาย (BMI) เฉลี่ย 23.1 ± 3.5 กก./ม.2 เป็นกลุ่มไม่มีอาการ (asymptomatic) ร้อยละ 34.1 และมีอาการไม่รุนแรง (mild symptomatic) ร้อยละ 65.9 การตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อ SARS-CoV-2 ด้วยวิธี rRT-PCR พบเชื้อในวันที่ 7 และ 10 คิดเป็นร้อยละ 82.9 (95%CI 75.1, 90.8) และ 81.8 (95%CI 73.8, 89.9) ตามลำดับ เมื่อจำแนกตามสถานะอาการ พบว่ากลุ่มไม่มีอาการตรวจพบเชื้อในวันที่ 7 และ 10 คิดเป็นร้อยละ 76.7 และ 73.3 ตามลำดับ การตรวจพบเชื้อของกลุ่มมีอาการไม่รุนแรงในวันที่ 7 และ 10 ไม่เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ 86.2) การตรวจหาสายพันธุ์เชื้อไวรัส SAR-CoV-2 ด้วยวิธี subgenomic RNA พบว่าส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์ alpha (B.1.1.7) ร้อยละ 53.4 สายพันธุ์ delta ร้อยละ 11.4 และไม่ใช่ทั้งสายพันธุ์ alpha และ delta ร้อยละ 35.2 ระดับแอนติบอดีชนิด anti-spike IgM ของเชื้อ SARS-CoV-2 ในผู้ป่วยที่ไม่มีอาการและมีอาการไม่รุนแรงในวันที่ 7 และวันที่ 10 มีค่า geometric mean titer (GMT) 2.42 (95%CI 1.77, 3.30) และวันที่ 10 พบค่าไตเตอร์ 3.45 (95%CI 2.6, 4.6) ตามลำดับ (p < .001) ส่วน anti-RBD IgG ในวันที่ 7 และวันที่ 10 มีค่า geometric mean titer (GMT) 209.2 และ 520.1 ตามลำดับ (p < .0001) ระดับภูมิคุ้มกันชนิด IgM และ IgG ในวันที่ 7 มีอัตรา seropositive เท่ากับร้อยละ 79.6 และ 77.3 ตามลำดับ ขณะที่ในวันที่ 10 อัตรา seropositive เพิ่มมากขึ้น คิดเป็นร้อยละ 89.8 และ 93.2 ตามลำดับ สรุป: การตรวจพบเชื้อในวันที่ 7 และวันที่ 10 นับจากวันที่ได้รับการวินิจฉัยด้วยวิธี RT-PCR ให้ผลตรวจพบเชื้อ (detected) เป็นจำนวนมาก แต่ผลจากการเพาะเลี้ยงเชื้อ (virus culture) พบเชื้อ (detected) ได้น้อยมากในวันที่ 7 และไม่พบเชื้อเลยในวันที่ 10 ภายหลังได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อโควิด 19"
} |
{
"en": "Background: There are many people suffering from difficulty falling asleep. Though some recovers spontaneously, some repeats itself and there comes a time when perpetuating factors psychologically influence a progress to insomnia disorders. 80% of Insomnia disorders are comprised of Sleep Onset Latency insomnia. Objective: A brief survey to get an idea about the current situation of “difficulty falling asleep” in the society and to lay the foundation for further development / knowledge management in preventing insomnia disorder predisposed by “difficulty falling asleep”. Method: Data from 91 Thai adults obtained using an internet-based questionnaire survey were analyzed using descriptive statistics and Spearmen’s Rank Correlation to examine associations between data scores from sleep-onset symptom question groups and the global scores / each component scores on the Pittsburgh Sleep Quality Index (PSQI). Results: Two-third of the study participants have poor sleep quality. One-third of those with poor sleep quality have a problem with difficulty falling sleep. Difficulty falling asleep has a strong positive correlation with overall sleep quality, but weak to moderate correlation with other each PSQI components. Conclusion: Difficulty falling asleep is a common symptom. Gaining on insight into “difficulty falling asleep” is in real need.",
"th": "ภูมิหลัง: มีผู้ที่ประสบปัญหาภาวะหลับยากอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งแม้บางครั้งปัญหานี้จะหายไปได้เอง แต่ก็มีไม่น้อยที่ปัญหานี้เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก จนในที่สุดจะมี perpetuating factors เข้ามาเป็นกลไกทางจิตใจสำคัญที่ทำให้ภาวะหลับยากลุกลามไปสู่โรคนอนไม่หลับ มากกว่า 80% ของผู้เป็นโรคนอนไม่หลับมีภาวะหลับยากเป็นองค์ประกอบสำคัญ วัตถุประสงค์: เพื่อให้เห็นสถานการณ์จริงที่ภาวะหลับยากปรากฎอยู่ในสังคมและเป็นพื้นฐานสำหรับการพัฒนาและจัดการความรู้ให้เกิดเป็นองค์ความรู้เพื่อใช้ประโยชน์ในการป้องกันไม่ให้ภาวะหลับยากลุกลามไปสู่โรคนอนไม่หลับ วิธีการ: ข้อมูลจากผู้ตอบแบบประเมินจากการสำรวจบน internet จำนวน 91 ฉบับได้รับการวิเคราะห์โดยใช้สถิติพรรณนาอธิบายข้อมูลที่ได้และใช้ Spearmen’s Rank Correlation เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะหลับยากกับคุณภาพการหลับโดยรวมและองค์ประกอบย่อยต่างๆของ PSQI ผล: สองในสามของผู้ร่วมศึกษามีปัญหาคุณภาพการหลับ หนึ่งในสามของผู้ที่มีปัญหาคุณภาพการหลับมีภาวะหลับยากและภาวะหลับยากมีความสัมพันธ์กับคุณภาพการหลับโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเชิงบวกระดับสูง แต่มีความสัมพันธ์กับองค์ประกอบย่อยของ PSQI อื่นๆในระดับต่ำถึงปานกลาง สรุป: ภาวะหลับยากเป็นอาการซึ่งพบได้บ่อย การทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้กับภาวะหลับยากเป็นความจำเป็น"
} |
{
"en": "อาการผิดปกติหรือภาวะแทรกซ้อนภายหลังการป่วยเป็นโควิด-19 (Long COVID) เป็นอาการ ที่ผู้ป่วยโควิด-19 มักพบ ภายหลังจากรักษาหายแล้ว ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นอาจแตกต่างกันไปโดยอาจเป็นอาการ ที่เกิดขึ้นใหม่หรือเป็นอาการที่หลงเหลืออยู่หลังรักษาหาย ซึ่งสามารถเกิดได้ในทุกระบบของร่างกาย ตั้งแต่ระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบประสาท และระบบภูมิคุ้มกัน โดยจะมีอาการภายหลังได้รับเชื้อ 4 ถึง 12 สัปดาห์เนื่องจากระหว่างการติดเชื้อ ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาเพื่อไปจับกับเซลล์โปรตีนของบางอวัยวะ ทำให้เกิดการอักเสบในร่างกายเป็นผลให้อวัยวะนั้นๆ ได้รับความเสียหาย ข้อมูลจากการทบทวนอย่างเป็นระบบและการวิเคราะห์อภิมานของ Lopez-Leon และ คณะ (2021)1 พบว่าผู้ที่เคยป่วยเป็นโควิด-19 จำนวน 47,910 ราย ส่วนใหญ่มีอาการเหนื่อย/อ่อนเพลีย คิดเป็นร้อยละ 58 รองลงมาคือ ปวดศีรษะ ความจำ/สมาธิสั้น ผมร่วง และหายใจลำบากคิดเป็นร้อยละ 44, 27, 25 และ 24 ตามลำดับ โดยผู้ป่วยร้อยละ 80 จะมีอาการที่เกิดภายหลังจากป่วยเป็นโควิด-19 อย่างน้อย 1 อาการ และมีรายงานการศึกษาในต่างประเทศพบว่า 2 ผู้ป่วยโควิดจะมีอาการของ Long COVID ได้ถึง 7 เดือน โดยเฉพาะอาการ ทั้ง ระบบ (systemic) และอาการทางระบบประสาท (neurological) หรือการรับรู้ (cognitive) โดยอาการ ที่เกิดขึ้นมักจะไม่หายเป็นปกติ เหมือนก่อนที่จะป่วย",
"th": "อาการผิดปกติหรือภาวะแทรกซ้อนภายหลังการป่วยเป็นโควิด-19 (Long COVID) เป็นอาการ ที่ผู้ป่วยโควิด-19 มักพบ ภายหลังจากรักษาหายแล้ว ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นอาจแตกต่างกันไปโดยอาจเป็นอาการ ที่เกิดขึ้นใหม่หรือเป็นอาการที่หลงเหลืออยู่หลังรักษาหาย ซึ่งสามารถเกิดได้ในทุกระบบของร่างกาย ตั้งแต่ระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบประสาท และระบบภูมิคุ้มกัน โดยจะมีอาการภายหลังได้รับเชื้อ 4 ถึง 12 สัปดาห์เนื่องจากระหว่างการติดเชื้อ ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาเพื่อไปจับกับเซลล์โปรตีนของบางอวัยวะ ทำให้เกิดการอักเสบในร่างกายเป็นผลให้อวัยวะนั้นๆ ได้รับความเสียหาย ข้อมูลจากการทบทวนอย่างเป็นระบบและการวิเคราะห์อภิมานของ Lopez-Leon และ คณะ (2021)1 พบว่าผู้ที่เคยป่วยเป็นโควิด-19 จำนวน 47,910 ราย ส่วนใหญ่มีอาการเหนื่อย/อ่อนเพลีย คิดเป็นร้อยละ 58 รองลงมาคือ ปวดศีรษะ ความจำ/สมาธิสั้น ผมร่วง และหายใจลำบากคิดเป็นร้อยละ 44, 27, 25 และ 24 ตามลำดับ โดยผู้ป่วยร้อยละ 80 จะมีอาการที่เกิดภายหลังจากป่วยเป็นโควิด-19 อย่างน้อย 1 อาการ และมีรายงานการศึกษาในต่างประเทศพบว่า 2 ผู้ป่วยโควิดจะมีอาการของ Long COVID ได้ถึง 7 เดือน โดยเฉพาะอาการ ทั้ง ระบบ (systemic) และอาการทางระบบประสาท (neurological) หรือการรับรู้ (cognitive) โดยอาการ ที่เกิดขึ้นมักจะไม่หายเป็นปกติ เหมือนก่อนที่จะป่วย"
} |
{
"en": "Background: Persistent pulmonary arterial hypertension (PPAH) after transcatheter ASD closure (TCA) in patients with secundum atrial septal defect (ASDII) is associated with high morbidity and mortality. There were few reports of biomarkers as predictors of pulmonary arterial hypertension (PAH) after TCA.Objective: To determine whether plasma NT-proBNP level can predict PPAH in ASDII patients after TCA. Method: A prospective cohort study was conducted among ASDII patients who underwent TCA in Central Chest Institute of Thailand between January 2016 and June 2016. Demographic data, body mass index, underlying diseases and echocardiographic data were assessed. The outcome in this study was the proportion of PPAH after TCA for six months in those with normal and high NT-proBNP levels. The outcome between two groups were compared with unpaired t-tests. Receiver operator characteristic (ROC) curve were used to illustrate the capacity of NT-proBNP prognostic predictor of PPAH in ASDII patients after TCA. Result: A total of thirty patients were prospectively recruited. Of these, twenty patients had normal baseline NT-proBNP,and ten patients had high baseline NT-proBNP. The patients with high baseline NT-proBNP had more decreased NTproBNP than those with normal baseline NT-proBNP with statistical significance (p-value = 0.01). The proportion of patients with high baseline NT-proBNP had more PPAH than those with normal baseline NT-proBNP with statistical significance (p-value = 0.008). The ROC curve showed that baseline NT-proBNP ≥ 240 picograms/milliliter (pg/ml) had a sensitivity of 100%, a specificity of 88.5%, a positive predictive value of 57% and a negative predictive value of 100%). Conclusion: ASDII patients with high baseline NT-proBNP had significant PPAH after TCA compared with those with normal baseline NT-proBNP. Baseline NT-proBNP level ≥ 240 pg/ml may be used for predicting PPAH in these patients. The further larger studies will be needed for confirmation of these findings.",
"th": "ภูมิหลัง: การที่ความดันหลอดเลือดแดงในปอดยังคงสูงในผู้ป่วย secundum ASD (ASDII) ที่ได้รับการปิดผ่านทางสายสวนหัวใจ (TCA) แล้ว นำไปสู่การเจ็บป่วยและอัตราตายที่เพิ่มสูงขึ้น มีรายงานพบว่า biomarkers สามารถใช้ทำนายการมีความดันหลอดเลือดแดงในปอดสูงหลังปิด ASDII ได้ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาระดับค่า NT-proBNP ว่าสามารถนำมาใช้ในการทำนายความดันหลอดเลือดแดงในปอดสูงในผู้ป่วย ASDII ที่ได้รับการทำ TCA ได้หรือไม่ วิธีการ: เป็นการศึกษาวิจัยแบบติดตามไปข้างหน้าในผู้ป่วย ASDII ทุกรายที่ได้รับการทำ TCA ที่สถาบันโรค ทรวงอก ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงมิถุนายน พ.ศ.2559 โดยเก็บข้อมูลพื้นฐานทางคลินิก, ดัชนีมวลกาย, โรคประจำตัวและผลการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ ผลการศึกษานี้จะดูสัดส่วนผู้ป่วยที่มีความดันหลอดเลือดแดงในปอดสูงหลังการทำ TCA 6 เดือนเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่มีระดับ NT-proBNP พื้นฐานปกติและกลุ่มที่มีระดับ NT-proBNP พื้นฐานสูง โดยใช้ unpaired t-test Receiver operator characteristic (ROC) curve ได้รับการนำมาใช้เพื่อแสดงความสามารถในการทำนายความดันหลอดเลือดแดงในปอดสูงในผู้ป่วย ASDII หลัง TCA ผล: มีผู้เข้าร่วมการศึกษาติดตามไปข้างหน้าทั้งหมด 30 คน โดย 20 คนอยู่ในกลุ่มที่มีระดับ NT-proBNP พื้นฐานปกติ และ 10 คนอยู่ในกลุ่มที่มีระดับ NT-proBNP พื้นฐานสูง ผู้ป่วยในกลุ่มที่มีระดับ NT-proBNP พื้นฐานสูงมีระดับ NT-proBNP ลดลงมากกว่ากลุ่มที่มีระดับ NT-proBNP พื้นฐานปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.01) ผู้ป่วยที่มีระดับ NT-proBNP พื้นฐานสูง มีภาวะความดันหลอดเลือด แดงในปอดสูงมากกว่าในกลุ่ม ประชากรที่มีระดับ NT-proBNP พื้นฐานปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.008) ROC curve แสดงให้เห็นว่าระดับ proBNP พื้นฐาน ≥ 240 พิโคกรัมต่อมิลลิลิตร มีความไว 100%, ความจำเพาะ 88.5%, ค่าทำนายเมื่อผลเป็นบวก 57%, ค่าทำนายเมื่อผลเป็นลบ 100% สรุป: ผู้ป่วย ASDII ที่มีระดับ NT-proBNP พื้นฐานสูง มีภาวะความดันหลอดเลือดแดงในปอดสูงหลังการทำ TCA มากกว่ากลุ่มที่มีระดับ NT-proBNP พื้นฐานปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระดับ NT-proBNP พื้นฐาน ≥ 240 พิโคกรัมต่อมิลลิลิตร อาจนำมาใช้ทำนายการมีภาวะความดันหลอดเลือดแดงในปอดสูงหลังการทำ TCA ได้ การศึกษาขนาดใหญ่อาจจำเป็นเพื่อยืนยันผลการศึกษานี้ต่อไป"
} |
{
"en": "Background: The administrative principle of mutual intravenous injection indicated that the compatibility of each drug must be tested. It revealed that the drug combinations were infused in y-site connector, it might be incompatible and from sediment even in a brief time. In fact, physical compatibility and chemical compatibility depends on diverse factors. For example, fluid combination, acidity or basicity (pH) of drugs, combined drug concentration, and drug storage temperature. Therefore, every mutual intravenous injection with Y-site connector is necessary to test the drug compatibility to prevent sedimentation while administrating drugs to patients that might lead to death. Objective: Therefore, the researcher aimed to develop the chart of intravenous drug compatibility administrating through y-site connector for the care of critically ill children. The prominent points are verifiable, convenient and fast. Specifically, drug list and actual concentration. The purpose of this research was to maintain the maximum patient’s safety during intravenous injection via the y-site connector. Method: International research has compiled data on intravenous drug compatibility administrating through y-site connector. However, such data is unadaptable for Thailand's critically ill children as appropriate. Hence, it originated the list of drugs, drug types, product strengths and actual concentrations in the Queen Sirikit National Institutes of Child Health's Pediatric Intensive Care Unit (PICU). The ultimate objective was to form a verifiable, convenient and fast triangular ladder to retrieve and suitable for practical use in various wards.Result: When comparing intravenous drug compatibilities in the ladder form (new method) and traditional book (old method) to determine intravenous drug compatibility administrating through y-site connector from 21 samples, it was found that the average mean of the new method was significantly lower than the traditional method (p=0.002).Conclusion: The chart of intravenous drug compatibility administrating through y-site connector can be verifiable, convenient, and fast. It is suitable for Pediatric Intensive Care Unit.",
"th": "ภูมิหลัง: หลักการบริหารยาทางหลอดเลือดดำหลายชนิดพร้อมกันนั้น ก่อนให้ยาทุกครั้งต้องมีการตรวจสอบความเข้ากันได้ของยาแต่ละตัว พบว่ายาหลายชนิดเมื่อผสมรวมกันใน y-site แม้เพียงระยะเวลาสั้นๆก็อาจเข้ากันไม่ได้และเกิดเป็นตะกอนขึ้น ซึ่งโดยปกติแล้วความเข้ากันได้ทางกายภาพของยา (physical compatibility) และความเข้ากันได้ทางเคมี (chemical compatibility) ขึ้นกับปัจจัยหลายประการ เช่น ชนิดของสารน้ำที่ใช้ในการผสมยา สภาวะกรด-ด่าง (pH) ของยา ความเข้มข้นของยาหลังผสม อุณหภูมิในการเก็บรักษายา ดังนั้นทุกครั้งก่อนให้ยาร่วมกันทาง y-site จำเป็นต้องมีการตรวจสอบข้อมูลความเข้ากันได้ของยา เพื่อป้องกันปัญหาการตะกอนของยาขณะบริหารยาให้แก่ผู้ป่วยซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตวัตถุประสงค์: พัฒนาแผนผังความเข้ากันได้ของยาฉีดเมื่อบริหารยาผ่าน y-site สำหรับการดูแลผู้ป่วยเด็กวิกฤต จุดเด่นคือสามารถตรวจสอบข้อมูลได้ง่าย สะดวกและรวดเร็ว และที่สำคัญคือเป็นรายการยาและความเข้มข้นที่มีใช้อยู่จริง ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัยสูงสุดเมื่อจำเป็นต้องได้รับยาฉีดร่วมกันผ่าน y-site วิธีการ: ในต่างประเทศมีการรวบรวมข้อมูลความเข้ากันได้ของยาเมื่อให้ผ่าน y-site แต่อย่างไรก็ตามพบว่าข้อมูลเหล่านั้นไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยเด็กวิกฤตของประเทศไทยได้อย่างเหมาะสม ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มาของการรวบรวมรายการยา รูปแบบ ความแรงของผลิตภัณฑ์และความเข้มข้นที่มีใช้จริงในหอผู้ป่วยเด็กวิกฤตของสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (PICU) นำมาดัดแปลงให้อยู่ในรูปแบบบันไดสามเหลี่ยมที่สามารถตรวจสอบข้อมูลได้ง่าย สะดวกรวดเร็วในการสืบค้นข้อมูลและเหมาะสมกับการใช้งานจริงบนหอผู้ป่วย ผล: กลุ่มตัวอย่าง 21 ราย เมื่อใช้แผนผังความเข้ากันได้ของยาฉีดในรูปแบบขั้นบันได (วิธีใหม่) เทียบกับการเปิดหนังสือ (วิธีเดิม) เพื่อหาข้อมูลความเข้ากันได้ของยาฉีดเมื่อบริหารยาผ่าน y-site พบว่าค่าเฉลี่ยของระยะเวลาในการหาข้อมูลด้วยวิธีใหม่ลดลงกว่าวิธีเดิมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.002) สรุป: แผนผังความเข้ากันได้ของยาฉีดเมื่อบริหารยาผ่าน y-site สามารถช่วยตรวจสอบข้อมูลได้ง่าย สะดวกและรวดเร็ว เหมาะสำหรับใช้ในการดูแลผู้ป่วยบนหอผู้ป่วยเด็กวิกฤต"
} |
{
"en": "Background: Generic drugs have the same therapeutic effect as original drugs. Generic drug substitution aimed at increasing opportunity of patients access to drugs and reducing drug expenditure. At present, generic drugs of Atorvastatin manufactured by both originator company and generic company as original-brand and generic-brand. Confidence in efficacy and safety of generic-brand substitution has limitation by health-care workers perception.Objective: This study was to compare lipid lowering effects of generic Atorvastatin between generic-brand and originator-brand with non-inferiority testing and was to report adverse drug events.Methods: A retrospective cohort study was conducted, and data collected from medical records. All patients were taking originator-brand of generic Atorvastatin at least 3 months and then divided into two groups, changed to generic-brand and continue originator-brand. Low-density lipoprotein cholesterols (LDL-C) was followed at 6 months and 1 year. The percent reduction from baseline in LDL-C was evaluated by multivariable Gaussian regression analysis. Non-inferiority hypothesis was evaluated at -5.94 mg/dL (non-inferiority margin).Results: Among 365 patients divided to generic-brand group (n=248) and originator-brand group (n=117). The percent reduction from baseline in LDL-C of generic-brand and originator-brand was not significant, 1.60 mg/dL (95%CI: -4.92 to 8.13) at 6 months and 2.20 mg/dL (95%CI: -4.67 to 9.07) at 1 year. The 95% confidence interval was on the right side of non-inferiority margin, generic-brand was not inferior to originator-brand can be accepted. Adverse drug events needed to be confirmed because lack of report validity.Conclusion: Generic-brand substitution was accepted for efficacy. Adverse drug events should be monitored after generic drugs substitution.",
"th": "ภูมิหลัง: ยาสามัญมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยเช่นเดียวกับยาต้นแบบ การนำยาสามัญมาใช้ทดแทนยาต้นแบบเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงยาของผู้ป่วยและลดค่าใช้จ่ายด้านยา ปัจจุบันยาสามัญมีทั้งที่ผลิตโดยบริษัทยาต้นแบบและผลิตโดยบริษัทยาสามัญ อย่างไรก็ตามความเชื่อมั่นด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการนำยาสามัญที่ผลิตโดยบริษัทยาสามัญมาทดแทนยาสามัญที่ผลิตโดยบริษัทยาต้นแบบเป็นข้อจำกัดวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการลดระดับไขมันในเลือดด้วยยาสามัญอะโทรวาสแตตินที่ผลิตโดยบริษัทยาสามัญ (generic-brand) เปรียบเทียบกับยาสามัญที่ผลิตโดยบริษัทยาต้นแบบ (originator-brand) โดยทดสอบสมมติฐานความไม่ด้อยกว่า (non-inferiority test) และรายงานอาการไม่พึงประสงค์จากยา วิธีการ: ผู้ศึกษาทำการศึกษาย้อนหลังจากเวชระเบียนผู้ป่วยทุกรายที่ได้รับยาสามัญอะโทรวาสแตตินที่ผลิตโดย originator-brand อย่างน้อย 3 เดือน จากนั้นแบ่งกลุ่มศึกษาเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เปลี่ยนมาใช้ยาที่ผลิตโดย generic-Brand และกลุ่มที่ใช้ยาที่ผลิตโดย originator-brand เช่นเดิม ติดตามระดับไขมันในเลือดชนิดไลโพโปรตีนความเข้มข้นต่ำ (LDL) ในเดือนที่ 6 และเดือนที่ 12 ร้อยละการลดลงของระดับไขมันในเลือดชนิด LDL วิเคราะห์ด้วยสมการถดถอยเชิงเส้นแบบพหุตัวแปร (multivariable linear regression analysis) และทดสอบความไม่ด้อยกว่าประเมินที่จุด -5.94 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (mg/dL) เป็น non-inferiority margin ผล: ผู้ป่วยที่ศึกษาทั้งหมด 365 ราย แบ่งเป็นกลุ่มที่เปลี่ยนมาใช้ยาที่ผลิตโดย Generic-Brand 248 รายและกลุ่มที่ใช้ยาที่ผลิตโดย originator-brand เช่นเดิม 117 ราย ร้อยละการลดลงของระดับไขมันในเลือดชนิด LDL เฉลี่ยไม่แตกต่างกันในเดือนที่ 6 และเดือนที่ 12 (1.60 mg/dL ช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95 เท่ากับ -4.92 ถึง 8.13 และ 2.20 mg/dL ช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95 เท่ากับ -4.67 ถึง 9.07 ตามลำดับ) และเพื่อพิจารณาร่วมกับ non-inferiority Margin ยาสามัญอะโทรวาสแตตินที่ผลิตโดย generic-brand มีประสิทธิภาพในการลดระดับไขมันในเลือดชนิด LDL ไม่ด้อยกว่ายาสามัญที่ผลิตโดย originator-brand สำหรับอาการไม่พึงประสงค์จากยาไม่สามารถสรุปได้เนื่องจากขาดข้อมูลในการติดตาม สรุป: ยาสามัญอะโทรวาสแตตินที่ผลิตโดย generic-brand สามารถนำมาใช้ทดแทนยาสามัญที่ผลิตโดย originator-brand ได้ อย่างไรก็ตามเนื่องจากการศึกษานี้มีข้อจำกัดด้านการรายงานอาการไม่พึงประสงค์ ดังนั้นควรเฝ้าระวังการเกิดอาการไม่พึงประสงค์เมื่อเปลี่ยนมาใช้ยาสามัญด้วย"
} |
{
"en": "Background: Patient radiation doses resulting from X-ray examinations depend on both the X-ray imaging technology and the exposure parameter settings.Objective: This research aimed to determine the optimum x-ray parameters and to evaluate the entrance surface air kerma (ESAK) for patients undergoing chest x-ray examination using digital radiography (DR) system.Method: The determination of the optimum x-ray parameters, the x-ray images of a chest phantom were taken and the radiation output and image quality in terms of signal to noise ratio (SNR) and contrast to noise ratio (CNR) from different combinations of tube voltage (kVp) and tube current-time products (mAs) were evaluated with and without using radiographic grid. For the evaluatation of the patient’s ESAK, the optical stimulated luminescent (OSL) nanoDotÒ dosimeters were applied to the skin of 86 patients of standard size at the center of x-ray beam during the x-ray examination.Results: The results revealed that the optimum x-ray parameters, of which the high image quality at low dose is obtained, were 73 kVp, 200 mA, 0.032 second exposure time, 180 cm source to image receptor distance (SID) and exposed without using grid. The mean ESAK for the patients was 0.19 ± 0.011 mGy. The air kerma measured using OSL nanoDot and using ionization chamber type X2 R/F sensor were 0.10 ± 0.0022 mGy and 0.09 ± 0.0013 mGy respectively.Conclusion: The mean ESAK for the patients was significantly lower than that of the national dose reference level of 0.29 mGy. The air kerma measured using OSL nanoDot was significantly lower than that obtained from the ionization chamber type X2 R/F sensor (p ‹ 0.05). The patient’s ESAK should be assessed regularly by the radiological technologist in order to ensure that the patient's radiation dose is acceptable and the image quality is sufficient for physician's diagnosis.",
"th": "ภูมิหลัง: ปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับจะขึ้นกับเทคโนโลยีที่ใช้ในการถ่ายภาพและค่าพารามิเตอร์ที่ใช้ในการถ่ายภาพเอกซเรย์วัตถุประสงค์: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสมและประเมินค่าปริมาณรังสีที่ผิว (entrance surface air kerma; ESAK) สำหรับผู้ป่วยที่จะเข้ารับการถ่ายภาพเอกซเรย์โดยใช้ระบบดิจิตอล (digital radiography : DR) วิธีการ: การกำหนดค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสมกระทำโดยวิธีการถ่ายภาพเอกซเรย์ปอดของหุ่นจำลองร่างกายมนุษย์ (phantom) และพิจารณาปริมาณรังสีที่แผ่ออกมาและคุณภาพของภาพในแง่ของค่า signal to noise ratio (SNR) และค่า contrast to noise ratio (CNR) จากการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าความต่างศักย์และค่ากระแสหลอดคูณเวลา ซึ่งการประเมินจะทำการถ่ายภาพเอกซเรย์โดยใช้กริดและไม่ใช้กริด สำหรับการประเมินค่า ESAK กระทำโดยวิธีการติดอุปกรณ์วัดรังสีส่วนบุคคล OSL ชนิด nanoDot ที่ผิวผู้ป่วยบริเวณตรงกลางลำรังสีจำนวน 86 ราย ซึ่งมีรูปร่างมาตรฐานที่จะเข้ารับการถ่ายภาพเอกซเรย์ ผล: ค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสมที่ทำให้ภาพมีคุณภาพสูงในขณะที่ได้รับปริมาณรังสีที่ต่ำ คือ ค่าความต่างศักย์ 73 kVp ค่ากระแสหลอด 200 mA ค่าเวลา 0.032 sec. ระยะทางจากจุดกำเนิดรังสีถึงส่วนรับภาพ 180 เซนติเมตร และถ่ายภาพโดยไม่ใช้กริด ค่าเฉลี่ยของค่า ESAK สำหรับผู้ป่วย 0.19 ± 0.011 มิลลิเกรย์ ค่าปริมาณรังสีที่วัดในอากาศโดยใช้อุปกรณ์วัดรังสีส่วนบุคคล OSL ชนิด nanoDot และใช้ ionization chamber ชนิด X2 R/F sensor 0.10 ± 0.0022 มิลลิเกรย์ และ0.09 ± 0.0013 มิลลิเกรย์ ตามลำดับ สรุป: ค่าเฉลี่ยของค่า ESAK สำหรับผู้ป่วยมีค่าต่ำกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเทียบกับค่าปริมาณรังสีอ้างอิงระดับประเทศ (0.29 มิลลิเกรย์) ค่าปริมาณรังสีที่วัดในอากาศโดยใช้อุปกรณ์วัดรังสีส่วนบุคคล OSL ชนิด nanoDot มีค่าต่ำกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเทียบกับ ionization chamber ชนิด X2 R/F sensor (p ‹ 0.05) ผู้ปฏิบัติงานด้านรังสีควรมีการประเมินค่าปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้และคุณภาพของภาพถ่ายทางรังสีเพียงพอต่อการวินิจฉัยของแพทย์ "
} |
{
"en": "Background: Currently, laboratory information system (LIS) plays an important role in a process. It helps to obtain accuracy and complete information, also convenient and fast. In addition, the system reduces workload in medical laboratory.Objectives: To compare a length of time reporting the results obtained from a manual verification system (MV system) and autoverification system (AV system) in the clinical chemistry laboratory and to evaluate a autoverification (AV) passing rate. Methods: This research was analytical studies and data from control groups were collected from 1st July 2020 to 31st August 2020 using the MV system to reports the results. While, data collection of experimental groups were conducted between 1st September 2020 and 31st October 2020 using the AV system with a condition of automatic reporting for LIS within the experimental group. Independent t-test or Mann-Whitney U test were applied to analyze the reporting period results, whereas a percentage descriptive statistics was performed to evaluate the AV passing rate.Results: A total of 8,203 patients (63,701 test items) consisted of orders from MV system 4,272 patients (34,280 test items) and AV systems 3,931 patients (29,421 test items). It found that median of reporting times by the test orders obtained from the MV were statistically significant difference at p-value p-value <0.001, excluding LDH with p-value = 0.663. In term of reporting rate study using AV system, the AV passing rate of test orders was 41.90% and the rates of most test items were surplus 70%, except LDH and MG (with the rates of 68.42% and 61.29% respectively).Conclusions: A development of laboratory information system in clinical chemistry laboratory at Lopburi Cancer Hospital in order to improve the automatical reporting shortened reporting time and reduced workloads from laboratory staff decently. ",
"th": "ภูมิหลัง: ปัจจุบันระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทางห้องปฏิบัติการ (laboratory information system; LIS) มีบทบาทสำคัญในการดำเนินงาน เพื่อให้เกิดความถูกต้อง ครบถ้วนของข้อมูล มีความสะดวกและรวดเร็ว รวมถึงช่วยลดภาระงานทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบระยะเวลาในการรายงานผลตรวจทางห้องปฏิบัติการเคมีคลินิกโดยระบบเจ้าหน้าที่ (manual verification system; MV system) เทียบกับระบบอัตโนมัติ (autoverification system; AV system) และศึกษาอัตราการรายงานผลห้องปฏิบัติการเคมีคลินิกอัตโนมัติ (AV passing rate) วิธีการ: การศึกษาเชิงวิเคราะห์กลุ่มควบคุมเป็นคำสั่งตรวจที่รายงานผลด้วย MV system ในช่วงวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 - 31 สิงหาคม 2563 กลุ่มศึกษาเป็นคำสั่งตรวจที่รายงานผลด้วย AV system ในช่วงวันที่ 1 กันยายน 2563 - 31 ตุลาคม 2563 กำหนดเงื่อนไขของการรายงานผลโดยอัตโนมัติให้กับระบบ LIS ในกลุ่มศึกษา เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ระยะเวลาการรายงานผลของ MV system เทียบกับ AV system ด้วยสถิติอนุมาน independent t-test หรือ Mann-Whitney U test และศึกษา AV passing rate ด้วยสถิติพรรณนา ร้อยละ ผล: กลุ่มตัวอย่างเป็นคำสั่งตรวจรวมทั้งหมด 8,203 ราย (63,701 รายการทดสอบ) ประกอบด้วย MV system จำนวน 4,272 ราย (34,280 รายการทดสอบ) และ AV system จำนวน 3,931 ราย (29,421 รายการทดสอบ) พบว่า ระยะเวลาในการรายงานผลด้วย MV system เทียบกับ AV system มีค่ามัธยฐานของคำสั่งตรวจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value p-value p-value = 0.663) สำหรับการศึกษาอัตราการรายงานผลทางห้องปฏิบัติการเคมีคลินิกโดยอัตโนมัติมี AV passing rate ของคำสั่งตรวจ คิดเป็น 41.90% ส่วนรายการทดสอบส่วนใหญ่มีค่า AV passing rate >70% ยกเว้น LDH และ Mg มีค่า 68.42% และ 61.29% ตามลำดับ สรุป: การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทางห้องปฏิบัติการมาช่วยในการรายงานผลตรวจโดยอัตโนมัติของห้องปฏิบัติการเคมีคลินิก โรงพยาบาลมะเร็งลพบุรีนั้น สามารถช่วยลดระยะเวลารายงานผลและลดภาระงานของเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการเคมีคลินิกได้เป็นอย่างดี\n "
} |
{
"en": "Background: Health is one of the issues of the most concern in a super-aged society. In order to improve this population’s overall health, encouraging self-care and health literacy (HL) must be prioritized.Objective: This study aimed to identify the level of HL and factors that associated with HL level of Thai older adults.Method: This cross-sectional survey utilized an online questionnaire and collected response from 778 respondents from April 2020 to May 2020. The Thai Health Literacy Scale was applied as a measurement tool. One-way ANOVA and independent t-test were applied to explore associations between the HL and the personal factors. Result: Most respondents (52.83%) had moderate HL, and a significant proportion of older individuals (42.28%) had high HL. Five factors were significantly associated with HL, including education (p < 0.001), occupation (p < 0.001), financial status (p < 0.001), travel time to the nearest health facility (p = 0.001), and community engagement (p = 0.007). Contrastingly, age, gender, marital status, underlying health conditions, and living arrangement were not significantly associated with HL. Conclusion: Five factors were associated with HL namely, education, occupation, financial status, travel time to the nearest health facility and community engagement. Thus, health services for older adults and community activities should be encourage in order to improve HL. ",
"th": "ภูมิหลัง: สุขภาพเป็นหนึ่งในเรื่องที่น่ากังวลสำหรับสังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอดที่กำลังจะเกิดขึ้น ในการที่จะพัฒนาให้สุขภาพโดยรวมของกลุ่มประชากรนี้ดีขึ้น จำเป็นต้องส่งเสริมการดูแลสุขภาพของตนเองและให้ความสำคัญกับความรอบรู้ทางด้านสุขภาพวัตถุประสงค์: เพื่อประเมินระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุไทย และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุไทยวิธีการ: งานวิจัยนี้เป็นแบบภาคตัดขวาง ใช้แบบสำรวจออนไลน์ จากผู้เข้าร่วมจำนวน 778 คน ระหว่างเดือน เมษายน 2563 ถึง พฤษภาคม 2563 โดยได้นำแบบสำรวจความรอบรู้ด้านสุขภาพของไทย ที่พัฒนาโดย สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มาใช้เป็นเครื่องมือ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ สถิติ one-way ANOVA และ independent t-test ในการหาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับปัจจัยส่วนบุคคล ผล: ผู้สูงอายุร้อยละ 52.83 มีความรอบรู้ด้านสุขภาพในระดับปานกลาง และร้อยละ 42.28 มีความรอบรู้ด้านสุขภาพในระดับสูง 5 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับความรอบรู้ด้านสุขภาพ ประกอบด้วยการศึกษา (p < 0.001) อาชีพ (p < 0.001) สถานะทางเศรษฐกิจ (p < 0.001) ระยะเวลาในการเดินทางไปยังสถานบริการสุขภาพที่ใกล้ที่สุด (p = 0.001) และความถี่ของการเข้าร่วมกิจกรรมชุมชน (p = 0.007) ส่วนตัวแปร อายุ เพศ สถานภาพสมรส โรคประจำตัว และสมาชิกที่อาศัยอยู่บ้านเดียวกัน ไม่มีความสัมพันธ์กับระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพ สรุป: 5 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุไทย ได้แก่ การศึกษา อาชีพ สถานะทางเศรษฐกิจ ระยะเวลาในการเดินทางไปยังสถานบริการสุขภาพที่ใกล้ที่สุด และการเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชน ดังนั้นควรพิจารณาจัดบริการสุขภาพผู้สูงอายุให้ง่ายแก่การเข้าถึงสำหรับผู้สูงอายุ และเพิ่มกิจกรรมในชุมชน เพื่อเป็นมาตรการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ"
} |
{
"en": "Background: Biomaterials have been developed with the ability of fluoride release for caries prevention. A modified resin composite with surface pre-reacted glass ionomer (S-PRG) fillers would overcome disadvantages of glass-ionomer cement in term of mechanical properties while improve bio-functional characteristics of the resin of fluoride release like glass ionomer cement.Objective: This study aimed to evaluate the effectiveness of fluoride release and recharge from a modified resin composite with surface pre-reacted glass ionomer fillers.Methods: Thirty disc-shaped experimental specimens (8X2 mm in diameter, n=10/group) were prepared from 3 types of materials; resin composite (Filtek™), resin composite containing S-PRG filler (Beautifill II), and glass ionomer cement (Fuji II ® LC). All specimens were kept in dry condition at 37C๐ for 1 hours before soaking in 3 ml of deionized water for 12 hours. Then, all specimens were recharged with 1000 ppm NaF solution for 12 hours before rinsed and soaked in 3 ml of deionized water for a further 24 hours. Amount of fluoride was measured daily for an initial release over 7 days and repeated for 10 cycles of the recharge. The mean fluoride concentration per surface area (μg/cm2) was calculated and analyzed using repeated measure ANOVA at P<0.05, followed by Turkey’s HSD multiple comparison test.Result: Fluoride released from the resin composite containing S-PRG filler showed a significantly higher level of fluoride than that of resin composite but significantly lesser than conventional glass ionomer cement entire periods of initial release and after recharging with 1000 ppm NaF.Conclusion: A modified resin composite with S-PRG filler had capability of initial fluoride release and sustained release after recharge with fluoride regimen. Despite, lower level of fluoride release than conventional glass ionomer cement, it could act as a fluoride reservoir for prevention of caries in oral cavity.",
"th": "ภูมิหลัง: การพัฒนาวัสดุบูรณะฟันชนิดเรซินคอมโพสิตด้วยการเติมส่วนผสมของเซอร์เฟสพรีรีแอคติ้งกลาสไอโอโนเมอร์ฟิลเลอร์ลงไป มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาวัสดุเรซินคอมโพสิตให้มีคุณสมบัติทางชีวภาพที่ดีขึ้น สามารถปลดปล่อยฟลูออไรด์เพื่อป้องกันฟันผุ และปรับปรุงคุณสมบัติเชิงกลของกลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ให้มีความแข็งแรงเพิ่มขึ้น สามารถนำวัสดุมาใช้เพื่อบูรณะฟันบริเวณที่รับแรง เช่นฟันหลังได้วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินความสามารถของเรซินคอมโพสิตที่มีส่วนผสมของเซอร์เฟสพรีรีแอคติ้งกลาสไอโอโนเมอร์ฟิลเลอร์ ในการปลดปล่อย และการประจุไอออนฟลูออไรด์กลับใหม่ สำหรับการป้องกันฟันผุในช่องปากในระยะยาว วิธีการ: เตรียมชิ้นทดสอบทรงกลมจำนวน 30 ชิ้น จำนวนกลุ่มละ 10 ชิ้น ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 8 มิลลิเมตรสูง 2 มิลลิเมตร จากวัสดุบูรณะสีคล้ายฟัน 3 ชนิด ได้แก่ เรซินคอมโพสิต (Filtek™), เรซินคอมโพสิตที่มีส่วนผสมของเซอร์เฟสพรีรีแอคติ้งกลาสไอโอโนเมอร์ฟิลเลอร์ (Beautifill II) และ กลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ (Fuji II ® LC) นำชิ้นทดสอบที่ได้ไปเก็บในภาชนะบรรจุที่ปราศจากความชื้นที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ก่อนที่จะนำไปแช่ในน้ำปราศจากไอออนเป็นเวลา 12 ชั่วโมง จากนั้นนำชิ้นทดสอบทั้งหมดไปประจุไอออนฟลูออไรด์กลับใหม่ โดยการนำไปแช่ในสารละลายโซเดียมฟลูออไรด์ที่ความเข้มข้น 1000 ppm เป็นเวลา 12 ชั่วโมง นำชิ้นทดสอบไปล้าง และแช่ด้วยน้ำปราศจากไอออนต่อเนื่องอีก 24 ชั่วโมง สารละลายที่ได้นำไปวิเคราะห์ปริมาณการปลดปล่อยฟลูออไรด์ในระยะเริ่มแรกเป็นเวลา 7 วัน และหลังจากนำไปประจุไอออนฟลูออไรด์กลับใหม่ จำนวน 10 รอบ ค่าความเข้มข้นของฟลูออไรด์ (ไมโครกรัมต่อตารางเซนติเมตร) นำไปวิเคราะห์ทางสถิติด้วยการทดสอบความแปรปรวนแบบวัดซ้ำที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 (p<0.05) ผล: เรซินคอมโพสิตที่มีส่วนผสมของเซอร์เฟสพรีรีแอคติ้งกลาสไอโอโนเมอร์ฟิลเลอร์ สามารถปลดปล่อยฟลูออไรด์ได้ที่ระดับความเข้มข้นมากกว่าเรซินคอมโพสิต แต่น้อยกว่ากลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ตลอดระยะเวลาการศึกษา และมีรูปแบบการปลดปล่อยฟลูออไรด์ในลักษณะเดียวกับกลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์สรุป: เรซินคอมโพสิตที่มีส่วนผสมของเซอร์เฟสพรีรีแอคติ้งกลาสไอโอโนเมอร์ฟิลเลอร์ มีความสามารถในการปลดปล่อยฟลูออไรด์ และสามารถคงระดับการปลดปล่อยฟลูออไรด์ได้ต่อเนื่อง เมื่อทำการประจุไอออนฟลูออไรด์กลับใหม่ ถึงแม้ว่าระดับการปลดปล่อยฟลูออไรด์ของวัสดุชนิดนี้มีปริมาณน้อยกว่ากลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ แต่อาจเป็นแหล่งกักเก็บและปลดปล่อยฟลูออไรด์ในช่องปากเพื่อป้องกันฟันผุในระยะยาวได้"
} |
{
"en": "Background: The covid 19 outbreak affects the public health system. In the surgical department, the general surgery unit of Phranangklao Hospital, it was found that the number of patients who came to see a doctor with acute abdomen had decreased during the announcement of the emergency situation in April 2020. Therefore , it is the hypothesis that limiting social distances and outing activities during the emergency declaration can affect patients of acute abdomen.Objective: To compare the impact of the acute abdomen before the COVID-19 epidemic and during the outbreak with the assumption that the two periods had different effects.Method: This was a retrospective collection of medical records in patients with abdominal surgical emergencies during April 2019 and patients with abdominal surgical emergencies throughout April 2020 of the Phranangklao Hospital.Results: Surgical disease has a reduced number of cases during the covid epidemic period and has a p-value of 0.002. The treatment decision-making has reduced the number of patients but was not significant. The waiting time for surgery was increased during epidemic periods, while the waiting time for ERCP was reduced but not significantly. The length of stay in the diseases with surgical or non-surgical treatment increased while the length of stay in the condition requiring surgery and ERCP decreased during the outbreak, but not significantly.Conclusion: The COVID-19 outbreak by limiting social distance and limiting outing activities impact acute abdomen, with reduced numbers compared to before the outbreak. But this was not affecting the decision on the treatment method, waiting time for surgery or ERCP, and length of stay.\n ",
"th": "ภูมิหลัง:สถานการณ์โควิดส่งผลกระทบต่อการดูแลผู้ป่วยเชิงระบบสาธารณสุข ในส่วนแผนกศัลยกรรมหน่วยงานศัลยกรรมทั่วไปของโรงพยาบาลพระนั่งเกล้าพบว่าผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ด้วยภาวะฉุกเฉินช่องท้องทางศัลยกรรมมีจำนวนลดลงช่วงที่ได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเดือน เมษายน 2563 จึงยังไม่สามารถสรุปได้ว่าปริมาณผู้ป่วยที่น้อยลงนั้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเมษายนในปีที่ผ่านๆมามีความแตกต่างกันหรือไม่ จึงเป็นที่มาของสมมติฐานว่าการจำกัดระยะห่างทางสังคมและการจำกัดกิจกรรมการออกนอกบ้านของช่วงการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยภาวะฉุกเฉินช่องท้องทางศัลยกรรมได้วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบผลกระทบภาวะฉุกเฉินช่องท้องทางศัลยกรรมก่อนเกิดสถานการณ์ระบาดโรคโควิด-19 และในช่วงเกิดการระบาดโดยมีสมมติฐานว่าในระยะสองช่วงเวลามีผลกระทบแตกต่างกันวิธีการ: เป็นการเก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนในผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินช่องท้องทางศัลยกรรมในช่วงระยะเวลาตลอดเดือนเมษายน พ.ศ. 2562 และผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินช่องท้องทางศัลยกรรมตลอดเดือนเมษายน พ.ศ. 2563 ของโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า ผล: กลุ่มโรคทางศัลยกรรมมีจำนวนผู้ป่วยที่ลดลงเมื่ออยู่ในช่วงระบาดของโรคโควิดและมีค่า p-value เท่ากับ 0.002 การตัดสินใจวิธีการรักษามีจำนวนผู้ป่วยที่ลดลงแต่ไม่มีนัยสำคัญ ระยะเวลารอคอยผ่าตัดเพิ่มขึ้นในช่วงที่มีการระบาด ขณะที่ระยะเวลารอคอย ERCP ลดลงแต่ไม่มีนัยสำคัญ จำนวนวันนอนโรงพยาบาลนานขึ้นในโรคที่มีทางเลือกมากกว่าการผ่าตัด โรคที่จำเป็นต้องผ่าตัดและการทำ ERCP มีจำนวนวันนอนสั้นลงแต่ทั้งสามกลุ่มไม่แตกต่างจากก่อนการระบาดโควิดสรุป: การระบาดโรคโควิด-19 ที่มีการจำกัดกิจกรรมการออกนอกบ้านและระยะห่างทางสังคม ส่งผลกระทบต่อภาวะฉุกเฉินช่องท้องทางศัลยกรรมโดยมีจำนวนผู้ป่วยที่มารักษาลดลงเมื่อเทียบกับก่อนการระบาด แต่ไม่ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจวิธีการรักษา ระยะเวลารอคอยการผ่าตัดหรือทำหัตถการและจำนวนวันนอนที่โรงพยาบาล\n "
} |
{
"en": "Background:Patients with digoxin intoxication are difficult to diagnose because those have non-specific signs and symptoms and serum digoxin level does not correlate with clinical presentations. Until now, there has been lacking data about the clinical manifestations and therapeutic outcomes in these patients. Objective: To demonstrate the clinical presentations and outcomes in patients with digoxin intoxication. Method: This study was a retrospective observational study. The patients with digoxin intoxication were enrolled in Siriraj Hospital. The clinical characteristics and outcomes of these patients were analyzed with descriptive statistics. Result: A total of 30 patients were diagnosed as digoxin intoxication. About one-third of these patients were male. An average age was 70.33 ± 11.75 years. About one third of those had heart failure and one-fourth of those had atrial fibrillation (AF). An average digoxin dose was 0.19 ± 0.10 milligrams/day during toxicity, and an average digoxin level was 3.08 ± 1.56 nanograms/milliliter. Fatigue combined with gastrointestinal (GI) symptoms (40%) were the most common symptoms in patients with digoxin intoxication, while AF with complete heart block (CHB) was the common arrhythmias in those patients. Interestingly, the most common electrolyte disturbance in those was hyponatremia. Most patients improved after supportive treatment, and minority of those were needed with temporary pacemaker insertion (3.33%). Conclusion: The common clinical presentations of patients with digoxin intoxication were fatigue combined with GI symptoms, AF with CHB, and hyponatremia. Most patients improved after supportive treatment.",
"th": "ภูมิหลัง: ภาวะพิษจาก digoxin นั้นเป็นภาวะที่ได้รับการวินิจฉัยค่อนข้างยาก เนื่องจากมีอาการและอาการแสดงที่ไม่จำเพาะ และระดับ digoxin ในเลือดก็ไม่สัมพันธ์กับอาการทางคลินิกของผู้ป่วยที่มีภาวะพิษจาก digoxin ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลการศึกษาเกี่ยวกับลักษณะทางคลินิกและผลการรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอาการนำทางคลินิกและผลการรักษาในผู้ป่วยที่เกิดภาวะพิษจาก digoxin วิธีการ: การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบเก็บข้อมูลสังเกตการณ์ย้อนหลัง โดยเก็บข้อมูลผู้ป่วยที่เกิดภาวะพิษจาก digoxin ที่รักษาใน รพ.ศิริราช ลักษณะทางคลินิกและผลการรักษาของผู้ป่วยเหล่านี้ได้รับการวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาผล: ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะพิษจาก digoxin มีจำนวนทั้งหมด 30 คน ประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยเป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 70.33 ± 11.75 ปี ประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยมีหัวใจล้มเหลวและประมาณ 1 ใน 4 ของผู้ป่วยมีหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วขนาดยา digoxin ที่ได้รับเฉลี่ย 0.19 ± 0.10 มิลลิกรัมต่อวันในขณะเกิดภาวะพิษจาก digoxin และระดับยา digoxin ในเลือดเฉลี่ย 3.08 ± 1.56 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร อาการอ่อนเพลียร่วมกับอาการทางระบบทางเดินอาหาร (40%) พบมากที่สุดในขณะที่หัวใจห้องบนสั่นพลิ้วร่วมกับ complete heart block เป็นหัวใจเต้นผิดจังหวะที่พบบ่อยในผู้ป่วยกลุ่มนี้ สิ่งที่น่าสนใจคือความผิดปกติของเกลือแร่ในเลือดที่พบมากที่สุดคือ ภาวะเกลือ sodium ในเลือดต่ำ ผู้ป่วยส่วนมากที่ได้รับการรักษาแบบประคับประคองหลังจากหยุดยาแล้วอาการดีขึ้นและส่วนน้อยที่ได้รับการใส่ temporary pacemaker (3.33%) สรุป: อาการที่พบบ่อยในผู้ป่วยภาวะพิษจาก digoxin คืออาการอ่อนเพลียร่วมกับอาการทางระบบทางเดินอาหาร, หัวใจห้องบนสั่นพลิ้วร่วมกับ complete heart block และภาวะเกลือ sodium ในเลือดต่ำ ผู้ป่วยส่วนมากที่ได้รับการรักษาแบบประคับประคองหลังจากหยุดยาแล้วอาการดีขึ้น"
} |
{
"en": "Background: The end-of-life decisions are not solely made based on patient’s autonomy. This procedure creates challenges for Thai primary care physicians to discuss an advance care plan with patients and families.Objective: To understand the challenges for physicians in discussing advance care plan at the end of life. method: In-depth interviews were conducted with coding and thematic analysis performed by three independent investigators.Results: Twenty primary care physicians (10 male, 10 female) were interviewed.Nineteen physicians recognized the importance of an advance care plan as a \"life map\" “incorporation into ID card\" and \"early plan in advance”. Physicians faced 3 major challenges physician’s own factors, patients and families’ factors, and the health care system. General physicians reported a lack of knowledge in symptom palliation and misconception of palliative care is as inactive care. Family physicians had to set up a comprehensive palliative care system on their own and were confronted with the conspiracy of silence in the family. Lastly, the Thai health care system predominated with the disease-oriented model of care, patient overload, and difficult coordinating care with specialists. Despite having legal support for advance directives, it is still in early-stage with lack of family physicians.Conclusion: Thai primary physicians face three major challenges in advance care planning including physicians’ own factors, patients’ and families’ factors and the disease-oriented health care system.\n ",
"th": "ภูมิหลัง: การตัดสินใจในวาระสุดท้ายของชีวิต ไม่ได้เป็นเอกสิทธิ์ของผู้ป่วย ทำให้แพทย์ปฐมภูมิของไทยเผชิญความท้าทายในการวางแผนดูแลล่วงหน้ากับผู้ป่วยระยะประคับประคองและครอบครัวัตถุประสงค์: เพื่อเข้าใจความท้าทายของแพทย์ในการวางแผนดูแลล่วงหน้าในผู้ป่วยระยะประคับประคอง วิธีการ: วิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์บทสัมภาษณ์โดยผู้วิจัยหลัก และผู้วิจัยรอง 2 คน อย่างเป็นอิสระต่อกัน ผล: แพทย์ปฐมภูมิ 20 คน ชาย 10 คน หญิง 10 คน แพทย์ 19 จาก 20 คน ตระหนักถึงความสำคัญของการวางแผนดูแลล่วงหน้า เป็น “แผนที่ชีวิต” “ควรคู่บัตรประชาชน” “คุยไว้ก่อนแม้ยังไม่เกิด” แพทย์ต้องเผชิญความท้าทาย 3 มิติ คือ “แพทย์” “ผู้ป่วยระยะท้ายและครอบครัว” “ระบบบริการสุขภาพ” แพทย์ทั่วไปขาดความรู้ในการจัดการอาการ เข้าใจผิดว่าการดูแลแบบประคับประคองไม่ใช่การช่วยเหลือผู้ป่วย แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ต้องสร้างระบบการดูแลผู้ป่วยด้วยตนเอง เผชิญกับญาติที่ให้ปกปิดผลวินิจฉัยกับผู้ป่วย ระบบบริการสุขภาพของไทยยังมุ่งเน้นรักษาเฉพาะโรค ปริมาณผู้ป่วยเยอะ ความยากต่อการประสานกับแพทย์เฉพาะทาง ทั้งที่มีกฎหมายรองรับการวางแผนดูแลล่วงหน้า แต่ระบบยังใหม่ และแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวมีจำนวนน้อย สรุป: แพทย์ไทยต้องเผชิญกับการวางแผนดูแลล่วงหน้า ตั้งแต่ความท้าทายในตนเอง ความท้าทายของผู้ป่วยระยะท้ายและครอบครัว และระบบบริการสุขภาพที่มุ่งเน้นเฉพาะการรักษาโรค"
} |
{
"en": "Background: Inborn error of metabolism, from newborn screening with Tandem mass spectrometry, is a group of diseases due to abnormal metabolism of amino acids and fatty acids. These are autosomal recessive genetic disorders which are rare diseases. The incidence of these disorders in the worldwide ranges from 1 in 3,000 - 10,000.Objective: To determine the incidence of inborn error of metabolism from newborn screening with Tandem mass spectrometry in Thai population.Methods: A retrospective study by reviewing data from newborn screening at the laboratory in Queen Sirikit National Institute of Child Health in the year 2020 were done. Results: The total number of children who had the newborn screening done during ten months was 15,421. There were two children with the abnormal test. After confirmation tests, one child was diagnosed with primary carnitine deficiency, and the other child was diagnosed with maternal 3-methylcrotonyl-coenzyme A carboxylase deficiency. The incidence of inborn error of metabolism from this study was 1:15,421.Conclusion: The incidence of inborn error of metabolism from this study is lower than other studies. Further study in larger population is needed to determine the accurate incidence of Thai population.",
"th": "ภูมิหลัง: โรคพันธุกรรมเมตาบอลิก ที่ตรวจคัดกรองได้ด้วยเครื่องแมสสเปคโตรเมทรี เป็นกลุ่มโรคของความผิดปกติในการย่อยสลายกรดอะมิโน และ กรดไขมัน โรคกลุ่มนี้เป็นโรคพันธุกรรม ส่วนใหญ่ถ่ายทอดแบบ ยีนด้อย เป็นโรคหายาก มีอุบัติการณ์การเกิดโรคทั่วโลก ประมาณ 1 ต่อ 3,000 - 10,000 ของทารกแรกเกิดวัตถุประสงค์: ศึกษาอุบัติการณ์ของโรคพันธุกรรมเมตาบอลิก ที่ตรวจคัดกรองได้ด้วยเครื่องแมสสเปคโตรเมทรี ในประชากรไทย วิธีการ: รวบรวมข้อมูลย้อนหลังของการตรวจคัดกรองทารกแรกเกิดในระยะเวลา 10 เดือน ปี 2563 จากห้องปฎิบัติการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ผล: จากการตรวจคัดกรองเด็ก จำนวน 15,421 คน พบเด็ก 2 รายมีผลการตรวจผิดปกติ จากการตรวจยืนยันและวินิจฉัยโรค พบเด็ก 1 รายเป็นโรค primary carnitine deficiency และ อีกเด็ก 1 รายที่ผลผิดปกติ ผลการตรวจเด็กปกติ แต่มารดาเป็นโรค 3-methylcrotonyl-coenzyme A carboxylase deficiency อุบัติการณ์ของโรคพันธุกรรมเมตาบอลิกกรดอะมิโน และ กรดไขมัน เท่ากับ 1:15,421 สรุป: อุบัติการณ์ของโรคพันธุกรรมเมตาบอลิกกรดอะมิโน และ กรดไขมัน จากข้อมูลเบื้องต้นของ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ต่ำกว่างานวิจัยอื่น ควรทำการศึกษาในจำนวนประชากรที่มากขึ้นเพื่อให้ได้ข้อมูลเป็นตัวแทนของประชากรชาวไทย"
} |
{
"en": "A recent report from Holmessuggested that the optimal screening age should be around five years old. The preschool vision screening is essential and should be included in the vision screeningprogram in Thailand. The objective of this study was to assess the agreement of the interpretation of preschool visual acuity among doctor screeners and a teacher screener. Methods: The study was performed between August and October 2011. Preschool children aged between 36 and 72 months old from 3 Child Care Centres (CCC) were enrolled. All participants were tested for visual acuity (VA) by a combination of the following screeners: a third-year resident, a teacher from one of the CCCs who has been trained in VA measurement, and two ophthalmologists each with over 10 years’ experience. The VA measurement was carried out in pairs as follows: an ophthalmologist with the resi-dent, an ophthalmologist with the teacher and the resident with the teacher. Results: Two hundred and sixty-four eyes (132 patients) met the criteria. The mean age of the preschool children was 43.71±4.54 months (range, 51-36months). The agreement rates among the three pairs that carried out VA screening were excellent (k=0.81), moderate (k=0.63) and good (k=0.75) respectively. Conclusion: A teacher trained in VA measurement reliably measured VA in preschool children when compared to ophthalmologists.",
"th": "ภูมิหลัง: รายงานล่าสุดพบว่าการคัดกรองภาวะสายตาในเด็กควรเริ่มในช่วงอายุประมาณ 5 ปี การตรวจคัดกรองในเด็กก่อนวัยเรียนจึงมีความจำเป็น และควรรวมอยู่ในโครงการการคัดกรองสายตาเด็กของประเทศไทยวัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบการแปลผลการวัดค่าสายตาในเด็กก่อนวัยเรียนระหว่างผู้คัดกรองที่เป็นแพทย์และครูวิธีการ: ทำการศึกษาในช่วงสิงหาคมถึงตุลาคม 2554 คัดเลือกเด็กช่วงอายุ 36 ถึง 72 เดือน จากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลจำนวน 3 แห่ง ทำการศึกษาค่าสายตาโดยกลุ่มผู้ตรวจคือแพทย์ประจำบ้านจักษุปีที่ 3 ครูผู้ดูแลเด็กเล็กที่ผ่านการอบรมการวัดสายตาแล้ว และจักษุแพทย์ที่มีประสบการณ์การทำงานมากกว่า 10 ปีจำนวน 2 คน ตรวจวัดสายตาเด็กเล็กโดยจับคู่ดังต่อไปนี้ จักษุแพทย์กับแพทย์ประจำบ้าน จักษุแพทย์กับครู และแพทย์ประจำบ้านกับครูผล: ศึกษาในทั้งหมด 264 ตา (132 คน) ที่ผ่านเกณฑ์ อายุเฉลี่ยเด็กเท่ากับ 43.71±4.54 เดือน (ช่วง, 36-51 เดือน) อัตราการแปลผลการวัดค่าสายตาที่ตรงกันของทั้ง 3 กลุ่มเท่ากับ 98.1%, 94.7% และ 94.3% ตามลำดับสรุป: ครูที่ได้รับการฝึกวัดสายตาสามารถวัดสายตาในเด็กได้อย่างน่าเชื่อถือเมื่อเทียบกับจักษุแพทย์"
} |
{
"en": "Background:Polyphenols are essential compounds for anti-inflammation commonly found in green tea (Camellia sinensis). They influence the inflammatory process by controlling and inhibiting pro-inflammatory cytokines such as cyclooxygenase-2 (COX-2) which is a prominent substance in dental diseases namely periodontal inflammation and oral cancer. However, their quantitative levels of polyphenols depend on geographical locations.Objectives: The aim of this research is to determine the polyphenol levels, important compounds for Cyclooxygenase-2 (COX-2) inhibition, of green tea extracted from various geographical locations in Thailand.Method: 70% Ethanol extraction samplings of green tea products were done in groups representing each province in Thailand. The chemotype levels of polyphenols was determined by total polyphenols (Folin-Ciocalteu method) and total flavonoid. Catechin-specific epigallocatechin gallate (EGCG) level was then measured by high-performance liquid chromatography (HPLC). Result: Total polyphenols, total flavonoids, and EGCG content in green tea from each province in Thailand are significantly different (p<0.05). The highest amount of polyphenols and flavonoids is Chiang Rai tea. The highest amount of EGCG is Chiang Mai tea. Anti-inflammatory test results resembled as IC50 are ranked in descending order from Chiang Rai, Assam, Narathiwat and Chiang Mai green tea which corresponding to the amount of important substances in green tea, but there is no statistically significant difference (p< 0.05).Conclusion: Chemotype levels of polyphenols in green tea vary in different cultivation areas ranked in descending order from Chiang Rai province (Assum tea), Narathiwat province and Chiang Mai Province. The chemotype levels of polyphenols exhibiting preliminary anti-inflammatory properties correlate directly to the concentration of tea. Accordingly, it is shown that green tea grown in Thailand statistically significantly exhibits anti-inflammatory properties.",
"th": "ภูมิหลัง: สารสำคัญ polyphenols เป็นสารสำคัญที่พบได้ในชาเขียว ซึ่งมีผลในการต้านการอักเสบโดยการลดสารตั้งต้นการอักเสบของร่างกาย เช่น เอนไซม์ Cyclooxygenase-2 (COX-2) ซึ่งทำให้เกิดการอักเสบ และพบได้ในโรคที่เกี่ยวกับช่องปาก เช่น โรคปริทันต์ และ โรคมะเร็งช่องปาก โดยสภาพภูมิอากาศที่หลากหลายและแตกต่างกัน ส่งผลให้สารสำคัญโพลีฟีนอลและแร่ธาตุแตกต่างกันวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปริมาณสารสำคัญ polyphenols ในสารสกัดชาเขียวตามแต่ละพื้นที่ในประเทศไทยและ เปรียบเทียบฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ Cyclooxygenase-2 (COX-2) ของสารสำคัญ polyphenols ในสารสกัดชาเขียวตามแต่ละพื้นที่ในประเทศไทยวิธีการ: ทำการสุ่มตัวอย่างผลิตภัณฑ์ชาเขียวเพื่อเป็นตัวแทนแต่ละจังหวัดในประเทศไทย สกัดด้วยตัวทำละลาย 70% ethanol นำมาวิเคราะห์หาปริมาณ สารสำคัญ polyphenols ได้แก่ total phenolic compounds, total flavonoid compounds และหาปริมาณสารออกฤทธิ์สำคัญคาเทชินในรูปของสารอีพิกัลโลคาเทชินกัลเลต (epigallocatechin gallate; EGCG) ด้วยเครื่องโครมาโทกราฟีชนิดของเหลวแบบสมรรถนะสูง (high performance liquid chromatography; HPLC) ) เปรียบเทียบฤทธิ์ต้านการอักเสบเบื้องต้นของการยับยั้งเอนไซม์ COX-2 ด้วย Cayman COX-2 (human) Inhibitor Screening Assay Kit ผล: จากการศึกษาพบว่าชาเขียวจากแต่ละพื้นที่ในประเทศไทยมีปริมาณสารสำคัญที่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p <0.05) โดยพบ ชาเขียวจังหวัดเชียงราย พันธุ์อัสสัม มีปริมาณสารโพลีฟีนอลและฟลาโวนอยด์สูงที่สุด ปริมาณสารโพลีฟีนอลรองลงมาคือ ชาเขียวจังหวัดนราธิวาส พันธุ์อัสสัม, ปริมาณ EGCG พบว่า ชาเขียวจังหวัดเชียงใหม่ พันธุ์จีน พบปริมาณ EGCG สูงสุด โดยพบว่ามีความแตกต่างกันไปอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p <0.05) ค่าการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ COX-2 หรือ Inhibitory Concentration (IC50) พบว่า ชาเขียวจังหวัดเชียงราย พันธุ์อัสสัม มีค่า IC50 น้อยที่สุด แสดงถึงความสามารถในการยับยั้งเอนไซม์ได้มากที่สุด ตามด้วย ชาเขียวจังหวัดนราธิวาส พันธุ์อัสสัม และ ชาเขียวจังหวัดเชียงใหม่ พันธุ์จีน ซึ่งสอดคล้องกับปริมาณสารโฟลีฟีนอลและฟลาโวนอยด์ในชาเขียว ทั้งนี้ ค่า IC50 ดังกล่าวไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p ≥ 0.05) สรุป: ปริมาณสารสำคัญโพลีฟีนอลในแต่ละแหล่งปลูกชาเขียว มีระดับที่แตกต่างกันออกไป โดยสารสำคัญ polyphenols แสดงฤทธิ์ต้านการอักเสบเบื้องต้นสัมพันธ์กับแหล่งปลูกดังนี้ ชาเขียวจังหวัดเชียงราย พันธุ์อัสสัม ชาเขียวจังหวัดนราธิวาส พันธุ์อัสสัม และชาเขียวจังหวัดเชียงใหม่ พันธุ์จีนที่มีปริมาณสารสำคัญโพลีฟีนอลสูง จะมีค่าการยับยั้งการอักเสบเพิ่มมากขึ้นตามความเข้มข้นของชา แสดงให้เห็นว่าชาเขียวในประเทศไทยแสดงฤทธิ์ต้านการอักเสบได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.05)"
} |
{
"en": "Background:Previously, children with attention deficit hyperactivity disorder (ADHD) at Bangchak Hospital would have to be transferred to a child psychiatrist to be diagnosed and treated. Because of the long appointment waiting times, Bangchak Hospital increased the opportunity by ensuring a pediatrician was available locally to diagnose and treat them.Objective: To study impulsive behavior and learning achievements of children with ADHD after the treatment following Bangchak Hospital ADHD guidelines. Method: This was a retrospective study using descriptive statistics. SNAP-IV questionnaire was applied to study the behavior and parent questionnaire or exam scores was used to study the learning achievements after the treatment of 103 children, aged 6-12, with ADHD who visited Bangchak Hospital from 1 January 2019 to 31 December 2020. They were diagnosed by the pediatrician and treated with methylphenidate (Ritalin) and received the behavioral therapy. Result: After the treatment, their learning achievement increased with a statistical significance (p < 0.001) or 48.5% obtained a better grade. Regarding their behavior evaluation by their parents and teachers, ADHD symptoms decreased with a statistical significance. According to the paired t-test (p<0.001) evaluated by the parents, trouble paying attention behavior decreased to 6.9 on average (95%CI 6.1, 7.7), impulsiveness decreased 6.3 (95%CI 5.3, 7.3), stubbornness and resistance decreased to 3.9 (95%CI 3.0, 4.8). The result evaluated by the teachers was: trouble paying attention behavior decreased to 6.8 on average (95%CI 6.0, 7.7), impulsiveness decreased to 6.6 (95%CI 5.7, 7.5), stubbornness and resistance decreased to 4.2 (95%CI 3.4, 5)Conclusion: The treatment of children with ADHD by pediatrician in Bangchak Hospital using medicines and behavioral treatment can improve learning achievements and behaviors with statistical significance",
"th": "ภูมิหลัง : โรคสมาธิสั้นในโรงพยาบาลบางจากเดิมต้องส่งต่อไปให้จิตแพทย์เด็ก วินิจฉัยและรักษา มีระยะรอคอยนัดเป็นเวลานาน โรงพยาบาลบางจาก จึงเพิ่มการเข้าถึงบริการโดยให้กุมารแพทย์เป็นผู้วินิจฉัยและรักษาเด็กสมาธิสั้นในโรงพยาบาลชุมชน วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลด้านพฤติกรรมซนไม่นิ่ง และผลการเรียนของเด็กสมาธิสั้นหลังได้รับการรักษาตามแนวทางการดูแลเด็กสมาธิสั้นในโรงพยาบาลบางจาก วิธีการ: เป็นการศึกษาข้อมูลย้อนหลัง (retrospective study) โดยใช้สถิติเชิงพรรณา (descriptive statistic) ศึกษาผลด้านพฤติกรรมโดยใช้แบบประเมิน SNAP-IV และด้านผลการเรียน ประเมินจากแบบสอบถามผู้ปกครองหรือใช้ผลคะแนนสอบ ก่อนและหลังรับการรักษาโรคสมาธิสั้น ในเด็กอายุ 6 - 12 ปี ที่เข้ารับบริการในโรงพยาบาลบางจาก ตั้งแต่วันที่ 1 เดือนมกราคม พ.ศ.2562 ถึงวันที่ 31 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 ทั้งหมด 103 คน ได้รับการวินิจฉัยโดยกุมารแพทย์ให้การรักษาทางยาร่วมกับพฤติกรรมบำบัดผล: หลังการรักษาผลการเรียนดีขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) มีเกรดดีขึ้นร้อยละ 48.5 ด้านพฤติกรรมที่ประเมินโดยผู้ปกครองและคุณครู อาการของโรคสมาธิสั้น ลดลงทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) ผู้ปกครองประเมินคะแนนด้านขาดสมาธิ ลดลงเฉลี่ย 6.9 คะแนน (95%CI 6.1, 7.7) ด้านซนไม่นิ่ง ลดลงเฉลี่ย 6.3 คะแนน (95%CI 5.3, 7.3) และด้านดื้อต่อต้าน ลดลงเฉลี่ย 3.9 คะแนน (95%CI 3.0, 4.8) ประเมินโดยคุณครู ด้านการขาดสมาธิ ลดลงเฉลี่ย 6.8 คะแนน (95% CI 6.0, 7.7) ด้านซนไม่นิ่ง ลดลงเฉลี่ย 6.6 คะแนน (95% CI 5.7, 7.5) และผลด้านดื้อต่อต้าน ลดลงเฉลี่ย 4.2 คะแนน (95%CI 3.4, 5) สรุป: การรักษาผู้ป่วยเด็กโรคสมาธิสั้นโดยกุมารแพทย์ที่โรงพยาบาลบางจาก ให้การรักษาด้วยยาและการปรับพฤติกรรม ทำให้ผลการเรียนและพฤติกรรมดีขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ"
} |
{
"en": "Background: From the record between 2017–2019, head and neck cancers were considered to be the most common cancer in male patients at Lopburi Cancer Hospital. Radiotherapy has been very effective in treatment of these head and neck cancer patients. However, the most common acute side effect in treatment head and neck cancer patients with radiotherapy is oral mucositis. Normal saline solution has been used in order to relieve this symptom. Anyway, there are still high incidence of more than 90% of patients who experience this symptom despite using normal saline solution.There are many studies that try to find the solution in treatment of this oral mucositis condition. One study used dexamethasone plus normal saline solution in breast cancer patients who received chemotherapy. The results showed that this combined solutions decreased rate of oral mucositis about 45.8%. Objective: To compare the rate of radiation induced oral mucositis between using normal saline solution versus dexamethasone plus normal saline solution in head and neck cancer patients who receive radiotherapy Methods: There were 44 patients in this study which were divided into 2 groups equally, the control group and the study group. Control group received normal saline solution and study group received dexamethasone plus normal saline solution. Our tools in this study included general data form and oral mucositis grading form. Fisher’s exact test was us for data analysis. Result: No statistically significant different in rate of radiation induced oral mucositis between two study groups (p-value =1.000) Conclusion: Dexamethasone plus normal saline solution in head and neck cancer patients who receive radiotherapy as primary treatment did not decrease the rate of radiation induced oral mucositis when compared with normal saline solution alone.",
"th": "ภูมิหลัง: สถิติในปีพ.ศ. 2560-2562 ของโรงพยาบาลมะเร็งลพบุรีพบมะเร็งศีรษะและคอเป็นอันดับ 1 ในเพศชาย การฉายรังสีเป็นการรักษาที่ให้ผลดีในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอ ภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบเป็นผลข้างเคียงระยะเฉียบพลันที่พบบ่อยที่สุดผู้ป่วยได้รับการฉายรังสี วิธีการจัดการกับภาวะดังกล่าวคือการใช้น้ำเกลือบ้วนปาก แต่ยังพบอุบัติการณ์การเกิดภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบมากกว่าร้อยละ 90 มีการศึกษาจำนวนมาก ที่ใช้ผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกันในการลดผลข้างเคียงนี้ งานวิจัยที่น่าสนใจคือการใช้ยากลุ่มเดกซ่าเมททาโซนร่วมกับน้ำเกลือบ้วนปากในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัด พบว่าการเกิดภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบลดลงร้อยละ 45.8 วัตถุประสงค์: เปรียบเทียบภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบ ระหว่างการใช้น้ำเกลือบ้วนปากและการใช้ยากลุ่มเดกซ่าเมททาโซนร่วมกับน้ำเกลือบ้วนปากในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับการฉายรังสี วิธีการ: กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับการฉายรังสี ณโรงพยาบาลมะเร็งลพบุรีกลุ่มละ 22 คน กลุ่มควบคุมใช้น้ำเกลือบ้วนปาก และกลุ่มทดลองใช้ยากลุ่มเดกซ่าเมททาโซนร่วมกับน้ำเกลือบ้วนปาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบแบ่งตามระดับความรุนแรงของโรคและ วิเคราะห์เปรียบเทียบการเกิดภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบระหว่างสองกลุ่มด้วยสถิติ Fisher’s exact test ผล: พบการเกิดภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบระหว่างสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน (p-value =1.000) สรุป:การใช้ยากลุ่มเดกซ่าเมททาโซนร่วมกับน้ำเกลือบ้วนปากในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับการฉายรังสีไม่สามารถลดการเกิดภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบลดลงเมื่อเทียบกับการใช้น้ำเกลือเพียงอย่างเดียว"
} |
{
"en": "Background: Cancer is an importance global health problem. Radiographic imaging, like magnetic resonance imaging (MRI) help to improved diagnosis, prognosis, and treatment planning for cancer. However, previous studies have never been reported on the unit cost and the break-even point of MRI in the cancer patients. Objective: This study aimed to analyzing the unit cost and break-even point of MRI. Method: The data were retrieved from the medical records between January 1st, 2017 and December 31st, 2017 at Lopburi Cancer Hospital. Results: The study was found that there were totally 493 services. The average capital cost was 7,463,083.00 baht, the average material cost was 3,624,610.42 baht and the average labor cost was 547,777.27 baht. The unit cost was 28,321.63 baht/ service and the average break-even point was 1,948 service/ year. That was not full workload and effect to the highly unit cost. Conclusion: MRI services for cancer hospital represents a highly cost. The cause is small amount of patient, so that the hospital should be co-operate with the hospital in the health network area to increasing the MRI service for the generally and sustainability service.",
"th": "ภูมิหลัง: โรคมะเร็งเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขระดับโลก ในปัจจุบันการถ่ายภาพรังสี เช่น การถ่ายภาพด้วยคลื่นสนามแม่เหล็ก (MRI) ช่วยในการวินิจฉัย การพยากรณ์โรค และการวางแผนการรักษามะเร็งได้ดีขึ้น อย่างไรก็ตามยังไม่มีการรายงานเกี่ยวกับต้นทุนต่อหน่วยและจุดคุ้มทุนของเครื่องถ่ายภาพด้วยคลื่นสนามแม่เหล็ก (MRI) ในการตรวจรักษาผู้ป่วยในโรงพยาบาลเฉพาะทางด้านโรคมะเร็ง วัตถุประสงค์: เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยและจุดคุ้มทุนของการให้บริการตรวจและวางแผนการรักษาด้วยเครื่องถ่ายภาพด้วยคลื่นสนามแม่เหล็ก (MRI) ในมุมมองของผู้ให้บริการ วิธีการ: ทำการศึกษาในผู้ป่วยที่รับบริการตรวจและวางแผนการรักษาด้วยเครื่องถ่ายภาพด้วยคลื่นสนามแม่เหล็ก (MRI) ในโรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี ระหว่าง 1 มกราคม พ.ศ. 2560 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ผล: จากการศึกษาพบว่าผู้ป่วยที่มารับบริการตรวจและวางแผนการรักษาด้วยเครื่องถ่ายภาพด้วยคลื่นสนามแม่เหล็ก (MRI) มีจำนวน 493 ครั้ง ต้นทุนทางตรงโดยเฉลี่ยประกอบด้วย ต้นทุนค่าลงทุน 7,463,083.00 บาท ค่าวัสดุ 3,624,610.42 บาท และ ต้นทุนค่าแรง 547,777.27 มีต้นทุนการให้บริการต่อหน่วยเท่ากับ 28,321.63 บาทต่อครั้ง จุดคุ้มทุนคือจำนวนการให้บริการตรวจและวางแผนการรักษาด้วยเครื่องถ่ายภาพด้วยคลื่นสนามแม่เหล็ก (MRI) เท่ากับ 1,948 ครั้งต่อปี ซึ่งยังไม่เต็มศักยภาพของการให้บริการ ทำให้ต้นทุนต่อหน่วยมีราคาสูง สรุป: การให้บริการตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องถ่ายภาพด้วยคลื่นสนามแม่เหล็ก (MRI) สำหรับโรงพยาบาลเฉพาะทางด้านโรคมะเร็ง ยังมีต้นทุนที่สูง เนื่องจากมีผู้มารับบริการน้อย จึงควรร่วมมือกับเครือข่ายสุขภาพในการรับผู้ป่วยเพิ่มขึ้น เพื่อให้สามารถให้บริการประชาชนอย่างทั่วถึงและยังยืนต่อไป"
} |
{
"en": "Background : Anaphylaxis is an acute allergic reaction. This is a potentially life-threatening so patients should be receive immediately treatment without any delayed.Objective : This study aimed to estimate the prevalence and clinical characteristics of patients with anaphylaxis at Chaiyaphum Hospital.Method : This study was a descriptive retrospective study at Chaiyaphum Hospital with patients who were evaluated confirm with anaphylaxis, in ages from 0 to 15 years old, from 1st January 2015 to 31st December 2019. Result : The anaphylaxis occurrence rate was 18.6 per 100,000 patients per year. Age-specific rate was highest for ages 11 – 15 years (41.8%). The median and mode duration of onset of anaphylaxis were 60 minutes after exposure . Major causative agents includes food(48.5%) and insect bites/stings(26.2%). The presenting sign and symptoms were skin and cutaneous (96.1%) Respiratory(76.7%) and gastrointestinal(49.5%). All patients received chlopheniramine(CPM) for treatment ,epinephrine was given to 86.4% of the patients.Conclusion : Foods were the most common cause of anaphylaxis. The most common manifestations were skin and cutaneous symptoms and sign. Most of patients were provided treatment with a prescription for epinephrine. So, the basic and implications of diagnostic practices in this disorder warrant further exploration.",
"th": "ภูมิหลัง: การแพ้ชนิดรุนแรง ( anaphylaxis ) เป็นปฏิกิริยาทางภูมิแพ้ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วต้องได้รับการรักษาทันที หากไม่ได้รับการวินิจฉัยหรือได้รับการรักษาที่ล่าช้า อาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ วัตถุประสงค์: ศึกษาความชุกและ ลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยแพ้ชนิดรุนแรงอายุ 0 -15 ปี ที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลชัยภูมิ วิธีการ: การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบพรรณนาย้อนหลัง ศึกษาผู้ป่วยแพ้ชนิดรุนแรงอายุ 0-15 ปีที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลชัยภูมิ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 ถึง วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ผล: ความชุกของการแพ้ชนิดรุนแรงในโรงพยาบาลชัยภูมิเท่ากับ 18.6 รายต่อแสนคนต่อปี ช่วงอายุที่พบการแพ้ชนิดรุนแรงมากที่สุด ได้แก่ อายุ >11-15 ปี (ร้อยละ 41.8) ค่ามัธยฐานและค่าฐานนิยมของระยะเวลาตั้งแต่ได้รับสิ่งกระตุ้นจนเกิดอาการมีค่าเท่ากัน คือ 60 นาที สาเหตุหลักเกิดจากอาหาร(ร้อยละ 48.5) และแมลงหรือสัตว์กัด/ต่อย(ร้อยละ 26.2) อาการและอาการแสดงตามระบบที่พบมาก คือ ระบบผิวหนังและเยื่อบุ(ร้อยละ 96.1) ระบบทางเดินหายใจ(ร้อยละ 76.7) และระบบทางเดินอาหาร(ร้อยละ 49.5) ผู้ป่วยทุกรายได้รับยา chlopheniramine(CPM)ในการรักษา และได้รับ epinephrine คิดเป็นร้อยละ 86.4 สรุป: สาเหตุการแพ้รุนแรงจากอาหารพบมากที่สุด ลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยแพ้ชนิดรุนแรงส่วนใหญ่พบอาการและอาการแสดงทางระบบผิวหนังและเยื่อบุ ผู้ป่วยทุกรายควรได้รับการรักษาที่จำเพาะ คือ epinephrine ดังนั้นการให้การวินิจฉัยที่ถูกต้องและการดูแลรักษาที่รวดเร็วเป็นสิ่งสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วย"
} |
{
"en": "Background: Status epilepticus (SE) is a common neurological emergency associated with a high morbidity and mortality rate. In 2015, the International League Against Epilepsy (ILAE) proposed a new status epilepticus (SE) definition. Objective: We aimed to apply the new definition of SE and analyze seizure types, clinical presentation, causes, complications, and predictors of the poor outcome based on the new definition. Method: 150 adult patients aged 18-90 years with SE in Vajira hospital between January 2016 and January 2019 were enrolled with a retrospective chart review of all. SE was defined and classified according to the ILAE 2015. Results: Out of 150 participants, 86 (57.3 %) were men with a mean age of 61.35 (±20.32) years. The acute symptomatic seizures were the most common causes, with 89.9%. The mortality rate was 48.7%. The clinical factors that statistically significantly affected the outcome were age, complications during admission, and low AEDs levels. Patients were 1.03 times higher for poorer outcomes per year increased in age (p-value 0.007, 95%CI 1.01-1.05), and 16.64 times higher (p-value < 0.001, 95%CI 4.65-59.63) among those with complications during the admission whereas the epilepsy patients who had low AED levels, which caused SE, were significantly found to have a better outcome. The common complications were a respiratory failure, pneumonia, and septicemia. Conclusion: According to the new definition of SE, older age and complications during the hospital stay have potential associated with poor neurological outcomes. In contrast, the epilepsy patient who had SE due to a low AEDs level seems to have a better prognosis. The acute symptomatic etiologies were still the most common cause of status epilepticus, and infection was supposed to be the most corresponding cause.",
"th": "ภูมิหลัง: ภาวะชักต่อเนื่องเป็นภาวะฉุกเฉินทางระบบประสาทที่สำคัญและพบบ่อยซึ่งเป็นเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยทุพพลภาพและเสียชีวิต ในปี ค.ศ. 2015 The International League Against Epilepsy (ILAE) ได้มีการกำหนดนิยามใหม่สำหรับภาวะชักต่อเนื่อง วัตถุประสงค์: การศึกษานี้จึงทำขึ้นเพื่อศึกษาลักษณะอาการชัก สาเหตุ ภาวะแทรกซ้อน รวมทั้งปัจจัยพยากรณ์โรคของภาวะชักต่อเนื่องที่อ้างอิงตามคำนิยามใหม่ วิธีการ: การวิเคราะห์ข้อมูลย้อนกลับจากการรวบรวมเวชระเบียนผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยภาวะชักต่อเนื่องที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลวชิรพยาบาล ตั้งแต่ 1 มกราคม 2558-31 มกราคม 2561 จำนวน 150 คน ในช่วงอายุ 18-90 ปี เพื่อหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะชักต่อเนื่อง อ้างอิงตามคำนิยามภาวะชักต่อเนื่อง จาก ILAE ปี ค.ศ. 2015 ผล: ผู้ป่วยชักต่อเนื่องจำนวน 150 ราย อายุเฉลี่ย 61.35 (±20.32) ปี พบว่าส่วนมากมีสาเหตุกระตุ้นการเกิดชักอย่างเฉียบพลันถึงร้อยละ 89.9 อัตราการเสียชีวิตพบสูงถึงร้อยละ 48.7 ปัจจัยด้านสาเหตุและลักษณะทางคลินิกที่มีผลต่อผลการรักษาที่ไม่ดี ได้แก่ อายุของผู้ป่วยโดยอายุที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 1 ปี จะมีผลต่อการเกิดผลการรักษาที่ไม่ดี 1.03 เท่า (p-value 0.007, 95%CI 1.01-1.05) และผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นระหว่างนอนโรงพยาบาลพบสูงถึง 16.64 เท่า (p-value < 0.001, 95%CI 4.65-59.63) ส่วนผู้ป่วยที่มีสาเหตุการชักจากระดับยากันชักที่ต่ำกว่ามาตรฐาน มีการพยากรณ์โรคที่ดีกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ภาวะแทรกซ้อนที่พบร่วมมากที่สุด ได้แก่ การมีภาวะระบบหายใจล้มเหลวฉับพลัน โรคปอดอักเสบ และการติดเชื้อในกระแสเลือด สรุป: จากการศึกษาภาวะชักต่อเนื่องตามนิยามใหม่ อายุที่เพิ่มขึ้นและการเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างนอนโรงพยาบาลมีความสัมพันธ์กับผลการรักษาที่ไม่ดี ในขณะที่ผู้ป่วยภาวะชักต่อเนื่องที่มีสาเหตุจากระดับยากันชักต่ำกว่ามาตรฐานจะมีผลการรักษาที่ดีกว่า โดยพบว่าผู้ป่วยส่วนมากจะมีสาเหตุกระตุ้นการเกิดชักอย่างเฉียบพลัน โดยพบสาเหตุเกี่ยวข้องกับภาวะติดเชื้อมากที่สุด"
} |
{
"en": "Background: Breastfeeding provides the best nutrients for infants. Thus, infants should be exclusivelybreastfed during their first 6 months, according to the recommendation by the World Health Organization and UNICEF. After that, they should both receive age-related supplements and be breastfed until they are 2 years old. At the present time, the rate of breastfeeding tends to decrease. A study from the Department of Health has stated that there is only 23.6 percent of mothers that breastfeed their children. However, breastfeeding is found to be fundamental for children’s physical, mental, and emotional growth. Objective: This study aims to examine factors related to the success of breastfeeding of staff at Rajavithi Hospital. Method: This descriptive research collected data from female staff working at Rajavithi hospital with children aged from 6 months to 4 years old. In which the staff brought their children to the breastfeeding clinic, the day-care center, or the well-being development center at Rajavithi Hospital. A questionnaire with a rating scale was used as a tool for gathering data. Frequency, percentage, mean, standard deviation, and Chi-Square analysis were used as required parameters. Result: The success rate of breastfeeding was 49.0%. Factors related to the success of breastfeeding were the attitude toward breastfeeding, the experience of breastfeeding, and the service of the breastfeeding clinic, which provided statistical significance at p-value .05. Conclusion: The attitude toward breastfeeding, the experience of breastfeeding, and the service of the breastfeeding clinic are factors associated with the success of breastfeeding",
"th": "ภูมิหลัง: การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทำให้ทารกได้รับสารอาหารที่ดีที่สุด ซึ่งทารกควรได้รับนมแม่อย่างเดียวช่วง 6 เดือนแรกของชีวิตตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลกและยูนิเซฟ หลังจากนั้นให้เริ่มอาหารเสริมและให้นมแม่ต่อไปควบคู่กับอาหารเสริมตามวัยจนลูกอายุ 2 ปี ปัจจุบันอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีแนวโน้มลดลง จากการศึกษาของกรมอนามัย1 พบว่า มารดาที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีเพียงร้อยละ 23.6 การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นับว่าเป็นการวางพื้นฐานให้เด็กเติบโตอย่างมีคุณภาพทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจและอารมณ์ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาสถานการณ์และปัจจัยที่สัมพันธ์กับความสำเร็จของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของบุคลากรในโรงพยาบาล วิธีการ: การวิจัยเชิงสำรวจเก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคลากรหญิงที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานของโรงพยาบาลราชวิถีที่มีบุตรอายุตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 4 ปี ซึ่งมารับบริการที่คลินิกนมแม่ หรือนำบุตรมาฝากเลี้ยงที่หน่วยเลี้ยงเด็กกลางวันโครงการนมแม่ และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงพยาบาลราชวิถี เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม (questionnaire) ด้านทัศนคติ และความรู้ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (Contentvalidity) โดยผู้เชี่ยวชาญ และตรวจสอบหาความเชื่อมั่นของเครื่องมือโดยทดสอบด้วยสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) มีค่าความเชื่อมั่น 0.724 และ0.552 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และทดสอบหาความสัมพันธ์ด้วยไคว์สแควร์ ผล: ร้อยละความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จำนวน 50 คน คิดเป็นร้อยละ 49.02 และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ คือ ทัศนคติต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ประสบการณ์การเลี้ยงบุตรและการรับบริการคลินิกนมแม่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่่ p-value = 0.05 สรุป: ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความสำเร็จของของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของบุคลากรของโรงพยาบาล คือ ทัศนคติต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ประสบการณ์การเลี้ยงบุตรและการรับบริการคลินิกนมแม่ที่ส่งผลให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ประสบความสำเร็จ"
} |
{
"en": "Background: Peracetic acid (PAA) is the most popular disinfectant for dialyzer reuse processing. After the elimination of microbes by disinfectant, PAA residual must be disposed via normal saline replacement following the standard practice guideline. However, the PAA residual and its by-product, hydrogen peroxide (H2O2), can be found in the dialysis membrane. The continuous accumulation of these free radicals can result in various human pathogeneses. Fortunately, these free radicals can be destroyed by Vitamin C. Objective: This study aimed to compare the elimination of PAA and H2O2 residual of the reused dialyzer with or without vitamin C supplementations. Method: The experimental group with 83 reused dialyzers with 125 milligrams (500 microliters) of vitamin C and the control group with 50 reused dialyzers with 500 microliters of normal saline during the eliminated procedure were executed. Both free radical residuals had been documented by PAA and H2O2 test strips at 2, 30, 60, 120, 180 minutes, respectively. Result: As for the evaluation of both free radical residues in dialyzer reuse groups while the H2O2 residue could be detected in the control group with time-dependent manner. Nevertheless, the reused dialyzers of both groups were clear from PAA residue. Consequently, the present study could be concluded that although the PAA rapidly alters to H2O2, 125 milligrams of vitamin C had sufficiently removed these two free radicals. Moreover, data from adjusted characteristics of reused dialyzers receiving vitamin C could reduced the incidence of residual H2O2 by 17.3 percent at the level of confidence interval 95 percent from (-16.7) to (-17.9), p-value < 0.001, when compared to the reused dialyzers without vitamin C supplementation. Conclusion: The additional procedure with 125 milligrams of vitamin C supplementation into reused dialyzer during the process of standard practice guideline could sufficiently reduced the incidence of residual PAA and H2O2.",
"th": "ภูมิหลัง: กรดเปอร์อะซิติกนิยนำมาใช้กำจัดจุลชีพสำหรับกระบวนการนำตัวกรองเลือดกลับมาใช้ซ้ำ ภายหลังจากการกำจัดจุลชีพแล้วกรดเปอร์อะซิติกต้องถูกกำจัดออกจากตัวกรองเลือดด้วยน้ำเกลือนอร์มัลตามมาตรฐานของการปฏิบัติในการนำตัวกรองเลือดกลับมาใช้ซ้ำ อย่างไรก็ตามพบว่ายังคงมีกรดเปอร์อะซิติกตกค้างซึ่งสามารถสลายตัวไปเป็นไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ที่เยื่อกรองฟอกเลือดได้ โดยทั้งกรดเปอร์อะซิติกและไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์จัดเป็นสารอนุมูลอิสระที่สามารถก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้ หากผู้ป่วยได้รับเป็นระยะเวลายาวนานอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามอนุมูลอิสระเหล่านี้สามารถถูกกำจัดได้อย่างสมบูรณ์ด้วยวิตามินซี วัตถุประสงค์: ทำการเปรียบเทียบการกำจัดกรดเปอร์อะซิติกและไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ที่ตกค้างในตัวกรองเลือดที่นำกลับมาใช้ซ้ำด้วยการเติมหรือไม่เติมวิตามินซี วิธีการ: ทำการศึกษาในตัวกรองเลือดของกลุ่มทดลองที่เติมวิตามินซีขนาด 125 มิลลิกรัม (500 ไมโครลิตร) จำนวน83 ตัวอย่างและตัวกรองเลือดของกลุ่มควบคุมจำนวน 50 ตัวอย่างที่ไม่เติมวิตามินซี (เติมน้ำเกลือนอร์มัล 500 ไมโครลิตร) ในระหว่างกระบวนการกำจัดกรดเปอร์อะซิติกและไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ออกด้วยน้ำเกลือนอร์มัล จากนั้นทำการทดสอบการตกค้างของกรดเปอร์อะซิติกและไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ในตัวกรองเลือดด้วยแถบทดสอบ ณ เวลา 2, 30, 60, 120 และ 180 นาที ผล: การทดสอบการตกค้างของอนุมูลอิสระพบว่ามีการตกค้างของไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ในตัวกรองเลือดเฉพาะกลุ่มควบคุมในรูปแบบที่แปรผันตรงตามเวลาของการทดสอบที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามกลับไม่พบการตกค้างของกรดเปอร์อะซิติกในตัวกรองเลือดที่ใช้ซ้ำของทั้งสองกลุ่ม จากผลการทดลองสามารถสรุปได้ดังนี้คือถึงแม้ว่ากรดเปอร์อะซิติกจะสลายไปเป็นไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ได้อย่างรวดเร็วแต่การเติมวิตามินซีจำนวน 125 มิลลิกรัม ก็สามารถกำจัดการตกค้างของสารอนุมูลอิสระทั้งสองชนิดได้อย่างมีประสิทธิผล นอกจากนี้เมื่อทำการปรับลักษณะที่แตกต่างกันของตัวกรองเลือดทั้งสองกลุ่มดังกล่าวแล้ว พบว่าการเติมวิตามินซีมีผลทำให้ลดโอกาสการตกค้างของไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ลงได้ร้อยละ 17.31 ที่ระดับความเชื่อมั่น(confidence interval; CI) 95% ระหว่าง (-16.75) ถึง (-17.97),p<0.001) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มของตัวกรองเลือดที่ไม่ได้เติมวิตามินซี ดังนั้นการเติมวิตามินซีให้กับตัวกรองเลือดที่มีคุณลักษณะที่แตกต่างกันสามารถกำจัดการตกค้างของสารอนุมูลอิสระได้อย่างมีประสิทธิผล สรุป: การเพิ่มขั้นตอนของการเติมวิตามินซีขนาด 125มิลลิกรัม เข้าสู่ตัวกรองเลือดในระหว่างการเตรียมตัวกรองเลือดที่จะนำกลับมาใช้ซ้ำตามมาตรฐานของการปฏิบัติสามารถช่วยลดโอกาสการตกค้างของกรดเปอร์อะซิติกและไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ได้"
} |
{
"en": "Background: Pressure injuries (PrIs) are a common complication following a spinal cord injury (SCI). Objective: This research aims to study the prevalence and factors associated with pressure injuries (PrIs) in spinal cord-injuredpatients with independent wheelchair use. Method: This study was cross-sectional descriptive conducted onseventy-five spinal cord-injured patients with independent wheelchair use. Patients who had PrIs before independentwheelchair used and still have PrIs were excluded. A questionnaire regarding patients’ demographics, history ofPrIs, and risk factors e.g., sitting duration, PrIs knowledge, and protective behaviors was conducted. Possible PrIsrisk factors were compared between patients with and without current PrIs. Result: Among 75 patients, 72 haveparaplegia (96%) and 3 have tetraplegia (4%). The Prevalence of PrIs is 29.3% (95% CI = 18.8, 39.9). 10.7% hadhealed PrIs and 60% never had PrIs. The most common areas of PrIs are ischial tuberosity (55%) and coccyx orsacrum (23%). The causes of the latest incidence of PrIs are friction and shear force while transferring (32%) andprolonged sitting (27%). The risk of PrIs in patients was 5 times greater in the patients who don’t have a regularconcern about friction and shearing force while transferring than those who do (OR5, 95% CI 1.28, 20). Conclusion: PrIs are a common complication found in SCI patients who can transfer independently with a wheelchair. Theprevalence of PrIs in this study was 29.3%. The friction and shear force from careless transferring is a significantfactor that increases the risk of PrIs.",
"th": "ภูมิหลัง: แผลกดทับเป็นภาวะแทรกซ้อนตามมาที่พบบ่อยในผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง วัตถุประสงค์: ศึกษาความชุกการเกิดแผลกดทับ ปัจจัย และพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังที่สามารถเคลื่อนย้ายตัวใช้ชีวิตบนรถเข็นได้อย่างอิสระ วิธีการ: การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง ผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังที่สามารถเคลื่อนย้ายตัวใช้ชีวิตบนรถเข็นได้อย่างอิสระ 75 คน โดย ไม่รวมผู้ป่วยที่เริ่มมีแผลกดทับก่อนที่จะสามารถเคลื่อนย้ายตัวได้เองและปัจจุบันยังรักษาไม่หาย สัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป ประวัติการเกิดแผล ปัจจัยเสี่ยง เช่น ระยะเวลาการนั่ง ความรู้เรื่องแผลกดทับ และพฤติกรรมการป้องกัน นำข้อมูลที่ได้มาเปรียบเทียบระหว่างผู้ป่วยกลุ่มที่มีแผลและไม่มีแผลกดทับ ผล: ผู้ป่วย 75 คน เป็นผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังครึ่งล่าง 72 คน (ร้อยละ 96) ผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังอัมพาตแขนขาสองข้าง 3 คน (ร้อยละ 4) พบความชุกการเกิดแผลกดทับ (22 คน)ร้อยละ 29.3 95% CI = 18.8, 39.9 พบเคยมีแผลกดทับและหายแล้ว 8 คน (ร้อยละ 10.7) และไม่เคยมีแผล 45 คน (ร้อยละ 60) ส่วนตำแหน่งที่พบว่าเป็นแผลกดทับมากที่สุดคือ ปุ่มกระดูกก้นย้อย (ร้อยละ 55) รองลงมาคือ บริเวณก้นกบหรือกระเบนเหน็บ (ร้อยละ23) ซึ่งสาเหตุการเกิดแผลกดทับครั้งล่าสุด คือการเสียดสีขณะเคลื่อนย้ายตัว (ร้อยละ 32) และการนั่งนาน (ร้อยละ 27) พบว่าผู้ป่วยที่ไม่ได้ระมัดระวังแรงเสียดสีขณะเคลื่อนย้ายตัวอย่างสม่ำเสมอ จะเกิดแผลกดทับมากกว่าผู้ป่วยที่ปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอถึง 5 เท่า (OR 5,95% CI 1.28, 20) สรุป: แผลกดทับยังเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยในผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังที่สามารถเคลื่อนย้ายตัวใช้ชีวิตบนรถเข็นได้อย่างอิสระ พบความชุกการเกิดแผลกดทับร้อยละ 29.3และพบว่าแรงเสียดสีขณะเคลื่อนย้ายตัวอย่างไม่ระมัดระวังเป็นปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับอย่างมีนัยสำคัญ"
} |
{
"en": "Background: Hearing impairment is a severe health problem, especially in congenital hearing loss, and affectschildren’s speech and language development. Cochlear implantation is an alternative treatment and an excellentopportunity to hear for both children and adults. Many factors are related to hearing ability after hearing restorationfor people with all types of severe hearing loss. Objective: To study the level of hearing ability of hearing-impairedpeople with post-cochlear implantation and the factors associated with the listening ability of this group of people. Methods: A cross-sectional study was conducted on eighty participants with post-cochlear implantation, over 18years old, with post-lingual hearing loss. All participants are selected by purposive sampling. Two instruments wereused to collect data. The personal data form and the listening ability questionnaire, which were adopted fromthe Speech, Spatial, and Qualities of Hearing Scale, were used to collect data. A panel of experts evaluated theinstruments for content validity. The instrument reliability was 0.97. Statistical package software is used to analyzeall data to find frequency, mean and standard deviation. The statistical tests used for correlation were Correlationand Eta. Results: The listening ability of people with hearing impairment and post-cochlear implantation wasmoderated. The duration of post-cochlear implantation and receiving media on television were also factors in thehearing ability of the hearing-impaired subjects after cochlear implantation. Conclusion: Several factors are foundto be correlated with hearing impairment subjects’ post-cochlear implantation. The listening experience dependson the device length used at the time and practicing hours both in quiet rooms and routine activities to recognizespeech and listen to speech sounds. The factors have been investigated to improve Speech, Spatial, and Qualitiesto help cochlear implant users get more advantages from cochlear implantation and have better hearing in theireveryday life.",
"th": "ภูมิหลัง: ความบกพร่องทางการได้ยินเป็นปัญหาสุขภาพโดยเฉพาะบุคคลที่สูญเสียการได้ยินแต่กำเนิดส่งผลกระทบต่อพัฒนาการพูด การเรียนรู้ และการสื่อสาร การผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียมเป็นวิธีการรักษาทางเลือกหนึ่ง และโอกาสที่ดีในการได้ยินทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ ทั้งนี้มีปัจจัยหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการฟังภายหลังการใส่อุปกรณ์ที่ช่วยฟื้นฟูการได้ยินให้กับผู้ที่สูญเสียการได้ยินรุนแรงทุกประเภท วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาระดับความสามารถในการฟังของผู้บกพร่องทางการได้ยินภายหลังได้รับการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียม และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการฟังของผู้บกพร่องทางการได้ยินภายหลังได้รับการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียม วิธีการ: ศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง ประชากร คือ ผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินที่มีภาษาพูดมาก่อน และได้รับการการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียมโรงพยาบาลราชวิถีที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปและที่ได้รับการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียมที่แผนกโสต ศอ นาสิก ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ.2542 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2560 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 80 คน เกณฑ์การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง มีดังนี้ 1) เป็นผู้ผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียมมีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป 2) เป็นผู้ใช้ภาษาไทยในการสื่อสาร 3) ยินดีให้ความร่วมมือ และสมัครใจในการทำวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล และแบบสอบถามความสามารถในการฟัง ซึ่งได้พัฒนามาจาก แบบสอบถามการได้ยินเสียงคำพูดการกะระยะทิศทางเสียง และคุณภาพการได้ยินเสียงของเกรทเฮ้าส์และโนเบิล7 (The Speech, Spatial and Qualities of HearingScale; SSQ) ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา และภาษาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน มีค่าความเที่ยงจากการคำนวณเท่ากับ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อหาความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาความสัมพันธ์ สถิติที่ใช้คือ Correlation และ Eta ทดสอบสมมติฐานที่ระดับนัยสำคัญ0.05 ผล: การวิจัยพบว่าความสามารถในการฟังของผู้บกพร่องทางการได้ยินภายหลังได้รับการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียมมิติทุกด้านส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการฟังของผู้บกพร่องทางการได้ยินภายหลังได้รับการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียม คือ ระยะเวลาใส่ประสาทหูเทียม และการรับสื่อทางโทรทัศน์ สรุป: มีปัจจัยหลายอย่างที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการฟังของผู้บกพร่องทางการ ได้ยินภายหลังได้รับการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียม ประสบการณ์ฟังขึ้นอยู่กับระยะเวลาของการใช้ประสาทหูเทียมยิ่งใส่นาน และฝึกการฟังอย่างสม่ำเสมอทำให้รับรู้เสียงพูด และการสื่อสารดีขึ้น ปัจจัยที่ศึกษานำมาพัฒนาปรับปรุงด้านการได้ยินเสียงคำพูด ด้านการกะระยะทิศทางเสียงและด้านคุณภาพการได้ยินเสียง ทำให้ผู้ใช้ประสาทหูเทียมสามารถฟังได้ดี และได้รับประโยชน์จากการฟังในชีวิตประจำวัน"
} |
{
"en": "Background: Neutropenia is common after receiving chemotherapy and increases your risk for infections.Fever during neutropenia could be a very serious consequence. Objective: To study the risk factors of neutropeniaand to determine the incidence of febrile neutropenia in cancer patients at Lop Buri Cancer Hospital. Method: Thiswas a cross-sectional study reviewing the medical records of 307 people diagnosed with cancer and their identifiedstage. Data were collected from October 1, 2019, to September 30, 2020, using the data collection on the incidenceof neutrophil neutropenia in cancer patients. The relationship between factors was analyzed using the chi-squaretest and binary logistic regression analysis. Results: From the sample of 307 patients, it was found that the riskfactors associated with neutrophil neutropenia were statistically significant at the 0.05 significance level, which wasstage 2 disease (OR 0.18, p-value = 0.001), number of chemotherapy doses 2-6 (OR 2.51, p-value = 0.006), and initialneutrophil leukocyte levels that were lower than normal (OR 4.67, p-value < 0.001). Initial neutrophil leukocytelevels grade 1 (OR 3.41, p-value = 0.005) and grade 2 (OR 8.95, p-value = 0.001) were not significantly correlated.The following complications were fever (OR 5.33, p-value = 0.031). fatigue (OR 4.92, p-value = 0.011) and burning/urinating. Sparse (OR 16.13, p-value = 0.014) compared with those with normal neutrophil leukemia. Statisticallysignificant (p-value <0.001). Conclusions: Both patients with normal baseline neutrophil leukocyte levels and lowinitial neutrophil leukocyte levels could have a lower neutrophil level as well as low neutrophil leukocytosis afterundergoing treatment. Therefore, there should be treatment guidelines for every patient in order to prevent thedevelopment of low neutrophils or their recurrence, along with complications from neutropenia.",
"th": "ภูมิหลัง: ภาวะเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิลต่ำและมีไข้เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิลต่ำและศึกษาอัตราการเกิดภาวะไข้จากระดับเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิลต่ำในผู้ป่วยโรคมะเร็งโรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี วิธีการ: เป็นการวิจัยแบบตัดขวาง โดยทบทวนเวชระเบียน 307 คน ซึ่งได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งและมีการระบุระยะของโรค เก็บข้อมูล 1 ตุลาคม 2562–30 กันยายน2563 โดยใช้แบบเก็บข้อมูลเรื่องการเกิดภาวะเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิลต่ำในผู้ป่วยโรคมะเร็ง วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยโดยใช้ chi square test และ binary logistic regression ผล: ปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับภาวะเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิลต่ำคือระยะของโรคระยะที่ 2 (OR 0.18, p-value = 0.001) จำนวนครั้งของการได้รับยาเคมีบำบัดครั้งที่ 2-6 (OR 2.51, p-value =0.006) ระดับเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิลเริ่มต้นต่ำ grade 1 (OR3.41, p-value = 0.005) grade 2 (OR 8.95, p-value = 0.001)เกิดภาวะแทรกซ้อนคือ ไข้ (OR 5.33, p-value = 0.031) อ่อนเพลีย (OR 4.92, p-value = 0.011) และปัสสาวะแสบขัด (OR 16.13,p-value = 0.014) สรุป: ผู้ป่วยที่มีระดับเม็ดเลือดขาวนิวโทรฟิลเริ่มต้นปกติหรือต่ำกว่าปกติ ก็สามารถเกิดภาวะเม็ดเลือดขาวนิวโทรฟิลต่ำได้ ดังนั้น ควรมีแนวทางในการดูแลผู้ป่วยทุกรายเพื่อป้องกันการเกิดภาวะเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิลต่ำและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น"
} |
{
"en": "Subclinical Atrial Fibrillation (AF) is defined as atrial high-rate episode (AHRE) in cardiovascular implantableelectronic devices (CIEDs) confirmed as AF, atrial flutter, or atrial tachycardia. In addition, there are other commercializedor medical equipment which can detect subclinical AF such as Apple watch, Zio® XT patch, Holter/event monitor,and implantable loop recorder (ILR) (e.g., Reveal LINQ®). These smartwatches have been studied in several previoustrials. They can detect AF by using pulse photoplethysmography. If they detect an irregular pulse, they will illustratethe possible AF which should be confirmed by the 12-lead electrocardiography. Previous trials have shown thatAF may be a risk marker or a direct cause of ischemic stroke. Up to now, there has been a lack of data regardinganticoagulants in patients with subclinical AF. According to American Heart Association (AHA), European Society ofCardiology (ESC), and Asia Pacific Heart Rhythm Society (APHRS), consideration of a stroke risk by using CHA2DS2-VASc score, and AHRE/AF burden is recommended and should be practiced in order to decide whether patients withsubclinical AF should be prescribed anticoagulants.",
"th": "Subclinical Atrial Fibrillation (AF) คือการตรวจพบ atrialhigh-rate episode (AHRE) ใน Cardiovascular implantableelectronic devices (CIEDs) ที่ได้รับการยืนยันแล้วว่าเป็น AF,atrial flutter หรือ atrial tachycardia ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีอุปกรณ์อื่นๆ ที่ช่วยในการตรวจหา subclinical AF ได้แก่ Apple watch,Zio® XT patch, Holter/event monitor, implantable looprecorder (ILR) เช่น Reveal LINQ® โดยที่ข้อมูลการศึกษาของsmartwatch ในการตรวจหา subclinical AF มีหลายการศึกษาหลักการที่ smartwatch ใช้ในการตรวจหา AF คือ การใช้คลื่นแสงในการตรวจการเปลี่ยนแปลงของปริมาณเลือดทำให้ตรวจวัดชีพจรได้ หากพบว่าชีพจรไม่สม่ำเสมอ จะแสดงผลเป็น possible AF ซึ่งควรได้รับการตรวจยืนยันด้วยคลื่นไฟฟ้าหัวใจ จากการศึกษาที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่า AF อาจเป็นเพียงปัจจัยที่บ่งชี้ถึงความเสี่ยงหรือเป็นสาเหตุโดยตรงต่อการเกิดสมองขาดเลือด ปัจจุบันการให้ยาละลายลิ่มเลือดในการรักษาผู้ป่วย subclinical AF นั้นยังมีข้อมูลจากการศึกษาไม่ชัดเจน ดังนั้น สมาพันธ์โรคหัวใจของสหรัฐอเมริกา,สมาคมโรคหัวใจของยุโรป และสมาคมจังหวะการเต้นของหัวใจของเอเชียแปซิฟิกจึงแนะนำให้พิจารณาดูความเสี่ยงของการเกิดสมองขาดเลือดโดยใช้ CHA2DS2-VASc score และการเกิด AHRE/AFburden ในการพิจารณาให้ยาละลายลิ่มเลือด"
} |
{
"en": "Background: Dentists’ career is at high risk of developing musculoskeletal disorders. The symptoms may bemild or so severe that they affect the ability to work. Therefore, ergonomics education is necessary to prevent thosesymptoms. Objective: The objective of this research was to compare the mean score of knowledge, practice, andpain before and after receiving ergonomics education. Methods: This was quasi-experimental research. Data werecollected by conducting self-responding sample-type questionnaires. The questionnaire consisted of four sections:general information and health information, information about the dental working position and daily behavior,musculoskeletal pain symptoms and solutions, and a quiz measuring the knowledge of ergonomics. The samplegroup was dental personnel at the Institution of Dentistry: 50 dentists and 30 dental assistants. When the samplegroup had completed the questionnaires, they received leaflets advising about the ergonomic working position andstretching exercises. The data were collected again in the following month using the original questionnaire. Thestatistical data were then analyzed using the pair t-test and Wilcoxon Signed Rank test at 95%CI. Results: The resultsshowed that after receiving ergonomics education, the dentist’s group had a statistically significantly higher meanscore of knowledge and working posture than before receiving the education, whereas the dental assistants’ group’sresult was not different. However, both groups had the same mean score regarding the frequency and intensity ofpain before and after receiving ergonomics education. Conclusion: In the dentist’s group, ergonomics educationresults in increased knowledge of ergonomics and better practice in dental work; however, it does not affect thefrequency and severity of musculoskeletal disorders. We have also found that dentists had a statistically significantincrease in their knowledge of proper working postures. On the other hand, in the group of dental assistants, theergonomics education has not increased knowledge, practice in dental work, or the frequency and severity ofmusculoskeletal disorders.",
"th": "ภูมิหลัง: อาชีพทันตแพทย์มีความเสี่ยงในการเกิดความผิดปกติของระบบโครงกระดูกและกล้ามเนื้อ (musculoskeletaldisorders) ได้มาก โดยอาจมีอาการเพียงเล็กน้อย หรืออาจรุนแรงขึ้นจนส่งผลกระทบต่อความสามารถในการทำงาน ดังนั้นความรู้ด้านการยศาสตร์จึงจำเป็นในการป้องกันอาการดังกล่าว วัตถุประสงค์: เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของความรู้ด้านการยศาสตร์ การปฏิบัติตัวในการทำงานทางทันตกรรม และอาการปวดโครงกระดูกและกล้ามเนื้อ ก่อนและหลังการให้ความรู้ด้านการยศาสตร์ วิธีการ: งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เครื่องมือในการเก็บข้อมูลคือแบบสอบถามชนิดกลุ่มตัวอย่างตอบเอง ประกอบด้วยข้อมูล 4 ส่วนได้แก่ ข้อมูลทั่วไปและข้อมูลทางด้านสุขภาพ ข้อมูลเกี่ยวกับท่านั่งทำงานและพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน ข้อมูลเกี่ยวกับอาการเจ็บปวดของระบบโครงกระดูกและกล้ามเนื้อและวิธีแก้ปัญหา และแบบทดสอบวัดความรู้ทางด้านการยศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างเป็นทันตบุคลากรในสถาบัน ทันตกรรม ได้แก่ ทันตแพทย์ 50 คน และผู้ช่วยทันตแพทย์ 30 คน โดยจะแจกแบบสอบถามให้ทำและเก็บคืนทันที จากนั้นจะให้แผ่นพับคำแนะนำเกี่ยวกับท่านั่งในการทำงานที่ถูกต้องตามหลักการยศาสตร์ และการยืดเหยียดกล้ามเนื้อเพื่อลดอาการปวด เมื่อครบ 1 เดือน จะกลับมาเก็บข้อมูลอีกครั้ง โดยใช้แบบสอบถามชุดเดิม และนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์ทางสถิติ pairt-test และ Wilcoxon Signed Rank test ที่ระดับความเชื่อมั่น95%CI ผล: ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ และค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติตัว ในกลุ่มทันตแพทย์ หลังการให้ความรู้ด้านการยศาสตร์ มีค่าเฉลี่ยมากกว่าก่อนการให้ความรู้ อย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) และในกลุ่มผู้ช่วยทันตแพทย์ไม่มีความแตกต่างกัน ส่วนความถี่และความรุนแรงของอาการปวด พบว่าทั้งสองกลุ่มมีค่าเฉลี่ยก่อนและหลังได้รับความรู้ไม่แตกต่างกัน สรุป: ในกลุ่มทันตแพทย์ การให้ความรู้ทางด้านการยศาสตร์มีผลต่อการมีความรู้ด้านการยศาสตร์ที่เพิ่มขึ้น และการปฏิบัติตัวในการทำงานทางทันตกรรมที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ไม่มีผลต่อความถี่และความรุนแรงของอาการผิดปกติทางระบบโครงกระดูกและกล้ามเนื้อ ส่วนในกลุ่มผู้ช่วยทันตแพทย์พบว่า การให้ความรู้ทางด้านการยศาสตร์ไม่มีผลต่อ ทั้งการมีความรู้ด้านการยศาสตร์ การปฏิบัติตัวของผู้ช่วยทันตแพทย์ รวมถึงความถี่และความรุนแรงของอาการผิดปกติทางระบบโครงกระดูกและกล้ามเนื้อ"
} |
{
"en": "Background: The prevalence of fibrocystic changes is about 30 to 60 percent and 0.3 percent of complexcysts is associated with breast cancer. Breast cysts are more commonly presented in premenopausal thanpostmenopausal. Several studies have reported that Tamoxifen could reduce the risk of breast cancer and mastalgiain fibrocystic breast changes. Objective: This study aims to compare the evaluation of the efficacy of Tamoxifenin changing of size and number of breast cysts. Study design was a retrospective study used existing data recordedfrom January 2008 to July 2017. Method: 2,244 women with breast cancer who had undergone mammograms withultrasonogram or ultrasonogram in Surathani Cancer Hospital was collected. Result: Out of 2,244 total patients,77 patients (3.43 percent) had cysts. The cysts were mostly presented in patients within the age group of 41-50years old. Tamoxifen treatment and menstruation status showed no statistically significant difference in the rateof reduction of size or number of cysts analyzed by the chi-square test. The rate of reduction of the size and thenumber of cysts in the patients receiving tamoxifen are 60.7 and 46.4 percent, respectively. The rate of reduction ofthe size and the number of cysts in the patients receiving non-tamoxifen were 50.0 and 35.3 percent, respectively.However, there was no statistical difference (p-value: 0.706 and 0.508, respectively). The rate of reduction of thesize of cysts in the patients during menstruation receiving tamoxifen and non-tamoxifen are 50.0 and 50.0 percent,respectively (p-value: 0.252). The rate of reduction of the size of cysts in the patients without menstruation receivingtamoxifen and non-tamoxifen were 60.0 and 55.6 percent, respectively (p-value: 0.330). The rate of reduction ofthe number of cysts in the patients during menstruation receiving tamoxifen and non-tamoxifen are 55.6 and 25.00percent, respectively (p-value: 0.229). The rate of reduction of the number of cysts in the patients without menstruation receiving Tamoxifen and non-Tamoxifen are 50.0 and 44.5 percent, respectively (p-value: 0.904) Conclusion:Tamoxifen cannot change size and number of breast cysts in both breast cancer patients with menstruation andwithout menstruation",
"th": "ภูมิหลัง: ความชุกของภาวะถุงน้ำพบร้อยละ 30-60และถุงน้ำชนิด complex cyst มีความสัมพันธ์กับมะเร็งเต้านมร้อยละ 0.3 โดยถุงน้ำเต้านมมักพบในผู้หญิงในวัยมีประจำเดือนมากกว่าในวัยหมดประจำเดือน หลายการศึกษาพบว่ายาทาม็อกซิเฟ่นลดความเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านมและความปวดจากภาวะถุงน้ำ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลของยาทาม็อกซิเฟ่นต่อการเปลี่ยนแปลงของขนาดแลจำนวนของถุงน้ำ วิธีการ: การศึกษาวิเคราะห์แบบย้อนหลังโดยใช้ข้อมูลของผลเอกซเรย์เต้านมและอัลตร้าซาวด์หรืออัลตร้าซาวด์ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมของโรงพยาบาลมะเร็งสุราษฎร์ธานี จำนวน 2,244 รายตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2551 - กรกฎาคม พ.ศ. 2560 ผล: ผลการศึกษาพบถุงน้ำจำนวน 77 ราย (ร้อยละ 3.43) จากผู้ป่วยจำนวน 2,244 ราย โดยพบมากในช่วงอายุ 41–50 ปี การวิเคราะห์ค่าทางสถิติโดย chi-square- test พบว่ายาทาม็อกซิเฟ่นรวมทั้งภาวะการมีประจำเดือนมีผลต่ออัตราการเล็กลงหรือการลดลงของถุงน้ำไม่ต่างกัน โดย ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่กินยาทาม็อกซิเฟ่น พบว่าอัตราการเล็กลงของขนาดของถุงน้ำและอัตราการลดลงของจำนวนถุงน้ำในเป็นร้อยละ 60.7 และ 46.4 ตามลำดับ ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ไม่ได้กินยาทาม็อกซิเฟ่น พบว่าอัตราการเล็กลงของขนาดของถุงน้ำและอัตราการลดลงของจำนวนของถุงน้ำเป็นร้อยละ 50.0และ 35.3 ตามลำดับ แต่พบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างเป็นนัยสำคัญทางสถิติ (p–value: 0.706 และ 0.508 ตามลำดับ) อัตราการเล็กลงของขนาดถุงน้ำในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มีประจำเดือนที่กินยาทาม็อกซิเฟ่นและไม่กินยาทาม็อกซิเฟ่น เป็นร้อยละ 50.0 และ50.0 ตามลำดับ (p–value: 0.252) อัตราการเล็กลงของขนาดถุงน้ำในผู้ป่วยที่ไม่มีประจำเดือนที่กินยาทาม็อกซิเฟ่นและไม่กินยาทาม็อกซิเฟ่น เป็นร้อยละ 60.0 และ 55.6 ตามลำดับ (p–value:0.330) อัตราการลดลงของจำนวนถุงน้ำในผู้ป่วยมีประจำเดือนที่กินยาทาม็อกซิเฟ่นและไม่กินยาทาม็อกซิเฟ่นเป็นร้อยละ 55.6 และ25.0 ตามลำดับ (p–value: 0.229) อัตราการลดลงของจำนวนของถุงน้ำในผู้ป่วยที่ไม่มีประจำเดือนที่กินยาทาม็อกซิเฟ่นและไม่กินยาทาม็อกซิเฟ่น เป็นร้อยละ 50.0 และ 44.5 ตามลำดับ (p–value:0.904) สรุป: ยาทาม็อกซิเฟ่นไม่มีผลต่อการลดขนาดของถุงน้ำและไม่มีผลต่อการลดจำนวนของถุงน้ำของเต้านมในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมทั้งในกลุ่มที่ยังมีประจำเดือนและกลุ่มที่ไม่มีประจำเดือน"
} |
{
"en": "Background: Atherosclerosis, which is a major contributor to the development of cardiovascular diseases,is the leading cause of death globally. At every stage of atherosclerosis’ pathogenesis—from disease formation toplaque rupture—inflammation is thought to be a significant player. Statins and fish oil supplementation are widelyconsidered to have cardiovascular benefits through a variety of mechanisms, in which the most notable one is theiranti-inflammatory properties. Objective: This study compared the effects of fish oil supplementation on serumhigh-sensitivity C-reactive protein levels in simvastatin-treated patients to placebo. Method: A total of 30 maleparticipants, aged 35–55 years old who had been taking simvastatin for at least six months and met all inclusioncriteria were randomly assigned to receive either fish oil supplementation 1,000 mg/day (EPA ethyl esters 460 mg+ DHA ethyl ester 380 mg) or corresponding placebo for 4 weeks. Serum high-sensitivity C-reactive protein levelswere compared before and after 4 weeks. Result: Serum high sensitivity C-reactive protein levels were observedto be reduced by 0.05 ± 0.52 mg/L (a decrease of 4.42%) in the fish oil group and increased by 0.29±0.87 mg/L inthe placebo group (an increase of 27.62%). However, when the efficacy between the two groups was compared,there was no significant difference (p = 0.249). Conclusion: There was no statistically significant difference in serumhigh-sensitivity C-reactive protein levels between patients receiving 1,000 mg/day of fish oil supplement and thosereceiving placebo in simvastatin-treated patients.",
"th": "ภูมิหลัง: ภาวะหลอดเลือดแดงแข็งเป็นสาเหตุสำคัญที่นำไปสู่การเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดและเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่สำคัญของประชากรโลก กลไกการเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งมีความเกี่ยวข้องกับกระบวนการอักเสบ ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นของโรคระยะลุกลาม ไปจนถึงระยะที่มีภาวะแทรกซ้อนจากการอุดตันของลิ่มเลือด ยาลดไขมันในกลุ่ม Statins และอาหารเสริมน้ำมันปลาเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่ามีประโยชน์ต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดจากหลายกลไก หนึ่งในนั้นคือคุณสมบัติในการต้านการอักเสบ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการเสริมอาหารเสริมน้ำมันปลาเพื่อการลดระดับค่าบ่งชี้การอักเสบไฮเซนซิติวิตี ซี-รีแอคทีฟโปรตีน (hs-CRP) ในเลือดในผู้ที่รับประทานยาลดไขมัน simvastatin วิธีการ: การศึกษานี้ได้คัดเลือกอาสาสมัครเพศชาย อายุ 35-55 ปี ที่ได้รับยาลดไขมัน simvastatinมาเป็นเวลามากกว่า 6 เดือน จำนวน 30 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่มโดยการสุ่ม กลุ่มทดลองให้รับประทานอาหารเสริมน้ำมันปลา1,000mg (ประกอบด้วย EPA 460 mg และ DHA 380 mg) ต่อวันและกลุ่มควบคุมให้รับประทานอาหารเสริมหลอก และติดตามประเมินผลค่า hs-CRP ก่อนและหลังการทดลองที่ 4สัปดาห์ ผล: ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มทดลองที่ได้รับอาหารเสริมน้ำมันปลาเมื่อครบ 4 สัปดาห์ มีค่าเฉลี่ยระดับ hs-CRP ในเลือดลดลง 0.05±0.52 mg/L (ลดลง 4.42%) และกลุ่มที่ได้รับอาหารเสริมหลอกมีระดับการเปลี่ยนแปลง hs-CRP เฉลี่ยเพิ่มขึ้น0.29±0.87 mg/L (เพิ่มขึ้น 27.62%) แต่ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.249) สรุป: สรุปผลได้ว่า ระดับค่าบ่งชี้การอักเสบ hs-CRP ในเลือดของผู้ที่ได้รับยาลดไขมัน simvastatinในการรับประทานอาหารเสริมน้ำมันปลาที่ขนาด 1,000 mg ต่อวัน (ประกอบด้วย EPA 460 mg และ DHA 380 mg) เป็นเวลา 4 สัปดาห์ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบกับอาหารเสริมหลอก และไม่พบผลข้างเคียงใด ๆ ในอาสาสมัครกลุ่มทดลองที่ได้รับอาหารเสริมน้ำมันปลา"
} |
{
"en": "Background: Dental platform is a device allowing wheelchair patients to receive dental services withoutbeing transferred to a conventional dental unit. It also reduces the risks of accidents and provides convenience fora dental practice. The research team have developed two generations of dental platforms since 2012 and havelicensed private companies for the production, distribution, and services in Thailand as well as overseas countries. Objective: In 2020, experiences of patients and dentists using a dental platform in comparison with those using adental unit were evaluated. Method: 25 patients and the dentists who had experiences of using dental platformswere interviewed. Hospital administrators of the hospitals with the dental platforms were also interviewed regardingthe service of wheelchair patients. One of fve selected locations, namely Phon Thong Hospital, has installed andused the dental platform prototype developed by the research team, whereas the remaining four have installed andused the dental platforms manufactured and sold by licensed companies, namely: 1) Public Health Division, Offce ofHealth, 2) Phanom Phrai Hospital, 3) Lamlukka Hospital, and 4) Faculty of Medicine Vajira Hospital, NavamindradhirajUniversity. Result: The evaluation results were summarized from the interviews of 25 patients (5 for each location),including dentists and head managements. The interview data were then used for ergonomic design improvementof the third-generation dental platform. The platform got patented afterwards. the product design consists of upto 55 degrees reclination with reduced seat thickness, the adjustment of the backrest into 2 parts—the lower andthe upper backrest (combined with the headrest), and the adjustment of the upper for higher or lower positionwith electrical control system. Conclusion: The proposed design would allow the dental platform to support widerranges and styles of wheelchairs, helping wheelchair patients feel more comfortable and allowing dentists to workmore conveniently.",
"th": "ภูมิหลัง: เด็นทัลแพลตฟอร์มเป็นอุปกรณ์เพื่อให้บริการผู้ป่วยที่ใช้เก้าอี้ล้อเลื่อนให้สามารถรับบริการทันตกรรมโดยไม่จำเป็นต้องเคลื่อนย้ายมายังเก้าอี้ทำฟัน ช่วยลดความเสี่ยงและอันตรายจากอุบัติเหตุในการเคลื่อนย้าย และให้ความสะดวกแก่ทันตแพทย์ในการทำงาน ทีมวิจัยได้พัฒนาเด็นทัลแพลตฟอร์มมาแล้ว 2 รุ่นและได้ให้สิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยแก่บริษัทเอกชนตั้งแต่ปี 2555 เพื่อผลิตและจำหน่าย และมีการใช้ทั้งในและนอกประเทศ วัตถุประสงค์: ทีมวิจัยได้ประเมินผลการใช้งานในปี 2563 โดยประเมินประสบการณ์ของผู้ป่วยและทันตแพทย์ในการใช้เด็นทัลแพลตฟอร์มเปรียบเทียบกับเก้าอี้ทำฟัน วิธีการ: สัมภาษณ์ผู้ป่วย 25คน และทันตแพทย์ที่เคยใช้เด็นทัลแพลตฟอร์ม รวมทั้งความคิดเห็นของผู้บริหารเกี่ยวกับการให้บริการผู้ป่วยที่ใช้เก้าอี้ล้อเลื่อน 5 แห่งที่มีการติดตั้งและใช้งานเด็นทัลแพลตฟอร์ม โดยต้นแบบที่พัฒนาโดยทีมวิจัยมี 1 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลโพนทอง และผลิตโดยบริษัทเอกชนที่ได้รับสิทธิ์ใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยมี 4 แห่ง คือ 1) กองทันตสาธารณสุข สำนักอนามัย 2) โรงพยาบาลพนมไพร 3) โรงพยาบาลลำลูกกา และ 4) คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาลมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ผล: นำผลการประเมินจากการสัมภาษณ์ผู้ป่วยจำนวน 25 คน (5 แห่ง ๆ ละ 5 คน) รวมทั้งทันตแพทย์และผู้บริหาร ไปใช้พัฒนาเด็นทัลแพลตฟอร์ม รุ่นที่ 3 ให้มีคุณสมบัติที่ดีขึ้น และได้จดสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งได้มีการพัฒนาการออกแบบทางการยศาสตร์ ดังนี้ 1) ปรับระดับการเอนได้มากถึง 55 องศาและ ลดความหนาของเบาะลง 2) ปรับส่วนของพนักพิงหลังให้แยกเป็น 2 ส่วน คือส่วนพนักพิงหลังท่อนล่างและพนักพิงหลังท่อนบนซึ่งรวมกับพนักพิงศีรษะ โดยชิ้นส่วนด้านบนสามารถเคลื่อนขึ้นลงด้วยการควบคุมด้วยระบบไฟฟ้าเพื่อให้รองรับสรีระผู้ป่วยได้พอดี สรุป: การออกแบบใหม่ดังกล่าว ช่วยให้เด็นทัลแพลตฟอร์มสามารถใช้กับเก้าอี้ล้อเลื่อนแบบต่าง ๆ ได้มากขึ้น ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับความสะดวกสบายและทันตแพทย์สามารถทำงานได้สะดวกมากขึ้น"
} |
{
"en": "Background: The study of the success of root canal treatment is important for prognostication and decisionmaking for treatment planning. However, the study of the success rate and factors associated with initial non-surgicalroot canal treatment performed by dental postgraduates at the Institute of Dentistry have never been evaluated. Objective: The aim of this research was to evaluate the success and factors associated with initial non-surgical rootcanal treatment performed by dental postgraduates at the Institute of Dentistry, Ministry of Public Health, from2016 to 2020. Method: A retrospective study was done by collecting data from treatment and radiographic records.Radiographs obtained at pre-operation and the follow-up periods were collected following the Periapical index.The treatment outcome was evaluated to be a success or a failure based on the clinical and radiographic criteria.Factors associated with the treatment were analyzed using chi-square and multiple logistic regression. Result: Therecall rate was 65.2%, ranging from 6 to 52 months, The success rate was 81.7%, the failure rate was 18.3%, and thefunctional rate was 96.6%. The factor significantly associated with initial non-surgical root canal treatment was thepre-operative periapical lesion, in which teeth without any pre-operative periapical lesion had a chance of successmore than teeth with pre-operative periapical lesion < 5 mm and ≥ 5 mm, with the odds ratio of 0.07 and 0.37,respectively. Conclusion: The success rate of initial non-surgical root canal treatment was 81.7% and the failure ratewas 18.3%. The pre-operative periapical lesion was significantly associated with the success of initial non-surgicalroot canal treatment.",
"th": "ภูมิหลัง: การศึกษาความสำเร็จในการรักษาคลองรากฟันมีความสำคัญในการพยากรณ์และการตัดสินใจเลือกการรักษา และยังไม่มีการศึกษาอัตราความสำเร็จและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรักษาคลองรากฟันแบบไม่ผ่าตัดที่ให้การรักษาโดยทันตแพทย์ผู้เข้าอบรมประกาศนียบัตรวิทยาเอ็นโดดอนต์ สถาบันทันตกรรม วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสำเร็จและวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรักษาคลองรากฟันแบบไม่ผ่าตัดในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโดยทันตแพทย์ผู้เข้าอบรมฯ พ.ศ.2559-2563 วิธีการ: เป็นการศึกษาย้อนหลังติดตามผลการรักษาจากเวชระเบียนและภาพรังสีโดยใช้ Periapical index เป็นเกณฑ์ในการเก็บข้อมูลภาพรังสีก่อนการรักษาและในระยะติดตามผล และประเมินผลจากลักษณะทางคลินิกร่วมกับภาพรังสี การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรักษาคลองรากฟันโดยใช้ chi-square และ multiple logisticregression ผล: อัตราการติดตามผลร้อยละ 65.2 ในระยะเวลาติดตามผลตั้งแต่ 6 ถึง 52 เดือน อัตราความสำเร็จร้อยละ 81.7อัตราความล้มเหลวร้อยละ 18.3 และอัตราการใช้งานของฟันร้อยละ 96.6 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรักษาคลองรากฟันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติคือ รอยโรครอบปลายรากฟันก่อนการรักษา โดยฟันที่ไม่มีรอยโรคมีโอกาสให้ความสำเร็จในการรักษามากกว่าฟันที่มีรอยโรคขนาด < 5 มิลลิเมตร และ ≥ 5 มิลลิเมตร 0.07 เท่า และ0.37 เท่า ตามลำดับ สรุป: อัตราความสำเร็จร้อยละ 81.7 และอัตราความล้มเหลวร้อยละ 18.3 รอยโรครอบปลายรากฟันก่อนการรักษาเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรักษาคลองรากฟันแบบไม่ผ่าตัด"
} |
{
"en": "A 44-year-old Thai female patient with a removable denture came to see a dentist at WangHin Hospital, SisaketProvince, for a dental implant consultation. The patient had a history of having the upper anterior teeth extracted ayear ago due to a car accident. Upon the oral and the radiographic examinations, the upper right central and lateralincisors were absent, and a minor alveolar bone resorption and ridge deficiency were found. However, the woundis completely healed. Since this area is an esthetic zone, a treatment plan was made and practiced using a surgicaldental implant placement with the papilla preservation flap technique along with the bone augmentation usingalloplast. This treatment was done to prevent peri-implant bone resorption and create the emergence profile ofsurrounding the soft tissue contour, then the final restoration with crowns was done. After 3 months of treatment,it was found that the patient had a good oral hygiene and a normal surrounding gingiva. In addition, the alignment,color, and contour of the crowns harmonized with the natural teeth. In conclusion, the restoration of missing upperanterior teeth using dental implant and bone augmentation was one of the treatment choices that can solve theproblem in patients with alveolar ridge deficiency. It can also improve the patient’s occlusion function and estheticpersonality as well.",
"th": "ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 44 ปี ปัจจุบันใส่ฟันเทียมแบบถอดได้มาพบทันตแพทย์ที่โรงพยาบาลวังหิน จังหวัดศรีสะเกษเพื่อปรึกษาการฝังรากฟันเทียม ผู้ป่วยให้ประวัติว่าถูกถอนฟันหน้าบนเมื่อ 1 ปีที่ผ่านมาเนื่องจากประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ จากการตรวจในช่องปากและจากภาพถ่ายรังสีรอบศีรษะพบว่า ไม่พบฟันตัดซี่กลางและฟันตัดซี่ข้างด้านบนขวา พบความวิการของสันเหงือกและการละลายตัวของกระดูกเบ้าฟันด้านหน้าเล็กน้อย การหายของแผลบริเวณสันเหงือกและกระดูกเป็นแบบสมบูรณ์ดี เนื่องจากบริเวณนี้เป็นบริเวณสวยงาม จึงวางแผนการรักษาโดยการผ่าตัดเปิดเหงือกแบบคงเหงือกสามเหลี่ยมระหว่างฟันไว้ (papilla preservation flap) และฝังรากเทียมพร้อมกับเสริมสร้างเค้าโครงกระดูกโดยใช้กระดูกปลูกถ่ายสังเคราะห์ (alloplast) ชนิดละลายได้ เพื่อป้องกันการละลายของกระดูกรอบรากเทียมและเพื่อให้เหงือกบริเวณคอของรากฟันเทียมให้มีความโค้งนูน (emergence profile) แล้วจึงบูรณะด้วยครอบฟันการติดตามผลการรักษาที่ระยะเวลา 3 เดือนหลังจากการใส่ครอบฟัน พบว่าผู้ป่วยมีอนามัยช่องปากดี ไม่พบเหงือกอักเสบ แนวการเรียงตัวและสีของครอบฟันบนรากเทียมดูเป็นธรรมชาติ ลักษณะรูปร่างของเหงือกมีความโค้งอูมนูนไปตามฟันซี่ข้างเคียง โดยสรุปแล้วการบูรณะฟันหน้าด้วยรากฟันเทียมพร้อมกับเสริมสร้างเค้าโครงกระดูกก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษาที่สามารถแก้ไขปัญหาในกรณีผู้ป่วยมีสันกระดูกบางได้ ซึ่งนอกจากจะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถใช้งานในการบดเคี้ยวได้แล้ว ยังเสริมบุคลิกภาพด้านความสวยงามให้แก่ผู้ป่วยได้อีกด้วย"
} |
{
"en": "Background: Impacted teeth, if left untreated or under inappropriate treatment, have the potential to inducevarious complications. Objective: To determine the prevalence and pattern of impacted third molar by radiographicevaluation. Methods: This retrospective study was performed on patients who had an oral examination at theDental Department, Rajavithi Hospital between May 2017 and September 2017. Data were collected regarding thebaseline characteristics and orthopantomograms (OPG). Data were then analyzed using SPSS software version 22.0.The ethics committee of Rajavithi Hospital has reviewed and approved this study. Results: Among the 852 patientsincluded in the study, 71.8% were female with a mean age of 29.30 ± 11.20 years old. The pattern of the impactedthird molar, 3,107 teeth, was reviewed by radiographic evaluation. 65.9 percent were classified as impacted, of which33.5% were in the mandibular left third molar. The maxillary right and left third molars had impaction in level B at52.7% and 55.1%, vertical angular at 62.0% and 64.7%, respectively. The mandibular left and right third molars hadimpaction in level A at 57.9% and 63.9%, mesioangular impaction was 32.8% and 37.3%, and class II was at 85.5%and 87.6%, respectively. Conclusions: The prevalence of impacted third molar in patients has revealed a high rate,which is found in females more than males. The most vertically impacted site is level B in a maxillary third molar,while the mandibular third molar impacted site is mainly mesioangular, level A, and class II.",
"th": "ภูมิหลัง: ฟันคุดที่ไม่ได้รับการรักษา หรือเลือกวิธีการรักษาที่ไม่เหมาะสมกับรูปแบบของฟันคุด อาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้น วัตถุประสงค์: เพื่อหาความชุกและรูปแบบของฟันกรามซี่ที่สามคุดจากการประเมินภาพถ่ายรังสีพานอรามิก วิธีการ: การศึกษาย้อนหลังจากเวชระเบียนและการประเมินภาพถ่ายรังสีพานอรามิกในผู้ป่วยที่มารับการรักษาที่แผนกทันตกรรม โรงพยาบาลราชวิถีระหว่างเดือนพฤษภาคม 2560 ถึงกันยายน 2560 โดยเก็บข้อมูลคุณลักษณะทั่วไป และรูปแบบฟันกรามซี่ที่สามคุด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS version 22.0. ผล: กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 852ราย เป็นเพศหญิงร้อยละ 71.8 อายุเฉลี่ย 29.30±11.20 ปี จากการประเมินภาพถ่ายรังสีพานอรามิกจำนวน 3,107 ซี่ พบความชุกของฟันกรามซี่ที่สามคุดอย่างน้อยหนึ่งซี่ร้อยละ 65.9 เป็นฟันกรามล่างซ้ายซี่ที่สามร้อยละ 33.5 ฟันกรามบนซี่ที่สามด้านขวาและซ้าย มีความลึกของฟันคุดที่ตำแหน่ง B ร้อยละ 52.7 และ 55.1ทำมุม vertical impacted ร้อยละ 62.0 และ 64.7 ตามลำดับ ในส่วนของฟันกรามล่างซี่ที่สามด้านซ้ายและขวา มีความลึกของฟันคุดที่ตำแหน่ง A ร้อยละ 57.9 และ 63.9 ทำมุม mesioangularimpaction ร้อยละ 32.8 และ 37.3 เป็น class II ร้อยละ 85.5และ 87.6 ตามลำดับ สรุป: พบความชุกของฟันกรามซี่ที่สามคุดในระดับสูง ในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ฟันกรามบนซี่ที่สามคุดมีความลึกที่ตำแหน่ง B มุม vertical impacted ส่วนฟันกรามล่างซี่ที่สามคุดมีความลึกที่ตำแหน่ง A มุม mesioangular impactionและเป็น class II"
} |
{
"en": "Background: The availability of 3D printing technology provides an alternative option for fabricating aprovisional crown. A strong bond between the 3D printed provisional crown and the relining materials is significant forsuccess; however, there is limited information on the materials of choice regarding relining the 3D printed provisionalcrown. Objectives: This study aimed to evaluate the shear bond strength between the 3D printed provisional resinand different types of relining materials. Method: The specimens were divided into 3 groups (n = 15) according tothe relining materials; Group 1 (control group): Heat polymerized polymethyl methacrylate (PMMA) bonded withautopolymerizing PMMA, Group 2: 3D printed provisional resin bonded with PMMA, Group 3: 3D printed provisionalresin bonded with autopolymerizing bis-acryl composite. The surfaces were treated with silicon carbide paper. Thespecimens were then exposed to 2500 cycles of thermal cycling. The shear bond strength was measured via a universaltesting machine. A statistical analysis was done using one-way ANOVA test and Bonferroni at the significance levelof 0.05. Result: The group with heat-polymerized PMMA bonded with autopolymerizing PMMA showed the highestmean of shear bond strength (15.48 MPa). There were no statistically significant differences between autopolymerizingPMMA and bis-acryl composite bonded to the 3D printed provisional resin (10.38 and 11.08 MPa, respectively). Conclusion: There are no differences between autopolymerizing polymethyl methacrylate and bis-acryl compositebonded to the 3D printed provisional crown.",
"th": "ภูมิหลัง: การยึดติดระหว่างวัสดุเสริมด้านในและครอบฟันชั่วคราวมีความสำคัญต่อความสำเร็จของการรักษา แต่ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ว่าวัสดุใดเหมาะสมในการเสริมด้านในครอบฟันชั่วคราวที่ผลิตจากเครื่องพิมพ์สามมิติ วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบความแข็งแรงยึดเฉือนระหว่างวัสดุครอบฟันชั่วคราวที่ผลิตจากเครื่องพิมพ์สามมิติกับวัสดุเสริมด้านในต่างชนิดกัน วิธีการ: แบ่งกลุ่มการทดสอบออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 15 ชิ้น ได้แก่ กลุ่ม 1 วัสดุครอบฟันชั่วคราวพอลิเมทิลเมทาไครเลต (PMMA) ชนิดบ่มด้วยความร้อนยึดกับวัสดุ PMMA กลุ่ม 2 วัสดุครอบฟันชั่วคราวผลิตจากเครื่องพิมพ์สามมิติยึดกับวัสดุ PMMA และกลุ่ม 3 วัสดุครอบฟันชั่วคราวผลิตจากเครื่องพิมพ์สามมิติยึดกับวัสดุบิสเอคริล เตรียมพื้นผิวด้วยการขัดกระดาษทราย นำชิ้นงานเข้าเครื่องควบคุมอุณหภูมิร้อน-เย็น 2500 รอบก่อนทดสอบความแข็งแรงยึดเฉือนด้วยเครื่องทดสอบสากล ใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวและวิธีบอนเฟอร์โรนีที่ระดับนัยสำคัญ p < 0.05 ผล: วัสดุครอบฟันชั่วคราว PMMA ยึดกับวัสดุเสริมด้านใน PMMA ให้ค่าเฉลี่ยความแข็งแรงยึดเฉือนสูงสุด (15.48 MPa) รองลงมาคือ กลุ่ม 3 (11.08MPa) และกลุ่ม 2 (10.38 MPa) ไม่มีความแตกต่างระหว่างกลุ่ม 2และ 3 สรุป: ไม่มีความแตกต่างกันระหว่างค่าเฉลี่ยความแข็งแรงยึดเฉือนของวัสดุเสริมด้านใน PMMA และบิสเอคริลยึดติดกับวัสดุครอบฟันชั่วคราวจากเครื่องพิมพ์สามมิต"
} |
{
"en": "Background: At the present time, the examination of prostate cancer diagnosis with MRI is an early procedurewhen a prostate cancer is suspected. The biopsy is based on the process of magnetic resonance imaging (MRI)fusion targeted biopsy prostate (MRI-Bx), a 3D technology, along with real-time ultrasound, which encouragesdoctors to clearly see the details and location of the tumor in the prostate. This also allows doctors to accuratelyspecify where the biopsy is done without any randomization. Multiparametric Magnetic Resonance Imaging(mp-MRI) reduces the unnecessary biopsy and side effects. In Thailand, the popularity of the process has increased,but biopsy with MRI can be expensive with the cost of mp-MRI and ultrasound tools which serve the MRI fusion. Thisresearch was to study the cost-effectiveness of magnetic resonance imaging (MRI) targeted biopsy, compared withsystemic transrectal ultrasound-guided biopsy (TRUS-Bx) in prostate cancer diagnosis. Objective: To study cost andeffectiveness of magnetic resonance imaging (MRI) targeted biopsy, compared with systemic transrectal ultrasoundguided biopsy in prostate cancer diagnosis. Method: This was a retrospective study of people at risk of prostatecancer examined by MRI fusion biopsy prostate and systemic TRUS-Bx by calculating the cost of MRI targeted biopsyand its effectiveness in reducing false negative results. The results were then compared with systemic transrectalultrasound-guided biopsy. Result: There was an extra cost for MRI fusion biopsy and the incremental cost effectivenessratio was 616.69 Baht per a natural unit increased of the clinical outcome of interest when compared with systemictransrectal ultrasound-guided biopsy. Conclusion: The prostate cancer diagnosis with MRI fusion biopsy prostatewas more cost-effective when compared with systemic transrectal ultrasound-guided biopsy. The TRUS-Bx patientscan be at risks for the side effects caused by unnecessary biopsy.",
"th": "ภูมิหลัง: ในปัจจุบันได้มีการนำวิธีการตรวจวินิจฉัยมะเร็งต่อมลูกหมากโดยการทำ MRI ต่อมลูกหมากก่อน หากมีลักษณะที่สงสัยมะเร็ง จึงทำการตัดชื้นเนื้อด้วยวิธี Magnetic ResonanceImaging Fusion Targeted Biopsy Prostate (MRI-Bx) เป็นเทคโนโลยีการสร้างภาพสามมิติพร้อมการทำอัลตราซาวนด์แบบ real-time ที่ช่วยให้แพทย์เห็นรายละเอียดและตำแหน่งของก้อนมะเร็งในต่อมลูกหมากได้อย่างชัดเจน ทำให้สามารถกำหนดบริเวณที่จะตัดชิ้นเนื้อออกมาตรวจได้อย่างแม่นยำโดยไม่ต้องสุ่มตรวจ การทำ Multiparametric Magnetic Resonance Imaging (mp-MRI) นี้จะลดการตรวจชิ้นเนื้อคนไข้โดยไม่จำเป็นและลดผลข้างเคียงจากการตัดชิ้นเนื้อได้ โดยในประเทศไทยเริ่มมีการนำเทคโนโลยีการตรวจชิ้นเนื้อแบบนี้เพิ่มมากขึ้นแต่การทำตรวจชิ้นเนื้อด้วยการทำ MRI นี้มีค่าใช้จ่ายที่สูงที่เพิ่มขึ้น คือค่า mp-MRIและเครื่องมือตรวจอัลตร้าซาวน์ที่สามารถรองรับการทำ MRI fusion ได้ การศึกษานี้จึงเป็นการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ การใช้ MRI-Bx เปรียบเทียบกับ Systemic Transrectal Ultrasound Guide Biopsy(TRUS-Bx) ในการวินิจฉัยมะเร็งต่อมลูกหมาก วัตถุประสงค์: การศึกษาต้นทุนและประสิทธิผลของการใช้ MRI-Bx เปรียบเทียบกับ TRUS-Bx ในการวินิจฉัยมะเร็งต่อมลูกหมาก วิธีการ: เป็นการศึกษาย้อนหลังของผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากที่ได้รับการตรวจโดย MRI-Bx กับ Systemic TRUS-Bx โดยคำนวณต้นทุนของการทำ MRI-Bx และผลลัพธิ์ในการลดผลลบลวงในการวินิจฉัยมะเร็งต่อมลูกหมากเปรียบเทียบกับ Systemic TRUS-Bx ผลลัพธ์: ต้นทุนประสิทธิผลส่วนเพิ่มในการทำ MRI-Bx คิดเป็นค่า incrementalcost-effectiveness ratio เท่ากับ 616.69 บาทต่อการตรวจแต่ละครั้ง เมื่อเทียบกับการทำ Systemic TRUS-Bx สรุป: การตรวจวินิจฉัยมะเร็งต่อมลูกหมากด้วยวิธี MRI-Bx มีประสิทธิผลเมื่อเปรียบเทียบกับ TRUS-Bx โดยที่วิธี TRUS-Bx คนไข้อาจต้องพบความเสี่ยงจากผลข้างเคียงต่อการเอาชิ้นเนื้อไปตรวจโดยไม่จำเป็น"
} |
{
"en": "Background: Opioids are highly dangerous substances. When an individual takes this drug unintentionally, itcan result in severe addiction. Methadone maintenance treatment is the main concept used to help patients reduceor quit the use of drugs and increase their quality of life. Objective: The purpose was to study the outcomes ofmethadone maintenance treatment at the methadone clinic in PMNIDAT. Method: This study was a retrospectivedescriptive study which had been implemented by applying medical record reviews of opioid addicts in the clinicfrom 2017 to 2021 (5 fiscal years). The data had been collected from 320 samples between 27th April to 31st May2022, using personal data records and treatment forms. The tool quality was examined by 3 experts with I-CVI(0.8) – 1.0, S-CVI (0.97) and by Cronbach’s alpha coefficient (0.83). The data were analyzed and shown by number,percentage, mean and standard deviation. The statistical analysis was implemented by using Chi-Square and Fisher’sexact test at the statistical significance level .05. Result: 41.3% of patients could reduce using heroin and 21.9%could quit using the drug. However, 28.8% of the patients remain in the treatment regimen, and 72.5% of them havereturned to work and study. The factors affecting the treatment outcomes were personal factors, which were age,occupation, education, marital status, history of opioid drug use, and incomes. The therapeutic factors were dailydose of methadone and the length of therapy stay. Conclusion: The treatment could result in good outcome ifenhanced by supporting factors, such as individual factors (age, occupation, and education). The therapeutic factorswere receiving enough dose of methadone and an appropriate length of treatment. Thus, to develop the mosteffective treatment system for this group of patients, therapists should use this information to develop an individualtreatment plan based on each patient’s conditions.",
"th": "ภูมิหลัง: โอปิออยด์เป็นยาเสพติดที่มีฤทธิ์ร้ายแรง เมื่อบุคคลเกิดพลาดพลั้งไปใช้ยากลุ่มนี้จะเกิดภาวการณ์เสพติดที่รุนแรง การดูแลด้วยหลักการลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติดเป็นการบำบัดโดยการใช้ยาเมทาโดนทดแทนระยะยาว นับเป็นแนวคิดสำคัญเพื่อช่วยให้ผู้เสพติดยากลุ่มนี้สามารถลด ละ หรือเลิกใช้ยาเสพติดได้ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลลัพธ์การบำบัดรักษาผู้ป่วยเมทาโดนระยะยาว และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลลัพธ์การบำบัดรักษาผู้ป่วยเมทาโดนระยะยาว ณ คลินิกเมทาโดนสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.) วิธีการ: การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง (retrospective descriptive study) ด้วยการทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยเสพติดโอปิออยด์ของคลินิกเมทาโดนระยะยาวตั้งแต่ปี พ.ศ.2560 – 2564 (5 ปีงบประมาณ) กลุ่มตัวอย่างจำนวน 320 ราย เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 27 เมษายน – 31 พฤษภาคม 2565 ด้วยแบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลการบำบัดรักษาด้วยยาเมทาโดนระยะยาว และแบบบันทึกผลลัพธ์การบำบัด เครื่องมือวิจัยได้รับการตรวจสอบคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน มีค่า I-CVI = 0.8 – 1.0,S-CVI= 0.97 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค = 0.83วิเคราะห์ข้อมูลแสดงผลด้วยจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติวิเคราะห์ใช้ chi-square และ Fisher’s exacttest ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผลลัพธ์: พบว่าผู้ป่วยเมทาโดนระยะยาวสามารถลดปริมาณการใช้เฮโรอีนได้ร้อยละ 41.3 หยุดใช้เฮโรอีนได้ร้อยละ 21.9 ยังคงอยู่ในระบบการบำบัดรักษานาน 1 ปีร้อยละ 28.8 และมีงานทำหรือเรียนหนังสือต่อได้ร้อยละ 72.5 ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลลัพธ์การบำบัดคือ ปัจจัยส่วนบุคคลคืออายุ อาชีพ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส ประวัติการใช้สารเสพติดกลุ่มโอปิออยด์ และรายได้ต่อเดือน ปัจจัยการบำบัด ได้แก่ขนาดยาเมทาโดนที่ผู้ป่วยได้รับต่อวัน และระยะเวลาที่ผู้ป่วยเข้ารับการบำบัด สรุป: ผู้ป่วยเมทาโดนระยะยาวมีผลลัพธ์การบำบัดที่ดีได้หากมีปัจจัยส่งเสริมคือ ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา ปัจจัยการบำบัด ได้แก่ การได้รับยาเมทาโดนที่เพียงพอกับความต้องการของผู้ป่วย และระยะเวลาที่ผู้ป่วยเข้ารับการบำบัดด้วยเมทาโดนนานพอ ดังนั้น หากจะพัฒนาระบบการบำบัดรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ผู้บำบัดควรนำข้อมูลจากการศึกษานี้ไปใช้วางแผนการดูแลให้สอดคล้องกับบริบทของผู้ป่วยแต่ละรายต่อไป"
} |
{
"en": "This case report described a successful treatment of an 8-year-old boy with an anterior dental crossbite,poor oral hygiene, and no prior dental experience, using a simple removable lower posterior bite plane to guidethe teeth into a normal position. After 4 months, the anterior crossbite was corrected. The mixed dentition periodprovides an excellent opportunity for occlusal guidance and malocclusion interception. Treatment may becomemore complicated if it was postponed to a later developmental stage. It was critical to managing children’s fear andbehavior in the dental chair, as well as their parents’ attitudes and knowledge of oral healthcare before beginningthe treatment. At times, a child’s perception of not cooperating or accepting treatment may be exaggerated. Thechallenge of treatment is that good cooperation, adjusting children’s behavior, and keeping up with their parents’education all contribute to treatment success. A thorough clinical assessment and accurate diagnosis are requiredto plan appropriate treatment strategies and appliance design.",
"th": "รายงานผู้ป่วยอธิบายถึงความสำเร็จในการรักษาฟันหน้าสบคร่อม (anterior dental crossbite) ของเด็กชายอายุ 8 ขวบ ที่มีสุขภาพช่องปากไม่ดีและไม่เคยมีประสบการณ์ด้านทันตกรรมมาก่อน โดยใช้เครื่องมือถอดได้ที่มีแผ่นกัดฟันหลังอย่างง่ายเพื่อช่วยให้ฟันขึ้นมาอยู่ในตำแหน่งปกติ สามารถแก้ไขฟันหน้าสบคร่อมได้ภายหลังจากใส่เครื่องมือ 4 เดือน การแก้ไขการสบฟันผิดปกติแบบฟันหน้าสบคร่อมในช่วงฟันชุดผสมโดยการชี้นำแนวการขึ้นของฟันสู่ระนาบกัดสบตามธรรมชาติจะมีโอกาสประสบผลสำเร็จมากขึ้นและเพื่อเป็นการแก้ไขเบื้องต้น ถ้าปล่อยให้ฟันมีพัฒนาการเป็นชุดฟันแท้การรักษาอาจจะยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้น สิ่งสำคัญที่จะต้องจัดการก่อนจะเริ่มให้การรักษาก็คือ ความกลัวและพฤติกรรมของเด็กขณะให้การรักษา รวมทั้งทัศนคติและความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ปกครอง เพราะในบางครั้งการที่จะประเมินว่าเด็กไม่ให้ความร่วมมือหรือไม่ยอมรับการรักษาในครั้งแรกที่พบจะยังไม่สามารถสรุปได้ ซึ่งเป็นความท้าทายของการรักษาที่จะต้องปรับพฤติกรรม ความร่วมมือที่ดีของเด็กและการเอาใจใส่ของผู้ปกครองล้วนมีส่วนช่วยให้การรักษาประสบความสำเร็จ รวมถึงการประเมินทางคลินิกอย่างละเอียดและการวินิจฉัยที่ถูกต้องจะช่วยให้ได้แผนการรักษาและสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสม"
} |
{
"en": "Background: Drug problems affect people all over the world on an individual, family, socioeconomic, and nationallevels. If drug users can change their behavior by reducing or quitting drug use, they will achieve a better quality oflife. Health literacy as the main strategy of the Ministry of Public Health, can improve the quality of life of drug addicts.Professional nurses should have knowledge about the level of health literacy of drug addicts and factors that contributeto the the literacy development. They are inputs that enable patients to reduce or stop their drugusing drugs. Objective:This research aimed to study the level of health literacy and factors affecting health literacy in methamphetamine-addictedpatients. Methods: This study was a descriptive study which collected data from 507 samples at Princess Mother NationalInstitute on Drug Abuse Treatment and 6 Thanyarak Hospitals across the country. The date were collected using a healthliteracy questionnaire for methamphetamine patients created by the researcher based on the Sorensen concept. Theresearch tool was quality-examined by 3 experts with I-CVI = 0.8 – 1.0, S-CVI = 0.97, and Cronbach’s alpha coefficient =0.91. The date collection period was between April 25-June 15, 2022. Data were analyzed by number, percentage, mean,and standard deviation. The inferential analysis used multiple linear regression at the statistical significance level of .05. Results: Overall, patients had a moderate level of health literacy (mean ± SD = 72.8 ± 15.7). Education level, types ofdrugs used, gender, duration of drug used, and income determine the level of health literacy in methamphetaminepatients by 13.6% (R2 = 0.136) at a significant level of .05. Conclusion: The nursing team should create health literacyin patients by designing activities according to patients’ needs and associated factors such as level of education, typesof drugs, and gender.",
"th": "ภูมิหลัง: ปัญหายาเสพติดก่อให้เกิดผลกระทบต่อคนทั่วโลกทั้งในระดับปัจเจกบุคคล ครอบครัว เศรษฐกิจ สังคมและประเทศชาติหากผู้ใช้ยาและสารเสพติดสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตนเองโดยลด ละ หรือเลิกใช้ยาเสพติดได้จะส่งผลให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ความรอบรู้ด้านสุขภาพเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์หลักของกระทรวงสาธารณสุขและเป็นต้นทุนชีวิตที่สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ติดยาเสพติดได้พยาบาลวิชาชีพควรมีข้อมูลเกี่ยวกับระดับความรอบรู้ทางสุขภาพและปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้ป่วยเสพติดยาบ้ามีรอบรู้ทางสุขภาพซึ่งเป็นข้อมูลนำเข้าในการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพให้แก่ผู้ป่วยเสพติดยาบ้าให้สามารถลด ละ หรือเลิกใช้ยาเสพติดได้ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ทางสุขภาพ และปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้ทางสุขภาพในผู้ป่วยเสพติดยาบ้า วิธีการ: เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ รวบรวมข้อมูลจากแบบวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพในผู้ป่วยเสพติดยาบ้าที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองตามแนวคิดความรอบรู้ทางสุขภาพของโซเรนเซ็น เครื่องมือการวิจัยผ่านการตรวจสอบคุณภาพความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน มีค่า I-CVI = 0.8 – 1.0 ค่าS-CVI = 0.97 ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค = 0.91 กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยเสพติดยาบ้าที่เข้ารับการบำบัดในสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.) และโรงพยาบาลธัญญารักษ์ทั้ง 6 แห่งทั่วประเทศจำนวน 507 คน เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 25 เมษายน-15กรกฎาคม 2565 วิเคราะห์ข้อมูลนำเสนอด้วย จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติวิเคราะห์อนุมานใช้ multiple linearregression ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผลลัพธ์: ผู้ป่วยเสพติดยาบ้ามีระดับความรอบรู้ทางสุขภาพด้านยาเสพติดภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (mean ± SD = 72.8 ± 15.7) ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณในการพยากรณ์ระดับความรอบรู้ทางสุขภาพในผู้ป่วยเสพติดยาบ้า (ภาพรวม) พบว่าระดับการศึกษา ยาเสพติดที่ใช้ เพศ ระยะเวลาที่ใช้ยาเสพติด และรายได้เฉลี่ย สามารถร่วมทำนายระดับความรอบรู้ทางสุขภาพในผู้ป่วยเสพติดยาบ้าได้ร้อยละ 13.6 (R2 = 0.136) อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 สรุป: ทีมพยาบาลควรสร้างความรอบรู้ทางสุขภาพให้แก่ผู้ป่วยเสพติดยาบ้า โดยสร้างกิจกรรมให้สอดคล้องตรงตามความต้องการของผู้ป่วย โดยคำนึงถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้อง อาทิ วิธีการพัฒนา เนื้อหาของข้อมูลควรสอดคล้องกับระดับการศึกษา ประเภทของยาเสพติดที่ผู้ป่วยใช้ และเพศของผู้ป่วย เป็นต้น"
} |
{
"en": "Background : Acute appendicitis is the most frequent disease found in acute abdominal condition. It is generally recognized that laparoscopic surgery resulted in less pain than open surgery. There are two techniques of laparoscopic surgery, including single port and single incision multiport.\nObjective : This study aimed to compare pain score, morphine consumption and length of hospital stay between single port and single incision multiport techniques.\nMethod : The randomized controlled trial was conducted on 120 acute appendicitis patients who had a laparoscopic appendectomy from 1st January to 31st December 2019. After obtaining ethical approval and written informed patient consent, 120 patients were randomly assigned into two groups, including single port group (n = 60) and single incision multiport group (n = 60). These two groups were compared for demographics, morphine consumption, pain score and length of hospital stay.\nResults : Regarding the personal information of patients in both groups were no differences in terms of age, gender, BMI, ASA classification, types of appendicitis, duration of symptoms, operative time and operative blood loss. The results also revealed no significant differences in post operative pain after 8, 12 and 24 hours. The average pain score of the single incision multiport group after the 8, 12 and 24 hours of operation were 5.27±2.36, 3.53±2.27 and 2.13±1.60, while mean pain score of the single port group after the 8, 12 and 24 hours of operation were 4.33±1.97, 3.17±2.04 and 1.91±1.51 with the p–value of 0.025, 0.338, 0.626 respectively. The mean length of hospital stay between single incision multiport and the single port group was 29±12.32 and 25±7.74 hours respectively with the p–value 0.038.\nConclusion : The single incision multiport laparoscopic and single port are easy technique, economical and had no differences in post operative pain score. Even there was a minimal different in hospital length of stay between the two groups but it was not affects daily hospital cost or hospital bed occupied.",
"th": "ภูมิหลัง : โรคไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อย ที่สุดในผู้ป่วยที่มาด้วยภาวะปวดท้องเฉียบพลัน การผ่าตัดแบบ ส่องกล้องเป็นที่ยอมรับว่ามีความปวดหลังผ่าตัดน้อยกว่าแบบเปิด หน้าท้อง ในปัจจุบันการผ่าตัดแบบส่องกล้องมีการใช้ทั้งเทคนิค single port และเทคนิค single incision multiport\nวัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของการลดความปวดหลังผ่าตัด ปริมาณ การใช้ยาแก้ปวดมอร์ฟีน และระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล ของการผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบแบบส่องกล้องระหว่างการผ่าตัดโดยใช้ เทคนิค single port และ single incision multiport\nวิธีการ : การ ศึกษาแบบ randomized controlled trial ในผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบ เฉียบพลันที่เข้ารับการผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบแบบส่องกล้องตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 จำนวนทั้งหมด 120 ราย หลังจากผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย ในมนุษย์โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ได้แบ่งผู้ป่วยแบบสุ่มเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ผ่าตัดโดยใช้เทคนิค single port และเทคนิค single incision multiport ศึกษาเปรียบเทียบลักษณะทั่วไปของประชากร ระดับ ความปวดที่ 8, 12 และ 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัด ปริมาณการใช้ยา แก้ปวดมอร์ฟีน และระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาล\nผล : ไม่มี ความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในด้านข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม จากผลงานวิจัยพบว่าความเจ็บปวดที่ 8, 12 และ 24 ชั่วโมง หลังผ่าตัดในกลุ่ม single incision multiport เฉลี่ย 5.27±2.36, 3.53±2.27 และ 2.13±1.60 ตามลำดับ ส่วนกลุ่ม single port เฉลี่ย 4.33±1.97, 3.17±2.04 และ 1.91±1.51 ตามลำดับ ค่า p-value 0.025, 0.338, 0.626 ตามลำดับ และพบว่าระยะเวลาการ นอนโรงพยาบาลหลังผ่าตัดกลุ่ม single incision multiport และ กลุ่ม single port เฉลี่ย 29±12.32 และ 25±7.74 ชั่วโมง p-value 0.038\nสรุป : เทคนิค single port และเทคนิค single incision multiport เป็นทางเลือกหนึ่งในการผ่าตัดไส้ติ่งแบบส่องกล้อง เนื่องจากเป็นวิธีที่ทำได้ง่าย ใช้เวลาในการผ่าตัดไม่แตกต่างกัน มี คะแนนความปวดหลังผ่าตัดที่ใกล้เคียง แม้จะมีระยะเวลาการ นอนโรงพยาบาลเฉลี่ยต่างกันเล็กน้อย แต่ไม่กระทบต่อค่าใช้จ่าย หรืออัตราการครองเตียงรายวันของโรงพยาบาล"
} |
{
"en": "Background : The hearing loss in type 2 diabetic mellitus (T2DM) are slowly progression, with do not affect to communication in daily activity. There are many risks that affect to hearing loss, e.g., age, gender, duration of diabetic mellitus, blood sugar level and body mass index (BMI).\nObjective : The purpose of this research was to study prevalence and risk factor of hearing loss in type 2 diabetes mellitus at Priest Hospital.\nMethods : The study design was retrospective cohort study. Forty-six patients, type 2 diabetes mellitus in diabetic mellitus clinic, were audiogram test. Information of patients were collected from medical records.\nResults : The prevalence of hearing loss was 82.60%. High frequency hearing loss was the most level of hearing loss, right ear was 43.50% and left ear was 45.70%. The factor of hearing loss in type 2 diabetes mellitus were age and the duration of diabetes mellitus, which were significant difference (p-value < 0.05). The average age of both-ears normal hearing was 46.63±9.94 years and hearing loss was 56.50±9.87 years. The average duration of diabetes mellitus of both-ears normal hearing was 2.79±1.39 years and hearing loss was 4.56±2.66 years.\nConclusion : The high frequency hearing loss was the early level in the type 2 diabetes mellitus patients, which did not affect in communication of daily activity. Thus, suggestion is to have hearing screening in type 2 diabetes mellitus.",
"th": "ภูมิหลัง : การสูญเสียการได้ยินในผู้ป่วยโรคเบาหวานมีแนวโน้ม การเกิดแบบค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งยัง ไม่กระทบต่อการสื่อความหมาย ในชีวิตประจำวัน ทั้งนี้ปัจจัยของโรคเบาหวานที่อาจส่งผลกระทบ ต่อการสูญเสียการได้ยินมาจากหลายปัจจัย ได้แก่ อายุ เพศ ระยะ เวลาการเป็นโรคเบาหวาน การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และ ดัชนีมวลกาย (body mass index; BMI)\nวัตถุประสงค์ : ศึกษา ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของการสูญเสียการได้ยินในพระสงฆ์โรค เบาหวานชนิดที่ 2\nวิธีการ : การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบย้อนหลัง (retrospective cohort study) ใช้การเก็บข้อมูลเวชระเบียน ตรวจ การได้ยินในผู้ป่วยพระสงฆ์ที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคเบาหวานชนิด ที่ 2 ที่มาติดตามผลรักษา ณ คลินิกโรคเบาหวานแผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลสงฆ์ จำนวน 46 รูป\nผล : พระสงฆ์โรคเบาหวานชนิด ที่ 2 มีการสูญเสียการได้ยินร้อยละ 82.60 พบสูญเสียการได้ยิน ความถี่สูง (high frequency hearing loss) มากที่สุด หูขวา ร้อยละ 43.50 หูซ้าย ร้อยละ 45.70 ปัจจัยเสี่ยงของการสูญเสียการ ได้ยินในพระสงฆ์โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีความแตกต่างอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) ได้แก่ อายุ และระยะเวลา การเป็นโรคเบาหวาน โดยกลุ่มการได้ยินปกติทั้งสองข้างมีอายุเฉลี่ย 46.63 ± 9.94 ปี ส่วนกลุ่มสูญเสียการได้ยินมีอายุเฉลี่ย 56.50 ± 9.87 ปี ระยะเวลาการเป็นโรคเบาหวานกลุ่มการได้ยินปกติทั้ง สองข้าง เฉลี่ย 2.79 ± 1.39 ปี ส่วนกลุ่มสูญเสียการได้ยิน เฉลี่ย 4.56±2.66 ปี\nสรุป : พระสงฆ์โรคเบาหวานชนิดที่ 2 จะเริ่มสูญ เสียการได้ยินที่ความถี่สูงเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งยังไม่ส่งผลกระทบต่อ การสื่อสารในชีวิตประจำวัน ดังนั้นแนะนำควรมีการตรวจคัดกรอง ระดับการได้ยินในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2"
} |
{
"en": "Background : Extracorporeal shock wave lithotripsy (ESWL) is the standard treatment for urinary stones, which mainly uses fluoroscopy to determine the location of stones. Developing using ultrasound to determine the location of stones instead of traditional methods will be useful so that patients and doctors do not have to be exposed to X-rays from the use of fluoroscopy.\nObjective : To compare the efficacy and safety of ultrasound and fluoroscopy to guide in extracorporeal shock wave for treatment of renal and upper ureteral calculi.\n Methods : This study was a single-center study, randomized, non-inferiority trial in 154 patients who had radiopaque renal and upper ureteral calculi. Patients were randomly assigned to an ultrasound or fluoroscopy-guided SWL group. A standardized SWL protocol was used. The stone-free rate and the complications were compared.\nResults : Stone size and location, age, and body mass index were comparable between groups. The stone-free rate was 80.5% in the ultrasoundguided group compared to 81.8% in the fluoroscopy-guided group (p = 0.837). These results were not significantly different and proved to be non-inferior based (p = 0.037). The complication rate (gross hematuria) was 31.6% in the ultrasound-guided group compared to 38.2% in the fluoroscopy-guided group (p = 0.395). No patients had serious complications.\nConclusions : Our study demonstrated that the clinical results of ultrasound-guided SWL were not inferior to the effects of fluoroscopy-guided SWL, while no ionizing radiation is needed.",
"th": "บทนำ : การสลายนิ่วเป็นการรักษานิ่วที่เป็นมาตรฐาน ซึ่ง ส่วนใหญ่จะใช้เอกซเรย์ฟลูโอโรสโคปี้ในการระบุตำแหน่งของนิ่ว การพัฒนาโดยใช้อัลตราซาวนด์ในการระบุตำแหน่งของนิ่วแทนวิธี ดั้งเดิม จะมีประโยชน์ทำให้ผู้ป่วยและแพทย์ไม่จำเป็นต้องสัมผัสกับ รังสีเอกซเรย์จากการใช้เอกซเรย์ฟลูโอโรสโคปี้\nวัตถุประสงค์ : เพื่อ เปรียบเทียบประสิทธิผล และความปลอดภัยการใช้อัลตราซาวนด์ และการใช้เอกซเรย์ฟลูโอโรสโคปี้ในการระบุตำแหน่งของนิ่ว ระหว่างการสลายนิ่วในไตและนิ่วในท่อไตส่วนต้น\nวิธีการ : การศึกษานี้เป็นการศึกษาในสถาบันเดียวแบบสุ่มที่แสดงความไม่ด้อย กว่า (non-inferiority trial) ในผู้ป่วยจำนวน 154 รายที่เป็นนิ่ว ชนิดมองเห็นได้จากเอกซเรย์ (radiopaque) ในไตและในท่อไต ผู้ป่วยจะได้รับการสุ่มเพื่อแบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกจะใช้อัลตราซาวนด์ และกลุ่มที่สองใช้เอกซเรย์ฟลูโอโรสโคปี้ในการระบุตำแหน่งนิ่ว โดยประเมินอัตราความสำเร็จในการสลายนิ่ว อัตราที่นิ่วหลุด และ ผลข้างเคียงของการสลายนิ่วเพื่อเปรียบเทียบทั้งสองกลุ่ม\nผล : ขนาดนิ่ว ตำแหน่งนิ่ว อายุ เพศ ค่าดัชนีมวลกายของทั้งสองกลุ่ม ไม่แตกต่างกัน อัตรานิ่วหลุด (stone free rate) ของกลุ่มที่ใช้ อัลตราซาวนด์ระบุตำแหน่งนิ่วคิดเป็นร้อยละ 80.5 เปรียบเทียบกับ กลุ่มที่ใช้ เอกซเรย์ฟลูโอโรสโคปี้คิดเป็นร้อยละ 81.8 (p = 0.837) ซึ่ง ไม่มีความแตกต่างกัน จากผลการศึกษานี้พบว่าการใช้อัลตราซาวนด์ ไม่ด้อยกว่ากลุ่มที่ใช้เอกซเรย์ฟลูโอโรสโคปี้เพื่อระบุตำแหน่งนิ่ว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.037) อาการปัสสาวะเป็น เลือดซึ่งเป็นผลข้างเคียงที่พบบ่อยของการสลายนิ่ว ในกลุ่มที่ใช้ อัลตราซาวนด์ระบุตำแหน่งนิ่วพบร้อยละ 31.6 เทียบกับกลุ่มที่ใช้ เอกซเรย์ฟลูโอโรสโคปี้พบร้อยละ 38.3 ก็ไม่มีความแตกต่างกันอย่าง มีนัยยสำคัญทางสถิติเช่นกัน โดยในทั้งสองกลุ่มไม่พบว่ามีผู้ป่วยที่มี ผลข้างเคียงที่รุนแรง\nสรุป : จากผลการศึกษาพบว่า การสลายนิ่วโดย ใช้อัลตราซาวนด์ให้ประสิทธิผลไม่ด้อยกว่าเอกซเรย์ฟลูโอโรสโคปี้ เพื่อระบุตำแหน่งนิ่วในการสลายนิ่วในไตและนิ่วในท่อไตส่วนต้น โดย มีข้อดีที่เหนือกว่าคือการที่ผู้รักษาและผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องสัมผัสกับ รังสีเอกซเรย์จากการใช้เอกซเรย์ฟลูโอโรสโคปี้"
} |
{
"en": "Background : Closed suction drainage has been widely used when performing total knee arthroplasty, however, benefits and disadvantages of this procedure remain no consensus in various studies.\nObjective : This study aimed to compare the effect of drain use with no drain after total knee arthroplasty in Thabo Crown Prince Hospital. All operations were performed by a single surgeon.\nMethod : 284 patients who underwent total knee arthroplasty between 1 January 2013 -30 June 2019 were recruited. Patients were divided into two groups according to whether they received a drain postoperatively following total knee arthroplasty. Both groups were compared for rate of blood transfusion, length of hospital stay, time from surgery to initial physical therapy, ecchymosis, hematoma formation and rate of infection.\nResults : The transfusion rate in the drain group were not significantly different compared to the no-drain group (p=0.158). No significant differences in the time from surgery to initial physical therapy between two groups (p=0.287). The mean of length of hospital stay was 7.68 days for drain group and 7.09 days for non-drain group but there was no difference between two groups (p=0.060). Superficial wound infection occurred 3 cases in both groups but there was no difference between two groups (p=0.761). Ecchymosis were more in non-drain group but there was no difference between two groups (p=0.128). No hematoma formation and no deep wound infection were encountered in both groups.\nConclusion : No significant different was observed in the two groups with respect to blood transfusion, infection rate, ecchymosis, time from surgery to initial physical therapy and duration of hospital stay.",
"th": "ภูมิหลัง : ปัจจุบันการใส่ท่อระบายเลือดในการผ่าตัดเปลี่ยน ข้อเข่ายังเป็นวิธีที่ปฏิบัติอยู่ทั่วไปเพื่อเป็นการป้องกันเลือดคั่งใน ข้อเข่าซึ่งอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดการติดเชื้อ แต่อาจทำให้ผู้ป่วย ได้รับเลือดหลังผ่าตัดมากขึ้น เพิ่มระยะเวลาวันนอน และอาจทำให้ การเคลื่อนไหวข้อเข่าลดลงหรือทำได้ช้ากว่าที่ควรจะเป็น บางการ ศึกษาเชื่อว่าการไม่ใส่ท่อระบายเลือด ช่วยลดอัตราการให้เลือด และลดระยะเวลาวันนอนโรงพยาบาล ที่ผ่านมาการผ่าตัดเปลี่ยน ข้อเข่าเทียมในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อยังไม่มีการ เปรียบเทียบผลลัพธ์ของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า เทียมระหว่างกลุ่มที่ใส่ท่อระบายเลือดและไม่ใส่ท่อระบายเลือด\nวัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ทางคลินิกและภาวะ แทรกซ้อนหลังผ่าตัดระหว่างทั้งสองกลุ่ม\nวิธีการ : ศึกษาข้อมูล ย้อนหลังตั้งแต่ 1 มกราคม 2556 – 30 มิถุนายน 2562 มีผู้ป่วย ทั้งหมด 284 ราย แบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่มดังนี้ กลุ่มที่ได้รับการใส่ท่อ ระบายเลือด (closed suction drain system) จำนวน 152 ราย และกลุ่มที่ไม่ได้รับการใส่ท่อระบายเลือด จำนวน 132 ราย ผู้ป่วย ทั้งหมดในการศึกษานี้ทำการผ่าตัดโดยศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ คนเดียวกันโดยศึกษาเปรียบเทียบข้อมูลพื้นฐาน ข้อมูลทางคลินิก และภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดระหว่างสองกลุ่ม\nผล : ไม่มีความ แตกต่างกันในข้อมูลพื้นฐานและข้อมูลทางคลินิกระหว่างผู้ป่วยสอง กลุ่มนี้ ระยะเวลานอนโรงพยาบาลพบว่าในกลุ่มไม่ใส่ท่อระบายเลือด มีระยะวันนอนสั้นกว่าแต่ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ (p=0.060) การได้รับเลือดหลังผ่าตัดพบในกลุ่มใส่ท่อระบาย เลือดมากกว่าแต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p= 0.158) วันที่ได้รับการทำกายภาพครั้งแรกหลังผ่าตัดพบว่าไม่มีความ แตกต่างกันระหว่างสองกลุ่ม (p=0.287) การติดเชื้อแผลผ่าตัดที่ ผิวหนังไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างสอง กลุ่ม (p= 0.761 ) เกิดภาวะจ้ำเขียวในกลุ่มที่ไม่ใส่ท่อระบายเลือด มากกว่าแต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.128) ไม่พบการการคั่งของเลือด (hematoma)และการติดเชื้อแผล ผ่าตัดชั้นลึกในผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม\nสรุป : การใส่ท่อระบายเลือดและ ไม่ใส่ท่อระบายเลือดหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมไม่พบความ แตกต่างของการได้รับเลือดทดแทน การติดเชื้อแผลผ่าตัดและ ระยะวันนอนในโรงพยาบาล"
} |
{
"en": "Background : The development of educational tools for behavior change in diabetes patients is widespread. However, the educational model using the mobile application for DM control is limited.\nObjective : To develop and evaluate the nutrition knowledge-based learning model (classify food) for blood sugar control among diabetic patients in Rajavithi Hospital.\nMethods : The research and development was carried out in two phases. First: The situation analysis to develop a nutrition knowledge-based learning model using information technology was performed by multidisciplinary brainstorming. Second: A quasi-experimental study was performed to evaluate outcomes including FBS, HbA1c, knowledge to classify food types, and satisfaction. Eighty diabetic patients were equally assigned into two groups. The experiment was given classify foods application via smart devices. The application is a colorful figure with music. Touching with fingertips to move each figure along the point of each food type. Three food types were classified as unlimited intake, limited intake and forbidden foods. A trial took 90 seconds per cycle, and correct answer scores were recorded. The comparison group received pre-and post- knowledge paper assessment, nurses and nutritionists gave counseling for both groups. To follow-up, the team called both groups for lifestyle modification. FBS and HbA1c were measured at baseline and three months. Independent t-test and Paired t-test were used to compare outcomes between groups and before-after the trial. This study was reviewed and approved by the research ethics committee, Rajavithi hospital.\n Results : Classify food application model via Android was initiated. The characteristics of both groups were similar. The experiment group had significantly better knowledge about food classification than before the study and better than the comparison group (p=0.035). After the trial, average FBS and HbA1c in the experiment group were significantly lower than those before the trial, and significantly lower than those of the comparison group (p=0.041 and p=0.048). The experiment group had higher satisfaction scores than those of a comparison group (p<0.001). Attractive style, better knowledge, modern model, and ease to use were the main reasons for classifying food at the most satisfactory level.\nConclusions : The classify food game model is an effective learning tool that significantly improved FBS and HbA1c in diabetic patients. Further investigation should apply this model for the long term to manage proper dietary behavior and control blood sugar levels. Exercise and emotional management should add to the application.",
"th": "ภูมิหลัง : การพัฒนาเครื่องมือให้ความรู้เพื่อปรับเปลี่ยน พฤติกรรมผู้ป่วยเบาหวานมีแพร่หลาย แต่การใช้เทคโนโลยี สารสนเทศโดยการประยุกต์ใช้แอปพลิเคชันในเครื่องมืออัจฉริยะ ต่างๆ ยังมีข้อจำกัด\nวัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนารูปแบบการให้ความรู้ ด้านโภชนาการโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อควบคุมระดับนํ้าตาล ในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานและประเมินผลลัพธ์การใช้รูปแบบที่ พัฒนาขึ้น\nวิธีการ : การวิจัยและพัฒนา แบ่งเป็น 2 ระยะคือ 1) การ วิเคราะห์สถานการณ์การดูแลผู้ป่วยเบาหวานโดยระดมสมองของทีม สหวิชาชีพ และพัฒนารูปแบบการให้ความรู้ด้านโภชนาการฯโดยใช้ เทคโนโลยี ผ่านแอปพลิเคชันการจำแนกประเภทอาหาร (classify foods) ระบบปฏิบัติการ Android และ 2) การประเมินผลลัพธ์ รูปแบบที่พัฒนาโดยการวิจัยกึ่งทดลอง ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อายุตั้งแต่ 18 ปี กลุ่มละ 40 คน กลุ่มทดลองใช้แอปพลิเคชันการ จำแนกประเภทอาหาร (classify foods) ร่วมกับการ counseling โดยแอปพลิเคชันมีสีสันสวยงามพร้อมเสียงดนตรีประกอบ ใช้การ สัมผัสด้วยปลายนิ้ว เครื่องมือ 4 ส่วนคือ 1) ข้อมูลทั่วไป พฤติกรรม สุขภาพ FBS และ HbA1c 2) ความรู้การจำแนกประเภทอาหาร 3 ประเภทคือ อาหารที่รับประทานได้ไม่จำกัด อาหารรับประทานได้ จำกัด และอาหารที่ห้ามรับประทาน เลือกรูปอาหารที่ปรากฏ เพื่อ จำแนกเข้าประเภทกลุ่มอาหารโดยใช้ระบบสัมผัสจอผ่านโทรศัพท์ มือถือ ทดลอง 1 ครั้ง ใช้จริงครั้งที่ 1 และหลังจากได้รับความรู้ด้าน โภชนาการ ใช้จริงอีก 1 ครั้ง วัดคะแนนจำนวนข้อที่ตอบถูกเมื่อ ครบ 90 วินาที กลุ่มเปรียบเทียบวัดความรู้โดยใช้รูปภาพจำแนก อาหารแบบกระดาษ วัดคะแนนจำนวนข้อที่ตอบถูก ทั้งสองกลุ่ม ได้รับการให้คำแนะนำด้านโภชนาการจากผู้เชี่ยวชาญ 3) แบบ ประเมินความพึงพอใจ และ 4) แบบประเมินการติดตามผล ทั้งสอง กลุ่มได้รับการติดตามทางโทรศัพท์ 2 สัปดาห์ก่อนวันนัดติดตามการ รักษา เพื่อทบทวนความรู้และกระตุ้นให้คำแนะนำด้านโภชนาการ เปรียบเทียบผลลัพธ์ระหว่างสองกลุ่มด้วย Independent t-test และ การเปรียบเทียบผลก่อนและหลังการทดลองด้วยสถิติ Paired t-test โครงการวิจัยผ่านการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรม การวิจัยในคน โรงพยาบาลราชวิถี\n ผล : 1) ได้รูปแบบการให้ความรู้ ด้านโภชนาการโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ผ่านแอปพลิเคชั่นการ จำแนกประเภทอาหาร (classify foods) ระบบ Android และใช้ งานผ่านอุปกรณ์อัจฉริยะ มีการประมวลผลทันที กระตุ้นการเรียนรู้ ทันสมัย สะดวกต่อการใช้งาน 2) คุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้ป่วย เบาหวานทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน หลังทดลอง กลุ่มทดลองมี ความรู้ด้านการจำแนกประเภทอาหารสูงกว่าก่อนทดลอง และสูง กว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญ (p=0.035) กลุ่มทดลองมีค่า เฉลี่ย FBS และ HbA1c ลดลงกว่าก่อนทดลอง และลดลงมากกว่า กลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญ (p=0.041 และ p=0.048 ตาม ลำดับ) กลุ่มทดลองพึงพอใจต่อรูปแบบการให้ความรู้มากกว่ากลุ่ม เปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญ ( p<0.001) ประเด็นความพึงพอใจ ระดับมากที่สุดต่อรูปแบบให้ความรู้ด้วย classify foods ที่พัฒนา ขึ้นในด้านความน่าสนใจ ความรู้ความเข้าใจที่ดีขึ้น ความทันสมัย และความสะดวกต่อการใช้งาน\nสรุป : รูปแบบการให้ความรู้ด้าน โภชนาการโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อควบคุมระดับนํ้าตาล ในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานมีประสิทธิภาพ การศึกษาต่อยอดควร เพิ่มระยะเวลาติดตามผู้ป่วยในการควบคุมระดับนํ้าตาลเพื่อให้เกิด ความยั่งยืน และพัฒนาเครื่องมือในด้านการออกกำลังกายและการ จัดการอารมณ์ควบคู่ไปด้วย"
} |
{
"en": "Background : Unexpected antibodies are antibodies beyond the blood type ABO that are clinically important and cause reactions after receiving the blood components. Most cancer patients experience anemia caused by chemotherapy, radiation or from cancer. Therefore, unexpected antibodies are the problem for monitoring the cause of transfusion reactions.\nObjective : To study 1) prevalence of types of unexpected antibodies in cancer patients receiving blood components. 2) unexpected antibodies related to with antibody types in cancer patients requesting blood components at Maha Vajiralongkorn Thanyaburi Hospital.\nMethod : This retrospective study based on data from cancer patients who received blood components from Maha Vajiralongkorn Thanyaburi Hospital.\nResult : Total of 2,516 patients, the results showed that 95 patients with unexpected antibodies (3.77%), colon cancer associated with Auto anti-I, lung cancer associated with Anti-C, Anti-e and Anti-Leb (p-value <0.05). The relation of antibody types showed Anti-C with Anti-e, Anti-c with Anti-E, Anti-E with Anti-S, Anti-Dia with Anti-Fyb, Anti-Lea with Anti-Fyb, Anti-Lea with Anti-Leb (p-value <0.01) and Anti-E with Anti-P1, Anti-P1 with Anti-Fya (p-value <0.05).\nConclusion : The relationship between unexpected antibodies and type of cancer will be useful in the surveillance reaction after blood transfusion of patients with further cancer.",
"th": "ภูมิหลัง : แอนติบอดีที่ไม่พึงประสงค์ (unexpected antibodies) เป็นแอนติบอดีนอกเหนือหมู่เลือด ABO ที่มีความ สำคัญทางคลินิกและเป็นสาเหตุให้เกิดปฏิกิริยาหลังการได้รับส่วน ประกอบโลหิต ผู้ป่วยมะเร็งส่วนมากพบภาวะซีดที่เกิดจากการ รักษาด้วยยาเคมีบำบัด การฉายรังสี หรือจากตัวโรคมะเร็ง การ ตรวจพบแอนติบอดีที่ไม่พึงประสงค์จึงเป็นปัญหาสำหรับการเฝ้า ระวังสาเหตุของปฏิกิริยาหลังการได้รับเลือด\nวัตถุประสงค์ : เพื่อ ศึกษาความชุกของแอนติบอดีที่ไม่พึงประสงค์และความสัมพันธ์ กับชนิดของแอนติบอดีในผู้ป่วยมะเร็งที่ขอรับส่วนประกอบโลหิต ในโรงพยาบาลมหาวชิราลงกรณธัญบุรี\nวิธีการ : โดยการศึกษา ย้อนหลัง (retrospective study) จากข้อมูลผู้ป่วยมะเร็งที่มารับ ส่วนประกอบโลหิตจากโรงพยาบาลมหาวชิราลงกรณธัญบุรีจำนวน 2,516 ราย\nผล : พบแอนติบอดีที่ไม่พึงประสงค์จำนวน 95 ราย (ร้อยละ3.77) โดยมะเร็งลำไส้สัมพันธ์กับการพบ Auto anti-I มะเร็งปอดสัมพันธ์กับการพบ Anti-C ,Anti-e และ Anti-Leb (p-value<0.05) และความสัมพันธ์ของชนิดแอนติบอดีพบว่า Anti-C กับ Anti-e , Anti-c กับ Anti-E, Anti-E กับ Anti-S, Anti- Dia กับ Anti-Fyb , Anti-Lea กับ Anti-Fyb, Anti-Lea กับ Anti-Leb (p-value<0.01) และ Anti-E กับ Anti-P1, Anti-P1 กับ Anti-Fya (p-value<0.05)\nสรุป : ความสัมพันธ์ระหว่างแอนติบอดีที่ไม่พึง ประสงค์กับชนิดของโรคมะเร็งจะเป็นประโยชน์ในการเฝ้าระวัง จะ เกิดปฏิกิริยาหลังการรับเลือดของผู้ป่วยมะเร็งต่อไป"
} |
{
"en": "Background : 18 watt fluorescent (T8) phototherapy is the standard treatment for neonatal jaundice. However, fluorescent is replaced by LED because of fluorescent use more energy than LED. We found that 9 watt LED (T8) phototherapy has enough light intensity for the treatment of neonatal jaundice.\nObjective : To study the effectiveness of 9 watt LED (T8) (8 light bulbs), developed in Lerdsin Hospital compare with 18 watt fluorescent (T8) (8 light bulbs) phototherapy in treating neonatal jaundice.\nMethods : This was randomized controlled trial study in 120 babies born during June to October 2019 with neonatal jaundice. The sample were divided into two groups by computer randomization and undergo the standardized physical examination and bilirubin’s level checkup. The light intensity was also measured at the beginning of treatment. Then, there was bilirubin testing every 24 hours until the end of treatment. Other routine nursing records were also done.\n Results : 9 watt LED (T8) phototherapy had statistical significantly higher light intensity than 18 watt fluorescence phototherapy. The rate of bilirubin level was decreased more in LED (T8) phototherapy compared to 18 watt fluorescent (T8) phototherapy at 24 and 48 hours of treatment. And, there was no change of patient’s temperature during treatment.\nConclusions : The study of treating 60 patients diagnosis of neonatal jaundice with LED (T8) phototherapy found that the bilirubin level was more decreased than the treatment with the standard 18 watt-fluorescent (T8) phototherapy using in present.",
"th": "ภูมิหลัง : วิธีรักษาที่เป็นมาตรฐานของภาวะตัวเหลืองในเด็ก ทารกแรกเกิดคือการส่องไฟด้วยชุดส่องไฟด้วยชุดหลอดฟลูออเรส เซนต์ (T8) 18 วัตต์ อย่างไรก็ตามหลอดฟลูออเรสเซนต์กำลังถูก ทดแทนด้วยหลอด LED เนื่องจากหลอด LED ประหยัดพลังงานได้ มากกว่า และจากการศึกษาก่อนหน้าพบว่าหลอด LED (T8) สามารถ ให้ความเข้มแสงที่เพียงพอต่อการรักษาภาวะตัวเหลืองในทารก แรกเกิดได้\nวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาประสิทธิผลของเครื่องส่องไฟ แบบ LED (T8) ขนาด 9 วัตต์ 8 หลอด ที่พัฒนาขึ้นในโรงพยาบาล เลิดสิน เปรียบเทียบกับเครื่องที่ส่องด้วยหลอดฟลูออเรสเซนต์ (T8) ขนาด 18 วัตต์ 8 หลอด ในการรักษาภาวะตัวเหลืองในทารก แรกเกิด\nวิธีการ : เป็นการศึกษาไปข้างหน้าเชิงวิเคราะห์ ในทารก แรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลืองในโรงพยาบาลเลิดสินระหว่างเดือน มิถุนายนถึงตุลาคม 2562 จำนวน 120 รายแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ด้วยวิธีสุ่มด้วยคอมพิวเตอร์ ทั้งสองกลุ่มจะได้รับการตรวจร่างกาย ตามมาตรฐานการรักษาผู้ป่วย ตรวจเลือดเพื่อตรวจระดับบิลลิรูบิน มีการตรวจวัดพลังงานแสงในครั้งแรกที่เริ่มการรักษา ตรวจวัดระดับ สารบิลลิรูบิน ทุก 24 ชั่วโมง จนจบการรักษาในผู้ป่วยแต่ละราย มี การบันทึกข้อมูลอื่นๆตามมาตรฐานการพยาบาล\nผล : พบว่า ใน ระยะห่างที่เท่ากัน ชุดส่องไฟ LED (T8) ให้ความเข้มของแสงสูงกว่า ชุดฟลูออเรสเซนต์ (T8) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อัตราการลดลง ของค่าบิลลิรูบินใน 24 และ 48 ชั่วโมง ในกลุ่มที่ได้รับการส่องไฟ ด้วยหลอด LED (T8) ลดลงดีกว่ากลุ่มที่ใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ (T8) ขนาด 18 วัตต์ จำนวน 8 หลอดมาตรฐานอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ และไม่พบการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิขณะรักษา\nสรุป : การรักษาภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดโดยวิธีการส่องไฟด้วย หลอด LED (T8) ขนาด 9 วัตต์ ให้ผลการรักษาทารกแรกเกิดครบ กำหนดที่มีภาวะตัวเหลือง โดยลดค่าบิลลิรูบินได้มากกว่ารักษา ด้วยหลอดฟลูออเรสเซนต์ (T8) ขนาด 18 วัตต์ จำนวน 8 หลอด ที่ใช้ในปัจจุบัน"
} |
{
"en": "Background : Hospital-acquired infections (HAI) are significantly associated with morbidity and mortality. HAI can be preventable through the strict surveillance program, but the causes, prevalence of HAI should be firstly investigated in order to establish the surveillance program more efficiently. Objective: This research had two\nobjectives : 1) to survey a prevalence of hospital-acquired infection, and 2) to examine the performance of the surveillance program using in the Medical Department at Nopparat Rajathanee Hospital.\nMethods : This study was a cross-sectional survey which collected data retrospectively from May 31 to June 30, 2018 in 8 wards under the Medical Department. Participants were patients who were admitted to the 8 wards more than 2 calendar days. Data were collected by infection control nurses and infection control ward nurses using the infection surveillance form 1 of Nopparat Rajathanee Hospital. The prevalence rate and the surveillance program were analyzed using descriptive statistics.\nResults : the prevalence rate was 5.3%, the top three units with highest prevalence rate of HAI were the female semi ICU (10.3%), the Medical Intensive Care Unit (MICU) (9.3%), and the Medical VIP ward (9.1%). The hospital-acquired pneumonia (HAP) was the most common nosocomial infection which accounted for 30.6%. The second and third common nosocomial infection were the catheter associated urinary tract infection (26.5%) and the urinary tract infection (16.3%). The surveillance program performance was 85.7%.\nConclusion : The epidemiology of hospital-acquired infection in Medical Department at Nopparat Rajathanee Hospital. Classified by pathogens were hospital-acquired pneumonia (HAP) occurred with A.baumannii MDR (25%) E.coli and K. pneumonia (16.7%). The catheter associated urinary tract infection from E.faecalis, C.tropicalis (20%) and the urinary tract infection from E.faecium, E.coli (28.6%). The prevalence rate of HAI of the study (5.3%). The surveillance effectiveness of the study (85.7%) was hight for prevention and infection control.",
"th": "ภูมิหลัง : การติดเชื้อในโรงพยาบาลมีความสัมพันธ์อย่างยิ่ง ต่อการเจ็บป่วยและการตาย ซึ่งการติดเชื้อในโรงพยาบาล สามารถ ป้องกันได้โดยการใช้ระบบการเฝ้าระวังที่รัดกุม อย่างไรก็ดี การ ศึกษาถึงสาเหตุ อัตราชุกของการติดเชื้อในโรงพยาบาล นั้นควร เป็นสิ่งแรกๆ ที่ควรทำการศึกษาเพื่อให้สามารถดำเนินการวางแผน การเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น\nวัตถุประสงค์ : 1) เพื่อสำรวจอัตราชุกของการติดเชื้อในโรงพยาบาล แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี 2) เพื่อประเมิน ประสิทธิภาพการเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี\nวิธีการ : การศึกษานี้ทำการสำรวจความ ชุก โดยการรวบรวมข้อมูลย้อนหลังระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม- 30 มิถุนายน 2561 ในแผนกอายุรกรรม จำนวน 8 หอผู้ป่วย สำรวจใน ผู้ป่วยที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาล อยู่มากกว่า 2 วันปฏิทิน ดำเนินการ รวบรวมข้อมูลการติดเชื้อในโรงพยาบาลโดยพยาบาลควบคุมการ ติดเชื้อในโรงพยาบาล (ICN) และพยาบาลควบคุมการติดเชื้อ ประจำหอผู้ป่วย (ICWN) ใช้แบบบันทึกการเฝ้าระวังการติดเชื้อใน โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี (surveillance form1) บันทึกข้อมูล ลงโปรแกรมสำเร็จรูป วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา\nผล : ผลการศึกษาพบอัตราความชุกของโรคติดเชื้อคิดเป็นร้อยละ 5.3 (49/919) จากผู้ป่วยที่สำรวจ 919 ราย พบหอผู้ป่วยที่อัตรา ความชุกสูงสุด คือ หอผู้ป่วยกึ่งวิกฤตหญิงร้อยละ 10.3 รองลง มาคือ หอผู้ป่วยวิกฤตอายุรกรรมร้อยละ 9.3 และพิเศษเดี่ยว อายุรกรรมร้อยละ 9.1 ตามลำดับ ระบบที่พบมีการติดเชื้อสูงสุด คือ ปอดอักเสบร้อยละ 30.6 รองลงมาคือ การติดเชื้อระบบทางเดิน ปัสสาวะที่สัมพันธ์กับการใส่สายสวนปัสสาวะร้อยละ 26.5 และ การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะร้อยละ 16.3 ประสิทธิภาพการ เฝ้าระวังร้อยละ 85.7\nสรุป : ระบาดวิทยาการติดเชื้อในโรงพยาบาล แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี จำแนกตามจุลชีพก่อ โรคคือ เกิดภาวะปอดอักเสบจาก A.baumannii MDR ร้อยละ 25, E.coli และ K.pneumoniae ร้อยละ 16.7 การติดเชื้อระบบทาง เดินปัสสาวะที่สัมพันธ์กับการใส่สายสวนปัสสาวะจาก E.faecalis, C.tropicalis ร้อยละ 20 และการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ จาก E.faecium, E.coli ร้อยละ 28.6 อัตราความชุกการติดเชื้อใน โรงพยาบาล คิดเป็นร้อยละ 5.3 ส่วนประสิทธิภาพการเฝ้าระวัง คิด เป็นร้อยละ 85.7 ซึ่งสูงสำหรับการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ ในโรงพยาบาล"
} |
{
"en": "Background : The ultimate goal of peri-implant defect healing is the regeneration and establishiment of osteointegration. As the limitation of the autogenous bone graft which is considered to be a gold standard treatment, tissue engineering technique was created for an alternative treatment. Mesenchymal stem cells provide a promising approach for bone regeneration inducing and osseointegration enhancing with tissue engineering technology.\nObjective : The objective of meta-analysis was to quantitatively find out the effect of mesenchymal stem cells for peri-implant defect healing in animal model.\nMethods : PubMed database was systematically searched for related articles, together with searching in Google scholar. They were all filtered for articles in English or Thai from 2000 to May 2020.\nResults : Twelve articles, which are randomized controlled trials and preclinical animal trials were accepted and extracted for meta-analysis. Data was calculated for standard mean difference (SMD) at 95% CI and random effect model was used. the results showed that mesenchymal stem cell groups had positive results on bone formation (SMD=2.683; 95% CI= 1.580 – 3.786, p=0.000) and bone-to-implant contact (SMD=2.592; 95% CI = 1.363 – 3.821, p = 0.000). However, the data was high heterogeneity (I2=80.4%, I2=83.5%).\nConclusion : The result evidences suggest that the mesenchymal stem cells might had benefits on peri-implant defect healing in animals. However, as less preclinical animal trials and possible the risk of bias problems, the further higher quality researches and randomized controlled trials in animal models are still required to prove the effectiveness of mesenchymal stem cells for the healing of peri-implant defect in clinical applications in the future.",
"th": "ภูมิหลัง : เป้าหมายของการรักษารอยวิการรอบรากฟันเทียม คือหวังผลให้เกิดการเจริญทดแทนของเนื้อเยื่อรอบรากฟันเทียม และการคงสภาพของขบวนการกระดูกเชื่อมประสาน วิธีการรักษา มาตรฐานด้วยการปลูกถ่ายกระดูกตนเองยังมีข้อจำกัดหลายประการ จึงได้มีการนำเซลล์ต้นกำเนิดมีเซนไคม์โดยเทคนิควิศวกรรมเนื้อเยื่อ (tissue engineering) มาพัฒนาเพื่อใช้เป็นทางเลือ กในการกระตุ้น ให้เกิดการเจริญทดแทนของกระดูกและการคงสภาพของขบวนการ กระดูกเชื่อมประสาน\nวัตถุประสงค์ : เพื่อตอบคำถามในเชิงปริมาณ ด้วยการวิจัยอย่างเป็นระบบว่าผลของการใช้เซลล์ต้นกำเนิดมี เซนไคม์ต่อการเจริญทดแทนของเนื้อเยื่อบริเวณรอยวิการรอบ รากฟันเทียมเป็นอย่างไร\nวิธีการ : สืบค้นงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ การรักษาดังกล่าวจากฐานข้อมูล PubMed อย่างเป็นระบบ และ สืบค้นจาก Google scholar เลือกเฉพาะบทความภาษาอังกฤษ หรือภาษาไทย ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000 ถึงเดือนพฤษภาคม ปี ค.ศ. 2020\nผล : บทความที่ได้รับการยอมรับมี 12 บทความที่เป็นการทดลอง ที่มีการควบคุมในสัตว์ทดลอง ทั้ง 12 บทความถูกนำมาวิเคราะห์ อภิมาน โดยรวบรวมผลลัพธ์ของปริมาณการสร้างใหม่ของกระดูก เบ้าฟัน และ/ หรือ การสร้างใหม่ของกระดูกที่สัมผัสกับรากฟัน เทียมโดยพิจารณาจากลักษณะทางจุลวิทยา โดยนำข้อมูลมาเทียบ กับกลุ่มควบคุมที่ไม่มีการใช้เซลล์ต้นกำเนิด จากนั้นนำมาหาค่า standard mean difference (SMD) ที่ช่วงความเชื่อมั่น 95% ผลการวิเคราะห์พบว่า กลุ่มที่ใช้เซลล์ต้นกำเนิดมีเซนไคม์สามารถ สร้างกระดูกเบ้าฟันได้มากกว่าในกลุ่มควบคุม (SMD = 2.683; 95% CI = 1.580 – 3.786, p = 0.000) และสามารถสร้างกระดูก ที่สัมผัสกับรากฟันเทียมได้มากกว่าในกลุ่มควบคุม (SMD = 2.592; 95% CI = 1.363 – 3.821, p = 0.000) แต่ข้อมูลขาดความ เป็นเนื้อเดียวกันระดับระดับสูง (I2=80.4%, I2=83.5%)\nสรุป : การ วิเคราะห์นี้สนับสนุนว่าการใช้เซลล์ต้นกำเนิดมีเซนไคม์มีแนวโน้ม ให้เกิดการเจริญทดแทนของเนื้อเยื่อบริเวณรอยวิการรอบรากฟัน เทียมในสัตว์ทดลอง อย่างไรก็ตามเนื่องจากยังมีการศึกษาที่มีจำนวนน้อย จำนวนกลุ่มตัวอย่างมีไม่มากนักและยังมีอคติอยู่บ้าง ดังนั้นจึงมี ความจำเป็นที่จะต้องมีการศึกษาในทางคลินิกที่เป็นการทดลองแบบ สุ่มและมีกลุ่มควบคุมที่มีจำนวนมากขึ้นและมีคุณภาพสูงต่อไป เพื่อประเมินประสิทธิภาพของการใช้เซลล์ต้นกำเนิดเพื่อการสร้าง ของเนื้อเยื่อบริเวณรอยวิการรอบรากฟันเทียม"
} |
{
"en": "Background : Osteoradionecrosis of the jaw is a severe complication of radiotherapy in patients with head and neck cancer. However, there is insufficient empirical results to support the effect of hyperbaric oxygenation treatment.\nObjective : The purpose of this meta-analysis study was to collect data and evidence on the effect of hyperbaric oxygenation in management of osteoradionecrosis.\n Method : Systematically and meta-analysis study search for related article from the Cochrane Database of Systematic Reviews (CDSR), PubMed, Google scholar and manual search at Institute’s library.\nResult : Five articles were extracted. Risk ratio was calculated and pooled data at 95% confidence interval and random effect model was used (RR=1.17 (95% CI=0.975-1.404, p=0.92)). The result is high heterogeneity of data (I2=69.8%). Asymmetric funnel plot was found (Begg’s test p-value=0.624, Egger’s test p-value = 0.422) which stated an absence of publication bias or small study effect.\nConclusions : The use of hyperbaric oxygenation for management of osteoradionecrosis has more healing chance compared to the unused group, statistically insignificant, but the evidence is inconclusive from high heterogeneity of data (I2 = 69.8%). However, the limitations in study design are result in few high-quality studies. Further study is still required in the future for a high-quality trial.",
"th": "ภูมิหลัง : Osteoradionecrosis บริเวณขากรรไกรจัดเป็น ภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงหลังจากได้รับรังสีรักษา (radiotherapy) ซึ่งพบได้ในผู้ป่วยโรคมะเร็งบริเวณศีรษะและลำคอที่ได้รับรังสี รักษา แต่ยังขาดหลักฐานมาสนับสนุนเชิงประจักษ์ที่ชัดเจนเกี่ยวกับ ผลลัพธ์ของการรักษาโดยใช้ยออกซิเจนความดันสูง\nวัตถุประสงค์ : เพื่อรวบรวมหลักฐานทางวิชาการเรื่องผลจากการใช้ออกซิเจน ความดันสูงในการจัดการ osteoradionecrosis บริเวณขากรรไกร\nวิธีการ : การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์อภิมาน สืบค้นอย่างเป็น ระบบจากฐานข้อมูล The Cochrane Database of Systematic Reviews (CDSR), PubMed, Google scholar ร่วมกับการค้นหา ด้วยมือจากห้องสมุด\nผล : บทความที่ถูกสกัดออกมานั้นมีจำนวน 5 บทความ มีการนำมาคำนวณหาค่า risk ratio ที่ช่วงความเชื่อ มั่น 95% วิเคราะห์ตามรูปแบบโมเดลแบบสุ่ม (random effect model) โดยผลจากการรวบรวมข้อมูลเพื่อทำการวิเคราะห์อภิมาน พบว่า เมื่อดูผลรวมของขนาดอิทธิพล (effect size) ซึ่งในที่นี้คือ risk ratio มีค่าเท่ากับ 1.17 ( 95% CI=0.975-1.404, p=0.92) และพบว่าข้อมูลขาดความเป็นเนื้อเดียวกันสูง (I2=69.8%) ซึ่ง เมื่อพิจารณา funnel plot พบว่าไม่สมมาตร Begg’s test ได้ค่า p-value เท่ากับ 0.624 และ Egger’s test ได้ค่า p-value เท่ากับ 0.422 แปลผลได้ว่าไม่มีอคติจากการตีพิมพ์ หรืออิทธิพลของการ ศึกษาที่มีกลุ่มตัวอย่างน้อย\nสรุป : การให้ออกซิเจนความดันสูงใน จัดการภาวะ ORN สามารถเพิ่มโอกาสการหายของแผลได้มากกว่า เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ให้ออกซิเจนความดันสูง อย่างไม่มีนัยสำคัญ ทางสถิติ แต่อาจจะยังไม่สามารถสรุปได้ เนื่องจากข้อมูลขาดความ เป็นเนื้อเดียวกันสูง (I2=69.8%)"
} |
{
"en": "Background : The use of cell sheet engineering technique on periodontal ligament stem cells was developed for periodontal treatment which transplantation of cell sheets onto periodontal defects. Currently, the novel cell sheets have gained interest because that can be more easily fabricated and manipulated than conventional tissue engineering methods.\nObjective : The meta-analysis was to quantitatively find out the effect of periodontal ligament stem cell sheets for periodontal regeneration in animal model.\nMethods : PubMed database was systematically searched for related articles, together with searching in Google scholar. They were all filtered for articles in English or Thai from 1990 to 2019.\nResults : Nine articles, which are randomized controlled trials and preclinical animal trials were accepted and extracted for meta-analysis. Data was calculated for standard mean difference (SMD) at 95% CI and random effect model was used. the results showed groups of the periodontal ligament stem cell sheet therapy had a positive influence on the regeneration of cementum (SMD=3.041; 95% CI= 1.504 – 4.578, p=0.000) and alveolar bone (SMD = 2.114; 95% CI 0.709 – 3.520, p = 0.003) when compared to the control groups. However, the data was high heterogeneity (I2=82.2%, I2=82.6%). Moreover, subgroup analysis showed that the periodontal ligament stem cell sheet groups could regenerate the alveolar bone more than the control groups that used guided tissue regeneration therapy without stem cell sheets (SMD = 0.843; 95% CI= (-0.017) – 1.703, p=0.055), and the data was homogeneity (I2=28.9%).\nConclusion : The analysis of evidences promoted to the novel cell sheet technique for periodontal ligament stem cell sheets benefit on periodontal regeneration, especially alveolar bone regeneration. However, as less preclinical animal trials and possible the risk of bias problems, the further higher quality researches and randomized controlled trials in animal models are still required to prove the effectiveness of periodontal ligament stem cell sheets for periodontal tissue regeneration in the future.",
"th": "ภูมิหลัง : การใช้เทคนิควิศวกรรมแผ่นเซลล์ มาทำให้เกิด เป็นแผ่นเซลล์ต้นกำเนิดจากเอ็นยึดปริทันต์ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อ เป็นทางเลือกในการรักษาโรคปริทันต์ โดยทำการปลูกถ่ายแผ่น เซลล์ต้นกำเนิดตรงบริเวณที่มีความวิการของอวัยวะปริทันต์เพื่อ ให้เกิดการสร้างเนื้อเยื่ออวัยวะปริทันต์ใหม่ทดแทน โดยในปัจจุบัน เทคนิควิศวกรรมแผ่นเซลล์นั้นได้รับความสนใจ เนื่องจากสามารถ ผลิตและนำไปใช้งานได้ง่ายกว่าวิธีวิศวกรรมเนื้อเยื่อแบบดั้งเดิม\nวัตถุประสงค์ : การวิเคราะห์อภิมานครั้งนี้เพื่อตอบคำถามในเชิง ปริมาณด้วยการวิจัยอย่างเป็นระบบว่าผลของการใช้เซลล์ต้นกำเนิด จากเอ็นยึดปริทันต์ด้วยเทคนิควิศวกรรมแผ่นเซลล์ส่งผลต่อการ เจริญทดแทนของอวัยวะปริทันต์เพียงไร\nวิธีการ : สืบค้นงานวิจัยที่ เกี่ยวข้องกับการรักษาดังกล่าว มาจากฐานข้อมูล PubMed อย่าง เป็นระบบ และ สืบค้นจาก Google scholar เลือกเฉพาะบทความ ภาษาอังกฤษหรือภาษาไทย ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990 ถึงปี ค.ศ. 2019\nผล : บทความที่ได้รับการยอมรับมี 9 บทความที่เป็นการทดลอง ที่มีการควบคุม ในสัตว์ทดลอง ทั้ง 9 บทความถูกนำมาวิเคราะห์ อภิมาน โดยรวบรวมผลลัพธ์ของปริมาณการสร้างใหม่ของเคลือบ รากฟัน และ/หรือ การสร้างใหม่ของกระดูกเบ้าฟันโดยพิจารณาจาก ลักษณะทางจุลวิทยา โดยนำข้อมูลมาเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ไม่มี การใช้แผ่นเซลล์ต้นกำเนิด จากนั้นนำมาหาค่า standard mean difference (SMD) ที่ช่วงความเชื่อมั่น 95% ผลการวิเคราะห์ พบว่า กลุ่มที่ใช้แผ่นเซลล์ต้นกำเนิดจากเอ็นยึดปริทันต์สามารถ สร้างเคลือบรากฟันใหม่ได้มากกว่าในกลุ่มควบคุม (SMD =3.041; 95% CI= 1.504 – 4.578, p=0.000) และสามารถสร้างกระดูก เบ้าฟันใหม่ได้มากกว่าในกลุ่มควบคุม (SMD =2.114; 95% CI= 0.709 – 3.520, p=0.003) แต่ข้อมูลขาดความเป็นเนื้อเดียวกัน ระดับระดับสูง (I2=82.2%, I2=82.6%) เมื่อทำการวิเคราะห์กลุ่ม ย่อยเพื่อแยกระหว่างการศึกษาที่มีกลุ่มควบคุมที่ทำการรักษาด้วย วิธีการชักนำให้เนื้อเยื่อคืนสภาพ กับกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้ทำการรักษา ด้วยวิธีการชักนำให้เนื้อเยื่อคืนสภาพ พบว่ากลุ่มที่ใช้แผ่นเซลล์ ต้นกำเนิดจากเอ็นยึดปริทันต์สามารถสร้างกระดูกเบ้าฟันใหม่ได้ มากกว่า กลุ่มควบคุมที่ทำการรักษาด้วยวิธีการชักนำให้เนื้อเยื่อ คืนสภาพ (SMD=0.843; 95% CI= (-0.017) – 1.703, p=0.055) ข้อมูลมีความเป็นเนื้อเดียว (I2=28.9%)\nสรุป : สรุปการวิเคราะห์นี้ สนับสนุนว่าการใช้เทคนิควิศวกรรมแผ่นเซลล์มาทำให้เกิดเป็นแผ่น เซลล์ต้นกำเนิดจากเอ็นยึดปริทันต์มีผลให้เกิดการเจริญทดแทนของ อวัยวะปริทันต์ โดยเฉพาะกระดูกเบ้าฟัน อย่างไรก็ตามเนื่องจากยัง มีการศึกษาที่มีจำนวนน้อย จำนวนกลุ่มตัวอย่างมีไม่มาก และยัง มีอคติจากการศึกษา ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการศึกษา ที่มีคุณภาพสูง และเป็นการทดลองที่มีการควบคุม เพื่อประเมิน ประสิทธิภาพของการใช้แผ่นเซลล์ต้นกำเนิดจากเอ็นยึดปริทันต์ให้ เกิดการเจริญทดแทนของอวัยวะปริทันต์อีกในอนาคต"
} |
{
"en": "Background : According to the World Health Organization (WHO), the combination of increasing bacterial drug resistance and declining efficacy of antibacterial drugs has resulted in a higher mortality rate and higher healthcare expenditure.\nObjectives : To determine the defined daily doses (DDD) and the values of injectable antibacterial drugs prescribed at Rajavithi Hospital in fiscal 2015-2018.\nMethod : Data on injectable antibacterial drugs prescriptions at In-patient Department of Rajavithi Hospital over the fiscal year of 2015-2018 was retrieved from the Rajavithi Hospital’s RHIS database. Defined daily doses and values of injectable antibacterial drugs prescribed during that period were calculated.\nResults : The total value of injectable antibacterial drugs prescribed over the fiscal year of 2015-2018 was 258,243,237 THB. The total values of injectable antibacterial drugs prescribed in each of those fiscal years were 61,008,627 THB, 61,176,368 THB, 67,282,391 THB and 68,775,852 THB, respectively. The top three highest values of injectable antibacterial groups were carbapenems (83,414,218 THB or 32.30%), cephalosporins (45,587,096 THB or 17.62%) and quinolones (25,112,416 THB or 9.72%). The top three highest values of injectable antibacterial drugs were meropenem (70,042,934 THB or 27.12%), clindamycin (21,948,800 THB or 8.50%) and ceftazidime (21,852,513 THB or 8.46%). The total value of injectable antibacterial drugs prescribed over the fiscal year of 2015-2018 increased at an average rate of 3.18% per year. The top three highest values of injectable antibacterial groups with highest DDD were cephalosporins (1194.30), carbapenems (600.91) and sulfonamides (474.80). The top three highest values of injectable antibacterial drugs with highest DDD were meropenem (532.58), sulfamethoxazole/ trimethoprim (474.80) and ceftriaxone (421.60).\nConclusion : Both quantity and value of injectable antibacterial drugs prescribed keep rising over the fiscal year of 2015-2018, especially the carbapenems group.",
"th": "ภูมิหลัง : องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า การดื้อยาของ เชื้อแบคทีเรียเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่ประสิทธิภาพของยาปฏิชีวนะ ลดลงส่งผลให้อัตราการเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาเพิ่มขึ้น\nวัตถุประสงค์ : เพื่อวิเคราะห์หาปริมาณการใช้ยาต้านแบคทีเรีย ชนิดฉีดในหน่วยของ Defined Daily Dose (DDD) และมูลค่า ในปีงบประมาณ 2558-2561\n วิธีการ : รวบรวมข้อมูลการสั่งใช้ ยาต้านแบคทีเรียชนิดฉีดในแผนกผู้ป่วยใน จากฐานข้อมูล RHIS โรงพยาบาลราชวิถี โดยวิเคราะห์ปริมาณการใช้ยาต้านแบคทีเรีย ชนิดฉีดในหน่วย DDD และมูลค่ายา\nผล : มูลค่าการสั่งใช้ยาใน ปีงบประมาณ 2558-2561 เท่ากับ 258,243,237 บาท โดย แต่ละปีงบประมาณมีค่า 61,008,627 บาท 61,176,368 บาท 67,282,391 บาท และ 68,775,852 บาท ตามลำดับ หากแยก ตามกลุ่มยา พบว่า ยาต้านแบคทีเรียที่มีมูลค่าการสั่งใช้สูงสุด 3 กลุ่ม ได้แก่ carbapenems 83,414,218 บาท (ร้อยละ 32.30) cephalosporins 45,587,096 บาท (ร้อยละ 17.62) quinolones 25,112,416 บาท (ร้อยละ 9.72) ตามลำดับ ยาต้านแบคทีเรียที่มี มูลค่าการสั่งใช้สูงสุด 3 ชนิด ได้แก่ meropenem 70,042,934 บาท (ร้อยละ 27.12) clindamycin 21,948,800 บาท (ร้อยละ 8.50) ceftazidime 21,852,513 บาท (ร้อยละ 8.46) ตามลำดับ ทั้งนี้มูลค่ารวมโดยประมาณของการสั่งใช้ยามีแนวโน้มสูงขึ้นเฉลี่ย ร้อยละ 3.18 ต่อปี หากพิจารณาปริมาณการใช้ยาต้านแบคทีเรีย ที่มีค่า DDD สูงสุด 3 กลุ่ม ได้แก่ cephalosporins (1194.30), carbapenems (600.91), sulfonamides (474.80) ตามลำดับ ยาต้านแบคทีเรียที่มีค่า DDD สูงสุด ได้แก่ meropenem (532.58) sulfamethoxazole/ trimethoprim (474.80) ceftriaxone (421.60) ตามลำดับ\n สรุป : ปริมาณและมูลค่าการใช้ยาต้านแบคทีเรีย มีแนวโน้มสูงขึ้น ในช่วงเวลาที่ทำการศึกษา โดยเฉพาะยากลุ่ม carbapenems"
} |
{
"en": "Background : Automatic tube current modulation (ATCM) system plays an important role for computed tomography (CT) examinations. Thyroid is one of the more radio-sensitive organs.\nObjective : The aims of this research were to measure the thyroid dose received from a chest CT scan using ATCM system and to examine the impact of patient’s vertical mis - centering to the radiation dose and image quality.\nMethod : The experiments were performed using a Philips Brilliance 64 CT scanner. A chest phantom was positioned at the isocenter of CT gantry, a surview image was taken at 180 degree angle tube position and the phantom was scanned. The couch heights were then raised and lowered by 2, 4, 6 and 8 cm, the surview images and scans of the phantom were repeated for individual couch heights. Skin doses at the thyroid were measured using Nano dot dosimeters. Volume computed tomography dose index (CTDIvol) and dose length product (DLP) were recorded from the scanner’s display and values of image noise along the scan length were measured using Image J software.\nResult : The surview images were magnified when the couch heights were lowered (or nearer the X-ray tube). The average mAs/ slice and CTDIvol for different couch heights were within ±7.4% compared to those for the isocenter, they were relatively increased and decreased when the couch were higher and lower than the isocenter position, respectively. These were opposite to the sizes of surview image as mentioned earlier. This might be because the ATCM software allows accurate estimation of the phantom attenuation. The average values of image noise measured for different couch heights were not significant differences from that for the isocenter, except for that when the couch was 8 cm lowered. Doses for thyroid decreased when the couch were moved away from the isocenter due to the more radiation attenuation by the edge of bow-tie filter.\nConclusion : A well-centered patient positioning was very important for use of CT ATCM system, in order to achieve appropriate radiation dose and image quality levels.",
"th": "ภูมิหลัง : ระบบปรับกระแสหลอดอัตโนมัติได้เข้ามามีบทบาท สำคัญในการถ่ายภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ และต่อมไทรอยด์เป็น อวัยวะหนึ่งที่มีความไวต่อรังสี\n วัตถุประสงค์ : เพื่อวัดปริมาณรังสี กระเจิงที่ต่อมไทรอยด์ได้รับจากการถ่ายภาพเอกซเรย์ทรวงอกโดย ใช้ระบบปรับกระแสหลอดอัตโนมัติ และศึกษาผลของความคลาด เคลื่อนในการจัดตำแหน่งผู้ป่วยในแนวสูงต่ำของเตียง ที่มีต่อ ปริมาณรังสีและคุณภาพของภาพ\nวิธีการ : ทำการเครื่องเอกซเรย์ คอมพิวเตอร์ฟิลิปป์ โดยทำการปรับระดับความสูงต่ำของเตียง ทั้งหมด 9 ระดับ ได้แก่ ตำแหน่งไอโซเซนเตอร์และที่ตำแหน่งสูง และต่ำจากไอโซเซนเตอร์ 2, 4 ,6 และ 8 เซนติเมตร ถ่ายภาพ surview โดยหลอดเอกซเรย์อยู่ในตำแหน่ง 180 องศาหรือใต้ เตียง จากนั้นสแกนหุ่นจำลองทรวงอกในแต่ละความสูงของเตียง และบันทึกค่าปริมาณรังสี Volume Computed Tomography Dose Index (CTDIvol) วัดปริมาณรังสีกระเจิงที่ต่อมไทรอยด์โดย ใช้เครื่องวัดรังสีชนิด นาโนดอท และวัดสัญญาณรบกวนในภาพ โดยใช้โปรแกรมอิมเมจเจอ\nผล : ภาพ surview มีขนาดขยายเมื่อ เตียงอยู่ต่ำลงทั้งนี้เพราะหุ่นจำลองเข้าใกล้หลอดเอกซเรย์มากขึ้น แต่ค่ากระแสหลอดที่ใช้ในการสแกน และปริมาณรังสี CTDIvol มีการ เปลี่ยนแปลงอยู่ในช่วงร้อยละ ±7.4 โดยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและลดลง เมื่อเตียงอยู่สูงขึ้น และต่ำกว่าไอโซเซนเตอร์ตามลำดับ ซึ่งสวนทาง กับขนาดของภาพ surview ที่ได้ ซึ่งอาจเป็นเพราะซอฟต์แวร์ของ เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่ใช้ช่วยประมาณค่าการลดทอนรังสี ที่แท้จริงจากร่างกายผู้ป่วย สัญญาณรบกวนในภาพที่ได้จากการ สแกน โดยปรับเปลี่ยนตำแหน่งความสูง ต่ำของเตียง มีค่าไม่แตกต่าง กับค่าที่ได้เมื่อเตียงอยู่ในตำแหน่งไอโซเซนเตอร์ยกเว้นเมื่อเตียงอยู่ ต่ำลง 8 เซนติเมตร และปริมาณรังสีที่ต่อมไทรอยด์ได้รับนั้นมีค่าน้อย ลง เมื่อเตียงอยู่ห่างจากจุดไอโซเซนเตอร์ทั้งนี้เป็นเพราะผลจากการ ลดทอนรังสีที่ขอบของ bow-tie filter\n สรุป : การจัดตำแหน่งผู้ป่วย ให้อยู่ในไอโซเซนเตอร์มีความสำคัญมากในการใช้ระบบปรับกระแส หลอดอัตโนมัติสำหรับเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เนื่องจากจะทำ ให้ปริมาณรังสีและสัญญาณรบกวนในภาพเป็นไปอย่างเหมาะสม"
} |
{
"en": "Background : Lung cancer is one of the most common types of cancer and there is an increase in deaths from lung cancer every year. Although there is a lung cancer screening policy as a solution, it still has some problems. The shortage of radiologists can affect the effectiveness of lung cancer screening. According to the problems, AI Chest for All (DMS TU) has been developed to reduce radiologists’ workload of interpreting chest radiographs.\nObjective : to assess the qualifications of the AI Chest for All (DMS TU) application in the chest radiographic lung cancer screening.\nMethod : Using a retrospective descriptive study, the samples in this study were the randomized chest radiographs of Udon Thani Cancer Hospital’s patients. Between January 1, 2018, and December 31, 2019, a total of 1,250 photos were taken and the instrument qualification was analyzed to determine whether AI Chest for All (DMS TU) is suitable to be used as a screening tool for cancer or not. This was compared with the method of interpretation of chest radiographs for the original lung cancer screening which was interpreted by expert radiologists.\nResults : AI Chest for All (DMS TU) contain 76.4% (95% CI=73.5% to 79.0%) of sensitivity, 89.3% (95% CI=85.2% to 92.6%) of specificity, 79% of accuracy, and 83% (95% CI 81% to 85%) of the area under the ROC curve (AUC). Comparing with the chest radiographic interpretation of the original lung cancer screening, which was interpreted by specialist radiologists, AI Chest for All (DMS TU) was less sensitivity but more specificity, accuracy and AUC.\nConclusion : According to the above results, it can be concluded that AI Chest for All (DMS TU) is appropriate to be used as an alternative tool for interpreting chest radiographs of lung cancer screening.",
"th": "ภูมิหลัง : โรคมะเร็งปอดเป็นโรคมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ ต้นๆ ทั้งในระดับโลกและระดับประเทศและมีแนวโน้มการเสียชีวิต จากมะเร็งชนิดนี้ที่เพิ่มมากขึ้นในทุกๆ ปี เพื่อตอบสนองสถานการณ์ ที่เกิดขึ้นจึงมีนโยบายการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปอด แต่กลับพบ ปัญหาการขาดแคลนรังสีแพทย์ หรือไม่มีรังสีแพทย์ในพื้นที่ห่าง ไกล ส่งผลต่อประสิทธิภาพการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปอด จึงได้ มีการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ AI Chest for All (DMS TU) เพื่อ ช่วยลดภาระงานของรังสีแพทย์ในการแปลผลภาพถ่ายรังสีทรวงอก\nวัตถุประสงค์ : เพื่อประเมินคุณสมบัติของโปรแกรมประยุกต์ AI Chest for All (DMS TU) ในการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปอดจาก ภาพถ่ายรังสีทรวงอก\nวิธีการ : ใช้รูปแบบการศึกษา Retrospective descriptive study กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ได้จากการ สุ่มภาพถ่ายรังสีทรวงอกของผู้ที่มารับบริการในโรงพยาบาลมะเร็ง อุดรธานี ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2561 ถึง 31 ธันวาคม 2562 จำนวน ทั้งสิ้น 1,250 ภาพถ่าย และนำมาวิเคราะห์คุณสมบัติเครื่องมือเพื่อ ประกอบการพิจารณาว่า AI Chest for All (DMS TU) เหมาะสม ที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปอดหรือไม่ โดย เปรียบเทียบกับวิธีการแปลผลภาพถ่ายรังสีทรวงอกในการตรวจ คัดกรองโรคมะเร็งปอดเดิมซึ่งอาศัยการแปลผลโดยรังสีแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญ\nผล : AI Chest for All (DMS TU) มีค่าความไวเท่ากับ 76.4% (95% CI = 73.5% ถึง 79%) ค่าความจำเพาะเท่ากับ 89.3% (95% CI = 85.2% ถึง 92.6%) ความแม่นยำเท่ากับ 79% พื้นที่ ใต้กราฟ ROC (AUC) ของ AI Chest for All (DMS TU) เท่ากับ 83% (95% CI = 81% ถึง 85%) และเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการ แปลผลภาพถ่ายรังสีทรวงอกในการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปอดเดิม ซึ่งอาศัยการแปลผลโดยรังสีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญพบว่า AI Chest for All (DMS TU) มีค่าความไวน้อยกว่า แต่มีค่าความจำเพาะ ความ แม่นยำ และ AUC ที่มากกว่า\nสรุป : จากผลการวิเคราะห์ในข้างต้น แสดงให้เห็นว่า AI Chest for All (DMS TU) เหมาะสมที่จะนำมา ใช้เป็นเครื่องมือทางเลือกสำหรับแปลผลภาพถ่ายรังสีทรวงอกในการ ตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปอด"
} |
{
"en": "Background : Based on the epidemiological data of the Department of Disease Control (DDC), Ministry of Public Health (MOPH), outbreaks of chikungunya fever were reported in Thailand in 2019. Tak Province was one of the four affected provinces. Morbidity rate in the province was 138.39 per 100,000 populations. Mae Sot District, Tak Province, was one of the districts where there were suspected cases of chikungunya virus infection, whose signs and symptoms typically included fever, joint pain, and rash. This patient population also included pregnant women who had signs of chikungunya fever around the time of birth. Chikungunya virus could have been transmitted from mothers to their children as it was found that some newborns had shown similar signs (fever, rash, swelling) to those of their mothers within the first week of life.\nObjective : To study clinical signs and symptoms of chikungunya fever in neonates, clinical complications, and laboratory findings.\n Method : A descriptive study was conducted to monitor and observe signs, symptoms and laboratory findings of newborns who contracted chikungunya virus from their mothers, who had clinical signs within one week before delivery. Data were collected from June to October 2019, at Mae Sot General Hospital, Mae Sot District, Tak Province. Both newborns and mothers had blood samples collected and confirmatory laboratory testing was performed using chikungunya IgM antibody assay and/or chikungunya polymerase chain reaction (PCR) technique.\nResult : Six pregnant women developed fever, joint pain, and rash prior to delivery, 83% had positive IgM. All neonates born from six mothers developed fever and maculopapular rash. Signs and symptoms observed in up to 5 newborns (83.3%) included diffuse, limbs edema, irritability, respiratory distress and hyperpigmentation. Other signs and symptoms included poor feeding (50%), seizure and clinical encephalitis (33.3%) and hemodynamic instability (16.7%). Abnormal laboratory findings were observed. Six newborns had positive IgM and three had positive PCR. Two newborns developed encephalitis. No fatal outcomes.\nConclusion : Chikungunya virus can be vertically transmitted from the mother to her child during pregnancy. Affected newborns may develop sepsis-like illness. Vertical transmission of chikungunya can lead to severe complications, particularly neurological involvement. It is important to consider chikungunya as differential diagnosis in newborns with sepsis and, or encephalitis in the outbreaks areas.",
"th": "ภูมิหลัง : จากข้อมูลทางระบาดวิทยาของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบการระบาดของโรคไข้ปวดข้อชิคุนกุนยา ในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2562 จังหวัดตากเป็น 1 ใน 4 จังหวัด ที่พบอัตราป่วย 138.39 ต่อแสนประชากร อำเภอแม่สอด จังหวัด ตากเป็นหนึ่งในอำเภอที่พบการรายงานว่ามีผู้ป่วยแสดงอาการไข้ ปวดข้อ ออกผื่น สงสัยโรคชิคุนกุนยา เป็นจำนวนมากรวมทั้งหญิง ตั้งครรภ์ที่มีอาการแสดงในช่วงใกล้คลอดและสามารถถ่ายทอดเชื้อ ไวรัสชิคุนกุนยามาสู่ทารกได้ ทำให้ทารกแรกเกิดมีอาการแสดงไข้ ผื่น บวม ตามมาภายในช่วงอายุ 1 สัปดาห์หลังคลอดคล้ายคลึง กับมารดา\nวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาข้อมูลลักษณะอาการ อาการ แสดงของโรคชิคุนกุนยาในทารกแรกเกิด ภาวะแทรกซ้อนและผล ทางห้องปฏิบัติการที่ตรวจพบ\nวิธีการ : เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา (descriptive study) ติดตามลักษณะอาการ อาการแสดงและผล ทางห้องปฏิบัติการของทารกแรกเกิดที่ติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาจาก มารดาที่มีอาการแสดงในช่วง 1 สัปดาห์ก่อนคลอด เก็บข้อมูลในช่วง เดือนมิถุนายน-ตุลาคม ปี พ.ศ. 2562 โรงพยาบาลแม่สอด อำเภอ แม่สอด จังหวัดตากผู้ป่วยทารกแรกเกิดมีอาการแสดงในช่วงอายุ 1 สัปดาห์หลังคลอด ทั้งทารกและมารดามีการตรวจเลือดยืนยัน ด้วย chikungunya IgM antibody และ, หรือ chikungunya polymerase chain reaction (PCR)\n ผล : จากการศึกษาพบ มารดาทั้ง 6 ราย มีอาการแสดงไข้ ปวดข้อ ออกผื่น ในช่วง 1-2 วัน ก่อนคลอด มีการตรวจยืนยันด้วย chikungunya IgM ให้ผล บวก ร้อยละ 83 อาการแสดงของทารกทุกรายที่สำคัญ คือ ไข้ และ ผื่นแดงผู้ป่วย 5 ราย (83.3%) มีอาการบวม, กระสับกระส่าย, หายใจ เหนื่อย, ผื่นรอยดำ, พบผู้ป่วย 3 ราย (50%) กินได้น้อย 2 ราย (33.3%) มีอาการชัก และ 1 ราย (16.7%) มีระบบไหลเวียนโลหิต ไม่คงที่ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการพบผู้ป่วยทารกทั้ง 6 ราย ได้รับการตรวจเลือดยืนยัน chikungunya IgM ให้ผล บวก และ chikungunya PCR ให้ผลบวก 3 ราย ภาวะแทรกซ้อนพบ clinical encephalitis 2 ราย ไม่พบรายงานการเสียชีวิต\n สรุป : โรคชิคุนกุนยา ในทารกแรกเกิด ทารกสามารถรับการถ่ายทอดเชื้อไวรัสจากมารดา ที่ติดเชื้อและแสดงอาการคล้ายคลึงกับ neonatal sepsis ทำให้ ไม่สามารถแยกออกจากกันได้อย่างชัดเจน ดังนั้นหากเกิดในพื้นที่ ที่มีการแพร่ระบาดของโรคชิคุนกุนยาในขณะนั้น จำเป็นต้องคิดถึง โรคชิคุนกุนยาในทารกแรกเกิดที่มาด้วยอาการแสดงคล้ายการ ติดเชื้อในกระแสเลือดหรือระบบประสาทส่วนกลาง ไว้ด้วยเสมอ เนื่องจากแนวทางการรักษาแตกต่างกันและทารกอาจมีภาวะ แทรกซ้อนจากการติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาตามมา"
} |
{
"en": "Background : Newborn screening hemoglobin typing (NBS Hb typing) using spot blood was early diagnosed for thalassemias and hemoglobinopathies in neonates at 48 hours of age.\nObjectives : To identify the incidence of thalassemias, other hemoglobinopathies and to assess the association between thalassemias and neonatal hyperbilirubinemia.\nMethods : A retrospective descriptive study was done by reviewing the data of neonates born in a community hospital from 15th February 2017 to 28th February 2018. Those who were in critical conditions and were transferred to another hospital were excluded. Spot blood from heel prick of all neonates was collected at 48 hours after birth and sent for Hb typing test using isoelectric focusing method (IEF) and microbilirubin test.\nResults : A total of 755 neonates were enrolled during the study period (91.3% of total live births). The incidence of thalassemia and hemoglobinopathies was 36.69% (n=277). The three highest incidences were Hb E trait 20.66% (n=156), alpha thalassemia-1 trait 8.74% (n=66) and, Hb E trait with alpha thalassemia-2 3.17% (n=24) respectively. The incidence of neonatal hyperbilirubinemia was 20.66% (n=156). There was no statistically significant association between thalassemia and neonatal hyperbilirubinemia.\nConclusions : The incidence of thalassemia and hemoglobinopathies in neonates using IEF was similar to the incidence reported using the standard method. This technique can be practically done in a community hospital. However, there was no statistically significant association between thalassemia and neonatal hyperbilirubinemia.",
"th": "ภูมิหลัง : การตรวจ newborn screening Hb typing (NBS Hb typing) เพื่อคัดกรองภาวะธาลัสซีเมียสามารถทำได้พร้อม กับการเจาะเลือดที่ส้นเท้าของทารกแรกเกิด จะช่วยทำให้วินิจฉัย โรคธาลัสซีเมียได้เร็วขึ้น\n วัตถุประสงค์ : เพื่อหาอุบัติการณ์ของ ภาวะธาลัสซีเมียและความผิดปกติของฮีโมโกลบินโดยการตรวจ NBS Hb typing และหาความสัมพันธ์ของโรคธาลัสซีเมียและภาวะ ตัวเหลืองในทารกแรกเกิด\nวิธีการ : เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบ เก็บข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560 จนถึง 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ใน ทารกแรกเกิดที่คลอดในโรงพยาบาล ที่ได้รับการตรวจ NBS Hb typing ด้วยวิธี isoelectric focusing (IEF) ที่อายุ 48 ชั่วโมง พร้อมกับตรวจค่า microbilirubin เพื่อ ประเมินภาวะตัวเหลือง ทารกที่มีภาวะแทรกซ้อน ต้องส่งตัวไป รักษาต่อที่โรงพยาบาลอื่นจะถูกคัดออก\n ผล : จากการตรวจเลือด ทารกแรกเกิดทั้งหมด 755 ราย คิดเป็นร้อยละ 91.3 ของทารกเกิด มีชีพในช่วงเวลาเดียวกัน พบอุบัติการณ์โรคธาลัสซีเมียและความ ผิดปกติของฮีโมโกลบินจำนวน 277 ราย (ร้อยละ36.69) สามารถ จำแนกชนิดของความผิดปกติได้ 8 กลุ่ม โดยความผิดปกติที่พบ มากที่สุด 3 อันดับแรกได้แก่ คือ Hb E trait จำนวน 156 ราย (ร้อยละ 20.66), alpha thalassemia-1 trait จำนวน 66 ราย (ร้อยละ 8.74 ), Hb E trait with alpha thalassemia-2 จำนวน 24 ราย (ร้อยละ 3.17) ตามลำดับ พบอุบัติการณ์ของทารกที่มีภาวะตัวเหลืองใน ทารกแรกเกิด จำนวน 156 ราย (ร้อยละ 20.66) โดยค่าเฉลี่ยของ ค่า microbilirubin และ total bilirubin มีค่าใกล้เคียงกันคือ 15 mg/dl แต่ไม่พบว่าภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดมีความสัมพันธ์ กับภาวะฮีโมโกลบินที่ผิดปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ\nสรุป : อุบัติการณ์ของภาวะธาลัสซีเมียในทารกแรกเกิดที่ตรวจคัดกรอง ด้วยวิธี isoelectric focusing (IEF) ใกล้เคียงกับอุบัติการณ์ที่ ตรวจด้วยวิธีมาตรฐาน สามารถทำได้ในโรงพยาบาลขนาดเล็ก แต่ ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างภาวะตัวเหลืองและความผิดปกติของ ฮีโมโกลบิน"
} |
{
"en": "Background : Hearing impairment in newborns affects their life, communication, growth and development over the long term. Screening for hearing defect is important and reduces this problem. Otoacoustic emission (OAE) test is used as a standard device for newborn hearing screening. If the result shows “Refer”, infants will be rescreened at 1 month after discharge and those who are not pass will be referred to see otolaryngologist for definite diagnosis, treatment and rehabilitation before 6 months of age.\nObjective : to develop an appropriate model of universal newborn hearing screening (UNHS) in Trang Province as a case study.\nMethod : This action research aimed to develop a newborn hearing screening model for 10 government hospitals in Trang. The model was developed based on 5 OAE devices, number of newborns and the distance between hospitals. The universal newborn hearing screening (UNHS)model in Trang consisted of 3 parts which were; 1) part one: 1 OAE for 1 hospital (Trang Hospital, Kantang Hospital and Huai Yot Hospital), 2) part two: 1 OAE for 3 hospitals (Ratsada Hospital, Wangwiset Hospital and Sikao Hospital) which turned one week per hospital, and 3) part three: 1 OAE for 4 hospitals (Yan Ta Khao Hospital, Na Yong Hospital, Palian Hospital, and Hat Samran Chaloem Phra Kiat 80 Phansa Hospital) which fixed date in a week per hospital. We performed this study during April–September 2018.\nResults : From 2,701 newborn in Trang, 2,604 were screened using OAE (96.4%) and 3.6% was not. Hearing screening at hospital that they delivered 95.5% (2,486/2,604) which screened at 48 hours after birth and one month later were 67.6% (1,680/2,486) and 32.4% (806/2,486) respectively. 4.5% newborns were screened at other hospitals. The coverage of hearing screening in hospitals in part one, part two and part three were 96%, 82.8% and 76.1% respectively. 97 newborns loss follow up at one month (37 from 3 hospitals in part two and 60 from 4 hospitals in part three). After screening, the results showed “Refer” for 4 newborns and “Pass” after rescreened at one month.\nConclusion : The model development of universal newborns hearing screening (UNHS) in Trang has high coverage (more than 96%).",
"th": "ภูมิหลัง : ทารกที่มีความบกพร่องทางการได้ยินส่งผลกระทบ ต่อการดำเนินชีวิต ติดต่อสื่อสาร และพัฒนาการทางภาษาในระยะ ยาว การตรวจคัดกรองพบภาวะบกพร่องทางการได้ยินตั้งแต่วัย ทารกจะช่วยแก้ไขความบกพร่องนี้ได้ การตรวจคัดกรองการได้ยิน สำหรับทารกแรกเกิดด้วย OAE (otoacoustic emissions test) ซึ่งเป็นเครื่องมือมาตรฐานที่นิยมใช้แพร่หลายในสถานบริการ สุขภาพ เมื่อตรวจพบว่า “Refer” ทารกจะได้รับการนัดตรวจซ้ำที่ เวลา 1 เดือนหลังจากจำหน่ายจากโรงพยาบาล หากยังไม่ผ่านจะได้ รับการส่งต่อไปพบโสต ศอ นาสิกแพทย์เพื่อการวินิจฉัย รักษาและ ฟื้นฟูก่อนอายุ 6 เดือน\nวัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนารูปแบบการให้ บริการตรวจคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิดในระดับจังหวัด โดย ดำเนินการในพื้นที่จังหวัดตรังเป็นกรณีศึกษา\nวิธีการ : การวิจัยเชิง ปฏิบัติการ (action research) ในการพัฒนารูปแบบการให้บริการ ตรวจคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลภาครัฐ จำนวน 10 แห่งของจังหวัดตรัง โดยพิจารณารูปแบบที่เหมาะสม จากจำนวนเครื่อง OAE ที่มีในใช้จำนวน 5 เครื่อง สถิติทารกที่ คลอดและระยะทางระหว่างโรงพยาบาล รูปแบบการตรวจคัดกรอง การได้ยินในทารกแรกเกิดในจังหวัดตรังประกอบไปด้วย 3 รูปแบบ รวมกัน ได้แก่ รูปแบบที่ 1: เครื่องตรวจ OAE 1 เครื่องประจำ 1 โรงพยาบาล (โรงพยาบาลตรัง โรงพยาบาลกันตังและโรงพยาบาล ห้วยยอด) รูปแบบที่ 2: เครื่องตรวจ OAE 1 เครื่องหมุนเวียน 3 โรงพยาบาล (โรงพยาบาลรัษฎา โรงพยาบาลวังวิเศษและโรงพยาบาล สิเกา) โรงพยาบาล ละ 1 สัปดาห์ และ รูปแบบที่ 3: เครื่องตรวจ OAE 1 เครื่องหมุนเวียน 4 โรงพยาบาล (โรงพยาบาลย่านตาขาว โรงพยาบาลนาโยง โรงพยาบาลปะเหลียนและโรงพยาบาล หาดเจ้าสำราญเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา) ตามวันที่กำหนดต่อ สัปดาห์ ดำเนินการระหว่างเดือนเมษายน-กันยายน 2561\n ผล : ทารก เกิดมีชีพในจังหวัดตรังจำนวน 2,701 ราย โดยทารกที่ได้รับการตรวจ คัดกรองการได้ยินด้วย OAE มีจำนวนทั้งสิ้น 2,604 ราย (ร้อยละ 96.4) ทารกที่ไม่มารับการตรวจร้อยละ 3.6 ทารกที่ได้รับการตรวจ คัดกรองในโรงพยาบาลที่คลอดทั้งหมดร้อยละ 95.5 (2,486/2,604 ราย) โดยได้รับการตรวจก่อนจำหน่ายจากโรงพยาบาลร้อยละ 67.6 (1,680/2,486 ราย) และได้รับการตรวจด้วย OAE ที่ 1 เดือนใน โรงพยาบาลที่คลอดร้อยละ 32.4 (806/2,486 ราย) ทารกไปตรวจ คัดกรองการได้ยิน (ตามนัด 1 เดือน) ที่โรงพยาบาลที่ไม่ใช่สถานที่ ที่คลอดร้อยละ 4.5 (118/2,604 ราย) โรงพยาบาลที่ให้บริการ ตรวจในรูปแบบที่ 1 ให้บริการตรวจได้ครอบคลุมมากที่สุดคิดเป็น ร้อยละ 96.0 (1,991/2,073 ราย) รองลงมาเป็นรูปแบบที่ 2 คิดเป็น ร้อยละ 82.8 (212/256 ราย) และรูปแบบที่ 3 มีความครอบคลุม การให้บริการร้อยละ 76.1 (283/372 ราย) ทารกที่ไม่ได้รับการตรวจ ตามนัด 97 รายเป็นทารกที่คลอดในโรงพยาบาลที่มีการหมุนเวียน เครื่องตรวจใน 3 โรงพยาบาลมีจำนวน 37 คน และโรงพยาบาล ที่หมุนเวียนเครื่องตรวจใน 4 โรงพยาบาลมีจำนวน 60 คน การ ตรวจการได้ยินด้วย OAE ครั้งแรกให้ผล “Refer” จำนวน 4 ราย (ร้อยละ 0.2) และเมื่อตรวจติดตามด้วย OAE ที่ 1 เดือนให้ผล “Pass” ทั้ง 4 ราย\nสรุป : การพัฒนารูปแบบการตรวจคัดกรองการ ได้ยินในทารกแรกเกิดในพื้นที่จังหวัดตรังมีความครอบคลุมการ ตรวจสูง (มากกว่าร้อยละ 96.0)"
} |
{
"en": "Background : Dental arch width, intercanine width and intermolar width are Important factors for diagnosis and treatment planning in Orthodontics including planning for the stable result in the retention period. These value are also vary to sex and ethic.\nObjective : To find the mean value of dental arch width and to compare if there is sex difference with respect to dental arch widths both maxilla and mandible.\nMethods : The dental cast of 85 Thai patients (45 females and 40 males) with the mean age of 14.6 years (10-25 years) in the permanent dentition attending the dental department of Nopparat Rajathanee Hospital, Bangkok, were studied. All subjects were Thais with no history of orthodontic treatment. A digital veneer caliper (Mitutoya) was used to measure the intercanine width (ICW) and intermolar width (IMW) on each dental cast. The mean value of dental arch width between both sex were compared by using independent t-test.\nResults : Intercanine width in maxillary arch for male and female was 35.42 ± 2.34 mm. and 35.54 ± 2.48 mm. respectively. Intermolar width in maxillary arch for male and female was 51.90 ± 4.46 mm. and 52.57 ± 2.95 mm. respectively. Intercanine width in mandibular arch for male and female was 27.08 ± 1.96 mm. and 27.24 ± 2.26 mm. respectively. Intermolar width in mandibular arch for male and female was 45.02 ± 3.28 mm. and 44.67 ± 2.88 mm. respectively. Male showed the slightly larger intermolar arch width in the mandible . Female showed slightly larger intermolar arch width in the maxilla and slightly larger intercanine arch width in both maxilla and mandible.\nConclusion : There was no statistically significant difference between male and female with respect to intercanine and intermolar arch width.",
"th": "ภูมิหลัง : ค่าเฉลี่ยขนาดความกว้างขากรรไกร (dental arch width) โดยเฉพาะขนาดความกว้างของขากรรไกรระหว่างฟันเขี้ยว (intercanine width) และขนาดความกว้างของขากรรไกรระหว่าง ฟันกรามใหญ่ซี่แรก (intermolar width) มีความสำคัญต่อการ วิเคราะห์การสบฟันและการวางแผนการรักษาการจัดฟัน รวมถึงมี ความสำคัญในการวางแผนการจัดฟันในระยะ retention preriod เพื่อให้ผลของการจัดฟันคงสภาพอยู่นาน โดยตัวแปรนี้มีความ แตกต่างระหว่างเพศและเชื้อชาติ\nวัตถุประสงค์ : เพื่อหาค่าเฉลี่ย ขนาดความกว้างของขากรรไกรในกลุ่มประชากรไทย และเปรียบ เทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยขนาดความกว้างของขากรรไกร ระหว่างเพศหญิงและเพศชาย\n วิธีการ : กลุ่มตัวอย่างได้จาก ชิ้นหล่อ ศึกษา (dental cast) ของคนไข้ ที่เข้ามาปรึกษาเพื่อรับการจัดฟัน ที่โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี โดยทันตแพทย์คนเดียวกัน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 ถึงปัจจุบัน จำนวน 85 ราย (หญิง 45 ราย ชาย 40 ราย) อายุเฉลี่ย 14.6 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มคนไทยที่ไม่เคยมีประวัติการรักษาด้าน ทันตกรรมจัดฟัน โดยใช้ digital veneer caliper (Mitutoya) ได้ ถูกนำมาใช้ในการวัดค่าขนาดความกว้างขากรรไกร ระหว่างฟันเขี้ยว (intercanine width) และระหว่างฟันกรามซี่แรก (intermolar width) คำนวณค่าเฉลี่ย (mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) ของค่าขนาดความกว้างของขากรรไกร และ เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของค่าขนาดความกว้างของขากรรไกร ระหว่าง เพศชายและเพศหญิง ว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยใช้การทดสอบที (independent t-test)\nผล : ค่าเฉลี่ยขนาด ความกว้างขากรรไกรระหว่างฟันเขี้ยว (intercanine width) ในขา กรรไกรบน เพศชาย 35.42 ± 2.34 มิลลิเมตร และเพศหญิง 35.54 ± 2.48 มิลลิเมตร ค่าเฉลี่ยขนาดความกว้างขากรรไกรระหว่างฟัน กรามซี่แรก (intermolar width) ในขากรรไกรบน เพศชาย 51.90 ± 4.46 มิลลิเมตร และเพศหญิง 52.57 ± 2.95 มิลลิเมตร ค่าเฉลี่ย ขนาดความกว้างขากรรไกรระหว่างฟันเขี้ยว (intercanine width) ในขากรรไกรล่าง เพศชาย 27.08 ± 1.96 มิลลิเมตร และเพศหญิง 27.24 ± 2.26 มิลลิเมตร ค่าเฉลี่ยขนาดความกว้างขากรรไกร ระหว่างฟันกรามซี่แรก (intermolar width) ในขากรรไกรล่าง เพศ ชาย 45.02 ± 3.28 มิลลิเมตร และเพศหญิง 44.67 ± 2.88 มิลลิเมตร ในเพศชาย พบว่า ค่าเฉลี่ยขนาดความกว้างขากรรไกรล่าง ระหว่าง ฟันกรามซี่แรก (intermolar width) มีขนาดกว้างกว่าเพศหญิงเล็ก น้อย ในเพศหญิง พบว่า ค่าเฉลี่ยขนาดความกว้างขากรรไกรล่าง ในตำแหน่งฟันเขี้ยว และ ค่าเฉลี่ยขนาดความกว้างของขากรรไกร บน ระหว่างฟันกรามซี่แรก (intermolar width) และระหว่างฟัน เขี้ยว (intercanine width) มีขนาดกว้างกว่าเพศชายเล็กน้อย\nสรุป : ค่าเฉลี่ยขนาดความกว้างของขากรรไกรระหว่างเพศชายและเพศ หญิงไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ"
} |
{
"en": null,
"th": null
} |
{
"en": "Background : Delayed speech in children results from the problem of modern-day parenting. Thus, the development of speech model is created in order to improve parenting, as well as children’s speech development. The model consists of a Buddhist psychological program which integrates Buddhist ethics and psychological theories in the program activities.\nObjectives : 1) To study and use the condition of raising children with slow speech from parents who provided their children with electronic media as a case study. 2) To study the effectiveness of raising slow-talking children via electronic media of Buddhist program of behavioral adaptation 3) To present an effectiveness of parenting delayed speech children from using electronic media with Buddhist behavior modification program.\nMethods : A mixed research with multiple research methods was conducted. The research was divided into 3 phases. The first phase consisted of selecting a specific group of Buddhist scholars, developmental-behavioral pediatricians, nurses, speech practitioners, occupational therapists, and psychologists. This selected group was able to provide key information. The selection method used consisted of 1) interview questions 2) child development screening form from the Department of Mental Health. Phase 2 consisted of a sample group of parents of the pediatric patients, 32 in total. The research methods involved using the Buddhist psychological program of behavior modification developed from the first phase, and measurement of speech behavior of children. The third phase was a topographic sampling record from parents of 100 children who came to the Queen Sirikit National Institute of Child Health in 2019. The data were collected by using the assessment to measure the effective of parenting by those using the Buddhist psychology program for behavioral modification among slow speech children via electronic media. The data were then taken for analysis.\nResults : 1) Mean score and percentage of improvement in effective parenting of slow speech children by using the Buddhist program of behavioral adaptation were statistically higher than pre-treatment at the .05 level, which was a good overall result. 2) After the experiment, more children passed the evaluation criteria of the Speech Behavior Scale. The post-test scores were significantly higher than those of the pre-test by .05 level. 3) Model development was consistent with the empirical data (p = 0.89).\nConclusion : Parenting with the use of effective model for delayed speech children via electronic media with a Buddhist behavioral adaptation program resulted in a better child development.",
"th": "ภูมิหลัง : ปัญหาของการเลี้ยงดูลูกในปัจจุบันส่งผลให้เด็ก เกิดภาวะพูดช้า การพัฒนาโมเดลประสิทธิผลการเลี้ยงดูเด็กพูดช้า จากการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยโปรแกรมพุทธจิตวิทยาการปรับ พฤติกรรมที่มีการบูรณาการหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาและ ทฤษฎีทางจิตวิทยามาพัฒนาเป็นกิจกรรมภายในโปรแกรม เพื่อช่วย ในการขัดเกลาอบรมเลี้ยงดูให้กับพ่อแม่และเด็กเพื่อให้เด็กสามารถ พูดได้ตามพัฒนาการ\nวัตถุประสงค์ : 1. เพื่อศึกษาสภาพการเลี้ยง ดูเด็กพูดช้าจากการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์จากผู้ปกครองกรณีศึกษา ที่เป็นแบบอย่างที่ดี 2. ศึกษาประสิทธิผลการเลี้ยงดูเด็กพูดช้าจาก การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้โปรแกรมพุทธจิตวิทยาการปรับ พฤตกิ รรม 3.นำ เสนอโมเดลประสิทธิผลการเลี้ยงดูเด็กพูดช้าจากการ ใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยโปรแกรมพุทธจิตวิทยาการปรับพฤติกรรม\nวิธีการ : เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีแบบพหุ แบ่งเป็น 3 ระยะ กลุ่ม ตัวอย่าง ระยะที่ 1 ประกอบด้วย นักวิชาการทางด้านพุทธศาสนา ผู้ให้การรักษา เเพทย์พัฒนาการ พยาบาล นักฝึกพูด นักกิจกรรม บำบัด และนักจิตวิทยา โดยคัดเลือกแบบเจาะจง ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ ที่สามารถให้ข้อมูลหลักและสำคัญ จำนวน 21 ราย เครื่องมือที่ ใช้ประกอบด้วย 1. คำถามในการสัมภาษณ์ 2. แบบคัดกรอง พัฒนาการเด็กของกรมสุขภาพจิต ระยะที่ 2 คือ และกลุ่มตัวอย่าง คือผู้ปกครองของผู้ป่วยเด็กพูดช้าจำนวน 32 ราย เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย 1. โปรแกรมพุทธจิตวิทยาการปรับพฤติกรรม (ได้ มาจากการพัฒนาในระยะที่ 1) และคู่มือพุทธจิตวิทยาสนทนากับ ลูกน้อย 2. แบบวัดพฤติกรรมการพูดของเด็ก และแบบบันทึก พฤติกรรมของเด็ก ระยะที่ 3 คือ ผู้ปกครองของเด็กที่มารับบริการ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ในปี พ.ศ. 2562 จำนวน100 ราย โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบประเมินเพื่อวัดประสิทธิผลการเลี้ยงดูของผู้ปกครองโดยใช้ โปรแกรมพุทธจิตวิทยาการปรับพฤติกรรมในกลุ่มเด็กพูดช้าจาก การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และนำข้อมูลมาวิเคราะห์\nผล : 1. คะแนน เฉลี่ยและร้อยละของพัฒนาการที่เพิ่มขึ้นของประสิทธิผลการเลี้ยงดู เด็กพูดช้าจากการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้โปรแกรมพุทธจิตวิทยา การปรับพฤติกรรม โดยภาพรวมมีร้อยละของพัฒนาการที่เพิ่ม ขึ้นกว่าก่อนใช้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ภาพรวม อยู่ในระดับดี 2. หลังการทดลองมีเด็กที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ตามแบบวัดพฤติกรรมการพูดเพิ่มมากขึ้น พบว่าคะแนนหลังการ ทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3. การพัฒนาโมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (p=0.89)\nสรุป : โมเดลประสิทธิผลการเลี้ยงดูเด็กพูดช้าจากการใช้ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ด้วยโปรแกรมพุทธจิตวิทยาการปรับพฤติกรรม ช่วยให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีขึ้น"
} |
{
"en": "Background : Incidence and mortality of lung cancer are increasing. However, factors associating with survival is limited.\nObjectives : This study aimed to analyze prognostic factors and overall survival of patients who were diagnosed and treated at Saraburi Hospital.\nMethods : All 205 patients diagnosed with non-small cell lung cancer (NSCLC) stage 4 were recruited between 1st January 2013 and 31st December 2018. This retrospectively collected cohort was investigated about factors indicating prognosis and overall survival using Cox proportional hazard model.\nResults : Patients who were treated with an appropriated treatment having better survival three times over than those who were not. Delay interval time between first contact with a doctor and oncologists increased risk of mortality with a hazard ratio (HR) 1.02 (95% CI = 1.002, 1.030). Patients who were frail (ECOG 3-4) increased risk of death, compared to those who were well performance [HR 2.29 (95% CI = 1.31, 4.01)]. Also, a personal history of smoking associated with a higher risk of death than non-smokers [HR 3.01 (95% CI = 1.63, 5.53)]. The 1-yr overall survival (OS) reached 76.6% (95% CI = 68.8, 82.6) when patients received specific treatments. Compared to chemotherapy and best supportive care, targeted therapy provided best survival rate with 1-yr OS at 100% and 5-yr OS at 58%. Treatment with chemotherapy gave second best survival rates (1-yr OS 76.9% and 5-yr OS 26.2%).\nConclusions : Patients who received specific treatments gained better outcomes than those who did not. Prolonged waiting time to visiting an oncologist could have lessen survival. Poor performance status and history of smoking increased risk of death. Although, there were a limited number of patients who were treated with targeted therapy, the survival rate was the best compared to other treatments",
"th": "ภูมิหลัง : ผู้ป่วยมะเร็งปอดได้รับการวินิจฉัยและเสียชีวิตสูงขึ้นแต่ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตไม่แน่ชัด วัตถุประสงค์:เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเสียชีวิต และอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยที่วินิจฉัย และรับการรักษาที่โรงพยาบาลสระบุรี\nวิธีการ : ผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดระยะแพร่กระจาย ทั้งหมด 205 ราย ที่ได้รับการวินิจฉัย และรักษาที่โรงพยาบาลสระบุรี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2561 ถูกนำมาศึกษาปัจจัย และอัตราการรอดชีวิตโดยใช้การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลัง ด้วยวิธี Cox proportional hazard model\nผล : ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมมีอัตราการรอดชีวิตสูงกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาถึงสามเท่า โดยระยะเวลาการรอคอยเพื่อพบแพทย์เฉพาะทางที่นานเพิ่มอัตราการเสียชีวิต [HR 1.02 (95% CI=1.002, 1.030)] ผู้ป่วย ECOG 3-4 [HR 2.29 (95% CI=1.31, 4.01)] สัมพันธ์กันกับการเสียชีวิตเช่นเดียวกันกับ ผู้ป่วยที่สูบบุหรี่ซึ่งเสียชีวิตจากโรคมากกว่าไม่สูบ [HR 3.01 (95% CI=1.63, 5.53)] เมื่อคิดอัตราการรอดชีวิต (OS) กลุ่มผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา 1-yr OS อยู่ที่ 76.6% (95% CI= 68.8, 82.6) โดยกลุ่มที่รักษาด้วยยามุ่งเป้า มี 1-yr OS และ 5-yr OS สูงถึง 100% และ 58.0% รองลงมาคือผู้ป่วยที่รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด (1-yr OS 76.9% และ 5-yr OS 26.2%)สรุป: การเข้าถึงการรักษาลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งปอด เมื่อเทียบกับกลุ่มผู้ป่วยที่เข้าไม่ถึงการรักษา ระยะเวลาการรอคอยแพทย์ที่นานสัมพันธ์กับอัตราการเสียชีวิตที่สูงขึ้น สภาพร่างกายที่ไม่แข็งแรง และประวัติการสูบบุหรี่ สัมพันธ์กับการเสียชีวิต ถึงแม้ผู้ป่วยที่ได้รับยามุ่งเป้าจะมีน้อย แต่อัตราการรอดชีวิตสูงที่สุด ตามด้วยการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดการรักษา ระยะเวลาการรอคอยระหว่างการมาโรงพยาบาลครั้งแรกและพบแพทย์เฉพาะทาง อายุของผู้ป่วย ความแข็งแรงของผู้ป่วย (ECOG status) จำนวนอวัยวะที่มะเร็งแพร่กระจาย วิธีการรักษา ไม่ว่าจะเป็นการรักษาด้วยเคมีบำบัด หรือยามุ่งเป้า ตลอดจนปัจจัยอื่นๆ ที่อาจมีความเกี่ยวข้องกันกับการเสียชีวิตของโรคในแง่ระบาดวิทยา ผลของการศึกษานี้จะนำไปเปรียบเทียบกับอัตราการรอดชีวิตจากโรคมะเร็งในภาพรวมของประเทศไทย"
} |
{
"en": "Background : Diagnostic yield of conventional, culture-based method of pathogen detection among sepsis and severe pneumonia is generally disappointedly low.\nObjectives : To determine the etiological organisms causing community-acquired life-threatening infections (CA-LTI) among previously healthy children using multiplex polymerase chain reaction (mPCR).\nMethods : A prospective descriptive survey was conducted among all children aged 1 month -15 years diagnosed with community-acquired sepsis with septic shock and pneumonia with respiratory failure. Serum and/or tracheal aspirates for pathogen identification using mPCR targeting 33 common pathogens were obtained from all subjects.\nResults : A total of 79 cases were enrolled: n = 17 for sepsis (21.5%) and n = 62 for pneumonia (78.5%). Nine cases (11.4%) had one pathogen identified in serum sample using mPCR: n = 4 (23.5%) for sepsis and n=5 (8%) for pneumonia cases. Among sepsis cases, the pathogens identified in serum via mPCR were rhinovirus and bocavirus, (n=2 each). One pathogen identified by conventional blood culture was Entercoccus faecalis. Among pneumonia cases, 8% (n=5) had at least one potential pathogen identified in serum by mPCR with bocavirus and H. influenzae being the most common (n= 2 each). Similarly, H. influenzae were the most commonly identified by mPCR in tracheal aspirates (n=10). The fatality rates were 5.9% among sepsis and 1.6% among pneumonia cases.\nConclusions : Viruses are among the important causes of CA-LTI in previously healthy children. Using mPCR enables 9-fold increase in the proportion of pathogen identification in serum in children with septic shock and severe pneumonia.",
"th": "ภูมิหลัง : การตรวจเชื้อแบบดั้งเดิมเพื่อหาสาเหตุการติดเชื้อ ในกระแสเลือด หรือกลุ่มอาการ sepsis และภาวะปอดอักเสบรุนแรง มีความไวค่อนข้างต่ำ\nวัตถุประสงค์ : ศึกษาวิธีการตรวจในรูปแบบ multiplex polymerase chain reaction (mPCR) เพื่อตรวจหา เชื้อก่อโรคในผู้ป่วยเด็กที่ไม่มีโรคประจำตัวและมีสุขภาพแข็งแรงดี มาก่อน แต่มาด้วยอาการเจ็บป่วยเฉียบพลัน ติดเชื้อรุนแรงคุกคาม ต่อชีวิต\nวิธีการ : สำรวจเด็กอายุ 1 เดือนถึง 15 ปีที่ได้รับการวินิจฉัย ว่ามีการติดเชื้อรุนแรงและคุกคามต่อชีวิตด้วยกลุ่มอาการ sepsis ร่วมกับภาวะช็อกและหรือมีภาวะปอดอักเสบรุนแรง โดยนำเลือด และน้ำจากท่อหลอดลมคอส่งตรวจโดยวิธี mPCR ซึ่งครอบคลุมเชื้อ 33 ชนิดที่พบบ่อย\nผล : เด็กเข้าร่วมทั้งหมด 79 ราย แบ่งเป็นกลุ่ม อาการ septic shock 17 ราย (ร้อยละ 21) ปอดอักเสบรุนแรง 62 ราย (ร้อยละ 78.5) พบว่า 9 ราย (ร้อยละ 11.4) ตรวจพบเชื้อ ก่อโรคในเลือด แบ่งเป็นกลุ่มอาการ sepsis 4 ราย (ร้อยละ 23.5) ปอดอักเสบ 5 ราย (ร้อยละ 8) กลุ่มอาการ septic shock เชื้อที่ ตรวจพบในเลือด ได้แก่ rhinovirus และ bocavirus (อย่างละ 2 ราย) มี 1 ราย ตรวจพบเชื้อ Entercoccus faecalis โดยวิธีเพาะเชื้อ แบบปกติ กลุ่มอาการปอดอักเสบ 5 ราย (ร้อยละ 8) พบเชื้ออย่าง น้อย 1 ชนิดโดยวิธี mPCR โดย bocavirus และ H. influenzae เป็นเชื้อที่พบบ่อยที่สุด (อย่างละ 2 ราย) โดยวิธี mPCR จากน้ำ ในท่อหลอดลมคอ (10 ราย) อัตราการเสียชีวิต พบร้อยละ 5.9 ใน กลุ่มอาการ septic shock ร้อยละ 1.6 ในปอดอักเสบ\nสรุป : เชื้อ ไวรัสเป็นสาเหตุสำคัญที่ตรวจพบในเด็กที่มีสุขภาพแข็งแรงดีมา ก่อนแต่มาด้วยอาการติดเชื้อรุนแรงคุกคามต่อชีวิต การใช้ mPCR ในเด็กที่มาด้วย กลุ่มอาการ septic shock และหรือปอดอักเสบ รุนแรง ทำให้ตรวจพบเชื้อก่อโรคได้เพิ่มขึ้นในเลือดเมื่อเทียบกับการ ตรวจวิธีปกติประมาณ 9 เท่า"
} |
{
"en": "Background : Most amphetamine addicts are people with low self-esteem. Group counseling based on the concept of Satir Model can increase self-esteem, leading them to the decision to stop using drugs.\nObjective : The study aimed at investigating the effect of group Satir Model based program on self-esteem of amphetamine dependence in compulsory rehabilitation.\nMethod : This was pretest-posttest quasi-experimental. The participants were 10 amphetamine dependence patients in compulsory rehabilitation at Thanyarak Khonkaen Hospital. They were selected by purposive sampling from the 10 lowermost scores. The tools consisted of the Coopersmith Self-esteem Inventory and the Group Satir Model based program. The program required 8 sessions of attendance, each session lasted 60 minutes, two days a week. Wilcoxon Signed Rank Test was used in data analysis.\nResult : All participants were male with the average age of 23 years old. Most of them were married (60%), had a secondary level of education (60%), and worked as general laborers (65%). Before the experiment, the average score of self-esteem was 59.70 (SD=17.64), after the experiment the average score of self-esteem was 87.10 (SD=19.17). However, the subscales of self-esteem on family and social aspects were significantly increased (p<.05).\nConclusion : The Group Satir Model based program could enhance the self-esteem of amphetamine dependence which would lead them to making the right decisions and living productively without substance dependence.",
"th": "ภูมิหลัง : ผู้ติดยาบ้าส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีความรู้สึกคุณค่าใน ตนเองต่ำการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวคิดของซาเทียร์ โมเดล จะสามารถเพิ่มความนับถือตนเองจะนำพวกเขาไปสู่การตัดสินใจ หยุดการใช้ยาเสพติดได้\nวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของการให้ คำปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวคิดของซาเทียร์ โมเดล เพื่อพัฒนาการ เห็นคุณค่าในตนเองของผู้ติดยาบ้าที่เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพแบบ ควบคุมตัวไม่เข้มงวด\nวิธีการ : เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบวัดผลก่อน และหลังการทดลองนี้กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ติดยาบ้าที่เข้ารับการฟื้นฟู สมรรถภาพแบบควบคุมตัวไม่เข้มงวด ณ โรงพยาบาลธัญญารักษ์ ขอนแก่น คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) ที่มีคุณค่าตนเองต่ำจำนวน 10 ราย เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเองของคูเปอร์สมิท และโปรแกรมการ ให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวคิดซาเทียร์ โมเดล (Satir Model) จำนวน 8 ครั้ง ครั้งละ 60 นาที สัปดาห์ละ 2 ครั้ง วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติ Wilcoxon Signed Rank Test\nผล : พบว่า กลุ่มตัวอย่าง ผู้ติดยาบ้าที่เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพแบบควบคุมตัวไม่เข้มงวด ทั้งหมดเป็นเพศชายอายุเฉลี่ย 23 ปี ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 60 จบการศึกษาสูงสุดระดับมัธยมต้นร้อยละ 60 มีอาชีพ รับจ้างทั่วไปร้อยละ 65 ค่าคะแนนการเห็นคุณค่าในตนเองก่อน การทดลองโดยรวมมีค่าเท่ากับ 59.70 คะแนน ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐานเท่ากับ 17.64 หลังการทดลองพบว่ากลุ่มตัวอย่างมี ค่าเฉลี่ยคะแนนการเห็นคุณค่าในตนเองเท่ากับ 87.10 คะแนน ค่า เบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 19.17 และพบว่าการเห็นคุณค่าในตนเอง ต่อตนเองด้านครอบครัวและสังคม สูงกว่าก่อนการให้คำปรึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05\nสรุป : การให้คำปรึกษาแบบ กลุ่มตามแนวคิดของซาเทียร์ โมเดล สามารถใช้ในการพัฒนาการ เห็นคุณค่าในตนเองให้มีทางเลือกตัดสินใจใช้ชีวิตโดยไม่พึ่งพา ยาเสพติดต่อไป"
} |
{
"en": "Background : Parkinson’s disease (PD) is one of the chronic disorders due to degeneration of a nervous system. Recent medical treatments are unable to cure or prevent progression. To alleviate the symptoms, there are needs to find efficient medications.\nObjective : This study aimed to evaluate efficacy and safety of medical cannabis extract as part of treatment for patients with PD.\nMethods : This was an open label study comparing 12 individuals’ conditions before and after administration of medical cannabis. The follow-up visits were appointed at the end of 1st, 3rd and 6th months after the first administration. The collected information included records of any adverse effects, Unified Parkinson’s Rating Scale Disease (UPDRS), The Pittsburgh Sleep Quality Index (PSQI), Stress Test, Patient Health Questionnaire (PHQ9) and Self-Rating Anxiety Scale (SAS).\nResult : 8 of 12 participants (66.7%) were male with overall average age of 60.3 years and average duration after onset was 7.5 years. Participants were in stage 2 (41.7%) or 3 (58.3%). The dose was between two and five drops daily. After six months, there were statistically significant differences (p<0.05) of symptoms and severity of PD, level of stress, and quality of sleep between baseline and six-month assessments. The reported adverse effects included dry throat (16.7%), depression (8.3%), and dizziness (8.3%).\nConclusion : The administration of cannabis in elderly participants described in this study was safe with minor adverse effects and tended to reduce symptoms and severity of PD, level of stress and improve quality of sleep.",
"th": "ภูมิหลัง : โรคพาร์กินสันเป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากความเสื่อม ของระบบประสาท ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคให้หายขาดหรือ หยุดยั้งการดำเนินของโรคได้ จึงต้องหายาที่มีประสิทธิผลเพื่อช่วย บรรเทาอาการของโรค\nวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความปลอดภัยและ ประสิทธิผลของการใช้สารสกัดจากกัญชาทางการแพทย์ในผู้ป่วยโรค พาร์กินสันในโรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่\nวิธีการ : ทำการศึกษา วิจัยแบบเปิด (open label study) เปรียบเทียบความแตกต่าง ก่อนและหลังการได้รับการรักษาด้วยกัญชา ในกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วย โรคพาร์กินสันจำนวน 12 ราย ติดตามผลการรักษาในเดือนที่ 1,3, และ 6 เครื่องที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบประเมินอาการไม่ พึงประสงค์ แบบประเมิน Unified Parkinson’s Disease Rating Scale (UPDRS) แบบประเมินคุณภาพการนอนหลับ แบบประเมิน อาการซึมเศร้า ความเครียด และความวิตกกังวล\nผล : กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 66.7) อายุเฉลี่ย 60.3 ปี ระยะเวลา ของการเป็นโรคพาร์กินสัน 7.5 ปี ส่วนใหญ่อาการของโรคอยู่ใน ระยะที่ 3 (ร้อยละ58.3) ได้รับกัญชาตั้งแต่ 2-5 หยดต่อวัน ผล การศึกษาเมื่อครบ 6 เดือนพบว่าอาการและความรุนแรงของโรค พาร์กินสันความเครียด และการนอนหลับ มีความแตกต่างจากก่อน ให้กัญชาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05) อาการข้างเคียงที่พบ ได้แก่ อาการคอแห้ง (ร้อยละ 16.7) อาการซึมเศร้า (ร้อยละ 8.3) และมึนเวียนศีรษะ (ร้อยละ 8.3)\nสรุป : การใช้น้ำมันกัญชา ตามขนาด ยาที่ระบุข้างต้นในกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้สูงอายุมีความปลอดภัยและ มีแนวโน้มที่จะลดอาการและความรุนแรงของโรค ลดความเครียด และเพิ่มคุณภาพการนอนหลับ"
} |
{
"en": "Background : Pemphigus is a chronic autoimmune blistering skin disease. The severity degree of the disease can be varied, affecting the quality of life and even death from its complications such as infections, and the use of immunosuppressants. Patients need to receive continued care from hospital to home to avoid possible complications.\nObjective : To develop and study the results of a continuing nursing model in pemphigus patients.\n Methods : This was a research and development study. The data were collected on 17 professional nurses and 68 patients (8 patients with moderate disease severity or worse and 60 patients with mild diseases severity) at the Institute of Dermatology. We analyzed the problems and developed a nursing model for continuing care in pemphigus patients. The data were analyzed through content analysis. Wilcoxon signed-rank test and Paired t-test were used to compare the differences between pre and post processing of the continuing nursing model.\nResults : The nursing model for continuing care of pemphigus diseases was developed to address 1) Nursing practice guideline 2) Discharge planning program 3) Health education plan 4) Pemphigus Patient’s identification book 5) Assigning nurses to monitor patients at home by phone 6) Exchanging information about patient problems between the inpatient ward and the vesiculobullous clinic. The professional nurses had a statistically higher knowledge than before implementing the model (p<0.05). Mean nurses’ operation following the nurse care model was 86.42%, and nurse satisfaction was at the highest level. The patients with all disease severity levels had significantly higher mean score of self-care knowledge (p<0.05). Patients with mild disease severity had a significantly higher mean score in care behavior (p<0.05) although there was no statistically significant difference between before and after model in patients with moderate and more disease severity (p>0.05). Patient satisfaction was at the highest level in all severity group after the model was used. The re-visit rates reduced from 5.96% to 1.67% in the mild disease severity group, while the readmission rates reduced from 4.33% to 0% in the moderate and more disease severity group.\nConclusion : The development of continuity nursing model in pemphigus could support the professional nurses’ practice in continuing care. Educated patients were able to take care of themselves, resulting in a significant reduction in complications and the revisit and readmission rates.",
"th": "ภูมิหลัง : โรคตุ่มน้ำพองใสเป็นโรคผิวหนังเรื้อรังที่มีความ ผิดปกติของภูมิคุ้มกันตนเอง มีความรุนแรงของโรคหลายระดับ ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและมีโอกาสเสียชีวิตได้จากความรุนแรงของ โรคหรือภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อและการใช้ยากดภูมิคุ้มกัน เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนของโรคผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการดูแลต่อ เนื่องจากโรงพยาบาลถึงบ้าน\nวัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาและศึกษา ผลการใช้รูปแบบการพยาบาลต่อเนื่องในผู้ป่วยโรคตุ่มน้ำพองใส\nวิธีการ : การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (research and development) กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 17 คน และผู้ป่วยจำนวน 68 ราย แบ่งเป็นผู้ป่วยความรุนแรงระดับปาน กลางขึ้นไป จำนวน 8 รายและผู้ป่วยความรุนแรงระดับน้อย จำนวน 60 ราย ที่มารักษาสถาบันโรคผิวหนัง วิเคราะห์ข้อมูลรูปแบบการ พยาบาลต่อเนื่องในผู้ป่วยโรคตุ่มน้ำพองใสด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และสถิติเปรียบเทียบก่อนหลังการพัฒนารูปแบบฯ ด้วย Wilcoxon signed-rank test และ Paired t-test\nผล : พบว่า รูปแบบการ พยาบาลต่อเนื่องในผู้ป่วยโรคตุ่มน้ำพองใส ประกอบด้วย 1) แนวทาง ปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคตุ่มน้ำพองใส 2) โปรแกรมวางแผน จำหน่าย 3) แผนการสอนสุขศึกษาผู้ป่วย 4) สมุดประจำตัวผู้ป่วย โรคตุ่มน้ำพองใส 5) การมอบหมายพยาบาลติดตามอาการผู้ป่วย ที่บ้านทางโทรศัพท์ 6) การส่งต่อข้อมูลปัญหาผู้ป่วยระหว่างหอ ผู้ป่วยกับคลินิกเฉพาะโรคตุ่มน้ำพองใส หลังจากการใช้รูปแบบฯ พบว่า พยาบาลวิชาชีพมีความรู้สูงขึ้นกว่าก่อนการพัฒนารูปแบบฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) สามารถปฏิบัติได้ตามรูปแบบ การพยาบาลโดยมีค่าเฉลี่ย 86.42% และมีความพึงพอใจต่อการใช้ รูปแบบในระดับมากที่สุด ในผู้ป่วยที่มีความรุนแรงทุกระดับ พบว่า มีความรู้สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ผู้ป่วยที่มีความ รุนแรงของโรคระดับน้อย มีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเอง สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) แม้ว่าผู้ป่วยที่มีความรุนแรง ของโรคระดับปานกลางขึ้นไป มีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแล ตนเองก่อนและหลังการพัฒนารูปแบบฯไม่แตกต่างกัน (p>0.05) ผู้ป่วยความรุนแรงทุกระดับมีความพึงพอใจหลังพัฒนารูปแบบใน ระดับมากที่สุด ผลลัพธ์ทางคลินิก พบว่า ผู้ป่วยที่มีความรุนแรงของ โรคระดับน้อยมีอัตรา re-visit ลดลงจากค่าเฉลี่ยร้อยละ 5.96 เป็น ร้อยละ 1.67 ส่วนผู้ป่วยที่มีความรุนแรงของโรคระดับปานกลางขึ้น ไป มีอัตรา re-admit ลดลงจากค่าเฉลี่ยร้อยละ 4.33 เป็นร้อยละ 0\nสรุป : รูปแบบการพยาบาลต่อเนื่องในผู้ป่วยโรคตุ่มน้ำพองใสที่ได้ รับการพัฒนาขึ้นช่วยสนับสนุนการปฏิบัติการของพยาบาลวิชาชีพ ในการดูแลต่อเนื่องส่งผลให้ผู้ป่วยมีความรู้สามารถดูแลตนเองได้ ลดภาวะแทรกซ้อนลดการ re-visit และ re-admit ได้อย่างชัดเจน"
} |
{
"en": "Background : Respiratory tract infection is the major cause of sticky nasal secretion. Children under the age of 15 months with an ineffective cough are unable to remove their own secretions. Nasopharyngeal and oral suctioning is extremely necessary. However, this activity causes bleeding which can provoke anxiety in parents.\nObjectives : to compare trauma from bleeding during suction in young child patients and caregiver’s satisfaction. Between the group of using standard suction tube and MU sucker.\n Methods : This was a pilot study. Sample group was young child aged 1-15 months were diagnosed with pneumonia or acute bronchiolitis and requires sputum suctioning. Sixty two cases were divided into 2 groups: the control group used the standard suction tube. The MU sucker trial group used a paired study method, according to the age of the patient. The data analysis was consisting of frequency, percentage, mean and standard deviation. Mann-Whitney U Test was used to compare the trauma differences between the experimental group and the control group. The independent samples t-test was used to measure satisfaction. Pearson Product Moment Coefficient was used to analyze treatment associated factors.\nResults : Trauma in the experimental group was lower than the control (p = 0.91). The caregiver’s satisfaction was not different (p=0.282), but caregiver in the experimental group felt that their child decreased fighting (p = 0.014). Cost of MU sucker suctioning was lower than standard.\nConclusion : Suctioning in the nose and mouth for young children can use MU sucker suctioning because the efficacy was not different. Complications of suctioning depends on the skill of the nurses.",
"th": "ภูมิหลัง : การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนล่าง เป็นสาเหตุ หลักที่ทำให้เกิดภาวะเสมหะเหนียวข้น เด็กเล็กอายุน้อยกว่า 15 เดือน การไอยังไม่มีประสิทธิภาพ การดูดเสมหะในจมูกและคอเป็น หัตถการที่จะทำให้ทางเดินหายใจโล่ง ภาวะแทรกซ้อนจากการดูด เสมหะ เช่น ความเจ็บปวด การมีเลือดออกจะสร้างความวิตกกังวล กับผู้ดูแลเป็นอย่างมาก\nวัตถุประสงค์ : เปรียบเทียบความแตกต่าง ของการบาดเจ็บจากการดูดเสมหะและความพึงพอใจของผู้ดูแล ระหว่างกลุ่มที่ใช้สายแบบมาตรฐานทั่วไปกับ MU sucker ในการดูด เสมหะ\nวิธีการ : การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษานำร่อง (pilot study) กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยเด็กเล็กอายุ1-15 เดือน ได้รับการวินิจฉัยว่า เป็นปอดบวมหรือโรคหลอดลมฝอยอักเสบเฉียบพลันและต้องได้รับ การระบายเสมหะ จำนวน 62 ราย แบ่ง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุม เป็นกลุ่มที่ใช้สายดูดเสมหะแบบมาตรฐานทั่วไป ส่วนกลุ่มทดลอง ใช้ MU sucker โดยการจับคู่ (match pair) ตามกลุ่มอายุของ ผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่าง ของการบาดเจ็บจากการดูดเสมหะด้วย The Mann-Whitney U Test ความพึงพอใจใช้ t-test independence และวิเคราะห์ความ สัมพันธ์ของปัจจัยทางการรักษาด้วย Pearson Product Moment Coefficient\n ผล : การใช้ MU Sucker ดูดเสมหะทำให้มีการบาดเจ็บ น้อยกว่าการใช้สายแบบมาตรฐานทั่วไปอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.091) ความพึงพอใจของผู้ดูแลไม่แตกต่างกัน (p=0.282) แต่ ผู้ดูแลกลุ่มที่ใช้ MU sucker ดูดเสมหะรู้สึกว่าเด็กดิ้นน้อยกว่าอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.014) และการใช้ MU sucker สามารถ ประหยัดค่าวัสดุได้มากกว่าการใช้สายดูดเสมหะแบบมาตรฐานทั่วไป\n สรุป : การดูดเสมหะในจมูกและปากสำหรับผู้ป่วยเด็กเล็กสามารถ ใช้ MU Sucker แทนสายดูดเสมหะแบบมาตรฐานทั่วไปได้ เพราะ มีประสิทธิผลไม่แตกต่างกัน"
} |
{
"en": "Background : Computer-aided teaching media is a student-centered approach that helps learners understand and concentrate on the lessons, encourages active and effective learning both in knowledge and practical skills. The students enjoy the lessons and feel motivated. Information Technology is effective teaching equipment that gives patients and caregivers confidence and recognition of good service quality in the quality system.\nObjectives : To determine the effect of computer-assisted instruction media, and the care manual for pediatric patients with open-heart surgery on the perception of service quality. The satisfaction of caregivers of children with open-heart surgery using computer-assisted instruction media was also evaluated.\nMethods : This was quasi-experimental research. The sample group was 36 caregivers of pediatric patients who received open-heart surgery at the Queen Sirikit National Institute of Child Health who received treatment in the pediatric surgical ward (S. 7B). Research tools, data collection, and data analyses are as follows. 1. The newly developed teaching aids and patient care manuals. Children with congenital heart disease received newly developed open-heart surgery. 2. There were two data collection forms. 2.1 Perceived service quality, part 1 contains personally identifiable information, age, education, and career. Descriptive statistics presented as frequency distribution and percentage. Part 2, the perceived service quality questionnaire was modified from the service quality concept. Data were analyzed using frequency, percentage, and quality level. 2.2 Satisfaction assessment form of pediatric caregivers to computer-assisted media and manual care for pediatric heart disease patients with open-heart surgery, and data were performed as frequency distribution and percentage.\nResults : There were three aspects of service quality perception. The three highest scores were creating confidence of service users 90.4 percent, followed by response to users 87 percent, and attention to users 86.4 percent. The satisfaction of the caregivers of pediatric patients undergoing open-heart surgery consisted of four domains: teaching curriculum, teaching materials, teaching operation, and the consequences for the participants. The average score was the highest in all aspects. The results of the study should be used to encourage the quality of service continuously. In the same way, it should support all departments in the organization to improve the quality of service standardsand providing personnel at all levels to aware the importance of service quality.\nConclusion : The computer-assisted instruction and a manual of caring for children with open-heart surgery are suitable to improve the perception of service quality. The perception of service quality of the caregivers was at the highest level.",
"th": "ภูมิหลัง : สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจบท เรียนได้ดียิ่งขึ้น มีสมาธิในการเรียนมากขึ้น มีความกระตือรือร้น และเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผลทั้งทางด้านความรู้ และทักษะในการปฏิบัติ ทำให้ผู้เรียนรู้สึกสนุกในการเรียนรู้ เป็นการ สร้างแรงจูงใจ และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การให้ความรู้โดยใช้สื่อการ สอนที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ผู้ป่วยและผู้ดูแลเกิดความมั่นใจ และ รับรู้ถึงคุณภาพการบริการที่ส่งมอบให้ หนึ่งในระบบที่จำเป็นในการ พัฒนาคุณภาพคือการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ\nวัตถุประสงค์ : เพื่อ ศึกษาผลของการใช้สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและคู่มือการดูแลผู้ป่วย เด็กที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดต่อการรับรู้คุณภาพการบริการ ของผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด และเพื่อศึกษา ผลของการใช้สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและคู่มือการดูแลผู้ป่วยเด็กที่ ไดรั้บการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดต่อความพึงพอใจของผู้ดูแลผู้ป่วยเด็ก ที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด\nวิธีการ : การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัย แบบกึ่งทดลอง (quasi-experimental research) กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดที่สถาบันสุขภาพเด็ก แห่งชาติมหาราชินี ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยศัลยกรรมเด็กโต (ส.7บี) จำนวน 36 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการศึกษาและ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล 1. เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนิน การศึกษา ได้แก่ สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่พัฒนาขึ้นใหม่ และ คู่มือ การดูแลผู้ป่วยเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจ แบบเปิดที่พัฒนาขึ้นใหม่ 2. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล มี 2 ชุด ได้แก่ 2.1 แบบสอบถามการรับรู้คุณภาพการบริการ ส่วน ที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคล ถามเกี่ยวกับอายุ การศึกษา อาชีพ วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ และค่า ร้อยละ ส่วนที่ 2 แบบสอบถามการรับรู้คุณภาพการบริการ โดย ผู้ศึกษาใช้แบบสอบถามการรับรู้คุณภาพการบริการ ใช้การวิเคราะห์ ข้อมูลโดยการคำนวณค่าความถี่ ร้อยละ และระดับคุณภาพ 2.2 แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กต่อสื่อ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนและคู่มือการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคหัวใจพิการ แต่กำเนิดที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด วิเคราะห์ข้อมูลโดย การแจกแจงความถี่ และร้อยละ\nผล : ผลการวิจัยพบว่าการรับรู้ คุณภาพการบริการมีทั้งหมด 3 ด้าน คือ ด้านการสร้างความมั่นใจ ต่อผู้ใช้บริการมากที่สุด ร้อยละ 90.4 รองลงมาด้านการตอบสนอง ต่อผู้ใช้บริการ ร้อยละ 87 และด้านการเอาใจใส่ต่อผู้ใช้บริการ ร้อยละ 86.4 ตามลำดับ และความพึงพอใจของผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กที่ ได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด มี 4 ด้าน ได้แก่ หลักสูตรการสอน สื่อการสอน การดำเนินการสอน และผลที่เกิดขึ้นกับผู้เข้ารับการ สอน ค่าเฉลี่ยคะแนนอยู่ระดับมากที่สุดทุกด้าน จากผลการศึกษา ควรกระตุ้น ส่งเสริม และให้กำลังใจในการให้บริการที่มีคุณภาพ อย่างต่อเนื่อง เป็นในแนวทางเดียวกัน อีกทั้งควรสนับสนุนให้ทุก หน่วยงานในองค์กรพัฒนาคุณภาพการบริการให้เป็นตามมาตรฐาน การบริการ รวมถึงให้บุคลากรทุกระดับในองค์กรเห็นความสำคัญ ในคุณภาพการบริการ\nสรุป : การใช้สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและ คู่มือการดูแลผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดต่อการรับรู้ คุณภาพการบริการของผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบ เปิด พบว่าผู้ดูแลรับรู้คุณภาพบริการภาพรวมระดับมากที่สุด"
} |