translation
dict
{ "en": "Background:  Intravenous chemotherapy showed phlebitis up to 70%. Phlebitis is a risk of superficial vein thrombophlebitis and is another cause of deep vein thrombosis, resulting in death and disability of the cancer patients. Objective: Aimed to study the incidence of superficial vein thrombophlebitis in the cancer patient after chemotherapy.  Method: This study employed prospective study design. The samples included 495 new case undergone chemotherapy admitted in 6 units at Lopburi Cancer Hospital. The research instruments was questionnaire consisted of two sections (1) personal data, (2) vein thrombophlebitis questionnaire revealed that the data were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation. Result: The research finding incidence of superficial vein thrombophlebitis accounted for 30.71%in new case undergone chemotherapy. Conclusion: The incidence of superficial vein thrombophlebitis is not high, but there is still a need to educate on prevention of superficial vein thrombophlebitis in cancer patient after chemotherapy.", "th": "ภูมิหลัง: การบริหารยาเคมีทางหลอดเลือดดำพบภาวะหลอดเลือดดำอักเสบสูงถึงร้อยละ 70 ภาวะหลอดเลือดดำอักเสบมีความเสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดดำอุดตันและมีรายงานว่าภาวะหลอดเลือดดำอุดตันเป็นอีกหนึ่งสาเหตุของการเกิดภาวะหลอดเลือดลึกอุดตัน (deep vein  thrombosis) ที่เป็นสาเหตุของการตายและทุพพลภาพในผู้ป่วยมะเร็ง  วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอุบัติการณ์การเกิดหลอดเลือดดำอักเสบอุดตันในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด วิธีการ: การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาไปข้างหน้า กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยได้รับยาเคมีรายใหม่ทั้งหมดที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยใน 6 หอผู้ป่วย โรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี จำนวน 495 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มี 2 ส่วน ได้แก่ (1) ข้อมูลส่วนบุคคล (2) แบบประเมินการเกิดหลอดเลือดอักเสบดำอุดตัน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผล: จากการศึกษา พบว่าอุบัติการณ์การเกิดหลอดเลือดดำอักเสบอุดตัน คิดเป็นร้อยละ 30.71 ในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วย โรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี สรุป: อุบัติการณ์การเกิดหลอดเลือดดำอักเสบไม่สูงนัก แต่ยังต้องมีความจำเป็นในการให้ความรู้ เกี่ยวกับแนวทางการป้องกันการเกิดหลอดเลือดดำอักเสบอุดตัน ในผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัดต่อไป" }
{ "en": "Background: Moisturizers are topical products designed to improve and maintain skin barrier function and to help prevent dry skin. Newly developed moisturizers were formulated by pharmaceutical production unit of Institute of Dermatology in order to get better qualifications than currently used and commercial moisturizers. Objective: To determine the effects of the newly developed formulas of moisturizers on transepidermal water loss (TEWL) and skin hydration compared to the currently used hospital formulas and the commercially available moisturizers. Method: An experimental study in 75 healthy skin volunteers was performed. The transepidermal water loss and skin hydration were determined before and after a single application of the tested cream at 1, 2 and 24 hours. Data were analyzed by descriptive statistics, repeated ANOVA. Results: After 1-2 h of a single application, the measured skin hydration of  3 newly developed cream bases were significantly greater than that of the currently used cream base (P<0.05). TEWL measured for the two newly developed formulae of cream base were also found to significantly less than that measured for the currently used formula (p<0.05). Same as the newly developed urea cream, skin hydration was significantly greater than the commercial formula (p<0.05) and TEWL was significantly less than the commercial formula (p<0.05). Skin hydration measured after applying the newly developed cold cream was significantly less than that measured for the currently used formula (p<0.05). TEWL measured for the newly developed cold cream was also found to significantly more than that measured for the currently used formula (p<0.05). Conclusion: The 3 newly developed cream bases are more effective than the currently used formula. Moreover, it was found that the newly urea cream using the developed cream base showed highly skin hydration compare to the commercial one.", "th": "ภูมิหลัง: ครีมบำรุงผิวให้ความชุ่มชื้นแก่ผิว ทำหน้าที่เคลือบผิวชั้นบนและลดการสูญเสียน้ำ มีส่วนสำคัญในการรักษาโรคผิวหนัง กลุ่มงานเภสัชกรรม สถาบันโรคผิวหนัง ได้พัฒนาสูตรตำรับครีมบำรุงผิวขึ้นมาใหม่ เพื่อให้มีคุณสมบัติที่ดีกว่าสูตรเดิม วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการสูญเสียน้ำที่ผิวหนัง และความชุ่มชื้นที่ผิว หลังทาครีมบำรุงผิวสูตรที่พัฒนาใหม่ เปรียบเทียบกับสูตรเดิม วิธีการ: เป็นการวิจัยเชิงทดลองในอาสาสมัคร 75 คน โดยการทาครีมเพียงครั้งเดียว ทำการวัดค่าการสูญเสียน้ำและความชุ่มชื้นที่ผิวหนังก่อนและหลังทาครีมที่ 1, 2 และ 24 ชั่วโมง วิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา,repeated ANOVA ผล: หลังทาครีมทุกชนิดที่ 1 และ 2 ชั่วโมง ค่าความชุ่มชื้นผิวบริเวณที่ทาครีมเบสสูตรพัฒนาใหม่ทั้ง 3 สูตร มากกว่าสูตรเดิมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (pสรุป: ครีมเบสที่พัฒนาใหม่ 2 สูตร มีประสิทธิผลดีกว่าครีมเบสสูตรเดิม เช่นเดียวกับยูเรียครีมสูตรใหม่ ทั้งผลการลดการสูญเสียน้ำและการเพิ่มความชุ่มชื้นที่ผิวหนัง" }
{ "en": "Background: Dizziness is one of the most common problems encountered by older people as a result of age-related physical deterioration. It causes falls and disability. The etiology of dizziness can be identified in most cases, remains unclear in some patients. The association between lipid levels and dizziness are still debatable. Objective: We aimed to determine factors associated with unexplained dizziness and the association of unexplained dizziness with lipid levels in older patients. Method: This case-control study was based on data of 1,011 patients aged ≥ 55 years who visited the outpatient department of Rajavithi Hospital between January 1 and December 31, 2020 and had available data on at least one parameter on the lipid profile in 2020. The control groups were randomized with a 1:2 case-control ratio using a computer. Result: The mean age was 67.77 years (SD = 9.10). This study included 337 patients with diagnosed dizziness and giddiness (ICD-10 code R42) by physicians, whereas 674 participants did not have dizziness. Chi-Square test, independent samples t-test and Mann-Whitney U test revealed that age (p < 0.001), female sex (p < 0.001), number of chronic health conditions (p < 0.001), numbers of lipid-lowering (p < 0.001), hypoglycemic (p < 0.001), and antihypertensive medications (p < 0.001), and total cholesterol (p < 0.001), low-density lipoprotein (LDL) (p = 0.02) and high-density lipoprotein levels (HDL) (p < 0.001) were independently associated with unexplained dizziness. Multivariate logistic regression revealed that age (Adj.OR 1.072, 95%CI 1.053-1.092, p < 0.001), female (Adj.OR 2.333, 95%CI 1.664-3.271, p < 0.001), and number of chronic health conditions (Adj.OR 0.470, 95%CI 0.399-0.554, p < 0.001) were significantly associated with unexplained dizziness. Conclusion: There are nine factors solely associated with unexplained dizziness among older people, age, female, number of chronic health conditions, number of lipids lowering drugs, hypoglycemic drugs and antihypertensive drugs, as well as total cholesterol, LDL and HDL levels. However, after combine all factors together, lipid levels were not significantly associated with dizziness. Age, female and number of chronic health conditions are associated with dizziness.", "th": "ภูมิหลัง: อาการเวียนศีรษะเป็นหนึ่งในอาการที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ที่เป็นผลมาจากความเสื่อมของร่างกายตามอายุ ซึ่งอาจส่งผลกระทบให้เกิดกาพลัดตกหกล้ม และความพิการตามมาได้ อาการเวียนศีรษะอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่ในบางครั้งอาการเวียนศีรษะในผู้สูงอายุก็หาสาเหตุที่แน่ชัดไม่ได้ทั้งนี้ในปัจจุบันความสัมพันธ์ระหว่างระดับไขมันในเลือดและอาการเวียนศีรษะยังไม่มีข้อสรุปอย่างชัดเจนว่าเกี่ยวข้องกันหรือไม่ วัตถุประสงค์: การศึกษานี้มีเป้าหมายเพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับอาการเวียนศีรษะที่ไม่ทราบสาเหตุ และความสัมพันธ์ระหว่างระดับไขมันในเลือดและอาการเวียนศีรษะที่ไม่ทราบสาเหตุในผู้สูงอายุ  วิธีการ: การศึกษานี้ทำโดย case-control study โดยมีผู้ร่วมวิจัย จำนวนทั้งสิ้น 1,011 คนซึ่งมีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป ที่มารับบริการในแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลราชวิถี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2563 และมีผลระดับไขมันในเลือดอย่างน้อย 1 ชนิดในปี 2563 กลุ่มควบคุม คือกลุ่มที่ไม่มีอาการเวียนศีรษะถูกสุ่มโดยใช้คอมพิวเตอร์ในอัตราส่วน 1:2 case-control ผล: ผู้เข้าร่วมวิจัยมีอายุเฉลี่ย 67.77 ปี  (SD = 9.10) ประกอบด้วย กลุ่มที่ได้รับการวินิจฉัยเวียนศีรษะ (รหัส ICD-10: R42) โดยแพทย์ จำนวน 337 และ กลุ่มควบคุมที่ไม่มีอาการเวียนศีรษะจำนวน 674 คน ผลจาก Chi-Square test, Independent Samples T-test และ Mann-Whitney U test พบว่า อายุ (p <0.001) เพศหญิง (p <0.001) จำนวนโรคเรื้อรัง (p <0.001) จำนวนยาลดไขมัน (p <0.001) ยาลดระดับน้ำตาล (p <0.001)และยาลดความดันโลหิต (p <0.001) รวมถึงระดับ total cholesterol (p <0.001) LDL (p = 0.02) และ HDL (p < 0.001) ในเลือดมีความสัมพันธ์กับอาการเวียนศีรษะที่ไม่ทราบสาเหตุ แต่เมื่อวิเคราะห์โดย Multivariate logistic regression พบว่า อายุ (Adj.OR 1.072, 95%CI 1.053-1.092, p <0.001) เพศหญิง (Adj.OR 2.333, 95%CI 1.664-3.271, p <0.001) และจำนวนโรคเรื้อรัง (Adj.OR 0.470, 95%CI 0.399-0.554, p <0.001) เท่านั้นที่มีความสัมพันธ์กับอาการเวียนศีรษะเรื้อรังที่ไม่ทราบสาเหตุ สรุป: มี 9 ปัจจัย ที่มีความสัมพันธ์กับการเวียนศีรษะที่ไม่ทราบสาเหตุ ได้แก่ อายุ เพศหญิง จำนวนโรคเรื้อรัง จำนวนยาลดไขมัน ยาลดระดับน้ำตาล และยาลดความดันโลหิต รวมทั้งระดับ total cholesterol LDL และ HDL ในเลือด อย่างไรก็ตามเมื่อนำปัจจัยมาวิเคราะห์ร่วมกัน พบว่า ระดับไขมันในเลือดไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับอาการเวียนศีรษะ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการเวียนศีรษะ ได้แก่ อายุ เพศหญิง และจำนวนโรคเรื้อรัง" }
{ "en": "Background: Hyperthyroidism is due to the thyroid gland increasing level of thyroid hormone secretion. The causes of hyperthyroidism vary from region to region, but the most common is Graves' disease. Graves' disease is a type of autoimmune disease caused by autoantibodies that activate TSH receptor to stimulate overproduction of thyroid hormones. In the treatment of hyperthyroidism, anti-thyroid drugs are often used at first. Currently, the use of radioactive iodine to treat hyperthyroidism is increasing. It is worth noting that the process of radioactive iodine treatment in each institute is different. The main reason is that there is no standardized treatment. The following explanation may be due to differences in the treatment philosophy for healing of toxic thyroid. Objective: This study aimed to compare fixed versus calculated activity of radioactive iodine treatment of hyperthyroidism. Method: This study was a systematic review searching data from the MEDLINE database via PubMed and the Cochrane Library. Documents were limited to English language. Research studies with randomized controlled trials between fixed versus calculated activity of radioiodine treatment of hyperthyroidism were recruited. Result: A total of 49 studies papers, when considering the entire study document and issues relating to the measurement of the remaining results, only three studies were included. Comparison between the use of fixed activity and the calculated activity of radioiodine from all three studies, there was no significant difference in treatment failure with no heterogeneity by I2 = 0% at 3-month follow up. Conclusion: Hyperthyroidism patient with radioiodine treatment using fixed activity versus calculated activity showed no significant difference in treatment failure. Radioiodine treatment of hyperthyroidism caned be used either fixed activity or calculated activity depending on individual treatment plan. ", "th": "ภูมิหลัง: โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ (hyperthyroidism) เป็นความผิดปกติ ที่ต่อมไทรอยด์ผลิตไทรอยด์ฮอร์โมนมากเกินไป สาเหตุของต่อมไทรอยด์เป็นพิษ แตกต่างกันไปในแต่ละท้องที่แต่ที่พบมากที่สุดคือโรค Graves’ disease  โรค Graves’ disease เป็นโรคที่จัดอยู่ในกลุ่ม autoimmune disease ชนิดหนึ่ง เกิดจากการที่ร่างกายสร้าง autoantibodies มากระตุ้น TSH receptor ให้เพิ่มการสร้างฮอร์โมนไทรอยด์  ยาต้านไทรอยด์มักใช้เป็นอันดับแรก ในการรักษาไทรอยด์เป็นพิษ ปัจจุบันนิยมใช้สารรังสีไอโอดีน เพื่อรักษาภาวะไทรอยด์เป็นพิษเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันเป็นที่น่าสังเกตว่าขั้นตอนของการรักษาด้วยสารรังสีไอโอดีนในแต่ละสถาบันยังแตกต่างกัน ซึ่งเหตุผลหลักมาจากการที่ไม่มีการศึกษาที่เป็นมาตรฐาน  เหตุผลถัดมาอาจเป็นเพราะความแตกต่างของ ปรัชญาการรักษาให้หายจากไทรอยด์เป็นพิษ วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบผลการรักษาโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ ด้วยสารรังสีไอโอดีน ระหว่างการใช้ปริมาณรังสีคงที่ กับการคำนวณปริมาณรังสี วิธีการ: รูปแบบการศึกษาเป็นการทบทวนอย่างเป็นระบบ (systematic review)  สืบค้นจากฐานข้อมูล MEDLINE ผ่าน PubMed และ Cochrane Libraryโดยดำเนินการตามกลยุทธ์การสืบค้น  เอกสารการศึกษาถูกจำกัดไว้เฉพาะการศึกษาที่เป็นภาษาอังกฤษ  และเลือกการศึกษาวิจัยที่เป็น randomized controlled trials  ที่มีผลการรักษาโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ ด้วยสารรังสีไอโอดีน ด้วยการใช้ปริมาณรังสีคงที่ กับการคำนวณปริมาณรังสี ผล: ได้เอกสารรายงานการศึกษาทั้งสิ้นจำนวน 49 การศึกษา  เมื่อพิจารณาเอกสารการศึกษาฉบับเต็ม และประเด็นที่เกี่ยวกับการวัดผลลัพธ์ เหลือจำนวน 3 การศึกษา จากการสังเคราะห์ข้อมูล  มีอัตราความไม่สำเร็จในการรักษาโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ ที่วางแผนการรักษาด้วยสารรังสีไอโอดีน  เปรียบเทียบระหว่างการใช้ปริมาณรังสีคงที่ กับการคำนวณปริมาณรังสี  จากทั้ง 3 การศึกษา ไม่มีความแตกต่างกัน (no heterogeneity) โดยค่า I2 = 0% ที่ 3 เดือน สรุป: ผู้ป่วยโรคไทรอยด์เป็นพิษที่รักษาด้วยสารรังสีไอโอดีน โดยการใช้ปริมาณรังสีคงที่ กับการคำนวณปริมาณรังสีมีอัตราความไม่สำเร็จในการรักษาโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษไม่แตกต่างกัน การรักษาผู้ป่วยโรคไทรอยด์เป็นพิษด้วยสารรังสีไอดีน สามารถทำได้ ทั้งสองวิธี คือการใช้ปริมาณรังสีคงที่ กับการคำนวณปริมาณรังสี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแผนการรักษาในผู้ป่วยเฉพาะราย" }
{ "en": "Background: Alzheimer’s disease (AD) is a common chronic disease in the elderly caused by degeneration of a nervous system of thought, intelligence and behavior. The efficacy of pharmacological treatment options is limited. Objective: This study aimed to evaluate efficacy and safety of medical cannabis extract as a part of treatment for patients with Alzheimer’s disease. Methods: This study was conducted as an open label study comparing pre and post-treatment with medical cannabis in 9 patients with Alzheimer’s disease. The collected parameters were Thai-mental state examination (TMSE), Montreal Cognitive Assessment (MoCA), adverse event evaluation, emotional and behavioral assessments, Barthel activity daily living (ADL) Index and quality of life (QOL). Result: Most of the samples were female (77.8%), mean age 71 years, and average duration of disease was 2 years. All patients received 1 drop of cannabis (THC:CBD=1:1) sublingually before bed time. The addition of medical cannabis to patients’ disease regimen was associated with significant decrease in depression scale (p <0.05). A report adverse event was dizziness (11%). Conclusion: The administration of medical cannabis in this study was safe and tended to reduce depression in patients with Alzheimer’s disease.", "th": "ภูมิหลัง: โรคอัลไซเมอร์เป็นโรคเรื้อรังที่พบมากในผู้สูงอายุ เกิดจากความเสื่อมของระบบประสาทด้านความคิดและสติปัญญา ปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยยา มีเพียงการชะลอความผิดปกติด้านความจำ ควบคุมปัญหาด้านอารมณ์และพฤติกรรม วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความปลอดภัยและประสิทธิผลของการใช้สารสกัดจากกัญชาทางการแพทย์ในผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ในโรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่ วิธีการ: ทำการศึกษาวิจัยแบบเปิด (open label study) เปรียบเทียบความแตกต่างก่อนและหลังการได้รับการรักษาด้วยกัญชา ในกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์จำนวน 9 ราย เครื่องที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบประเมินความจำ Thai-mental state examination (TMSE) แบบประเมินภาวะพุทธิปัญญา Montreal Cognitive Assessment (MoCA) แบบประเมินอาการไม่พึงประสงค์ แบบประเมินด้านอารมณ์และพฤติกรรม แบบประเมินการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และแบบประเมินคุณภาพชีวิต ผล: กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 77.8) อายุเฉลี่ย 71 ปี ระยะเวลาเฉลี่ยของการเป็นโรคอัลไซเมอร์ 2 ปี ทุกรายได้รับกัญชา (THC:CBD = 1:1) 1 หยดต่อวัน หยดใต้ลิ้นก่อนนอน ผลการศึกษาเปรียบเทียบก่อนและหลัง พบว่า อาการซึมเศร้าลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) อาการข้างเคียงที่พบ ได้แก่ อาการเวียนศีรษะ (ร้อยละ 11) สรุป: การใช้สารสกัดกัญชาในผู้ป่วยตามขนาดที่ศึกษาในครั้งนี้ มีความปลอดภัยและมีแนวโน้มลดอาการซึมเศร้าให้กับผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์\n " }
{ "en": "Background: Medication reconciliation (MR) has been identified as an important process to prevent medication errors at transitions of care. The pharmacist completed all process of MR, but did not cover all wards and all care transitions due to time limitation. Objective: To develop MR system by using computerized program on admission and discharge, and to evaluate MR system in pediatric patients at Queen Sirikit National Institute of Child Health. Method: This descriptive study was designed to determine the development of MR computerized program. Medication data of patients was collected between October 1st 2017 to September 30th 2018. The coverage of MR program and medication errors were analyzed by descriptive statistics. Result: It was found that 15,357 patients admitted, 96.58% had been approached through MR computerized program and 95.22% were taken within 24 hours. Most of them (77.71%) had no medication use before admission. About 15,317 discharge patients, 75.61% had been approached through MR computerized program. Those were 50.71% of the patients used medicine 1 – 5 times during discharge. Medication errors were found in 145 patients (171 medications) on discharge more than admission. The highest proportions of medication errors were due to wrong dose (67.59%), followed by omission error (26.90%). After the errors were found, pharmacist consulted physicians to correct prescriptions for all patients (100%). Therefore, all of medication errors were in category B (100%). The most errors were found in the medication that used in respiratory tract (25.15%), gastrointestinal tract (21.05%), and nervous system (14.62%). Conclusion: The development of MR system in pediatric patients using effective computerized program and the coverage of process on admission and discharge within an appropriate time can prevent potential medication errors. Due to computerized program, MR process was completed on time and covered all wards. Therefore, MR is an essential process to confirm the safety of medication use in patients.  ", "th": "ภูมิหลัง: การประสานรายการยาเป็นกระบวนการสำคัญในการป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยาในช่วงรอยต่อของการรักษา โดยเภสัชกรดำเนินการครบตามขั้นตอนของกระบวนการประสานรายการยา แต่มีข้อจำกัดด้านเวลาในการดำเนินงาน ทำให้ยังไม่ครอบคลุมทุกหอผู้ป่วยและทุกรอยต่อการรักษาพยาบาล วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาระบบประสานรายการยาโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ทั้งขั้นตอนแรกรับผู้ป่วยและจำหน่าย และประเมินประสิทธิผลของการพัฒนาระบบประสานรายการยาในผู้ป่วยเด็ก สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี วิธีการ: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาโดยการพัฒนาและออกแบบโปรแกรมประสานรายการยา และเก็บข้อมูลการใช้ยาของผู้ป่วยในระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2560 ถึง 30 กันยายน 2561 แสดงข้อมูลความครอบคลุมของการใช้โปรแกรมและข้อมูลความคลาดเคลื่อนทางยา โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผล: ผู้ป่วยในที่รับเข้ารักษาในสถาบันฯ 15,357 ราย ได้รับการประสานรายการยาผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ร้อยละ 96.58 และดำเนินการภายใน 24 ชั่วโมง ร้อยละ 95.22 ผู้ป่วยส่วนใหญ่ร้อยละ 77.71 ไม่มียาประจำตัว สำหรับผู้ป่วยจำหน่าย 15,317 ราย ได้รับการประสานรายการยาผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ร้อยละ 75.61 ร้อยละ 50.71 มียา 1 – 5 รายการ พบความคลาดเคลื่อนจากการสั่งใช้ยาในผู้ป่วย 145 ราย (171 รายการยา) โดยพบในขั้นตอนจำหน่ายมากกว่าขั้นตอนแรกรับ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการสั่งใช้ยาผิดขนาดร้อยละ 67.59 รองมาคือ สั่งยาไม่ครบรายการ ร้อยละ 26.90 ซึ่งความคลาดเคลื่อนทางยาที่พบทั้งหมดเภสัชกรได้ปรึกษาแพทย์ เพื่อพิจารณาคำสั่งใช้ยาของผู้ป่วยทุกราย ระดับความรุนแรงของความคลาดเคลื่อนทั้งหมดจึงเป็นระดับ B กลุ่มยาที่พบความคลาดเคลื่อนทางยาสูงสุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ กลุ่มยาโรคระบบทางเดินหายใจ (ร้อยละ 25.15) โรคระบบทางเดินอาหาร (ร้อยละ21.05) และโรคสมองและระบบประสาท (ร้อยละ 14.62) สรุป: การพัฒนาระบบประสานรายการยาในผู้ป่วยเด็ก โดยการใช้โปรแกรมประสานรายการยาที่มีประสิทธิภาพช่วยทำให้ดำเนินการประสานรายการยาได้ในเวลาที่กำหนด ครอบคลุมทุกหอผู้ป่วยและทุกรอยต่อในเวลาที่เหมาะสม ช่วยดักจับและป้องกันไม่ให้เกิดความคลาดเคลื่อนทางยาที่รุนแรง นำไปสู่การเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ป่วย" }
{ "en": "Inotropes and asopressors are essential for improving blood flow in patients with shock. These drugs were originally administered through a central venous catheter (CVC). Since they induce vasoconstriction, the leakage from the distal venous catheter can cause severe tissue injury. However, central venous catheterization can cause various complications, especially sepsis. More studies have been conducted on peripheral venous catheter (PVC) administration, which could be viable and safe when rapid dosing is required in critical conditions. The rapid administration of inotropes and vasopressors through PVC can reduce the need for an urgent central venous catheter and the mortality of patients when properly administered according to reliable guidelines.", "th": "ยากลุ่มเพิ่มแรงบีบตัวของหัวใจและหลอดเลือด (inotropes and vasopressors) มีความจำเป็นต่อการกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตในคนไข้ที่มีภาวะช็อก โดยยาเหล่านี้แต่เดิมจะให้ผ่านสายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลาง (central venous catheter; CVC) เพราะหากมีการรั่วจากการให้ยาผ่านสายสวนหลอดเลือดดำส่วนปลายจะทำให้เกิดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อได้มาก เนื่องจากยาออกฤทธิ์เพิ่มการหดตัวของหลอดเลือด อย่างไรก็ตามการใส่สายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลางอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้หลายอย่างโดยเฉพาะการติดเชื้อในกระแสโลหิต  ปัจจุบันจึงมีการศึกษาเกี่ยวกับการให้ยากระตุ้นความดันโลหิตผ่านสายสวนหลอดเลือดดำส่วนปลาย (Peripheral Venous Catheter; PVC) มากขึ้น ซึ่งอาจเป็นทางเลือกที่เป็นไปได้และปลอดภัยเมื่อต้องให้ยาอย่างรวดเร็วในภาวะวิกฤติ  ซึ่งการให้ยากลุ่มเพิ่มแรงบีบตัวของหัวใจและหลอดเลือดผ่านหลอดเลือดดำส่วนปลายได้อย่างรวดเร็ว ช่วยลดความจำเป็นในการใช้สายสวนผ่านหลอดเลือดดำส่วนกลางและยังสามารถลดอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยได้ หากมีการให้ยาอย่างเหมาะสมตามแนวทางที่เชื่อถือได้" }
{ "en": "Background: Laryngeal and hypopharyngeal biopsies are traditionally performed with direct laryngoscope (DL), however the transnasal flexible laryngoscope (TFL) is now increasingly used. Objective:To determine the efficiency of laryngeal/ hypopharyngeal biopsies via the office-based TFL versus the gold standard DL. Methods: Retrospective data collection from patient records including histopathology result among 92 patients underwent laryngeal/hypopharyngeal biopsies at Mae Sot Hospital, from 1st October 2015 to 30th September 2021. Results: Of the 92 patients, 110 biopsies were performed. Biopsies via TFL showed 75%-sensitivity, 100%-specificity and overall accuracy, as represented by area under receiver operating characteristic (AuROC), was 0.88. In comparison, biopsies via DL presented the sensitivity of 94.6%, 100%-specificity, and AuROC was 0.97. Additionally, TFL biopsies costed significantly less than DL [median (IQR): 2258.5 (1470, 2930) versus 14076.5 (9607, 29138.5) BHT, respectively, p<0.001]. The waiting time for TFL biopsies was approximately 4.5 days shorter than DL. Time for diagnosis by TFL vs DL in the malignant group were significantly different [median (IQR): 8.5 (6, 19) vs. 13 (9, 18), respectively, p=0.044]. The both procedures had low incidences of complications and were not different. Conclusion: Office-based biopsy under local anesthesia using TFL is safe, lower cost and reducing diagnosis work up time. Due to less validity on obtaining tissue from suspicious lesion located on larynx or hypopharynx by TFL than DL, all patients with highly suspicious of malignant lesion should undergo DL biopsy performed for accurate diagnosis if the result from TFL biopsy is benign or CIS.", "th": "ภูมิหลัง: การตัดชิ้นเนื้อเพื่อวินิจฉัยโรคในกล่องเสียงและช่องลำคอส่วนล่างแต่เดิมใช้การตัดผ่าน direct laryngoscope (DL) แต่ในปัจจุบันมีการนำ transnasal flexible laryngoscope (TFL)  มาใช้มากขึ้น วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการใช้ TFL เปรียบเทียบกับ direct laryngoscope (DL) ในการตัดชิ้นเนื้อบริเวณกล่องเสียงและช่องลำคอส่วนล่างเพื่อวินิจฉัย วิธีการ: ทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยที่เข้ารับการตัดชิ้นเนื้อบริเวณกล่องเสียงและช่องลำคอส่วนล่าง ที่โรงพยาบาลแม่สอด ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2558 ถึง 30 กันยายาน 2564 ผล: ผู้ป่วย 92 คน ได้รับการตัดชิ้นเนื้อ 110 ครั้ง โดยเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการตัดชิ้นเนื้อครั้งแรกด้วยวิธี TFL 38 คน และเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการตัดชิ้นเนื้อครั้งแรกด้วยวิธี DL 54 คน การตัดชิ้นเนื้อด้วยวิธี TFL มีความไว 75% ความจำเพาะ 100% เปรียบเทียบกับ DL ซึ่งมีความไว 94.6% ความจำเพาะ 100% การตัดชิ้นเนื้อด้วยวิธี TFL มีค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่าการใช้ DL [มัธยฐาน (ส่วนเบี่ยงเบนควอไทล์): 2258.5 (1470, 2930) เทียบกับ 14076.5 (9607, 29138.5) บาท ตามลำดับ p<0.001] และระยะเวลาที่ใช้ในการวินิจฉัยโรคในคนไข้ที่เป็น malignant ของทั้งสองวิธีมีความแตกต่างกันทางสถิติ [มัธยฐาน (ส่วนเบี่ยงเบนควอไทล์): 8.5 (6, 19) เทียบกับ 13 (9, 18) ตามลำดับ p=0.044]   ไม่พบความแตกต่างของการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการทำหัตถการของทั้งสองวิธี และอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่ำ สรุป: การใช้ TFL ในการตัดชิ้นเนื้อบริเวณกล่องเสียงและช่องลำคอส่วนล่างเพื่อวินิจฉัยมีความปลอดภัย ช่วยลดระยะเวลาที่ใช้ในการวินิจฉัยโรคและค่าใช้จ่ายในการรักษา แต่เนื่องจากความไวของการตัดชิ้นเนื้อด้วยวิธี TFL น้อยกว่า DL ดังนั้นหากผลที่ได้เป็น benign หรือ carcinoma in situ ควรจะทำการตัดชิ้นเนื้อซ้ำด้วยวิธี DL เพื่อยืนยันการวินิจฉัย" }
{ "en": "Background: Neurological Institute of Thailanddoes not yethave the data collection of patients’ radiation doses from a computed tomography (CT) in adults. For comparison toDiagnostic Reference Levels (DRLs) from other countries. Objective: To evaluate the patient’s radiation doses received from a CT scan in adults. Method: The retrospective study of the patient’s radiation doses reported fromPACS thatwe evaluate between October 2019 toMarch2020. The data of 213 adult patients (100 males and 113 females) had standard body size (45-75 kg) in Thai people. The single phase studies were CT brain non contrast media (CT brain NC), CT brain with contrast media (CT brain CM), CT C-Spine, CT L-Spine, CT Angiogram (CTA) brain, and CTA carotid. The multi-phase studieswere CT brain CM,CTA brain, and CTA carotid. We recorded and calculated data of the CTDIvol, DLP and effective dose (E) to show mean (SD), P50, P75 and range. Then P50 of each study was compared to other DRLs. Results:The P50 of the CTDIvol, DLP, and Efor single phase CT brain NCwas47.52 mGy, 990 mGy-cm, and 2.08 mSv.CT brain CMwas45.37 mGy, 906.50 mGy-cm, and 1.90 mSv.CT C-Spinewas24.53 mGy, 560.50 mGy-cm, and 3.31 mSv.CT L-Spinewas14.94 mGy, 379 mGy-cm, and 5.69 mSv.CTA brainwas24.14 mGy, 279 mGy-cm, and 0.59 mSv.CTA carotidwas8.75 mGy, 327 mGy-cm, and 1.01 mSv, respectively. For multi-phase CT brain CMwas45.37 mGy, 1848 mGy-cm, and 3.88 mSv, respectively. CTA brainwas27.40 mGy, 1956 mGy-cm, and 4.11 mSv.CTA carotidwas17.71 mGy, 2150.50 mGy-cm, and 6.67 mSv, respectively. Conclusion: The study found that most of the CTDIvol were lower than standard international DRLs of other countries, but the DLP was higher in some CT protocols due to scan length. Furthermore the results of DRLs in this study should be practical tools to promote optimization and monitoring of patient radiation dose in Neurological Institute of Thailand.", "th": "ภูมิหลัง: สถาบันประสาทวิทยายังไม่มีการเก็บข้อมูลและหาปริมาณรังสีของผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจด้วยเครื่อง CT ในผู้ใหญ่ เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการเปรียบเทียบค่า DRLs กับประเทศอื่น ๆ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาและประเมินปริมาณรังสีจากผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจด้วยเครื่อง CT ในผู้ใหญ่ วิธีการ: เป็นการศึกษาข้อมูลย้อนหลัง (retrospective study) ของผู้ป่วยจากระบบ PACS ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2562 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 โดยวิธีสุ่มตัวอย่างจำนวน 213 คน (ชาย 100 คน และหญิง 113 คน) ซึ่งมีน้ำหนักอยู่ในช่วง 45-75 กิโลกรัม แบ่งเป็นการตรวจ CT brain non contrast media (CT brain NC), CT brain with contrast media (CM), CT C-Spine, CT L-Spine, CT Angiogram (CTA) brain และ CTA carotid artery จากนั้นบันทึกและคำนวณค่าปริมาณรังสี CTDIvol, DLP และ E แต่ละส่วนตรวจในรูปแบบการตรวจแบบ single phase และ multi-phase แสดงค่า mean (SD), P50, P75 และ range เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบค่า DRLs กับประเทศอื่น ๆ ผล: ค่า P50 ของปริมาณรังสี CTDIvol, DLP และ E การตรวจแบบ single phase ของ CT brain NC มีค่าเท่ากับ 47.52 mGy, 990 mGy-cm และ 2.08 mSv การตรวจ CT brain CM มีค่าเท่ากับ 45.37 mGy, 906.50 mGy-cm และ 1.90 mSv การตรวจ CT C-Spine มีค่าเท่ากับ 24.53 mGy, 560.50 mGy-cm และ 3.31 mSv การตรวจ CT L-Spine มีค่าเท่ากับ 14.94 mGy, 379 mGy-cm และ 5.69 mSv การตรวจ CTA brain มีค่าเท่ากับ 24.14 mGy, 279 mGy-cm และ 0.59 mSv และการตรวจ CTA carotid มีค่าเท่ากับ 8.75 mGy, 327 mGy-cm และ 1.01 mSv ตามลำดับ สำหรับการตรวจแบบ multi-phase การตรวจ CT brain CM มีค่าเท่ากับ 45.37 mGy, 1848 mGy-cm และ 3.88 mSv การตรวจ CTA brain มีค่าเท่ากับ 27.40 mGy, 1956 mGy-cm และ 4.11 mSv และการตรวจ CTA carotid มีค่าเท่ากับ 17.71 mGy, 2150.50 mGy-cm และ 6.67 mSv ตามลำดับ สรุป: ค่า DRLs ของ CTDIvol ของการศึกษานี้ ส่วนใหญ่มีค่าต่ำกว่าประเทศอื่น ๆ แต่ค่า DRLs ของ DLP นั้น ในบางการตรวจมีค่าสูงกว่า เกิดจาก scan length เราสามารถนำไปปรับใช้ในการทำงานภายในสถาบันต่อไป" }
{ "en": "Background: The incidence of strokes in Thailand has been increasing annually. The stroke fast track network aims to promptly provide intravenous thrombolytic drugs to acute ischemic stroke patients. Objective: To analyze the demographics, clinical presentations, and computed tomography (CT) findings of the brain (pre- and post-thrombolytic therapy) of stroke fast track patients at Thabo Crown Hospital. Method: This retrospective descriptive study was conducted from July 1, 2019, to December 31, 2021. The data were analyzed by descriptive statistics, i.e., percentage and frequency. Result: A total of 52 stroke fast track patients diagnosed with acute ischemic stroke and who underwent intravenous thrombolytic therapy were recruited. The majority sex was male (54%) and 71-90 years old (36.5%). The most frequent clinical presentations were 48.1% of right hemiparesis, followed by left hemiparesis, dysarthria or aphasia, facial palsy, and paresthesia, respectively. The first abnormal CT scan findings (pre-thrombolytic therapy) were obscuration of the lentiform nucleus, loss of the insular ribbon, parenchymal hypodensity, and hyperdense middle cerebral artery, respectively, the same as the second abnormal (post-thrombolytic therapy) findings with 11.5% hemorrhagic transformation. The six patients were normal first CT scan findings (pre-thrombolytic therapy). In contrast, parenchymal hypodensity, followed by obscuration of the lentiform nucleus and hemispheric sulcal effacement, respectively, were found in the second CT scan. Conclusion: The earliest CT finding of stroke fast track patients (pre- and post-thrombolytic therapy) found from this study is obscuration of the lentiform nucleus. At the same time, patients with no abnormal findings on the first CT scan are mostly found with parenchymal hypodensity on the post-thrombolytic CT scan (24 hours later).", "th": "ภูมิหลัง: อุบัติการณ์ของโรคหลอดเลือดสมองในประเทศไทยเพิ่มขึ้นในทุกๆ ปี ระบบทางด่วนโรคหลอดเลือดสมอง (stroke fast track) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ป่วยที่มีภาวะสมองขาดเลือดเฉียบพลันได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดได้อย่างทันท่วงที วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐาน อาการสำคัญทางคลินิกและลักษณะภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองก่อนและหลังได้รับยาละลายลิ่มเลือดของผู้ป่วยระบบทางด่วนโรคหลอดเลือดสมองในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ วิธีการ: การศึกษาเชิงพรรณนาย้อนหลัง ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2562 จนถึง 31 ธันวาคม 2564 วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละและความถี่ ผล: ผู้ป่วยทั้งหมด 52 ราย ที่เข้าเกณฑ์ระบบทางด่วนโรคหลอดเลือดสมองได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมองขาดเลือดเฉียบพลันและได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด โดยพบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 54) อยู่ในช่วงอายุ 71-90 ปี (ร้อยละ 36.5) อาการสำคัญทางคลินิกที่พบมากที่สุด ได้แก่ แขน/ ขาอ่อนแรงด้านขวาร้อยละ 48.1 รองลงมาคือ แขน/ ขาอ่อนแรงด้านซ้าย พูดไม่ชัดหรือไม่พูด ปากเบี้ยว และชา ตามลำดับ ลักษณะภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองครั้งที่ 1 (ก่อนได้รับยาละลายลิ่มเลือด) พบลักษณะผิดปกติ คือ obscuration of the lentiform nucleus, loss of the insular ribbon, parenchymal hypodensity, hemispheric sulcal effacement ตามลำดับ เช่นเดียวกับลักษณะผิดปกติ ของภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองครั้งที่ 2 (หลังได้รับยาละลายลิ่มเลือด) และพบเลือดออกบริเวณที่สมองขาดเลือด (hemorrhagic transformation) ร้อยละ 11.5 มีผู้ป่วยจำนวน 6 รายที่ไม่พบลักษณะความผิดปกติในภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองครั้งที่ 1 (ก่อนได้รับยาละลายลิ่มเลือด) แต่พบความผิดปกติในภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองครั้งที่ 2 (หลังได้รับยาละลายลิ่มเลือด) โดยพบความผิดปกติ parenchymal hypodensity มากที่สุด รองลงมาคือ obscuration of the lentiform nucleus และ hemispheric sulcul effacement ตามลำดับ สรุป: ลักษณะภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองของผู้ป่วยสมองขาดเลือดเฉียบพลันในระยะเริ่มแรกทั้งก่อนและหลังได้รับยาละลายลิ่มเลือดจากการศึกษานี้ พบลักษณะผิดปกติเป็น obscuration of the lentiform nucleus มากที่สุด สำหรับผู้ป่วยที่ไม่พบภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองผิดปกติในการตรวจครั้งแรกจะพบลักษณะของ parenchymal hypodensity มากที่สุดในการตรวจครั้งที่ 2 หลังได้รับยาละลายลิ่มเลือด (24 ชั่วโมงถัดมา)" }
{ "en": "Background: Buddhist monks usually sit on the floor in a cross-legged posture. Deep flexion of knees more than 90-degree increases mechanical loads at the knee joint, which is one of the causes of osteoarthritis of the knee. The use of a higher asana seat may decrease flexion knee angle.  Objective: To find the proper height of the asana seat that decreases flexion knee angle and increases the satisfaction of the monk. Method: This was an experimental study of 50 Buddhist monks sitting on the asana seats at different heights of 5, 10, and 15 centimeters. Then the Buddhist monks were asked to answer the satisfaction questionnaire and did a knee X-ray to measure flexion knee angle. Result: While sitting on the 5 cm, 10 cm, and 15 cm height asana seats, the flexion knee angle was 129.2 ± 11.9, 128.4 ± 11.2, 126.8 ± 11.1, respectively. The difference in flexion knee angle was not statistically significant (p-value > 0.05). The satisfaction score on comfortability was 4.36 ± 0.75, 3.64 ± 1.06, 3.04 ± 1.5, and the satisfaction score on suitability was 4.28 ± 0.93, 3.32 ± 1.04, 2.56 ± 1.36, respectively. Both satisfaction scores of 5 cm height asana seat were higher than 10 cm and 15 cm height asana seats significantly (p-value < 0.05).  Conclusion: The most suitable height of the asana seat in this study is 5 centimeters, nearly the same height as the commonly used asana.", "th": "ภูมิหลัง: การนั่งขัดสมาธิบนพื้นเป็นท่านั่งที่พระภิกษุสงฆ์นิยมปฏิบัติในชีวิตประจำวัน องศาการงอเข่าที่มากกว่า 90 องศาพบว่าทำให้แรงกระทำผ่านผิวข้อเพิ่มสูงขึ้นซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคข้อเข่าเสื่อม การนั่งบนอาสนะที่สูงขึ้นอาจช่วยทำให้องศาการงอเข่าลดลงได้ วัตถุประสงค์: ต้องการหาความสูงของอาสนะที่เหมาะสมทั้งในด้านลดองศาการงอเข่าและความพึงพอใจของพระภิกษุสงฆ์ วิธีการ: เป็น experimental study ศึกษาพระภิกษุสงฆ์จำนวน 50 รูป  โดยให้ท่านนั่งขัดสมาธิบนอาสนะที่ความสูงต่างกันคือ 5, 10, และ 15 เซนติเมตร จากนั้นให้ตอบแบบสอบถามความพึงพอใจและทำ X-ray ข้อเข่าเพื่อวัดองศาการงอข้อเข่า ผล: การนั่งขัดสมาธิบนอาสนะสูง 5,10, และ 15 เซนติเมตร จะมีองศาการงอเท่ากับ 129.2 ± 11.9, 128.4 ± 11.2, 126.8 ± 11.1 ตามลำดับ ซึ่งไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value > 0.05)  โดยคะแนนความพึงพอใจด้านความสบายเท่ากับ 4.36 ± 0.75, 3.64 ± 1.06, 3.04 ± 1.5  และคะแนนความพึงพอใจด้านความเหมาะสมเท่ากับ 4.28 ± 0.93, 3.32 ± 1.04, 2.56 ± 1.36 ตามลำดับ  โดยการนั่งบนอาสนะความสูง 5 เซนติเมตรได้คะแนนความพึงพอใจสูงกว่าระดับ 10 และ 15 เซนติเมตรอย่างมีนัยสำคัญ (p-value < 0.05) ทั้งในด้านความสบายและความเหมาะสม สรุป: ความสูงของอาสนะที่เหมาะสำหรับการนั่งขัดสมาธิจากการศึกษานี้คือ 5 เซนติเมตร ซึ่งเป็นความสูงใกล้เคียงอาสนะทั่วไปที่ใช้ในปัจจุบัน" }
{ "en": "Background: Peptic ulcer disease (PUD) embraces both gastric and duodenal ulcers.   PUD is a source of significant morbidity and mortality worldwide. The predominant symptom of PUD is epigastric pain but some patients are asymptomatic. The causes of PUD are multifactorial. Buddhist monks who practice religious asceticism by monastic living, abbot environment and one or twice eating before mid-day. The previous studies found different risk factors of PUD. However, nearly total of studies were conducted among laity. Objective: To identify the factors associated with PUD in Thai monks. Methods: A case-control study was conducted among monks who underwent esophagogastroduodenoscopy (EGD) from 1st September 2018 to 31st October 2021 at Department of Medicine, Priest Hospital. From 215 monks, after exclusion criteria, 179 monks were included. The statistics was used by binary logistic regression for identifying risk factors of PUD. Results: Total of 179 monks were enrolled in this study. The median age was 63 years old (ranged 22-88). In all, 72 monks (40.2%) had PUD. The prevalence of H. pylori infection was 44.7% (80 of 179 monks). The factors associated with PUD were statistically significant in tobacco smoking (adjusted OR 7.40, 95% CI: 2.99, 18.29), prior history of PUD (adjusted OR 8.94, 95% CI: 2.11, 37.76) and H. pylori infection (adjusted OR 4.20, 95% CI: 1.88, 9.42). However, PUD was not significantly associated with age, intake of nonsteroidal anti-inflammatory drugs (NSAIDS), number of meals per day or duration of ordination. Conclusion: Tobacco smoking, prior history of PUD and H. pylori infection are the factors associated with PUD in Buddhist monks at Priest Hospital. Nonetheless, the Buddhist priests way of living is not a risk factor causing PUD.", "th": "ภูมิหลัง: โรคแผลเป็บติคคือแผลที่เกิดขึ้นบริเวณกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น ถือเป็นโรคหนึ่งที่ส่งผลต่อการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตทั่วโลก อาการหลักของโรคคือปวดท้องบริเวณลิ้นปี่แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจไม่มีอาการ โรคแผลเป็บติคเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุร่วมกัน พระภิกษุสงฆ์ผู้เผยแพร่ในศาสนาพุทธมีการดำเนินชีวิตตามหลักพระธรรมวินัยที่เคร่งครัดและฉันภัตตาหารเพียง 1-2 มื้อต่อวันก่อนเวลาเพล จากการศึกษาที่ผ่านมาพบปัจจัยเสี่ยงของโรคแผลเป็บติคแตกต่างกันไป อย่างไรก็ตามการศึกษาเกือบทั้งหมดเป็นการศึกษาในฆราวาส วัตถุประสงค์: เพื่อหาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นในพระภิกษุสงฆ์ วิธีการ: เป็นการศึกษาแบบย้อนหลังในพระภิกษุสงฆ์ที่เข้ารับการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบนตั้งแต่วันที่  1 กันยายน พ.ศ. 2561 ถึงวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ที่แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลสงฆ์ จำนวน 215 รูป หลังจากแยกผู้ป่วยออกตามเกณฑ์การคัดเลือกออก จึงมีผู้ป่วยที่เข้าร่วมในการศึกษานี้ทั้งหมดจำนวน 179 รูป ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ทางสถิติด้วยวิธี binary logistic regression เพื่อหาปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคแผลเป็บติค ผล: มีพระภิกษุสงฆ์ที่เข้าร่วมในการศึกษานี้ทั้งหมดจำนวน 179 รูป ค่ามัธยฐานของอายุคือ 63 ปี โดยมีอายุน้อยที่สุด 22 ปีและอายุมากที่สุด 88 ปี ตรวจพบมีโรคแผลเป็บติคจำนวน 72 รูป (ร้อยละ 40.2) ความชุกของการติดเชื้อ H. pylori คือ ร้อยละ 44.7 (80 จาก 179 รูป) โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคแผลเป็บติค อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การสูบบุหรี่ (adjusted OR 7.40, 95% CI 2.99, 18.29) การมีประวัติเคยตรวจพบแผลเป็บติค (adjusted OR 8.94, 95% CI 2.11, 37.76) และการติดเชื้อ H. pylori (adjusted OR 4.20, 95% CI 1.88, 9.42) อย่างไรก็ตามพบว่าอายุ การฉันยากลุ่ม nonsteroidal anti-inflammatory drugs (NSAIDs) จำนวนมื้อภัตตาหารที่ฉันต่อวันหรือจำนวนพรรษาที่บวชไม่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคแผลเป็บติค อย่างมีนัยสำคัญ สรุป: การสูบบุหรี่ การมีประวัติเคยตรวจพบแผลเป็บติคและการติดเชื้อ H. pylori  เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นในพระภิกษุสงฆ์ที่โรงพยาบาลสงฆ์ อย่างไรก็ตามการดำเนินชีวิตตามหลักพระธรรมวินัยที่เคร่งครัดของพระภิกษุสงฆ์ไม่ใช่ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคแผลเป็บติค" }
{ "en": "Background: Drug-resistant bacterial infection of Carbapenem-resistant Enterobacteriaceae (CRE) and Vancomycin-resistant Enterococci (VRE) is a worldwide problem. The severity of this issue has been increasing, thus, it affects patients and healthcare staff both in hospitals and local communities. Objectives: To evaluate the incidence of CRE and VRE infection, and to study factors related to the occurrence of CRE and VRE. Methods: A retrospective cohort study research method was conducted in a sample group of 495 patients diagnosed with an infection of CRE or VRE in the fiscal year of 2019. The data analysis was done via descriptive statistics, poisson regression analysis, and identification of factors related to CRE and VRE occurrence. This study is ethically accepted by the Research Ethics Committee, Rajavithi Hospital. Results: This study found that among 495 patients of the sample group, 418 were infected with CRE-which were Hospital acquired infection (HAI), Community acquired infection (CAI), and colonization infections of 12, 28.8, and 10.4 events per 1,000 days of hospital stay respectively. The remaining 77 VRE-infected patients were categorized into HAI, CAI, and colonization infections of 2.1, 4.9, and 2.9 events per 1,000 days of hospital stay, respectively. The most common sites of CRE infection were the urinary tract (24.9%), the respiratory tract (22.7%), and the urinary tract with a retained urinary catheter (17.1%). As for VRE, the most common sites of infection were the urinary tract (41.9%), the urinary tract with a retained urinary catheter, ventilator-associated pneumonia, and skin infection - with the same percentage of 12.9. The most prevalent CRE species were Kleb. pneumoniae, E.coli, and E. cloacae, with the percentage of 70.7, 21.2, and 4.8, respectively. The most prevalent species of VRE, on the other hand, is E. faecium, being 100 percent in total. 51.3 percent of the patients are male, and 64 percent of the patients are 60 years old or older. Statistically significant factors related to drug-resistant bacterial infection (CRE and VRE) found in Rajavithi Hospital are patients whose first diagnosis before admission is Immunocompromise (RR 1.65; 95% CI: 1.09 to 2.50; p=0.019), and patients admitted in surgical ward (RR 1.58; 95% CI: 1.01 to 2.49; p=0.048).  Conclusion: Incidence of CRE and VRE infection at Rajavithi Hospital is 12 and 2.1 times per 1,000 days of hospital stay, respectively. Factors such as sex, age, underlying diseases, severity of symptoms before admission, and discharge status, are not significantly different between CRE and VRE groups. However, associated factors that show statistically significant difference between these two groups are first diagnosis before admission and hospital wards. Thus, medical staff should have policies about continuous infection surveillance, prevention and control of the spreading of drug-resistant bacterial infection.", "th": "ภูมิหลัง: การติดเชื้อดื้อยา Carbapenem-resistant Enterobacteriaceae (CRE) และ Vancomycin-resistant Enterococci (VRE) เป็นปัญหาระดับโลก ซึ่งมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นมีผลกระทบต่อผู้ป่วย บุคลากร โรงพยาบาลและชุมชน วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินอุบัติการณ์การเกิดเชื้อ CRE, VRE และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดเชื้อ CRE , VRE วิธีการ: การวิจัยแบบ retrospective cohort study กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยทุกรายที่มีผลการตรวจพบเชื้อ CRE, VRE ปีงบ พ.ศ. 2562 จำนวน 495 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดเชื้อ CRE และ VRE โดยใช้สถิติ Poisson regression analysis และการศึกษานี้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย โรงพยาบาลราชวิถี ผล: พบว่าจากจำนวนที่ศึกษา 495 ราย ตรวจพบเชื้อ CRE จำนวน 418 ราย เป็นการติดเชื้อ Hospital acquired infection (HAI), Community acquired infection (CAI) และcolonization คิดเป็นอุบัติการณ์ 12 , 28.8 , 10.4 ครั้ง/1,000 วันนอนในโรงพยาบาล ตามลำดับ และเชื้อ VRE จำนวน 77 ราย เป็นการติดเชื้อ HAI, CAI , colonization คิดเป็นอุบัติการณ์ 2.1, 4.9, 2.9 ครั้ง/1,000 วันนอนในโรงพยาบาลตามลำดับ ตำแหน่งการติดเชื้อ CRE พบมากที่สุดคือตำแหน่งทางเดินปัสสาวะร้อยละ 24.9 รองลงมาคือ ระบบทางเดินหายใจร้อยละ 22.7 และทางเดินปัสสาวะจากการคาสายสวนปัสสาวะร้อยละ 17.1 และการติดเชื้อ VRE พบมากที่สุดคือระบบทางเดินปัสสาวะ ร้อยละ 41.9 รองลงมาคือ ระบบทางเดินปัสสาวะจากการคาสายสวนปัสสาวะ ปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ และการติดเชื้อระบบผิวหนังซึ่งพบในอัตราที่เท่ากันคือ ร้อยละ 12.9 เชื้อ CRE ที่พบมากที่สุดคือ Kleb. pneumoniae, E.coli , E. cloacae ร้อยละ 70.7, 21.2, 4.8 ตามลำดับ และ VRE เชื้อที่พบมากที่สุดคือ E. faecium ร้อยละ 100 ผู้ป่วยส่วนมากเป็นเพศชาย ร้อยละ 51.3 อายุมากกว่า/เท่ากับ 60 ปี ร้อยละ 64 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดเชื้อ CRE และVRE พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาควบคุมพิเศษ (CRE,VRE) ที่พบในโรงพยาบาลราชวิถีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การวินิจฉัยโรคแรกรับ กลุ่มโรค immunocompromise (RR 1.65; 95% CI: 1.09, 2.50; p=0.019)  และหอผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา หอผู้ป่วยศัลยกรรม (RR 1.58; 95% CI: 1.01, 2.49; p=0.048) สรุป: อุบัติการณ์ของการเกิดเชื้อ CRE และ VRE ในโรงพยาบาลราชวิถีเท่ากับ 12, 2.1 ครั้ง/1,000 วันนอนในโรงพยาบาล ตามลำดับและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดเชื้อ CRE และ VRE พบว่าไม่แตกต่างในเรื่องของเพศ อายุ โรคประจำตัว ระดับความรุนแรงของอาการแรกรับและสถานะขณะจำหน่าย แต่พบว่ามีความแตกต่างกันในเรื่องของ การวินิจฉัยโรคแรกรับ และหอผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้นบุคลากรทางการแพทย์และผู้เกี่ยวข้องควรมีมาตรการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง ป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาต่อไป" }
{ "en": "Background: Prosthodontics procedure usually be contaminated by saliva, blood and secretion. The American Dental Association has recommended to disinfect dentures using intermediated-level chemical disinfectants at least for preventing cross-contamination and decreasing the spread of infection. Ortho-Phthaladehyde (OPA) is a high-level disinfectant with rapid onset and easy to use. However, Studies support effectiveness of OPA in dentistry still limited. Objective: The purpose of this study was to evaluate the effect of OPA disinfectants on the color stability of acrylic denture teeth using spectrophotometric analysis. Methods: A two different brands of acrylic central incisor were Cosmo and Major dent. The specimens from each band (n=30) were randomly divided into 2 groups (n=15) and immersed in distilled water (control group) and OPA. Each acrylic tooth was immersed repeatedly and measured the color using a spectrophotometer at the end of cycle 1, 5, 10, 20, 30, and 50. Color differences (∆E*)were then evaluated using CIE Lab system. Friedman, Mann-Whitney U and Wilcoxon signed rank tests were used as a statistical analysis at 95% confidence level. Result: There were decreases in ∆L*∆a*∆b* of an acrylic tooth from both brands after immersion in OPA. Both brands of acrylic teeth showed significant differences in ∆E* values (p < 0.05) between the control and the experimental group after cycle 1, 20, 30 and 50 of an immersion. In addition, the ∆E* values increased along with the number of immersion cycles and became highest when the tooth was immersed for 50 cycles. While comparison between Cosmo and Major dent displayed a significant difference in ∆E* values after immersion for 10 cycles.  Conclusion: OPA disinfectant can significantly alter color stability of acrylic resin teeth. The number of repetitive immersion cycles and the type of acrylic denture teeth can affect the change in color stability with a significant difference.", "th": "ภูมิหลัง : ขั้นตอนทางทันตกรรมประดิษฐ์ถือเป็นขั้นตอนที่มีการปนเปื้อนน้ำลาย เลือด และสารคัดหลั่งอยู่เสมอ สมาคมทันตแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกาจึงได้แนะนำวิธีการฆ่าเชื้อฟันเทียมโดยใช้น้ำยาฆ่าเชื้อระดับกลางขึ้นไป เพื่อป้องกันการปนเปื้อนข้ามและลดการแพร่กระจายเชื้อ ซึ่งน้ำยาฆ่าเชื้อชนิดออร์โทพทาลอัลดีไฮด์จัดเป็นกลุ่มน้ำยาฆ่าเชื้อระดับสูง ใช้เวลาในการฆ่าเชื้อน้อย ง่ายต่อการใช้งาน แต่ทั้งนี้การนำมาใช้ทางทันตกรรมยังไม่ค่อยมีการศึกษาเกี่ยวกับผลของน้ำยาฆ่าเชื้อชนิดนี้ วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของน้ำยาฆ่าเชื้อชนิดออร์โทพทาลอัลดีไฮด์ต่อเสถียรภาพสีของซี่ฟันอะคริลิกเรซิน วิธีการ: ซี่ฟันเทียมอะคริลิกเรซินฟันตัดหน้าซี่กลาง 2 ชนิด ได้แก่ Cosmo และ Major dent จำนวน 30ซี่/ชนิด โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มเพื่อแช่ในน้ำกลั่นและน้ำยาฆ่าเชื้อชนิดออร์โทพทาลอัลดีไฮด์ (กลุ่มละ 15 ซี่/ชนิด) และ แช่ซ้ำจำนวน 1, 5, 10, 20,  30 และ 50 รอบ วัดเสถียรภาพสีด้วยเครื่องสเปคโตรโฟโตมิเตอร์ (spectrophotometer) โดยใช้ระบบซีไออี แอลเอบี (CIE Lab) เพื่อหาค่าผลรวมความต่างของสี (total color difference, ∆E*)  และใช้สถิติ Friedman, Wilcoxon signed rank test และ Mann-Whitney U tests  ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%  เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่ม ผล: พบการเปลี่ยนแปลงค่าพารามิเตอร์สี ∆L*∆a*∆b* ของซี่ฟันเทียมทั้งสองชนิดมีค่าลดลงทุกกลุ่มการทดลองหลังจากแช่ในน้ำยาฆ่าเชื้อออร์โทพทาลอัลดีไฮด์และเมื่อหาค่า ∆E* ของซี่ฟันเทียมทั้งสองชนิดพบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่มควบคุมที่แช่ในน้ำกลั่นและกลุ่มทดลองที่แช่ในน้ำยาฆ่าเชื้อออร์โทพทาลอัลดีไฮด์ผ่านไป 1,20,30 และ 50 รอบ  นอกจากนี้ยังพบว่าค่า ∆E*  มีค่าเพิ่มขึ้นตามจำนวนรอบในการแช่ซ้ำและมีค่า∆E*  สูงสุดเมื่อแช่ซ้ำผ่านไป 50 รอบ และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างชนิดซี่ฟันเทียม Cosmo  และ Major dent พบว่ามีค่า ∆E*  ที่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติหลังจากแช่ซ้ำผ่านไป 10 รอบ สรุป: น้ำยาฆ่าเชื้อออร์โทพทาลอัลดีไฮด์สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเสถียรภาพสีของซี่ฟันเทียมอะคริลิกเรซินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และพบว่าปัจจัยของจำนวนรอบและชนิดของซี่ฟันเทียมที่แตกต่างกันส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงเสถียรภาพสีอย่างมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติด้วยเช่นกัน" }
{ "en": "Background: Usually, tooth preparation for dental veneer restorations at anterior teeth are limited within enamel. In some cases require extensive tooth preparation that may expose to dentin, such as severe tooth discoloration and misaligned teeth. Tooth preparation with dentin exposure can cause decreasing retention and dentin hypersensitivity. Nowadays, glutaraldehyde is the effective desensitizer. Many studies found the influence of glutaraldehyde on adhesive system. Objective: The purpose of this study was to compare fracture resistance of porcelain laminated veneer after using resin cement application with using glutaraldehyde desensitizer and resin cement application. Method: 20 sound upper premolars were selected. Teeth were randomly divided into two groups (n= 10). Test group were prepared with glutaraldehyde desensitizer (Gluma Desensitizer®) before resin cement application (RelyX ® Veneer TR). Control group were applied only resin cement. Determination of tooth preparation was in enamel but the cervical 1/3 of crown was in dentin. Depth of preparation was qualified by CBCT scan (Orthophos S 3D, Sirona®). After tooth preparation, teeth scanning and dental veneer design were performed by 3Shape Trios3® and 3Shape dental system 2019 Program respectively. The lithium disilicate glass‑ceramic (IPS e.max® CAD) were selected. Dental veneer were fabricated by CORiTEC ONE (imes-icore®). 10,000 cycles of thermocycling was performed in all specimens. Fracture resistance of porcelain laminated veneers were evaluated by universal testing machine (Intron 5566). Statistical analysis were conducted using independent t-test (p < 0.05). Result: There are no statistical difference in fracture resistance value between control group (1793.48 ± 140.39 N) and test group (2237.47 ± 207.28 N) ​​(p <0.05). Conclusion: Using glutaraldehyde desensitizer before resin cement application did not affect the fracture resistance of porcelain laminated veneer when compare with no using glutaraldehyde desensitizer before resin cement application.", "th": "ภูมิหลัง: การเตรียมผิวฟันเพื่อทำวีเนียร์อาจสูญเสียแรงยึดติด และมีอาการเสียวฟัน สารลดเสียวฟัน กลูตารัลดีไฮด์จะถูกนำมาทาก่อนทาสารยึดติด ทั้งนี้หลายการศึกษาพบว่ากลูตารัลดีไฮด์มีผลต่อระบบยึดติด วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการใช้สารลดเสียวฟันกลูตารัลดีไฮด์ต่อแรงต้านการแตกหักของวีเนียร์ที่ยึดกับฟันด้วยเรซินซีเมนต์ วิธีการ: แบบจำลองวีเนียร์จำนวน 20 ซี่ แบ่ง 2 กลุ่ม กลุ่มทดสอบยึดด้วยกลูตารัลดีไฮด์ และเรซินซีเมนต์ กลุ่มควบคุมยึดด้วยเรซินซีเมนต์ กรอแต่งผิวฟันให้ลึกอยู่ในชั้นเคลือบฟัน ยกเว้นบริเวณคอฟันให้ลึกเข้าชั้นเนื้อฟัน ตรวจสอบด้วยภาพถ่ายรังสีโคนบีมคอมพิวเตดโทโมกราฟฟี พิมพ์ปากด้วยเครื่องสแกนในช่องปาก ออกแบบด้วยโปรแกรมทรีเชฟ เดนทัล ซิสเทม และกลึงชิ้นงานด้วยเครื่องคอไอเทค วัน ใช้วัสดุลิเทียมไดซิลิเกต แล้วนำเข้าเครื่องควบคุมอุณหภูมิร้อน เย็นเป็นจังหวะ จำนวน 10,000 รอบ ศึกษาค่ากำลังแรงต้านต่อการแตกหักโดยใช้เครื่องทดสอบแรงดึงแรงอัด ทดสอบการกระจายตัวของข้อมูลด้วย Shapiro-Wilk วิเคราะห์สถิติ independent t-test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติน้อยกว่า 0.05 ผล : ค่ากำลังแรงต้านต่อการแตกหัก กลุ่มควบคุม (1793.48 ± 140.39 นิวตัน) และกลุ่มทดสอบ (2237.47 ± 207.28 นิวตัน) ซึ่งไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) สรุป: การใช้กลูตารัลดีไฮด์ ไม่ส่งผลต่อค่ากำลังแรงต้านต่อการแตกหักแตกวีเนียร์เมื่อเทียบกับการไม่ใช้" }
{ "en": "Background: Childhood nutrition is the cornerstone of good health and intelligence. But currently, Thai children have a nutritional status of “proportionately” below the target. Therefor, it is necessary to find a solution according to the context. Objective: To study factors affecting nutritional status and the trial of the NATT Model to solve early childhood malnutrition problems in child development centers. Method: Study of secondary nutrition information for children aged 2–5 years, in the child development center, 505 children with nutritional status results in September 2021 and health diaries. Using the NATT Model to solve malnutrition problems, it a quasi–experimental research between December 2021–April 2022, data were analyzed by descriptive statistics, Chi –square, Odds ratio, Paired–samples T test. Result: The sample was male (56.6%), well–balanced nutrition (57.2%). Risk factors for malnutrition Child: Unweighted weight–age (OR = 3.703), breastfed for less than 6 months (OR = 1.394) no iron supplementation (OR = 1.337), Maternal: First antenatal care >12 weeks (OR = 3.766), no folic acid (OR = 1.232), Teachers/caregivers: knowledge level (OR = 3.438), attitude level (OR = 3.320), children’s eating behavior (OR = 1.478). After using the NATT Model, the children had increased nutritional status, and there were differences in average weight and height before and after participating in the activity. Conclusion: Early childhood children were malnourished 57.2%. Child, mother, teacher/caregiver factors were found to be related to nutritional status. After using the NATT Model, the children had increased nutritional status, and found the difference in mean weight height before and after participating in the activity.", "th": "ภูมิหลัง: ภาวะโภชนาการในวัยเด็กเป็นพื้นฐานที่สำคัญของสุขภาพและเชาว์ปัญญาที่ดี แต่ปัจจุบันเด็กไทยมีภาวะโภชนาการ “สมส่วน” ต่ำกว่าเป้าหมาย จึงต้องหาวิธีแก้ไขตามบริบท วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อภาวะโภชนาการและทดลองใช้ NATT Model แก้ปัญหาทุพโภชนาการเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก วิธีการ: ศึกษาข้อมูลทุติยภูมิโภชนาการเด็กอายุ 2–5 ปีในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 505 คน ที่มีผลภาวะโภชนาการเดือนกันยายน 2564 และสมุดบันทึกสุขภาพ การใช้ NATT Model แก้ปัญหาทุพโภชนาการ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ระหว่างเดือนธันวาคม 2564–เมษายน 2565 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา, chi–square, odds ratio, paired–samples t test ผล: กลุ่มตัวอย่างเพศชาย (ร้อยละ 56.6) ภาวะโภชนาการสมส่วน (ร้อยละ 57.2) ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะทุพโภชนาการ ด้านเด็ก ได้แก่ น้ำหนักไม่เป็นตามเกณฑ์อายุ (OR = 3.703) กินนมแม่น้อยกว่า 6 เดือน (OR = 1.394) ไม่กินยาเสริมธาตุเหล็ก (OR = 1.337) ด้านมารดา ได้แก่ ฝากครรภ์ครั้งแรก>12 สัปดาห์ (OR = 3.766) ไม่รับยาโฟลิก (OR = 1.232) ด้านครู/ ผู้ดูแล ได้แก่ ระดับความรู้ (OR = 3.438) ระดับเจตคติ (OR = 3.320) พฤติกรรมการรับประทานของเด็ก (OR = 1.478) หลังใช้ NATT Model เด็กมีภาวะโภชนาการสมส่วนเพิ่มขึ้น และมีความแตกต่างของค่าเฉลี่ยน้ำหนัก ส่วนสูง ก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรม สรุป: เด็กปฐมวัยมีภาวะโภชนาการสมส่วน ร้อยละ 57.2 พบปัจจัยด้านเด็ก มารดา ครู/ผู้ดูแล มีความ สัมพันธ์กับภาวะโภชนาการ หลังใช้ NATT Model เด็กมีภาวะโภชนาการสมส่วนเพิ่มขึ้นและพบความแตกต่างค่าเฉลี่ยน้ำหนัก ส่วนสูงก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรม" }
{ "en": "Background: Post COVID-19 infection has long-term health impacts on patients’ mental health and lifestyle, and self-management support can help patients better manage their residual COVID symptoms. Objectives: To develop and evaluate a model of self-management support for residual symptoms among COVID-19 patients. Methods: Data were analyzed for descriptive statistics and repeated measure MANOVA. 62 COVID-19 patients who met the criteria were recruited from Chonburi Hospital and they completed the measures of self-management behaviors and clinical outcomes at baseline (one-week after discharge), 4 weeks and 8 weeks after discharge with Cronbach's alpha coefficients of 0.88 and 0.82, respectively. Results: Self-management model including 1. Identifying the problem and evaluate residual symptoms 2. Problem solving and self-management support 3. Self-management assessment 4. Follow up. Behavior outcome showed more self-management support and better quality of life. Clinical outcomes showed lower mean scores on dyspnea, fatigue depression, and insomnia with greater SpO2 and lung efficiency. Conclusion: Self-management model support facilitates patients with post-COVID-19 symptoms to perform self-management behaviors and mitigate symptoms of post COVID-19 symptoms. Therefore, patients with post COVID-19 should receive a great deal of self-management support for better self-care after discharge from the hospital.", "th": "ภูมิหลัง: อาการหลงเหลือหลังการติดเชื้อโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต การสนับสนุนการจัดการตนเองส่งเสริมให้ผู้ป่วยจัดการสุขภาพตนเองต่ออาการหลงเหลือได้ วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาและประเมินผลรูปแบบสนับสนุนการจัดการตนเองของผู้ป่วยโควิด-19 หลังรักษาหาย วิธีการ: เป็นการวิจัยแบบวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ที่มีอาการหลงเหลือ จำนวน 62 ราย เปรียบเทียบ ก่อน หลังการทดลอง และติดตามผล เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ  แบบวัดพฤติกรรมการจัดการตนเองต่ออาการหลงเหลือและแบบวัดคุณภาพชีวิตค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบราค เท่ากับ 0.88  และ 0.82 ตามลำดับ และการประเมินผลลัพธ์ทางคลินิก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและ repeated measure ANOVA ผล: รูปแบบสนับสนุนการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการสุขภาพตนเอง มี 4 ด้าน คือ การค้นหาปัญหาและประเมินอาการหลงเหลือ การแก้ไขปัญหาและสนับสนุนการจัดการสุขภาพตนเองต่ออาการหลงเหลือ  ประเมินผลการปฏิบัติตนในการจัดการสุขภาพตนเอง และติดตามผลการจัดการสุขภาพตนเอง ผลลัพธ์ด้านผู้ป่วย พบว่า มีพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยภายหลังหายจาก COVID-19 มากขึ้น คุณภาพชีวิตดีขึ้น และผลลัพธ์ทางคลินิก: เหนื่อย อ่อนล้า นอนไม่หลับ และหดหู่ซึมเศร้าลดลง สมรรถภาพปอดและ SpO2 มีแนวโน้มดีขึ้น แต่ความจำสั้นเพิ่มขึ้น สรุป: การใช้รูปแบบสนับสนุนการจัดการตนเองกับผู้มีอาการหลงเหลือจากการติดเชื้อโควิด-19 สามารถส่งเสริมให้ผู้ป่วยจัดการสุขภาพตนเองได้ดีขึ้นและความรุนแรงอาการหลงเหลือบรรเทาลง จึงควรมีระบบสนับสนุนการจัดการตนเองเพื่อส่งเสริมการจัดการสุขภาพตนเองของผู้ติดเชื้อเพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี" }
{ "en": null, "th": "โรคฝีดาษวานร (monkeypox) เกิดจากเชื้อไวรัสที่อยู่ในกลุ่ม Poxvirus ซึ่งเชื้อในกลุ่มนี้สามารถก่อให้เกิดโรคไข้ทรพิษหรือฝีดาษและโรคหูดข้าวสุก โดยปกติไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคฝีดาษวานรเป็นไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคในสัตว์ตระกูลหนู กระรอก รวมไปถึงลิง แต่ที่เรียกว่าฝีดาษวานรเพราะพบการติดเชื้อครั้งแรกในลิง ในปี พ.ศ. 2501 จากนั้นพบการติดเชื้อในมนุษย์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2513 ซึ่งพบในเด็กที่ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก การติดเชื้อจากสัตว์มาสู่มนุษย์อาจจะเป็นในรูปแบบการสัมผัส รวมถึงการถูกสัตว์กัด สำหรับการแพร่เชื้อจากมนุษย์สู่มนุษย์สามารถเกิดได้จากการสัมผัสสารคัดหลั่ง การสัมผัสบาดแผลหรือรอยโรค รวมไปถึงจากการหายใจเอาละอองฝอยเข้าไป ซึ่งการแพร่เชื้อมักจะพบเมื่อมีการสัมผัสใกล้ชิดหรือพักอาศัยร่วมกันเป็นระยะเวลานานพอสมควร" }
{ "en": "Background: Meconium aspiration syndrome (MAS) is an important cause of  acute respiratory distress in newborn , which has serious complication and high mortality rate. Objectives: To determine the incidence, outcome and complications of infants with MAS and pognostic factors of this conditions at Trang Hospital. Methods: This study was a retrospective descriptive study. Medical records of infants who diagnosed with MAS at Trang hospital between 1st October 2016 and 30nd September 2019 were reviewed. Data on maternal and neonatal demographics, clinical course and outcome were recorded. Results: Meconium stained amniotic fluid (MSAF) was found in 556 neonates. Two hundred three neonates of MAS cases were enrolled , (36.5% of MSAF), one hundred and fifty-nine newborn was born at Trang Hospital The incidence of MAS was 14.76 per 1000 live birth. Fifteen cases of MAS died (mortality 7.4%) and  38.9% of MAS needed mechanical ventilation. The most common cause of death was persistent pulmonary hypertension of newborn (PPHN, 100 %). Other cause was sepsis (87.6%). The significant poor prognostic factor of MAS  were non vigorous neonate, APGAR score at 1 min and at 5 min < 3, on mechanical ventilation, MAS with complication : PPHN, sepsis, birth asphyxia, pneumothorax and pulmonary hemorrhage. Conclusions: Incidence of MAS during this period at Trang Hospital was 14.76 per 1000 live birth. The mortality rate was 7.4%. Poor prognostic factor was non vigorous neonate, severe birth asphyxia, on mechanical ventilation, PPHN, sepsis, pneumothorax and pulmonary hemorrhage The most common cause of death was PPHN.", "th": "ภูมิหลัง: ภาวะสูดสำลักขี้เทา(Meconium aspiration syndrome; MAS) เป็นสาเหตุสำคัญของภาวะหายใจลำบากในทารกแรกเกิดและมีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงและเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่พบมาก วัตถุประสงค์: เพื่อหาอุบัติการณ์ของการเกิดภาวะสูดสำลักขี้เทาในทารกแรกเกิดใน โรงพยาบาลตรัง และศึกษาผลการรักษา รวมถึงปัจจัยที่มีผลต่อการพยากรณ์โรคและการเสียชีวิต วิธีการ: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง โดยทบทวนข้อมูลจากเวชระเบียนของทารกที่ได้รับการวินิจฉัยภาวะสูดสำลักขี้เทาในโรงพยาบาลตรังตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2559 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2562  รวบรวมข้อมูลพื้นฐานของทารกและมารดา อาการ การรักษาและ ผลการรักษา ผล: จากจำนวนทารกที่มีขี้เทาปนในน้ำคร่ำ 556 ราย วินิจฉัยภาวะสูดสำลักขี้เทา (MAS) 203 ราย (ร้อยละ 36.5) คลอดใน รพ.ตรัง 159 ราย คิดเป็นอุบัติการณ์ 14.76 รายต่อ 1000 ทารกเกิดมีชีพ เสียชีวิต 15 ราย (อัตราตายร้อยละ 7.4) ร้อยละ 38.9 ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยมากที่สุด ได้แก่ Persistent Pulmonary Hypertension of newborn ; PPHN (ร้อยละ 100) และ sepsis (ร้อยละ 87.6) ปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ ทารกที่ไม่ตื่นตัวดีหลังคลอด, APGAR score ที่ 1 นาที และที่ 5 นาทีน้อยกว่า 3, ทารกที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ  และทารกที่มีภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ PPHN, sepsis, pneumothorax และ pulmonary hemorrhage สรุป: พบอัตราการเกิด MAS 14.76 รายต่อทารกเกิดมีชีพ 1000 ราย อัตราตาย ร้อยละ 7.4 ปัจจัยที่มีผลต่อการพยากรณ์โรค คือ ทารกที่ไม่ตื่นตัวดีหลังคลอด, ขาดออกซิเจนปริกำเนิดรุนแรง, ทารกที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ และทารกที่มี PPHN, sepsis, pneumothorax และ pulmonary hemorrhage สาเหตุการตายเกิดจาก PPHN มากที่สุด" }
{ "en": "Background: Epilepsy is a common neurological disorder and a major public health problem in Thailand. In children with epilepsy, it is necessary to receive proper care. The proper care can prevent and control seizures. Therefore, pediatric nurses need to be promote accurate epilepsy knowledge and understanding of epilepsy care that led to caregivers can properly care for children with epilepsy. Objectives: To examine the effect of educational program using cartoon animation video for caregivers of children with epilepsy on epilepsy knowledge of caregivers. Methods: This research was quasi-experimental research.( the one group pre-posttest design). The samples were caregivers of 36 children with newly diagnosed with epilepsy who were received antiepileptic drugs, aged 1-12 years. The statistics used for data analysis were one-way repeated measure ANOVA. Results: After the experiment, scores of epilepsy knowledge in caregivers were significantly higher scores than those before the experiment. (p<0.001) These finding showed that the educational program using cartoon animation video can enhance epilepsy knowledge. Conclusion: Educational program using video animation was a tool to improve epilepsy knowledge in caregivers of children with epilepsy. Therefore, nurse should use the educational program using cartoon animation video to promote epilepsy knowledge in caregivers, leading to appropriate care of children with epilepsy.", "th": "ภูมิหลัง: โรคลมชักเป็นโรคระบบประสาทที่พบบ่อยและเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย ซึ่งผู้ป่วยเด็กโรคลมชักจำเป็นต้องได้รับการดูแลที่เหมาะสม  การดูแลที่เหมาะสมสามารถป้องกันและควบคุมอาการชักได้  ดังนั้นพยาบาลเด็กจำเป็นต้องส่งเสริมความรู้ที่ถูกต้องและความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคลมชัก เพื่อให้ผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กโรคลมชักสามารถให้การดูแลที่เหมาะสมสำหรับเด็กโรคลมชักตามแผนการรักษา วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้ความรู้โดยใช้การ์ตูนแอนิเมชั่นวิดีโอสำหรับผู้ดูแลเด็กที่เป็นโรคลมชักต่อความรู้เรื่องโรคลมชักของผู้ดูแลเด็กโรคลมชัก วิธีการ:  การวิจัยเป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi-experimental research) แบบกลุ่มเดียววัดก่อน-หลัง (one group pretest posttest design)  กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลเด็ก 36 คนที่เพิ่งได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคลมชักที่ได้รับยากันชัก อายุ 1-12 ปี สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ one - way repeated measure ANOVA ผลลัพธ์: หลังการทดลอง คะแนนความรู้โรคลมชักในผู้ดูแลมีคะแนนสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการให้ความรู้โดยใช้วิดีโอการ์ตูนแอนิเมชั่นสามารถเสริมสร้างความรู้โรคลมชักได้ สรุป: โปรแกรมการให้ความรู้โดยใช้สื่อวิดีทัศน์แอนิเมชั่น เป็นเครื่องมือที่สามารถส่งเสริมความรู้โรคลมชักในผู้ดูแลเด็กโรคลมชัก ดังนั้นพยาบาลควรใช้โปรแกรมการให้ความรู้โดยใช้การ์ตูนแอนิเมชั่นวิดีโอ เพื่อส่งเสริมความรู้ของผู้ดูแล นำไปสู่การดูแลเด็กที่เป็นโรคลมชักอย่างเหมาะสม" }
{ "en": "The severe acute respiratory syndrome coronavirus 2 (SARS-CoV-2) causes the coronavirus disease 2019 (COVID-19) systemic viral syndrome responsible for an ongoing global pandemic. COVID-19 has led to high morbidity and mortality worldwide. The absence of immunity in the population could be susceptible to new waves of COVID-19 infection. The effective equipment to prevent this pandemic is the development of a potential vaccine against the disease. CoronaVac (Sinovac Life Sciences, Beijing, China) is an inactivated vaccine alternative against COVID-19, that has shown immunogenicity with vaccine-induced neutralizing antibodies to SARS-CoV-2. Nowadays, we have few reports about this vaccine, due to a short time of development. Currently, we report a case of 29-year-old Thai female with the developing of morbilliform rash on the face and chest 40 minutes following the first dose vaccination.", "th": "โรคโควิด 19 (COVID-19) คือโรคติดต่อของระบบทาง เดินหายใจซึ่งเกิดจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ซาร์-โควี-2 (SARS-CoV-2) เป็นโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ ค้นพบการระบาดครั้งแรก ในเมืองอู่ฮั่น ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนในช่วงเดือนธันวาคม ปี 2562 ต่อมาได้มีการระบาดไปทั่วโลก แต่ถึงอย่างไรก็ตามการขาดภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ซาร์-โควี-2 อาจนำไปสู่การติดเชื้อระลอกใหม่ได้ เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการป้องกัน การแพร่ระบาดคือการมีวัคซีนเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด ด้วย เหตุนี้หลายประเทศทั่วโลกจึงได้มีการคิดค้นพัฒนาวัคซีน เพื่อสร้าง ภูมิคุ้มกันให้กับประชากร โคโรนาแวค (CoronaVac) เป็นวัคซีนที่พัฒนามาจากเชื้อตาย (Inactived vaccine) กระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ซาร์-โควี-2 แต่เนื่องด้วยระยะเวลาการศึกษา ที่จำกัด ประกอบกับมีความจำเป็นต้องนำวัคซีนมาใช้อย่างเร่งด่วน ทำให้ข้อมูลการศึกษาผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้น รวมไปถึงข้อมูลความปลอดภัยยังค่อนข้างมีอยู่น้อยรายงานฉบับนี้เป็นการนำเสนอผู้ป่วยหญิงไทยอายุ 29 ปี มี อาการผื่นแดง คัน บริเวณใบหน้า และหน้าอก ภายหลังการได้รับ วัคซีนซิโนแวคเข็มแรกประมาณ 40 นาที" }
{ "en": "Submandibular space infection is a serious infection that can occur as a result of odontogenic or nonodontogenic infections. The infection should be treated promptly, as it can spread rapidly, resulting in airway obstruction. The author reported an eight-month-old boy without any systemic diseases presenting with a swelling of the lower right facial region for three days that rapidly grew in size for one day despite intravenous antibiotic administration ,suspected source from submandibular gland abscess. Intravenous fluids, more proper empirical antibiotics, and analgesics were administered to the patient. The incision and drainage were done extraorally under general anesthesia. The patient improved gradually and full recovery was within 10 days.", "th": "การติดเชื้อของช่องว่างใต้ขากรรไกรเกิดจากการติดเชื้อจากฟันหรือไม่เกี่ยวข้องกับฟันก็ได้ การติดเชื้อที่ตำแหน่งนี้ควรต้องรีบรักษาทันทีเนื่องจากสามารถติดเชื้อลุกลามจนทาให้เกิดภาวะทางเดินหายใจอุดกั้นได้ ผู้เขียนรายงานผู้ป่วยชายอายุ 8 เดือน ไม่มีโรคประจำตัวมาก่อน มีอาการคอด้านขวาบวมนาน 3 วัน และบวมมากขึ้นอย่างรวดเร็ว 1 วันแม้จะได้ยาฆ่าเชื้อทางหลอดเลือดดาแล้ว ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากต่อมน้ำลายใต้ขากรรไกรอักเสบเป็นหนอง ผู้ป่วยได้รับการรักษาโดยให้สารน้ำทดแทน เปลี่ยนยาฆ่าเชื้อให้เหมาะสมและได้รับการผ่าตัดระบายหนองจากคอภายนอก ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นตามลำดับ และหายภายใน 10 วัน" }
{ "en": "This article is a case report of difficult to treat asthmatic patient leading to investigate the associated co-morbid conditions. CORE syndrome consists of coughing from asthma (cough/asthma), obesity associated with obstructive sleep apnea (obesity/OSA), rhinosinusitis or allergic rhinitis and esophageal reflux. They are often combined and contribute patients with pre-existing asthma that are difficult to control and unresponsive to existing treatments. Therefore, the physician must assess the severity and symptoms of asthma patients by considering co-morbidities or contributing factors that make asthma difficult to control and lead to the proper treatment.", "th": "บทความนี้เป็นรายงานผู้ป่วยโรคหอบหืดที่ยากต่อการรักษา จึงนำไปสู่การค้นหาโรคร่วมที่เกี่ยวข้อง โดยพบว่า CORE syndrome เป็นกลุ่มอาการไอจากโรคหอบหืด ภาวะอ้วนที่สัมพันธ์กับภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น โรคไซนัสอักเสบหรือโรคภูมิแพ้ จมูกอักเสบ และภาวะกรดไหลย้อน ซึ่งเป็นกลุ่มอาการที่มักพบร่วมกัน และเป็นปัจจัยส่งเสริมให้คนไข้โรคหอบหืดควบคุมอาการได้ยาก และไม่ตอบสนองต่อการรักษาที่มีอยู่ จึงมีความสำคัญที่แพทย์ควรคำนึงถึงโรคร่วมและปัจจัยส่งเสริมในผู้ป่วยที่มีอาการของโรคหอบหืดควบคุมได้ยาก และนำไปสู่การรักษาที่ถูกต้อง" }
{ "en": "Background: Discoloration of restorations is the common obstacle in dentistry. Some beverages may affect color stability of resin composites and diminish esthetics.Objective: To evaluate the effects of popular beverages in Thailand on color stability of resin composites.Method: Filtek-Z250, Filtek-Z350, and Filtek-Bulk fill were immersed in coffee, green tea, Thai tea, orange juice and cola for 28 days. The color of resib composite was observed according to CIE L*a*b* system using spectrophotometer. Then, color change (∆E) and whiteness index were calculated. Statistical analysis was performed with MANOVA with Post Hoc Tukey’s test (p < 0.05 and 95% confidence interval).Results: Resin composites in this study showed a statistically significant in color changes after 28 days of immersion in various beverages. Filtek-Bulk fill which immersed in coffee showed the highest color change, followed by Filtek- Z250 and Filtek-Z350 immersed in coffee, respectively. Coffee and Thai tea induced the highest color change of resin composite.  Beverages in this study except cola significantly decreased the whiteness index of resin composites.Conclusion: Type of resin composite and the drink affects the color change. The nanofilled composite resin exhibited the least color change, while coffee and Thai tea produced the highest color change.", "th": "ภูมิหลัง: การเปลี่ยนแปลงสีของเรซินคอมโพสิตเป็นปัญหาทางทันตกรรมที่พบบ่อย โดยเครื่องดื่มบางชนิดทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสีของเรซินคอมโพสิต ส่งผลให้ความสวยงามลดลงวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความคงที่ของสีเรซินคอมโพสิตหลังจากแช่ในเครื่องดื่มมีสีที่นิยมดื่มในประเทศไทย วิธีการ: นำชิ้นงาน Filtek-Z350,  Filtek-Z250  และ Filtek-Bulk fill รูปทรงกระบอกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 10 มิลลิเมตร หนา 2 มิลลิเมตรแช่ในกาแฟ ชาไทย  ชาเขียว น้ำส้ม และโคล่า เป็นเวลา 28 วัน ทำการวัดค่าสีตามระบบ CIE L*a*b* ด้วยสเปกโตรโฟโตมิเตอร์ แล้วจึงคำนวณการเปลี่ยนแปลงค่าสี (∆E) และค่าดัชนีความขาว (whiteness index) โดยทำการวิเคราะห์ทางสถิติด้วย MANOVA ร่วมกับ Post Hoc Tukey’s test (p < 0.05) ผล: เรซินคอมโพสิตในการศึกษานี้มีการเปลี่ยนแปลงค่าสีอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติเมื่อแช่ในเครื่องดื่มต่าง ๆ 28 วัน โดย Filtek-Bulk fill ที่แช่ในกาแฟมีการเปลี่ยนแปลงค่าสีสูงสุด ตามมาด้วย Filtek-Z250 และ Filtek-Z350 และพบว่ากาแฟ และชาไทยทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงค่าสีที่เห็นได้ชัดทางคลินิก (∆E > 3.3) สูงสุด ส่วนโคล่านั้นทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของค่าสีน้อยที่สุด และพบว่าเครื่องดื่มที่ใช้ในการศึกษานี้ยกเว้นโคล่าส่งผลให้เรซินคอมโพสิตทุกกลุ่มมีค่าดัชนีความขาวลดลง สรุป: ชนิดของเรซินคอมโพสิต และเครื่องดื่มมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงค่าสี โดยนาโนฟิลล์เรซินคอมโพสิตมีการเปลี่ยนแปลงสีน้อยที่สุด ในขณะที่กาแฟและชาไทย ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงค่าสีสูงสุด" }
{ "en": "Background: Discoloration of resin composite restorations is attributed to a variety of reasons, which includes stained color that transfer from beverages such as tea and coffee. Various methods of stain removal on resin composite have been used to maintain the original color of restorations. Objective: To compare the efficacy of various finishing and polishing systems; in-office bleaching; home bleaching for stain removal on nanofilled resin composite. Method: The simulation of resin composite discoloration was prepared using A2 nanofilled resin composite immersed in coffee for 14 days and divided into 6 groups: pumice powder, Sof-Lex, Enhance/Pogo polishing system, home and in-office tooth bleaching reagents. The color values ​​were then measured with a spectrophotometer using CIE L*a*b* system and whiteness index. Furthermore, the surface characteristics of the resin composite were studies using an Atomic Force Microscope. The data was analyzed using one-way ANOVA with post hoc Tukey’s test (p < 0.05). Results: A significant differences among groups in color values (p <0.05) compared to the controlled group were observed. The Enhance/PoGo polishing system and the Sof-Lex produced the highest color difference, while in-office bleaching resulted in the lowest color difference. However no statistically significant difference colors of all group were compared to the baseline group. Conclusion: Within the limitation of this study, Sof-Lex and Enhance/Pogo were the most effective polishing tools for coffee staining removal on resin composite.", "th": "ภูมิหลัง: การเปลี่ยนแปลงสีของเรซินคอมโพสิตหลังจากบูรณะฟันเกิดจากหลายสาเหตุ รวมถึงการติดสีจากอาหารและเครื่องดื่ม เช่น ชาและกาแฟ ซึ่งส่งผลต่อความสวยงาม การกำจัดคราบสีบนพื้นผิวเรซินคอมโพสิตโดยวิธีต่าง ๆ ได้ถูกนำมาใช้เพื่อให้วัสดุคงความสวยงามดังเดิม วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของชุดหัวขัดที่ใช้ตกแต่งและขัดผิวเรซินคอมโพสิต น้ำยาฟอกสีฟันชนิดทำที่บ้านและน้ำยาฟอกสีฟันชนิดทำที่คลินิกในการกำจัดคราบสีบนพื้นผิวนาโนฟิลด์เรซินคอมโพสิต วิธีการ: จำลองการติดสีบนพื้นผิวนาโนฟิลด์เรซินคอมโพสิตด้วยกาแฟเป็นเวลา 14 วัน แล้วกำจัดคราบสีบนพื้นผิวเรซินคอมโพสิตด้วยผงขัดพิวมิส ชุดหัวขัดซอฟเลกซ์ ชุดหัวขัดเอ็นฮานซ์โพโก้ น้ำยาฟอกสีฟันชนิดทำที่บ้านและน้ำยาฟอกสีฟันชนิดทำที่คลินิก จากนั้นทำการวัดค่าสีด้วยเครื่องสเปกโตรโฟโตมิเตอร์ โดยใช้ระบบค่าสี CIE L*a*b* และค่าดัชนีความขาว รวมถึงศึกษาลักษณะพื้นผิวของเรซินคอมโพสิตด้วยเครื่อง Atomic Force Microscope แล้วทำการวิเคราะห์ทางสถิติด้วย One-way ANOVA ร่วมกับ post hoc Tukey’s test (p < 0.05) ผล: ชุดหัวขัดเอ็นฮานซ์โพโก้และชุดหัวขัดซอฟเลกซ์ ทำให้เกิดความแตกต่างของสีสูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม ในขณะที่น้ำยาฟอกสีฟันชนิดทำที่คลินิกทำให้เกิดความแตกต่างของสีต่ำที่สุด แต่อย่างไรก็ตามไม่พบความแตกต่างของสีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทุกเครื่องมือกำจัดคราบสีเมื่อเทียบกับค่าเริ่มต้น สรุป: การศึกษาครั้งนี้พบว่าชุดหัวขัดซอฟเลกซ์และชุดหัวขัดเอ็นฮานซ์โพโก้ มีประสิทธิภาพในการกำจัดคราบสีจากกาแฟบนพื้นผิวเรซินคอมโพสิตได้ดีสุด" }
{ "en": "Background: Chronic low back pain syndrome is more common in musculoskeletal disorders. Understanding back pain and self-care can help reduce low back pain and have the ability to use daily life better. Objective: To study the effect of education and self-care with back pain school program on the level of numerical resting scale (NRS), disability (Roland – Morris disability questionnaire), knowledge of back pain, and self-care behaviors in patients with chronic low back pain. Method: This study was a quasi-experimental study that recruited a specific sample of 30 people who were diagnosed by a physician and referred to a multidisciplinary team for pain relief and a record form for indicators in this study. The data in this study are presented in terms of percentage, mean, and standard deviation. Result: The results showed no statistically significant difference in the mean level of NRS and disability when comparing the results between before and after participating in the Back pain school program at two weeks (p > 0.05). There was a statistically significant difference in these indicators when comparing the results before and after the program at one month, three months and six months, respectively (p < 0.05). The mean scores of patients' knowledge of back pain and self-care behaviors were statistically improved across all assessment periods compared to before participating in the program (p < 0.05). Conclusion: Back pain school programs can reduce pain and disability and make patients with chronic low back pain have better knowledge and behavior in taking care of themselves.", "th": "ภูมิหลัง: กลุ่มอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรังสามารถพบได้บ่อยในกลุ่มโรคกล้ามเนื้อและกระดูก ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาการปวดหลังและการดูแลตนเองจะช่วยให้อาการปวดหลังส่วนล่างลดลง และมีความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการให้ความรู้และการดูแลตนเองด้วยโปรแกรมโรงเรียนปวดหลัง ต่อระดับความเจ็บปวดขณะ พักภาวะทุพพลภาพ (แบบประเมิน Roland – Morris disability questionnaire ฉบับภาษาไทย) ความรู้เกี่ยวกับอาการปวดหลัง และพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรัง วิธีการ: การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษากึ่งทดลองโดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน ที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์และส่งปรึกษาทีมสหวิชาชีพเพื่อลดอาการปวด เครื่องมือ ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป และแบบบันทึกตัวชี้วัดในการศึกษาครั้งนี้ ข้อมูลในศึกษานี้จะแสดงในรูปของร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผล: ผลการศึกษาพบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของค่าเฉลี่ยของระดับความเจ็บปวดขณะพัก ภาวะทุพพลภาพ เมื่อเปรียบเทียบผลระหว่างก่อนและหลังจากเข้าร่วมโปรแกรมโรงเรียนปวดหลังที่ 2 สัปดาห์ (p > 0.05) แต่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของตัวชี้วัดดังกล่าวเมื่อเปรียบเทียบผลระหว่างก่อนและหลังจากได้รับโปรแกรมที่ 1 เดือน 3 เดือน และ 6 เดือน ตามลำดับ (p < 0.05) นอกจากนี้ยังพบว่า คะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับโรคปวดหลังและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทุกช่วงการประเมินเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการเข้าร่วมโปรแกรม (p < 0.05) สรุป: โปรแกรมโรงเรียนปวดหลังสามารถลดอาการปวดและภาวะทุพพลภาพ และทำให้ผู้ป่วยที่มีภาวะปวดหลังส่วนล่างเรื้อรังมีความรู้และพฤติกรรมในการดูแลตัวเองดีขึ้น" }
{ "en": "Background: Gout is the most common inflammatory arthritis worldwide. In the past 20-30 years, there has been a tendency to find more patients worldwide. As in Asia, where the number of cases is rapidly increasing in China, Thailand, South Korea, and Taiwan, there are still many problems in terms of diagnosis and treatment. Objective: To determine the factors related to the targeted treatment of gouty arthritis which uric acid levels were less than 5.0 mg/dL in patients with tophi and less than 5.5 mg/dl in patients without tophi. Methods: The present study method was descriptive by collecting retrospective data of patients with gouty arthritis, ICD 10 M100-109 code, who received treatment at Rak-Kor Clinic, Nongkhai Hospital between 1st July 2010 and 31st December 2020. The factors involved in the treat-to-target of gouty arthritis were analyzed by chi-square test or Fisher’s exact test, and multiple logistic regression (95% , p<0.05). Results: Of eligible 585 patients, 94.0% and 90.4% of patients achieved the target uric acid level at one year and throughout the treatment period, respectively. The factors associated with achieving treat-to-target for gouty arthritis with the first 1-year were glomerular filtration rate before treatment ≥ 60 ml/min/1.73 m2 (p=0.024, adjusted OR 2.548, 95% 1.133, 5.726) and no drug discontinuation (p=0.011, adjusted OR 2.652, 95% 1.245, 5.649). The factors associated with achieving treat-to-target for gouty arthritis throughout the treatment period were body mass index ≤ 25 kg/m2 (p=0.012, adjusted OR 0.355, 95% 0.158, 0.797), absence of tophi (p=0.022, adjusted OR 2.172, 95% 1.120, 4.211), glomerular filtration rate before treatment ≥ 60 ml/min/1.73 m2 (p=0.001, adjusted OR 3.493, 95% 1.639, 7.447), and no drug discontinuation (p=0.039, adjusted OR 2.056, 95% 1.037, 4.079). Conclusion: Assessment of the presence of tophi, body mass index, glomerular filtration rate before treatment, and the patient’s regular medication intake will help in planning the treatment and increasing the patient’s target uric acid level.", "th": "ภูมิหลัง: โรคเกาต์เป็นโรคข้ออักเสบที่พบได้บ่อยที่สุดทั่วโลกโดยในช่วง 20-30 ปีที่ผ่านมามีแนวโน้มพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทั่วโลกเช่นเดียวกับในเอเชียที่พบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งในประเทศจีนไทย เกาหลีใต้ และไต้หวัน แต่ก็ยังเป็นโรคที่มีปัญหาทั้งการวินิจฉัยและการรักษาวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรักษาผู้ป่วยโรคข้ออักเสบเกาต์ให้ได้ตามเป้าหมายคือ ระดับกรดยูริกต่ำกว่า 5.0 มก.ต่อ ดล.ในผู้ป่วยที่มีปุ่มก้อนโทฟัส และต่ำกว่า 5.5 มก.ต่อ ดล.ในผู้ป่วยที่ไม่มีปุ่มก้อนโทฟัส วิธีการ: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา โดยเก็บข้อมูลแบบย้อนหลังของผู้ป่วยโรคข้อ อักเสบเกาต์รหัส ICD 10 M100-109 ที่มารับการรักษาที่คลินิกรักษ์ข้อ โรงพยาบาลหนองคายตั้งแต่ 1 ก.ค. 2553-31 ธ.ค. 2563 วิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรักษาโรคข้ออักเสบเกาต์ให้ได้ตามเป้าหมาย ใช้สถิติ chi-square test หรือ Fisher’s exact test และmultiple logistic regression (95% , p<0.05) ผล: ผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์การศึกษา 585 ราย ได้ระดับกรดยูริกตามเป้าหมายที่ 1 ปี ร้อยละ 94.0 และตลอดระยะเวลาที่รักษาร้อยละ 90.4 โดยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรักษาโรคข้ออักเสบเกาต์ให้ได้ตามเป้าหมายในระยะ 1 ปีแรกได้แก่ ระดับการทำงานของไต ≥ 60 มล.ต่อนาที ต่อ 1.73 ม.2 ก่อนรักษา (p=0.024, adjusted OR 2.548, 95% 1.133, 5.726) และไม่มีการหยุดยา (p=0.011, adjusted OR 2.652, 95% CI 1.245, 5.649) ส่วนปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรักษาโรคข้ออักเสบเกาต์ให้ได้ตามเป้าหมายตลอดระยะเวลาที่รักษาได้แก่ ดัชนีมวลกาย ≤ 25 กก.ต่อ ม.2 (p=0.012, adjusted OR 0.355, 95% 0.158, 0.797) ไม่มีปุ่มก้อนโทฟัส (p=0.022, adjusted OR 2.172, 95% 1.120, 4.211) ระดับการทำงานของไต ≥ 60 มล.ต่อนาทีต่อ 1.73 ม.2 ก่อนรักษา (p=0.001, adjusted OR 3.493, 95% 1.639, 7.447) และไม่มีการหยุดยา (p=0.039, adjusted OR 2.056, 95% 1.037, 4.079) สรุป: การประเมินปุ่มก้อนโทฟัส ดัชนีมวลกาย ระดับการทำงานของไตก่อนรักษา และการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอของผู้ป่วย จะช่วยในการวางแผนการรักษาและทำให้ผู้ป่วยได้ระดับกรดยูริกตามเป้าหมายเพิ่มขึ้น" }
{ "en": "Background: Intrathecal morphine is the frequently used technique for cesarean section because of the safety and postoperative analgesia efficacy. However, pruritus is the most common side effect associated with spinal opioid administration. It is often difficult to treat and may be unpleasant for patient leading to patient dissatisfaction. Objective: This randomized controlled trial aimed to compare the effect of ondansetron and ondansetron with propofol to prevent intrathecal morphine-induced pruritus in patients undergoing cesarean section. Methods: 90 patients scheduled for cesarean section under spinal anesthesia with intrathecal morphine 0.2 mg added to 10 -12 mg bupivacaine were randomly allocated into two groups. After child birth, group 1(n=45) received intravenous 8 mg ondansetron. Group 2 (n=45) received intravenous 8 mg ondansetron and propofol 0.5 mg/kg. The incidence and severity of pruritus, postoperative nausea and vomiting and other complication were assessed during recovery and at 4, 8, 24 hours following intrathecal morphine. Results: The incidence of pruritus was significantly less frequent in patients who received ondansetron with propofol compare with those who received ondansetron alone (31.1% vs. 55.5%, p=0.029 at 4 hours and 57.7% vs. 75.6%, p=0.037 at 8 hours). The number of patients requesting treatment for moderate to severe pruritus was significantly lower in the ondansetron with propofol group than the ondansetron group (6.7% vs 24.4%, p=0.02). There was no significant difference between two groups in PONV. Conclusion: Ondansetron with propofol prophylaxis significantly reduced incidence and severity of intrathecal morphine induced pruritus compared with ondansetron alone in patient undergoing cesarean section.", "th": "ภูมิหลัง: การระงับความรู้สึกเฉพาะส่วนโดยการใส่ยามอร์ฟีนเข้าช่องน้ำไขสันหลัง เป็นวิธีที่นิยมใช้ในการผ่าท้องทำคลอด เพราะว่าปลอดภัยและมีประสิทธิผลในการระงับอาการปวดหลังการผ่าตัด อย่างไรก็ตามอาการคันจากการใส่ยากลุ่ม opioid เข้าช่องน้ำไขสันหลังเป็นผลข้างเคียงที่พบได้บ่อย ซึ่งค่อนข้างรักษายาก อาจทำให้ผู้ป่วยไม่สุขสบายและไม่พึงพอใจต่อการระงับความรู้สึกได้ วัตถุประสงค์: การศึกษาแบบสุ่มมีกลุ่มควบคุม (randomized controlled trial) เพื่อเปรียบเทียบผลของการให้ยา ondansetron กับการให้ยา ondansetron ร่วมกับ propofol ในการป้องกันการเกิดอาการคันจากการใส่ยามอร์ฟีนเข้าช่องน้ำไขสันหลังในผู้ป่วยที่ผ่าท้องทำคลอด วิธีการ: ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าท้องทำคลอด 90 คน ได้รับการระงับความรู้สึกโดยการใส่ยามอร์ฟีน 0.2 มิลลิกรัม ในยา bupivacaine 10-12 มิลลิกรัม เข้าช่องน้ำไขสันหลังถูกแบ่งเป็นสองกลุ่มโดยการสุ่ม หลังทารกคลอด ผู้ป่วยกลุ่มแรก (45 คน) ได้รับยา ondansetron 8 มิลลิกรัม กลุ่มที่สอง (45 คน) ได้รับยา ondansetron 8 มิลลิกรัมและ propofol 0.5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ประเมินอาการคัน คลื่นไส้อาเจียน รวมทั้งภาวะแทรกซ้อนอย่างอื่นระหว่างอยู่ในห้องพักฟื้น และหลังระงับความรู้สึก 4, 8, 24 ชั่วโมง ผล: อุบัติการณ์การเกิดอาการคันในกลุ่มที่ได้รับ ondansetron ร่วมกับ propofol น้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับ ondansetron อย่างเดียวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (31.1% กับ 55.5%, p=0.029 ที่ 4 ชั่วโมง และ 57.7% กับ 75.6%, p=0.037 ที่ 8 ชั่วโมง) นอกจากนี้กลุ่มที่ได้รับยา ondansetron ร่วมกับ propofol มีอาการคันปานกลางถึงคันมากและได้รับยารักษาอาการคันน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับ ondansetron อย่างเดียวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (6.7% กับ 24.4%, p=0.02) ไม่พบความแตกต่างของอาการคลื่นไส้อาเจียนหลังการผ่าตัดระหว่างผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม สรุป: การให้ ondansetron ร่วมกับ propofol สามารถลดการเกิดอาการคันจากการได้รับยามอร์ฟีนเข้าช่องน้ำไขสันหลังและลดการเกิดอาการคันที่รุนแรงได้เมื่อเปรียบเทียบกับการให้ยา ondansetron เพียงอย่างเดียวในผู้ป่วยผ่าท้องทำคลอด" }
{ "en": "After extraction the natural teeth, the alveolar part of the jaw will be minimized its size due to loss of balance between compressive and tensile forces on it. The disuse atrophic alveolar bone cannot support the dental implant. It can be solved by bone augmentation surgery in many techniques. The upper molar regions usually augmented by lifting the floor of maxillary sinus with bone graft. This paper reports the case of severe atrophic ridge at the area of the tooth 16 with maxillary sinus floor pneumatization. It was augmented by surgical lift with lateral window approach technique and xenograft bone placement. The crestal approach for lifting the sinus floor has 2 methods (1) sinus floor lift with DASK kit (Dentium Advanced Sinus kit) and (2) hydraulic pressure sinus lift with CAS kit (OSSTEM).", "th": "ภายหลังการถอนฟันโดยทั่วไปกระดูกขากรรไกรส่วนที่รองรับรากฟันจะฝ่อลีบลง เนื่องจากไม่มีสมดุลของแรงบดเคี้ยวที่ส่งผ่านรากฟันสู่กระดูก (disuse atrophy) จนกระดูกมีขนาดเล็กไม่เพียงพอรองรับการใส่รากฟันเทียม ปัญหาดังกล่าวแก้ไขได้โดยการผ่าตัดเสริมกระดูก ซึ่งมีหลากหลายวิธีการ ในบริเวณฟันกรามบนนิยมใช้เทคนิคการยกพื้นโพรงอากาศแม็กซิลลาร่วมกับการปลูกถ่ายกระดูกเทียมเพิ่มขนาดกระดูกรองรับรากฟันเทียม  บทความนี้ รายงานการรักษาผู้ป่วยที่สูญเสียฟันซี่ 16 มีการฝ่อลีบของสันกระดูกร่วมกับย้อยของพื้นโพรงอากาศ แม็กซิลลา (maxillary sinus pneumatization) รักษาโดยการผ่าตัดยกพื้นโพรงอากาศแม็กซิลลาด้วยเทคนิคการเข้าถึงด้านข้าง (lateral window approach) ร่วมกับการเสริมกระดูกรองรับรากฟันเทียมด้วยกระดูกปลูกถ่ายวิวิธพันธุ์ (xenograft) การติดตามผลการรักษา 5 ปี และนำเสนอวิธีการผ่าตัดเสริมพื้นโพรงอากาศแม็กซิลาด้วยเทคนิคเข้าถึงทางสันกระดูก (crestal approach) 2 วิธี คือ 1. วิธียกพื้นโพรงอากาศแม็กซิลลาด้วย Dentium Advanced Sinus Kit (DASK kit) 2. วิธียกพื้นโพรงอากาศแม็กซิลลาด้วยแรงดันจากน้ำ (hydraulic pressure sinus lift) ใช้ CAS kit (OSSTEM)" }
{ "en": "Background: The JAK2 V617F mutation has been described as a frequent genetic event among a majority of patients with Myeloproliferative neoplasms (MPNs) including Polycythemia Vera (PV), Essential Thrombocythemia (ET), and Primary Myelofibrosis (PMF). Its frequency varies in different populations, but there are no data from northeast Thailand. Objective: Therefore, we aim to report the JAK2 V617F mutation frequency and laboratory correlation in northeast Thailand patients. Methods: This study included retrospective reviews of all hematologist patients requested to test for JAK2V167F mutations from Srinagarind and Khon Kaen hospitals, the main tertiary medical center in the northeastern region Thailand. Collected data from January 2017 to January 2021. 418 Peripheral blood and bone marrow samples were analyzed by qRT-PCR using the Quantitative Allele Specific Amplification (QASA) JAK2V617F kit. Results: 418 patients were referred by physicians for JAK V617F mutation analysis. In this group, 101 (24.17%) were positive for the JAK2V617F mutation, whereas 317 (75.87%) patients were negative for the JAK2V617F mutation. The JAK2V617F mutation positive group (101 patients) included 46 (45.54%) patients with PV, 39 (38.61%) patients with ET, 11 (10.90%) patients with primary myelofibrosis (PMF), and 5 (4.95%) patients with unclassified MPNs. Conclusions: The frequency of the JAK2V617F mutation in our study is compatible with previous reports. JAK2V617F mutation screening can be incorporated in the initial evaluation of patients suspected of having MPNs. Detection of JAK2V617F is of diagnostic significance, and quantification of this mutation is also useful in monitoring patients as a residual disease marker.", "th": "ภูมิหลัง: การกลายพันธุ์ของยีน  JAK2V617F ได้รับการอธิบายว่าเป็นเหตุการณ์ทางพันธุกรรมที่เกิดขึ้นบ่อยในผู้ป่วยกลุ่ม Myeloproliferative neoplasms (MPNs) ได้แก่ Polycythemia Vera (PV), Essential Thrombocythemia (ET) และ Primary Myelofibrosis (PMF) ความถี่แตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่มประชากรแต่ยังไม่มีข้อมูลจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยวัตถุประสงค์: เพื่อรายงานความถี่ของการกลายพันธุ์ของยีน JAK2V617F และความสัมพันธ์กับผลทางห้องปฏิบัติการในผู้ป่วยภาคจากตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย วิธีการ: การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง ในผู้ป่วยทุกรายที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์เฉพาะทางสาขาโลหิตวิทยา และส่งทดสอบการกลายพันธุ์ของยีน JAK2V167F จากโรงพยาบาลศรีนครินทร์และโรงพยาบาลขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นศูนย์การแพทย์ระดับตติยภูมิในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย รวบรวมข้อมูลตั้งแต่มกราคม 2560 ถึงมกราคม 2564 ตัวอย่างเลือดและไขกระดูกจำนวน 418 ราย ถูกวิเคราะห์ด้วยเทคนิค real-time quantitative polymerase chain reaction (qRT-PCR). โดยใช้ชุดตรวจวิเคราะห์ Quantitative Allele Specific Amplification (QASA) JAK2 V617F ผล: ในผู้ป่วยจำนวน 418 ราย พบ 101 ราย (24.17%) มีผลบวกต่อการกลายพันธุ์ของยีน JAK2 V617F ในขณะที่ผู้ป่วย 317 ราย (75.87%) มีผลลบต่อการกลายพันธุ์ของยีน JAK2V617F กลุ่มผลบวกของการกลายพันธุ์ของยีน JAK2V617F  เป็นผู้ป่วย PV 46 ราย (45.54%)  ผู้ป่วย ET 39 ราย (38.61%) ผู้ป่วย PMF 11 ราย (10.90%)  และผู้ป่วยผู้ป่วย MPN ที่ไม่จำแนกประเภท 5 ราย (4.95%)สรุป: ความถี่ของการกลายพันธุ์ยีน JAK2V617F ในการศึกษาครั้งนี้สอดคล้องกับรายงานก่อนหน้านี้ การตรวจคัดกรองการกลายพันธุ์ของยีน JAK2V617F สามารถใช้ในการประเมินเบื้องต้นและวินิจฉัยโรคในกลุ่ม Myeloproliferative neoplasms (MPNs)  นอกจากนี้การหาปริมาณของการกลายพันธุ์นี้ยังมีประโยชน์ในการติดตามการรักษาผู้ป่วย" }
{ "en": "Background: Dengue Hemorrhagic Fever (DHF) is recognized as a significant causeof morbidity and mortality among children. Especially with the rapid change of clinical manifestation during the toxic stage, the patient’s clinical status can be worse and fatal if left untreated. Nurses play a vital role in evaluating the patient clinical status. Therefore, theuseof thePediatric Early Warning Systems screening (PEWS) complies withthe Clinical Nursing Practice GuidelineforPediatric Dengue HemorrhagicFever during CriticalPhasefor monitoringand assessing patient’s clinical manifestationsenablesnurses to prioritizethe diseaseseveritycontributed tostandard ofclinical judgement, monitoring, and timelinessof care which preventing potential serious consequences. Objective: This researchaimed toinvestigatetheeffect of using the Pediatric Early Warning Systems (PEWS) screening complying with Clinical Nursing Practice Guideline for Pediatric Dengue Hemorrhagic Fever during Critical Phase on nursing outcomes. Method: This research was quasi -experimental research. Samples were 40 pediatric patients diagnosed with dengue hemorrhagic fever aged between 6 and 15 years equally divided into experimental and control group. The data were analyzed usingchi-squared test and independent samplet-test. Result: Theexperimentalgroup demonstrated significantlyless disease severity than the control group (p<0.05). The mean length of stay between two group was not significantly different. In addition, the nurses’ satisfaction with the use of the Pediatric Early Warning Systems (PEWS) screening complies with Clinical Nursing Practice Guideline for Pediatric Dengue Hemorrhagic Fever during Critical Phase were at the highest level, with an average of 85.94% Conclusion: The PEWS tool enhance nurse capacity in monitoring and providing timeliness of clinical management contribute to decrease the disease severity as well as patient’s length of stay.", "th": "ภูมิหลัง: โรคไข้เลือดออกนับเป็นสาเหตุที่สำคัญของการป่วยและการตายในเด็ก โดยเฉพาะระยะวิกฤต/ช็อก จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ถ้าไม่ได้รับการดูแลรักษาผู้ป่วยจะมีอาการเลวลงอาจเสยชีวีตได้ พยาบาลมบทบาทสำคัญในการประเมินอาการอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย ดังนั้นการนำแบบประเมิน การคัดกรองโดยใช้สัญญาณเตือนภาวะวิกฤต (PEWS) ร่วมกับการดูแลตามมาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยโรคเด็กไข้เลือดออกในระยะวิกฤต มาใช้ในการเฝ้าระวัง ติดตาม ประเมินอาการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยช่วยให้สามารถแบ่งระดับความรุนแรงนำไปสู่การตัดสินใจในการให้การดูแลรักษาพยาบาล และเฝ้าระวังติดตามอาการเปลี่ยนแปลงผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง เป็นมาตรฐานเดียวกัน ทำให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาอย่างทันท่วงที ป้องกันการเกิดภาวtแทรกซ้อนที่รุนแรง วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการใช้แบบประเมินการคัดกรองโดยใช้สัญญาณเตือนภาวะวิกฤตร่วมกับการดูแลตามมาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรคไข้เลือดออกต่อผลลัพธ์การปฏิบัติการพยาบาล วิธีการ: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (quasi-experimental research) กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยเด็กโรคไข้เลือดออก อายุตั้งแต่ 6-15 ปี โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 ราย สถิติทีใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ chi-squared test และ independent sample t-test ผล: ผู้ป่วยกลุ่มทดลองมีระดับความรุนแรงของโรคน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และผู้ป่วยกลุ่มทดลองมีจำนวนวันนอนในโรงพยาบาลเฉลี่ยน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างไม่มีนับสำคัญทางสถิติ (p>0.05) รวมถึงความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อการใช้แบบประเมินการคิดกรองโดยใช้สัญญาณเตือนภาวะวิกฤติร่วมกับการดูแลตามมาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรคไข้เลือดออกอยู่ในระดับมากที่สุดเฉลี่ยร้อยละ 85.94 สรุป: เครื่องมือ PEWS ช่วยในการเฝ้าระวัง และสามารถดักจับอาการของผู้ป่วยเด็กโรคไข้เลือดออกที่แย่ลงได้ อย่างรวดเร็ว และยังสามารถลดระดับความรุนแรงของโรคได้ รวมทั้งสามารถลดจำนวนวันนอนในโรงพยาบาลได้ " }
{ "en": "This article focuses on reviewing radiation contrast media knowledge and guidelines for treating allergic patients to contrast media, including emergency medicine and emergency equipment available in the diagnostic radiology unit. This guideline is useful for all care personnel to management in a timely, safe, efficient manner when a severe allergic reaction occurs.", "th": "บทความนี้มุ่งเน้นทบทวนความรู้เกี่ยวกับสารทึบรังสี และแนวทางการปฏิบัติเมื่อผู้ป่วยเกิดภาวะแพ้สารทึบรังสี รวมถึงยาและอุปกรณ์ฉุกเฉินพื้นฐานที่มีในแผนกรังสีวินิจฉัย เพื่อให้บุคลากรทุกท่านที่มีส่วนร่วมในการดูแลผู้ที่ได้รับสารทึบรังสี ดูแลผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงที ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ เมื่อผู้ป่วยเกิดภาวะแพ้สารทึบรังสีระดับรุนแรง" }
{ "en": "Background: Open appendectomy was an emergency operation. ERAS (enhanced recovery after surgery) could decrease the length of stay (LOS) to less than 24 hours and decrease medical costs. If we studied the factor that affected the patients with open appendectomy discharge within 24 hours, we would have clinical practice guideline to decrease LOS. Objective: Studied factor affecting the success of patient with open appendectomy who had LOS less than 24 hours. Methods: A case-control study was conduct in the In Patient Department and collected data form medical record of Yasothon hospital between 1 October 2020 and 30 September 2021. Study factor affected success LOS less than 24 hours and analyzed by multiple logistic regression. Results: The factor affected to success were age Conclusion: The patients with open appendectomy who were less than 45 years old, suppurative appendicitis, oral NSIAD, admission time at 08:01-16:00 o’clock, duration of symptom onset no more than 24 hours and waiting time for surgery no more than 4 hours would have the length of stay (LOS) less than 24 hours.", "th": "ภูมิหลัง: การผ่าตัดไส้ติ่งแบบแผลเปิดเป็นการผ่าตัดเร่งด่วนเมื่อประยุกต์นำกระบวนการ ERAS (enhanced recovery after surgery) มาใช้ทำให้ผู้ป่วยบางรายมีระยะเวลานอนโรงพยาบาลน้อยกว่า 24 ชั่วโมง ลดค่าใช้จ่ายในทางการแพทย์ ดังนั้นการศึกษาหาปัจจัยของผู้ป่วยที่นอนโรงพยาบาลน้อยกว่า 24 ชั่วโมง จะทำให้มีแนวทางในการดูแลผู้ป่วยเพื่อลดวันนอนโรงพยาบาล วัตถุประสงค์: เพื่อหาปัจจัยส่งเสริมให้ผู้ป่วยผ่าตัดไส้ติ่งแบบแผลเปิดมีวันนอนโรงพยาบาลน้อยกว่า 24 ชั่วโมง      วิธีการ: ศึกษาแบบ case-control study เก็บข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยในโรงพยาบาลยโสธรตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2563 จนถึง 30 กันยายน 2564 วิเคราะห์หาปัจจัยที่ส่งเสริมให้ผู้ป่วยนอนโรงพยาบาลน้อยกว่า 24 ชั่วโมงโดยใช้สถิติ multiple logistic regression ผล: ปัจจัยที่มีผลได้แก่ อายุ" }
{ "en": "Background: Myofascial pain syndrome (MPS) in the upper trapezius muscle is a highly prevalent pain condition and affects the quality of life. Although there are treatments such as dry needling and ultrasound-guided interfascial hydrodissection to reduce pain, there is no study to compare the effectiveness of the two treatments. Objective: To compare the effectiveness of dry needling and ultrasound-guided interfascial hydrodissection on the upper trapezius muscle in myofascial pain syndrome. Method: Participants were randomized to receive dry needling or ultrasound-guided interfascial hydrodissection on the upper trapezius muscle in myofascial pain syndrome. Measurements were changed in the visual analog scale (VAS) scores and neck disability index (NDI). The assessmentwas performed at pre-treatment, post-treatment at week 0 and 4. Result: The demographic differences between the two groups are insignificant. The mean difference of both groups in VAS scores post-treatment at week 0 and week 4 declined statistically as compared to the pre-treatment value. The mean difference in VAS scores between groups is not statistically different at all time points. The mean difference in NDI scores between pre-treatment and post-treatment at week 4 is not statistically different. Conclusion: The effectiveness of dry needling in reducing the VAS and NDI scores is not statistically different from ultrasound-guided interfascial hydrodissection at the upper trapezius muscle in myofascial pain syndrome compared post-treatment at week 0 and week 4 to pre-treatment.", "th": "ภูมิหลัง: กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อพังผืดที่กล้ามเนื้อทราพีเซียสส่วนบนมีความชุกมากและส่งผลต่อคุณภาพชีวิต แม้มีการรักษาเช่นการฝังเข็ม dry needling และการฉีดสารน้ำแยกบริเวณพังผืดโดยใช้อัลตราซาวน์นำทางเพื่อลดอาการปวดแต่ยังไม่มีการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลการรักษาทั้งสองวิธี วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลระหว่างการฝังเข็ม dry needling และการฉีดสารน้ำแยกบริเวณพังผืดโดยใช้อัลตราซาวน์นำทางที่กล้ามเนื้อทราพีเซียสส่วนบนในกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อพังผืด วิธีการ: อาสาสมัครได้รับการสุ่มการรักษาด้วยการฝังเข็ม dry needling หรือฉีดสารน้ำแยกบริเวณพังผืดโดยใช้อัลตราซาวน์นำทางที่กล้ามเนื้อทราพีเซียสส่วนบน วัดความเปลี่ยนแปลงของคะแนน visual analog scale (VAS) และ neck disability index (NDI) ประเมินผลก่อนรักษา หลังรักษาที่ 0 และ4 สัปดาห์ ผล: ข้อมูลพื้นฐานของอาสาสมัครทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนน VAS ของทั้งสองกลุ่มหลังการรักษาทันทีและหลังการรักษา 4 สัปดาห์เมื่อเทียบกับคะแนน VAS ก่อนการรักษาลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ค่าความแตกต่างของคะแนนค่าเฉลี่ย VAS ระหว่างกลุ่มเมื่อเปรียบเทียบระหว่างทุกช่วงเวลาไม่แตกต่างกัน ค่าความแตกต่างของคะแนนค่าเฉลี่ย NDI ระหว่างก่อนการรักษาและหลังการรักษา 4 สัปดาห์ระหว่างกลุ่มไม่แตกต่างกัน สรุป: การฝังเข็ม dry needling ลดคะแนน VAS และ NDI ไม่แตกต่างกันกับเมื่อเทียบด้วยการฉีดสารน้ำแยกบริเวณพังผืดโดยใช้อัลตราซาวน์นำพทางในกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อพังผืดที่กล้ามเนื้อทราพีเซียสส่วนบน หลังรักษาที่ 0 สัปดาห์ และ 4 สัปดาห์เทียบกับก่อนรักษา" }
{ "en": "Background: Asymptomatic and mild symptomatic patients with no risk of severe coronavirus disease (COVID-19) will be quarantine for 10 days as Thai guideline’s recommendation. If the quarantine period can be shortened from 10 to 7 days, we can save many resources. Objective: to assess the rate of SARS-CoV-2 (viral infectivity) in asymptomatic and mild symptomatic COVID-19 patients diagnosed on 7th day and 10th day after diagnosis. Method: This prospective descriptive study performed at the hospitel (Narai Hotel) under the supervision of Lerdsin Hospital from March to December 2021. 88 of subjects were recruited. Nasopharyngeal and throat secretion culture for SARS-CoV-2, subgenomic RNA and clotted blood for IgM and IgG using ELISA were collected. Results: We found 64.4% female, mean age 37.1 ± 12.3 years and BMI 23.1 ± 3.5 kg/m2. Asymptomatic and mild symptomatic subjects were 34.1% and 65.9% respectively. rRT-PCR on 7th day and 10th day showed “detected” result 82.9% (95% CI 75.1, 90.8) and 81.8% (95% CI 73.8, 89.9) respectively whereas, virus culture on 7th day were “not detected” 98.9% (95 CI 96.7, 100) and no virus was found on 10th day.  Subgenomic RNA method showed alpha (B.1.1.7) 53.4%, delta 11.4%, and neither alpha nor delta strains 35.2%. Geometric mean titer (GMT) of anti-spike IgM on day 7 and day 10 were 2.42 (95%CI 1.77, 3.30) and 3.45 (95%CI 2.6, 4.6) respectively (p < .001) while anti-RBD IgG were 209.2 and 520.1, respectively (p < .0001). Moreover, IgM and IgG levels on 7th day, the seropositive rates were 79.6% and 77.3% while on 10th day, were 89.8% and 93.2% respectively. Conclusion: The infection on 7th days and 10th day from diagnostic date by RT-PCR showed a large number of infections, virus culture showed very rarely “detected” report on 7th day and “not detected” on 10th day after diagnosis.", "th": "ภูมิหลัง: ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ไม่มีอาการ และมีอาการไม่รุนแรงและไม่มีปัจจัยเสี่ยงร่วมด้วยจะต้องได้รับการกักตัวเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 10 วัน หากสามารถลดระยะเวลาการกักตัวลงเหลือ 7 วันได้ จะเป็นการลดทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้ลงได้ วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินการแพร่เชื้อ SARS-CoV-2 (viral infectivity) ในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็น COVID-19 ที่ไม่มีอาการและมีอาการไม่รุนแรงในวันที่ 7 และ 10 นับจากวันที่ได้รับการวินิจฉัย วิธีการ: การศึกษาเชิงพรรณนาไปข้างหน้าโดยเก็บข้อมูลจากผู้ยืนยันการติดเชื้อ COVID-19 ด้วย rRT-PCR ที่เข้ารับการกักตัวที่หอผู้ป่วยเฉพาะกิจ (โรงแรมนารายณ์) ภายใต้การกำกับดูแลของโรงพยาบาลเลิดสินในระหว่างเดือนมีนาคม-ธันวาคม 2564 อาสาสมัครจำนวน 88 คนได้รับการเก็บสารคัดหลั่งในช่องจมูกและลำคอเพื่อตรวจ RT-PCR และ subgenomic RNA รวมถึงการเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อตรวจระดับภูมิต้านทานต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ผล: ผู้ติดเชื้อเป็นเพศหญิงร้อยละ 64.4 อายุเฉลี่ย 37.1 ± 12.3 ปี และดัชนีมวลกาย (BMI) เฉลี่ย 23.1 ± 3.5 กก./ม.2 เป็นกลุ่มไม่มีอาการ (asymptomatic) ร้อยละ 34.1 และมีอาการไม่รุนแรง (mild symptomatic) ร้อยละ 65.9 การตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อ SARS-CoV-2 ด้วยวิธี rRT-PCR พบเชื้อในวันที่ 7 และ 10 คิดเป็นร้อยละ 82.9 (95%CI 75.1, 90.8) และ 81.8 (95%CI 73.8, 89.9) ตามลำดับ เมื่อจำแนกตามสถานะอาการ พบว่ากลุ่มไม่มีอาการตรวจพบเชื้อในวันที่ 7 และ 10 คิดเป็นร้อยละ 76.7 และ 73.3 ตามลำดับ การตรวจพบเชื้อของกลุ่มมีอาการไม่รุนแรงในวันที่ 7 และ 10 ไม่เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ 86.2) การตรวจหาสายพันธุ์เชื้อไวรัส SAR-CoV-2 ด้วยวิธี subgenomic RNA พบว่าส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์ alpha (B.1.1.7) ร้อยละ 53.4 สายพันธุ์ delta ร้อยละ 11.4 และไม่ใช่ทั้งสายพันธุ์ alpha และ delta ร้อยละ 35.2 ระดับแอนติบอดีชนิด anti-spike IgM ของเชื้อ SARS-CoV-2 ในผู้ป่วยที่ไม่มีอาการและมีอาการไม่รุนแรงในวันที่ 7 และวันที่ 10 มีค่า geometric mean titer (GMT) 2.42 (95%CI 1.77, 3.30) และวันที่ 10 พบค่าไตเตอร์ 3.45 (95%CI 2.6, 4.6) ตามลำดับ (p < .001) ส่วน anti-RBD IgG ในวันที่ 7 และวันที่ 10 มีค่า geometric mean titer (GMT) 209.2 และ 520.1 ตามลำดับ (p < .0001) ระดับภูมิคุ้มกันชนิด IgM และ IgG ในวันที่ 7 มีอัตรา seropositive เท่ากับร้อยละ 79.6 และ 77.3 ตามลำดับ ขณะที่ในวันที่ 10 อัตรา seropositive เพิ่มมากขึ้น คิดเป็นร้อยละ 89.8 และ 93.2  ตามลำดับ สรุป: การตรวจพบเชื้อในวันที่ 7 และวันที่ 10 นับจากวันที่ได้รับการวินิจฉัยด้วยวิธี RT-PCR ให้ผลตรวจพบเชื้อ (detected) เป็นจำนวนมาก แต่ผลจากการเพาะเลี้ยงเชื้อ (virus culture) พบเชื้อ (detected) ได้น้อยมากในวันที่ 7 และไม่พบเชื้อเลยในวันที่ 10 ภายหลังได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อโควิด 19" }
{ "en": "Background: There are many people suffering from difficulty falling asleep. Though some recovers spontaneously, some repeats itself and there comes a time when perpetuating factors psychologically influence a progress to insomnia disorders. 80% of Insomnia disorders are comprised of Sleep Onset Latency insomnia. Objective: A brief survey to get an idea about the current situation of “difficulty falling asleep” in the society and to lay the foundation for further development / knowledge management in preventing insomnia disorder predisposed by “difficulty falling asleep”. Method: Data from 91 Thai adults obtained using an internet-based questionnaire survey were analyzed using descriptive statistics and Spearmen’s Rank Correlation to examine associations between data scores from sleep-onset symptom question groups and the global scores / each component scores on the Pittsburgh Sleep Quality Index (PSQI). Results: Two-third of the study participants have poor sleep quality. One-third of those with poor sleep quality have a problem with difficulty falling sleep. Difficulty falling asleep has a strong positive correlation with overall sleep quality, but weak to moderate correlation with other each PSQI components. Conclusion: Difficulty falling asleep is a common symptom. Gaining on insight into “difficulty falling asleep” is in real need.", "th": "ภูมิหลัง: มีผู้ที่ประสบปัญหาภาวะหลับยากอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งแม้บางครั้งปัญหานี้จะหายไปได้เอง แต่ก็มีไม่น้อยที่ปัญหานี้เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก จนในที่สุดจะมี perpetuating factors เข้ามาเป็นกลไกทางจิตใจสำคัญที่ทำให้ภาวะหลับยากลุกลามไปสู่โรคนอนไม่หลับ มากกว่า 80% ของผู้เป็นโรคนอนไม่หลับมีภาวะหลับยากเป็นองค์ประกอบสำคัญ วัตถุประสงค์: เพื่อให้เห็นสถานการณ์จริงที่ภาวะหลับยากปรากฎอยู่ในสังคมและเป็นพื้นฐานสำหรับการพัฒนาและจัดการความรู้ให้เกิดเป็นองค์ความรู้เพื่อใช้ประโยชน์ในการป้องกันไม่ให้ภาวะหลับยากลุกลามไปสู่โรคนอนไม่หลับ วิธีการ: ข้อมูลจากผู้ตอบแบบประเมินจากการสำรวจบน internet จำนวน 91 ฉบับได้รับการวิเคราะห์โดยใช้สถิติพรรณนาอธิบายข้อมูลที่ได้และใช้ Spearmen’s Rank Correlation เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะหลับยากกับคุณภาพการหลับโดยรวมและองค์ประกอบย่อยต่างๆของ PSQI ผล: สองในสามของผู้ร่วมศึกษามีปัญหาคุณภาพการหลับ หนึ่งในสามของผู้ที่มีปัญหาคุณภาพการหลับมีภาวะหลับยากและภาวะหลับยากมีความสัมพันธ์กับคุณภาพการหลับโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเชิงบวกระดับสูง แต่มีความสัมพันธ์กับองค์ประกอบย่อยของ PSQI อื่นๆในระดับต่ำถึงปานกลาง สรุป: ภาวะหลับยากเป็นอาการซึ่งพบได้บ่อย การทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้กับภาวะหลับยากเป็นความจำเป็น" }
{ "en": "อาการผิดปกติหรือภาวะแทรกซ้อนภายหลังการป่วยเป็นโควิด-19 (Long COVID) เป็นอาการ ที่ผู้ป่วยโควิด-19 มักพบ ภายหลังจากรักษาหายแล้ว ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นอาจแตกต่างกันไปโดยอาจเป็นอาการ ที่เกิดขึ้นใหม่หรือเป็นอาการที่หลงเหลืออยู่หลังรักษาหาย ซึ่งสามารถเกิดได้ในทุกระบบของร่างกาย ตั้งแต่ระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบประสาท และระบบภูมิคุ้มกัน โดยจะมีอาการภายหลังได้รับเชื้อ 4 ถึง 12 สัปดาห์เนื่องจากระหว่างการติดเชื้อ ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาเพื่อไปจับกับเซลล์โปรตีนของบางอวัยวะ ทำให้เกิดการอักเสบในร่างกายเป็นผลให้อวัยวะนั้นๆ ได้รับความเสียหาย ข้อมูลจากการทบทวนอย่างเป็นระบบและการวิเคราะห์อภิมานของ Lopez-Leon และ คณะ (2021)1 พบว่าผู้ที่เคยป่วยเป็นโควิด-19 จำนวน 47,910 ราย ส่วนใหญ่มีอาการเหนื่อย/อ่อนเพลีย คิดเป็นร้อยละ 58 รองลงมาคือ ปวดศีรษะ ความจำ/สมาธิสั้น ผมร่วง และหายใจลำบากคิดเป็นร้อยละ 44, 27, 25 และ 24 ตามลำดับ โดยผู้ป่วยร้อยละ 80 จะมีอาการที่เกิดภายหลังจากป่วยเป็นโควิด-19 อย่างน้อย 1 อาการ และมีรายงานการศึกษาในต่างประเทศพบว่า 2  ผู้ป่วยโควิดจะมีอาการของ Long COVID ได้ถึง 7 เดือน โดยเฉพาะอาการ ทั้ง ระบบ (systemic) และอาการทางระบบประสาท (neurological) หรือการรับรู้ (cognitive) โดยอาการ ที่เกิดขึ้นมักจะไม่หายเป็นปกติ เหมือนก่อนที่จะป่วย", "th": "อาการผิดปกติหรือภาวะแทรกซ้อนภายหลังการป่วยเป็นโควิด-19 (Long COVID) เป็นอาการ ที่ผู้ป่วยโควิด-19 มักพบ ภายหลังจากรักษาหายแล้ว ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นอาจแตกต่างกันไปโดยอาจเป็นอาการ ที่เกิดขึ้นใหม่หรือเป็นอาการที่หลงเหลืออยู่หลังรักษาหาย ซึ่งสามารถเกิดได้ในทุกระบบของร่างกาย ตั้งแต่ระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบประสาท และระบบภูมิคุ้มกัน โดยจะมีอาการภายหลังได้รับเชื้อ 4 ถึง 12 สัปดาห์เนื่องจากระหว่างการติดเชื้อ ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาเพื่อไปจับกับเซลล์โปรตีนของบางอวัยวะ ทำให้เกิดการอักเสบในร่างกายเป็นผลให้อวัยวะนั้นๆ ได้รับความเสียหาย ข้อมูลจากการทบทวนอย่างเป็นระบบและการวิเคราะห์อภิมานของ Lopez-Leon และ คณะ (2021)1 พบว่าผู้ที่เคยป่วยเป็นโควิด-19 จำนวน 47,910 ราย ส่วนใหญ่มีอาการเหนื่อย/อ่อนเพลีย คิดเป็นร้อยละ 58 รองลงมาคือ ปวดศีรษะ ความจำ/สมาธิสั้น ผมร่วง และหายใจลำบากคิดเป็นร้อยละ 44, 27, 25 และ 24 ตามลำดับ โดยผู้ป่วยร้อยละ 80 จะมีอาการที่เกิดภายหลังจากป่วยเป็นโควิด-19 อย่างน้อย 1 อาการ และมีรายงานการศึกษาในต่างประเทศพบว่า 2  ผู้ป่วยโควิดจะมีอาการของ Long COVID ได้ถึง 7 เดือน โดยเฉพาะอาการ ทั้ง ระบบ (systemic) และอาการทางระบบประสาท (neurological) หรือการรับรู้ (cognitive) โดยอาการ ที่เกิดขึ้นมักจะไม่หายเป็นปกติ เหมือนก่อนที่จะป่วย" }
README.md exists but content is empty. Use the Edit dataset card button to edit it.
Downloads last month
34
Edit dataset card