n_cabinet
int64 1
63
| text
stringlengths 484
77k
|
---|---|
1 | คณะรัฐมนตรี คณะที่ ๑
พระยามโนปกรณนิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์)
เป็นนายกรัฐมนตรี
ตั้งแต่วันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๔๗๕ - ๙ ธันวาคม ๒๔๗๕
แถลงนโยบาย เมื่อวันอังคารที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๔๗๕
ถือเอาหลัก ๖ ประการ ของคณะราษฎร เป็นนโยบายของคณะรัฐมนตรีคณะนี้*
๑. จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่น เอกราชในบ้านเมือง ในทางศาล ในทาง
เศรษฐกิจของประเทศไว้ให้มั่นคง
๒. จะรักษาความปลอดภัยในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก
๓. จะต้องบำรุงความสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจไทย รัฐบาลใหม่ จะพยายาม
หางานให้ราษฎรทำโดยเต็มความสามารถ จะร่างโครงการเศรษฐกิจ แห่งชาติ ไม่ปล่อย
ให้ราษฎรอดอยาก
๔. จะต้องให้ราษฎรได้มีสิทธิเสมอภาคกัน
๕. จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลัก ๔
ประการ ดังกล่าวแล้วข้างต้น
๖. จะต้องให้มีการศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร
(คณะกรรมการราษฎรคณะนี้ ไม่มีการแถลงนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินต่อสภา
แต่ได้ถือเอาหลัก ๖ ประการของคณะราษฎรที่ได้ให้สมาชิกสภาปฏิญาณตนต่อสภาก่อน
เข้ารับ หน้าที่นั้นเป็นนโยบายของรัฐบาล)
*รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ ๑/๒๔๗๕
วันอังคารที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ หน้า ๖ - ๗ |
2 | คณะรัฐมนตรี คณะที่ ๒
พระยามโนปกรณนิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์)
เป็นนายกรัฐมนตรี
ตั้งแต่วันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๕ - ๓๑ มีนาคม ๒๔๗๕
แถลงนโยบาย เมื่อวันอังคารที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๔๗๕
คำแถลงนโยบายของรัฐบาล*
ว่าโดยทั่ว ๆ ไป รัฐบาลนี้รับรองหลัก๖ประการที่คณะกรรมการราษฎรได้ดำเนินการอยู่แล้ว
เป็นจุดที่หมายที่จะดำเนินการต่อไปให้บรรลุถึงซึ่งความสำเร็จ
ก่อนที่จะกล่าวถึงหลัก ๖ ประการนั้น ใคร่จะขอแสดงถึงกิจการที่คณะกรรมการราษฎรซึ่ง เป็น
รัฐบาลอยู่ก่อนวันที่ ๑๐ เดือนนี้ ได้ดำริไว้และได้ลงมือกระทำไปแล้วรัฐบาลนี้เห็นชอบด้วยในกิจการนั้น ๆ
และจะดำเนินการต่อไปให้ลุล่วงตามแต่จะทำได้ ขอให้เป็นที่เข้าใจกันไว้ว่า เมื่อรัฐบาลนี้ได้รับความไว้ใจ
ของสภาแล้ว อายุของรัฐบาลนี้จะอยู่ไปจนกว่าสภาผู้แทนราษฎรจะประกอบด้วยสมาชิก ๒ ประเภท ตาม
รัฐธรรมนูญ เมื่อถึงเวลานั้นจะต้องลาออกกันหมดซึ่งเข้าใจว่าจะเป็นในตอนต้นปีหน้าในระหว่างนี้ มีเวลา
อีกไม่กี่เดือนแต่ก็จะพยายามดำเนินการต่อไปเท่าที่สามารถจะทำได้
กิจการที่กล่าวนั้น คือ
๑) คณะกรรมการราษฎรเห็นว่ารูปราชการทุกกระทรวงทบวงการที่เป็นอยู่ยังมีการก้าวก่ายไม่สม
แก่กาละ จึงได้คิดจัดวางโครงการเสียใหม่ คณะกรรมการราษฎรได้ตั้งอนุกรรมการขึ้นพิจารณาอนุกรรมการ
ได้ทำไปแล้วเกือบสำเร็จ ในบัดนี้รัฐบาลก็จะได้ดำเนินการต่อไปเมื่อวางรูปสำเร็จลงอย่างใดก็จะได้ทำเป็นรูป
พระราชบัญญัติเสนอให้สภาพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
๒) เทศบาล รัฐบาลนี้เห็นว่าวิธีการปกครองโดยรวมอำนาจและหน้าที่การปกครองทั่วประเทศให้มา
อยู่ในจุดศูนย์กลางจุดเดียวอย่างเช่นเดี๋ยวนี้ ไม่ได้ผลดีเท่ากับที่จะแบ่งอำนาจและหน้าที่ให้ไปอยู่ ในเฉพาะ
ท้องที่เสียบ้าง เพื่อว่าการปกครองในเฉพาะท้องที่หนึ่ง ๆจะได้มุ่งอยู่ในผลประโยชน์ของท้อง ที่นั้น ๆ วิธีจัด
ให้มีการปกครองเฉพาะท้องที่ขึ้นก็โดยวิธีจัดให้มีผู้แทนราษฎรในท้องที่นั้น ๆจัดการกันเอง วิธีการเช่นนี้เขา
ทำกันอยู่แล้วในนานาประเทศเมื่อครั้งรัฐบาลเก่าความคิดเช่นนี้ก็มีอยู่จนถึงได้ร่างพระราชบัญญัติเทศบาลขึ้น
ฉบับหนึ่งแต่ว่าด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งการมิได้ลุล่วงไปรัฐบาลนี้เห็นเป็นการสำคัญจะได้จัดให้มีเทศบาล หรือ
การปกครองท้องถิ่นขึ้นในราวต้นปีหน้า
๓) หน้าที่ของกรมร่างกฎหมายที่มีอยู่เวลานี้ก็เพียงร่างกฎหมายตามที่รัฐบาลจะสั่งให้ร่างอันที่จริง
กรมร่างกฎหมายควรจะเปลี่ยนรูปเป็นสภาและทำงานยิ่งขึ้นไปกว่านี้คือ นอกจากร่างกฎหมายแล้วให้มีหน้าที่
พิจารณาคดีปกครองด้วยวิธีนี้หลายประเทศได้ปฏิบัติกันและรัฐบาลนี้เห็นว่าประเทศสยามก็ควรจะนำเอามาใช้
๔) ระเบียบข้าราชการพลเรือนและข้าราชการตุลาการเวลานี้พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ
พลเรือนและข้าราชการตุลาการมีอยู่แล้วรัฐบาลนี้จะได้จัดให้ดำเนินการไปโดยเคร่งครัดในการแข่งขันเข้ารับ
หน้าที่การงาน ทั้งการเงินเดือน เลื่อนชั้น โดยหลักวิชาความรู้ให้เคร่งครัดยิ่งขึ้นอนึ่งจะได้วางหลักแบ่งประเภท
ข้าราชการเสียให้ชัดแจ้งเป็น ๓ ประะเภท คือ ประเภทการเมือง ประเภทสามัญและประเภทวิสามัญ
กล่าวโดยย่อ
ประเภทการเมือง ได้แก่ ตำแหน่งการเมือง เช่นตำแหน่งรัฐมนตรีและข้าราชการที่มีไว้สำหรับ
ประจำตัวรัฐมนตรี ฯลฯ ข้าราชการจำพวกนี้จะเข้าถือหรือออกจากตำแหน่งได้แล้วแต่ความเป็นไป ของ
การเมือง กล่าวคือแล้วแต่สภานี้จะไว้ใจในรัฐมนตรีนั้น ๆ หรือไม่
ประเภทสามัญ ได้แก่ข้าราชการประจำกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งมีหน้าที่ประจำอยู่เพื่อดำเนิน
ราชการไปตามระเบียบและตามนโยบายที่รัฐบาลจะได้สั่งหรือกำหนดไว้ให้ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง กับการเมือง
ข้าราชการประเภทนี้นับว่าเป็นประเภทสำคัญมากเหมือนกันเพราะว่าประเภท การเมืองนั้นเข้า ๆ ออก ๆ
ตามความเป็นไปของการเมือง แต่ข้าราชการประเภทนี้จะต้องอยู่ประจำดำเนินราชการ
ประเภทวิสามัญ ได้แก่ ข้าราชการที่รัฐบาลจ้างไว้เป็นพิเศษสำหรับข้าราชการในประเภทสามัญ
และประเภทวิสามัญนั้น ไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองดังกล่าวแล้ว เป็นแต่จะต้องปฏิบัติไปตามคำสั่งของผู้บังคับ
บัญชาโดยเคร่งครัดเพื่อที่จะให้ได้ผลดีข้าราชการจำพวกนั้นจะต้องได้รับความมั่นใจในความเป็นอยู่ของตน
กล่าวคือ ความมั่นใจในการที่จะได้เงินเดือนเลื่อนชั้น และความมั่นคงในหน้าที่เพื่อที่จะให้ได้ความมั่นใจ
ดั่งนี้ จำเป็นจะต้องมีระเบียบ มีหลัก มีเกณฑ์เป็นที่แน่นอน
วิถีซึ่งจะดำเนินไปสู่หลัก ๖ ประการที่กล่าวข้างต้นนั้น คือ
๑. เอกราช
ก. ในทางศาล
เวลานี้ย่อมรู้กันอยู่แล้วว่ามีหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีผูกมัดเราอยู่ เอกราชแห่งการศาล
ของเราจึงยังไม่บริบูรณ์ และเพื่อที่จะให้ผ่านพ้นข้อความนี้ ก็มีอยู่วิธีเดียว คือ รีบเร่งทำประมวลกฎหมาย
ออกมาให้ครบชุดตามหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรี รัฐบาลเก่าได้เริ่มการและร่างประมวลกฎหมายแพ่ง
และพาณิชย์ประกาศใช้แล้ว ๔ บรรพ เมื่อคณะกรรมการราษฎรเป็นรัฐบาลก็ได้รีบเร่งทำต่อมาแม้ในเวลา
อันน้อย เจ้าหน้าที่ก็ได้ร่างบรรพ ๕ สำเร็จขึ้นเสนอสภา บรรพ ๖ ก็ได้ร่างสำเร็จแล้วเหมือนกันและจะได้เสนอ
สภาในเร็ว ๆ นี้ต่อคงเหลือประมวลว่าด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ประมวลวิธีพิจารณาความแพ่ง และ
ประมวลวิธีพิจารณาความอาชญา ซึ่งกำลังรีบเร่งทำอยู่เวลานี้ เมื่อประมวลกฎหมายออกสำเร็จแล้ว หนังสือ
สัญญาทางพระราชไมตรีกำหนดไว้ว่าต่อไปอีก ๕ ปี เราจะได้เอกราชในทางศาลโดยบริบูรณ์
ข. ในทางเศรษฐกิจ
ข้อนี้จะได้กล่าวในตอนที่ว่าด้วยนโยบายแห่งการเศรษฐกิจ
ค. ในการเมือง
การนี้จะมั่นคงก็เนื่องจากผลแห่งการจัดวัตถุประสงค์อื่น ๆ ให้สำเร็จไป
๒. ความสงบภายใน
การรักษาความสงบภายในนี้จักต้องอาศัยการจัดระเบียบการปกครองซึ่งคณะกรรมการราษฎร
ได้จัดตั้งอนุกรรมการขึ้นพิจารณาแล้วประการหนึ่ง กับทั้งจักต้องอาศัยการบำรุงในทางเศรษฐกิจ
ให้ราษฎรได้มีอาชีพและมีความสุขสมบูรณ์ และจัดบำรุงการศึกษา ฯลฯ ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป
๓. เศรษฐกิจ
ข้อนี้สำคัญมาก จุดที่หมายของการนี้ย่อมรู้อยู่ทั่วกันแล้วและปรากฏอยู่ในหนังสือตำราปัจจุบัน
เป็นอันมากว่าความสุขสมบูรณ์ของมนุษยชนจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยได้รับความสุขกายสบายใจที่พูดดั่งนี้
ถ้าหวังแต่เพียงจะพูดอย่างเทศน์ให้ฟังก็เป็นของง่ายดายเต็มทีแต่ที่จะให้ได้รับผลจริงจังแล้วเป็นการ
ยากแสนยากโดยปกติคนเราถ้ารู้สึกมีเสรีภาพ ไม่ถูกบีบคั้น มีความเสมอภาคในกฎหมายและในโอกาส
การทำมาหาเลี้ยงชีพอยู่แล้วย่อมได้ความพอสุขใจพอควรความสุขกาย คนเราถ้ามีที่อยู่ มีอาหารกิน
มีอาชีพหรืออีกนัยหนึ่งมีเครื่องอุปโภคบริโภคพอควรแก่ชีวิตก็จัดว่าเป็นการสุขกายพอควรอยู่แล้ว
แต่ว่าราษฎรในเมืองเรามี๑๑ล้านเศษความรู้ความสามารถกำลังกายและอาชีพย่อมต่าง ๆ กันอยู่เป็นการ
ยากนักหนาที่จะจัดให้ได้รับความพอใจทั่วหน้าแต่ว่ารัฐบาลนี้และเชื่อว่ารัฐบาลใดในโลกก็จะมีความรู้สึก
เช่นเดียวกันคือความรู้สึกหน้าที่ที่จะต้องดำริวางโครงการให้ราษฎรมีโอกาสได้รับความสุขกายสบายใจ
ทั่วกันอย่างมากที่สุดที่จะทำได้ในเวลานี้เป็นเวลาที่เศรษฐกิจของโลกตกต่ำ การเงินฝืดเคืองทั่ว ๆ ไป
สินค้าสำคัญของเราคือข้าวราคาตกต่ำชาวนาของเราได้รับความยากแค้นมีกรรมกรที่ไม่มีงานทำเกิดขึ้น
บ้านเมืองจนลงโดยทั่ว ๆ ไป คณะกรรมการราษฎรได้ช่วยไปแล้วในเรื่องที่จำเป็นต้องช่วยทันทีเช่น
ลดภาษีอากร คุ้มครองทรัพย์ที่จะถูกยึด ควบคุมการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราในกฎหมายเหล่านี้เป็นต้น
ในเรื่องกรรมกร รัฐบาลได้คิดแล้วและได้ลงมือทำบ้างแล้วคือได้จัดให้มีทะเบียนกรรมกร
ที่ไม่มีงานขึ้นเพื่อให้รู้ว่าใครไม่มีงานทำบ้างใครต้องการทำงานบ้างเมื่อเวลาต้องการจักได้เรียกหาได้
การงานที่อยู่ในความคิดแล้วเช่นการที่จะให้สัมประทานต่อไปรัฐบาลจะได้กำหนดเป็นเงื่อนไขไว้ว่าให้ผู้รับ
สัมประทานใช้กรรมกรชาวสยามตามส่วนการงานของรัฐบาลก็จะเพียรใช้กรรมกรชาวสยามอย่างมากที่สุด
ที่จะทำได้เช่นในเวลานี้รัฐบาลได้เริ่มจัดให้กรรมกรแผนกช่างก่อสร้างได้มีงานทำบ้างแล้ว แต่ในการที่จะเริ่ม
ให้มีงานใด ๆ ขึ้นย่อมต้องใช้เงินซึ่งกำลังฝืดเคืองอยู่ทั่วไปแม้เช่นนั้นรัฐบาลก็มิได้วางมือกำลังพากเพียร
หาช่องทางที่จะทำอยู่เหมือนกันและก็มีความรู้สึกแน่ใจอยู่ว่าพอจะทำได้บ้างอย่างน้อยก็ผ่อนหนักให้เป็นเบา
มีเสียงร่ำร้องให้รัฐบาลตั้งโรงงานความคิดในการตั้งโรงงานนั้นมิใช่ว่าจะผ่านพ้นความคิดของรัฐบาลไป
ก็หาไม่ แต่ว่าก่อนที่จะเริ่มการใด ๆ จะต้องคิดทางได้ทางเสียให้รอบคอบ ต้องหาสถิติต้องพิจารณาว่าอะไร
ควรทำอะไรไม่ควร เมื่อแน่ใจแล้วว่ามีทางได้มากกว่าทางเสียจึงควรทำ ขอให้เป็นที่มั่นใจว่ารัฐบาลไม่ได้ลืม
ข้อความข้อนี้เลย
ในเรื่องกสิกร การช่วยเหลือโดยตรงที่มีอยู่ในเวลานี้คือสหกรณ์ให้กู้เงิน นอกจากนี้รัฐบาลมีความ
จำนงใจอยู่ที่จะจัดให้มีการร่วมกันในการกำเนิดผล (Production) เช่นร่วมมือกันในทางใช้เครื่องมือ
ในทางเทคนิคเป็นต้น ความร่วมกันในทางจำหน่ายความร่วมกันในทางซื้อของอุปโภคบริโภคการที่รัฐบาล
ดำริดั่งนี้ก็เพราะแน่ใจว่าคนเดียวทำกับหลายคนรวมกำลังกันทำนั้น หลายคนรวมกำลังกันย่อมได้ผลดีกว่า
ที่กล่าวมานี้เป็นหลักใหญ่ ซึ่งถ้าจะพูดถึงรายละเอียดแล้วก็จะเป็นสมุดเล่มหนึ่งทีเดียวและไม่ใช่ของทำได้
โดยเร็ววันคือจะต้องอาศัยการสอบสวนและคำนวณสถิติ การวางแผนเศรษฐกิจของชาตินี้ถ้าไม่ทำให้ถี่ถ้วน
คือรีบด่วนเกินไปแล้วความปั่นป่วนย่อมเกิดขึ้นไม่ว่าประเทศใด ๆ การวางแผนต้องใช้เวลาทั้งนี้มิใช่ว่ารัฐบาล
จะนอนใจรัฐบาลก็รีบเร่งทำอยู่แต่ลักษณะของกิจการนั้นเองต้องการเวลาซึ่งจะนิรมิตให้ทันทีไม่ได้รัฐบาลได้
กำหนดที่จะแบ่งระยะเวลาออกเป็นสมัย ๆ คือสมัยสอบสวนเตรียมการทดลองและสมัยลงมือปฏิบัติอย่างไรก็ดี
นโยบายอันเป็นหลักสำคัญของรัฐบาลที่จะดำเนินต่อไปในทางเศรษฐกิจนั้นมีจุดที่หมายอยู่ว่าจะสมัครสมาน
ผลประโยชน์ของคนทุกจำพวกให้ได้ผลดีด้วยกันทุก ๆ ฝ่าย
หลักการในเรื่องนี้มีเถียงกันอยู่เป็น ๒ ทาง ทางหนึ่งรัฐบาลเข้าจัดทำเองเสียทั้งหมดซึ่งเป็นการ
ตึงเกินไปอาจจะมีเสียยิ่งกว่าได้ และอาจเป็นการเดือดร้อนแก่บุคคลบางจำพวกอีกทางหนึ่งคือรัฐบาลไม่ทำ
อะไรเลย ปล่อยให้ราษฎรทำกันเองใครดีใครได้ใครกำลังน้อยก็ย่อยยับไปใครกำลังมากก็ฟุ่มเฟือยดั่งนี้
ก็เป็นการหย่อนเกินไปมีเสียมากกว่าได้เหมือนกันเพราะฉะนั้นจุดที่หมายของรัฐบาลนี้จึงคิดเข้ามีส่วน
ในกิจการที่เห็นเป็นสำคัญสำหรับประเทศสมควรทำเสียเองก็ทำสมควรเพียงแต่เข้าควบคุมก็เพียงแต่
ควบคุมสุดแต่จะเห็นว่าเป็นประโยชน์ยิ่งสำหรับบุคคลทั่วไปจะเอาประโยชน์ของคนหมู่หนึ่งเป็นที่ตั้งและ
ไม่คิดถึงประโยชน์ของคนอีกหมู่หนึ่งนั้นหามิได้ในเรื่องกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินนั้นตั้งแต่เริ่มการเปลี่ยนแปลง
การปกครองมาคณะกรรมการราษฎรได้พูดไว้หลายครั้งและรัฐบาลนี้ก็ยังจะพูดและถือต่อไปว่าทรัพย์ของ
ราษฎรทั้งหลายจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายดุจดั่งประเทศอื่น ๆ
๔. สิทธิเสมอภาค และ ๕. เสรีภาพ
การนี้จะทำได้ก็โดยอาศัยบัญญัติกฎหมายเลิกสิทธิพิเศษดังปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญแล้ว
๖. การศึกษา
เพื่อที่จะให้พลเมืองมีการศึกษาโดยแพร่หลายจะต้องอนุโลมตามระเบียบการปกครองที่ให้
เข้าลักษณะเดียวกับแผนเศรษฐกิจแห่งชาติดั่งจะได้กล่าวในตอนนโยบายธรรมการต่อไป
นโยบายซึ่งกระทรวงต่าง ๆ จะปฏิบัติประกอบไปกับนโยบายทั่วไปนั้น ดังนี้
นโยบายทางพระคลังมหาสมบัติ
เท่าที่แล้วมารัฐบาลได้รู้สึกความตกต่ำของเศรษฐกิจเห็นความฝืดเคืองยากแค้นของราษฎร
จึงได้ลดภาษีอากรมีภาษีนาภาษีสวนเป็นต้นเพราะเห็นว่าพวกกสิกรเป็นผู้ที่ได้รับความยากแค้นขัดสนมาก
แต่ว่าประเทศต้องใช้เงินในการดำเนินการและในการลงทุนเพื่อบำรุงราษฎรทั้งหลายสิ่งเหล่านี้ต้องใช้เงิน
รายได้ของรัฐบาลมีแต่ในทางภาษีถ้าจะมีแต่การลดภาษีไม่มีการเก็บภาษีบ้างรัฐบาลก็จะไม่มีเงินใช้แต่ว่า
การที่คิดเก็บก็ได้ระวังแล้วที่จะไม่ให้เป็นการเดือดร้อนคือเก็บจากผู้ที่พอจะเสียได้และเสียได้โดยไม่มี
ความยากแค้นโดยไม่กระทำให้กิจการค้าขายต้องลดถอยเพราะเหตุภาษีตัวอย่างที่ได้ทำมาแล้ว คือ
เก็บภาษีจากธนาคาร เป็นต้น
นอกจากนี้ รัฐบาลเห็นว่าวิธีภาษีอากรของเราในปัจจุบันนี้ไม่ใคร่จะสมกับเหตุการณ์อยู่บ้าง
กำลังคิดอ่านที่จะวางโครงการภาษีใหม่
งบประมาณปีนี้กะจำนวนไว้ตามที่ปรากฏในพระราชบัญญัติว่าจะได้ถึง ๗๔ ล้าน และได้
กำหนดรายจ่ายไว้ ๗๔ ล้านเหมือนกันเมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองคณะกรรมการราษฎรเห็นว่ารายได้
จะได้ไม่ถึงเท่าที่กำหนดไว้และไหนจะต้องลดภาษีอากรลงมาเพื่อช่วยกสิกรภาษีใหม่ที่จะเก็บได้ก็ไม่เท่ากับ
จำนวนที่ต้องลดแต่ว่าเป็นความจำเป็นต้องลดเพื่อช่วยกสิกรจึงได้พากเพียรตัดรายจ่ายลงจนเป็นผล
ในเวลานี้ประมาณว่ารายได้รายจ่ายจะพอไล่เลี่ยกันในราวจำนวน ๗๑ ล้านแต่ว่าที่จะให้ผลดั่งนี้กระทรวง
พระคลังมหาสมบัติจะจำต้องควบคุมการใช้จ่ายอย่างเข้มงวดกวดขัน
มีเงินกู้ต่างประเทศอยู่รายหนึ่งที่รัฐบาลเรากู้ต่างประเทศเสียดอกเบี้ยแพงถึงร้อยละเจ็ด
รัฐบาลเห็นว่าเรามีเงินที่สะสมไว้สำหรับใช้หนี้พอจะใช้เขาได้ถ้าหากเราต้องการเงินเพื่อลงทุนรอนต่อไป
ก็จะกู้ใหม่ได้โดยดอกเบี้ยถูกกว่านั้นมากจึงได้ประกาศบอกล่วงหน้าใช้หนี้รายนั้นเสียสำหรับปีหน้าเรา
ได้ทุ่นค่าดอกเบี้ยสำหรับเงินกู้รายนี้ประมาณ ๑,๕๐๐,๐๐๐ บาทเศษเป็นการช่วยงบประมาณปีหน้าซึ่งหวัง
ว่าจะสู่ดุลยภาพได้โดยสะดวก
นโยบายในการป้องกันประเทศ
ในการป้องกันประเทศนั้นรัฐบาลคงดำเนินนโยบายที่รัฐบาลเก่าได้ดำเนินมาแล้วคือเตรียม
กำลังทหารไว้ให้พอสำหรับความสงบภายในและรักษาอิสระภาพของประเทศ
นโยบายในการต่างประเทศ
ในการต่างประเทศนั้น รัฐบาลจะพยายามรักษาความสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศ ในการนี้
เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องดำเนินการทุกอย่างที่จะบำรุงความเข้าใจอันดีซึ่งมีอยู่ระหว่างกันในขณะนี้และ
ส่งเสริมความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกันให้ยิ่งขึ้นรัฐบาลจะคงพยายามปฏิบัติให้เป็นไปตามหนังสือ
สัญญาและพันธกรณีที่มีอยู่กับนานาประเทศโดยเคร่งครัดทุกประการและต่อไปเมื่อหนังสือสัญญาทาง
พระราชไมตรีที่มีอยู่ ณ บัดนี้ ครบกำหนดอายุแล้วก็จะได้ดำริถึงการต่ออายุหรือแก้ไขเพิ่มเติมให้เหมาะ
แก่กาลสมัยส่วนในทางสมาคมสันนิบาตชาตินั้นเล่ารัฐบาลยังคงเล็งเห็นความสำคัญและพร้อมที่จะสนับสนุน
กิจการของสันนิบาตชาติอยู่เสมอ
นโยบายทางเกษตรพาณิชย์
ความตกต่ำในเศรษฐกิจของโลกเท่าที่กระทบมาถึงประเทศเราเป็นเหตุให้ราคาสินค้า
ของเราตกต่ำซึ่งรัฐบาลไม่อาจผันแปรแก้ไขได้โดยทางตรงหรือโดยปัจจุบันทันด่วนแต่รัฐบาลจะ
ต้องพยายามป้องกันและแก้อุปสรรคทั้งภายในและภายนอกประเทศอันกีดขัดต่อการจำหน่ายสินค้า
ของราษฎรให้ได้ราคาดีในบรรดาสินค้าซึ่งเป็นอุปกรณ์ให้การค้าของสยามได้เปรียบในดุลยภาพนั้น
ในขณะนี้ไม่มีประเภทใดสำคัญกว่าข้าวเหตุฉะนั้นการช่วยชาวนาผู้กำเนิดสินค้านี้โดยทางตรงและ
โดยทางอ้อมจึงต้องนับว่าเป็นการสำคัญและเร่งร้อนที่สุดทั้งการพยายามแก้เงื่อนสำคัญนี้ก็จะเป็น
วิธีช่วยส่งเสริมความกำเนิดทรัพย์และสินค้าประเภทอื่นด้วย
ปัญหาสำคัญในเวลานี้คือ ภาระของชาวนา มีหนี้ ขาดเงินทุนที่จะลงต่อไป ราคาข้าวถูก รัฐบาล
เห็นใจอยู่แล้วและจำนงที่จะช่วยอย่างที่สุดที่จะทำได้ สิ่งใดพอที่จะทำได้ก่อนก็ได้รีบทำไปแล้ว เช่น
การลดหย่อนภาษีค่านา และระหว่างนี้ก็กำลังจะขยายการสหกรณ์ให้กว้างขวางขึ้น เป็นการค้ำจุนในทาง
ทุนรอนและผ่อนผันภาระอันหนักบ่าอยู่นั้นและสอบสวนเหตุการณ์ต่อไปในความเป็นอยู่ในทางหนี้สินในทาง
ทุนรอนในวิธีการที่จะทำให้เกิดผลในทางจำหน่ายเพื่อหาวิธีช่วยเหลือให้มีโอกาสบังเกิดความพอกพูน
ได้บ้าง แต่ขอให้เห็นใจรัฐบาลบ้างว่าการเช่นนั้นเป็นการใหญ่จะทำกันกระทันหันไม่ได้ ต้องคิดต้องเตรียม
ต้องทดลองอย่างรอบคอบระหว่างนี้จะได้ก้าวหน้าต่อไปในการช่วยกสิกรทางตรงอีกอย่างหนึ่งคือ การเลือก
พันธ์ข้าวเพื่อสะดวกแก่การที่จะตั้งมาตราฐานสินค้าข้าวขึ้น และเพื่อยังไว้ซึ่งชื่อเสียงแห่งเข้าไทยในตลาด
ต่างประเทศที่กำลังผันแปรอยู่เป็นอันมากในขณะนี้เนื่องด้วยเขื่อนภาษีซึ่งบางประเทศตั้งหรือดำริจะตั้งกันขึ้น
อนึ่งในการที่อุดหนุนการเพาะปลูกของประเทศรัฐบาลจำต้องดำเนินการทดลองพืชผลอย่างอื่นทั้งในประเทศ
ซึ่งอาจใช้ปลูกสลับกับข้าวในที่ลุ่มและในประเทศซึ่งเหมาะแก่ที่ดอน เป็นต้น
การอำนวยให้มีปลาน้ำจืดพอแก่ความต้องการภายในประเทศ และการจัดปรุงให้มีปริมาณปลาขึ้น
เป็นสินค้านอกประเทศได้นั้นก็เป็นการอุดหนุนราษฎรโดยทางตรงในกรณีนี้ปัญหาสำคัญอยู่ที่การแก้ไข
วิธีผูกขาดการจับปลาและการเปลี่ยนแปลงอัตราอากรค่าน้ำให้เป็นอุปสรรคในการประมงอย่างน้อยที่สุด
ที่จะเป็นไปได้ การจับปลาตามชายฝั่งทะเลและน้ำลึกก็เป็นปัญหาอีกข้อหนึ่งซึ่งรัฐบาลหวังว่าจะเผยแผ่
ออกไปอีกได้โดยการร่วมมือกันระหว่างราชนาวีกับเจ้าหน้าที่รักษาสัตว์น้ำ
อนึ่งในการที่รัฐบาลได้ตั้งกรรมการเผยแผ่กรุงเทพฯ เป็นเมืองท่าสำคัญมากขึ้นนั้เท่าที่กรรมการ
ได้ปรึกษาเรื่องนี้มาแล้วในระยะเวลาสั้นนี้ ปรากฏว่าไม่เป็นปัญหาอีกต่อไปแล้วว่าจะต้องขุดร่องน้ำที่สันดอน
และในชั้นต้นจะได้ลงมือขุดสันดอนตอนกลางและตอนนอกลงไปลึกระหว่างสองกับห้าฟิดเพื่อเป็นการทดลอง
ให้ทราบผลการเปลี่ยนแปลงของกระแสน้ำและอาการที่สันดอนจะตื้นขึ้นประการใดบ้างในการที่จะต้องทดลอง
ทีละน้อยก่อนเช่นนี้ก็เพราะเป็นห่วงชาวสวนการขุดตอนต้นนี้ถึงแม้ว่าจะเป็นการทดลองก็ย่อมเป็นประโยชน์
แก่การเดินเรือค้า โดยที่เรือลำเลียงจะสามารถผ่านสันดอนได้ทุกขณะทั้งจะสามารถบรรทุกสินค้าเพิ่มขึ้น
ได้ในเรือขนาดใหญ่ซึ่งผ่านสันดอนไปมาอีกเป็นอันมากด้วย นอกจากนั้นเมื่อเรือใหญ่เข้ามาบรรทุกข้าว
ได้ก็เป็นการทุ่นค่าบรรทุกเรือลำเลียง ทั้งนี้เป็นทางหนึ่งที่ช่วยขยับราคาข้าวให้สูงขึ้นได้
นโยบายทางธรรมการ
๑) จะประกาศใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษาให้ทั่วทั้งกรุงเทพฯ และหัวเมืองเพื่อให้ได้ปริมาณ
ตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
๒) ในส่วนการปรับปรุงคุณสมบัติแห่งการศึกษาทั่วไป จะแก้ไขให้วิเศษขึ้นด้วยตั้งพิธีฝึกหัดครู
ทุกประเภททุกชั้นจนพอแก่การ เพราะการสอนจะสำเร็จเป็นผลดีสมหมายก็ด้วยได้มีผู้สอนแต่ล้วนเป็นครู
ที่ได้ฝึกหัดอบรมมาดีแล้ว
๓) ในส่วนวิชาอาชีพ จะรีบจัดตั้งโรงเรียนวิสามัญศึกษาทั้งแผนกกสิกรรม อุตสาหกรรม
และพาณิชยการให้ครบครัน ตั้งต้นแต่ประถมศึกษาขึ้นไปเพื่อจะได้ไม่มีแต่การเรียนหนังสือ
เป็นสามัญศึกษาไปส่วนเดียวเหมือนเดี๋ยวนี้
๔) ในส่วนการศึกษาชั้นสูงจะได้จัดมหาวิทยาลัยให้สามารถสอนชั้นปริญญาที่เราต้องการให้
ทัดเทียมกับมหาวิทยาลัยในนานาประเทศ เพื่อผู้เรียนจะได้สำเร็จการศึกษาชั้นอุดมได้ในเมืองเราเอง
โรงเรียนมัธยมบริบูรณ์สำหรับสอนนักเรียนป้อนมหาวิทยาลัยก็จะจัดให้มีในหัวเมืองด้วยเพื่อเด็กมีเชาวน์
ผู้เกิดในท้องถิ่นต่าง ๆ จะได้เข้าถึงการเรียนชั้นนี้ได้สะดวก
๕) ในส่วนเครื่องอุปกรณ์การศึกษา เช่น แบบเรียน ห้องสมุด ทุนเล่าเรียน
การกีฬา การอนุสภากาชาด การลูกเสือ ฯลฯ เหล่านี้ก็จะจัดให้มีขึ้นแพร่หลายจนพอความต้องการ
๖) จะอุปถัมภ์การศาสนา อันเป็นปัจจัยสำคัญในการอบรมมนุษยธรรมให้สำเร็จประโยชน์
แห่งการอบรมนั้นยิ่งขึ้นแผนดำเนินการทั้งหมดนี้จะต้องดำเนินไปพร้อมกัน เพื่อให้เป็นอุปกรณ์แห่งกัน
และกัน และจะเร่งรัดจัดทำตามกำลังทุนที่มีพอจะทำได้
นโยบายทางมหาดไทย
นโยบายทางมหาดไทยนั้นต้องแล้วแต่นโยบายทั่วไปของรัฐบาลซึ่งเมื่อได้จัดระเบียบ
และวางทางการไว้แล้วอย่างไรก็ต้องหันเข็มตามนโยบายนั้นการจัดระเบียบนั้นได้กล่าวแล้วในตอนต้น
ว่าจะต้องทำเป็นพระราชบัญญัติ
ในเรื่องสาธารณสุขนั้นแต่เดิมก็ได้ทำมาบ้างแล้วในกาลต่อไปจะพยายามขยายการบำบัดโรค
และการอนามัยให้แพร่หลายยิ่งขึ้น เช่น จัดให้มีโรงพยาบาลหรือสุขศาลาขึ้นในท้องที่ต่าง ๆ เพื่อราษฎร
จะมารับการบำบัดโรคหรือติดต่อกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขไดโดยสะดวกการควบคุมโรคติดต่อที่สำคัญ
เช่น ไข้จับสั่น โรคเรื้อน วัณโรค ฯลฯ ก็เป็นปัญหาที่อยู่ในโครงการที่จะจัดการให้เป็นผลยิ่งขึ้น นอกจากนี้
การแก้ไขลักษณะสุขาภิบาลโดยทั่วไปนับว่าเป็นการสำคัญอันหนึ่งในวงงานสาธารณสุขซึ่งรัฐบาลจะได้
จัดการให้เป็นผลดียิ่งขึ้นด้วยในการปราบปรามโจรผู้ร้ายนั้นเป็นปัญหาใหญ่ที่จะต้องพิจารณาเพ่งเล็ง
ถึงสาเหตุและทางป้องกันพร้อมด้วยกันกับทางแก้ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญอยู่ในเวลานี้ในเรื่องนี้รัฐบาล
ได้ดำริที่จะหาหนทางอบรมพลเมืองในทางจรรยาและศีลธรรมกับในทางจัดการงานที่เป็นอาชีพให้มั่นคง
ยิ่งขึ้นทั้งดำริจัดระเบียบการราชทัณฑ์อันเกี่ยวแก่การอบรมสั่งสอนเกี่ยวกับหัตถกรรม อุตสาหกรรม
และอื่น ๆ ของนักโทษ และจะจัดโรงเรียนดัดสันดาน
นโยบายทางการศาลยุติธรรม
ในทางการศาลยุติธรรมข้อสำคัญที่จะต้องจัดก็คือ ระเบียบการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี ซึ่ง
จะต้องให้ได้ดำเนินไปโดยความยุติธรรม แต่การที่จะจัดนี้ก็รวมอยู่ในการจัดประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
แพ่งและอาชญา กับพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ซึ่งการร่างประมวลเหล่านี้กำลังดำเนินอยู่โดยรีบร้อน
ดั่งได้กล่าวมาแล้วในตอนต้น อีกประการหนึ่งการเลือกคัดบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่งตุลาการ
ก็จะได้ใช้วิธีเลือกโดยสอบไล่แข่งขันอันรวมอยู่ในนโยบายทั่วไปของรัฐบาลนั้นแล้ว
*รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ ๔๗/๒๔๗๕ (วิสามัญ)
วันอังคารที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ หน้า ๖๘๗ - ๗๐๔ |
3 | คณะรัฐมนตรี คณะที่ ๓
พระยามโนปกรณนิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์)
เป็นนายกรัฐมนตรี
ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๔๗๖ - ๒๐ มิถุนายน ๒๔๗๖
คำแถลงนโยบายของรัฐบาล*
เพื่อให้สภาผู้แทนราษฎรลงมติไว้วางใจตามรัฐธรรมนูญได้ในวันนี้ ข้าพเจ้าของแถลงนโยบายของรัฐบาลให้ที่ประชุมฟัง ดังนี้
รัฐบาลนี้จะดำเนินนโยบายตามหลัก ๖ ประการ ต่อจากรัฐบาลที่แล้วมา เพื่อให้ประเทศชาติเจริญก้าวหน้าสืบไปตามวิถีทางรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุขของชาติ
บัดนี้ ราชการในพระราชสำนักได้จัดขึ้นเป็นกระทรวง มีรัฐมนตรีว่าการแล้วเป็นอันว่าจะได้เข้าสู่ฐานะที่สมสภาพและสมพระเกรียติยศต่อไป
ความเป็นเอกราชของชาติจะบริบรูณ์ ก็ต่อเมื่อใช้อำนาจอธิปไตยได้เต็มที่รัฐบาลนี้จะได้เร่งรัดให้ประกาศใช้ประมวลกฎหมายที่ยังค้างอยู่นั้นโดยเร็วที่สุด
ฝ่ายอำนาจตุลาการนั้น รัฐบาลนี้จะได้จัดให้เป็นอิสระสมดังความจำนงในรัฐธรรมนูญ โดยจัดตั้งคณะกรรมการตุลาการเพื่อช่วยเหลือกิจการทางศาล ในอันจะให้ความอิสระแก่ผู้พิพากษาตามรัฐธรรมนูญ โดยจัดฐานะตุลาการให้มั่นคงตามความต้องการโดยจัดแยกตำแหน่งหน้าที่ตุลาการให้ขาดจากการเมือง กับจะได้ตั้งกรรมการประมวลข้อบังคับและระเบียบศาลให้เรียบร้อยเป็นแบบเดียวกันทั่วราชอาณาจักร
ส่วนอำนาจบริหารนั้น ในเวลานี้มีกรณียกิจเบื้องต้นในอันจะรักษาความสงบ ความมั่นคงและความสามัคคี รัฐบาลนี้จะป้องภัยต่อสันติภาพของประชาชนทุกประการ ไม่ว่าจะเป็นภัยเนื่องมาแต่การกบฏ การคอมมิวนิสต์หรือการระส่ำระสายใด ๆ อื่น
รัฐบาลนี้จะส่งเสริมพระราชไมตรีกับนานาประเทศ ซึ่งมีอยู่แล้วเป็นอย่างดีนั้นให้สนิทสนมยิ่งขึ้น
เมื่อทางพระราชไมตรีเป็นที่เรียบร้อยอยู่เช่นนั้น ความสงบอันจะพึงรักษาก็คือความสงบภายในเป็นสำคัญ ฝ่ายทหารได้เตรียมพร้อมที่จะเข้าช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ปกครองท้องถิ่นในเมื่อมีเหตุฉุกเฉินขึ้น
ทางฝ่ายกระทรวงมหาดไทย ก็ได้วางนโยบายในการรักษาความปลอดภัยไว้อย่างกว้างขวาง เช่น จะได้บำรุงกำลังและปรับปรุงระเบียบการของตำรวจและของเจ้าหน้าที่กรมมหาดไทยไห้ดียิ่งขึ้น และจะได้จัดการราชทัณฑ์ ไปในทางอบรมดัดนิสัยสันดารเพื่อให้นักโทษมีนิสัยไปทางทำงานและทำคุณประโยชน์
แต่ในทางรักษาสันติสุขนั้น นอกจากวิธีปราบแล้ว จะต้องใช้วิธีบำรุงประกอบไปด้วย รัฐบาลจะบำรุงการสาธารณสุขโดยขยายการบำบัดโรคและการอนามัยให้แพร่หลายยิ่งขึ้น และโดยจัดให้มีผู้ตรวจการสุขาภิบาล ซึ่งมีความรู้ในการสุขาภิบาลแผนปัจจุบัน เพื่อช่อยเหลือราษฎรตามชนบทต่าง ๆ รัฐบาลจะบำรุงการสาธารณูปการ โดยจัดให้มีการสงเคราะห์คนอนาถาและคนทุพพลภาพ รัฐบาลจะบำรุงความผาสุกของประชาชนพลเมืองทั่งไป โดยส่งเสริมเทศบาลการศึกษาและเศรษฐกิจ
เทศบาล คือระเบียบการปกครองท้องถิ่น ซึ่งราษฎรมีเสียงในการดูแลและจัดการผลประโยชน์ในท้องถิ่นนั้น รัฐบาลนี้จะได้จัดตั้งและขยายเทศบาลออกไปตามตำบลต่าง ๆ ทั่งราชอาณาจักรโดยเร็วที่สุดที่จะอบรมเจ้าหน้าที่ในการใหม่นี้ได้ เทศบาลเป็นการศึกษาอย่างหนึ่งด้วยคือ เป็นวิธีราษฎรจะได้รับความฝึกหัดอบรมในวิธีการปกครองแบบรัฐธรรมนูญนั้นด้วย
ส่วนการศึกษานั้น มีแผนการศึกษาและมีนโยบายวางไว้เป็นบรรทัดฐานดีแล้วรัฐบาลนี้จะได้หาวิธีทางดี ซึ่งจะได้นำไปให้ถึงจุดที่หลายให้พลเมืองรู้จักระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ให้ได้มีความเป็นอยู่เหมาะสมแก่สมัยรัฐธรรมนูญ รัฐบาลนี้จะได้ดำเนินการตามแนวความคิดนี้ให้ได้ผลอันไพบูลย์ยิ่งขึ้นเป็นลำดับ ในการจะฝึกฝนให้ประชาชนเป็นพลเมืองดีนั้น จะต้องฝึกฝนทั้งทางการจรรยาและใจ รวมกันไป และให้ผู้ที่ได้รับการศึกษาแล้วได้ดำเนินการอาชีพ ปฏิบัติหน้าที่พลเมืองตามรัฐธรรมนูญได้ดี รัฐบาลนี้จะได้บำรุงการศึกษาทางอาชีพและการหาวิชาความรู้ตามความต้องการแห่งรัฐธรรมนูญ เป็นต้นว่าขยายประถมศึกษาให้แพร่หลายและขยายการศึกษาวิชาการรัฐธรรมนูญ ยึดถือการปฏิบัติฝึกหัด งานให้สำคัญยิ่งขึ้นกว่าที่แล้วมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้ผู้ที่ผ่านพ้นการศึกษาในโรงเรียนไปแล้ว ได้มีโอกาสฝึกฝนตนเองได้ไม่ละทิ้งเสีย และให้ทุกคนมีโอกาสหาความรู้ได้อย่างเต็มที่ที่จะจัดได้ตามระบอบประชาธิปไตย รัฐบาลนี้จะบำรุงพลศึกษาให้เป็นการศึกษาเพื่อวินัยด้วย ส่วนในเรื่องธรรมกับการศึกษานั้น รัฐบาลนี้เห็นว่าควรจะเป็นอุปการะแก่กันและกันจึงจะได้บำรุงส่งเสริมและจัดการให้ได้ประสานงานกันอย่างสนิทสนมดียิ่งขึ้น อนึ่งในทางศิลปของชาติ รัฐบาลนี้ก็จะไม่ละเลย แต่หากจะบำรุงเท่าที่จะทำได้ ส่วนวิธีการศึกษา ศึกษาโดยทั่วไปที่จะให้ได้ประโยชน์สมหวังดังว่ามานั้น รัฐบาลนี้จะจัดการปรับปรุงหลักสูตรและสรรพตำรา กับทั้งบำรุงฐานะและคุณสมบัติของครูและอาจารย์ให้สมกับวิชาครูเป็นวิชาชีพและที่ครูจะเป็นผู้อบรมสั่งสอนกุลบุตรกุลธิดาสืบไป
การบำรุงเศรษฐกิจของบ้านเมืองนั้น รัฐบาลก่อนได้วางแผนการเป็นทางดำเนินการไปแล้ว รัฐบาลนี้จะดำเนินการตามแผนการนั้นตลอดไป รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการจะได้แถลงนโยบายรายละเอียดให้ทราบ
อุปสรรคเรื่องข้าวราคาตกนั้น รัฐบาลกำลังพยายามแก้ไขอยู่แล้ว จะได้ให้ทราบนโยบายในเวลาอันควร
ตามฐานะเศรษฐกิจเวลานี้ ยังจะหวังไม่ได้ว่ารายได้จะเพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้นจะต้องระมัดระวังรายจ่าย งบประมาณจึงจะเข้าสู่ดุลยภาพ และอยู่มีความมั่นคงได้แต่รัฐบาลนี้จะปรับปรุงวิธีการเก็บภาษีอากรบางอย่างเพื่อให้ได้เงินซึ่งควรจะได้ และเพื่อบรรเทาภาระของราษฎร รัฐบาลนี้จะหาทางลดเงินรัชชูปการลงตามสมควร ในส่วนการบำรุงเศรษฐกิจนั้น ถ้ารายจ่ายอันใดจำเป็น เช่นว่า จะตั้งฉางก็ดี ขยายสหกรณ์ก็ดี หรือบำรุงรักษาและขยายกิจการที่ได้ลงทุนไปแล้ว เช่น การชลประทาน การรถไฟ และการสร้างถนนก็ดี รัฐบาลจะจัดสรรเงินมาตั้งจ่ายให้ ข้อสำคัญอีกข้อหนึ่งคือความมั่นคงแห่งเงินตรา ซึ่งรัฐบาลเชื่อว่าการที่จะรักษาอัตราแลกเปลี่ยนเงินให้คงที่ดังได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติเงินตรานั้น เป็นทางที่ควรสำหรับกรุงสยาม
ราชการส่วนต่าง ๆ จะดำเนินไปได้สะดวก ก็ย่อยแล้วแต่สมรรถภาพของข้าราชการ รัฐบาลนี้จะปรับปรุงระเบียบข้าราชการพลเรือน เพื่อให้โอกาสแก่ผู้ที่มีความรู้และความสามารถจริง ๆ ให้มั่งคงแก่ข้าราชการประจำนั้น ๆ
เพื่อให้ราษฎรได้รับการปกครองในทางที่เป็นธรรม รัฐบาลนี้จะได้วางบทวิเคราะห์คดีปกครอง และวางวิธีพิจารณาคดีปกครอง
ความมุ่งหมายอันยิ่งใหญ่ของรัฐบาลนี้ก็คือ จะบำรุงฐานะของราษฎรให้เป็นพลเมืองดีตามวิถีรัฐธรรมนูญ ซึ่งสำนักงานโฆษณาการจะได้ดำเนินการเผยแพร่อบรมต่อไป
ด้วยความช่วยเหลือของท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รัฐบาลนี้หวังว่าประชาชนชาวไทยจะเจริญก้าวหน้าด้วยความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และรัฐธรรมนูญสืบไป |
4 | คณะรัฐมนตรี คณะที่ ๔
นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)
เป็นนายกรัฐมนตรี
ตั้งแต่วันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๗๖ - ๑๕ ธันวาคม ๒๕๗๖
แถลงนโยบาย เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๔๗๖
คำแถลงนโยบายของรัฐบาล*
"รัฐบาลนี้ได้ตั้งขึ้นเพื่อให้ราชการเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ จึงจะได้รักษาไว้ให้มั่นคงสถาพร
เพื่อความสงบสุขของราษฎร"
"รัฐบาลนี้จะเจริญทางพระราชไมตรีกับนานาประเทศให้สนิทสนมยิ่งขึ้น"
"รัฐบาลนี้เห็นว่าหลัก ๖ประการที่สภาผู้แทนราษฎรได้รับรองแล้วนั้นเป็นหลักนโยบาย
ที่ทุกกระทรวงทบวงการจะร่วมมือกันดำเนินการต่อไปได้"
"นอกจากการบำรุงราษฎรในทางอาชีพ ทางศึกษา และทางอื่น ๆ ซึ่งรัฐบาลสนในบำรุงอย่าง
ที่สุดแล้ว รัฐบาลจะได้รักษาความสงบเรียบร้อยให้ประชาชนไว้วางใจซึ่งกันและกันและร่วมสามัคคี
กัน เพราะฉะนั้น รัฐบาลจะกำจัดลัทธิคอมมิวนิสม์โดยเคร่งครัด"
"รัฐบาลนี้ตั้งใจจะรักษาอัตราแลกเปลี่ยนซึ่งใช้อยู่ ณ บัดนี้ ในตอนนี้ร่างเดิมมีว่า" ในการเงิน
รัฐบาล มีเจตนาจะคงเดิมนโยบายดั่งที่ดำเนินอยู่ ณ บัดนี้" และเมื่อแก้ใหม่ในฉบับภาษาอังกฤษจึง
แก้ตามไปด้วย ว่า "The Government intends to maintain the present rate of exchange"
ตามที่นายกรัฐมนตรีขอแก้" อาศัยหลักนโยบายซึ่งรัฐบาลได้กล่าวมาข้างต้นนี้ รัฐบาลมีความหวังว่า
ประชาชนพลเมืองจะได้ดำรงอยู่ในสันติสุข และจะได้ช่วยรับบาลปฏิบัติการให้เป็นไปเพื่อความเจริญ
ของชาติบ้านเมือง"
*รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ ๓/๒๔๗๖ (วิสามัญ)
วันจันทร์ที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๔๗๖ หน้า ๕๘ - ๕๙ |
5 | คณะรัฐมนตรี คณะที่ ๕
นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)
เป็นนายกรัฐมนตรี
ตั้งแต่วันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๔๗๖ - ๒๑ กันยายน ๒๔๗๗
แถลงนโยบาย เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๔๗๖
คำแถลงนโยบายของรัฐบาล*
รัฐบาลนี้จะดำเนินนโยบายตามหลัก ๖ ประการ ต่อจากรัฐบาลที่แล้วมา เพื่อให้ประเทศชาติ
เจริญก้าวหน้าสืบไปตามวิถีทางรัฐธรรมนูญซึ่งมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของชาติ
บัดนี้ราชการในพระราชสำนักได้จัดขึ้นเป็นกระทรวง มีรัฐมนตรีว่าการแล้วเป็นอันว่าจะได้
เข้าสู่ฐานะที่สมสภาและสมพระเกียรติยศต่อไป
ความเป็นเอกราชของชาติจะบริบูรณ์ ก็ต่อเมื่อใช้อำนาจอธิปไตยได้เต็มที่ รัฐบาลนี้จะได้เร่งรัด
ให้ประกาศใช้ประมวลกฎหมายที่ยังค้างอยู่นั้นโดยเร็วที่สุด
ฝ่ายอำนาจตุลาการนั้น รัฐบาลนี้จะได้จัดให้เป็นอิสระสมดั่งความจำนงในรัฐธรรมนูญ โดยจัดตั้ง
คณะกรรมการตุลาการเพื่อช่วยเหลือกิจการทางศาลในอันจะให้ความอิสระแก่ผู้พิพากษาตามรัฐธรรมนูญ
โดยจัดฐานะตุลาการให้มั่นคงตามความต้องการ โดยจัดแยกตำแหน่งหน้าที่ตุลาการให้ขาดจากการเมือง
กับจะได้ตั้งกรรมการประมวลข้อบังคับและระเบียบศาลให้เรียบร้อยเป็นแบบเดียวกันทั่วราชอาณาจักร
ส่วนอำนาจบริหารนั้น ในเวลานี้มีกรณียกิจเบื้องต้นในอันจะรักษาความสงบ ความมั่นคงและ
ความสามัคคี รัฐบาลนี้จะป้องกันภัยต่อสันติภาพของประชาชนทุกประการ ไม่ว่าจะเป็นภัยเนื่องมาแต่
การกบฏ การคอมมิวนิสต์ หรือการระส่ำระสายใด ๆ อื่น
รัฐบาลนี้จะส่งเสริมทางพระราชไมตรีกับนานาประเทศ ซึ่งมีอยู่แล้วเป็นอย่างดีนั้น
ให้สนิทสนมยิ่งขึ้น
เมื่อทางพระราชไมตรีเป็นที่เรียบร้อยอยู่เช่นนี้ ความสงบอันจะพึงรักษาก็คือ ความสงบภายใน
เป็นสำคัญ ฝ่ายทหารได้เตรียมพร้อมที่จะเข้าช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ปกครองท้องถิ่นในเมื่อมีเหตุฉุกเฉินขึ้น
ทางฝ่ายกระทรวงมหาดไทยก็ได้วางนโยบายในการรักษาความปลอดภัยไว้อย่างกว้างขวาง
เช่น จะได้บำรุงกำลังและปรับปรุงระเบียบการของตำรวจ และของเจ้าหน้าที่กระทรวงมหาดไทยให้ดียิ่งขึ้น
และจะได้จัดการราชทัณฑ์ไปในทางอบรมดัดนิสัยสันดานเพื่อให้นักโทษมีนิสัยไปในทางทำงานและทำคุณ
ประโยชน์
แต่ในการรักษาสันติสุขนั้น นอกจากวิธีปราบแล้ว จะต้องใช้วิธีบำรุงประกอบไปด้วยรัฐบาล
จะบำรุงสาธารณสุขโดยขยายการบำบัดโรคและการอนามัยให้แพร่หลายยิ่งขึ้นและโดยจัดให้มีการตรวจ
การสุขาภิบาลซึ่งมีความรู้ในการสุขาภิบาลแผนปัจจุบัน เพื่อช่วยเหลือราษฎรตามชนบทต่าง ๆ รัฐบาล
จะบำรุงการสาธารณูปการโดยจัดให้มีการสงเคราะห์คนอนาถาและคนทุพพลภาพ รัฐบาลจะบำรุง
ความผาสุกของประชาชนพลเมืองทั่วไปโดยส่งเสริมเทศบาล การศึกษา และเศรษฐกิจพลเมืองทั่วไป
โดยส่งเสริมเทศบาลการศึกษา และเศรษฐกิจ
เทศบาล คือ ระเบียบการปกครองท้องถิ่น ซึ่งราษฎรมีเสียงในการดูแลและจัดการผลประโยชน์
ในท้องถิ่นนั้น รัฐบาลนี้จะได้จัดตั้งและขยายเทศบาลออกไปตามตำบลต่าง ๆ ทั่วราชอาณาจักรโดยเร็วที่สุด
ที่จะอบรมเจ้าหน้าที่ในการใหม่นี้ได้ เทศบาลเป็นการศึกษาอย่างหนึ่งด้วยคือ เป็นวิธีที่ราษฎรจะได้รับ
ความฝึกหัดอบรมในวิธีการปกครองแบบรัฐธรรมนูญนั้นด้วย
ส่วนการศึกษานั้นมีแผนกการศึกษาและมีนโยบายวางไว้เป็นบรรทัดฐานดีแล้วรัฐบาลนี้
จะได้หาวิถีทางที่ดีซึ่งจะนำไปให้ถึงจุดที่หมาย ให้พลเมืองรู้จักระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย
ให้ได้มีความเป็นอยู่เหมาะสมแก่สมัยรัฐธรรมนูญ รัฐบาลนี้จะได้ดำเนินการตามแนวความคิดนี้
ให้ได้ผลอันไพบูลย์ยิ่งขึ้นเป็นลำดับ ในการที่จะฝึกฝนให้ประชาชนเป็นพลเมืองดีนั้น จะต้องฝึกฝนทั้ง
กายจรรยา และใจ รวมกันไป และให้ผู้ที่ได้รับการศึกษาแล้วได้ดำเนินการอาชีพ ปฏิบัติหน้าที่พลเมือง
ตามรัฐธรรมนูญได้ดี รัฐบาลนี้จะได้บำรุงการศึกษาทางอาชีพและการหาวิชาความรู้ตามความต้องการ
แห่งรัฐธรรมนูญ เป็นต้นว่าขยายประถมศึกษาให้แพร่หลาย และเขยิบการศึกษาวิชาการรัฐธรรมนูญ
ยึดถือการปฏิบัติฝึกหัดงานให้สำคัญยิ่งขึ้นกว่าที่แล้วมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้ผู้ที่ผ่านพ้นการศึกษา
ในโรงเรียนไปแล้วได้มีโอกาสฝึกฝนตนเองได้ไม่ละทิ้งเสีย และให้ทุกคนมีโอกาสหาความรู้ได้อย่างเต็มที่
ที่จะจัดได้ตามระบอบประชาธิปไตย รัฐบาลนี้จะบำรุงพลศึกษาให้เป็นการศึกษาเพื่อวินัยด้วย ส่วนในเรื่อง
ธรรมการกับการศึกษานั้น รัฐบาลนี้เห็นว่า ควรจะเป็นอุปการะแก่กันและกันจึงจะได้บำรุงส่งเสริม
และจัดการให้ได้ประสานงานกันอย่างสนิทสนมดียิ่งขึ้น อนึ่งในทางศิลปของชาติรัฐบาลนี้ก็จะไม่ละเลย
แต่หากจะบำรุงเท่าที่จะทำได้ ส่วนวิธีให้การศึกษาโดยทั่วไปที่จะให้ได้ประโยชน์สมดั่งว่ามานั้น รัฐบาลนี้
จะได้จัดการปรับปรุงหลักสูตรและสรรพตำรากับทั้งบำรุงฐานะและคุณสมบัติของครูและอาจารย์ ให้สมกับ
ที่วิชาครูเป็นวิชาชีพและที่ครูจะเป็นผู้อบรมสั่งสอนกุลบุตรกุลธิดาสืบต่อไป
การบำรุงเศรษฐกิจของบ้านเมืองนั้น รัฐบาลก่อนได้วางแผนการเป็นทางดำเนินการไว้แล้ว
รัฐบาลนี้จะได้ดำเนินการตามแผนการนั้นต่อไปรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการจะได้แถลงรายละเอียด
ให้ทราบ
อุปสรรคเรื่องข้าวราคาตกนั้น รัฐบาลกำลังพยายามแก้ไขอยู่จะได้ให้ทราบนโยบายในเวลาอันควร
ตามฐานะเศรษฐกิจในเวลานี้ ยังจะหวังไม่ได้ว่ารายได้จะเพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้นจะต้องระมัดระวัง
รายจ่าย งบประมาณจึงจะเข้าสู่ดุลยภาพและอยู่ในความมั่นคงได้ แต่รัฐบาลนี้จะปรับปรุงวิธีการเก็บภาษีอากร
บางอย่างเพื่อให้ได้เงินซึ่งควรจะได้ และเพื่อบรรเทาภาระของราษฎร รัฐบาลนี้จะหาทางลดเงินรัชชูปการลง
ตามสมควร ในส่วนการบำรุงเศรษฐกิจนั้นถ้ารายจ่ายอันใดจำเป็น เช่นว่า จะตั้งฉางก็ดี ขยายสหกรณ์ก็ดีหรือ
บำรุงรักษาและขยายกิจการที่ได้ลงทุนไปแล้ว เข่น การชลประทาน การรถไฟ และการสร้างถนนก็ดี รัฐบาล
จะจัดสรรเงินมาตั้งจ่ายให้ ข้อสำคัญอีกข้อหนึ่งคือความมั่นคงแห่งเงินตราซึ่งรัฐบาลนี้เชื่อว่าการที่จะรักษา
อัตราแลกเปลี่ยนเงินให้คงที่ดั่งได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติเงินตรานั้นเป็นทางที่ควรสำหรับกรุงสยาม
ราชการส่วนต่าง ๆ จะดำเนินไปได้สะดวก ก็ย่อมแล้วแต่สมรรถภาพของข้าราชการ รัฐบาลนี้จึง
จะปรับปรุงระเบียบข้าราชการพลเรือนเพื่อให้โอกาสแก่ผู้ที่มีความรู้และความสามารถจริงและให้ความมั่นคง
แก่ข้าราชการประจำนั้น ๆ
เพื่อให้ราษฎรได้รับการปกครองในทางที่เป็นธรรม รัฐบาลนี้จะได้วางบทวิเคราะห์คดีปกครอง
และวางวิธีพิจารณาคดีปกครอง
ความมุ่งหมายอันยิ่งใหญ่ของรัฐบาลนี้คือ จะบำรุงฐานะของราษฎรให้เป็นพลเมืองดีตามวิถี
รัฐธรรมนูญ ซึ่งสำนักงานโฆษณาการจะได้ดำเนินการเผยแผ่อบรมต่อไป
ด้วยความช่วยเหลือของท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รัฐบาลนี้หวังว่าประชาชนชาวไทย
จะเจริญก้าวหน้าด้วยความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และรัฐธรรมนูญสืบไป
คำแถลงของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ
ในรายละเอียดแห่งนโยบายเศรษฐกิจ
ราชการส่วนเกษตร
๑. กรมเกษตร
จะส่งพนักงานออกสำรวจพันธุ์รุกขชาติทุกปี เพื่อทราบว่ามีพันธุ์ไม้ชนิดใดที่จะศึกษาร่วมมือกับ
กรมวิทยาศาสตร์เพื่อประกอบสินค้าเป็นประโยชน์ต่อไปจะแจกพันธุ์ข้าวอย่างดีปีละอย่างน้อย ๒,๐๐๐ ถัง
เพื่อเป็นพันธุ์สำหรับปลูกได้ไม่ต่ำกว่าปีละ ๑,๓๐๐ ไร่ และเพื่อเปรียบเทียบกับข้าวท้องถิ่นจะเลือกพืชพันธุ์
และหาทางกำจัดโรคพืช และกำจัดแมลงที่ทำอันตรายแก่พืชพันธุ์โดยทดลองตามหลักวิทยาศาสตร์
แล้วนำผลแห่งการทดลองไปใช้เพื่อเป็นประโยชน์แก่ชาวสวนชาวนาจะทำการปราบโรครินเดอร์เพรสต
ในภาคกลางและภาคอีสาน และฉีดวัคซีนป้องกันโรคบาร์โบน ทำเซรุ่มและวัคซีนสำหรับโค กระบือตลอด
ถึงสุกรและไก่ และจะตั้งด่านตรวจโรคสัตว์ที่ช่องตะโก หมวกเหล็ก ช่องจงโก และช่องระหว่างเลยกับ
เพชรบูรณ์จะทำการผสมโคอย่างคัดเลือกโดยวิธีเพาะตามแนวพันธุ์ (Line Breeding) และจะทดลอง
เลี้ยงโคฝูงที่อำเภอไชยบาดาล ซึ่งเป็นที่ ๆ คาดว่าจะมีอาหารสำหรับโคตลอดปีจะตั้งสถานีทดลองเพาะปลูก
เพิ่มขึ้นที่หาดใหญ่และควนเนียงในปี พ.ศ. ๒๔๗๗ ที่พิษณุโลก ในปี พ.ศ. ๒๔๗๘ ที่ปราจีนบุรีและราชบุรี
ในปี พ.ศ. ๒๔๗๙ และ ๒๔๘๐จะลงมือสำรวจที่ดินว่างเปล่าที่ใดเหมาะแก่การเพาะปลูกอย่างใด
๒. กรมชลประทาน
สกีมก่อสร้างนครนายก จะจัดทำต่องานที่ค้างมา งดงานฝั่งซ้ายตอนใต้ไว้ก่อน ใน ๒ ปีแรกจะ
เริ่มจ่ายน้ำในคลองฝั่งขวา งานฝั่งนี้จะเสร็จบริบูรณ์ในปีที่๓ และในปีที่ ๓ นี้งานชลประทานที่คลองเมือง
จะเสร็จเป็นส่วนมาก และจะแล้วเสร็จบริบูรณ์ในปีที่ ๔ เนื้อที่ที่จะได้ประโยชน์จากงานคลองฝั่งขวา
ประมาณ ๓๖๖,๘๑๒ ไร่ จากงานคลองเมืองประมาณ ๕๒,๖๘๘ ไร่ รวม ๔๑๙,๙๐๐ ไร่
สกีมก่อสร้างสุพรรณ ตามสกีมสุพรรณน้อย กำหนดให้มีประตูระบายใหญ่ใกล้แม่น้ำเจ้าพระยา
เรียกว่าประตูระบายที่ ๑ ขุดคลองมะขามเฒ่าตอนต้น กั้นเขื่อนเป็นประตูระบายที่ ๒ ใต้อำเภอเดิมบางตรง
คลองกระเสียว ทำเขื่อนประตูระบายที่ ๓ ณ วัดพร้าวเหนือสุพรรณ ทำคันกั้นน้ำท่วมฝั่งแม่น้ำสุพรรณ
ในอำเภอสองพี่น้องและบางปลาม้า ได้เริ่มงานประตูที่ ๓ เมื่อปี ๒๔๖๕ และใช้การได้เมื่อปี ๒๔๗๐ แล้วจึง
ลงมือทำประตูระบายที่ ๑ ต่อมาซึ่งใช้การได้บ้างใน พ.ศ. นี้ แต่ยังไม่เสร็จบริบูรณ์ทีเดียว ตั้งแต่ปีหน้า
จะดำเนินงานที่ค้างนี้ต่อไป และจะให้แล้วเสร็จเต็มตามสกีมสุพรรณนี้ในเวลา ๔ ปีข้างหน้า
สกีมก่อสร้างพายัพ ซึ่งแบ่งเป็น ๓ ตอน
สกีมแม่แฝก จะต่องานที่ยังค้างอยู่ให้เสร็จในปี ๒๔๗๗ เมื่อเสร็จแล้วจะได้รับผลคือ ที่นาที่อยู่
ระหว่างเชิงเขากับฝั่งแม่น้ำปิงซีกตะวันออกจะได้น้ำจากคลองส่งน้ำตลอดและน้ำในลำแม่น้ำกวงก็จะมีสำหรับ
การทำนามากขึ้นกว่าเดิม จะควบคุมได้ ๖๘,๐๐๐ ไร่ จะบุกเบิกที่ได้ใหม่อีก ๒๐,๐๐๐ ไร่ ซึ่งจะเป็นนาดีถึง
๑๒,๐๐๐ ไร่
สกีมแม่ปิงเก่าได้สำรวจแล้ว เหมืองของราษฎรอันมีอยู่แล้วใกล้อำเภอหางดงในบริเวณนา
อันคาบเกี่ยวระหว่างเชียงใหม่กับลำพูน แต่มีภาระประจำปีด้วยเรื่องทรายไหลมาทับถม จะแก้ได้ก็ด้วยวิธี
กั้นฝายถาวรตรงใต้แยกแม่ปิงเก่าและแม่ปิงใหม่ ให้มีประตูระบายทรายทางปากเหมือง และตบแต่งเหมือง
จีนเสมียนของเก่าให้ดี ทั้งให้มีประตูระบายทรายบังคับน้ำได้ ตรงทางแยกแม่ปิงเก่าต้องกั้นทำนบเตี้ย ๆ ให้
น้ำไหลข้ามได้ในเวลาน้ำมาก เหมืองเก่าของราษฎรที่ได้รับน้ำจากแม่น้ำปิงเก่านี้ ๔ สาย ก็จะจัดให้ได้
น้ำมากขึ้นงานทั้งหมดนี้จะทำให้แล้วเสร็จได้ในเวลา ๒ ปี โดยใช้เงินประมาณ ๒๕๐,๐๐๐ บาท
สกีมแม่วัง ลำปางเป็นที่ซึ่งทำนาไม่สู้จะได้ผล เดือดร้อนกว่าจังหวัดอื่น ๆ ในภาคพายัพ จะต้องแก้
ด้วยวิธีกั้นฝายถาวรเหนือลำปางตรงใกล้ปากเหมือง และขุดคลองส่งน้ำเลียบเนินเขาตามฝั่งซ้ายของแม่วังมา
จนใกล้วัดเสด็จ และขุดคลองฝั่งขวาอีกสายหนึ่ง จะเป็นประโยชน์แก่นาราว ๕๐,๐๐๐ ไร่ งานนี้ได้เริ่มสำรวจ
และลงมือทำการบ้างเล็กน้อยแล้วและจะเสร็จได้ใน ๔ ปีข้างหน้านี้
สกีมก่อสร้างแม่น้ำน้อย สกีมนี้เป็นสกีมใหญ่ทำนองเดียวสกีมสุพรรณ ต้องการทุนมาก จึงเลือก
ทำที่คลองกระทุ่มโพรงก่อน เพื่อป้องกันมิให้น้ำในลำน้ำเจ้าพระยาไหลลงคลองกระทุ่มโพรงไปท่วมทุ่งนา
ให้เสียหาย ถ้าทำประตูระบายในคลองนี้เสร็จ ก็จะกันน้ำท่วมได้ แต่ต้องทำประตูน้ำด้วยเพื่อเรือสัญจร
สกีมก่อสร้างเพชรบุรี สกีมนี้จะเป็นประโยชน์แก่นาประมาณ ๓๕๐,๐๐๐ ไร่ สิ่งที่กำหนดจะทำคือ
กั้นเขื่อนขวางแม่น้ำเพชรบุรีที่เหนือวัดท่าไข่ ขุดคลองส่งน้ำใหญ่ฝั่งซ้ายและขวา งานใน ๔ ปีแรกคือ สร้าง
เขื่อนกั้นแม่น้ำและขุดคลองฝั่งซ้าย (บริเวณตะวันตก) ก่อน
สกีมก่อสร้างภาคอีสาน สกีมนี้ยังทำการสำรวจโดยทั่วไปยังไม่ได้กะการแน่นอนแต่กิจที่จะต้อง
ทำก็คือ สร้างเขื่อนและทำนบเล็ก ๆ กั้นลำน้ำลำธารต่าง ๆ เมื่อเสร็จการสำรวจแล้วจะได้ลงมือสร้างตาม
ความจำเป็นและความด่วนเป็นแห่ง ๆ ไปตามแต่จะทำได้การสร้างทำนบถาวรตามปากคลองในบริเวณลุ่ม
น้ำเจ้าพระยา มีที่นาเป็นอันมากอาศัยน้ำในลำคลองที่เชื่อมกับแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งฝ่ายปกครองป่าวร้อง
ให้ทำทำนบชั่วคราวปิดปากคลองแทบทุกปี ถ้าไม่ทำก็ไม่มีน้ำพอหล่อเลี้ยงต้นข้าว ทุก ๆ ปากคลองนี้ควร
มีประตูระบายน้ำ แต่จะทำคราวเดียวทั้งหมดก็มากมายเกินไป จะต้องเลือกทำแต่ที่คลองสำคัญ ๆ เพียง
ปีละ ๓ - ๔ คลองจะจัดการลอกคลองและบำรุงคลองเก่ารวม ๓๓ คลอง ในเวลา ๗ ปี แต่ในระยะเวลา ๔ ปี
จะเลือกทำคลองที่สำคัญแก่การเศรษฐกิจ ตามที่จะทำได้
๓. กรมป่าไม้
จะจัดทำให้ป่าที่มีอยู่แล้วสมบูรณ์ขึ้น โดยวิธีปลูกซ่อมตัดฟัน โค่นหรือกานไม้และตัดสะสาง
พันธุ์ไม้ต่าง ๆ ที่รบกวน
จะจัดสร้างป่าใหม่โดยวิธีเพาะปลูกไม้ขึ้น จะจัดทำสำหรับไม้สักปีหนึ่ง ๆ ไม้น้อยกว่า ๓,๐๐๐ ไร่
ส่วนไม้กระยาเลยก็จะทำบ้างแต่เพียงเล็กน้อย
จะทำการหมายเขตและทำแผนที่ป่า เพื่อการสงวนและการอนุญาตการทำไม้ทั่วไป
จะวางโครงการการทำป่าไม้ คือ สำรวจชนิด ขนาด และวางกำหนดเขตให้ราษฎรตัดฟันเป็นปี ๆ
หรือเป็นคราว ๆ ไป
จะจัดตั้งโรงเรียนป่าไม้ขึ้นในมณฑลพายัพ เพื่อฝึกหัดบุคคลที่จะเข้ารับราชการในกรมป่าไม้
ต่อไปปีละ ๕ คน ทั้งจะให้ผู้ที่รับราชการอยู่แล้วได้รับความอบรมจากโรงเรียนนี้ด้วย
จะพยายามจัดควบคุมและสงวนพันธุ์สัตว์ป่า
๔. กรมที่ดินและโลหกิจ
จะทำการสำรวจและออกโฉนดที่ดินเพิ่มขึ้นทุก ๆ ปีดำเนินการรังวัด ทำแผนที่สำหรับ
การออกโฉนด ตราจองและประทานบัตร การรังวัดนี้ปีหนึ่งทำงานได้เพียงประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ ไร่
จะขยายการให้เดินมากขึ้นโดยวิธีถ่ายรูปทางอากาศ การเขียนจำลองและทำแผนที่นั้น ก็จะทำ
ให้ละเอียดยิ่งขึ้นการโลหกิจ จะสำรวจพื้นที่ดินในทางธรณีวิทยา เพื่อแสวงหาโภคทรัพย์ของแผ่นดิน
๕. กรมการประมง
จะจัดระเบียบงานตามหัวเมืองขึ้น
จะบำรุงรักษาบึงบอระเพ็ดไว้เป็นที่เพาะและขยายพันธุ์ปลา และจะทำบ่อเพาะพันธุ์ปลาบางชนิด
เช่น ปลาสลิดและปลาแรด
จะทำการสำรวจบึงหนองต่าง ๆ ในอยุธยาและพิษณุโลก
จะทำการสำรวจเพื่อกักน้ำในหนองหาร สกลนคร กว๊านพะเยา เชียงราย และบึงสีไฟ พิจิตร
เพื่อเพาะและขยายพันธุ์ปลาเช่นเดียวกับที่บึงบอระเพ็ด
จะร่วมมือกับกรมอุทกศาสตร์สำรวจพืชพันธุ์ในทะเล
จะรวบรวมพิมพ์เรื่องพันธุ์ปลาในประเทศสยาม
จะพยายามสร้างอะควาเรียมในปีที่ ๔
ราชการส่วนคมนาคม
๑. กรมรถไฟ
จะขยายและแก้ไขบริเวณสถานีกรุงเทพฯ ให้สะดวกและเพื่อเป็นความปลอดภัยยิ่งขึ้นแก่
การเดินรถเข้าออก สำหรับทั้งสินค้าและคนโดยสาร การขยายและแก้ไขนี้จะเสร็จบริบูรณ์ในปี ๒๔๗๙
จะสร้างสถานีใหม่ที่บริเวณสถานีสับเปลี่ยนบางซื่อและตั้งเครื่องประกอบ เช่น หอคอยไฟฉาย
เป็นต้น งานนี้จะเสร็จในปี ๒๔๗๘
การวางทางคู่ จะทำต่อจากคลองรังสิตถึงบ้านพาชี แต่จะแล้วเสร็จตลอดได้ในปี ๒๔๘๑ ใน
ระยะเวลา ๔ ปี จะเปิดใช้การสำหรับทางคู่ได้เพียงบางปะอิน
การสร้างทางขอนแก่นถึงหนองคาย เป็นงานดินตลอดไปในปี ๒๔๘๐ คือ ปีที่ ๔ ข้างหน้าจะเสร็จ
เพียงการวางรางแต่ ก.ม. ที่ ๕๔๑ ถึง ๕๗๑ การทำสะพาน แต่ ก.ม. ๔๗๔ ถึง ก.ม. ๕๔๑ การโรยหินแต่
ก.ม. ๔๙๖ ถึง ก.ม. ๕๔๑ การสร้างสถานีและที่พักพนักงานแต่ ก.ม. ๔๙๖ ถึง ก.ม. ๕๔๑ และจะเปิด
เดินรถได้ถึงกุมภวาปีในปี ๒๔๘๑ ถึงอุดรในปี ๒๔๘๒ และถึงหนองคายในปี ๒๔๘๔
๒. กรมไปรษณีย์โทรเลข
จะเปลี่ยนเครื่องโทรศัพท์ในเขตกรุงเทพฯ เป็นชนิดต่อเอง
จะขยายการวิทยุให้ได้ยินทั้งประเทศทั้งกลางวันกลางคืน เดี๋ยวนี้ได้ยินในเวลากลางวันเพียง
๒๕๐ ก.ม.
๓. กรมการขนส่ง
ฝ่ายทางอากาศ จะสร้างถนน โรงเก็บและโฮเต็ลที่พิษณุโลก และถ้าจำเป็นก็จะสร้างที่อื่นด้วย
กับจะทำการตบแต่งสนามบินที่ระแหง นครสวรรค์ หัวหิน ชุมพร สงขลา แม่สอด บ้านผือ นาบัว ดงพระราม
อรัญญประเทศ และศรีราชา
ฝ่ายทางบกและทางน้ำนั้น ได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่งให้วางโครงการประสานการคมนาคม
เมื่อรัฐบาลเห็นชอบในโครงการนั้นแล้ว จะได้ดำเนินการตัดถนนและขุดคลองใหม่
จะจัดการขนส่งสินค้าข้าวประกอบกับการตั้งฉาง
๔. กรมเจ้าท่า
จะจัดการควบคุมการนำร่องคือ ให้เรือเข้าออกในท่ากรุงเทพฯ ต้องมีนำร่องของรัฐบาล
จะจัดการเรื่องทะเบียนเรือยนต์ เรือกลไฟและเรือเล็ก ซึ่งเวลานี้ยังบกพร่องอยู่มากเสีย
ใหม่โดยทั่วไป
ราชการส่วนรวม
กรมสหกรณ์
จะเปิดสหกรณ์ประเภทเครดิตในปี ๒๔๗๗ อีก ๑๘๐ สมาคม ในปี ๒๔๗๘ อีก ๒๔๐ สมาคม
และในปี ๒๔๗๙ อีก ๓๐๐ สมาคม และในปี ๒๔๘๐ อีก ๖๔๐ สมาคม รวมใน ๔ ปีข้างหน้าจะเปิด ๑,๓๖๐
สมาคม คือ รวมกับที่เปิดในปีนี้ ๑๓๐ สมาคม และที่มีอยู่แล้วจะเป็นจำนวนทั้งสิ้น ๑,๖๘๑ สมาคม
จะเริ่มการตั้งเครดิตสถานกลางสำหรับการกสิกรรม
จะจัดตั้งสหกรณ์ผู้เช่า ตามโครงการที่จะได้รับอนุมัติของรัฐบาล
กรมวิทยาศาสตร์
จะตั้งห้องสมุดทางวิทยาศาสตร์สำหรับประชาชน และแสดงพิพิธภัณฑ์วัตถุที่ทดลอง
ในทางวิทยาศาสตร์ที่เห็นว่าจะเป็นสินค้าได้ ทั้งจะออกหนังสือเผยแผ่ความรู้ที่จะได้มาจาก
การค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์
จะทำการแยกธาตุดินที่ทำการเพาะปลูก และแยกธาตุปุ๋ย พันธุ์หญ้าและอาหารสัตว์
ทั้งนี้เพื่อประกอบในทางเกษตรศาสตร์
จะทำการค้นคว้าและศึกษาจำแนกชนิดแมลง และเผยแผ่ความรู้นั้น ๆ ทั่วไป
กรมทะเบียนการค้า
จะขยายการควบคุมการชั่ง ตวง วัดตามพระราชบัญญัติ ให้ใช้กันทั่วพระราชอาณาจักร
กรมพาณิชย์
จะตั้งฉาง (Silo) แล้วดำเนินการต่อไปจนถึงการจัดตลาดสินค้าข้าวในต่างประเทศ
จะจัดตั้งผู้แทนในการค้าเพื่อหาตลาด เผยแผ่สินค้าไทยและเพื่อรักษาคุณภาพของสินค้าไทย
จะจัดตั้งแผนกสถิติพยากรณ์ รวบรวมตัวเลขให้ได้เป็นที่แน่นอน เพื่อประโยชน์แก่การบำรุง
การพาณิชย์อย่างจริงจัง
จะจัดเรื่องกรรมกร เพื่อเป็นการช่วยเหลือกรรมกรทั้งในทางทุนเบื้องต้นและในทางจัดหางาน
ให้ทำ
จะพยายามฟื้นฟูสินค้าบางอย่าง ซึ่งแต่เดิมเคยเป็นสินค้าสำคัญของสยาม เช่น น้ำตาล
และพริกไทย
*รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ ๒/๒๔๗๖ (สามัญ) สมัยที่ ๒
วันจันทร์ที่ ๒๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๗๖ หน้า ๒๒ - ๓๗ |
6 | คณะรัฐมนตรี คณะที่ ๖
นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)
เป็นนายกรัฐมนตรี
ตั้งแต่วันที่ ๒๒ กันยายน ๒๔๗๗ - ๘ สิงหาคม ๒๔๘๐
แถลงนโยบาย เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๔ กันยายน ๒๔๗๗
คำแถลงนโยบายของรัฐบาล*
รัฐบาลนี้มีความมุ่งหมายที่จะส่งเสริมให้ปวงชนชาวสยามทุกเหล่าทุกชั้น ตั้งแต่พระมหากษัตริย์
คณะสงฆ์ สภาผู้แทนราษฎร รัฐบาล ตลอกจนอาณาประชาราษฎรได้รวมกันเป็นสมานฉันท์ตั้งมั่นอยู่ใน
ระบอบรัฐธรรมนูญเป็นปึกแผ่นหนาแน่นด้วยความสามัคคี เพราะรัฐบาลนี้เชื่อตระหนักว่าการปกครอง
ระบอบรัฐธรรมนูญเป็นวิถีทางที่ดีที่สุดที่จะนำมาซึ่งความวัฒนาถาวรของประเทศชาติสืบต่อไป
ในการประดิษฐานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามขึ้นนั้น ได้อาศัยหลัก ๖ ประการ
เป็นมูลฐานที่ตั้ง ได้แก่ หลักเอกราช ๑ หลักความสงบภายใน ๑ หลักเศรษฐกิจ ๑ หลักสิทธิเสมอภาค ๑
หลักเสรีภาพ ๑ และหลักการศึกษา ๑ หลักสิทธิเสมอภาคและหลักเสรีภาพนั้น ได้รับผลสำเร็จแล้ว
ตามความในรัฐธรรมนูญ
หลักเอกราช
ในส่วนหลักการเอกราชนั้น ยังมีข้อสัญญาผูกมัดจำกัดอิสระภาพอยู่บ้างในทางศาลและ
ภาษีศุลกากร ซึ่งรัฐบาลจะได้ถือโอกาสขอเจรจาแก้ไขในเวลาอันสมควร ในส่วนประมวลกฎหมายต่าง ๆ
ซึ่งยังมิได้ประกาศใช้โดยครบถ้วนนั้น รัฐบาลจะได้จัดร่างพระราชบัญญัติวางระเบียบข้าราชการตุลาการ
ทั้งตั้งกรรมการตุลาการขึ้นเพื่อสนับสนุนและควบคุมฐานะตุลาการ และจัดตั้งกรรมการวางระเบียบศาล
ต่าง ๆ ตลอดจนการงานในกองรักษาทรัพย์และกองหมายด้วย ในการทหารนั้นรัฐบาลนี้จะได้บำรุงกำลัง
กองทัพบกกองทัพเรือและกำลังทางอากาศให้มีความมั่นคงเข้มแข็งเหมาะแก่ฐานะที่มีหน้าที่ป้องกัน
พระราชอาณาจักร ทั้งนี้โดยมุ่งหวังจะให้ประเทศชาติดำรงอยู่โดยสันติสุงและอิสระภาพทุกประการ
หลักความสงบภายใน
ในส่วนหลักความสงบภายในนั้น รัฐบาลมีนโยบายดังต่อไปนี้
๑. การรักษาความสงบภายใน
ในเรื่องโจรผู้ร้ายจะจัดการป้องกันและปราบปรามโดยเต็มกำลังความสามารถ เพื่อเพิ่มกำลัง
ตำรวจให้มีปริมาณและคุณภาพยิ่งขึ้น จัดการคมนาคมให้สะดวก แก้ไขเศรษฐกิจให้ดีขึ้น และอบรมสั่งสอน
พลเมืองให้มีศีลธรรมอันดีงาม รวมทั้งส่งเสริมให้วิธีการปกครองโดยเทศบาลได้ผลจริงจังอีกด้วย
๒. การปกครองลักษณะเทศบาล
รัฐบาลนี้จะส่งเสริมและดำเนินการที่จะจัดตั้งเทศบาลให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบ
เทศบาล พ.ศ. ๒๔๗๖ โดยลำดับดังนี้
(ก) ในปีนี้จะได้จัดตั้งให้มีสภาจังหวัด โดยจะพยายามเลือกคัดผู้มีอาชีพต่าง ๆ ให้เข้าอยู่
ในสภานี้
(ข) จะได้จักเปลี่ยนฐานะสุขาภิบาลที่มีอยู่เป็นเทศบาลภายในปีนี้
(ค) จะได้จัดแยกงบประมาณส่วนภูมิภาคได้ตั้งเป็นงบประมาณทางจังหวัด
(ง) จะได้รีบเร่งอบรมที่ปรึกษาการเทศบาล เพื่อช่วยเหลือการเทศบาล
๓. การทาง
รัฐบาลได้ดำเนินการสร้างทางที่อยู่ในระหว่างก่อสร้างต่อไปให้แล้วเสร็จ นอกจากนี้จะได้
ทำทางอื่น ๆ ที่ยังไม่เรียบร้อยให้มีลักษณะดีขึ้น เพื่อความสะดวกสำหรับการคมนาคม
รัฐบาลจะได้อุดหนุนให้มีทางจังหวัดและทางเทศบาลเพิ่มเติมมากขึ้น เพื่อประโยชน์ใน
ทางเศรษฐกิจและการปกครอง โดยที่จะให้งบประมาณเพิ่มเติมสำหรับสร้างและบำรุงทางเหล่านี้
ทั้งจะได้ส่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิชาการไปช่วยดำเนินการ หรือควบคุมในการสร้างและบำรุงทางดังกล่าวนี้ด้วย
๔. การช่วยเหลือสุขาภิบาลหรือเทศบาลในการสาธารณูปโภค
รัฐบาลจะได้รับจัดให้มีโรงทำไฟฟ้าและการประปาในสุขาภิบาล หรือเทศบาลให้มากแห่ง
๕. การราชทัณฑ์
วิธีการราชทัณฑ์จะได้ดำเนินดังต่อไปนี้
(ก) จะได้จัดให้มีการอบรมนักโทษในทางธรรมจรรยา และสั่งสอนวิชาชีพพร้อมทั้งการฝึกฝน
และจัดให้มีการทำงานที่เป็นคุณประโยชน์เพื่อสุขภาพ เพื่อปลูกฝังนิสัยและส่งเสริมวิชาชีพ
(ข) จะได้จัดระเบียบคนจรจัดให้มีที่อยู่ที่ทำกินโดยเฉพาะ พร้อมด้วยดำเนินการอบรม
เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิตให้เป็นพลเมืองดีต่อไป
(ค) จะได้ปรับปรุงโรงเรียนดัดสันดานเด็กเสียใหม่ ให้การศึกษาและฝึกหัดทำงานวิชาชีพ
เพื่ออบรมให้เป็นพลเมืองดีต่อไป
๖. การสาธารณสุข
(ก) การบำบัดโรค จะจัดให้มีโรงพยาบาลขึ้นตามจังหวัดต่าง ๆ ที่จำเป็นและจัดให้มีสุขศาลา
เพิ่มขึ้นในท้องที่ซึ่งอยู่ห่างไกลจากจังหวัด เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกในการบำบัดยิ่งขึ้น ทั้งจะจัด
ให้มีเจ้าพนักงานเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยแพทย์สำหรับไปทำการติดต่อกับประชาชนในความควบคุมของ
แพทย์ตามตำบลที่ห่างไกลจากโรงพยาบาลและสุขศาลาด้วย
(ข) การสาธารณสุขทั่วไป จะจัดการสาธารณสุขทั่วไปให้ดียิ่งขึ้นโดยประการต่อไปนี้
(๑) จัดร่างพระราชบัญญัติการสาธารณสุขเพื่อควบคุมการสุขาภิบาลโดยทั่วไป
และโดยเฉพาะเช่น ตลาด การจำหน่ายอาหารการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ เป็นต้น
(๒) จัดแก้ไขพระราชบัญญัติโรคติดต่อเพื่อให้การป้องกันและระงับโรคติดต่อ
เป็นผลดียิ่งขึ้น
(๓) ขยายการควบคุมโรคซึ่งเป็นปัญหาสำคัญในเวลานี้ เช่น ไข้จับสั่น วัณโรค
โรคเรื้อน และโรคจิต เป็นต้น
หลักเศรษฐกิจ
ในหลักเศรษฐกิจของชาตินั้น รัฐบาลนี้เห็นว่าจักต้องมีโครงการเพื่ออำนวยการประสานอาชีพ
ทั่ว ๆ ไป โดยหวังประกอบผลจากกำลังทรัพย์ของประเทศให้ถึงขีดอันสูงสุด เพื่อความสมบูรณ์ ความเจริญ
และความมั่นคงของชาติ
โครงการเศรษฐกิจจักต้องอยู่ในวงจำกัดบางข้อ
๑. จักต้องเคารพต่อกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน และเสรีภาพในการประกอบอาชีพของบุคคล
ภายใต้หลักแห่งรัฐธรรมนูญ
๒. จักต้องเคารพต่อข้อสัญญา และการติดต่อระหว่างประเทศ
๓. จักต้องคำนึงถึงความนิยมของประชาชน และให้เหมาะแก่ความจำเป็นตามภาวะที่เป็นจริง
๔. การใดที่ใหม่ จักต้องสอบสวน ทดลอง อบรมเสียก่อน เมื่อเห็นลู่ทางที่จะบังเกิดผลสมประสงค์
จึงเริ่มขยายตามกำลัง
แผนดำเนินการ
๑. จัดระเบียบคณะกรรมการเศรษฐกิจให้มีหน้าที่วางโครงการดำเนินการเป็นชั้น ๆ ไปตาม
นโยบายนี้ และรวบรวมสถิติเพื่อกระทำการฟื้นฟูเศรษฐกิจแห่งชาติให้บังเกิดผลตามความมุ่งหมาย
๒. วิธีดำเนินการจะจัดไปในทางสมานประโยชน์ซึ่งกันและกัน
๓. กิจการบางอย่างที่เป็นสาธารณูปโภค จะจัดรัฐบาลอาจเข้าควบคุม ตลอดจนร่วมทุนร่วมงาน
กับบริษัทหรือเอกชนเป็นรูปบริษัทสาธารณะบางอย่างสมควรจะจัดทำเองก็จะจัดทำ
๔. กิจการที่ไม่เป็นสาธารณูปโภค จะปล่อยให้พลเมืองทำกันเอง นอกจากสิ่งใดเป็นของสำคัญ
สำหรับชาติควรจัดทำก่อน แต่ถ้ายังไม่มีผู้เริ่มทำ รัฐบาลจะเป็นผู้นำหรือสนับสนุนหรือเข้าร่วมมือด้วย เมื่อ
เห็นว่าควรจะปล่อยได้ ก็จะได้ปล่อยให้บริษัทหรือเอกชนดำเนินการต่อไป
กิจการที่จะกระทำ
รัฐบาลจะพยายามแก้ไขดัดแปลงทางการทั่ว ๆ ไป ให้เจริญดีขึ้น นอกจากนี้ยังมีกิจการบางอย่าง
ซึ่งมุ่งจะกระทำ คือ
๑. จัดการสำรวจภูมิประเทศและทรัพย์แผ่นดินทั่ว ๆ ไป โดยใช้ผู้ชำนาญตรวจให้ทราบว่า
ในท้องที่ใดสมควรแก่การอย่างใด
๒. ขยายสถานีทดลองการเพาะปลูก และการเลี้ยงสัตว์ให้แพร่หลายออกไป
๓. จัดการสำรวจที่ดินว่างเปล่าที่ยังไม่มีเจ้าของ แล้วจัดวางระเบียบการจับจองที่ดินให้เหมาะแก่
การเพาะปลูกและสมแก่อัตภาพของบุคคล
๔.จัดวางแผนส่งเสริมการชลประทานและประสานการขนส่งของประเทศเพื่อสนับสนุน
การเพาะปลูกและการค้าให้ได้รับความสะดวกยิ่งขึ้น โดยดำเนินการเป็นชั้น ๆ ไปตามกำลังทรัพย์
และความจำเป็น
๕. สำรวจสินค้าที่มีอยู่แล้วว่าสิ่งใดมีความสำคัญเพียงใด แล้วรีบบำรุงส่งเสริมให้มีคุณภาพ
และปริมาณให้เป็นสินค้าสำคัญขึ้น
๖. สำรวจความเป็นอยู่ของประชาชนเพื่อหาลู่ทางช่วยเหลือให้มีอาชีพ สมควรแก่อัตภาพ
๗. สนับสนุนการดำเนินของสินค้าจากผู้ปลูก ผู้ทำ ให้ถึงผู้กินผู้ใช้โดยทางประหยัด และพยายาม
หาตลาดให้ทั้งภายในและภายนอกประเทศ
๘. สนับสนุนและอบรมราษฎรให้เกิดความรู้ความชำนาญ และความนิยมในการค้า การกสิกรรม
การอุตสาหกรรมและการสหกรณ์
๙. ขยายสหกรณ์กู้ยืมและจัดตั้งสหกรณ์รูปอื่นขึ้น สุดแต่ความจำเป็นก่อนหลังตามกำลังทรัพย์
และสมรรถภาพขององค์การนั้น ๆ ซึ่งเห็นว่าจะได้รับผลอันแท้จริง
๑๐. จะจัดการส่งเสริมความเป็นอยู่ตลอดจนการศึกษา และอนามัยของกสิกรและกรรมกร
ด้วยดียิ่งขึ้น
หลักการศึกษา
ในหลักการศึกษานั้น รัฐบาลนี้มีความปรารถนาอย่างยิ่งที่จะให้การศึกษาแก่พลเมือง
ทั่วไปอย่างเต็มที่ ให้ได้รับการอบรมในระบอบการปกครองตามแบบรัฐธรรมนูญ ฝึกฝนให้รอบรู้
มีปัญญาความคิด รู้จักค้นคว้าหาเหตุผลโดยตนเองได้ มีจรรยา ประกอบด้วยกำลังกายและกำลังใจ
เป็นอันดีกับทั้งไม่ให้ละทิ้งเสียซึ่งจริยศึกษาแห่งชาติ ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีของไทยมุ่งประสงค์
ให้ผู้ได้รับการศึกษาแล้วสามารถประกอบอาชีพ มีอนามัยและศีลธรรมอันดีงาม
รัฐบาลนี้จะจัดการแก้ไขปรับปรุงงานประถมและมัธยมศึกษาให้มีระดับที่ดีขยายการประถมศึกษา
ให้มีโรงเรียนประชาบาลอย่างน้อยตำบลละ ๑ โรงเรียนเพื่อให้ก้าวหน้าแพร่หลายได้ผลตามที่รัฐธรรมนูญ
ต้องการ จะจัดทั้งในทางสามัญศึกษา วิสามัญศึกษา หนักไปทางเกษตรกรรมและพาณิชยการ ส่วนอุดมศึกษา
จะปรับปรุงมหาวิทยาลัยให้ได้มาตราฐานกับมหาวิทยาลัยที่ดีในอารยะประเทศจะได้ขยายงานให้นักเรียน
ได้เข้ารับการศึกษาชั้นนี้มากขึ้น และจะบำรุงมาตราทางวิชาการให้สูงขึ้นเป็นลำดับ
รัฐบาลนี้จะจัดการให้กุลบุตรกุลธิดามีโอกาสหาความรู้ได้อย่างเต็มที่ที่จะจัดได้ตามระบอบ
ประชาธิปไตยจะบำรุงพลศึกษา หาทางให้ประชาชนได้มีโอกาสบำรุงกำลังกายและกำลังใจ และกำลัง
ความคิดทั้งจะได้จัดหาสถานที่และอุปกรณ์การกีฬาต่าง ๆ ไว้สำหรับการนี้ ทั้งนี้เพื่ออบรมวินัยการเป็น
นักกีฬาและสามัคคีธรรมในทางธรรมการก็จะส่งเสริมสมรรถภาพในการศึกษาพระปริยัติธรรมและการอบรม
ศีลธรรมแก่ประชาชน อนึ่ง การธรรมการและการศึกษานั้น รัฐบาลถือว่าอุปการะซึ่งกันและกันจึงจะได้บำรุง
ส่งเสริมและจัดการให้ได้ประสานงานกันอย่างสนิทสนมดียิ่งขึ้น ในทางศิลปของชาติรัฐบาลนี้ก็จะส่งเสริม
โดยพยายามฟื้นฟูทุกสถานเพื่อเป็นการเชิงดูวัฒนธรรมของชาติไทย ทั้งภายในและภายนอกประเทศ
เพื่อที่จะให้การศึกษาได้เป็นไปตามนโยบายนี้รัฐบาลจะปรับปรุงการงานให้รัดกุมเหมาะสม
กับที่วิชาครูเป็นวิชาชีพและที่ครูจะเป็นผู้อบรมสั่งสอนกุลบุตรกุลธิดาสืบไป
แผนนโยบายเกี่ยวด้วยหลัก ๖ ประการดังกล่าวแล้ว จะดำเนินไปให้เป็นผลสำเร็จได้ก็ด้วย
อาศัยกำลังคนและกำลังเงินเป็นสำคัญ
รัฐบาลจึงจะปรับปรุงระเบียบราชการประจำให้ข้าราชการได้รับความอบรมในความรู้และ
ความชำนาญพิเศษเฉพาะแผนกราชการของตนเพื่อจะได้ปฏิบัติหน้าที่ราชการของตนให้ดำเนินไป
โดยสมรรถภาพเหมาะสมแก่ความต้องการ กับทั้งจะปรับปรุงระเบียบการให้ข้าราชการได้รับผลประโยชน์
ความเที่ยงธรรม และความมั่นคงตามสมควรแก่ตำแหน่งหน้าที่ด้วย
ในส่วนการเงินนั้น ประเทศสยามพร้อมด้วยประเทศอื่น ๆ ได้รับความทุกข์ยากอย่างแสนสาหัส
จากความตกต่ำแห่งเศรษฐกิจของโลก ภายในระยะเวลา ๓ ปี เท่านั้น ราคาข้าวได้ตกไปมากแต่โดยที่ราษฎร
ชาวสยามมีความอดทนอย่างน่าสรรเสริญและโดยที่รัฐบาลรัฐธรรมนูญได้กระทำการประหยัดระมัดระวัง
ฐานะการเงินของประเทศจึงอยู่ในภาวะที่มั่นคง ในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ และ ๒๔๗๖ รายได้ท่วมรายจ่ายทั้ง ๒ ปี
และในปี พ.ศ. ๒๔๗๗ นี้ ถึงแม้ว่าตามตัวเลขในพระราชบัญญัติงบประมาณจะปรากฎว่ารายจ่ายท่วมรายได้
ก็จริงอยู่ แต่ถ้าคำนวณดูตามรายได้ซึ่งได้รับจริงใน ๕ เดือนที่แล้วมานี้ ก็น่าจะคาดคะเนได้ว่ารายได้จริงในปีนี้
คงจะพอแก่รายจ่าย
ความมั่นคงในการเงินและการเงินตรานี้ รัฐบาลจะได้รักษาไว้ต่อไปเพราะถึงแม้ว่าฐานะเศรษฐกิจ
แห่งโลกและแห่งประเทศนี้จะดีขึ้นบ้างแล้วก็ดี ความตกต่ำก็ยังคาดหมายไม่ได้ว่าจะกลับดีขึ้นโดยเร็ว
แต่ในส่วนการบำรุงนั้น รัฐบาลจะตระหนี่เงินไม่ได้ จะต้องจัดหาเงินให้พอแก่การเพราะฉะนั้น
เมื่อโครงการอันใดตามแผนนโยบายดังกล่าวได้เตรียมการพร้อมสรรพแล้ว รัฐบาลจะต้องจัดหาเงิน
ให้จงได้รัฐบาลจะปรับปรุงการภาษีอากรให้เหมาะสมโดยไม่ประสงค์จะเพิ่มภาระในการภาษีอากร
ให้ตกหนักแก่ราษฎรโดยไม่จำเป็น รัฐบาลจะปรับปรุงระเบียบการคลังให้เหมาะสมยิ่งขึ้นด้วย
ความเจริญก้าวหน้าของประเทศชาติตามแผนนโยบายที่กล่าวมานี้รัฐบาลจะบริหารให้เป็น
ไปด้วยความสัมพันธ์กับนานาประเทศซึ่งรัฐบาลจะร่วมมือด้วยเช่นเคยกับทั้งจะได้ส่งเสริมความเข้าใจ
อันดีกับนานาประเทศนั้น ๆ เป็นการเจริญพระราชไมตรีให้สนิทสนมยิ่งขึ้น
รัฐบาลนี้จะดำเนินการเป็นผลสำเร็จเพียงใด ย่อมแล้วแต่พระบรมราชานุเคราะห์ของ
องค์พระประมุข และความช่วยเหลือร่วมมือของสภาผู้แทนราษฎร ตลอดทั้งอาณาประชาชน ทั้งนี้
เพื่อให้ประเทศชาติเจริญรุ่งเรืองสืบไปในวิถีทางรัฐธรรมนูญตามความประสงค์จำนงหมายของประชาชน
ชาวสยามโดยทั่วกัน
*รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ ๒๔/๒๔๗๗ (วิสามัญ) สมัยที่ ๒
วันจันทร์ที่ ๒๔ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๗๗ หน้า ๑๗๕๖ - ๑๗๖๖ |
7 | คณะรัฐมนตรี คณะที่ ๗
นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)
เป็นนายกรัฐมนตรี
ตั้งแต่วันที่ ๙ สิงหาคม - ๒๐ ธันวาคม ๒๔๘๐
แถลงนโยบาย เมื่อวันพุธที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๔๘๐
คณะรัฐมนตรีนี้จะดำเนินนโยบายตามที่คณะรัฐมนตรีชุดก่อนได้แถลงไว้ต่อ
สภาผู้แทนราษฎรแล้ว ส่วนเรื่องการซื้อขายที่ดินบางรายของพระคลังข้างที่ซึ่งเป็นปัญหา
อยู่นั้น รัฐบาลจะได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนให้ขาวสะอาด
*รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ ๒๒/๒๔๘๐ (วิสามัญ) สมัยที่ ๒
วันพุธที่ ๑๑ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๘๐ หน้า ๕๐๑ |
9 | คณะรัฐมนตรี คณะที่ ๙
นายพันเอก หลวงพิบูลสงคราม (แปลก ขีตตะสังคะ)
เป็นนายกรัฐมนตรี
ตั้งแต่วันที่ ๑๖ ธันวาคม - ๖ มีนาคม ๒๔๘๕
แถลงนโยบาย เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๔๘๑
คำแถลงนโยบายของรัฐบาล*
ในการบริหารราชการแผ่นดิน คณะรัฐมนตรีมีนโยบายดังต่อไปนี้
ก. นโยบายทั่วไป
๑. รัฐบาลนี้จะดำเนินนโยบายทั่วไปตามหลัก ๖ ประการ คือ หลักเอกราช หลักความสงบ
ภายในหลักเศรษฐกิจ หลักสิทธิเสมอภาค หลักเสรีภาพ และหลักการศึกษา
๒.รัฐบาลนี้จะถือการครองชีพของราษฎรตามควรแก่อัตตภาพเป็นหลักสำคัญและโดยนัยนี้
จึงจะพยายามให้ปวงชนชาวสยามมีความรู้ ความชำนาญและเกิดความนิยมในวิชาอาชีพ เช่น ในการเกษตร
เหมืองแร่ พาณิชยการ และอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ
๓. ในกิจการที่จัดทำ รัฐบาลนี้จะพยายามให้เป็นผลแก่ราษฎรโดยเร็ว ฉะนั้นวิธีดำเนินการจึงจะ
ได้หนักในทางปฏิบัติ
๔. สิทธิและหน้าที่อันใดที่สยามมีอยู่ รัฐบาลนี้จะพยายามใช้และปฏิบัติ
๕. ในกิจการของรัฐบาล รัฐบาลนี้จะให้ข้าราชการเคร่งครัดในวินัยและเพิ่มพูลสมรรถภาพ
ทั้งฝ่ายวิชาการและธุระการ
๖. ในส่วนที่เกี่ยวกับประชาชน รัฐบาลนี้จะเคารพต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามรัฐธรรมนูญ
แต่ในเวลาเดียวกัน ประชาชนก็จะต้องเคารพต่อกฎหมายและปฏิบัติหน้าที่ของตนตามรัฐธรรมนูญด้วย
๗. รัฐบาลนี้จะถือความกลมเกลียวประสานงานในระหว่างกระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการ
ต่าง ๆ เป็นสำคัญ
๘. รัฐบาลนี้จะดำเนินการให้รัฐและราษฎรมีความสมัครสมานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จะปลูกและ
ส่งเสริมภราดรภาพในระหว่างข้าราชการกับราษฎร ให้มีความเอื้อเฟื้อช่วยเหลือซึ่งกันและกันยิ่งขึ้น
ข. นโยบายสำหรับกระทรวง
๑. กระทรวงกลาโหม
รัฐบาลจะบำรุงกำลังกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ ให้มีความเข้มแข็งพอควรแก่
การป้องกันอิสสรภาพและสิทธิของประเทศชาติ การบำรุงนี้จะพยายามทำทั้งในคุณภาพและปริมาณ
๒. กระทรวงการคลัง
(๑) จะจัดการปรับปรุงภาษีอากรให้ยุตติธรรมแก่สังคม ส่วนเงินรัชชูปการนั้นจะยกเลิก
โดยหาเงินรายได้ทางอื่นมาชดเชย
(๒) จะจัดให้มีเครดิตหมุนเวียนเพิ่มขึ้นตามกำลังของประเทศที่จะทำได้
(๓) จะรักษาความมั่นคงแห่งเงินตราตามกฎหมาย
(๔) จะกำหนดปีงบประมาณให้เหมาะสมแก่ฤดูกาล
๓. กระทรวงการต่างประเทศ
รัฐบาลนี้จะส่งเสริมสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศซึ่งมีอยู่แล้วเป็นอย่างดีนั้นให้สนิทสนม
ยิ่งขึ้นโดยทั่วกัน
๔. กระทรวงเกษตราธิการ
(๑) จะบำรุงพืชผลพื้นเมืองตลอดถึงสัตว์ ให้มีคุณภาพและปริมาณเป็นสินค้าสำคัญขึ้นโดย
วิธีเช่นปราบโรคร้ายต่าง ๆ ควบคุมและสงวนพันธุ์สัตว์ป่าและจัดวางระเบียบด่านกักและตรวจสัตว์ที่ส่ง
ไปขายต่างประเทศให้ดียิ่งขึ้น จัดการบำรุงหนองและบึงให้เป็นที่เพาะและแพร่พันธุ์ปลา และส่งเสริมการ
ประมงทางทะเลด้วย
(๒) ในการชลประทาน จะทำงานก่อสร้างที่ค้างอยู่ให้แล้วเสร็จ และจัดวางโครงการชลประทาน
ต่อไปในภาคใดยังไม่สามารถจัดวางโครงการใหญ่ได้ ก็จะจัดวางโครงการย่อยตามลำดับความจำเป็น
(๓) จะปรับปรุงวิธีการบำรุงและรักษาป่าไม้ให้เป็นผลดียิ่งขึ้นทั้งในคุณภาพและปริมาณ
(๔) จะขยายการสหกรณ์กู้ยืมและจัดตั้งสหกรณ์รูปอื่น สุดแต่ความจำเป็นก่อนหลัง
๕. กระทรวงธรรมการ
(๑) สามัญศึกษาจะพยายามจัดให้การศึกษาภาคบังคับให้ขยายออกไปตามประสงค์ของ
พระราชบัญญัติประถมศึกษาและเร่งรัดคุณภาพให้ดีขึ้นด้วยการบำรุงอุปกรณ์ของโรงเรียนและฐานะของ
ครูในภาคนอกบังคับก็จะจัดให้มีการศึกษาถึงมัธยมบริบูรณ์ทั่วทุกจังหวัด จะสนับสนุนโรงเรียนราษฎร์ให้
ทวีทั้งจำนวนและคุณภาพ
(๒) อาชีวะศึกษา ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง จะจัดให้มีการศึกษาอาชีพประเภทต่าง ๆ ให้เป็นปึกแผ่น
เหมาะสมแก่ท้องที่ตามลำดับความจำเป็น โดยหนักในทางปฏิบัติ
(๓) การศึกษาภาคผนวก จะพยายามจัดให้ผู้ใหญ่ที่ไม่รู้หนังสือได้รับการศึกษาจนอ่านออก
เขียนได้และเข้าใจหน้าที่ของพลเมือง
(๔) จะปรับปรุงอุดมศึกษาให้มีคุณภาพและปริมาณยิ่งขึ้น จะจัดเพิ่มแผนกวิชาขึ้นตามความจำเป็น
(๕) จะจัดให้การพลศึกษาแพร่หลายในโรงเรียนทั่วไป ตลอดถึงประชาชนให้เป็นประโยชน์ทั้ง
ทางกายและทางใจ
(๖) จะรักษาและส่งเสริมศิลปกรรมไทยเพื่อเชิดชูเกียรติและวัฒนธรรมของชาติจะใช้ศิลปกรรม
เป็นอุปกรณ์การอบรมประชาชนทั้งในทางความรู้และคุณภาพทางใจ
(๗) ในทางศาสนา จะปรับปรุงพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ให้สมกาลสมัยและ
จะอุปถัมภ์การศาสนาตามความประสงค์แห่งรัฐธรรมนูญ
(๘) เพื่อปลูกฝังหลักธรรมและแนววัฒนธรรมตั้งแต่เยาว์วัย จะดำเนินการขจัดเหตุที่ก่อให้เกิด
การละเมิดศีลธรรมในยุวชน
๖. กระทรวงมหาดไทย
(๑) ความปลอดภัยของประชาชน ในเรื่องโจรผู้ร้ายและการละเมิดอันเป็นอาญาอื่น ๆ จะจัดการ
ป้องกันและปราบปรามโดยกวดขันเพื่อการนี้จะให้ตำรวจเข้ารับหน้าที่การสอบสวนจากเจ้าพนักงาน
ฝ่ายปกครองโดยลำดับและปรับปรุงกฎหมายในเรื่องนี้กับทั้งจะได้เพิ่มจำนวนและปรับปรุงสมรรถภาพ
ของตำรวจและอัยการให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น
(๒) การราชทัณฑ์ จะปรับปรุงเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ทั้งในทางจำนวนและคุณภาพตลอดจนจัดตั้ง
เรือนจำพิเศษ เพื่อให้การปฏิบัติต่อนักโทษเข้าสู่มาตราฐานอันควรยิ่งขึ้น และจะขยายการอบรมทางธรรม
จรรยา วิชาสามัญและวิชาอาชีพให้หนักไปในทางใช้แรงงานเพื่อประโยชน์แก่การอบรมจะดำเนินการจัดตั้ง
ทัณฑนิคมสำหรับนักโทษที่ประพฤติตัวดีเพื่อปลูกฝังการอาชีพอันจะเป็นผลในทางป้องกันการกระทำผิดและ
เป็นการสงเคราะห์ผู้พ้นโทษตามสมควร
(๓) การปกครองส่วนภูมิภาคและท้องถิ่นจะปรับปรุงกฎหมายและระเบียบแบบแผนการปกครอง
ส่วนภูมิภาคให้รัดกุมยิ่งขึ้น ทั้งจะปรับปรุงคุณภาพของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองเพื่อประโยชน์ในการบำรุง
ส่งเสริมสวัสดิภาพ ความสะดวก และการประกอบอาชีพของราษฎรและอบรมสั่งสอนพลเมืองให้มี
ศีลธรรมอันดี
ในส่วนการปกครองท้องถิ่นนั้น จะขยายการเทศบาลออกไปตามท้องถิ่นต่าง ๆ และจะปรับปรุง
กฎหมายว่าด้วยการเทศบาลให้เหมาะสม
(๔) การสาธารณสุข จะจัดให้มีสถานพยาบาลพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่เพิ่มขึ้นในส่วนภูมิภาค เพื่อให้
ราษฎรในชนบทได้รับความสะดวกในการบำบัดโรค จะขยายการส่งเสริมสุขาภิบาลตามชนบท และเพิ่มหน่วย
สาธารณสุขเคลื่อนที่ให้มากขึ้น ส่วนการสาธารณสุขในเขตเทศบาล ก็จะส่งเสริมให้ดำเนินไปด้วยดี
(๕) การทางและการสาธารณูปโภค จะเร่งรัดการก่อสร้างทางสายต่าง ๆ ตามโครงการสร้างทาง
ของราชอาณาจักร และสนับสนุนให้มีทางของท้องถิ่นขึ้น เพื่อเชื่อมการคมนาคมในระหว่างอำเภอและตำบล
ต่าง ๆทั้งจะได้บำรุงรักษาทางที่มีอยู่แล้ว รวมทั้งการบูรณะทางเกวียนให้อยู่ในสภาพที่จะเป็นประโยชน์แก่
การจราจรและจะได้เปิดโอกาสให้ราษฎรได้รับผลจากอาชีพในการทำงานก่อสร้างนี้ด้วย
ในการสาธารณูปโภคนั้น จะจัดให้มีเจ้าหน้าที่ และเครื่องจักร เครื่องมือในองค์การของรัฐบาล
เพื่อช่วยเหลือในการเงินที่จะกู้ยืมใช้เป็นทุน
ในการวางผังเมือง จะจัดการออกแบบและแนะนำช่วยเหลือแก่เทศบาลและชุมนุมชน
๗. กระทรวงยุตติธรรม
รัฐบาลจะรักษาฐานะของผู้พิพากษาตามควรแก่อิสสระที่มีในการพิจารณาคดีและจะได้สอดส่อง
ให้กระบวนพิจารณาในศาลได้ดำเนินไปโดยเร็วตามสมควร
๘. กระทรวงเศรษฐการ
(๑) จะบำรุงอาชีพของพลเมืองโดยวิธีเช่น หาตลาดสินค้าไทยภายนอกประเทศ และพยายาม
ให้ใช้สินค้าไทยภายในประเทศ
(๒) จะปรับปรุงสินค้าสำคัญบางอย่างของประเทศ เช่น ข้าวและหาวิธีจัดการค้านั้นให้ได้ผลดียิ่งขึ้น
(๓) จะส่งเสริมการขนส่งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ ให้เป็นประโยชน์และสะดวกยิ่งขึ้น โดยเพิ่ม
สายรถไฟใหม่บางตอน ปรับปรุงค่าระวางรถไฟ เปิดท่าเรือในที่สำคัญ และขยายสายการบินให้มากขึ้น
(๔) จะส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
(๕) จะบำรุงอุตสาหกรรมพื้นเมือง และจัดการควบคุมโรงงานอุตสาหกรรมในส่วนความปลอดภัย
(๖) จะขยายการสื่อสาร และการโทรศัพท์ทางไกลในประเทศ จัดตั้งสถานีวิทยุในเมืองที่ที่สำคัญ
และขยายเครื่องกระจายเสียงทางวิทยุให้มีมากขึ้น
(๗) จะปลูกนิสัยออมทรัพย์แก่ประชาชน โดยวิธีส่งเสริมการคลังออมสินและวิธีอื่น ๆ ที่จะทำให้
สำเร็จผลในเรื่องนี้
กิจการของประเทศชาติจะสำเร็จได้ตามนโยบายที่แถลงมาแล้วนี้ก็ต้องอาศัยการร่วมมือกัน
ทุกฝ่ายรัฐบาลนี้จึงหวังใจว่าสภาผู้แทนราษฎรจะร่วมมือกับรัฐบาล โดยให้ความไว้วางใจตามมาตรา
๕๐ แห่งรัฐธรรมนูญเพื่อรัฐบาลคณะนี้จะได้ดำเนินการบริหารตามนโยบายนี้ต่อไป
*รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ ๓/๒๔๘๑ (สามัญ) สมัยที่ ๒ ชุดที่ ๓
วันจันทร์ที่ ๒๖ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๘๑ หน้า ๑๘ - ๒๕ |
10 | คณะรัฐมนตรี คณะที่ ๑๐
จอมพลแปลก พิบูลสงคราม (แปลก ขีตตะสังคะ)
เป็นนายกรัฐมนตรี
ตั้งแต่วันที่ ๗ มีนาคม - ๒๔ กรกฎาคม ๒๔๘๗
แถลงนโยบาย เมื่อวันจันทร์ที่ ๑๖ มีนาคม ๒๔๘๕
คำแถลงนโยบายของรัฐบาล*
ท่านประธานสภาและท่านสมาชิกทั้งหลาย
การที่ข้าพเจ้าและคณะรัฐบาลชุดก่อนได้กราบถวายบังคมลาออกโดยปัจจุบันทันด่วน
เมื่อวันที่ ๖ เดือนนี้ และไม่ปรากฏชัดแจ้งว่ามีเหตุการณ์อันใดนั้น อาจเป็นที่สงสัยวิตกกังวลของ
ประชาชนทั่วไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งในบรรดาผู้แทนราษฎร อันที่จริงไม่ใช่หน้าที่ของรัฐบาลใหม่
ที่จะแถลงเรื่องความเป็นไปในรัฐบาลเก่าแต่โดยเหตุที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ข้าพเจ้า
กลับมารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกและให้รัฐมนตรีส่วนมากในคณะเก่าได้กลับมาบริหาร
ราชการแผ่นดินข้าพเจ้าจึงขอถือโอกาสแถลงให้ทราบถึงเหตุผลที่ลาออกและตั้งใหมไว้ในที่นี้ด้วย
คณะรัฐบาลเก่าซึ่งมีข้าพเจ้าเป็นนายกรัฐมนตรี ได้แถลงนโยบายต่อสภานี้และได้รับ
ความไว้วางใจจากสภาเมื่อวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๔๘๑ ซึ่งเมื่อนับถึงบัดนี้ก็จะเป็นเวลา ๓ ปีเศษ
เวลานั้นโลกยังอยู่ในความสงบมหาสงครามในยุโรปยังมิได้เกิดขึ้นนโยบายของคณะรัฐบาลที่
แถลงไว้ก็ตั้งความมุ่งหมายส่วนสำคัญไปในทางสร้างชาติ โครงงานต่าง ๆ ได้วางไว้สำหรับ
ยามสันติ แต่ในช่วงเวลา ๓ ปีที่ได้รับภาระบริหารราชการแผ่นดินมาความเป็นไปของโลกได้
ผันผวนปรวนแปรรุนแรงขึ้นโดยลำดับ ในวันที่ ๑ กันยายน ๒๔๘๒ มหาสงครามได้อุบัติขึ้นในยุโรป
และเป็นสงครามที่ยืดยาวมาจนกระทั่งบัดนี้ ในวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๔๘๓ ประเทศไทย
ต้องจับอาวุธเข้าทำการสู้รบ ซึ่งเป็นเคราะห์ดีที่กลับสงบได้ในวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๔๘๔ ครั้นต่อมา
ถึงวันที่ ๘ ธันวาคม ปีเดียวกัน ก็ได้เกิดสงครามอันใหญ่หลวงขึ้นในทวีปเอเชีย ประเทศไทย
ได้เข้าร่วมมือกับญี่ปุ่นและต่อมาในวันที่ ๒๕ มกราคม ศกนี้ไทยได้ประกาศสงครามกับบริเตนใหญ่
และสหรัฐอเมริกาเมื่อเหตุการณ์ได้ผันผวนมาอย่างรุนแรงถึงเพียงนี้ก็ย่อมจะเป็นที่ประจักษ์แก่
สภานี้ว่าโครงงานต่าง ๆ ที่จัดตั้งไว้สำหรับในยามสงบนั้นไม่สามารถจะใช้ต่อไปได้ และนโยบาย
ที่แถลงไว้ตั้งแต่วันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๔๘๑ นั้นก็ย่อมจะพ้นสมัยคณะรัฐบาลชุดก่อนได้รู้สึกว่า
ไม่สามารถจะบริหารราชการแผ่นดินไปตามรูปการและนโยบายเก่านั้นได้จึงได้กราบถวายบังคม
ลาออกทั้งคณะเมื่อวันที่ ๖ เดือนนี้
บัดนี้ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ข้าพเจ้ากลับเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและควบคุม
ตั้งคณะรัฐบาลขึ้นใหม่ ข้าพเจ้าจึงขอแถลงนโยบายต่อสภาให้ทราบถึงแนวทางที่รัฐบาลนี้จะดำเนินต่อไป
สภานี้คงทราบตระหนักดีแล้วว่าการบริหารราชการแผ่นดินในยามสงครามนั้นจะใช้วิธีการ
อย่างเดียวกับในยามสันติหาได้ไม่ ข้อสำคัญในเบื้องต้นที่จะต้องแสดงออกให้แน่ชัดก็คือว่าในสถานการณ์
เช่นนี้
รัฐบาลจำต้องเรียกร้องให้ทุก ๆ คนเสียสละ และความเสียสละที่จะเรียกร้องนี้ก็จะต้องมี
ปริมาณมากกว่าในยามสงบ แต่อย่างไรก็ดีรัฐบาลนี้ขอรับรองให้คำมั่นว่าจะไม่ขอร้องให้เสียสละ
อย่างหนึ่งอย่างใดเกินไปกว่าความจำเป็นที่จะต้องรักษาความปลอดภัยและความเป็นอยู่ด้วยดีของชาติ
รัฐบาลมีความตั้งใจแน่วแน่ ที่จะปฏิบัติงานทุกอย่างด้วยความเข้มแข็ง ข้าราชการทุกคนจะต้อง
ได้รับความกวดขันให้อยู่ในวินัยอย่างเคร่งครัด และให้ปฏิบัติงานให้ก้าวหน้าเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ
จะได้มีการตรวจตราสอดส่องความซื่อสัตย์สุจริตทั้งในทางการเงิน และในการอื่น ๆ จะได้ดำเนินการให้มี
กฎหมาย กฎข้อบังคับ และระเบียบแบบแผนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ จะได้เผยแพร่กิจการของรัฐบาล
ให้ราษฎรทราบโดยละเอียดที่สุดที่จะทำได้ เพื่อให้รัฐบาลกับราษฎรมีการติดต่อกันได้อย่างใกล้ชิด
โดยเหตุที่ประเทศไทยอยู่ในสถานะสงคราม กำลังทหารย่อมเป็นสำคัญที่จะต้องเพิ่มพูน
สมรรถภาพยิ่งขึ้นเพื่อให้ได้ชัยชนะเป็นผลสำเร็จและย่อมทราบกันอยู่แล้วว่าสงครามนั้นไม่สามารถ
ทำได้แต่เพียงด้วยกำลังคนและกำลังอาวุธเท่านั้น ยังต้องอาศัยกำลังเงินเป็นปัจจัยอันสำคัญค่าใช้จ่าย
ย่อมจะต้องมีเพิ่มพูนมากขึ้นรายได้อันเกิดจากสินค้าและอุตสาหกรรมจะลดน้อยลงไป ซึ่งเป็นธรรมดา
ในทุก ๆ ประเทศที่อยู่ในสถานะสงครามสิ่งที่รัฐบาลจะสนใจอย่างดีที่สุดก็คือ ความมั่นคงในการคลัง
ของประเทศและในเวลาเดียวกันก็จะหาวิถีทางให้การเงินหมุนเวียนให้ราษฎรได้รับความสะดวกในการ
ซื้อขายอย่างดีที่สุดที่จะพึงทำได้
ข้าพเจ้าทราบดีว่าในสถานการณ์เช่นนี้ ทุก ๆ คนคงมีความวิตกห่วงใยถึงอนาคตของชาติ
ข้าพเจ้าจึงของแถลงไว้ในที่นี้ว่า สำหรับราษฎรโดยทั่วไปนั้นไม่พึงต้องวิตกอย่างใดการเข้าสงคราม
และการร่วมมือกับญี่ปุ่นในครั้งนี้ ก็ได้ยึดมั่นในหลักการที่เคารพเอกราชและอธิปไตยของกันและกัน
รัฐบาลนี้จะพยายามเต็มความสามารถที่จะรักษาหลักการอันนี้ไว้เสมอและก็จะพยายามทำทุก ๆ ทางที่
จะร่วมมือกับพันธมิตรของไทยจนกว่าจะได้ชัยชนะส่วนการติดต่อกับนานาประเทศซึ่งมิได้เป็นศัตรู
นั้นก็ยังพยายามทำไปด้วยดีเพื่อให้ประเทศไทยอยู่ในฐานะเทียบบ่าเทียมไหล่กับนานาชาติเสรีอยู่เสมอ
แต่ก็ย่อมทราบกันอยู่แล้วว่าการที่เราสามารถยกตนขึ้นเทียมบ่าเทียมไหล่กับนานาชาตินั้น จำจะต้อง
บำรุงให้ราษฎรของเรามีมาตรฐานการกินอยู่การครองชีพดียิ่งขึ้นให้สมกับที่เราเป็นอารยชนชาติที่เจริญ
ฉะนั้นรัฐบาลจึงจะสนใจในการบำรุงเศรษฐกิจเพื่อให้รัฐบาลและราษฎรได้มีฐานะทาง
เศรษฐกิจดียิ่งขึ้น นอกจากการครองชีพแล้ว รัฐบาลก็จะสนใจในการบำรุงรักษาอนามัยของราษฎร
เพื่อให้ราษฎรมีอายุยืน มีกำลังแข็งแรงปราบโรคภัยต่าง ๆ สภานี้คงจะได้เห็นความสนใจในเรื่องนี้
มาตั้งแต่ครั้งรัฐบาลเก่า ถึงกับได้จัดตั้งกระทรวงการสาธารณสุขขึ้นเป็นเคราะห์ดีอย่างหนึ่งที่ประเทศ
เราเป็นประเทศกสิกรรมซึ่งเป็นที่แน่ใจว่าถึงอย่างไรความอดอยากคงจะไม่มีมาแต่ถึงกระนั้นก็จะต้อง
ส่งเสริมให้ราษฎรประกอบอาชีพกสิกรรมให้ยิ่งขึ้น และหาทางให้ราษฎรได้รับผลจากงานกสิกรรมให้
ดีที่สุดที่จะทำได้การส่งผลิตผลแห่งกสิกรรมออกนอกประเทศ ซึ่งได้รับความกระทบกระเทือนเพราะ
การสงครามนั้น ก็จะได้พยายามทำให้กลับคืนดีขึ้นเพื่อให้เกิดผลแก่ราษฎรในเรื่องนี้รัฐบาลจะสนใจ
ยิ่งในเรื่องการคมนาคมเพราะการคมนาคมเป็นเส้นโลหิตของประเทศชาติซึ่งรัฐบาลจะกอบกู้และ
บำรุงทั้งในทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ ตลอดถึงการถนน การรถไฟและการเดินเรือทะเลเพื่อให้
เป็นประโยชน์แก่เศรษฐกิจและการสัญจรไปมาของมหาชนอย่างดีที่สุดที่จะทำได้ถึงแม้ราษฎรจะถูก
เรียกร้องให้เสียสละเพื่อช่วยประเทศชาติในยามสงครามดังกล่าวมาข้างต้นแล้วก็ดีรัฐบาลก็จะไม่
ปล่อยปละละเลยในการที่จะปกครองให้ราษฎรได้รับความร่มเย็นเป็นสุขตามที่จะพึงทำได้ในสภาพ
การเช่นนี้รัฐบาลจะปกครองราษฎรอย่างญาติพี่น้องและพยายามเพิ่มพูนความวัฒนาถาวรให้ทุก
วิถีทางการปราบปรามโจรผู้ร้ายจะได้กระทำด้วยความเข้มงวดกวดขันยิ่งขึ้น และถึงแม้ยามนี้เป็น
เวลาใช้กฎอัยการศึกรัฐบาลก็จะรักษาไว้ซึ่งเอกราชในการศาลและรักษาฐานะของผู้พิพากษาตามควร
แก่อิสระที่มีในการพิจารณาพิพากษาคดีและบ้านเมืองจะอยู่ในสถานการณ์ใดก็ตามรัฐบาลจะไม่ละเลย
ในการบำรุงการศึกษาของชาติให้ขึ้นสู่ระดับอันดียิ่งขึ้นไปเพื่อให้เทียบทันอารยประเทศให้เร็วที่สุดโดย
อาศัยการปรับปรุงหลักสูตรตำราเรียนการยกย่องฐานะของครูให้สมกับที่จะเป็นผู้สั่งสอนอบรมกุลบุตร
กุลธิดาของชาติทั้งจะพยายามจัดการศึกษาให้มีระดับเดียวกันทั่วราชอาณาจักรด้วยตามที่กล่าวมา
ข้างต้นนั้นเป็นข้อความย่อ ๆ โดยทั่วไปต่อไปนี้จะได้แถลงนโยบายของแต่ละกระทรวงเพื่อให้สภา
นี้ทราบ
๑. กระทรวงกลาโหม
โดยเหตุที่ประเทศนี้อยู่ในสถานะสงคราม รัฐบาลจะบำรุงกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพ
อากาศให้มีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น ทั้งในคุณภาพและปริมาณเพื่อดำเนินการรบร่วมกับพันธมิตรของไทย
ให้บรรลุถึงชัยชนะและในการนี้จะได้แสวงหาทางชักชวนให้ราษฎรทั่วไปบำรุงการทหารให้ยิ่งขึ้น
๒. กระทรวงการคลัง
โดยเหตุที่การเงินเป็นปัจจัยอันสำคัญในการดำเนินสงครามไปสู่ชัยชนะ รัฐบาลจึงจะจัด
ระเบียบการคลังให้เข้ารูปเหมาะสมกับในยามสงครามโดยวิธีการดังต่อไปนี้
๑. จัดควบคุมเครดิตให้เหมาะสมกับความต้องการของประเทศเพื่อความมั่นคงแห่งเงินตรา
๒. จะพยายามรักษาความมั่นคงแห่งเงินตราตามกฎหมายให้เหมาะสมกับสถานการณ์
๓. จะพยายามแก้ไขให้ประชาชนได้รับความสะดวกในการเสียภาษีอากรยิ่งขึ้น
๔. จะจัดการป้องกันมิให้การหมุนเวียนของการเงินต้องขัดข้อง หยุดชะงักเพราะสภาพสงคราม
๓. กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อสงครามมหาเอเชียตะวันออกได้อุบัติขึ้น ประเทศไทยซึ่งมีมิตรสัมพันธ์กับญี่ปุ่นอย่าง
สนิทสนมยิ่งอยู่แล้วนั้นได้พิจารณาเห็นว่าการสถาปนาระเบียบใหม่ในเอเชียตะวันออกเป็นทางที่จะ
ประสิทธิ์ความไพบูลย์ในวงเขตนี้ และเป็นเงื่อนไขอันจำเป็นที่จะยังสันติภาพแห่งโลกให้คืนดีและ
มั่นคงแข็งแรงจึงได้ตกลงทำกติกาสัญญาพันธไมตรีกับญี่ปุ่นซึ่งมีข้อความสำคัญว่า ต่างฝ่าย
ต่างเคารพเอกราชและอธิปไตยแห่งกันและกันและในกรณีที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอยู่ในการขัดกันทาง
อาวุธกับประเทศภายนอกอีกฝ่ายหนึ่งจะเข้าเป็นพันธมิตรทันทีและจะให้ความช่วยเหลือด้วยบรรดา
ปัจจัยในทางการเมือง การเศรษฐกิจและการทหาร
การที่ประเทศไทยเข้าร่วมมือกับญี่ปุ่นตามกติกาสัญญาที่กล่าวข้างต้นนั้น ย่อมจะช่วยให้
สงครามในบุรพทิศสำเร็จเสร็จสิ้นลงโดยง่าย และจะนำสันติสุขมาสู่ชาวเอเชียตะวันออกโดยรวดเร็ว
ฉะนั้นรัฐบาลนี้จะดำเนินการให้สำเร็จตามผลกติกาสัญญานั้น เพื่อให้สมกับฐานะที่ประเทศไทยเป็น
ประเทศเอกราชร่วมมือกับประเทศญี่ปุ่นในมหาเอเชียตะวันออกและเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์อันสูง
คือ สันติสุขของชาวบุรพทิศดังกล่าวแล้ว
รัฐบาลจะจำเริญมิตรภาพกับอักษะประเทศ ซึ่งร่วมอุดมคติกันอยู่นั้นให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น จะ
ส่งเสริมสัมพันธ์ไมตรีกับบรรดามิตรประเทศให้สนิทสนมมากขึ้นด้วย และจะดำเนินการทุกวิถีทาง
เพื่อมิให้ประชาชนต้องวิตกเรื่องเอกราชและอธิปไตยของชาติ
๔. กระทรวงการเศรษฐกิจ
ในการบำรุงเศรษฐกิจของประเทศนั้น รัฐบาลจะได้ร่วมมือกับประชาชนในฐานะเป็นผู้นำ
กิจการใดอันเป็นสิ่งสำคัญสำหรับชาติ รัฐบาลจะเป็นผู้นำทำหรือเข้าร่วมมือกับเอกชน แต่การใดที่
เห็นควรจะปล่อยได้ก็จะได้ปล่อยให้บริษัทหรือเอกชนดำเนินการต่อไป
เพื่อให้ได้ผลในทางเศรษฐกิจของชาติ กระทรวงการเศรษฐกิจจะได้ดำเนินการดังต่อไปนี้
๑. จะแก้ไขการค้าอันถูกกระทบกระเทือนจากสงครามให้สู่สภาพดีขึ้น โดยวิธีหาตลาดสินค้าไทย
ภายนอกประเทศ และส่งเสริมคุณภาพและปริมาณสินค้าภายในประเทศให้ดีขึ้นเป็นลำดับ
๒.จะจัดหาเครื่องอุปโภคและบริโภคที่จำเป็นในการครองชีพให้เพียงพอแก่ความต้องการของ
ประชาชน
๓. จะดำเนินการควบคุมเครื่องอุปโภคและบริโภคที่จำเป็นแก่การครองชีพ หาทางป้องกันแก้ไข
ความเดือดร้อนของประชาชน ซึ่งอาจจะมีขึ้นโดยเนื่องจากเครื่องอุปโภคและบริโภคขาดแคลน
๔. จะส่งเสริมอบรมคนไทยให้เกิดความรู้ความชำนาญในการอุตสาหกรรมเหมืองแร่
๕. จะสำรวจในทางธรณีวิทยา เพื่อค้นหาโภคทรัพย์ใต้ดินสำหรับใช้ในการอุตสาหกรรม
๖. จะบำรุงอุตสาหกรรมภายในครอบครัว และส่งเสริมอุตสาหกรรมหรือจัดสร้างโรงงานบางอย่าง
ที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีพของประชากรขึ้น เพื่อทำวัตถุดิบภายในให้เป็นสินค้าสำเร็จรูป โดยจะจัดตั้งเป็น
องค์การสำหรับดำเนินการ
๕. กระทรวงการสาธารณสุข
นโยบายของกระทรวงการสาธารณสุขนั้น มุ่งผลสำคัญในทางเพิ่มพูนประชากรของชาติ
ไม่แต่เฉพาะในทางปริมาณ แต่จะสนใจในทางคุณภาพและวัฒนธรรมด้วย
เพื่อให้ได้ผลดั่งกล่าว กระทรวงการสาธารณสุขจะได้ดำเนินการดังต่อไปนี้
๑. จะจัดการป้องกันและกำจัดโรคสำคัญซึ่งเป็นเหตุให้ประชากรตายมาก และหาวิธีทาง
ส่งเสริมให้เด็กเกิดมามีอนามัยดี ไม่ตายเสียแต่อายุยังเยาว์
๒. จะปรับปรุงการสุขาภิบาลชนบทและในเขตเทศบาลให้มีสภาพดีขึ้น กับจะเร่งเผยแพร่
การสุขศึกษาแก่ประชาชนยิ่งขึ้น
๓. จะจัดให้มีสถานพยาบาลสำหรับบำบัดโรคแก่ประชากรให้มากแห่งขึ้น เช่น การเพิ่มสุข
ศาลาโรงพยาบาลบำบัดโรคทั่วไปและบำบัดโรคเฉพาะ เช่น โรคไข้จับสั่น กามโรค วัณโรค และ
โรคเรื้อน เป็นต้น
๔. จะจัดขยายการรับนักศึกษาในทางแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ เภสัชกรรมศาสตร์ และ
สัตวแพทยศาสตร์ให้มีจำนวนผู้สำเร็จการศึกษาตามมาตรฐานสากลให้มากขึ้น จะจัดการอบรมบรรดา
นายแพทย์และเภสัชกรที่สำเร็จการศึกษาไปแล้วให้มีความรู้เพิ่มพูนยิ่งขึ้นด้วย
๕. จะจัดการอบรมเจ้าหน้าที่ให้มีความรู้ในทางวิชาการ และปฏิบัติการเพื่อช่วยเหลือนายแพทย์
ในทางธุรการทั่วไป
๖. จะจัดให้มีการตรวจค้นหาความรู้ในเรื่องสรรพคุณยาสมุนไพร และยาอื่น ๆ ภายใน
ประเทศเพื่อนำมาดัดแปลงเป็นยาแผนปัจจุบัน และขยายกิจการทำยาให้มากชนิดและมีปริมาณ
มากขึ้นนอกจากนี้จะจัดทำวัคซีน และเซรุ่มป้องกันและบำบัดโรคต่าง ๆ ให้มีมากชนิด และมี
ปริมาณพอความต้องการภายในประเทศ
๗. จะส่งเสริมให้ประชาชนมีวัฒนธรรม และมีการครองชีพเหมาะสมกับความเป็นอยู่ตาม
ท้องถิ่นภูมิลำเนานั้น ๆ กับจะจัดการสงเคราะห์ผู้ไร้อาชีพให้มีงานทำตลอดจนอุปการะคนทุพพลภาพ
คนชราและเด็กไร้ที่พึ่งด้วย
๖. กระทรวงเกษตราธิการ
นโยบายกระทรวงเกษตราธิการ มีหลักสำคัญที่จะต้องบำรุงกสิกรรมให้ได้ผลเพิ่มพูนยิ่งขึ้น
โดยรวดเร็วเพื่อให้พืชผลพอใช้ในประเทศในยามสงครามและเพื่อให้สามารถส่งพืชผลออกขายนอก
ประเทศอย่างดีที่สุดที่จะทำได้
เพื่อการนี้ กระทรวงเกษตราธิการจะได้ดำเนินการดั่งต่อไปนี้
๑. จะบำรุงพืชพื้นเมืองตลอดถึงสัตว์ให้มีคุณภาพและปริมาณเป็นสินค้าสำคัญยิ่งขึ้น
๒. จะบำรุงหนองและบึงให้เป็นที่เพาะและแพร่พันธ์ปลา และส่งเสริมการประมงทางทะเล
๓. จะทำงานก่อสร้างทางชลประทานที่ค้างอยู่ให้แล้วเสร็จ และจัดวางโครงการต่อไป ใน
ภาคใดยังไม่สามารถจัดวางโครงการใหญ่ได้ ก็จัดวางโครงการย่อยตามลำดับความจำเป็น
๔.จะบำรุงรักษาป่าและดำเนินการเรื่องสินค้าไม้ให้เป็นผลดียิ่งขึ้นทั้งในคุณภาพและปริมาณ
๕. จะขยายการสหกรณ์กู้ยืม และจัดตั้งสหกรณ์รูปอื่นสุดแต่ความจำเป็นก่อนหลัง
๗. กระทรวงคมนาคม
โดยเหตุที่การคมนาคมเป็นอุปกรณ์สำคัญในการดำเนินสงคราม และการบำรุงเศรษฐกิจของ
ประเทศกระทรวงคมนาคมจะได้ปฏิบัติการเพื่อให้ได้ผลในทางที่จะเป็นประโยชน์แก่สงครามและความจำ
เป็นทางเศรษฐกิจดั่งต่อไปนี้
๑. จะส่งเสริมการคมนาคมทางบก ทางน้ำ และทางอากาศให้ดียิ่งขึ้น
๒. การสื่อสารทางไปรษณีย์ โทรเลข โทรศัพท์ และวิทยุ ก็จะปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นโดยลำดับ
๓. ความไม่สะดวกบางประการในทางคมนาคม และในทางสื่อสารอันเป็นผลเนื่องมาจาก
สงครามนั้นจะจัดการแก้ไขโดยเร็วที่ตามกำลังทรัพย์และกำลังคนที่จะทำได้
๔. จะขยายการออมสินให้ครบรูป
๘. กระทรวงมหาดไทย
ความมุ่งหมายสำคัญในกิจการอันเป็นหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทย ก็คือ การปกครอง
ราษฎรให้มีความปลอดภัยและผาสุก และอบรมสั่งสอนให้มีความเจริญด้วยวัฒนธรรม ศีลธรรม
ตลอดถึงการชี้แจงแนะนำในการประกอบอาชีพให้ได้ผลเป็นที่พึ่งตนเองได้
เพื่อให้ได้ผลดั่งกล่าวข้างต้นนี้ กระทรวงมหาดไทยจะได้ดำเนินการดังต่อไปนี้
๑. การตำรวจ จะให้ความอารักขาและความปลอดภัยแก่ประชาชนในเรื่องโจรผู้ร้ายและ
การละเมิดอันเป็นอาญาอื่น ๆโดยจัดการป้องกันและปราบปรามอย่างกวดขันโดยที่ฝ่ายตำรวจเข้า
รับหน้าที่การสอบสวนคดีจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองมาจัดการดำเนินการทางตำรวจและปรับปรุง
กฎหมายในเรื่องนี้แล้วรัฐบาลนี้จึงจะเพิ่มจำนวน และปรับปรุงสมรรถภาพของตำรวจให้เข้มแข็ง
ยิ่งขึ้นเพื่อความสันติสุขของประชาชนทั่วไปในราชอาณาจักร
๒. การมหาดไทยจะปรับปรุงสมรรถภาพเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองให้เข้มแข็งยิ่งขึ้นเพื่อให้
มีความสมรรถภาพหนักไปในทางอบรมสั่งสอนและช่วยเหลือราษฎรให้ตั้งหน้าประกอบการอาชีพเป็น
หลักฐานซึ่งจะยังผลสมบูรณ์ให้แก่ครอบครัว และประเทศชาติในยามคับขันเช่นนี้กับจะชักจูงแนะนำ
ให้ราษฎรรู้จักตั้งตนอยู่ในศีลธรรมอันดีและเจริญด้วยวัฒนธรรม อันจะเป็นทางนำให้ตั้งตนไว้โดยชอบ
ทั้งจะปรับปรุงการปกครองในส่วนท้องถิ่นให้มีความวัฒนาและเหมาะสมแก่กาลสมัยยิ่งขึ้น
๓. การสาธารณูปโภค เพื่อประโยชน์แก่ความสะดวกปลอดภัยและความสวยงามแก่บ้านเมือง
จะได้ดำเนินการเร่งรัดในเรื่องน้ำบริโภคและไฟฟ้าให้มีขึ้นโดยทั่วไปและดำเนินการเรื่องจัดระเบียบ
ผังเมืองโดยวิธีให้เจ้าหน้าที่ผู้ทรงคุณวุฒิออกแบบแผนผังเมืองและแนะนำช่วยเหลือแก่ที่ชุมชนและ
เทศบาล เพื่อให้สำเร็จลุล่วงตามความมุ่งหมายนี้
๔. การที่ดินจะควบคุมที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินให้เป็นไป
ในทางที่จะบังเกิดผลอันดี โดยร่วมมือกับกระทรวงทบวงกรมเจ้าหน้าที่อื่นเพื่อให้ได้มีการจัดประเภท
ที่ดินเพื่อเป็นผลอันดีในทางเศรษฐกิจ มีการป่าไม้ แร่ เกษตร เป็นต้น จะช่วยบุคคลที่ตั้งใจประกอบ
อาชีพตามอิสระให้ได้รับความสะดวกในการจับจองที่ดินรกร้างว่างเปล่าส่วนที่ดินที่ตกเป็นกรรมสิทธิ์
หรือมีสิทธิครอบครองได้รับหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองเป็นหลักฐานไว้ในมือ
กับจะปรับปรุงกฎหมายและระเบียบปฏิบัติใหม่ให้เหมาะสมกับกาลสมัย
๕. การราชทัณฑ์ จะอบรมกล่อมเกลาดัดนิสัยอาชญากรให้มีศีลธรรมปลูกฝังให้มี
ความซาบซึ้งในหลักธรรมของธรรมจริยา เพื่อเป็นผลให้ละชั่วประพฤติตัวเป็นพลเมืองดีต่อไปและ
สั่งสอนให้รู้จักและรักการประกอบอาชีพทางสัมมาอาชีวะกับทั้งจะทวีการจัดตั้งทัณฑนิคมให้มีปริมาณ
เพิ่มขึ้นสำหรับผู้ต้องขังที่ประพฤติตัวดี
๙. กระทรวงยุติธรรม
ถึงแม้จะเป็นยามสงคราม และมีการประกาศกฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักรแล้วก็ดี นโยบายของ
กระทรวงยุติธรรมก็ยังยึดมั่นในหลักสำคัญดังต่อไปนี้
๑. จะรักษาไว้ซึ่งทางเอกราชในทางศาล
๒. จะรักษาและส่งเสริมฐานะของผู้พิพากษาตามควรแก่อิสระที่มีในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี
๓. จะสอดส่องให้กระบวนพิจารณาในศาลดำเนินไปโดยรวดเร็วเพื่อประโยชน์ของราษฎร
๑๐. กระทรวงศึกษาธิการ
นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการมีจุดประสงค์ที่จะอบรมพลเมืองของชาติให้มีคุณลักษณะ
เหมาะสมกับความต้องการของชาติในปัจจุบัน และให้ก้าวหน้าทันความเจริญของบ้านเมืองในอนาคต
กระทรวงศึกษาธิการจะได้ดำเนินการดั่งต่อไปนี้
๑. สามัญศึกษา โดยทั่วไปจะเร่งรัดส่งเสริมคุณภาพ สมรรถภาพ และผดุงฐานะของครูให้ดี
ยิ่งขึ้นกับจะปรับปรุงหลักสูตร แบบเรียน ให้เหมาะสมแก่กาลสมัยและให้ได้ระดับมาตราฐานสม่ำเสมอ
กันทั่วราชอาณาจักรสำหรับการศึกษาภาคบังคับจะขยายออกไปตามความประสงค์ของพระราชบัญญัติ
ประถมศึกษาส่วนภาคนอกบังคับจะจัดให้การศึกษาในโรงเรียนสตรีชั้นมัธยมบริบูรณ์ทั่วทุกจังหวัด เช่น
ที่ได้จัดแก่โรงเรียนชายโดยครบถ้วนแล้วนอกจากนี้จะสนับสนุนช่วยเหลือ และปรับปรุงโรงเรียนราษฎร์
ให้ทวีขึ้นทั้งปริมาณและคุณภาพ
๒. อาชีวศึกษา จะจัดให้มีสถานศึกษาอาชีพประเภทต่าง ๆ เป็นปึกแผ่นเหมาะสมกับท้องถิ่น
ตามลำดับความจำเป็น จะปรับปรุงและปฏิบัติงานให้เหมาะสมแก่ความต้องการของประเทศชาติโดย
เฉพาะในขณะที่อยู่ในภาวะคับขัน โดยจะฝึกหัดและเพิ่มจำนวนช่างฝีมือประเภทต่าง ๆให้มีความรู้ความ
ชำนาญในวิชาชีพที่จำเป็นให้เพียงพอและส่งเสริมให้ประกอบประดิษฐกรรมบางชนิดขึ้นได้เองให้
สอดคล้องกับโครงการอุตสาหกรรมของรัฐบาลด้วย
๓. จะปรับปรุงอุดมศึกษาให้มีคุณภาพและปริมาณยิ่งขึ้น โดยจัดเพิ่มแผนกวิชาขึ้นตามความ
จำเป็นกับจะได้จัดตั้งโรงเรียนเตรียมอุดม และมหาวิทยาลัยในส่วนภูมิภาคตามลำดับ
๔. จะเร่งส่งเสริมการพลศึกษา โดยให้นักเรียนได้รับการฝึกอบรมการกีฬาให้มากยิ่งขึ้นเพื่อ
ความสมบูรณ์ในร่างกายและพลานามัย มีจิตใจเป็นนักกีฬา และเป็นพลเมืองที่เข้มแข็งของชาติ ทั้งจะให้
การพลศึกษาแพร่หลายเป็นประโยชน์ถึงประชาชนอีกด้วย
๕. การศึกษาผู้ใหญ่ จะกวดขันผู้ใหญ่ที่ไม่รู้หนังสือได้รับการศึกษาจนอ่านออกเขียนได้เข้าใจ
หน้าที่ของพลเมือง และเป็นกำลังส่งเสริมนโยบายของรัฐบาลให้เหมาะสมกับกาลสมัย
๖. จะรักษาส่งเสริมศิลปกรรมของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการช่างฝีมือไทยแบบโบราณให้
รุ่งเรืองถาวรเป็นเครื่องเชิดชูเกียรติและวัฒนธรรมของชาติจะได้ผดุงการศึกษาศิลปกรรมแบบใหม่
และดัดแปลงใช้ให้เหมาะสมกับความต้องการของประเทศไทยจะใช้ศิลปกรรมเป็นอุปกรณ์ช่วยการ
ศึกษาผู้ใหญ่ทั้งในทางความรู้และคุณภาพทางใจ
๗. ในส่วนพระพุทธศาสนา จะดำเนินการให้สมบูรณ์ตามบทแห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์
โดยเร็วจะได้พยายามสังคายนาพระไตรปิฎกตามความในบทเฉพาะกาลแห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์
และจะพยายามให้ทางศาสนาได้มีความสัมพันธ์เป็นอันดีกับทางอาณาจักรเพื่อส่งเสริมให้เกิดประโยชน์
ร่วมกันทั้งในทางพระศาสนาและทางบ้านเมือง
๘. จะเร่งรัดการอบรมจิตใจ วินัย ความสามัคคี และวัฒนธรรมแก่นักเรียนตั้งแต่เยาว์วัย
เพื่อให้เป็นพลเมืองที่เข้มแข็งในอนาคต กับจะดำเนินการขจัดเหตุที่ก่อให้เกิดการละเมิดศีลธรรม
ในหมู่ยุวชน
รัฐบาลมีความตั้งใจอันแน่วแน่ที่จะปฏิบัติงานของชาติให้สำเร็จสมบูรณ์ตามนโยบายที่แถลง
มาข้างต้นนี้แต่การที่จะปฏิบัติให้เป็นผลสำเร็จได้ก็ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจของทุกฝ่ายถึงเวลาที่
ชาติต้องเรียกร้องให้ชนในชาติทุก ๆ คน มีสมานฉันท์เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เพื่อจะนำชาติผ่านพ้นวิกฤต
กาลทางการเมืองของโลกรัฐบาลจึงมีความเชื่อมั่นว่าจะได้รับความร่วมแรงร่วมใจของสภาผู้แทนราษฎร
และให้ความไว้วางใจแก่รัฐบาลตามบทบัญญัติมาตรา ๕๐ แห่งรัฐธรรมนูญเพื่อให้รัฐบาลคณะนี้สามารถ
ดำเนินการบริหารไปตามนโยบายดังที่แถลงไว้ข้างต้นนั้น
*รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ ๑๓/๒๔๘๔ - ๒๔๘๕ (วิสามัญครั้งที่ ๓) สมัยที่ ๒ ชุดที่ ๓
วันจันทร์ที่ ๑๖ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๘๕ หน้า ๒๖๖ - ๒๗๗ |
11 | คณะรัฐมนตรี คณะที่ ๑๑
พันตรี ควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี
ตั้งแต่วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๔๘๗ - ๑๗ สิงหาคม ๒๔๘๘
แถลงนโยบาย เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๗
คำแถลงนโยบายของรัถบาล*
ท่านประธานสภาฯ และสมาชิกทั้งหลาย
เนื่องได้ซงพระกรุนาโปรดเกล้าฯ ไห้ข้าพเจ้าดำรงตำแหน่งนายกรัถมนตรีตามประกาส
ตั้งนายกรัถมนตรี ลงวันที่ ๑ สิงหาคม พุทธสักราช ๒๔๘๗ นั้น บัดนี้ ข้าพเจ้าได้จัดตั้งคณะรัถมนตรี
เส็ดแล้วตามประกาศตั้งและแต่งตั้งรัถมนตรี ลงวันที่ ๒ สิงหาคม พุทธสักราช ๒๔๘๗
ไนระหว่างภาวะสงครามเช่นนี้ การที่จะเข้าบริหารราชการแผ่นดินย่อมมีภาระที่หนักอยู่มากยิ่ง
ประเทสหยู่ในสถานะการน์ที่คับขันที่สุดหย่างไนเวลานี้ด้วยแล้ว ก็ยิ่งเพิ่มความยากลำบากไห้แก่รัถบาล
เปนอเนกประการ แต่รัถบาลนี้ขอปติญานว่า จะต่อสู้ต่ออุปสัคทั้งปวงเพื่อสนองคุนชาติบ้านเมือง
จนสุดความสามารถ ฉะนั้นเพื่อไห้โอกาสรัถบาบนี้เข้าบริหารงานได้โดยด่วน อีกทั้งนี้เพื่อได้เหมาะสม
กับสถานะการน์ของบ้านเมืองปัจจุบัน รัถบาลนี้จึงของแถลงนโยบายแต่เพียงสั้น ๆ ไว้ต่อสภาผู้แทนราสดร
ดังต่อไปนี้
๑. รัถบาลนี้เปนรัถบาลของสมเด็จพระเจ้าหยู่หัวไนระบอบประชาธิปไตยอันมีรัถธัมนูญเปนหลัก
ปติบัติ
๒. รัถบาลนี้จะยึดหลัก ๖ ประการของคนะราสดร เปนหลักบริหารราชการแผ่นดิน อาทิ เช่น
หลักเอกราช หลักรักสาความสงบพายไน หลักเอกราชไนทางเสถกิจ หลักสิทธิเสมอภาค หลักเสรีภาพ และ
หลักการสึกสา
๓. รัถบาลนี้จะบริหารงานด้วยความเข้มแข็ง และซื่อสัตย์สุจริตต่อพระมหากสัตรต่อรัถธัมนูญ
และต่อประชาชน สิ่งไดที่เป้นความเดือดร้อนของราสดรส่วนมากหรือที่สภา ฯ นี้ร้องขอแล้ว รัถบาลนี้จะได้
พยายามช่วยเหลือแก้ไขไห้เต็มความ และถ้าสิ่งไดที่เปนความต้องการหรือที่เปนความสุขของประชาชนแล้ว
ก็จะรีบส่งเสิมจัดทำขึ้นเท่าที่สามารถจะทำได้
๔. รัถบาลนี้จะบริหารงานและดำเนินการปกครอง ไปไนทางเห็นอกเห็นไจประชาชนเปนที่ตั้ง
๕. รัถบาลนี้จะพยายามรักสาความมั่นคงแห่งเงินตราและจะไช้จ่ายโดยทางประหยัด
๖. ไนส่วนนโยบายต่างประเทสนั้น รัถบาลนี้จะได้ร่วมมือกับยี่ปุนโดยไกล้ชิดตามสัญญาพันธกร
นี่ที่ได้มีต่อกันไว้ด้วยดี ส่วนกับนานาประเทสอื่น รัถบาลนี้ก็จะพยายามส่งเสิมความสัมพันธไมตรีตามสนธิสัญญา
ซึ่งมีหยู่ต่อกันและกันด้วยดี
จึงขอเสนอสภาผู้แทนราสดร เพื่อไห้ความไว้วางใจแก่รัถบาลคนะนี้ตามบทบัญญัติแห่ง
รัถธัมนูญ มาตรา ๕๐ เพื่อจะได้เข้าบริหารงานต่อไป
*รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ ๘/๒๔๗๘ (สามัญ) สมัยที่ ๒ ชุดที่ ๓
วันพรึหัสบดีที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ หน้า ๑๔๕ - ๑๔๖ |
12 | คณะรัฐมนตรี คณะที่ ๑๒
นายทวี บุณยเกตุ เป็นนายกรัฐมนตรี
ตั้งแต่วันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๔๘๘ - ๑๗ กันยายน ๒๔๘๘
แถลงนโยบาย เมื่อวันเสาร์ที่ ๑ กันยายน ๒๔๘๘
คำแถลงนโยบายของรัฐบาล*
ท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร และท่านสมาชิกผู้มีเกียรติทั้งหลาย
เนื่องจากได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ข้าพเจ้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ตามประกาศลงวันที่ ๓๑ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๘๘ นั้นบัดนี้ข้าพเจ้าได้จัดตั้งคณะรัฐมนตรี
เสร็จแล้วโดยที่การจัดตั้งรัฐบาลนี้ได้กระทำในระหว่างหัวเลี้ยวแห่งสงครามกับสันติภาพจึงมี
ภาระมากหลายซึ่งจะต้องรีบปฏิบัติโดยด่วนเพื่อให้ทันกับเหตุการณ์และให้สอดคล้องเหมาะสม
ในอันที่จะดำเนินการเจรจากับฝ่ายสหประชาชาติต่อไปฉะนั้นภายในระยะเวลาที่รัฐบาลนี้จะพึงปฏิบัติ
จึงขอแถลงนโยบายเพียงสั้น ๆดังต่อไปนี้
๑. รัฐบาลนี้จะเป็นรัฐบาลของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและจะยึดหลักการปกครองตามระบอบ
ประชาธิปไตยโดยเคร่งครัด
๒. รัฐบาลนี้จะปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระบรมราชโองการประกาศสันติภาพที่ได้ประกาศ
ไว้เมื่อวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๔๘๘
๓. ในสวนนโยบายการต่างประเทศนั้นรัฐบาลนี้จะร่วมมือกับสหประชาชาติในทุกวิถีทาง
และจะพยายามส่งเสริมสัมพันธไมตรีให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นและพร้อมที่จะร่วมมือกับสหประชาชาติในอันที่
จะสถาปนาเสถียรภาพของโลกโดยยึดมั่นในอุดมคติซึ่งสหประชาชาติได้วางข้อตกลงไว้ ณ นคร
ซานฟานซิสโก
รัฐบาลขอให้คำมั่นว่าจะพยายามโดยเต็มกำลังความสามารถที่จะให้ประเทศไทยได้ผลดี
ที่สุดและให้ได้รับความกระทบกระเทือนน้อยที่สุดเท่าที่สามารถจะทำได้
๔. สำหรับนโยบายภายในนั้นเนื่องจากสถานะสงครามจึงเป็นเหตุให้มีโจรผู้ร้ายและผู้หย่อน
ในศีลธรรมมากขึ้นกว่าในเวลาปกติ รัฐบาลนี้จะได้พยายามปราบปรามและแก้ไขเพื่อรักษาความสงบ
ภายในให้เรียบร้อยเพื่อจะได้เข้าบริหารงานตามความในมาตรา ๕๐ แห่ง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร
ไทยสืบไป
*รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ ๑๖/๒๔๘๘ (สามัญ) สมัยที่ ๒ ชุดที่ ๓
วันเสาร์ที่ ๑ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๘๘ หน้า ๕๔๗ - ๕๔๘ |
13 | คณะรัฐมนตรี คณะที่ ๑๓
หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี
ตั้งแต่วันที่ ๑๗ กันยายน ๒๔๘๘ - ๑๕ ตุลาคม ๒๔๘๘
แถลงนโยบาย เมื่อวันพุธที่ ๑๙ กันยายน ๒๔๘๘
คำแถลงนโยบายของรัฐบาล*
ท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร และท่านสมาชิกผู้มีเกียรติทั้งหลาย
เนื่องจากได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ข้าพเจ้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ตามประกาศลงวันที่ ๑๗ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๘๘ บัดนี้ข้าพเจ้าได้จัดตั้งคณะรัฐมนตรีเสร็จแล้ว
ในการที่ข้าพเจ้าและคณะรัฐบาลนี้เข้าบริหารราชการในระหว่างที่ประเทศชาติอยู่ใน
สถานการณ์เช่นนี้ท่านผู้มีเกียรติทั้งหลายย่อมจะทราบอยู่เองว่ารัฐบาลจะต้องมีความรับผิดชอบ
หนักเพียงใด แต่ถึงกระนั้นก็ดีรัฐบาลก็ขอให้คำมั่นต่อสภาผู้แทนราษฎรว่าจะบริหารงาน ฟันฝ่า
อุปสรรคเพื่อประโยชน์แก่ประเทศชาติอย่างดีที่สุดเท่าที่สามารถจะปฏิบัติได้รัฐบาลนี้จึงขอแถลง
นโยบายไว้ต่อสภาผู้แทนราษฎร ดั่งต่อไปนี้
๑. รัฐบาลนี้เป็นรัฐบาลของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในระบอบประชาธิปไตยอันมีรัฐธรรมนูญ
เป็นหลักปฏิบัติ
๒. รัฐบาลนี้จะบริหารราชการแผ่นดินด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และด้วยความจงรักภักดี
ต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และรัฐธรรมนูญ
๓. รัฐบาลนี้จะได้แยกราชการประจำกับราชการฝ่ายการเมืองออกจากกันให้เด็ดขาด
เพื่อให้การปกครองได้เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
๔. เนื่องจากสงครามเป็นเหตุทำให้จิตใจและศีลธรรมของมนุษยชาติเสื่อมทรามลง
สำหรับนโยบายภายในรัฐบาลจึงเห็นควรแก้ไขปรับปรุงในด้านจิตใจและศีลธรรมของประชาชน
คนไทยรวมทั้งข้าราชการโดยจะได้ดำเนินการเป็นการด่วน
(ก) รักษาความสงบภายในให้อยู่ในสภาพเรียบร้อย
(ข) ปรับปรุงและส่งเสริมสมรรถภาพของข้าราชการในการศึกษานอกจากจะพยายาม
แก้ไขในส่วนที่ถูกกระทบกระเทือนจากการสงครามให้สู่สภาพปกติโดยเร็วแล้วจะพยายามปรับปรุง
คุณภาพของการศึกษาโดยทั่ว ๆ ไปให้ดีขึ้นและจะเพ่งเล็งถึงศีลธรรมและอนามัยของนักเรียนเป็น
สำคัญทั้งนี้โดยมีจุดหมายที่จะให้
(ค) ได้พลเมืองดีเหมาะสมกับชาติที่รักสงบ
๕. ในทางการคลัง
(ก) รัฐบาลจะจัดวางรากฐานแห่งการปรับปรุงรายได้รายจ่ายเสียใหม่ให้เหมาะแก่กาละ
เพื่อให้งบประมาณมีทางกลับเข้าสู่ดุลยภาพโดยเร็วและให้มีเงินจ่ายในการบูรณะบ้านเมืองตามสมควร
(ข) จะจัดดำเนินการในทางอันจะดำรงไว้ซึ่งเสถียรภาพแห่งเงินตราไทยเพื่อให้พ่อค้า
ประชาชนได้อาศัยหลักที่มั่นคงในการประกอบการค้าและธุรกิจต่อไป
(ค) จะปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาบรรดาที่รัฐบาลก่อน ๆ ได้ให้ไว้ในการกู้เงินสาธารณะ
๖. ในทางเกษตรกรรม จะพยายามส่งเสริมการเพาะปลูกการป่าไม้ การเลี้ยงสัตว์และการ
ประมงให้มีปริมาณและคุณภาพดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะการปลูกข้าวซึ่งไม่ได้ผลดีเนื่องจากอุทกภัยและ
ภาวะสงครามนั้นจะได้พยายามแก้ไขให้คืนดีเพื่อให้มีปริมาณเหลือพอที่จะจำหน่ายให้แก่สหประชาชาติ
มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
๗. ในส่วนที่เกี่ยวแก่อุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมนั้นจะได้ส่งเสริมให้ประชาชาชนได้
ประกอบโดยเสรีเพื่อการนี้จะได้พยายามปล่อยการค้าและอุตสาหกรรมซึ่งรัฐบาลได้ทำอยู่บางอย่าง
ให้ประชาชนได้ประกอบการ นั้น ๆ ต่อไปเท่าที่จะทำได้ อาทิเช่นจะได้ถอนตัวออกจากบริษัทที่รัฐบาล
ถือหุ้นเป็นส่วนใหญ่เสีย
๘. ในปัญหาการครองชีพเกี่ยวกับเครื่องอุปโภคบริโภคซึ่งอยู่ในระดับสูงนั้นรัฐบาลจะพิจารณา
และจัดการเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้ลดน้อยลงเท่าที่สามารถจะทำได้
๙. สำหรับการสาธารณสุขโดยที่สถานะสงครามเป็นเหตุให้ขาดเครื่องเวชภัณฑ์ต่าง ๆ ไม่เป็น
การเพียงพอที่จะป้องกันและรักษาโรคภัยไข้เจ็บรัฐบาลนี้จะพยายามจัดหาให้มีใช้กันพอเพียง
๑๐. การคมนาคม ได้แก่ ถนนหนทาง การรถไฟและการสื่อสารอื่น ๆ ซึ่งชำรุดทรุดโทรม
ขาดการบูรณะมานั้น รัฐบาลจะได้รีบจัดการบูรณะโดยด่วน
๑๑. สำหรับนโยบายในการต่างประเทศรัฐบาลนี้จะได้ปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระบรม
ราชโองการประกาศสันติภาพ เมื่อวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๔๘๘ และจะได้ร่วมมือและส่งเสริมสัมพันธไมตรี
กับสหประชาชาติให้ดียิ่งขึ้นทั้งพร้อมที่จะร่วมมือในอันที่จะสถาปนาเสถียรภาพของโลกโดยยึดมั่นใน
อุดมคติซึ่งสหประชาชาติได้วางข้อตกลงไว้ ณ นครซานฟรานซิสโก
ทั้งนี้หวังว่าสภาผู้แทนราษฎรคงจะให้ความไว้วางใจแก่รัฐบาลชุดนี้ด้วยดี เพื่อจะได้เข้า
บริหารงานตามความในมาตรา ๕๐ แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยสืบไป
*รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ ๒๓/๒๔๘๘ (สามัญ) สมัยที่ ๒ ชุดที่ ๓
วันพุธที่ ๑๙ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๘๘ หน้า ๘๖๒ - ๘๖๔ |
14 | คณะรัฐมนตรี คณะที่ ๑๔
พันตรี ควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี
ตั้งแต่วันที่ ๓๑ มกราคม ๒๔๘๙ - ๑๘ มีนาคม ๒๔๘๙
แถลงนโยบาย เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๙
คำแถลงนโยบายของรัฐบาล*
ท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร และท่านสมาชิกผู้มีเกียรติทั้งหลาย
เนื่องจากได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ข้าพเจ้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ตามประกาศตั้งนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๓๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๘๙ บัดนี้ข้าพเจ้าได้
จัดตั้งคณะรัฐมนตรีเสร็จแล้วดังปรากฏตามประกาศตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี ลงวันที่ ๒
กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๘๙ จึงใคร่ขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ความไว้วางใจ
ตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๕๐
รัฐบาลนี้ย่อมทราบดีอยู่ว่าได้เข้ามารับหน้าที่ในขณะที่บ้านเมืองกำลังตกอยู่ในฐานะ
ที่ยากลำบากเป็นอย่างยิ่ง มีสิ่งที่จะต้องแก้ไขปรับปรุงหลายอย่างทั้งที่เกี่ยวกับการภายในและ
ภายนอกเพื่อยังประเทศให้กลับคืนเข้าสู่สภาพอันมั่นคงการที่จะดำเนินการดั่งว่านี้ให้ลุล่วงไปได้
ย่อมมีหลักสำคัญ ๒ ประการ คือต้องรีบปรับปรุงสัมพันธภาพกับต่างประเทศให้เข้าระดับปกติ
ประการหนึ่งกับจัดการบ้านเมืองภายในให้กลับเข้าระเบียบอันดีอีกประการหนึ่ง ในด้านต่างประเทศ
จะได้พยายามแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่ยังคั่งค้างอยู่ให้สำเร็จลุล่วงไปโดยการร่วมมืออย่างใกล้ชิด
กับสหประชาชาติเพื่อความปลอดภัยและป้องกันการกระทบกระเทือนจากภายนอกส่วนการปรับปรุง
กิจการบ้านเมืองอันเป็นการภายในนั้นหัวใจของเรื่องอยู่ที่จะต้องจัดให้ประเทศได้มีการปกครอง
ระบอบประชาธิปไตยอันสมบูรณ์เพื่อราษฎรทั้งประเทศจะได้มีส่วนมีเสียงในการปกครองตนเอง
โดยแท้จริงอันเป็นทางดีที่สุดที่จะรักษาประโยชน์ของราษฎร ด้วยเหตุนี้ในสมัยที่ข้าพเจ้าดำรง
ตำแหน่งหัวหน้าคณะรัฐบาลคราวที่แล้วมารัฐบาลในครั้งนั้นจึงได้เป็นผู้ริเริ่มเสนอให้มีการแก้ไข
ปรับปรุงรัฐธรรมนูญเพื่อให้เหมาะสมแก่กาลสมัยยิ่งขึ้นเมื่อข้าพเจ้าได้กลับเข้ารับตำแหน่งหัวหน้า
คณะรัฐบาลอีกในครั้งนี้รัฐบาล
ปัจจุบันก็มีเจตต์จำนงค์อันแน่วแน่ที่จะดำเนินการแก้ไข ปรับปรุงรัฐธรรมนูญที่ได้ริเริ่ม
ไว้แล้วให้เสร็จสิ้นไปด้วยดีดังกล่าวข้างต้นนอกจากนั้นก็จะพยายามแก้ปัญหาต่าง ๆ ทั้งในเรื่องที่
เกี่ยวกับการเงิน การเศรษฐกิจ การครองชีพของราษฎรการรักษาความปลอดภัยภายในการส่งเสริม
การศึกษาการส่งเสริมสมรรถภาพและความเที่ยงธรรมของข้าราชการตลอดจนช่วยผดุงศีลธรรม
ของประชาชนทั่ว ๆ ไป
รัฐบาลของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีนโยบายรวมใจความสำคัญโดยย่อดังนี้ ถ้าสภาผู้แทนราษฎร
เห็นชอบด้วย ข้าพเจ้าขอให้ท่านทั้งหลายโปรดให้ความร่วมมืออย่างจริงใจเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะคับขัน
ที่เป็นอยู่ในขณะนี้ซึ่งทุกคนย่อมตระหนักว่าเป็นเวลาที่เราทั้งหลายจะต้องสามัคคีร่วมแรงร่วมใจช่วยกัน
แก้ไขสถานะการณ์ที่ยุ่งยากอยู่ในเวลานี้ให้ผ่านพ้นไปให้จงได้
*รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ ๓/๒๔๘๙ (สามัญ) สมัยที่ ๒ ชุดที่ ๔
วันพฤหัสบดีที่ ๗ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๘๙ หน้า ๑๖ - ๑๗ |
15 | คณะรัฐมนตรี คณะที่ ๑๕
นายปรีดี พนมยงค์ เป็นนายกรัฐมนตรี
ตั้งแต่วันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๔๘๙ - ๑ มิถุนายน ๒๔๘๙
แถลงนโยบาย เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๕ มีนาคม ๒๔๘๙
คำแถลงนโยบายของรัฐบาล*
ท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร และท่านสมาชิกผู้มีเกียรติทั้งหลาย
เพื่อสนองตามความต้องการของท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรส่วนมากที่จะให้
ข้าพเจ้ารับใช้ประเทศชาติในยามคับขัน ข้าพเจ้าก็จำเป็นที่จะต้องปฏิบัติตามความประสงค์ของท่าน
บัดนี้ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งคณะรัฐมนตรีตามประกาศลงวันที่ ๒๔ มีนาคม
พุทธศักราช ๒๔๘๙ ดั่งที่ท่านทราบแล้วจะจัดการให้ทหารได้รับการเลี้ยงดูดีขึ้นโดยเร็วและจะให้
ทหารเป็นกำลังหนุนเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองในการปราบปรามโจรผู้ร้ายเพื่อความสงบสุขของ
ประชาชนรัฐบาลจึงขอแถลงนโยบายต่อสภาผู้แทนราษฎรดั่งต่อไปนี้
๑. เป็นที่ทราบกันอยู่ทั่วไปว่า ขณะนี้ประเทศไทยก็คล้ายกับประเทศอื่น ๆ อีกหลายประเทศ
ที่ต้องตกอยู่ในภาวะอันยากแค้น ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากมหาสงครามฉะนั้นไม่ว่ารัฐบาลใดที่จะเข้า
มาบริหารย่อมจะต้องเผชิญกับปัญหามากมายหลายประการรัฐบาลนี้มิได้มองข้ามความยากลำบากที่
จะต้องประสบแต่ก็จะพยายามฝ่าฟันอุปสรรคให้ได้ผลดีแก่ประเทศชาติมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
๒. เป็นความจำเป็นที่ประเทศไทยจะต้องส่งเสริมสัมพันธไมตรีตลอดทั้งความเข้าใจอันดี
ให้สนิทสนมกับสหประชาชาติและร่วมมือตามอุดมคติซึ่งสหประชาชาติได้วางไว้และดำเนินการเจรจา
กับสหประชาชาติและนานาประเทศอื่นเพื่อปลดเปลื้องและผ่อนผันภาระให้หมดหรือลดน้อยลงไปใน
การนี้จึงจำเป็นที่คนไทยทั้งหลายจะต้องมีความสามัคคีกลมเกลียวและแสดงให้เห็นถึงเสถียรภาพและ
ความมั่นคงภายในประเทศอันจะเป็นรากฐานที่แสดงได้ให้นานาประเทศเห็นถึงความเป็นปึกแผ่นและ
กำลังจิตใจของประชาชนคนไทย
๓.ขณะนี้การครองชีพและความสงบเรียบร้อยภายในเป็นปัญหาอันใหญ่สำหรับประชาชน
ภายในทั่วทั้งประเทศ ซึ่งรัฐบาลจะได้เอาใจใส่เป็นพิเศษในการนี้จะต้องอาศัยความสมานและประสาน
นโยบายภายในต่าง ๆ ดั่งจะได้กล่าวในข้อต่อๆ ไป
๔. การทหาร รัฐบาลนี้ถือว่ากำลังทหารที่มีอยู่นั้นเป็นของประเทศชาติโดยเฉพาะและจะ
ได้ปรับปรุงการจัดการปกครองทางทหารให้สอดคล้องกับการปกครองแบบประชาธิปไตยตามที่
เหมาะสมกับประเทศของเรา
๕. การคลัง
(๑) จะพยายามหาทางเจรจาขอให้สหประชาชาติถอนการยึดเงินของประเทศไทย
ซึ่งจะเป็นทางให้ประเทศไทยได้นำเงินมาซื้อของที่จำเป็นให้พลเมือง
(๒) จะพยายามให้ได้เปิดการปริวรรตเงินกับต่างประเทศโดยเร็วที่สุดเพื่อให้การค้า
กับต่างประเทศดำเนินไปได้
(๓) จะเริ่มการปรับปรุงรายได้รายจ่ายให้เหมาะสมแก่กาละ และเป็นธรรมแก่สังคม
(๔) จะดำเนินการไปสู่รากฐานในอันที่จะธำรงไว้ซึ่งเสถียรภาพของเงินตราไทย
อนึ่ง รัฐบาลได้คำนึงเห็นว่า กิจการของประเทศจะดำเนินไปโดยเรียบร้อยได้ก็ด้วยอาศัย
ข้าราชการเป็นตัวจักรสำคัญ และโดยเหตุที่ข้าราชการในปัจจุบันนี้ตกอยู่ในฐานะลำบาก รัฐบาลจึง
เห็นสมควรที่จะช่วยเหลือให้ข้าราชการทุกฝ่ายมีการครองชีพอันสมควรแก่อัตตภาพ
๖. การเกษตร รัฐบาลจะให้ความสนใจพิเศษ อาทิเช่นจะเพาะและส่งเสริมการสหกรณ์
และให้มีกสิกรรมชั้นกลางให้มากที่สุดที่จะมากได้ จะเร่งบำรุงและส่งเสริมพืช ๔ ชนิดเป็นการใหญ่
คือ ข้าว ถั่วเหลืองฝ้ายและยาสูบการเผยแพร่พันธุ์ข้าวที่รัฐบาลได้บำรุงคัดเลือกแล้วให้มีปริมาณ
แพร่หลายยิ่งขึ้นจะบำรุงสัตว์พันธุ์พื้นเมืองให้ได้พันธุ์ที่ดีแทนที่จะมุ่งนำพันธุ์สัตว์จากต่างประเทศ
มาสืบพันธุ์แต่ทางเดียวจะให้บรรดาสหกรณ์ชาวนาเป็นผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ในบริษัทข้าวไทยจำกัดจะ
ได้ดำเนินการก่อสร้างการชลประทานที่ได้วางไว้ให้สำเร็จรูปและจะได้สำรวจดูด้วยว่านอกจากใน
ภาคกลางแล้วจะมีทางทำการชลประทานเพื่อช่วยเหลือการกสิกรรมในภาคนั้น ๆได้เพียงใดหรือไม่
นโยบายดังที่ได้กล่าวมาข้างต้นนี้บางอย่างเป็นนโยบายที่จะต้องกระทำในระยะเวลานานซึ่งรัฐบาลนี้
แถลงให้ทราบเพื่อเป็นอุดมคติอันมุ่งไปสู่เท่านั้นแต่เพียงในระยะเวลาอันสั้นนี้จะพยายามรีบเร่งกระทำ
ทำดังนี้
(๑) จะดำเนินการห้ามการฆ่ากระบือ ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญของชาวนา
(๒)จะรีบเร่งหาพันธุ์ข้าวปลูกให้ราษฎรชาวนาที่ขัดสนได้ยืมไปทำพันธุ์ในฤดูการทำนาที่
จะถึงนี้ อันเป็นการสอดคล้องกับโครงการที่รัฐบาลชุดก่อน ๆได้วางไว้สืบเนื่องกันมา
(๓) จะระดมสัตวแพทย์ให้มาป้องกันและปราบปรามโรคระบาดสัตว์ซึ่งเวลานี้กระบือ
ในจังหวัดภาคกลางและภาคที่เป็นอู่ข้าวอู่น้ำได้ประสพภัยนี้อยู่
(๔) จะเริ่มวางวิธีการให้สหกรณ์ชาวนาเป็นผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ในบริษัทข้าวไทยจำกัด
๗. การคมนาคม รัฐบาลจะส่งเสริมการบำรุงและบูรณะให้ได้มากที่สุดเท่าที่กำลังเงิน
จะทำได้ โดยจะจัดการให้ได้สิ่งของที่จำเป็นสำหรับการนี้มาจากต่างประเทศโดยเร็วที่สุด
๘. การพาณิชย์และอุตสาหกรรม ในระยะเวลาอันสั้นนี้ รัฐบาลจะได้พยายามแก้ปัญหา
เรื่องราคาเครื่องอุปโภคและบริโภคสูง ซึ่งเป็นการเดือดร้อนแก่ราษฎรอยู่ในเวลานี้โดยด่วน ทั้งนี้
จะได้ร่วมมือกับกระทรวงมหาดไทยในเรื่องเร่งรัดปราบปรามโจรผู้ร้ายเพื่อให้การขนส่งปลอดภัย
แก่พ่อค้าและสินค้าและร่วมมือกับกระทรวงคมนาคม เพื่อให้การขนส่งสะดวกและประหยัดขึ้นนอก
จากนั้นรัฐบาลจะได้รับเจรจาขอซื้อสินค้าอันจำเป็นเพื่อส่งเสริมให้เครื่องอุปโภคมีราคาย่อมเยาว์ลง
ในทางอุตสาหกรรมรัฐบาลจะได้ปรับปรุงกิจการภายในโรงงานอุตสาหกรรมที่เป็นของ
รัฐบาลให้มีสมรรถภาพในการผลิตยิ่งขึ้นและจะได้ส่งเสริมการอุตสาหกรรมของสหกรณ์และของ
เอกชนให้มีปริมาณเพิ่มขึ้น
๙. การมหาดไทยเพื่อให้บังเกิดความสงบเรียบร้อยภายในและความปลอดภัยของ
ประชาชนซึ่งเป็นที่ปรารถนาอยู่โดยทั่วกันนั้นโดยเร็ว จะได้เร่งจัดการให้เจ้าหน้าที่ทั้งฝ่ายปกครอง
และฝ่ายปราบปรามได้ประสานงานกันโดยใกล้ชิด และส่งเสริมให้มีสมรรถภาพยิ่งขึ้น และถ้าจำเป็น
ก็จะได้ร่วมมือกับฝ่ายทหารเพื่อให้เป็นกำลังหนุนในการปราบปรามนี้ด้วย
โดยเฉพาะเส้นทางคมนาคม ซึ่งไม่ปลอดภัยในการขนส่งจะได้ดำเนินการป้องกันเพื่อ
ให้การขนส่งมีความสะดวกและปลอดภัยเป็นพิเศษ
๑๐ กระทรวงสาธารณสุข เพื่อที่จะปลดเปลื้องความทุกข์ของประชาชนในด้านโรคภัย
รัฐบาลจะได้พยายามเร่งรัดจัดการปราบปรามและป้องกันโรคระบาด ซึ่งกำลังเกิดแพร่หลายอยู่ใน
ขณะนี้ให้บันเทาเบาบางลงโดยเร็วและจะได้ดำเนินการเพิ่มพูนปริมาณยารักษาโรคชนิดที่จำเป็น
โดยการคิดทำขึ้นหรือหาซื้อจากทั้งภายในและภายนอกประเทศเพื่อสำหรับใช้และจำหน่ายให้เป็น
ความสะดวกแก่ประชาชนที่จะซื้อหาและได้ราคาย่อมเยาว์ลงกว่าที่เป็นอยู่ปัจจุบันนี้
อนึ่ง ในเรื่องสถานพยาบาลและปริมาณจำนวนนายแพทย์ซึ่งขณะนี้ยังมีไม่พอแก่การ
ดังเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้ว และรัฐบาลชุดก่อน ๆ ก็ได้ดำริในอันที่จะจัดการให้มีปริมาณเพิ่มขึ้น
ให้ได้จำนวนพอควรแก่การนั้นรัฐบาลนี้ก็จะได้ดำเนินการสืบเนื่องต่อไปเพื่อให้บังเกิดผล
สมปรารถนาในอนาคต
๑๑. การศึกษา รัฐบาลนี้ยินดียอมรับการเข้าร่วมมือของเอกชนในการจัดตั้งโรงเรียน
และการจัดทำตำราเรียนและในระยะเวลาอันใกล้กับการเปิดสมัยการศึกษานี้รัฐบาลจะเอาใจใส่
เป็นพิเศษในเรื่องสถานที่เล่าเรียนและตำราที่ใช้ในการเรียน รัฐบาลจะจัดการตามความสามารถ
ให้นักเรียนมีที่เรียนและมีตำราเรียนให้ทั่วถึง
๑๒. การศาล รัฐบาลจะรักษาฐานะของผู้พิพากษาตามควรแก่อิสสระที่มีในการพิจารณา
คดีและจะได้สอดส่องให้กระบวนพิจารณาในศาลได้ดำเนินไปโดยเร็วตามควร
ในที่สุดนี้หวังว่าสภาผู้แทนราษฎรคงจะได้รับฟังนโยบายของรัฐบาลนี้ด้วยดีและพิจารณา
ดำเนินการตามมาตรา ๕๐ แห่งรัฐธรรมนูญ
*รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ ๑๖/๒๔๘๙ (สามัญ) สมัยที่ ๒ ชุดที่ ๔
วันจันทร์ที่ ๒๕ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๘๙ หน้า ๗๖๗ - ๗๗๑ |
16 | คณะรัฐมนตรี คณะที่ ๑๖
นายปรีดี พนมยงค์ เป็นนายกรัฐมนตรี
ตั้งแต่วันที ๑๑ มิถุนายน ๒๔๘๙ - ๒๓ สิงหาคม ๒๔๘๙
แถลงนโยบาย เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๔๘๙
คำแถลงนโยบายของรัฐบาล*
ท่านประธานรัฐสภา
ด้วยตามที่ท่านสมาชิกวุฒิสภาและท่านสมาชิกสภาผู้แทนต้องการให้
ข้าพเจ้ารับใช้ชาติต่อไปในยามคับขัน ข้าพเจ้าก็จำต้องสนองความต้องการของท่าน
บัดนี้ ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งและแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีตามประกาศ
ลงวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๔๘๙ ดั่งที่ท่านได้ทราบแล้ว รัฐบาลจึ่งขอแถลงนโยบายต่อรัฐสภาดังต่อไปนี้
๑. แม้ว่าในขณะนี้สถานการณ์ของประเทศในส่วนที่เกี่ยวกับภายใน ความยากแค้นในการ
ครองชีพและความสงบเรียบร้อยทั่วไป เพียงเริ่มจะบรรเทาลงบ้าง แต่ก็ยังเป็นภาระหนักอยู่มิใช่น้อย
ซึ่งรัฐบาลจำเป็นต้องพยายามฝ่าฝันในอันที่จะแก้ไขปรับปรุงให้เป็นที่เรียบร้อย และเป็นผลดีเพื่อ
ประโยชน์สุขแก่ประชาชนในส่วนรวมให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
๒. การต่างประเทศ เนื่องจากพฤติการณ์ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าการผูกไมตรีอันดีกับ
สหประชาชาติและนานาประเทศ ตลอดทั้งการปฏิบัติการให้เขาเกิดมีความเชื่อถือขึ้นนั้นย่อม
ได้รับผลดียิ่งรัฐบาลนี้จึงจะดำเนินการอย่างเต็มความสามารถที่จะส่งเสริมสัมพันธไมตรีตลอด
ทั้งความเข้าใจอันดีซึ่งมีอยู่อย่างดีกับสหประชาชาติแล้วนั้นให้ดีขึ้น และร่วมมือกับสหประชาชาติ
ตามอุดมคติซึ่งองค์การนั้นได้วางไว้ในการนี้รัฐบาลหวังว่าจะได้รับความร่วมมืออย่างเต็มที่จาก
รัฐสภาทั้งนี้เพราะปัญหาการต่างประเทศบางเรื่องนั้นเป็นนโยบายของชาติโดยแท้และเพื่อแสดง
ให้นานาชาติเห็นอกเห็นใจว่าประชาชนคนไทยทั้งหลายมีความสมัครสมานกลมเกลียวประเทศไทย
ตั้งอยู่ในความสงบสุขบูชาความเป็นธรรมซึ่งตรงกับหลักการของสหประชาชาตินั้นเอง
๓. การทหารรัฐบาลนี้ถือว่ากำลังทหารที่มีอยู่นั้นเป็นของประเทศชาติโดยเฉพาะและ
จะได้ปรับปรุงการจัดการปกครองทางทหารให้สอดคล้องกับการปกครองแบบประชาธิปไตย
ตามที่เหมาะสมกับประเทศของเราจะได้จัดการปรับปรุงวิทยฐานะผู้บังคับบัญชาการให้มี
สมรรถภาพสูงขึ้นบำรุงความสุขของทหารและให้ทหารได้อยู่ในระเบียบวินัยโดยเคร่งครัด
๔. การคลังจะจัดหาเงินโดยวิธีที่เหมาะสมเพื่อการใช้จ่ายพอสมควรของรัฐในอันจะบูรณะ
บ้านเมืองให้ดำเนินกลับไปสู่สภาพปกติ
จะปรับปรุงรายได้และรายจ่ายเพื่องบประมาณแผ่นดินเป็นดุลยภาพ
จะจัดหาเงินตราเสถียรภาพในระดับอันสมควรแก่ภาวะเศรษฐกิจเพื่อให้ความสัมพันธ์
ระหว่างราคาสินค้าและค่าจ้างได้กลับคืนสู่สภาพปกติ และให้การค้าและธุรกิจได้อาศัยหลักที่มั่นคง
ยั่งยืนสืบไป
๕. การเกษตร รัฐบาลนี้จะได้สนใจและเอาใจใส่ในเรื่องการเกษตรกรรมเป็นพิเศษจะ
พยายามเพิ่มพูนการผลิตข้าวให้ได้มากที่สุดเท่าที่สามารถจะทำได้และจะส่งเสริมการเพาะปลูกพืช
อื่นที่เป็นสินค้าของประเทศให้มีปริมาณมากขึ้น จะจัดให้มีสถานศึกษาทางปฏิบัติในวิชาการเกษตร
สถานศึกษาทางปฏิบัติในวิชาการเกษตรนอกเหนือจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่มีอยู่ในเวลานี้
เพื่ออบรมและเพาะให้เกิดกสิกรชั้นกลางขึ้น จะได้รีบเร่งการผลิตวัคซีนสำหรับป้องกันโรคระบาด
สัตว์ให้มีปริมาณเพิ่มขึ้นกับทั้งจะเร่งบำรุงพันธุ์สัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ โค สุกร เป็ด ไก่ ให้มี
ปริมาณและคุณภาพมากและดียิ่งขึ้นจะได้จัดหาวิธีควบคุมแพปลา เพื่อให้การค้าของชาวประมงได้
เป็นไปโดยยุติธรรม จะได้ส่งเสริมการทำยางพาราให้มีปริมาณเพิ่มขึ้นอีกทั้งจะหาพันธุ์ยางที่ดีมา
เผยแพร่แก่เจ้าของสวนยางอีกด้วยจะได้ปรับปรุงโครงการป่าไม้เสียใหม่เพื่อให้เหมาะสมกับ
สถานการณ์ปัจจุบัน จะได้ก่อสร้างการชลประทานบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และโครงการอื่น ๆ
ตลอดจนสนับสนุนการชลประทานท้องที่ จะส่งเสริมการสหกรณ์และจัดให้มีการสหกรณ์ขนส่งโดย
เฉพาะอย่างยิ่งในเบื้องต้นคือ การขนข้าวและสหกรณ์รูปอื่นเท่าที่สามารถจะทำได้ และจะเปิดธนาคาร
เพื่อการสหกรณ์โดยเฉพาะขึ้นและจะได้ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของสหกรณ์ ให้มีอัตราต่ำลงกว่าที่
เป็นอยู่ในเวลานี้
๖. การสาธารณสุข กิจการสาธารณสุขอันกล่าวได้ว่ามีรากฐานอันสำคัญอยู่ ๔ ประการ ได้แก่
การผลิตหมอ ผลิตยา รักษาและป้องกันนั้นยังเป็นผลไม่สมบูรณ์พอแก่การดั่งเป็นที่ทราบกันอยู่แล้ว
รัฐบาลมีความมุ่งหมายที่จะปรับปรุงเพิ่มเติมให้ได้ผลสมบูรณ์ขึ้นจนเพียงพอแก่การโดยลำดับ อาทิ
เช่น การผลิตแพทย์ที่เรียนสำเร็จออกจากมหาวิทยาลัย ก็จะให้ได้จำนวนมากขึ้นการผลิตยาสำหรับ
รักษาป้องกันโรคจะให้ได้ปริมาณและชนิดยาที่จำเป็นทวีขึ้นจนพอสำหรับใช้ สิ่งใดที่ยังขาดและไม่
สามารถจะผลิตขึ้นเองได้ก็จะหาซื้อเพิ่มเติมทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ การรักษาพยาบาลซึ่ง
ยังมีสถานที่ไม่พอเพียง โดยโรงพยาบาลยังไม่มีทั่วทุกจังหวัดก็จะได้พยายามจัดสร้างขึ้นให้ทั่วถึง
ตลอดทั้งเครื่องใช้เครื่องมือ ยาลำดับต่อไปการป้องกันมิให้โรคเกิดลุกลามระบาดแพร่หลายก็จะได้มี
ปรับปรุงวิธีการเพิ่มกำลังงานให้เหมาะสมทั่วถึงตลอดไปตามท้องที่และจะได้จัดให้มีการจำหน่ายยาที่
จำเป็นโดยแพร่หลายตามชนบทจัดเจ้าหน้าที่ทำการอบรมพลเมืองให้มีความรู้ในการรักษาสุขภาพ
อนามัย และวิธีป้องกันโรคโดยตนเองตามสมควร ในด้านการศึกษาก็จะได้ช่วยการสาธารณสุขโดยให้
นักเรียนรับความรู้ในเรื่องรักษาสุขภาพอนามัยและการป้องกันโรคตามสมควรแก่อัตภาพด้วย
อนึ่ง โรคระบาดมีไข้ทรพิษและอหิวาตกโรค ซึ่งค่อยบรรเทาเบาบางลงแล้วแต่ยังไม่สงบ
โดยทั่วไปนั้นรัฐบาลก็จะได้เร่งรัดการปราบปรามให้สงบลงโดยทั่วถึงและทำการป้องกันเป็นพิเศษ
ต่อไปอีกเป็นระยะ ๒ - ๓ ปีเพื่อมิให้โรคระบาดรุนแรงขึ้นอีก ส่วนไข้มาลาเรียซึ่งมีชุกชุมอยู่ในท้องที่
ต่าง ๆ นั้นรัฐบาลก็จะได้ขยายกำลังการรักษาป้องกันให้เบาบางลงโดยทำนองเดียวกัน
๗. การอุตสาหกรรมรัฐบาลจะได้ปรับปรุงกิจการภายในโรงงานอุตสาหกรรมให้มีสมรรถภาพ
ในการผลิต และจะได้ส่งเสริมการอุตสาหกรรมของเอกชนและสหกรณ์ให้มีปริมาณเพิ่มขึ้นทั้งจะ
ดำเนินการสืบสวนค้นคว้าในทางวิทยาศาสตร์ เพื่อเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรม กสิกรรมและ
พาณิชยกรรมของประเทศให้เจริญก้าวหน้าเพื่อประโยชน์แก่ราชการและเพื่อเผยแพร่แก่ประชาชน
ในทางโลหกิจจะได้ดำเนินงานในทางวิชาการแก่การสำรวจธรณีวิทยาเพื่อค้นคว้าหาแหล่งแร่ วัตถุ
เชื้อเพลิงที่ใช้แทนไม้ เช่น ถ่านหิน และน้ำมัน เป็นต้นและจะช่วยเหลือผู้ทำเหมืองแร่โดยจัดหา
เครื่องมือเครื่องใช้อันเป็นอุปกรณ์ในการทำเหมืองเพื่อเร่งการผลิตดีบุกให้ได้ปริมาณเพิ่มขึ้น
๘. การคมนาคม ในหลักทั่วไปรัฐบาลจะจัดการบำรุงและบูรณะการสื่อสาร ทางรถไฟ การ
ทางและการขนส่งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศให้กลับสู่สภาพก่อนสงคราม
งานใดที่สมควรจะมีโครงการไว้แน่นอนรัฐบาลก็จะได้จัดทำโครงการขึ้นให้สอดคล้องกับ
กำลังคนและกำลังเงินของประเทศ
๙. การพาณิชย์ ในด้านการพาณิชย์ รัฐบาลจะได้มีการพิจารณาปรับปรุงกิจการบริหารใน
กระทรวงพาณิชย์ให้มีประสิทธิภาพเพื่อการพาณิชย์ ในยามปกติภายหลังสงครามทั้งจะได้ควบคุม
และส่งเสริมการค้าทั้งภายในและภายนอกประเทศให้เหมาะสมกับเศรษฐกิจของประเทศยิ่งขึ้นและ
แก้ไขการครองชีพของราษฎรให้อยู่ในฐานะอันสมควรแก่กาลสมัย
ในทางการค้าภายใน
รัฐบาลนี้จะได้ส่งเสริมให้คนไทยนิยมการค้าให้เป็นล่ำเป็นสันยิ่งขึ้นและจะได้ส่งเสริมให้มี
ร้านสหกรณ์เปิดขึ้นเพื่อประโยชน์ของชาวนาต่อไปด้วย
ส่วนในด้านการค้าต่างประเทศ
รัฐบาลจะได้ส่งเสริมและเผยแพร่สินค้าของประเทศไทยออกไปยังต่างประเทศให้เป็นที่
นิยมทั้งในทางคุณภาพและปริมาณยิ่งขึ้น
๑๐. การมหาดไทยความสงบเรียบร้อยภายในเป็นความปรารถนาอย่างยิ่งที่จะต้อง
ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวกับการปราบปรามโจรผู้ร้ายต่อเนื่องตลอดไปอีกในขณะเดียวกันจะได้
ส่งเสริมให้ราษฎรได้กลับคืนเข้าสู่สภาพการครองชีพตามปกติและโดยวิธีการร่วมมือกับองค์การ
หรือกระทรวงทบวงกรมอื่น ๆ เพื่อให้ราษฎรได้ประกอบอาชีพที่เป็นหลักฐานยิ่งขึ้นในยามที่สงคราม
ผ่านพ้นไปใหม่ ๆ เช่นนี้ปัญหาเรื่องจิตใจซึ่งถูกกระทบกระเทือนและเสื่อมโทรมลงไปจะได้ทางแก้ไข
โดยชี้แจงและชักชวนให้ได้รู้สึกถึงหน้าที่ในฐานะเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย
เพื่อที่จะให้เป็นผลสมความมุ่งหมายดังกล่าวแล้ว จะได้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(ก) การตำรวจ จะได้ปรับปรุงสมรรถภาพของตำรวจเพื่อให้เป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายปราบปราม
ที่เข้มแข็งโดยร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองโดยใกล้ชิด
(ข) การปกครองท้องที่ นอกจากจะได้ปรับปรุงเจ้าหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นแล้วยัง
จะได้แก้ไขระบบการปกครองเพื่อให้หมู่บ้านและตำบลได้รับการทำนุบำรุงโดยทั่วถึงยิ่งขึ้นกว่าที่เป็น
อยู่ในเวลานี้
(ค) การราชทัณฑ์จะดำเนินการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังตามหลักการราชทัณฑ์และปลูกฝังให้
อาชญากรได้รับความรู้ในวิชาชีพในที่คุมขัง
(ง) การสาธารณูปโภค จะได้ส่งเสริมและได้เร่งรัดในการจัดประปาและไฟฟ้าเพื่อความ
สะดวกและความปลอดภัยให้มีขึ้นในท้องถิ่น ชุมนุมชนให้มากที่สุดที่จะทำได้ และจะได้จัดระเบียบ
การผังเมืองส่งเสริมให้มีการก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัยให้เป็นไปโดยประหยัดและเหมาะสมแก่สภาพ
ของท้องที่
(จ) การที่ดิน จะได้เร่งรัดและส่งเสริมบรรดาการกระทำทั้งปวงซึ่งรัฐบาลก่อนได้เริ่ม
ดำเนินการไว้แล้วให้เป็นผลดียิ่งขึ้นเช่นการช่วยบุคคลที่ตั้งใจจะประกอบอาชีพในทางกสิกรรมให้
ได้รับความสะดวกในการจับจองที่ดินรกร้างว่างเปล่า และการจัดให้ผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินแล้วได้
รับหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองโดยรวดเร็ว เป็นต้น
(ฉ) การประชาสงเคราะห์ บรรดาการสงเคราะห์ต่าง ๆ ซึ่งได้ปฏิบัติอยู่แล้วจะได้
ดำเนินการต่อไปและถ้ามีกำลังเพียงพอจะได้ขยายการสงเคราะห์ให้มากขึ้น
๑๑. การศาล
(ก) จะรักษาและส่งเสริมฐานะของผู้พิพากษาตามควรแก่อิสระที่มีในการพิจารณาพิพากษา
อรรถคดี
(ข) จะสอดส่องให้กระบวนพิจารณาให้ศาลดำเนินไปโดยเร็ว เพื่อประโยชน์ของประชาชน
และเฉพาะอย่างยิ่งจะได้พิจารณาเพิ่มจำนวนผู้พิพากษาให้สมส่วนกับจำนวนคดีที่เกิดขึ้น
(ค) จะได้พิจารณาตั้งศาลในภูมิภาคเพิ่มขึ้น เพื่อให้ความสะดวกแก่ประชาชน ผู้เกี่ยวข้อง
ในทางอรรถคดี และมิให้เสียเวลาในการประกอบอาชีพ
(ง) จะปรับปรุงประมวลกฎหมายต่าง ๆ และพระธรรมนูญศาลยุติธรรมให้เหมาะสมกับ
กาลสมัยเพื่อพยุงสิทธิและเสรีภาพของประชาชน
๑๒. การศึกษาและการศาสนา รัฐบาลนี้จะวางแผนการศึกษาของชาติให้มีรากฐานถาวรแนว
ทางการศึกษาคงแบ่งเป็นสามัญศึกษากับอาชีวศึกษาหลักสูตรตำราเรียนจะปรับปรุงใหม่ให้เหมาะสมกับ
ความต้องการของประเทศและความเป็นอยู่ของท้องถิ่นโดยจะให้ผู้ที่ได้รับการศึกษารู้จักค้นคว้าหาเหตุผล
และมีศีลธรรมอันดีงาม ทั้งมีความรู้อันจำเป็นที่จะประกอบการอาชีพตามที่ตนต้องการเฉพาะอย่างยิ่งใน
ทางเกษตรกรรมและพาณิชยกรรม
การศึกษาจะดีก็ต้องมีครูดี ฉะนั้นการศึกษาวิชาครูการบำรุงฐานะของครูให้เป็นที่เคารพ
นับถือแก่บรรดาศิษย์จึงเป็นภารกิจอันยิ่งใหญ่ของกระทรวงศึกษาธิการ
ในด้านการศาสนานั้น รัฐบาลนี้จะเร่งส่งเสริมและทำนุบำรุงศาสนาและถือว่าความเชื่อมั่น
ยึดเหนี่ยวในทางศาสนา เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดการละเว้นประพฤติในสิ่งที่ไม่ชอบไม่ควรรัฐบาลนี้ถือว่า
การศึกษากับศาสนาเป็นสิ่งที่อุปการะแก่กัน ผู้มีความรู้ต้องมีศีลมีสัตย์อยู่ในตนด้วย
ในที่สุดนี้ หวังว่ารัฐสภาจะได้พิจารณาตามนโยบายที่รัฐบาลได้แถลงไว้แล้วด้วยดี และ
พิจารณาดำเนินตามมาตรา ๖๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
*รายงานการประชุมรัฐสภา ครั้งที่ ๒
วันพฤหัสบดีที่ ๑๓ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๘๙ หน้า ๑๐ - ๑๕ |
17 | คณะรัฐมนตรี คณะที่ ๑๗
พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ (หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์)
เป็นนายกรัฐมนตรี
ตั้งแต่วันที่ ๒๓ สิงหาคม - ๓๐ พฤษภาคม ๒๔๙๐
แถลงนโยบาย เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๔๘๙
คำแถลงนโยบายของรัฐบาล*
ท่านประธานรัฐสภา
บัดนี้ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งและแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีตามประกาศ
ลงวันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๔๘๙ แล้ว รัฐบาลจึงขอแถลงนโยบายต่อรัฐสภาดังต่อไปนี้
๑. การต่างประเทศ
รัฐบาลนี้ถือว่านโยบายการต่างประเทศในขณะนี้เป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่ง เพราะเกี่ยวกับ
ประโยชน์ส่วนรวมของชาติ ในการดำเนินนโยบายการต่างประเทศนั้นหลักสำคัญมีอยู่ว่าจะต้อง
ปฏิบัติตนโดยสร้างความเชื่อถือและความเห็นอกเห็นใจให้เกิดขึ้นในหมู่ประเทศซึ่งประกอบเป็น
สหประชาชาติ และนานาประเทศอื่น เพราะพฤติการณ์ที่ผ่านมาเมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้ว
ว่าการปฏิบัติเช่นนั้นได้นำมาซึ่งผลดียิ่งแก่ประเทศชาติฉะนั้นรัฐบาลนี้จึงมีนโยบายที่จะส่งเสริม
สัมพันธไมตรี ตลอลทั้งความเข้าใจอันดีซึ่งมีอยู่อย่างดีกับสหประชาชาติและนานาประเทศอยู่แล้ว
ให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป และร่วมมืออย่างเต็มที่กับสหประชาชาติตามอุดมคติซึ่งองค์การนั้นได้วางไว้ตลอด
ทั้งปฏิบัติการให้เป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศซึ่งมีอยู่อย่างเต็มที่จากรัฐสภาและประชาชนด้วย
๒. การทหาร
รัฐบาลนี้ถือว่ากำลังทหารที่มีอยู่นั้นเป็นของประเทศชาติโดยเฉพาะจะได้ปรับปรุง
การจัดการปกครองทางทหารให้สอดคล้องกับการปกครองแบบประชาธิปไตยตามที่เหมาะสม
กับประเทศของเรา จะได้จัดการปรับปรุงวิทยฐานะของผู้บังคับบัญชาทหารให้มีสมรรถภาพ
สูงขึ้นบำรุงความสุขของทหารและให้ทหารได้อยู่ในระเบียบวินัยโดยเคร่งครัด
๓. การคลัง
รัฐบาลนี้มีนโยบายสืบเนื่องและสอดคล้องกับรัฐบาลก่อนในอันที่จะปรับปรุงการคลัง
ของประเทศโดยจะจัดทำงบประมาณของแผ่นดินให้เป็นดุลยภาพ เพื่อเสถียรภาพแห่งเงินตรา
ทั้งจะได้จัดวิธีหาเงินมาบูรณะบ้านเมือง และหาทางช่วยเหลือฐานะของข้าราชการให้ดียิ่งขึ้น
๔. การเกษตร
รัฐบาลนี้จะได้สนใจและเอาใจใส่ในเรื่องการเกษตรกรรมเป็นพิเศษจะจัดขยายพันธุ์ข้าว
ที่มีคุณภาพให้แพร่หลาย จะพยายามเพิ่มพูนการผลิตข้าวให้ได้มากที่สุดเท่าที่สามารถจะทำได้
และส่งเสริมการปลูกพืชพันธุ์ที่เห็นว่าเป็นสินค้าของประเทศให้มีปริมาณมากขึ้นจะจัดการทดลอง
ค้นคว้ากิจการงานในด้านเกษตรกรรมให้มีสมรรถภาพกว้างขวางยิ่งขึ้นจะจัดให้มีสถานศึกษาทาง
ปฏิบัติในวิชาการเกษตรนอกเหนือจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่มีอยู่ในเวลานี้เพื่ออบรมและเพาะ
ให้เกิดกสิกรชั้นกลาง จะเร่งรีบทำการป้องกันและปราบปรามโรคระบาดสัตว์ให้สงบไปโดยเร็วโดย
ระดมเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์และเร่งรัดการผลิตและจัดหาวัคซีนและซีรัมให้มีปริมาณเพิ่มขึ้นจะบำรุง
พันธุ์สัตว์โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ โค สุกร เป็ด และไก่ ให้มีปริมาณและคุณภาพดียิ่งขึ้นจะจัดหา
วิธีการต่าง ๆ เพื่อเป็นการส่งเสริมอาชีพการประมงให้เป็นปึกแผ่น จะบำรุงและรักษาพันธุ์ปลาน้ำจืด
จะปรับปรุงและส่งเสริมกิจการป่าไม้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันจะส่งเสริมการทำยางพารา
ให้มีคุณภาพดีและมีปริมาณมากยิ่งขึ้น และจะหาพันธุ์ยางที่ดีมาเผยแพร่แก่เจ้าของสวนยางจะจัด
การก่อสร้างการชลประทานตามโครงการต่าง ๆ ที่ดำเนินอยู่นี้ให้เสร็จสิ้นไป รวมทั้งช่วยเหลือ
สนับสนุนการชลประทานราษฎร์หรือการชลประทานท้องที่ด้วยจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างโครงการ
เขื่อนแม่น้ำเจ้าพระยาตามที่รัฐบาลชุดเก่าได้ดำริไว้จะจัดขยายสหกรณ์ประเภทหาทุนให้กู้ยืมและ
สหกรณ์รูปอื่นๆ เท่าที่สามารถจะทำได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหกรณ์การค้าและสหกรณ์นิคม จะจัด
ให้มีสหกรณ์ขนส่ง โดยเฉพาะในเบื้องต้น คือ การขนข้าวจะเปิดการธนาคารเพื่อการสหกรณ์ขึ้น
จะลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของสหกรณ์ให้มีอัตราต่ำกว่าที่เป็นอยู่ในเวลานี้
๕. การสาธารณสุข
รัฐบาลนี้มีความมุ่งหมายจะดำเนินการในด้านสาธารณสุขให้เป็นผลถึงประชาชนกว้างขวาง
ยิ่งขึ้นทั้งในทางป้องกันรักษาโรคภัยและการอบรมให้มีความรู้ในเรื่องสุขภาพอนามัยโดยที่จะจัดให้มี
หรือเพิ่มเติม ให้มากขึ้นในประการเหล่านี้
(ก) โรงพยาบาลตามจังหวัด และสุขศาลาตามตำบลอันเป็นชุมนุมชน
(ข) จัดทำและจัดหายาอันจำเป็นออกจำหน่ายตามท้องที่ให้แพร่หลายยิ่งขึ้น
(ค) ปรับปรุงเพิ่มเติมจำนวนพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เหมาะสมกับกิจการที่จะปฏิบัติในท้องที่
(ง) ปรับปรุงวิธีการและสมรรถภาพพนักงานเจ้าหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
๖. การอุตสาหกรรม
รัฐบาลจะส่งเสริมการอุตสาหกรรมเพื่อให้ประชาชนนิยมการอุตสาหกรรมทั้งในทาง
อุตสาหกรรมทั้งในทางอุตสาหกรรมภายในครอบครัวและอุตสาหกรรมโรงงานอันจะเป็นทางให้
สามารถมีผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมใช้ได้เพียงพอและจะส่งเสริมการอุตสาหกรรมในรูปสหกรณ์
และดำเนินการอุตสาหกรรมหนักทั้งจะได้ปรับปรุงกิจการของโรงงานอุตสาหกรรมให้มีสมรรถภาพ
ยิ่งขึ้น ในทางวิทยาศาสตร์จะได้ดำเนินการสืบสวนค้นคว้าเพื่อเป็นการส่งเสริมการอุตสาหกรรม
กสิกรรม และพาณิชยกรรมของประเทศให้เจริญก้าวหน้าเพื่อประโยชน์ราชการและเพื่อเผยแพร่
แก่ประชาชน ในทางด้านการโลหกิจ จะได้ดำเนินงานในวิชาการแร่การสำรวจธรณีวิทยาเพื่อสืบสวน
ค้นคว้าแหล่งแร่และวัตถุเชื้อเพลิงและจะช่วยเหลือผู้ประกอบการในทางโลหกิจโดยจัดหาเครื่องมือ
เครื่องใช้ เครื่องอุปโภค บริโภค เป็นการส่งเสริมให้มีการผลิตแร่เฉพาะอย่างยิ่งดีบุกให้ได้ปริมาณ
เพิ่มขึ้น
๗. การคมนาคม
รัฐบาลจะได้เร่งบูรณะการคมนาคมที่ชำรุดทรุดโทรมเนื่องจากภัยแห่งสงครามให้เข้าสู่
สภาพเดิมและจะได้ปรับปรุงการบริหารกิจการอันเกี่ยวกับการสื่อสารและการขนส่งเพื่อให้มี
ประสิทธิภาพยิ่งขึ้นส่วนการก่อสร้างในด้านคมนาคมต่อไปนั้นจะได้พิจารณาดำเนินการตามความ
สำคัญเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศภายหลังสงคราม
๘. การพาณิชย์
ในด้านการพาณิชย์ รัฐบาลจะได้ปรับปรุงการบริหารราชการในกระทรวงพาณิชย์ เพื่อให้
การพาณิชย์ในระยะหลังสงครามนี้ได้ดำเนินไปด้วยดี ทั้งจะได้ปรับปรุงส่งเสริมกิจการค้าทั้งภายใน
และภายนอกประเทศให้มั่นคงยิ่งขึ้น
ในทางการค้าภายในรัฐบาลนี้จะได้สนับสนุนพ่อค้าที่ดำเนินการค้าอยู่แล้วให้มีสมรรถภาพ
ดียิ่งขึ้นและจะให้ความช่วยเหลือร่วมมือจัดการแก้ไขข้อขัดข้องและอุปสรรคต่าง ๆ เท่าที่สามารถจะ
ทำได้
ส่วนในด้านการค้าต่างประเทศรัฐบาลจะได้ส่งเสริมเผยแพร่สินค้าของประเทศไทยทั้ง
ในด้านปริมาณและคุณภาพเพื่อให้เป็นที่นิยมในต่างประเทศและจะได้ดำเนินการจัดหาสินค้าที่
จำเป็นและขาดแคลนเข้ามาบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนโดยรีบด่วนเพื่อให้เครื่องอุปโภค
บริโภคภายในมีราคาถูกลงและเพียงพอแก่ความต้องการของราษฎร
ในการปฏิบัติตามพันธกรณีที่มีอยู่กับต่างประเทศเช่นในเรื่องการจัดส่งข้าวไปบรรเทา
ความอดยากของชาวโลกในขณะนี้นั้นรัฐบาลจะได้รีบดำเนินการตามข้อตกลงให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
๙. การมหาดไทย
ความสงบเรียบร้อยภายในเป็นปัญหาสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินต่อเนื่องกันตลอดไป เพื่อ
ให้ราษฎรได้อยู่ในสภาพที่จะประกอบการทำมาหากินได้โดยปรกติสุขและเป็นหลักฐานทั้งจะได้เป็น
โอกาสให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองได้ทำการอบรมชี้แจงแก้ไขความบกพร่องในทางจิตใจ และศีลธรรม
จรรยา ตลอดจนความรู้สึกถึงสิทธิและหน้าที่ของพลเมืองในระบอบรัฐธรรมนูญด้วยเมื่อสำเร็จผล
ดังกล่าว รัฐบาลจะได้ดำเนินการ ดั่งต่อไปนี้
(ก) การปกครองท้องที่ จะได้ปรับปรุงราชการในส่วนภูมิภาคให้มีสภาพที่จะแบ่งเบาภาระ
ความรับผิดชอบจากราชการบริหารส่วนกลางเพื่อให้มีการปราบปรามโจรผู้ร้ายและการระงับทุกข์
บำรุงสุขของราษฎรได้ประสานกันโดยใกล้ชิด และมีความรับผิดชอบร่วมกันยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังจะ
ได้ส่งเสริมให้หมู่บ้านและตำบลต่าง ๆได้รับการทะนุบำรุงยิ่งกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้ และจะได้แก้ไข
กฎหมายปกครองท้องที่ให้เหมาะสม ยิ่งขึ้นด้วย
ส่วนการปกครองท้องถิ่น ซึ่งปรากฏว่าการดำเนินกิจการของเทศบาลยังไม่เป็นที่เรียบร้อย
ในบางแห่งและฐานะของเทศบาลโดยทั่วไปไม่อยู่ในสภาพที่จะดำเนินธุระกิจได้เต็มตามอำนาจหน้าที่
ก็จะได้ปรับปรุงแก้ไขทั้งจะส่งเสริมสมรรถภาพของพนักงานเทศบาล โดยจะได้กำหนดระเบียบการ
บำเหน็จบำนาญให้เหมาะสม
(ข) การตำรวจ จะได้จัดการปรับปรุงราชการฝ่ายตำรวจให้สัมพันธ์กับการจัดตั้งระเบียบ
ราชการบริหารในส่วนภูมิภาค เพื่อให้ราชการตำรวจมีสมรรถภาพยิ่งขึ้น ทั้งจะได้ประสานงาน
กับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองโดยใกล้ชิด
(ค) การราชทัณฑ์ จะได้ปฏิบัติต่อผู้ต้องขังตามหลักการราชทัณฑ์ และให้การศึกษาอบรม
ในวิชาชีพและศีลธรรมแก่ผู้ต้องโทษ โดยหวังที่จะให้กลับเป็นพลเมืองดีต่อไป
(ง) การสาธารณูปโภค จะได้ส่งเสริมและเร่งรัดในการจัดประปาและไฟฟ้าให้มีขึ้นในท้องถิ่น
ชุมนุมชนให้มากที่สุดที่จะทำได้ และจะได้จัดระเบียบผังเมืองกับส่งเสริมให้การก่อสร้างอาคารที่อยู่ของ
ประชาชนได้เป็นไปโดยประหยัดและเหมาะสมตามสภาพท้องที่
(จ) การที่ดิน จะได้เร่งรัดและส่งเสริมบรรดากิจการซึ่งได้ดำเนินอยู่แล้วให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น เช่น
การจัดที่ดินครองชีพ การให้ความสะดวกแก่ประชาชนในการจับจองที่ดินเพื่อประกอบการกสิกรรม
ตลอดจนการจัดให้ผู้มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองโดยรวดเร็ว เป็นต้น
(ฉ) การประชาสงเคราะห์ บรรดาการสงเคราะห์ต่าง ๆ ซึ่งได้ดำเนินอยู่แล้ว จะได้ดำเนินการ
ต่อไป และถ้ามีกำลังเพียงพอก็จะได้ขยายการสงเคราะห์ในส่วนที่เกี่ยวกับกสิกรและกรรมกรเพิ่มขึ้นอีก
๑๐. การศาล
(ก) จะรักษาและส่งเสริมฐานะของผู้พิพากษาตามควรแก่อิสระที่มีในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี
(ข) จะสอดส่องให้กระบวนการพิจารณาในศาลดำเนินไปโดยรวดเร็ว เพื่อประโยชน์แก่
ประชาชนและเฉพาะอย่างยิ่งจะได้พิจารณาเพิ่มจำนวนผู้พิพากษาให้เป็นการเหมาะสมยิ่งขึ้น
(ค) จะได้พิจารณาตั้งศาลในภูมิภาคเพิ่มขึ้น เพื่อความสะดวกแก่ประชาชนผู้เกี่ยวข้องใน
ทางอรรถคดีและมิให้เสียเวลาในการประกอบอาชีพ
(ง) จะปรับปรุงประมวลกฎหมายต่าง ๆ เฉพาะอย่างยิ่งประมวลกฎหมายอาญาให้เหมาะสม
กับกาลสมัยทั้งนี้เพื่อผดุงสิทธิและเสรีภาพของประชาชน
๑๑. การศึกษาและการศาสนา
รัฐบาลนี้จะดำเนินงานการวางแผนการศึกษาของชาติต่อจากงานที่รัฐบาลชุดก่อนดำเนิน
ค้างอยู่และจะปรับปรุงหลักสูตรกับตำราเรียนให้เหมาะสมกับความต้องการของประเทศและความ
เป็นอยู่ของท้องที่โดยให้ผู้ที่รับการศึกษามีความรู้อันจำเป็นแก่การประกอบอาชีพ และให้รู้จักค้นคว้า
หาเหตุผล ทั้งมีศีลธรรมซึ่งต้องอาศัยการศาสนาเข้าช่วยด้วย
เกี่ยวกับฐานะของครูซึ่งได้บำรุงกันมาแต่รัฐบาลชุดก่อนนั้น รัฐบาลชุดนี้จะดำเนินงานต่อ
เฉพาะอย่างยิ่งในการปรับปรุงครูประชาบาลให้เป็นข้าราชการตามคุณสมบัติและพื้นความรู้และการ
ประชาบาลให้มากขึ้นเป็นพิเศษ
ส่วนการศาสนานั้นรัฐบาลนี้จะส่งเสริมและทนุบำรุงให้เป็นที่เชื่อมั่นและยึดเหนี่ยวของ
ประชาชนและถือว่าการศึกษากับการศาสนาเป็นสิ่งอุปการะแก่กัน
ทั้งนี้หวังว่า รัฐสภาจะพิจารณาดำเนินการตามมาตรา ๖๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร
ไทยด้วยดีต่อไป
*รายงานการประชุมรัฐสภา ครั้งที่ ๕/๒๔๘๙
วันจันทร์ที่ ๒๖ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๘๙ หน้า ๑๑๒ - ๑๑๗ |
18 | คณะรัฐมนตรี คณะที่ ๑๘
พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ (หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์)
เป็นนายกรัฐมนตรี
ตั้งแต่วันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๔๙๐ - ๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๐
แถลงนโยบาย เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๕ มิถุนายน ๒๔๙๐
คำแถลงนโยบายของรัฐบาล*
ท่านประธานรัฐสภา
บัดนี้ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งและแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีตามประกาศ
ลงวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๔๙๐ แล้ว รัฐบาลจึงขอแถลงนโยบายต่อรัฐสภาดั่งต่อไปนี้
๑. การต่างประเทศ
รัฐบาลจะอนุวรรตน์ตามกติกาขององค์การสหประชาชาติและร่วมมือในกิจการ
ระหว่างประเทศเพื่อประโยชน์แก่ศานติภาพถาวร และความมั่นคงทางเศรษฐกิจของโลก
ส่งเสริมความเข้าใจและความเห็นใจซึ่งกันและกันในบรรดาประเทศสมาชิกแห่ง
สหประชาชาติกับดำรงไว้และส่งเสริมซึ่งสัมพันธไมตรีอันดีที่มีอยู่แล้วกับนานาประเทศ
โดยยึดมั่นทีถ้อยปฏิบัติต่อกัน
๒. การทหาร
รัฐบาลถือว่ากำลังทหารที่มีอยู่นั้นเป็นของประเทศชาติโดยเฉพาะจะได้ปรับปรุง
ให้ระเบียบการจัดปกครองทหารสอดคล้องกับการปกครองแบบประชาธิปไตยและปรับปรุง
กิจการทหารให้เหมาะสมกับฐานะและความเป็นอยู่ของประเทศ ตลอดจนการจัดระเบียบ
ใช้กำลังป้องกันชาติให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
จะได้จัดการปรับปรุงวิทยฐานะของผู้บังคับบัญชาทหาร ให้มีสมรรถภาพสูงขึ้น
บำรุงส่งเสริมให้ทหารนอกจากจะให้มีความรู้สามารถทำหน้าที่ป้องกันประเทศชาติแล้ว
ยังหาทางให้มีความรู้และความก้าวหน้าในการประกอบอาชีพอีกด้วยนอกจากนี้จะได้บำรุง
ความสุขของทหารและให้ทหารได้อยู่ในระเบียบวินัยโดยเคร่งครัดทั้งจะได้สนับสนุนให้
กิจการทหารผ่านศึกดำเนินไปด้วยความเหมาะสม
๓. การคลัง
รัฐบาลมีนโยบายในอันที่จะจัดทำงบประมาณให้เป็นดุลยภาพอันจะเป็นผล
นำไปสู่เสถียรภาพแห่งเงินตรา และจัดวิธีหาเงินมาบูรณะบ้านเมือง ตลอดจนปรับปรุง
ฐานะของข้าราชการให้เหมาะสม
๔. การเกษตร
รัฐบาลจะเร่งรัดและฟื้นฟูการเกษตรกรรมเพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตให้เพียงพอ
แก่ความต้องการทั้งสามารถส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศได้มากขึ้นโดยจะได้เร่งรัด
การผลิตข้าวเป็นพิเศษพร้อมทั้งส่งเสริมการปลูกพืชอย่างอื่น ตลอดจนการเลี้ยงสัตว์ให้มาก
ยิ่งขึ้นด้วย ในการนี้จะได้ส่งเสริมและขยายการบำรุงพันธุ์ข้าวพันธุ์พืช และพันธุ์สัตว์หาวิธีการ
ป้องกันโรคพืชและโรคสัตว์ให้เป็นผลดียิ่งขึ้นเฉพาะโรคระบาดสัตว์จะได้ระดมจัดเจ้าหน้าที่และ
เวชภัณฑ์ออกไปทำการปราบปรามและป้องกัน โดยเข้มแข็งจะได้ส่งเสริมอาชีพการประมง
ให้เป็นปึกแผ่น ทั้งจะได้บำรุงรักษาพันธุ์ปลาน้ำจืดและส่งเสริมการเลี้ยงให้มีปริมาณมากขึ้น
จะได้เร่งรัดการก่อสร้างชลประทานตามโครงการต่าง ๆ และจะได้เริ่มงานโครงการเขื่อน
แม่น้ำเจ้าพระยา ส่วนการชลประทานราษฎร์และชลประทานท้องที่ก็จะได้ส่งเสริมและอำนวย
ความสะดวกให้มากยิ่งขึ้นจะได้ดำเนินการป่าไม้และสวนยางให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
รัฐบาลนี้ถือว่าการสหกรณ์เป็นวิธีการส่วนหนึ่งที่จะแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ จึงจะ
ได้จัดตั้งสหกรณ์รูปต่าง ๆ สำหรับชาวนา ชาวสวน ชาวประมงผู้ประกอบการเลี้ยงสัตว์และ
ผู้ประกอบการกสิกรรมอย่างอื่นให้มากยิ่งขึ้นทั้งจะช่วยเหลือจัดให้บุคคลประเภทดังกล่าว
แล้วได้มีเครื่องมือในการประกอบอาชีพของตนตลอดจนช่วยเหลือให้มีเครื่องอุปโภคที่จำเป็น
๕. การสาธารณสุข
รัฐบาลจะดำเนินการป้องกันโรคติดต่ออันตรายและโรคติดต่ออื่น ๆ เพื่อความปลอดภัย
ของประชาชนจะจัดให้มีสถานพยาบาลเพิ่มมากขึ้นจะจัดให้มียารักษาโรคที่จำเป็นให้มีจำหน่าย
โดยแพร่หลายตามท้องที่ด้วยราคาย่อมเยา กับจะส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่มีสมรรถภาพสูงขึ้นทั้งจะเพิ่ม
จำนวนให้มีพอแก่ความจำเป็นที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ในการช่วยเหลือราษฎร นอกจากนี้จะได้ดำเนินงาน
บางประการที่เห็นจำเป็น เพื่อให้การสาธารณสุขก้าวหน้าสมบูรณ์ยิ่งขึ้นเช่นขยายการสงเคราะห์แม่
และเด็กให้กว้างขวางออกไปเร่งจัดการอนามัยให้แก่นักเรียนตามโรงเรียนต่าง ๆ ให้มากยิ่งขึ้น จัด
ให้มีสำนักศึกษาวิชาการสาธารณสุขขึ้นในมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์จัดให้มีการประกันสุขภาพหรือ
ความป่วยเจ็บแก่บุคคลบางประเภทและจัดให้มีสถานการวิจัยและชันสูตรทางแพทย์แห่งชาติเพื่อ
ความก้าวหน้าในทางแพทยศาสตร์
๖. การอุตสาหกรรม
รัฐบาลจะจัดทำและส่งเสริมการอุตสาหกรรม เพื่อทำเครื่องอุปโภคบริโภคให้เกิดขึ้น
ภายในประเทศ และจะได้ปรับปรุงกิจการของโรงงานอุตสาหกรรม ให้ผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม
มีปริมาณมากยิ่งขึ้นในด้านโลหกิจจะได้ดำเนินงานในวิชาการแร่ การสำรวจธรณีวิทยา เพื่อสืบค้นหา
แหล่งแร่และวัตถุเชื้อเพลิงและส่งเสริมให้มีการผลิตแร่มากยิ่งขึ้น และจะได้ดำเนินการสืบค้นในทาง
วิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมการอุตสาหกรรมกสิกรรมและพาณิชยกรรมของประเทศ
๗. การคมนาคม
รัฐบาลจะได้เร่งรัดบูรณะทางคมนาคมที่ได้ชำรุดทรุดโทรมจากผลของการสงครามและ
จากการสึกหรอตามธรรมชาติให้เข้าสู่สภาพดียิ่งขึ้น เพื่อสนองความต้องการของประเทศส่วนการ
ก่อสร้างทางคมนาคมใหม่ก็จะได้จัดปรับปรุงโครงการที่มีอยู่เดิมให้เหมาะสมเพื่อยังประโยชน์ให้แก่
การเศรษฐกิจของประเทศภายหลังสงครามสำหรับการสื่อสารและการขนส่ง รัฐบาลจะได้เร่งรัดและ
จะได้ส่งเสริมให้กิจการก้าวหน้าและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
๘. การพาณิชย์
รัฐบาลจะส่งเสริมกิจการพาณิชย์ให้เป็นคุณประโยชน์แก่การเงิน และการเศรษฐกิจของ
ประเทศโดยสนับสนุนและจัดการให้การพาณิชย์ทั้งภายใน และภายนอกประเทศเป็นไปในทางที่จะ
แก้ความขาดแคลนในเครื่องอุปโภคบริโภคอันจำเป็นแก่การครองชีพและสิ่งของอื่นอันจำเป็นแก่
การประกอบอาชีพอิสระให้บรรเทาลงและมีระดับราคาพอสมควร ทั้งจะได้สมานประโยชน์ของ
ผู้ผลิต ผู้ขนส่ง ผู้ค้า และผู้บริโภคให้เป็นไปด้วยดีส่วนสัมพันธกรณีเรื่องข้าวที่มีอยู่กับต่างประเทศ
รัฐบาลนี้จะดำเนินการตามข้อตกลงให้ ลุล่วงด้วยดี
๙. การมหาดไทย
รัฐบาลจะได้
๑) ปรับปรุงกำลังพนักงานเจ้าหน้าที่และวิธีการรักษาความสงบเรียบร้อยในท้องที่
ให้เหมาะสมมีสมรรถภาพยิ่งขึ้น อีกทั้งจะได้ดำเนินในทางอบรมศีลธรรม จรรยาแก่ประชาชน
๒) ปรับปรุงราชการบริหารส่วนภูมิภาคในลักษณะที่มีการควบคุม การตรวจตรา
โดยใกล้ชิดและแบ่งเบาภาระความรับผิดชอบจากราชการบริหารส่วนกลาง เพื่อราชการ
จะได้ดำเนินไปด้วยความรัดกุมรวดเร็วบังเกิดประสิทธิภาพในกิจการยิ่งขึ้น
ส่วนการปกครองท้องถิ่นก็จะได้ปรับปรุงแก้ไขรูปการณ์ในลักษณะที่จะให้เกิด
เทศบาลตำบลขึ้นได้สมประสงค์ และให้เทศบาลทั้งหลายดำรงฐานะอยู่ได้ด้วยความมั่นคง
สามารถปฏิบัติหน้าที่เพื่อความสุขเจริญแก่ประชาชนและท้องที่ได้จริงจัง
๓) เร่งจัดการเรื่องส่งเสริมการเศรษฐกิจท้องที่ให้บังเกิดผลตามลำดับอีกทั้ง
จะได้ร่วมมือส่งเสริมสนับสนุนให้ราษฎรได้มีการประกอบอุตสาหกรรมภายในครอบครัว
รวมทั้งการทำสวนครัวและเลี้ยงสัตว์ให้เป็นล่ำเป็นสันยิ่งขึ้น
๔) ขยายกิจการสงเคราะห์ประชาชนในด้านการประกอบกสิกรรมและบุคคล
ผู้ไม่สามารถเลี้ยงตนเองได้ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น เช่นโดยการจัดการตั้งนิคมกสิกร และ
สถานสงเคราะห์คนชราสถานสงเคราะห์เด็กอนาถาเพิ่มขึ้นตามกำลังเป็นลำดับส่วนบุคคล
ประเภทกรรมกรก็จะได้พิจารณาตั้งองค์การเฉพาะขึ้นเพื่อให้ความดูแลสงเคราะห์
เป็นส่วนหนึ่งต่อไป
๕) จัดการสาธารณูปโภคอันเป็นเครื่องยังความสะดวกเจริญแก่ท้องถิ่น เช่น
การไฟฟ้า ประปาก็จะได้จัดการบูรณะและสร้างสรรเพื่อเพิ่มเติมตามลำดับและจะปรับปรุง
ส่งเสริมการจัดระเบียบผังเมืองตลอดจนการสร้างอาคารที่อยู่ของประชาชนให้เป็นไป
ถูกต้องด้วยสุขลักษณะเหมาะสมตามสภาพท้องที่และโดยประหยัด
อนึ่งจะได้จัดการในเรื่องอาคารสงเคราะห์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประกอบอาชีพ
ประจำอยู่ในชุมชนใหญ่ ๆ ซึ่งขาดแคลนที่อยู่อาศัยโดยควรแก่สภาพการณ์
๖) ส่งเสริมสนับสนุนให้ราษฎรได้มีกรรมสิทธิ์ในทีดินสำหรับเป็นที่อยู่อาศัยและประกอบการ
เลี้ยงชีพเป็นหลักฐาน และช่วยเหลือในเรื่องการขอจับจองและออกหนังสือสำคัญให้รวดเร็วขึ้น
๑๐. การศาล
รัฐบาลจะรักษาและส่งเสริมฐานะของผู้พิพากษาตามควรแก่อิสระที่มีในการพิจารณา
พิพากษาอถรรคดีและจะสอดส่องให้กระบวนพิจารณาในศาลดำเนินไปโดยรวดเร็ว เพื่อประโยชน์
ของประชาชนเฉพาะอย่างยิ่งจะได้พิจารณาเพิ่มจำนวนผู้พิพากษาให้เป็นการเหมาะสมยิ่งขึ้น
๑๑. การศึกษา
รัฐบาลจะจัดการฝึกหัดครูให้ได้ทั้งปริมาณและคุณภาพจะส่งเสริมอุดหนุนโรงเรียนราษฎร์
ให้มีฐานะและมีคุณภาพดีขึ้น และเพิ่มสถานที่เล่าเรียนในโรงเรียนรัฐบาลขึ้นอีกและจะจัดการศึกษา
ให้เปล่าในโรงเรียนรัฐบาลโดยวิธีคัดเลือกนักเรียนที่เรียนดีเข้าเรียน จะส่งเสริมและกวดขันโรงเรียน
ประชาบาลและเทศบาลให้มีคุณภาพดีขึ้น เพิ่มพื้นความรู้ภาคบังคับให้ต้องศึกษาให้สูงขึ้นทั้งนี้จะขยาย
เป็นระยะ ๆ และเป็นท้องที่ ๆ ไปจะปรับปรุงอาชีวศึกษาโดยวางโครงการอาชีวศึกษาให้เหมาะแก่ท้องถิ่น
และจัดให้มีอาชีวศึกษาภาคบังคับขึ้นทั้งจะจัดอาชีวศึกษาแทรกในหลักสูตรสามัญศึกษาตามสมควร และ
จัดอาชีวศึกษาสำหรับผู้ใหญ่ขึ้นอีกด้วยทั้งนี้หวังว่ารัฐสภาจะพิจารณาดำเนินการตามมาตรา ๖๙ ของ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยด้วยดีต่อไปและในการนี้ถ้าหากท่านสมาชิกมีข้อข้องใจต่าง ๆ
ประการใดรัฐบาลก็พร้อมที่จะตอบชี้แจงให้ทราบโดยละเอียด
*รายงานการประชุมรัฐสภา ครั้งที่ ๘
วันพฤหัสบดีที่ ๕ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๙๐ หน้า ๓๔๒ - ๓๔๗ |
19 | คณะรัฐมนตรี คณะที่ ๑๙
นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี
ตั้งแต่วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๔๙๐ - ๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๑
แถลงนโยบาย เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๔๙๐
คำแถลงนโยบายของรัฐบาล*
ท่านประธานสภาฯ และท่านสมาชิกผู้มีเกียรติทั้งหลาย
เนื่องจากได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ข้าพเจ้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามประกาศตั้ง
นายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๙๐ บัดนี้ข้าพเจ้าได้จัดตั้งคณะรัฐมนตรี
เสร็จแล้วดังปรากฏตามประกาศตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี ลงวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๙๐
จึงใคร่ขอให้สภาฯ ได้พิจารณาให้ความไว้วางใจรัฐธรรมนูญชั่วคราว มาตรา ๗๗ และมาตรา ๙๖
เนื่องในการขอให้สภาได้พิจารณาให้ความไว้วางใจนี้ รัฐบาลขอแถลงนโยบายต่อไปเป็นรายการ
๑. การต่างประเทศ
ในทางต่างประเทศ รัฐบาลของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเคารพและจะได้ปฏิบัติตาม
ซึ่งบรรดาความผูกพันธ์ทางสัญญา ต้องการจะเป็นมิตรแก่นานาประเทศทั่วไป สนับสนุนองค์การ
ของสหประชาชาติและจะร่วมมืออย่างจริงใจในกิจการต่าง ๆ ในองค์การที่กล่าวนี้
๒. การปกครองภายใน
๑) จะจัดการปราบปรามโจรผู้ร้ายอย่างกวดขันในการนี้จะได้จัดระเบียบบริหาร
และปรับปรุงเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองและตำรวจเสียใหม่ให้มีสมรรถภาพยิ่งขึ้น
๒) ในด้านการทนุบำรุงความสุขของราษฎรจะได้เร่งรัดจัดการให้เครื่องอุปโภคบริโภค
ที่จำเป็นได้ถึงมือราษฎรโดยสะดวกและทั่วถึงกันและได้ปรับปรุงขยายกิจการสงเคราะห์ประชาชน
ในด้านการประกอบอาชีพต่าง ๆ ให้ดียิ่งขึ้นและมากขึ้น อีกทั้งจะปรับปรุงขยายการสงเคราะห์คนชรา
คนทุพพลภาพ และเด็กอนาถา
๓) จะได้ปรับปรุงระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคให้ดียิ่งขึ้น ในส่วนการปกครองท้องถิ่น
จะได้จัดระเบียบเสียใหม่ให้เหมาะสมเป็นผลแก่ราษฎร
๓. การศาลยุติธรรม
รัฐบาลนี้จะเคารพความเป็นอิสระของผู้พิพากษาในการพิจารณาอรรถคดีและสอดส่องให้
กระบวนการพิจารณาในศาลดำเนินไปด้วยความเที่ยงธรรม เพื่อผดุงสิทธิเสรีภาพของประชาชน
และโดยรวดเร็วเพื่อความสะดวกของราษฎรผู้เป็นคู่ความ
๔. การทหาร
จะได้ปรับปรุงกิจการทหารให้สอดคล้องกับการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย คือ
๑) จัดให้กำลังทหารทั้งหมดเป็นส่วนของประเทศชาติโดยแท้จริง ทั้งไม่ให้ทหารเข้าเล่น
การเมืองและไม่ให้ทหารเป็นเครื่องมือของนักการเมืองใด ๆ
๒) จัดกำลังทหารให้เหมาะสมที่จะเป็นกำลังป้องกันความเป็นเอกราชและอธิปไตยของชาติ
ทั้งในเวลาปรกติและสงคราม โดยพิจารณาถึงสภาพความเป็นอยู่ของประเทศ
๓) บำรุงสมรรถภาพของผู้บังคับบัญชาทหารทุกชั้นให้สูงขึ้นในด้านวิทยาการและการปกครอง
บังคับบัญชา ส่วนพลทหารจะได้ปรับปรุงวิธีการให้ทหารมีความสามารถดีตามหน้าที่และใช้เวลาน้อยลง
นอกจากวิทยาการตามหน้าที่โดยฉะเพาะแล้วจะได้จัดให้มีความรู้ในวิชาชีพซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่กิจการ
ทหารและทางส่วนตัวของบุคคลนั้น ๆ ด้วย
๔) จัดการปกครองทหารให้เหมาะสมกับการเป็นทหารของชาติโดยให้ทหารอยู่ในระเบียบ
วินัยอย่างเคร่งครัด ให้ทหารได้อยู่ดีกินดี ได้รับการรักษาพยาบาลดีในเวลาเจ็บไข้ทั้งให้ได้รับการบรรเทิง
เพื่อหย่อนใจในยามว่างด้วย
นอกจากนี้จะได้ปรับปรุงและสนับสนุนกิจการทหารผ่านศึกให้ดำเนินไปด้วยความเหมาะสม
ยิ่งขึ้น
๕. การพาณิชย์
๑) จัดการอย่างดีที่สุดให้ประชาชนมีข้าวพอกินภายในประเทศโดยตลอดทั่วถึงกันและจะ
พยายามลดราคาหรือรักษาราคาให้อยู่ในระดับตามสมควร ส่วนในด้านการผูกพันกับต่างประเทศ
จะได้รวบรวมข้าวส่งตามข้อผูกพันโดยสมบูรณ์
๒) จะดำเนินการเพื่อลดค่าครองชีพของประชาชนลงอย่างมากที่สุด
๓) จะส่งเสริมการส่งสินค้าออกไปขายในต่างประเทศให้มากยิ่งขึ้นเพื่อให้ได้เงินตราต่างประเทศ
ไว้ใช้เพียงพอกับความต้องการ
๔) จะส่งเสริมการค้าภายในประเทศให้เป็นปึกแผ่นเพื่อประโยชน์ของผู้ผลิต ผู้ค้า และผู้บริโภค
๖. การคลัง
๑) จะจัดระบบการคลัง (Financial System) ขึ้นใหม่ มีการคุ้มครองเงินหลวงไว้ให้มั่นคง
และจ่ายได้ฉะเพาะเพื่อการที่มีกฎหมายอนุญาตให้จ่าย
๒) จะทำให้เงินรายรับรายจ่ายแผ่นดินเป็นดุลยภาพ ให้มีรากฐานที่จะจัดให้เงินบาทที่
ค่าแน่นอนในระดับอันสมควร เพื่อให้การครองชีพของประชาชนอยู่ในระดับดียิ่งกว่าในปัจจุบัน
๓) ก่อให้เกิดความเชื่อถืออย่างแน่วแน่ในความมั่นคงแห่งการคลังของประเทศ
เพื่อมีทางส่งเสริมการค้าอุตสาหกรรมและกสิกรรมของชนชาวไทย
๗. การคมนาคม
๑) เกี่ยวกับการขนส่งทางบก ทางน้ำและการไปรษณีย์โทรเลข โทรศัพท์ ซึ่งได้รับ
ความกระทบกระเทือนจากสงคราม อันก่อให้เกิดความยากลำบากแก่ประชาชนผู้ใช้นั้น
รัฐบาลนี้จะขมักเขม้นจัดการบูรณะซ่อมแซมกล่าวโดยฉะเพาะ คือ การรถไฟ จะได้จัดการ
ให้เป็นผลเป็นความสะดวกแก่ประชาชนโดยเร็ว
๒) ส่วนในด้านการขยายงานนั้น จะรีบพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับกิจการคมนาคม
ที่จำเป็นยิ่งฉะเพาะหน้าเช่น โทรศัพท์ การทาง และการท่าเรือ สำหรับคมนาคมทางอากาศ
รัฐบาลนี้จะจัดการให้ประเทศไทยเป็นชุมทางสายการบินในทางตะวันออกไกล
๘. การศึกษาและการศาสนา
๑) จะส่งเสริมการศึกษาของประชาชนให้ก้าวหน้าทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ
ให้เหมาะสมแก่การที่จะเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย
๒) จะปรับปรุงหลักสูตรให้เหมาะกับสภาพ และความต้องการของประเทศ
๓) จะอบรมศีลธรรมจรรยาของนักเรียนและกวดขันวินัย
๔) จะจัดหาหนังสือตำราเรียนให้พอเพียงแก่ความต้องการ
๕) จะบำรุงและส่งเสริมฐานะครู
๖) จะขยายการศึกษาประเภทโรงเรียนอนุบาล
๗) จะส่งเสริมบำรุงการศาสนาให้วัฒนาถาวร
๙. การสาธารณสุข
๑) จะจัดให้วุฒิและสมรรถภาพของแพทย์ดีขึ้นโดยขยายการศึกษาเพิ่มเติมในโรงเรียน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทางสาธารณสุข หรือส่งไปเรียนเพิ่มเติมต่างประเทศ
๒) จะเร่งสร้างโรงพยาบาลให้แก่จังหวัดที่ขาดอยู่ และจะจัดโรงพยาบาลขนาดใหญ่
ประจำภาคเพื่อเป็นพี่เลี้ยงโรงพยาบาลประจำจังหวัด และจะได้กระจายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
ออกภูมิภาคบ้าง ส่วนโรงพยาบาลของเทศบาลต่าง ๆ นั้น จะได้ปรับปรุงเพื่อให้เจริญ
ก้าวหน้ายิ่งขึ้น
๓) มารดาและทารกสงเคราะห์เป็นข้อสำคัญอันหนึ่งในความเจริญของชาติ จึงจะต้อง
ขยายงานด้านนี้โดยอบรมนางพยาบาลผดุงครรภ์ให้พอเพียง และขยายจำนวนสถานีมารดาและ
ทารกสงเคราะห์ให้มากขึ้น
๔) จะกวดขันป้องกันการระบาดของโรคติดต่อ โดยจัดหน่วยบำบัดและป้องกัน
โรคติดต่อเคลื่อนที่ให้มากขึ้น
๑๐. การอุตสาหกรรม
รัฐบาลจะปรับปรุงส่งเสริมการอุตสาหรรมให้เจริญยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
การอุตสาหกรรมในครอบครัว ทั้งจะได้ส่งเสริมการจัดหาวัตถุดิบ และเครื่องมือ เครื่องใช้
ที่เกี่ยวกับการอุตสาหกรรมทั่วไป
๑๑. การเกษตร
๑) จะได้ส่งเสริมการเกษตร ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ โดยเฉพาะข้าว ฝ้าย
ถั่ว ในการนี้จะได้พิจารณาจัดตั้งสภาการเกษตรขึ้นเพื่อปรึกษาและให้คำปรึกษา
๒) จะได้จัดบำรุงและรักษาป่าและส่งเสริมการประมง เพื่อเพิ่มปริมาณการผลิต
และการที่จะผดุงรักษาไว้ให้เพิ่มพูนขึ้นในภายหน้า
๓) จะบำรุงการเลี้ยงสัตว์โดยเพิ่มพันธุ์สัตว์และปราบปรามโรคระบาดอย่างกวดขัน
๔) จะส่งเสริมการชลประทานท้องถิ่น เพื่อให้ผลของการเพาะปลูกแน่นอนขึ้น
๕) จะขยายการสหกรณ์ประเภทต่าง ๆ และส่งเสริมให้ประชาชนรู้จักใช้วิธีการ
ของสหกรณ์ เพื่อประโยชน์แก่ตน
อนึ่ง รัฐบาลนี้จะจัดการกับปัญหาต่อไปนี้เป็นพิเศษ
๑) กรณีสวรรคต
จะได้ดำเนินการสอบสวนอย่างจริงจัง
๒) การปราบปรามข้าราชการทุจริต
จะได้ดำเนินการอย่างเฉียบขาดโดยไม่เห็นแก่หน้าผู้ใด
๓) การครองชีพ
จะได้ดำเนินการทุกวิถีทาง เพื่อให้ประชาชนได้มีสินค้าจำเป็นในการครองชีพ
เพียงพอและทั่วถึงในราคาอันสมควร
๔) สมรรถภาพของข้าราชการ
จะได้ปรับปรุงสมรรถภาพของข้าราชการทุกกระทรวงทบวงกรมเพื่อประโยชน์
ของราษฎรโดยแท้จริง
รัฐบาลของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีนโยบายรวมใจความสำคัญโดยย่อดังได้เรียน
มาแล้ว ถ้าสภา ฯ เห็นชอบด้วยก็ขอให้สมาชิกผู้มีเกียรติทั้งหลายได้โปรดให้ร่วมมืออย่าง
จริงใจบ้านเมืองไทยที่รักของเราเปรียบเหมือนคนที่เดินหลงทางมาแล้วในป่าทึบและเพิ่ง
จะเห็นแสงสว่างรำไรข้างหน้า ซึ่งถ้าเราทั้งหลายมีความสามัคคีร่วมแรงร่วมใจกันก็จะ
สามารถบุกป่าออกไปสู่ทุ่งราบที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยข้าวปลาอาหารได้ รัฐบาลมีความหวัง
เป็นอย่างมากว่า ด้วยชื่อเสียงเกียรติคุณและคุณงามความดีที่สมาชิกของวุฒิสภานี้ได้บำเพ็ญ
ต่อบ้านเมืองมาช้านาน สมาชิกทุกท่านจะได้ให้การร่วมมือกับรัฐบาลในการเริ่มเปิดศักราชใหม่
เพื่อความวัฒนาถาวรของชาติบ้านเมือง และอนาคตของลูกหลานชาวไทยต่อไป
ท่านสมาชิกข้าพเจ้าอยากจะขอเรียนเพิ่มเติมว่าในการที่ข้าพเจ้าได้แถลงนโยบายต่อท่านนี้
ก็เป็นนโยบายที่จะให้ท่านเห็นรัฐบาลปฏิบัติ เพราะฉะนั้นถ้าท่านสมาชิกจะติดใจสงสัยอย่างไร ในข้อใด
กระทงใดก็ตาม ขอโปรดกรุณาได้ซักถามให้กระจ่างแจ้ง และรัฐมนตรีแต่ละท่านแต่ละกระทรวงจะได้
เรียนชี้แจงต่อไป
*รายงานการประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๒/๒๔๙๐ (สามัญ)
วันพฤหัสบดีที่ ๒๗ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๙๐ หน้า ๒๐ - ๒๖ |
20 | คณะรัฐมนตรี คณะที่ ๒๐
นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี
ตั้งแต่วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๑ - ๘ เมษายน ๒๔๙๑
แถลงนโยบาย เมื่อวันจันทร์ที่ ๑ มีนาคม ๒๔๙๑
คำแถลงนโยบายของรัฐบาล*
ท่านประธานรัฐสภาและท่านสมาชิกผู้มีเกียรติ
เนื่องจากได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ข้าพเจ้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ตามประกาศตั้งนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๙๑ บัดนี้ ข้าพเจ้า
ได้จัดตั้งคณะรัฐมนตรีเสร็จแล้วดั่งปรากฏตามประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรีลงวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์
พุทธศักราช ๒๔๙๑ จึงใคร่ขอให้รัฐสภาได้พิจารณาให้ความไว้วางใจตามรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว)มาตรา ๗๗ และมาตรา ๙๖
เป็นที่ทราบอยู่แล้วว่าการบริหารราชการแผ่นดินนั้นข้อสำคัญก็อยู่ที่จะต้องหาวิถีทางปฏิบัติ
ที่สุดที่สุดเพื่อให้ประชาชนได้อยู่ดีกินดีตามควรแก่อัตตภาพและผดุงรักษาไว้ซึ่งเอกราชและอธิปไตย
ของชาติกับให้บุคคลในชาติได้มีสิทธิเสรีภาพสมกับที่เป็นพลเมืองของประเทศในระบอบประชาธิปไตย
เป็นอาทิเพื่อบริหารราชการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ดั่งกล่าวข้างต้น รัฐบาลขอแถลงนโยบาย
ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้
๑. การคลัง
๑) จะจัดให้เงินรายรับรายจ่ายแผ่นดินเป็นดุลยภาพดูแลการจ่ายเงินให้เป็นไปในทาง
ที่ควรและชอบด้วยกฎหมาย และปฏิบัติตามข้อผูกพันกับนานาประเทศโดยเคร่งครัด ทั้งนี้เพื่อ
ดำรงไว้ซึ่งความเชื่อถือในความมั่นคงแห่งการคลัง และเพื่อเปิดทางไปสู่เสถียรภาพแห่งเงินตรา
๒) จะดำเนินการเงินตราไปตามวิถีทางอันจะนำไปสู่เสถียรภาพคือ เงินบาทมีค่าแน่นอน
ในระดับอันสมควรเพื่อให้การค้าและธุระกิจได้อาศัยหลักที่มั่นคงและให้การครองชีพอยู่ในระดับดี
ยิ่งกว่าปัจจุบัน
๒. การต่างประเทศ
ในทางต่างประเทศรัฐบาลของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเคารพและจะได้ปฏิบัติตามซึ่งบรรดา
ความผูกพันธ์ทางสัญญา ต้องการความเป็นมิตรแก่นานาประเทศทั่วไปสนับสนุนองค์การสหประชาชาติ
และจะร่วมมืออย่างจริงใจในกิจการต่าง ๆ ขององค์การที่กล่าวนี้
๓. การสาธารณสุข
๑) จะจัดให้วุฒิและสมรรถภาพของแพทย์ดีขึ้นโดยขยายการศึกษาเพิ่มเติมในโรงเรียน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทางสาธารณสุขหรือส่งไปเรียนเพิ่มเติมต่างประเทศ
๒) จะเร่งสร้างโรงพยาบาลให้แก่จังหวัดที่ขาดอยู่และจะจัดโรงพยาบาลขนาดใหญ่ประจำภาค
เพื่อเป็นพี่เลี้ยงโรงพยาบาลประจำจังหวัด และจะได้กระจายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญออกภูมิภาคบ้างส่วน
โรงพยาบาลของเทศบาลต่าง ๆ นั้นจะได้ปรับปรุงเพื่อให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น
๓) มารดาและทารกสงเคราะห์เป็นข้อสำคัญอันหนึ่งในความเจริญของชาติจึงจะต้อง
ขยายงานด้านนี้โดยอบรมนางพยาบาลผดุงครรภ์ให้พอเพียงและขยายจำนวนสถานีมารดา
และทารกสงเคราะห์ให้มากขึ้น
๔) จะกวดขันป้องกันการระบาดของโรคติดต่อ โดยจัดหน่วยบำบัดและป้องกันโรคติดต่อ
เคลื่อนที่ให้มากขึ้น
๔. การทหาร
จะได้ปรับปรุงกิจการทหารให้สอดคล้องกับการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย คือ
๑) จะจัดให้ทหารทั้งหมดเป็นส่วนของประเทศชาติโดยแท้จริง ทั้งไม่ให้ทหารเข้าเล่นการเมือง
และไม่ให้ทหารเป็นเครื่องมือของนักการเมืองใด ๆ
๒) จัดกำลังทหารให้เหมาะสมที่จะเป็นกำลังป้องกันความเป็นเอกราชและอธิปไตยของชาติ
ทั้งในเวลาปกติและสงครามโดยพิจารณาถึงสภาพความเป็นอยู่ของประเทศ
๓) บำรุงสมรรถภาพของผู้บังคับบัญชาทหารทุกชั้นให้สูงขึ้นในด้านวิทยาการและการปกครอง
บังคับบัญชา ส่วนพลทหารจะได้ปรับปรุงวิธีการให้ทหารมีความสามารถดีตามหน้าที่และใช้เวลาน้อยลง
นอกจากวิทยาการตามหน้าที่โดยฉะเพาะแล้ว จะได้จัดให้มีความรู้ในวิชาชีพซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่
กิจการทหาร และทางส่วนตัวของบุคคลนั้น ๆ ด้วย
๔) จัดการปกครองทหารให้เหมาะสมกับการเป็นทหารของชาติ โดยให้ทหารอยู่ในระเบียบ
วินัยอย่างเคร่งครัด ให้ทหารได้อยู่ดีกินดี ได้รับการรักษาพยาบาลดีในเวลาเจ็บไข้ ทั้งให้ได้รับการ
บันเทิงเพื่อหย่อนใจในยามว่างด้วย นอกจากนี้จะได้ปรับปรุงและสนับสนุนกิจการทหารผ่านศึกให้
ดำเนินไปด้วยความเหมาะสมยิ่งขึ้น
๕. การเกษตร
๑) จะเพิ่มการผลิตพืชผลต่าง ๆ โดยฉะเพาะข้าวอันเป็นสินค้าสำคัญของประเทศนั้น จะได้
ขยายพันธุ์ข้าวที่ดีและทดลองใช้ปุ๋ยเพื่อเพิ่มปริมาณข้าว นอกจากการทำนาด้วยวิธีประเพณีแล้วจะได้
มีการทดลองทำนาด้วยเครื่องจักร
๒) ในการชลประทาน
(ก) จะได้ส่งเสริมและขยายการชลประทานท้องถิ่น และควบคุมงานให้เกิดผลดียิ่งขึ้น
(ข) ชลประทานหลวง จะดำเนินการตามโครงการที่มีอยู่ ส่วนภาคที่ยังไม่มีโครงการ
ก็จะเริ่มดำเนินการวางไว้ต่อไป
๓) จะส่งเสริมและขยายการเพาะพันธุ์ปลาสำหรับเป็นอาหารของพลเมืองในภาคที่ขาด
อาหารคือ ภาคอีสาน และภาคเหนือส่วนการประมงทางทะเลจะได้จัดตั้งสถานีทดลองการประมง
ด้วยวิธีใหม่
๔) จะบำรุงและรักษาพันธุ์ไม้ซึ่งใช้สำหรับเป็นสินค้า สำหรับเป็นฟืนและสำหรับเป็น
เครื่องมือเครื่องใช้ ทั้งนี้จะได้มุ่งผลสำหรับอนาคตอันไกลเป็นที่ตั้ง
๕) จะขยายจำนวนสมาคมของสหกรณ์ประเภทหาทุนให้มากขึ้น และเพิ่มการสหกรณ์
ประเภทอื่น ๆ ตามการก้าวหน้าของแต่ละประเภท
๖) จะบำรุงส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ โดยเร่งปราบโรคระบาดสัตว์โดยกวดขันและหาทดลอง
ปลูกพืชที่ใช้เป็นอาหารสัตว์ กับพิจารณาหาพันธุ์สัตว์ที่ดีและทนทานต่ออากาศของประเทศไทย
ทั้งนี้ในทางวิชาการจะได้พิจารณาจัดตั้งสภาเกษตรขึ้น และร่วมมือกับองค์การ
เอฟ.เอ. โอ. (F.A.O.)
๖. การคมนาคม
๑) เกี่ยวกับการขนส่งทางบก ทางน้ำ และการไปรษณีย์โทรเลข โทรศัพท์ ซึ่งได้รับ
ความกระทบกระเทือนจากสงคราม อันก่อให้เกิดความยากลำบากแก่ประชาชนผู้ใช้นั้น
รัฐบาลจะขมักเขม้นจัดการบูรณะซ่อมแซม กล่าวโดยฉะเพาะคือ การรถไฟ จะได้จัดการ
ให้เป็นผลเป็นความสะดวกแก่ประชาชนโดยเร็ว
๒) ส่วนในด้านการขยายงานนั้น จะรีบพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับกิจการคมนาคม
ที่จำเป็นยิ่งฉะเพาะหน้า เช่น การโทรศัพท์ การทาง และการท่าเรือ สำหรับคมนาคมทางอากาศ
จัดการให้ประเทศไทยเป็นชุมทางสายการบินในทางตะวันออกไกล
๗. การพาณิชย์
๑) จัดการอย่างดีที่สุดให้ประชาชนมีข้าวพอกินภายในประเทศโดยตลอดทั่วถึงกัน
และจะพยายามรักษาราคาให้อยู่ในระดับตามสมควร ส่วนในด้านการผูกพันกับต่างประเทศ
จะได้รวบรวมข้าวส่งตามข้อผูกพันโดยสมบูรณ์
๒) จะดำเนินการเพื่อลดค่าครองชีพของประชาชนลงอย่างมากที่สุด
๓) จะส่งเสริมการส่งสินค้าออกไปขายในต่างประเทศให้มากยิ่งขึ้น เพื่อให้ได้เงินตรา
ต่างประเทศไว้ใช้เพียงพอกับความต้องการ
๔) จะส่งเสริมการค้าภายในประเทศให้เป็นปึกแผ่นเพื่อประโยชน์ของผู้ผลิต ผู้ค้า และ
ผู้บริโภค
๘ การปกครองภายใน
๑) จะจัดการปราบปรามการโจรผู้ร้ายอย่างกวดขัน ในการนี้จะได้จัดระเบียบบริหารและ
ปรับปรุงเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองและตำรวจให้มีสมรรถภาพยิ่งขึ้น
๒) ในด้านการทะนุบำรุงความสุขของราษฎร จะได้เร่งรัดจัดการให้เครื่องอุปโภคบริโภค
ที่จำเป็นได้ถึงมือราษฎรโดยสะดวกและทั่วถึงกัน และจะได้ปรับปรุงขยายกิจการสงเคราะห์ประชาชน
ในด้านการประกอบอาชีพต่าง ๆ ให้ดียิ่งขึ้นและมากขึ้น อีกทั้งจะปรับปรุงขยายการสงเคราะห์คนชรา
คนทุพพลภาพ และเด็กอนาถา
๓) จะได้ปรับปรุงระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคให้ดียิ่งขึ้น ในส่วนการปกครองท้องถิ่น
จะได้จัดระเบียบเสียใหม่ให้เหมาะสมเป็นผลแก่ราษฎร
๙. การศาลยุตติธรรม
รัฐบาลนี้จะเคารพความเป็นอิสสระของผู้พิพากษาในการพิจารณาอรรถคดีและสอดส่อง
ให้กระบวนการพิจารณาในศาลดำเนินไปด้วยความเที่ยงธรรมเพื่อผดุงสิทธิและเสรีภาพ
ของประชาชนและโดยรวดเร็วเพื่อความสะดวกของราษฎรผู้เป็นคู่ความ
๑๐. การศึกษาและการศาสนา
รัฐบาลนี้มีนโยบายที่จะอบรมจิตต์ใจของประชาชนให้เป็นพลเมืองดีแห่งระบอบประชาธิปไตย
ด้วยการให้การศึกษาไปในทางที่ทำให้พลเมืองรู้จักสิทธิและหน้าที่ของตน สามารถประกอบสัมมาอาชีพ
เป็นที่พึ่งแก่ตนเองและประเทศชาติส่วนรวม เพื่อการนี้จะได้
๑) เพิ่มจำนวนครู ทั้งปรับปรุงอาชีพครูให้เป็นอาชีพที่รายได้สมเกียรติและมีความหวัง
ที่จะได้ก้าวหน้า กับส่งเสริมความรู้ และกวดขันวินัย และสมรรถภาพของครูให้ดียิ่งขึ้น
๒) บูรณะ และเพิ่มจำนวนสถานที่ศึกษา
๓) จัดหาหนังสือตำราเรียน และอุปกรณ์อย่างอื่น ในการให้การศึกษาอบรมให้พอเพียง
ตามกำลังแห่งงบประมาณโดยฉะเพาะจะได้ส่งเสริมการพลศึกษา และอนามัยของนักเรียน ทัศนศึกษา
การศึกษาผู้ใหญ่และการศึกษาอนุบาล
๔) ประสานงานระหว่างกระทรวงทบวงกรม และองค์การของรัฐบาลและติดต่อกับองค์การ
ของเอกชน ในอันที่จะจัดงานอาชีพให้ผู้ที่เรียนสำเร็จอาชีวะศึกษาได้ประกอบอาชีพเป็นหลักแหล่ง
ตามสำควรสืบไป
๕) ปรับปรุงจำนวนอาจารย์ให้สมส่วนกับจำนวนผู้เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยเพื่อให้คุณภาพ
การสอนสูงขึ้น ทั้งให้อาจารย์และผู้สำเร็จการศึกษาชั้นบัณฑิตได้ทำการค้นคว้ามากขึ้น
๖) จัดให้มีโครงการบูรณะการศึกษาของชาติในรูปที่เป็นการถาวร
๗) บำรุงและส่งเสริมการศาสนา เพื่อให้เป็นกำลังในการอบรมศีลธรรมและจรรยาของประชาชน
๑๑. การอุตสาหกรรม
รัฐบาลจะปรับปรุงส่งเสริมการอุตสาหกรรมให้เจริญยิ่งขึ้นโดยฉเพาะอย่างยิ่งการ
อุตสาหกรรมในครอบครัว ทั้งจะได้ส่งเสริมการจัดหาวัตถุดิบ และเครื่องมือเครื่องใช้ที่เกี่ยวกับ
การอุตสาหกรรมทั่วไป เพื่อการนี้จะได้
๑) จะดำเนินการสำรวจ สอบสวนและทำสถิติว่าประเทศไทยมีวัตถุดิบอะไรบ้างที่จะใช้
สำหรับการอุตสาหกรรมได้ มีอยู่ที่ไหน ในฤดูกาลใด เป็นจำนวนมากน้อยเพียงใด คือ สำรวจ
ทรัพยากรธรรมชาติซึ่งจะเป็นทุนสำหรับดำเนินงานขั้นต่อไป
๒) จะส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติประเภทที่อาจเพิ่มทวีปริมาณได้ เช่น พืชและ
สัตว์ในการประกอบอาชีพอุตสาหกรรมให้มาก ส่วนทรัพยากรธรรมชาติประเภทที่ใช้แล้วหมดไป
เช่น แร่ธาตุ จะได้มีการควบคุมการใช้และการสงวนเพื่อใช้ประโยชน์โดยเต็มที่ เพราะทรัพยากร
เหล่านี้มีปริมาณจำกัด และไม่อาจสร้างขึ้นใหม่ได้
๓) จะดำเนินการให้มีพลังงานราคาถูก เพื่อประโยชน์ของโรงงานอุตสาหกรรมทั่วไป
โดยเฉพาะจะมุ่งไปในทางให้ได้มาซึ่งพลังงานจากธรรมชาติคือ พลังงานไฟฟ้าจากน้ำตกซึ่งเป็น
ชีวิตจิตใจในการอุตสาหกรรมของชาติ
๔) กิจการอุตสาหกรรมที่เอกชนได้จัดทำอยู่แล้ว จะสนับสนุนให้เอกชนทำต่อไป
โดยให้ความช่วยเหลืออุปการะเท่าที่จะช่วยได้ กิจการอุตสาหกรรมที่เอกชนประสงค์จะให้มี
ขึ้นใหม่ซึ่งการอุตสาหกรรมนั้นจะเป็นผลดีแก่ผลประโยชน์ในทางเศรษฐกิจของประเทศชาติ
ก็จะได้ให้ความสะดวกและความช่วยเหลือในการจัดตั้งขึ้นเท่าที่จะช่วยได้
๕) กิจการอุตสาหกรรมขนาดใหญ่หรืออุตสาหกรรมซึ่งเอกชนไม่สามารถดำเนินการ
โดยลำพังได้ กระทรวงการอุตสาหกรรมจะเป็นฝ่ายริเริ่มให้มีขึ้นตามกำลังเงินและตามความเหมาะสม
๖) กิจการอุตสาหกรรมที่กระทรวงอุตสาหกรรมมีหน้าที่รับผิดชอบอยู่ในขณะนี้เช่น โรงงาน
น้ำตาล โรงงานฟอกหนัง โรงงานกระดาษ โรงงานสุรา โรงงานยาง และองค์การเหมืองแร่ จะได้
ปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น คือ ให้ผลิตด้วยความประหยัด ให้ได้ปริมาณมากพอแก่ความต้องการ
ของประชาชน ให้มีคุณภาพดีและให้มีราคาพอสมควร
๗) สำหรับงานอุตสาหกรรมในครอบครัวของราษฎร์ในภูมิภาคต่าง ๆ จะส่งเสริมให้มีการ
ผลิตโดยแพร่หลาย ส่งเสริมให้ผลิตด้วยความปราณีตเพื่อรักษาฝีมือและแบบแผนอันเป็นวัฒนธรรม
ของภูมิภาคนั้น ๆ ไว้ ส่งเสริมโดยการแนะนำให้ใช้เครื่องมือผ่อนแรงที่จำเป็นและให้ได้ปริมาณมาก
ส่งเสริมในด้านการจำหน่ายให้ราษฎรในภูมิภาคอื่นได้มีโอกาสซื้อไปใช้เป็นการแลกเปลี่ยนกันด้วย
โดยเฉพาะการอุตสาหกรรมในประเภทวิจิตรงดงาม ซึ่งจะเป็นที่เชิดชูวัฒนธรรมของประเทศชาติ
จะได้เผยแพร่ออกไปยังต่างประเทศได้ด้วย
๘) จะขยายและควบคุมโรงงานที่เห็นเป็นการสมควรให้กว้างขวางยิ่งขึ้น และจะควบคุม
คุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่เห็นเป็นความจำเป็น
๙) จะได้จัดตั้งสภาวิจัยแห่งประเทศไทยขึ้น เป็นองค์การส่วนรวมของนักวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ
เพื่อส่งเสริมการวิจัยในทางวิทยาศาสตร์ทุกสาขา
อนึ่งรัฐบาลนี้จะจัดการกับปัญหาฉะเพาะหน้าต่อไปนี้เป็นพิเศษ
๑) กรณีสวรรคต
จะได้ดำเนินการสอบสวนอย่างจริงจังต่อไป
๒) การปราบปรามข้าราชการทุจริต
จะได้ดำเนินการอย่างเฉียบขาดโดยไม่เห็นแก่หน้าผู้ใด
๓) การครองชีพ
จะได้ดำเนินการทุกวิถีทาง เพื่อให้ประชาชนได้มีเครื่องอุปโภค บริโภคที่จำเป็น
ในการครองชีพเพียงพอและทั่วถึงในราคาอันสมควร
๔) สมรรถภาพของข้าราชการ
จะได้ปรับปรุงสมรรถภาพของข้าราชการทุกกระทรวงทะบวงกรม เพื่อประโยชน์
ของราษฎร์โดยแท้จริง
ข้าพเจ้าหวังใจว่ารัฐสภาคงจะได้รับนโยบาย
*รายงานการประชุมรัฐสภา ครั้งที่ ๑/๒๔๙๑ (สามัญ) ชุดที่ ๑
วันจันทร์ที่ ๑ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๙๑ หน้า ๖ - ๑๔ |
21 | คณะรัฐมนตรี คณะที่ ๒๑
จอมพล แปลก พิบูลสงคราม (แปลก ขีตตะสังคะ)
เป็นนายกรัฐมนตรี
ตั้งแต่วันที่ ๘ เมษายน ๒๔๙๑ - ๒๔ มิถุนายน ๒๔๙๒
แถลงนโยบาย เมื่อวันพุธที่ ๒๑ เมษายน ๒๔๙๑
คำแถลงนโยบายของรัฐบาล*
ท่านประธานรัฐสภาฯ และท่านสมาชิกผู้มีเกียรติทั้งหลาย
ตามที่พระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ข้าพเจ้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจัดตั้ง
คณะรัฐบาลของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อบริหารราชการแผ่นดิน ตามประกาศตั้งนายกรัฐมนตรี
ลงวันที่ ๘ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๙๑ และประกาศตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี ลงวันที่ ๑๕ เมษายน
พุทธศักราช ๒๔๙๑ นั้นบัดนี้ข้าพเจ้าขอแถลงนโยบายเพื่อรัฐสภาจะได้พิจารณาให้ความไว้วางใจ
ตามรัฐธรรมนูญฉะบับชั่วคราว มาตรา ๗๗ ดั่งต่อไปนี้ในขั้นต้นรัฐบาลนี้ขอเน้นให้แน่ชัด
ถึงเจตน์จำนงค์อันแน่วแน่ที่จะผดุงรักษาระบอบประชาธิปไตยเคารพต่อสิทธิและเสรีภาพของ
ปวงชนตามรัฐธรรมนูญทั้งจะพยายามหาทางให้ระบอบประชาธิปไตยมีรากฐานมั่นคงและดำเนินไป
ด้วยดียิ่งขึ้นเช่นจะเสนอกฎหมายตราระเบียบวิธีการเลือกตั้งให้มีการประกันในความสุจริตและ
ยุติธรรม อนึ่งเรื่องจากเจตน์จำนงค์อันรัฐบาลนี้จะปรับปรุงสนับสนุนการเทศบาล และสภาจังหวัด
ซึ่งเป็นอุปกรณ์ค้ำจุนระบอบประชาธิปไตยอีกส่วนหนึ่งด้วย
รัฐบาลนี้จะเทอดทูนเคารพสักการะองค์พระมหากษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์
และจะรักษาราชบัลลังก์ให้มั่นคงอยู่ชั่วนิรันดรทั้งจะเทอดทูนเกียรติพระราชวงศ์ที่ดำเนิน
เจริญรอยราชจริยาวัตร์
รัฐบาลนี้จะเชิดชูทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และให้ความช่วยเหลือแก่ศาสนาอื่นจะ
อาศัยทางศาสนาช่วยการศึกษาและอบรมประชาชนให้มีศีลธรรมอันดีงามยิ่งขึ้น
รัฐบาลนี้จะบำรุงกองทัพให้สมควรแก่ฐานะและความจำเป็นของบ้านเมือง
รัฐบาลนี้จะสนใจเป็นพิเศษในเรื่องการศึกษาของประชาชนจะพยายามให้พลเมือง
ได้รับการศึกษาโดยทั่วหน้ากัน ด้วยการจัดตั้งโรงเรียนต่าง ๆ ของรัฐบาล และประชาชนเพิ่มขึ้น
ทั้งปรับปรุงสมรรถภาพและเงินเดือนครู ส่วนโรงเรียนเอกชนรัฐบาลก็สนับสนุนให้เพิ่มพูนขึ้น
ทั้งคุณภาพและปริมาณ
รัฐบาลนี้จะผดุงรักษาพันธไมตรีกับนานาชาติโดยบริสุทธิ์ใจจะปฏิบัติตามพันธกรณีย์
ที่มีกับประเทศทั้งหลายและจะร่วมมือกับองค์การสหประชาชาติในกิจการที่เป็นไปเพื่อสันติภาพ
และยุติธรรม ส่วนที่เกี่ยวกับชนต่างชาติที่เข้ามาพำนักอยู่ในประเทศไทยนั้นก็จะพยายามหาทาง
ให้ได้ร่วมมือร่วมใจกับชนชาวไทยประกอบกิจที่เป็นคุณประโยชน์ด้วยกันทั้งสองฝ่ายให้ชาวไทยกับ
ต่างชาติได้อยู่ด้วยกันโดยความสงบสุข
ภาระอันสำคัญที่สุดซึ่งรัฐบาลนี้ถือเป็นงานรีบเร่งที่จะต้องทำการแก้ไข คือการ
ครองชีพของประชาชน
โดยเหตุที่ประชาชนต้องเผชิญหน้ากับสถานะการณ์ปัจจุบันดั่งที่เป็นอยู่
อาทิเช่นเครื่องอุปโภคบริโภคแทบทุกอย่าง แม้ที่มีอยู่พอกินพอใช้ก็มีราคาแพงในลักษณาการ
เช่นนี้ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่า ความแพงแห่งชีวิตมิได้อยู่ที่ราคาของอย่างเดียวแต่เป็นปัญหาภาวะ
ของเงินตราซึ่งจะต้องรีบแก้ไขและในเวลาเดียวกันจำจะต้องสร้างรากฐานสังคมและความเป็นอยู่
เป็นอยู่ของพลเมืองไว้ให้แข็งแรง เพื่อที่จะต้านทานความผันผวนของเหตุการณ์ในอนาคต
ฉะนั้นการแก้ปัญหาเรื่องการครองชีพ รัฐบาลนี้จึงจะดำเนินการในเรื่องเงินตราเรื่องราคา
ของและเรื่องรากฐานสังคม
๑. ในเรื่องเงินตรา จะสร้างเสถียรภาพของเงินตราโดยทำงบประมาณให้ได้
ดุลยภาพและจัดให้เงินตรามีการหมุนเวียนโดยสมส่วน
๒. ในเรื่องราคาของ รัฐบาลนี้จะพยายามให้ราคาของถูกลงโดยวิธีเพิ่มผลผลิต
ส่งเสริมอุตสาหกรรมให้ความสะดวกในการขนส่ง และการจำหน่ายปราบปรามการแกล้ง
กักตุนและป้องกันการค้ากำไรเกินควร
๓. ในเรื่องรากฐานสังคม จะดำเนินการดังต่อไปนี้
ก. จัดให้มีการประกันสังคม เพื่อประโยชน์แก่ผู้ประกอบอาชีพทางรับจ้าง
ข. จะจัดตั้งและขยายสหกรณ์รูปต่าง ๆ ให้แพร่หลายโดยฉะเพาะอย่างยิ่งสหกรณ์
ประเภทหาทุน สหกรณ์ขายข้าวและพืชผล สหกรณ์ผู้บริโภค และสหกรณ์เช่าซื้อที่ดิน
ค. ส่งเสริมงานอาชีพโดยถือหลักให้ผู้ประกอบอาชีพสามารถเป็นเจ้าของกิจการ
ร้านค้าหรือโรงงานของตนเอง รัฐจะเคารพกรรมสิทธิและเสรีภาพในการประกอบกิจนั้น ๆ
ง. กิจการใดที่เป็นการใหญ่เกินกำลังที่เอกชนจะทำได้ หรือเกี่ยวกับความปลอดภัย
สาธารณะรัฐจะทำเอง โดยให้เอกชนได้มีส่วนหรือปล่อยให้เอกชนทำ โดยรัฐเข้าเป็นหุ้นส่วน
ตามสมควร
นอกจากที่กล่าวมาข้างต้นแล้วในบรรดากิจการบริหารราชการแผ่นดินทั้งมวลซึ่งรัฐบาล
ก่อน ๆ ได้ปฏิบัติมาด้วยดีรัฐบาลนี้จะดำเนินการต่อเนื่องเพื่อให้กิจการทุกอย่างดำเนินก้าวหน้าตาม
สมควรแก่กำลังคนและกำลังเงินให้ข้าราชการทุกกระทรวงทะบวงกรมปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยวิริยะ
อุตสาหะสุจริตต่อหน้าที่ และให้ได้ผลดีแก่ประเทศชาติมากที่สุดที่จะทำได้ทั้งจะให้ความเอาใจใส่
สนับสนุนให้ข้าราชการประจำมีความมั่นคงในฐานะและช่วยเหลือข้าราชการบำนาญข้าราชการนอก
ประจำการทั้งทหารและพลเรือนด้วย
*รายงานการประชุมรัฐสภา ครั้งที่ ๗
วันพุธที่ ๒๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๙๑ หน้า ๖๙๙ - ๗๐๓ |
22 | คณะรัฐมนตรี คณะที่ ๒๒
จอมพล แปลก พิบูลสงคราม (แปลก ขีตตะสังคะ)
เป็นนายกรัฐมนตรี
ตั้งแต่วันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๔๙๒ - ๒๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๔
แถลงนโยบาย เมื่อวันพุธที่ ๖ กรกฎาคม ๒๔๙๒
คำแถลงนโยบายของรัฐบาล*
ท่านประธานรัฐสภา และท่านสมาชิกผู้มีเกียรติ
ตามที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ข้าพเจ้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
และจัดตั้งคณะรัฐบาลของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อบริหารราชการแผ่นดินตามประกาศ
พระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๒๕ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๙๒ ทั้ง
ข้าพเจ้าและคณะรัฐบาลได้เข้าเฝ้าปฏิญาณตนตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราช
อาณาจักรไทยมาตรา ๑๔๑ แล้ว บัดนี้ข้าพเจ้าและคณะรัฐมนตรีขอแถลงนโยบายเพื่อสภานี้
จะได้พิจารณาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๔๕ - ๑๔๖ ดังต่อไปนี้
ก่อนอื่นรัฐบาลนี้มีเจตน์จำนงอันแน่วแน่ที่จะรักษาระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์
เป็นประมุข ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ
รัฐบาลนี้มีความตั้งใจแน่วแน่ ที่จะปฎิบัติงานของชาติให้สำเร็จสมบูรณ์ตามนโยบาย
ที่แถลงมาข้างต้นนี้ แต่จะปฏิบัติให้เป็นผลสำเร็จได้ ก็ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจของทุกฝ่าย
รัฐบาลจึงหวังว่าจะได้รับความร่วมมือของท่านสมาชิกรัฐสภา ตลอดถึงข้าราชการและประชาชน
ที่จะช่วยให้รัฐบาลสามารถทำงานให้ประเทศชาติผ่านพ้นความยากลำบากได้ในเวลานี้ และเตรียมพร้อม
ที่จะเผชิญกับวิกฤติการณ์ที่อาจจะมีขึ้นในวันข้างหน้า
ตามที่รัฐบาลนี้ได้แถลงนโยบายต่อท่านสมาชิกจบลงนี้ กระผมขอเรียนเพิ่มเติมว่า
ในการที่เราได้แถลงนโยบายดังนี้ก็รู้สึกเหมือกันว่าเป็นการกว้างขวางเกินไป แต่ก็ไปนึกดูว่า
ที่ว่าตามปกติแล้วรัฐบาลที่เข้ามาสำหรับตัวผมเองได้ออกไป 3 ปีแล้ว รายละเอียดก็ไม่ทราบ
เพราะฉะนั้นเป็นผู้แทนราษฎรเข้ามาใหม่ก็ไม่รู้รายละเอียดในกิจกรรมนโยบายของ
ข้าราชการประจำ เช่น ตำรวจ
มีการปกครอง มีความบกพร่องอย่างไรบ้าง รัฐบาลที่ประกอบขึ้นใหม่ก็ไม่ทราบ
เพราะฉะนั้นเลยนึกไปว่าข้าราชการมี 2 ประเภท คือ ประเภทการเมืองและประเภทประจำ
เพราะฉะนั้นแต่ละฝ่ายมีหน้าที่ของตนโดยเฉพาะ เพราะฉะนั้นหน้าที่ของการเมืองก็ควรระลึกถึง
แต่เรื่องการเมืองว่าหน้าที่ของตามนโยบายมีดังนั้น ข้าราชการรับไปทำ เพราะฉะนั้นรัฐบาลนี้
ที่เสนอนโยบายมานี้อาจจะมีการบกพร่องก็ขอได้โปรดอภัยด้วยและมีเปลี่ยนแปลงประการใด
แต่ว่าโดยที่นึกว่าที่เสนอมานี้เป็นเพียงนโยบาย ส่วนข้าราชการประจำซึ่งเป็นอีกหนึ่งนั้นก็จะได้
แปรเปลี่ยนไปตามนโยบายนี้ เท่าที่สามารถจะทำได้
ตามที่ได้แถลงนโยบายจบลงนี้ ข้าพเจ้าขอเรียนท่านผู้มีเกียรติทั้งหลายว่า
รัฐบาลนี้พร้อมที่จะได้รับคำทักท้วง ได้รับคำแนะนำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อเป็นประโยชน์แก่รัฐบาล
จะได้นำไปพิจารณาประกอบเพื่อให้เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติและต้องใจแก่บรรดาท่านสมาชิก
ทั้งหลายตลอดไปด้วย
๑. การศาสนา
รัฐบาลนี้จะเชิดชูทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และให้ความช่วยเหลือศาสนาอื่น
จะอาศัย ทางศาสนาช่วยการศึกษาและอบรมประชาชนให้มีศีลธรรมอันดีงามยิ่งขึ้น
๒. พระมหากษัตริย์
รัฐบาลนี้จะเทอดทูนเคารพหลักการองค์พระมหากษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์
และจะรักษาราชบัลลังก์ให้มั่นคงอยู่ชั่วนิรันดรทั้งจะเทอดทูนเกียรติพระราชวงศ์ที่ดำเนินเจริญ
รอยราชจริยาวัตร์
๓. การต่างประเทศ
(๑) จะพยายามส่งเสริมสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศและปฏิบัติตามพันธกรณีซึ่งมีอยู่ต่อ
ประเทศทั้งหลาย โดยถือหลักความเสมอภาคและการถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกัน
(๒) จะร่วมมือกับองค์การสหประชาชาติ ในบรรดากิจการต่าง ๆ เพื่อความยุติธรรมและ
สันติสุขของโลก
(๓) รัฐบาลนี้ขอเรียนให้ทราบว่า ในขณะนี้สถานการณ์ของประเทศต่าง ๆ ยังยุ่งยากสับสน
อยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายในประเทศใกล้เคียง มีการรบต่อสู้กันทั่วไป ส่วนประเทศไทยยัง
รักษาความสงบสุขอยู่ได้ แต่ย่อมมีความเข้าใจทั่วกันว่า ประเทศชาติของเราต้องมีภาระหนัก
อยู่มิใช่น้อยที่จะต้องพยายามฝ่าฟันในอันที่จะรักษาไว้ซึ่งความสงบสันติสุข เพื่อประโยชน์แก่
ประชาชนชาวไทย ส่วนชนชาติต่าง ๆ ที่เข้ามาพำนักในประเทศไทยรัฐบาลนี้หวังว่าจะได้ร่วม
มือร่วมใจกับประชาชนชาวไทยประกอบกิจที่เป็นคุณประโยชน์เพื่อความสงบสุขส่วนรวม
๔. การทหาร
(๑) จะผดุงส่งเสริมสมรรถภาพกำลังทหารให้สมกับกาลสมัย
(๒) จะพยายามจัดการทุกวิถีทางให้กำลังทหารเป็นทหารที่ดีของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทั้งอยู่ในความนิยมของประชาชน
๕. การศึกษา
รัฐบาลนี้ถือว่าการส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรมประชาชนเป็นสิ่งสำคัญ
ลำดับแรก จะพยายามให้ประชาชนได้รับการศึกษาอบรมทั่วถึงกันทุกเพศทุกวัย โดย
(๑) จะส่งเสริมปรับปรุงและบำรุงการอาชีวะศึกษาเป็นพิเศษ
(๒) จะส่งเสริมปรับปรุงและบำรุงการพลศึกษาให้ได้ผลดียิ่งขึ้น
(๓) จะส่งเสริมปรับปรุงการศึกษาผู้ใหญ่ให้กว้างขวางดียิ่งขึ้น
(๔) จะตั้งโรงเรียนรัฐบาลและประชาบาลเพิ่มขึ้นให้เพียงพอกับความต้องการของประชาชน
ตามลำดับแห่งความจำเป็น
(๕) จะเพิ่มจำนวนครูอาจารย์ ตลอดจนปรับปรุงสมรรถภาพของครูอาจารย์ให้เหมาะสม
แก่กาลสมัย
(๖) จะขยายการสนับสนุนและบำรุงโรงเรียนราษฎร์ให้มากขึ้น
(๗) จะได้ปรับปรุงและขยายเพิ่มเติมการศึกษาขั้นมหาวิทยาลัยให้ได้ผลดียิ่งขึ้น
(๘) จะพยายามจัดให้มีห้องสมุดสำหรับประชาชนให้แพร่หลายยิ่งขึ้น ทั้งปริมาณและคุณภาพ
(๙) จะยึดหลักเป็นทางปฏิบัติว่า รัฐมีหน้าที่ให้การศึกษาอบรมแก่ประชาชนพลเมืองทุกคน
โดยไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน และช่วยเหลือให้เครื่องอุปกรณ์การศึกษาตามสมควร
๖. การเกษตร
(๑) จะจัดการส่งเสริมให้ประชาชนชาวไทยได้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งในส่วนที่เป็นที่อยู่อาศัย
และที่ประกอบการทำมาหากินของตนเอง
(๒) จะบำรุงส่งเสริมการผลิตพืชผลต่าง ๆ และการเลี้ยงสัตว์ให้ทวีคุณภาพและปริมาณยิ่งขึ้น
โดย
(ก) ชลประทานราษฎร์ จะได้ขยายให้ทั่วราชอาณาจักรโดยด่วนและควบคุมงานให้เกิด
ผลดียิ่งขึ้น
ชลประทานหลวง จะได้เร่งรัดงานตามโครงการที่ได้ดำเนินอยู่ให้เสร็จเร็วยิ่งขึ้น
ส่วนท้องที่ที่ยังไม่มีโครงการก็จะเริ่มดำเนินงานต่อไปและจะได้ส่งเสริมการส่งน้ำเพื่อการ
เพาะปลูกด้วยวิธีอื่นให้เพียงพอ
คลอง จะได้จัดการลอกให้ใช้เป็นทางส่งน้ำสำหรับการเพาะปลูกและการลำเลียง
ขนส่ง และจะได้ขุดคลองเพิ่มขึ้นอีก
(ข) จะได้ค้นคว้าและส่งเสริมพันธุ์พืชให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ตลอดจนการใช้ปุ๋ยและ
เครื่องจักร์ทุ่นแรง
(ค) จะบำรุงส่งเสริมการเลี้ยงปศุสัตว์และสัตว์พาหน ตลอดถึงการหาพันธุ์สัตว์
ที่ดีด้วย จะจัดการเพาะปลูกพืชที่ใช้เป็นอาหารสัตว์ จะได้ส่งเสริมและจัดทำวัคซีนให้พอแก่
ความต้องการ และเร่งปราบโรคระบาดสัตว์
(ง) จะส่งเสริมและขยายการเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดสำหรับเป็นอาหารของประชาชน
ในภาคต่าง ๆ ทั่วไป การประมงทางทะเล จะได้ตั้งสถานีการประมงและจะได้จัดการส่งเสริม
การจำหน่ายปลาทุกชนิดให้ประชาชนได้รับผลดียิ่งขึ้น
(จ) จะขยายการสหกรณ์รูปต่าง ๆ ให้แพร่หลายมากขึ้น เฉพาอย่างยิ่งสหกรณ์ประเภท
หาทุน เช่าซื้อที่ดิน และประเภทร้านค้า
(๓) จะบำรุงรักษาป่าและพันธุ์ไม้ให้เจริญยั่งยืน ในเวลาเดียวกันจะได้ส่งเสริมให้มีสินค้าไม้
และของป่าพอแก่ความต้องการใช้ภายในประเทศ และส่งเป็นสินค้าไปนอกประเทศด้วย
(๔) จะบำรุงส่งเสริมการเพาะปลูกยางพารา เพื่อให้ได้สินค้ายางพาราทวียิ่งขึ้นจนเป็น
สินค้าสำคัญของประเทศต่อไป
(๕) จะได้ส่งเสริมการศึกษาในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ให้ก้าวหน้า และจะได้พยายาม
ให้การศึกษาอบรมในวิชาการกสิกรรมเลี้ยงสัตว์แก่ประชาชนให้แพร่หลาย
๗. การอุตสาหกรรม
(๑) จะส่งเสริมการอุตสาหกรรม เพื่อแปลงวัตถุดิบภายในประเทศให้เป็นวัตถุสำเร็จรูป
สำหรับใช้ภายในประเทศ
(๒) จะเร่งการสำรวจแหล่งแร่ต่าง ๆ ทั่วประเทศให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ทั้งจะส่งเสริมการทำ
เหมืองแร่ให้ได้มาซึ่งแร่จนเป็นสินค้าสำคัญของประเทศ
(๓) จะปรับปรุงแก้ไขโรงงานของรัฐให้ผลิตผลได้ดีมากขึ้น
(๔) จะส่งเสริมให้เกิดโรงงานอุตสาหกรรมของรัฐและของเอกชน ให้เหมาะสมกับการ
ผลิตประเภทอื่น
(๕) จะเร่งรัดให้ได้มาซึ่งพลังจากไฟฟ้าน้ำตก
(๖) จะเร่งส่งเสริมการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ทุกสาขา
๘. การคมนาคม
จะปรับปรุงส่งเสรมและขยายการขนส่งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ ตลอดจน
การสื่อสารให้พอแก่ความต้องการของประเทศในการขนส่งสินค้าและโดยสารโดยเฉพาะ
(๑) การรถไฟ จะได้จัดการปรับปรุงสิ่งที่เสียหายจากการสงครามให้คืนดีใช้งานได้ จะได้
สั่งซื้อรถจักร รถบรรทุก รถโดยสาร ทั้งเครื่องอุปกรณ์ในการโรงงานและการเดินรถ และจะได้
้สร้างทางรถไฟเพิ่มเติมต่อไปตามโครงการ
(๒) การทาง จะได้เร่งบูรณะทางหลวงที่ชำรุด และจะได้สร้างทางตามโครงการสร้าง
ทางหลวงแผ่นดิน และทางหลวงจังหวัดทั่วราชอาณาจักรต่อไปโดยด่วน พยายามให้ทุกจังหวัด
และทุกอำเภอติดต่อถึงกันได้ และจะได้จัดหาเครื่องจักร์ทุ่นแรงมาใช้ในการบูรณะและสร้าง
ทางเหล่านี้
(๓) ท่าเรือกรุงเทพฯ จะได้ปรับปรุงกิจการให้สมบูรณ์ตามโครงการเดิมต่อไป และจะได้
เร่งรัดในการขุดลอกสันดอน เพื่อให้เรือซึ่งกินน้ำลึกประมาณ ๒๑ ฟีด เข้าออกได้ กับจะพิจารณา
สร้างท่าเรืออื่นต่อไป
(๔) การไปรษณีย์ โทรเลข โทรศัพท์ และการสื่อสารอื่น ๆ จะได้ปรับปรุงส่งเสริมและขยาย
ให้กว้างขวางทั่วราชอาณาจักรต่อจากที่ได้ทำมาแล้ว เพื่อสนองความต้องการของประชาชน
ทั่วไป
(๕) จะได้จัดการลดราคา หรือไม่เก็บค่าโดยสาร และค่าธรรมเนียมอื่นตามควรเหล่านี้ ให้แก่
พระภิกษุสงฆ์ คนเจ็บป่วย และเพื่อช่วยประชาชนตามที่จะทำได้
๙. การพาณิชย์
(๑) จะได้รักษาราคาสินค้าที่จำเป็นแก่การครองชีพให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และพยายาม
ให้ต่ำลงตามกาลเวลา ทั้งจะนำไปในทางให้การใช้จ่ายประหยัดที่สุด ในขณะเดียวกันก็จะได้
ส่งเสริมสนับสนุนให้คนไทยได้มีอาชีพในการค้า อันเป็นทางเดียวที่จะธำรงไว้ซึ่งเอกราช
ทางเศรษฐกิจของประเทศชาติ
(๒) จะได้ส่งเสริมให้มีสินค้าส่งออกไปจำหน่ายนอกประเทศให้มากที่สุดในเวลาเดียวกัน
ก็จะแนะนำให้ผู้ค้ารักษาคุณภาพให้เป็นที่นิยมและเชื่อถือได้
(๓) สำหรับการควบคุมสินค้าขาเข้าและออกนั้น จะพยายามปฏิบัติมิให้เป็นที่เดือดร้อนแก่
ประชาชน นอกจากความจำเป็นที่จะรักษาไว้ซึ่งประโยชน์ของประเทศชาติ
(๔) การค้าข้าว จักได้ร่วมมือกับองค์การอาหารยามฉุกเฉินของสหประชาชาติที่จะไม่ขัดกับ
ประโยชน์สุขของประชาชนชาวไทย
๑๐. การมหาดไทย
จะจัดการปกครองให้ราษฎรมีความปลอดภัย ผาสุก และเป็นพลเมืองดีตลอดจนให้
ราษฎรประกอบสัมมาอาชีพ กล่าวคือ
(๑) จะส่งเสริมสนับสนุนการเทศบาลและสภาจังหวัด ซึ่งเป็นอุปกรณ์ของระบอบประชาธิปไตย
ให้สามารถอำนวยคุณประโยชน์แก่ประชาชนได้ดียิ่งขึ้น และจะได้ช่วยทำนุบำรุงและบูรณะท้องถิ่น
ทุกแห่งของราชอาณาจักรให้มีความเจริญทั่วถึงกัน
(๒) จะจัดการให้ตำรวจมีกำลังเพียงพอและมีสมรรถภาพดีเป็นที่ไว้วางใจเชื่อถือของ
ประชาชน
(๓) จะปรับปรุงให้พนักงานอัยการมีเพียงพอและมีสมรรถภาพและฐานะดียิ่งขึ้น
(๔) จะดำเนินการราชทัณฑ์ไปตามแผนอารยะนิยม โดยจะได้ปฏิบัติต่อผู้ต้องขังตาม
หลักการราชทัณฑ์ ด้วยความมุ่งหวังที่จะให้กลับเป็นพลเมืองดีต่อไป โดยเฉพาะนักโทษเด็ก
จะได้จัดแยกที่คุมขังมาตั้งเป็นเอกเทศเพื่อฝึกอบรมเป็นพิเศษ สำหรับเด็กที่ศาลสั่งให้ได้รับ
การฝึกและอบรมนั้น จะได้ปรับปรุงการฝึกและอบรมให้มีผลดียิ่งขึ้น
(๕) จะเร่งซ่อมแซมปรับปรุงก่อสร้างการไฟฟ้า การประปาในพระนครและธนบุรี ซึ่ง
เสียหายในคราวสงครามให้พอสนองความต้องการของประชาชน และจะได้ขยายการไฟฟ้า
ประปา ให้แพร่หลายตามท้องที่ทั่วราชอาณาจักรโดยด่วน
(๖) การสงเคราะห์ประชาชน จะได้ขยายการสร้างอาคารให้เช่า และให้เช่าซื้อมากยิ่งขึ้น
จะได้ช่วยหาอาชีพให้ประชาชน จะขยายการช่วยสงเคราะห์คนชรา คนทุพพลภาพ ผู้มีบุตรมาก
เด็กให้เป็นผลจริงจังต่อไป
(๗) จะช่วยบุคคลที่ตั้งใจประกอบอาชีพโดยอิสระให้ได้รับความสะดวกในการจับจองที่ดิน
รกร้างว่างเปล่า และได้รับหนังสือแสดงกรรมสิทธิหรือสิทธิครอบครองสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น
(๘) จะให้ความสนับสนุนช่วยเหลือกรรมกรทุกประเภท
๑๑. การสาธารณสุข
การสาธารณสุขจะพยายามให้ประชาชนมีสุขภาพดี มีร่างกายแข็งแรงสมที่จะ
ประกอบอาชีพของตน และทำประโยชน์แก่ประเทศชาติได้นานที่สุดในชีวิต โดยรัฐบาล
จะได้จัดในสิ่งสำคัญต่อไปนี้ คือ
(๑) ปรับปรุงเจ้าหน้าที่ทั้งจำนวนและคุณภาพ เพื่อให้มีสมรรถภาพดียิ่งขึ้น
(๒) ขยายการสุขศึกษาให้ประชาชนได้รับความรู้ในเรื่องการอนามัยดียิ่งขึ้น
(๓) ขยายการบำบัดโรคให้แก่ประชาชน โดยจัดให้มีโรงพยาบาล และสถานบำบัดโรค
ตลอดจนเวชภัณฑ์และอุปกรณ์ต่าง ๆ เพิ่มขึ้นในจังหวัดที่ขาดอยู่
(๔) ขยายการมารดาและทารกสงเคราะห์ โดยจัดให้มีนางพยาบาลผดุงครรภ์เพิ่มขึ้น
ตลอดจนให้มีสถานสงเคราะห์มารดาและทารกเพิ่มขึ้นด้วย
(๕) จัดการป้องกันและระงับโรคติดต่อและโรคอื่นที่สำคัญ โดยเพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่
และอุปกรณ์ให้สามารถทำการได้เป็นผลดียิ่งขึ้น
(๖) บำรุงและส่งเสริมการสุขาภิบาล โดยร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองและเจ้าหน้าที่
และเจ้าหน้าที่เทศบาลโดยใกล้ชิด เพื่อแก้ไขการสุขาภิบาลทั่วไปให้ดียิ่งขึ้น
(๗) ขยายการอนามัยนักเรียน โดยเพิ่มหน่วยอนามัยนักเรียน เพื่อทำการตามโรงเรียน
ได้มากขึ้น
(๘) ส่งเสริมการศึกษาและการวิจัยในทางการแพทย์และการสาธารณสุข
(๙) ร่วมมือกับองค์การสหประชาชาติที่เกี่ยวด้วยการแพทย์ การสาธารณสุข และการ
สงเคราะห์เด็ก
(๑๐) จะพยายามให้ประชาชนทุกคนได้รับการปฏิบัติในการรักษาพยาบาลเท่าเทียมกัน
๑๒. การศาลยุติธรรม
(๑) จะรักษาความเป็นอิสระของผูพิพากษาในการพิจารณพิพากษาอรรถคดีตามกฎหมาย
(๒) จะเพิ่มจำนวนศาลที่พิจารณาอรรถคดีให้สะดวกแก่ประชาชนยิ่งขึ้น
(๓) จะเร่งรัดการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีให้รวดเร็วมิชักช้า
๑๓. การคลัง
การคลังเป็นปัจจัยแห่งการปกครองและทำนุบำรุงบ้านเมือง กิจการทั้งปวงจะสำเร็จ
ได้ด้วยดีก็ต้องอาศัยความมั่นคงแห่งการคลังเป็นหลัก รัฐบาลนี้จึงจะดำรงไว้ซึ่งดุลยภาพแห่ง
รายได้รายจ่ายแผ่นดิน เพราะเป็นรากฐานแห่งความมั่นคงของการคลัง และจะอาศัยความ
เชื่อถืออันเกิดขึ้นจากความมั่นคงนั้นเป็นเครื่องมือระดมกำลังทุนมาใช้เพื่อให้เศรษฐกิจ
ของประเทศชาติขยายตัว ทั่งจะดำเนินการต่อไปทุกวิถีทางในอันที่จะให้เงินตราไทยมี
เสถียรภาพสมบูรณ์ขึ้นในเวลาอันสมควร
นอกจากที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว รัฐบาลนี้จะสนใจในการปราบปรามผู้ทุจริตในวงราชการ
ของรัฐ ปราบปรามโจรผู้ร้าย และลดค่าครองชีพเหล่านี้เป็นพิเศษ และรัฐบาลนี้จะดำเนินตามแนว
นโยบายแห่งรัฐซึ่งบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ
อนึ่ง ในบรรดากิจการบริหารราชการแผ่นดินทั้งปวง ซึ่งรัฐบาลก่อน ๆ ได้ปฏิบัติมา
ด้วยดี รัฐบาลนี้จะดำเนินการต่อเนื่องเพื่อให้กิจการทุกอย่างดำเนินก้าวหน้าตามสมควรแก่
กำลังคน และกำลังเงิน ให้ข้าราชการทุกกระทรวงทบวงกรมปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยวิริยะ
อุตสาหะ สุจริตต่อหน้าที่และให้ได้ผลดีแก่ประเทศชาติมากที่สุดที่จะทำได้ ทั้งจะให้ความเอา
ใจใส่สนับสนุนให้ข้าราชการประจำมีความมั่นคงในฐานะ และช่วยเหลือข้าราชการบำนาญ
ข้าราชการนอกประจำการทั้งทหารพลเรือนด้วย
ในการปฏิบัติงานของชาติตามนโยบายที่แถลงมาข้างต้นนี้ จำต้องขอความเห็นอก
เห็นใจไมตรีจิตและความร่วมมือจากท่านทุกฝ่าย เพื่อเป็นกำลังน้ำใจให้รัฐบาล และข้าราชการ
สามารถบริหารราชการแผ่นดินให้ลุล่วงสำเร็จเป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติ อันจะนำมาซึ่ง
ความผาสุกสมบูรณ์แก่ประชาชนทั่วหน้ากัน
*รายงานการประชุมสภาผู้แทน ครั้งที่ ๓/๓๔๙๒ (สามัญ) ชุดที่ ๑
วันพุธที่ ๖ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๙๒ หน้า ๑๙ - ๒๙ |
24 | คณะรัฐมนตรี คณะที่ ๒๔
จอมพล แปลก พิบูลสงคราม (แปลก ขีตตะสังคะ)
เป็นนายกรัฐมนตรี
ตั้งแต่วันที่ ๖ ธันวาคม ๒๔๙๔ - ๒๓ มีนาคม ๒๕๙๕
แถลงนโยบาย เมื่อวันอังคารที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๔๙๔
คำแถลงนโยบายของรัฐบาล*
ท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร และท่านสมาชิกผู้มีเกียรติ
ตามประกาศตั้งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๖ ธันวาคม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ข้าพเจ้าเป็นนายกรัฐมนตรี บริหารราชการแผ่นดิน
ข้าพเจ้าได้จัดตั้งรัฐบาลนำรายนามนายกรัฐมนตรีขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายและได้ทรงพระกรุณา
โปรดเกล้าฯพระราชทานนามพระบรมราชาอนุมัติให้ตั้งรัฐมนตรีตามประกาศตั้งรัฐมนตรี
ลงวันที่ ๘ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๙๔ นั้นแล้ว ณ บัดนี้ข้าพเจ้าและรัฐมนตรีพร้อมแล้ว
ที่จะเป็นรัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงขอแถลงนโยบายในการบริหารราชการ
แผ่นดินของรัฐบาลชุดนี้เพื่อสภาผู้แทนราษฎรจะได้พิจารณาให้ความไว้วางใจบริหารราชการแผ่นดิน
ตามบทบัญญัติมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช ๒๔๗๕
สืบไปดังต่อไปนี้
๑. รัฐบาลนี้มีเจตน์จำนงอันแน่วแน่ที่จะผดุงรักษาระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย เทอดทูนพระมหากษัตริย์บรมราชจักรีวงศ์ อันเป็นที่เคารพสักการะตลอดไป
๒. รัฐบาลนี้จะเชิดชูทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และให้ความช่วยเหลือแก่ศาสนาอื่น
๓. รัฐบาลนี้จะส่งเสริมไมตรีอันมั่นคงกับนานาประเทศ และปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่าง
ประเทศเชิดชูอุดมคติของสหประชาชาติ และยึดมั่นอยู่ในฝ่ายเสรีประชาธิปไตย ต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์
เพื่อความยุติธรรมสันติสุขของโลก
๔. รัฐบาลนี้จะสร้างกำลังป้องกันราชอาณาจักร เพื่อเผชิญกับสถานการณ์โดยไม่ประมาท
๕. รัฐบาลนี้จะเคารพต่อหลักการเสรีภาพ สมภาพ ภราดรภาพ นอกจากจะดำเนินตาม
บทบัญญัติมาตรา ๑๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๔๗๕ แล้ว รัฐบาลนี้จะ
เคารพยึดถือปฏิญญาสากลของสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิของมนุษยชนด้วย
๖. รัฐบาลนี้จะเร่งรัดส่งเสริมการรักษาพยาบาลและอนามัยของประชาชน รวมทั้งการช่วยเหลือ
ประชาชนทางสวัสดิการให้ทวียิ่งขึ้น
๗. รัฐบาลนี้จะพยายามอย่างที่สุดให้เศรษฐกิจของชาติมีความเจริญรุ่งเรืองโดยเร็ว เพื่อสร้าง
ความผาสุกให้แก่ประชาราษฎรทั่วหน้า และจะบริหารราชการแผ่นดินในทางเศรษฐกิจ ดังต่อไปนี้
ก) ส่งเสริมช่วยเหลือให้ราษฎรมีที่ดิน และเคหสถานบ้านเรือนเป็นกรรมสิทธิ์
ของตนตามควรแก่อัตภาพ
ข) ส่งเสริมช่วยเหลือการประกอบอาชีพของราษฎร ในการผลิตพืชพันธุ์ธัญญาหาร
และการเลี้ยงสัตว์ให้เป็นผลดี ดั่งเช่น ในเรื่องการหาทุน การชลประทาน เครื่องจักรทุ่นแรง ปุ๋ย เป็นต้น
ค) ส่งเสริมช่วยเหลือการอุตสาหกรรมที่ทำด้วยวัตถุดิบในประเทศได้กว้างขวางยิ่งขึ้น
ตลอดจนการอุตสาหกรรมในครอบครัวด้วย
ฆ) ส่งเสริมช่วยเหลือให้ผู้ผลิตขายผลิตผลของตนได้ราราที่สมควร จะวางวิธีการติดต่อ
ระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภคให้ถึงกันสะดวกใกล้ชิด การสหกรณ์ การจัดสัมมาอาชีพ การตั้งฉางและคลัง
สินค้าจะให้ผลดีสมปรารถนาในเรื่องเหล่านี้ ซึ่งรัฐบาลนี้จะพยายามส่งเสริมช่วยเหลือให้บังเกิดขึ้น
พร้อมด้วยมีประสิทธิภาพดีด้วย
ง) ส่งเสริมความสะดวกในการขนส่ง การสื่อสาร และการสัญจรไปมาให้ดียิ่งขึ้น
๘. รัฐบาลนี้เห็นชัดว่า การที่จะสร้างประโยชน์อันผาสุกให้แก่ราษฎร ดังกล่าวมานี้
ค่าของเงินตราไทยได้ตกต่ำลงไปมาก ซึ่งก็มิใช่จะเป็นเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น
ที่จริงประเทศอื่นหลายประเทศก็ต้องประสบผลอันนี้ รัฐบาลที่แล้วมาได้ทำความพยายาม
ให้ค่าของเงินตราไทยดีมาในชั่วเวลา ๒ - ๓ ปีนี้รัฐบาลนี้จะได้ทำความพยายามต่อไปด้วย
วิธีการอันรอบคอบให้เป็นผลดียิ่งขึ้น
๙. เพื่อให้ได้ผลทั้งมวลที่ได้กล่าวมานี้อย่างมีประสิทธิภาพ รัฐบาลนี้จะให้การศึกษา
อันดีแก่ประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคืออาชีวะศึกษาและอบรมศีลธรรม จะได้ขยายโรงเรียน
และเพิ่มครูผู้สอนให้มากยิ่งขึ้น
๑๐. เพื่อรักษาไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตย และเพื่อปฏิบัติเคร่งครัดตามปฏิญญาสากลว่าด้วย
สิทธิของมนุษยชน รัฐบาลนี้จะเคารพต่ออิสระภาพของศาลตามบทบัญญัติมาตรา ๖๐ ของรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๔๗๕ โดยเคร่งครัด
๑๑. รัฐบาลนี้มีความตั้งใจอันแน่วแน่ที่จะปฏิบัติงานของชาติให้สำเร็จตามนโยบายที่แถลงมานี้
แต่การที่จะประสบผลสำเร็จเช่นนั้น ก็จะต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจของท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ข้าราชการ ตลอดถึงประชาชน ที่จะช่วยกันนำชาติพ้นสถานการณ์อันตึงเครียดของโลกในเวลานี้ และ
สร้างความถาวรสวัสดีอันผาสุกให้แก่ประเทศทั่วกันด้วย หวังว่าท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคงจะได้
พิจารณานโยบายของรัฐบาลนี้ด้วยไมตรีจิต และให้ความไว้วางใจแก่รัฐบาลชุดนี้ด้วยดี เพื่อจะได้เข้า
บริหารราชการแผ่นดินตามความในมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
๒๔๗๕ สืบไป
*รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ ๓/๒๔๙๔ (วิสามัญ)
วันอังคารที่ ๑๑ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๙๔ หน้า ๓๐ -๓๓ |
25 | คณะรัฐมนตรี คณะที่ ๒๕
จอมพล แปลก พิบูลสงคราม (แปลก ขีตตะสังคะ)
เป็นนายกรัฐมนตรี
ตั้งแต่วันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๔๙๕ - ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๐
แถลงนโยบาย เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๓ เมษายน ๒๔๙๕
คำแถลงนโยบายของรัฐบาล*
ท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร และท่านสมาชิกผู้มีเกียรติ
ตามประกาศตั้งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๔๙๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศว่าทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ข้าพเจ้า
เป็นนายกรัฐมนตรี บริหารราชการแผ่นดินข้าพเจ้า ได้จัดตั้งคณะรัฐมนตรีนำรายพระนามและนาม
รัฐมนตรีขึ้นทูลเกล้าฯถวายและได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุมัติให้ตั้ง
คณะรัฐมนตรีจะปฏิบัติหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดินสืบไป จึงขอแถลงนโยบายการบริหาร
ราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรีชุดนี้เพื่อสภาผู้แทนราษฎรจะได้พิจารณาให้ความไว้วางใจบริหาร
ราชการแผ่นดินตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยดังต่อไปนี้
๑. รัฐบาลนี้จะเชิดชูทนุบำรุงพระพุทธศาสนา และให้ความช่วยเหลือศาสนาอื่น
๒. รัฐบาลนี้มีเจตจำนงอันแน่วแน่ที่จะผดุงรักษาระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย เทิดทูนพระมหากษัตริย์บรมราชจักรีวงศ์ อันเป็นที่เคารพสักการะตลอดไป
๓. รัฐบาลนี้จะส่งเสริมการวัฒนธรรม ทั้งในทางคติธรรม นิติธรรม วัตถุธรรม และสหธรรม
ให้เป็นประเพณีประจำชาติยิ่งขึ้น
๔. รัฐบาลนี้จะส่งเสริมไมตรีอันมั่นคงกับนานาประเทศและปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่าง
ประเทศเชิดชูอุดมคติของสหประชาชาติและยึดมั่นอยู่ในฝ่ายเสรีประชาธิปไตยต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์
ผู้รุกรานประเทศชาติไทยให้ดีที่สุด
๕. รัฐบาลนี้จะตระเตรียมสรรพกำลังของชาติและสร้างกำลังรบสำหรับป้องกันรักษา
ราชอาณาจักรเพื่อเผชิญกับสถานการณ์ที่จะมารุกรานประเทศชาติไทยให้ดีที่สุด
๖. รัฐบาลนี้จะเคารพต่อหลักการเสรีภาพ สมภาพ ภราดรภาพนอกจากจะดำเนินตามบทบัญญัติ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้วรัฐบาลนี้จะเคารพยึดถือปฎิญญาสากลของสหประชาชาติว่าด้วย
สิทธิของมนุษยชนในการบริหารราชการแผ่นดินด้วย
๗. รัฐบาลนี้จะขยายการส่งเสริมช่วยเหลือประชาราษฎรในการอนามัยและการรักษาพยาบาล
รวมทั้งการช่วยเหลือประชาราษฎรทางสวัสดิการให้ทวียิ่งขึ้น
๘. รัฐบาลนี้จะขยายการส่งเสริมให้เศรษฐกิจของชาติมีความเจริญรุ่งเรืองโดยเร็วเพื่อสร้าง
ความผาสุกให้แก่ประชาราษฎรทั่วหน้าโดยอาศัยการสหกรณ์เป็นหลักสำคัญและจะปฏิบัติหน้าที่ในการ
บริหารราชการแผ่นดินทางเศรษฐกิจ ดังต่อไปนี้
ก) ขยายการส่งเสริมช่วยเหลือประชาราษฎรในเรื่องการแนะนำการหาทุนและเครื่องจักร
ทุ่นแรงให้ทวีมากยิ่งขึ้นตามกาลสมัย
ข) ขยายการส่งเสริมช่วยเหลือให้ประชาราษฎรมีที่ดินและเคหสถานบ้านเรือนเป็น
กรรมสิทธิ์ของตนตามควรแก่อัตภาพ
ค) ขยายการส่งเสริมช่วยเหลือการประกอบอาชีพของประชาราษฎรในการผลิตพืชพันธุ์
ธัญญาหารสำหรับมนุษย์และสัตว์ ตลอดทั้งการเลี้ยงสัตว์ให้เป็นผลดี ดังเช่นการชลประทานปุ๋ย พันธุ์พืช
พันธุ์สัตว์ เหล่านี้เป็นต้น
ฆ) ขยายการส่งเสริมช่วยเหลือการอุตสาหกรรมของรัฐและเอกชนที่ทำการด้วยวัตถุดิบ
ในประเทศให้กว้างขวางยิ่งขึ้นตลอดจนการอุตสาหกรรมในครอบครัวด้วยขยายการส่งเสริมช่วยเหลือ
ให้ผู้ผลิตขายผลิตผลของตนได้ราคาที่สมควรและให้ผู้บริโภคหาซื้อสินค้าได้สะดวกในราคาพอเหมาะสม
จะวางวิธีการติดต่อระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภคให้ถึงกันสะดวกใกล้ชิดการกำหนดราคาด้วยการปิดป้าย
ราคาสินค้าการตั้งฉางและคลังสินค้าจะให้ผลดีสมปรารถนาในเรื่องเหล่านี้ซึ่งรัฐบาลนี้จะขยายการส่งเสริม
ช่วยเหลือยิ่งขึ้นต่อไปพร้อมด้วยมีประสิทธิภาพด้วย
ง) ขยายการส่งเสริมช่วยเหลือความสะดวกในการขนส่งการสื่อสารและการสัญจรไปมา
ให้ดียิ่งขึ้น
จ) รัฐบาลนี้จะรักษาค่าของเงินตราไทยให้มีเสถียรภาพตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วย
เงินตราตามเหตุผลที่สมควร
๙. เพื่อให้ได้ผลทั้งมวลที่กล่าวมานี้อย่างมีประสิทธิภาพ รัฐบาลนี้จะให้การศึกษาและอบรม
ศีลธรรมอันดีแก่ประชาราษฎร โดยเฉพาอย่างยิ่งการอาชีวะศึกษา การพลศึกษาจะได้ขยายโรงเรียน
เพิ่มครูผู้สอนให้มากยิ่งขึ้น และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาประชาบาล
๑๐. เพื่อรักษาไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยและเพื่อปฏิบัติตามปฎิญญาสากลว่าด้วยสิทธิของ
มนุษยชนรัฐบาลนี้จะเคารพต่ออิสรภาพของศาลตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
โดยเคร่งครัดด้วย
๑๑. รัฐบาลนี้จะเพียรพยายามจนสุดกำลังที่จะก่อสร้างมิตรภาพด้วยยุติธรรมต่อบุคคลทั่วไป
๑๒. รัฐบาลนี้มีความตั้งใจอันแน่วแน่ที่จะปฏิบัติงานของชาติให้สำเร็จตามนโยบายที่แถลงมานี้
แต่การที่จะประสบผลสำเร็จเช่นนั้นก็จะต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจของท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ข้าราชการ ตลอดถึงประชาชนทั้งชาติ ที่จะช่วยกันนำชาติผ่านพ้นสถานการณ์อันตึงเครียดของโลกใน
เวลานี้และสร้างความศิริสวัสดิพัฒนมงคลสมบูรณ์พูนผลอันผาสุกแก่ประเทศชาติทั่วกันด้วย หวังว่าท่าน
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคงจะได้ร่วมกันด้วยไมตรีจิตมิตรภาพอันดีให้รัฐบาลนี้ได้เข้าบริหารราชการ
แผ่นดินตามความในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยสืบไป
*รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ ๓/๒๔๙๕ (สามัญ)
วันพฤหัสบดีที่ ๓ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๙๕ หน้า ๓๔ - ๓๗ |
26 | คณะรัฐมนตรี คณะที่ ๒๖
จอมพล แปลก พิบูลสงคราม (แปลก ขีตตะสังคะ)
เป็นนายกรัฐมนตรี
ตั้งแต่วันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๐๐ - ๑๖ กันยายน ๒๕๐๐
แถลงนโยบาย เมื่อวันจันทร์ที่ ๑ เมษายน ๒๕๐๐
คำแถลงนโยบายของรัฐบาล*
ท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร และท่านสมาชิกผู้มีเกียรติ
เนื่องจากได้มีประกาศพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมตั้งให้ข้าพเจ้า
เป็นนายกรัฐมนตรีบริหารราชการแผ่นดิน ตามประกาศตั้งนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๐๐
ข้าพเจ้าจึ่งได้จัดตั้งคณะรัฐมนตรีขึ้น และได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณา ทรงมีพระกรุณา
แต่งตั้งแล้ว ตามประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี ลงวันที่ ๓๑ มีนาคม ดังมีรายนามปรากฎอยู่แล้วนั้น บัดนี้
ข้าพเจ้าและคณะรัฐมนตรีของข้าพเจ้า ได้กำหนดนโยบายเพื่อที่จะเข้ารับหน้าที่บริหารราชการ
แผ่นดินแล้ว โดยยึดแนวนโยบายแห่งรัฐตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเป็น
หลักดำเนินการจึงของแถลงเพื่อให้สภานี้พิจารณาให้ความไว้วางใจตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย ดังต่อไปนี้
๑. รัฐบาลนี้จะปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และบริหารงาน
ตามกำหนดนโยบายของเสรีมนังคศิลา ซึ่งได้ประกาศให้ประชาชนทราบโดยจดทะเบียน
ไว้ที่กระทรวงมหาดไทยเป็นหลักฐานแล้ว
๒. รัฐบาลนี้จะปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและระเบียบราชการ ตลอดจนการปฏิบัติหน้าที่
ของราชการ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและภราดรภาพ โดยเฉพาะให้ข้าราชการที่ติดต่อกับประชาชน
ประพฤติและปฏิบัติหน้าที่ให้สมกับเป็นผู้รับใช้ประชาชน
๓. รัฐบาลนี้จะบริหารราชการแผ่นดินโดยยึดมั่นในหลักการถือประโยชน์ของชาติเป็นสำคัญ
และมุ่งความผาสุกของประชาชนเป็นที่ตั้ง
๔. รัฐบาลนี้จะส่งเสริมการอาชีพของประชาชนให้เจริญก้าวหน้า ให้ประชาชนมีรายได้
เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้มาตราฐานการครองชีพดีขึ้น
๕. รัฐบาลนี้จะส่งเสริมสัมพันธ์ไมตรีกับนานาประเทศให้สนิทสนมแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง จะได้พยายามช่วยเหลือเกื้อกูลให้เกิดความเจริญก้าวหน้า
และสงบสันติจะเชิดชูอุดมคติของสหประชาชาติ และปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศอย่างเคร่งครัด
๖. รัฐบาลนี้จะเตรียมสรรพกำลังของชาติ และสร้างกำลังรบสำหรับป้องกันรักษาราชอาณาจักร
เพื่อเผชิญกับสถานการณ์ที่จะมารุกรานประเทศไทยให้ดีที่สุดตามกำลังเศรษฐกิจของประเทศ และ
ปรับปรุงขยายกิจการด้านสวัสดิการของทหารให้ดียิ่งขึ้นตามแบบอย่างอารยประเทศ
๗. รัฐบาลนี้จะส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรมของประชาราษฎร์ทั้งคุณภาพและปริมาณ
เป็นลำดับแรก โดยจะได้ส่งเสริมการศึกษาในส่วนภูมิภาคให้มากยิ่งขึ้น ทั้งจะได้เร่งรัดในการสร้าง
อาคารเรียน การผลิตครูให้ได้ส่วนสัมพันธ์กับนักเรียน และส่งเสริมให้ครูมีเสถียรภาพยิ่งขึ้น
๘. รัฐบาลนี้จะเชิดชูส่งเสริมการวัฒนธรรมของชาติเพื่อให้คนไทยมีชีวิตความเป็นอยู่อย่าง
มีระเบียบและผาสุก ทั้งส่วนตัวและในการอยู่ร่วมกัน
๙. รัฐบาลนี้จะส่งเสริมช่วยเหลือการประกอบอาชีพของราษฎร ในการผลิตทางเกษตรกรรม
ทั้งปริมาณและคุณภาพ ตลอดจนขยายการชลประทาน และเครื่องทุ่นแรงให้มีผลดียิ่งขึ้น
๑๐. รัฐบาลนี้จะเร่งขยายและส่งเสริมการสหกรณ์ทุกประเภทให้เจริญก้าวหน้าเพื่อสร้าง
ความผาสุกให้แก่ประชาชนและจัดตั้งศูนย์การอบรมทางสหกรณ์ขึ้นเพื่อให้ประชาชนมีความรู้
ความชำนาญทั้งในทางทฤษฎีและการปฏิบัติ เพื่อให้การสหกรณ์มีประสิทธิภาพ
๑๑. รัฐบาลนี้จะขยายการส่งเสริมช่วยเหลือการอุตสาหกรรมให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ตลอดจน
การอุตสาหกรรมภายในครอบครัว รวมทั้งส่งเสริมให้ชาวต่างประเทศมาลงทุนประกอบการ
อุตสาหกรรมภายในประเทศ
๑๒. รัฐบาลนี้จะเปิดตลาดค้าทั้งในและนอกประเทศให้กว้างขวางยิ่งขึ้นและจะหาทางรักษา
ราคา และจัดสรรสินค้าขาออกที่สำคัญให้เป็นผลดีแก่ทุกฝ่าย
๑๓. รัฐบาลนี้จะรักษาค่าของเงินตราไทยให้มีเสถียรภาพ จะปรับปรุงการภาษีอากรให้
เป็นธรรมและสะดวกแก่ประชาชน
๑๔. รัฐบาลนี้จะส่งเสริมการติดต่อสื่อสาร การคมนาคม และการขนส่งให้ได้รับความ
สะดวกและปลอดภัยยิ่งขึ้น
๑๕. รัฐบาลนี้จะปรับปรุงแก้ไขให้การพิจารณาอรรถคดีดำเนินไปโดยสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น
๑๖. รัฐบาลนี้จะกระจายอำนาจการปกครองไปสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น และพัฒนาความเจริญ
ทางเศรษฐกิจให้ถึงมือประชาชนโดยทั่วถึง โดยจะพิจารณายกฐานะท้องถิ่นขึ้นเป็นเทศบาลและ
สุขาภิบาลให้มากขึ้นตามควรแก่ฐานะ กับจะได้ส่งเสริมกิจการของสภาจังหวัด องค์การบริหารส่วน
จังหวัด และกิจการสภาตำบลให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อที่จะให้ประชาชนได้ปกครองตนเองตาม
ระบอบประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์
จะขยายการสาธารณูปโภคในท้องถิ่นต่าง ๆ ให้มีการไฟฟ้า ประปาโดยทั่วถึงและจะได้ส่งเสริม
ให้มีทางชนบทให้มากขึ้น เพื่อประโยชน์แก่การเศรษฐกิจของท้องถิ่นและเป็นการฟื้นฟูการบูรณะชนบท
จะรักษาไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อยภายในประเทศด้วยการเคารพต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน
จะคุ้มครองป้องกันประชาชนให้ปลอดภัยจากโจรผู้ร้าย และพ้นจากการกดขี่ข่มเหงโดยไม่เป็นธรรม
ให้ได้มีโอกาสตั้งหน้าประกอบสัมมาอาชีวะโดยปราศจากหวาดกลัว
จะขยายการส่งเสริมให้ประชาชนทุกเพศทุกวัยได้รับการสงเคราะห์ทั้งด้านอาชีวะสงเคราะห์
เคหสงเคราะห์ และการสงเคราะห์ครอบครัว สหภาพแรงงาน ตลอดจนการสงเคราะห์ในด้านสังคมอื่น ๆ
ให้มากและดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะในด้านเคหะสงเคราะห์นั้นจะจัดให้มีอาคารสงเคราะห์เพื่อช่วยเหลือ
ประชาชนที่ยากจนให้ได้มีที่อยู่อาศัยมากยิ่งขึ้น
จะได้เร่งรัดการจัดสรรที่ดินตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ เพื่อให้ประชาชนคนไทยได้มีที่ดินเป็น
ของตนเองเป็นหลักฐานตามควรแก่อัตภาพ
๑๗. รัฐบาลนี้จะพยายามส่งเสริมช่วยเหลือประชาราษฎรในการอนามัย การรักษาพยาบาล
โดยจะปรับปรุงและจัดสร้างโรงพยาบาล สถานีอนามัย รวมทั้งจะดำเนินการให้มีแพทย์ พยาบาล
ตลอดจนเวชภัณฑ์ ให้มีปริมาณเพิ่มขึ้น จะช่วยเหลือประชาชนในทางป้องกันและบำบัดโรคต่าง ๆ
รวมทั้งจะจัดสรรให้ประชาราษฎรได้ซื้อยารักษาโรคได้โดยสะดวกและราคาย่อมเยาว์ตามสมควร
รัฐบาลนี้มีความตั้งใจแน่วแน่ที่จะปฏิบัติงานของชาติตามนโยบายที่แถลงมานี้เพื่อให้เกิด
ความสมบูรณ์พูนสุขแก่ประชาชนทั่วกันแต่การที่จะประสบผลสำเร็จเช่นนั้นก็จำต้องอาศัยความ
ร่วมมือร่วมใจของท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ข้าราชการ ตลอดจนถึงประชาชนทั้งชาติ จึง
หวังว่าท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคงจะได้ร่วมมือกับรัฐบาลด้วยไมตรีจิตมิตรภาพอันดี ให้รัฐบาล
ชุดนี้ได้เข้าบริหารราชการแผ่นดินตามความในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยสืบไป
*รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ ๓/๒๕๐๐ ชุดที่ ๒ (ครั้งแรก)
วันจันทร์ที่ ๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๐๐ หน้า ๒๙ - ๓๒ |
27 | คณะรัฐมนตรี คณะที่ ๒๗
นายพจน์ สารสิน เป็นนายกรัฐมนตรี
ตั้งแต่วันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๐๐ - ๒๖ ธันวาคม ๒๕๐๐
แถลงนโยบาย เมื่อวันอังคารที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๐๐
คำแถลงนโยบายของรัฐบาล*
ท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร และท่านสมาชิกผู้มีเกียรติ
ตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ข้าพเจ้าเป็นนายกรัฐมนตรี
ตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๐ และข้าพเจ้า
ได้จัดตั้งรัฐบาลซึ่งได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรีตามประกาศ
พระบรมราชโองการลงวันที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๐ แล้วนั้น บัดนี้คณะรัฐมนตรี
พร้อมแล้วที่จะดำเนินการบริหารราชการแผ่นดิน จึงขอแถลงนโยบายการบริหาร
ราชการแผ่นดินของรัฐบาลนี้เพื่อรับความไว้วางใจของสภาผู้แทนราษฎรตามความใน
มาตรา ๘๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๔๗๕ แก้ไขเพิ่มเติม
พ.ศ. ๒๔๙๕ ต่อไป
๑. รัฐบาลนี้ยึดมั่นในประโยชน์สุขของประชาชนเป็นมูลฐานในการดำเนินนโยบาย
จะปฏิบัติการทุกอย่างเพื่ออำนวยความสุขสมบูรณ์แก่ประเทศชาติและประชาชนอันจะเป็นผล
ให้รัฐบาลนี้เป็นรัฐบาลเพื่อประชาชนโดยแท้จริง
๒. รัฐบาลนี้จะผดุงรักษาระบอบประชาธิปไตยแห่งราชอาณาจักรไทย
เทอดทูนพระมหากษัตริย์ให้เป็นที่เคารพสักการะตลอดไป เชิดชูบำรุงพระพุทธศาสนา
และให้ความอุปถัมภ์แก่ศาสนาอื่น ๆ
๓. รัฐบาลนี้จะรักษาไว้ซึ่งสิทธิและปฏิบัติตามหน้าที่อันมีตามสนธิสัญญากับประเทศ
ทั้งหลายจะยึดมั่นในหลักแห่งกฎบัตรสหประชาชาติ และส่งเสริมสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศ
ตามหลักแห่งความยุติธรรม ความผาสุกของประชาชน และความมั่นคงของประเทศ
๔. รัฐบาลนี้จะตระเตรียมสรรพกำลังของชาติเพื่อป้องกันราชอาณาจักรตามกำลัง
เศรษฐกิจของประเทศ และจะปรับปรุงกิจการด้านสวัสดิการของทหารให้ดียิ่งขึ้น
๕. ในส่วนที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ รัฐบาลนี้จะได้ปรับปรุงกิจการเกี่ยวกับ
การรักษาความปลอดภัยให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยเฉพากิจการตำรวจจะให้ตำรวจเป็นตำรวจของประชาชน
มีหน้าที่โดยตรงในการพิทักษ์สันติราษฎร์อย่างแท้จริง เพื่อให้ประชาชนได้มีความเป็นอยู่ด้วยความอุ่นใจ
ปราศจากความหวาดกลัว
๖. รัฐบาลนี้จะได้ส่งเสริมการรักษาพยาบาล และการอนามัยของประชาชนรวมทั้ง
การช่วยเหลือประชาชนในทางสวัสดิการให้ดียิ่งขึ้น
รัฐบาลนี้จะส่งเสริมการพาณิชย์และการเศรษฐกิจในทางที่จะรักษาราคาสินค้า
ให้อยู่ในระดับเหมาะสม ให้มีการส่งเสริมสินค้าออกไปจำหน่ายนอกประเทศมากขึ้น และ
จะปฏิบัติประการอื่น ๆ เพื่อให้เศรษฐกิจของประเทศมั่นคง
๘. รัฐบาลนี้จะส่งเสริมการศึกษาในทางปริมาณและคุณภาพจะวางรากฐานเพื่อให้ประชาชนมี
ีพื้นความรู้สูงขึ้น และมีความสามารถที่จะประกอบอาชีพได้ดี จะส่งเสริมให้ประชาชนมีวัฒนธรรมและ
ศีลธรรมอันดีงามด้วยอาศัยการศาสนาและการศึกษาเป็นหลัก
๙. รัฐบาลนี้จะได้ปรับปรุงบทกฎหมายและระเบียบปฏิบัติเพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดี
ของศาลได้เป็นไปโดยอิสระอย่างแท้จริงและสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น
๑๐. รัฐบาลนี้ได้ตระหนักถึงความสำคัญ และความจำเป็นของการติดต่อสื่อสาร การคมนาคม
การขนส่งทุกประเภท ตลอดจนการท่าเรือ จึงเป็นนโยบายของรัฐบาลนี้ที่จะรักษาบูรณะและเสริมสร้าง
ให้ดียิ่งขึ้น
๑๑. รัฐบาลนี้จะดำเนินการจัดหา ส่งเสริม ช่วยเหลือการอุตสาหกรรมและชักชวน
ให้มีการลงทุนในประเทศและจากนอกประเทศด้วยตามความเหมาะสม และจะส่งเสริม
อุตสาหกรรมภายในครอบครัวให้ดียิ่งขึ้น ตลอดถึงการค้นคว้าและทดลองวัตถุดิบที่มีภายในประเทศ
๑๒. รัฐบาลนี้จะระมัดระวังการใช้จ่ายแผ่นดินให้เป็นไปโดยประหยัดและเกิดประโยชน์แท้จริง
และจะจัดทำทุกทางที่จะรักษาไว้ซึ่งเสถียรภาพของเงินตรา
๑๓. ในส่วนที่เกี่ยวกับการเกษตรและการสหกรณ์รัฐบาลนี้จะส่งเสริมช่วยเหลือการประกอบอาชีพ
ของราษฎร การผลิตพืชพันธุ์ธัญญาหาร การเลี้ยงสัตว์โดยอาศัย การชลประทานและอื่น ๆ ให้ได้ผลดียิ่งขึ้น
และจะส่งเสริมการสหกรณ์ทุกประเภท
๑๔. รัฐบาลนี้จะดำเนินการตามความจำเป็นในการปรับปรุงสมรรถภาพของข้าราชการและ
การปฏิบัติราชการเพื่อให้มีประสิทธิภาพ อำนวยความสะดวก และความรวดเร็วแก่ประชาชนยิ่งขึ้น
๑๕. รัฐบาลนี้จะจัดให้การเลือกตั้งที่จะต้องกระทำภายใน ๙๐ วันตามประกาศ
พระบรมราชโองการเรื่องการใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ลงวันที่ ๑๘ กันยายน
พ.ศ. ๒๕๐๐เป็นไปตามบทกฎหมายและโดยสุจริตเที่ยงธรรมจึงขอแถลงยืนยันถึงเจตจำนง
ข้อนี้ให้ปรากฏเสมือนเป็นคำสัตย์ปฏิญาณให้ไว้ในสภาผู้แทนราษฎรด้วย
*รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ ๓/๒๕๐๐ (วิสามัญ)
วันอังคารที่ ๒๔ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๐๐ หน้า ๑๔ - ๑๖ |
28 | คณะรัฐมนตรี คณะที่ ๒๘
พลโท ถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี
ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๐๑ - ๒๐ ตุลาคม ๒๕๐๑
แถลงนโยบาย เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๙ มกราคม ๒๕๐๑
คำแถลงนโยบายของรัฐบาล*
ท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร และท่านสมาชิกผู้มีเกียรติ
ตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ข้าพเจ้าเป็นนายกรัฐมนตรีตามประกาศ
พระบรมราชโองการ ลงวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๑ และข้าพเจ้าได้จัดตั้งคณะรัฐบาลซึ่ง
ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งและแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีตามประกาศพระบรมราชโองการ
ลงวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๐๑แล้วนั้น บัดนี้คณะรัฐมนตรีได้วางนโยบายโดยตระหนักถึงความ
สำคัญว่า จะต้องให้เป็นไปตามแนวนโยบายแห่งรัฐที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร
ไทยและยึดถือหลักการเคารพต่อเสรีภาพของประชาชนชาวไทย เช่น เสรีภาพเกี่ยวกับเคหสถาน
กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของเอกชนตามรัฐธรรมนูญและอื่น ๆ เป็นมูลฐาน จึงขอแถลงนโยบาย
เพื่อรับความไว้วางใจของสภาผู้แทนราษฎรตามความในมาตรา๘๔ ของรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๔๗๕ แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๙๕ ดังต่อไปนี้
๑. รัฐบาลนี้ถือว่าประโยชน์สุขของประชาชนและความมั่นคงของประเทศชาติ
เป็นยอดปรารถนาในการบริหารประเทศ ฉะนั้นสิ่งใดที่เป็นภัยและไม่เป็นธรรมแก่สังคม
จะได้ขจัดให้สูญสิ้นไปโดยเด็ดขาดและรวดเร็ว รัฐบาลจะปฏิบัติการทุกอย่างเพื่ออำนวย
ความสุขสมบูรณ์ให้แก่ประเทศชาติและประชาชนอันจะเป็นผลให้รัฐบาลของประชาชน
และเพื่อประชาชนโดยแท้จริง
๒. รัฐบาลนี้จะผดุงรักษาระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
เทิดทูนพระมหากษัตริย์ให้เป็นที่เคารพสักการะตลอดไป เชิดชูบำรุงพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นศาสนา
ประจำชาติและให้ความอุปถัมภ์บำรุงแก่ศาสนาอื่นซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของประชาชน
๓. รัฐบาลนี้จะรักษาไว้ซึ่งสิทธิ และปฏิบัติตามหน้าที่อันมีตามสนธิสัญญากับประเทศ
ทั้งหลายจะยึดมั่นในหลักแห่งกฎบัตรสหประชาชาติและจะส่งเสริมสัมพันธไมตรีและร่วมมือกับ
นานาประเทศเพื่อผดุงความสงบสุขของโลกตามหลักแห่งความยุติธรรม ความผาสุกของประชาชน
และความมั่นคงของประเทศ
๔. รัฐบาลนี้จะตระเตรียมสรรพกำลังของชาติเพื่อป้องกันราชอาณาจักรตามกำลัง
เศรษฐกิจของประเทศ และจะปรับปรุงกิจการด้านสวัสดิการของทหารให้ดียิ่งขึ้น
๕. รัฐบาลนี้จะจัดการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศโดยยึดถือหลักการ
ป้องกันและบำรุงเป็นสำคัญ โดยเฉพาะจะจัดการคุ้มครองป้องกันให้ประชาชนได้ประกอบอาชีพ
โดยปราศจากความหวาดระแวงภัย เพื่อการนี้รัฐบาลจะได้จัดกำลังตำรวจ พนักงานปกครอง
และกำนันผู้ใหญ่บ้านให้มีประสิทธิภาพ และให้ตำรวจเป็นตำรวจของประชาชนโดยแท้จริง
จะจัดการพัฒนาการท้องถิ่น จะจัดตั้งนิคมสร้างตนเองเพิ่มขึ้นและจะเร่งจัดดำเนินการเกี่ยวกับ
การจัดที่ดิน เพื่อให้ประชาชนมีที่ดินทำกินเป็นการเหมาะสมแก่ท้องที่ และเศรษฐกิจของชาติ
จะจัดการอาคารสงเคราะห์โดยมุ่งช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยเป็นสำคัญและจะส่งเสริมการก่อสร้าง
บ้านในราคาถูก เพื่อเพิ่มพูนปริมาณเคหสถานของประชาชนและจะส่งเสริมการประชาสงเคราะห์
ให้อำนวยผลดียิ่งขึ้น จะจัดการสาธารณูปโภคในท้องถิ่นต่าง ๆ ให้มีไฟฟ้า ประปาโดยทั่วถึงยิ่งขึ้น
และจะจัดให้มีทางระหว่างตำบล และทางระหว่างอำเภอให้ทั่วถึงขึ้นโดยเร็ว เพื่อประโยชน์แก่
เศรษฐกิจและความเจริญของท้องถิ่น
๖. รัฐบาลนี้จะได้ส่งเสริมการอนามัยของประชาชนให้ดีขึ้นโดยทั่ว ๆ ไปจะส่งเสริม
การผลิตแพทย์และผู้มีวิชาชีพอย่างอื่นอันเกี่ยวเนื่องกับการแพทย์ จะปรับปรุงและเพิ่มสถาน
พยาบาลให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นทั้งในด้านสถานที่ เครื่องมือ เครื่องใช้ และเจ้าหน้าที่ จะส่งเสริม
การวิจัยทางแพทย์ การผลิตยาและเวชภัณฑ์ เพื่อให้ได้ปริมาณและชนิดมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ใน
ปัจจุบัน
๗. รัฐบาลนี้จะได้เร่งสำรวจภาวะเศรษฐกิจของประเทศและรีบวางโครงการพัฒนา
เศรษฐกิจแห่งชาติให้เป็นการถาวร
๘. รัฐบาลนี้จะดำเนินการทุกอย่างที่จะรักษาไว้ซึ่งเสถียรภาพของเงินตรา และจะได้
ปรับปรุงแก้ไขวิธีการงบประมาณ ตลอดจนการควบคุมการใช้จ่ายเงินของแผ่นดินให้เป็นไปตาม
กฎหมายกับทั้งจะระมัดระวังการใช้จ่ายเงินของแผ่นดินให้เป็นไปโดยทางประหยัดและเกิดผล
แก่ประชาชนอย่างแท้จริง
รัฐบาลนี้จะได้ปรับปรุงการภาษีอากรให้เป็นธรรมแก่สังคม และจะจัดระบบภาษีอากร
ให้เหมาะสมแก่สภาพเศรษฐกิจ และมาตราฐานการครองชีพของประชาชน กับทั้งจะแก้ไขวิธีการ
จัดเก็บภาษีอากรให้รัดกุม และสะดวกแก่ผู้เสียภาษีอากรยิ่งขึ้น
อนึ่ง รัฐบาลนี้จะได้พยายามปลดเปลื้องหนี้สินของแผ่นดินซึ่งเป็นภาระหนักอยู่ในขณะนี้
ให้เบาบางลงอย่างดีที่สุดเท่าที่จะพึงกระทำได้
๙.รัฐบาลนี้จะส่งเสริมช่วยเหลือการประกอบอาชีพและการศึกษาของราษฎรที่เกี่ยวกับ
การเกษตรคือการผลิตพืชพันธุ์ธัญญาหาร การเลี้ยงสัตว ์ การชลประทาน การป่าไม ้ และการ
ประมงให้ได้ผลดียิ่งขึ้นทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ เพื่อให้ผู้ประกอบอาชีพมีรายได้เพิ่มขึ้น
๑๐. รัฐบาลนี้จะส่งเสริมและปรับปรุงการสหกรณ์ประเภทต่าง ๆ ให้แพร่หลายตามความ
ต้องการของประชาชน และให้เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจ เพื่อยกฐานะการครองชีพและภาวะ
เศรษฐกิจให้ดียิ่งขึ้น
๑๑. รัฐบาลนี้จะดำเนินการจัดทำ ส่งเสริม ช่วยเหลือการอุตสาหกรรมให้มีมากยิ่งขึ้น
ชักชวนและสนับสนุนให้มีการลงทุนทั้งภายในประเทศและต่างประเทศตามความเหมาะสมส่วน
การอุตสาหกรรมภายในครอบครัวนั้น ก็จะส่งเสริมช่วยเหลือให้เจริญยิ่งขึ้นตลอดถึงการทำการ
ค้นคว้าทดลองวัตถุดิบที่มีอยู่ในประเทศ เพื่อให้เกิดการอุตสาหกรรมใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นอีก
๑๒. รัฐบาลนี้จะส่งเสริมและดำเนินการสื่อสารทางไปรษณีย์ โทรเลข โทรศัพท์
และวิทยุ ให้ประชาชนได้รับความสะดวก แน่นอนและรวดเร็วยิ่งขึ้น ส่วนการคมนาคมทั้ง
ทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ ตลอดจนการท่าเรือก็จะได้ควบคุม เสริมสร้าง บูรณะ และ
ประสานงานให้ประชาชนได้รับประโยชน์และความสะดวกมากที่สุด
๑๓. รัฐบาลนี้จะส่งเสริมการค้าภายในประเทศ จะแก้ไขอุปสรรคและวิธีการขนส่งสินค้า
จากแหล่งผลิตมาสู่แหล่งบริโภคให้เป็นไปโดยสะดวก สม่ำเสมอ รวดเร็ว และประหยัดจะรักษา
ระดับราคาสินค้าที่จำเป็นแก่การครองชีพ จะส่งเสริมให้มีการขนส่งสินค้าออกชนิดต่างๆ ให้มี
ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นจะส่งเสริมให้มีการผลิตสินค้าภายในที่จำเป็นให้มีปริมาณเพียงพอแก่
ความต้องการ และให้ความคุ้มครองแก่อุตสาหกรรมภายในประเทศ จะพยายามรักษาไว้ซึ่งดุล
การค้ากับต่างประเทศ และปฏิบัติประการอื่น ๆเพื่อความมั่นคงแห่งเศรษฐกิจของประเทศ
๑๔. รัฐบาลนี้จะทำนุบำรุงการศึกษามากยิ่งขึ้น เพื่อให้เกิดผลดีทั้งในด้านปริมาณและ
คุณภาพโดยมุ่งให้ประชาชนเป็นพลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตย และเป็นกำลังทางเศรษฐกิจ
ของชาติ จะพยายามให้มีสถานศึกษาให้เพียงพอ ดำเนินการยกระดับการศึกษาเบื้องต้นของ
ประชาชนทั่วไปให้สูงขึ้น พัฒนาการศึกษาในส่วนภูมิภาค ตลอดถึงการศึกษาชั้นสูงและส่งเสริม
อาชีวศึกษาเป็นพิเศษ จะได้เร่งผลิตครูและปรับปรุงหลักสูตรวิธีการวัดผลการศึกษา แบบเรียน
และอุปกรณ์ให้เหมาะสม กับทั้งจะได้แก้ปัญหาเกี่ยวกับเยาวชน โดยส่งเสริมการพลศึกษา และ
กิจกรรมพิเศษอื่น ๆ นอกจากนี้รัฐบาลจะได้สนับสนุนส่งเสริม และปรับปรุงโรงเรียนราษฎร์ กับ
ส่งเสริมวิทยะฐานะและสวัสดิภาพของครูโดยทั่วไปจะทำนุบำรุงศิลปและวัฒนธรรมของชาติ
ตลอดจนปรับปรุงกิจการพิพิธภัณฑ์ และหอสมุดแห่งชาติให้ดียิ่งขึ้น
๑๕. รัฐบาลนี้จะเคารพในอำนาจอิสระของศาลในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี และ
จะจัดให้ศาลได้ดำเนินกระบวนพิจารณาไปโดยสะดวกรวดเร็ว อำนวยความยุติธรรมอย่างดีที่สุด
แก่ประชาชน
๑๖. รัฐบาลนี้ได้คำนึงถึงความสำคัญว่าการบริหารราชการจะดำเนินไปด้วยดีจำต้องอาศัย
สมรรถภาพ และความซื่อสัตย์สุจริตของข้าราชการเพราะฉะนั้นรัฐบาลจะได้ดำเนินการปรับปรุงให้
ข้าราชการมีลักษณะเช่นว่านี้อย่างดีที่สุดเท่าที่จะทำได้รัฐบาลหวังว่าสภาผู้แทนราษฎรจะได้ให้ความ
ไว้วางใจ เพื่อรัฐบาลจะได้บริหารราชการแผ่นดินต่อไป
*รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ ๑/๒๕๐๑ (วิสามัญ)
วันพฤหัสบดีที่ ๙ มกราคม ๒๕๐๑ หน้า ๕๔ - ๕๘ |
29 | คณะรัฐมนตรี คณะที่ ๒๙
จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี
ตั้งแต่วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๒ - ๘ ธันวาคม ๒๕๐๖
แถลงนโยบาย เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๒
คำแถลงนโยบายของรัฐบาล*
ท่านประธานสภา และท่านสมาชิกผู้มีเกียรติ
แม้ตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรมิได้กำหนดให้มีการแถลงนโยบาย
และไม่มีการลงมติไว้วางใจแต่เพื่อประโยชน์ในการบริหารประเทศชาติร่วมกันข้าพเจ้า
จึงยินดีที่จะชี้แจงนโยบายของรัฐบาลคณะนี้ให้ท่านรับทราบไว้ในวาระแรกเพื่อประโยชน์
และความเข้าใจอันดีร่วมกันต่อไปหากว่าท่านข้องใจอยากทราบรายละเอียดประการใดข้าพเจ้า
ก็ยินดีที่จะชี้แจงให้ท่านรับทราบและเข้าใจทุกประการตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ตั้งให้ข้าพเจ้าเป็นรัฐมนตรีตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๒
และข้าพเจ้าได้จัดตั้งรัฐบาลขึ้นตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งตามพระบรมราชโองการ
ลงวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๒ แล้วนั้นคณะรัฐบาลนี้พร้อมแล้วที่จะบริหารราชการต่อไป
จึงขอแถลงนโยบายเพื่อโปรดทราบ ณ บัดนี้
ย่อมเป็นที่เข้าใจกันแล้วว่าสภาร่างรัฐธรรมนูญจะได้ร่างรัฐธรรมนูญสำหรับการปกครอง
ประเทศขึ้นใหม่ เมื่อร่างเสร็จจนถึงนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้แล้วก็จะได้มี
การจัดตั้งรัฐบาลขึ้นใหม่ตามรูปการในรัฐธรรมนูญฉบับนั้นต่อไปรัฐบาลนี้คงจะมีเวลาบริหารประเทศ
ชั่วระยะเวลาจำกัดจึงได้วางหลักการในการบริหารประเทศไว้เป็น ๒ ประการคืองานใดที่อาจจะดำเนิน
การให้ลุล่วงไปในสมัยเวลาที่บริหารราชการอยู่ก็จะได้เร่งรัดให้เสร็จสิ้นไปโดยเร็ว การใดจะต้องใช้
เวลายาวนานก็จะได้วางโครงการขึ้นเพื่อรัฐบาลต่อ ๆ ไป จะได้อาศัยเป็นแนวดำเนินการต่อไปได้
อย่างไรก็ดีการที่คณะปฏิวัติต้องเข้ายึดอำนาจการปกครองก็ด้วยความปรารถนาอันแรงกล้า
ที่จะหาวิถีทางอันเหมาะสมในการนำประเทศไปสู่ความเจริญมิใช่มุ่งหมายแต่เพียงว่าจะให้มีการ
เปลี่ยนแปลงรัฐบาลหรือแก้ไขรัฐธรรมนูญปกครองประเทศเสียใหม่เท่านั้นหากแต่เห็นว่าการที่จะ
บริหารประเทศไทยในรูปเดิมนั้นยังมีอุปสรรคขัดขวางความก้าวหน้าของประเทศอยู่อีกนานาประการ
จำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงกันใหม่ทุกด้านทุกมุมเฉพาะอย่างยิ่งจักรกลในการบริหารประเทศจะต้อง
ให้อยู่ในรูปอันเหมาะสมจริง ๆ รัฐบาลจึงจะสามารถบริหารประเทศให้ถึงซึ่งความเจริญได้ดังนั้น
รัฐบาลจึงถือว่ามีภาระกิจอันสำคัญยิ่งที่จะต้องรีบปรับปรุงรูปการบริหารประเทศให้เหมาะสมเป็นอันดับแรก
ก่อนกิจการอื่นใดทั้งสิ้น
อนึ่ง นโยบายของคณะปฏิวัติซึ่งได้ประกาศไปแล้วนั้นรัฐบาลนี้จะได้ดำเนินตามต่อไป
ให้เป็นผลประโยชน์แก่ประเทศอย่างแท้จริง เช่น การส่งเสริมการอุตสาหกรรมภายในประเทศ
การเลิกสูบฝิ่นและค้าฝิ่นในประเทศไทย ฯลฯ เป็นต้น
ในการบริหารประเทศในครั้งนี้รัฐบาลนี้เห็นว่าจำเป็นที่จะต้องแก้ไขและปรับปรุงการเศรษฐกิจ
ของประเทศเป็นเรื่องใหญ่ และเป็นอันดับที่หนึ่งทั้งนี้ก็เพื่อให้มีรายได้ที่แท้จริงสูงขึ้นซึ่งจะทำให้ระดับการ
ครองชีพของประชาชนสูงขึ้นด้วย ฉะนั้นรัฐบาลจะได้ปรับปรุงการคลังและการเงินของประเทศดำเนินการ
ส่งเสริมการเกษตรกรรม การสหกรณ์ การอุตสาหกรรม และการค้าตลอดจนการคมนาคมให้ก้าวหน้า เป็น
ประโยชน์แก่ประชาชนอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น
รัฐบาลนี้จะได้สนใจเป็นพิเศษในการศึกษาของเยาวชนซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญของชาติในวันหน้า
โดยจะได้ดำเนินการให้เยาวชนได้รับทั้งวิทยาการและจริยศึกษาควบคู่กันไปจะได้จัดตั้งสภาการศึกษา
แห่งชาติขึ้น และให้ความอนุเคราะห์ตามความจำเป็น
รัฐบาลจะได้ดำเนินการส่งเสริมให้ประชาชนในชาติมีศีลธรรม วัฒนธรรมและอนามัยอันดี
รวมทั้งดำเนินการพัฒนาการท้องถิ่นด้วย เพื่อยังความสงบเรียบร้อยและความผาสุกของประชาชน
สำหรับในด้านการทหารนั้น รัฐบาลนี้จะคงรักษาระดับอัตราปัจจุบันไว้แต่จะเร่งรัดปรับปรุง
ในทางการฝึก การศึกษา และในทางอาวุธยุทธภัณฑ์เพื่อให้เป็นกำลังทัพที่มีสมรรถภาพสูงขึ้น
และจะแก้ไขความขาดแคลนในทางสวัสดิการของทหารให้สมบูรณ์ขึ้น
นอกจากนั้น รัฐบาลนี้ขอยืนยันว่า
๑. จะเทอดทูนพระมหากษัตริย์เป็นองค์ประมุขของชาติตลอดไป
๒. จะบริหารประเทศโดยยึดมั่นในหลักประชาธิปไตย และเคารพในสิทธิของมนุษยชน
การใดอันจะอำนวยความผาสุกแก่ประชาชนรัฐบาลจะได้ปฏิบัติการโดยเฉียบขาดเพื่อประโยชน์ที่ว่านั้น
๓. จะรักษาไว้ซึ่งสิทธิและปฏิบัติตามหน้าที่อันมีตามสนธิสัญญากับประเทศทั้งหลายเฉพาะ
อย่างยิ่งจะยึดมั่นในอุดมการณ์ร่วมกันตามสนธิสัญญาการป้องกันร่วมกันแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
๔. จะยึดมั่นในหลักแห่งกฎบัตรสหประชาชาติและส่งเสริมสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศ
ตามหลักสันติซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งความยุติธรรม ความผาสุกของประชาชนและความมั่นคงของ
ประเทศและถือว่าความเข้าใจอันดีและความร่วมมือกันโดยใกล้ชิดระหว่างประเทศต่าง ๆ ที่เป็นมิตร
โดยเฉพาะประเทศในภาคพื้นอาเชียตะวันออกเฉียงใต้จะช่วยธำรงไว้ซึ่งสันติสุขในภาคพื้นส่วนนี้ของโลก
ในส่วนที่เกี่ยวแก่การช่วยเหลือจากต่างประเทศนั้นรัฐบาลนี้จะพิจารณาเท่าที่เห็นจำเป็น
โดยที่จะไม่ให้กระทบถึงอำนาจอธิปไตยของประเทศชาติ อย่างไรก็ดีรัฐบาลมีเจตนาที่แท้จริงที่
จะทำให้ประเทศไทยอยู่ในฐานะช่วยตัวเองได้อย่างกว้างขวางที่สุดที่จะทำได้
ในที่สุดขอเรียนว่าที่ข้าพเจ้าได้อาสาเข้ามาแก้ไขวิกฤตกาลของชาติในครั้งนี้
และเท่าที่ได้ปฏิบัติไปแล้ว คงจะเป็นประจักษ์พยานในความซื่อสัตย์สุจริตและความหวังดี
ต่อประเทศชาติของข้าพเจ้าอยู่แล้วฉะนั้นแม้คำแถลงนโยบายของข้าพเจ้าจะไม่ละเอียดยืดยาว
อย่างที่เคยปฏิบัติกันมา ก็ขอได้โปรดเชื่อมั่นว่าพร้อมกับนโยบายที่แถลงแล้วนั้นข้าพเจ้ายังได้มอบ
ชีวิตจิตใจและคณะรัฐมนตรีในคณะรัฐบาลนี้เป็นเดิมพันเพื่อสร้างความเจริญให้แก่ประเทศชาติ
และอำนวยความผาสุกให้แก่ประชาชนจนถึงที่สุดให้จงได้
*รายงานการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ ๓
วันพฤหัสบดีที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๐๒ หน้า ๑๙ - ๒๑ |
30 | คณะรัฐมนตรี คณะที่ ๓๐
พลเอก ถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี
ตั้งแต่วันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๐๖ - ๗ มีนาคม ๒๕๑๒
แถลงนโยบาย เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๐๖
คำแถลงนโยบายของรัฐบาล*
ท่านประธานสภา และท่านสมาชิกผู้มีเกียรติ
รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีข้าพเจ้าเป็นนายกรัฐมนตรี ได้เข้าบริหาร
ราชการแผ่นดินตามพระบรมราชโองการดังที่สภานี้ได้รับทราบแล้ว แม้ว่าตามธรรมนูญการปกครอง
ราชอาณาจักร รัฐบาลย่อมเข้าบริหารราชการได้โดยไม่ต้องแถลงนโยบายและไม่ต้องลงมติไว้วางใจ
รัฐบาลก็เห็นเป็นการสมควรที่จะขอโอกาสต่อสภาชี้แจงแนวทางซึ่งเป็นหลักสำคัญที่รัฐบาลจะบริหาร
ราชการแผ่นดินต่อไป เพื่อให้สภาได้รับทราบและหากจะมีข้อซักถามประการใดก็ยินดีจะชี้แจง ทั้งนี้
เพื่อความเข้าใจอันดีระหว่างรัฐบาลกับสภา และข้าพเจ้าในนามของรัฐบาลขอขอบคุณท่านประธานสภา
และสมาชิกทั้งหลายที่ได้ให้โอกาสอันนี้แก่รัฐบาล
โดยที่รัฐบาลนี้เป็นรัฐบาลบริหารราชการแผ่นดินในระหว่างที่ใช้รัฐธรรมนูญการปกครอง
ราชอาณาจักรอันเป็นผลของการปฏิวัติเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๑ เช่นเดียวกับรัฐบาลก่อนและโดยที่นโยบาย
บริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลก่อนได้อำนวยคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชนอย่างมากมาย
เป็นที่ประจักษ์อยู่แล้ว รัฐบาลจึงจะยึดถือแนวบริหารราชการแผ่นดินตามนโยบายนั้น ซึ่งได้แถลง
ไว้ต่อสภาเมื่อวันที่ ๑๒ ภุมภาพันธ์ ๒๕๐๒
ดังนั้น รัฐบาลถือว่าเศรษฐกิจของประเทศเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่ง ฉะนั้น จึงจะได้สนใจเป็นพิเศษ
ในการพิจารณาปรับปรุงและวางโครงการที่จะดำเนินต่อไปด้วยความระมัดระวัง และเป็นโครงการที่แน่นอน
ว่าสามารถดำเนินไปได้ตามกำลังของประเทศ กับทั้งที่จะได้ปรับปรุงมาตรการทั้งปวงให้เกิดประสิทธ์ภาพ
อย่างสูงสุด เพื่อความสำเร็จในตามความมุ่งหมาย
รัฐบาลจะดำเนินการพัฒนาประเทศในกิจการอันเป็นสาขาที่มีความสำคัญ คือการชลประทาน การทางหลวง การทรัพยากรธรณี การพัฒนาที่ดิน การพลังงาน กับการสหกรณ์ ซึ่งได้มารวมและก่อตั้ง
กระทรวงรับผิดชอบขึ้นเป็นกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ เพื่อให้การประสานงาน และควบคุมตรวจสอบผลงาน
โดยให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด เพราะรัฐบาลถือว่าโครงการพัฒนาต่าง ๆ อันเป็นพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
เป็นสิ่งจำเป็นยิ่งเกี่ยวกับการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น
ในส่วนที่เกี่ยวแก่การคลังและการเงินของประเทศนั้น รัฐบาลจะยึดมั่นต่อไปในนโยบาย
รักษาเสถียรภาพและความมั่นคงของเงินตรา และในเวลาเดียวกันก็จะพยายามหารายได้มาบำรุงประเทศ
ให้มากยิ่งขึ้น การหารายได้เพิ่มขึ้นนี้จะดำเนินหนักไปในทางเพิ่มผลผลิตยิ่งกว่าการเพิ่มภาระ
การเสียภาษีให้แก่ราษฎร
รัฐบาลถือว่า การเกษตรเป็นเครื่องค้ำจุนอันสำคัญแห่งเศรษฐกิจของประเทศจึงจะได้
ดำเนินการส่งเสริมการเกษตรทุกวิถีทางให้มีผลผลิตมากขึ้น ให้เป็นผลสนับสนุนแก่การพัฒนา
ด้านอุตสาหกรรมให้เป็นหลักประกันสำหรับความปลอดภัยสาธารณา และการป้องกันประเทศ
และให้เป็นรากฐานอันสำคัญในอันที่จะได้มาซึ่งเงินตราต่างประเทศ ในการส่งเสริมการเกษตรเพื่อ
ให้มีผลิตผลเพิ่มขึ้นนั้นรัฐบาลจะได้คำนึงถึงการที่จะให้กสิกรมีรายได้จากผลิตผลของตนเพิ่มมากขึ้น
ไปพร้อมกันด้วย
ในด้านการอุตสาหกรรม รัฐบาลจะได้ส่งเสริมและเร่งรัดควบคู่กันไปกับการส่งเสริม
เกษตรกรรมเพื่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ
ในด้านการศึกษา รัฐบาลจะปฏิบัติตามนโยบายที่รัฐบาลก่อนแถลงไว้ จะให้ความ
สำคัญแก่การศึกษาเพื่อการอาชีพเป็นพิเศษ กับทั้งจะขยายการศึกษาชั้นสูงไปตามจังหวัดต่าง ๆ
ให้มากยิ่งขึ้นด้วย
ในด้านการสาธารณสุข รัฐบาลจะส่งเสริมให้ประชาชนมีอนามัยดี และจะขยาย
การบำบัดโรคให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
รัฐบาลจะมุ่งรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศโดยจะปรับปรุงเจ้าหน้าที่
ฝ่ายปกครอง และตำรวจให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และส่งเสริมการอาชีพของประชาชนตามความ
เหมาะสมของท้องที่และเศรษฐกิจของชาติ
การป้องกันประเทศ รัฐบาลจะดำรงซึ่งกำลังทหารไว้ และจัดให้ดียิ่งขึ้น โดย
เร่งรัดปรับปรุงกรฝึก การศึกษา การสวัสดิการ รวมตลอดจนการจัดให้มีอาวุธยุทโธปกรณ์ที่
ทันสมัยพอควรแก่การป้องกันประเทศ
นอกจากนี้ รัฐบาลขอยืนยันว่า
๑. จะเทอดทูนพระมหากษัตริย์ และจะกระทำทุกวิถีทางเพื่อความมั่นคงแห่ง
ราชบัลลังก์
๒. จะเชิดชูพระพุทธศาสนา และจะเคารพในสิทธิเสรีภาพของบุคคลในการ
นับถือศาสนาอื่น ๆ ด้วย
๓. จะบริหารประเทศโดยยึดมั่นในหลักประชาธิปไตย และจะเคารพในสิทธิของ
มนุษยชน การใดอันจะอำนวยความผาสุกแก่ประชาชน รัฐบาลจะได้ปฏิบัติการอย่างเคร่งครัด
เพื่อประโยชน์ที่ว่านั้น
๔. จะรักษาไว้ซึ่งสิทธิ และปฏิบัติตามพันธะที่มีตามสนธิสัญญากับประเทศทั้งหลาย
เฉพาะอย่างยิ่งจะยึดมั่นในหลักและเจตนารมณ์แห่กฎบัตรสหประชาชาติ และในอุดมการณ์
ร่วมกันตามสนธิสัญญาการป้องกันร่วมกันแห่งอาเชียนตะวันออกเฉียงใต้
๕. จะส่งเสริมสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศ ตามหลักสันติซึ่งตั้งอยู่บนมูลฐาน
แห่งความยุติธรรม ความเป็นจริง ความเป็นอิสระ เสรีของชาติไทย ความผาสุกของประชาชน
และความมั่นคงของประเทศ และถือว่าความเข้าใจอันดีและความร่วมมือกันโดยใกล้ชิดกับ
ประเทศต่าง ๆ ที่เป็นมิตร โดยเฉพาะประเทศในภาคพื้นอาเชียนตะวันออกเฉียงใต้ จะช่วย
ธำรงไว้ซึ่งสันติสุข และความเจริญก้าวหน้าในภารพื้นส่วนนี้ของโลก
ในที่สุด ข้าพเจ้าในนามคณะรัฐมนตรี ขอเรียนต่อสภานี้ และขอให้ถือเสมือน
เป็นคำปฏิญาณต่อประชาชนทั้งชาติว่า ข้าพเจ้าและรัฐมนตรีทุกคนจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความ
พยายามและด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของประเทศ และความสมบูรณ์
พูลสุขของพี่น้องร่วมชาติทุกคน ขอขอบคุณ
*รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ ๑/๒๕๐๑ (วิสามัญ)
วันพฤหัสบดีที่ ๙ มกราคม ๒๕๐๑ หน้า ๕๔ - ๕๘ |
31 | คณะรัฐมนตรี คณะที่ ๓๑
จอมพล ถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี
แต่งตั้งวันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๑๒ - ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๑๔
แถลงนโยบาย เมื่อวันอังคารที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๑๒
คำแถลงนโยบายของรัฐบาล*
ท่านประธานรัฐสภา และท่านสมาชิกผู้มีเกียรติ
ตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ข้าพเจ้าเป็นนายกรัฐมนตรีตาม
ประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ ๗ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๑๒ และข้าพเจ้าได้
จัดตั้งคณะรัฐบาลซึ่งได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ตามประกาศ
พระบรมราชโองการ ลงวันที่ ๑๑ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๑๒ แล้วนั้น บัดนี้ คณะรัฐมนตรี
ได้วางนโยบายตามแนวนโยบายของพรรคสหประชาไทยที่ได้แถลงไว้กับประชาชนชาวไทย
แล้ว โดยตระหนักในความสำคัญว่าจะต้องเป็นไปตามแนวนโยบายแห่งรัฐที่ได้บัญญัติไว้ใน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยด้วย ในการกำหนดนโยบายนี้ คณะรัฐมนตรีได้ยึดถือหลัก
การรักษาความมั่นคงของประเทศไทย และเคาระในสิทธิเสรีภาพของประชาชน รวมทั้ง
การเสริมสร้างความไพบูลย์ทางเศรษฐกิจและความเป็นธรรมในสังคมเป็นมูลฐาน
จึงขอแถลงนโยบายเพื่อให้รัฐสภาทราบตามความในมาตรา ๑๔๑ ของรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช ๒๕๑๑ ดังต่อไปนี้
๑. รัฐบาลนี้เชื่อมั่นอย่างจริงใจว่า การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์
เป็นพระประมุข ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๑๑
เป็นระบอบการปกครองที่เหมาะสมกับความต้องการของประเทศไทย ฉะนั้น รัฐบาลนี้จะปฏิบัติ
ตามทุกอย่างเพื่อให้การปกครองระบอบนี้ได้ดำเนินไปโดยราบรื่นและสอดคล้องกับสภาพ
ความเป็นจริงทางการเมืองของประเทศไทย โดยเฉพาะจะเทิดทูนพระมหากษัตริย์และราชบัลลังก์
ไว้เป็นที่เคารพสักการะอันสูงยิ่งตลอดไป รวมทั้งจะส่งเสริมให้ประชาชนชาวไทยได้มีบทบาท
และร่วมในกระบวนการเมือง และการปกครองของประเทศอย่างกว้างขวาง เพื่อการนี้รัฐบาลนี้
จะพยายามทุกวิถีทางที่จะทำให้เข้าใจว่า การใช้สิทธิเสรีภาพและดำเนินภารกิจทางการเมืองนั้น
เป็นหน้าที่ซึ่งประชาชนชาวไทยพึงศึกษาและปฏิบัติ อันจะเป็นผลให้การปกครองระบอบประชาธิปไตย
ของประเทศไทยพัฒนาก้าวหน้าและยั่งยืนตลอดไป
๒. รัฐบาลนี้ถือว่าความมั่นคงของประเทศชาติเป็นรากฐานอันสำคัญยิ่งที่จะช่วย
ทำให้การเสริมสร้างความไพบูลย์ทางเศรษฐกิจ และความเป็นธรรมในสังคมดำเนินไป
โดยราบรื่นและบรรลุผลสำเร็จ ฉะนั้น รัฐบาลนี้จะปฏิบัติการทุกอย่างเพื่อให้ประเทศไทย
ได้ดำรงอยู่อย่างมั่นคง โดยเฉพาะจะตระเตรียมสรรพกำลังของชาติตามกำลังของชาติ
ตามกำลังเศรษฐกิจของประเทศให้อยู่ในสภาพเตรียมพร้อมที่จะป้องกันราชอาณาจักร
นอกจากนั้นรัฐบาลนี้จะควบคุมให้ทหารของชาติอยู่ในระเบียบวินัยอันดี บำรุงขวัญและ
กำลังใจทหารของชาติให้สูงอยู่เสมอรวมทั้งจะพัฒนาวิธีป้องกันและปราบปรามคอมมิวนิสต์
ซึ่งคุกคามความมั่นคงของชาติอยู่ในขณะนี้ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นอันจะยังผลให้เราสามารถ
สกัดกั้นภัยจากคอมมิวนิสต์ได้ในที่สุด
๓. รัฐบาลนี้จะดำเนินความสัมพันธ์กับต่างประเทศ โดยยึดถือหลักคติธรรมกฎหมาย
ระหว่างประเทศ ทั้งจะดำเนินนโยบายโดยอิสระ เพื่อผดุงรักษาไว้ซึ่งประโยชน์ของชาติ ประชาชน
ชาวไทย รัฐบาลนี้จะรักษาไว้ซึ่งสิทธิ และปฏิบัติตามพันธกรณีอันมีตามสนธิสัญญาที่ทำไว้กับ
ประเทศทั้งหลายตามหลักแห่งความเสมอภาค จะส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีกับทุกประเทศ
ที่ไม่มีเจตนามุ่งร้ายต่อประเทศไทย จะยึดมั่นในหลักกฎบัตรแห่งสหประชาชาติ และจะร่วมมือกับ
องค์การสหประชาชาติ เพื่อให้องค์การนี้สามารถทำหน้าที่รักษาความมั่นคงและสันติสุขของโลก
ตามหลักแห่งความยุติธรรมได้อย่างแท้จริง รวมทั้งจะร่วมมือกับประเทศทั้งใกล้และไกลเพื่อสร้าง
ความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน
๔. รัฐบาลนี้ถือว่าความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ และความปลอดภัยของประชาชน
เป็นภาระที่สำคัญยิ่ง การจัดการคุ้มครองป้องกันให้ประชาชนได้ประกอบอาชีพโดยปราศจากความ
หวาดระแวงภัยเป็นสิ่งที่ประชาชนปรารถนา เพื่อการนี้รัฐบาลจะเสริมสร้างกำลังและสมรรถภาพของ
ตำรวจ พนักงานฝ่ายปกครอง กำนัน ผู้ใหญ่บ้านและเจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่นให้สามารถปฏิบัติหน้าที่
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะพิจารณาการแก้ไขการปฏิบัติเกี่ยวกับการสืบสวนสอบสวนและปราบปราม
โจรผู้ร้ายให้เหมาะสมตามสภาพของบ้านเมือง รวมทั้งจะได้สนับสนุนให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมใน
การรักษาความสงบเรียบร้อย และความปลอดภัยของตนด้วย
ในส่วนที่เกี่ยวกับการเสริมสร้างความอยู่ดีกินดีของประชาชนนั้นรัฐบาลนี้ถือเป็น
นโยบายสำคัญอันหนึ่งที่จะต้องกระทำโดยจะขยายโครงการณ์พัฒนาท้องถิ่นออกไปให้กว้างขวาง
ทั่วทั้งประเทศ จะจัดตั้งนิคมสร้างตนเองเพิ่มขึ้น จะพยายามช่วยให้ประชาชนทั่วไปได้มีที่ดินทำกิน
เป็นของตนเองตามกำลังความสามารถของตนและครอบครัว จะส่งเสริมให้ประชาชนได้รับความ
สะดวกในการประกอบอาชีพสุจริตตามที่ตนถนัดอย่างจริงจัง จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนในเรื่อง
ที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อยด้วยการเพิ่มอาคารสงเคราะห์ และก่อสร้างบ้านเรือนในราคาถูก
ให้เช่าซื้อได้ในระยะยาว จะส่งเสริมการประชาสงเคราะห์ในหน้าที่จองรัฐบาลและสนับสนุน
งานสังคมสงเคราะห์ของเอกชนให้อำนวยผลดียิ่งขึ้น จะส่งเสริมและคุ้มครองผู้ใช้แรงงานให้มีรายได้
และสวัสดิภาพเพียงพอตามความเป็นธรรม จะจัดการสาธารณูปโภคในท้องถิ่นต่าง ๆ ให้มีไฟฟ้า
ประปา โดยทั่วถึงกัน ในขณะเดียวกันจะจัดให้มีทางระหว่างอำเภอและระหว่างตำบลเพิ่มยิ่งขึ้น
เพื่อให้ท้องถิ่นต่าง ๆ ได้มีความเจริญใกล้เคียงกัน อันจะเป็นผลให้ประชาชนชาวไทยทั่วทั้งประเทศ
มีความสะดวกสบายทั่วถึงกัน จะได้ปรับปรุงส่งเสริมให้ท้องถิ่นต่าง ๆ ได้มีการปกครองตัวเอง
ตามระบบการปกครองส่วนท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น
๕. รัฐบาลนี้จะดำเนินการพัฒนาประเทศ โดยยึดเป้าหมายและนโยบายตามแผนพัฒนา
การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นหลัก ซึ่งมีหลักการจะสร้างสร้างสรรค์กิจการที่เป็นรากฐาน
เพื่อสนองความต้องการของประชาชน ทั้งนี้ จะได้ปรับปรุงให้เหมาะสมกับสถานการณ์รัฐบาลนี้
จะเน้นหนักเป็นพิเศษในงานด้านชลประทาน การก่อสร้าง และบูรณะทางหลวงให้ทั่วถึงทุกภาค
ปรับปรุงขยายงานด้านพลังงานไฟฟ้าให้เพียงพอกับความต้องการทางด้านธุรกิจอุตสาหกรรม
และครัวเรือนอยู่เสมอ รวมทั้งจะส่งเสริมสหกรณ์อเนกประสงค์ให้มีมากขึ้นนอกจากนั้นรัฐบาลนี้
จะดำเนินการทุกอย่างเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตของประเทศและรายได้ประชาชาติ เพื่อยกระดับ
มาตราฐานการครองชีพ และรายได้ของประชาชน กับส่งเสริมให้ประชาชนได้รับผลจากการ
พัฒนาโดยทั่วถึงยิ่งขึ้น จะพัฒนากำลังคนด้วยการขยายการมีงานทำให้มากขึ้นและพัฒนา
แรงงานระดับต่าง ๆ จะสนับสนุน และส่งเสริมการวิจัย เพื่อความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์
และวิทยาการด้านประยุกต์อย่างจริงจัง
ในด้านทรัพยากรธรรมชาติ จะได้ค้นหาและสำรวจ เพื่อหาแหล่งที่จะพัฒนา
และนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์เพิ่มขึ้น
๖. รัฐบาลนี้จะส่งเสริมการอนามัยของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น โดยถือหลักขจัด
และป้องกันเป็นสำคัญ ดังเช่นที่ได้กระทำเป็นผลสำเร็จมาแล้วกับโรคหลายชนิด เช่น
ไข้ทรพิษ กาฬโรค โรคคุดทะราด และไข้มาลาเรีย และดำเนินการป้องกันทุกวิถีทางมิให้
โรคระบาดต่าง ๆ เกิดระบาดขึ้นได้ ส่วนในด้านการรักษาพยาบาลผู้เจ็บป่วยนั้นรัฐบาลนี้
จะเร่งรัดการผลิตแพทย์และผู้มีอาชีพอันเกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์การแพทย์ให้มากยิ่งขึ้น
เพื่อให้ประชาชนในส่วนภูมิภาคได้รับการรักษาพยาบาลที่ถูกต้อง เพื่อการนี้รัฐบาลจะเพิ่ม
และปรับปรุงสถานพยาบาลให้ทันสมัยมากขึ้น ทั้งในด้านสถานที่ เครื่องมือเครื่องใช้และ
เจ้าหน้าที่จะส่งเสริมการวิจัยทางแพทย์ จะควบคุมการผลิตและจำหน่ายยาและเวชภัณฑ์
อย่างใกล้ชิด
๗. รัฐบาลนี้ถือว่าเสถียรภาพทางการเงินเป็นรากฐานสำคัญของความมั่นคง
ในสังคมและความไพบูลย์ทางเศรษฐกิจ ฉะนั้น รัฐบาลจะปฏิบัติการทุกอย่างเพื่อรักษาเสถียรภาพ
ของเงินตรากับทั้งจะปรับปรุงแก้ไขวิธีการงบประมาณให้สามารถสนองความต้องการในการพัฒนา
ประเทศได้อย่างเหมาะสม และจะควบคุมการใช้จ่ายเงินของแผ่นดินให้เป็นไปโดยประหยัด
และเป็นประโยชน์ต่อการสร้างความเจริญให้แก่ประเทศชาติ และอำนวยความผาสุกให้แก่ประชาชน
อย่างแท้จริงในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีอากรอันเป็นที่มาสำคัญของรายได้แผ่นดินนั้น
รัฐบาลนี้จะปฏิบัติการทุกอย่างเพื่อป้องกันมิให้มีการหลีกเลี่ยงและจะปรับปรุงการภาษีอากร
ให้สอดคล้องกับความจำเป็นในการพัฒนาประเทศเป็นสำคัญเพื่อการนี้รัฐบาลจะแก้ไข
วิธีการจัดเก็บและการตรวจสอบภาษีอากรให้มีประสิทธิภาพและอำนวยความสะดวก
แก่ผู้เสียภาษีอากรมากยิ่งขึ้น
๘. รัฐบาลนี้จะส่งเสริมการเกษตรอันเป็นอาชีพหลักของประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่
ให้มีประสิทธิภาพในการผลิต ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ จะจัดหาแหล่งน้ำมันเพิ่มขึ้น
และจะส่งเสริมให้เกษตรกรรู้จักใช้น้ำชลประทานที่รัฐบาลได้จัดสร้างขึ้นแล้วให้บังเกิดผลมากที่สุด
จะช่วยเหลือเกษตรกรในด้านวิชาการต่าง ๆ อันทันสมัย ช่วยให้มีตลาดเพื่อจำหน่ายผลิตผลที่
เกษตรกรผลิตได้ ช่วยให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนการผลิตให้เหมาะสม รวมทั้ง
หาทางป้องกันมิให้ถูกกดราคา จะเพิ่มทุนธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรเพื่อ
ให้ธนาคารดังกล่าวขยายกิจการให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
ส่วนในด้านการป่าไม้นั้น เพื่อให้บังเกิดความสมดุลย์ตามธรรมชาติ จะรักษาป่าไม้
ไว้อนุรักษ์ดินและน้ำในบริเวณพื้นที่อันเป็นต้นน้ำลำธารและแหล่งซับน้ำ ให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์
อันเป็นการป้องกันการขาดแคลนน้ำ กับทั้งจะให้มีการปลูกบำรุงป่าเพิ่มขึ้น เพื่อให้มีปริมาณ
ไม้และของป่าสำหรับใช้สอย และเป็นสินค้าอย่างเพียงพอ ในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินป่าสงวน จะได้
พิจารณาปรับปรุงแนวเขตให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ โดยถือประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก
๙. รัฐบาลนี้ถือว่าการอุตสาหกรรมเป็นปัจจัยที่จะช่วยส่งเสริมความเจริญก้าวหน้า
ทางเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อช่วยให้ประชาชนมีงานทำและช่วยยกระดับวิชาการทางเทคนิค
ฉะนั้นรัฐบาลนี้จะมุ่งส่งเสริมอุตสาหกรรมที่มีลักษณะดังต่อไปนี้เป็นสำคัญ คืออุตสาหกรรมที่ใช้
วัตถุดิบภายในประเทศเป็นตัวประกอบที่สำคัญในการผลิต ที่มีตลาดอยู่แล้วภายในประเทศ
ที่มีส่วนช่วยดุลย์การค้าและดุลย์แห่งการชำระเงินระหว่างประเทศ หรือที่มีส่วนช่วยส่งเสริมให้
ประชาชนมีงานทำและรัฐบาลจะส่งเสริมการลงทุนเพื่ออุตสาหกรรมให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
๑๐. รัฐบาลนี้ถือว่าการคมนาคมและการสื่อสารเป็นองค์ประกอบที่จะช่วยสนับสนุน
ให้การพัฒนาด้านต่าง ๆ บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย กระจายความเจริญและอำนวยความสะดวก
ทำให้เกิดความผาสุกแก่ประชาชนอย่างทั่วถึง ฉะนั้น รัฐบาลจึงจะดำเนินการปรับปรุงและขยายกิจการ
ด้านขนส่งทั้งในประเทศและระหว่างประเทศทั้งทางถนน ทางรถไฟ ทางน้ำ ทางอากาศ และการท่าเรือ
ให้เพียงพอแก่ความต้องการของประชาชน และการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศส่วนการสื่อสาร
ด้านไปรษณีย์โทรเลข โทรศัพท์ วิทยุ และโทรคมนาคมนั้น รัฐบาลจะปรับปรุงบริการเหล่านี้ให้ดียิ่งขึ้น
เพื่อให้ประชาชนสามารถติดต่อและส่งข่าวสารถึงกันและกันได้โดยสะดวกและรวดเร็ว
๑๑. รัฐบาลนี้ถือว่าการค้าคือหัวใจของความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
และสร้างความสุขสมบูรณ์ให้แก่ประชาชน ฉะนั้นรัฐบาลนี้จะปฏิบัติการทุกอย่างที่จะส่งเสริมให้
การค้าทั้งภายในและภายนอกประเทศดำเนินไปอย่างราบรื่น เพื่อการนี้รัฐบาลจะดำเนินการแก้ไข
อุปสรรค และวิธีการขนส่งสินค้าจากแหล่งผลิตมาสู่แหล่งบริโภคให้เป็นไปโดยสะดวก สม่ำเสมอ
รวดเร็ว และประหยัด รวมทั้งจะรักษาระดับราคาสินค้าที่จำเป็นแก่การครองชีพของประชาชนไว้
ในส่วนที่เกี่ยวกับการค้าต่างประเทศนั้น รัฐบาลนี้จะขยายและรักษาตลาดต่างประเทศไว้อย่าง
มั่นคง และจะดำเนินการแก้ไขดุลย์การค้าที่ประเทศไทยยังเสียเปรียบกับบางประเทศให้ขึ้น
๑๒. รัฐบาลนี้ตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาแห่งชาติว่าเป็นกุญแจสำคัญที่จะนำ
ไปสู่ความเจริญก้าวหน้าในทุก ๆ ทาง ฉะนั้น รัฐบาลนี้จะจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับการพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยเฉพาะจะปรับปรุงและส่งเสริมการศึกษาทั้งในด้านการศึกษา
สามัญ อาชีวศึกษา และอุดมศึกษาให้ดียิ่งขึ้น เพื่อการนี้รัฐบาลนี้จะพยายามขยายการศึกษา
ภาคบังคับออกไปทั่วทั้งประเทศ ปรับปรุงโรงเรียนทุกชนิด โดยเฉพาะโรงเรียนอาชีวะให้มีคุณภาพ
สูงขึ้น และเพิ่มจำนวนให้มากขึ้น ปรับปรุงมหาวิทยาลัยที่มีอยู่แล้วให้มีคุณภาพสูงขึ้น และให้มีที่
เรียนมากขึ้น ช่วยเหลือบรรดาครูบาอาจารย์ในรูปสวัสดิการต่าง ๆ เพื่อให้ได้มีความรู้สึกมั่นคงใน
อาชีพของตน สามารถอุทิศเวลาเพื่อการศึกษาอบรมแก่เยาวชนได้อย่างเต็มที่ นอกจากนั้นรัฐบาลนี้
จะสนับสนุนให้เอกชนได้เข้ามีบทบาทในการให้การศึกษาแก่ประชาชนทั้งในระดับประถมศึกษา
มัธยมศึกษา และอุดมศึกษามากขึ้น ส่งเสริมการศึกษาวิจัยในสาขาวิชาการต่าง ๆ และนำผลของ
การวิจัยมาประยุกต์ให้เหมาะสมกับภาวะความต้องการของประเทศ ในขณะเดียวกันก็จะส่งเสริม
และรักษาขนบประเพณีอันดีงามของชาติ และของประชาชน บำรุงพระพุทธศาสนา และอนุเคราะห์
เกื้อกูลศาสนาต่าง ๆ ตลอดถึงศิลปและวัฒนธรรมของชาติด้วย
๑๓. รัฐบาลนี้ตระหนักในความสำคัญของความยุติธรรมที่มีต่อความสงบเรียบร้อยใน
สังคมและความมั่นคงของชาติ ฉะนั้นรัฐบาลนี้จะดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อรักษาไว้ซึ่งหลักนิติธรรม
จะเคารพในอำนาจอิสระของศาลยุติธรรมในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเป็นไปโดยรวดเร็วและ
ให้ความยุติธรรมแก่ประชาชนได้อย่างดีที่สุด
๑๔. รัฐบาลนี้ถือว่าความผาสุกของประชาชนชาวไทยเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดในการ
บริหารประเทศ ฉะนั้นสิ่งใดที่ช่วยให้ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่ในประเทศมีความผาสุก
รัฐบาลนี้จะรับทำสิ่งนั้นโดยเร็ว และสิ่งใดที่เป็นความเดือดร้อนจะรับแก้ไขสิ่งนั้นโดยด่วน เพื่อ
การนี้รัฐบาลจึงเต็มใจที่จะรับฟังความคิดความเห็น และข้อเสนอแนะจากรัฐสภานี้ และพร้อม
ที่จะปฏิบัติตามเสมอ ถ้าความคิดและข้อเสนอแนะนั้นจะมีผลในการอำนวยความสุขสมบูรณ์ให้
แก่ประเทศชาติ และประชาชนอย่างแท้จริง
๑๕. รัฐบาลนี้ถือว่าความสามัคคีภายในชาติเป็นรากฐานอันสำคัญยิ่งที่จะช่วยทำให้
ประเทศไทยประสบผลสำเร็จในการพัฒนาทุกด้าน ฉะนั้น สิ่งใดที่ก่อให้เกิดความแตกแยก
ภายในชาติแล้วจะขจัดให้หมดสิ้นไปโดยเด็ดขาด ในขณะเดียวกันรัฐบาลจะปฏิบัติการทุกอย่าง
เพื่อสร้าง และรักษาความสามัคคีภายในชาติให้เข้มแข็งมั่นคง
ตามนโยบายที่ได้แถลงมาทั้งหมดนี้ รัฐบาลเชื่อว่าจะสามารถสนองความต้องการ
ของประชาชน สร้างความเจริญ และความมั่นคงให้แก่ประเทศชาติได้ ฉะนั้นจึงหวังว่ารัฐสภา
จะให้การสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลด้วยดี เพื่อรัฐบาลจะได้สามารถดำเนินการบริหาร
ประเทศโดยราบรื่น และสร้างความเจริญให้แก่ประเทศ รวมทั้งอำนวยความผาสุกให้แก่
ประชาชนได้อย่างเต็มที่ ถ้าท่านสมาชิกผู้มีเกียรติมีข้อข้องใจประการใดขอได้โปรดซักถาม
ข้าพเจ้าและรัฐมนตรีทุกท่านยินดีที่จะอธิบายเพื่อแก้ไขข้อข้องใจนั้น ขอบพระคุณ
*รายงานการประชุมรัฐสภา ครั้งที่ ๑
วันอังคารที่ ๒๕ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๑๒ หน้า ๗ - ๑๕ |
32 | คณะรัฐมนตรี คณะที่ ๓๒
จอมพล ถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี
ตั้งแต่วันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๑๕ - ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖
แถลงนโยบาย เมื่อวันศุกร์ที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๑๕
คำแถลงนโยบายของรัฐบาล*
ท่านประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และท่านสมาชิกผู้มีเกียรติ
ตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ข้าพเจ้าเป็นนายกรัฐมนตรีตามประกาศ
พระบรมราชโองการ ลงวันที่ ๑๘ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๕ และข้าพเจ้าได้จัดตั้งคณะรัฐบาล
ซึ่งได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีตามประกาศพระบรมราชโองการ
ลงวันที่ ๑๙ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๕ แล้วนั้น
บัดนี้คณะรัฐมนตรีได้กำหนดนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดินโดยยึดถือ
หลักการรักษาความมั่นคงของประเทศชาติ การเสริมสร้างความมั่นคงและพัฒนาการ
ทางเศรษฐกิจการเคารพในสิทธิเสรีภาพของประชาชน ตลอดจนความเป็นธรรมในสังคม
เป็นมูลฐานจึงขอแถลงนโยบายเพื่อให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติทราบพอสังเขป ดังต่อไปนี้
๑. รัฐบาลนี้เชื่อมั่นว่าการปกครองระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์
เป็นประมุข เป็นระบอบการปกครองที่เหมาะสมกับความต้องการของประเทศไทย ฉะนั้น
รัฐบาลนี้จะจัดการทุกอย่างเพื่อให้การปกครองระบอบนี้ได้ดำเนินไปด้วยความราบรื่นและ
สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงทางการเมืองของประเทศไทยโดยเฉพาะจะเทิดทูน
พระมหากษัตริย์ และราชบัลลังก์ไว้เป็นที่เคารพสักการะอันสูงยิ่งตลอดไป
๒. รัฐบาลนี้เชื่อมั่นว่าความมั่นคงของประเทศชาติเป็นรากฐานอันสำคัญยิ่ง
ในการเสริมสร้างความมั่นคงและพัฒนาการทางเศรษฐกิจ และความเป็นธรรมในสังคม
ฉะนั้นรัฐบาลนี้จะปฏิบัติการทุกอย่างเพื่อให้ประเทศไทยดำรงอยู่ด้วยความมั่นคงโดยจะ
ตระเตรียมสรรพกำลังของชาติตามกำลังเศรษฐกิจให้อยู่ในสภาพเตรียมพร้อมที่จะป้องกัน
ราชอาณาจักรและรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศตลอดจนความปลอดภัย
ของประชาชนจะจัดการคุ้มครองป้องกันให้ประชาชนได้ประกอบอาชีพโดยปราศจาก
ความระแวงภัย
๓. รัฐบาลนี้จะดำเนินความสัมพันธ์กับต่างประเทศโดยยึดหลักคติธรรมและกฎหมาย
ระหว่างประเทศ และดำเนินนโยบายโดยอิสระ เพื่อผดุงรักษาไว้ซึ่งประโยชน์ของประเทศชาติ
และประชาชนชาวไทย นอกจากนั้น รัฐบาลนี้จะยึดมั่นในหลักแห่งกฎบัตรสหประชาชาติจะร่วมมือ
กับองค์การสหประชาชาติ จะรักษาไว้ซึ่งสิทธิและปฏิบัติตามพันธกรณีอันมีตามสนธิสัญญาหรือ
ความตกลงที่ได้ทำไว้กับประเทศทั้งหลายตามหลักแห่งความเสมอภาคและจะส่งเสริมความ
สัมพันธ์อันดีกับทุกประเทศที่ไม่แสดงความมุ่งร้ายต่อประเทศไทย
๔. รัฐบาลนี้จะดำเนินการพัฒนาประเทศ โดยยึดเป็นหมายและนโยบายตามแผนพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นหลัก และจะดำเนินการทุกอย่างเพื่อเพิ่มกำลังผลิตของประเทศ
และรายได้ประชาชาติ เพื่อยกระดับมาตราฐานการครองชีพ และรายได้ของประชาชน กับจะส่งเสริม
ให้ประชาชนได้รับผลจากการพัฒนาอย่างเสมอภาคและทั่วถึงยิ่งขึ้น
๕. รัฐบาลนี้จะส่งเสริมการเกษตรอันเป็นอาชีพหลักของประชาชนชาวไทยให้มี
ประสิทธิภาพในการผลิตทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ โดยจะช่วยเหลือเกษตรกรในด้าน
วิชาการและช่วยให้มีตลาดสำหรับจำหน่ายผลิตผลในราคาที่เป็นธรรมและเหมาะสม
๖. รัฐบาลนี้จะส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบภายในประเทศเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ
ในการผลิต และจะส่งเสริมการลงทุนเพื่อการอุตสาหกรรมให้กว้างขวางต่อไป ทั้งนี้เพื่อช่วยเหลือ
ให้ประชาชนมีงานทำเพิ่มมากขึ้น และเป็นการช่วยลดความเสียเปรียบในด้านดุลย์การค้าและดุล
การชำระเงินระหว่างประเทศ
๗. รัฐบาลนี้จะปรับปรุงและขยายกิจการด้านการขนส่งและสื่อสารทั้งภายในประเทศ
และระหว่างประเทศให้เพียงพอกับความต้องการของประชาชน และการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ของประเทศ
๘. รัฐบาลนี้จะส่งเสริมกิจการค้าทั้งภายใน และภายนอกประเทศให้สามารถ
ดำเนินไปอย่างราบรื่น โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ รัฐบาลจะพยายาม
รักษาและขยายตลาดในต่างประเทศ และจะดำเนินการแก้ไขดุลย์การค้าที่ประเทศไทย
เสียเปรียบอยู่กับบางประเทศ
๙. รัฐบาลนี้จะจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ โดยจะปรับปรุงและส่งเสริมทั้งในด้านการศึกษาสามัญ อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา
ทั้งจะสนับสนุนให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมให้การศึกษาทุกระดับแก่ประชาชนมากยิ่งขึ้น
๑๐. รัฐบาลนี้จะส่งเสริมการอนามัยของประชาชนให้ดียิ่งขึ้นโดยจะถือหลักการขจัด
และป้องกันเป็นสำคัญ ในด้านการรักษาพยาบาลผู้เจ็บป่วย รัฐบาลนี้จะเร่งรัดการผลิตแพทย์
พยาบาลและผู้มีอาชีพอันเกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์การแพทย์ให้มากขึ้นรวมทั้งจะสนับสนุน
ให้มีแพทย์ประจำในส่วนภูมิภาคมากยิ่งขึ้น
๑๑. รัฐบาลนี้ถือว่าความผาสุกของประชาชนชาวไทยเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดในการ
บริหารประเทศ ฉะนั้น รัฐบาลนี้จะปรับปรุงประสิทธิภาพในการดำเนินงานเกี่ยวกับกิจการ
สาธารณูปโภค และบริการสาธารณะ เพื่อให้ประชาชนได้รับการบริการที่ดีโดยทั่วถึงกัน
ในการนี้จะส่งเสริมและเปิดโอกาสให้เอกชนได้เข้ามามีส่วนร่วมกับรัฐบาลในการดำเนิน
งานด้านบริการสาธารณะมากยิ่งขึ้นเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ความเจริญ
ของประเทศชาติ
๑๒. รัฐบาลนี้ถือว่าเสถียรภาพทางการเงินเป็นรากฐานสำคัญของความมั่นคง
ทางเศรษฐกิจและสังคม ฉะนั้น รัฐบาลจะดำเนินการทุกอย่างเพื่อรักษาเสถียรภาพของ
เงินตรา จะปรับปรุงวิธีการงบประมาณให้สามารถสนองความต้องการในการพัฒนาประเทศ
ได้อย่างเหมาะสม และจะควบคุมการใช้จ่ายเงินของแผ่นดินให้เป็นไปโดยประหยัดเป็น
ประโยชน์ต่อการสร้างสรรค์ความเจริญให้แก่ประเทศชาติ และอำนวยความผาสุกแก่ประชาชน
อย่างแท้จริง
๑๓. รัฐบาลนี้จะดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อรักษาไว้ซึ่งหลักนิติธรรม จะเคารพในอำนาจ
อิสระของศาลยุติธรรมในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี จะส่งเสริมสถาบันตลอดจนบุคคลที่
เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมให้มีมาตราฐาน และประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้น
๑๔. รัฐบาลนี้ถือว่าความสามัคคีภายในชาติเป็นรากฐานสำคัญยิ่งที่จะช่วยให้ประสบ
ผลสำเร็จในการพัฒนาประเทศ ฉะนั้น สิ่งใดที่จะก่อให้เกิดความแตกแยกขึ้นภายในชาติแล้ว
รัฐบาลจะขจัดให้หมดสิ้นไปโดยเด็ดขาด และจะปฏิบัติการทุกอย่างเพื่อเสริมสร้างและรักษา
ความสามัคคีภายในชาติไทยให้เข้มแข็งมั่นคง
ตามนโยบายที่ได้แถลงมานี้ รัฐบาลเชื่อว่าจะสามารถสนองความต้องการของประชาชน
เสริมสร้างความเจริญและความมั่นคงให้แก่ประเทศชาติ ฉะนั้น จึงหวังว่าสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
จะให้การสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลด้วยดี เพื่อรัฐบาลจะสามารถบริหารประเทศไปด้วยความ
ราบรื่น เสริมสร้างความเจริญก้าวหน้าแก่ประเทศชาติ และอำนวยความผาสุกให้แก่ประชาชนได้
อย่างเต็มที่
*รายงานการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ ๑๕๘
วันพฤหัสบดีที่ ๑๙ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๐๖ หน้า ๘๘๙ - ๘๙๑ |
33 | คณะรัฐมนตรี คณะที่ ๓๓
นายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี
ตั้งแต่วันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ - ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๑๗
แถลงนโยบาย เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๑๖
คำแถลงนโยบายของรัฐบาล*
ท่านประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และท่านสมาชิกผู้มีเกียรติ
ตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ข้าพเจ้าเป็นนายกรัฐมนตรี
ตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ ๑๔ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๑๖ และแต่งตั้ง
คณะรัฐมนตรีตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๑๖ นั้น
บัดนี้ คณะรัฐมนตรีได้กำหนดนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยยึดถือ
หลักการแห่งระบอบประชาธิปไตย และการปรับปรุงสถานการณ์ต่าง ๆให้กลับคืนสู่ความสงบ
เรียบร้อยและมั่นคง เป็นมูลฐานไว้เรียบร้อยแล้ว จึงขอแถลงนโยบายเพื่อสภานิติบัญญัติ
แห่งชาติทราบ ดังต่อไปนี้
๑. รัฐบาลนี้จะเทิดทูนพระมหากษัตริย์ไว้เป็นที่เคาระสักการะอันสูงยิ่งตลอดไป และจะ
ดำเนินการเพื่อให้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญเป็นหลักในการบริหารราชการแผ่นดินโดยเร็วที่สุด
๒. รัฐบาลนี้เชื่อมั่นว่าความมั่นคงของประเทศชาติเป็นรากฐานอันสำคัญยิ่ง ฉะนั้นรัฐบาลนี้
จะดำเนินการทุกอย่าง เพื่อให้ประเทศไทยดำรงอยู่ด้วยความปลอดภัย โดยจะตระเตรียมสรรพกำลังของชาติ
ตามกำลังเศรษฐกิจของประเทศ ให้อยู่ในสภาพเตรียมพร้อมที่จะป้องกันราชอาณาจักร พร้อมที่จะเผชิญภัย
คุกคามทั้งทางตรงและทางอ้อม และให้สามารถช่วยตนเองได้มากที่สุด จะดำเนินการเกี่ยวกับการรักษา
ความมั่นคงของชาติอย่างมีประสิทธิภาพ จะประสานความเข้าใจระหว่างทหาร และประชาชนให้ดียิ่งขึ้น
จะปรับปรุงสวัสดิการ บำรุงขวัญและกำลังใจของทหารให้สูงอยู่เสมอ รวมทั้งจะปรับปรุงการจัดโครงสร้าง
ทางการบังคับบัญชาให้เหมาะสมกับระบอบประชาธิปไตยอันแท้จริง
๓. รัฐบาลนี้จะดำรงรักษาเสถียรภาพของเงินตราไว้ให้มั่นคง และจะบริหารนโยบายการคลัง ให้มีผลในทางเพิ่มพูนรายได้และสวัสดิการของเกษตรกรและผู้ใช้แรงงานซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ ในการนี้จะได้ปรับปรุงโครงสร้างทางด้านภาษีอากร เพื่อให้บังเกิดความเป็นธรรมยิ่งขึ้น
๔. รัฐบาลนี้จะดำเนินนโยบายต่างประเทศ
เพื่อธำรงไว้ซึ่งเอกราชอธิปไตยและบูรณภาพแห่งราชอาณาจักร และเพื่อรักษาผลประโยชน์ของชาติ
และประชาชนไทย ในการนี้รัฐบาลจะยึดมั่นในกฎบัตรสหประชาชาติ ให้ความร่วมมือกับองค์การ
สหประชาชาติ เพื่อส่งเสริมสันติภาพ ความมั่นคง และความยุติธรรมระหว่างประเทศ รักษาสิทธิ
และปฏิบัติคามพันธกรณีที่มีอยู่ตามสนธิสัญญาและความตกลงที่ทำไว้กับประเทศทั้งหลาย ตาม
หลักแห่งความเสมอภาค และถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกัน ดำเนินการเพื่อความสัมพันธ์อันดีกับทุก
ประเทศที่แสดงความเป็นมิตรต่อประเทศไทย รวมทั้งประเทศที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองต่างกัน
สร้างเสริมสัมพันธไมตรีและความเข้าใจอันดีกับบรรดาประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนั้นรัฐบาลนี้จะ
สนับสนุนความร่วมมือส่วนภูมิภาค โดยเฉพาะกับกลุ่มประเทศสมาคมประชาชาติแห่งเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้ในการสร้างสันติภาพ เสถียรภาพ การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม เพื่อ
ความเจริญก้าวหน้าและความผาสุกของประชาชนในภูมิภาคนี้
๕. รัฐบาลนี้จะเร่งรัดการเพิ่มผลผลิตเกษตร เพื่อสนองความต้องการของตลาดภายใน
และภายนอกประเทศ รวมทั้งผลิตผลประเภทอาหารเพื่อช่วยลดค่าครองชีพของประชาชน ทั้งนี้
ด้วยการช่วยเหลือเกษตรกทั้งในด้านวิชาการและปัจจัยด้านการผลิตและการตลาด สำหรับจำหน่าย
ผลิตผลในราคาที่เป็นธรรมและเหมาะสม เพื่อเพิ่มรายได้และยกระดับการครองชีพให้แก่เกษตรกร
๖. รัฐบาลนี้จะปรับปรุง ขยายและเสริมสร้างกิจการด้านการขนส่ง การสื่อสารและการอุตุนิยม
วิทยาให้เหมาะสมกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการขนส่งทางน้ำภายในประเทศซึ่งเป็นระบบ
การส่งที่ประหยัดที่สุดนั้น จะได้พัฒนาให้มีบทบาท และเป็นที่นิยมของประชาชนทั่วไป
๗. รัฐบาลนี้จะเร่งรัดการขยายตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศกว้างขวางยิ่งขึ้น
เพื่อให้สอดคล้องกับการเร่งรัดเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร และอุตสาหกรรมในด้านสินค้าที่จำเป็น
แก่การครองชีพของประชาชนนั้นจะรักษาเสถียรภาพองราคาให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและเป็น
ธรรมแก่ผู้ผลิต และผู้บริโภค และจะพยายามให้พ่อค้าเข้าใจนโยบายการค้าของรัฐบาล โดยเฉพาะ
การให้ความร่วมมือในด้านการจัดหาตลาดและบริการในด้านสถิติการผลิต และการค้า
๘. รัฐบาลนี้จะบำบัดทุกข์สุขประชาชน และจะปรับปรุงโครงสร้างของการรักษาความสงบ
เรียบร้อยภายในประเทศเพื่อให้มีความเข้าใจและร่วมมือกันระหว่างเจ้าหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย
กับประชาชนมากยิ่งขึ้น
๙. รัฐบาลนี้จะรักษาไว้ซึ่งหลักนิติธรรม โดยจะเคารพความเป็นอิสระในการพิจารณาพิพากษา
อรรถคดี และจะส่งเสริมสถาบันศาลยุติธรรมให้มั่นคงและเจริญก้าวหน้าในการพิจารณาอรรถคดีต่าง ๆ
จะได้เร่งรัดให้ดำเนินการไปด้วยความรวดเร็วยิ่งขึ้น
๑๑. รัฐบาลนี้จะปรับปรุงประสิทธิภาพในการให้บริการสาธารณสุขแห่งชาติให้ตรงกับความ
ต้องการของประชาชน และจะขยายขอบเขตของการบิรการไปให้ถึงประชาชน ในส่วนภูมิภาคให้
กว้างขวางยิ่งขึ้น
๑๒. รัฐบาลนี้จะเร่งรัดการเพิ่มผลผลิตทางอุตสาหกรรมทั้งในสวนทดแทนสินค้าที่นำเข้า
และในส่วนสินค้าส่งออก รวมทั้งจะได้ดำเนินการป้องกันและระงับพิษภัยอันจะเกิดจากกิจการ
อุตสาหกรรมต่อไปด้วย
๑๓. รัฐบาลนี้จะส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยมีเสรีภาพ และมีความรับผิดชอบทางวิชาการ
มีความอิสระและคล่องตัวในกาบริหารงานของมหาวิทยาลัย ทั้งในด้านการเงินและการบริหารงาน
บุคคล ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างนิสิต นักศึกษากับรัฐบาลและสนับสนุนให้มหาวิทยาลัย
มีบทบาทในการส่งเสริมระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
๑๔. สำหรับนโยบายทางเศรษฐกิจโดยส่วนรวม รัฐบาลจะยึดแผนพัฒนาการเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ เป็นหลักในการบริหารและการจัดสรรทรัพยากรของประเทศ โดยเน้นการ
แก้ปัญหาเศรษฐกิจและปัญหาสังคมเฉพาะหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การแก้ไขปรับปรุงการพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมบางสาขา ให้สามารถรับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและ
สังคมในปัจจุบันเป็นสำคัญ เพื่อให้ประชาชนได้รับความเป็นธรรมจากการดำรงชีพอย่างมั่นคงยิ่งขึ้น
ตามนโยบายที่ได้แถลงมานี้ รัฐบาลเชื่อมั่นว่า จะสามารถสนองความต้องการของประชาชน
เสริมสร้างความเจริญก้าวหน้า และความมั่นคงแก่ประเทศชาติในระยะเวลาที่รัฐบาลนี้เข้ามาบริหาร
ราชการแผ่นดินได้ ฉะนั้นจึงหวังว่า สภานิติบัญญัติแห่งชาติจะให้การสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลด้วยดี
เพื่อรัฐบาลจะสามารถบริหารประเทศไปด้วยความราบรื่นเสริมสร้างความเจริญก้าวหน้าแก่ประเทศชาติ
และอำนวยความผาสุกให้แก่ประชาชนได้ต่อไปขอขอบพระคุณ
*รายงานการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ ๓๒
วันพฤหัสบดีที่ ๒๕ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๑๖ หน้า ๒๔๗ - ๒๕๑ |
34 | คณะรัฐมนตรี คณะที่ ๓๔
นายสัญญา ธรรมศักดิ์
เป็นนายกรัฐมนตรี
ตั้งแต่วันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๑๗ - ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๘
แถลงนโยบาย เมื่อวันศุกร์ที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๑๗
คำแถลงนโยบายของรัฐบาล*
ท่านประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และท่านสมาชิกผู้มีเกียรติ
ตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ข้าพเจ้าเป็นนายกรัฐมนตรี
ตามประกาศพระบรมราชโองการลงวันที่ ๒๗ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๑๗ และแต่งตั้ง
บัดนี้ คณะรัฐมนตรีได้กำหนดนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดินเสร็จเรียบร้อยแล้ว
จึงขอแถลงนโยบายเพื่อสภานิติบัญญัติทราบ ดังต่อไปนี้
๑. รัฐบาลนี้จะเทิดทูนและรักษาไว้ซึ่งองค์คุณของประชาธิปไตย คือ ชาติ ศาสนา
พระมหากษัตริย์
๒. รัฐบาลนี้จะยึดถือหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็น
ประมุขจะส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชนภายในกรอบของกฎหมาย ความสงบเรียบร้อย
ของบ้านเมืองและศีลธรรมอันดี
๓. รัฐบาลนี้
๓.๑ จะจัดที่ดินทำกินให้ชาวไร่ ชาวนาที่เดือดร้อน ให้ได้รับความเป็นธรรมโดย
รวดเร็ว
๓.๒ จะจัดให้มีสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพประจำวัน โดยเฉพาะปัจจัยทั้งสี่โดย
ไม่ขาดแคลนและในราคาที่สมควรและเหมาะสมกับภาวะความเป็นอยู่ของประชาชน
๓.๓ จะส่งเสริมกิจการทหารของชาติให้มีกำลังและสมรรถภาพ พร้อมที่จะป้องกัน
ราชอาณาจักรจากภัยที่มีมาทั้งภายในและภายนอกประเทศ โดยเฉพาะในภาวะการณ์ปัจจุบัน
จะเร่งรัดปรับปรุงโครงสร้างทางการบังคับบัญชาให้คล่องตัวที่จะบริหารงานตามระบอบ
ประชาธิปไตย
๓.๔ จะวางรากฐานแห่งระบบการคลัง โดยมีจุดหมายที่จะส่งเสริมความเจริญเติบโต
และความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ และปรับปรุงการจัดเก็บภาษีอากรให้
ได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย
๓.๕ จะใช้มาตราการทางการเงินควบคู่ไปกับมาตราการทางการคลัง โดยถือหลัก
ที่จะธำรงไว้ซึ่งเสถียรภาพแห่งค่าของเงินบาท และดำเนินมาตราการระดมเงินออมของประชาชน
มาใช้เป็นทุนในกิจการลงทุนของภาครัฐบาลและภาคเอกชนให้เป็นประโยชน์มากที่สุด
๓.๖ จะเร่งรัดเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้สูงขึ้น โดย
จะดำเนินมาตราการช่วยเหลือเกษตรกรต่าง ๆ รวมทั้งการส่งเสริมสหกรณ์การเกษตรและกลุ่ม
เกษตรกรให้เป็นพลังทางเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง การจัดตั้งกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร การส่งเสริม
เกษตรกรด้านการผลิตและจำหน่าย ตลอดจนการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๓.๗ จะปูพื้นฐาน ปรับปรุง ขยาย และส่งเสริมระบบการขนส่ง การสื่อสารและการ
อุตุนิยมวิทยาให้ถูกต้องในหลักการ และให้มีการประสานงานกันอย่างมีประสิทธิภาพ
๓.๘ จะส่งเสริมการค้าให้มีความคล่องตัว และเหมาะสมกับสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจ
และสังคมยิ่งขึ้น ส่งเสริมการลงทุนเพื่อพัฒนาประเทศและปรับปรุงมาตราการการป้องกันและระงับ
พิษภัยอันเกิดจากกิจการอุตสาหกรรม
๓.๙ จะส่งเสริมการส่งสินค้าออกไปจำหน่ายในต่างประเทศให้มากยิ่งขึ้น เพื่อให้
สอดคล้องกับการเร่งรัดการเพิ่มผลผลิตทางเกษตรและอุตสาหกรรม ทั้งนี้โดยไม่ก่อให้เกิด
การขาดแคลนภายในประเทศ
๓.๑๐ จะรักษาความสงบภายใน โดยทำความเข้าใจอันดีและประสานสามัคคีทุกหมู่เหล่า
๓.๑๑. จะป้องกันและต่อสู้การแทรกซึมในทางการเมืองและการก่อการร้ายทุกวิถีทาง
๓.๑๒ จะลดอาชญากรรม ป้องกันและปราบปรามการค้ายาเสพติดให้โทษ ตลอดจน
ดำเนินการบำบัดรักษา ควบคุมเร่งรัดทางกฎหมายและความปลอดภัย ส่งเสริมกิจการฝ่ายปกครอง
และกิจการตำรวจให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
๓.๑๓ จะส่งเสริมปรับปรุงแรงงานให้มีฝีมือและสมรรถภาพยิ่งขึ้น เพื่อให้สามารถมี
บทบาทที่จะร่วมในการพัฒนาประเทศได้อย่างเต็มที่ ส่งเสริมให้ประชากรวัยทำงานได้มีสวัสดิภาพ
ยิ่งขึ้น เร่งรัดสร้างหรือขยายแหล่งงานเพื่อให้ประชากรมีงานทำอย่างทั่วถึง ปรับปรุงความสัมพันธ์
ระหว่างทุนและแรงงานอย่างเป็นธรรม
๓.๑๔ จะเคารพความเป็นอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีของศาลยุติธรรม
จะเร่งรัดการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีให้ดำเนินไปโดยรวดเร็วและส่งเสริมสถาบันศาลยุติธรรม
ให้มั่นคง
๓.๑๕ จะเร่งรัดการศึกษาอบรมเพื่อส่งเสริมระบอบประชาธิปไตย เน้นในเรื่องการ
อบรมศีลธรรมและวัฒนธรรม และการศึกษาเพื่อการประกอบอาชีพในด้านอุดมศึกษา จะสนับสนุน
ความเป็นอิสระในการดำเนินงานทั้งด้านวิชาการและการบริหารของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ดูแลและ
ส่งเสริมให้วิทยาลัยเอกชนสามารถผลิตบัณฑิตที่ได้มาตราฐาน
๓.๑๖ จะให้บริการสาธารณสุขดานส่งเสริม ป้องกันและรักษาถึงประชาชน โดยเฉพาะ
ในชนบทจะเร่งรัดปรับปรุงระบบการสาธารณสุข ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเอกชนและ
ประชาชนผนึกกำลังกันแก้ปัญหาสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะมอบอำนาจหน้าที่การบริหาร
งานสู่ภูมิภาค เพื่อให้ทรัพยากรที่มีจำกัด อำนวยประโยชน์สูงสุดแก่สังคม
๓.๑๗ จะกวดขันวินัยและสมรรถภาพของข้าราชการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริต
และประพฤติมิชอบในวงราชการและรัฐวิสาหกิจ และในเวลาเดียวกันจะส่งเสริมยกย่องผู้สุจริตให้
ปรากฏ
๓.๑๘ จะวางรากฐานและแนวทางปฏิบัติในการปฏิรูประบบการศึกษาและการปฏิรูป
ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
๓.๑๙ จะจัดให้มีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญ และกฎหมายว่าด้วยการ
เลือกตั้งให้เป็นไปโดยเที่ยงธรรมและบริสุทธิ์
๔. รัฐบาลนี้
๔.๑ จะดำเนินนโยบายต่างประเทศ โดยยึดถือหลักในการธำรงไว้ซึ่งเอกราชอธิปไตย
ของชาติบูรณภาพแห่งราชอาณาจักรและในการรักษาความมั่นคงของประเทศกับผลประโยชน์
ของชาติและประชาชน
๔.๒ จะยึดมั่นในหลักการของกฎบัตรสหประชาชาติและปฏิบัติตามพันธกรณีแห่ง
สนธิสัญญาที่ทำไว้กับประเทศทั้งหลายตามหลักแหงราชอาณาจักรและในการรักษาความมั่นคง
ของประเทศกับผลประโยชน์ของชาติและประชาชน
๔.๓ จะยึดมั่นในหลักการของกฎบัตรสหประชาชาติและปฏิบัติตามพันธกรณีแห่ง
สนธิสัญญาที่ทำไว้กับประเทศทั้งหลายตามหลักแห่งความเสมอภาค และถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกัน
ดังที่ได้เป็นนโยบายของประเทศไทยตลอดมา
๔.ู๔ จะรักษาสิทธิอันชอบธรรมของชาติและประชาชน โดยพยายามหาทางตกลงที่
ยุติธรรมกับประเทศที่เกี่ยวข้องโดยสันติวิธี
๔.๕ จะเป็นมิตรกับทุกประเทศที่เป็นมิตรกับประเทศไทย แม้ลัทธินิยมในระบบ
การปกครองการเศรษฐกิจและสังคมจะต่างกัน และพยายามทำความเข้าใจกับประเทศต่าง ๆ ที่มี
ปัญหาระหว่างกันอยู่เพื่อหาทางให้มีการติดต่อสัมพันธ์กับประเทศโดยปรกติด้วยดีระหว่างกัน
และปรับปรุงความสัมพันธ์กับประเทศที่มีความผูกพันอยู่ต่อกันให้เหมาะสมกับความจำเป็นของ
สถานการณ์เพื่อประโยชน์อันเป็นธรรมร่วมกัน
๔.๖ จะเสริมสร้างสัมพันธไมตรีและกระชับความเข้าใจอันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน
ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นและสนับสนุนความร่วมมือส่วนภูมิภาคสืบต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมาคม
ประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) เพื่อเสริมสร้างเสถียรภาพความมั่นคง สันติสุข
และความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน
ตามนโยบายที่แถลงมานี้ รัฐบาลเชื่อมั่นว่าจะสามารถสนองความต้องการของประชาชน
เสริมสร้างความเจริญก้าวหน้าและความมั่นคงของประเทศชาติในระยะเวลาที่รัฐบาลนี้บริหารราชการ
แผ่นดินได้ ฉะนั้นจึงหวังว่าสภานิติบัญญัติแห่งชาติจะให้ความสนับสนุนด้วยดีเพื่อรัฐบาลจะสามารถ
บริหารราชการแผ่นดินให้บังเกิดความเจริญก้าวหน้าแก่ประเทศชาติ และอำนวยความผาสุกแก่
ประชาชนต่อไป
*รายงานการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ชุดที่ ๒ ครั้งที่ ๓๖
วันศุกร์ที่ ๗ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๑๗ หน้า ๕๔๙ - ๕๕๓ |
35 | คณะรัฐมนตรี คณะที่ ๓๕
หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
เป็นนายกรัฐมนตรี
ตั้งแต่วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๘ - ๑๓ มีนาคม ๒๕๑๗
แถลงนโยบาย เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๖ มีนาคม ๒๕๑๘
คำแถลงนโยบายของรัฐบาล*
ท่านประธานสภาผู้แทนราษฎรที่เคารพและท่านสมาชิกผู้มีเกียรติ
เนื่องจากได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้ข้าพเจ้าเป็นนายกรัฐมนตรีตาม
ประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ ข้าพเจ้าได้จัดตั้งคณะ
รัฐมนตรีขึ้น ซึ่งได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งตามประกาศพระบรมราชโองการ
ลงวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ บัดนี้คณะรัฐมนตรีได้กำหนดนโยบายการบริหารราชการ
แผ่นดิน โดยยึดถือหลักการแห่งระบอบประชาธิปไตย และแนวนโยบายแห่งรัฐตามบทบัญญัติแห่ง
รัฐธรรมนูญเป็นมูลฐานและ หลักปฏิบัติ จึงขอแถลงนโยบายเพื่อขอความช่วยไว้วางใจจาก
สภาผู้แทนราษฎรตามความในมาตรา ๑๘๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ดังต่อไปนี้
นโยบายทางการเมือง
๑. รัฐบาลนี้จะดำเนินนโยบายทางการเมือง โดยยึดมั่นในวิถีแห่งการปกครองระบอบ
ประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ด้วยวิธีการที่บริสุทธิ์และยุติธรรมเพื่อให้เป็น
รัฐบาลของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง
รัฐบาลนี้จะเคารพและปกป้องสิทธิเสรีภาพของประชาชน ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
และจะยึดชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็นศูนย์รวมพลังแห่งความสามัคคีและความเป็นปึกแผ่น
ภายในประเทศ
๒. รัฐบาลนี้จะเสริมสร้างกำลังทหารของชาติ ให้มีกำลังอำนาจที่เหมาะสมกับสถานการณ์
ตามกำลังเศรษฐกิจของประเทศ กล่าวโดยเฉพาะกำลังทหารจะใช้เพื่อปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์
และรักษาไว้ซึ่งเอกราช ความมั่นคง และผลประโยชน์ของชาติ รัฐบาลนี้จะปรับปรุงสวัสดิการ บำรุง
ส่งเสริมสมรรถภาพและขวัญของทหารให้สูงอยู่เสมอและจะส่งเสริมให้ทหารมีส่วนร่วมในการพัฒนา
ประเทศ
รัฐบาลนี้จะดำเนินการให้หน่วยกำลังรบของต่างชาติ ซึ่งได้เข้ามาประจำอยู่ในประเทศชาติ
ตามพันธกรณี ให้ออกไปจากประเทศภายในระยะเวลาเร็วที่สุด โดยจะกำหนดขั้นตอนในการนี้ให้
เป็นที่แน่นอน และคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ ทั้งนี้ภายในกำหนดไม่เกิน
๑๘ เดือน
๓. รัฐบาลนี้จะดำเนินนโยบายระหว่างประเทศโดยอิสระ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของ
ประเทศชาติ จะไม่ยอมเป็นเครื่องมือหรือเข้าไปพัวพันในการดำเนินนโยบายของประเทศใด ๆ
จะเป็นมิตรกับทุกประเทศที่ต้องการเป็นมิตรกับประเทศไทย โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างของ
ระบอบการปกครองหรือระบบเศรษฐกิจ ทั้งจะดำเนินนโยบายทุกวิถีทางเพื่อปรับสัมพันธภาพ
กับประเทศในภูมิภาคเอเชียที่ยังขาดการติดต่อกันให้เข้าสู่สภาพปกติ โดยอาศัยหลักแห่งความ
เสมอภาค และการเคารพในบูรณภาพและอธิปไตยซึ่งกันและกัน
รัฐบาลนี้จะส่งเสริมและกระชับความร่วมมือโดยใกล้ชิด และเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดี
ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นกับประเทศเพื่อนบ้าน จะสนับสนุนและส่งเสริมความร่วมมือในส่วนภูมิภาคนี้ของ
โลก โดยเฉพาะกับประเทศในกลุ่มอาเซียน เพื่อประโยชน์ในทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมให้
มากยิ่งขึ้น เพื่อก่อให้เกิดความไพบูลย์และสันติสุขร่วมกันและจะสนับสนุนโครงการพัฒนาระดับภูมิภาค
ดังกล่าวที่จะอำนวยประโยชน์ร่วมกัน เช่น โครงการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขง
รัฐบาลนี้จะปฏิบัติตามพันธกรณี ตามสนธิสัญญาและความตกลงที่มีอยู่กับนานาประเทศ
ตามมูลฐานแห่งความเสมอภาคและยุติธรรม และจะยึดมั่นในหลักการแห่งกฎบัตรสหประชาชาติ
นโยบายทางเศรษฐกิจ
๔. รัฐบาลนี้จะนำระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมประชาธิปไตย มาใช้ปฏิรูปเศรษฐกิจของ
ประเทศ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่สังคมและประโยชน์แก่ประเทศชาติโดยเคารพกรรมสิทธิ์
ในทรัพย์สินส่วนบุคคล และสนับสนุนให้เอกชนมีความริเริ่มในทางเศรษฐกิจ แต่รัฐจะมีบทบาท
ในการจัดระเบียบเศรษฐกิจให้มากขึ้นตามความจำเป็น
รัฐบาลนี้จะดำเนินการให้ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจของบุคคลลดน้อยลงโดยวิธีการ
ภาษีอากร วิธีการงบประมาณ ตลอดจนจะดำเนินการให้มีการกระจายรายได้ในหมู่ประชากร
อย่างเป็นธรรมโดยเฉพาะจะดำเนินการให้เกษตรกรและผู้ผลิตได้รับค่าตอบแทนจากการ
จำหน่ายผลผลิตอย่างเป็นธรรม
รัฐบาลนี้จะส่งเสริมการผลิตทางเกษตรและอุตสาหกรรม เพื่อให้สามารถสนองความต้องการ
ทั้งภายในและภายนอกประเทศ อันจะส่งผลให้ประชาชนมีงานทำ มีรายได้สูงและมีระดับการครองชีพ
ดีขึ้น
รัฐบาลนี้จะส่งเสริมการค้าในประเทศและการค้าต่างประเทศให้ขยายกว้างขวางและมี
ระเบียบในด้านการค้าในประเทศ จะดำเนินการให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย ในการนี้จะ
ให้มีกฎหมายจัดระเบียบทางการค้า และกฎหมายคุ้มครองผลประโยชน์ของผู้บริโภค ส่วนในด้าน
การค้าต่างประเทศนั้น รัฐบาลนี้จะขยายความสัมพันธ์ทางการค้ากับต่างประเทศให้กว้างขวาง
ยิ่งขึ้น รวมทั้งประเทศที่ทำการค้าโดยรัฐ โดยเฉพาะจะดำเนินการให้มีการส่งสินค้าออกให้มาก
ยิ่งขึ้น เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจภายใน และเพื่อปรับดุลย์การค้าของประเทศ
รัฐบาลนี้จะดำเนินการรักษาราคาสินค้าให้เป็นธรรมทั้งแก่ผู้ผลิต และผู้บริโภค จะรักษา
ระดับของราคาสินค้าไม่ให้เคลื่อนไหวขึ้นลงเกินควร นอกจากนี้จะดำเนินมาตราการมิให้มีการ
ผูกขาดตัดตอนในทางเศรษฐกิจโดยเอกชน
๕. รัฐบาลนี้จะเร่งรีบทำการปฏิรูปที่ดิน และจัดที่ดินในเขตป่าสงวนที่หมดสภาพเป็นป่าแล้ว
และมิใช่ต้นน้ำลำธาร นำมาปรับปรุงและจัดสรรให้ราษฎรได้เข้าครอบครองทำกิน และจะจำกัดสิทธิ
ในการถือครองที่ดิน
รัฐบาลนี้จะเร่งดำเนินโครงการชลประทานขนาดเล็ก และชลประทานย่อยให้แพร่หลายทั้ง
ประเทศ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรอย่างทั่วถึงโดยเร็ว และจะดำเนินโครงการชลประทานขนาดใหญ่
เฉพาะที่กำลังดำเนินการอยู่แล้วเท่านั้น เพื่อให้สำเร็จลุล่วงไปแต่ละโครงการภายในระยะเวลาอัน
สมควร
รัฐบาลนี้จะส่งเสริมการทำนา ๒ ครั้ง และการปลูกไร่ฤดูแล้งกับจะเร่งรัดการปลูกยางพันธุ์ดี
แทนยางพันธุ์พื้นเมือง
รัฐบาลนี้จะเร่งดำเนินการปรับปรุงคุณภาพของดินและจัดรูปที่ดินของเกษตรกรให้กว้างขวาง
ยิ่งขึ้น ทั้งจะให้การช่วยเหลือแก่เกษตรกรในเรื่องปุ๋ย การใช้พันธุ์พืช และการปราบศัตรูพืช เพื่อเพิ่ม
ผลผลิตของเกษตรกรให้สูงขึ้น
รัฐบาลนี้มุ่งส่งเสริมการสหกรณ์ทุกประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหกรณ์การเกษตรซึ่งจะ
ส่งเสริมให้มีขึ้นทั่วทุกอำเภอภายในกำหนดระยะเวลาไม่เกิน ๔ ปี จะสนับสนุนสหกรณ์ให้สามารถ
ดำเนินธุรกิจในด้านการผลิต การแปรรูปผลผลิต การตลาด และการส่งผลผลิตไปจำหน่ายยัง
ต่างประเทศ และจะสนับสนุนให้มีกลุ่มเกษตรกรขึ้นอย่างรวดเร็ว และแพร่หลาย ทั้งนี้เพื่อให้เกษตรกร
จำหน่ายผลผลิตได้ในราคาสูง
รัฐบาลนี้จะส่งเสริมให้การประมงและการปศุสัตว์ได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วจนสามารถ
เป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญอีกประเภทหนึ่ง
รัฐบาลนี้จะขยายงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น เพื่อช่วยเหลือ
เกษตรกรให้ได้รับสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยต่ำ
รัฐบาลนี้ถือว่าป่าไม้เป็นทรัพยากรธรรมชาติอันเป็นสมบัติของส่วนรวม รัฐจะได้เป็นผู้เข้า
ดำเนินการเพื่อหารายได้ให้แก่รัฐโดยตรง จะอนุรักษ์และพัฒนาป่าไม้ให้คงสภาพและเกิดความ
สมบูรณ์เพื่อเป็นแหล่งของต้นน้ำลำธารการส่งไม้เป็นสินค้าออกจะให้กระทำได้แต่เฉพาะที่ได้แปรรูป
เป็นสินค้าสำเร็จรูปแล้วเท่านั้น
๖. รัฐบาลนี้จะส่งเสริมอุตสาหกรรมให้เจริญยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบใน
ประเทศ อุตสาหกรรมที่ส่งผลผลิตออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ และอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จะ
ปรับปรุงโรงงานและรัฐวิสาหกิจทั้งในด้านตัวบุคคลและระบบงานให้มีประสิทธิภาพและสามารถ
ส่งรายได้ให้แก่รัฐ และจะรีบดำเนินการให้อุตสาหกรรมกระจายไปสู่ส่วนภูมิภาคโดยจะใช้มาตราการ
ส่งเสริมทั้งในด้านการลงทุน การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม และอื่น ๆ เพื่อจะได้เป็นแหล่งงานสำหรับ
ประชากรที่เพิ่มขึ้น ในการนี้จะได้คำนึงถึงการอนุรักษ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม และจะวางมาตราการ
ที่จำเป็นเพื่อป้องกันและควบคุมมิให้เกิดภาวะสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
รัฐบาลนี้จะดำเนินการให้รัฐเป็นผู้ประกอบกิจการสาธารณูปโภค และกิจการอื่นที่เห็นว่า
ถ้ารัฐเป็นผู้ประการแล้ว จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่ประชาชน และในการพัฒนาทรัพยากรบาง
อย่างที่สำคัญต่อความมั่นคงหรือเศรษฐกิจของประเทศ รัฐบาลจะเปลี่ยนนโยบายจากการ
พัฒนาแบบให้สัมปทาน หรือผูกขาดตัดตอนมาเป็นแบบดำเนินการโดยรัฐวิสาหกิจ หรือโดยธุรกิจซึ่ง
รัฐร่วมกับเอกชน เพื่อให้รัฐสามารถได้มาซึ่งประโยชน์สูงสุดจากทรัพยากรเหล่านั้น
รัฐบาลนี้จะส่งเสริมการวิจัยในด้านเทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ในแขนงซึ่งเห็นว่า
จะส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ โดยอาศัยการร่วมมือจากกลุ่มอุตสาหกรรมในด้าน
แรงงาน รัฐบาลนี้จะช่วยให้ฝ่ายแรงงานได้รับค่าจ้าง และการปฏิบัติจากฝ่ายนายจ้างอย่างเป็นธรรม
และจะสนับสนุนให้ฝ่ายแรงงานได้รวมกันเป็นองค์การในระดับต่าง ๆ เพื่อก่อให้เกิดอำนาจในการ
ต่อรองอย่างมีหลักเกณฑ์ระหว่างฝ่ายแรงงานและนายจ้าง เพื่อการนี้จะได้จัดตั้งทบวงแรงงาน
ขึ้น เพื่อให้สามารถปฏิบัติภารกิจนี้ด้วยความคล่องตัวและทันต่อเหตุการณ์
๗. รัฐบาลนี้จะขยาย และปรับปรุงระบบการขนส่งและการสื่อสารของประเทศให้เหมาะสม
กับสภาพของภูมิประเทศ และความเป็นอยู่ของประชาชน เพื่อกระจายความเจริญให้ทั่วประเทศและ
สอดคล้องกับนโยบายทางเศรษฐกิจและสังคม เฉพาะอย่างยิ่งจะมุ่งหนักในการสร้างและพัฒนา
เส้นทางขนส่งทั้งทางบกและทางน้ำ ในระดับชนบทและจังหวัดอันจะเป็นผลให้ผลิตผลทางเกษตร
อุตสาหกรรมมาสู่ตลาดได้ทุกฤดูกาล
รัฐบาลนี้จะปฏิรูประบบการขนส่งโดยรถประจำทาง เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวก
ปลอดภัย และเป็นธรรม จะเร่งรัดการก่อสร้างทางด่วนพิเศษและการขนส่งมวลชน เพื่อผ่อนคลาย
ปัญหาการจราจรคับคั่งและจะขยายบริการสื่อสารทางโทรศัพท์ โทรคมนาคม และไปรษณีย์ให้
เพียงพอแก่ความจำเป็นของประชาชนในด้านการขนส่งระหว่างประเทศ
รัฐบาลนี้จะดำเนินการร่วมมือติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อขยายบริการการขนส่ง
ทางบกให้กว้างขวาง จะเร่งรัดพัฒนาการท่าเรือและการพาณิชย์นาวีของประเทศให้เจริญ
ก้าวหน้า เพื่อจะได้มีบทบาทในการขนส่งสินค้าออกและเข้าให้ได้มากยิ่งขึ้น และจะดำเนินการ
เพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์การบินระหว่างประเทศในย่านเอเชียอาคเนย์ตลอดไป
๘. รัฐบาลนี้จะปรับปรุงระบบภาษีอากร เพื่อให้เป็นธรรมแก่สังคม โดยจะเก็บภาษีทางตรง
ให้มากขึ้น และจะบริหารงานเก็บภาษีอากรให้มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้จะปรับปรุงวิธีการและ
การบริหารงบประมาณแผ่นดิน ให้การใช้จ่ายเงินแผ่นดินเป็นไปโดยประหยัดและคล่องตัว โดย
คำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนและของประเทศเป็นสำคัญ ทั้งจะดำเนินการให้สถาบันทางการเงิน
มีบทบาทร่วมในการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจมากขึ้น และจะรักษาค่าของเงินตราให้มั่นคง
นโยบายทางสังคม
๙. รัฐบาลนี้จะดำเนินการปฏิรูปการศึกษาให้เหมาะสม และสอดคล้องกับสภาพทาง
เศรษฐกิจและสังคม จะปลูกฝังเยาวชนของชาติให้มีทัศนคติที่ดีงาม และมีความสำนึกรับผิดชอบ
ต่อส่วนรวมรัฐบาลนี้จะจัดให้บุคคลมีโอกาสเท่าเทียมกันในการรับการศึกษาอบรมตามความ
สามารถทางสติปัญญาและกำลังทางเศรษฐกิจ จะจัดทุนเล่าเรียนให้แก่ผู้ยากไร้แต่มีสติปัญญา
และจะยกมาตราฐานการศึกษาทั้งของรัฐและของเอกชนให้สูงขึ้น และให้มีคุณภาพเท่าเทียมกัน
รัฐบาลนี้จะส่งเสริมการศึกษาก่อนภาคบังคับ จะขยายการศึกษาผู้ใหญ่และอาชีวศึกษา
โดยเน้นหนักในด้านเกษตรกรรม ทั้งจะเร่งขยายการศึกษาภาคบังคับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย
และมัธยมศึกษาอย่างกว้างขวาง
รัฐบาลนี้จะสนับสนุนหลักเกี่ยวกับการดำเนินงานขั้นอุดมศึกษา ที่จะให้มหาวิทยาลัย
ของรัฐมีอิสระในการดำเนินงานให้มากที่สุด โดยเฉพาะในทางวิชาการรักษามาตรฐาน
การศึกษาและส่งเสริมให้บัณฑิตของทุกมหาวิทยาลัยมีคุณภาพสูง ส่งเสริมในมหาวิทยาลัย
มีบทบาทในการให้บริการชุมชนในทางวิชาการมากขึ้น ดำเนินการให้มหาวิทยาลัยใน
ส่วนภูมิภาคมีส่วนในการพัฒนาภูมิภาคของตน โดยจะให้รับนิสิตนักศึกษาจากภาคนั้น ๆ
ให้ได้อัตราส่วนที่เหมาะสม และจัดหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพของภูมิภาคนั้น ๆ ให้
มากที่สุด ในส่วนที่เกี่ยวกับวิทยาลัยเอกชน รัฐบาลนี้จะควบคุมและส่งเสริมให้วิทยาลัยเอกชน
มีมาตรฐานสูง
รัฐบาลนี้จะรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมอันดีงามของชาติ และจะทำนุบำรุงศาสนาให้เป็นหลัก
ดำเนินชีวิตของประชาชน
๑๐. รัฐบาลนี้จะดำเนินการให้บริการสาธารณสุข ทั้งในด้านการส่งเสริมสุขภาพ
การป้องกันโรค และการรักษาพยาบาล กระจายไปสู่ภูมิภาคและท้องถิ่นทุรกันดารอย่างเพียงพอ
จะจัดให้ประชาชนที่ยากจนได้รับการรักษาพยาบาลโดยไม่คิดมูลค่า จะสนับสนุนและส่งเสริม
ให้เอกชนได้มีส่วนร่วมในการสาธารณสุข เช่น โครงการอาสาสาธารณสุขหมู่บ้าน กับจะส่งเสริม
สถานพยาบาลเอกชน ขยายการผลิตยา ป้องกันและรักษาโรคและส่งเสริมให้มีแพทย์ประจำอยู่
ในส่วนภูมิภาคมากยิ่งขึ้น
รัฐบาลนี้จะคุ้มครองสุขภาพของผู้ประกอบอาชีพ โดยเฉพาะกรรมกรในโรงงานอุตสาหกรรม
ให้ปลอดภัยจากโรคซึ่งเกิดจากการประกอบอาชีพของตน
รัฐบาลนี้จะส่งเสริมการสังคมสงเคราะห์ทั้งส่วนของรัฐและเอกชน ให้แพร่หลายไปสู่ส่วน
ภูมิภาคอย่างทั่วถึง จะเกื้อกูลประชาชนในแหล่งเสื่อมโทรมให้มีโอกาสได้มีที่อยู่อาศัยที่ถูกสุขลักษณะ
รัฐบาลนี้จะลดอัตรา การเพิ่มประชากร โดยจะเร่งรัดการวางแผนครอบครัวให้แพร่หลาย
ทั่วประเทศ
รัฐบาลนี้จะขยายการพัฒนาเมืองหลักในภาคต่าง ๆ เพื่อให้เกิดดุลย์ในทางเศรษฐกิจและ
สังคมในส่วนภูมิภาค
๑๑. รัฐบาลนี้จะเคารพความเป็นอิสระของผู้พิพากษาและตุลาการในการพิจารณาพิพากษา
อรรถคดี จะปรับปรุงวิธีการและดำเนินการพิจารณาคดีของศาลให้เป็นไปโดยรวดเร็วให้เกิดความ
ยุติธรรมแก่ประชาชนโดยเสมอกัน จะสอดส่องปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และการ
ปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมเป็นผลดีแก่สังคมยิ่งขึ้น
จะส่งเสริมสถาบันศาล ผู้พิพากษาและตุลาการ ให้มีจำนวนสภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น จะจัด
ให้มีกฎหมายเพื่อให้การเป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับสิทธิเสมอภาคของสตรี
การปกครองท้องถิ่น ผู้ตรวจเงินแผ่นดินของรัฐสภา การแสดงสินทรัพย์ของรัฐมนตรีและสมาชิก
รัฐสภา และอื่น ๆ
๑๒. นอกจากจะใช้มาตราการต่าง ๆ เพื่อป้องกันมิให้มีการละเมิดกฎหมายและทำลาย
ความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองแล้ว รัฐบาลนี้จะรักษาไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายและ
ความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง โดยจะดำเนินการปราบปรามและลงโทษผู้ละเมิดกฎหมาย
โดยไม่มีการละเว้นสำหรับผู้มีความคิดเห็นและอุดมการณ์ทางการเมืองที่เป็นปฏิปักษ์ต่อชาติ
ศาสนา พระมหากษัตริย์ และรัฐธรรมนูญ รัฐบาลนี้จะใช้วิธีชักจูงให้กลับใจเป็นสำคัญยิ่งกว่า
การใช้กำลังปราบปราม และจะมิให้มีการใช้อำนาจที่ไม่เป็นธรรมของเจ้าหน้าที่
๑๓. รัฐบาลนี้จะปฏิรูปวิธีการปฏิบัติราชการ และระเบียบราชการบริหารบุคคลเพื่อให้ระบบ
ราชการมีประสิทธิภาพสูงขึ้น และให้ข้าราชการทุกฝ่ายทำหน้าที่รับใช้และเข้าถึงประชาชนอย่าง
แท้จริง ทั้งจะดำเนินงานอย่างจริงจัง เพื่อป้องกันและปราบปรามการแสวงหาผลประโยชน์ใน
ทางมิชอบในวงราชการและงานของรัฐ ตลอดจนการกดขี่ข่มเหงราษฎร การกระทำใด ๆ ที่
ไม่เป็นธรรมแก่รัฐหรือแก่ประชาชน จะได้พิจารณาปรับปรุงแก้ไขหรือยกเลิกเพิกถอนตามควร
แก่กรณี
ตามนโยบายที่ได้แถลงมานี้ รัฐบาลจะได้ดำเนินการทุกวิถีทางให้บรรลุผล เพื่อให้ประชาชน
มีความสุขสมบูรณ์ยิ่งขึ้น รัฐบาลจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านสมาชิกผู้มีเกียรติจะได้ให้ความร่วมมือ
กับรัฐบาล ให้เข้าบริหารราชการแผ่นดินตามรัฐธรรมนูญต่อไป
*รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ ๓/๒๕๑๘ (สามัญ สมัยแรก)
วันพฤหัสบดีที่ ๖ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๑๘ หน้า ๔๒ - ๔๘ |
36 | คณะรัฐมนตรี คณะที่ ๓๖
หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช
เป็นนายกรัฐมนตรี
ตั้งแต่วันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๑๘ - ๑๒ มกราคม ๒๕๑๙
แถลงนโยบาย เมื่อวันพุธที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๑๘
คำแถลงนโยบายของรัฐบาล*
ท่านประธานสภา และท่านสมาชิกผู้มีเกียรติ
ตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้ข้าพเจ้าเป็นนายกรัฐมนตรี ตามประกาศ
พระบรมราชโองการ ลงวันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๑๘ และแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีตามประกาศพระบรม
ราชโองการลงวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๑๘ นั้นข้าพเจ้าและคณะรัฐมนตรีได้กำหนดนโยบายในการ
บริหารราชการแผ่นดิน โดยคำนึงถึงสถานการณ์ของประเทศอย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้วจึงขอแถลง
ให้ชัดแจ้งเสียก่อนว่ารัฐบาลซึ่งข้าพเจ้าและคณะรัฐมนตรีได้ร่วมกันก่อตั้งขึ้นนี้เป็นรัฐบาลผสม
ระหว่างพรรคการเมืองต่าง ๆ ที่ล้วนสำนึกในความรับผิดชอบที่มีต่อประเทศชาติประชาชนในอันที่
จะจัดตั้งรัฐบาลที่มีเสถียรภาพพอสมควรเพื่อดำเนินการปกครองประเทศชาติตามคัลลองของ
ระบอบประชาธิปไตยต่อไป
ดังนั้น จึงขอให้เข้าใจด้วยว่าการจัดตั้งรัฐบาลผสมขึ้นในครั้งนี้เป็นการร่วมกันในทางการเมือง
ในเชิงนโยบายที่ใช้แก้ปัญหาต่าง ๆ ของประเทศชาติอันเป็นที่รักของเราในขณะนี้เป็นสำคัญ แกนกลาง
ที่ผนึกกำลังของพรรคการเมืองต่าง ๆ ซึ่งร่วมกันเป็นรัฐบาลครั้งนี้นั้นหาใช่พรรคหนึ่งพรรคใด หรือ
บุคคลหนึ่งบุคคลใดไม่แท้ที่จริงแกนกลางคือนโยบายและแผนปฏิบัติการต่าง ๆ ซึ่งรัฐบาลนี้จะได้แถลง
ให้สภาผู้แทนราษฎรทราบ เพื่อขอความไว้วางใจในวันนี้
รัฐบาลผสมชุดนี้ ตระหนักดีถึงปัญหาสำคัญที่ชาติบ้านเมืองของเรากำลังเผชิญอยู่ ขณะนี้
สังคมไทยกำลังอยู่ท่ามกลางความตึงเครียด เรากำลังเผชิญกับความแตกแยกซึ่งกำลังเริ่มปรากฏขึ้น
เราเริ่มเห็นความเป็น "เรา" เป็น "เขา" มากขึ้นทุกที ทุกวันนี้เราทุกคนก็ได้ยินเสียงที่กล่าวขวัญถึง
ความแตกต่างและการต่อสู้ระหว่างชนชั้น ตลอดจนการล้มล้างรุนแรงต่าง ๆ เสียงเรียกร้องเหล่านี้
หาใช่เป็นเรื่องเหลวไหลเสียทีเดียวไม่ เราต้องยอมรับความเป็นจริงว่า ในบ้านเมืองของเราขณะนี้
มีความไม่เป็นธรรมมากมายหลายประการ เราจะต้องยอมรับว่าไม่เป็นธรรมที่ปรากฏอยู่ทุกวันนี้
เป็นความบกพร่องและผิดพลาดของการบริหารราชการแผ่นดินในอดีต ซึ่งเราจะต้องรีบแก้ไข
ขจัดปัดเป่าเสียแต่บัดนี้ เพื่อจะได้ไม่สายจนเกินไปเราพึงต้องใคร่ครวญให้ดีว่า บ้านเมืองไทยของเรา
จำเป็นต้องถูกปล่อยให้ผ่านเข้าสู่กระแสของความรุนแรง ประหัตประหารกัน ดังที่บางฝ่ายกำลังเรียกร้อง
เสี้ยมสอนกันอยู่ด้วยหรือ ทำไมเราจึงไม่พยายามที่จะขจัดความไม่เป็นธรรมต่าง ๆ ด้วยสันติวิธี
ซึ่งเป็นอุปนิสัยดั้งเดิมของคนไทยซึ่งรักความสงบ และรู้จักสมานประโยชน์เพื่อความสามัคคี
ของบ้านเมืองตลอดมารัฐบาลผสมชุดนี้มีความเชื่อว่า กระบวนการสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้า
ทางเศรษฐกิจและสังคมที่กอปร์ด้วยความเป็นธรรมนั้น ไม่จำเป็นต้องดำเนินบนวิถีทางแห่งการล้มล้าง
ทำลายชนชั้นใด ๆก็มีทางสู่ความสำเร็จได้อย่างแน่นอน
เป้าหมายทางเศรษฐกิจ
รัฐบาลนี้มีความเชื่อมั่นว่า มนุษย์เราดำรงอยู่มิใช่เพื่อรับใช้รัฐ แต่รัฐต่างหากที่ดำรงอยู่
เพื่อรับใช้ประชาชน ฉะนั้น รัฐบาลนี้จึงถือว่าเป้าหมายทางเศรษฐกิจเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของ
นโยบายของรัฐบาล เพราะเรื่องปากเรื่องท้องของประชาชนนั้นย่อมเป็นเรื่องที่รัฐบาลนี้จะให้
ความเป็นห่วงใยมากที่สุด
กล่าวโดยย่อ เป้าหมายทางเศรษฐกิจตามนโยบายของรัฐบาลนี้ สรุปได้เป็น ๓ ประการ
คือ
๑. ต่อต้านและขจัดความยากจน โดยมุ่งให้ประชาชนที่บรรลุนิติภาวะทุกคนที่ทำงาน
มีรายได้อย่างน้อยไม่ต่ำกว่าเดือนละ ๑,๐๐๐ บาท ทั่วทุกคน
๒. สร้างงานให้ประชาชนคนไทยในประเทศได้ทำทั่วทุกคน ภายในเวลาไม่เกิน ๕ ปี และ
๓. ต่อต้านภาวะเงินเฟ้อ
๑. ต่อต้านความยากจน
การต่อต้านความยากจน เป็นงานที่ต้องดำเนินระยะยาวและอันที่จริงการพัฒนทางเศรษฐกิจ
ก็คือ การขจัดความยากจน หรือในกรณีที่ความยากจนได้หมดสิ้นไปแล้วการพัฒนานั้นก็เป็นการยกมาตราฐาน
การครองชีพของประชาชนให้สูงขึ้นและด้วยความเป็นธรรม สำหรับประเทศเราเท่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้
ปัญหาความยากจนจะจางหายไปแน่หากประชาชนที่บรรลุนิติภาวะทุกคนที่ทำงานมีรายได้อย่างต่ำไม่น้อยกว่า
คนละ ๑,๐๐๐ บาทต่อเดือน ดังนั้นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายประการนี้ รัฐบาลนี้ได้กำหนดแผนปฏิบัติการไว้ดังนี้
แผนปฏิบัติการสำหรับเขตชนบท
ก. บรรเทาความทุกข์ยากเฉพาะหน้า
ชาวไร่ชาวนาของเราส่วนใหญ่กำลังทุกข์ยากด้วยเหตุที่การเพาะปลูกได้ผลน้อย
เพราะ ขาดน้ำบ้าง เพราะน้ำท่วมบ้างศัตรูพืชก็รังควาญมาก หนี้สินด้วยแล้ว ส่วนมากก็มีท่วมท้น
ล้นพ้นตัวทีเดียวแผนปฏิบัติการรีบด่วนของรัฐบาลชุดนี้ จึงอยู่ที่ช่วยให้มีรายได้เพิ่มขึ้นทันทีเพื่อ
จะได้บรรเทาความทุกข์ยากของชาวไร่ชาวนาลงอย่างฉับพลัน กล่าวคือจะจัดสรรเงินงบประมาณ
มอบหมายให้สภาตำบลใช้จ้างแรงงานในท้องถิ่นขุดคูคลอง ทำฝายเก็บน้ำ เป็นต้นทั้งนี้ โดยกำหนด
หมายไว้ว่าบริเวณซึ่งกำลังเดือดร้อนเพราะถูกภัยธรรมชาติ เช่นในเขตอีสาน ภาคใต้ และที่ราบภาคกลาง
จะเป็นเขตที่ได้รับการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์เป็นพิเศษปริมาณเงินที่รัฐบาลจะจัดสรรเพื่อการนี้ จะไม่
น้อยกว่า ๒.๕ พันล้านบาท และจะจัดสรรให้ทันทีเพื่อให้ทันใช้ในช่วงเวลาก่อนที่จะถึงเวลาทำไร่ทำนา
ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ชาวไร่ชาวนากำลังว่างงานการจัดสรรเงินงบประมาณเพื่อการนี้จะกระทำโดยส่วนหนึ่ง
จะตัดรายการรายจ่ายที่เห็นว่าไม่รีบด่วนพอจะรอไว้ก่อนได้หรือที่มีความจำเป็นน้อยออกจากงบประมาณ
รายจ่ายปี ๒๕๑๘
ข. วางแผนบรรเทาทุกข์ยากช่วงต่อไป
ในระยะ ๖ เดือนแรกจะมีการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจของชาติขึ้นใหม่แผนพัฒนา
ดังกล่าวนี้ จะยึดถือเอาความต้องการของประชาชาชนแต่ละตำบลทั่วประเทศซึ่งทางรัฐบาลจะได้
รับทราบจากทุกตำบลเมื่อสภาตำบลได้ใช้เงินก้อนแรกที่รัฐบาลจัดให้ตามความมุ่งหมายที่ระบุไว้
ในข้อ ก.ไปแล้ว ทั้งนี้เพื่อสร้างความหวังใหม่ที่จะได้รับการปรับปรุงภาวะทำกินและภาวะความ
เป็นอยู่อย่างแน่นอนให้เกิดขึ้นในใจประชาชนอย่างถ้วนหน้า
รัฐบาลนี้มีความเชื่อมั่นว่าการวางแผนที่มาจากระดับท้องถิ่นจะช่วยแก้ปัญหา
ความยากจนและลดอัตราอาชญากรรมให้บรรเทาเบาบางลงได้อย่างแน่นอนเมื่อได้ดำเนิน
การวางแผนในทำนองนี้แล้วแต่ละตำบลจะได้รับการจัดสรรงบประมาณเป็นส่วนสัดครบเป็น
รายตำบลซึ่งจะได้ใช้เป็นปัจจัยในการสร้างงานให้แก่ประชาชนภายใต้ตำบลได้เพิ่มขึ้นอนึ่ง
การวางแผนระดับท้องถิ่นจะมีมาตรการกำกับให้กลมกลืนกับแผนรวมของประเทศ เช่น
การชลประทานและเพื่อการขนส่งทางน้ำตามแผนรวมของภาคและประเทศ เป็นต้น
ค. ผันเงินทุนจากสถาบันการเงินสู่เกษตร
ระหว่างฤดูกาลเพาะปลูกปี ๒๕๑๘/๑๙ รัฐบาลนี้จะใช้มาตรการผันเงินทุน
จากสถาบันการเงินทุกประเภทโดยเฉพาะธนาคารพาณิชย์เข้าสู่มือเกษตรกรในชนบท
เพิ่มขึ้นจากเดิมจำนวนไม่น้อยกว่า ๔ พันล้านบาทและจะกระทำต่อเนื่องกันทุกปีเพื่อให้
เงินทุนไหลสู่มือเกษตรกรครบถ้วนตามความจำเป็นในการผลิต ซึ่งจะต้องขยายตัวขึ้นเรื่อย
ทั้งนี้โดยมุ่งหมายที่จะให้เงินทุนจากสถาบันการเงินไหลเข้าแทนที่เงินทุนเอกชนซึ่งดอกเบี้ย
แพงมากจนครบ
อนึ่งเพื่อกันมิให้เงินทุนในภาคเอกชนถูกใช้ไปในทางฟุ่มเฟือยหรือเป็นผลเสีย
ทางเศรษฐกิจอย่างอิสระ ปราศจากขอบเขตรัฐบาลจะดำเนินการด้วยการขอความร่วมมือ
จากสถาบันการเงินและจากเอกชนที่มั่งคั่งทั้งหลายรวมทั้งจะใช้มาตรการต่าง ๆ ที่มีอยู่และ
ที่จะสร้างขึ้นใหม่ระงับการใช้ทุนของประเทศที่มีอยู่จำกัดมากไปในด้านที่เกิดประโยชน์
ทางเศรษฐกิจส่วนรวมน้อยหรือเป็นไปในทางทำลายทุนให้สูญเสียไปอย่างน่าเสียดายด้วย
มาตรการดังกล่าวนี้จะมีผลยับยั้งการลงทุนในกิจการที่ส่งเสริมความฟุ่มเฟือยในเมืองไว้
และจะผลักดันให้ทุนไหลสู่ชนบทมากขึ้น
ง. เข้าประกันราคาผลิตผลของเกษตร
เพื่อให้เกษตรกรของชาติมีความมั่นใจในรายได้ที่จะได้รับจากการผลิตของตน
ว่าจะได้ในจำนวนต่ำสุดเท่าใดก่อนที่จะถึงฤดูกาลเพาะปลูกปี ๒๕๑๘ - ๒๕๑๙ รัฐบาลนี้จะ
ดำเนินการประกันราคาข้าวเปลือก ข้าวโพด อ้อย มันสำปะหลัง ถั่วเหลือง ปอ และพืชอื่น ๆ ที่
เกษตรกรปลูกทำกันอย่างแพร่หลายจนเป็นพืชหลักที่ทำรายได้ให้กับเกษตรกรจำนวนมาก
รวมทั้งจะขจัดอุปสรรคที่ขัดขวางมิให้ราคาพืชผลของเกษตรกรเคลื่อนไหวตามราคาตลาดโลก
ให้หมดสิ้นไปด้วยสำหรับชาวไทยที่มีอาชีพในการทำยางพารานั้นรัฐบาลจะพิจารณาช่วยเหลือ
เป็นกรณีพิเศษทั้งในด้านการส่งเสริมการผลิตและการตลาดเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมอย่างแท้จริง
จ. ส่งเสริมการประมงและเลี้ยงสัตว์
รัฐบาลนี้เห็นว่าอาชีพหลักของชาวไทยทุกประเภทจะต้องได้รับการส่งเสริมสนับสนุน
อย่างทั่วถึงกัน ทั้งในด้านการผลิตและตรวจตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาชีพการประมงและเลี้ยงสัตว์
ซึ่งเป็นอาชีพหลักซึ่งทำรายได้ให้แก่ประเทศสูง และมีประชากรประกอบอาชีพเหล่านี้อยู่เป็นจำนวน
มากรัฐบาลนี้จะเข้าอุ้มชูและสนับสนุนด้วยการขจัดอุปสรรคที่ขัดขวางมิให้งานอาชีพนั้นมีรายได้สูง
พอจะยึดถือเป็นงานสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัวได้อย่างแท้จริง
แผนปฏิบัติการสำหรับในเมือง
การขจัดความยากจนในเขตเมือง หรือนครใหญ่ ทุกภาคของประเทศนั้น
รัฐบาลจะดำเนินการดังต่อไปนี้
ก. จะอาศัยโครงสร้างอาคารสงเคราะห์ จำนวน ๒๐,๐๐๐ หน่วยต่อปีซึ่งกำหนดหมายไว้
เพื่อช่วยเหลือประชาชนผู้มีรายได้น้อยและยังขาดที่อยู่อาศัยให้เกิดผลในทางสร้างงานให้ประชาชน
ทำเพิ่มขึ้นด้วย
ข. จะดำเนินการให้ประชาชนผู้บรรลุนิติภาวะแล้ว และมีรายได้ต่ำกว่า ๑,๐๐๐ บาท
ต่อเดือน ได้รับการสงเคราะห์ในประการดังต่อไปนี้อย่างครบถ้วน โดยจะดำเนินการให้สำเร็จ
หลังจากเข้าบริหารงานแล้ว ๖ เดือน คือ
(๑) ได้รับสิทธิโดยสารรถประจำทางทุกสาย โดยไม่ต้องเสียค่าโดยสารเพื่อให้การสงเคราะห์ประการนี้สำเร็จตามเป้าหมาย จะดำเนินการแก้ไขระบบสัมปทานเดินรถโดยสารเสียใหม่ และจะกำหนดให้ผู้ได้รับสัมปทาน เดินรถโดยสารจัดรถเฉพาะเพื่อให้นักเรียนซึ่งเป็นบุตรของประชาชนซึ่งมีรายได้ต่ำตามเกณฑ์ดังกล่าว โดยสารโดยไม่ต้องเสียค่าโดยสารด้วยเช่นกัน
(๒) ได้รับสิทธิโดยไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน ค่าหนังสือ และค่าธรรมเนียมอื่น ๆ
ที่เกี่ยวกับการศึกษาภาคบังคับสำหรับบุตรทุกคน
(๓) ได้รับบริการด้านการรักษา ความเจ็บป่วยโดยไม่ต้องเสียค่ารักษา
๒.สร้างงานให้ประชาชนคนไทยในประเทศได้ทำทั่วทุกคน
รัฐบาลนี้เห็นว่าประชาชนจะมีรายได้ดีตามที่กำหนดหมายไว้ก็เมื่อประชาชนมีงานทำ
อย่างบริบูรณ์ และเมื่อประชาชนมีรายได้ดีแล้ว ประชาชนก็ย่อมมีกำลังซื้อสูงและอยู่ในวิสัยที่จะ
ใช้จ่ายได้มากขึ้น กำลังซื้อของประชาชนหากสูงมากแล้ว บรรยากาศในการลงทุนทางธุรกิจทุกแขนง
ก็ย่อมจะดี เป็นทางให้งานมีเพิ่มให้ประชาชนทำมากยิ่งขึ้น ฉะนั้นรัฐบาลนี้จึงมีเป้าหมายที่จะสร้างงาน
ให้คนไทยทั้งชาติมีทำอย่างบริบูรณ์ โดยกำหนดหมายไว้ว่าจะให้บรรลุเป้าดังกล่าวได้ภายในเวลาห้าปี
ซึ่งแผนปฏิบัติการจะเป็นดังต่อไปนี้
ก. จะจัดตั้งหน่วยงานส่งเสริมสินค้าออกแห่งชาติขึ้นเพื่อทำหน้าที่ประสานงาน
ทุกด้านที่ เกี่ยวกับการส่งเสริมสินค้าออกรวมทั้งติดตามขจัดอุปสรรคและข้อเสียเปรียบในเชิง
การแข่งขันในตลาดต่างประเทศเพื่อให้โอกาสในการส่งสินค้าที่ผลิตได้ในประเทศทุกชนิด
ออกไปขายในต่างประเทศมีมากขึ้นซึ่งย่อมจะมีผลในด้านการสร้างงานให้ประชาชนได้ทำ
ถ้วนหน้ากันหน่วยงานนี้ในชั้นต้นจะมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บริหารและรับผิดชอบโดยตรงเพื่อ
ให้การประสานงานด้านเศรษฐกิจทุกแขนงเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูง เป็นผลให้มีการ
ขยายการลงทุนด้านการผลิตทั้งที่เป็นทุนในประเทศและจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นรวดเร็ว
ทันกับความจำเป็นที่จะต้องได้งานทำของประชาชนซึ่งเพิ่มขึ้นทุกปี หน่วยงานส่งเสริมสินค้า
ออกแห่งชาตินี้จะจัดตั้งขึ้นภายในเวลาหนึ่งเดือนหลังจากรัฐบาลชุดนี้ได้รับความไว้วางใจให้
เข้าบริหารงานอนึ่ง จุดหมายอีกประการหนึ่งของการดำเนินงานส่งเสริมสินค้าออกแห่งชาติ
ก็คือการลดความเสียเปรียบทางดุลการค้าลง
ข. โครงการจัดสร้างอาคารสงเคราะห์ ๒๐,๐๐๐ หน่วยนั้นจะทำให้คนมีงานทำ
โดยตรงจำนวนถึง ๑๐๐,๐๐๐ คน และมีงานทางอ้อมด้านต่าง ๆ อีก ๒๕๐,๐๐๐ คน
ค. จะดำเนินการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างจริงจังเพราะการท่องเที่ยว
เป็นอุตสาหกรรมที่สร้างงานให้คนทำได้มากอย่างหลายแขนง ทั้งนี้ โดยจะยกฐานะและ
ขยายบทบาทตลอดจนความรับผิดชอบขององค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เทียบเท่าทบวง
และจะกำหนดหน้าที่ให้เน้นหนักไปในทางสร้างงานอาชีพของประชาชนในชนบทโดยมอบหมาย
ง. ให้ดำเนินการปรับปรุงบริการและพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยวในต่างจังหวัด
เป้าหมายของการส่งเสริมการท่องเที่ยวตามแนวทางดังกล่าวไม่เพียงแต่จะขยายงานอาชีพ
ของประชาชนเท่านั้นแต่จะมุ่งไปที่การแสวงเงินตราต่างประเทศเพื่อรักษาดุลการชำระเงินไว้
มิให้ต้องเสียเปรียบด้วยจะส่งเสริมให้คนต่างจังหวัดมีงานทำอย่างกว้างขวางโดยจะพยายาม
ให้มีการลงทุนในต่างจังหวัดมากขึ้นทั้งนี้จะกระทำได้โดยการยกเว้นภาษีบางอย่างเป็นพิเศษ
แก่ธุรกิจที่จัดตั้งและดำเนินการในต่างจังหวัด
จ. เพื่อช่วยเสริมให้การลงทุนทางธุรกิจแขนงต่าง ๆ ขยายตัวได้ง่ายขึ้น
อันจะเป็นผลให้ประชาชนมีงานทำเพิ่มขึ้นรัฐบาลจะมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยดำเนิน
มาตรการให้ปริมาณเงินในตลาดขยายตัวดี มีผลทางลดอัตราดอกเบี้ยลงจะส่งเสริมการลงทุน
จากต่างประเทศเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนที่จะสร้างงานให้คนทำได้จำนวนมาก อย่างไรก็ตาม
รัฐบาลนี้จะได้กำหนดเงื่อนไขการส่งเสริมให้เป็นไปในทางที่จะคุ้มครองผลประโยชน์ของประชาชน
คนไทย และของประเทศไว้ให้ได้มากที่สุดอีกทั้งเป็นไปในทางที่จะจูงใจฝ่ายลงทุนได้ดีด้วย
นอกจากนี้ยังจะกำหนดเงื่อนไขที่มีผลในทางป้องกันพิษภัยที่จะเกิดกับทรัพยากรธรรมชาติ
และสภาพแวดล้อมไว้อย่างรอบคอบอีกด้วย
๓. ต่อต้านภาวะเงินเฟ้อ
รัฐบาลนี้ไม่มีเป้าหมายถึงขั้นที่จะขจัดภาวะเงินเฟ้อให้หมดสิ้นไปเพราะความจริงมีอยู่ว่า
ภาวะเงินเฟ้อนั้นยังไม่อาจจะหยุดยั้งไว้ได้ แต่พอจะผ่อนคลายให้เบาบางและช้าลงไปได้แน่นอน
อย่างไรก็ตามการให้การสงเคราะห์แก่ประชาชนที่มีรายได้ประจำให้เพียงพอเป็นทางที่จะบรรเทา
ความเดือดร้อนอันเกิดจากภาวะเงินเฟ้อที่ตกหนักอยู่กับประชาชนกลุ่มที่มีรายได้ประจำและต่ำ
ให้เบาบางลงได้ดีและเร็วที่สุดมาตรการทางการคลังก็จำเป็นต้องใช้เข้าช่วยบรรเทาความเดือนร้อน
อันเกิดจากภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรงด้วย ซึ่งรัฐบาลจะดำเนินการทันทีเมื่อเห็นว่าจำเป็น
อนึ่ง ระบบการค้าและการผลิตที่มีลักษณะเป็นการผูกขาดก็เป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้ค่า
ครองชีพของประชาชนสูงขึ้น กิจการที่มีลักษณะเป็นการผูกขาดมีทั้งที่เป็นของรัฐและเอกชน ฉะนั้น
เพื่อสกัดกั้นมิให้ค่าครองชีพของประชาชนสูงขึ้นเพราะการผูกขาดรัฐบาลนี้จะจัดตั้งหน่วยงานที่มีหน้าที่
ติดตามพิจารณาและตรวจสอบการดำเนินงานทุกประเภทที่มีลักษณะเป็นการผูกขาดขึ้นในสำนัก
ทำเนียบนายกรัฐมนตรี โดยนายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้รับผิดชอบควบคุมและสั่งการให้มีการปรับปรุงแก้ไข
เพื่อขจัดการดำเนินการที่เอารัดเอาเปรียบประชาชน โดยกิจการกลุ่มนี้อย่างทันท่วงที
ป้าหมายทางสังคม
เป้าหมายทางสังคมของรัฐบาลนี้ มีดังต่อไปนี้
๑. ลดช่องว่างระหว่างคนมีกับคนจนและจัดสวัสดิการสังคมให้ดีขึ้น
๒. จัดระบบการศึกษาให้เป็นธรรมขึ้น
๓. เปลี่ยนค่านิยมทางสังคมของสังคมไทยเสียใหม่
๔. อำนวยความสงบสุขภายในบ้านเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ
๑. ลดช่องว่างระหว่างคนมีกับคนจน
รัฐบาลนี้จะดำเนินการลดช่องว่างระหว่างคนมีกับคนจน ด้วยการปรับปรุงวิธีจัดเก็บระบบภาษีทางตรง เพื่อให้ภาษีทางตรงเป็นรายได้ส่วนสำคัญของรัฐ และในขณะเดียวกัน จะได้ผ่อนคลายภาระภาษีทางอ้อมลง ทั้งนี้โดยตั้งเป้าหมายไว้ว่าแต่ละปีจะให้ภาษีทางตรงมีอัตราเป็นส่วนร้อยของภาษีอากรทั้งหมดของประเทศเพิ่มขึ้นปีละไม่น้อยกว่าร้อยละ ๑๐ และเพื่อสกัดกั้นการรั่วไหลของภาษีทางตรงให้สำเร็จผลตามความมุ่งหมายได้เร็วขั้นฃึ้นนอกจาdจะปรับปรุงวิธีการจัดเก็บโดยใช้เครื่องจักรสมองกลเข้าช่วยแล้วจะใช้การลงโทษทางอาญาอย่าง หนักเข้าช่วยอีกแรงด้วย
รัฐบาลนี้ให้สัญญาว่าในช่วง ๒ ปีแรก รัฐบาลจะไม่เพิ่มอัตราภาษีเงินได้โดยเด็ดขาด
แต่กลับจะช่วยผ่อนคลายภาระภาษีให้แก่ผู้มีรายได้น้อย ด้วยการเพิ่มอัตราการลดหย่อนให้อีก
อนึ่ง เพื่อช่วยบรรเทาความเดือนร้อนของข้าราชการพลเรือน ทหาร ตำรวจและลูกจ้าง
ชั้นผู้น้อยทีกำลังได้รับอยู่เพราะค่าครองชีพสูงรัฐบาลจะดำเนินการให้สวัสดิการแก่ข้าราชการเหล่านี้
อย่างจริงจังในด้านที่อยู่อาศัยเป็นพิเศษ
รัฐบาลนี้จะจัดตั้งกองทุนสวัสดิการคนงานขึ้น โดยกำหนดให้ทั้งฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างหรือ
คนงาน จ่ายเงินสมทบให้แก่กองทุนนี้ในอัตราที่เป็นธรรมด้วยกันทั้ง ๒ ฝ่าย กองทุนนี้ จะจ่ายเงิน
สงเคราะห์ให้แก่ลูกจ้างหรือคนงานในขณะที่ว่างงานหรือเมื่อตาย และคนงานหรือลูกจ้างมีสิทธิที่จะ
กู้ยืมเงินจากกองทุนนี้เพื่อใช้ในกิจการที่จำเป็นได้ เช่นกู้ไปซื้อที่อยู่อาศัย เป็นต้น
เมื่อประชาชนมีโอกาสที่จะได้งานทำทั่วหน้าแล้ว ค่าจ้างแรงงานก็จะต้องสูงขึ้นอัตรา
เงินเดือนก็จะต้องได้รับการปรับปรุงขึ้นตลอดไป
เมื่อมีการสนับสนุนการพัฒนาชนบทอย่างจริงจัง ดังที่ได้แถลงไว้ในเป้าหมาย
ทางเศรษฐกิจแล้วชาวชนบทก็จะมีมาตรฐานการครองชีพสูงขึ้นด้วย
๒. สร้างระบบการศึกษาให้เป็นธรรมขึ้น
การสร้างระบบการศึกษาให้เป็นธรรมขึ้นโดยดำเนินการให้การศึกษามีพื้นฐานอยู่ที่
การให้ความเสมอภาคในด้านการศึกษาและให้ความเสมอภาคในด้านโอกาสที่จะศึกษาในทุกท้องถิ่น
อย่างเท่าเทียมกัน โดยคำนึงถึงความสามารถของแต่ละบุคคลเป็นสำคัญรัฐบาลมีแผนปฏิบัติการเพื่อ
บรรลุเป้าหมายประการนี้ไว้ ดังนี้
(๑) ขยายการศึกษาภาคบังคับ เป็นการให้เปล่าแก่ประชาชนทุกคนอย่างทั่วถึงทั่วประเทศ
ภายในระยะเวลาไม่เกิน ๔ ปี โดยให้การศึกษาภาคบังคับมีคุณภาพทัดเทียมกันทั่วทุกท้องถิ่น
(๒) ดำเนินมาตรการประกันความเสมอภาคแห่งโอกาสสำหรับการศึกษาที่มิใช่ภาคบังคับ
ให้ผู้ที่สำเร็จการศึกษาแต่ละระดับได้มีโอกาสศึกษาสูงขึ้นตามความต้องการของแต่ละบุคคล โดยการ
จัดสถานศึกษาชั้นมัธยมและอุดมศึกษาไว้ให้เพียงพอ และจัดหาทุนการศึกษาไว้สำหรับนักเรียน
ที่ขาดแคลนแต่เรียนดี
(๓) กระจายบริการด้านการศึกษาไปยังท้องที่ในเขตชนบทโดยทั่วถึงและให้เป็นระบบ
การศึกษาที่สำเร็จประโยชน์ในตัวสามารถเอื้ออำนวยให้ผู้ที่จบการศึกษาในแต่ละระดับมีวิชาชีพ
พอที่จะนำไปใช้ทำมาหากินเลี้ยงตัวได้ตามอัตภาพ
(๔) ให้อำนาจการบริหารการศึกษาแก่ท้องถิ่นอย่างเต็มที่ให้จัดรูปการบริหารการศึกษา
ของท้องถิ่นเสียใหม่ มิให้มีความซ้ำซ้อนกัน และให้หน่วยงานที่รับผิดชอบทางการศึกษาในแต่ละ
ท้องถิ่นสามารถกำหนดเนื้อหาวิชาและวิธีการเรียนรู้บางประการที่จำเป็นให้สอดคล้องกับความ
ต้องการด้านเศรษฐกิจและสังคมของแต่ละท้องถิ่น
(๕) จัดการศึกษานอกโรงเรียน อันได้แก่การศึกษาผู้ใหญ่ในรูปแบบต่าง ๆ โดยเน้น
วิชาที่สอนให้หนักไปในด้านการผลิต การจำหน่าย การจัดการไร่นารวมทั้งการสหกรณ์และ
การตลาดด้วย
(๖) จัดรายการโทรทัศน์และวิทยุเพื่อการศึกษา ความยาวรวมกันวันละไม่น้อยกว่า
๒ ชั่วโมงออกอากาศสัปดาห์ละ ๖ วัน ในหัวข้อวิชาต่าง ๆ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการเกษตร
และวิชาชีพอื่น ๆ ตลอดจนอบรมด้านธรรมจริยาและภูมิปัญญา ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตาม
แนวความคิดเรื่อง "มหาวิทยาลัยเปิด" ทั่วประเทศ
๓. การเปลี่ยนค่านิยมทางสังคมของสังคมไทย
ค่านิยมทางสังคมบางประการที่ยังเป็นตัวถ่วงความเจริญของบ้านเมืองอยู่ในระยะนี้
จะต้องมีการชี้นำให้เปลี่ยนไป และรัฐบาลนี้ได้กำหนดวิธีการไว้ดังนี้
ก. ใช้สื่อสารมวลชนชี้แจงให้ประชาชนเข้าใจว่า สิทธิอำนาจต่าง ๆ นั้นมาจากประชาชน
ไม่ใช่มาจากผู้ทรงอำนาจที่ไหน
ข. คนไทยจะต้องไม่ยอมรับนับถืออำนาจอันไม่ชอบธรรม และได้มาด้วยการทุจริต
เป็นอันขาด
ค. ชักนำให้เกิดความเข้าใจและความเลื่อมใสในศาสนาในทางที่ชอบด้วยเหตุผล
และขจัดความเชื่อถืออันงมงายต่าง ๆ ให้หมดไป
ง. สร้างอุปนิสัยประหยัดให้เป็นคติธรรม แทนความฟุ่มเฟือยฟุ้งเฟ้อที่มีอยู่ทั่วไป
๔. อำนวยความสงบสุขภายในบ้านเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ
รัฐบาลนี้เชื่อมั่นว่า บ้านเมืองที่สงบสุขจะต้องมีระเบียบวินัยและมีกฎหมายที่ใช้บังคับ
ได้อย่างศักดิ์สิทธิ์และยุติธรรมเสมอหน้ากันทุกคน ดังนั้น รัฐบาลนี้จะดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อ
อำนวยความสงบสุขให้เกิดขึ้นในบ้านเมืองของเรา เพื่อให้สุจริตชนทั้งหลายได้รับความปลอดภัย
และอบอุ่นใจทั้งในการทำมาหากินและการดำรงชีวิตของตน จะใช้มาตรการเด็ดขาดในการ
ปราบปรามโจรผู้ร้ายและผู้ประพฤติตนเป็นภัยต่อสังคม โดยจะธำรงไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์แห่ง
กฎหมายอย่างแท้จริงในการอำนวยความสงบสุขภายในดังกล่าวนี้ จำเป็นต้องอาศัยกระบวนการ
ยุติธรรมที่มีประสิทธิภาพรัฐบาลจึงได้กำหนดเป็นเป้าหมายเร่งด่วนที่จะพิจารณาเพิ่มอัตรากำลัง
เจ้าหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยให้เพียงพอแก่ความจำเป็น และในขณะเดียวกัน ก็จะจัดตั้ง
ศาลยุติธรรมในชนบทเพิ่มขึ้นในรูปของศาลยุติธรรมประจำถิ่นโดยเร็วที่สุด อนึ่งในการรักษา
ความสงบสุขของบ้านเมืองนั้นหากรัฐบาลมีความจำเป็นต้องใช้มาตรการรุนแรงอย่างใดไปบ้าง
ก็ตามรัฐบาลจะกระทำเพื่อส่วนรวมเท่านั้น จะไม่กระทำไปเพื่อกลุ่มอิทธิพลใดอิทธิพลหนึ่ง
อย่างเด็ดขาด
เป้าหมายทางการบริหาร
รัฐบาลนี้ได้พิจารณาเห็นว่า การปรับปรุงภาวะการทำกินภาวะความเป็นอยู่ของประชาชน
ในชนบท ซึ่งเป็นปัญหาเร่งด่วนของชาตินั้นจะสำเร็จมิได้เลยถ้ายังมิได้แก้ไขและปรับปรุงกลไก
การบริหารในระดับต่าง ๆ เสียใหม่ ฉะนั้น ภารกิจรีบด่วนที่รัฐบาลนี้จะดำเนินการไปพร้อม ๆ
กับการแก้ปัญหาต่าง ๆ ของชาติดังกล่าวแล้ว ก็คือการแก้ไขและปรับปรุงการบริหารท้องถิ่น
หัวใจของนโยบายการบริหารของรัฐบาลนี้ก็คือการบริหารประเทศที่จะอำนวยให้ประชาชน
มีภาวะในทางเศรษฐกิจ และความเป็นอยู่ดีขึ้นโดยเร็วดังนั้นการปฏิรูปการบริหารของรัฐ
จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้รัฐบาลนี้จึงได้กำหนดแผนเร่งด่วนที่จะดำเนินการปรับปรุง
กลไกการบริหารในขั้นต้นไว้ ๒ ประการ คือ
๑. กระจายอำนาจการบริหารไปสู่ท้องถิ่นโดยให้จังหวัดเป็นศูนย์กลางในการบริหาร
อย่างแท้จริง
๒. ส่งเสริมการบริหารท้องถิ่นโดยสภาตำบล
๑. รัฐบาลนี้พิจารณาให้เห็นว่าในอดีตนั้นการบริหารของเราเป็นไปในลักษณะ
รวบอำนาจไว้กับส่วนกลางหรือกับกระทรวงทบวงกรมรัฐบาลนี้เห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการ
กระจายความเจริญไปสู่ชนบท และไม่เป็นผลดีต่อประชาขนรัฐบาลนี้จึงได้กำหนดขั้นตอน
ในการแก้ไขปรับปรุงการบริหารเสียใหม่ ดังนี้
ก. กระจายอำนาจการบริหารงานตามแผนงานหรือนโยบายทุกประการ
ที่จะต้องดำเนินในท้องถิ่นจากส่วนกลางของทุกกระทรวงทบวงกรมไปยังจังหวัดและให้
ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นศูนย์กลางรับผิดชอบดำเนินการให้บังเกิดผลงานที่บังเกิดไว้ในแผน
และนโยบายนั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นงานของกระทรวงทบวงกรมใดก็ตามโดยตลอดทั้งนี้รัฐบาล
จะได้พิจารณาแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย กฎกระทรวงหรือระเบียบ ตลอดจนคำสั่งต่าง ๆ
ที่เป็นอุปสรรคต่อการกระจายอำนาจให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาไม่เกิน ๖ เดือน
ข. จะดำเนินการกระจายอำนาจการปกครองไปสู่ประชาชนกล่าวคือ
จะเสนอกฎหมายปรับปรุงท้องถิ่นให้สอดคล้องกับบทบัญญัติรัฐธรรมนูญเพื่อเปิดโอกาส
ให้การปกครองท้องถิ่นในรูปต่าง ๆ มีการบริหารตนเองโดยอิสระอย่างแท้จริงเพื่อส่งเสริม
ระบอบประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นทุกจุด
๒. รัฐบาลนี้ได้พิจารณาเห็นว่า ประชาชนของชาติจำนวนไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๘๕
อาศัยอยู่ในชนบท และทำมาหากินเลี้ยงชีพทางเกษตรกรรม ซึ่งโดยทั่วไปแล้วมีรายได้ต่ำมาก
การที่จะยกฐานะและรายได้ของคนกลุ่มนี้ให้สูงขึ้นได้ รัฐบาลจะต้องมีมาตรการในการดำเนินงาน
ไว้อย่างสมบูรณ์ และรัฐบาลนี้เชื่อว่าแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่จะบรรลุผลตาม
เป้าหมายได้นั้น จะต้องเป็นแผนที่กำหนดขึ้นจากท้องถิ่นและโดยท้องถิ่นเองอีกนัยหนึ่งก็คือ
การกำหนดแผนพัฒนาจะต้องเริ่มจากตำบลขึ้นมาอำเภอและจังหวัด แล้วประกอบเข้าเป็น
แผนรวมของชาติ มิใช่เป็นแผนที่กำหนดไปจากส่วนกลาง เช่น ในปัจจุบันนี้ด้วยเหตุและผล
ดังกล่าวนี้เอง รัฐบาลนี้จึงได้กำหนดนโยบายส่งเสริมการบริหารท้องถิ่นโดยสภาตำบลไว้เป็น
นโยบายเร่งด่วนประการหนึ่งกล่าวคือรัฐบาลนี้จะดำเนินการให้สภาตำบลเป็นหน่วยมูลฐาน
ทางประชาธิปไตยและทางเศรษฐกิจ โดยจะมอบอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการ
ปกครองตนเองอย่างเต็มที่ เช่น
ก. วางแผนพัฒนาตำบลทั้งระยะสั้นและระยะยาวพร้อมทั้งจัดทำงบประมาณ
และติดตามผลการปฏิบัติงาน
ข. อำนาจในการเก็บภาษีที่ดินและภาษีบำรุงท้องที่
ค. บริหารการสาธารณสุขและสถานีอนามัย
ง. ควบคุมและดำเนินการสำรวจและปักหลักเขต เพื่อออกเอกสารสิทธิในที่ดิน
ของเกษตรกรเพื่อให้การออกเอกสารสิทธิในที่ดินกระทำได้ครบถ้วนภายใน ๔ ปีตำบลใดเมื่อได้
มีการกำหนดเขตกรรมสิทธิ์ที่ดิน และออกเอกสารสิทธิครบถ้วนแล้วก็จะมอบหมายให้ตำบลนั้น
ดำเนินการปฏิรูปที่ดินตามแผนรวมของราชการส่วนกลางต่อไปทันทีเข้าร่วมในการบริหาร
การศึกษาของตำบล
จ. ดำเนินการรักษาความสงบเรียบร้อยและป้องกันโจรผู้ร้ายภายในตำบล
รัฐบาลนี้ได้พิจารณาเห็นว่าสภาตำบลเป็นหน่วยงานที่อยู่ใกล้ชิดกับปัญหาส่วนใหญ่
ของประเทศ ซึ่งย่อมจะต้องทราบดีว่าราษฎรในท้องถิ่นกำลังประสบปัญหาใดหรือต้องการจะใช้
วิธีการใด เพื่อแก้ภาวะการทำมาหากินและภาวะความเป็นอยู่ของตนรัฐบาลนี้จึงเห็นว่า
การมอบหมายให้สภาตำบลเป็นผู้กำหนดแผนพัฒนาของตนขึ้นเป็นสิ่งเริ่มต้นที่ถูกต้องภาระหน้าที่
ของรัฐบาลก็คือ จัดสรรเงินงบประมาณให้สภาตำบลทุกแห่งรับไปดำเนินการในการจัดสรรงบประมาณนั้น
รัฐบาลจะพิจารณาตามความจำเป็นและความเร่งด่วน ซึ่งแต่ละตำบลจะต้องดำเนินการไปเพื่อแก้ปัญหา
การทำมาหากินและการดำรงชีพของราษฎรส่วนใหญ่เป็นสำคัญและเมื่อได้รับงบประมาณจากส่วนกลาง
ไปแล้วการสร้างงานในตำบลก็จะเกิดขึ้นซึ่งก็เป็นทางหนึ่งที่จะช่วยหนุนให้คนในท้องที่มีงานทำ
และมีรายได้มากขึ้น และเป็นการลดแรงงานจากชนบทมิให้ไหลบ่าเข้ามาสู่ส่วนกลางอีกด้วย
เป้าหมายทางการทหาร
รัฐบาลนี้ถือว่าเป็นภาระหน้าที่สำคัญสูงสุดของรัฐบาลที่จะต้องธำรงไว้ซึ่งเอกราช
และอธิปไตยของชาติ ให้ปลอดภัยจากการรุกรานของอริราชศัตรูภายนอกทั้งหลายทั้งปวง
รัฐบาลนี้จึงกำหนดเป้าหมายทางการทหารไว้เป็นภารกิจที่จะต้องดำเนินการ ดังต่อไปนี้
๑. จะจัดกำลังทหารให้เพียงพอแก่ความจำเป็นและให้มีสมรรถภาพสูงทั้งในด้าน
กำลังพลและอาวุธยุทโธปกรณ์พร้อมที่จะรับภาระในการพิทักษ์รักษาเอกราชและอธิปไตย
ของชาติด้วยสมรรถนะและแสนยานุภาพของตนเอง โดยไม่ต้องพึ่งพาอาศัยใครอื่นทั้งสิ้น
และกำลังทหารต้องเป็นของชาติไม่ขึ้นกับบุคคลคณะใด
๒. จะส่งเสริมกำลังใจ ขวัญ และสวัสดิการทหาร ให้ทั่วถึงทุกคนรวมทั้งจะส่งเสริม
ให้ทหารเกณฑ์ได้เรียนรู้การประกอบอาชีพเมื่อปลดจากกองประจำการแล้ว
๓. จะสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างทหาร ข้าราชการ และประชาชนเพื่อให้เกิดความ
สามัคคีอย่างแท้จริงขึ้นในชาติ ในขณะเดียวกันก็จะส่งเสริมให้ทหารมีส่วนในการพัฒนาประเทศ
ตามควรแก่กรณีด้วย ทั้งนี้เพื่อสร้างทัศนคติอันถูกต้องขึ้นว่าทหารก็คือประชาชนของชาติและใน
ขณะเดียวกันรัฐบาลนี้จะสนับสนุนให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันประเทศมากขึ้น
เช่น อาสาสมัครรักษาดินแดน เป็นต้น
เป้าหมายทางการต่างประเทศ
เป้าหมายนโยบายต่างประเทศของรัฐบาลนี้ คือการรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ
เป็นสำคัญ โดยจะดำเนินการดังต่อไปนี้
รัฐบาลนี้จะดำเนินนโยบายต่างประเทศอย่างอิสระโดยจะคำนึงถึงผลประโยชน์ของชาติ
ตามเป้าหมายเศรษฐกิจ และความมั่นคงปลอดภัยของประเทศเป็นสำคัญ
รัฐบาลนี้จะส่งเสริมการดำรงอยู่ร่วมกันโดยสันติโดยยึดหลักการที่จะเป็นมิตร
กับทุกประเทศที่มีเจตนาดีต่อประเทศไทยไม่คำนึงถึงความแตกต่างในอุดมการณ์ทางการเมือง
และระบบการปกครอง และจะยึดหลักความยุติธรรมและความเสมอภาคเป็นสำคัญทั้งจะไม่
แทรกแซงกิจการภายในของกันและกันเพื่อ ให้เกิดดุลยภาพในความสำพันธ์กับประเทศ
อภิมหาอำนาจรัฐบาลนี้จะดำเนินการเพื่อให้มีการรับรองและมีความสัมพันธ์เป็นปกติ
กับประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนจะให้มีการถอนทหารต่างชาติออกจากประเทศไทย
ในระยะเวลา ๑ ปี โดยคำนึงถึงสถานการณ์ในภูมิภาคนี้ และเจรจากันอย่างฉันท์มิตร
รัฐบาลนี้จะกระชับความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน และสนับสนุนความร่วมมือกับกลุ่ม
ประเทศอาเชี่ยนในทุกวิถีทาง ทั้งจะไม่ลดละความพยายามในการหาลู่ทางเพื่อให้มีการติดต่อในทาง
สร้างสรรค์กับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนามเหนือ ในด้านการรับความช่วยเหลือจาก
ต่างประเทศนั้น รัฐบาลนี้จะพิจารณาถึงภาระผูกพันเป็นสำคัญ และจะไม่ยอมให้มีการเสียเปรียบใด ๆ
ทั้งสิ้น เพราะรัฐบาลประสงค์ที่จะสร้างพื้นฐานการพึ่งตนเองให้มากที่สุดและโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
ทั้งในด้านเศรษฐกิจและการทหาร
ท่านประธานที่เคารพ ท่านสมาชิกผู้มีเกียรติ ที่กระผมได้กราบเรียนมานี้เป็นนโยบาย
ของรัฐบาล ก็คงจะยังมีสิ่งอื่นอีกหลายอย่างที่ท่านสมาชิกหรือประชาชนยังข้องใจ ก็จะใคร่จะขอ
ประทานให้ท่านสมาชิกได้ซักถาม รัฐบาลก็จะได้ชี้แจงให้ทราบหรือจะพยายามแก้ข้อข้องใจนั้น
มีเรื่องหนึ่งที่กระผมอยากจะเรียนรู้สึกว่าท่านสมาชิกหลายท่านยังสนใจกันอยู่มากก็คือ เรื่อง
พระราชบัญญัติป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ อยากจะทราบว่ารัฐบาลนี้มีทรรศนะอย่างไร
กับพระราชบัญญัตินี้ กระผมก็ขอกราบเรียนท่านประธานให้ทราบว่าเกี่ยวกับพระราชบัญญัตินี้
รัฐบาลจะไม่ขัดข้องถ้าหากว่าท่านสมาชิกจะเสนอเป็นร่างพระราชบัญญัติยกเลิกขึ้นมาหรือถ้า
ท่านสมาชิกไม่ต้องการเช่นนั้น จะขอร้องให้รัฐบาลเป็นผู้เสนอพระราชบัญญัติยกเลิกเสียเอง
รัฐบาลก็ยินดีจะกระทำตาม ขอขอบพระคุณครับ
*รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ ๔/๒๕๑๘ (สามัญ สมัยแรก)
วันพุธที่ ๑๙ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๑๘ หน้า ๒๓๗ - ๒๕๐ |
37 | คณะรัฐมนตรี คณะที่ ๓๗
หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
เป็นนายกรัฐมนตรี
ตั้งแต่วันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๑๙ - ๒๓ กันยายน ๒๕๑๙
แถลงนโยบาย เมื่อวันศุกร์ที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๑๙
คำแถลงนโยบายของรัฐบาล*
ท่านประธานสภาที่เคารพ
เนื่องจากได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ข้าพเจ้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๙ ข้าพเจ้าจึงได้จัดตั้ง
คณะรัฐมนตรีขึ้น ซึ่งได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งตามประกาศพระบรมราชโองการ
ลงวันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๙
บัดนี้ คณะรัฐมนตรีได้กำหนดนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดินขึ้นแล้ว จึงขอแถลง
นโยบายเพื่อขอความไว้วางใจจากสภาผู้แทนราษฎร ตามความในมาตรา ๑๘๔ ของรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย
โดยที่ในปัจจุบันบ้านเมืองของเราตกอยู่ในภาวะไม่ปกติสุข ทั้งในด้านการเมือง การเศรษฐกิจ
และสังคม ทำให้ประชาชนทุกหมู่เหล่ามีความไม่มั่นใจในอนาคตของตนเองและของประเทศชาติ
โดยเฉพาะ ชาวนา ชาวไร่ และกรรมกร ต้องประสบกับความยากจนและเดือนร้อน จึงเป็นการจำเป็น
ที่จะต้องรีบเร่งดำเนินการแก้ไขภาการณ์ดังกล่าว เพื่อให้เกิดความปกติสุขขึ้นในบ้านเมือง ในการนี้
คณะรัฐมนตรีซึ่งเป็นรัฐบาลบริหารราชการแผ่นดิน จึงได้กำหนดนโยบายในการบริหารราชการ
แผ่นดินไว้เป็น ๒ ระยะ คือ นโยบายที่จะต้องดำเนินการเป็นการเร่งด่วน และนโยบายระยะยาว
นโยบายเร่งด่วน
ปัญหาสำคัญที่ประชาชนทั่วประเทศกำลังประสบอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งรัฐบาลจะต้องเร่งแก้ไข
เป็นการด่วน คือ การช่วยเหลือเกษตรกร การแก้ไขภาวะค่าครองชีพ การรักษากฎหมาย และ
ความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง การปราบปรามการฉ้อราษฎร์บังหลวง การปกครองท้องถิ่น และ
การขยายไฟฟ้าสู่ชนบท
๑. การช่วยเหลือเกษตรกร
เนื่องจากเกษตรกรมีจำนวนเกือบร้อยละ ๘๐ ของจำนวนพลเมือง
ของประเทศ แต่ส่วนใหญ่ตกอยู่ในฐานะยากจน รัฐบาลนี้จึงมีนโยบายที่จะช่วยเหลือเกษตรกรให้มี
ฐานะในทางเศรษฐกิจดีขึ้น อันจะเป็นการขจัดความยากจนไปในตัว ดังต่อไปนี้
(๑) จะเร่งทำการปฏิรูปที่ดินเพื่อให้เกษตรกรได้มีที่ดินทำกินเป็นของตนเองในแต่ละปี
่เริ่มมีตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๐ จะจัดสรรที่ดินให้แก่เกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินเป็นของตนเองประมาณ
๔๐,๐๐๐ ถึง ๕๐,๐๐๐ ครอบครัว
(๒) จะปลดเปลื้องหนี้สินของเกษตรกรจากการเป็นลูกหนี้เอกชน มาเป็นลูกหนี้สหกรณ์
หรือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เพื่อมิให้เกษตรกรต้องสูญเสียสิทธิในที่ดิน
(๓) จะดำเนินการให้เกษตรกรจำหน่ายผลผลิตได้ในราคาที่เป็นธรรม โดยเฉพาะข้าว
จะลดหรือเลิกค่าพรีเมี่ยม รวมทั้งลดอากรขาออกถ้าจำเป็น เพื่อปรับราคาส่งออกให้สามารถ
แข่งขันในตลาดต่างประเทศได้
(๔) จะปรับปรุงและขยายการสหกรณ์ให้แพร่หลาย เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการ
ดำเนินการด้านการผลิต การแปรรูปผลผลิต และการจำหน่าย
(๕) จะช่วยเหลือเกษตรกรในด้านการชลประทาน การปรับปรุงที่ดิน การใช้พันธุ์พืช
การปราบศัตรูพืชและการซื้อปุ๋ยในราคาต่ำ
๒. การแก้ไขภาวะค่าครองชีพ
รัฐบาลนี้จะรักษาระดับราคาสินค้าที่จำเป็นแก่การครองชีพ
ไม่ให้เคลื่อนไหวผิดปกติ โดยเฉพาะข้าวบริโภค รัฐบาลจะใช้มารตการอันเหมาะสมเพื่อให้มีราคา
พอสมควรมิให้ประชาชนผู้ยากไร้ต้องเดือดร้อนในเรื่องค่าครองชีพ นอกจากนั้นจะดำเนินมาตรการ
มิให้มีการผูกขาดตัดตอนในทางเศรษฐกิจโดยเอกชน เพื่อมิให้ผู้จำหน่ายตั้งราคาสินค้าตามชอบใจ
๓. การรักษากฎหมายและความสงบเรียบร้อยเพื่อมิให้บ้านเมืองตกอยู่ในภาวะระส่ำระสาย
และเกิดความหวาดกลัวในหมู่ประชาชน รัฐบาลนี้จะรักษาไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย และ
ความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง โดยจะเร่งดำเนินการปราบปรามโจรผู้ร้าย และลงโทษผู้ละเมิด
กฎหมายโดยไม่มีการละเว้น จะปรับปรุงกิจการตำรวจ และอำนาจการสอบสวนคดีอาญา และจะปรับปรุง
ส่งเสริมฐานะของกำนันและผู้ใหญ่บ้าน
๔. การปราบปรามการฉ้อราษฎร์บังหลวงรัฐบาลนี้จะดำเนินการเพื่อป้องกันและปราบปราม
การฉ้อราษฎรบังหลวงทั้งในวงงานราชการและวงงานของรัฐอย่างจริงจัง และจะไม่ให้กฎหมาย
ว่าด้วยการนี้ ซึ่งมีอยู่แล้วต้องเป็นหมัน นอกจากนี้จะดำเนินการให้มีกฎหมายว่าด้วยการแสดง
ทรัพย์สินและหนี้สินของรัฐมนตรี สมาชิกรัฐสภา ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ของรัฐ ทั้งจะ
ให้มีกฎหมายเกี่ยวกับผู้ตรวจเงินแผ่นดินของรัฐสภา ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
๕. การปกครองท้องถิ่นรัฐบาลนี้จะเร่งดำเนินการให้มีกฎหมายว่าด้วยการปกครอง
ท้องถิ่นทุกรูปแบบ เพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นได้ปกครองตนเองภายในระยะเวลาที่กำหนดตาม
บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญโดยให้ผู้บริหารท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้ง และในท้องถิ่นมีอิสระ
ในการดำเนินนโยบายของตน
๖. การขยายไฟฟ้าชนบท
รัฐบาลนี้จะเร่งขยายไฟฟ้าสู่ชนบท โดยให้ประชาชนมีไฟฟ้า
ใช้ทั่วทุกตำบลโดยเร่งด่วนนโยบายระยะยาวในทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ ทางสังคม และการ
บริหาร มีดังต่อไปนี้
นโยบายทางการเมือง
๑. รัฐบาลนี้จะยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์
เป็นประมุข จะดำเนินการทางการเมืองด้วยวิธีการที่บริสุทธิ์และยุติธรรม ทั้งจะเคารพและปกป้อง
สิทธเสรีภาพของประชาชนตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ และจะยึดชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
เป็นศูนย์รวมพลังแห่งความสามัคคีและความเป็นปึกแผ่นภายในประเทศ
๒. รัฐบาลนี้จะเสริมสร้างกำลังทหารของชาติให้เข้มแข็งตามความเหมาะสม
กับภาวการณ์และตามกำลังเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะกำลังทหารจะใช้เพื่อปกป้อง
สถาบันพระมหากษัตริย์ และรักษาไว้ซึ่งเอกราช ความมั่นคง และผลประโยชน์ของชาติและจะ
ปรับปรุงสวัสดิการและบำรุงส่งเสริมสมรรถภาพและขวัญของทหารให้สูงอยู่เสมอ ทั้งจะส่งเสริม
ให้ทหารมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ
๓. รัฐบาลนี้จะดำเนินนโยบายต่างประเทศอย่างอิสระ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์
ที่แท้จริงของประเทศเป็นหลัก จะไม่ยอมเป็นเครื่องมือหรือเข้าไปพัวพันในการดำเนินนโยบาย
ของประเทศใด ๆ จะเป็นมิตรกับทุกประเทศที่ต้องการเป็นมิตรกับประเทศไทย ในหลักแห่ง
ความเสมอภาค บูรณภาพแห่งอาณาเขต และเคารพอธิปไตยซึ่งกันและกัน ทั้งนี้โดยไม่คำนึงถึง
ความแตกต่างของระบอบการปกครองหรือระบบเศรษฐกิจ
รัฐบาลนี้จะแก้ปัญหาระหว่างประเทศโดยใช้วิธีทางการทูตเป็นสำคัญ จะปรับสันติภาพกับ
ประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะประเทศในคาบสมุทรอินโดจีนให้เข้าสู่สภาพปกติ จะส่งเสริมและ
กระชับความร่วมมือโดยใกล้ชิด และเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นกับประเทศ
เพื่อนบ้านในส่วนภูมิภาคนี้ของโลก โดยเฉพาะกับประเทศในกลุ่มอาเชี่ยน และจะสนับสนุนข้อเสนอ
ให้เอเชียอาคเนย์เป็นเขตแห่งสันติภาพ อิสรภาพ และความเป็นกลาง กับจะส่งเสริมความสัมพันธ์
กับประเทศกลุ่มโลกที่สามให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น เพื่อผลประโยน์ร่วมกันในองค์การระหว่างประเทศ
รัฐบาลนี้จะปฏิบัติตามพันธกรณีตามสนธิสัญญา และความตกลงที่มีอยู่กับนานาประเทศ
ตามมูลฐานแห่งความเสมอภาคและความยุติธรรม และจะยึดมั่นในหลักการแห่งกฎบัตร
สหประชาชาติ กับจะร่วมมือกับทวงการชำนัญพิเศษต่าง ๆ ในการรักษาสันติภาพและความมั่นคง
ของโลกรัฐบาลนี้จะดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อไม่ให้มีการแทรกแซงกิจการภายในจากต่างประเทศ
และจะไม่ให้มีกองกำลังทหารและฐานทัพต่างชาติในประเทศไทย
นโยบายทางเศรษฐกิจ
รัฐบาลนี้จะปฏิรูปเศรษฐกิจของประเทศเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและเกิดประโยชน์แก่
ประเทศชาติโดยเคารพกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนบุคคล และสนับสนุนให้เอกชนริเริ่มในทาง
เศรษฐกิจ แต่รัฐจะมีบทบาทในการจัดระเบียบเศรษฐกิจให้มากขึ้นตามความจำเป็น เพื่อการนี้
รัฐบาลจะดำเนินการดังต่อไปนี้
๑. จะดำเนินการให้ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจของประชากรลดน้อยลงโดยใช้วิธี
การภาษีอากรวิธีการงบประมาณ และวิธีการอย่างอื่น เพื่อให้มีการกระจายรายได้ในหมู่
ประชากรอย่างเป็นธรรม
๒. จะปรับปรุงระบบภาษีอากรเพื่อให้เป็นธรรมแก่สังคมยิ่งขึ้น โดยจะเก็บภาษีทางตรง
เพิ่มขึ้น ทั้งในด้านอัตราภาษี และประเภทของภาษี และจะบริหารงานเก็บภาษีอากรให้มี
ประสิทธิภาพ นอกจากนี้จะปรับปรุงวิธีการและการบริหารงานเก็บภาษีการใช้จ่ายเงินแผ่นดิน
เป็นไปโดยประหยัด และมิให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ ทั้งจะดำเนินการให้สถาบันการเงินเอกชน
มีบทบาทในการช่วยเหลือเกษตรกรให้มากยิ่งขึ้น
๓. จะดำเนินการให้รัฐเป็นผู้ประกอบกิจการสาธารณูปโภค และกิจการอื่นที่เห็นว่าถ้ารัฐ
เป็นผู้ประกอบการแล้วจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่ประชาชน สัมปทานหรือการผูกขาดตัดตอน
ในทางเศรษฐกิจที่ไม่เป็นธรรมแก่รัฐหรือที่ทำให้ประชาชนเดือดร้อน จะดำเนินการให้ยกเลิก
เพิกถอนไป
๔. จะส่งเสริมการลงทุนทางอุตสาหกรรมของเอกชนทั้งไทยและต่างประเทศให้ได้รับ
ความเป็นธรรม ความมั่นใจและความสะดวกในการลงทุน จะส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ใช้ผลผลิต
ทางเกษตรเป็นวัตถุดิบ อุตสาหกรรมที่ส่งผลผลิตไปจำหน่ายยังต่างประเทศ อุตสาหกรรม
ท่องเที่ยว และการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมปลอดภาษี ในเวลาเดียวกันจะวางมาตรการรักษา
สุขภาพและความปลอดภัยของกรรมกรในโรงงานอุตสาหกรรม รวมทั้งมาตรการที่จำเป็นเพื่อ
ควบคุมมิให้เกิดภาวะสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ และจะเร่งดำเนินการให้อุตสาหกรรมกระจายไปสู่
ส่วนภูมิภาค
๕. จะช่วยให้ฝ่ายผู้ใช้แรงงานได้รับค่าจ้างและการปฏิบัติ จากฝ่ายนายจ้างอย่างเป็นธรรม
และจะสนับสนุนการรวมกันของฝ่ายผู้ใช้แรงงาน เพื่อให้เกิดอำนาจต่อรองอย่างมีหลักเกณฑ์และ
เป็นธรรมระหว่างฝ่ายผู้ใช้แรงงาน และฝ่ายนายจ้าง เพื่อการนี้จะได้จัดตั้งทบวงแรงงานขึ้น เพื่อ
ให้ฝ่ายเจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถปฏิบัติภารกิจได้ทันต่อเหตุการณ์
๖.จะส่งเสริมการค้าในประเทศและการค้าต่างประเทศ ให้ขยายกว้างขวางและมีระเบียบ
ในด้านการค้าในประเทศ จะสอดส่องดูแลและคุ้มครองประโยชน์ของผู้บริโภค ส่วนในด้านการค้า
ต่างประเทศ จะขยายความสัมพันธ์ทางการค้ากับต่างประเทศให้กว้างขวางยิ่งขึ้นทั้งจะส่งเสริม
การส่งสินค้าออกและควบคุมการนำสินค้าเข้าเท่าที่จำเป็น เพื่อให้การค้ากับต่างประเทศมีดุลภาพ
๗. จะเร่งดำเนินการโครงการชลประทานขนาดเล็กให้แพร่หลายทั่วประเทศสำหรับ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งขาดแคลนน้ำ จะพัฒนาการชลประทานและคลองส่งน้ำให้กว้างขวาง
ยิ่งขึ้น
๘. จะส่งเสริมให้การประมงและการปศุสัตว์ ขยายตัวจนมีผลผลิตเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญ
และจะเร่งการปลูกยางพันธุ์ดีแทนยางพันธุ์พื้นเมือง
๙. จะดำเนินการอนุรักษ์ป่าไม้ และวางมาตรการป้องกันป่าไม้ของชาติไม่ให้ถูกทำลาย
และเร่งอนุรักษ์ป่าไม้ที่เป็นต้นน้ำลำธารที่ถูกทำลายให้กลับคืนสู่สภาพเดิม
๑๐. จะดำเนินการขยายและปรับปรุงการขนส่งให้เหมาะสมกับสภาพของภูมิประเทศและ
ความเป็นอยู่ของประชาชน เพื่อกระจายความเจริญให้ทั่วประเทศและสอดคล้องกับนโยบาย
ทางเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะมุ่งหนักในการสร้างและพัฒนาเส้นทางขนส่งใน
ระดับจังหวัดและชนบทจะปรับปรุงการขนส่งโดยรถประจำทางและรถไฟ เพื่อให้ประชาชนได้รับ
ความสะดวก ปลอดภัย ประหยัด และเป็นธรรม จะส่งเสริมระบบขนส่งมวลชน และจะขยาย
ปรับปรุงการบริหารสื่อสารทางโทรศัพท์และโทรคมนาคมให้เพียงพอแก่ความจำเป็น จะเร่งพัฒนา
ท่าเรือ และการพาณิชย์นาวีของประเทศให้เจริญก้าวหน้า และจะดำเนินการพัฒนาสนามบินที่มีอยู่แล้ว
ให้เป็นสนามบินนานาชาติตามความเหมาะสม เพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์การบินระหว่างประเทศ
ในย่านเอเชียอาคเนย์
๑๑. จะจัดสรรงบประมาณอุดหนุนให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด เพื่อพัฒนาท้องถิ่น
เป็นเกณฑ์ประกอบกัน
นโยบายทางสังคม
๑. รัฐบาลนี้จะดำเนินการปฏิรูปการศึกษาให้เหมาะสม และสอดคล้องกับสภาพทางเศรษฐกิจ
และสังคม จะจัดให้บุคคลมีโอกาสเท่าเทียมกันในการรับการศึกษาอบรมตามความสามารถทาง
สติปัญญา จะจัดทุนเล่าเรียนให้แก่ผู้ยากไร้แต่มีสติปัญญา และจะขยายการศึกษาผู้ใหญ่และ
อาชีวศึกษา โดยเน้นหนักในด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมในด้านการศึกษาภาคบังคับ จะเร่ง
ขยายการศึกษาภาคบังคับชั้นประถมตอนปลายให้มีทั่วถึงทุกตำบลภายใน ๔ ปี และจะให้เด็กที่
เข้าเรียนได้รับสมุด หนังสือ และเครื่องเขียน โดยไม่คิดมูลค่าอย่างทั่วถึง ส่วนเด็กที่ยากไร้ก็จะ
ให้ได้รับเครื่องแบบนักเรียนโดยไม่คิดมูลค่า สำหรับโรงเรียนมัธยมประจำอำเภอ จะเร่งจัด
ให้มีขึ้นครบถ้วนทุกอำเภอภายใน ๔ ปี สำหรับการศึกษาขั้นอุดมศึกษา จะให้มหาวิทยาลัยของรัฐ
มีอิสระในการดำเนินงานให้มากที่สุด โดยเฉพาะในด้านวิชาการ และจะให้มหาวิทยาลัยในส่วน
ภูมิภาครับนักศึกษาจากภาคนั้น ๆ ในอัตราส่วนมากกว่านักศึกษาจากภาคอื่น
๒. รัฐบาลนี้จะดำเนินการให้บริการสาธารณสุขแบบผสมผสาน ทั้งในด้านการส่งเสริม
สุขภาพ การป้องกันโรค และการรักษาพยาบาลให้กระจายไปสู่ภูมิภาคและท้องถิ่นอย่างเพียงพอ
จะให้ประชาชนที่ยากไร้ไม่ว่าจะอยู่ในเมืองหรือชนบท ได้รับการศึกษาพยาบาลโดยไม่คิดมูลค่า
จะให้มีโรงพยาบาลประจำอำเภอให้ครบถ้วนทุกอำเภอ และสถานีอนามัยชั้น ๒ ให้ครบถ้วนทุก
ตำบล ภายใน ๔ ปี จะจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่เพื่อรักษาพยาบาลผู้ป่วยในท้องถิ่นห้างไกลกันดาร
และจะเร่งให้มีการผลิตบุคลากรทางการแพทย์ให้เพียงพอกับความต้องการของประชาชน
๓. รัฐบาลนี้จะส่งเสริมการสังคมสงเคราะห์ทั้งส่วนของรัฐ และของเอกชน โดยเฉพาะจะ
เกื้อกูลประชาชนในแหล่งเสื่อมโทรมเป็นพิเศษ
๔. รัฐบาลนี้จะจัดให้มีการก่อสร้างอาคารสงเคราะห์ ให้มีจำนวนเพียงพอกับความต้องการ
ของประชาชน สำหรับที่พักอาศัยของทหารและตำรวจชั้นผู้น้อย และให้การเคหะแห่งชาติดำเนินการ
ก่อสร้างให้ก่อน และให้แต่ละหน่วยงานตั้งงบประมาณชดใช้ให้เป็นรายปี
๕. รัฐบาลนี้จะลดอัตราการเพิ่มประชากร โดยเร่งวางแผนครอบครัวให้แพร่หลาย และจะ
เร่งให้มีการประกันสังคมสำหรับลูกจ้างเป็นอันดับแรก
๖. รัฐบาลนี้จะดำเนินการให้มีกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิเสมอภาคของสตรี ตามบทบัญญัติ
แห่งรัฐธรรมนูญ
นโยบายการบริหารราชการ
๑. รัฐบาลนี้จะเคารพความเป็นอิสระของผู้พิพากษาและตุลาการในการพิจารณาพิพากษา
อรรถคดี จะปรับปรุงและกำดำเนินการพิจารณาคดีของศาลให้เป็นไปโดยรวดเร็ว จะปรับปรุงแก้ไข
ระเบียบการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมเป็นผลดีแก่
ประชาชน
๒. รัฐบาลนี้จะปฏิรูปวิธีการปฏิบัติราชการ และระเบียบราชการบริหารงานบุคคล เพื่อให้ระบบ
ราชการมีประสิทธิภาพสูง และให้ข้าราชการทุกฝ่ายทำหน้าที่รับใช้และเข้าถึงประชาชนอย่างแท้จริง
โดยปราศจากการกดขี่ข่มเหงราษฎร สำหรับข้าราชการชั้นผู้น้อยจะให้ความช่วยเหลือ โดยจัดให้มี
สวัสดิการเพื่อการครองชีพ เช่น ในเรื่องที่อยู่อาศัยและการซื้อสินค้าจากรัฐวิสาหกิจ หรือถ้าจำเป็น
ให้เงินเพิ่มค่าครองชีพตามกำลังเงินงบประมาณการใด ๆ ที่ไม่เป็นธรรมแก่รัฐหรือแก่ประชาชน
จะได้พิจารณาปรับปรุงแก้ไขยกเลิกเพิกถอนไปตามความแก่กรณี
ตามนโยบายที่ได้แถลงมานี้ คณะรัฐมนตรีจะได้ดำเนินการทุกวิถีทางที่จะให้บรรลุผลเพื่อ
ให้ประชาชนมีความสุขสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ข้าพเจ้าและคณะจึงหวังอย่างยิ่งว่าท่านสมาชิกผู้มีเกียรติจะ
ได้ให้ความร่วมมือ ให้ความไว้วางใจ แก่คณะรัฐมนตรี เพื่อจะได้เข้าบริหารราชการแผ่นดินต่อไป
ขอขอบคุณ
*รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ ๓/๒๕๑๙ (สามัญ สมัยแรก)
วันศุกร์ที่ ๓๐ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๑๙ หน้า ๑๔๓ - ๑๕๑ |
39 | คณะรัฐมนตรี คณะที่ ๓๙
นายธานินทร์ กรัยวิเชียร
เป็นนายกรัฐมนตรี
ตั้งแต่วันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๑๙ - ๑๙ ตุลาคม ๒๕๒๐
แถลงนโยบาย เมื่อวันศุกร์ที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๑๙
คำแถลงนโยบายของรัฐบาล*
ท่านประธานสภา และท่านสมาชิกผู้มีเกียรติ
ตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้ข้าพเจ้าเป็นนายกรัฐมนตรี
ตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ ๘ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๑๙ และแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี
ตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ ๒๒ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๑๙ ความปรากฏอยู่แล้ว นั้น
บัดนี้ คณะรัฐมนตรี ซึ่งมีความยึดมั่นในสถาบัน ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ได้กำหนด
นโยบายในการบริหารราชการแผ่นดินเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงขอแถลงมาเพื่อสภาได้ทราบดังต่อไปนี้
คือ เพื่อธำรงไว้ซึ่งสถาบัน ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ รัฐบาลนี้จักได้ดำเนินการตามนโยบาย
ต่อไปนี้
(๑) รัฐบาลนี้ถือหลักประหยัดเป็นสำคัญและตระหนักว่า ความมั่นคงของประเทศเป็น
รากฐานอันสำคัญในการเสริมสร้างการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และความเป็นธรรมในสังคม เพื่อให้
บรรลุตามความมุ่งหมายในการปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน และเพื่อให้ประเทศไทยดำรงคงอยู่
ด้วยความปลอดภัย ฉะนั้น รัฐบาลนี้จักได้ดำเนินการทุกประการเพื่อธำรงไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตย
ความมั่นคง และผลประโยชน์ของชาติ โดยจะตระเตรียมและเสริมสร้างกำลังที่ใช้ในการป้องกัน
ชาติให้เข้มแข็ง ให้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะป้องกันราชอาณาจักร โดยพยายามพึ่งตนเองให้มากที่สุด
สำหรับในระยะ ๔ ปีนี้ จะดำเนินการทั้งปวงเพื่อให้กำลังทหารของชาติอยู่ในสภาพ
พร้อมรบและสามารถขยายได้ในยามฉุกเฉิน จะพัฒนาหลักวิชาการและระบบอาวุธให้สามารถ
เผชิญกับภัยคุกคามได้ทุกรูปแบบ จะปรับปรุงสวัสดิการ บำรุงขวัญและกำลังใจของทหารให้สูง
อยู่เสมอ รวมทั้งประสานความเข้าใจระหว่างทหารกับประชาชนให้ดียิ่งขึ้นและส่งเสริมให้ทหาร
มีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศด้วย
(๒) จะป้องกันและปราบปรามคอมมิวนิสต์อย่างจริงจังและเด็ดขาด จะขจัดการฉ้อราษฎร์
บังหลวง และการเบียดเบียนราษฎร จะป้องกัน ปราบปรามการผลิต และการค้ายาเสพติดให้โทษ
และแก้ไขบำบัดผู้ติดยาเสพติดดังกล่าวให้ได้ผลโดยด่วน จะดำเนินการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมที่เหมาะสม เพื่อแก้ไขความยากจนของราษฎรส่วนใหญ่ ส่งเสริมให้ประชาชนทุกคน
มีอาชีพ และรายได้ที่แน่นอนเพิ่มขึ้น ด้วยการพัฒนาการประกอบอาชีพประเภทต่าง ๆ และ
ดำเนินการใช้แรงงานให้เต็มที่เพื่อขจัดปัญหาการว่างงาน และส่งเสริมให้มีการฝึกอบรม
ช่างฝีมือหรือแรงงานที่ใช้ฝีมือในการทำงาน ทั้งจะเน้นหนักในการพัฒนาเมือง ชนบท และ
สาธารณูปโภค และจะปรับปรุงและพัฒนาการปกครองประเทศในทุกระดับ
(๓) จะรักษาไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายผดุงไว้ซึ่งความเป็นอิสระของผู้พิพากษา
ในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี จัดให้มีศาลในท้องถิ่นต่าง ๆ อย่างเพียงพอ เพื่อความสะดวก
แก่ประชาชนผู้มีอรรถคดี และปรับปรุงวิธีการ และการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลให้เป็น
ไปโดยรวดเร็ว ทั้งนี้ โดยการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับ ตลอดจนเพิ่มจำนวน
และส่งเสริมประสิทธิภาพของผู้พิพากษาด้วยการฝึกอบรมทั้งภายในประเทศ ต่างประเทศ และ
บริการด้านสวัสดิการให้สมกับอัตภาพ ประมวลจรรยาบรรณของตุลาการขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร
กับจัดทำคู่มือตุลาการขึ้นด้วย
นอกจากนั้น ในด้านกระบวนการยุติธรรมฝ่ายอัยการ จะได้ปฏิรูปด้วยการจัดให้มีพนักงาน
อัยการชั้นพิจารณาอุทธรณ์ ฎีกา และให้พนักงานอัยการได้ควบคุมการสอบสวนด้วย เป็นต้น
(๔) ในด้านการต่างประเทศ รัฐบาลนี้จะดำเนินนโยบายโดยอิสระ ยึดถือผลประโยชน์
ของประเทศชาติ ความอยู่รอด และความมั่นคงของชาติเป็นหลักสำคัญ เพื่อธำรงไว้ซึ่งเอกราช
อธิปไตยของชาติ และบูรณภาพแห่งราชอาณาจักร และส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์พระประมุข จะสนับสนุนหลักการและความมุ่งประสงค์ของ
สหประชาชาติ และยึดมั่นในกฎบัตรสหประชาชาติ โดยจะร่วมมือกับประเทศสมาชิกและองค์การ
ระหว่างประเทศอื่น ๆ ในอันที่จะส่งเสริมสันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศ จะดำเนิน
ความสัมพันธ์อันดีกับทุกประเทศ ซึ่งปรารถนาและแสดงเจตจำนงที่จะมีความสัมพันธ์
กับประเทศไทยด้วยความจริงใจ โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างในระบอบการปกครอง หรือ
ระบบเศรษฐกิจและสังคม โดยจะยึดหลักความเสมอภาค ความเที่ยงธรรม การเคารพอธิปไตย
การบูรณภาพแห่งดินแดน และการไม่รุกราน คุกคามหรือแทรกแซงในกิจการภายในซึ่งกันและกัน
จะแก้ไขปัญหาระหว่างประเทศโดยสันติวิธีด้วยการใช้วิถีทางการทูตเป็นหลักสำคัญ โดยยึดมั่นใน
หลักกฎหมาย และความยุติธรรมระหว่างประเทศ กับจะรักษาไว้ซึ่งสิทธิ และปฏิบัติตามพันธกรณี
ของสนธิสัญญาที่ทำไว้กับนานาประเทศ บนรากฐานแห่งความเสมอภาค ความเที่ยงธรรม และการ
ถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกัน นอกจากนั้น จะได้ส่งเสริมความร่วมมือส่วนภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
จะกระชับความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดี ตลอดจนความร่วมมือกับประเทศในสมาคม
ประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ
สังคม และวัฒนธรรม เพื่อก่อให้เกิดเสถียรภาพความมั่นคง ความเจริญก้าวหน้าอยู่ดีกินดีและ
สันติสุขร่วมกันในประเทศสมาชิก และในอาณาบริเวณนี้ และจะสนับสนุนมาตรการต่าง ๆ ที่เกื้อกูล
ให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเขตสันติภาพ เสรีภาพ และความเป็นกลาง กับทั้งจะดำเนิน
นโยบายต่างประเทศ ในอันที่จะช่วยส่งเสริมและให้หลักประกันแก่การค้าระหว่างประเทศ การลงทุน
และการท่องเที่ยว เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกันด้วย
(๕) ในด้านการคลัง รัฐบาลนี้จะบริหารการคลัง โดยถือหลักว่าเสถียรภาพทางการคลัง
เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ และจะใช้นโยบายการคลัง
เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา และเสริมสร้างการพัฒนาเศรษฐกิจตามสภาวการณ์เพื่อให้กรณี
สมดังเจตนารมณ์ของการปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน จะได้ปรับปรุงระเบียบแบบแผนซึ่งทำให้
การปฏิบัติราชการมีความคล่องตัวและประหยัดนอกจากนี้จะดำเนินการให้สถาบันการเงิน
ของเอกชนมีบทบาทในการช่วยเหลือเกษตรกร เพื่อยกฐานะความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น
(๖) สำหรับการพาณิชย์ รัฐบาลนี้ถือเอาการกินดีอยู่ดีของประชาชนเป็นนโยบายหลัก
ทั้งนี้โดยจะจัดให้ประชาชนได้มีสินค้าที่จำเป็นเพื่อการอุปโภคบริโภคในปริมาณที่เพียงพอ
คุณภาพเหมาะสม และราคาพอสมควร จัดให้ผู้ผลิตได้มีโอกาสจำหน่ายผลิตผลโดยสะดวกและใน
ราคาที่เป็นธรรม ส่งเสริมและสนับสนุนการส่งสินค้าที่ผลิตได้ในประเทศออกไปขายในต่างประเทศ
ในปริมาณและมูลค่าที่สูงขึ้น รวมทั้งการขยายตลาดในต่างประเทศให้กว้างขวางและจัดระบบการค้า
ให้เป็นระเบียบ และเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันที่ยุติธรรมโดยสนับสนุนผู้ทำการค้าโดยสุจริต
(๗) ส่วนการอุตสาหกรรมนั้น จะได้ส่งเสริมและดำเนินการให้มีอุตสาหกรรมในประเทศ
เพื่อผลิตปัจจัย ๔ ที่จำเป็นแก่การดำรงชีพของประชาชน ตลอดจนบริการและสิ่งอำนวยความสะดวก
ในงานอาชีพให้เพียงพอกับความต้องการของประชาชน และให้มีเหลือเพื่อส่งออกไปแลกสิ่งของซึ่ง
ยังผลิตเองไม่ได้แต่จำเป็นแก่การครองชีพของประชาชน อนึ่งจะปรับปรุงแก้ไขให้กิจการอุตสาหกรรม
เหมืองแร่ดำเนินไปอย่างถูกทาง และมีประสิทธิภาพเพื่อให้ต้นทุนการผลิตแร่ลดลง และรัฐบาลใน
ฐานะเจ้าของแร่ได้รับผลประโยชน์เป็นค่าภาคหลวง และส่วนแบ่งของกำไรอันพึงได้มากขึ้น
ช่วยเหลือและเร่งรัดการเจาะหาน้ำมันดิบและแก๊สธรรมชาติ เพื่อก่อให้เกิดอุตสาหกรรมน้ำมัน
ที่สมบูรณ์ ส่งเสริมและดำเนินการให้มีอุตสาหกรรมปุ๋ยสำหรับเกษตรกรรมอาหารสัตว์สำเร็จรูปหรือ
กึ่งสำเร็จรูปจากผลิตผลเกษตรในประเทศ สำรวจและศึกษาทางธรณีวิทยาหาแหล่งแร่ธาตุต่าง ๆ
และนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์โดยคำนึงถึงดุลยภาพของสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ
(๘) ในด้านการคมนาคม จะดำเนินการเพื่อให้มีบริการในด้านการสื่อสาร และการขนส่ง
ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ อย่างเพียงพอในมาตรฐานอันควรและจัดให้บริการในด้าน
อุตุนิยมวิทยาเป็นที่รับรองและเชื่อถือมากยิ่งขึ้นสำหรับปัญหาเฉพาะหน้าอันเร่งด่วน คือ เรื่อง
รถยนต์โดยสารประจำทางในเขตกรุงเทพมหานครนั้น ในระยะ ๖ เดือนแรกนี้ จะจัดให้มีการเพิ่ม
จำนวนขึ้นเมื่อครบ ๑๘ เดือน จะจัดให้มีปริมาณเพิ่มขึ้นอีก เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของ
ประชาชน ทั้งนี้โดยยึดหลักความสะดวก ปลอดภัย ประหยัด และมีประสิทธิภาพเป็นเกณฑ์
(๙) ด้านการเกษตรและสหกรณ์ รัฐบาลจะยึดถือโครงการปฏิรูปที่ดินควบคู่ไปกับการ
พัฒนาระบบสหกรณ์ทุกระดับ เป็นนโยบายสำคัญ เพื่อสร้างความมั่นคงให้แก่เกษตรกรซึ่งเป็น
ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ โดยใน ๔ ปีนี้ จะทำการปฏิรูปที่ดิน พระราชทานที่ดินของรัฐ
และที่ดินของเอกชน รวมเป็นเนื้อที่ประมาณ ๘ ล้านไร่ ด้วยการปรับปรุงเกี่ยวกับสิทธิ และการ
ถือครองที่ดินเพื่อการเกษตร รวมทั้งการจัดที่อยู่อาศัยในที่ดินเพื่อการเกษตรนั้นจะสนับสนุน
เกษตรกรขนาดเล็ก กลุ่มเกษตรกรและสหกรณ์การเกษตร ให้มีขีดความสามารถในการผลิต
สูงขึ้น จัดให้มีบริการปัจจัยการผลิต เช่น การจัดระบบเกษตร การชลประทาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
การชลประทานขนาดเล็กให้ทั่วถึงทุกท้องที่ การบำรุงที่ดิน การใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ในการผลิต รวมทั้งการปรับปรุง และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ในการนี้ จะได้จัดการให้มี
มาตรการเพื่อการปลดเปลื้องหนี้สินแก่ชาวนา ชาวไร่ และจัดการส่งเสริมให้มีการจ้างแรงงาน
ในชนบทอย่างทั่วถึง ร่วมมือส่งเสริมให้ความรู้ในการผลิตอุตสาหกรรมในครัวเรือน หรือ
อุตสาหกรรมพื้นเมือง เช่น การจักสาน การทอผ้า การแกะสลัก การปั้นและการทอเสื่อ เป็นต้น
จะส่งเสริมการปศุสัตว์ การบำรุงพันธ์และเพาะเลี้ยงปลาน้ำจืด สัตว์น้ำกร่อย และการประมงทะเล
ให้เป็นผลดียิ่งขึ้นการบำรุงและป้องกันรักษาป่าไม้ของชาติเป็นเรื่องที่จะได้กวดขันเป็นพิเศษ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งป่าไม้ซึ่งเป็นต้นน้ำลำธาร ในขณะเดียวกันจะได้เร่งรัดการปลูกสร้างสวนป่าให้
มากยิ่งขึ้น
(๑๐) ในด้านการศึกษา รัฐบาลนี้ถือว่าเป็นหน้าที่หลักตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ในอันที่จะอบรมและเร่งเร้าเป็นพิเศษให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วราชอาณาจักร
ตระหนักและเห็นคุณค่าของระบอบประชาธิปไตย ซึ่งมีชาติ ศาสนา และมีพระมหากษัตริย์เป็น
ประมุขของประเทศ มีความภาคภูมิในวัฒนธรรมไทย รู้จักใช้สิทธิเสรีภาพภายในกรอบกฎหมาย
และตระหนักถึงหน้าที่และความรับผิดชอบของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย
นอกจากนั้น รัฐบาลนี้จะปรับปรุงระบบและกระบวนการศึกษาทุกระดับ ทุกประเภททั้งในและ
นอกระบบโรงเรียน เพื่อให้การศึกษาเป็นเครื่องมืออันสำคัญในการพัฒนาความสามารถ ทัศนคติ
พฤติกรรม ค่านิยม และคุณธรรมของบุคคล เพื่อให้เป็นพลเมืองดี มีคุณภาพและประสิทธิภาพ ตาม
ความต้องการอันจำเป็นของสังคมไทย
ในด้านการศึกษาภาคบังคับ แม้ว่ารัฐจะถือเป็นหน้าที่และภารกิจโดยตรงของรัฐที่จะต้อง
รับผิดชอบ จัดให้เปล่าอย่างเสมอภาค แต่รัฐก็ยินดีเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนจัดได้ภายในขอบเขต
ที่รัฐกำหนด โดยภาคเอกชนจะต้องรักษาคุณภาพของการศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบาย โครงการ
และเอกลักษณ์ของการศึกษาของชาติ และไม่เป็นการจัดการศึกษาเพื่อแสวงหากำไรเกินควรในด้าน
การศึกษาที่มิใช่เป็นการศึกษาภาคบังคับ ทุกระดับและทุกประเภทนั้น รัฐบาลนี้จะสนับสนุน
ให้บุคคลมีโอกาสเท่าเทียมกันในการรับการศึกษาอบรมตามกำลังความสามารถของสติปัญญา
ซึ่งผู้รับการศึกษาจะต้องรับภาระบ้างตามสมควร ในการนี้รัฐจะจัดทุนเล่าเรียนให้แก่ผู้ยากไร้
แต่มีสติปัญญา และจะจัดทุนเล่าเรียนให้แก่ผู้เรียนดี แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ซึ่งได้รับการ
คัดเลือกจากท้องถิ่น เพื่อให้กลับไปทำงานในท้องถิ่นหลักจากสำเร็จการศึกษาแล้วอีกด้วยจะ
แก้ไขปรับปรุงและขยายการศึกษาผู้ใหญ่ และการอาชีวศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการ
ทางเศรษฐกิจและสังคม โดยให้การศึกษาดังกล่าวสามารถนำไปใช้ในการดำรงชีวิตและประกอบ
อาชีพได้อย่างแท้จริง และจะเน้นการพัฒนาการศึกษาในด้านเกษตรกรรมเป็นพิเศษ ส่วนการศึกษา
ในด้านพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีนั้น รัฐจะจัดตามความจำเป็น
ในทางเศรษฐกิจและสังคม และจะจัดการศึกษาโดยเน้นในส่วนที่จะสนับสนุนเกษตรกรรม ในด้าน
การฝึกหัดครูหรือศึกษาศาสตร์ เพื่อรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศชาติ รัฐบาลนี้ถือเป็น
หน้าที่โดยตรงของรัฐแต่ผู้เดียวในการรับผิดชอบดำเนินการและการรับบุคคลเข้ามาศึกษาใน
ด้านการฝึกหัดครูหรือศึกษาศาสตร์ สถาบันฝึกหัดครูหรือศึกษาศาสตร์ จะต้องใช้มาตรการพิเศษ
คัดเลือกให้บุคคลที่มีสติปัญญา และความสามารถเหมาะสมและที่มีทัศนคติ บุคลิกภาพ และความ
สนใจอย่างแท้จริงที่จะเป็นครู มาเป็นผู้รับการศึกษาในด้านนี้ในด้านการศึกษาระดับอุดมศึกษา
รัฐบาลนี้ถือว่าสถาบันอุดมศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน เป็นสถาบันศึกษาและวิจัย ซึ่งมีหน้าที่หลัก
ในการพัฒนาการศึกษาให้ประเทศไทยพึ่งตนเองได้ในทางวิชาการ สถาบันอุดมศึกษาจะต้องปฏิบัติ
หน้าที่หลักให้สมบูรณ์ คือสอน ค้นคว้า บุกเบิก แสวงหาความรู้ใหม่ด้วยการวิจัย เรียบเรียงตำรา
ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และธำรงไว้ ถ่ายทอด พัฒนา มรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ
รัฐบาลนี้จะให้เสรีภาพในการดำเนินการแก่สถาบันอุดมศึกษา ซึ่งไม่ขัดต่อนโยบาย โครงการ
และเอกลักษณ์ของการศึกษาของชาติ และรัฐจะจัดทุนเล่าเรียนให้แก่ผู้ยากไร้ที่มีสติปัญญา และ
จะจัดทุนเล่าเรียนให้แก่ผู้เรียนดี แต่ขาดทุนทรัพย์ ซึ่งท้องถิ่นคัดเลือกตามความต้องการและ
ความจำเป็นของท้องถิ่น ให้เข้ารับการศึกษา เพื่อกลับไปทำงานพัฒนาท้องถิ่นด้วย
รัฐบาลนี้ถือว่า งานทางวิชาการคือการเรียน การสอน การค้นคว้าวิจัยเป็นงานหลัก
ที่นิสิตนักศึกษาและอาจารย์พึงดำเนินการด้วยความกระตือรือร้น เพื่อความรู้ความสามารถ
ที่จะได้รับใช้สังคมอย่างสมบูรณ์ในด้านการศึกษาของประชาชนโดยทั่วไป รัฐบาลนี้จะให้
เรียนรู้และใช้ภาษาไทยโดยให้สำนึกว่าภาษาไทยคือภาษาประจำชาติที่พลเมืองไทยทุกคน
จะต้องใช้ให้ถูกต้องทัดเทียมกันและจะเปิดโอกาสให้ได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาคตามกำลัง
ความสามารถทางสติปัญญาในด้านการศึกษาพิเศษสำหรับผู้มีความผิดปกติทางร่างกาย
จิตใจ และสังคม รัฐบาลนี้จะจัดสถานศึกษาให้เป็นพิเศษตามกำลังความสามารถทาง
เศรษฐกิจ และความจำเป็นของรัฐและท้องถิ่น เพื่อให้ความรู้ ความสามารถ ที่พอจะดำรง
ชีวิตและประกอบอาชีพได้ตามสมควรเพื่อมิให้เป็นภาระแก่ครอบครัวและสังคม
(๑๑) ในด้านการสาธารณสุข โดยที่ปัญหาสุขภาพอนามัยของประชาชนมีความสำคัญ
เป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติ และความเป็นอยู่ของประชาชน โดยเฉพาะส่วน
ภูมิภาค ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ รัฐบาลจึงจะให้การบริการสาธารณสุขแบบ
ผสมผสาน ทั้งในด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการรักษาพยาบาลให้กระจาย
ไปสู่ภูมิภาค และท้องถิ่นอย่างทั่วถึงปรับปรุงและขยายบริการด้านการรักษาพยาบาลให้เพียงพอ
โดยจัดสร้างโรงพยาบาลประจำอำเภอ และสถานีอนามัยตามตำบลต่าง ๆ เพื่อให้บริการแก่
ประชาชนในอำเภอ ตำบล และหมู่บ้านได้ทั่วถึง กับจัดส่งหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ เพื่อให้การ
รักษาพยาบาลและป้องกันโรคแก่ประชาชนในท้องถิ่นห่างไกลและกันดาร ให้การบริการ
ด้านการรักษาพยาบาลแก่ประชาชนผู้ยากไร้ทั้งในเมืองและชนบทโดยไม่คิดมูลค่า จัดตั้ง
โรงพยาบาลศูนย์ประจำภาคต่าง ๆ ให้มีแพทย์ผู้ชำนาญหลายสาขาประจำ เพื่อให้การ
รักษาพยาบาลผู้ป่วยที่เกินความสามารถของแพทย์ตามโรงพยาบาลทั่วไปของภาคนั้น ๆ
เสริมสร้างสมรรถภาพและเพิ่มจำนวนบุคลากรสาธารณสุขประเภทต่าง ๆ ให้พอเพียงกับ
ความต้องการ ปรับปรุงวิธีการและขยายการผลิต อบรมฟื้นฟูสมรรถภาพของบุคลากร วาง
มาตรการการกระจายและใช้กำลังคนให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
ส่งเสริมงานด้านการวางแผนครอบครัวให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อลดอัตราเพิ่มของ
ประชากรให้เป็นไปตามเป้าหมาย
นโยบายของรัฐบาลตามที่แถลงมานี้ เพียงพอที่จะเป็นหลักประกันว่าชาติ ศาสนา
พระมหากษัตริย์ และเอกลักษณ์แห่งความเป็นไทยของเราจะดำรงคงอยู่ได้ด้วยความมั่นคง
ถาวร หวังว่าสภานี้จะได้ให้ความสนับสนุนด้วยดี จึงขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้ด้วย
*รายงานการประชุมสภาที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่ปฏิรูปการปกครองแผ่นดินครั้งที่ ๒
วันศุกร์ที่ ๒๙ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๑๙หน้า ๑๘ - ๒๕ |
40 | คณะรัฐมนตรี คณะที่ ๔๐
พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
เป็นนายกรัฐมนตรี
ตั้งแต่วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน - ๒๑ ธันวาคม ๒๕๒๑
แถลงนโยบาย เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๒๐
คำแถลงนโยบายของรัฐบาล*
ท่านประธานสภาและท่านสมาชิกผู้มีเกียรติ
ตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้ข้าพเจ้าเป็นนายกรัฐมนตรี
ตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๒๐ และแต่งตั้งรัฐมนตรี
ตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๒๐ นั้น ข้าพเจ้าและรัฐมนตรี
ได้กำหนดถึงนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดินเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงขอแถลง
เพื่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ทราบ ดังต่อไปนี้
๑. นโยบายเกี่ยวกับความมั่นคง
เพื่อดำรงไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตย ความมั่นคงและผลประโยชน์ของชาติ รัฐบาลจะได้ใช้
ความพยายามอย่างสุดความสามารถในอันที่จะตระเตรียม และเสริมสร้างความมั่นคงในด้านต่าง ๆ
ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม การศึกษา และการป้องกันประเทศให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น กล่าวคือ
ในด้านการเมือง
จะดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อให้บังเกิดเสถียรภาพทางการเมืองทั้งภายใน และภายนอก
ประเทศให้มากที่สุด
โดยเฉพาะการเมืองภายในจะเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจของชนในชาติทั้งในด้าน
การให้การศึกษาอบรม และด้านปฏิบัติ โดยเฉพาะการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วม
ในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการปกครองประเทศและการพัฒนาบ้านเมืองในด้านต่าง ๆ
ทั้งนี้ เพื่อให้บังเกิดศรัทธาความเชื่อถือ และยึดมั่นอยู่ในระบอบประชาธิปไตยอันมี
พระมหากษัตริย์เป็นประมุข ตลอดจนมีความสามัคคีระหว่างชนในชาติ และพร้อมที่จะเสียสละ
เพื่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์อย่างแท้จริง
ในด้านการต่างประเทศ
๑. จะดำเนินนโยบายต่างประเทศอย่างเป็นอิสระ เพื่อธำรงรักษาเอกราชอธิปไตย และ
บูรณภาพดินแดนของชาติ โดยยึดถือผลประโยชน์ ความมั่นคง และความอยู่รอดของชาติเป็น
หลักสำคัญ
๒. จะรักษาสิทธิและปฏิบัติตามพันธกรณีของสนธิสัญญา และความตกลงที่ได้ทำไว้กับ
ต่างประเทศ จะเคารพและยึดมั่นในกฎบัตรสหประชาชาติ ในอันที่จะส่งเสริมสันติภาพและ
ความมั่นคงระหว่างประเทศ รวมทั้งการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของนานาชาติ
๓. จะส่งเสริมสัมพันธไมตรีอันดี และความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการค้ากับทุกประเทศ
โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างในลัทธิการปกครอง หรือระบบเศรษฐกิจและสังคมโดยต่างฝ่าย
ต่างยึดมั่นในหลักการเคารพเอกราช อธิปไตย บูรณภาพดินแดน ความเสมอภาค การไม่รุกราน
และการไม่แทรกแซงในกิจการภายในซึ่งกันและกัน
๔. จะส่งเสริมสันถวไมตรีอันแน่นแฟ้น และให้ความสนับสนุนร่วมมืออย่างเต็มที่แก่บรรดา
ประเทศสมาชิกของสมาคมแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) เพื่อให้เกิด
เสถียรภาพ ความมั่นคง ความไพบูลย์รุ่งเรือง และสันติสุขร่วมกันของประเทศสมาชิก และของ
อาณาบริเวณนี้ และจะสนับสนุนมาตรการต่าง ๆ ที่เกื้อกูลให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็น
เขตสันติภาพ เสรีภาพ และความเป็นกลางได้ต่อไปในอนาคต
๕. จะส่งเสริมความสัมพันธ์ ความร่วมมือ และความเข้าใจอันดี กับประเทศเพื่อนบ้าน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
และกัมพูชาประชาธิปไตย รวมทั้งสาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า โดยยึดถือหลักการ
ดังกล่าวข้างต้นและหลักการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ โดยสันติวิธี ทั้งนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกัน
และเพื่อการอยู่ร่วมกันโดยสันติ
๖. จะดำเนินนโยบายโดยมุ่งส่งเสริมและให้หลักประกันแก่การค้าระหว่างประเทศ และ
การลงทุน รวมทั้งร่วมมือกับประเทศชาติกำลังพัฒนา เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่การพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
ในด้านการทหาร
๑. จะดำเนินการตระเตรียมและเสริมสร้างกำลังที่ใช้ในการป้องกันชาติให้เข้มแข็ง และ
อยู่ในสภาพพร้อมที่จะป้องกันราชอาณาจักร ทั้งกำลังทหาร กำลังตำรวจอาสารักษาดินแดน และ
ราษฎรอาสาในรูปแบบต่าง ๆ
๒. จะเร่งรัดการขยายกำลังทหารตามแผนที่ได้วางไว้ และเร่งรัดปรับปรุงหน่วยทหารต่าง ๆ
ให้มีกำลังเต็มตามอัตรา เพื่อให้มีปริมาณเพียงพอที่จะป้องกันอธิปไตยและปราบปรามการก่อ
การร้าย ซึ่งจะได้ใช้การเมืองและการพัฒนาเป็นหลัก กำลังทหารและกำลังอื่นเป็นการสนับสนุน
๓. ส่งเสริมการผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ขึ้นใช้ในประเทศ รวมทั้งการพัฒนาวิชาการ ระบบ
และมาตรฐานอาวุธ โดยยึดหลักพื้นฐานการพึ่งตนเอง ส่วนการจัดหาจากภายนอกจะกระทำ
เมื่อมีความจำเป็น
๔. จะเร่งรัดการฝึกและการจัดกำลัง ให้สามารถเผชิญภัยคุกคามได้ทุกรูปแบบ
๕. จะบำรุงขวัญ กำลังใจ และรักษาระเบียบวินัยให้ดีอยู่เสมอ โดยปรับปรุงสวัสดิการให้อยู่
ในสภาพที่ดี ทั้งจะส่งเสริมความร่วมมือระหว่างทหารกับประชาชน และข้าราชการฝ่ายต่าง ๆ เพื่อ
ผนึกความสามัคคี และจะดำเนินการให้เป็นที่มั่นใจว่าทหารเป็นหลักมั่นในการรักษาความมั่นคง
ของชาติ
๖. ส่งเสริมให้ทหารมีส่วนร่วมในการพัฒนา และบรรเทาภัยพิบัติของประเทศกับจะได้
ฝึกทหารให้มีความรู้ทางวิชาชีพ เพื่อประโยชน์ในการประกอบอาชีพเมื่อได้รับการปลดจาก
ประจำการ
๗. ร่วมมือกับส่วนราชการอื่น ๆ ในการฝึกประชาชนให้มีส่วนร่วมในการรักษาความมั่นคง
ของชาติ
ในด้านความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ
รัฐบาลนี้ถือว่าความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ และความผาสุกความ
ปลอดภัยของประชาชนเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งในการพัฒนาทุกสาขา ฉะนั้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
๑. จะป้องกันและปราบปรามการบ่อนทำลายความมั่นคงของชาติทุกรูปแบบอย่างเด็ดขาด
และจริงจัง
๒. จะยึดถือการปฏิบัติตามแนวทางของกฎหมายโดยเคร่งครัด จะดำเนินการผนึกกำลังและ
เร่งเร้าเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ให้ทุ่มเทในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสำนึก ด้วยความรับผิดชอบ
และด้วยความเสียสละอย่างเต็มที่
๓. จะดำเนินการป้องกันและปราบปรามขบวนการก่อการร้ายให้ได้ผลโดยเร็วด้วยการใช้
มาตรการทางการเมืองและการพัฒนาเป็นหลัก และให้การปราบปรามด้วยกำลังเป็นการสนับสนุน
และจะพยายามอย่างเต็มที่ทุกวิถีทางในอันที่จะทำความเข้าใจกับผู้หลงผิดให้เข้ามอบตัว และกลับมา
อยู่ร่วมกันอย่างมีความสงบสุข
๔. จะปราบปรามโจรผู้ร้ายและอาชญากรรมอย่างเด็ดขาดและจริงจัง พร้อมกับแนะนำ ชี้ชวน
ส่งเสริม และเร่งเร้าให้ราษฎรมีส่วนในการช่วย และร่วมมือกับเจ้าหน้าที่เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อย
และความผาสุกในท้องถิ่นของตน
๕. จะดำเนินการปราบปรามยาเสพติดให้โทษต่อไปโดยเด็ดขาด และไม่หยุดยั้ง
๖. จะปราบปรามการฉ้อราษฎร์บังหลวงอย่างจริงจัง และจะดำเนินการสกัดกั้นและป้องกัน
ควบคู่กันไปด้วย
๗. จะปรับปรุงโครงสร้างและระบบบริหารราชการของกรมตำรวจและเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง
ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ และภาวะของสังคมปัจจุบันอย่างรอบคอบและมีเหตุผล เพื่อให้ตำรวจ
และเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองมีความสำนึก มีความรับผิดชอบ และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
๘. จะสอดส่องดูและการเอารัดเอาเปรียบ และแก้ไขความเหลื่อมล้ำ กดขี่ขูดรีดและความ
ไม่เป็นธรรมในสังคมที่จะนำไปสู่การก่อให้เกิดความไม่สงบให้ลดน้อยลงโดยเร็ว
๒. นโยบายเกี่ยวกับเศรษฐกิจ
ในช่วงฤดูเพาะปลูกปีที่แล้ว พื้นที่หลายส่วนของประเทศไทยประสบกับสภาพดินฟ้าอากาศ
ผิดปกติ บางแห่งก็เกิดความแห้งแล้ง บางแห่งก็ถูกน้ำท่วม การผลิตพืชผลทางเกษตรจะได้ผลน้อย
ขณะเดียวกันราคาสินค้าหลายประเภทอยู่ในระดับสูง การส่งสินค้าออกในหลายกรณีมีปัญหาทั้งใน
ด้านราคาและตลาดเพื่อบรรเทาความเสียหายอันเกิดจากภาวะดังกล่าว รัฐบาลมีนโยบายเร่งด่วน
ดังนี้
๑. เร่งรัดการดำเนินงานและการจ่ายเงินเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจในชนบทโดยเฉพาะใน
ท้องที่ที่ได้รับความเสียหายเนื่องจากการปรวนแปรของดินฟ้าอากาศ เพื่อช่วยให้ชาวชนบทมีรายได้
ทดแทน ได้แก่ การเร่งงานก่อสร้าง และบูรณะถนนในตำบลและหมู่บ้าน การขุดลอกหนองบึง และการ
ใช้แรงงานปลูกสร้างสวนป่า นอกจากนี้จะได้เร่งการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งน้ำ จัดบริการฝนหลวง
ตามความเหมาะสม กับเผยแพร่การปลูกพืชที่ให้ผลเร็วและใช้น้ำน้อย
๒. แก้ปัญหาและอุปสรรคของการส่งสินค้าออกที่มีอยู่เฉพาะหน้า เพื่อสนับสนุนให้ส่งสินค้าออก
ได้มากขึ้น ได้แก่การขยายตลาดสินค้าในต่างประเทศ การดำเนินการให้สินค้าขาออกที่สำคัญ ๆ ให้มี
คุณภาพตามความต้องการของตลาด การเพิ่มขีดความสามารถของการขนส่ง การให้สิทธิประโยชน์
แก่ผู้ส่งสินค้าออกในด้านภาษีอากรตามควรแก่กรณี
๓. ดำเนินการรักษาระดับราคาสินค้าที่จำเป็นแก่การครองชีพให้มีราคาที่เหมาะสมและเป็นธรรม
ตามความจำเป็นโดยคำนึงถึงต้นทุนการผลิต
๔. เร่งรัดการจัดหางานให้ผู้ว่างงานโดยอาศัยหน่วยงานทั้งของรัฐและเอกชนเข้าช่วยใน
ระหว่างดำเนินการตามนโยบายเร่งด่วน รัฐบาลจะดำเนินนโยบายเศรษฐกิจขั้นพื้นฐาน โดยยึดแผน
พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๔ เป็นหลัก ในเรื่องสำคัญ ๆ ดังต่อไปนี้
๑. ส่งเสริมประสิทธิภาพของการผลิตด้านเกษตรสาขาต่าง ๆ ให้มีผลผลิตเพียงพอแก่
การอุปโภคบริโภคในประเทศ และส่งออกไปต่างประเทศ ในการนี้จะได้เน้นหนักการเร่งรัดพัฒนา
การชลประทานและแหล่งน้ำ การปรับปรุงวิธีการเพาะปลูก การปรับปรุงพันธุ์พืช และขยาย
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และการร่วมมือกับต่างประเทศในการประมง
๒. ส่งเสริมการลงทุนและการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ใช้ผลผลิตจากพืชและสัตว์และ
วัตถุดิบภายในประเทศ วางแผนการจัดหาและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น แร่ โลหะ และ
เชื้อเพลิงธรรมชาติ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมขั้นพื้นฐาน อุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก
และอุตสาหกรรมเน้นหนักการใช้แรงงานในประเทศ อำนวยความสะดวกในการส่งเสริมการลงทุน
การอนุญาตตั้งและขยายโรงงาน โดยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม รวมทั้งจัดให้มีนิคมอุตสาหกรรม
เพิ่มขึ้น ในการส่งเสริมอุตสาหกรรมนี้ รัฐบาลจะอาศัยกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนเป็นหลัก
ในด้านส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจะได้พัฒนาอย่างจริงจัง ดำเนินการให้แหล่งท่องเที่ยวปลอดภัย
สะดวกสบาย เป็นที่สนใจแก่นักท่องเที่ยวยิ่งขึ้น
๓. เร่งรัด กวดขัน และควบคุมการพัฒนาด้านการคมนาคม การขนส่ง การสื่อสาร และ
การอุตุนิยมวิทยา ให้มีการประสานและส่งเสริมซึ่งกันและกัน เพื่อให้เกิดความเพียงพอ สะดวก
รวดเร็ว และประหยัด ทั้งสนับสนุนให้เอกชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาด้วย สาระสำคัญของการพัฒนา
ในด้านคมนาคม มีดังนี้
(ก) ปรับปรุงบริการขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครควบคุมบริการรถบรรทุกและรถ
โดยสารระหว่างจังหวัดให้มีประสิทธิภาพและปรับปรุงบำรุงทางหลวงและการรถไฟให้ตรงต่อความ
ต้องการทางเศรษฐกิจและสังคม
(ข) เร่งรัดให้มีการสร้างท่าเรือน้ำลึกที่แหลมฉบังและพัฒนาท่าเรือชายฝั่งอื่น ๆ
ปรับปรุงร่องน้ำเพื่อส่งเสริมให้มีการใช้การขนส่งชายฝั่งและตามแม่น้ำลำคลองให้มากยิ่งขึ้นและ
ส่งเสริมการขยายพาณิชย์นาวีไทยให้มีความเป็นปึกแผ่นมั่นคง
(ค) ปรับปรุงท่าอากาศยานดอนเมืองเพื่อแก้ปัญหาระยะสั้น ทั้งเริ่มการพัฒนา
ท่าอากาศยานระหว่างประเทศที่สมบูรณ์แบบและสนับสนุนการขยายบริการ
(ง) ปรับปรุงบริการและแก้ปัญหาขัดข้องด้านการสื่อสารและการไปรษณีย์ให้เป็น
บริการที่มี ประสิทธิภาพและสะดวกแก่ประชาชน
๔. ในด้านการพาณิชย์จะดำเนินการให้ผู้ผลิตสามารถจำหน่ายสินค้า และผลิตผลได้ใน
ราคาที่เป็นธรรม และให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าที่จำเป็นแก่การครองชีพได้ในราคาที่พอสมควร ขยายตลาด
สินค้าไทยในต่างประเทศให้กว้างขวางยิ่งขึ้น รวมทั้งประเทศที่มีระบบการเมืองและระบบเศรษฐกิจ
แตกต่างกับประเทศไทยด้วย ในการนี้จะให้การค้าดำเนินไปโดยเสรี มีการแข่งขันกันอย่างมีระเบียบ
และเป็นธรรม โดยคำนึงถึงประโยชน์ของผู้บริโภคและผู้ผลิตในประเทศไทย ตลอดจนดุลการค้าด้วย
ทั้งส่งเสริมสนับสนุนให้มีการประหยัดและให้มีการใช้สินค้าที่ผลิตในประเทศให้มากขึ้น
๕. ดำเนินการพัฒนาเมืองและชนบท โดยยึดหลักกระจายความเจริญไปสู่ท้องถิ่น
ต่าง ๆ ทั่วทุกภาค พร้อมกับพัฒนาบริการสาธารณูปโภคอันจำเป็นแก่ชุมชน อาทิ การปรับปรุง
การสัญจร การไฟฟ้า การประปาหรือน้ำกินน้ำใช้ และการสร้างที่อยู่อาศัย ในการนี้จะได้อาศัย
ความร่วมมือขององค์การปกครองท้องถิ่นและประชาชนด้วย
๖. สนับสนุนเกษตรกรและผู้ใช้แรงงานในอาชีพอื่น ๆ ให้ได้รับประโยชน์อันชอบธรรม
โดยช่วยเหลือให้มีที่ดินประกอบอาชีพตามความเหมาะสม อันได้แก่การปฏิรูปที่ดินกับการจัดสรร
ที่ดิน ช่วยเหลือผู้ใช้แรงงานในกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ให้ได้รับค่าตอบแทนอย่างเป็นธรรม รวมทั้งให้ได้รับ
ความมั่นคงปลอดภัยในการทำงาน และบริการทางสวัสดิการตามควร
๗. รักษาเสถียรภาพทางการเงินและการคลังให้มั่นคง และปรับปรุงภาษีอากรเพื่อ
ส่งเสริมและอำนวยความสะดวกในการลงทุนและการเสริมสร้างการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
๘. ดำเนินการให้การใช้ทรัพยากรธรรมชาติเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมมากที่สุด
ในขณะเดียวกันก็หาทางป้องกันและกำจัดพิษภัยที่เกิดแก่สิ่งแวดล้อมอันสืบเนื่องมาจากการพัฒนา
ทุกด้านตามควรแก่กรณี
๙. ร่วมมือกับต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศในกลุ่มอาเซียน เพื่อพัฒนาการเกษตร
การอุตสาหกรรม การค้า การขนส่ง และการสื่อสาร
๑๐. ดำเนินการปรับปรุงรัฐวิสาหกิจที่ประกอบกิจการสาธารณูปโภคให้มีประสิทธิภาพ
ยิ่งขึ้น จนเป็นที่พอใจของประชาชน ส่วนรัฐวิสาหกิจอื่นที่มีขีดความสามารถต่ำและมีวิสาหกิจ
เอกชนดำเนินการอยู่แล้ว จะดำเนินการยุบเลิกหรือจำหน่ายให้แก่ประชาชนต่อไป
๓. นโยบายเกี่ยวกับสังคม
ในด้านความยุติธรรม
รัฐบาลจะปรับปรุงวิธีการและการดำเนินการพิจารณาคดของศาลให้เป็นไปโดยสะดวก
และรวดเร็วเพื่อมิให้ประชาชนที่มีความจำเป็นต้องมาศาลต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายเกินความ
จำเป็นในขณะเดียวกันจะรีบเร่งจัดตั้งศาลเฉพาะเรื่อง เช่น ศาลปกครอง ศาลแรงงานศาลภาษี
เป็นต้นเพื่อให้เหมาะสมกับวิวัฒนาการของสังคม นอกจากนั้นรัฐบาลจะได้จัดให้มีระบบการ
ควบคุมความประพฤติของผู้ที่ศาลพิพากษาว่ากระทำผิดอาญาบางประเภทที่ไม่เป็นภัยต่อสังคม
ส่วนรวมแทนการจองจำอันเป็นการทำลายอนาคตของผู้นั้นและเป็นภาระแก่งบประมาณแผ่นดิน
อีกด้วย
ในด้านการสาธารณสุข
รัฐบาลจะดำเนินการเร่งรัดการให้บริการสาธารณสุขแก่ประชาชน ทั้งในด้านการส่งเสริม
สุขภาพการป้องกันโรคและการรักษาพยาบาล โดยเน้นหนักในส่วนภูมิภาค และท้องถิ่นชนบทที่ห่างไกล
จะจัดสร้างโรงพยาบาลประจำอำเภอสถานีอนามัย และสำนักงานผดุงครรภ์ตามตำบลต่าง ๆ เพิ่มขึ้น
ปรับปรุงขยายงานโรงพยาบาลจังหวัด จัดสร้างโรงพยาบาลศูนย์ประจำภาค และจะจัดให้มีแพทย์
ผู้ชำนาญหลายสาขาไปประจำเพื่อให้บริการรักษาผู้ป่วย ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยแพทย์ผู้ชำนาญ
การแต่ละสาขา สำหรับประชาชนผู้ยากไร้ จะได้รับการรักษาพยาบาลโดยไม่คิดมูลค่า รวมทั้งจะจัด
หน่วยสาธารณสุขเคลื่อนที่เพิ่มขึ้น เพื่อให้การรักษาพยาบาลและป้องกันโรคแก่ประชาชนในท้องถิ่น
ซึ่งห่างไกลและกันดาร ขยายการผลิตและเสริมสร้างสมรรถภาพของบุคลากรสาธารณสุขประเภท
ต่าง ๆตลอดจนการฝึกอบรมอาสาสมัครสาธารณสุขในระดับหมู่บ้านเพื่อช่วยสนับสนุนการบริการ
สาธารณสุขเบื้องต้น
สำหรับการวางแผนครอบครัวนั้น รัฐบาลจะสนับสนุนให้แพร่หลายและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
โดยจะเผยแพร่ให้ประชาชนได้เข้าใจ และตระหนักถึงผลดีของการวางแผนครอบครัวจะเร่งรัดและ
ดำเนินการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด และวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทอื่นควบคู่กับ
การรักษาพยาบาล และฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ติดยาเสพติดเพื่อมิให้เป็นภาระแก่สังคมต่อไป
ในด้านการศึกษา
รัฐบาลนี้จะส่งเสริมการศึกษาทุกระดับ และให้ประชาชนมีโอกาสเท่าเทียมกันในการได้รับ
การศึกษาจะพัฒนาการศึกษาทุกระดับให้ต่อเนื่องกันและให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติ จะขยายการศึกษาภาคบังคับให้กว้างขวางทั่วถึงทุกท้องถิ่น และให้ประชาชน
มีส่วนร่วมพัฒนาการศึกษาภาคบังคับมากยิ่งขึ้น จะสนับสนุนอาชีวศึกษาและการศึกษานอกโรงเรียน
เป็นประการสำคัญ และให้เอกชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาด้วย
ในด้านคุณภาพของการเรียนและการสอนจะปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นและพยายามให้มีคุณภาพ
ทัดเทียมกันทั้งในเมืองและชนบท จะจัดกิจกรรมเพื่อให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา รวมทั้งเยาวชน
นอกโรงเรียนได้รับการฝึกฝนให้มีความรู้ มีคุณธรรม มีพลานามัยอันสมบูรณ์ มีระเบียบวินัยมี
ความรักความสามัคคีระหว่างชนในชาติตระหนักถึงหน้าที่และความรับผิดชอบต่อสังคมและ
ประเทศชาติ ตลอดจนมีความเจริญเติบโตทั้งทางร่างกาย สติปัญญาและจิตใจที่กล้าแข็งในอันที่จะ
เป็นกำลังป้องกันประเทศชาติที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคตและมีความสำนึกในหน้าที่และความ
รับผิดชอบตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
ในด้านการบริหารการศึกษา จะปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารงานและจัดให้มีการร่วมมือ
ประสานงานระหว่างสถาบันการศึกษาระหว่างราชการส่วนกลางกับหน่วยที่จัดการศึกษาในส่วนภูมิภาค
และส่วนท้องถิ่นเพื่อให้การใช้งบประมาณสำหรับการศึกษาของชาติเป็นไปโดยประหยัดและได้ผลตรง
ตามเป้าหมาย
รัฐบาลนี้จะรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมอันดีงามของชาติ และบำรุงศาสนาให้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยว
จิตใจของประชาชนส่วนการศึกษาในระดับอุดมศึกษา จะเน้นในด้านคุณภาพ โดยจะสนับสนุนการวิจัย
และเพิ่มแขนงวิชาตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตลอดจนจัดหลักสูตรและการสอนให้
เหมาะสมกับสภาพของประเทศยิ่งขึ้น จะสนับสนุนให้แต่ละมหาวิทยาลัยได้ทำหน้าที่ให้บริการสังคม
ตามความสามารถของตน จะพยายามส่งเสริมให้มีความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย และจะสนับสนุน
กิจกรรมของนิสิต นักศึกษา ในด้านการกีฬา ศิลปวัฒนธรรมให้มากยิ่งขึ้น
ในด้านการปกครอง
เพื่อวางรากฐานระบอบประชาธิปไตยให้มั่นคง และให้การเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในพุทธศักราช
๒๕๒๑ นี้เป็นไปโดยบริสุทธิ์ยุติธรรม และได้ผู้แทนราษฎรที่ดีรัฐบาลจะเผยแพร่ความรู้ในระบอบ
ประชาธิปไตยและการปกครองตนเองแก่ประชาชนทั่วทุกหมู่บ้านทั้งนี้นอกจากจะมีวิทยากรของ
รัฐบาลออกไปฝึกอบรมแล้ว จะส่งเสริมให้สภาตำบลและหมู่บ้านอาสาพัฒนาป้องกันตนเองมีขีด
ความสามารถในด้านปกครองตนเองนอกเหนือไปจากด้านพัฒนาที่ทำอยู่แล้วรวมทั้งสามารถแก้
ปัญหาระดับท้องถิ่นได้เองตามสมควร ในส่วนที่เกี่ยวกับข้าราชการ จะปรับปรุงสวัสดิการ ขวัญ
และระบบการปฏิบัติราชการของข้าราชการให้ดีและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ท่านประธานสภาที่เคารพและท่านสมาชิกผู้มีเกียรติทั้งหลาย รัฐบาลของพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวนี้ชุดนี้ ขอให้คำมั่นว่าจะบากบั่นพยายามทุกวิถีทางด้วยความมานะอดทนและซื่อสัตย์
สุจริต ที่จะปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถเพื่อความผาสุก ความมั่นคงปลอดภัย และความอยู่ดี
กินดีของประชาชนอันเป็นยอดปรารถนาของพวกเราทุกคน รัฐบาลนี้ยินดีและพร้อมเสมอที่จะรับ
ความคิดเห็นและข้อแนะนำในด้านการสร้างสรรค์จากทุก ๆ ท่าน ฉะนั้นข้าพเจ้าจึงหวังว่าจะได้รับ
ความอนุเคราะห์ร่วมมือด้วยดีจากสภานี้ เพื่อสถาบันการปกครองทั้งสองฝ่ายของเราจะได้ร่วมมือกัน
จรรโลงประเทศชาติให้มั่นคงถาวรและเจริญก้าวหน้าสืบไป
ท่านประธานสภาที่เคารพและท่านสมาชิกผู้มีเกียรติ นโยบายที่รัฐบาลได้แถลงไปแล้วนั้น หาก
ท่านสมาชิกผู้มีเกียรติเห็นว่ายังไม่กระจ่างแจ้งหรือยังขาดตกบกพร่องในเรื่องใด ขอได้กรุณาซักถาม
หรือเสนอแนะได้ ผมและรัฐมนตรีแต่ละท่านยินดีที่จะชี้แจงและรับฟังความคิดเห็นของทุกท่าน เพื่อนำ
ไปประกอบการบริหารราชการต่อไป ขอขอบพระคุณทุกท่าน
*รายงานการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ ๒
วันพฤหัสบดีที่ ๑ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๒๐ หน้า ๔๖ - ๕๗ |
41 | คณะรัฐมนตรี คณะที่ ๔๑
พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
เป็นนายกรัฐมนตรี
ตั้งแต่วันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๒๒
แถลงนโยบาย เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๒๒
คำแถลงนโยบายของรัฐบาล*
ท่านประธานรัฐสภา และท่านสมาชิกผู้มีเกียรติ
ตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ข้าพเจ้าเป็นนายกรัฐมนตรี
ตามประกาศพระบรมราชโองการลงวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๒๒ และแต่งตั้งรัฐมนตรี
ตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๒๒ แล้วนั้น
ข้าพเจ้าและคณะรัฐมนตรี ได้พิจารณากำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินขึ้น
โดยวิเคราะห์ถึงปัญหาที่กำลังเผชิญหน้าประเทศชาติอยู่ในปัจจุบัน และแนวโน้มในอนาคต
รวมทั้งความมุ่งหมายปรารถนาหรือความต้องการของประชาชน ตลอดจนขีดความสามารถและ
ข้อจำกัดต่าง ๆ ที่เป็นอยู่สำหรับนโยบายที่จะแถลงต่อรัฐสภาในครั้งนี้ เป็นนโยบายที่จะใช้เพื่อ
แก้ปัญหาทั้งเฉพาะหน้าและปัญหาระยะยาวซึ่งด้แก่ ความอยู่รอดปลอดภัยของประเทศ เสถียรภาพ
ทางการเมือง เศรษฐกิจ และปากท้องของประชาชน โดยเฉพาะเกษตรกรในชนบทซึ่งเป็น
ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศและยังมีสภาพที่ยากจน ตลอดจนการเสริมสร้างความสามัคคี
ของชนในชาติรัฐบาลนี้มีความมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้บังเกิดผลดีที่สุดเพื่อความสมบูรณ์
พูนสุขความมั่นคงและความวัฒนาถาวรให้กับประเทศชาติและประชาชน รวมทั้งจะได้ดำเนินการ
ตามโครงการและแนวทางปฏิบัติที่สำคัญ ๆ ที่รัฐบาลชุดที่แล้วได้วางรากฐานและได้ดำเนินการ
มาบ้างแล้วให้บังเกิดผลสำเร็จตามระยะเวลาที่กำหนดไว้
ในโอกาสนี้ ข้าพเจ้าในฐานะหัวหน้ารัฐบาล ขอแถลงนโยบายเพื่อรัฐสภาได้ทราบดัง
ต่อไปนี้
๑. นโยบายทางการเมืองภายใน
๑.๑ รัฐบาลมีเจตนาอันแน่วแน่ ที่จะยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี
พระมหากษัตริย์เป็นประมุข จะรักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ เอกราช อธิปไตย และ
บูรณภาพแห่งดินแดน
๑.๒ จะเคารพและให้มีการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ กับทั้งยึดมั่นในความศักดิ์สิทธิ์ของ
กฎหมายอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ เพื่อให้บ้านเมืองมีความสงบเรียบร้อย ให้ประชาชนมีความ
ปลอดภัยในชีวิต ร่างกายทรัพย์สิน และดำรงชีวิตอย่างปกติสุข ถ้าเกิดการกระทบกระเทือน
ต่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง และความสงบสุขของประชาชน รัฐบาลจะแก้ไขปัญหา
ตามครรลองของกฎหมายด้วยเหตุและผล เพื่อให้บังเกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย
๑.๓ จะดำเนินการให้ราษฎร โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกล ล่อแหลม หรือถูกคุกคาม ให้มี
ความสามารถป้องกันตนเองได้ โดยจะจัดตั้งและฝึกอบรมราษฎรตามโครงการต่าง ๆ เช่น
ไทยอาสาป้องกันชาติและจัดหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง ให้บรรลุเป้าหมายทั้งใน
ด้านปริมาณและคุณภาพโดยเร็ว
๑.๔จะปรับปรุงระบบบริหารราชการให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบันตลอดจนเจ้าหน้าที่
ของรัฐให้สามารถปฏิบัติราชการและให้บริการแก่ประชาชนโดยรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
รวมทั้งเป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศได้อย่างจริงจัง และจะดำเนินการแก้ไขปัญหาที่ยังมี
ข้าราชการบางส่วนไม่เอาใจใส่ให้บริการแก่ประชาชน และไม่ให้ความเป็นธรรม รวมทั้งขจัดการ
ที่ข้าราชการบางคนยังกระทำการกดขี่เบียดเบียนราษฎรให้หมดสิ้นไปด้วย
๑.๕จะขจัดและป้องกันมิให้มีการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการทุกระดับและสร้าง
ภาพพจน์ของข้าราชการให้เป็นที่เลื่อมใสศรัทธา และไว้วางใจของประชาชนอย่างแท้จริง
๑.๖ จะกระจายอำนาจการบริหารไปสู่หน่วยงานในท้องถิ่นให้มากขึ้น และให้ประชาชนใน
ชนบทเข้าร่วมในการปกครองท้องถิ่นให้มากที่สุด
๑.๗ จะสนับสนุนและเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในการ
พัฒนาบ้านเมือง และจะให้การศึกษาอบรมประชาธิปไตยแก่ข้าราชการและประชาชน และให้
ประชาชนมีบทบาทการปฏิบัติในแนวทางประชาธิปไตยให้มากขึ้น เพื่อให้บังเกิดความศรัทธา
และยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
๒. นโยบายการต่างประเทศ
๒.๑ จะดำเนินนโยบายต่างประเทศอย่างอิสระ เพื่อธำรงรักษาเอกราชอธิปไตย และบูรณภาพ
แห่งดินแดน โดยยึดถือผลประโยชน์ ความมั่นคงปลอดภัย ความอยู่รอด และเกียรติภูมิของชาติ
เป็นสำคัญ
๒.๒ จะรักษาสิทธิและปฏิบัติตามพันธกรณีของสนธิสัญญาและความตกลงที่ได้ทำไว้กับ
ต่างประเทศตามหลักแห่งความเสมอภาคในการปฏิบัติต่อกัน จะเคารพและยึดมั่นในหลักการ
ของกฎบัตรสหประชาชาติและปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ในอันที่จะส่งเสริมสันติภาพ
ความยุติธรรม และความมั่นคงระหว่างประเทศตลอดจนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของ
นานาชาติให้เจริญรุ่งเรือง
๒.๓ จะส่งเสริมการดำรงอยู่ร่วมกันโดยสันติระหว่างประเทศทั้งหลายและสนับสนุนอย่าง
จริงใจต่อการแก้ไขปัญหาและความขัดแย้งระหว่างประเทศโดยสันติวิธี
๒.๔ จะส่งเสริมสัมพันธไมตรีอันดี และความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการค้า กับทุกประเทศ
โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างในลัทธิการปกครอง หรือระบบเศรษฐกิจและสังคมและจะยึดมั่น
ในหลักการเคารพเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งดินแดน ความเสมอภาค การไม่รุกราน และการ
ไม่แทรกแซงในกิจการภายในของประเทศอื่น
๒.๕ จะส่งเสริมสัมพันธไมตรีอันแน่นแฟ้น และสนับสนุนความร่วมมืออย่างเต็มที่แก่บรรดา
ประเทศสมาชิกของสมาคมแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในทางเศรษฐกิจการเมือง
และสังคมตลอดจนในการแก้ไขปัญหาและวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ที่กระทบกระเทือนต่อเสถียรภาพ
และความมั่นคงของภูมิภาคส่วนนี้ของโลก เพื่อความเจริญก้าวหน้าและประโยชน์สุขร่วมกัน
ของบรรดาประเทศสมาชิกของอาณาบริเวณนี้ และจะสนับสนุนมาตรการต่าง ๆ ที่จะเกื้อกูล
ให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บรรลุล่วงถึงซึ่งการเป็นเขตสันติภาพ เสรีภาพ และความเป็นกลาง
๒.๖ จะส่งเสริมความสัมพันธ์ ความร่วมมือและความเข้าใจอันดีกับประเทศเพื่อนบ้านที่
มิได้เป็นสมาชิกของสมาคมแห่งประเทศชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยยึดถือหลักการ
เสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศดังกล่าวข้างต้น เพื่อให้เกิดเสถียรภาพ ความมั่นคง และ
สันติสุขร่วมกันระหว่างไทยกับเพื่อนบ้านเหล่านี้
๒.๗ จะส่งเสริมและให้หลักประกันทางการค้าระหว่างประเทศ และการลงทุนภายในประเทศ
รวมทั้งร่วมมือกับประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ เพื่อเสริมสร้างประโยชน์แก่การพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมของประเทศ
๓. นโยบายการป้องกันประเทศ
๓.๑ จะเสริมสร้างกำลังที่ใช้ในการป้องกันประเทศให้เข้มแข็ง และอยู่ในสภาพพร้อมที่จะ
ป้องกันราชอาณาจักรทั้งกำลังทหาร กำลังตำรวจ อาสารักษาดินแดน และราษฎรอาสาในรูปแบบ
ต่าง ๆ และดำเนินการให้ประเทศมีความพรักพร้อมทางทรัพยากรที่จะสนับสนุนการระดมสรรพ
กำลังของชาติเพื่อการป้องกันประเทศ
๓.๒ จะขยายกำลังป้องกันประเทศตามแผนที่ได้วางไว้ และปรับปรุงให้มีกำลังเต็มตามอัตรา
และให้มีปริมาณเพียงพอที่จะป้องกันอธิปไตย และปราบปรามการก่อการร้าย
๓.๓ จะส่งเสริมการผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ขึ้นใช้ในประเทศ รวมทั้งการพัฒนาวิชาการ ระบบ
และมาตรฐานอาวุธ โดยยึดหลักพื้นฐานการพึ่งตนเอง
๓.๔ จะเร่งรัดการฝึกและปรับปรุงการจัดกำลัง ให้สามารถเผชิญภัยคุกคามได้ทุกรูปแบบ
๓.๕ จะบำรุงขวัญ กำลังใจ และรักษาระเบียบวินัยของทหารให้ดีอยู่เสมอและปรับปรุง
สวัสดิการให้อยู่ในสภาพที่ดีทั้งจะส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกำลังป้องกันประเทศกับประชาชน
และข้าราชการฝ่ายต่าง ๆ เพื่อผนึกความสามัคคี และจะดำเนินการให้เป็นที่มั่นใจว่ากำลังป้องกัน
ประเทศเป็นหลักมั่นในการรักษาความมั่นคงของชาติ
๓.๖ จะส่งเสริมให้ทหารทวีบทบาทในการพัฒนาและบรรเทาภัยพิบัติของประเทศและมี
ส่วนร่วมในการช่วยเหลือประชาชนในด้านอื่น ๆ กับจะได้ขยายและเพิ่มเติมการฝึกทหารให้มี
ความรู้ทางวิชาชีพเพื่อประโยชน์ในการประกอบอาชีพ เมื่อได้รับการปลดประจำการ
๓.๗ จะให้ทหารร่วมมือกับส่วนราชการอื่น ๆ ดำเนินการฝึกอบรมเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วม
ในการป้องกันประเทศ
๓.๘ จะให้หลักประกัน และสงเคราะห์ทหารผ่านศึกให้ดำรงชีพอยู่ได้ด้วยความเหมาะสม
๔. นโยบายทางเศรษฐกิจ
๔.๑ การแก้ไขปัญหาความยากจนของเกษตรกร และปัญหาความแตกต่างของรายได้
ระหว่างประชากรในเมืองและชนบท เป็นนโยบายที่มีลำดับความสำคัญเร่งด่วนที่รัฐบาลจะเร่ง
ดำเนินการอย่างเต็มกำลังความสามารถ รัฐบาลจะเร่งสร้างชีวิตและอนาคตของเกษตกรซึ่งเป็น
ประชากรส่วนใหญ่ให้มีความมั่นคง มีความหวัง และยกระดับรายได้ให้อยู่ดีกินดีขึ้น รวมทั้งการ
กระจายรายได้ให้ทัดเทียมกับประชากรในกลุ่มอาชีพอื่น โดยรัฐบาลจะดำเนินนโยบายพัฒนา
การเกษตรที่สำคัญ ดังต่อไปนี้
๔.๑.๑ การพัฒนาแหล่งน้ำและระบบชลประทาน จะเร่งรัดพัฒนาแหล่งน้ำทุกขนาดในพื้นที่
เพาะปลูกที่แห้งแล้งทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและจะเน้นหนัก
โครงการชลประทานขนาดเล็กที่จะถึงมือประชาชนโดยตรงรวมทั้งการป้องกันน้ำท่วม
๔.๑.๒ การส่งเสริมและพัฒนาการผลิต จะดำเนินการช่วยเหลือเกษตรกรในการเพิ่ม
ประสิทธิภาพในการผลิต ให้มีปริมาณและคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการภายในประเทศ
และตลาดของโลก โดยกำหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจ และปริมาณการผลิตขึ้นทั่วราชอาณาจักร
รวมทั้งจะจัดหาและพัฒนาปัจจัยการผลิตต่าง ๆ ได้แก่ ปุ๋ย เมล็ดพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ที่มีคุณภาพ
ยาปราบโรคศัตรูพืชและสัตว์ตลอดจนอุปกรณ์เครื่องทุ่นแรงที่จำเป็น
๔.๑.๓ การรักษาระดับราคาผลิตผลของเกษตรกรให้เป็นธรรม จะดำเนินการทุกวิถีทางที่จะ
รักษาระดับราคาผลิตผลของเกษตรกรให้คงอยู่ในระดับที่เป็นธรรม ได้แก่การพยุงราคาหรือการ
ประกันราคาตามความเหมาะสม รวมทั้งการประกันผลตอบแทนจากการประกอบอาชีพทางการ
เกษตร และเร่งรัดปรับปรุงกลไกการตลาดของเกษตรกรโดยขจัดการผูกขาด และการเอารัดเอา
เปรียบของพ่อค้าคนกลาง
๔.๑.๔. การส่งเสริมสถาบันการเกษตร จะส่งเสริมและสนับสนุนกลุ่มเกษตรกรและสหกรณ์
การเกษตร ให้เป็นสถาบันที่เข้มแข็ง และสามารถแปรสภาพให้เป็นสถาบันเกษตรกรในระบบสหกรณ์
ที่มีกำลังในด้านการตลาดและการสินเชื่อให้มากยิ่งขึ้น และร่วมมือกับรัฐบาลในการเพิ่ม
ผลผลิตการเกษตร
๔.๑.๕ การขยายสินเชื่อเพื่อการเกษตร จะร่วมมือกับธนาคารพาณิชย์ และสนับสนุน
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ในการขยายสินเชื่อแก่เกษตรกรให้มากและ
กว้างขวางยิ่งขึ้น
๔.๑.๖ การปฏิรูปที่ดิน จะเร่งรัดการปฏิรูปที่ดิน โดยมีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงระบบการ
ถือครองที่ดินเพื่อพัฒนาการเกษตร โดยมุ่งหวังให้เกษตรกรมีที่ดินทำกินด้วยตนเอง
๔.๑.๗ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ จะอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติได้แก่
ที่ดิน ป่าไม้ และแหล่งน้ำต่าง ๆ เพื่อให้สามารถรักษาไว้ได้เป็นการถาวร และให้มีการนำทรัพยากร
เหล่านี้มาใช้เป็นประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพ
๔.๑.๘ การขนส่งผลผลิตการเกษตร จะเร่งรัดระบบการขนส่งผลผลิตการเกษตรจาก
ไร่นาที่ห่างไกล เพื่อให้เกษตรกรสามารถขนส่งผลผลิตออกสู่ตลาดได้โดยสะดวกและเป็นการ
ชักจูงให้มีการเพิ่มผลผลิตมากขึ้น
๔.๒ จะเร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจในชนบทเพื่อฟื้นฟูและยกฐานะทางเศรษฐกิจในหมู่บ้านชนบท
เป็นขั้นตอนไปจนทั่วประเทศ และจะเน้นหนักหมู่บ้านชนบทในเขตท้องถิ่นทุรกันดารที่อยู่ห่างไกล
โดยมีเป้าหมายให้ประชาชนในชนบทมีปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตที่ดีขึ้นและเพื่อเสริมสร้าง
เสถียรภาพทางสังคม และประสบการณ์ทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยในชนบท ตลอดจนจะได้
ระดมความร่วมมือของประชาชนและปลูกฝังความสามัคคีในหมู่บ้าน เปิดโอกาสให้ประชาชนเป็น
ผู้ริเริ่มวางแผนพัฒนาหมู่บ้านของตนเองตามความต้องการ โดยให้สภาตำบลเป็นผู้พิจารณาเสนอ
ความต้องการขึ้นมาและมีส่วนร่วมในการพัฒนาตนเอง โดยรัฐบาลเป็นผู้สนับสนุน ในการนี้จะได้
ปรับปรุงองค์การและสายงานในการพัฒนาชนบทโดยกำหนดให้มีแผนพัฒนาชนบทแห่งชาติ เป็น
แผนงานเพียงแผนเดียว และสัมพันธ์กับแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
๔.๓ โดยที่ปัญหาค่าครองชีพและปัญหาปากท้องของประชาชนเป็นปัญหาที่มีความสำคัญ
เร่งด่วนรัฐบาลจะดำเนินการในการรักษาระดับราคาสินค้าที่จำเป็นในการอุปโภคบริโภคให้อยู่ใน
ระดับที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงความเป็นธรรมทั้งของผู้ผลิตและผู้บริโภคด้วย
๔.๔ เพื่อให้สถานการณ์ขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงของโลกมีผลกระทบกระเทือนต่อประเทศไทย
น้อยที่สุด รัฐบาลจะดำเนินการทุกวิถีทางที่จะบรรเทาการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงภายในประเทศ
ในขณะเดียวกันจะเพิ่มกำลังการผลิตของโรงกลั่นน้ำมันที่มีอยู่แล้วให้มากขึ้นทั้งของเอกชนและของ
รัฐ จะขยายการตั้งโรงกลั่นน้ำมันเพิ่มขึ้นอีกตามความจำเป็น ทั้งจะเร่งสำรวจแหล่งน้ำมันและนำแก๊ส
ธรรมชาติมาใช้โดยมีเป้าหมายจะนำแก๊สมาใช้ให้ได้ในปี ๒๕๒๔ นี้ และจะพัฒนาการนำวัสดุและวิธี
การอื่นมาใช้เสริมหรือทดแทนพลังงานจากน้ำมัน ขณะเดียวกันจะเร่งรัดให้มีการใช้น้ำมันอย่างประหยัด
๔.๕ จะขจัดปัญหาการว่างงานให้ลดลง และจัดการให้มีการใช้แรงงานให้เหมาะสมโดย
๔.๕.๑ สร้างงานให้เกษตรกรทำนอกฤดูเพาะปลูกให้มากยิ่งขึ้น
๔.๕.๒ ส่งเสริมอาชีพประชาชนในชนบทที่ไม่อยู่ในภาคเกษตรกรรมเพิ่มขึ้น
๔.๕.๓ ปรับปรุงคุณภาพแรงงานให้มีคุณภาพสูงขึ้นและให้สอดคล้องกับความต้องการ
ของตลาดแรงงาน
๔.๖ จะให้ความสำคัญเป็นพิเศษต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เพื่อให้ได้มาซึ่งเงินตรา
ต่างประเทศและจะใช้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจ และสังคมของชาติโดยเฉพาะ
อย่างยิ่งในการสร้างงานอาชีพให้แก่ประชาชนทั้งในเมืองและในชนบทให้มากยิ่งขึ้น
ในการนี้ จะเร่งรัดส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างจริงจัง โดยจะมอบหมายให้การท่องเที่ยว
แห่งประเทศไทยดำเนินการเป็นกรณีพิเศษและเร่งด่วน เพื่อเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ
ให้สูงขึ้นโดยเร็ว และให้กระจายนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศออกไปสู่ต่างจังหวัดให้
มากยิ่งขึ้น
๔.๗ จะส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างลูกจ้างกับนายจ้าง เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงความ
รับผิดชอบร่วมกันในการประกอบกิจการและช่วยเหลือส่งเสริมให้ฝ่ายลูกจ้างได้รับค่าตอบแทนและ
การปฏิบัติจากฝ่ายนายจ้างอยางเป็นธรรมเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตได้โดยสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ
และสังคม ทั้งนี้โดยคำนึงถึงการให้ความเป็นธรรมแก่นายจ้างด้วยนอกจากนั้นจะสนับสนุนการ
รวมตัวและส่งเสริมการให้การศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายของผู้ใช้แรงงานเพื่อให้เกิดอำนาจต่อรอง
อย่างมีหลักเกณฑ์และถูกต้องเหมาะสมกฎหมายเกี่ยวกับแรงงานที่ไม่เป็นธรรม ก็จะได้แก้ไขให้
สอดคล้องกับสภาวการณ์ต่อไป
๔.๘ ในด้านการพาณิชย์ต่างประเทศ จะขยายตลาดสินค้าให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ในการนี้จะให้
มีการประสานกันอย่างใกล้ชิดระหว่างรัฐบาลกับเอกชน จะให้การค้าดำเนินไปโดยมีการแข่งขัน
กันอย่างเป็นธรรม โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้บริโภคและผู้ผลิตภายในประเทศตลอดจนดุล
การค้าของประเทศเป็นสำคัญจะแก้ไขอุปสรรคต่าง ๆ ในการส่งสินค้าออก จะส่งเสริมและสนับสนุน
ให้มีการปรับปรุงคุณภาพสินค้าให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดจะเพิ่มขีดความสามารถ
ในการขนส่งระหว่างประเทศ และจะให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้ส่งสินค้าออกในด้านภาษีอากร ตลอดจน
ขจัดอุปสรรคปัญหา และ ข้อเสียเปรียบ ในการแข่งขันในตลาดต่างประเทศ
๔.๙ จะดำเนินการปรับปรุงรัฐวิสาหกิจให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ส่วนรัฐวิสาหกิจบางประเภท
ที่หมดความจำเป็น จะดำเนินการปรับปรุง แปรสภาพ ยุบเลิก หรือจำหน่ายตามควรแก่กรณีต่อไป
๔.๑๐ จะส่งเสริมการลงทุนของเอกชนในกิจการที่เป็นประโยชน์ต่อความมั่นคงการ
เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ด้วยการใช้เงินทุนและเทคโนโลยีที่เหมาะสม ทั้งจากภายใน
ประเทศและต่างประเทศ โดยมุ่งเพิ่มการกระจายการลงทุน ให้อย่างเพียงพอ จะเร่งรัดขยาย
ขอบเขตการลงทุนในกิจการที่ใช้ผลิตผลทางการเกษตรเป็นวัตถุดิบ โดยจะให้มีแผนสนับสนุนและ
ส่งเสริมการผลิตทางการเกษตรให้สอดคล้องและสมดุลย์กัน จะให้ความสำคัญแก่กิจการลงทุนที่
ใช้แรงงานจำนวนมาก และกิจการลงทุนขนาดกลางเพื่อช่วยเร่งสร้างงานและเพิ่มพูนรายได้ของ
ประชาชนในชนบท กิจการลงทุนที่จะได้รับการสนับสนุนเป็นพิเศษอีกประการหนึ่ง คือ กิจการผลิต
เพื่อการส่งออก ซึ่งจะดำเนินการให้เหมาะสมกับภาวะตลาดต่างประเทศ และสอดคล้องกับแผน
ขยายตลาดของเรา จะให้ความมั่นใจแก่ผู้ลงทุน โดยการขจัดอุปสรรคปัญหาต่าง ๆ และปรับปรุง
กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และพิธีการ เพื่อให้เกิดความสะดวกในการประกอบกิจการลงทุน
และได้รับผลปฏิบัติที่เป็นธรรม
๔.๑๑ จะส่งเสริมให้เอกชนประกอบกิจการอุตสาหกรรมโดยเสรี โดยรัฐจะไม่จัดตั้งรัฐวิสาหกิจ
อุตสาหกรรมขึ้นเป็นการแข่งขัน และจะวางแผนพัฒนาอุตสาหกรรม ทั้งการวางแผนรวม และแผน
เฉพาะประเภท รวมทั้งแผนพัฒนาอุตสาหกรรมในส่วนภูมิภาคโดยกำหนดเป็นหลักการ แนวทาง และ
เป้าหมายที่แน่นอนขึ้น ดำเนินการเพื่อสนับสนุนการส่งเสริม การลงทุนในกิจการอุตสาหกรรมขั้น
พื้นฐานอุตสาหกรรมที่แปรสภาพวัตถุดิบให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น และการขยายตัวของอุตสาหกรรมที่มี
ความเชื่อมโยงสัมพันธ์กับอุตสาหกรรมที่มีอยู่แล้ว และจะให้ความช่วยเหลือและดูแลอุตสาหกรรม
ขนาดย่อม และอุตสาหกรรมในครอบครัว จะพิจารณาการร่วมลงทุนของรัฐตามความเหมาะสมและ
จำเป็น จะให้ความช่วยเหลือในด้านเงินกู้การสำรวจและ จัดหาทรัพยากรธรรมชาติ และการจัดหา
ตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ จะจัดตั้งเขตอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก และนิคมอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น จะ
เร่งรัดกำหนดมาตรฐานสำหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มความเชื่อถือในคุณภาพสินค้าไทย
ทั้งในตลาดภายในประเทศ และตลาดต่างประเทศ ตลอดจนให้ความร่วมมือกับประเทศสมาชิก
สมาคมอาเชียนในโครงการความร่วมมือทางด้านอุตสาหกรรมโดยใกล้ชิด
๔.๑๒ จะเร่งรัดพัฒนาการคมนาคม การขนส่งและการสื่อสารโทรคมนาคมให้มีประสิทธิภาพ
และสอดคล้องกับแผนพัฒนาการเศรษฐกิจสาขาอื่น ๆ ให้มีความเพียงพอ ความสะดวก ความรวดเร็ว
ปลอดภัย และเป็นการประหยัด ในระบบการคมนาคมขนส่งทางบกจะสร้างให้เกิดความสัมพันธ์ที่
เหมาะสมระหว่างการขนส่งทางถนนและการขนส่งทางรถไฟในขณะเดียวกันจะพัฒนาการขนส่ง
ทางน้ำให้มีบทบาทสำคัญมากยิ่งขึ้น และให้สอดคล้องกับการขนส่งทางบก ส่วนการขนส่ง
ทางอากาศนั้น จะขยายขอบเขตการดำเนินงานให้สัมพันธ์กับการขยายตัวของความต้องการแห่ง
การขนส่งทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ โดยเฉพาะจะให้สนองการขยายตัวของอุตสาหกรรม
ท่องเที่ยว ในด้านการสื่อสารโทรคมนาคมทุกรูปแบบโดยมุ่งจะปรับปรุงกับกิจการโทรศัพท์ให้มี
การขยายจำนวน และนำระบบที่ทันสมัยมาใช้รวมทั้งจะดำเนินการใช้ประโยชน์ของระบบสื่อสาร
โดยดาวเทียมให้มากยิ่งขึ้น
๔.๑๓ จะจัดให้มีการใช้ทรัพยากรของชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาประเทศชาติ
จะจัดให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างถูกต้อง ประหยัด และคุ้มค่า นอกจากนั้นจะอนุรักษ์ทรัพยากร
ที่หายากและกำลังอยู่ในสภาพที่เสื่อมโทรม เช่น ป่าไม้ และเร่งสำรวจหาทรัพยากรเพื่อนำมาใช้
ในการพัฒนาประเทศ และใช้ทรัพยากรอย่างอื่นทดแทนทรัพยากรที่หายากและกำลังจะหมดไป
รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการใช้ และการอนุรักษ์ทรัพยากรให้เหมาะสมกับ
กาลสมัย
๔.๑๔ จะดำเนินการในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดังต่อไปนี้
๔.๑๔.๑ จะระดมสรรพกำลังคนทางวิทยาศาสตร์เพื่อปฏิบัติงานวิจัยและประยุกต์
วิทยาศาสตร์ในการพัฒนาสร้างเสริมความมั่นคงให้แก่ประเทศ
๔.๑๔.๒ จะเร่งรัดพัฒนาวิทยาการและจะใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ในการจัด
ทรัพยากรธรรมชาติ โดยจะดำเนินการสำรวจ วางแผน ส่งเสริมให้การผลิตทั้งของรัฐและเอกชน
เป็นไปอย่างถูกต้องและประหยัด
๔.๑๔.๓ จะสรรหาเทคโนโลยีจากในประเทศและจากต่างประเทศ เพื่อปรับปรุงให้
เป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสม และ จะส่งเสริมให้มีการใช้ประโยชน์ในการพัฒนาชนบท เพื่อพัฒนา
การดำรงชีพทั้งในด้านพลังงาน การเกษตร และอุตสาหกรรมในครัวเรือน
๔.๑๔.๔ จะจัดให้มีการร่วมมือประสานงานในระดับชาติ เพื่อปรับปรุงแผนการ
ดำเนินงานที่เกี่ยวกับการพลังงานของประเทศให้เหมาะสมกับสถานการณ์ และภาวะการณ์เกี่ยวกับ
การพลังงานที่กำลังเปลี่ยนอยู่อย่างรวดเร็ว
๔.๑๔.๕ จะเร่งรัดการถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อจะแก้ปัญหาพลังงาน ปัญหาสิ่งแวดล้อม
โดยจะรักษาไว้ซึ่งความสมดุลย์แห่งธรรมชาติ
๔.๑๔.๖ จะเผยแพร่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อ
ฐานะทางเศรษฐกิจ สังคม และจิตวิทยาของชนในชาติ
๔.๑๔.๗จะปรับปรุงเทคโนโลยีใน ประเทศเพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อการจัดให้มี
โครงสร้างพื้นฐานในการพัฒนาประเทศ
๔.๑๕ จะดำเนินการต่อไปตามโครงการพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ที่จะส่งเสริมสมรรถภาพ
การผลิตให้มีขีดความสามารถสูงขึ้น อันจะเอื้อจำนวยต่อการลงทุน และการขยายตัวในทุกภาค
เศรษฐกิจ ได้แก่ โครงการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
๔.๑๕.๑ โครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกที่สัตหีบ เพื่อขนส่งสินค้าทั้งเกษตรกรรมและ
อุตสาหกรรม ช่วยระรายความคับคั่งของท่าเรือกรุงเทพฯ มีเป้าหมายว่าจะใช้งานได้ในปี ๒๕๒๓
และจะขยายให้เต็มโครงการภายในปี ๒๕๒๕
๔.๑๕.๒ โครงการสร้างทางรถไฟสายฉะเชิงเทรา - สัตหีบ เพื่อเป็นเส้นทางขนส่ง
จากท่าเรือสัตหีบเชื่อมโยงกับทางรถไฟสายอื่นได้ โดยไม่ต้องผ่านกรุงเทพฯ
๔.๑๕.๓ โครงการพัฒนาท่าอากาศยานกรุงเทพฯ เพื่อให้ท่าอากาศยานกรุงเทพฯ
มีขีดความสามารถบริการเกี่ยวกับธุรกิจการบิน และผู้โดยสารสูงขึ้น และเพื่อรักษาความเป็น
ศูนย์กลางสายการบินระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
๔.๑๕.๔ โครงการพัฒนาแก๊สธรรมชาติ มีเป้าหมายที่จะนำแก๊สธรรมชาติที่พบ
ในอ่าวไทยขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้ในปี ๒๕๒๔ ประมาณวันละ ๒๕๐ ล้านลูกบาศก์ฟุต และจะเพิ่ม
เป็นวันละ ๕๐๐ ล้านลูกบาศก์ฟุต ในระยะต่อไป
๔.๑๕.๕ โครงการขยายเหมืองลิกไนท์ จะพัฒนาเหมืองลิกไนท์ที่แม่เมาะให้ได้
๓.๘ ล้านตันต่อปี เพื่อนำมาผลิตกระแสไฟฟ้าทดแทนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง
๔.๑๕.๖ โครงการโปแตซ เกลือหิน และโซดาแอช โครงการนี้จะทำให้มีเหมือง
ผลิตเกลือใต้ดินขนาดใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการเกษตร
และอุตสาหกรรมบางประเภทอีกด้วย จะเร่งรัดสำรวจและพัฒนาแหล่งแร่โปแตซที่มีคุณค่า เพื่อ
นำมาใช้ในอุตสาหกรรมผลิตปุ๋ยเคมีต่อไป
๔.๑๕.๗ โครงการถลุงแร่สังกะสี เป็นโครงการที่จะทำให้มีโรงถลุงแร่สังกะสี
ขนาดใหญ่ ซึ่งจะเป็นผลดีต่ออุตสาหกรรมที่ใช้สังกะสีเป็นวัตถุดิบทั่วไปโดยจะไม่ต้องสั่งสังกะสี
เข้ามาจากต่างประเทศ
๔.๑๕.๘ โครงการอุตสาหกรรมเหล็กพรุน เป็นโครงการขั้นต้นที่จะนำไปสู่การ
พัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กสมบูรณ์แบบของประเทศ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาอุตสาหกรรม
อื่น ๆ ที่สำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศต่อไป
๔.๑๕.๙ โครงการอุตสาหกรรมปุ๋ยเคมี จะดำเนินการจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรม
ผลิตปุ๋ยเคมี ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมพื้นฐานที่จำเป็นอย่างยิ่งประเภทหนึ่ง เพื่อให้เกษตรกรมีปุ๋ยไว้ใช้
ในปริมาณที่เพียงพอ ในราคาที่เหมาะสม และมีสำรองไว้ในยามฉุกเฉิน
๔.๑๕.๑๐ โครงการทางหลวงรอบกรุงเทพมหานครนอก โครงการนี้จะเป็นการ
ก่อสร้างทางสายหลักรอบเมืองหลวงวงนอก เพื่อมิให้รถวิ่งผ่านเข้าไปกลางเมือง โดยในชั้นแรก
จะสำรวจออกแบบและสร้างทางในด้านตะวันตกของกรุงเทพฯ ก่อน ซึ่งจะได้เริ่มการก่อสร้างตอน
บางบัวทอง - ตลิ่งชัน ในปี ๒๕๒๓
๔.๑๕.๑๑ โครงการก่อสร้างระบบทางด่วน เพื่อเอื้ออำนวยต่อการขนส่งมวลชน และ
หลีกเลี่ยงความสูญเสียทางเศรษฐกิจ จะก่อสร้างทางด่วน ๓ สายพร้อมกันโดยสายดินแดง - ท่าเรือ
และบางนา - ท่าเรือ จะเปิดใช้ปี ๒๕๒๔ สำหรับการดำเนินการตามระบบขนส่งมวลชน (รถไฟฟ้า)
ก็จะได้ดำเนินการควบคู่กันไปด้วย
๔.๑๕.๑๒ โครงการพัฒนาเกษตรภาคเหนือ จะพัฒนาการเกษตรและสังคมบน
ที่สูงในภาคเหนือ โดยทำการพัฒนาด้านการชลประทาน การปลูกป่า และการพัฒนาเกษตรสังคม
บนที่สูงให้มีการพัฒนาชนบทเบ็ดเสร็จ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากแก่การพัฒนาชนบทตามนโยบาย
ของรัฐบาล โครงการนี้จะครอบคลุมเกษตรกรอย่างน้อย ๑๕,๐๐๐ ครอบครัว
๔.๑๕.๑๓ โครงการทำแอลกอฮอล์จากพืชผลทางเกษตร เป็นโครงการที่ผลิต
แอลกอฮอล์สำหรับนำมาผสมกับน้ำมันเบ็นซิน เพื่อใช้กับรถยนต์และยานพาหนะ เป็นการช่วยลด
การนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงจากต่างประเทศ และสำหรับใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเคมีภัณฑ์ต่าง ๆ
เป็นการช่วยเหลือเกษตรกรปลูกพืชผลหลายประเภท สามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบป้อนโรงงานได้
เป็นอย่างมาก
๔.๑๕.๑๔ โครงการผลิตเยื่อกระดาษ เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมโรงงานกระดาษ
อันจะเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจการเกษตรของประเทศเป็นอย่างยิ่ง และช่วยให้มิต้องส่งเยื่อ
กระดาษเข้ามาจากต่างประเทศเพื่อป้อนโรงงานกระดาษต่อไป
๔.๑๖ ในด้านภาษีอากร จะปรับปรุงโครงสร้างภาษีอากรให้มีการจัดเก็บภาษีทางตรงเพิ่มขึ้น
โดยมิให้ผู้มีรายได้น้อยเดือดร้อน ดำเนินการปรับปรุงอัตราภาษีอากรให้เป็นการส่งเสริมการส่ง
สินค้าออก ลดขั้นตอนในการบริหารจัดเก็บภาษีอากรที่เป็นอุปสรรคในการส่งสินค้าออก เร่งรัดการ
ชดเชยภาษีสินค้าออกให้มีประสิทธิภาพและกว้างขวางยิ่งขึ้น ขจัดภาษีซ้ำซ้อนในกิจการอุตสาหกรรม
เพื่อลดต้นทุนการผลิต และส่งเสริมการผลิตสินค้าทดแทนการนำเข้า ตลอดจนจะพิจารณาเพิ่มการ
ยกเว้นภาษีอากรสำหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ส่งออกเพื่อการแข่งขันในตลาดต่างประเทศส่งเสริม
การออกทรัพย์และลดการสูญเปล่าทางเศรษฐกิจ โดยอาศัยมาตรการทางการเงินและการคลัง และ
ให้มีการระดมเงินฝากจากประชาชนเข้าสู่ระบบสถาบันการเงินมากขึ้น จะควบคุมการดำเนินงาน
ของสถาบันการเงินทุกรูปแบบให้เป็นไปอย่างมีระเบียบ มั่นคงและเป็นที่เชื่อถือได้
ท่านประธานสภาที่เคารพและท่านสมาชิกผู้มีเกียรติ ในโครงการใหญ่ ๑๔ โครงการที่
รัฐบาลได้วางไว้นั้น รัฐบาลมีความมั่นใจที่จะทำโครงการใหญ่ทั้ง ๑๔ โครงการนี้ให้สำเร็จลุล่วง
ไปส่วนโครงการใหญ่อื่น ๆ นั้นมิได้นำมากล่าวในที่นี้ก็ยังอยู่ในระหว่างทำข้อพิจารณาและการจัดหา
เงินอยู่ ให้มีความสอดคล้องกับโครงการ
๕. นโยบายทางสังคม
๕.๑ จะจัดบริการสังคมให้ดีขึ้นทั่วประเทศ โดยจะดำเนินการ ดังนี้
๕.๑.๑ กระจายบริการสังคมให้ทั่วถึงทั้งในเมืองและในท้องถิ่นชนบทที่ห่างไกล โดยมุ่ง
พัฒนาบริการสาธารณูปโภคอันจำเป็นแก่ชุมชน อาทิ ปรับปรุงและเร่งให้มีเส้นทางสัญจร การ
ไฟฟ้า การประปา หรือ น้ำกินน้ำใช้ให้ทั่วถึงทุกตำบล
๕.๑.๒ ยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชน โดยให้ได้มีที่อยู่อาศัยในสภาพแวดล้อม
ที่ดีพอสมควร ป้องกันและแก้ไขปัญหาแหล่งเสื่อมโทรมและสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ซึ่งมีผลกระทบ
ต่อจิตใจ สุขภาพและความเป็นอยู่อันดีของประชาชน โดยเพิ่มจำนวนสวนสาธารณะซึ่งใช้เป็นที่
พักผ่อนหย่อนใจ เข้มงวดกวดขันการรักษาความสะอาดถนนหนทาง ระบบการระบายน้ำเสีย ที่อยู่
อาศัยแก้ไขการจราจร และปรับปรุงการขนส่งมวลชน
๕.๑.๓ เร่งรัดและสอดส่องให้สวัสดิการในด้านสุขภาพ และความปลอดภัยของลูกจ้าง
สนับสนุนและขยายขอบเขตการจัดตั้งกองทุนเงินทดแทนให้ทั่วถึง สร้างความเข้าใจระหว่าง
นายจ้างและลูกจ้าง ให้มีความเป็นธรรมแก่กันทั้งสองฝ่าย
๕.๒ ด้านการสาธารณสุข จะเร่งรัดการให้บริการทางสาธารณสุขแก่ประชาชนในรูปแบบ
ผสมผสาน ทั้งในด้านการป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และการส่งเสริมสุขภาพอนามัยตามลำดับ
โดยมุ่งเน้นหนักแก่ประชาชนและกลุ่มประชาชนที่เลี่ยงต่อการเจ็บป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็ก
ที่มีอายุต่ำกว่า ๕ ปี แลผู้สูงอายุซึ่งมีอายุเกินกว่า ๖๐ ปีขึ้นไปอย่างทั่วถึงดังนี้
๕.๒.๑ จะปรับปรุงโรงพยาบาลประจำจังหวัด โรงพยาบาลประจำอำเภอและสถานี
อนามัยทั่วประเทศพร้อมทั้งจะยกระดับสำนักงานผดุงครรภ์ ให้เป็นสถานีอนามัยทุกแห่ง ทั้งนี้
เพื่อประสิทธิภาพของการดำเนินงานด้านสาธารณสุขมูลฐาน และความสะดวกของผู้ป่วยจะจัดตั้ง
โรงพยาบาลศูนย์หรือที่เรียกว่าโรงพยาบาลทั่วไปประจำภาคเหนือ ภาคใต้ภาคกลาง และภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือโดยจัดหาให้มีนายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทุกสาขาและมีจำนวนเตียงผู้ป่วยอย่าง
น้อย ๑,๐๐๐ เตียง ในแต่ละโรงพยาบาล ทั้งนี้เพื่อลดความลำบากที่ประชาชนจะต้องเดินทางเข้า
มารับการรักษาพยาบาลในกรุงเทพมหานคร
๕.๒.๒ จะจัดให้มีหน่วยสาธารณสุขเคลื่อนที่ และการรักษาพยาบาลทางวิทยุเพิ่ม
มากขึ้น ทั้งนี้เพื่อการรักษาพยาบาลและป้องกันโรคให้แก่ประชาชนในชนบทที่ห่างไกลและกันดาร
๕.๒.๓ สถานพยาบาลของรัฐจะให้การรักษาพยาบาลแก่ประชาชนผู้ยากไร้ทั้งในเมือง
และชนบทโดยไม่คิดมูลค่า
๕.๒.๔ จะเร่งรัดการผลิตและเสริมสร้างสมรรถภาพเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกประเภท
ทุกสาขา รวมทั้งการฝึกอบรมอาสาสมัครสาธารณสุขระดับหมู่บ้าน ให้มีความรู้เกี่ยวกับการรักษา
พยาบาลขั้นต้นเพื่อสนับสนุนการสาธารณสุขมูลฐาน
๕.๒.๕ จะระดมสรรพกำลังด้านสาธารณสุข ทั้งจากภาครัฐบาลและภาคเอกชนให้
เข้ามามีบทบาทร่วมกันในการรับใช้ประชาชนอย่างแท้จริง โดยชักนำส่งเสริมและสนับสนุน
กิจการสาธารณสุขภาคเอกชน รวมทั้งโรงพยาบาลเอกชน ด้วยวิธีการต่าง ๆ และเปิดโอกาสให้
ประชาชนโดยทั่วไปได้เข้ามามีส่วนร่วม หรือได้มีส่วนริเริ่มงานสาธารณสุขของชุมชนของตนเอง
ให้ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น
๕.๒.๖ จะส่งเสริมและสนับสนุนการวางแผนครอบครัวให้แพร่หลายและมีประสิทธิภาพ
ยิ่งขึ้นทั้งนี้เพื่อที่จะลดอัตราการเพิ่มของพลเมืองลงให้ต่ำกว่าร้อยละ ๒.๑ และเพื่อสุขภาพอนามัยของ
แม่และเด็ก
๕.๒.๗ จะจัดให้มีการประสานงานระหว่างหน่วยงานรัฐ และค้นหาวิธีที่เหมาะสม
สำหรับการส่งเสริมงานด้านอาหารและโภชนาการ งานสุขาภิบาลทั่วไป งานจัดหาน้ำสะอาดสำหรับ
บริโภค และงานให้ภูมิคุ้มกันโรคแก่ประชาชน
๕.๒.๘ จะส่งเสริมการสุขศึกษาในโรงเรียน และการสุขศึกษาของประชาชนทั่วไป
โดยจะเน้นการใช้สื่อสารมวลชน เช่น วิทยุ โทรทัศน์ และสิ่งพิมพ์ อย่างกว้างขวางจริงจังและ
สม่ำเสมอ เพื่อให้ประชาชนมีความเข้าใจและตื่นตัวในการป้องกันรักษาสุขภาพอนามัยของตนเอง
และชุมชน
๕.๓ ในด้านการศึกษา รัฐบาลมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาประเทศ โดยใช้การศึกษาเป็น
พื้นฐานและจะเน้นการพัฒนาการศึกษาในชนบทเพื่อการอาชีพเป็นสำคัญ รัฐจะยึดหลักการ
กระจายอำนาจไปlสู่ท้องถิ่น พร้อมกับจะหามาตรการเพื่อให้มีเอกภาพทั้งในด้านนโยบายและ
การบริหารการศึกษา จะระดมทรัพยากรจากแหล่งต่าง ๆ และกระจายทรัพยากรทางการศึกษา
ไปยังท้องถิ่น โดยเฉพาะในชนบท ทั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดความเสมอภาคและให้คุณภาพของการ
ศึกษาทัดเทียมกันโดยทั่วไป รวมทั้งจะสนับสนุนให้นำวิธีการและเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ให้
กว้างขวางยิ่งขึ้น และจะเน้นในแต่ละเรื่อง ดังต่อไปนี้
๕.๓.๑ จะเร่งรัดและสนับสนุนให้ท้องถิ่นและเอกชนเห็นประโยชน์และความจำเป็น
ของการศึกษาก่อนวัยประถมศึกษา เพื่อจะได้ช่วยกันจัดอบรมเลี้ยงดูเด็ก ให้เด็กมีพัฒนาการโดย
สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจจะกวดขันการช่วยเหลือผู้ยากไร้ ให้ได้รับทุนและปัจจัยต่าง ๆ ในการ
ศึกษาอบรมและฝึกอาชีพโดยทั่วไป
๕.๓.๒ จะเร่งขยายการศึกษาภาคบังคับให้กว้างขวางทั่วถึง และมุ่งปรับปรุงคุณภาพ
การศึกษาในระดับประถมศึกษาเป็นพิเศษ โดยสนับสนุนการวางแผนการศึกษาระดับจังหวัดให้
กว้างขวาง ทั้งนี้เพื่อให้สามารถใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เป็นประโยชน์มากที่สุด
๕.๓.๓ จะปรับปรุงการมัธยมศึกษาให้มีการอาชีพผสมมากขึ้น และจบในตัวเองให้
มีโปรแกรมการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับอาชีพอิสระและเหมาะสมกับตลาดแรงงาน
๕.๓.๔ จะจัดหลักสูตรและระบบการเรียนการสอนด้านอาชีวศึกษา รวมทั้งการผลิต
ครูอาชีวศึกษาให้ประสานกันระหว่างหน่วยผลิตและหน่วยใช้ โดยมุ่งให้เป็นการศึกษาที่เหมาะสม
กับอาชีพอิสระ และตลาดแรงงานอย่างแท้จริง
๕.๓.๕ จะประสานและปรับปรุงการผลิตครู โดยมุ่งเน้นในด้านคุณภาพและเสริม
ศรัทธา อุดมการณ์ และทัศนคติต่ออาชีพครูเป็นสำคัญ และจะส่งเสริมสนับสนุนให้มีการกระจาย
ครูออกไปปฏิบัติหน้าที่ในชนบทและท้องถิ่นกันดาร
๕.๓.๖ จะปรับปรุงคุณภาพของสถานศึกษาเอกชนทุกระดับ ทุกประเภทและส่งเสริม
ให้เอกชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา การอาชีวศึกษาและการศึกษานอก
โรงเรียนให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
๕.๓.๗ จะปรับปรุงและส่งเสริมการจัดการศึกษานอกโรงเรียนในรูปแบบและลักษณะ
ต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในชนบท ทั้งนี้โดยจะเน้นการฝึกอบรมเรื่องอาชีพให้เหมาะสม
กับสภาพของท้องถิ่น และการส่งเสริมให้ประชาชนหาความรู้เพิ่มเติม
๕.๓.๘ จะเร่งรัดและส่งเสริมให้เยาวชนมีพลานามัยที่สมบูรณ์ มีจริยธรรมอันดีงาม
มีความรับผิดชอบและบำเพ็ญตนเป็นประโยชน์ต่อสังคมและชาติ
๕.๔ ในด้านอุดมศึกษา จะส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาของรัฐได้ปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจ
หลักอันได้แก่ การสอน การวิจัย การให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชน การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ของชาติ ส่งเสริมให้มีการร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย และจะสนับสนุนกิจกรรมของนิสิตนักศึกษา
ในมหาวิทยาลัยและนอกมหาวิทยาลัย ที่ทางมหาวิทยาลัยเห็นว่าเป็นประโยชน์และเสริมสร้างความรู้
และประสบการณ์ทางวิชาการ และที่จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติโดยส่วนรวม จะขยายโอกาศ
ทางการศึกษาของประชาชนด้วยการส่งเสริมการจัดการศึกษาแบบ"มหาวิทยาลัยเปิด"จะดูแลและ
ส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาเอกชนจัดการอุดมศึกษาให้กว้างขวาง และมีคุณภาพเท่าเทียมกับ
สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
๕.๕ จะเร่งสร้างความเป็นธรรมในสังคม และส่งเสริมความเข้าใจและความยึดมั่นใน
ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงาม ตลอดจนการทำนุบำรุงศาสนาทุกศาสนาให้เป็น
เครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชนในชาติเป็นส่วนรวม
๕.๖ จะธำรงไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย เคารพความเป็นอิสระในการพิจารณา
พิพากษาอรรถคดีของผู้พิพากษาและตุลาการ จะปรับปรุงกระบวนการยุติธรรมทุกระดับให้มี
ประสิทธิภาพและรวดเร็วยิ่งขึ้น และจัดตั้งศาลเพิ่มขึ้นในท้องที่ต่าง ๆ ตามความเหมาะสมเพื่อ
อำนวยความสะดวกแก่ประชาชนมากยิ่งขึ้น
๖. จะส่งเสริมการกีฬาให้ประชาชนทุกเพศทุกวัย เฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเยาวชนได้มีโอกาส
เล่นกีฬาอย่างกว้างขวางและจริงจัง เพื่อเป็นการพัฒนาคนให้มีพลานามัยสมบูรณ์ มีน้ำใจเป็นนักกีฬา
ปลูกฝังความสามัคคี ละเว้นความพยายามที่จะทำให้เกิดความแตกแยกและเพิ่มพูนมาตรฐาน
การกีฬาของชาติ
๗. ในด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด จะป้องกันและปราบปรามการผลิต การค้า
และการเสพยาเสพติด และวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทอย่างจริงจังทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม
จะปราบปรามโดยใช้กฎหมายอย่างเด็ดขาด และให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จัดให้มีการปลูกพืช
ทดแทนและการพัฒนาชาวไทยภูเขา ส่งเสริมการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพและจิตใจของ
ผู้ติดยาเสพติด รวมทั้งการสงเคราะห์ผู้ติดยาเสพติดเพื่อมิให้เป็นภาระแก่สังคมต่อไป จะร่วมมือ
กับนานาประเทศในการควบคุม ป้องกัน และปราบปรามการแพร่ระบาดของยาเสพติดทุกวิถีทาง
๘. ในด้านปัญหาผู้อพยพลี้ภัย จะดำเนินการเกี่ยวกับปัญหาผู้อพยพลี้ภัยตามหลักมนุษยธรรม
ควบคุมกับหลักอธิปไตย ความมั่นคงและความปลอดภัยของชาติ โดยเฉพาะผู้ลี้ภัยจากอินโดจีน
รัฐบาลจะเร่งดำเนินการทางการเมือง และการทูต ให้องค์การและประชาคมระหว่างประเทศเข้ามา
มีส่วนรับผิดชอบในการแก้ปัญหาเรื่องนี้ เพื่อให้ภาระหนักและความกระทบกระเทือนที่ประเทศไทย
ได้รับอยู่ในขณะนี้หมดไป หรือ บรรเทาเบาบางลงให้มากที่สุด
๙. จะเร่งดำเนินการสร้างพุทธมณฑลให้เสร็จสิ้นตามโครงการ ทันการฉลองครบ ๒๐๐ ปี
ของกรุง รัตนโกสินทร์ โดยใช้งบประมาณของรัฐร่วมกับการบริจาคของประชาชนท่านประธานรัฐสภา
ที่เคารพและท่านสมาชิกผู้มีเกียรติทั้งหลาย รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวชุดนี้ ขอให้
คำมั่นสัญญาต่อท่านผู้มีเกียรติทั้งหลาย และท่านประธานรัฐสภาว่าจะดำเนินการทุกวิถีทางที่จะ
ปฏิบัติตามนโยบายต่าง ๆ ที่ได้แถลงไว้ และเชื่อว่านโยบายดังกล่าวจะสามารถแก้ไขปัญหาที่
ประชาชนชาวไทยเป็นห่วงอยู่ได้ในขณะนี้นับตั้งแต่ปัญหาผู้อพยพลี้ภัยจากอินโดจีน ปัญหาการ
ขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ปัญหาการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ปัญหาการบริการของรัฐ
และการกระจายรายได้แก่ประชาชนเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาของเกษตรกร ปัญหาแรงงาน ตลอดจน
ปัญหาความสงบเรียบร้อยภายใน และเรื่องความมั่นคงปลอดภัยบริเวณชายแดนและอื่น ๆ ปัญหา
ต่าง ๆ เหล่านี้ รัฐบาลได้มีนโยบายและมาตรการปฏิบัติต่าง ๆ ไว้แล้วทั้งระยะสั้นและระยะยาวใน
อันที่จะดำเนินการแก้ไขให้บรรลุผลสำเร็จด้วยได้ให้จงได้ การวางรากฐานระยะยาวเพื่อพัฒนา
ประเทศให้เจริญก้าวหน้ามั่นคงนั้น เป็นเรื่องสำคัญที่รัฐบาลนี้ได้คำนึงถึงและได้กำหนดเป็น
นโยบายไว้แล้วเช่นเดียวกัน เฉพาะอย่างยิ่งการวางรากฐานระยะยาวทางเศรษฐกิจและสังคม
ที่จะส่งผลให้เกื้อกูลแก่การขยายตัวทุกสาขา รวมทั้งความเจริญเติบโตและความเข้มแข็งในชนบท
ที่ประชาชนเหล่านี้จะดำรงชีวิตอยู่อย่างผาสุกสมบูรณ์ ควบคู่กับการได้เข้ามาช่วยพัฒนาสร้างสรรค์
การปกครองในระบอบประชาธิปไตยให้เจริญก้าวหน้ามั่นคงยิ่ง ๆ ขึ้นไปรัฐบาลนี้จะใช้ความพยายาม
และบากบั่นทุกวิถีทางด้วยความสามารถอดทน ซื่อสัตย์สุจริตไม่คิดในข้องอในกระดูกในการปฏิบัติ
หน้าที่อย่างเต็มความสามารถ เพื่อความผาสุก ความมั่นคงปลอดภัย และความอยู่ดีกินดีของ
ประชาชน อันเป็นความปรารถนาของพวกเราทุกคนในชาติ รัฐบาลยินดีและพร้อมเสมอที่จะรับฟัง
ความคิดเห็น การติชมและข้อแนะนำในด้านการสร้างสรรค์จากทุกท่าน ดังนั้น ข้าพเจ้าหวังในความ
ร่วมมือด้วยดีจากท่านสมาชิกผู้มีเกียรติเพื่อรัฐบาลจะได้บริหารประเทศให้บรรลุเป้าหมายและ
นโยบายที่ได้แถลงไว้แล้วทุกประการ ขอขอบพระคุณ
*รายงานการประชุมรัฐสภา ครั้งที่ ๒/๒๕๒๒ (สมัยสามัญ)
วันพฤหัสบดีที่ ๗ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๒๒ หน้า ๑๓ - ๓๓ |
42 | คณะรัฐมนตรี คณะที่ ๔๒
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
เป็นนายกรัฐมนตรี
ตั้งแต่วันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๒๓
แถลงนโยบาย เมื่อวันศุกร์ที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๒๓
คำแถลงนโยบายของรัฐบาล*
ท่านประธานรัฐสภา และ ท่านสมาชิกผู้มีเกียรติ
เมื่อวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๒๓ รัฐสภาอันทรงเกียรตินี้ ได้เสนอให้กระผมดำรงตำแหน่ง
นายกรัฐมนตรี กระผมจำต้องน้อมรับไว้ด้วยความเสงี่ยมเจียมตนเป็นที่สุดเพราะรู้ตัวดีว่าต้องรับ
ภาระใหญ่หลวงนี้ โดยมิได้เตรียมตัวเตรียมใจมาก่อนเลย
ณ บัดนี้ ต่อหน้าท่านสมาชิกรัฐสภาที่เคารพ กระผมก็ได้มายืนอยู่ด้วยความเสงี่ยม
เจียมใจเช่นกัน เพื่อเรียนให้ท่านทราบถึงเจตนารมณ์ นโยบาย และสัญญาบางประการ
ท่านประธานที่เคารพและท่านสมาชิกผู้เกียรติท่านคงจะเห็นพ้องกับกระผมว่านโยบาย
ของทุกรัฐบาลไม่ว่าจะเป็นยุคใดสมัยใด ต่างก็มุ่งหมายที่จะก่อให้เกิดความผาสุกแก่ประชาชน
สร้างความมั่นคงก้าวหน้าให้แก่ประเทศเหมือนกันทั้งนั้น จะมีส่วนที่แตกต่างกันอยู่บ้างก็ตรงวิธีการ
และปรัชญาที่ใช้ในการบริหารงาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งก็ยังหาข้อยุติได้ยากว่าวิธีใด
หรือปรัชญาใดดี และเหมาะสมที่สุด แต่มีสิ่งหนึ่งกระผมเชื่อว่าเป็นปัจจัยสำคัญและจำเป็นที่สุด
ในการบรรลุเป้าหมายของการบริหารนั้นก็คือ "ประสิทธิภาพและความซื่อสัตย์สุจริตต่อประชาชน
และต่อผลประโยชน์ของประเทศ"
ด้วยเหตุที่กระผมเห็นความสำคัญของปัจจัยนี้ กระผมจึงขอให้คำมั่นสัญญาต่อท่านทั้งหลาย
ในที่นี้ว่า กระผมจะบริหารงานตามนโยบายที่เสนอต่อท่านอย่างมีประสิทธิภาพ และจะยึดถือความซื่อสัตย์
สุจริตต่อประชาชน และต่อผลประโยชน์ของประเทศเป็นที่ตั้ง ทั้งนี้โดยจะจัดให้ท่านรัฐมนตรีประจำแต่ละ
กระทรวงบริหารงานตามหน้าที่ และเป้าหมายให้ประสานสอดคล้องต้องกับนโยบายที่เสนอไว้ทุกประการ
เพื่อให้ผลของงานสมบูรณ์บรรลุเป้าหมายตามกำหนด
ท่านประธาน และท่านสมาชิกผู้มีเกียรติที่เคารพถึงแม้ว่าคณะรัฐมนตรีชุดนี้จะมาจากหลายกลุ่ม
การเมืองและมาจากผู้มีประสบการณ์หลายด้านด้วยกันก็ตาม กระผมขอยืนยันได้ว่าบุคคลทุกคนและจาก
ทุกฝ่ายในรัฐบาลนี้ ต่างมีความมุ่งมั่นร่วมกันที่จะฝ่าฟันอุปสรรคต่าง ๆ ด้วยความสำนึกในความรับผิดชอบ
ต่อประเทศชาติและประชาชน
กระผมได้ซักซ้อม และทำความเข้าใจกับบุคคลทุกฝ่ายทุกกลุ่มที่เข้าร่วมในคณะรัฐมนตรีชุดนี้
ว่า รัฐบาลนี้จะปฏิบัติหน้าที่โดยไม่คำนึงถึงพรรคถึงพวกและถึงกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆเป้าหมายสำคัญ
อันเป็นเจตนารมณ์สูงสุดของรัฐบาลนี้ มีอยู่เพียงสองประการเท่านั้น คือ การยกระดับมาตรฐานและ
ความเป็นอยู่ของประชาชนให้สูงขึ้น และการเสริมสร้างความมั่นคงของชาติ
กระผมและคณะรัฐมนตรีได้กำหนดนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยได้คำนึงถึง
ความผาสุกของประชาชน และสถานการณ์ในด้านต่าง ๆ อย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้ว จึงขอแถลงเพื่อให้
รัฐสภาทราบดังต่อไปนี้
นโยบายการเมืองและการบริหาร
รัฐบาลมีเจตนารมณ์ในการเทิดทูนและรักษาไว้ซึ่ง สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอย่างเคร่งครัด ดังนี้
๑. ดำเนินการรักษาความสงบเรียบร้อยในสังคมเพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ชีวิตและ
ทรัพย์สินของประชาชนโดยจะพยายามป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมให้ลดลงและรักษาความ
ศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรมรวมตลอดถึงดำเนินมาตรการป้องกันแก้ไขและ
ขจัดไม่ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐใช้อำนาจหน้าที่ไปในทางที่กดขี่ข่มเหงประชาชนทั้งจะปรับปรุงหน่วยงาน
และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
๒. ส่งเสริมการพัฒนาสถาบันทางการเมืองต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับการพัฒนาการปกครอง
ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขนอกจากนั้นจะส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชน
ทุกสาขาอาชีพได้มีส่วนร่วมทางการเมืองและมีโอกาสที่ให้รัฐบาลรับรู้ถึงปัญหาและความต้องการ
ของประชาชน
๓. จะดำเนินการส่งเสริมระบบพรรคการเมืองให้มีความมั่นคงและมีประสิทธิภาพเพื่อให้การ
ปกครองระบอบประชาธิปไตยได้พัฒนายิ่งขึ้น
๔. จะดำเนินการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และประพฤติมิชอบในวงราชการอย่าง
เฉียบขาดทั้งจะขจัดข้าราชการที่ทุจริตประพฤติมิชอบและไร้สมรรถภาพออกจากวงราชการและในขณะ
เดียวกันจะดำเนินมาตรการให้ข้าราชการได้มีสวัสดิการและความเป็นอยู่ที่เหมาะสม
๕ ส่งเสริมให้ประชาชนในชนบทมีสิทธิและความสามารถในการปกครองของตนเองเพื่อให้
การปกครองท้องถิ่นมีประสิทธิภาพในการพัฒนาท้องถิ่นตามความต้องการของประชาชน
๖. ปฏิรูประบบราชการให้มีประสิทธิภาพในการรับใช้ประชาชนโดยติดตามและควบคุมให้
หน่วยราชการปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาล และความต้องการของประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งจะ
ส่งเสริมการมอบอำนาจและแบ่งอำนาจการบริหารให้ราชการส่วนภูมิภาคมากยิ่งขึ้นและจะจัดหน่วย
งานมิให้ทำงานซ้ำซ้อนกัน ปรับปรุงระบบการงบประมาณให้ประสานและสอดคล้องกับแผนพัฒนา
ทางเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลพัฒนาทัศนคติของข้าราชการให้
ยึดมั่นในหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยและส่งเสริมให้ข้าราชการที่มีความซื่อสัตย์สุจริตและ
มีประสิทธิผลในการปฏิบัติหน้าที่และรับใช้ประชาชน ให้มีหลักประกันในความมั่นคงและความเจริญ
ก้าวหน้าในอาชีพราชการ
นโยบายการป้องกันประเทศ
โดยที่กำลังป้องกันประเทศเป็นปัจจัยสำคัญในการรักษาเอกราชอธิปไตย และความมั่นคง
ปลอดภัยของชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ตลอดจนผลประโยชน์ของชาติ และมีส่วนในการพัฒนา
ประเทศร่วมกับประชาชนในชาติ ดังนั้น รัฐบาลจึงกำหนดแนวนโยบายในการป้องกันประเทศไว้
ดังต่อไปนี้
๑. จะเสริมสร้างกำลังที่ใช้ในการป้องกันประเทศให้เข้มแข็งและอยู่ในสภาพที่พร้อมจะป้องกัน
ราชอาณาจักร ทั้งกำลังทหาร กำลังตำรวจ อาสารักษาดินแดนและราษฎรอาสาในรูปแบบต่าง ๆ
๒. จะขยายกำลังป้องกันประเทศตามแผนซึ่งได้วางไว้เพื่อให้สามารถป้องกันอธิปไตยและรักษา
ความมั่นคงของประเทศ
๓. จะเร่งรัดการฝึกรวมทั้งปรับปรุงและพัฒนาหลักนิยมและยุทธวิธีเพื่อเพิ่มพูนสมรรถภาพของ
กำลังป้องกันประเทศให้สามารถเผชิญกับภัยคุกคามได้ทุกรูปแบบกับจะได้ขยายและเพิ่มเติมการฝึกให้
ทหารมีความรู้ทางวิชาชีพ เพื่อประโยชน์ในการประกอบอาชีพเมื่อปลดจากประจำการ
๔. จะผนึกกำลังป้องกันประเทศทั้งสิ้นเข้าด้วยกันและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกำลังป้องกัน
ประเทศกับข้าราชการและประชาชน ให้ร่วมกันอย่างแน่นแฟ้นเพื่อรักษาความมั่นคงของประเทศ
๕. จะบำรุงขวัญ กำลังใจและรักษาระเบียบวินัยของทหารให้ดีอยู่เสมอและจะปรับปรุงสวัสดิการ
ให้อยู่ในสภาพที่ดี
๖. จะส่งเสริมและดำเนินการผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ขึ้นในประเทศ รวมทั้งการพัฒนาวิชาการ
ระบบและมาตรฐานอาวุธ บนมูลฐานของการพึ่งตนเองเป็นหลัก
๗.จะดำเนินการให้ประเทศมีความมีความพรักพร้อมทางทรัพยากรที่จะสนับสนุนการระดม
สรรพกำลังของชาติเพื่อการป้องกันประเทศ
๘. จะส่งเสริมให้ทหารมีส่วนร่วมในการพัฒนาและบรรเทาภัยพิบัติของประเทศรวมทั้งการ
ช่วยเหลือประชาชนในด้านอื่น ๆ
๙. จะให้ทหารร่วมกับส่วนราชการอื่น ๆดำเนินการฝึกอบรมประชาชนเพื่อให้มีส่วนร่วมในการ
รักษาความมั่นคงของประเทศ
๑๐. จะให้หลักประกันและสงเคราะห์ทหารผ่านศึกให้ดำรงชีพอยู่ได้ด้วยความเหมาะสม
นโยบายต่างประเทศ
รัฐบาลมีเจตจำนงที่จะให้นโยบายต่างประเทศ สนองการรักษาและส่งเสริมผลประโยชน์
ของชาติ ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมพร้อมกับปรับนโยบายให้สอดคล้องกับสภาพการณ์
ระหว่างประเทศเพื่อดำรงไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตยของชาติ บูรณภาพแห่งดินแดน การพิทักษ์ และ
ส่งเสริมความมั่นคงปลอดภัยแห่งชาติและผลประโยชน์ของชาติเป็นสำคัญ
เพื่อให้บรรลุถึงเจตนารมณ์ข้างต้น รัฐบาลจะดำเนินนโยบายต่างประเทศอย่างมีอิสระดังต่อไปนี้
๑. จะรักษาสิทธิ และปฏิบัติตามพันธกรณีที่มีอยู่ตามสนธิสัญญาและความตกลงที่ทำไว้กับ
ต่างประเทศโดยยึดหลักแห่งความเสมอภาคและการถ้อยทีถ้อยปฏิบัติ
๒.จะเคารพและส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามหลักการของกฎบัตรสหประชาชาติและของ
ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
๓.จะส่งเสริมสันติภาพและการดำรงอยู่ร่วมกันโดยสันติระหว่างประเทศทั้งหลายบนหลักการ
ของการเคารพเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งดินแดน ความเสมอภาค การไม่รุกรานการไม่แทรกแซง
ในกิจการภายในของกันและกัน และการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศโดยสันติวิธี
๔. จะสนับสนุนสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในการสร้างความร่วมมือและ
ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในระหว่างประเทศสมาชิกตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้และจะส่งเสริม
สัมพันธไมตรีอย่างแน่นแฟ้นและให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่แก่บรรดาประเทศสมาชิกของสมาคม
ประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมและความร่วมมือในทาง
การเมืองตลอดจนในการแก้ไขปัญหาหรือวิกฤติการณ์ที่กระทบกระเทือนต่อเสถียรภาพและความ
มั่นคงของภูมิภาคส่วนนี้ของโลกทั้งจะสนับสนุนมาตรการที่จะให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บรรลุ
ถึงซึ่งการเป็นเขตสันติภาพ เสรีภาพและความเป็นกลาง
๕. จะส่งเสริมสัมพันธไมตรีอันดี ตลอดจนความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการค้ากับทุกประเทศ
โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างในลัทธิการปกครอง หรือระบบเศรษฐกิจและสังคม
๖. จะหาทางส่งเสริมและปรับปรุงความสัมพันธ์และความเข้าใจดีตลอดจนความร่วมมือเพื่อ
ประโยชน์ร่วมกันกับประเทศเพื่อนบ้านที่มิได้เป็นสมาชิกของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้เพื่อประโยชน์แห่งสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาคนี้อันจะยังผลให้เกิดสันติสุขร่วมกัน
ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านทุกประเทศ
๗. จะดำเนินการทางการเมืองและทางการทูต ทั้งทางด้านประเทศไทยและสถานทูตไทยใน
ต่างประเทศอันเป็นการเกื้อกูลต่อการค้าของไทยกับต่างประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อการขยาย
ตลาดการค้าสำหรับสินค้าของไทยทั้งจะส่งเสริมชักชวนให้มีการนำทุนจากต่างประเทศมาลงทุน
ประกอบกิจการภายในประเทศ โดยมีหลักประกันที่เป็นธรรม นอกจากนั้นจะร่วมมือกับประเทศ
กำลังพัฒนาอื่น ๆ เพื่อเสริมสร้างประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมระหว่างประเทศ
๘. จะคุ้มครองคนไทยประโยชน์ของคนไทยในต่างประเทศและประโยชน์ของชาติในส่วนรวม
ให้ได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมจากต่างประเทศ
นโยบายทางเศรษฐกิจ
รัฐบาลนี้กำหนดเป้าหมายรวมในการบริหารงานด้านเศรษฐกิจไว้ว่าจะยกระดับมาตรฐาน
ความเป็นอยู่ของประชาชนให้สูงขึ้นอีกทั้งให้มีความแตกต่างกันน้อยกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันจึงวาง
นโยบายและแนวทางในการบริหารงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายไว้ดังนี้
นโยบาย
๑. จะปรับแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้เป็นไปในทางที่จะก่อให้เกิดการกระจายผล
ของการพัฒนาไปสู่ประชาชนส่วนใหญ่ โดยจัดสรรทรัพยากรเข้าใช้เร่งรัดพัฒนาการผลิตทางเกษตร
และพัฒนาภาวะความเป็นอยู่ในชนบทอย่างเต็มที่ รวมทั้งจะใช้มาตรการทางการเงิน การคลัง ตลอดจน
มาตรการส่งเสริมการลงทุนเข้าช่วยหนุนให้เกิดงานอาชีพแขนงต่าง ๆที่เหมาะสมกับภาวะของพื้นที่แต่
ละพื้นที่ทั่วทุกตำบลในทุกภาคของประเทศ และมีผลในทางกระจายรายได้ให้เป็นธรรม
๒. จะสนับสนุนระบบเศรษฐกิจเสรี และจะขจัดการกระทำที่เป็นการผูกขาดให้หมดไป โดยจะ
คำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนทั่วไปซึ่งเป็นกลุ่มผู้บริโภคเป็นสำคัญและขณะเดียวกันก็จะให้ความ
เป็นธรรมแก่ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายด้วย ทั้งนี้โดยรัฐจะพยายามหลีกเลี่ยงการแทรกแซงหรือเข้าดำเนิน
ธุรกิจต่าง ๆ เว้นไว้แต่จะมีเหตุจำเป็นอันจะหลีกเลี่ยงไม่ได้เท่านั้น
๓. จะจัดให้มีแผนแม่บทเพื่อใช้ในการดำเนินงานเพิ่มปริมาณการส่งสินค้าออกไปขาย
นอกประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะมีผลกระตุ้นให้การผลิตทางเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม
ตลอดจนบริการขยายตัวโดยรวดเร็ว
๔. จะปรับปรุงระบบการขนส่งรวมทั้งสร้างอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการขนส่งภายใน
ประเทศให้เกิดผลในทางลดค่าใช้จ่ายในการขนถ่ายสินค้า ในการนี้จะมุ่งพัฒนาและขยายการขนส่ง
ทางน้ำและทางรถไฟให้เพิ่มและมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งมีผลในทางประหยัดการใช้น้ำมันด้วย
ท่าเรือน้ำลึกซึ่งจำเป็น และมีประโยชน์ในทางขยายการค้ากับต่างประเทศก็จะเร่งดำเนินการให้สำเร็จ
เป็นงานด่วนอีกอย่างหนึ่ง อีกทั้งจะเร่งรัดพัฒนาการคมนาคมทางบก ทางอากาศ โดยปรับปรุงดำเนินงาน
ให้มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และเหมาะสมกับนโยบายประหยัดการใช้
น้ำมัน โดยจะให้สัมพันธ์กับการขนส่งทางน้ำและทางรถไฟอย่างสอดคล้องกัน ส่วนการขนส่งทางอากาศนั้น
จะขยายขอบเขตการดำเนินงานให้สัมพันธ์กับการขยายตัวของความต้องการในการขนส่งทั้งในประเทศ
และระหว่างประเทศ โดยเฉพาะจะให้สนองการขยายตัวของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ในด้านการสื่อสารจะ
เพิ่มประสิทธิภาพความสะดวกรวดเร็ว ความแน่นอนและสม่ำเสมอของการสื่อสารและโทรคมนาคมทุก
รูปแบบ
๕. จะจัดให้มีแผนงานด้านส่งเสริมการท่องเที่ยวที่สมบูรณ์และเป็นผลให้การท่องเที่ยวเป็น
เครื่องมือสำคัญที่จะสร้างงานทั้งด้านบริการและอุตสาหกรรมในครัวเรือนให้ได้มากที่สุด และจะต้องเป็น
แหล่งที่ก่อให้เกิดรายรับเงินตราต่างประเทศสูงในระดับที่ทัดเทียมกับรายรับเงินตราต่างประเทศจากสินค้า
ขาออกชนิดหลัก เช่น ข้าว เป็นต้น
๖. จะจัดให้มีแผนงานใช้ทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะสินแร่นานาชนิดทั้งบนผืนแผ่นดินและ
ในทะเลให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างเต็มที่และด้วยความเร่งรีบ
๗. จะจัดให้มีแผนการใช้พลังงานขึ้นใหม่ให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจและการเงินของ
ประเทศ โดยจะเน้นหนักด้านการประหยัด การหาพลังงานทดแทนและกรรมวิธีการใช้พลังงานใหม่
ทุกด้าน
๘. จะขยายสวัสดิการให้กับประชาชนทั่วไป โดยจะเน้นการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยเป็นพิเศษ
เพื่อให้ประชาชนที่ยังมีรายได้น้อยสามารถดำรงชีพได้ดีขึ้น
๙. จะปรับปรุงนโยบายและบริหารการเงิน และการคลัง ในแนวที่จะสร้างความคล่องตัว
สามารถหนุนให้เกิดการขยายตัวของเศรษฐกิจในแขนงต่าง ๆ ตามที่ระบุข้างต้นได้อย่างครบถ้วน
สมบูรณ์และขณะเดียวกันจะสามารถรักษาเสถียรภาพของเงินบาท และฐานะทางการคลังของประเทศ
ไว้ให้ได้ดีมีความมั่นคงเป็นที่เชื่อถือของนานาประเทศด้วยเพื่อให้บรรลุจุดหมายนี้รัฐบาลจะประหยัดใน
จุดที่ควรประหยัดให้ได้ผลที่สุด และจะเร่งรัดให้รายได้ของแผ่นดินที่เกิดจากภาษีอากรซึ่งยังจัดเก็บ
ได้ไม่ทั่วถึงให้เก็บได้อย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึงโดยด่วนและจะปรับประสิทธิภาพการบริหารงานใน
รัฐวิสาหกิจทุกแห่งให้เป็นแหล่งอำนวยรายได้ให้กับรัฐได้สูงที่สุดที่พึงจะทำได้และจะไม่ยอมให้รัฐวิสาหกิจ
ที่หย่อนประสิทธิภาพพึ่งงบประมาณรายจ่ายอีกต่อไป
แนวทางการดำเนินนโยบายระยะสั้น
เนื่องจากประเทศมีปัญหาสำคัญที่จะต้องแก้ไขทันทีรัฐบาลจึงได้กำหนดแผนงานแก้ไขปัญหา
เร่งด่วนเฉพาะหน้าให้บรรเทาเบาบางลงก่อน โดยกำหนดแนวทางดำเนินงานระยะสั้นช่วง ๖ เดือนแรก
ดังนี้
๑. แก้ปัญหาค่าครองชีพสูง
เนื่องจากระดับราคาได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีสาเหตุสำคัญมาจากการเพิ่มขึ้นของราคา
น้ำมัน ขณะเดียวกันรายได้ของประชาชนส่วนใหญ่ปรับตัวไม่ทันประชาชนทั้งที่อยู่ในชนบทและในเมือง
ต่างก็ได้รับความเดือดร้อนด้วยกันทั้งสิ้น แต่ก็มีปัญหาหนักเบาแตกต่างกัน ดังนั้นการแก้ไขจึงต้องดำเนิน
การในลักษณะที่ผิดแปลกบ้าง จุดสำคัญก็อยู่ที่การชะลอการเพิ่มขึ้นของระดับราคาสินค้า และต้องจัดการ
เพิ่มรายได้ให้กับประชาชนโดยการสร้างงานให้มีทำได้มากที่สุด
๑.๑ การชะลอการขึ้นราคาสินค้า
๑.๑.๑ จะไม่ปล่อยให้การขึ้นราคาของน้ำมันดิบซึ่งจะต้องมีอีกเป็นระยะ ๆ ในช่วงต่อไป มี
ผลทำให้ราคาน้ำมันในประเทศพุ่งขึ้นเร็วอย่างที่เป็นมาแล้วอีก ทั้งนี้เพื่อยับยั้งมิให้เกิดการผลักดันราคา
สินค้าและบริการต่าง ๆ ให้ต้องพุ่งสูงขึ้นไปอย่างรวดเร็วอย่างที่เกิดขึ้นในช่วง ๒ ปีก่อน ในการนี้จะมุ่งมิ
ให้เกิดผลกระทบกระเทือนประชาชนส่วนใหญ่เป็นสำคัญ
๑.๑.๒ จัดให้มีสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพจำหน่ายแก่ประชาชนทั่วไปอย่างสมบูรณ์ และ
ในราคาที่เหมาะสมกับภาวะแห่งรายได้ในแต่ละช่วง และจะอาศัยการแก้ระบบตลาดให้มีผลลดส่วนต่าง
ระหว่างราคาที่ผู้ผลิตได้รับกับราคาที่ผู้บริโภคต้องจ่ายโดยจะให้ต่างกันน้อยที่สุดด้วย
๑.๑.๓ กำกับการอำนวยสินเชื่อของสถาบันการเงินให้มีผลทางลดทอนโอกาสในการกักตุน
สินค้า หรือสร้างอำนาจผูกขาด รวมทั้งมิให้เกิดผลส่งเสริมการบริโภคในลักษณะที่ฟุ่มเฟือย อีกประการ
หนึ่งจะกำกับการอำนวยสินเชื่อให้มีผลในทางส่งเสริมการขยายการผลิตในสาขาต่าง ๆ พร้อมกันไป
๑.๒ การสร้างงาน
เนื่องจากประชาชนมีโอกาสปรับรายได้น้อย ในขณะที่ค่าครองชีพพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จึง
เดือดร้อนมาก และความเดือดร้อนนี้กระจายไปทั่ว รัฐบาลต้องรีบเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชน โดยการ
สร้างงานทั้งในเมืองและชนบท แขนงงานที่จะสร้างนอกจากด้านเกษตรแล้ว จะสร้างโอกาสในการจ้าง
งานทางอุตสาหกรรม และบริการพร้อมกันไป ในการนี้จะปรับปรุงนโยบายและมาตรการส่งเสริมการลง
ทุนใหม่ เฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนที่มีผลสร้างงานให้คนทำได้จำนวนมากจะได้รับการสนับสนุนมากเป็น
พิเศษ
๑.๒.๑ การสร้างงานในชนบทซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนอันเนื่องมาจาก
ความแห้งแล้งในปีที่แล้ว ลักษณะงานที่จะสร้างขึ้นนั้นจะต้องเป็นงานที่ใช้แรงงานมาก และสอดคล้อง
กับความต้องการของท้องถิ่น ซึ่งจะเกิดผลชะลอการอพยพเข้าสู่ตัวเมืองของชาวชนบท การสร้างงาน
ในชนบทนี้นอกจากจะเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับชาวชนบทแล้ว ยังเป็นการสร้างปัจจัยพื้นฐานสำหรับ
การพัฒนาเศรษฐกิจและอำนวยประโยชน์ให้แก่ท้องถิ่นนั้น ๆ ด้วย
การสร้างงานในชนบทอีกรูปหนึ่ง คือส่งเสริมให้มีการผลิตสินค้าพื้นเมืองอันเป็นอุตสาหกรรม
ในครัวเรือน หรืออุตสาหกรรมขนาดย่อม เพื่อเพิ่มปริมาณสินค้าสำหรับการส่งออกของประเทศ
๑.๒.๒ การสร้างงานในเมือง จะเน้นใช้แรงงานที่ว่างเปล่าในเมืองซึ่งเป็นกลุ่มเยาวชนและ
หนุ่มสาวที่อยู่ในวัยทำงานและต้องการทำงาน เพื่อเป็นการบรรเทาภาระของครอบครัว ดังนั้น จึงจำเป็น
ต้องสร้างงานให้ประชาชนในเมืองเพิ่มขึ้นได้อีกส่วนหนึ่ง และงานด้านนี้รัฐบาลจะขยายจำนวนที่อยู่อาศัย
ให้ได้ปีละไม่น้อยกว่า ๑๐,๐๐๐ หน่วย
๒. ปัญหาน้ำมัน
จะดำเนินการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่เกิดจากการขึ้นราคาน้ำมันดิบของ
ประเทศผู้ผลิต โดยปรับปรุงโครงสร้างราคาน้ำมันในประเทศตามความเปลี่ยนแปลงของราคาน้ำมันดิบ
ในทางที่จะก่อภาระแก่ประชาชนผู้ยากจนน้อยที่สุด และจะดำเนินการวางแผนประหยัดการใช้น้ำมันเพื่อ
ชะลอการเพิ่มขึ้นของปริมาณน้ำมันที่จะนำเข้าให้ได้ผลตามเป้าหมายให้จงได้ โดยสนับสนุนให้ใช้การ
ขนส่งทางน้ำและทางรถไฟให้มากขึ้น และแก้ปัญหาจราจรติดขัดให้เป็นผลสำเร็จอย่างจริงจัง
๓. ปัญหาความแห้งแล้ง
ปัญหาความแห้งแล้งที่เกิดขึ้นในช่วงที่แล้ว และอาจจะมีขึ้นอีกในช่วงปีนี้ ซึ่งจะสร้างความ
ชะงักงันให้แก่การทำมาหากินของประชาชนในชนบท ต้องได้รับการแก้ไขทุกวิถีทางและรีบด่วนที่สุด
ในการแก้ปัญหานี้รัฐบาลจะเร่งปรับแผนการปล่อยน้ำมันจากเขื่อนใหม่จะระดมการใช้เครื่องสูบน้ำจาก
แก่น้ำใหญ่ทั่วทุกสาย และจะเพิ่มเครื่องมือเข้าเร่งทำฝนเทียมเข้าช่วยอีกทางหนึ่งนอกจากนี้จะได้จัด
เตรียมเมล็ดพันธุ์ให้แก่เกษตรกร ควบคู่ไปกับการสร้างอ่างหรือแหล่งเก็บน้ำอย่างรวดเร็วด้วยในการ
ดำเนินการแก้ไขปัญหาความแห้งแล้งนี้ จะดำเนินควบคู่ไปกับแผนการสร้างงานในชนบท
๔. ปัญหาหนี้สินของเกษตรกร
ปัญหาหนี้สินของเกษตรกรเป็นปัญหาที่ต้องแก้ไขเป็นการด่วนเช่นกัน รัฐบาลจะเร่งหาทาง
ผ่อนคลายปัญหานี้ด้วยวิธีการยืดระยะเวลาชำระหนี้ของเกษตรกรที่ประสบความเสียหายจากความ
แห้งแล้งให้สอดคล้องกับความสามารถและความจำเป็นของเกษตรกรในขณะเดียวกันก็จะระดมเงินทุน
จากสถาบันการเงินไปสู่ภาคเกษตรกรรมตลอดจนจะใช้กลไกของรัฐที่มีอยู่เพื่อพิทักษ์เกษตรกรมิให้ต้อง
เสียกรรมสิทธิ์ในไร่นาซึ่งเป็นเครื่องมือทำกินที่สำคัญที่สุด
๕. การปรับปรุงงบประมาณ
จะปรับปรุงงบประมาณรายจ่าย โดยมีหลักการสำคัญดังนี้
๕.๑ ตัดทอนรายจ่ายที่มีความจำเป็นน้อย หรือที่มีอันดับความสำคัญต่ำ เพื่อนำมาใช้จ่าย
ในโครงการและแผนงานที่มีความจำเป็นเร่งด่วน
๕.๒ จัดสรรงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม เพื่อการแก้ไขปัญหาความแห้งแล้ง การพัฒนาและ
การสร้างงานในชนบทการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยและการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคง
ของประเทศ
๕.๓ รวบรวมโครงการพัฒนาจังหวัดของหน่วยราชการต่าง ๆ ที่กำหนดไว้แล้วในงบประมาณ
แต่ยังไม่ได้จัดทำ ให้ได้จัดทำรวมไปกับโครงการสร้างงานในชนบทในฤดูแล้ง ทั้งนี้ เพื่อมิให้ซ้ำซ้อนกัน
แนวทางดำเนินงานในระยะต่อไป
หลังจากการดำเนินงานแก้ปัญหารีบด่วนทีเผชิญอยู่เฉพาะหน้าในช่วง ๖ เดือนแล้วรัฐบาลจะ
วางแผนดำเนินงานทุกด้านให้บรรลุนโยบายที่ได้กล่าวข้างต้นทุกข้อไป และแผนดำเนินงานเหล่านั้น
จะได้รับการติดตามและปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมกับภาวการณ์เป็นระยะ ๆ ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
รวมที่กำหนดไว้อย่างสมบูรณ์และโดยมุ่งหมายให้ภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศมีระดับความ
สมบูรณ์ก้าวหน้าทัดเทียมประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งหลาย
นโยบายทางสังคม
รัฐบาลมีเจตนารมณ์ที่จะทำให้ประชาชนมีความสุขปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินมีสุขภาพ
พลานามัยสมบูรณ์ จะวางพื้นฐานการศึกษาให้เด็ก เยาวชน และประชาชนสามารถพัฒนาตนเองและ
สังคมโดยให้ยึดมั่นในศาสนธรรม คุณค่าของศิลปวัฒนธรรมไทย รู้จักนำความรู้ความสามารถทาง
วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีไปใช้ให้เกิดประโยชน์ เพื่อความร่มเย็นเป็นสุขของสังคมไทยต่อไป ดังต่อไปนี้
๑.ยาเสพติด
จะดำเนินการกวาดล้างแหล่งผลิต และจำหน่ายยาเสพติดให้โทษโดยเด็ดขาดฉับพลันส่วนทาง
ด้านผู้ติดยาเสพติดจะให้การบำบัดรักษา และอบรมให้ตระหนักถึงภัยอันเกิดจากยาเสพติด
๒. กระบวนการยุติธรรม
๒.๑ จะรักษาไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายผดุงความเป็นอิสระของผู้พิพากษาในการ
พิจารณาพิพากษาอรรถคดี
๒.๒ จะปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเพื่อให้คดีความต่าง ๆที่เกิดขึ้นได้มาสู่การพิจารณาพิพากษา
ของศาลโดยรวดเร็ว
๒.๓ จะจัดตั้งศาลปกครองและศาลสาขาอื่นตามความเหมาะสม จะอำนวยความสะดวกให้แก่
ประชาชนผู้มีอรรถคดีโดยการจัดตั้งศาลเพิ่มขึ้นตามความจำเป็น และเร่งรัดการพิจารณาพิพากษาคดี
ของศาลให้แล้วเสร็จไปโดยรวดเร็ว
๒.๔ จะปรับปรุงฐานะของผู้พิพากษาให้เหมาะสม และเพิ่มพูนความรู้ความสามารถความ
เข้าใจและทัศนคติเกี่ยวกับการพิจารณาพิพากษาคดีเพื่อช่วยให้ผู้พิพากษาสามารถปฏิบัติหน้าที่ของตน
อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นผู้มีจรรยาตุลาการที่ดีงาม
๒.๕ จะขยายการคุมประพฤติของผู้กระทำผิดออกไปในส่วนภูมิภาค เพื่อปกป้องคุ้มครองและ
ป้องกันสังคมจากอาชญากรรม และช่วยเหลือควบคุมและสอดส่องผู้กระทำผิดที่ไม่ร้ายแรงให้กลับตน
เป็นพลเมืองดีของสังคมโดยไม่ต้องถูกจำคุก
๒.๖ จะแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับให้สอดคล้องกับภาวะสังคมในปัจจุบัน
เพื่อให้สามารถอำนวยความยุติธรรมและรักษาความสงบสุขของประชาชนตลอดไป
๓. การสาธารณสุข
จะปรับปรุงให้ประชาชนทั้งในชนบท และในเมืองให้ได้รับบริการทางแพทย์และสาธารณสุข
สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น และจะพยายามจัดสรรงบประมาณสำหรับใช้ในกิจการสาธารณสุขให้มากขึ้น โดย
จะดำเนินการดังต่อไปนี้
๓.๑ จะเร่งรัดการดำเนินงานโครงการสาธารณสุขมูลฐาน ด้วยการจัดบริการให้ประชาชน
ในระดับหมู่บ้านและตำบลที่ยังไม่ได้รับบริการดังกล่าว ให้มีโอกาสใช้บริการป้องกันโรค การส่งเสริม
สุขภาพ และการรักษาพยาบาลเบื้องต้นทั้งนี้จะให้การสงเคราะห์ผู้มีรายได้น้อยและผู้สูงอายุด้านการ
รักษาพยาบาลเป็นพิเศษโดยจะประสานงานและร่วมมือกับภาคเอกชน
๓.๒ จะเร่งรัดการปรับปรุง ขยายและก่อสร้างโรงพยาบาลอำเภอ รวมทั้งจัดตั้งสถานีอนามัย
ให้มีระบบและข่ายงานสาธารณสุขให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
๓.๓ จะร่วมมือกับทบวงมหาวิทยาลัย ในการเร่งรัดการผลิตแพทย์ พยาบาล ทันตแพทย์
เภสัชกรนักสาธารณสุข เจ้าหน้าที่เทคนิค และเจ้าหน้าที่ธุรการทางการแพทย์และสาธารณสุข ให้มากขึ้น
โดยเร็วเพื่อให้เพียงพอกับการขยายบริการสาธารณสุขในระดับท้องถิ่น ทั้งจะปรับปรุงคุณภาพของ
บุคลากรดังกล่าวให้ปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพในชนบท
๓.๔ จะเร่งรัดการดำเนินการวางแผนครอบครัวให้ลดอัตราการเพิ่มประชากรลงและขยายการ
ฉีดวัคซีนป้องกันโรคให้ประชาชนมากยิ่งขึ้น อีกทั้งการแก้ไขปัญหาสภาพโภชนาการรวมทั้งการ
สาธารณูปโภค
๓.๕ จะส่งเสริมและเร่งรัดให้มีการวิจัยและพัฒนา เพื่อให้หน่วยงานของรัฐและธุรกิจเอกชน
สามารถผลิตครุภัณฑ์ เวชภัณฑ์ และวัสดุภัณฑ์ ที่ใช้ในการแพทย์และสาธารณสุขให้มากยิ่งขึ้น รวมทั้ง
ผนึกวิธีการรักษาพยาบาลแบบพื้นบ้าน กับระบบการรักษาพยาบาลในโครงการสาธารณสุขขั้นมูลฐาน
เพื่อให้สามารถพึ่งตนเองได้ทั้งในยามปกติและยามฉุกเฉิน
๓.๖ จะพัฒนาและปรับปรุงระบบงานสาธารณสุขทั่วประเทศ เพื่อให้สามารถประสานเป้าหมาย
ประสานงานระหว่างหน่วยงานด้านสาธารณสุขกับหน่วยงานฝ่ายกลาโหม มหาดไทย เกษตร อุตสาหกรรม
สิ่งแวดล้อม ศึกษา และธุรกิจเอกชนเพื่อให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขดีขึ้นในยามปกติ และเตรียม
พร้อมที่เผชิญเหตุการณ์ในยามฉุกเฉินได้
๓.๗ จะปรับปรุงและดำเนินการด้านสุขศึกษา โดยใช้เทคโนโลยีใหม่ ใช้สื่อสารมวลชน และใช้
วิธีการศึกษาทั้งในและนอกระบบ เพื่อให้ประชาชนโดยเฉพาะนักเรียนชั้นประถมและมัธยม รู้จักปฏิบัติตน
ในการป้องกันโรค การส่งเสริมสุขภาพ และรักษาพยาบาลเบื้องต้นด้วยตนเอง
๓.๘ จะดำเนินการทุกอย่างเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคด้วยการตรวจสอบป้องกัน ปราบปรามและ
ลงโทษผู้กระทำความผิด รวมทั้งส่งเสริมให้ใช้เทคโนโลยีที่ถูกต้องและเหมาะสมในการผลิต การจำหน่าย
การโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหาร ยารักษาโรคและวัสดุภัณฑ์ที่ใช้ในการเกษตรให้ได้รับความปลอดภัย เป็น
ธรรม และประหยัด
๓.๙ จะส่งเสริมการออกกำลังและการกีฬา เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพดีตั้งแต่เยาว์วัย
๓.๑๐ จะป้องกันและรักษาโรคที่เป็นอันตรายต่อประชาชนในกลุ่มอาชีพหรือวัยต่าง ๆ โดย
เฉพาะโรคที่สามารถขจัดหรือบำบัดให้หมดสิ้นไปจากประเทศไทย ทั้งนี้จะเร่งรัดโครงการที่จะป้องกัน
และบรรเทาอุบัติเหตุและสาธารณภัยต่าง ๆ รวมทั้งจัดทำโครงการฟื้นฟูผู้ทุพพลภาพให้สามารถดำรง
ชีวิตและประกอบอาชีพได้อีกด้วย
๓.๑๑ จะผลิตและส่งเสริมให้นักวิชาการทางการแพทย์ และสาธารณสุขให้มีความสามารถสูง
ที่จะแสวงหาวิทยาการแผนใหม่ในประเทศ หรือจากต่างประเทศเพื่อใช้แก้ปัญหาสาธารณสุข
๔. การพัฒนาเด็กและเยาวชน
จะส่งเสริมทั้งภาครัฐบาล และภาคเอกชนให้ร่วมกันระดมสรรพกำลังในการพัฒนาเด็กและ
เยาวชนไทยให้มีคุณภาพดีขึ้นทั้งทางกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ และสังคม
๔.๑ จะส่งเสริมและสนับสนุนให้การอบรมเลี้ยงดูในครอบครัวมีคุณภาพดียิ่งขึ้นโดยถือเป็น
พื้นฐานอันสำคัญในการพัฒนาเด็กและเยาวชน
๔.๒ จะส่งเสริมสุขภาพทั้งทางกายและทางจิตใจ โดยเน้นการเจริญเติบโตของร่างกาย
การป้องกันโรค และการป้องกันปัญหาสุขภาพจิตเป็นหลัก
๔.๓ จะเร่งรัดสร้างค่านิยมโดยเฉพาะด้านจริยธรรม และศาสนธรรมให้มีวินัย ความซื่อสัตย์
ความอดทน ความขยันหมั่นเพียร รู้จักประหยัด รู้จักตนเอง และรู้จักอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นด้วยความ
สามานฉันท์
๔.๔ จะส่งเสริมการพัฒนาด้านสติปัญญา การแสวงหาความรู้และการใช้เหตุผลในทางริเริ่ม
และสร้างสรรค์ ที่มีประสบการณ์เหมาะสมกับวัย
๔.๕ จะส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนได้พัฒนาให้เต็มที่ตามสภาพ และความแตกต่างระหว่าง
บุคคล สงเคราะห์และบำบัดรักษาเด็กที่มีปัญหาเฉพาะทั้งทางกาย สมอง และอารมณ์ รวมทั้งให้ความ
คุ้มครองเด็ก เยาวชนที่ทำงาน
๔.๖ จะส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์แก่ตนเองและสังคม
๔.๗ จะส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนได้ตระหนักในความสำคัญของความเป็นชาติเข้าใจ
บทบาทของตนในการพัฒนาชาติ และการเป็นสมาชิกในสังคมนานาชาติ
๕. การศึกษา
รัฐมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาให้เป็นรากฐานการปกครองของประเทศในระบอบประชาธิปไตยอัน
มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข การประกอบอาชีพ การพัฒนาชนบท การให้เยาวชนไทยเป็นผู้เพียบพร้อม
ด้วยความรู้ ความคิด มีคุณธรรม จริยธรรม และพลานามัยสมบูรณ์โดยจะดำเนินการดังต่อไปนี้
๕.๑ จะประสานงานการศึกษาทั้งด้านนโยบาย และการบริหารการศึกษาทุกระดับ โดยเฉพาะ
ให้มีการประสานสัมพันธ์ระหว่างการศึกษาทุกระดับตั้งแต่ประถมศึกษา มัธยมศึกษา การศึกษานอก
โรงเรียนถึงระดับอุดมศึกษา
๕.๒ จะปรับปรุงการเรียน การสอน หลักสูตร เพื่อสร้างเยาวชนให้มีระเบียบวินัย มีความคิด
สร้างสรรค์ มีความสามารถในการประกอบอาชีพ มีความรับผิดชอบและตระหนักถึงหน้าที่ สิทธิ ตาม
วิถีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
๕.๓ จะมอบอำนาจการจัดการศึกษาไปสู่ระดับปฏิบัติให้มากที่สุด และจะเปิดโอกาสให้
ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม และเสนอแนะความต้องการในการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพที่
เป็นจริง สามารถสนองตอบความต้องการของประชาชนด้านส่งเสริมการประกอบอาชีพของชุมชนและ
ท้องถิ่น
๕.๔ จะระดมทรัพยากรจากแหล่งต่าง ๆ มาเพื่อขยายการศึกษา โดยเฉพาะการศึกษา
ภาคบังคับและการศึกษานอกโรงเรียนให้ทั่วถึงโดยรวดเร็ว เพื่อสร้างประชากรไทยให้มีคุณภาพ
สามารถในการประกอบอาชีพ และกลับไปพัฒนาท้องถิ่นของตนเองได้ รวมทั้งส่งเสริมให้มีสินเชื่อ
ทางการศึกษาให้กับเด็กที่มีความสามารถได้เรียนอย่างทั่วถึง
๕.๕ จะปรับปรุงวิธีการจัดสรรทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อให้เกิดความเสมอภาคและ
ให้มีคุณภาพทัดเทียมกันทุกระดับ ไม่ว่าสถานศึกษานั้นจะตั้งอยู่ ณ ที่ใด ทั้งนี้โดยคำนึงถึงความต้อง
การของท้องถิ่นเป็นสำคัญ
๕.๖ จะส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษามีประสิทธิภาพในการสอน การวิจัย การให้บริการ
ทางวิชาการแก่ชุมชน และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติ รวมทั้งจะสนับสนุนกิจกรรมของ
นิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัย และนอกมหาวิทยาลัยที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติโดยส่วนรวม
๕.๗ เพื่อแก้ปัญหาสำคัญทางด้านการศึกษาของประเทศที่กำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน จะเร่ง
ดำเนินมาตราการดังต่อไปนี้
๕.๗.๑ การศึกษาประชาบาล จะปรับปรุงระบบบริหารการประถมศึกษาให้มีเอกภาพ
โดยจัดตั้งสำนักงานเทียบเท่ากรมในกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อวางนโยบายและประสานงานการศึกษา
ประชาบาลทั่วประเทศให้มีรูปแบบ และเป็นมาตรฐานเดียวกัน และจะยกฐานะครูประชาบาลขึ้นเป็น
ข้าราชการพลเรือน รวมทั้งจะปรับปรุงระบบบริหารงานบุคคลให้คล่องตัวขึ้น
๕.๗.๒ การจัดการศึกษาของวิทยาลัยจะพัฒนารูปแบบการประสานงานของวิทยาลัยที่
ตั้งอยู่ใกล้เคียงกันให้สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันในการสอน การวิจัย การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
และให้บริการทางวิชาการ
๕.๗.๓ การอาชีวศึกษา จะพัฒนารูปแบบและจัดระบบการประสานงานของสถาบัน
อาชีวศึกษาต่าง ๆ ทั้งของรัฐและเอกชนให้สอดคล้องกับความต้องการของภาครัฐบาล และภาคเอกชน
๕.๗.๔ การศึกษาเอกชน จะให้ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการ ทั้งนี้เพื่อให้โรงเรียน
ราษฎร์มีคุณภาพและมีมาตรฐานดี
๖. ศิลป วัฒนธรรม ศาสนา และลักษณะสังคมไทย
๖.๑ จะรักษาและพัฒนาศิลปวัฒนธรรมไทยให้มีเอกลักษณ์สูงเด่นและจะป้องกันมิให้ศิลป
วัฒนธรรมของชาติอื่นที่เผยแพร่เข้ามาในประเทศ ทำลายศิลปวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์อันดีงาม
ของชาติ รวมทั้งการปราบปรามกิจกรรมอันทำลายและขัดต่อศีลธรรมจรรยาและชื่อเสียงเกียรติภูมิ
ของคนไทยด้วย
๖.๒ จะอนุรักษ์ศิลปกรรมโบราณสถาน และปูชนียสถานอันเป็นที่สักการะยึดเหนี่ยวทางใจ
ของประชาชน
๖.๓ จะสนับสนุนเสรีภาพในการนับถือศาสนา ส่งเสริมขันติธรรมและความสมานฉันท์
ระหว่างผู้นับถือศาสนาต่าง ๆ กัน เพื่อผลในการฟื้นฟูศีลธรรม จริยธรรม ของชนในชาติ
๖.๔ จะส่งเสริมให้ประชาชนประพฤติปฏิบัติตามครรลองของศีลธรรม จริยธรรมเป็นพิเศษ
โดยกวดขันความประพฤติของข้าราชการให้เป็นที่นับถือ ศรัทธา และเป็นตัวอย่างที่ดีงามของประชาชน
๗. ชุมชน เมือง สิ่งแวดล้อม และสาธารณูปโภค
๗.๑ จะพัฒนา เมือง ชุมชน และชนบทให้อยู่ในขนาดที่เหมาะสมและสัมพันธ์กับการขยาย
บริการทางสังคม โดยคำนึงถึงความเหมาะสมในการใช้และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ พลังงาน
คุณภาพสิ่งแวดล้อม จารีตประเพณี และเอกลักษณ์ของท้องถิ่น
๗.๒ จะจัดบริการสังคมในเรื่องสาธารณูปโภค สาธารณูปการ ที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อย
รายได้ปานกลาง ทั้งในเมือง และชนบทให้มีลักษณะสมบูรณ์ในตัวเอง
๗.๓ จะจัดบริการสังคมด้านการกีฬา สถานพักผ่อนหย่อนใจ สวนสาธารณะในเมือง และชุมชน
ต่าง ๆ รวมทั้งการขยายวนอุทยาน อุทยานแห่งชาติ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
นโยบายทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม
๑. จะเร่งรัดส่งเสริมการวิจัย และการให้บริการทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี โดยเน้นหนัก
ในการสนับสนุนงานพัฒนาด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม เพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม
๒. จะวางแผนการทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ในการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้เป็น
ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ ทั้งนี้โดยคำนึงถึงสภาวะของสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ
๓. จะส่งเสริมการเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการที่จะนำไปสู่การพัฒนาปรับปรุงวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีจากในประเทศและจากต่างประเทศให้เหมาะสม เพื่อใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหา
เศรษฐกิจสังคมและสภาพแวดล้อม
๔. จะเร่งรัดส่งเสริมการสำรวจวิจัย และพัฒนาการนำพลังงานทุกรูปแบบภายในประเทศมา
ใช้ให้เป็นประโยชน์โดยเร็ว เพื่อลดการใช้น้ำมันที่ต้องซื้อจากต่างประเทศ
๕. จะเร่งรัดประสานงาน เพื่อให้การบริหารงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีการประสานงาน
ต่อเนื่องและให้เป็นไปในเป้าหมายแนวทางเดียวกันอย่างใกล้ชิด
๖. จะกำหนดอัตราค่าพลังงานที่ใช้เป็นประโยชน์ได้แล้วทุกชนิดให้เหมาะสมกับสถานะทาง
เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
๗. จะควบคุมการจัดหา การผลิต และการใช้พลังงานให้เป็นไปโดยประหยัด และได้ประโยชน์
สูงสุดต่อส่วนรวม เพื่อให้มีพลังงานใช้อย่างเพียงพอ เหมาะสมกับภาวการณ์ทั้งในยามปกติและยาม
ฉุกเฉิน
๘. อนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติโดยจัดให้มีการใช้และฟื้นฟูทรัพยากรเหล่านี้ให้
เกิดประโยชน์สูงสุดและเป็นธรรมในสังคม
นอกจากนโยบายดังกล่าวข้างต้นแล้ว ประเทศไทยยังมีปัญหาสำคัญที่ต้องเผชิญอยู่ในขณะนี้
และเป็นภาระหนักอีกประการหนึ่ง คือปัญหาเกี่ยวกับผู้อพยพลี้ภัย ซึ่งในเรื่องนี้รัฐบาลขอแถลงว่าจะดำเนิน
การแก้ปัญหาตามหลักมนุษยธรรมควบคู่ไปกับหลักอธิปไตย ความมั่นคงความปลอดภัยและผลประโยชน์
ของชาติ เกี่ยวกับผู้ลี้ภัยจากอินโดจีนซึ่งมีอยู่ในประเทศไทยเป็นจำนวนมากนั้นรัฐบาลจะเร่งดำเนินการ
ทางการเมืองและการทูตให้องค์การและประชาคมระหว่างประเทศเข่ามามีส่วนรับผิดชอบในการแก้
ปัญหาเรื่องนี้ โดยเฉพาะให้มีการรับบุคคลเหล่านี้ ออกไปจากประเทศไทยมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้
ทั้งนี้เพื่อบรรเทาผลกระทบกระเทือนและความเดือดร้อนซึ่งประเทศไทยและประชาชนคนไทยต้องประสบ
อยู่ในปัจจุบันให้มากที่สุดเท่าที่จะกระทำได้
ท่านประธานที่เคารพ และท่านสมาชิกผู้มีเกียรตินโยบายของรัฐบาลในรายละเอียดดังที่
กระผมได้แถลงไปแล้วนั้น หากมิได้นำไปปฏิบัติอย่างจริงจังก็จะเป็นเพียงคำพูดหรือตัวหนังสือที่ไร้ค่า
การปฏิบัติตามแนวนโยบายดังกล่าว จะต้องอาศัยความตั้งใจจริง ความสุจริตและการไตร่ตรองที่
รอบคอบจากคณะรัฐบาล โดยกระผมของให้คำมั่นว่า การปฏิบัติหน้าที่ตามหลักดังกล่าวนี้จะเริ่มต้นตั้งแต่
ตัวกระผมและรัฐมนตรีทุกท่านเป็นลำดับแรกต่อจากนั้นก็จะดำเนินการให้ข้าราชการตั้งแต่ชั้นผู้ใหญ่เรื่อย
ลงไปจนถึงชั้นผู้น้อยทุกระดับถือปฏิบัติเช่นกัน การที่คณะรัฐบาลและข้าราชการจะสามารถกระทำหน้าที่นี้
ได้กระผมเห็นว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องอาศัยความร่วมมือจากท่านสมาชิกผู้มีเกียรติในการที่จะ
ให้ความคิดเห็นทักท้วงในสิ่งที่เป็นประโยชน์ และที่สำคัญยิ่งก็คือ ความเข้าใจและความร่วมมือของ
ประชาชน
กระผมขอให้คำมั่นสัญญาต่อท่านทั้งหลาย และต่อประชาชนว่ากระผมจะบริหารงานตาม
นโยบายที่เสนอนี้ โดยยึดถือความสุจริต ความเที่ยงธรรม และความตั้งใจแน่วแน่ในการนี้กระผมและ
รัฐมนตรีร่วมคณะทุกท่าน จะยึดถือผลประโยชน์ของชาติเป็นที่ตั้ง กระผมหวังว่าเราทุกคนสามารถจะนำ
ความผาสุกความสงบเรียบร้อยและความเจริญมาสู่ประเทศชาติ และประชาชนสมดังเจตนารมณ์และ
เป้าหมายที่ได้แถลงไว้ในวันนี้ทุกประการ ขอบพระคุณ
*รายงานการประชุมรัฐสภา ครั้งที่ ๒/๒๕๒๔ (วิสามัญ สมัยที่สอง)
วันศุกร์ที่ ๒๘ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๒๓ หน้า ๒๕ - ๔๖ |
43 | คณะรัฐมนตรี คณะที่ ๔๓
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
เป็นนายกรัฐมนตรี
ตั้งแต่วันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๒๖ - ๕ สิงหาคม ๒๕๒๙
แถลงนโยบาย เมื่อวันศุกร์ที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๒๖
คำแถลงนโยบายของรัฐบาล*
ท่านประธานสภาที่เคารพ และท่านสมาชิกผู้มีเกียรติ
ตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้กระผมเป็นนายกรัฐตรี
ตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๒๖ และแต่งตั้งรัฐมนตรีตามประกาศ
พระบรมราชโองการ ลงวันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๒๖ นั้น กระผมและคณะรัฐมนตรีจึงได้วางนโยบาย
ในการบริหารราชการแผ่นดินโดยได้คำนึงถึงความสามัคคีในชาติความสุขความปลอดภัย
และการแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชน ความเจริญก้าวหน้าและความมั่นคงของประเทศ
ในด้านต่างรวมทั้งการพัฒนาการปกครองไปสู่ระบอบประชาธิปไตยที่มีเสถียรภาพอย่างละเอียด
แล้วจึงขอแถลงเพื่อให้ รัฐสภาทราบดังต่อไปนี้
นโยบายการเมืองและการบริหาร
รัฐบาลมีเจตนารมณ์ในการเทิดทูนและรักษาไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอย่างเคร่งครัดพร้อมทั้ง
จะดำเนินการให้เกิดความสุขความเจริญแก่ประชาชนในชาติทุกด้านโดยจะพยายามแก้ไขปัญหา
ทางเศรษฐกิจปัญหาเสถียรภาพทางการเมืองและสังคมโดยรวดเร็วให้เหมาะสมกับเหตุการณ์
และเป็นธรรมรวมทั้งจะปลูกฝังให้คนไทยทุกคนมีความเข้าใจในการปกครองระบอบประชาธิปไตย
อย่างถูกต้องและยึดมั่นในอุดมการณ์ของชาติโดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับเรื่องการเสียสละประโยชน์ส่วนตัว
เพื่อผลประโยชน์ส่วนรวมและจะปฏิรูประบบราชการให้มีประสิทธิภาพในการรับใช้ประชาชน
เพื่อให้บังเกิดความพอใจแก่บริการของรัฐและให้สามารถประหยัดทรัพยากรสำหรับนำไปใช้
ในการลงทุนพัฒนาประเทศได้มากขึ้นนอกจากนั้นจะให้กองทัพมีบทบาทและหน้าที่สำคัญ
ในการป้องกันประเทศรักษาไว้ซึ่งเอกราชของชาติและการปกครองระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขเพื่อให้บรรลุถึงเจตนารมณ์ข้างต้น
เพื่อให้บรรลุถึงเจตนารมณ์ข้างต้น รัฐบาลจะดำเนินนโยบายทางการเมือง
และการบริหารดังนี้
๑. จะดำเนินการรักษาความสงบเรียบร้อยในสังคมเพื่อให้เกิดความปลอดภัย
แก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน โดยจะพยายามป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม
ให้ลดลงและรักษาความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรมรวมตลอดถึง
ดำเนินมาตรการป้องกันแก้ไขและขจัดไม่ให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความสงบ
ให้มีประสิทธิภาพในการบริการประชาชนยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันจะเพิ่มสวัสดิการของ
เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการรักษาความสงบให้ดียิ่งขึ้น
๒. จะส่งเสริมระบบพรรคการเมืองและสถาบันทางการเมืองต่าง ๆ
ให้สอดคล้องกับการพัฒนาการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์
เป็นประมุขนอกจากนั้นจะส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนทุกสาขาอาชีพได้มีส่วน
ร่วมทางการเมืองมากขึ้นและจะดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อทำให้ประชาชนมีความเชื่อ
มั่นและศรัทธาในระบบรัฐสภาว่าจะสามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ และสร้างความมั่นคงให้
แก่ชาติได้
๓. จะปฏิรูประบบราชการให้มีประสิทธิภาพในการรับใช้ประชาชนโดยติด
ตามและควบคุมให้หน่วยราชการปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาลและความต้องการของ
ประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งจะจัดส่วนราชการให้สามารถบริหารราชการได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ ขจัดการทำงานซ้ำซ้อนกันจะมอบอำนาจ และแบ่งอำนาจการบริหารให้
ราชการส่วนภูมิภาคมากยิ่งขึ้นปรับปรุงองค์การกลางในการบริหารงานบุคคลให้เกิด
ความเป็นธรรมเสมอหน้ากันทุกระบบ ปรับปรุงระบบการงบประมาณและระบบบริหาร
งานบุคคลให้ประสานและสอดคล้องกับแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลจะพัฒนาทัศนคติของข้าราชการให้ยึดมั่นในหลักการ
ปกครองระบอบประชาธิปไตยและส่งเสริมให้ข้าราชการที่มีความซื่อสัตย์สุจริต และมี
ประสิทธิผลในการปฏิบัติหน้าที่และรับใช้ประชาชนมีหลักประกันในความมั่นคงและ
ความเจริญก้าวหน้าในอาชีพราชการ
๔. จะดำเนินการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
อย่างเฉียบขาดทั้งจะขจัดข้าราชการที่ทุจริตและประพฤติมิชอบและไร้สมรรถภาพ
ออกจากวงราชการและในขณะเดียวกันจะดำเนินมาตรการให้ข้าราชการได้มีสวัสดิการ
และความเป็นอยู่ที่เหมาะสม
๕. จะส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นโดยให้ประชาชนมีสิทธิและความสามารถ
ในการปกครองตนเองยิ่งขึ้นเพื่อให้การปกครองท้องถิ่นมีประสิทธิภาพในการพัฒนา
ท้องถิ่นตามความต้องการของประชาชน และเป็นพื้นฐานที่ดีของการปกครองระบอบ
ประชาธิปไตย
๖. จะใช้การเมืองนำการทหารในการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ต่อไปทั้งนี้เพื่อสร้าง
ความสามัคคีระหว่างคนในชาติและรวมพลังคนไทยที่มีความคิดแตกต่างกันมาช่วย
พัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า
นโยบายการป้องกันประเทศ
รัฐบาลนี้ตระหนักว่าความมั่นคงของประเทศเป็นรากฐานสำคัญในการเสริมสร้าง
และการพัฒนาประเทศ และโดยที่กำลังป้องกันประเทศเป็นปัจจัยสำคัญในการรักษา
ความมั่นคงและธำรงไว้ซึ่งเอกราชอธิปไตยของชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ตลอดจน
ผลประโยชน์ของชาติ ดังนั้นรัฐบาลจึงกำหนดนโยบายในการป้องกันประเทศไว้ดังนี้
๑. จะดำเนินการตระเตรียมและเสริมสร้างกำลังที่ใช้ในการป้องกันประเทศ
ให้เข้มแข็งและอยู่ในสภาพที่พร้อมจะป้องกันราชอาณาจักร
๒. จะขยายกำลังป้องกันประเทศตามแผนที่วางไว้และปรับปรุงให้มีปริมาณ
เพียงพอและให้อยู่ในสภาพพร้อมรบ เพื่อให้สามารถป้องกันอธิปไตย
และรักษาความมั่นคงของประเทศ
๓. จะผนึกกำลังป้องกันประเทศทั้งสิ้น ทั้งกำลังทหาร กำลังกึ่งทหาร และ
กำลังราษฎรอาสาในรูปแบบต่าง ๆ เข้าด้วยกันรวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกำลัง
ป้องกันประเทศกับข้าราชการและประชาชน เพื่อป้องกันภัยคุกคามทั้งภายในและภายนอก
๔. จะเร่งรัดการฝึกรวมทั้งปรับปรุงและพัฒนาหลักนิยมและยุทธวิธีเพื่อเพิ่มพูนสมรรถภาพ
ของกำลังป้องกันประเทศให้สามารถเผชิญกับภัยคุกคามได้ทั้งภายในและภายนอก
๕. จะส่งเสริมและดำเนินการผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ภายในประเทศ รวมทั้ง
การพัฒนาวิชาการระบบมาตรฐานอาวุธโดยยึดหลักพื้นฐานการพึ่งตนเอง
๖. จะจัดเตรียมทรัพยากรของชาติโดยให้สอดคล้องกับฐานะทางเศรษฐกิจ
เพื่อให้พร้อมที่จะสนับสนุนการระดมสรรพกำลังของชาติในการป้องกันประเทศ
๗. จะให้ทหารมีส่วนร่วมในการพัฒนาและบรรเทาภัยพิบัติของประเทศ
รวมทั้งการช่วยเหลือประชาชนในด้านอื่น ๆ
๘. จะดำเนินการให้ทหารร่วมกับส่วนราชการอื่น ๆ ฝึกอบรมประชาชนให้มี
ส่วนร่วมในการรักษาความมั่นคงของประเทศ
๙. จะฝึกและพัฒนาให้ทหารมีความรู้ทางวิชาชีพเพื่อประโยชน์ในการประกอบ
อาชีพเมื่อปลดจากประจำการ
๑๐. จะบำรุงขวัญกำลังใจของทหารให้สูงอยู่เสมอโดยปรับปรุงสวัสดิการให้
เหมาะสมและอยู่ในสภาพที่ดี
๑๑. จะให้หลักประกันและสงเคราะห์ทหารผ่านศึกและครอบครัวให้ดำรงชีพ
อยู่ได้ด้วยความเหมาะสม สำหรับทหารผ่านศึกผู้ทุพพลภาพ และครอบครัวของทหาร
ผู้เสียชีวิตจะได้รับการช่วยเหลือเป็นพิเศษเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเหมาะสม
กับความเสียสละที่ได้ให้ไว้แก่ประเทศชาติ
นโยบายต่างประเทศ
รัฐบาลมีเจตนาอันแน่วแน่ที่จะดำเนินนโยบายต่างประเทศเพื่อให้บรรลุผล
ในการธำรงไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตยของชาติ บูรณภาพแห่งดินแดน พิทักษ์และส่งเสริม
ความมั่นคงปลอดภัยแห่งชาติและผลประโยชน์ของชาติ ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ
และสังคม โดยจะได้ดำเนินนโยบายดังต่อไปนี้
๑. จะเคารพและรักษาสิทธิตามความตกลงที่ทำไว้กับต่างประเทศโดย
ยึดถือหลักแห่งความเสมอภาค หลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติ และเคารพความเป็นธรรม
๒. จะเคารพและส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามหลักการของกฎบัตร
สหประชาชาติและปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
๓. จะส่งเสริมสันติภาพและการดำรงอยู่ร่วมกันโดยสันติระหว่างประเทศ
ทั้งหลายบนหลักการของการเคารพเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งดินแดน ความ
เสมอภาคการไม่แทรกแซงในกิจการภายในของกันและกัน และการแก้ไขปัญหา
ความขัดแย้งระหว่างประเทศโดยสันติวิธี
๔. จะดำเนินการทางการเมืองระหว่างประเทศและการทูตในทุกวิถีทาง
เพื่อให้บรรลุถึงซึ่งสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดย
คำนึงถึงผลประโยชน์และความมั่นคงของชาติเป็นสำคัญ
๕. จะเสริมสร้างความร่วมมือทางด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคมและ
ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
และจะกระชับสัมพันธ์ไมตรีกับบรรดาประเทศภาคีอาเซียนทั้งมวลให้แน่นแฟ้นและ
ใกล้ชิดยิ่งขึ้นทั้งจะสนับสนุนมาตรการที่จะให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็น
เขตสันติภาพ เสรีภาพ และความเป็นกลาง
๖. จะใช้ความพยายามต่อไปเพื่อปรับปรุงความสัมพันธ์และสร้างความเข้าใจ
อันดีกับประเทศเพื่อนบ้านในลักษณะที่ตอบสนองประโยชน์อันร่วมกันโดยยึดถือหลักการ
ของความเสมอภาคและความยุติธรรมตลอดจนจะพยายามและส่งเสริมให้มีการแก้ไข
ปัญหาระหว่างประเทศโดยวิธีการทางการเมืองและการทูต
๗. จะดำเนินและพัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศมหาอำนาจในลักษณะที่จะ
เกื้อกูลและเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยและความเจริญรุ่งเรืองของประเทศและเพื่อ
แก้ไขปัญหาสันติภาพและเสถียรภาพของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
๘. จะส่งเสริมสัมพันธ์ไมตรีอันดีและขยายความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการค้ากับทุกประเทศ
๙. จะดำเนินการทางการเมืองและการทูตทั้งทางด้านประเทศไทยและสถาน
ทูตไทยในต่างประเทศ เพื่อพัฒนาและเกื้อกูลกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการค้าของไทย
กับต่างประเทศโดยการรักษาและขยายตลาดการค้าสำหรับสินค้าและแรงงานของไทย
ทั้งจะส่งเสริมชักชวนให้มีการนำทุนจากต่างประเทศมาลงทุนประกอบกิจการภายใน
ประเทศโดยมีหลักประกันที่เป็นธรรม นอกจากนั้นจะร่วมมือกับประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ
เพื่อเสริมสร้างประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมระหว่างประเทศ
๑๐. จะคุ้มครองคนไทยประโยชน์ของคนไทยในต่างประเทศและประโยชน์
ของชาติในส่วนรวมให้ได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมจากต่างประเทศ
นโยบายเศรษฐกิจ
รัฐบาลนี้มีเจตนาแน่วแน่ที่จะยกฐานะความเป็นอยู่ของประชาชนให้สูงขึ้นและจะลด
ความเหลื่อมล้ำในฐานะทางเศรษฐกิจของคนในชาติให้เหลือน้อยลงจะขยายการผลิต
และการสร้างงานให้คนมีงานทำมากขึ้น นอกจากนั้นจะรักษาฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศ
ให้อยู่ในเกณฑ์ที่มั่นคงและมีเสถียรภาพ เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายข้างต้นรัฐบาลจะยึดถือแผน
พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นหลักในการพัฒนาประเทศ จึงวางนโยบายใน
การบริหารงานต่าง ๆ ไว้ดังต่อไปนี้
๑. จะดำเนินการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศโดยจัดสรรทรัพยากรไปใช้เพื่อ
ยังประโยชน์ให้แก่ประชาชนส่วนใหญ่ จะเร่งรัดการผลิตทางเกษตร อุตสาหกรรมเหมืองแร่
และอื่น ๆ ให้เพิ่มมากขึ้นพร้อมทั้งขยายการค้าและบริการควบคู่ไปด้วย เพื่อก่อให้เกิดการ
สร้างงานให้คนมีงานทำ ทั้งนี้จะมุ่งกระจายความเจริญออกสู่ส่วนภูมิภาค และชนบทให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
๒. จะเร่งรัดพัฒนาชนบท โดยใช้แผนพัฒนาชนบทเป็นหลักและให้ความสำคัญเป็นพิเศษ
แก่พื้นที่ชนบทยากจนโดยจะเน้นการปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารเพื่อให้เกิดการประสานงาน
ใกล้ชิดยิ่งขึ้น ในการนี้จะสนับสนุนให้สภาตำบลและราชการส่วนภูมิภาคเข้าร่วมงานอย่างเต็มที่
๓. จะสนับสนุนระบบเศรษฐกิจเสรีและขจัดการกระทำที่เป็นการผูกขาดโดยคำนึง
ถึงผลประโยชน์ของประชาชนผู้บริโภคเป็นสำคัญในขณะเดียวกันก็จะให้ความเป็นธรรมแก่
ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายอย่างทั่วถึง
๔. จะเร่งรัดการลงทุนของภาคเอกชนทั้งทุนภายในประเทศและทุนจากต่างประเทศ
ให้เพิ่มมากขึ้น โดยจะลดขั้นตอนในการปฏิบัติงานและระเบียบของทางราชการ
ให้เหลือน้อยที่สุดตลอดจนให้ความยุติธรรมแก่ผู้ลงทุนทั้งภายในและต่างประเทศในการ
นี้จะร่วมมือและประสานงานกับภาคเอกชนอย่างใกล้ชิด เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาอุปสรรค
ที่เกิดขึ้นโดยจะสนับสนุนการพัฒนาองค์กรภาคเอกชนให้เป็นสถาบันที่มั่นคง และเป็น
ประโยชน์ต่อประเทศชาติโดยส่วนรวม
๕. จะเร่งรัดการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ด้านการเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์
การประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจะวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการ
ของตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ เพื่อให้ชาวไร่ชาวนาได้รับราคาผลผลิตอัน
เป็นธรรมจะส่งเสริมให้ชาวไร่ชาวนามีที่ดินทำกินของตนเอง โดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อ
เกษตรกรรม และการจัดสิทธิทำกินในป่าเสื่อมโทรมอีกทั้งจะช่วยเหลือเกษตรกรในท้อง
ที่แห้งแล้งโดยการจัดหาและพัฒนาแหล่งน้ำในระดับไร่นาอย่างกว้างขวาง นอกจากนั้น
จะสนับสนุนสถาบันชาวไร่ชาวนาโดยเฉพาะอย่างยิ่งสหกรณ์การเกษตรให้เป็นตัวแทน
ชาวไร่ชาวนาอย่างเข้มแข็งยิ่งขึ้น ควบคู่ไปกับการส่งเสริมภาคเอกชนในธุรกิจการเกษตร
และอุตสาหกรรมการเกษตร
๖. จะปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตของอุตสาหกรรมที่มีอยู่ให้ดียิ่งขึ้นจะส่งเสริม
อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงาน ทรัพยากรภายในประเทศ และผลิตเพื่อส่งออกทั้งนี้โดยเน้นการ
กระจายอุตสาหกรรมไปสู่ส่วนภูมิภาค จะเร่งรัดดำเนินการเพื่อพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ
โดยเฉพาะสินแร่นานาชนิดตลอดจนอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่าง ๆ ด้วยความรอบคอบ เพื่อ
ผลประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งนี้ จะได้กำหนดให้มีแผนพัฒนาการใช้
ทรัพยากรธรรมชาติในระยะยาวของประเทศด้วย
๗. จะพัฒนาการขนส่งมวลชนและจะปรับปรุงระบบการขนส่งเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการ
ขนถ่ายสินค้าในการนี้จะมุ่งพัฒนาและขยายการขนส่งทางน้ำและทางรถไฟให้เพิ่มมากขึ้น
และมีประสิทธิภาพสูงขึ้น จะเร่งสร้างและปรับปรุงท่าเรือน้ำลึกและจะเร่งรัดพัฒนา
การพาณิชย์นาวีซึ่งจำเป็นและมีประโยชน์ในทางขยายการค้ากับต่างประเทศ อีกทั้งจะเร่งรัด
พัฒนาการคมนาคมทางบก ทางอากาศให้มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมและเหมาะสมกับนโยบายประหยัดการใช้น้ำมันโดยจะให้สอดคล้องกับการขนส่ง
ทางน้ำและทางรถไฟส่วนการขนส่งทางอากาศนั้นจะขยายขอบเขตการดำเนินงานให้สัมพันธ์
กับการขยายตัวของความต้องการในการขนส่งทั้งในประเทศและระหว่างประเทศโดยเฉพาะ
จะให้สนองการขยายตัวของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในด้านการสื่อสารจะเพิ่มประสิทธิภาพ
ของการสื่อสารและโทรคมนาคมทุกรูปแบบ เพื่อให้เกิดความสะดวก ความรวดเร็ว
ความแน่นอน และสม่ำเสมอ
๘. จะจัดให้มีแผนการใช้พลังงานขึ้นใหม่ให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ
การเงินและทรัพยากรด้านพลังงานของประเทศ โดยจะเน้นหนักด้านการประหยัด การใช้
ทรัพยากรพลังงานที่มีอยู่การหาพลังงานทดแทน และกรรมวิธีการใช้พลังงานใหม่ทุกด้าน
๙. จะส่งเสริมการขยายตลาดสินค้าในต่างประเทศให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดย
เจรจาลดข้อจำกัดและกีดกันทางการค้ากับประเทศคู้ค้าและลดอุปสรรคทางภาคราชการ
ในด้านการส่งออกให้น้อยลงอีกทั้งจะจัดให้มีแผนงานส่งเสริมการท่องเที่ยวที่สมบูรณ์
เพื่อให้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะสร้างงานทั้งด้านบริการและอุตสาหกรรม
ในครัวเรือนให้มากที่สุด
๑๐. จะปรับปรุงนโยบายการบริหารการเงิน และการคลัง ในแนวที่จะสร้าง
ความคล่องตัวและสามารถหนุนให้เกิดการขยายตัวของเศรษฐกิจในสาขาการผลิต
และการบริการต่าง ๆ ขณะเดียวกันก็จะรักษาเสถียรภาพของเงินบาท และฐานะการ
คลังของประเทศไว้ให้ดีมีความมั่นคงเป็นที่เชื่อถือของนานาประเทศ รัฐบาลจะยึด
นโยบายประหยัดในจุดที่ควรประหยัดให้ได้ผลที่สุดและจะเร่งรัดให้สามารถจัดเก็บ
ภาษีอากรได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ โดยปรับปรุงระบบภาษีอากร ตลอดจน
การจัดเก็บให้สะดวก รัดกุม แน่นอน และเป็นธรรม รวมทั้งให้สอดคล้องและสนับสนุน
การพัฒนาในทุกด้านนอกจากนั้นจะขยายบริการทางการเงินต่าง ๆ ให้ประเทศไทย
มีบทบาทด้านการเงินระหว่างประเทศยิ่งขึ้นสำหรับการบริหารงานในรัฐวิสาหกิจ
จะยึดนโยบายให้รัฐวิสาหกิจทุกแห่งเป็นแหล่งอำนวยรายได้ให้กับรัฐและจะไม่ยอม
ให้รัฐวิสาหกิจที่หย่อนประสิทธิภาพมาเป็นภาระของรัฐบาลและประชาชนอีกต่อไป
๑๑. จะสร้างงานทั้งในเมืองและชนบทให้มากขึ้น และส่งเสริมการใช้
แรงงานไทยในต่างประเทศเพื่อแก้ไขปัญหาการว่างงานที่มีอยู่ และปัญหาการมี
งานทำของประชากรที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงานในอนาคตในเขตชนบทรัฐบาลจะมี
โครงการสร้างงานในชนบทที่ต่อเนื่องและสอดคล้องกับแผนพัฒนาชนบทและ
ส่งเสริมการพัฒนาอาชีพอื่น ๆ นอกเหนือจากการเกษตร เช่น การผลิตสินค้าพื้น
เมืองอันเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน หรืออุตสาหกรรมขนาดย่อม นอกจากนั้น
จะใช้มาตรการในด้านภาษีอากรและจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อจูงใจให้มี
การลงทุนในชนบทให้มากยิ่งขึ้น สำหรับการสร้างงานในเมืองจะสร้างงานที่มี
ลักษณะสอดคล้องกับคุณภาพของแรงงานที่ว่างงานอยู่ และที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงาน
นโยบายทางสังคม
รัฐบาลมีเจตนารมณ์ที่จะทำให้ประชาชนมีความสุข ความปลอดภัยในชีวิต
และทรัพย์สินมีสุขภาพพลานามัยสมบูรณ์และมีคุณภาพสูงขึ้นจะส่งเสริมให้มีการพัฒนา
สตรีให้มีคุณภาพและมีบทบาทร่วมในการพัฒนามากยิ่งขึ้น นอกจากนั้น จะวางพื้นฐาน
การศึกษาให้เด็กเยาวชนและประชาชนสามารถพัฒนาตนเองและสังคม ยึดมั่นในศาสน
ธรรม คุณค่าของศิลปวัฒนธรรมไทย รู้จักนำความรู้ความสามารถไปใช้ให้เกิดประโยชน์
แก่ตนเองและสังคมโดยส่วนรวม โดยจะดำเนินการดังนี้
๑. การพัฒนาแรงงานและสวัสดิการสังคม
๑.๑ จะส่งเสริมการพัฒนาแรงงานในด้านความรู้ฝีมือและความสามารถเพื่อ
ที่จะได้เพิ่มฐานะทางเศรษฐกิจให้สูงขึ้น
๑.๒ จะคุ้มครองแรงงานให้มีรายได้ ชั่วโมงทำงาน วันหยุด สวัสดิภาพและ
หลักประกันที่เหมาะสม
๑.๓ จะปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยกองทุนทดแทนให้มีขอบเขตกว้างขวาง
ยิ่งขึ้นเพื่อให้เป็นพื้นฐานในการมีกฎหมายประกันสังคมต่อไปในอนาคต
๑.๔ จะให้คำแนะนำและความช่วยเหลือแก่แรงงานไทยในต่างประเทศ
๑.๕ จะขยายสวัสดิการให้ประชาชนทั่วไป โดยจะเน้นการช่วยเหลือผู้มี
รายได้น้อยเป็นพิเศษและจะปรับปรุงชุมชนแออัดในเมือง รวมทั้งจะขยายแผนงาน
สร้างที่อยู่อาศัยให้แก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อยให้กว้างขวางมากขึ้น
๑.๖ จะสนับสนุนการจัดตั้งสถานที่รับเลี้ยงเด็กที่มีมาตรฐาน โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งในเขตชุมชนแออัดในเมืองที่ประชาชนมีรายได้น้อยอาศัยอยู่ ทั้งนี้ เพื่อให้
เด็กได้รับการเลี้ยงดูที่ถูกต้องและเปิดโอกาสให้ผู้มีรายได้น้อยสามารถออกไป
ประกอบอาชีพเพื่อเพิ่มพูนรายได้ของตน
๒. การขจัดภัยจากยาเสพติด
จะดำเนินการกวาดล้างแหล่งผลิตและจำหน่ายยาเสพติดให้โทษโดย
เด็ดขาดฉับพลันส่วนทางด้านผู้ติดยาเสพติดจะได้รับการบำบัดรักษาและอบรมให้
ตระหนักถึงภัยอันเกิดจากยาเสพติด
๓. กระบวนการยุติธรรม
๓.๑ จะรักษาไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายผดุงความเป็นอิสระของ
ผู้พิพากษาในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี
๓.๒ จะปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้คดีความที่เกิดขึ้น
ได้รับการพิจารณาพิพากษาของศาลโดยรวดเร็ว
๓.๓ จะให้ความคุ้มครองแก่ประชาชนผู้สุจริตและให้ความเที่ยงธรรม
ตลอดจนความสะดวกแก่ผู้กล่าวหาและผู้ถูกกล่าวหา
๓.๔ จะปรับปรุงฐานะของผู้พิพากษาให้เหมาะสมและเพิ่มพูนความรู้
ความสามารถ ความเข้าใจและทัศนคติเกี่ยวกับการพิจารณาพิพากษาคดีเพื่อช่วยให้
ผู้พิพากษาสามารถปฏิบัติหน้าที่ของตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นผู้มีจรรยาตุลาการที่ดีงาม
๓.๕ จะขยายการคุมประพฤติผู้กระทำผิดออกไปในส่วนภูมิภาคเพื่อปกป้อง
คุ้มครองและป้องกันสังคมจากอาชญากรรม และช่วยเหลือควบคุมและสอดส่องผู้กระทำ
ผิดที่ไม่ร้ายแรงให้กลับตนเป็นพลเมืองดีของสังคมโดยไม่ต้องถูกจำคุก
๓.๖ จะแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับให้สอดคล้องกับภาวะสังคม
ในปัจจุบัน เพื่อให้สามารถอำนวยความยุตธรรมและรักษาความสงบสุขของประชาชนตลอดไป
๔. การสาธารณสุข
จะปรับปรุงให้ประชาชนทั้งในชนบทและในเมืองไม่ว่าจะมีรายได้และฐานะ
ทางเศรษฐกิจอย่างใด ได้รับบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขที่มีคุณภาพ สะดวก
และรวดเร็วยิ่งขึ้นโดยจะดำเนินการดังต่อไปนี้
๔.๑ จะเร่งรัดการดำเนินงานโครงการสาธารณสุขมูลฐานด้วยการจัดบริการ
ให้ประชาชนในระดับหมู่บ้านและตำบลและชุมชนแออัดในเมืองที่ยังไม่ได้รับการบริการ
ดังกล่าวให้มีโอกาสได้รับบริการการป้องกันโรค การส่งเสริมสุขภาพและการรักษาพยาบาล
เบื้องต้น ณ ที่อยู่ของตน ทั้งนี้จะให้การสงเคราะห์ผู้มีรายได้น้อยและผู้สูงอายุด้านการรักษา
พยาบาลเป็นพิเศษโดยจะประสานงานและร่วมมือกับภาคเอกชนด้วย
๔.๒ จะเร่งรัดการปรับปรุง ขยายและก่อสร้างโรงพยาบาลอำเภอรวมทั้ง
จัดตั้งสถานีอนามัยตำบลให้มีระบบและข่ายงานสาธารณสุขให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
๔.๓ จะร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในการเร่งรัดการผลิตแพทย์ พยาบาล
ทันตแพทย์ เภสัชกรนักสาธารณสุข เจ้าหน้าที่เทคนิค และเจ้าหน้าที่ธุรการทาง
การแพทย์และสาธารณสุข ให้มากขึ้นโดยเร็วเพื่อให้พอเพียงกับการขยายบริการ
สาธารณสุขในระดับท้องถิ่น ทั้งจะปรับปรุงคุณภาพของบุคลากรดังกล่าวให้
ปฏิบัติงานในชนบทอย่างมีประสิทธิภาพ
๔.๔ จะเร่งรัดการดำเนินการวางแผนครอบครัวให้ลดอัตราการเพิ่ม
ประชากรลงและจะดำเนินการแก้ไขปัญหาสภาพโภชนาการ รวมทั้งการสาธารณูปโภค
๔.๕ จะขยายการบริการด้านอนามัยแม่และเด็ก โดยเฉพาะเกี่ยวกับการ
ทำคลอดการดูแลก่อนและหลังคลอดเพื่อลดอัตราการตายของมารดาและทารกควบคู่
ไปกับการให้ความรู้ด้านสาธารณสุขมูลฐานอย่างเพียงพอที่จะให้สตรีมีส่วนร่วมใน
การดูแลรักษาป้องกันสุขภาพ ทั้งทางกายและจิตใจของตนเองครอบครัวและชุมชน
อย่างมีประสิทธิภาพ
๔.๖ จะส่งเสริมและเร่งรัดให้มีการวิจัยและพัฒนาเพื่อให้หน่วยงานของรัฐ
และธุรกิจเอกชนสามารถผลิตครุภัณฑ์ เวชภัณฑ์ และวัสดุภัณฑ์ ที่ใช้ในการแพทย์
และสาธารณสุขให้มากยิ่งขึ้นรวมทั้งผนึกวิธีการรักษาพยาบาลแบบพื้นบ้าน กับระบบ
การรักษาพยาบาลในโครงการสาธารณสุขขั้นมูลฐานเพื่อให้สามารถพึ่งตนเองได้ทั้ง
ในยามปกติและยามฉุกเฉิน ทั้งนี้จะไม่ให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการโดยวิธีการ
ผูกขาด
๔.๗ จะพัฒนาและปรับปรุงระบบงานสาธารณสุขทั่วประเทศเพื่อให้สามารถ
ประสานเป้าหมายประสานงานระหว่างหน่วยงานด้านสาธารณสุขกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
และธุรกิจเอกชนเพื่อให้ประชาชนได้รับบริการสาธารสุขดีขึ้นในยามปกติและเตรียมพร้อม
ที่จะเผชิญเหตุการณ์ในยามฉุกเฉินได้
๔.๘ จะปรับปรุงและดำเนินการด้านสุขศึกษา โดยใช้เทคโนโลยีใหม่ใช้สื่อสาร
มวลชนและใช้วิธีการศึกษาทั้งในและนอกระบบเพื่อให้ประชาชนโดยเฉพาะนักเรียนชั้น
ประถมและมัธยมรู้จักปฏิบัติตนในการป้องกันโรค การส่งเสริมสุขภาพและรักษาพยาบาล
เบื้องต้นด้วยตนเอง
๔.๙ จะดำเนินการเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคด้วยการตรวจสอบ ป้องกันปราบปราม
และลงโทษผู้กระทำความผิด รวมทั้งส่งเสริมให้ใช้เทคโนโลยีที่ถูกต้องและเหมาะสมใน
การผลิต การจำหน่ายการโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหาร ยารักษาโรคและวัสดุภัณฑ์ที่ใช้ในการ
เกษตร ให้ได้รับความปลอดภัย เป็นธรรม และประหยัด
๔.๑๐ จะส่งเสริมการออกกำลังและการกีฬาเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพดีและมี
การพักผ่อนหย่อนใจที่ถูกต้อง
๔.๑๑ จะป้องกันและรักษาโรคที่เป็นอันตรายต่อประชาชนในกลุ่มอาชีพหรือวัย
ต่าง ๆโดยเฉพาะโรคที่สามารถขจัดหรือบำบัดให้หมดสิ้นไปจากประเทศไทยทั้งนี้จะเร่ง
รัดโครงการที่จะป้องกันและบรรเทาอุบัติเหตุและสาธารณสุขชนิดต่าง ๆ รวมทั้งจัดทำ
โครงการฟื้นฟูผู้ทุพพลภาพให้สามารถดำรงชีวิตและประกอบอาชีพได้อีกด้วย
๔.๑๒ จะผลิตและส่งเสริมนักวิชาการทางการแพทย์และสาธารณสุขให้มี
ความสามารถสูงเพื่อที่จะแสวงหาวิทยาการแผนใหม่ในประเทศ หรือจากต่างประเทศ
มาใช้แก้ปัญหาสาธารณสุข
๕. การพัฒนาเด็กและเยาวชน
จะส่งเสริมให้มีการร่วมระดมสรรพกำลังทั้งภาครัฐบาล ภาคเอกชน และ
ราชการบริหารส่วนท้องถิ่นทุกรูปแบบเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชน ให้เป็นผู้มีระเบียบ
วินัยและคุณภาพทั้งทางกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ และสังคม
๕.๑ จะเร่งรัดให้มีการขยายบริการด้านต่าง ๆ ให้กับเด็กและเยาวชนใน
พื้นที่ชนบทยากจนรวมทั้งชุมชนแออัดเป็นพิเศษ
๕.๒ จะส่งเสริมและสนับสนนุนให้การอบรมเลี้ยงดูในครอบครัว มีคุณภาพ
ดียิ่งขึ้นโดยถือเป็นพื้นฐานอันสำคัญในการพัฒนาเด็กและเยาวชน
๕.๓ จะส่งเสริมสุขภาพทั้งทางกายและทางจิตใจโดยเน้นการเจริญเติบโต
ของร่างกายการป้องกันโรค และการป้องกันปัญหาสุขภาพจิตเป็นหลัก
๕.๔ จะเร่งรัดสร้างค่านิยมโดยเฉพาะด้านจริยธรรมและศาสนธรรมให้มีวินัย
ความซื่อสัตย์ ความอดทน ความขยันหมั่นเพียร รู้จักประหยัด รู้จักตนเอง และรู้จักอยู่
ร่วมกับผู้อื่นด้วยความสมานฉันท์
๕.๕ จะส่งเสริมการพัฒนาด้านสติปัญญาการแสวงหาความรู้และการใช้
เหตุผลในทางริเริ่มและสร้างสรรค์ที่มีประสบการณ์อันเหมาะสมกับวัย
๕.๖ จะสงเคราะห์และบำบัดรักษาเด็กและเยาวชนที่มีปัญหาเฉพาะทั้ง
ทางกายสมองและอารมณ์ ตลอดจนจะส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนดังกล่าวได้รับ
การพัฒนาให้เต็มที่ตามสภาพและความแตกต่างระหว่างบุคคลรวมทั้งจะให้
ความคุ้มครองเด็กและเยาวชนที่ทำงาน
๕.๗ จะส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์แก่ตนเอง
และสังคม
๕.๘ จะส่งเสริมเยาวชนให้มีทักษาในการประกอบอาชีพ ให้เป็นที่พึ่งตนเอง
และช่วยสร้างความเจริญให้แก่สังคมเป็นส่วนรวม
๕.๙ จะส่งเสริมให้เด็ก และเยาวชนได้ตระหนักในความสำคัญของความ
เป็นชาติเข้าใจบทบาทของตนในการพัฒนาชาติ และการเป็นสมาชิกในสังคมนานาชาติ
๖. การศึกษา
รัฐบาลมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาการศึกษาทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ
เพื่อเสริมสร้างบุคคลให้มีความรู้สำนึก และมีความรับผิดชอบทั้งต่อสังคมและตนเอง
มีความคิดและความสามารถในการประกอบอาชีพ มีจริยธรรม คุณธรรม วัฒนธรรม
พลานามัย ระเบียบวินัย มีความรักและธำรงศิลปวัฒนธรรมความเป็นไทย หวงแหน
แผ่นดินเกิด ตลอดจนมีความซาบซึ้งและสามารถมีส่วนร่วมในการปกครองระบอบ
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดยจะเร่งดำเนินการดังต่อไปนี้
๖.๑ จะจัดการศึกษาทุกระดับและทุกประเภททั้งในและนอกระบบโรงเรียน
ให้ประสานสัมพันธ์กัน และสอดคล้องกับการพัฒนาการทางเศรษฐกิจและสังคมของ
ประเทศ
๖.๒ จะปรับปรุงโครงสร้างระบบบริหารและการจัดการศึกษาทุกระดับและ
ทุกประเภทให้มีเอกภาพ ประสานสัมพันธ์กัน เพื่อให้การจัดการศึกษามีประสิทธิภาพ
สูงสุด นอกจากนั้นจะมอบอำนาจการจัดการศึกษาให้แก่สถานศึกษาและหน่วยงานระดับ
ปฏิบัติให้มากที่สุดเพื่อให้การจัดการศึกษาสามารถสนองตอบความต้องการของท้องถิ่น
๖.๓ จะจัดและส่งเสริมให้สถานศึกษาทึกระดับเป็นศูนย์บริการด้านการศึกษา
วิชาชีพ ศิลป วัฒนธรรม กีฬา พลานามัย นันทนาการและข่าวสาร เพื่อให้บริการแก่
นักเรียน นิสิต นักศึกษาและประชาชน
๖.๔ จะเร่งปรับปรุงคุณภาพของการศึกษาทุกระดับโดยปรับปรุงระบบการ
วางแผน การบริหาร การเรียน การสอน การกำหนดมาตรฐานและวิทยฐานะ ระบบ
การติดตามประเมินผลตลอดจนการนิเทศการศึกษา เพื่อให้เกิดความเสมอภาคกัน
ทุกระดับและคำนึงถึงความต้องการของท้องถิ่นเป็นสำคัญ
๖.๕ จะส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตร สื่อการเรียนและเทคโนโลยีใหม่ ๆ
ตลอดจนสื่อมวลชนทั้งภาครัฐและเอกชนมาใช้เพื่อกระจายโอกาสทางการศึกษา
และพัฒนาคุณภาพ
๖.๖ จะเร่งฝึกและอบรมในด้านระเบียบวินัย คุณธรรม ความรู้จักรับผิดชอบ
ต่อสังคมและตนเองความรักในศิลปวัฒนธรรมและความสำนึกในความเป็นไทยร่วม
กันเพื่อธำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ เอกราชอธิปไตยของชาติ และระบอบประชาธิปไตยอัน
มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขนอกจากนั้นจะส่งเสริมให้สถาบันศาสนาได้เข้ามามีบท
บาทในการอบรมสั่งสอนด้านคุณธรรมให้มากขึ้น
๖.๗ จะส่งเสริมให้ผู้สอนในทุกระดับการศึกษาและทุกประเภทได้รับการ
ยกย่องเชิดชูมีความก้าวหน้าและความมั่นคงในอาชีพ สำหรับด้านการฝึกครูนั้นจะเน้น
ด้านคุณภาพเป็นสำคัญ
๖.๘ จะสนับสนุนส่งเสริมการวิจัย เผยแพร่การวิจัยจัดให้มีการแลกเปลี่ยน
ความคิดเห็นระหว่างผู้วิจัยส่งเสริมให้มีการนำผลการวิจัยไปใช้เพื่อสนองความต้องการ
ของชุมชนและความก้าวหน้าทางวิชาการ รวมทั้งประโยชน์ในการปรับปรุงคุณภาพชีวิต
ชองประชาชน
๖.๙ จะระดมทรัพยากรจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ในการขยายการศึกษา
และการพัฒนาคุณภาพ และจะปรับปรุงวิธีการจัดสรรทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อให้มี
ความเสมอภาคทางการศึกษาโดยเน้นการให้โอกาสแก่ผู้เรียนในชนบท ผู้เรียนที่ยากจน
และกลุ่มที่มีโอกาสน้อย
๖.๑๐ จะส่งเสริมการจัดการศึกษาของสถานศึกษาเอกชนโดยให้เอกชนมีส่วน
ร่วมในการจัดการศึกษาภายในขอบเขตและสัดส่วนที่เหมาะสมนอกจากนั้นจะพยายาม
สนับสนุนให้สถาบันทางการเงินเข้าช่วยเหลือสถานศึกษาเอกชนและจะส่งเสริมคุณภาพ
ทางการศึกษาของสถานศึกษาเอกชนให้ดีขึ้นรวมทั้งจะให้การสนับสนุนและส่งเสริม
สถาบันสอนศาสนา
๖.๑๑ จะสนับสนุนกิจกรรมของนิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัยและนอก
มหาวิทยาลัยที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติโดยส่วนรวม
๗. ศิลป วัฒนธรรม ศาสนา และลักษณะสังคมไทย
๗.๑ จะรักษา ส่งเสริม เผยแพร่และพัฒนาศิลปวัฒนธรรมไทยให้มีเอกลักษณ์
สูงเด่นและจะป้องกันมิให้ศิลปวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์อันดีงามของชาติ รวมทั้งการ
ปราบปรามกิจกรรมอันทำลายและขัดต่อศีลธรรมจรรยาและชื่อเสียงเกียรติภูมิ
ของคนไทยด้วย
๗.๒ จะศึกษา ค้นคว้าวิจัยและอนุรักษ์มรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติและ
ปูชนียสถานอันเป็นที่สักการะยึดเหนี่ยวทางใจของประชาชน
๗.๓ จะสนับสนุน ส่งเสริม เผยแพร่กิจการทางศาสนาตลอดจนการมีเสรีภาพ
ในการเลือกนับถือศาสนา ส่งเสริมขันติธรรมและความสมานฉันท์ระหว่างผู้นับถือศาสนา
ต่างกัน เพื่อผลในการฟื้นฟูศีลธรรมจริยธรรม วัฒนธรรมของชนในชาติ
๗.๔ จะส่งเสริมให้ประชาชนประพฤติปฏิบัติตามครรลองของศีลธรรมจริยธรรม
เป็นพิเศษโดยกวดขันความประพฤติของข้าราชการให้เป็นที่นับถือ ศรัทธาและเป็นตัวอย่าง
ที่ดีงามของประชาชนตลอดจนเสริมสร้างให้เด็กและเยาวชนสำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบ
๘. ชุมชน เมือง สิ่งแวดล้อม และสาธารณูปโภค
๘.๑ จะพัฒนา เมือง ชุมชน และชนบทให้อยู่ในขนาดที่เหมาะสมและสัมพันธ์
กับการขยายบริการทางสังคม โดยคำนึงถึงความเหมาะสมในการใช้ และอนุรักษ์ทรัพยา
กรธรรมชาติ พลังงานคุณภาพสิ่งแวดล้อม จารีตประเพณีและเอกลักษณ์ของท้องถิ่น
๘.๒ จะจัดบริการสังคมในเรื่องสาธารณูปโภค สาธารณูปการ ที่อยู่อาศัยของ
ผู้มีรายได้น้อย รายได้ปานกลาง ทั้งในเมืองและชนบทให้มีลักษณะสมบูรณ์ในตัวเอง
๘.๓ จะจัดบริการสังคมด้านการกีฬา สถานพักผ่อนหย่อนใจสวนสาธารณะ
ในเมืองและชุมชนต่าง ๆ รวมทั้งการขยายวนอุทยาน อุทยานแห่งชาติ และเขตรักษา
พันธุ์สัตว์ป่า
นโยบายทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม
๑. จะเร่งรัดส่งเสริมการวิจัยและการให้บริการทางด้านวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีโดยเน้นหนักในการสนับสนุนงานพัฒนาด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม
เพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม
๒. จะวางแผนการทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีในการนำทรัพยากรธรรมชาติ
มาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงสภาวะของสิ่งแวดล้อมเป็น
สำคัญ
๓. จะส่งเสริมการเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการที่จะนำไปสู่การพัฒนาปรับปรุง
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี จากในประเทศและจากต่างประเทศให้เหมาะสม เพื่อใช้ประโยชน์
ในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจสังคมและสภาพแวดล้อม
๔. จะเร่งรัดส่งเสริมการสำรวจวิจัยและพัฒนาการนำพลังงานทุกรูปแบบภายใน
ประเทศมาใช้ให้เป็นประโยชน์โดยเร็ว เพื่อลดการใช้น้ำมันที่ต้องซื้อจากต่างประเทศ
๕. จะเร่งรัดประสานงานด้านพลังงาน เพื่อให้การบริหารงานเป็นไปอย่าง
มีประสิทธิภาพมีการประสานงานต่อเนื่องและให้เป็นไปในเป้าหมายแนวทางเดียวกัน
อย่างใกล้ชิด
๖. จะกำหนดอัตราค่าพลังงานที่ใช้เป็นประโยชน์ได้แล้วทุกชนิดให้เหมาะสม
กับสถานะทางเศรษฐกิจและระดับรายได้ของประชาชน ทั้งนี้เป็นการชักชวนให้ประชาชน
ใช้พลังงานที่ประหยัดและสมดุลกับการผลิต
๗. จะควบคุมการจัดหา การผลิต และการใช้พลังงานให้เป็นไปโดยประหยัด
และได้ประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวมเพื่อให้มีพลังงานใช้อย่างเพียงพอเหมาะสมกับ
สภาวการณ์ทั้งในยามปกติและยามฉุกเฉิน
๘. อนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติโดยจัดให้มีการใช้และฟื้นฟู
ทรัพยากรเหล่านี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเป็นธรรมในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
การปลูกและฟื้นฟูป่าไม้ของชาติและการขุดใช้ทรัพยากรแร่ธาตุ
นอกจากนโยบายดังกล่าวข้างต้นแล้ว ประเทศไทยยังมีปัญหาสำคัญที่ต้อง
เผชิญอยู่ในขณะนี้และเป็นภาระหนักอีกประการหนึ่ง คือ ปัญหาเกี่ยวกับผู้อพยพลี้ภัย
ซึ่งเป็นปัญหาระหว่างประเทศรัฐบาลจะแก้ไขปัญหานี้ตามหลักมนุษยธรรมควบคู่กับ
หลักอธิปไตย ความมั่นคง ความปลอดภัยและผลประโยชน์ของชาติ โดยรัฐบาลจะได้
ดำเนินการทางการเมืองและทางการทูตเพื่อให้ได้มาซึ่งความช่วยเหลือและความร่วม
มือในการรับภาระในปัญหานี้จากสหประชาชาติองค์การระหว่างประเทศและประชาคม
ระหว่างประเทศ และจากมิตรประเทศให้มากกว่าที่ได้รับอยู่เพื่อให้มีการรับบุคคล
เหล่านี้ออกไปจากประเทศไทยมากขึ้น และเพื่อให้บุคคลเหล่านี้สามารถกลับภูมิลำเนา
ตามความสมัครใจของตน ทั้งนี้โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะแก้ไขปัญหาและบรรเทาผล
กระทบกระเทือนและความเดือดร้อนซึ่งประเทศไทยและประชาชนคนไทยต้องประสบ
อยู่ในปัจจุบัน
ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ และท่านสมาชิกผู้มีเกียรติทั้งหลายในการ
บริหารราชการแผ่นดินตามนโยบายที่ได้แถลงมาข้างต้นนี้กระผมขอให้ความมั่นใจว่า
รัฐบาลนี้จะดำเนินการโดยยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ตั้ง และปฏิบัติตามนโยบาย
โดยเคร่งครัดเพื่อนำความก้าวหน้ามาสู่ประเทศชาติและนำความสงบเรียบร้อย และ
ความสุขความเจริญมาสู่ประชาชน สมดังเป้าหมายที่ได้แถลงไว้ทุกประการขอบคุณ
*รายงานการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ ๒/๒๕๒๖ (สมัยสามัญ)
วันศุกร์ที่ ๒๐ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๒๖ หน้า ๒๕ - ๔๒ |
44 | คณะรัฐมนตรี คณะที่ ๔๔
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
เป็นนายกรัฐมนตรี
ตั้งแต่วันที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๒๙ - ๔ สิงหาคม ๒๕๓๑
แถลงนโยบาย เมื่อวันพุธที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๒๙
คำแถลงนโยบายของรัฐบาล*
ท่านประธานรัฐสภาและท่านสมาชิกผู้มีเกียรติ
ตามที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้กระผมเป็นนายกรัฐมนตรี ตามประกาศ
พระบรมราชโองการ ลงวันที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๒๙ และแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีตามประกาศพระบรม
ราชโองการ ลงวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๒๙ นั้น กระผมและคณะรัฐมนตรีได้กำหนดนโยบายใน
การบริหารราชการแผ่นดินขึ้นโดยคำนึงถึงความสุขของประชาชน การพัฒนาการปกครองตาม
ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขการพัฒนาเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม
และความมั่นคงของชาติในด้านต่าง ๆจึงขอแถลงเพื่อให้รัฐสภาทราบนโยบาย ดังต่อไปนี้
นโยบายการเมืองและการบริหาร
รัฐบาลมีเจตนารมณ์ในการเทิดทูนและรักษาไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนาพระมหากษัตริย์
และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอย่างเคร่งครัดและจะ
ดำเนินการทุกวิถีทางที่จะบังเกิดความสุข ความเจริญแก่ประชาชนในทุกด้าน โดยกำหนด
นโยบายดังนี้
๑. จะรักษาความสงบเรียบร้อยในสังคม เพื่อให้บังเกิดความปลอดภัยในชีวิต
และทรัพย์สินของประชาชน โดยป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมให้ลดลงและขจัด
การมีและการใช้อาวุธสงครามที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายโดยเด็ดขาดพร้อมทั้งปรับปรุง
ประสิทธิภาพของหน่วยงาน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องให้สามารถรักษาความศักดิ์สิทธิ์
ของกฎหมายอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม ทั้งจะส่งเสริมและสนับสนุนประชาชนให้มี
บทบาทและส่วนร่วมในการรักษาความสงบเรียบร้อยอีกทางหนึ่งด้วย
๒. จะปรับปรุงสวัสดิการ และความเป็นอยู่ของข้าราชการและเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ
ให้มีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซื่อสัตย์ สุจริตมีคุณธรรม
และบังเกิดผลดีต่อประชาชนโดยส่วนรวมในขณะเดียวกันจะขจัดข้าราชการและเจ้าหน้าที่อื่น
ของรัฐที่ทุจริตและประพฤติมิชอบหรือไร้สมรรถภาพให้พ้นจากวงงานของรัฐและจะเสริมสร้าง
ระบบการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการและระบบการตรวจ
เงินแผ่นดินให้มีอิสระและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
๓. จะปฏิรูประบบราชการให้เกิดความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพในการบริการ
ประชาชนโดยการปรับปรุงส่วนราชการให้สอดคล้องกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม
ขจัดความซ้ำซ้อนในการปฏิบัติหน้าที่และการบริหารงาน กระจายอำนาจการบริหารราชการ
ไปส่วนภูมิภาคและเสริมสร้างความเป็นอิสระของการปกครองส่วนท้องถิ่นให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
๔. จะส่งเสริมและสนับสนุนบทบาทของพรรคการเมือง และสถาบันทางการเมืองอื่น
ให้สอดคล้องกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขและส่งเสริม
ให้ประชาชนในทุกสาขาอาชีพได้เข้าใจถึงบทบาทและความสำคัญของสมาชิกฝ่ายนิติบัญญัติ
เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมทางการเมืองทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น
มากยิ่งขึ้น
๕. จะใช้แนวทางการเมืองนำการทหารในการต่อสู้เพื่อเอาชนะลัทธิการปกครองที่
เป็นภัยต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
นโยบายการป้องกันประเทศ
เพื่อให้การรักษาความมั่นคงของประเทศ และการธำรงไว้ซึ่งอธิปไตยและผลประโยชน์
ของชาติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถพึ่งตนเองได้ รัฐบาลจึงกำหนดนโยบาย ดังนี้
๑. จะปรับปรุงและพัฒนาประสิทธิภาพของกองทัพให้มีขีดความสามารถอย่างเต็มที่โดยให้สอดคล้อง
กับฐานะทางเศรษฐกิจและสถานการณ์ของประเทศ
๒. จะผนึกกำลังป้องกันประเทศทั้งกำลังทหาร กึ่งทหาร ตำรวจ และราษฎรอาสาสมัครใน
รูปแบบต่าง ๆ ตลอดจนข้าราชการ และประชาชนเข้าด้วยกัน เพื่อป้องกันภัยคุกคามทั้งภายใน
และภายนอกประเทศ
๓. จะปรับปรุง และพัฒนาหลักนิยมในการรบ และเพิ่มประสิทธิภาพในการฝึกและศึกษา
แก่กำลังพลในการป้องกันประเทศให้เข้มแข็ง ทันสมัย ให้สามารถเผชิญกับภัยคุกคาม
ทุกรูปแบบทั้งภายในและภายนอก รวมทั้งจะพัฒนากำลังพลที่เข้ารับราชการทหารให้มีความรู้
ทางวิชาชีพสามารถนำไปประกอบสัมมาชีพเมื่อพ้นจากประจำการได้ด้วย
๔. จะส่งเสริมการผลิต การวิจัย และพัฒนามาตรฐานอาวุธยุทโธปกรณ์ขึ้นภายในประเทศ
เพื่อให้สามารถช่วยตัวเองได้มากที่สุด
๕. จะดำเนินการทุกวิถีทาง เพื่อให้เกิดความพร้อมด้านทรัพยากร ที่จะสนับสนุนการ
ระดมสรรพกำลังของชาติ เพื่อการป้องกันประเทศ
๖. จะเพิ่มบทบาทของทหารในการพัฒนาประเทศ ช่วยเหลือประชาชนและสนับสนุน
การบรรเทาสาธารณภัยของชาติ
๗. จะบำรุงรักษาขวัญและกำลังใจของทหารให้ดีอยู่เสมอโดยการปรับปรุงส่งเสริมด้านสวัสดิการ
รวมทั้งให้หลักประกันในการสงเคราะห์ทหารผ่านศึกและครอบครัวให้ดำรงอยู่ได้ด้วยความเหมาะสม
สำหรับทหารผ่านศึกทุพพลภาพและครอบครัวของทหารผู้เสียชีวิตจะได้รับการช่วยเหลือเป็นพิเศษ
นโยบายต่างประเทศ
รัฐบาลจะดำเนินนโยบายต่างประเทศอย่างเป็นอิสระ โดยยึดถือประโยชน์ของชาติ
เป็นหลัก เพื่อให้บรรลุผลในการธำรงไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตยของชาติ บูรณภาพแห่งดินแดนใน
การพิทักษ์และส่งเสริมความมั่นคงของรัฐ และผลประโยชน์ของชาติโดยจะมุ่งเน้นให้เกิด
ประโยชน์สูงสุดทางด้านเศรษฐกิจของประเทศเป็นสำคัญ ทั้งจะส่งเสริมการประสานงานระหว่าง
หน่วยงานของรัฐและระหว่างภาครัฐบาลกับภาคเอกชนเพื่อประสิทธิภาพและเอกภาพในการ
ดำเนินนโยบาย นอกจากนี้จะร่วมมือกับนานาประเทศและองค์การระหว่างประเทศ เพื่อยัง
ประโยชน์ให้เกิดแก่ความมั่นคงของรัฐและการพัฒนาประเทศโดยกำหนดนโยบายดังนี้
๑. จะใช้ความพยายามต่อไปเพื่อปรับปรุงความสัมพันธ์และสร้างความเข้าใจอันดีกับ
ประเทศเพื่อนบ้านทุกประเทศในลักษณะที่ตอบสนองผลประโยชน์ร่วมกัน โดยยึดถือหลัก
ความเสมอภาคและความยุติธรรม จะมุ่งมั่นให้มีการแก้ไขปัญหาระหว่างกันโดยทางการเมือง
และการทูตแบบสันติ
๒. จะส่งเสริมสันติภาพและการดำรงอยู่ร่วมกันโดยสันติระหว่างประเทศทั้งหลายบนหลักการ
ของการเคารพเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งดินแดน ความเสมอภาค การไม่แทรกแซง
ในกิจการภายในของกันและกัน และการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศโดยสันติวิธี
๓. จะดำเนินการทางการเมืองระหว่างประเทศและการทูตในวิถีทางเพื่อให้บรรลุถึงซึ่ง
สันติภาพ และเสถียรภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์
และความมั่นคงของชาติเป็นสำคัญ
๔. จะเสริมสร้างความร่วมมือทางด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม และ ความเป็นอันหนึ่ง
อันเดียวกันของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ จะกระชับสัมพันธไมตรี
กับบรรดาประเทศภาคีอาเซียนทั้งมวลให้แน่นแฟ้นและใกล้ชิดยิ่งขึ้น ทั้งจะสนับสนุนมาตรการ
ที่จะให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเขตสันติภาพเสรีภาพและความเป็นกลาง
๕. จะดำเนินการส่งเสริมความสัมพันธ์กับประเทศมหาอำนาจในลักษณะที่จะเกื้อกูลและเสริมสร้าง
ความมั่นคงปลอดภัย และความเจริญรุ่งเรืองของประเทศ
๖. จะเคารพ และส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามหลักการของกฎบัตรสหประชาชาติและปฏิญญา
สากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน จะเคารพและรักษาสิทธิตามความตกลงที่ทำไว้กับต่างประเทศโดย
ยึดถือหลักแห่งความเสมอภาค หลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติและความเป็นธรรม
๗. จะส่งเสริมสัมพันธไมตรีอันดี และขยายความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การค้ากับทุกประเทศ
ทั้งจะสนับสนุนให้มีการค้าต่างตอบแทนซึ่งกันและกัน
๘. จะดำเนินการให้กระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานของรัฐทุกหน่วยมีหน้าที่และบทบาท
ในการแสวงหา พัฒนา และขยายตลาดการค้า แรงงานไทยและการท่องเที่ยวรวมทั้งชักชวน
ให้มีการนำทุน และเทคโนโลยีจากต่างประเทศมาลงทุนในประเทศมากยิ่งขึ้นเพื่อผลประโยชน์
ในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
๙. จะดำเนินการประชาสัมพันธ์ในต่างประเทศ เพื่อให้เกิดความเข้าใจต่อประเทศและคนไทย
ในลักษณะที่ถูกต้อง รักษาและส่งเสริมเกียรติภูมิของชาติทั้งจะดำเนินการให้ประชาชนชาวไทย
โดยทั่วไปมีความเข้าใจ และสนับสนุนนโยบายการต่างประเทศ
๑๐. จะร่วมมือและช่วยเหลือในด้านเศรษฐกิจ การค้าและวิชาการกับประเทศกำลังพัฒนาอื่น
เพื่อผลประโยชน์ทางด้านการเมือง และเศรษฐกิจของประเทศไทย
๑๑. จะคุ้มครองคนไทย ประโยชน์ของคนไทยในต่างประเทศและประโยชน์ของชาติโดย
ส่วนรวมให้ได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมจากนานาประเทศ
นโยบายเศรษฐกิจ
รัฐบาลนี้ถือว่านโยบายเศรษฐกิจเป็นนโยบายที่สำคัญและเร่งด่วนที่จะต้องรีบดำเนินการ
โดยตั้งเป้าหมายว่าจะฟื้นฟูภาวะเศรษฐกิจให้ดีขึ้นอย่างรวดเร็วและมีเสถียรภาพ ในการนี้รัฐบาล
จะเร่งรัดปรับปรุงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ทั้งทางด้านการผลิต การตลาด การเงิน การคลัง และ
การกระจายรายได้ ซึ่งจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาความยากจน ปัญหาการว่างงานและปัญหาหนี้สิน
ของประเทศ รัฐบาลกำหนดนโยบายไว้ดังนี้
๑. จะสนับสนุนและส่งเสริมระบบเศรษฐกิจเสรี โดยให้กลไกการตลาดได้ทำงานอย่างเต็มที่
และให้ภาคเอกชนมีบทบาทอย่างสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยจะเปลี่ยน
บทบาทของรัฐในฐานะผู้กำกับ และควบคุม ส่งเสริม สนับสนุน และอำนวยความสะดวกต่อ
กิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะด้านการส่งออก ทั้งนี้ เว้นแต่เป็นกรณีจำเป็นอันจะหลีกเลี่ยง
ไม่ได้เพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นส่วนรวม และความ
สงบเรียบร้อยของประชาชน
๒. จะส่งเสริมและสนับสนุนโครงการเศรษฐกิจที่มีผลต่อการสร้างงาน โดยใช้แรงงานและ
วัตถุดิบภายในประเทศเป็นหลัก รวมทั้งให้ภาคเอกชนของไทยมีบทบาทสูงขึ้นในการดำเนินการ
โครงการขนาดใหญ่
๓. ในด้านการเกษตร รัฐบาลจะแก้ไขปัญหาราคาผลิตผลเกษตรตกต่ำอย่างจริงจังและให้มี
อย่างถาวร โดยดำเนินการดังนี้
๓.๑ ปรับปรุงระบบการผลิตให้มีลักษณะเป็นการผลิตเพื่อขาย โดยส่งเสริมให้เกษตรกร
ดำเนินการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ทั้งในด้านปริมาณและประเภท
ของผลิตผลทางการเกษตร
๓.๒ ลดต้นทุนการผลิต โดยส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมและจัดหาปัจจัย
การผลิตโดยเฉพาะด้านสินเชื่อเพื่อการเกษตรให้เพียงพอในราคาและอัตราดอกเบี้ย
ที่เป็นธรรม
๓.๓ ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดอุตสาหกรรมการเกษตรขึ้นอย่างกว้างขวางเพื่อ
ให้ผลผลิตทางการเกษตรมีมูลค่าเพิ่มขึ้น
๓.๔ เร่งรัดการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ไร้ที่ทำกินและ
การจัดรูปที่ดินเพื่อประโยชน์ในการเพิ่มผลผลิต
๓.๕ ขยายตลาดสินค้าเกษตรในต่างประเทศให้กว้างขวางยิ่งขึ้น และเร่งรัด
การส่งออกให้สอดคล้องกับระยะเวลาในการผลิต
๓.๖ ดำเนินการให้องค์กรที่รับผิดชอบในการวางแผน กำกับ ดูแล และการแก้ไข
ปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ในด้านการผลิต การแปรรูป การตลาด เพื่อให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องโดย
เฉพาะเกษตรกรหรือองค์กรของเกษตรกรมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
๔. จะปรับปรุงการบริหารและการจัดการทรัพยากรที่ดิน น้ำ ป่าไม้ และประมงให้มีการพัฒนา
ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์
๕. จะให้ความสำคัญต่อการพัฒนาชนบทต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง โดยจะขยายงานทั้งในแง่
พื้นที่และการจัดกิจกรรมให้มากขึ้นอีก พร้อมทั้งปรับปรุงระบบราชการและทัศนคติของ
ข้าราชการให้สอดคล้องกับการพัฒนาชนบทในแนวใหม่ที่มุ่งหมายให้ประชาชนช่วย
ตัวเองได้ในที่สุด ตลอดจนเสริมสร้างองค์กรของประชาชนในชนบทให้เข้มแข็ง และมี
บทบาทในการพัฒนามากยิ่งขึ้น
๖. จะสนับสนุนอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบซึ่งมาจากทรัพยากรภายในประเทศเป็นหลักเพื่อ
ก่อให้เกิดการสร้างงานอย่างกว้างขวาง โดยจะเน้นด้านการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่อ
แปรสภาพวัตถุดิบเหล่านั้นให้ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ซึ่งมีมูลค่าสูงขึ้นในตลาด และเร่งรัดการ
บริการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ รวมทั้งให้การสนับสนุนในด้านสินเชื่อเพื่อให้การลงทุน
อุตสาหกรรมสามารถกระจายออกไปได้ในเขตภูมิภาคอันจะเป็นแหล่งรองรับแรงงานและผลิตผล
ทางการเกษตร
๗. จะแก้ไขปัญหาของอุตสาหกรรมเหมืองแร่ โดยลดภาระด้านการเงินแก่ผู้ประกอบกิจการ
สนับสนุนอุตสาหกรรมแปรรูปสินแร่เพื่อให้มีราคาสูงขึ้นก่อนการส่งออก นอกจากนั้นจะดำเนิน
การต่อไปในด้านการสำรวจ และผลิตพลังงานภายในประเทศเพื่อลดการนำเข้า ในขณะเดียวกัน
จะส่งเสริมการสำรวจและเร่งรัดการพัฒนาสินแร่ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจสูง แต่ยังไม่เคยได้นำ
มาใช้ เพื่อให้เกิดการกระจายอุตสาหกรรมออกไปสู่ชนบทได้อีกทางหนึ่ง
๘. จะปรับปรุงนโยบายและมาตรการการส่งเสริมการลงทุน โดยการเร่งรัดการพัฒนาขีด
ความสามารถทางเทคโนโลยีเพื่อนำไปสู่การพึ่งตนเองทางเทคโนโลยี รวมทั้งการส่งเสริม
อุตสาหกรรมการผลิต เครื่องจักรอุปกรณ์ซึ่งเป็นฐานรองรับและอุตสาหกรรมซึ่งใช้เทคโนโลยี
ก้าวหน้า ซึ่งเป็นตัวนำในการพัฒนาอุตสาหกรรม
๙. จะเพิ่มขีดความสามารถ และยกระดับการบริการด้านการขนส่ง และการสื่อสารโทรคมนาคม
ในทุกด้านให้เกิดความคล่องตัว สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยเพื่อสนับสนุนการพัฒนาด้าน
การพาณิชย์ การท่องเที่ยวและการพัฒนาพื้นที่เฉพาะจะบูรณะปรับปรุงข่ายการขนส่งทางบก
ที่มีอยู่แล้ว และเชื่อมโยงโครงข่ายที่ยังขาดตอนให้ต่อเนื่องกัน ปรับปรุงให้กิจการรถไฟมี
ประสิทธิภาพสูงขึ้น และเชื่อมโยงกับการขนส่งอื่น ๆ โดยเฉพาะทางน้ำ อีกทั้งจะให้มีการใช้
บริการเรือไทยให้มากขึ้น จะพัฒนาการขนส่งทางอากาศโดยมุ่งให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง
การขนส่งทางอากาศในภูมิภาคนี้ จะพัฒนาระบบโทรคมนาคมโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย และ
ส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีบทบาทในการลงทุน หรือร่วมดำเนินงานเพื่อตอบสนองความต้องการ
ที่เพิ่มขึ้น ได้อย่างพอเพียงอีกด้วย
๑๐. จะพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างจริงจัง เพื่อให้เกิดการสร้างงานภายในประเทศ
และนำเงินตราต่างประเทศเข้าประเทศมากยิ่งขึ้น โดยการจัดให้มีแผนการส่งเสริมการ
ท่องเที่ยว และการรักษาความปลอดภัย รวมตลอดทั้งเพิ่มการลงทุนทางด้านการตลาดและ
การจัดให้มีกฎหมายจัดระเบียบการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยว พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
ใหม่ ๆ อนุรักษ์โบราณสถานให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ปรับปรุงระบบศุลกากร และระบบการตรวจ
คนเข้าเมืองให้มีประสิทธิภาพและเกิดความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น
๑๑. จะปรับปรุงระบบการบริหารการคลังของรัฐ โดยปรับโครงสร้างภาษีอากรให้เอื้ออำนวย
ต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจทุกด้าน โดยเฉพาะในด้านการส่งออก การผลิตและการว่าจ้าง
แรงงาน และจะมุ่งปรับปรุงการบริหารการจัดเก็บให้รวดเร็วรัดกุมแน่นอนและเป็นธรรม
เพื่อหลีกเลี่ยงการจัดเก็บย้อนหลัง ส่วนในด้านรายจ่ายจะบริหารรายจ่ายของรัฐให้มีประสิทธิภาพ
คุ้มค่าทั้งในภาครัฐบาลและรัฐวิสาหกิจและจะจัดสรรรายจ่าย โดยเฉพาะงบลงทุนและงบพัฒนา
ตามสาขาเศรษฐกิจที่จะช่วยเร่งฟื้นฟูภาวะเศรษฐกิจอย่างกว้างขวาง อีกทั้งจะบริหารลดภาระหนี้
ของประเทศ โดยปรับปรุงระบบและวิธีการให้ทันสมัย และควบคุมการก่อหนี้ให้อยู่ในขอบเขต
สอดคล้องกับขีดความสามารถของประเทศ
๑๒. จะพัฒนาและเสริมสร้างระบบการเงิน เพื่อส่งเสริมการระดมเงินออกภายในประเทศ
ให้กว้างขวาง และเพิ่มประสิทธิภาพและพัฒนาตลาดการเงิน โดยเฉพาะโครงสร้างดอกเบี้ย
และกลไกเครื่องมือการเงินให้มีความคล่องตัว เกื้อกูลการลงทุนและการขยายงาน และพัฒนา
ตลาดทุนภายในอย่างมีขั้นตอน อีกทั้งจะพัฒนาระบบสถาบันการเงิน โดยเฉพาะตลาด
หลักทรัพย์ให้มั่นคงและจะปราบปรามการกระทำอันมีลักษณะเป็นอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ
อย่างจริงจัง
๑๓. จะดำเนินการปรับปรุงการบริหารงานของรัฐวิสาหกิจให้มีประสิทธิภาพเพื่อสามารถ
เลี้ยงตัวเองได้ และเป็นแหล่งทำรายได้ให้แก่รัฐ และในกรณีเป็นรัฐวิสาหกิจประเภท
สาธารณูปโภคและสาธารณูปการเพื่อให้สามารถขยายบริการให้กว้างขวางและรวดเร็วหรือลด
ค่าบริการลงได้อย่างจริงจัง อันจะทำให้ต้นทุนการผลิตและบริการลดลง สามารถแข่งขันกับ
ต่างประเทศได้รัฐวิสาหกิจใดที่หมดความจำเป็นที่รัฐจะต้องดำเนินการต่อไป จะได้ยุบเลิกหรือ
ให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมหรือรับช่วงไปดำเนินการ
นโยบายทางสังคม
รัฐบาลมีเจตนารมณ์ที่จะสร้างความยุติธรรมทางสังคม ยกระดับชีวิตของประชาชน
ให้มีคุณภาพสูงขึ้นทั้งทางด้านการศึกษา การพัฒนาสุขภาพอนามัยและการให้หลักประกันความ
มั่นคงในชีวิตของประชาชน พัฒนาและส่งเสริมสตรีให้มีบทบาทในการพัฒนาประเทศยิ่งขึ้น
พัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีประสิทธิภาพทั้งทางด้านจิตใจและร่างกาย ส่งเสริมให้ประชาชนมี
ศีลธรรม และดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมของชาติโดยกำหนดนโยบายดังนี้
๑. ความยุติธรรมทางสังคม
๑.๑ จะรักษาไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย และขจัดความเหลื่อมล้ำทางสังคม
๑.๒ จะพัฒนาและปรับปรุงระบบการบริหารงาน การจัดองค์การ กฎหมาย ระเบียบ
ข้อบังคับ ตลอดจนอาคาร สถานที่ อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ และวิทยาการสมัยใหม่
เพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีของศาลเป็นไปโดยรวดเร็วและเป็นธรรม
๑.๓ จะพัฒนางานคุมประพฤติผู้กระทำผิดหรือผู้ถูกกล่าวหา เพื่อปกป้อง
คุ้มครองสังคมจากอาชญากรรม และเพื่อช่วยเหลือผู้ที่กระทำโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
หรือความผิดไม่ร้ายแรง ให้มีโอกาสกลับตนเป็นพลเมืองดีของสังคมได้ โดยไม่ต้อง
ถูกลงโทษ จำคุก ทั้งนี้จะส่งเสริมให้สังคมและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการควบคุม
สอดส่อง และแก้ไขพฤติการณ์ของผู้กระทำผิดหรือผู้ถูกกล่าวหาด้วย
๑.๔ จะขจัดการเอารัดเอาเปรียบระหว่างประชาชนจะปรับปรุงกฎหมาย
ที่ไม่เหมาะสมและไม่เป็นธรรมให้สอดคล้องกับภาวะปัจจุบันและเป็นธรรมยิ่งขึ้น
เพื่อให้กฎหมายเป็นกลไกในการรักษาความสงบเรียบร้อยของประเทศ และสร้าง
ความเป็นธรรมให้แก่บุคคล
๒. การศึกษา
๒.๑ จะจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรทุกเพศทุกวัยโดยเน้น
ความเสมอภาคและการกระจายโอกาสทางการศึกษาให้กับเยาวชนและบุคคล
ที่อยู่ในพื้นที่ยากจนห่างไกล ชุมชนแออัด และบุคคลพิการ และจะส่งเสริมให้
สถาบันศาสนาได้เข้ามามีบทบาทในการอบรมสั่งสอนคุณธรรมให้มากขึ้น
๒.๒ จะจัดการศึกษาในระดับต่าง ๆ ดังนี้ ระดับก่อนประถมศึกษา จะขยาย
การศึกษาระดับอนุบาลในชนบท ระดับมัธยมศึกษา จะสนับสนุนให้นักเรียนได้เรียน
ต่อชั้นมัธยมศึกษาให้มากขึ้น ระดับอาชีวะศึกษาและอุดมศึกษา จะให้ความสำคัญใน
การผลิตบุคลากรให้ตรงกับความต้องการในการพัฒนาประเทศ และตลาดงาน รวมทั้ง
สอดคล้องกับทรัพยากรและสภาพท้องถิ่น สำหรับการฝึกหัดครู จะผลิตครูที่มีคุณภาพ
และคุณธรรม
๒.๓ จะส่งเสริมการค้นคว้าและการวิจัยที่สามารถนำผลมาใช้ในการแก้ไข
ปัญหาของประเทศ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน จะพัฒนากำลังคน
ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้มีคุณภาพที่ดี และจำนวนที่เหมาะสมเพื่อรองรับ
เทคโนโลยีใหม่ที่จะเกิดขึ้น
๒.๔ จะปรับปรุงโครงสร้างระบบการบริหารและการจัดการศึกษาทุกระดับทุกประเภท
ให้มีเอกภาพ ประสานสัมพันธ์กันทั้งระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ จะสนับสนุนให้สถานศึกษา
และหน่วยงานใช้ทรัพยากรร่วมกันเพื่อให้การจัดการศึกษามีประสิทธิภาพสูงสุด จะกระจาย
อำนาจและมอบอำนาจการจัดการศึกษาให้สถานศึกษา เพื่อสามารถจัดการศึกษาสนองตอบ
ความต้องการของท้องถิ่น และเปิดโอกาสให้ชุมชนได้ เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา
การศึกษามากยิ่งขึ้น
๒.๕ จะส่งเสริมให้สถาบันและหน่วยงานทางการศึกษาเป็นศูนย์บริการด้านการศึกษา
วิชาชีพ ศิลป วัฒนธรรม กีฬา พลานามัย นันทนาการ และข่าวสารเพื่อให้บริการแก่นักเรียน
นิสิต นักศึกษา และประชาชน
๒.๖ จะส่งเสริมให้เอกชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา โดยรัฐจะสนับสนุน
ให้สถานศึกษาเอกชนปรับปรุงคุณภาพการศึกษาให้สูงขึ้นและจะสนับสนุนให้สถาบัน
ทางการเงินให้ความช่วยเหลือแก่สถานศึกษาเอกชน
๒.๗ จะส่งเสริมให้ผู้สอนและข้าราชการในทุกระดับการศึกษา และทุกประเภท
ได้รับการยกย่องเชิดชู เพื่อให้มีความก้าวหน้า ขวัญ กำลังใจ และความมั่นคงในอาชีพ
๒.๘ จะจัดตั้งกองทุนเพื่อสนับสนุนการศึกษาของเยาวชนผู้ยากไร้ในชนบท
และชุมชนแออัด
๓. การพัฒนาสุขภาพอนามัย
๓.๑ จะดำเนินการให้ประชาชนไม่ว่าจะอยู่ในเมืองหรือชนบท ได้รับบริการ
สาธารณสุขมูลฐาน อันได้แก่การป้องกันโรค การส่งเสริมสุขภาพ การรักษาพยาบาล
เบื้องต้น ณ ถิ่นที่อยู่ของตน รวมทั้งผนึกวิธีการรักษาพยาบาลแบบพื้นบ้านกับระบบ
การรักษาพยาบาลในโครงการสาธารณสุขมูลฐาน เพื่อให้สามารถพึ่งตนเองได้
ทั้งในยามปกติ และยามฉุกเฉิน
๓.๒ จะสนับสนุนกิจกรรมการให้บริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐานแก่ประชาชน
ทั้งที่จะดำเนินการโดยรัฐและองค์การเอกชนอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ในส่วนที่
ดำเนินการโดยรัฐ รัฐจะจัดเป็นบริการให้เปล่าสำหรับผู้สูงอายุ เด็ก และผู้มีรายได้ต่ำ
๓.๓ จะปรับปรุงคุณภาพ และขยายบริการของโรงพยาบาล และสถานีอนามัย
รวมทั้งจะขยายขีดความสามารถของสถานีอนามัยที่มีประชากรหนาแน่นให้สูงขึ้นเพื่อ
พัฒนาให้เป็นโรงพยาบาลตำบลต่อไป ทั้งจะจัดระบบส่งต่อผู้ป่วยให้สามารถสนองตอบ
ความต้องการของประชาชนในพื้นที่ได้ดียิ่งขึ้น
๓.๔ จะเร่งรัดการผลิตบุคลากรทางสาธารณสุข ให้สอดคล้องกับการขยายบริการ
สาธารณสุขในระดับท้องถิ่น โดยร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษา และโรงพยาบาลทั้งของรัฐ
และเอกชน
๓.๕ จะระดมความร่วมมือของบุคลากรที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงพยาบาลและ
สถานพยาบาลเอกชน ให้เข้าใจสาธารณสุขของรัฐ เพื่อให้ได้มาซึ่งความร่วมมือจาก
เอกชน และสามารถประสานความร่วมมือในงานสาธารณสุขระหว่างรัฐกับเอกชน
ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
๓.๖ จะส่งเสริมและเร่งรัดให้มีการวิจัยและพัฒนา เพื่อให้หน่วยงานของรัฐ
และภาคเอกชนสามารถผลิตครุภัณฑ์ เวชภัณฑ์ และวัสดุภัณฑ์ ที่ใช้ในการแพทย์และ
สาธารณสุขให้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ จะไม่ให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการโดยวิธีการผูกขาด
๓.๗ จะพัฒนาและปรับปรุงระบบงานสาธารณสุขทั่วประเทศเพื่อให้สามารถ
ประสานเป้าหมาย ประสานงานระหว่างหน่วยงานด้านสาธารณสุขกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
และภาคเอกชน เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขดีขึ้นในยามปกติ และ
เตรียมพร้อมที่จะเผชิญเหตุการณ์ในยามฉุกเฉินได้
๓.๘ จะปรับปรุงและดำเนินการด้านสุขศึกษา โดยให้เทคโนโลยีใหม่สื่อสารมวลชน
และวิธีการศึกษาทั้งในและนอกระบบ เพื่อให้ประชาชนโดยเฉพาะนักเรียนชั้นประถม
และมัธยมรู้จักปฏิบัติตนในการป้องกันโรค การส่งเสริมสุขภาพและการรักษาพยาบาล
เบื้องต้นด้วยตนเอง
๓.๙ จะดำเนินการคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัย เป็นธรรม และประหยัด
โดยการตรวจสอบป้องกันและปราบปรามผู้กระทำความผิดในการจำหน่ายการโฆษณา
ผลิตภัณฑ์อาหารยารักษาโรคและวัสดุภัณฑ์ที่ใช้ในการเกษตรและสินค้าอื่น
๓.๑๐ จะส่งเสริมการออกกำลังกายและการกีฬา เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพ
ดีและมีการพักผ่อนหย่อนใจที่ถูกต้อง
๓.๑๑ จะป้องกันและรักษาโรคที่เป็นอันตรายต่อประชาชนในกลุ่มอาชีพหรือ
วัยต่าง ๆ ทั้งนี้ จะเร่งรัดโครงการที่จะป้องกันและบรรเทาอุบัติเหตุและสาธารณภัย
รวมทั้งจัดทำโครงการฟื้นฟูผู้ทุพพลภาพ ให้สามารถดำรงชีวิตและประกอบอาชีพ
ได้อีกด้วย
๓.๑๒ จะผลิตและส่งเสริมนักวิชาการทางการแพทย์และสาธารณสุขให้มี
ความสามารถสูง เพื่อที่จะแสวงหาวิทยาการแผนใหม่ที่เหมาะสมจากในประเทศ
และต่างประเทศมาใช้แก้ปัญหาสาธารณสุข
๓.๑๓ จะเร่งรัดให้มีน้ำบริโภคที่ถูกสุขลักษณะแก่ชุมชนทั้งในชนบทและในเมือง
๓.๑๔ จะเร่งรัดการให้บริการวางแผนครอบครัว รวมทั้งส่งเสริมสภาวะโภชนาการ
และการอนามัยของแม่และเด็ก
๓.๑๕ จะสนับสนุนและส่งเสริมการประกันสุขภาพโดยความสมัครใจ
๔. หลักประกันความมั่นคงในชีวิตและอาชีพ
๔.๑ จะสนับสนุนการจัดตั้งสถาบันเพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพของผู้มี
อาชีพต่าง ๆ
๔.๒ จะเร่งรัดให้มีการจัดตั้งและปรับปรุงศูนย์บริการเคลื่อนมือการเกษตร
เพื่อให้บริการแก่เกษตรกร
๔.๓ จะส่งเสริมการพัฒนาแรงงานในด้านความรู้ ฝีมือและความสามารถ
เพื่อที่จะได้เพิ่มฐานะทางเศรษฐกิจให้สูงขึ้น รัฐบาลจะร่วมมือกับสถาบันตัวแทนของ
ผู้ใช้แรงงานอย่างใกล้ชิดในการกำหนดนโยบายคุ้มครองแรงงานและแก้ไขปัญหา
แรงงาน ตลอดจนการคุ้มครองสวัสดิภาพและกำหนดหลักประกันสังคมที่เหมาะสม
ให้แก่ผู้ใช้แรงงาน
๔.๔ จะเร่งรัดการสร้างมาตรการช่วยเหลือแก่แรงงานในต่างประเทศ
โดยให้คำแนะนำและป้องกันมิให้ถูกหลอกลวง และเอารัดเอาเปรียบจากนายจ้าง
และจะสนับสนุนให้ภาคเอกชนสามารถจัดหางานในต่างประเทศได้อย่างกว้างขวาง
๔.๕ จะเร่งรัดปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบและองค์การที่เกี่ยวกับแรงงานให้
มีประสิทธิภาพในการให้บริการและรับผิดชอบต่อผู้ใช้แรงงานมากขึ้น
๔.๖ จะเร่งรัดช่วยเหลือประชาชนที่มีรายได้น้อยในเรื่องที่อยู่อาศัย โดยการ
สนับสนุนการจัดชุมชน พร้อมที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม ทั้งที่ดำเนินการโดยรัฐและเอกชน
๔.๗ จะสนับสนุนการจัดตั้งสถานที่รับเลี้ยงเด็กที่มีมาตรฐาน เพื่อให้เด็กได้
รับการเลี้ยงดูที่ถูกต้อง และเปิดโอกาสให้ผู้มีรายได้น้อยสามารถออกไปประกอบอาชีพ
เพื่อเพิ่มพูนรายได้ของตน
๕. การพัฒนาสตรี
๕.๑ จะส่งเสริมประสานงานระหว่างหน่วยงานของรัฐและเอกชน เพื่อพัฒนา
สตรีให้มีความพร้อมในทุกด้านตั้งแต่ระดับท้องถิ่นถึงระดับประเทศ และแก้ไขปรับปรุง
กฎหมายเพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีและส่งเสริมให้เกิดความเสมอภาค
๕.๒ จะเร่งรัดให้การศึกษาและอบรมแก่สตรี เพื่อให้สตรีมีบทบาทในการพัฒนา
ครอบครัว สังคม เศรษฐกิจ และการเมืองมากยิ่งขึ้น
๕.๓ จะปรับปรุงมาตรการคุ้มครองสตรีผู้ใช้แรงงาน มิให้ถูกเอารัดเอาเปรียบอย่าง
ไม่เป็นธรรม
๖. การพัฒนาเด็กและเยาวชน
๖.๑ จะเร่งรัดให้มีการขยายบริการด้านต่าง ๆ ให้กับเด็กและเยาวชนในพื้นที่ชนบท
ยากจน รวมทั้งชุมชนแออัดเป็นพิเศษ โดยจะเน้นการส่งเสริมสุขภาพทั้งทางกาย สติปัญญา
และจิตใจ
๖.๒ จะเร่งรัดสร้างค่านิยมโดยเฉพาะด้านจริยธรรมและศาสนธรรมเพื่อให้เด็กและ
เยาวชนมีคุณธรรม วินัย ความซื่อสัตย์ อดทน ขยันหมั่นเพียร รับผิดชอบ รู้จักประหยัด
รู้จักตนเอง และรู้จักอยู่ร่วมกับผู้อื่นด้วยความสมานฉันท์
๖.๓ จะสงเคราะห์และบำบัดรักษาเด็กและเยาวชนที่มีปัญหาเฉพาะ ทั้งทางร่างกาย
จิตใจ สมองและอารมณ์ ตลอดจนจะส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนดังกล่าวได้รับการพัฒนา
ให้เต็มที่ตามสภาพและความแตกต่างระหว่างบุคคล รวมทั้งจะให้ความคุ้มครองเด็กและ
เยาวชนที่ทำงานให้พ้นจากการถูกเอารัดเอาเปรียบหรือถูกทำร้ายทารุณทางร่างกายและจิตใจ
๖.๔ จะส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์แก่ตนเองและสังคม
และส่งเสริมเยาวชนให้มีทักษะในการประกอบอาชีพ สามารถช่วยเหลือตนเองได้ และ
ช่วยสร้างความเจริญให้แก่สังคมโดยส่วนรวม
๖.๕ จะส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนได้ตระหนักในความสำคัญของความเป็นชาติ
เอกลักษณ์ของชาติ และการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็น
ประมุข เข้าใจหน้าที่ของตนในการพัฒนาชาติ และการเป็นสมาชิกในสังคมนานาชาติ
๖.๖ ส่งเสริมเด็กและเยาวชนที่มีศักยภาพสูงทั้งทางด้านสติปัญญาและความสามารถ
พิเศษ ให้พัฒนาได้เต็มที่เพื่อเป็นกำลังในการพัฒนาประเทศ
๖.๗ จะสนับสนุนและส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนสนใจในการกีฬา มีโอกาสฝึกฝน
ให้เป็นนักกีฬาที่ดี และมีความสามารถเพื่อยกระดับมาตรฐานของนักกีฬาไทยให้เท่าเทียม
กับนักกีฬานานาชาติ
๗. ศิลป วัฒนธรรม ศาสนา
๗.๑ จะอนุรักษ์ ส่งเสริม ปลูกฝัง และเผยแพร่วัฒนธรรมไทยให้ประชาชนได้ตระหนัก
ถึงความสำคัญและมีความซาบซึ้งในเอกลักษณ์ของชาติ
๗.๒ จะสนับสนุนการมีเสถียรภาพในการนับถือศาสนาและส่งเสริมขันติธรรม
และความสมานฉันท์ระหว่างผู้นับถือศาสนาต่างกัน เพื่อผลในการพัฒนาศีลธรรม
จริยธรรม และวัฒนธรรมของชนในชาติ
๗.๓ จะส่งเสริมให้ประชาชนประพฤติปฏิบัติตามครรลองของศีลธรรมจริยธรรมเป็น
พิเศษโดยจะกวดขันให้ข้าราชการประพฤติตนให้เป็นตัวอย่างที่ดีงามของประชาชน
๘. ชุมชนเมืองและสิ่งแวดล้อม
๘.๑ จะเร่งรัดการวางผังเมืองให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และกำกับดูแลให้เป็นไปตาม
ผังเมืองที่วางไว้อย่างเคร่งครัด
๘.๒ จะเร่งรัดการพัฒนาเมืองและชุมชน ให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจของ
ท้องถิ่น และผังเมืองที่วางไว้
๘.๓ จะเร่งรัดปรับปรุงสภาพแวดล้อม เพื่อให้ประชาชนดำรงชีวิตได้อย่าง
ปลอดภัยจากมลพิษ และมีจิตใจและร่างกายที่สมบูรณ์
๘.๔ จะเร่งรัดบริการสังคมด้านการออกกำลังกาย สถานพักผ่อนหย่อนใจสวน
สาธารณะในเมือง และชุมชนต่าง ๆ รวมทั้งการขยายวนอุทยาน อุทยานแห่งชาติ และ
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
นโยบายทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน
๑. จะกำหนดให้วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เป็นปัจจัยที่สำคัญมากขึ้นในการพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมของประเทศ โดยการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และเป็นระบบให้มุ่งตรง
ไปสู่การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ สังคมและความมั่นคงของชาติ นอกจากนี้ จะเสริมสร้างบรรยากาศ
การวิจัยและพัฒนา และดำเนินมาตรการเพื่อสนับสนุนและจูงใจให้เอกชนดำเนินการวิจัยและ
พัฒนามากยิ่งขึ้น
๒. จะเสริมสร้างองค์กรการบริหารงานวิจัยและพัฒนา ให้เป็นแหล่งระดมสรรพกำลังทาง
วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งส่วนงานของภาคเอกชน เพื่อ
จะทำการวิจัย และพัฒนาเฉพาะเรื่องแบบครบวงจร ตั้งแต่การวิจัยและพัฒนาการผลิตจน
ถึงการตลาด ตลอดจนการปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ และกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
๓. จะพัฒนาวิธีการและเครื่องมือในการบริหารระบบข้อมูลสนเทศ การวิเคราะห์และการ
ประมวลผลที่ทันสมัยทางด้านวิทยาศาสตร์ การผลิต การตลาด การเผยแพร่ และการถ่ายทอด
เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาวะของประเทศ เพื่อให้บริการแก่เอกชน และนักวิชาการอย่างมี
ประสิทธิภาพ
๔. จะส่งเสริมและผลักดันการใช้วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีอย่างจริงจัง เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพ
ในการผลิต และสร้างมูลค่างเพิ่มของสินค้าในด้านอุตสาหกรรมการเกษตร การพลังงานตลอดจน
การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งการป้องกันประเทศ
๕. จะปรับปรุงองค์กรด้านพลังงาน เพื่อให้การบริหารงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และจะ
ส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานอย่างประหยัด พัฒนาพลังงานทุกรูปแบบภายในประเทศ กระตุ้น
การลงทุนของภาคเอกชนในสาขาพลังงาน รวมทั้งจะกำหนดอัตราค่าพลังงานที่ใช้ประโยชน์
ได้แล้วทุกชนิดให้เหมาะสมกับสถานภาพทางเศรษฐกิจ
๖. จะประสานและปรับปรุงระบบการบริหาร และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ให้สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยมุ่งให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการอุตสาหกรรม
เกษตรกรรม พาณิชยกรรม และคุณภาพชีวิตของประชาชน
๗. จะระดมสรรพกำลังจากทุกฝ่ายเพื่อร่วมกันอนุรักษ์ฟื้นฟูและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อมอย่างมีระบบต่อเนื่อง รวมทั้งจะสนับสนุนให้ภาคเอกชนมีบทบาทในการพัฒนา
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น
นอกจากนโยบายดังกล่าวข้างต้น ปัญหาเกี่ยวกับผู้อพยพลี้ภัย ยังเป็นปัญหาที่เผชิญหน้า
ประเทศไทยอยู่เช่นเดิม รัฐบาลจึงยังจะต้องดำเนินการขจัดปัญหานี้ให้ลดน้อยลงและให้หมดสิ้น
ไปในที่สุด โดยคำนึงถึงหลักมนุษยธรรม อธิปไตย และความมั่นคงของประเทศเป็นสำคัญ รัฐบาล
จะได้ดำเนินการต่อไป ทั้งทางการเมืองและทางการทูต เพื่อให้องค์การสหประชาชาติ องค์การ
ระหว่างประเทศและมิตรประเทศทั้งหลายได้ร่วมรับผิดขอบในภาวะที่ประเทศไทยและประชาชน
ชาวไทยต้องรับอยู่ โดยรับผู้อพยพลี้ภัยเหล่านี้ออกจากประเทศไทย และสนับสนุนค่าใช้จ่ายให้มากขึ้น
อนึ่ง ปัญหาการผลิตและการค้ายาเสพติดยังเป็นปัญหาสำคัญ รัฐบาลจึงมีนโยบาย
ที่จะดำเนินการป้องกัน และปราบปรามต่อไปอย่างจริงจังและเด็ดขาด ในขณะเดียวกันในด้าน
การบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด รัฐบาลจะร่วมมือกับภาคเอกชนโดยขยายบริการให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
เพื่อให้ผู้เคราะห์ร้ายเหล่านั้นกลับตนเป็นพลเมืองดีและเป็นกำลังของชาติสืบไป
ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ และท่านสมาชิกผู้มีเกียรติทั้งหลาย ในการบริหารราชการ
แผ่นดินตามนโยบายที่ได้แถลงมาข้างต้นนี้ กระผมขอให้ความมั่นใจว่ารัฐบาลนี้จะดำเนินการโดยยึดถือ
ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ตั้งและปฏิบัติตามนโยบายโดยเคร่งครัด เพื่อนำความก้าวหน้ามาสู่ประเทศชาติ
และนำความสงบเรียบร้อยและความสุขความเจริญมาสู่ประชาชนสมดังเป้าหมายที่ได้แถลงไว้แล้ว
ทุกประการ ขอบคุณ
*รายงานการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ ๑/๒๕๒๙ (สมัยสามัญ)
วันพุธที่ ๒๗ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๒๙ หน้า ๑๗๓ - ๑๙๒ |
45 | คณะรัฐมนตรี คณะที่ ๔๕
พลตรี ชาติชาย ชุณหะวัณ
เป็นนายกรัฐมนตรี
ตั้งแต่วันที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๓๑
แถลงนโยบาย เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๓๑
คำแถลงนโยบายของรัฐบาล*
ท่านประธานรัฐสภาและท่านสมาชิกผู้มีเกียรติ
ตามที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้กระผมเป็นนายกรัฐมนตรีตามประกาศ
พระบรมราชโองการ ลงวันที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๓๑และแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีตามประกาศพระบรมราชโองการ
ลงวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๓๑ กระผมและคณะรัฐมนตรีได้กำหนดนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดินขึ้นโดย
คำนึงถึงความสุขของประชาชนการพัฒนาการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์
เป็นประมุขการพัฒนาเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคมตลอดจนความมั่นคงของชาติ และสถานะของประเทศไทย
ในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์และในโลกจึงขอแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีให้รัฐสภาทราบ ดังต่อไปนี้
นโยบายการเมือง
รัฐบาลมีความมุ่งมั่นในการเทิดทูนและรักษาไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนาพระมหากษัตริย์
และการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขและจะดำเนินการ
ทุกวิถีทางที่จะให้บังเกิดความสุขความเจริญแก่ประชาชน จึงกำหนดนโยบายไว้ ดังนี้
๑. ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาบทบาทพรรคการเมืองให้สอดคล้องกับการปกครอง
ตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขและกระตุ้นให้ประชาชนมีความเข้าใจ
ในระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริงรวมทั้งมีความสำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบของตน
ในฐานะประชาชนและให้มีส่วนร่วมทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น
๒. ส่งเสริมและปรับปรุงการกระจายอำนาจการปกครองสู่ส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น
นโยบายการบริหารระบบราชการ
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารราชการแผ่นดินให้ตอบสนองความต้องการของ
ประชาชนให้ดีที่สุด รัฐบาลจึงกำหนดนโยบายในการดำเนินงาน ดังต่อไปนี้
๑. ปรับปรุงสวัสดิการของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐให้มีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติ
หน้าที่ ขจัดข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ทุจริตและประพฤติมิชอบหรือไร้สมรรถภาพ
๒. ปรับปรุงระบบราชการให้เกิดความรวดเร็วในการให้บริการประชาชนทั้งในส่วนกลาง
ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น
๓. ปรับปรุงเงินเดือน ค่าตอบแทนให้แก่ข้าราชการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านและเจ้าหน้าที่ในการ
ปกครองท้องถิ่นให้สอดคล้องกับภาวะค่าครองชีพ
นโยบายเศรษฐกิจ
รัฐบาลนี้ตั้งเป้าหมายที่จะดำเนินนโยบายเศรษฐกิจให้บังเกิดความผาสุกและความอยู่ดีกินดี
ของประชาชน และให้ระบบเศรษฐกิจมีความคล่องตัวและสามารถปรับให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง
ของเศรษฐกิจโลกเพื่อที่จะสนับสนุนให้ประเทศไทยมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่มั่นคงแข็งแรง
ให้เอกชนสามารถแข่งขันตลาดโลกและพัฒนาตลาดภายในประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ตลอดจนมุ่งเน้นส่งเสริมการกระจายรายได้และมุ่งรักษาเสถียรภาพและการเติบโตทางเศรษฐกิจ
ของประเทศ
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว รัฐบาลจึงกำหนดนโยบายเศรษฐกิจไว้ ดังนี้
๑. เศรษฐกิจทั่วไป
๑.๑ สนับสนุนให้ภาคเอกชนมีบทบาทหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศตามระบบ
เศรษฐกิจเสรี โดยภาครัฐบาลเป็นผู้สนับสนุนและให้มีการประสานงานอย่างใกล้ชิดระหว่าง
ภาครัฐบาลและภาคเอกชน
๑.๒ ดำเนินการให้หน่วยงานของรัฐทุกหน่วย ตลอดทั้งภาคเอกชนมีบทบาทที่เกื้อกูลและ
ส่งเสริมการแสวงหา พัฒนา และขยายตลาดการค้าและการท่องเที่ยวตลอดจนการลงทุนจาก
ต่างประเทศเพื่อการสร้างงานและถ่ายถอดเทคโนโลยี
๑.๓ ใช้กลยุทธการพัฒนาเศรษฐกิจที่สมดุลทั้งภาคเกษตรกรรมอุตสาหกรรมและบริการ
๑.๔ มุ่งพัฒนาระบบเศรษฐกิจให้เจริญก้าวหน้าทางอุตสาหกรรม และเทคโนโลยีโดยยัง
คงมีภาคเกษตรกรรม และอุตสาหกรรมการเกษตรเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ
ควบคู่กันไป
๑.๕ มุ่งกระจายความเจริญทางเศรษฐกิจสู่ภูมิภาคต่าง ๆ ให้ทั่วถึงรวมทั้งการมุ่งพัฒนา
ชนบทอย่างต่อเนื่อง เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนในชนบทและปัญหาการกระจายรายได้
อย่างจริงจังตลอดจนมุ่งสร้างงานทั้งภาคเกษตรอุตสาหกรรมและบริการ
๑.๖ ปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับเพื่อส่งเสริมการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
ให้ทันสมัย มีประสิทธิภาพมากขึ้นตลอดจนลดอุปสรรคต่อการประกอบการทางเศรษฐกิจที่เป็น
ประโยชน์ต่อส่วนรวม
๑.๗ ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อให้รองรับกับเศรษฐกิจของประเทศที่กำลังขยายตัว
อย่างรวดเร็ว
๑.๘ ส่งเสริมและพัฒนาการผลิตเพื่อการส่งออกทั้งภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม
๒. การเงินการคลัง
๒.๑ ปรับปรุงโครงสร้างและระบบการจัดเก็บภาษีอากรให้เป็นธรรมและเอื้ออำนวยต่อการ
ขยายตัวทางเศรษฐกิจ
๒.๒ กำหนดมาตรการด้านการเงินการคลังเพื่อรองรับและสนับสนุนการพัฒนาของภาค
เอกชนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นอันจะเป็นการเสริมสร้างฐานะทางเศรษฐกิจโดยทั่วไปให้
แข็งแกร่งขึ้น
๒.๓ มุ่งรักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจโดยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารด้าน
รายจ่ายของรัฐและควบคุมการก่อหนี้ให้อยู่ในขอบเขตที่สอดคล้องกับขีดความสามารถ
ของประเทศรวมทั้งการรักษาวินัยทางการเงินการคลังอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่อง
๒.๔ พัฒนาและเสริมสร้างระบบการเงินเพื่อระดมการออกในประเทศให้กว้างขวาง
ยิ่งขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพและพัฒนาตลาดการเงินและตลาดทุนให้สามารถเกื้อกูลการลงทุน
ตลอดจนรักษาความมั่นคงของสถาบันการเงินของประเทศ
๒.๕ มุ่งสนับสนุนการบริหารการเงินและการคลังส่วนท้องถิ่นให้มีอิสระและประสิทธิภาพ
สูงขึ้น
๓. อุตสาหกรรม
๓.๑ ส่งเสริมการกระจายอุตสาหกรรมออกสู่ตลาดจังหวัด โดยจัดใหมีสิ่งอำนวยความสะดวก
ความปลอดภัย และสิทธิประโยชน์ที่เพียงพอตลอดจนให้การสนับสนุนด้วยมาตรการด้านการเงิน
การคลังที่เหมาะสม
๓.๒ ให้ความสำคัญลำดับสูงแก่อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานและใช้วัตถุดิบซึ่งมาจากทรัพยากร
ธรรมชาติภายในประเทศ และอุตสาหกรรมที่อาศัยเทคโนโลยีโดยใช้ความแน่นอนด้านการตลาด
เป็นตัวนำ และมุ่งสู่พื้นที่ที่เหมาะสม
๓.๓ มุ่งสนับสนุนอุตสาหกรรมขนาดกลาง ขนาดเล็กและอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกให้เป็น
พื้นฐานสำคัญของระบบอุตสาหกรรมของประเทศ
๔. เกษตรกรรม
๔.๑ เพิ่มรายได้ของเกษตรกรด้วยการส่งเสริมและปรับปรุงระบบการผลิตให้สอดคล้องกับ
การตลาดทั้งภายในและนอกประเทศ ตลอดจนแก้ไขปัญหาราคาผลิตผลเกษตรตกต่ำอย่างจริงจัง
และมีผลอย่างถาวร
๔.๒ มุ่งพัฒนาภาคเกษตรกรรมแบบครบวงจรมากยิ่งขึ้นโดยสนับสนุนให้มีบริการ
ด้านเทคโนโลยี สินเชื่อการเกษตร ปัจจัยการผลิตต่าง ๆ และข้อมูลการตลาดเพื่อเพิ่มผลผลิต
ปรับปรุงคุณภาพและลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรในระดับไร่นา
๔.๓ ช่วยเหลือเกษตรกรผู้ไร้ที่ทำกินโดยวิธีการปฏิรูปที่ดิน และการออกเอกสารสิทธิทำกิน
๔.๔ จัดให้มีองค์กรร่วมของภาครัฐบาล เอกชน และเกษตรกรเพื่อให้มีส่วนร่วมในการ
กำหนดนโยบายพัฒนาการเกษตรและตัดสินใจในการแก้ป้ญหาร่วมกัน
๕. ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๕.๑ ปรับปรุงระบบการบริหารและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ อันประกอบด้วยที่ดิน
แหล่งน้ำ ป่าไม้ ประมง แร่ธาตุ และพลังงานในท้องถิ่นทั่วประเทศเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ต่อประเทศชาติ และคุณภาพชีวิตของประชาชน
๕.๒ สนับสนุนให้มีการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่าง
มีระบบและต่อเนื่อง
๕.๓ เร่งรัดการผลิตบุคลากรและการวิจัยในด้านการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ
และการอนุรักษ์
๖. บริการ
๖.๑ พัฒนาแผนส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อให้เกิดการสร้างงานในประเทศและนำเงินตรา
ต่างประเทศเข้ามามากขึ้น โดยคงไว้ซึ่งคุณค่าของวัฒนธรรมไทย
๖.๒ เพิ่มขีดความสามารถการบริการด้านสาธารณูปโภค และสาธารณูปการเพื่อสนับสนุน
การพัฒนาเศรษฐกิจและส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมลงทุนในการดำเนินงานเพิ่มเร่งตอบ
สนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นให้ได้อย่างเพียงพอ
๖.๓ ปรับปรุงการบริหารงานของรัฐวิสาหกิจให้มีประสิทธิภาพเพื่อให้สามารถขยายบริการ
ได้กว้างขวาง พร้อมที่จะรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
นโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
รัฐบาลนี้มีความมุ่งมั่นจะพัฒนาความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้
เข้มแข็งและเพียงพอที่จะสนองตอบต่อความต้องการในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของ
ประเทศ และปูพื้นฐานสำหรับการพึ่งตนเองทางเทคโนโลยีในระยะยาว จึงกำหนดนโยบายไว้
ดังนี้
๑. ส่งเสริมและผลักดันการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการผลิต
และสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าอุตสาหกรรม เกษตรและการพลังงานตลอดจนการจัดการด้าน
สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งการป้องกันประเทศ
๒. เสริมสร้างองค์กรการบริหารงานวิจัยและพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยีโดยให้เป็นแหล่ง
ระดมสรรพกำลังทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากทั้งในและต่างประเทศรวมทั้งจาก
ภาคเอกชน เพื่อการวิจัยและพัฒนาการผลิตและการตลาด
๓. พัฒนาวิธีการและเครื่องมือในการบริหารระบบสารสนเทศที่ทันสมัย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
ของภาคเอกชนในการแข่งขันกับต่างประเทศ
๔. มุ่งพัฒนากำลังคนให้มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องให้เพียงพอ
และสอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
นโยบายการป้องกันประเทศ
เพื่อให้การรักษาความมั่นคงของประเทศและการธำรงไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตยบูรณภาพ
แห่งดินแดน และการรักษาผลประโยชน์ของชาติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพรัฐบาลจึงกำหนด
นโยบายดังนี้
๑. จะปรับปรุงและพัฒนากองทัพประจำการให้มีขนาดที่เหมาะสมมีประสิทธิภาพความพร้อมรบ
และความทันสมัยเพื่อให้มีขีดความสามารถในการป้องปรามและป้องกันประเทศได้ทุกระดับภัยคุกคาม
โดยคำนึงถึงฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศ
๒. จะพัฒนาระบบกำลังสำรองให้มีความพร้อมและสามารถขยายกำลังในยามสงครามได้อย่าง
รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
๓. จะส่งเสริมและดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อให้เกิดความพร้อมด้านทรัพยากรที่จะสนับสนุนการ
ระดมสรรพกำลังของชาติเพื่อการป้องกันประเทศ
๔. จะสนับสนุนและส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาการทหารรวมทั้งการผลิตยุทโธปกรณ์ภายใน
ประเทศให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน และสามารถพึ่งตนเองได้มากที่สุดโดยร่วมมือกับส่วนราชการ
พลเรือน ภาคเอกชน และมิตรประเทศ
๕. จะผนึกกำลังป้องกันประเทศ ทั้งกำลังทหาร กำลังกึ่งทหารตำรวจและราษฎรอาสาสมัครใน
รูปแบบต่าง ๆ ตลอดจนข้าราชการและประชาชนเข้าด้วยกันเพื่อป้องกันภัยคุกคามทั้งภายในและ
ภายนอกประเทศ
๖. จะสนับสนุนและส่งเสริมบทบาทของกองทัพในการพัฒนาประเทศ การช่วยเหลือประชาชน
และการบรรเทาสาธารณภัยของชาติ
๗. จะบำรุงขวัญและกำลังใจของทหารโดยดำเนินการด้านสวัสดิการและความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น
รวมทั้งจะส่งเสริมการพัฒนากำลังพลที่เข้ารับราชการทหารให้มีความรู้ความสามารถในด้าน
วิชาชีพต่าง ๆ เพื่อให้สามารถนำไปประกอบสัมมาชีพได้ดียิ่งขึ้นเมื่อพ้นจากประจำการ
๘. จะสงเคราะห์ทหารผ่านศึกและครอบครัว โดยเฉพาะทหารผ่านศึกที่ทุพพลภาพและครอบครัว
ของทหารที่เสียชีวิตจากการป้องกันประเทศให้มีความเป็นอยู่ที่เหมาะสม
นโยบายต่างประเทศ
รัฐบาลจะดำเนินนโยบายต่างประเทศที่เป็นอิสระโดยยึดถือประโยชน์ของชาติเป็นหลัก
เพื่อธำรงไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตยของชาติ และบูรณภาพแห่งดินแดนตลอดจนพิทักษ์และสร้างเสริม
ความมั่นคงของรัฐและผลประโยชน์ของชาติทั้งจะใช้การต่างประเทศในการส่งเสริมความเจริญ
เติบโตทางด้านเศรษฐกิจของประเทศกับให้มีการประสานงานระหว่างหน่วยงานของรัฐและระหว่าง
ภาครัฐบาลกับภาคเอกชน เพื่อให้การดำเนินนโยบายมีประสิทธิภาพและเอกภาพมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้จะร่วมมือกับนานาประเทศและองค์การระหว่างประเทศที่ยังประโยชน์ให้แก่ความมั่นคง
ของรัฐและการพัฒนาประเทศ โดยจะดำเนินนโยบายหลัก ดังต่อไปนี้
๑. เคารพและรักษาสิทธิตามความตกลงที่ทำไว้กับต่างประเทศโดยยึดถือหลักแห่งความเสมอภาค
หลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติ และหลักความเป็นธรรมทั้งจะเคารพและส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามหลักการ
ของกฎบัตรสหประชาชาติและปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
๒. ส่งเสริมสันติภาพและการดำรงอยู่ร่วมกันโดยสันติระหว่างประเทศทั้งหลายบนหลักเคารพ
เอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งดินแดน ความเสมอภาค ความยุติธรรมการไม่แทรกแซง
ในกิจการภายในของกันและกัน และการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศโดยสันติวิธี
๓. ปรับปรุงความสัมพันธ์ทั้งในทางเศรษฐกิจและการเมืองโดยเฉพาะการขยายตลาดการค้า
ระหว่างกันและเสริมสร้างความเข้าใจอันดีและไมตรีจิตกับประเทศเพื่อนบ้านให้อยู่ร่วมกันโดย
สันติ และสมานฉันท์ในลักษณะที่ตอบสนองผลประโยชน์ร่วมกันตลอดจนจะพยายามและส่งเสริม
ให้มีการแก้ไขปัญหาในภูมิภาคและปัญหาระหว่างประเทศโดยวิธีการทางการเมืองและการทูต
๔. เสริมสร้างและกระชับไมตรีความร่วมมือทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและความ
เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชีตะวันออกเฉียงใต้ให้
แน่นแฟ้นและใกล้ชิดยิ่งขึ้นตลอดจนสนับสนุนมาตรการที่จะให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เป็นเขตสันติภาพ เสรีภาพและความเป็นกลางเพื่อให้บรรลุถึงซึ่งสันติภาพทางการเมืองและ
เศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยแท้
๕. ดำเนินและพัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศมหาอำนาจอย่างสมดุลสอดคล้องกับผลประโยชน์
ของชาติ ในลักษณะที่จะเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจของ
ประเทศ และนำไปสู่ความร่วมมือและการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เพื่อให้เกิดสันติภาพ เสถียรภาพ
และความก้าวหน้าในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค
๖. ส่งเสริมความสัมพันธ์กับประเทศที่กำลังพัฒนาและประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งในระดับทวิภาคี
และพหุภาคีเพื่อให้มีความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการเพื่อขยายตลาดสินค้าเกษตรกรรม
และอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว ตลอดจนแหล่งเงินทุน วัตถุดิบ เทคโนโลยีและวิชาการและเพื่อ
การพัฒนาทรัพยากรบุคคลที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศซึ่งจะส่งเสริมความเจริญเติบโต
ทางเศรษฐกิจ และยกระดับ คุณภาพชีวิตของประชาชนให้สูงขึ้น
๗. ดำเนินงานด้านสารนิเทศเพื่อให้ต่างประเทศและประชาชนชาวไทยทั่วไปมีความเข้าใจ
ในนโยบายต่างประเทศของไทย และการดำเนินการในความสัมพันธ์กับต่างประเทศขณะ
เดียวกันจะได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์กับประเทศไทยและเผยแพร่วัฒนธรรมไทยใน
ต่างประเทศเพื่อให้เป็นที่รู้จักและเกิดความเข้าใจที่ดีต่อประเทศไทยและคนไทย
๘. คุ้มครองและดูแลทุกข์สุข สิทธิและผลประโยชน์ของคนไทยและรักษาผลประโยชน์ของ
ชาติไทยในส่วนรวมให้ได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมจากนานาประเทศ
นโยบายสังคม
รัฐบาลมุ่งมั่นที่จะสร้างความยุติธรรมทางสังคม และเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของประชาชน
ทั้งในด้านโอกาสทางการศึกษา การพัฒนาสุขภาพอนามัยและการให้หลักประกันความมั่นคงในชีวิต
ตลอดจนส่งเสริมให้ประชาชนมีศีลธรรมและดำรงไว้ซึ่งศิลปะ วัฒนธรรมและเอกลักษณ์ของชาติโดย
กำหนดนโยบาย ดังนี้
๑. ความสงบเรียบร้อยในสังคม
๑.๑ รักษาความสงบเรียบร้อยในสังคมป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมและยาเสพติด
โดยเด็ดขาด
๑.๒ เสนอและปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับภาวะความเป็นอยู่ของสังคมในปัจจุบัน
และให้มีความเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น
๑.๓ พัฒนาและปรับปรุงระบบขบวนการยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพ รวดเร็วตลอดจน
กระจายระบบงานอำนวยความยุติธรรมออกไปยังประชาชนให้ทั่วถึงมากยิ่งขึ้น
๑.๔ เร่งรัดปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบและองค์การที่เกี่ยวกับแรงงานให้มีประสิทธิภาพ
ยิ่งขึ้น
๑.๕ ดำเนินการหาทางแก้ไขปัญหาผู้อพยพและผู้พลัดถิ่นจากประเทศเพื่อนบ้านโดยเร็ว
อย่างถาวร และเพิ่มการให้ความช่วยเหลือแก่ราษฎรไทยตามบริเวณชายแดนซึ่งถูกกระทบ
กระเทือนจากปัญหาผู้อพยพ โดยร่วมมือกับประเทศและองค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง
๒. การศึกษา
๒.๑ กระจายโอกาสทางการศึกษาให้ประชาชนอย่างทั่วถึงโดยเน้นทั้งการปรับปรุงการผลิต
และพัฒนากำลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศและพัฒนาคุณภาพและความ
เสมอภาคของระบบการศึกษาเพื่อส่งเสริมจริยธรรม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี การศึกษา
ตลอดชีวิต การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม พลานามัยตลอดจนการศาสนาและศิลปวัฒนธรรม
๒.๒ ส่งเสริมให้เอกชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษามากยิ่งขึ้น
๒.๓ เร่งรัดการส่งเสริมการอนุบาลชนบทการขยายโอกาสทางการศึกษาในระดับมัธยม
ศึกษาโดยจะจัดควบคู่ไปกับการขยายการศึกษาภาคบังคับและการเตรียมพื้นฐานอาชีพให้กับ
นักเรียนทุกระดับ เพื่อแก้ปัญหาการว่างงาน ตลอดจนส่งเสริมศีลธรรมจริยธรรม และวินัยของ
นักเรียนและคนในชาติเป็นพิเศษ
๒.๔ สร้างทัศนคติด้านความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และการปกครอง
ตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
๒.๕ สนับสนุนการวิจัยค้นคว้าเพื่อเสริมสร้างความก้าวหน้าทางวิชาการเพื่อนำผลมาใช้
ในการพัฒนาประเทศและปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชน
๓. สาธารณสุข
๓.๑ เร่งรัดการดำเนินงานสาธารณสุขมูลฐานทั้งในท้องถิ่นชนบทและชุมชนแออัดใน
เขตเมือง
๓.๒ ปรับปรุงคุณภาพบริการสาธารณสุขของรัฐทุกประเภทและทุกระดับโดยมุ่งเน้น
เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานสาธารณสุข ระบบข้อมูลองค์กรหรือกลไกการประสานนโยบาย
และการพัฒนาบุคลากรให้มีความพร้อมในการให้บริการทั้งในยามปกติและยามฉุกเฉิน ทั้งนี้
จะคำนึงถึงเรื่องประสิทธิภาพและประหยัดเป็นหลัก
๓.๓ ปรับปรุงระบบการประกันสุขภาพที่มีอยู่ให้เหมาะสมและให้การสงเคราะห์แก่
ผู้มีรายได้น้อยและผู้ที่สังคมควรช่วยเหลือเกื้อกูล
๓.๔ ส่งเสริมให้หน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ ดำเนินกิจกรรมที่ช่วยยกระดับสุขภาพอนามัย
ของประชาชนให้สูงขึ้น สร้างพฤติกรรมอนามัยที่ดี ปรับปรุงการสุขศึกษาและแก้ไขปัญหา
ทันตสาธารณสุข รวมทั้งปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาสาธารณสุข
โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อมและการคุ้มครองผู้บริโภค
๓.๕ ฟื้นฟูการแพทย์แผนไทยและการใช้สมุนไพรให้เป็นประโยชน์แพร่หลายตามความ
ต้องการของท้องถิ่นและฟื้นฟูอุตสาหกรรมยาภายในประเทศให้มั่นคงพึ่งตนเองได้โดยเน้น
ความปลอดภัยและประสิทธิภาพการบำบัดโรคในราคาที่เหมาะสมและกระจายไปสู่ผู้ใช้อย่าง
ทั่วถึงตลอดจนส่งเสริมอุตสาหกรรมอาหาร ยา และอื่น ๆ เพื่อการส่งออก
๔. บริการสังคม
๔.๑ ส่งเสริมการกีฬาอย่างกว้างขวางและทั่วถึง เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตและพัฒนา
มาตรฐานการกีฬา เพื่อให้มีขีดความสามารถในการเข้าแข่งขันกีฬากับนานาชาติได้ดียิ่งขึ้น
๔.๒ เร่งรัดช่วยเหลือประชาชนที่มีรายได้น้อยในเรื่องที่อยู่อาศัยทั้งที่ดำเนินการโดยรัฐ
และเอกชน โดยเฉพาะในภูมิภาค
๔.๓ พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนแออัดในเมืองอย่างเป็นระบบ
๔.๔ ส่งเสริมและประสานงานระหว่างหน่วยงานของรัฐและเอกชนในการพัฒนาสตรี เด็ก
และเยาวชน รวมทั้งสวัสดิการคนชรา และคนทุพพลภาพ
๔.๕ ส่งเสริมสถาบันศาสนาและองค์การของเอกชนให้มีบทบาทและส่วนร่วมในกระบวนการ
พัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมมากขึ้นท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ และท่านสมาชิกผู้มีเกียรติทั้งหลาย
ในการบริหารราชการแผ่นดินตามนโยบายที่ได้แถลงมาข้างต้นนี้กระผมขอให้ความมั่นใจว่ารัฐบาล
นี้จะดำเนินการโดยยึดถือความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ตั้งและปฏิบัติตามนโยบายโดยเคร่งครัดเพื่อนำ
ความก้าวหน้ามาสู่ประเทศชาติ และนำความสงบเรียบร้อยและความสุข ความเจริญมาสู่ประชาชน
สมดังเป้าหมายที่ได้แถลงไว้แล้วทุกประการ ขอบพระคุณครับ
*รายงานการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ ๑/๒๕๓๑ (สมัยสามัญ)
วันพฤหัสบดีที่ ๒๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๓๑ หน้า ๓ - ๑๖ |
46 | คณะรัฐมนตรี คณะที่ ๔๖
พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ
เป็นนายกรัฐมนตรี
ตั้งแต่วันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๓๓
แถลงนโยบาย เมื่อวันพธที่ ๙ มกราคม ๒๕๓๔
คำแถลงนโยบายของรัฐบาล*
ท่านประธานรัฐสภาและท่านสมาชิกผู้มีเกียรติ
ตามที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้กระผมเป็นนายกรัฐมนตรีตามประกาศ
พระบรมราชโองการ ลงวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๓๓ และแต่งตั้งให้กระผมเป็นนายกรัฐมนตรี
ตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๓๓ นั้น ณ บัดนี้คณะรัฐมนตรี
ได้กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินและขอนำเรียนให้ท่านสมาชิกรัฐสภาผู้ทรงเกียรติ
ได้ทราบถึงเจตนารมณ์ในแนวนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลซึ่งมีเวลาเหลือ
เพียง ๑ ปีกับ ๗ เดือน เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง
ให้แก่ประเทศชาติและความผาสุกให้แก่พี่น้องประชาชนของเราสืบต่อไป
กระผมมีสิ่งหนึ่งที่จะยึดถือเป็นหัวใจอันสำคัญสูงสุดในการควบคุมกำกับบริหารของ
รัฐบาลชุดนี้ ให้บรรลุแนวนโยบายที่แถลงต่อรัฐสภาอันทรงเกียรติในวันนี้ คือ จะยึดถือความ
ซื่อสัตย์สุจริตต่อประชาชนและผลประโยชน์ของชาติเป็นที่ตั้งโดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ของ
กลุ่มใดหรือพรรคใดมาเป็นฐานและดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อกำจัดและป้องกันมิให้ฉ้อราษฎร
์บังหลวงเกิดขึ้น ทั้งนี้ ด้วยความสำนึกในความรับผิดชอบต่อประเทศชาติและประชาชนอันเป็น
ที่รักของเราด้วยใจอันบริสุทธิ์และกระผมขอให้คำมั่นว่าจะปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบอย่างสุดกำลัง
ความสามารถโดยขอแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีให้รัฐสภาทราบ ดังนี้
๑. นโยบายการเมือง
รัฐบาลมุ่งเทอดทูนและรักษาไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และการปกครอง
ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขและจะดำเนินการทุกวิถีทางที่จะให้บังเกิด
ความสุขความเจริญแก่ประชาชนทุกหมู่เหล่า ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองในการนี้รัฐบาล
จะส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาบทบาทพรรคการเมือง และสถาบันรัฐสภาให้สอดคล้องกับ
การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขและกระตุ้นให้ประชาชนมี
ความเข้าใจและศรัทธายึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอย่างจริงจังโดยการคุ้มครองและขยายสิทธิ
เสรีภาพตามกฎหมายให้กว้างขวางขึ้นตลอดจนสร้างความสำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบ
ของตนในฐานะประชาชนและให้มีส่วนร่วมทางการเมืองทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่นมาก
ยิ่งขึ้น
นอกจากนั้นรัฐบาลจะดำเนินการแก้ไขให้การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการ
เลือกตั้งใด ๆ ที่ราษฎรใช้สิทธิเป็นไปโดยบริสุทธิ์ ยุติธรรม เป็นรูปธรรมยิ่งขึ้นขณะเดียวกันรัฐบาล
จะส่งเสริมและปรับปรุงการกระจายอำนายการปกครองสู่ท้องถิ่นโดยเฉพาะสภาตำบลให้มากขึ้นโดย
การเพิ่มอิสระทางการเงินการคลัง การจัดซื้อ จัดจ้าง และการกำหนดนโยบายของตนเอง ทั้งนี้จะได้
ดำเนินการเป็นขั้นเป็นตอนให้เหมาะสมกลับสภาพการพัฒนาท้องถิ่นทั้งที่พัฒนาไปมากแล้วและ
ท้องถิ่นที่ยังต้องการความสนับสนุนจากส่วนกลางโดยคำนึงถึงความเป็นเอกภาพของการปกครอง
ราชอาณาจักรซึ่งเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและจะแย่งแยกมิได้รัฐบาลจะดำเนินการเพื่อให้มีการปฏิรูป
กฎหมายที่ล้าสมัยและเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และเร่งรัดปรับปรุง
ประกาศของคณะปฏิวัติตลอดจนคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ให้เป็นระบบกฎหมาย
ในระบอบประชาธิปไตย
๒. นโยบายการบริหารระบบราชการ
รัฐบาลมีความมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนบทบาทของราชการจากผู้ปฏิบัติมาเป็นผู้กำกับดูแล
ให้การสนับสนุนการดำเนินงานของภาคเอกชนยิ่งขึ้นโดยปรับปรุงระบบราชการให้เปิดรับฟัง
ความคิดเห็นของประชาชนเพื่อเปลี่ยนแนวความคิดจากการบริหารราชการในลักษณะของการ
ปกครองมาเป็นการบริหารราชการในเชิงการพัฒนารัฐบาลมุ่งเน้นปรับการบริหารราชการและ
วิธีการปฏิบัติงานให้รวดเร็ว โดยลดขั้นตอนการทำงาน และกระจายอำนาจการบริหารงานบุคคล
งานงบประมาณจากส่วนกลางไปสู่หน่วยปฏิบัติและสู่ส่วนภูมิภาคโดยจัดสรรเงินงบประมาณ
เป็นก้อนให้แก่จังหวัดเพื่อนำไปใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหาของประชาชนควบคู่ไปกับการปรับปรุง
มาตรฐานการครองชีพและสภาพแวดล้อมในการทำงานของข้าราชการเพื่อเป็นสิ่งจูงใจที่จะรักษา
คนดีมีความสามารถไว้ในราชการขณะเดียวกันรัฐบาลมีนโยบายที่จะยึดหลักระบบคุณธรรมในการ
พิจารณาให้บำเหน็จความชอบ การเลื่อนตำแหน่งในระบบราชการเพื่อให้สามารถธำรงและสรรหา
ข้าราชการที่มีคุณภาพมีขวัญและกำลังใจในการทำงานตามนโยบายของรัฐบาลต่อได้ต่อไป
รัฐบาลมุ่งเน้นที่จะปรับปรุงโครงสร้างกระทรวง ทบวงให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน
และสนองตอบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เช่น แบ่งแยกงานจากกระทรวงเดิม จัดตั้ง
เป็นกระทรวง ทบวงขึ้นใหม่ อาทิ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงการค้า
ต่างประเทศ กระทรวงพลังงาน กระทรวงโยธาธิการกระทรวงแรงงาน กระทรวงสื่อสารและคมนาคม
และทบวงตำรวจ เป็นต้น
๓. นโยบายเศรษฐกิจ
รัฐบาลนี้กำหนดเป้าหมายการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจที่จะให้เศรษฐกิจของไทย
ขยายตัวต่อเนื่อง โดยมุ่งขยายฐานการผลิตและการค้าให้เปิดกว้างสู่นานาชาติและให้ประเทศไทย
สามารถเป็นฐานเศรษฐกิจ "ด่านหน้า" ของภูมิภาคนี้ให้ได้ทั้งเป็นศูนย์กลางการผลิต การแปรรูป
สินค้า การส่งออกและเป็นศูนย์กลางทางธุรกิจเงินและคมนาคมขนส่งในภูมิภาคนี้ด้วยในการนี้รัฐบาล
มีความจำเป็นต้องปรับนโยบายเศรษฐกิจของไทยให้มีลักษณะเชิงผ่อนคลายและมีความยืดหยุ่น
คล่องตัวสูงขึ้น ทั้งทางด้านการค้ากับต่างประเทศการบริหารการเงินการคลังและการจัดหาบริการ
พื้นฐานที่สำคัญ ๆ ซึ่งจำเป็นต้องลดการผูกขาดลงและเพิ่มบทบาทภาคเอกชนให้มีส่วนร่วมลงทุน
ขยายบริการพื้นฐานด้านบริการโทรคมนาคม ขนส่งกิจการพลังงาน การพัฒนากำลัง และให้เพิ่ม
การใช้เทคโนโลยีเพื่อการผลิตให้มากขึ้นด้วยขณะเดียวกันรัฐบาลจะดำเนินนโยบายที่ระมัดระวัง
รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงินของประเทศต่อไป เพื่อมุ่งลดภาวะเงินเฟ้อและการ
ขาดดุลการค้าของประเทศมิให้อยู่ในระดับที่จะส่งผลกระทบกระเทือนต่อภาวะความเป็นอยู่การ
ครองชีพของประชาชนและความมั่นใจของนักลงทุนในประเทศไทยนอกจากนั้น รัฐบาลมุ่งเน้น
ให้ความสำคัญสูงต่อนโยบายกระจายรายได้และเร่งกระจายการขยายตัวทางเศรษฐกิจไปสู่ส่วน
ภูมิภาคโดยเฉพาะการส่งเสริมภาคเอกชนให้มีบทบาทในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจท้องถิ่นมาก
ยิ่งขึ้นเพื่อยกระดับรายได้ให้แก่เกษตรกรรายย่อยที่ยากจนและลูกจ้างแรงงานการเกษตรในชนบท
กลุ่มผู้ประกอบอาชีพส่วนตัวขนาดเล็กในเมือง และกลุ่มผู้ใช้แรงงานและลูกจ้างที่มีรายได้ต่ำ
ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญของนโยบายการกระจายรายได้ของรัฐบาล โดยจะดำเนินนโยบาย
เศรษฐกิจเฉพาะด้าน ดังนี้
๓.๑ การเงินการคลัง
รักษาและเสริมสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและฐานะการเงินการคลังของประเทศให้มั่นคง
และดำเนินนโยบายการเงินการคลังของประเทศในกรอบวินัยที่เคร่งครัดควบคู่กับการเอื้ออำนวยต่อการ
พัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรมและปรับปรุงโครงสร้างระบบ
การจัดเก็บภาษีอากรเพื่อลดความซ้ำซ้อนตลอดทั้งสร้างความเป็นกลางของระบบภาษีให้เอื้ออำนวย
ต่อการลงทุนและการพัฒนาธุรกิจของประเทศขณะเดียวกันจะใช้มาตรการทางการคลังให้สามารถ
ช่วยเหลือต่อภาคเศรษฐกิจที่อ่อนแอโดยเฉพาะในด้านการเกษตร ส่วนการดำเนินการของรัฐวิสาหกิจนั้น
จะให้ลดการพึ่งพาการสนับสนุนจากรัฐลงโดยให้เร่งการระดมทุนและร่วมทุนกับภาคเอกชนในการขยาย
บริการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการให้กว้างขวางและมีคุณภาพที่สามารถสนองต่อการขยายตัว
ทางเศรษฐกิจของประเทศได้ทางด้านนโยบายการเงิน รัฐบาลจะพัฒนาเสริมสร้างระบบการเงิน
สถาบันการเงินและตลาดทุนให้มั่นคงแข็งแรงและมีประสิทธิภาพในการระดมเงินออมระยะสั้นและ
ระยะยาวให้สูงขึ้นและให้มีการผ่อนคลายการควบคุมสถาบันการเงินเพื่อสนองความต้องการด้านลงทุน
ในประเทศตลอดทั้งสามารถให้ประเทศไทยมีโอกาสพัฒนาเป็นศูนย์การเงินในภูมิภาคได้ต่อไปนอกจากนั้น
รัฐบาลจะดำเนินนโยบายและมาตรการทางการเงินการคลัง เพื่อจูงใจให้พัฒนาแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม
การประหยัดพลังงานการขจัดมลพิษและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
๓.๒ การเกษตร
รัฐบาลยึดมั่นว่าการช่วยเหลือเกษตรกร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกษตรกรรายย่อยที่ยากจน
เป็นนโยบายที่มีความสำคัญสูงสุดเพื่อเร่งการเพิ่มผลผลิตและสร้างเสถียรภาพของรายได้ให้แก่
เกษตรกรรายย่อยในการนี้รัฐบาลจะเร่งดำเนินการปฏิรูปที่ดินและปรับปรุงระบบการให้สิทธิทำกิน
แก่เกษตรกรในเขตป่าไม้ที่หมดสภาพและที่เกษตรกรได้ครอบครองใช้ประโยชน์ในที่ดินนั้นโดย
จะเร่งออกเอกสารสิทธิ์ หรือเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องให้แก่เกษตรกรนอกจากนั้นจะดำเนินการพัฒนา
พื้นที่ดินที่มีปัญหาในบริเวณแห้งแล้ง ดินเค็ม ดินพรุตลอดทั้งดำเนินการป้องกันดินถูกชะล้างพังทลาย
ในเขตต้นน้ำลำธาร และอนุรักษ์ฟื้นฟูที่ดินชายฝั่งทะเลควบคู่ไปด้วย
รัฐบาลจะขยายวงเงินสินเชื่อทั้งระยะสั้นและระยะยาวให้แก่เกษตรกรที่ยากจนโดยปรับ
เงื่อนไขให้ผ่อนปรนยิ่งขึ้นเพื่อให้เกษตรกรสามารถเปลี่ยนระบบการผลิตเกษตรดั้งเดิมไปสู่พืช
เศรษฐกิจใหม่ ๆ และการเลี้ยงสัตว์ที่มีความต้องการของตลาดมากขึ้น ส่วนด้านปัจจัยการผลิตอื่น ๆ
รัฐบาลมีนโยบายให้มีการค้าปุ๋ยเคมีอย่างเสรีมากขึ้นเพื่อลดการผูกขาดการผลิตและการค้าปุ๋ยเคมีลง
และเร่งรัดให้มีการผลิตปุ๋ยเคมีในประเทศ เพื่อทดแทนการนำเข้าโดยถือว่าเป็นปัจจัยพื้นฐานทาง
การเกษตรที่รัฐบาลจะต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของเกษตรกรเป็นหลัก
รัฐบาลจะจัดให้มีการส่งเสริมการผลิตเกษตรแผนใหม่โดยอาศัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มากขึ้น เช่น การใช้ปุ๋ยชีวภาพ การควบคุมศัตรูพืชด้วยมาตรการชีวินทรีย์การผสมเทียมปศุสัตว์และ
สัตว์น้ำการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นต้นเพื่อเป็นฐานในการปฏิรูปโครงสร้างการผลิตด้านการเกษตร
ของประเทศต่อไป นอกจากนี้จะเสริมสร้างกำลังต่อรองให้แก่เกษตรกรโดยสนับสนุนสถาบันการเกษตร
และส่งเสริมภาคเอกชนให้มีส่วนร่วมในการผลิตการตลาดและอุตสาหกรรมการเกษตรรวมทั้งการ
แปรรูปทางด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติรัฐบาลจะดำเนินงานพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อ
การเกษตร โดยเน้นการขุดลอกคู คลอง หนองและบึงธรรมชาติเพื่อให้สามารถปลูกพืชในฤดูแล้งได้
และมีเป้าหมายเพิ่มพื้นที่ป่าอนุรักษ์ให้สูงขึ้น จากร้อยละ ๒๐ เป็นร้อยละ ๒๕ของพื้นที่ป่าทั้งหมดและ
จะสนับสนุนภาคเอกชนและสถาบันเกษตรกรให้ปลูกสวนป่าเศรษฐกิจและสวนป่าชุมชนต่อไป นอกจากนี้
รัฐบาลจะอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งทะเลและในน่านน้ำไทยให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำถาวร
๓.๓ อุตสาหกรรม
รัฐบาลจะส่งเสริมอุตสาหกรรมไทยให้สามารถแข่งขันในตลาดต่างประเทศทั้งคุณภาพ
และต้นทุนการผลิต โดยการลดอัตราภาษีนำเข้าเครื่องจักร ชิ้นส่วนและวัตถุดิบรวมทั้งส่งเสริมให้
ภาคเอกชนมีบทบาทในการให้บริการทดสอบและรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมของไทย
ได้ด้วยขณะเดียวกันจะเร่งกระจายอุตสาหกรรมไปสู่ส่วนภูมิภาคและพื้นที่ "เขตเศรษฐกิจใหม่"
เช่น บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกและเร่งพัฒนาบริเวณชายฝั่งทะเลภาคใต้ตลอดทั้งการพัฒนา
นิคมอุตสาหกรรม เขตอุตสาหกรรมส่งออกอาคารชุดสำหรับอุตสาหกรรมเพื่อกระจายอุตสาหกรรม
ไปสู่ส่วนพื้นที่ที่ควรพัฒนา ซึ่งจะช่วยให้การควบคุมปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
รัฐบาลจะให้ความสำคัญสูงสุดต่อการป้องกันควบคุมและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจาก
โรงงานอุตสาหกรรมทั้งทางด้านมลพิษทางอากาศ ทางน้ำ เสีย กากของเสียและสารเป็นพิษรวมทั้ง
ขยะมูลฝอย โดยเฉพาะบริเวณที่มีโรงงานตั้งอยู่หนาแน่นในเขตกรุงเทพมหานคร เมืองหลักและ
บริเวณฝั่งแม่น้ำสายหลัก ในการนี้จะสนับสนุนให้ภาคเอกชนร่วมลงทุนหรือรับสัมปทานในการลงทุน
สร้างระบบบำบัดน้ำเสียรวมและจัดการกากของเสียอย่างเป็นระบบด้วย
๓.๔ การพาณิชย์และบริการ
รัฐบาลจะมุ่งดำเนินนโยบายการพาณิชย์ให้มีการค้าทั้งภายในและกับต่างประเทศให้
"เสรี" มากยิ่งขึ้นเพื่อเป็นแนวทางการเจรจาการค้ากับต่างประเทศหลายฝ่ายรอบอุรุกวัยและเป็น
การเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขันทางการค้าที่จะผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการค้าใน
ภูมิภาคนี้ โดยจะเน้นหนักขยายตลาดในอินโดจีนและเอเชีย - แปซิฟิก และปรับปรุงระบบการ
อนุญาตนำเข้าวัตถุดิบ กำหนดมาตรการปกป้องไม่ให้มีการทุ่มตลาดเข้ามาในประเทศไทยตลอด
ทั้งเสริมสร้างเอกภาพการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ และกำหนดยุทธวิธีสำหรับตลาดร่วมยุโรป
ในปี ๒๕๓๕ พร้อมกันไปด้วยทางด้านนโยบายการค้าภายในประเทศนั้นรัฐบาลจะเน้นการเสริมสร้าง
เสถียรภาพด้านราคาสินค้าเกษตรเป็นพิเศษ โดยการเร่งพัฒนาตลาดกลางในลักษณะตลาดประมูล
ตลาดซื้อขายล่วงหน้า และกระจากการพัฒนาธุรกิจ คลังสินค้าไซโลและห้องเย็นในท้องถิ่นส่วน
ภูมิภาคให้มากขึ้น เพื่อให้เกษตรกรสามารถชะลอการขายผลผลิตซึ่งจะทำให้สามารถขายได้ใน
ราคาที่สูงขึ้นด้านการบริการนอกเหนือจากการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ก่อให้เกิดการสร้างงานและ
นำเงินตราต่างประเทศเข้ามามากขึ้นแล้วรัฐบาลจะริเริ่มการพัฒนาบริการด้านซ่อมบำรุงพาหนะ
ทั้งทางบก น้ำ และอากาศ ให้เป็นศูนย์บำรุงใหญ่ในภูมิภาคนี้
นอกจากนั้นจะเน้นการส่งออกโดยปรับปรุงกลไกของทางราชการให้เกื้อหนุนการ
ดำเนินงานของภาคเอกชนมากยิ่งขึ้น ตลอดจนปรับปรุงกฎหมายชั่ง ตวง วัดและกฎหมายบริษัท
มหาชนให้สอดคล้องกับระบบการค้าปัจจุบันและการพัฒนาตลาดหลักทรัพย์เพื่อให้การคุ้มครอง
แก่สาธารณชนมิให้ถูกเอาเปรียบ หรือเผชิญกับความเสี่ยงมากเกินไป
๓.๕ การคมนาคมขนส่ง
รัฐบาลจะเร่งดำเนินการขยายด้านบริการโทรคมนาคมและการสื่อสารให้รวดเร็ว
และมีบริการดีเพียงพอกับความต้องการของธุรกิจและประชาชนที่ขยายหรือเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ทางด้านบริการขนส่งมวลชน จะเร่งให้มีบริการขนส่งมวลชนบนรางสูง ยกระดับรางรถไฟพร้อมทั้ง
ปรับปรุงระบบการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารทุกระบบให้ผสมผสานกันให้สะดวก รวดเร็วปลอดภัย
ยิ่งขึ้น ทั้งนี้ รวมถึงการประสานระบบการขนส่งทางบก ทางน้ำและทางอากาศภายในและระหว่าง
ประเทศให้สอดคล้องประสานกันอย่างมีประสิทธิภาพต่อไปและสนับสนุนการสร้างสนามบิน เพื่อ
ส่งเสริมด้านธุรกิจและงานท่องเที่ยวนอกจากนั้นจะสนับสนุนการสร้างทางตามกฎหมายสัมปทาน
และปรับปรุงงานด้านสาธารณูปโภคโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่จะเสริมกิจการโครงการพัฒนา
อุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลตะวันออกรัฐบาลจะเร่งจัดการก่อสร้างทางหลวงวงแหวนรอบนอกให้
แล้วเสร็จโดยด่วน พร้อมกับพิจารณาก่อสร้างอุโมงค์ลอดใต้แม่น้ำและตัดถนนทางเบี่ยงเพื่อลด
ปริมาณรถที่ต้องผ่านเข้ามาในเขตเมืองทางด้านทิศเหนือไปตะวันตกและไปทางตะวันออกตลอด
ทั้งการขยายถนนและเพิ่มช่องทางเพื่อเพิ่มผิวจราจรให้มากขึ้นและรื้อถอนสิ่งกีดขวางเพื่อให้การ
จราจรมีความคล่องตัวสูงขึ้นรวมทั้งการแก้ไขปัญหาการจราจรในต่างจังหวัดที่กำลังมีการเจริญ
เติบโตทางเศรษฐกิจ
๔. นโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี พลังงานและสิ่งแวดล้อม
รัฐบาลจะเร่งการผลิตนักวิทยาศาสตร์ วิศวกรตลอดจนช่างเทคนิคให้เพียงพอและมี
ความสามารถเป็นที่ยอมรับ รวมทั้งผลิตอาจารย์มหาวิทยาลัยและนักวิจัยเพื่อสนองความต้องการ
ของภาคอุตสาหกรรมเกษตรกรรม บริการ และการพัฒนาชนบทและสามารถรองรับการถ่ายทอด
เทคโนโลยีจากต่างประเทศได้โดยพัฒนาระบบข้อสนเทศเพื่อให้เอกชนสามารถนำเข้าเทคโนโลยี
จากต่างประเทศได้โดยพัฒนาระบบข้อสนเทศเพื่อให้เอกชนสามารถนำเข้าเทคโนโลยีจาก
ต่างประเทศในราคาและเงื่อนไขที่เหมาะสมอีกทั้งให้มีการจัดหาและผลิตพลังงานให้เพียงพอกับ
ความต้องการของประเทศเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบจัดการด้านวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยีโดยปรับโครงสร้างสถาบันวิจัยของรัฐให้สามารถวิจัยและดึงดูดผู้ทรงคุณวุฒิไว้ใน
การวิจัย ตลอดทั้งปรับปรุงเครือข่ายการวิจัยของรัฐบาลสถาบันการศึกษาและภาคเอกชน ให้
สามารถนำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้ในเชิงพาณิชย์ได้ สำหรับการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม
อันเกิดจากภาวะมลพิษต่างๆ นั้นรัฐบาลให้ความสำคัญเร่งด่วนต่อการแก้ปัญหาภาวะมลพิษ
ทางอากาศที่เกิดจากการจราจรติดขัดภาวะฝนกรด มลพิษทางน้ำทางอากาศที่เกิดจากโรงงาน
อุตสาหกรรมและกากของเสียที่เป็นพิษโดยมีเป้าหมายที่จะลดซัลเฟอร์ไดออกไซด์คาร์บอนมอนอกไซด์
ไนโตรเจนไดออกไซด์และสารตะกั่วในน้ำมันเชื้อเพลิงให้อยู่ในมาตรฐานที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ตลอดทั้งการปรับปรุงวิธีใช้ถ่านหินลิกไนต์ในกระบวนการผลิตไฟฟ้าเพื่อป้องกันการเกิดภาวะ
ฝนกรดควบคู่ไปกับการกวดขันให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายในการควบคุมภาวะมลพิษ
อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะในเรื่องการขจัดสารพิษจากยานพาหนะทุกชนิด เพื่อให้การบริหารและ
จัดการสิ่งแวดล้อมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพรัฐบาลมีนโยบายให้มีการจัดตั้งองค์กรร่วม ๓ ฝ่าย
คือ ชุมชน สถานประกอบการ และภาครัฐบาลทำหน้าที่เฝ้าระวังและกำกับดูแลภาวะสิ่งแวดล้อม
ให้เป็นไปตามาตรฐานที่กำหนดไว้ โดยเฉพาะในเขตเมือง เขตอุตสาหกรรมและแหล่งท่องเที่ยว
โดยให้ผู้ใช้ทรัพยากรธรรมชาตินั้นเป็นผู้รับภาระในการพัฒนาการอนุรักษ์และการแก้ไขปัญหา
สิ่งแวดล้อมด้วยตลอดจนสนับสนุนให้มีการสร้างสวนสาธารณะในเขตเมือง
๕.นโยบายการป้องกันประเทศ
รัฐบาลจะปรับปรุง พัฒนา และเสริมสร้างกำลังกองทัพให้มีขนาดที่เหมาะสมมีประสิทธิภาพ
พร้อมรบ ทันสมัย และปรับปรุงระบบกำลังสำรอง ระบบการระดมสรรพกำลังเพื่อการป้องกันประเทศ
และรักษาผลประโยชน์ของชาติ ตลอดจนผนึกกำลังป้องกันประเทศทั้งกำลังทหาร กำลังกึ่งทหารและ
กำลังประชาชน เพื่อป้องกันภัยคุกคามจากภายในและภายนอกประเทศรวมทั้งคุ้มครองทรัพยากร
ของชาติด้วยรัฐบาลจะมุ่งพัฒนาขีดความสามารถในการพึ่งตนเองในด้านการป้องกันประเทศโดย
สนับสนุนและส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาการทหาร รวมทั้งการผลิตยุทโธปกรณ์ภายในประเทศโดย
ร่วมมือกับส่วนราชการต่าง ๆ ภาคเอกชน และมิตรประเทศในขณะเดียวกันรัฐบาลจะสนับสนุนและ
ส่งเสริมบทบาทของกองทัพ ในการพัฒนาประเทศ การพัฒนาเพื่อความมั่นคง การช่วยเหลือประชาชน
และการบรรเทาสาธารณภัย อีกทั้งจะบำรุง เสริมสร้างขวัญกำลังใจของทหารและครอบครัวในด้าน
สวัสดิการและการดำรงชีพรวมทั้งสงเคราะห์ทหารผ่านศึกและครอบครัวให้ดำรงอยู่ได้ด้วยความ
เหมาะสมและสมเกียรติ
๖. นโยบายด้านต่างประเทศ
รัฐบาลจะดำเนินนโยบายต่างประเทศที่เป็นอิสระสอดคล้องกับสถานการณ์แวดล้อมของโลก
และเสริมสร้างบทบาทของประเทศไทยให้เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางโดยยึดถือประโยชน์ของชาติ
เป็นหลักทั้งจะใช้การต่างประเทศในการส่งเสริมความเจริญมั่งคั่งทางด้านเศรษฐกิจของชาติกับให้มี
การประสานงานระหว่างหน่วยงานของรัฐและระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน เพื่อให้การดำเนินนโยบาย
มีประสิทธิภาพและเอกภาพมากยิ่งขึ้นรัฐบาลจะเคารพความตกลงที่ทำไว้กับต่างประเทศทั้งจะส่งเสริม
ให้มีการปฏิบัติตามหลักการของกฎบัตรสหประชาชาติและปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและ
ส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนาระหว่างประเทศและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของโลกรัฐบาลเน้นการ
ส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ โดยมุ่งขยายตลาดการค้าและการ
ลงทุนและเสริมสร้างความเข้าใจอันดีกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อให้เกิดประโยชน์แห่งสันติภาพเสถียรภาพ
และความก้าวหน้าในภูมิภาคนี้ ทั้งจะพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนต่อประชาชนโดยการแลกเปลี่ยน
ทางวัฒนธรรม สารนิเทศ การให้ความช่วยเหลือทางวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างกัน
อีกทั้งเสริมสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้ให้แน่นแฟ้นและใกล้ชิดยิ่งขึ้นและพัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศมหาอำนาจและประเทศคู่ค้า
ที่สำคัญในภูมิภาคต่าง ๆ โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก ภูมิภาคมหาสมุทรอินเดีย ภูมิภาค
ตะวันออกกลาง และภูมิภาคประเทศริมฝั่งแม่น้ำโขงนอกจากนั้นรัฐบาลจะดำเนินงานด้านสารนิเทศเพื่อให้
ต่างประเทศมีความเข้าใจประเทศไทยดีขึ้น โดยการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่เอกลักษณ์ วัฒนธรรมไทย
ในต่างประเทศตลอดจนเน้นการคุ้มครองดูแลสิทธิประโยชน์ของคนไทยในต่างประเทศ
๗. นโยบายสังคม
รัฐบาลกำหนดเป้าหมายการดำเนินนโยบายทางสังคมที่จะเสรมสร้างความสงบสุขและพัฒนา
คุณภาพชีวิตของคนไทยในด้านการศึกษา สุขภาพอนามัย ศีลธรรม และดำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของชาติ
โดยกำหนดนโยบาย ดังนี้
๗.๑ ความสงบเรียบร้อยในสังคม
รัฐบาลจะเร่งป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทุกประเภทโดยเฉพาะอย่างยิ่งการ
ประทุษร้ายต่อชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินของประชาชน กับทั้งจะเร่งการปราบปรามอาวุธสงคราม
และผู้มีอิทธิพลในพื้นที่อย่างจริงจังและต่อเนื่องรวมทั้งส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการป้องกัน
และปราบปรามอาชญากรรมในท้องถิ่นด้วยรัฐบาลจะป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอย่างเด็ดขาด
โดยร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการทำลายแหล่งผลิตยาเสพติดและขอความร่วมมือจากประเทศ
ที่มีผู้ใช้ยาเสพติดสูงให้ร่วมแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังขณะเดียวกันจะเน้นการรณรงค์ในกลุ่มเยาวชน
ให้ตระหนักถึงโทษของยาเสพติดทั้งในและนอกสถานการศึกษาทั้งจะให้มีการจัดหลักสูตรการศึกษา
ในเรื่องนี้ต่อไปด้วยขณะเดียวกันรัฐบาลมุ่งเน้นให้การช่วยเหลือทางกฎหมายและสร้างความเสมอภาค
ในโอกาสที่ประชาชนจะได้รับความเป็นธรรมทางกฎหมายและรัฐบาลจะนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย
มาใช้ในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาล รวมทั้งการพัฒนางานคุมประพฤติ การจัดตั้งศาลเยาวชน
และครอบครัว และศาลปกครองตลอดทั้งการให้ความปลอดภัยแก่ประชาชนที่มาศาลและข้าราชการ
ที่ปฏิบัติงานในศาลนอกจากนั้นจะส่งเสริมให้มีการระงับข้อพิพาทโดยวิธีการอนุญาโตตุลาการเพื่อ
รองรับการขยายตัวทางธุรกิจ การลงทุน และแบ่งเบาภาระคดีที่ขึ้นสู่ศาลให้ลดลงด้วย
๗.๒ การศึกษา
รัฐบาลมุ่งให้ความสำคัญต่อการเร่งขยายโอกาสการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาเพื่อ
เป็นฐานการขยายการศึกษาภาคบังคับ จาก ๖ ปี เป็น ๙ ปี ตลอดทั้งปรับปรุงหลักสูตรการเรียน
การสอนให้มีเนื้อหาสาระเหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นควบคู่ไปกับให้มีการเพิ่มพูนความรู้ผ่านระบบ
สื่อสารมวลชนต่าง ๆ
นอกจากนี้รัฐบาลมุ่งเน้นการเรียนการสอนคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์เพื่อเป็น
พื้นฐานในการส่งเสริมการผลิต และการใช้เทคโนโลยีในอนาคตและจะเร่งรัดการผลิตกำลังคน
ในสาขาวิชาชีพที่ขาดแคลนให้สามารถสนองความต้องการของตลาดแรงงานควบคู่ไปกับการ
ส่งเสริมให้สถานศึกษาได้เน้นกิจกรรมการพัฒนาด้านสุขภาพ และการออกกำลังกายแก่เด็กและ
เยาวชนให้มีพลานามัยสมบูรณ์หรือขีดความสามารถในการแข่งขันกีฬาระดับชาติและนานาชาติ
ได้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งการพัฒนาจิตใจโดยมุ่งเน้นการประพฤติปฏิบัติในทางที่ชอบที่ควรและการเห็น
แก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตนรัฐบาลจะเสริมสร้างสวัสดิการขวัญและกำลังใจครู
ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคให้มีความมั่นคงในอาชีพ โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทที่ห่างไกลขณะ
เดียวกัน รัฐบาลต้องการผ่อนคลายกฎระเบียบต่าง ๆ เพื่อเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม
ในการจัดการศึกษา โดยเฉพาะระดับมัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และอุดมศึกษารวมทั้งส่งเสริมให้มี
การระดมทรัพยากร และความร่วมมือจากแหล่งต่าง ๆ ทั้งภายในและนอกประเทศมาสนับสนุนการ
ดำเนินงานของสถาบันการศึกษาให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้นทางด้านการพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา
นั้นรัฐบาลจะกระจายและขยายโอกาสการศึกษาระดับอุดมศึกษาไปสู่ภูมิภาคและชนบทให้กว้างขวาง
ยิ่งขึ้น โดยเน้นการเสริมปัจจัยทางการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและการงานของประชาชน
อย่างต่อเนื่อง และจะพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาให้สามารถผลิตบัณฑิต การวิจัยการบริการทาง
วิชาการแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมโดยเน้นการปรับปรุงประสิทธิภาพของการ
บริหารการพัฒนาบุคลากร การระดมทรัพยากรและความร่วมมือจากแหล่งต่าง ๆ ทั้งภายในและ
นอกประเทศมาสนับสนุนการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษาและการส่งเสริมให้สถาบันอุดม
ศึกษาจัดการศึกษานานาชาติให้กว้างขวางมากขึ้นโดยเฉพาะการรับนักศึกษาจากประเทศ
เพื่อนบ้านและในภูมิภาคเข้าศึกษา
นอกจากนั้นจะเร่งรัดการผลิตและพัฒนากำลังคนในสาขาวิชาการและวิชาชีพให้สามารถ
ตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานทั้งด้านปริมาณและคุณภาพอย่างเพียงพอและสนับสนุน
การวิจัยและพัฒนาเพื่อเสริมสร้างความก้าวหน้าทางวิชาการ การนำผลไปใช้ในการพัฒนาประเทศ
และช่วยให้ประเทศไทยพึ่งตนเองทางเทคโนโลยีได้มากขึ้น
รัฐบาลจะสนับสนุนให้เอกชนมีส่วนร่วมในการจัดการอุดมศึกษามากยิ่งขึ้นรวมทั้ง
ส่งเสริมให้มีความร่วมมือและการร่วมใช้ความชำนาญการระหว่างสถาบันอุดมศึกษาทั้งของรัฐ
และเอกชน และระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับหน่วยงานภาคธุรกิจเอกชนอย่างกว้างขวางเพื่อให้
สถาบันอุดมศึกษาพึ่งตนเองได้มากขึ้น
๗.๓ สาธารณสุข
รัฐบาลยึดมั่นว่าการควบคุมและป้องกันโรคเอดส์เป็นนโยบายระดับชาติที่เร่งด่วนและ
มีความสำคัญสูงโดยจะเร่งรัดให้หน่วยงานทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องและภาคเอกชนร่วมรับผิดชอบปฏิบัติ
การป้องกันโรคเอดส์อย่างจริงจังต่อเนื่องต่อไป
รัฐบาลเน้นนโยบายการส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพแข็งแรงและมีความรู้ในการ
ป้องกันโรคและรู้จักรักษาพยาบาลเบื้องต้นด้วยตนเองโดยเร่งพัฒนาคุณภาพงานสาธารณสุข
มูลฐานในเขตชนบท และเร่งขยายงานสาธารณสุขมูลฐานในเขตเมืองมากยิ่งขึ้น
ขณะเดียวกัน รัฐบาลเน้นการปรับปรุงสถานีอนามัยในชนบทให้สามารถบริการประชาชน
โดยการเพิ่มบุคลากรด้านการแพทย์และเครื่องมือตลอดทั้งปรับปรุงโรงพยาบาลศูนย์ในส่วนภูมิภาค
ให้สามารถให้บริการแก่ประชาชนเพื่อลดความจำเป็นที่จะต้องเดินทางเข้ามารักษาพยาบาลใน
กรุงเทพมหานคร
รัฐบาลจะส่งเสริมหน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ รวมทั้งภาคเอกชนให้มีส่วนร่วมในการ
ดำเนินกิจกรรมที่ช่วยยกระดับสุขภาพอนามัยของประชาชนให้สูงขึ้น เร่งแก้ไขปัญหาทันตสาธารณสุข
ปรับปรุงการสุขศึกษา โดยใช้เทคโนโลยีทางสื่อมวลชนและการศึกษาทั้งในและนอกระบบเพื่อให้
เกิดพฤติกรรมสุขภาพที่ดีรวมทั้งการปรับปรุงมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสาธารณสุข
และปัญหาสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
รัฐบาลจะส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเพื่อการฟื้นฟูการแพทย์แผนไทยและการใช้สมุนไพร
ให้เป็นประโยชน์แพร่หลายตามความต้องการของท้องถิ่นและพัฒนาอุตสาหกรรมยาภายในประเทศ
ให้มั่นคงพึ่งตนเองได้ โดยเน้นความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพการบำบัดโรคในราคาที่เหมาะสม
และกระจายไปสู่ผู้ใช้อย่างทั่วถึง ตลอดจนส่งเสริมอุตสาหกรรมอาหาร ยา และอื่น ๆ เพื่อการส่งออก
นอกจากนี้รัฐบาลมีนโยบายเร่งปรับปรุงระบบการประกับสุขภาพที่มีอยู่ให้สอดคล้องกับ
การประกันสุขภาพตามพระราชบัญญัติประกันสังคมและให้การสงเคราะห์แก่ผู้ที่สังคมควรช่วยเหลือ
เกื้อกูล รวมทั้งเน้นการคุ้มครองผู้บริโภคทางด้านอาหารและยาด้วย
๗.๔ บริการสังคม
รัฐบาลมีนโยบายประกันสังคมไปแล้วจึงจะได้เร่งจัดตั้งหน่วยงานรองรับและปรับปรุง
กฎหมายให้มีความคล่องตัวในทางปฏิบัติด้วยขณะเดียวกันรัฐบาลจะเน้นการให้การสงเคราะห์
ผู้ที่สังคมควรช่วยเหลือเกื้อกูล โดยสนับสนุนให้สถาบันครอบครัว ชุมชนและภาคเอกชนมีบทบาท
ในการดำเนินงานให้มากขึ้นและให้มีการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีบทลงโทษผู้ล่อลวง
เด็กเยาวชน และสตรีไปเพื่อการค้าประเวณีอย่างเฉียบขาด และให้พนักงานฝ่ายปกครอง ตำรวจ
ร่วมมืออย่างใกล้ชิดและเอาจริงเอาจังในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวรัฐบาลจะเร่งพัฒนาระบบประปา
และไฟฟ้าในชนบทให้ทั่วถึง
นอกจากนี้ รัฐบาลให้ความสำคัญต่อความมั่นคงปลอดภัยในชีวิต ร่างกายและทรัพย์สิน
ของประชาชนโดยเน้นการป้องกันบรรเทาและฟื้นฟูผลกระทบอันเนื่องมาจากสาธารณภัยทั้งใน
ระดับจังหวัดและภูมิภาคควบคู่ไปกับการรณรงค์ให้ความรู้แก่ประชาชนในการป้องกันและบรรเทา
อุบัติภัย การใช้แก๊ส ไฟฟ้าในเคหะสถาน
๘. นโยบายการกระจายรายได้
รัฐบาลมีความมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาความยากจนและลดช่องว่างของรายได้โดย
กำหนดกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญ คือกลุ่มเกษตรกรรายย่อยและลูกจ้างแรงงานเกษตรที่ยากจนใน
ชนบท กลุ่มผู้ประกอบอาชีพส่วนตัวขนาดเล็กในเมือง กลุ่มผู้ใช้แรงงานและลูกจ้างที่มีรายได้ต่ำ
โดยกำหนดมาตรการที่เป็นรูปธรรม ดังนี้คือ
รัฐบาลมีนโยบายอย่างแน่นอนที่จะพยุงราคาข้าวและสินค้าเกษตรหลักโดยวิธีการ
แทรกแซงตลาดและจัดสร้างยุ้งฉาง และลานตากข้าวอย่างทั่วถึง เร่งรัดการส่งออกและทดลอง
ใช้ระบบประกันภัยพืชผลเกษตรและปศุสัตว์ ให้เชื่อมโยงกับระบบสินเชื่อการผลิตการเกษตรเพื่อ
ลดความเสี่ยงในด้านรายได้และผลผลิตการเกษตรของเกษตรกร
นอกจากนี้รัฐบาลมีนโยบายจะจัดตั้งกองทุนพิเศษเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อยที่
ยากจน และสอดส่องดูแลสวัสดิภาพของแรงงานรับจ้างในภาคเกษตรโดยเฉพาะความปลอดภัย
ในการทำงาน การให้การฝึกอบรมยกระดับฝีมือให้สามารถทำงานที่ได้ค่าจ้างสูงขึ้น
ในขณะเดียวกัน รัฐบาลจะให้ความสำคัญสูงต่อการขยายบริการการศึกษาฝึกอบรมแก่
กลุ่มที่ด้อยโอกาสในสังคม คือ กลุ่มเด็ก เยาวชน และสตรีในเขตยากจนและผู้มีความบกพร่อง
ทางร่างกายและสติปัญญาเป็นกรณีพิเศษโดยเฉพาะผู้ที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือหาประโยชน์ทาง
เศรษฐกิจอย่างไม่เป็นธรรม
สำหรับกลุ่มผู้ประกอบอาชีพส่วนตัวขนาดเล็ก กลุ่มผู้ใช้แรงงานและลูกจ้างในเขตเมืองนั้น
รัฐบาลจะส่งเสริมและสนับสนุนโอกาสของผู้ใช้แรงงานให้เข้าถึงปัจจัยการผลิตโดยพัฒนาความรู้
ฝีมือ ทักษะ เพื่อให้มีรายได้ ค่าจ้าง สภาพการทำงานที่เหมาะสม เป็นธรรมทั้งจัดให้มีสวัสดิการ
สังคมให้แก่ผู้ประกอบอาชีพและผู้ใช้แรงงานอย่างทั่วถึงรัฐบาลมีนโยบายอำนวยความสะดวก
และจัดสถานที่ให้แก่ผู้ค้าหาบเร่แผงลอยให้เป็นหลักแหล่งชัดเจน ตลอดทั้งให้ความคุ้มครอง
สอดส่องสภาพแวดล้อมการทำงานให้แก่แรงงานก่อสร้างในเขตก่อสร้างและโรงงานให้ดีขึ้นทั้ง
สภาพแวดล้อมและความปลอดภัยต่อชีวิต ควบคู่ไปกับการปรับปรุงมาตรฐานการครองชีพโดยรัฐบาล
จะเข้มงวดดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายค่าจ้างขั้นต่ำและกฎหมายความปลอดภัยในการ
ทำงาน ตลอดจนพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนแออัดในเมืองอย่างเป็นระบบรวมทั้ง
จัดบริการเคหะสงเคราะห์ให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยด้วย
รัฐบาลมุ่งที่จะสร้างความเข้มแข็งขององค์กรประชาชนในระดับตำบลและหมู่บ้านให้มี
บทบาทในการวางแผนและพัฒนาท้องถิ่นของตนเองมากขึ้นโดยพิจารณาปรับปรุงระบบการ
จัดสรรและแบ่งรายได้ที่เก็บจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติของท้องถิ่น เช่น ค่าภาคหลวง เป็นต้น
ให้กับท้องถิ่นและสนับสนุนให้องค์กรพัฒนาภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนทั้งใน
เขตเมืองและชนบทให้มากขึ้น
ท่านประธานรัฐสภาและท่านสมาชิกผู้มีเกียรติที่เคารพในการบริหารราชการแผ่นดิน
ตามนโยบายที่ได้แถลงมาข้างต้นนี้ กระผมขอให้คำมั่นว่ารัฐบาลนี้จะปฏิบัติตามนโยบายโดย
เคร่งครัดและเร่งด่วน เพื่อนำความเจริญก้าวหน้ามาสู่ประเทศชาติและความผาสุกมาสู่ประชาชน
ตามที่ได้แถลงไว้ทุกประการรัฐบาลเชื่อมั่นว่าด้วยความร่วมมือสนับสนุนจากท่านสมาชิกรัฐสภา
ผู้ทรงเกียรติ จะยิ่งเกื้อกูลให้นโยบายดังกล่าวสัมฤทธิผลได้อย่างดีและรวดเร็วยิ่งขึ้นจึงขอบคุณ
มา ณ โอกาสนี้
*รายงานการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ ๑/๒๕๓๔ (สมัยวิสามัญ)
วันพุธที่ ๙ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๓๔ หน้า ๑๙ - ๓๘ |
47 | คณะรัฐมนตรี คณะที่ ๔๗
นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี
ตั้งแต่วันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๓๔ - ๗ เมษายน ๒๕๓๕
แถลงนโยบาย เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๔ เมษายน ๒๕๓๔
คำแถลงนโยบายของรัฐบาล*
ท่านประธานนิติบัญญัติแห่งชาติและท่านสมาชิกผู้มีเกียรติ
ตามที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้กระผมเป็นนายกรัฐมนตรี ตามประกาศ
พระบรมราชโองการ ลงวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๓๔ และแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ตามประกาศ
พระบรมราชโองการ ลงวันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๓๔ นั้น บัดนี้ คณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษา
หารือกับสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติเพื่อกำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน
เรียบร้อยแล้ว จึงขอนำเรียนให้ท่านสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติผู้ทรงเกียรติได้ทราบ
ดังต่อไปนี้
นโยบายการเมือง
๑. รัฐบาลจะเทิดทูนพระมหากษัตริย์ไว้เป็นที่เคารพสักการะอันสูงยิ่ง และรักษาไว้ซึ่งสถาบัน
ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็น
ประมุขและจะดำเนินทุกวิถีทางที่จะให้บังเกิดความสุขความเจริญแก่ประชาชนทุกหมู่เหล่า
๒.สนับสนุนสภานิติบัญญัติแห่งชาติให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญให้สอดคล้องกับนโยบายข้างต้น
และปรับปรุงกฎหมายเลือกตั้ง กฎหมายพรรคการเมืองและกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องให้
สอดคล้องกับแนวทางของรัฐธรรมนูญดังกล่าว
๓.ส่งเสริมเผยแพร่ความรู้และสร้างจิตสำนึกเกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
๔.จัดให้มีและควบคุมดูแลการเลือกตั้งให้เป็นไปโดยบริสุทธิ์ยุติธรรม
นโยบายการบริหารราชการและปรับปรุงกฎหมาย
จะปรับปรุงระบบบริหารราชการและกฎหมายให้เกิดประสิทธิภาพและความคล่องตัว
ให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาประเทศ และให้เกิดผลในทางป้องกันและขจัดการทุจริต
และประพฤติมิชอบในวงราชการ โดยมีนโยบายดังนี้
๑. ดำเนินการปรับปรุงการบริหารราชการ ดังต่อไปนี้
๑.๑ วางระบบที่จะจำกัดจำนวนข้าราชการและลูกจ้าง พร้อมกับการเพิ่มรายได้และปรับปรุง
สวัสดิการ และวางมาตรการให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดขวัญกำลังใจ
๑.๒ ปรับปรุงกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และวิธีปฏิบัติราชการให้เกิดความ
รวดเร็ว สามารถกระจายอำนาจและความรับผิดชอบลงสู่ระดับล่างได้และขจัดการซ้ำซ้อน
ปรับระบบการอนุญาต การอนุมัติหรือการดำเนินการอื่นของข้าราชการและส่วนราชการให้มี
หลักเกณฑ์และระยะเวลาในการดำเนินการที่ชัดเจน พร้อมทั้งเปิดเผยหลักเกณฑ์และระยะ
เวลาดังกล่าวให้ประชาชนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องได้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ เพื่อเป็นการขจัด
ช่องทางในการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
๑.๓ ส่งเสริมให้มีมาตรการที่ได้ผลในการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
จะดำเนินการปราบปรามผู้กระทำผิดโดยเด็ดขาด และลงโทษผู้ทุจริตอย่างเข้มงวดกวดขัน
๑.๔ ปรับปรุงโครงสร้างและขั้นตอนการพิจารณาในส่วนที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล
การงบประมาณ และการวางแผนให้สอดคล้องซึ่งกันและกัน เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไป
อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
๑.๕ ปรับปรุงกฎหมายระเบียบข้อบังคับให้มีการกระจายอำนาจการบริหารราชการสู่ส่วน
ภูมิภาคและส่วนท้องถิ่นให้มากยิ่งขึ้น ทั้งในด้านการบริหารงานบุคคล การบริหารงบประมาณ
และการบริการประชาชน โดยดำเนินการจัดสรรเงินงบประมาณให้แก่จังหวัดโดยตรง
๑.๖ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ส่วนราชการใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อ
เพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติภารกิจหน้าที่ และในการให้บริการประชาชน
๒. ปรับปรุงระบบกฎหมายให้สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันและวาง
รากฐานสำหรับการพัฒนาในอนาคต โดยมีแนวทางดังนี้
๒.๑ เปลี่ยนระบบการควบคุมเป็นระบบการกำกับติดตามหรือส่งเสริม เว้นแต่กรณีจำเป็น
ที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ
๒.๒ ปรับปรุงกฎหมายที่ล้าสมัยหรือไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบันหรือที่เป็นอุปสรรค
ต่อการพัฒนาประเทศหรือการแข่งขันกันอย่างเสรี หรือที่สร้างขั้นตอนขึ้นโดยไม่จำเป็น
๒.๓ จัดให้มีกลไกในการพิจารณาปรับปรุงกฎหมายอย่างเป็นระบบต่อเนื่องและรวดเร็ว
๓. ปรับปรุงและจัดให้มีกฎหมายเพื่อส่งเสริมความเป็นธรรมในสังคม โดยจะดำเนินการออก
กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิ สวัสดิภาพเด็กและสตรีและกฎหมายคุ้มครองคนพิการ
รวมทั้งกฎหมายและระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพและสุขภาพของผู้สูงอายุ
นโยบายการป้องกันประเทศ
เพื่อให้การรักษาความมั่นคง เอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งดินแดน และผลประโยชน์
ของชาติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงกำหนดนโยบายการป้องกันประเทศ ดังนี้
๑. เสริมสร้างและพัฒนากองทัพให้มีความเข้มแข็งทันสมัย พร้อมรบและเพียงพอที่จะปฏิบัติ
ภารกิจตามความรับผิดชอบ โดยให้สอดคล้องกับสถานการณ์และฐานะทางเศรษฐกิจของ
ประเทศ
๒. ส่งเสริมการเตรียมการตามระบบการผนึกกำลังป้องกันประเทศ โดยใช้กำลังทหารกำลัง
กึ่งทหาร กำลังข้าราชการ และกำลังประชาชน ร่วมกันต่อสู้ป้องกันภัยคุกคามจากภายนอก
รักษาความสงบภายในประเทศ รวมทั้งการคุ้มครองทรัพยากรของชาติ
๓. พัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ เพื่อให้มีขีดความสามารถในการพึ่งตนเองและสนับสนุน
ส่งเสริมการวิจัยพัฒนา และการผลิตยุทโธปกรณ์ภายในประเทศ โดยร่วมมือกับส่วนราชการต่าง ๆ
ภาคเอกชน และมิตรประเทศ
๔. ปรับปรุงและส่งเสริมการสวัสดิการของทหารและครอบครัวให้ดีขึ้นและส่งเสริมการพัฒนา
กำลังพลในด้านวิชาชีพ เพื่อประโยชน์ในการประกอบอาชีพเมื่อออกจากประจำการรวมทั้ง
สงเคราะห์ทหารผ่านศึกและครอบครัวให้สามารถดำรงชีพอยู่ได้อย่างเหมาะสมและมีเกียรติ
๕. สนับสนุนและส่งเสริมบทบาทของกองทัพในการพัฒนาประเทศการปฏิบัติงานตามโครงการ
อันเนื่องมาจากพระราชดำริ การช่วยเหลือประชาชนและการบรรเทาสาธารณภัย
นโยบายต่างประเทศ
เพื่อบรรลุผลประโยชน์สูงสุดของชาติโดยยึดถือและเคารพพันธกรณีที่มีอยู่กับต่างประเทศ
ตามสนธิสัญญา และความตกลงต่าง ๆ ที่ประเทศไทยเป็นภาคี รวมทั้งกฎบัตรสหประชาชาติ และ
ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และโดยคำนึงถึงความสัมพันธ์อันดีที่มีต่ออาเซียน ประเทศ
เพื่อนบ้าน และมิตรประเทศ รวมทั้งประเทศมหาอำนาจ จึงกำหนดนโยบายต่างประเทศ ดังนี้
๑. เร่งสร้างภาพพจน์ที่ถูกต้องของประเทศไทยพร้อมกับสร้างความเชื่อมั่นแก่นานประเทศใน
ความต่อเนื่องของนโยบาย
๒. เสริมสร้างสันติภาพในภูมิภาคและความเข้าใจอันดีกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อให้เกิดเสถียรภาพ
ความมั่นคง และความเจริญรุ่งเรืองร่วมกันของภูมิภาค
๓. เพิ่มพูนความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน สังคมและวัฒนธรรมในกลุ่มประเทศ
อาเซียน
๔. พัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจ วิชาการและวัฒนธรรมกับประเทศกำลังพัฒนาโดยเฉพาะ
อย่างยิ่งกับประเทศเพื่อนบ้าน
๕. ส่งเสริมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การท่องเที่ยวและแรงงานกับมิตรประเทศ
หรือกลุ่มประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทย
๖. เพิ่มบทบาทของประเทศไทยในวงการเศรษฐกิจของโลก เพื่อสนับสนุนระบบการค้าเสรีและ
เสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
๗. คุ้มครอง ดูและสิทธิและผลประโยชน์ของคนไทยในต่างประเทศให้ได้รับการปฏิบัติอย่าง
เป็นธรรม
นโยบายเศรษฐกิจ
ในปัจจุบันเศรษฐกิจไทยมีฐานที่มั่นคงและมีโอกาสจะขยายตัวสูงต่อไปในอนาคตอย่างไร
ก็ดีก็จำเป็นที่จะต้องเร่งแก้ปัญหาที่เกิดจากการขยายตัวของเศรษฐกิจด้วยความรวดเร็วและรอบคอบ
โดยเฉพาะปัญหาการกระจายรายได้ความยากจนและความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม จึงกำหนดนโยบายไว้ดังต่อไปนี้
๑. แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจเฉพาะหน้าซึ่งเป็นความเดือดร้อนหรือมีผลกระทบต่อความเป็นอยู่และ
ปากท้องของราษฎรอย่างเร่งด่วน
๑.๑ เร่งบรรเทาความเดือดร้อนของราษฎรอันเนื่องมาจากฝนแล้งและราคาพืชผลเกษตรตกต่ำ
โดยการให้ความช่วยเหลือให้ทันต่อเวลา ด้วยการจัดสรรน้ำให้มีประสิทธิภาพซึ่งรวมถึงการจัดน้ำกิน
น้ำใช้ และน้ำเพื่อเกษตรกรรมตลอดจนเร่งรัดการป้องกันการระบาดของศัตรูพืชและจัดหาปัจจัย
การผลิตที่จำเป็นให้เกษตรกร
๑.๒ เร่งแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของผู้มีรายได้น้อยในเขตเมืองในด้านที่อยู่อาศัยโดย
จัดสรรเงินอุดหนุนเพื่อช่วยผู้มีรายได้น้อย ให้สามารถมีที่อยู่อาศัยในระดับที่ดีพอสมควรและใช้
มาตรการทางด้านผังเมืองและภาษีอากร เพื่อให้การใช้ที่ดินในเมืองมีประสิทธิภาพมากขึ้น
๑.๓ เร่งผลักดันโครงการพื้นฐานที่ได้รับการวิเคราะห์แล้วว่าเป็นโครงการที่ดีมีประโยชน์
แต่ประสบปัญหาความล่าช้าให้สามารถดำเนินการต่อไปได้อย่างรวดเร็วและเร่งทบทวนโครงการ
ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาให้รอบคอบโดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชนและประเทศชาติ
เป็นหลัก
๑.๔ สร้างความมั่นใจให้กลุ่มธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศเกี่ยวกับโอกาสในการ
ประกอบธุรกิจการค้าและการลงทุน เพื่อเร่งการสร้างงานและรายได้ให้กับประชาชน
๑.๕ ฟื้นฟูการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ตะวันออกกลางให้คืนสู่สภาพเดิม
โดยเร็ว โดยเร่งส่งเสริมภาพพจน์ที่ดีของประเทศในตลาดท่องเที่ยวต่างประเทศ
๒. ปรับปรุงระบบเศรษฐกิจให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นให้สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์เศรษฐกิจ
ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้
๒.๑ ปรับบทบาทของภาครัฐจากการควบคุมมาเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนภาคเอกชนให้มี
บทบาทสำคัญทางเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น ภายใต้ระบบเศรษฐกิจเสรีที่มีการแข่งขันโดยยุติธรรม
๒.๒ ปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบรัฐวิสาหกิจ ส่งเสริมให้มีการระดมทุนจากตลาดหลักทรัพย์
และให้ภาคเอกชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการให้บริการของรัฐวิสาหกิจมากยิ่งขึ้น
๒.๓ ปรับปรุงอัตราภาษีและค่าธรรมเนียมทางราชการต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับสากลเพื่อลดภาระ
ในการประกอบธุรกิจ อันจะช่วยให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๒.๔ ดำเนินการให้ระบบการเงินของประเทศเป็นระบบเสรีมากยิ่งขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
ของระบบการเงิน
๒.๕ ทบทวนและปรับปรุงกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เป็นอุปสรรคต่อการลงทุนและ
การประกอบธุรกิจและลดขั้นตอนการติดต่อกับหน่วยราชการในการให้บริการประชาชนและ
ภาคเอกชน
๒.๖ เสริมสร้างกลไกและขีดความสามารถของหน่วยงานของรัฐ ในการจัดระบบวิเคราะห์
ติดตามควบคุม และตรวจสอบโครงการขนาดใหญ่ เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและ
ประชาชนอย่างแท้จริง
๒.๗ ปรับปรุงกลไกและมาตรการในการส่งเสริมการส่งออก รวมทั้งกฎหมาย ระเบียบ
ข้อบังคับ ที่เป็นอุปสรรคต่อการส่งออก ตลอดจนดำเนินมาตรการที่จะลดต้นทุนการส่งออก
โดยแก้ไขโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการส่งออกและปรับปรุงระบบภาษีอากร
ให้เอื้ออำนวยต่อการส่งออกมากยิ่งขึ้น
๒.๘ จัดระบบการดำเนินการด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ โดยเฉพาะการเจรจาการค้า
ระหว่างประเทศ เพื่อรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมทางเศรษฐกิจ
๒.๙ ยกเลิกการห้ามตั้งและขยายธุรกิจการค้าและอุตสาหกรรมที่มีประกาศควบคุมอยู่ยกเว้น
ธุรกิจที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจและความปลอดภัยของประเทศหรือศีลธรรม
อันดีงามของประชาชน
๓. แก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจและปัญหาที่เป็นผลสืบเนื่องจากการขยายตัวของเศรษฐกิจ
โดยเฉพาะปัญหาการกระจายรายได้ ปัญหาสิ่งแวดล้อมและปัญหาการจราจรแออัดเพื่อยกระดับ
คุณภาพชีวิตของประชาชน โดย
๓.๑ จัดระบบการให้ความช่วยเหลือเกษตรกร ทั้งจากปัญหาภัยธรรมชาติราคาผลิตผลตกต่ำ
และปัญหาเรื่องหนี้สิน โดยการจัดระบบงบประมาณเพื่อการนี้ให้เพียงพอให้มีองค์กรรับผิดชอบ
อย่างแน่ชัด มีแผนงานและมาตรการที่รัดกุมเพื่อให้มีผลถึงมือเกษตรกรอย่างแท้จริง
๓.๒ ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตให้สอดคล้องกับทรัพยากรธรรมชาติในระดับท้องถิ่นโดย
ส่งเสริมบทบาทของเกษตรกรในการวางแผนการผลิต รวมทั้งให้มีการจัดตั้งสภาการเกษตร
แห่งชาติ เพื่อให้เกษตรกรได้มีบทบาทในการกำหนดนโยบายการผลิตให้เชื่อมโยงกับการตลาด
๓.๓ เร่งรัดการปฏิรูปที่ดินให้มีประสิทธิภาพเพื่อกระจายการถือครองและจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน
ให้แก่เกษตรกร
๓.๔ สนับสนุนให้มีการจัดหารปัจจัยการผลิต โดยเฉพาะปุ๋ย พันธุ์พืช และเคมีเกษตรที่มีคุณภาพ
ให้เพียงพอในราคาที่ยุติธรรมแก่เกษตรกร และส่งเสริมให้มีการใช้ปัจจัยการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ
๓.๕ พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการบริโภค การส่งเสริมการเกษตร การอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยว
และปรับปรุงบริหารการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
๓.๖ ส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมกับภาครัฐและประชาชนในท้องถิ่นในการพัฒนา
อุตสาหกรรมในชนบทเพื่อสนับสนุนให้เกิดการจ้างงานและการกระจายรายได้ให้กว้างขวาง
ออกไป
๓.๗ ปรับปรุงระบบโครงสร้างภาษีอากรเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมปราศจากความซ้ำซ้อน
และป้องกันการหลบเลี่ยงภาษี
๓.๘ ให้มีการส่งเสริมการลงทุนเป็นการทั่วไป และมีการส่งเสริมเป็นพิเศษสำหรับกิจการ
ที่มีความสำคัญต่อการค้าและการพัฒนาอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมในส่วนภูมิภาค
และการลงทุนที่เกี่ยวกับการช่วยเหลือประชาชนหรือแก้ไขปัญหาสังคม โดยเฉพาะปัญหาสิ่งแวดล้อม
ตลอดจนกิจการที่มีส่วนในการเพิ่มสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ
๓.๙ จัดให้มีมาตรการและกลไกในการแก้ไขปัญหาการจราจรในเมืองใหญ่อย่างมีเอกภาพ
และประสิทธิภาพ โดยจะใช้อำนาจรัฐทุกวิถีทางให้เกิดผลอย่างจริงจัง
๔. เพื่อวางรากฐานให้ระบบเศรษฐกิจมีการขยายตัวในระดับสูงอย่างต่อเนื่องและมีเสถียรภาพ
จะดำเนินการดังนี้
๔.๑ ส่งเสริมให้ประชาชนมีการออมมากขึ้น โดยพัฒนาเครื่องมือทางการเงินที่เหมาะสมและ
ส่งเสริมให้สถาบันการเงินให้บริการได้มากประเภทขึ้น ตลอดจนเร่งรัดพัฒนาตลาดหลักทรัพย์
แห่งประเทศไทยให้เป็นสถาบันที่ส่งเสริมการลงทุนและการระดมทุนของเอกชนและรัฐวิสาหกิจ
๔.๒ รักษาวินัยทางการเงินและการคลังอย่างต่อเนื่อง โดยควบคุมงบประมาณแผ่นดิน
การก่อหนี้ต่างประเทศ และปริมาณเงินในตลาดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
๔.๓ ปรับปรุงระบบการจัดสรรและเบิกจ่ายของภาครัฐให้มีความคล่องตัวและมีความรัดกุม
ในการใช้จ่ายเพื่อให้ลดต้นทุนและเกิดประโยชน์สูงสุด
นโยบายสังคม
เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ส่งเสริมคุณภาพชีวิตโดยยึดหลัดของคุณธรรมและจริยธรรม
และเร่งรัดการแก้ไขปัญหาสังคมอย่างจริงจัง เพื่อสร้างความผาสุก ความสงบเรียบร้อยในสังคม
จึงกำหนดนโยบายดังนี้
๑. เร่งรัดการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมให้ลดลง โดยเฉพาะการปราบปรามผู้มีอิทธิพล
ผู้ค้าและใช้อาวุธสงคราม นายทุนตัดต้นไม้ทำลายป่า และกลุ่มอิทธิพลที่แสวงประโยชน์จากเด็ก
สตรี คนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ประกอบอาชีพโดยสุจริต รวมทั้งปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ
อย่างจริงจัง
๒. เร่งรัดการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดให้ได้ผลโดยเร็วที่สุด โดยใช้อำนาจที่มีอยู่ตาม
กฎหมายอย่างเต็มที่ในการปราบปรามการผลิต การค้าและการบริโภคยาเสพติด ปรับปรุงกฎหมาย
และการบังคับใช้กฎหมายให้บังเกิดผลอย่างแท้จริง รวมทั้งการร่วมมือกับสหประชาชาติและมิตร
ประเทศอย่างใกล้ชิดนอกจากนี้จะดำเนินการกวดขันการใช้ยากระตุ้นประสาทอย่างเข้มงวดและเร่ง
ปราบปรามจับกุมผู้ผลิตและผู้ขายที่ผิดกฎหมายอย่างเด็ดขาด
๓. เสริมสร้างระบบการคุ้มครองผู้บริโภคให้เกิดเอกภาพและเกิดมีความร่วมมือในระหว่างส่วน
ราชการด้วยกัน เพื่อเป็นหลักประกันที่จะสร้างความเป็นธรรมให้แก่ประชาชนได้อย่างแท้จริง
๔. สนับสนุนให้ประชาชนและกลุ่มอาสาสมัครได้เข้ามามีส่วนร่วมสนับสนุนช่วยเหลือเจ้าหน้าที่
ตำรวจและฝ่ายปกครองในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม และจัดให้มีการนำวิทยากร
และเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการรวบรวมข่าวสารข้อมูลด้านอาชญากรรมระหว่างส่วนกลาง
กับส่วนภูมิภาค
๕. สนับสนุนองค์กรสาธารณประโยชน์ให้มีบทบาทและมีส่วนร่วมในการดำเนินการที่เป็นประโยชน์
ต่อสาธารณชน โดยปรับปรุงกฎระเบียบและภาษีอากรที่เกี่ยวข้อง
๖. จัดให้มีระบบป้องกันอุบัติภัยและบรรเทาสาธารณภัยให้มีความพร้อมที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
ได้อย่างรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์
๗. เร่งรัดควบคุมป้องกันโรคติดต่อโดยเฉพาะโรคเอดส์ให้ได้ผล และร่วมมือกับภาคเอกชนและ
องค์กรสาธารณประโยชน์ในการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตระหนักในภัยของโรคและเกิด
จิตสำนึกว่าเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องร่วมกันป้องกันและแก้ไขปัญหานี้
๘. ปรับปรุงประสิทธิภาพและคุณภาพของการบริการสาธารณสุขให้สามารถตอบสนองความต้องการ
ของประชาชนได้อย่างทั่วถึง โดยดำเนินการดังนี้
๘.๑ ยกระดับขีดความสามารถของสถานบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยเฉพาะใน
ระดับตำบลและอำเภอ เพื่อลดความแออัดของโรงพยาบาลใหญ่ในเมือง โดยดำเนินการแก้ไข
การขาดแคลนแพทย์ และพัฒนาประสิทธิภาพการส่งต่อผู้ป่วย
๘.๒ เร่งสร้างหลักประกันสำหรับบริการสุขภาพแก่ประชาชน ให้การสงเคราะห์ผู้มีรายได้น้อย
ผู้ที่สังคมควรช่วยเหลือเกื้อกูล และผู้สูงอายุ
๙. ปรับปรุงระบบการศึกษาให้สามารถพัฒนาศักยภาพมนุษย์ รวมทั้งด้านจริยธรรมและคุณธรรม
เพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศ โดยมีแนวทางดังนี้
๙.๑ เร่งขยายโอกาสและบริการทางการศึกษาในและนอกระบบให้กว้างขวางและทั่วถึง
เพื่อยกระดับการศึกษาพื้นฐานให้ถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเป็นอย่างต่ำรวมทั้งขยายการศึกษา
ปฐมวัยในชนบทเพิ่มขึ้น
๙.๒ พัฒนาระบบบริหารสถาบันอุดมศึกษาของรัฐให้มีความเป็นอิสระคล่องตัว มีประสิทธิภาพ
และประสิทธิผลมากขึ้น ตลอดจนให้มีการร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชนทั้ง
ภายในและภายนอกประเทศ และระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับภาคธุรกิจเอกชนให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
๙.๓ วางมาตรการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนอาจารย์ที่มีคุณภาพโดยเฉพาะในสาขาวิชาที่มี
ความต้องการสูง
๙.๔ เร่งรัดการศึกษาและการฝึกอบรมด้านอาชีพทั้งในและนอกระบบโรงเรียนเพื่อแก้ปัญหา
การขาดแคลนแรงงานฝีมือที่จะสนับสนุนการพัฒนาประเทศ
๙.๕ พัฒนาหน่วยงานทางการศึกษาในส่วนกลางส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่นให้มีความ
คล่องตัวในการบริหารการศึกษา การศาสนา และการวัฒนธรรม
๑๐ เร่งปรับปรุงกฎหมายประกันสังคมให้มีความชัดเจน เกิดความเป็นธรรมมีความคล่องตัว
ในการปฏิบัติ และมีผลเป็นการสนับสนุนด้านสวัสดิการแก่พนักงานลูกจ้าง
๑๑. เร่งรัดให้มีการประกาศใช้ปฏิญญาเพื่อเด็กและส่งเสริมสถาบันครอบครัว โดยเน้นการเตรียม
ความพร้อมของคู่สมรสก่อนมีบุตร และความรับผิดชอบในครอบครัวของบิดามารดา
นโยบายการยุติธรรม
๑. เร่งรัดการอำนวยความยุติธรรมของศาลให้เป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็วอย่างทั่วถึงและมี
ประสิทธิภาพ โดยปรับปรุงขบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับภาวะสังคมในปัจจุบัน
๒. ดำรงอำนาจอิสระของศาลในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี โดยแยกการบริหารงานฝ่าย
ตุลาการออกจากฝ่ายบริหาร และแยกศาลเป็นสถาบันอิสระเพื่อเป็นหลักประกันความยุติธรรม
แก่ประชาชน และเกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
นโยบายทรัพยากรธรรมชาติ พลังงานและสิ่งแวดล้อม
เพื่อฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมโทรม อนุรักษ์และพัฒนาการใช้พลังงานและป้องกัน
แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม จึงกำหนดนโยบาย ดังนี้
๑. อนุรักษ์และป้องกันการทำลายทรัพยากรธรรมชาติทั้งในด้านป่าไม้ ที่ดินแหล่งน้ำและทรัพยากร
อื่น ๆ โดยเสริมสร้างขีดความสามารถของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและสนับสนุนใหชุมชนมีบทบาท
โดยตรงในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
๒. เร่งรัดการสำรวจ ผลิตจัดหาพลังงานให้พอเพียงและวางมาตรการจูงใจให้มีการใช้พลังงาน
อย่างประหยัด คุ้มค่ามีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
๓. ปรับปรุงกฎหมายให้หน่วยงานของรัฐมีอำนาจหน้าที่อย่างแท้จริงที่จะกำกับดูแลให้มีการปฏิบัติ
ตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับว่าด้วยการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและพัฒนาสิ่งแวดล้อมรวมทั้งประชาสัมพันธ์
รณรงค์ให้ประชาชนตื่นตัวมีความรับผิดชอบและมีบทบาทสำคัญในการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมเพื่อ
เสริมสร้างคุณภาพชีวิตตลอดจนเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมร่วมกับรัฐ
๔. พัฒนาระบบบริหารการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นโดยจัดให้มีหน่วยงาน
รับผิดชอบอย่างครบวงจร ทั้งในด้านการวิจัยและการกำหนดมาตรฐานสิ่งแวดล้อมและด้านการกำกับให้มี
การปฏิบัติตามมาตรฐานอย่างจริงจังดำเนินการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมและคุณภาพชีวิต
โดยกำหนดให้ผู้มีส่วนทำลายสิ่งแวดล้อมต้องร่วมรับภาระในการจัดตั้งกองทุนดังกล่าว
๕. เร่งรัดแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนโดยเฉพาะปัญหามลภาวะ
ในด้านน้ำ อากาศ เสียง การกำจัดสิ่งปฏิกูลและการของเสียจากชุมชน โรงงานอุตสาหกรรมและสถาน
ประกอบธุรกิจต่าง ๆ ในกรณีสำคัญและจำเป็นรัฐจะเป็นผู้ดำเนินการแก้ไขปัญหามลภาวะของโรงงาน
อุตสาหกรรมโดยให้โรงงานที่มีส่วนทำลายสิ่งแวดล้อมต้องรับผิดชอบทางการเงินในการแก้ไขปัญหา
ดังกล่าว
๖. ป้องกันอันตรายจากสารพิษและวัตถุอันตรายโดยปรับปรุงระบบควบคุมตั้งแต่การขนส่ง
การเก็บรักษา การใช้และการกำจัดรวมทั้งเร่งรัดให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดและ
รณรงค์ให้ชุมชนและองค์กรเอกชนมีบทบาทร่วมในการควบคุม
นโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจและขีดความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศ
ในอนาคต จึงกำหนดนโยบายดังนี้
๑. เร่งรัดการพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งในแง่ปริมาณและคุณภาพโดย
จัดให้มีทุนการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และด้านการวิจัยเพิ่มขึ้น
๒.จัดให้มีกลไกสนับสนุนความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชนในการพัฒนาวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี เช่น การจัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และองค์กรประเมินเทคโนโลยี
๓.จัดให้มีระบบสิ่งจูงใจต่อการพัฒนาและการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ทันสมัยและ
เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยปรับโครงสร้างภาษีให้เอื้อต่อการนำเข้าและการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่
ตลอดจนใช้มาตรการสิ่งจูงใจทางการเงินและการคลัง เพื่อสนับสนุนการวิจัยของภาคเอกชน
๔. ปรับปรุงโครงสร้างและพัฒนากลไกเพื่อประสานงานระหว่างองค์กรรับผิดชอบการวิจัยและ
พัฒนา และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการพัฒนาประเทศ
ท่านประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติและท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรตินโยบายที่ได้แถลงมานี้
อาจยังไม่ได้ครอบคลุมทุกประเด็นแต่โดยที่รัฐบาลนี้มีเวลาในการบริหารราชการแผ่นดินอย่างจำกัด
รัฐบาลจึงจำเป็นต้องกำหนดนโยบายเฉพาะในส่วนที่เห็นว่าเป็นความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องรีบ
ดำเนินการเพื่อให้เกิดรากฐานที่ดีในอนาคตและขจัดปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศและ
การบริการประชาชนให้หมดสิ้นไป สำหรับในเรื่องใดที่มิได้ระบุไว้ในนโยบายนี้รัฐบาลจะดำเนินการ
ไปตามแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยเร่งรัดให้หน่วยราชการต่าง ๆ ปฏิบัติหน้าที่
ต่อไปตามแผนงานปกติที่มีอยู่แล้ว
โดยเจตนารมณ์และความมุ่งมั่นดังกล่าว กระผมหวังว่าสภานิติบัญญัติแห่งชาติจะให้
การสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลด้วยดี เพื่อรัฐบาลจะสามารถบริหารประเทศไปด้วยความราบรื่น
เสริมสร้างความเจริญก้าวหน้าแก่ประเทศชาติและอำนวยความผาสุกให้แก่ประชาชนอันเป็นปณิธาน
ร่วมกันทั้งของสภานิติบัญญัติแห่งชาติและของรัฐบาลสืบไป
*รายงานการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ ๒/๒๕๓๔
วันพฤหัสบดีที่ ๔ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๓๔ หน้า ๒๓ - ๓๗ |
48 | คณะรัฐมนตรี คณะที่ ๔๘
พลเอก สุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรี
ตั้งแต่วันที่ ๗ เมษายน ๒๕๓๕ - ๑๐ มิถุนายน ๒๕๓๕
แถลงนโยบาย เมื่อวันพุธที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๓๕
คำแถลงนโยบายของรัฐบาล*
ท่านประธานรัฐสภาและท่านสมาชิกผู้มีเกียรติ
ตามที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้กระผมเป็นนายกรัฐมนตรี
ตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๓๕ และแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี
ตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๓๕ นั้น บัดนี้คณะรัฐมนตรี
ได้กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินเรียบร้อยแล้วจึงขอนำเรียนให้ท่านสมาชิก
ผู้มีเกียรติได้ทราบถึงนโยบายและเจตนารมณ์ในการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล
กระผมขอกราบเรียนในเบื้องต้นว่านโยบายนี้ได้กำหนดขึ้นเพื่อประโยชน์ในการสร้าง
ความผาสุก ความมั่งคั่ง และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ให้แก่ประชาชน
และประเทศชาติสืบไป โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
๑. นโยบายการเมือง
รัฐบาลมีเจตนารมณ์ที่จะพัฒนาระบบการเมืองให้มีความมั่นคงเพื่อประโยชน์
ของประชาชนเป็นส่วนรวมโดยให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกหมู่เหล่า
ในทุกระดับ ทั้งนี้ ภายใต้กฎเกณฑ์ของรัฐธรรมนูญและการปกครองระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยมีนโยบายดังต่อไปนี้
๑.๑ เทิดทูนพระมหากษัตริย์ไว้เป็นที่เคารพสักการะอันสูงยิ่งและรักษาไว้ซึ่งสถาบันชาติ
ศาสนา พระมหากษัตริย์และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น
ประมุข
๑.๒ นับสนุนการพัฒนาพรรคการเมืองให้มีบทบาทในฐานะเป็นองค์กรหลักในการพัฒนา
การปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตลอดจนสร้างจิตสำนึก
ในหน้าที่ของชนชาวไทยที่มีตามรัฐธรรมนูญ ทั้งจะสนับสนุนให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมทางการเมือง
ในระดับชาติและระดับท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น
๑.๓ จัดให้มีการกระจายอำนาจการปกครองสู่ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่นให้เป็นไปอย่าง
มีระบบและเหมาะสมกับสภาวะของแต่ละท้องที่ทั้งจะรีบเร่งพัฒาระบบการบริหารงานบุคคล
ระบบการจัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องต่อกันเพื่อรองรับการกระจายอำนาจดังกล่าว
๑.๔ สนับสนุนและส่งเสริมให้สื่อมวลชนมีเสรีภาพในการเสนอข่าวสารได้อย่างรวดเร็วและ
ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง
๒. นโยบายการบริหารราชการและการปรับปรุงกฎหมาย
รัฐบาลมีความมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนแนวความคิดจากการบริหารราชการในลักษณะของการ
ควบคุม มาเป็นการบริหารราชการในเชิงกำกับดูแล ส่งเสริมสนับสนุนและตอบสนองต่อการพัฒนา
ประเทศ โดยมีนโยบายดังนี้
๒.๑ ดำเนินการปรับปรุงการบริหารราชการ ดังต่อไปนี้
๒.๑.๑ ปรับทัศนคติของข้าราชการให้รับฟังความคิดเห็นของประชาชน อุทิศตนแก่
ราชการและมุ่งปฏิบัติราชการเพื่อประโยชน์ของประชาชนเป็นส่วนรวมให้มากขึ้น
๒.๑.๒ ปรับปรุงระบบการทำงานของราชการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการ
ประชาชน ให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยขจัดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นสามารถ
กระจายอำนาจและความรับผิดชอบลงสู่ระดับล่างได้และขจัดการซ้ำซ้อน ปรับระบบการอนุญาตการอนุมัติ
หรือการดำเนินการอื่นของข้าราชการและส่วนราชการให้มีหลักเกณฑ์การพิจารณากรอบกำหนด
แนวทางการใช้ดุลพินิจและระยะเวลาในการดำเนินการที่ชัดเจน โดยให้เปิดเผยหลักเกณฑ์และ
ระยะเวลาดังกล่าวให้ประชาชนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องได้ทราบล่วงหน้า ตลอดจนปรับปรุงโครงสร้าง
และขั้นตอนการพิจารณาในส่วนที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การบริหารงบประมาณและการ
วางแผนให้สอดคล้องซึ่งกันและกัน เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
๒.๑.๓ ปรับปรุงให้กระทรวง ทบวง กำหนดนโยบายแผนงานให้ชัดเจนและสอดคล้อง
กับนโยบายของรัฐบาลและแผนพัฒนาของประเทศ รวมตลอดทั้งให้มีระบบการติดตามเร่งรัดและ
การประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างมีประสิทธิภาพ
๒.๑.๔ เร่งรัดให้ส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ ขยายการบริการประชาชนไปสู่
ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่นได้มากยิ่งขึ้น รวมตลอดทั้งให้นำเทคโนโลยีสมัยใหม่ในทุก ๆ ด้าน
ทั้งทางสารสนเทศและอื่น ๆ มาใช้ เพื่อให้การปฏิบัติราชการเป็นไปอย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ
ตอบสนองต่อภารกิจหน้าที่ของรัฐและความต้องการของประชาชนได้อย่างสะดวกและทั่วถึง
๒.๑.๕ สร้างขวัญและกำลังใจแก่ข้าราชการโดยการปรับค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์
ที่เหมาะกับสถานภาพ และสอดคล้องกับค่าครองชีพให้มีระบบสวัสดิการที่เหมาะสมมีสิ่งแวดล้อม
ในการทำงานที่ได้มาตรฐานตลอดจนยึดหลักระบบคุณธรรมในการพิจารณาให้บำเหน็จความชอบ
และการเลื่อนตำแหน่งในระบบราชการ เพื่อให้สามารถสรรหาและรักษาข้าราชการที่มีคุณภาพไว้ได้
๒.๑.๖ ส่งเสริมให้มีมาตรการที่ได้ผลในการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบในวง
ราชการ และดำเนินการปราบปรามผู้กระทำผิดอย่างเข้มงวดและได้ผลจริงจัง
๒.๑.๗ ส่งเสริมและจัดระบบงานยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น โดยมุ่งเน้นการ
อำนวยความยุติธรรมให้รวดเร็ว และจัดตั้งศาลเพิ่มมากขึ้น
๒.๒ ปรับปรุงกฎหมายให้ทันสมัยสอดคล้องต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้เกิดความ
เป็นธรรมในสังคม และสอดคล้องกับนโยบายในการเปลี่ยนบทบาทของราชการจากการควบคุม
มาเป็นการกำกับดูและส่งเสริมและสนับสนุน โดยจะสนับสนุนให้สถาบันทางการศึกษา และการวิจัย
และนักวิชาการต่าง ๆ ตลอดจนสาธารณชนได้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นเพื่อเสนอแนะด้วย
๓. นโยบายการกระจายการพัฒนาและสร้างความเป็นธรรมในสังคม
รัฐบาลมุ่งมั่นที่จะพัฒนาชนบทเพื่อกระจายรายได้และแก้ไขปัญหาความยากจนของ
ประชาชนให้เกิดผลอย่างจริงจัง โดยมีนโยบายดังต่อไปนี้
๓.๑ ด้านการพัฒนาชนบท
๓.๑.๑ กระจายการให้บริการประชาชนให้เกิดความรวดเร็วและกว้างขวางยิ่งขึ้น
๓.๑.๒ กระจายอำนาจการบริหารและงบประมาณไปสู่ส่วนภูมิภาคเพื่อให้จังหวัดมี
บทบาทในการริเริ่มโครงการพัฒนาของจังหวัดให้เหมาะสมกับความจำเป็นและความต้องการ
ของประชาชนในพื้นที่
๓.๑.๓ สนับสนุนให้ท้องถิ่นมีรายได้เพิ่มขึ้นโดยพัฒนาขีดความสามารถในการ
จัดเก็บรายได้ของส่วนท้องถิ่นปรับปรุงโครงสร้างระบบภาษีท้องถิ่นและกระจายรายได้ของรัฐ
ให้ท้องถิ่นมากขึ้น
๓.๑.๔ พัฒนาสภาตำบลให้มีขีดความสามารถสูงขึ้นและสามารถเป็นองค์กรที่ช่วยเหลือ
ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นรากฐานในการเปลี่ยนเป็นนิติบุคคลได้เมื่อมีความพร้อม
๓.๑.๕ เร่งรัดพัฒนาอาชีพเสริมที่สามารถทำได้ทั้งในและนอกฤดูการเกษตรเพื่อเพิ่ม
รายได้ของชาวชนบทให้สูงขึ้น
๓.๑.๖ สนับสนุนให้บริการด้านเทคโนโลยีและการตลาดที่เหมาะสมเพื่อให้ประชาชน
สามารถผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและจำหน่ายผลผลิตได้โดยสะดวกและได้ราคาที่เป็นธรรม
๓.๑.๗ เร่งรัดการกระจายบริการพื้นฐาน เช่น ถนน ไฟฟ้า แหล่งน้ำเพื่อการอุปโภค
บริโภค และการสาธารณสุขพื้นฐาน เป็นต้นเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวชนบทให้ได้มาตรฐาน
ทั่วถึง
๓.๑.๘ ส่งเสริมและสนับสนุนการให้บริการสินเชื่อสำหรับเกษตรกรเพื่อใช้ในกิจกรรม
อื่น ๆ นอกเหนือจากการเกษตร
๓.๑.๙ จัดที่ทำกินให้แก่เกษตรกรซึ่งไร้ที่ทำกินโดยการใช้การปฏิรูปที่ดินหรือวิธีการอื่น
และเร่งรัดการออกเอกสารสิทธิให้แก่ประชาชนผู้มีสิทธิในที่ดินแต่ยังไม่มีเอกสารสิทธิ
๓.๑.๑๐ ปรับปรุงมาตรการและวิธีการที่เกี่ยวข้องกับการจัดที่ดินทำกินให้ราษฎรเพื่อให้เกิด
ความเป็นธรรมในสังคมและมิให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนโดยเฉพาะราษฎรที่เข้าไปอยู่อาศัย
ในพื้นที่ดังกล่าวอยู่แล้ว
๓.๒ ด้านการพัฒนาชุมชนสำหรับผู้มีรายได้น้อยในเขตเมือง
๓.๒.๑ พัฒนาบริการที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้องในเขตเมือง ตลอดจนบริการสาธารณูปโภค
สาธารณูปการที่เกี่ยวข้องให้ได้มาตรฐานที่เหมาะสมโดยทั่วถึง
๓.๒.๒ ส่งเสริมและร่วมมือกับภาคเอกชนในการฝึกอบรมทักษะฝีมือแรงงานที่ขาดแคลน
เพื่อเพิ่มโอกาสทางเลือกในการประกอบอาชีพ และเพิ่มพูนรายได้โดยจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุน
การพัฒนาอาชีพผู้มีรายได้น้อยในเขตเมืองให้สามารถช่วยตัวเองได้ตลอดจนจัดให้มีบริการด้านสุขภาพ
อนามัยและการศึกษาอย่างทั่วถึง
๔. นโยบายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
รัฐบาลมีนโยบายอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
โดยจะดำเนินการดังนี้
๔.๑ การอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ
๔.๑.๑ อนุรักษ์ คุ้มครอง และป้องกันการทำลายทรัพยากรธรรมชาติทั้งที่ดิน ป่าไม้และ
ทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ โดยจะใช้อำนาจที่มีอยู่ตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดและให้ประชาชน
ในพื้นที่มีบทบาทในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้มากยิ่งขึ้น
๔.๑.๒ ดูแลการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีเหตุผลเพื่อให้เกิดประโยชน์ทั้งทางด้าน
เศรษฐกิจนันทนาการและการอนุรักษ์ควบคู่กันไปอย่างเหมาะสม
๔.๑.๓ เร่งสร้างจิตสำนึกของประชาชนโดยเฉพาะเยาวชนให้เห็นถึงความสำคัญของการ
อนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติตลอดจนกระตุ้นให้เข้ามามีบทบาทและส่วนร่วมในการ
ดำเนินการดังกล่าว
๔.๑.๔ อนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมประมงในน่านน้ำไทยเพื่อประโยชน์ในด้านเศรษฐกิจ
และสิ่งแวดล้อม
๔.๒ การอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรน้ำ
๔.๒.๑ รัฐบาลจะจัดทำแผนแม่บทสำหรับการอนุรักษ์และการพัฒนาทรัพยากรน้ำและ
การบริหารน้ำอย่างเป็นระบบ ให้มีน้ำใช้อย่างเพียงพอสำหรับการอุปโภคบริโภค การอุตสาหกรรม
การเกษตรและเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี โดยคำนึงถึงการพัฒนาระบบนิเวศวิทยา การอนุรักษ์และพัฒนา
ป่าไม้ต้นน้ำลำธารควบคู่กันไป พร้อมทั้งสนับสนุนให้องค์กรประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการ
พัฒนา บริหารและบำรุงรักษา
๔.๒.๒ ร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อประโยชน์ร่วมกันของภูมิภาค
๔.๒.๓ สนับสนุนส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีบทบาทในการจัดหาน้ำเพื่อการอุตสาหกรรมมากขึ้น
๔.๒.๔ จัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้น้ำที่มิใช่เพื่อการเกษตรในอัตราที่เหมาะสมคุ้มกับการ
ลงทุนและเพื่อให้เกิดการประหยัดในการใช้น้ำ
๔.๓ การอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรป่าไม้
๔.๓.๑ ให้ความสำคัญในการดูแลรักษาพื้นที่ป่าอนุรักษ์และป่าต้นน้ำลำธารโดยจะกวดขัน
ให้เจ้าหน้าที่ควบคุมดูแลอย่างเข้มงวดและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น ภาพถ่าย
ทางดาวเทียมในการควบคุมดูแลทั้งจะเร่งรัดประกาศพื้นที่อุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
ในพื้นที่ป่าที่ยังสมบูรณ์เพิ่มขึ้นโดยเร็ว
๔.๓.๒ ดำเนินการสำรวจเพื่อจำแนกพื้นที่ป่าออกเป็นป่าอนุรักษ์และป่าเศรษฐกิจให้
เสร็จสมบูรณ์โดยเร่งด่วน และนำผลจากการสำรวจมาใช้ประโยชน์ให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริง
๔.๓.๓ สนับสนุนการปลูกป่าของเกษตรกรเพื่อเพิ่มจำนวนพื้นที่ป่าให้มากขึ้น
๔.๓.๔ ส่งเสริมและสนับสนุนให้เอกชนปลูกสร้างสวนป่าเพื่อประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ
และการรักษาความชุ่มชื้น
๔.๓.๕ อนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ชายเลนทั้งจะหามาตรการป้องกันและปราบปราม
ผู้บุกรุกป่าชายเลน
๔.๔ การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติที่เกี่ยวกับพลังงาน
๔.๔.๑ เร่งรัดการสำรวจ ผลิตและจัดหารแหล่งพลังงานทั้งในและต่างประเทศที่เหมาะสม
ให้เพียงพอ ควบคู่ไปกับมาตรการรณรงค์ให้ประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
๔.๔.๒ ร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและแหล่งพลังงาน
เพื่อประโยชน์ร่วมกันของภูมิภาค
๔.๕ การแก้ไขปัญหามลพิษและสิ่งแวดล้อม
๔.๕.๑ เร่งรัดแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนโดยเฉพาะ
ปัญหามลพิษในด้านน้ำ อากาศ เสียง การกำจัดสิ่งปฏิกูลและกากของเสียจากชุมชน โรงงาน
อุตสาหกรรมและสถานประกอบธุรกิจต่าง ๆ ตลอดจนขยะติดเชื้อของโรงพยาบาลโดยมีหลักการให้
ธุรกิจหรือเอกชนที่มีส่วนทำลายสิ่งแวดล้อมต้องรับผิดชอบทางการเงินในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
อย่างเป็นธรรม
๔.๕.๒ ป้องกันอันตรายจากสารพิษและวัตถุอันตราย โดยปรับปรุงระบบควบคุมตั้งแต่การ
ขนส่ง การเก็บรักษา และการกำจัด รวมทั้งควบคุมตั้งแต่การขนส่ง และการกำจัดรวมทั้งควบคุมให้มี
การปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด
๔.๕.๓ เร่งสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนตระหนักถึงภัยอันตรายอันเกิดจากปัญหามลพิษ
และสิ่งแวดล้อมและสนับสนุนบทบาทของชุมชนและองค์กรพัฒนาเอกชนให้มีส่วนร่วมในการแก้ไข
ปัญหาดังกล่าวร่วมกับภาครัฐ
๕. นโยบายด้านพัฒนาการเกษตร
โดยที่รัฐตระหนักดีว่าภาคการเกษตรเป็นภาคที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจส่วนรวมและ
ประเทศไทยอยู่ในฐานะที่จะแข่งขันกับต่างประเทศได้แต่เกษตรกรซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของ
ประเทศยังมีฐานะยากจน เนื่องจากมีต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ทีเทคโนโลยีต่ำ ผลผลิตและรายได้
จากการขายผลผลิตไม่แน่นอน รัฐจึงมีนโยบายให้ภาคการเกษตรเป็นยุทธศาสตร์หลักในการพัฒนา
ประเทศ โดยจะให้ความเอาใจใส่และมีมาตรการในการฟื้นฟูภาคการเกษตรอย่างต่อเนื่องและมี
ประสิทธิภาพดังนี้
๕.๑ นโยบายด้านการผลิต
๕.๑.๑ สนับสนุนเกษตรกรให้ปรับโครงสร้างการผลิต รวมทั้งการเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์และ
การประมง ให้เหมาะสมกับสภาพแต่ละพื้นที่และความต้องการของตลาด
๕.๑.๒ ให้ความสำคัญกับการปรับปรุงบำรุงดินเป็นนโยบายสำคัญในการพัฒนาการเกษตร
โดยจะเน้นบทบาทของรัฐในการลงทุนเพื่อสนับสนุนการปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรีย์วัตถุและ
ปุ๋ยชีวภาพ
๕.๑.๓ จะลงทุนเพื่อสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาวิธีการกำจัดศัตรูพืชด้วยวิธีธรรมชาติและจะ
ส่งเสริมตลอดจนถ่ายทอดเทคโนโลยีดังกล่าวให้แก่เกษตรกรเพื่อให้เกษตรกรไม่ต้องพึ่งพาสารเคมี
แต่เพียงทางเดียว
๕.๑.๔ ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรใช้พันธุ์พืชที่ให้ผลผลิตสูงและมีความต้านทานโรค
และศัตรูพืช จัดหาปัจจัยการผลิตรวมทั้งพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์และปุ๋ยให้เกษตรกรตามความจำเป็น
เหมาะสมและทันต่อฤดูกาล ตลอดจนจัดให้มีข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นต่อการผลิตและการตลาด
๕.๑.๕ เน้นขยายสินเชื่อการเกษตรระยะยาวเพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรสามารถฟื้นฟูระบบ
การเกษตรได้อย่างกว้างขวางและมีประสิทธิภาพรวมทั้งสนับสนุนธนาคารเพื่อการเกษตรและ
สหกรณ์การเกษตร ในการขยายสินเชื่อให้แก่เกษตรกรรายย่อยและยากจนภายใต้เงื่อนไขผ่อนปรน
๕.๑.๖ จัดสรรเงินเข้ากองทุนที่ดินเพิ่มขึ้น เพื่อให้สามารถช่วยเหลือเกษตรกรผู้ไร้ที่ทำกินให้
มีที่ดินทำกินเป็นของตนเองได้อย่างทั่วถึงและมีเป้าหมายที่จะดำเนินการเปลี่ยนสถานภาพ
กองทุนที่ดินดังกล่าวให้เป็นธนาคารที่ดินต่อไป
๕.๒ นโยบายด้านการตลาด
๕.๒.๑ พัฒนาระบบตลาดสินค้าเกษตรภายในประเทศให้เกษตรกรมีโอกาสเลือกในการขยาย
ผลผลิตทางการเกษตรโดยไม่ผ่านคนกลางโดยการจัดตั้งตลาดกลางสินค้าเกษตรในระดับท้องถิ่นอย่าง
กว้างขวาง
๕.๒.๒ ดูแลเกษตรกรซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศให้ได้รับผลตอบแทนจากการขาย
ผลผลิตทางการเกษตรในราคาที่เป็นธรรมโดยการแทรกแซงราคาหรือใช้มาตรการอื่นใดที่เหมาะสม
กับสภาวะของผลผลิตและสภาวะทางราคา
๕.๒.๓ สนับสนุนการรวมกลุ่มของเกษตรกรให้มีความเข้มแข็งยิ่งขึ้นเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองและ
ดำเนินกิจกรรมตามวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๕.๒.๔ ขยายกองรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรเพิ่มขึ้นให้เหมาะสมและกำกับดูแลการใช้เงิน
กองทุนให้เกิดประโยชน์โดยตรงต่อเกษตรกร
๕.๓ นโยบายส่งเสริมการเพิ่มพูนรายได้
๕.๓.๑ กระจายอุตสาหกรรมการเกษตรให้กว้างขวาง เพื่อรองรับวัตถุดิบทางการเกษตรซึ่ง
จะช่วยให้เกษตรกรมีทางเลือกในการผลิตผลผลิตทางการเกษตรกว้างขวางขึ้นและมีปลักประกันใน
เรื่องราคาและแหล่งรับซื้อตามสมควร โดยสนับสนุนให้มีโรงงานแปรรูปผลผลิตสินค้าเกษตรในท้องถิ่น
๕.๓.๒ สนับสนุนให้เกษตรกรมีทางเลือกในการประกอบอาชีพมากขึ้นเพื่อเพิ่มโอกาสในการ
เพิ่มรายได้ของเกษตร ตลอดจนให้เกษตรกรมีงานทำตลอดปีและสามารถเพิ่มรายได้จากการใช้ทีดิน
๕.๓.๓ สนับสนุนให้เกษตรกรทำเกษตรกรรมในลักษณะไร่นาสวนผสมเพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้น
๖. นโยบายเศรษฐกิจ
รัฐบาลยึดมั่นในระบบเศรษฐกิจเสรีและเน้นการรักษาเสถียรภาพและวินัยทางการเงิน การคลัง
เป็นเป้าหมายหลักควบคู่ไปกับการกระจายรายได้ในประเทศ สร้างความเป็นธรรมในสังคม ตลอดจน
การพัฒนาคุณภาพชีวิตและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม นอกจากนั้นจะให้ความสำคัญแก่การเร่งพัฒนา
ขีดความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศ เพื่อให้เศรษฐกิจไทยสามารถขยายตัวโดยต่อเนื่อง
และมุ่งที่จะสร้างประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางของภูมิภาคในด้านเศรษฐกิจ โดยมีนโยบายดังต่อไปนี้
๖.๑ ดำเนินนโยบายการเงินอย่างระมัดระวังเพื่อป้องกันภาวะเงินเฟ้อและการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด
เพื่อมิให้เกิดผลเสียต่อการพัฒนาประเทศและฐานะการครองชีพของประชาชน
๖.๒ ปรับปรุงสมรรถภาพความพร้อมขององค์กรภาครัฐ และเอกชนต่าง ๆ ในระบบเศรษฐกิจ ให้
พร้อมที่จะปรับตัวให้สามารถแข่งขันกับนานาประเทศภายใต้สภาพแวดล้อมของโลกที่เปลี่ยนแปลง
อย่างรวดเร็ว
๖.๓ ปรับระบบเศรษฐกิจของประเทศให้มีภูมิคุ้มกันและขีดความสามารถที่จะขยายตัวเชื่อมโยง
กับระบบเศรษฐกิจสากลอย่างเป็นระบบและมีขั้นตอน เพื่อให้สามารถพัฒนาและแข่งขันกับประเทศที่
เจริญทางอุตสาหกรรมได้อย่างแท้จริง ภายใต้กรอบวินัยทางการเงิน การคลัง
๖.๔ เร่งพัฒนาขีดความสามารถในการระดมเงินออมภายในประเทศให้สอดคล้องกับความต้องการ
เงินทุนในการพัฒนา ภายใต้กรอบการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและการเงินของสากลโลกโดยเฉพาะ
การพัฒนาให้ประเทศเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจทั้งการเงินและการค้าโดยจะพัฒนาทั้งทางด้านตลาด
ทุนและตลาดการเงินให้ได้มาตรฐานและสามารถสนองตอบความต้องการทางด้านการระดมทุนของ
ภาครัฐบาลและเอกชนอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ จะต้องคุ้มครองผู้ฝากและผู้ลงทุนอย่างจริงจังด้วย
๖.๕ พัฒนาและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและวิธีการจัดเก็บของระบบภาษีอากรทั้งของรัฐและท้องถิ่น
ให้มีความชัดเจน เป็นกลาง และมีประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มรายได้ให้ทั้งส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น
๖.๖ ในด้านการดำเนินการของภาครัฐวิสาหกิจจะขจัดอุปสรรคและข้อจำกัดในการขยายบริการ
สาธารณูปโภค สาธารณูปการ เพื่อให้มีปริมาณและคุณภาพที่จะสามารถรองรับการขยายตัวทาง
เศรษฐกิจของประเทศได้อย่างมั่นคง
๖.๗ สนับสนุนให้นักธุรกิจไทยขยายการลงทุนและการค้าออกไปสู่ต่างประเทศให้มากขึ้น
๖.๘ ดำเนินนโยบายและมาตรการทางการเงิน การคลัง เพื่อจูงใจให้มีการพัฒนาคุณภาพ
สิ่งแวดล้อม แก้ไขปัญหามลพิษ ประหยัดการใชัพลังงาน อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ
ขยายการลงทุนของนักธุรกิจไทยไปต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยการพัฒนาระบบการสนับสนุนทาง
การเงินในรูปสินเชื่อเพื่อการส่งออก และการคุ้มครองการลงทุนของคนไทยในต่างประเทศ เป็นต้น
๖.๙ ปรับปรุงโครงสร้างภาษีให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศภายใต้ความตกลงทั่วไปว่าด้วย
การค้าและภาษีศุลกากร (GATT) และการค้าเสรีของอาเซียน (AFTA) ขณะเดียวกันต้องดูแล
อุตสาหกรรมภายในประเทศมิให้ถูกกระทบกระเทือนจากนโยบายดังกล่าวด้วย
๖.๑๐ ด้านอุตสาหกรรม รัฐบาลจะดำเนินการดังนี้
๖.๑๐.๑ เร่งกระจายอุตสาหกรรมไปสู่ภูมิภาคโดยรัฐจะจัดให้มีสาธารณูปโภคสำหรับการ
ประกอบกิจการอุตสาหกรรมพร้อมทั้งจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกและให้สิทธิประโยชน์ในด้าน
ส่งเสริมการลงทุนเพื่อดึงดูดให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุนประกอบกิจการอุตสาหกรรมในต่างจังหวัด
โดยเฉพาะจะเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ใช้ผลผลิตทางเกษตร และวัตถุดิบต่าง ๆ ที่มีอยู่ในพื้นที่
๖.๑๐.๒ ส่งเสริมอุตสาหกรรมไทยให้มีความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศทั้งใน
ด้านคุณภาพแลต้นทุนการผลิต
๖.๑๑ ด้านพาณิชยการ รัฐบาลจะดำเนินการดังนี้
๖.๑๑.๑ ลดขั้นตอน กฎ ระเบียบ และข้อบังคับให้เอกชนสามารถประกอบธุรกิจได้โดย
สะดวกและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
๖.๑๑.๒ เพิ่มบทบาทของสถาบันประกันภัยในการระดมทุนมาใช้ในการพัฒนาประเทศ
ให้กว้างขวาง
๖.๑๑.๓ เร่งรัดการส่งสินค้าออกให้ขยายตัวมากยิ่งขึ้น โดยจะเพิ่มขีดความสามารถและ
ประสิทธิภาพในการแข่งขันของผู้ผลิต ผู้ส่งออกในทุกวิถีทาง เช่น การลดต้นทุนการผลิตการปกป้อง
รักษาผลประโยชน์ทางการค้าและจะดูแลรักษาผลประโยชน์ของประเทศในการเจรจาการค้าหลาย
ฝ่าย รวมทั้งการบุกเบิกขยายตลาดทั้งตลาดประจำและตลาดใหม่ อาทิ ตะวันออกกลางยุโรปตะวัน
ออก และกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน
๖.๑๒ ด้านการคมนาคมขนส่งและสื่อสาร รัฐบาลจะดำเนินการดังนี้
๖.๑๒.๑ เร่งสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางด้านการขนส่งและสื่อสารให้เอื้ออำนวยต่อการพัฒนา
เศรษฐกิจซึ่งเติบโตอย่างรวดเร็วและให้ประเทศไทยสามารถเป็นศูนย์กลางทางการเงินและการค้า
ในภูมิภาค โดยจะเร่งรัดโครงการที่คั่งค้างอยู่ให้สำเร็จลุล่วงโดยเร็ว และดำเนินการโครงการใหม่ ๆ
เพื่อให้การขนส่งและสื่อสารเป็นตัวนำและกระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะเร่งรัด
แก้ไขปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ อาทิปัญหาความล่าช้าในการก่อสร้าง
ทางสายหลัก รวมทั้งขยายโครงข่ายถนนให้ครอบคลุมพื้นที่ชนบทด้วย
๖.๑๒.๒ เร่งรัดแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัด และปัญหาอื่นที่เกี่ยวข้องในกรุงเทพมหานคร
และปริมณฑล รวมทั้งเมืองศูนย์กลางความเจริญในภูมิภาค โดยเร่งรัดแก้ไขการจราจรการขนส่งมวลชน
การสร้างขยายถนนและผิวจราจรและควบคุมความประพฤติของผู้ใช้ถนนให้มีวินัยมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะ
ในการแก้ไขปัญหาการจราจรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจะจัดให้มีแผนงานและโครงการ
ที่สมบูรณ์พร้อมทั้งให้การสนับสนุนงบประมาณแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๖.๑๒.๓ เร่งรัดพัฒนาท่าอากาศยานพาณิชย์ให้สามารถรองรับการขยายตัวของการขนส่ง
ทางอากาศ และการท่องเที่ยวเพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศของภูมิภาค
๖.๑๓ ส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกและ
ความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยว พร้อมทั้งอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ รวมตลอดทั้ง
วัฒนธรรมพื้นบ้าน เพื่อเป็นสิ่งจูงใจแก่นักท่องเที่ยว
๗.นโยบายการป้องกันประเทศ
รัฐบาลมีนโยบายด้านการป้องกันประเทศดังต่อไปนี้
๗.๑ ปรับปรุงและพัฒนากำลังกองทัพให้มีขนาดที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพพร้อมรบ ทันสมัย
และปรับปรุงระบบกำลังสำรองระบบการระดมสรรรพกำลังเพื่อการป้องกันประเทศและรักษาผล
ประโยชน์ของชาติ ตลอดจนผนึกกำลังทหาร กำลังกึ่งทหาร และกำลังประชาชนเพื่อรักษาความมั่นคง
และคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ
๗.๒ มุ่งพัฒนาขีดความสามารถในการพึ่งตนเองในด้านการป้องกันประเทศโดยสนับสนุนและ
ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาการทหารรวมทั้งการผลิตยุทโธปกรณ์ภายในประเทศโดยร่วมมือกับ
ส่วนราชการต่าง ๆ ภาคเอกชน และมิตรประเทศ
๗.๓ สนับสนุนและส่งเสริมบทบาทของกองทัพในการพัฒนาประเทศ การพัฒนาเพื่อความมั่นคง
การช่วยเหลือประชาชนและการบรรเทาสาธารณภัย อีกทั้งจะบำรุงเสริมสร้างขวัญกำลังใจทหาร
และครอบครัวในด้านสวัสดิการและการดำรงชีพรวมทั้งสงเคราะห์ทหารผ่านศึกและครอบครัวให้
ดำรงอยู่ได้ด้วยความเหมาะสมและสมเกียรติ
๘. นโยบายสังคม
รัฐบาลมีนโยบายดังต่อไปนี้
๘.๑ เสริมสร้างความมั่นคงและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนโดยเร่งรัด
ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมและกลุ่มอิทธิพลต่าง ๆ โดยเฉพาะการปราบปรามผู้ตัดไม้
ทำลายป่า และผู้ประกอบอาชญากรรมทางเศรษฐกิจทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค รวมทั้งป้องกัน
และปราบปรามการผลิตและการค้ายาเสพติดให้โทษอย่างเฉียบขาด
๘.๒ สนับสนุนการพัฒนาสังคมและจิตใจในระดับหมู่บ้าน เน้นคุณธรรมเป็นเครื่องนำทางชีวิต
ให้มีการปฏิบัติศาสนธรรมต่าง ๆและส่งเสริมให้ใช้ศาสนธรรมของชุมชนเป็นแนวทางการพัฒนา
สังคมและจิตใจให้สอดคล้องกับเอกลักษณ์ของท้องถิ่น
๘.๓ ดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุ ให้สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุขตาม
สมควร
๘.๔ ดูแล ฟื้นฟู และพัฒนา ผู้ด้อยโอกาส และกลุ่มบุคคลที่มีปัญหาพิเศษ เช่น ผู้พิการและ
ทุพพลภาพ ให้ได้รับการศึกษาและพัฒนาฝีมือหรืออาชีพ ให้สามารถพึ่งตนเองได้อย่างภาคภูมิใจ
๘.๕ พัฒนาและคุ้มครองสตรีมิให้ถูกเอารัดเอาเปรียบ หรือถูกกดขี่ข่มเหง
๘.๖ พัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กและเยาวชน โดยจะจัดให้มีแหล่งนันทนาการ สนามกีฬา
การฝึกอบรม ตลอดจนดำเนินการที่จะปลูกฝังทัศนคติที่ดี
๘.๗ ให้ความสำคัญในการอนุรักษ์ทำนุบำรุงมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติควบคู่ไป
กับการพัฒนาเศรษฐกิจ
๘.๘ เสริมสร้างระบบการคุ้มครองผู้บริโภคให้มีหลักประกันที่สามารถสร้างความเป็นธรรม
ให้แก่ทั้งผู้ผลิตและประชาชนผู้บริโภคอย่างแท้จริง
๘.๙ จัดให้มีระบบป้องกันภัย โดยช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยที่รวดเร็ว ทันเหตุการณ์และ
สนับสนุนองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนให้มีบทบาทและหน้าที่ในการป้องกันสาธารณภัยร่วมกัน
๘.๑๐ ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนอย่างทั่วถึงและนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย
มาใช้ในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีของศาลรวมทั้งพัฒนาขยายงานคุมประพฤติให้
กว้างขวางขึ้นและปรับปรุงการพิจารณาอรรถคดีทั้งปวงให้เป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
๘.๑๑ ด้านการกีฬามีนโยบายดังนี้
๘.๑๑.๑ ให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมการกีฬาเพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาคุณภาพชีวิต
ตลอดจนพัฒนาสุขภาพของประชาชนให้มีพลานามัยสมบูรณ์โดยจะเร่งดำเนินการปรับปรุงกีฬา
อย่างเป็นระบบ และสร้างสนามกีฬาให้พอเพียงกับความต้องการของประชาชนขณะเดียวกัน
จะเน้นการพัฒนามาตรฐานการกีฬา เพื่อให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันให้ทัดเทียมนานา
ประเทศ
๘.๑๑.๒ สนับสนุนภาคเอกชนให้เข้ามามีบทบาทร่วมในการส่งเสริมและพัฒนาการกีฬา
มากยิ่งขึ้นโดยจัดหามาตรการให้เกิดแรงจูงใจในการที่ภาคเอกชนจะเข้ามาช่วยเหลือและสนับสนุน
กิจการกีฬาทุกประเภท
๘.๑๑.๓ เสริมสร้างสวัสดิการ ขวัญและกำลังใจนักกีฬาเพื่อเป็นแรงจูงใจให้นักกีฬาสามารถ
ฝึกซ้อมและเล่นกีฬาได้อย่างเต็มกำลังความสามารถ
๘.๑๑.๔ ส่งเสริมสถานศึกษาให้เน้นกิจกรรมการพัฒนาด้านสุขภาพและการออกกำลังกาย
แก่เด็กและเยาวชนให้มีพลานามัยสมบูรณ์เพื่อให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันกีฬาระดับชาติ
และนานาประเทศได้ดียิ่งขึ้น
๙. นโยบายด้านการศึกษา
รัฐบาลให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในการพัฒนาประเทศโดยจะปรับปรุง
ระบบการศึกษา หลักสูตรการเรียนการสอน และคุณภาพของสถาบันการศึกษาต่าง ๆ เพื่อพัฒนาผู้ศึกษา
ให้ประจักษ์ในคุณค่าของความเป็นมนุษย์และเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยจะดำเนินการดังนี้
๙.๑ เร่งเสริมสร้างและขยายโอกาสทางการศึกษา ทั้งในและนอกระบบการศึกษาเพื่อยกระดับ
การศึกษาภาคบังคับให้ถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและขยายการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา
ในชนบทให้กว้างขวางและทั่วถึงยิ่งขึ้น
๙.๒ กำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนครูอาจารย์ที่มีคุณภาพโดยปรับปรุงกฎระเบียบ
ต่าง ๆเพื่อเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาอาชีว
ศึกษาและอุดมศึกษาให้กว้างขวางตลอดจนระดมทรัพยากรทั้งภาครัญและภาคเอกชนทั้งภายใน
และภายนอกประเทศมาแก้ไขปัญหาให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
๙.๓ เร่งรัดพัฒนาการผลิตกำลังตนในสาขาวิชาการและวิชาชีพที่มีคุรภาพอย่างเพียงพอเพื่อแก้ไข
ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน
๙.๔ สนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพและความก้าวหน้าทางวิชาการใน
ด้านเทคโนโลยีที่เหมาะสมต่อการพัฒนาประเทศเพื่อลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศใน
อนาคตตลอดจนเพื่อสนับสนุนการนำเทคโนโลยีจากต่างประเทศมาดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพ
แวดล้อมในประเทศ
๙.๕ ปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนให้มีเนื้อหาสาระทางวิชาการ ศิลป วัฒนธรรม และประเพณี
ที่เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นควบคู่ไปกับให้มีการเพิ่มพูนความรู้โดยใช้ระบบสื่อสารมวลชน
๙.๖ เสริมสร้างสวัสดิการ ขวัญ และกำลังใจแก่ครู อาจารย์ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคให้มี
ความมั่นคงในอาชีพ โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทห่างไกล
๙.๗ ส่งเสริมการกระจายโอกาสทางการศึกษาในระดับอุดมศึกษาให้สอดคล้องกับการกระจาย
ความเจริญไปสู่ภูมิภาคและชนบท
๑๐. นโยบายสาธารณสุข
รัฐบาลให้ความสำคัญต่อการพัฒนาสุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิตของประชาชนโดย
มุ่งขยายบริการด้านสาธารณสุขให้ทั่วถึงเพื่อที่จะตอบสนองความต้องการของประชาชนได้
อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีนโยบายดังต่อไปนี้
๑๐.๑ เน้นการพัฒนาบริการการแพทย์ และสาธารณสุขอย่างทั่วถึงโดยปรับปรุงประสิทธิภาพ
ของการบริการทุกระดับ ให้มีความพร้อมทั้งในยามปกติและฉุกเฉินเร่งพัฒนาบริการในระดับ
ตำบล สนับสนุนและดำเนินการให้มีระบบบริการสาธารณสุขแห่งชาติเป็นเครือข่ายทั่วประเทศที่
ประกอบด้วยบริการสาธารณสุขภาครัฐทุกสังกัด กระทรวง ทบวง กรม รวมทั้งภาคเอกชนเพื่อให้
ประชาชนทุกคนเข้าถึงบริการที่ดีมีคุณภาพเหมาะสมโดยเท่าเทียมกันมีระบบการส่งต่อผู้ป่วยที่
มีประสิทธิภาพรองรับอย่างเหมาะสม
๑๐.๒ ให้การควบคุมและป้องกันโรคเอดส์เป็นนโยบายสำคัญเร่งด่วนควบคู่ไปกับการให้
การรักษาพยาบาลผู้ป่วย และดำเนินการให้ผู้ป่วยและผู้ติดเชื้อสามารถอยู่ในสังคมอย่างปกติสุข
สนับสนุนและส่งเสริมให้องค์กรภาครัฐและเอกชน ตลอดจนองค์กรสาธารณประโยชน์ต่าง ๆ เข้า
มามีส่วนร่วมในการควบคุมและป้องกันโรคเอดส์อย่างจริงจังและต่อเนื่องในขณะเดียวกันก็
จะระมัดระวังมิให้การเผยแพร่ความรู้ในเรื่องนี้เป็นอุปสรรคต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
ของประเทศ
๑๐.๓ เร่งสร้างหลักประกันทางสังคมในการประกันสุขภาพของผู้มีรายได้น้อยบุคคลที่ควรช่วย
เหลือเกื้อกูล รวมทั้งผู้สูงอายุให้เหมาะสม
๑๐.๔ พัฒนาระบบสนับสนุนการส่งออกสินค้าประเภทอาหารและยาให้ได้รับความสะดวกรวดเร็ว
และมีประสิทธิภาพ
๑๐.๕ เร่งรัดการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านอาหาร ยา บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขให้ได้
สินค้าและบริการที่ดี มีคุณภาพ ราคายุติธรรม
๑๑. นโยบายแรงงาน
รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนผู้ใช้แรงงาน ให้มีโอกาสที่จะพัฒนาตนเอง
เพื่อให้มีทางเลือกในการประกอบอาชีพได้สอดคล้องกับความต้องการและความสามารถของแต่
ละบุคคล อันจะทำให้มีระดับรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยจะดำเนินการดังนี้
๑๑.๑ สนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการค่าจ้างในระบบไตรภาคีให้สามารถดูแล
กำหนดค่าจ้างขั้นต่ำได้อย่างเป็นธรรม
๑๑.๒ ส่งเสริมบทบาทของสภาที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาแรงงาานแห่งชาติในการเสนอแนะเพื่อ
แก้ไขปัญหาของผู้ใช้แรงงาน
๑๑.๓ เร่งแก้ไขให้ผู้ใช้แรงงานบางประเภทที่ยังได้รับผลตอบแทนและสวัสดิการตามกฎหมาย
น้อยกว่าผู้ใช้แรงงานประเภทอื่นให้ได้รับผลประโยชน์เท่าเทียมกันและมีหลักประกันในอาชีพที่
มั่นคงและปลอดภัย
๑๑.๔ การสนับสนุนการพัฒนาฝีมือ ทักษะและความรู้ของผู้ใช้แรงงานโดยเฉพาะแรงงานใน
ชนบท ให้สามารถเลือกอาชีพหรือประกอบอาชีพส่วนตัวให้สอดคล้องกับความถนัดและความสามารถ
เพื่อจะได้ยกระดับรายได้ให้สูงขึ้น
๑๑.๕ จัดให้มีระบบข้อมูลตลาดแรงงานในชนบทอย่างกว้างขวางและปรับปรุงกลไกของตลาด
แรงงานในชนบทให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
๑๑.๖ ดูแลผู้ใช้แรงงานไทยในต่างประเทศไม่ให้ถูกหลอกลวงในการหางานและในการทำงาน
สร้างมาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายในการไปทำงานต่างประเทศ ตลอดจนสอดส่องดูแลสิทธิประโยชน์
และความปลอดภัยของแรงงานไทยในต่างประเทศ
๑๑.๗ ดูแลแรงงานสตรี เด็กและแรงงานไร้ฝีมือให้ได้รับความเป็นธรรมและได้รับการ
คุ้มครองตามกฎหมายอย่างจริงจัง
๑๑.๘ ปรับปรุงระบบการประกันสังคมให้ผู้ประกันตนได้รับสิทธิประโยชน์โดยสะดวกและ
รวดเร็ว
๑๒. นโยบายด้านต่างประเทศ
รัฐบาลจะดำเนินนโยบายต่างประเทศอย่างเป็นอิสระสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของ
สถานการณ์โลก และสมกับฐานะปัจจุบันของประเทศเพื่อให้บรรลุผลประโยชน์สูงสุดของชาติและ
ประชาชนชาวไทย โดยยึดถือหลักการของความเสมอภาคการเคารพในเอกราชอธิปไตยและ
บูรณภาพแห่งดินแดน รวมทั้งการไม่แทรกแซงในกิจการภายในของกันและกันและยึดมั่นใน
พันธกรณีที่มีอยู่กับต่างประเทศตามสนธิสัญญาและความตกลงต่าง ๆ ที่ประเทศไทยเป็นภาคี
รวมทั้งกฎบัตรสหประชาชาติและปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและจะเพิ่มพูนการร่วมมือ
กับนานาประเทศและกับองค์การสหประชาชาติ เพื่อส่งเสริมและรักษาสันติภาพ เสถียรภาพความ
เจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต
ของประชาชน ทั้งนี้ รัฐบาลได้กำหนดแนวทางในการดำเนินนโยบายต่างประเทศดังต่อไปนี้
๑๒.๑ ส่งเสริมมิตรภาพ ความสมานฉันท์ และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาค
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะด้วยการเสริมสร้างความเชื่อมโยงผูกพันทางเศรษฐกิจการค้า
สังคม รวมทั้งการขยายเครือข่ายติดต่อและการคมนาคมในภูมิภาค ทั้งนี้ เพื่อสันติภาพเสถียรภาพ
ที่มั่นคง และความรุ่งเรืองร่วมกันของภูมิภาคโดยส่วนรวม
๑๒.๒ กระชับความสัมพันธ์และความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับกลุ่มประเทศอาเซียน ทั้งทาง
ด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม โดยเฉพาะการรวมตัวทางเศรษฐกิจ
๑๒.๓ พัฒนาและปรับปรุงความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว
กับบรรดาประเทศคู่ค้าสำคัญ รวมทั้งเสริมสร้างขยายความสัมพันธ์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
และการค้ากับประเทศในภูมิภาคต่าง ๆ ทั้งนี้โดยจะประสานการดำเนินการร่วมกันอย่างใกล้ชิด
ระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน
๑๒.๔ ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ วิชาการ วัฒนธรรมและการพัฒนาทรัพยากรมนุยย์
กับประเทศต่าง ๆ ทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี เพิ่มบทบาทของไทยในการช่วยเหลือและสนับสนุน
การพัฒนาเศรษฐกิจแก่ประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านซึ่งกำลังอยู่ในระยะบูรณะ
ฟื้นฟูประเทศ โดยการให้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ วิชาการและสังคมอันจะเป็นการกระชับความ
สัมพันธ์และความเข้าใจอันดีกับประชาชนของประเทศเพื่อนบ้าน
๑๒.๕ เพิ่มพูนบทบาทของประเทศไทยในประชาคมระหว่างประเทศ ในกรอบของสหประชาชาติ
และองค์การระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในด้านการดูแลรักษาสันติภาพ การปรับปรุงระบบการค้าเสรี
และเป็นธรรม อีกทั้งการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการพัฒนา
๑๒.๖ ให้ความสำคัญในการคุ้มครอง ดูแลรักษาสิทธิและผลประโยชน์ที่เพิ่มพูนขึ้นของคนไทย
ในต่างประเทศ ให้ได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม
๑๒.๗ ส่งเสริมภาพลักษณ์อันดีงามของประเทศไทยด้วยการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง
ให้นานาประเทศเกิดความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับประเทศไทยและวัฒนธรรมไทยรวมทั้งการใช้
วัฒนธรรมสัมพันธ์กับต่างประเทศเป็นสื่อช่วยส่งเสริมความเป็นมิตรทั้งในระดับรัฐและประชาชน
๑๓. นโยบายด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
รัฐบาลมีนโยบายที่จะเร่งรัดการพัฒนาขีดความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ในประเทศ โดยให้เอกชนมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมและเพิ่มขีด
ความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศ โดยจะดำเนินการดังนี้
๑๓.๑ เร่งรัดพัฒนาบุคลากรทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทั้งในแง่ปริมาณและคุณภาพ
๑๓.๒ สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาในประเทศให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่เหมาะสมตลอดจน
ส่งเสริมให้มีการทำวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง
๑๓.๓ สนับสนุนให้มีการใช้เทคโนโลยีที่ไม่มีผลเสียต่อสภาวะสิ่งแวดล้อมตลอดจนส่งเสริมให้มี
การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าวในประเทศ
๑๓.๔ ส่งเสริมให้มีการขยายความร่วมมือกับต่างประเทศในการถ่ายทอดความรู้ทาง
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งในฐานะผู้รับจากประเทศที่มีความเจริญสูงกว่าและในฐานะ
ผู้ให้กับประเทศที่มีระดับการพัฒนาต่ำกว่า
๑๔. นโยบายเร่งด่วน
เพื่อช่วยเหลือราษฎรที่ประสบความเดือดร้อนจากภัยแล้งและบรรเทาภัยดังกล่าวที่จะ
เกิดขึ้นในอนาคต รัฐบาลดำเนินการดังต่อไปนี้
๑๔.๑ เร่งรัดการช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของราษฎรที่ประสบปัญหาภัยแล้ง
โดยจัดหาน้ำไปแจกจ่ายแก่ราษฎรที่ขาดแคลนและจัดส่งเครื่องสูบน้ำไปช่วยเหลือ
๑๔.๒ สนับสนุนให้เกษตรกรสามารถแก้ไขปัญหาจากภัยแล้งด้วยตนเองโดยให้ความ
สนับสนุนในรูปของสินเชื่อการเกษตรที่มีดอกเบี้ยผ่อนปรน
๑๔.๓ เร่งรัดให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทุกหน่วยดำเนินการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลโดย
เร่งด่วน เพื่อแก้ปัญหาความแห้งแล้งที่มีอยู่เฉพาะหน้าและในอนาคต
๑๔.๔ ดำเนินการปฏิบัติการฝนหลวงในบริเวณที่สามารถดำเนินการได้โดยเฉพาะบริเวณ
เหนือเขื่อน และอ่างเก็บกักน้ำ ตลอดจนพื้นที่การเกษตรต่าง ๆ ที่มีสภาพเหมาะสม
๑๔.๕ เร่งรัดให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทุกหน่วยจัดทำโครงการขุดลอกคู คลอง หนอง บึง
เพื่อใช้เป็นแหล่งเก็บกักน้ำต่อไป
๑๔.๖ บรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรที่ได้รับจากภัยแล้งครั้งนี้โดยผ่อนผันการชำระหนี้
และให้มีโอกาสได้รับสินเชื่อจากสถาบันการเงินของรัฐในอัตราดอกเบี้ยผ่อนปรนเพื่อฟื้นฟูอาชีพ
ของตน
๑๔.๗ เร่งรัดให้มีการจ้างงานในชนบท โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ประสบภัย เพื่อให้ประชาชนมี
รายได้เพิ่มขึ้นตามสมควร
ท่านประธานรัฐสภาและท่านสมาชิกผู้มีเกียรติที่เคารพในการบริหารราชการแผ่นดินตาม
นโยบายที่ได้แถลงมาข้างต้นนี้ กระผมขอให้คำมั่นว่ารัฐบาลจะมุ่งปฏิบัติตามนโยบายที่แถลงมานี้
อย่างเคร่งครัด และด้วยความก้าวหน้ามาสู่ประเทศชาติโดยจะดำเนินการในลักษณะที่มีความ
ชัดเจน และเป็นธรรม กระผมเชื่อมั่นว่าด้วยความร่วมมือสนับสนุนจากท่านสมาชิกรัฐสภาผู้มีเกียรติ
รัฐบาลจะสามารถทำให้นโยบายดังกล่าวสัมฤทธิผลบังเกิดประโยชน์และความผาสุกต่อประชาชน
ส่วนใหญ่ของประเทศได้สืบไป
*รายงานการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ ๑/๒๕๓๕ (สมัยสามัญ ครั้งที่หนึ่ง)
วันพุธที่ ๖ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๓๕ หน้า ๔ - ๒๑ |
49 | คณะรัฐมนตรี คณะที่ ๔๙
นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี
ตั้งแต่วันที ๑๐ มิถุนายน ๒๕๓๕ - ๒๓ กันยายน ๒๕๓๕
แถลงนโยบาย เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๓๕
คำแถลงนโยบายของรัฐบาล*
ท่านประธานรัฐสภาและท่านสมาชิกผู้มีเกียรติ
ตามที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งให้กระผมเป็นนายกรัฐมนตรี
ตามประกาศพระบรมราชโอการ ลงวันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๓๕ และแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีตาม
ประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๓๕ นั้นก่อนที่จะได้นำเรียนให้ทราบถึง
นโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน กระผมใคร่ขอเรียนข้อความบางประการให้ทราบเป็นเบื้องต้น
ดังนี้
คณะรัฐมนตรีนี้ได้จัดตั้งขึ้นเป็นการเฉพาะกิจในขณะที่ประเทศอยู่ในภาวะวิกฤตและ
บอบช้ำอย่างหนัก อันเนื่องมาจากการเผชิญหน้าระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ยังผลให้เกิดความสับสน
ทางการเมือง ความชะงักงันของเศรษฐกิจบางภาคความหวาดระแวงและความวิตกกังวลใน
หมู่ประชาชนทั่วไป ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้จะเกิดผลกระทบต่อเสถียรภาพของประเทศอย่างรุนแรง
ประกอบกับเป็นที่ประจักษ์ชัดตามคำกราบบังคมทูลพระกรุณาของท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร
ในการนำชื่อกระผมขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยแต่งตั้งเป็น
นายกรัฐมนตรี ที่ว่าการแต่งตั้งครั้งนี้ เพื่อจะได้ใช้กระบวนการทางรัฐสภาและรัฐธรรมนูญคือ
อำนาจอธิปไตยกลับไปให้ประชาชนเพื่อให้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยได้พัฒนาไป
อย่างต่อเนื่องและมีความสมบูรณ์ และให้รัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นใหม่มีโอกาสใช้ความสามารถใน
ระยะเวลาอันสั้นฟื้นฟูประเทศชาติให้เกิดเสถียรภาพในแนวทางสันติ เพื่อจะได้เป็นที่เชื่อถือ
แก่นานาประเทศต่อไป
เมื่อพิจารณาจากสถานการณ์บ้านเมืองความมุ่งหมายในการตั้งคณะรัฐมนตรีในลักษณะ
เฉพาะกิจและระยะเวลาอันมีจำกัดในการบริหารราชการแผ่นดินแล้ว คณะรัฐมนตรีขอนำนโยบาย
การบริหารราชการแผ่นดินเรียนให้ท่านประธานรัฐสภาและท่านสมาชิกรัฐสภาผู้มีเกียรติได้ทราบว่า
รัฐบาลจะดำเนินการดังต่อไปนี้
๑. ดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อรักษาเสถียรภาพและความมั่นคงภายในประเทศโดยยึดหลัก
สันติธรรม เพื่อสร้างความเข้าใจ และความรู้รักสามัคคีของคนในชาติ
๒. เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนเฉพาะหน้าของประชาชนที่ได้รับความเสียหาย
จากภัยธรรมชาติ ราคาพืชผลการเกษตรตกต่ำ และปัญหาอื่น ๆ
๓. ดำเนินมาตรการต่าง ๆ เพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นใจแก่ประชาชนและนานาประเทศ
โดยจะสานต่อนโยบายเศรษฐกิจแบบเสรี และยึดถือหลักความโปร่งใสและชัดเจน
๔. สานต่อนโยบายด้านการกระจายรายได้และการพัฒนาเกษตรกรรมและชนบทโดยเร่งรัด
โครงการพื้นฐานต่อเนื่องจากที่ได้ริเริ่มไว้แล้ว อาทิ โครงการพัฒนาจังหวัดโครงการจัดหาน้ำสะอาด
ให้ทั่วถึงทุกหมู่บ้านและการกระจายอุตสาหกรรมสู่ภูมิภาค
๕. เร่งดำเนินการโครงการสาธารณูปโภค สาธารณูปการต่าง ๆ ที่ริเริ่มไว้แล้วให้รุดหน้า
ต่อไป
๖. เร่งดำเนินการโครงการต่าง ๆ เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ ของ
สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถเพื่ออำนวยประโยชน์แก่ประชาชนตลอดจนกำกับดูแล
พิธีการในวโรกาสมหามงคลดังกล่าวให้เป็นไปตามกำหนดการโดยเรียบร้อยและสมพระเกียรติ
๗. ส่งเสริมและคุมครองป้องกันสิทธิเสรีภาพของประชาชนให้ตระหนักในความสำคัญ
และบทบาทของตนในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
และจะกำกับดูแลการเลือกตั้งทั่วไปที่จะมีขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ให้เป็นไปโดยเรียบร้อยบริสุทธิ์
และยุติธรรมสำหรับด้านอื่น ๆ
นอกจากนี้ รัฐบาลจะปฏิบัติตามและเร่งรัดดำเนินการให้เป็นไปตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติต่อไป
ในการดำเนินการตามนโยบายข้างต้นนี้รัฐบาลขอยืนยันต่อท่านประธานรัฐสภาและ
ท่านสมาชิกรัฐสภาผู้มีเกียรติว่า จะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและทุ่มเทสติปัญญา
อย่างเต็มกำลังความสามารถ ตลอดจนรักษาความเป็นกลางในทางการเมืองอย่างเคร่งครัด
โดยไม่ฝักใฝ่หรือให้คุณให้โทษเพื่อประโยชน์ทางการเมืองแก่บุคคลหรือคณะบุคคลใดและ
หวังเป็นอย่างยิ่งว่าด้วยความร่วมมือและการสนับสนุนจากสมาชิกรัฐสภาผู้มีเกียรติทุกท่าน
นโยบายของคณะรัฐมนตรีในการบริหารราชการแผ่นดิน จะสัมฤทธิผลนำไปสู่ความสงบสุข
ของบ้านเมืองและการฟื้นฟูประเทศชาติให้เกิดเสถีรภาพ เป็นที่วางใจและเชื่อถือในหมู่
ประชาชนและนานาประเทศและคณะรัฐมนตรีนี้จะส่งมอบการบริหารราชการแผ่นดินให้
คณะรัฐมนตรีที่จะเข้ามาใหม่ตามกระบวนการทางรัฐสภาและบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ
ด้วยดีต่อไป
สุดท้ายนี้ กระผมขอเรียนว่า คณะรัฐมนตรีจะบริหารราชการแผ่นดินโดยยึดมั่นและ
รักษาคำสัตย์ปฏิญาณที่ได้ถวายต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในโอกาสที่เข้ารับหน้าที่
ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและด้วยความตั้งใจอย่างแน่วแน่แท้จริง
*รายงานการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ ๕/๒๕๓๕
วันจันทร์ที่ ๒๒ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๓๕ หน้า ๒๕๙ - ๒๖๑ |
50 | คณะรัฐมนตรี คณะที่ ๕๐
นายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี
ตั้งแต่วันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๓๕ - ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๓๘
แถลงนโยบาย เมื่อวันพุธที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๓๕
คำแถลงนโยบายของรัฐบาล*
ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ
กระผมนายชวน หลีกภัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตรัง นายกรัฐมนตรีตามที่ได้ทรง
พระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้กระผมเป็นนายกรัฐมนตรี ตามประกาศพระบรมราชโองการ
ลงวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๓๕ และแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ตามประกาศพระบรมราชโองการ
ลงวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๓๕ นั้น บัดนี้คณะรัฐมนตรีได้กำหนดนโยบายการบริหารราชการ
แผ่นดินเรียบร้อยแล้ว จึงขอแถลงต่อรัฐสภาดังต่อไปนี้
๑. นโยบายการเมืองและการบริหารราชการ
รัฐบาลนี้ มุ่งเทิดทูนและรักษาไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครอง
ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและจะพัฒนาสถาบันการเมือง
ทั้งหลายให้มีความมั่นคงเข้มแข็ง พร้อมที่จะปฏิบัติภารกิจอย่างสมบูรณ์มีประสิทธิภาพเพื่อ
รักษาประโยชน์สุขของประชาชนทั้งจะสนับสนุนให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมทางการเมืองตั้งแต่
ระดับท้องถิ่นจนถึงระดับชาติ โดยจะดำเนินการดังนี้
๑.๑ สนับสนุนการดำเนินการเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ให้เป็นประชาธิปไตยยิ่งขึ้น
๑.๒ สนับสนุนกิจการของรัฐสภาให้เอื้ออำนวยต่อการที่สมาชิกรัฐสภาจะทำหน้าที่
ของตนอย่างมีประสิทธิภาพ
๑.๓ ปรับปรุงกฎหมายพรรคการเมืองให้สามารถรับการสนับสนุนจากรัฐและเอกชน
ได้รวมทั้งให้พรรคการเมืองมีบทบาทในการพัฒนาการเมืองยิ่งขึ้น
๑.๔ ปรับปรุงกฎหมายเลือก และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การจัดการ
เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการเลือกตั้งทุกระดับเป็นไปโดยบริสุทธิ์
ยุติธรรมและสนับสนุนให้มีการจัดตั้งองค์กรอิสระเพื่อสอดส่องดูแลการเลือกตั้งดังกล่าว
๑.๕ ปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน เพื่อให้รัฐสภามีบทบาท
มากขึ้นในการตรวจสอบการรับเงินของแผ่นดิน
๑.๖ ส่งเสริมให้สถาบันการศึกษาทุกระดับและสื่อสารมวลชนของรัฐและเอกชน
มีบทบาทในการปลูกฝังความรู้ ความเข้าใจและความศรัทธาในวิธีการและเนื้อหาสาระ
ของการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ไม่ว่าใน
ด้านทฤษฎีหรือการปฏิบัติ
๑.๗ ส่งเสริมให้สื่อสารมวลชนของรัฐและเอกชน มีสิทธิเสรีภาพในการับรู้กิจการ
ของรัฐและการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐภายในกรอบของกฎหมายมีสิทธิเสรีภาพ
ในการแสดงความคิดเห็น และเสรีภาพในการเผยแพร่ข่าวสารอย่างเที่ยงตรง เป็นธรรม
และรวดเร็ว
๑.๘ ปรับปรุงและเร่งรัดการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนโดยจะเน้นการ
ปรับปรุงกระบวนการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีและการบังคับคดี ให้มีประสิทธิภาพ
รวดเร็วและเป็นธรรมตลอดจนเร่งรัดพัฒนาข้าราชการตุลาการให้มีความชำนาญ
ในอรรถคดีตามสภาพของปัญหาในทางเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่นคดี
ทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ เพื่อเตรียมการจัดตั้งศาลเฉพาะด้าน
ทั้งจะส่งเสริมสถาบันตุลาการให้มีเกียรติ ศักดิ์ศรี สามารถดำรงอำนาจอิสระของ
ผู้พิพากษาในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี
๑.๙ พัฒนาบุคลากรและกระบวนการวินิจฉัยเรื่องราวร้องทุกข์ ตลอดจนเตรียม
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องให้พร้อม เพื่อนำไปสู่การจัดตั้งศาลปกครองให้ทันภายใน ๔ ปี
๑.๑๐ กระจายอำนาจการปกครองสู่ท้องถิ่นโดยจัดให้มีการเลือกตั้งผู้บริหาร
ท้องถิ่นทุกระดับตลอดจนเพิ่มบทบาทและอำนาจในการตัดสินใจขององค์กรปกครอง
ท้องถิ่นให้อำนาจในการกำหนดนโยบายการพัฒนา การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
สิ่งแวดล้อมและการวางผังเมือง เพื่อให้ สอดคล้องกับหลักการปกครองตนเองในระบอบ
ประชาธิปไตยและจะส่งเสริมให้องค์กรปกครองท้องถิ่นในระดับตำบลเป็นนิติบุคคล
เพื่อให้มีความคล่องตัวและร่วมแก้ปัญหาของประชาชนในตำบลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๑.๑๑ ปรับปรุงหน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
โดยแก้ไขกฎระเบียบต่าง ๆ ให้เกิดความเป็นธรรมแก่ประชาชน ลดหรือขจัดขั้นตอน
ที่ไม่จำเป็นและปรับปรุงประสิทธิภาพของเจ้าหน้าที่ของรัฐในการปฏิบัติงานเพื่ออำนวย
ความสะดวกในการให้บริการแก่ประชาชน
๑.๑๒ บังคับใช้กฎหมายเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองโดยเร่งรัด
และกวดขันให้เจ้าหน้าที่ของรัฐทุกระดับดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายอย่าง
เคร่งครัดควบคู่ไปกับการปลูกฝังให้ประชาชนมีจิตสำนึกและตระหนักในการเคารพ
กฎหมายในกรณีที่กฎหมายใดล้าสมัยหรือไม่เป็นธรรมจะดำเนินการปรับปรุงแก้ไข
หรือยกเลิกต่อไป
๑.๑๓ เพิ่มประสิทธิภาพระบบงานป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมให้
สามารถอำนวยความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินแก่ประชาชนได้อย่างทั่วถึง
ด้วยการพัฒนาคุณภาพของเจ้าหน้าที่ จัดหาเครื่องหรือ ตลอดจนพัฒนาเทคโนโลยี
ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติภารกิจ
๑.๑๔ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการและ
หน่วยงานของรัฐด้วยการพัฒนาองค์กรและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและ
ปราบปรามดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ปรับปรุงระบบการควบคุมภายในของ
หน่วยงานของรัฐตรวจสอบให้มีการปฏิบัติตามระเบียบ กฎเกณฑ์การควบคุมภายใน
ดังกล่าวอย่างเคร่งครัดในขณะเดียวกันจะสร้างขวัญ กำลังใจแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐด้วย
การยึดหลักคุณธรรมในการพิจารณาความดีความชอบ ตลอดจนการปรับปรุงค่าตอบ
แทนและสวัสดิการให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจอย่างเป็นระบบ
๑.๑๕ จะดำเนินการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม โดยคำนึงถึงความพร้อม
และความจำเป็นเพื่อให้สอดคล้องกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
๒. นโยบายด้านความมั่นคง
รัฐบาลตระหนักถึงสถานการณ์ด้านความมั่นคงของโลกและความมั่นคงภายใน
ซึ่งได้เปลี่ยนแปลงไปประกอบกับได้มีการเสริมสร้างสันติภาพและความเข้าใจอันดี
ระหว่างประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคนี้รัฐบาลจึงกำหนดนโยบายด้านความมั่นคง
ในทิศทางใหม่ ดังนี้
๒.๑ ปรับปรุงโครงสร้างกองทัพให้มีขนาดกระทัดรัด แต่มีกำลังพลที่เข้มแข็ง
และอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัย เพื่อเป็นหลักประกันในการรักษาเอกราช อธิปไตย
และผลประโยชน์ของชาติ
๒.๒ ปรับปรุงระบบกำลังสำรองและการเรียกเกณฑ์ทหารให้เหมาะสมกับ
สภาพการณ์ใหม่ ขณะเดียวกัน จะส่งเสริมให้มีการร่วมมือในด้านการทหารกับ
มิตรประเทศให้มากขึ้น
๒.๓ ปรับปรุงหลักสูตรของสถาบันการศึกษาทางทหารทั้งระบบให้สอดคล้อง
กับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของประเทศ
๒.๔ ส่งเสริมและพัฒนาบทบาทของกองทัพให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา
ประเทศ รวมถึงการปกป้องผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจทั้งทางบกและทางทะเล
๒.๕ บำรุงขวัญและกำลังใจของทหารชั้นผู้น้อย ด้วยการปรับปรุงสวัสดิการและ
จัดให้มีการฝึกอาชีพให้มากขึ้นเพื่อรองรับการประกอบอาชีพเมื่อออกจากประจำการ
๓. นโยบายต่างประเทศ
รัฐบาลจะยึดมั่นในพันธกรณีที่มีอยู่กับต่างประเทศตามสนธิสัญญาและความ
ตกลงต่าง ๆ ที่ประเทศไทยเป็นภาคี รวมทั้งกฎบัตรสหประชาชาติ และปฏิญญาสากล
ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และจะดำเนินนโยบายเพื่อให้บรรลุประโยชน์แห่งชาติ ทั้งในด้าน
ความมั่นคง การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม โดยตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลง
ของสถานการณ์โลกและภูมิภาคซึ่งให้ความสำคัญต่อความร่วมมือกับนานาชาติ
ทั้งนี้เพื่อเสริมสร้างสถานภาพของประเทศไทยให้มีบทบาทมากขึ้น และมีโอกาสเป็น
ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเงินและการคมนาคมในภูมิภาคนี้ โดยจะดำเนินนโยบาย ดังนี้
๓.๑ ส่งเสริมมิตรภาพ สมานฉันท์ และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาค
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
๓.๒ เพิ่มพูน และพัฒนาความสัมพันธ์ และความร่วมมือกับประเทศสมาชิกสมาคม
ประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม
และวัฒนธรรม รวมทั้งสนับสนุนการรวมตัวทางเศรษฐกิจ โดยการดำเนินการให้เขตการค้า
เสรีอาเซียนประสบผลสำเร็จ
๓.๓ ส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือกับประเทศคู่ค้าที่สำคัญและประเทศ
ในภูมิภาคต่าง ๆ ภายใต้ระบบการค้าเสรี การแข่งขันอย่างเป็นธรรมตลอดจนร่วมมี
บทบาทในการลดความขัดแย้งระหว่างประเทศ อันเนื่องมาจากปัญหาทางการค้า
การลงทุน การถ่ายทอดเทคโนโลยี และการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาโดยคำนึงถึง
ความพร้อมภายในประเทศเป็นหลัก
๓.๔ ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ วิชาการ วัฒนธรรมและการพัฒนาทรัพยากร
มนุษย์กับประเทศต่าง ๆ ทั้งในระดับ ทวิภาคี และพหุภาคีโดยเพิ่มบทบาทของไทยในการ
ช่วยเหลือและสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจแก่ประเทศกำลังพัฒนาโดยเฉพาะประเทศ
เพื่อนบ้านอันจะเป็นการกระชับความสัมพันธ์และความเข้าใจระหว่างประชาชนชาวไทย
กับประชาชนของประเทศเหล่านั้น
๓.๕ เสริมสร้างบทบาทของประเทศไทยในเวทีระหว่างประเทศในด้านการอนุรักษ์
สิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและสมดุล
๓.๖ อำนวยความสะดวก คุ้มครอง ตลอดจนส่งเสริมสิทธิและผลประโยชน์ของคนไทย
แรงงานไทย และธุรกิจภาคเอกชนไทยในต่างประเทศ
๔. นโยบายเศรษฐกิจ
โดยที่ประชาชนบางส่วนของประเทศยังมีฐานะยากจน มีสภาพความเป็นอยู่ในระดับ
ที่ต่ำกว่ามาตรฐาน ความเจริญทางเศรษฐกิจยังมิได้กระจายไปทั่วถึงรัฐบาลนี้จึงมุ่งเน้น
การยกระดับมาตรฐานความเป็นอยู่ของประชาชนในทุกสาขาอาชีพให้สูงขึ้นพร้อมกับ
การกระจายความเจริญออกสู่ภูมิภาคและชนบท ในขณะเดียวกันรัฐบาลจะดำเนินนโยบาย
เศรษฐกิจแบบเสรี โดยใช้กลไกตลาดเป็นหลัก และขจัดการผูกขาดตัดตอนการแข่งขันที่
ไม่เป็นธรรม เพื่อที่จะรักษาอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ในระดับที่เหมาะสมอย่าง
ต่อเนื่องและมีเสถียรภาพ เสริมสร้างศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศให้สามารถ
แข่งขันกับนานาชาติ และมุ่งพัฒนาองค์ประกอบทางเศรษฐกิจของประเทศให้เจริญ
ก้าวหน้าครบทุกด้าน โดยกำหนดนโยบายเพื่อดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายไว้ ดังนี้
๔.๑ ด้านการเงินการคลังรัฐบาลจะมุ่งรักษาวินัย และเสถียรภาพทางการเงินการคลัง
ของประเทศควบคู่ไปกับการพัฒนาระบบการเงินการคลังให้มีความคล่องตัว และมีประสิทธิภาพ
ยิ่งขึ้น โดยจะดำเนินนโยบาย ดังนี้
๔.๑.๑ ดำเนินนโยบายการเงินการคลังอย่างรัดกุมเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อ
ให้อยู่ในระดับต่ำ โดยระมัดระวังการใช้จ่ายเงินของภาครัฐบาลและเอกชนให้มีประสิทธิภาพ
เหมาะสมกับฐานะการเงินและความจำเป็นทางเศรษฐกิจของประเทศ
๔.๑.๒ ปรับปรุงระบบการจัดเก็บภาษีทุกประเภทให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นรวมทั้ง
ปรับโครงสร้างและอัตราภาษีอากรให้ทันสมัย และมีผลเอื้ออำนวยต่อการขยายตัวทางด้าน
การผลิต การค้า การส่งออก ตลอดจนการลงทุนภายในประเทศรวมทั้งให้เกิดผลทางด้าน
ลดภาระภาษีแก่ผู้มีรายได้น้อยและรายได้ปานกลาง
๔.๑.๓ กำหนดมาตรการทางการเงินการคลัง เพื่อส่งเสริมการกระจายการผลิต
การจ้างงาน และการเพิ่มพูนประสิทธิภาพการผลิตในภูมิภาค
๔.๑.๔ จัดสรรรายจ่ายเพื่อการลงทุน ขยายบริการสาธารณูปโภคสาธารณูปการ
ขั้นพื้นฐาน การบำรุงรักษาสภาพแวดล้อม การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาคุณภาพชีวิต
ของประชากรทั้งในเมืองและชนบท และการเพิ่มปริมาณและคุณภาพของปัจจัยการผลิต ที่รัฐ
จัดให้แก่เกษตรกรในสัดส่วนสูงขึ้นตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕๓๖ เป็นต้นไป
๔.๑.๕ จัดสรรงบประมาณสนับสนุนภูมิภาคและท้องถิ่นและกระจายอำนาจ
การบริหารงบประมาณไปสู่ภูมิภาคและท้องถิ่นอย่างจริงจังรวมทั้งสนับสนุนให้รายได้
ที่จัดเก็บในท้องถิ่นใด ตกเป็นของท้องถิ่นนั้น ในอัตราที่เหมาะสม
๔.๑.๖ เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานของรัฐวิสาหกิจให้มีฐานะการเงินที่มั่นคง
และส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการประกอบกิจการบริการสาธารณะมากขึ้น
เพื่อลดภาระทางการเงินของรัฐ
๔.๑.๗ ส่งเสริมการระดมเงินออกภาคเอกชนภายในประเทศอย่างจริงจังด้วยการ
เสริมสร้างตลาดการเงินและสถาบันการเงินภายในประเทศให้เข้มแข็ง มีประสิทธิภาพรวมทั้ง
ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร เพื่อส่งเสริมการออมที่มีความจำเป็นในการดำรงชีพของ
ประชาชน เช่น การออมเพื่อที่อยู่อาศัย เพื่อการศึกษาบุตร เพื่อเลี้ยงชีพหลังเกษียณอายุทำงาน
ตลอดจนการออกระยะยาวประเภทอื่น ๆ
๔.๑.๘ กำกับดูแลสถาบันการเงินทั้งในตลาดเงินและตลาดทุน ให้มีความมั่นคง
และมีประสิทธิภาพในการดำเนินงานสอดคล้องกับมาตรฐานสากล เพื่อให้สถาบันการเงิน
ทำหน้าที่กระจายทรัพยากรสู่ภาคเศรษฐกิจต่าง ๆ ตลอดจนตอบสนองความต้องการทาง
การเงินของประชาชนและธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๔.๑.๙ พัฒนาระบบการเงินเสรี ด้วยการผ่อนคลายการควบคุมที่ไม่จำเป็น
และยกเลิกข้อจำกัดต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพและความคล่องตัว โดยคำนึงถึง
วินัยและคุณภาพ ของระบบการเงินควบคู่กันไป
๔.๑.๑๐ จัดตั้งและสนับสนุนบทบาทสถาบันการเงินเฉพาะด้าน เพื่อสนับสนุน
การส่งออกโดยจัดตั้งธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าพร้อมกับสนับสนุนการกระจาย
ความเจริญและการลงทุน สู่ภูมิภาค โดยสนับสนุนสถาบันการเงินเฉพาะด้านที่มีอยู่แล้วให้จัด
สินเชื่อแก่ภาคการผลิตในภูมิภาคให้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งแก่อุตสาหกรรมขนาดย่อม
และอุตสาหกรรมในครัวเรือน
๔.๑.๑๑ รักษาเสถียรภาพและความเชื่อมั่นในค่าเงินบาทโดยยึดระบบส่งเสริม
การค้าและการลงทุน และสร้างความเชื่อมโยงของระบบการเงินไทยกับระบบการเงิน
ของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้
๔.๒ ด้านการเกษตรรัฐบาลตระหนักว่า การแก้ไขความยากจนของเกษตรกรเป็นงาน
ที่ต้องดำเนินการโดยเร่งด่วน และเป็นงานที่ต้องดำเนินการหลายด้านด้วยกันจึงได้กำหนด
นโยบายที่จะยกระดับรายได้ของเกษตรกรให้สูงขึ้น
๔.๒.๑ จัดตั้งสภาการเกษตรแห่งชาติโดยเปิดโอกาสให้ตัวแทนเกษตรกรเข้ามา
มีส่วนร่วมกับภาครัฐบาลและธุรกิจเอกชนในการประสานนโยบายการผลิต การแปรสภาพ
ผลผลิต และการตลาดอย่างเป็นระบบครบวงจร รวมทั้งจะใช้กองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร
ในการรักษาเสถียรภาพของราคาผลิตผลการเกษตร
๔.๒.๒ ปรับปรุงระบบการผลิตทางการเกษตรให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่
และสอดคล้องกับความต้องการของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ โดยกระจายการผลิต
ทางการเกษตรให้หลากหลายชนิดมากขึ้น โดยเฉพาะสินค้าเกษตรชนิดใหม่ ๆ ที่จะเชื่อมโยง
เข้ากับอุตสาหกรรมการเกษตร ตลอดจนส่งเสริมการทำไร่นาสวนผสม การเลี้ยงปศุสัตว์
การเพาะเลี้ยงชายฝั่ง รวมทั้งการทำประมงร่วมกับต่างประเทศ
๔.๒.๓ เร่งรัดพัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติ แหล่งน้ำในไร่นา ตลอดจนการกระจาย
การก่อสร้างแหล่งน้ำขนาดเล็ก พัฒนาแหล่งกักเก็บน้ำในลุ่มน้ำต่าง ๆ เพื่อช่วยแก้ปัญหา
การขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและการเกษตรกรรม ในระยะยาวจะนำทรัพยากร
จากแหล่งน้ำนานาชาติ เข้ามาใช้ประโยชน์ตามสิทธิที่ประเทศไทยพึงมี รวมทั้งปรับปรุง
การบริหารการใช้น้ำชลประทานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
๔.๒.๔ เร่งรัดการปฏิรูปที่ดินและการออกเอกสารสิทธิ เพื่อกระจายสิทธิการ
ถือครองที่ดินให้แก่เกษตรกรผู้ยากไร้ และเกษตรกรที่ครอบครองทำกินอยู่ในที่ดินของรัฐ
ประเภทต่าง ๆ โดยจะปรับปรุงกลไกการบริหารและการจัดการของรัฐ ตลอดจนจัดสรร
งบประมาณให้สามารถครอบคลุมพื้นที่ได้โดยเฉลี่ยปีละประมาณ ๔ ล้านไร่
๔.๒.๕ สนับสนุนงานวิจัย และพัฒนาพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ และระบบการเกษตรกรรม
ให้ทันสมัยและก้าวหน้าอยู่เสมอ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้สามารถแข่งขันได้ในตลาด
โลก ตลอดจนจัดหาปัจจัยการผลิตที่มีคุณภาพและราคาเป็นธรรมให้แก่เกษตรกร โดยเฉพาะ
พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ ปุ๋ยและเคมีเกษตร ทั้งนี้รวมถึงการส่งเสริมให้เอกชนมีส่วนร่วมในการจัดหา
การพัฒนาเทคโนโลยี และการกระจายพันธุ์ที่มีคุณภาพให้แก่เกษตรกรด้วย
๔.๒.๖ สนับสนุนการพัฒนาสถาบันเกษตรกรที่เชื่อมโยงระบบสหกรณ์และองค์กร
ของเกษตรกรทุกรูปแบบให้เข้มแข็งขึ้นเพื่อเพิ่มพูนอำนาจต่อรองของเกษตรกรกับกลุ่ม
ธุรกิจการค้า รวมทั้งปรับปรุงคุณภาพของเกษตรกรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการประกอบ
อาชีพ โดยเน้นการฝึกอบรมและการฝึกอาชีพให้แก่เกษตรกร ยุวเกษตรกร และแม่บ้านเกษตร
อย่างต่อเนื่อง
๔.๒.๗ สนับสนุนให้เกษตรกรประกอบกิจกรรมเสริมนอกภาคเกษตรให้มากขึ้น
โดยเผยแพร่ความรู้ในการแปรรูปสินค้าเกษตรเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมในครัวเรือน
๔.๒.๘ ให้ความช่วยเหลือในการแก้ไขภาวะหนี้สินของเกษตรกรด้วยการจัดให้มี
สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ตลอดจนการให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการและปัจจัยการผลิตแก่เกษตรกร
รายย่อย นอกจากนี้จะปรับปรุงกลไกของรัฐในการอำนวยสินเชื่อการเกษตรอย่างจริงจังด้วย
๔.๒.๙ เพิ่มมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการบุกรุกและการตัดไม้
ทำลายป่า อนุรักษ์ป่าต้นน้ำลำธาร และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมโทรมโดยเร่งรัด
การปลูกป่าในพื้นที่อนุรักษ์ที่ถูกบุกรุกทำลายรวมทั้งส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกไม้เศรษฐกิจ
ในที่ดินกรรมสิทธิ์ของตนเอง
๔.๒.๑๐ ปรับปรุงระบบข้อมูลและข่าวสารการเกษตรให้ทันสมัย ถูกต้องและ
รวดเร็ว ทั้งในระดับภูมิภาคของประเทศและระดับนานาชาติ
๔.๓ ด้านอุตสาหกรรม
โดยที่การพัฒนาอุตสาหกรรมมีบทบาทสำคัญต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
รัฐบาลจึงมีนโยบายที่จะสนับสนุนให้ภาคอุตสาหกรรมขยายตัวในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง
มีการกระจายไปสู่ภูมิภาคมากยิ่งขึ้น มีพื้นฐานทางเทคโนโลยีที่ดีและเพียงพอมารองรับ
รวมทั้งป้องกันมิให้เกิดปัญหามลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม โดยรัฐบาลจะดำเนินการ ดังนี้
๔.๓.๑ ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตด้วยการส่งเสริมการลงทุนพัฒนา
เทคโนโลยีการผลิต การตลาด และการจัดการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเร่งพัฒนาฝีมือ
แรงงานให้มีคุณภาพสูง และเพียงพอต่อความต้องการ รวมทั้งปรับปรุงกฎ ระเบียบ
และขั้นตอนการขออนุมัติ และการต่ออายุการประกอบกิจการอุตสาหกรรมให้เอื้ออำนวย
ต่อการลงทุน ตลอดจนการเพิ่มประสิทธิภาพของเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อให้บริการและแนะนำการลงทุน
๔.๓.๒ เน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายที่จะช่วยสร้างงานในท้องถิ่น
ใช้วัตถุดิบในประเทศมาก ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มสูง มีความได้เปรียบในเชิงการผลิต และเป็น
พื้นฐานการพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่องอันได้แก่ อุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรอุตสาหกรรม
สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมงานโลหะ และอุตสาหกรรมเหล็ก ตลอดทั้งส่งเสริมระบบการรับช่วงการผลิตให้กระจายไปสู่ภูมิภาคมากขึ้น
๔.๓.๓ ดำเนินการส่งเสริมให้มีการกระจายการตั้งโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบ
และใช้แรงงานมากออกไปสู่ภูมิภาคและชนบท โดยส่งเสริมให้มีการพัฒนาบริการพื้นฐานที่ได้
มาตรฐาน สนับสนุนการลงทุนของภาคเอกชนให้เพียงพอ รวมทั้งจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมใน
ส่วนภูมิภาค สนับสนุนให้สถาบันการเงินเพิ่มวงเงินสินเชื่อให้แก่อุตสาหกรรมในต่างจังหวัด
โดยเฉพาะอุตสาหกรรมขนาดย่อมและอุตสาหกรรมในครัวเรือน ตลอดจนการประกอบการค้า
ด้านวิศวกรรมทั้งที่เป็นการสร้างหรือซ่อมเครื่องยนต์กลไกขนาดเล็ก
๔.๓.๔ ปรับปรุงระบบงานด้านการควบคุม และติดตามการกำจัดมลพิษจากโรงงาน
อุตสาหกรรมให้มีประสิทธิภาพโดยการตรวจสอบโรงงานอย่างสม่ำเสมอ
๔.๓.๕ ส่งเสริมและกำหนดมาตรการจูงใจให้โรงงานอุตสาหกรรมเข้าอยู่ในเขต
นิคมอุตสาหกรรม เพื่อให้สามารถควบคุมดูแลด้านสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๔.๓.๖ ส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้าร่วมมีบทบาทและช่วยแบ่งเบาภาระการ
ดำเนินการของรัฐบางประการ เช่น การกำหนดและตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐาน
สินค้า การตรวจสอบโรงงาน
๔.๔ ด้านการพาณิชย์ระหว่างประเทศเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถแข่งขันทางด้าน
การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้สภาวะการณ์ที่มีการ
กีดกันทางการค้าอย่างรุนแรง รัฐบาลจะดำเนินการดังนี้
๔.๔.๑ ส่งเสริมและขจัดอุปสรรคทางด้านการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกทั้งใน
ภาคเกษตร อุตสาหกรรม และบริการให้ตรงตามความต้องการของตลาด
๔.๔.๒ สนับสนุนการค้าเสรีภายใต้พันธกรณีทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่าง
ประเทศ ปกป้องสิทธิและผลประโยชน์ของชาติ โดยคำนึงถึงความพร้อมและขีดความสามารถ
ของประเทศ โดยเฉพาะจะให้ความสำคัญกับการเจรจาข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าและอัตรา
ภาษีศุลกากรและการเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียน
๔.๔.๓ เสริมสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการค้าแบบพหุภาคีกับกลุ่มความ
ร่วมมือทางเศรษฐกิจต่าง ๆ เช่น กลุ่มประเทศอาเซียน กลุ่มประชาคมเศรษฐกิจยุโรปกลุ่ม
ประเทศเอเชียแปซิฟิก กลุ่มประเทศเขตเศรษฐกิจเสรีอเมริกาเหนือเพื่อขยายโอกาสทาง
การค้าและการลงทุนให้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
๔.๔.๔ สนับสนุนความร่วมมือในการเปิดจุดผ่านแดนเพื่อขยายการค้าและ
การลงทุนกับประเทศเพื่อนบ้าน
๔.๔.๕ เจรจาแก้ไขข้อตกลง สนธิสัญญาตลอดจนพันธกรณีในเรื่องน่านน้ำ
ระหว่างประเทศและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเล เพื่อรักษาผลประโยชน์ของ
ประเทศ
๔.๔.๖ เสริมสร้างความสัมพันธ์ทางการค้ากับประเทศเพื่อนบ้านโดยให้ความ
ร่วมมือทางเศรษฐกิจ วิชาการ การพัฒนาบุคลากรและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้
เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อประโยชน์ร่วมกัน
๔.๔.๗ ส่งเสริมบทบาทของภาคเอกชนในการวางแผนและกำหนดยุทธวิธี
ทางการค้ากับต่างประเทศ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ทางการค้าและการลงทุน
๔.๕ ด้านการพาณิชย์ภายในประเทศรัฐบาลจะมุ่งเน้นบทบาทในการกำกับดูแลให้
การค้าภายในประเทศดำเนินการไปตามกลไกการตลาดอย่างเป็นธรรมโดยจะดำเนินการ
ดังนี้
๔.๕.๑ รักษาระดับราคาสินค้าเกษตรให้มีเสถียรภาพและสอดคล้องกับภาวะตลาด
ทั้งภายใน และภายนอกประเทศอย่างเป็นธรรมทั้งจะมุ่งขจัดการเอารัดเอาเปรียบเกษตรกร
ในเรื่องราคา ปริมาณ และคุณภาพ
๔.๕.๒ คุ้มครองผู้บริโภคจากผลกระทบที่เกิดขึ้นโดยการผูกขาดตัดตอนและการ
แข่งขันที่ไม่เป็นธรรม
๔.๕ ๓ ปรับปรุงระบบข่าวสารข้อมูลการค้าทั้งในด้านการผลิตและการตลาดให้
รวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์ เพื่ออำนวยประโยชน์ผู้ผลิต ผู้ค้า และผู้บริโภค
๔.๕.๔ ส่งเสริมระบบการประกันภัย เพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจภายในประเทศให้มี
ความมั่นคงและเติบโตยิ่งขึ้นพร้อมทั้งกำกับดูแลให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้เอาประกันและ
ผู้รับประโยชน์
๔.๖ ด้านการคมนาคมเพื่อพัฒนาและขยายระบบการคมนาคมการสื่อสารและการขนส่ง
ให้ทั่วถึงทันสมัย และรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศและภูมิภาคนี้ได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ รัฐบาลจะดำเนินการดังนี้
๔.๖.๑ สร้างเส้นทางคมนาคมทางบก ให้กระจายและเชื่อมโยงไปสู่ภูมิภาคต่าง ๆ
ทั่วประเทศ โดยเฉพาะจะขยายถนนให้มีช่องทางเดินรถแยกการจราจรเป็น ๔ ช่องทาง
ตลอดเส้นทางสายประธาน สำหรับทางรถไฟจะเร่งรัดปับเป็นรางคู่ในเส้นทางที่มีความพร้อม
๔.๖.๒ แก้ไขปัญหาการจราจรในเมืองใหญ่ และเมืองที่เป็นศูนย์กลางการคมนาคม
โดยใช้มาตรการด้านผังเมือง การเพิ่มผิวการจราจร การจัดระบบการขนส่งมวลชนและการกวดขัน
ด้านวินัยของผู้ใช้รถใช้ถนน ตลอดจนเตรียมการป้องกันปัญหาดังกล่าวที่อาจเกิดขึ้นในเมืองอื่น ๆ
ในอนาคต
๔.๖.๓ วางโครงสร้างพื้นฐานทางด้านการขนส่งและการสื่อสารให้สามารถรองรับ
ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมในอนาคต โดยส่งเสริมให้เอกชนมีส่วนร่วมใน
การลงทุน และให้บริการด้านการขนส่งและกิจการสื่อสาร
๔.๖.๔ พัฒนาระบบการขนส่งทางน้ำ และการขนส่งชายฝั่งทะเล โดยจัดสร้างท่าเรือ
ขึ้นในจุดที่จะเชื่อมโยงกับการขนส่งทางบก เพื่อลดต้นทุนการขนส่งสินค้าในประเทศและ
ประหยัดการใช้พลังงาน
๔.๖.๕ ดำเนินการส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการบินและการขนส่ง
ทางอากาศในภูมิภาคนี้ รวมทั้งขยายการขนส่งทางอากาศภายในประเทศให้ทั่วถึงยิ่งขึ้น
๔.๖.๖ พัฒนาข่ายการติดต่อสื่อสารโทรคมนาคมให้ทั่วถึงและทันสมัยโดยนำ
เทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ เพื่ออำนวยบริการให้สามารถรองรับการเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ
และการเงินในภูมิภาคนี้
๔.๗ ด้านพลังงานเพื่อเร่งรัดพัฒนาแหล่งพลังงาน ให้สอดคล้องกับการขยายตัวทาง
เศรษฐกิจและสังคมของประเทศบนพื้นฐานของการพึ่งพาตนเองโดยคำนึงถึงผลกระทบ
ต่อสิ่งแวดล้อม รัฐบาลจะดำเนินการดังนี้
๔.๗.๑ จัดหาพลังงานไฟฟ้าและพลังงานอื่น ๆ ให้มีปริมาณเพียงพอ
ทันต่อความต้องการในระดับราคาที่เหมาะสมด้วยการเร่งสำรวจและพัฒนาแหล่งพลังงาน
ภายในประเทศตลอดจนร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการพัฒนาแหล่งพลังงานและการ
จัดหาพลังงาน
๔.๗.๒ ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการแข่งขันด้านการค้า และการกลั่นน้ำมัน
อย่างเสรี รวมทั้งขจัดการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมภายในประเทศ
๔.๗.๓ เร่งกำหนดมาตรการและดำเนินโครงการเพื่อส่งเสริมให้มีการใช้พลังงาน
อย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด
๔.๗.๔ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานและร่วมทุน
กับรัฐด้านพลังงานมากขึ้น
๔.๗.๕ กำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษ อันเนื่องมาจากการพัฒนา
และการผลิตพลังงาน
๔.๗.๖ เร่งรัดและวางมาตรการเพื่อลดปัญหามลพิษที่เกิดจากการใช้พลังงานใน
รูปแบบต่าง ๆ โดยเฉพาะการใช้ยานพาหนะในเมือง เช่น การกำหนดมาตรฐานไอเสีย
ยานพาหนะใหม่ การกำหนดมาตรการบำรุงรักษาเครื่องยนต์และการปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน
๔.๘ ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วยเหตุที่การเปลี่ยนแปลง
อย่างรวดเร็วในทางเศรษฐกิจและสังคมในระยะที่ผ่านมามีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและ
ทรัพยากรธรรมชาติ รัฐบาลจึงกำหนดนโยบายดังนี้
๔.๘.๑ กำหนดเขตการใช้ประโยชน์ทีดินให้เหมาะสมโดยคำนึงถึงสมรรถนะ
ของดินและศักยภาพของพื้นที่ เช่น เขตพื้นที่เกษตรกรรม พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม
ชุมชน และพื้นที่ป่าอนุรักษ์
๔.๘.๒ อนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ทั้งป่าบก และป่าชายเลน โดยสนับสนุนองค์กร
ท้องถิ่นและประชาชน ให้มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาป่าไม้และปลูกสร้างป่าชุมชน
๔.๘.๓ เร่งรัดการอนุรักษ์ ควบคุม ดูแลแหล่งน้ำ มิให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม
โดยกวดขันให้มีการควบคุมคุณภาพน้ำและเพิ่มขีดความสามารถในการบำบัดน้ำเสียก่อนระบาย
ลงสู่แหล่งน้ำ และแม่น้ำสายหลักทั่วประเทศรวมทั้งส่งเสริมการร่วมทุนของรัฐและเอกชน
ในการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียรวม
๔.๘.๔ กระจายอำนาจการจัดสิ่งแวดล้อมจากส่วนกลางไปสู่ส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น
โดยให้จังหวัด ท้องถิ่นและประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินการมากขึ้น
๔.๘.๕ กำหนดมาตรการควบคุมการใช้ประโยชน์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ
โดยประกาศเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม และเขตควบคุมมลพิษในพื้นที่วิกฤติ
๔.๘.๖ ปลูกฝังให้เด็ก เยาวชน และประชาชนตระหนักในความสำคัญของ
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสนับสนุนองค์กรเอกชนที่ดำเนินการ
ในเรื่องนี้
๔.๙ ด้านการท่องเที่ยวเพื่อให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวซึ่งทำรายได้ให้แก่ประเทศ
เป็นจำนวนมาก ได้พัฒนาก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลจึงมีนโยบายดังนี้
๔.๙.๑ ส่งเสริมให้เอกชนมีบทบาทในการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
โดยรัฐจะเป็นฝ่ายอำนวยความสะดวกและสนับสนุนรวมทั้งจะกำกับดูแลกิจการมัคคุเทศก์
ให้มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับและมั่นใจของวงการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
๔.๙.๒ ส่งเสริมและประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในระดับประเทศ ระดับ
ภูมิภาค และระดับนานาชาติ เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ชาวต่างประเทศรู้จักประเทศไทยในแง่มุม
ที่ถูกต้องและทราบถึงความมีศักยภาพพร้อมมูลทั้งในด้านการท่องเที่ยว การค้าการลงทุนและ
การจัดกิจกรรมนานาชาติ
๔.๙.๓ พัฒนาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของการท่องเที่ยวในภูมิภาคนี้ โดยเร่ง
ขยายโครงข่ายบริการพื้นฐาน พัฒนาอุตสาหกรรมบริการให้มีมาตรฐาน และเพิ่มประสิทธิภาพ
ของบุคลากรด้านการท่องเที่ยว
๔.๙.๔ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนท่องเที่ยวในประเทศให้มากขึ้น
๔.๙.๕ อนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และแหล่งท่องเที่ยวให้อยู่ในสภาพ
สิ่งแวดล้อมอันเกิดจากอุตาสหกรรมการท่องเที่ยวนั้นเอง
๕. นโยบายการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคและชนบท
แม้การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในระยะยที่ผ่านมาจะประสบความสำเร็จ
ในระดับหนึ่งแต่ความเจริญดังกล่าวยังคงกระจุกอยู่เฉพาะในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
มิได้กระจายไปทั่วประเทศก่อให้เกิดทั้งปัญหาในกรุงเทพมหานครและปัญหาความเหลื่อมล้ำ
ทางเศรษฐกิจและสังคมในภูมิภาครัฐบาลจึงมีนโยบายเร่งกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค
และชนบทอย่างเป็นระบบดังนี้
๕.๑ กระจายระบบบริการพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เช่น ระบบคมนาคมขนส่งระบบสื่อสาร
โทรคมนาคม ประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์ ไปสู่ภูมิภาคให้ทั่วถึงและเพียงพอเพื่อขยายโอกาส
การพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาค
๕.๒ จัดบริการพื้นฐานทางสังคม เช่น สถานศึกษา สถานพยาบาล ที่อยู่อาศัยที่มี
มาตรฐานเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในชนบทอย่างทั่วถึง
๕.๓ สนับสนุนการกระจายการลงทุนของภาคเอกชนในภูมิภาคด้วยมาตรการส่งเสริม
การลงทุนในด้านภาษีอากรเป็นพิเศษและการให้สินเชื่อของสถาบันการเงินทั้งของรัฐและ
เอกชน
๕.๔ ส่งเสริมโครงการประเภทต่าง ๆ ของเอกชนทั้งทางด้านธุรกิจการค้า การบริการ
การเกษตร และอุตสาหกรรม ตามศักยภาพที่มีอยู่ในท้องถิ่น เพื่อนำไปสู่การลงทุนและเพิ่ม
การสร้างงานในต่างจังหวัดให้มากขึ้น
๕.๕ ส่งเสริมบทบาทของภาคเอกชนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมใน
ท้องถิ่น
๕.๖ พัฒนาแผนงานยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจในแต่ละภูมิภาค ดังนี้
๕.๖.๑ ภาคตะวันออก จะพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกอย่างต่อเนื่องตาม
ขั้นตอนต่อไปเพื่อเป็นฐานเศรษฐกิจที่จะรองรับประชากรอีก ๒ ล้านคน
๕.๖.๒ ภาคใต้ จะวางแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้เพื่อเชื่อมโยงทะเล
อันดามันกับอ่าวไทย ด้วยสะพานเศรษฐกิจ โดยคำนึงถึงการจัดการดูแลด้านสิ่งแวดล้อมด้วย
และจะพิจารณาเปิดพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษตามความเหมาะสมในพื้นที่ ๕ จังหวัดชายแดน
ภาคใต้
๕.๖.๓ ภาคเหนือ จะพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางอากาศเพื่อเชื่อมโยง
กับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะสาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชน
ลาว และสหภาพพม่า
๕.๖.๔ ภาคกลาง จะเร่งรัดพัฒนาแหล่งน้ำที่สำคัญและนำน้ำเข้ามาเสริมในลุ่มน้ำ
เจ้าพระยาเพื่อการเกษตรและการอุปโภคบริโภค
๕.๖.๕ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะเร่งรัดพัฒนาแหล่งน้ำและจะปรับโครงสร้าง
การผลิตทางเศรษฐกิจให้พึ่งพาการเกษตรน้อยลง ตลอดจนส่งเสริมให้เป็นศูนย์กลางการผลิต
และประตูการติดต่อค้าขายกับประเทศกลุ่มอินโดจีน ทั้งจะพัฒนาโครงข่ายระบบคมนาคม
ขนส่งเพื่อเชื่อมโยงกับชายฝั่งทะเลตะวันออกอีกด้วย
๖. นโยบายฟื้นฟูบูรณะกรุงเทพมหานคร
เพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ อันเกิดจากการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและไม่มีระบบของ
กรุงเทพมหานคร รัฐบาลจึงมีนโยบายดังนี้
๖.๑ กำหนดแผนงานและโครงการฟื้นฟูบูรณะกรุงเทพมหานคร เพื่อแก้ไขปัญหาในด้าน
การจราจร ปัญหาน้ำท่วม ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ปัญหาการขาดแคลนที่อยู่อาศัยและปัญหา
ชุมชนแออัด โดยเร่งรัดการจัดระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน การปรับปรุงระบบรถโดยสาร
ประจำทางและรถไฟโดยสารชานเมือง การก่อสร้างโครงข่ายระบบถนนสายหลักและสายรอง
ให้เชื่อมโยงเป็นตาราง การจัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสียและการควบคุมมลพิษทางอากาศ
การขยายบริการระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ ให้ได้มาตรฐานเพียงพอและทั่วถึงการก่อสร้าง
ที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย การปรับปรุงชุมชนแออัด ตลอดจนการจัดให้มีสวนสาธารณะ
สนามกีฬา และสนามเด็กเล่นเพิ่มเติมในที่ดินของรัฐ
๖.๒ ดำเนินการระดมทุนในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ในการปฏิบัติตามโครงการโดยให้มี
การแบ่งภาระสัดส่วนการลงทุนและค่าดำเนินการที่เหมาะสมระหว่างรัฐบาลกรุงเทพมหานคร
และประชาชนผู้ใช้บริการอย่างเป็นธรรม
๖.๓ สนับสนุนการจัดตั้งองค์กรประสานงานที่มีเอกภาพและมีอำนาจตัดสินใจเพื่อ
รับผิดชอบในการปฏิบัติตามโครงการ ตลอดจนประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและ
เอกชนในการลงทุนตามโครงการต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานคร
๖.๔ เร่งรัดการแก้ไขปัญหาน้ำเสียในแม่น้ำเจ้าพระยาและคูคลองต่าง ๆ โดยบังคับใช้
กฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
๖.๕ เร่งรัดแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยและชุมชนแออัด โดยสนับสนุนให้ภาคเอกชนมีส่วน
ร่วมในการสร้างที่อยู่อาศัยราคาถูก ด้วยการส่งเสริมการลงทุนเป็นกรณีพิเศษและจัดเงินกู้
ดอกเบี้ยต่ำเพื่อการนี้ให้เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ จะขยายการจัดบริการระบบสาธารณูปโภค
สาธารณูปการ โดยเฉพาะน้ำประปาและไฟฟ้าในเขตชุมชนแออัดให้ได้มาตรฐานเพื่อยก
ระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
๖.๖ สนับสนุนให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจที่มีความพร้อมโยกย้ายไปตั้งที่ทำการนอก
กรุงเทพมหานคร เพื่อผ่อนคลายปัญหาการจราจร
๖.๗ พัฒนากรุงเทพมหานครให้เชื่อมโยงกับพื้นที่เขตเศรษฐกิจใหม่บริเวณชายฝั่ง
ทะเลตะวันออก และเชื่อมโยงกับท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ แห่งที่ ๒ ที่หนองงูเห่ารวมทั้ง
ภาคกลาง ตอนบนเพื่อขยายเขตมหานครออกไป
๗. นโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม รัฐบาลจะเร่งรัดพัฒนาขีดความสามารถ
ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เป็นปัจจัยที่สำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตการ
แข่งขันระหว่างประเทศ ตลอดจนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน จึงกำหนดนโยบายดังนี้
๗.๑ ส่งเสริมให้ทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมกันพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ให้ทันสมัและนำมาใช้สนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตด้านเกษตร อุตสาหกรรม
และการบริการ รวมทั้งการจัดตั้งเขตประมวลและบริการสารสนเทศ
๗.๒ สนับสนุนความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระหว่างภาครัฐกับเอกชน
อย่างจริงจัง โดยร่วมกันกำหนดทิศทาง ลำดับความสำคัญ และเป้าหมายให้สอดคล้องกับ
ความต้องการทางเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งการเผยแพร่และถ่ายทอดเทคโนโลยีดังกล่าว
๗.๓ สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาในภาครัฐ ทั้งในด้านงบประมาณและกำลังคน
เพื่อให้มีขีดความสามารถทัดเทียมกับประเทศคู่แข่งขัน โดยเน้นด้านการวิจัยประยุกต์ เพื่อพัฒนา
เทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับผู้ผลิตในประเทศ โดยเฉพาะผู้ผลิตรายย่อย เพื่อเพิ่มผลผลิต
และการจ้างงาน
๗.๔ เร่งรัดให้มีการผลิตและพัฒนาบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่าง
ต่อเนื่อง รวมทั้งสนับสนุนให้ภาคเอกชนมีบทบาทในการผลิต และพัฒนาบุคลากรเพิ่มขึ้นโดย
จัดสรรทุนการศึกษา การฝึกอบรม การวิจัย ทั้งในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้น
๗.๕ ส่งเสริมให้ภาคเอกชนลงทุนในการวิจัยและพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยีเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ทดแทนการนำเข้า โดยให้สิทธิพิเศษทางภาษีหรือสิทธิ
พิเศษอื่น
๗.๖ สนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ทันสมัยจากต่างประเทศ โดยให้สิทธิพิเศษ
ทางภาษีและอำนวยความสะดวกแก่ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดเทคโนโลยีดังกล่าว
๗.๗ ขยายความร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ ในการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
๘. นโยบายทางสังคม
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
ทำให้วิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนต้องปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็วก่อให้เกิดปัญหา
ในหลายด้าน รัฐบาลจำเป็นต้องแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยกำหนดนโยบายดังนี้
๘.๑ ด้านการศึกษา
๘.๑.๑ เร่งขยายโอกาสการศึกษาในระดับก่อนประถมศึกษาในทุกรูปแบบให้ทั่วถึง
โดยมุ่งเน้นการพัฒนาความพร้อมทุกด้านให้แก่เด็กก่อนเข้าเรียนชั้นประถมศึกษา
๘.๑.๒ เร่งขยายการศึกษาขั้นพื้นฐานจาก ๖ ปี เป็น ๙ ปี ให้ทั่วถึงโดยเร็วอย่างมี
คุณภาพ ทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียนรวมทั้งสนับสนุนการจัดการศึกษาให้แก่ผู้บกพร่อง
ทางร่างกาย จิตใจ และผู้ด้อยโอกาสกลุ่มอื่น ๆ
๘.๑.๓ พัฒนาคุณภาพการศึกษาทุกระดับ ทุกประเภททั้งในด้านเนื้อหาสาระ
และกระบวนการเรียนรู้โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และ
เทคโนโลยีอันเป็นฐานสำคัญต่อการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ที่จำเป็น และเหมาะสมต่อการ
พัฒนาประเทศ
๘.๑.๔ เร่งอบรมปลูกฝังให้ประชาชนมีจิตสำนึกถึงความสำคัญของการ
มีส่วนร่วมในกิจกรรมของสังคมประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ปฏิบัติตนให้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่เด็กและเยาวชน ในด้านคุณธรรม ศีลธรรม จริยธรรม
และค่านิยมที่เป็นประโยชน์ส่วนรวมโดยเน้นความร่วมมืออย่างจริงจังและใกล้ชิด
ของสถาบันการศึกษา ศาสนา สังคม และครอบครัว
๘.๑.๕ จัดให้มีการศึกษาและฝึกอบรมอาชีพทั้งในและนอกระบบโรงเรียน
เพื่อพัฒนาคุณภาพฝีมือแรงงานทุกระดับ รวมทั้งส่งเสริมให้เอกชนและสถานประกอบการ
เข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษา และฝึกอบรมให้มากและกว้างขวางยิ่งขึ้น
๘.๑.๖ ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการใช้ทรัพยากรจากองค์กรภาครัฐและเอกชน
สถานประกอบการ ชุมชน และแหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและ
แลกเปลี่ยนข่าวสารการเรียนรู้
๘.๑.๗ กระจายอำนาจการบริหารการศึกษาจากส่วนกลางไปสู่ส่วนภูมิภาคและไป
สู่สถานศึกษาให้มากขึ้น โดยการกำหนดขอบข่ายความรับผิดชอบของหน่วยงานทุกระดับอย่าง
ชัดเจนให้สถานศึกษามีความคล่องตัวในการเลือกวิธีการจัดดำเนินงานตามนโยบายรวมทั้ง
สนับสนุนให้บุคคลและองค์กรในชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของชุมชนในรูปคณะ
กรรมการการศึกษา
๘.๑.๘ ส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาทุกสังกัดมีความคล่องตัวและมีความเป็นอิสระ
เพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ
๘.๑.๙ ส่งเสริมให้สถาบันการศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนมีบทบาทในการพัฒนา
ท้องถิ่นและประเทศชาติ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและการยกระดับคุณภาพชีวิตของ
ประชาชนในท้องถิ่น โดยเฉพาะสถาบันการศึกษาที่ตั้งอยู่ในท้องถิ่นนั้น ๆ
๘.๑.๑๐ ส่งเสริมบทบาทเอกชนในการร่วมจัดการศึกษาในทุกระดับให้มากยิ่งขึ้น
๘.๑.๑๑ พัฒนามาตรฐานวิชาชีพครูและมาตรฐานบุคลากรทางการศึกษาให้เป็น
วิชาชีพอย่างแท้จริง โดยการปรับกระบวนการผลิตและการใช้ตลอดจนการพัฒนาครูและบุคลากร
ทางการศึกษาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
๘.๑.๑๒ ปรับปรุงสวัสดิการที่เหมาะสมให้แก่บุคลากรในสถาบันการศึกษาทุกระดับ
เพื่อสร้างขวัญ กำลังใจ และความภาคภูมิใจในอาชีพ
๘.๑.๑๓ ขยายกองทุนอาหารกลางวันให้ทั่วถึงในระดับก่อนประถมศึกษาและ
ระดับประถมศึกษาเพื่อให้ผู้ที่อยู่ในวัยศึกษาเหล่านั้นได้มีการพัฒนาด้านสุขภาพอนามัย
อย่างสมบูรณ์ รวมทั้งสนับสนุนให้มีกองทุนการศึกษาเพื่อช่วยเหลือนักเรียนและนักศึกษา
ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์
๘.๒ ด้านศาสนาและศิลปวัฒนธรรม
๘.๒.๑ ทำนุบำรุงศาสนาและส่งเสริมสถาบันศาสนา โดยการพัฒนาการศึกษา
ของสงฆ์ และการฝึกอบรมบุคลากรทางศาสนาให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น เพื่อให้เป็นผู้นำในการ
พัฒนาจิตใจจริยธรรม และคุณธรรมของประชาชน
๘.๒.๒ รณรงค์ให้ประชาชน องค์กร สถาบันต่าง ๆ และชุมชนเข้าร่วมใน
กิจกรรมการอนุรักษ์ ส่งเสริมและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทยให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
๘.๒.๓ ดำเนินการให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางความร่วมมือทางการศึกษา
การค้นคว้า วิจัย การฝึกอบรม การอนุรักษ์โบราณสถาน โบราณวัตถุของชาติรวมทั้งการพัฒนา
ศิลปวัฒนธรรมในภูมิภาค
๘.๓ ด้านสาธารณสุขเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากรในด้านสาธารณสุขรัฐบาล
จึงกำหนดนโยบายด้านพัฒนาระบบบริหารและบริการสาธารณสุข ด้านการควบคุมโรคเอดส์
ด้านการส่งเสริมสุขภาพ และด้านการผลิตและพัฒนาระบบบริหารและบริการสาธารณสุข
ด้านการควบคุมโรคเอดส์ ด้านการส่งเสริมสุขภาพ และด้านการผลิตและพัฒนาบุคลากรดังนี้
๘.๓.๑ ให้มีระบบบริการสาธารณสุขแห่งชาติ โดยมีเครือข่ายทั่วประเทศ และขยาย
บริการสาธารณสุขในภาครัฐทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่นให้ทั่วถึงรวมทั้ง
ให้มีการประสานงานบริการกับภาคเอกชน และมีระบบการส่งต่อผู้ป่วยที่มีประสิทธิภาพ
๘.๓.๒ กระจายอำนาจการบริหารจากส่วนกลางไปสู่ส่วนภูมิภาคมากขึ้นโดยการ
จัดตั้งสาธารณสุขเขตให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศเพื่อรับผิดชอบการให้บริการด้านการรักษา
การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคให้สอดคล้องกับความต้องการและปัญหาสาธารณสุข
ของท้องถิ่น
๘.๓.๓ เร่งรัดงานสาธารณสุขมูลฐานในชนบทโดยเพิ่มขีดความสามารถของ
สถานบริการสาธารณสุขในระดับตำบลรวมทั้งขยายงานและพัฒนาคุณภาพสาธารณสุข
มูลฐานในเขตเมือง โดยเฉพาะชุมชนแออัดแสวงหาความร่วมมือจากองค์กรเอกชน
ในการพัฒนาสาธารณสุขมูลฐานและผสมผสานการแพทย์แผนโบราณและสมุนไพร
เข้ากับระบบบริการสาธารณสุขของชุมชนอย่างเหมาะสม
๘.๓.๔ ปรับปรุงระบบการประกันสุขภาพ ให้สามารถคุ้มครองลูกจ้างอย่างเหมาะสม
โดยเฉพาะในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ ๑๐ คนขึ้นไปตลอดจนส่งเสริมให้ประชาชน
ไทยประมาณ ๒๕ ล้านคน ที่ยังไม่หลักประกันสุขภาพได้มีการประกันสุขภาพโดยความสมัครใจ
๘.๓.๕ ให้มีการสงเคราะห์ด้านการรักษาพยาบาลแก่ครอบครัวผู้มีรายได้น้อย ผู้สูง
อายุเด็กแรกเกิดจนถึง ๑๒ ปี และผู้พิการโดยให้ได้รับบัตรสงเคราะห์ในการรักษาพยาบาล
อย่างทั่วถึง
๘.๓.๖ เร่งรัดให้หน่วยงานของรัฐทุกหน่วย ภาคเอกชนและองค์กรเอกชนสาธารณ
ประโยชน์ ร่วมมือกันรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ประชาชน
ในการป้องกันโรคเอดส์เพื่อให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ในกลุ่มเสี่ยง
๘.๓.๗ จัดให้มีการบริการรักษาผู้ป่วยโรคเอดส์โดยเตรียมบุคลากรไว้อย่างเพียงพอ
และให้คำปรึกษาแก่ผู้ติดเชื้อ เพื่อให้ผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วยและประชาชนสามารถอยู่ร่วมกันในสังคม
ได้อย่างปกติสุข
๘.๓.๘ เร่งรัดจัดหาน้ำสะอาดสำหรับอุปโภคบริโภคอย่างทั่วถึงจัดให้มีส้วมที่ถูก
สุขลักษณะ และเร่งรัดเฝ้าระวังตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
สิ่งแวดล้อมที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สิ่งปฏิกูล และขยะติดเชื้อในสถานพยาบาล
๘.๓.๙ รณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงโทษของการสูบบุหรี่ การดื่มสุรา และการ
เสพสารเสพติด ตลอดจนการใช้วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทอย่างทั่วถึง
๘.๓.๑๐ เร่งรัดการผลิต และพัฒนาสมรรถนะบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข
ให้มีคุณภาพ และมีปริมาณเพียงพอ โดยเน้นการกระจายบุคลากรดังกล่าวไปสู่ชนบทให้
มากขึ้น ตลอดจนเสริมสร้างขวัญและกำลังใจพร้อมทั้งให้ค่าตอบแทนและสวัสดิการแก่
บุคลากรทุกระดับอย่างเหมาะสม
๘.๔ ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัยและความ
เป็นธรรม รัฐบาลจึงกำหนดนโยบายดังนี้
๘.๔.๑ เร่งรัดการคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้สินค้าและบริการที่ดี มีความปลอดภัย
และมีคุณภาพในราคาที่เป็นธรรม โดยการประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ตรวจสอบคุณภาพ
และมาตรฐาน ตลอดจนดำเนินการตามกฎหมายต่อผู้กระทำผิดอย่างเคร่งครัด
๘.๔.๒ ส่งเสริมให้ใช้เทคโนโลยีที่ถูกต้องและเหมาะสมในการผลิตและควบคุม
ให้การโฆษณาสินค้าและบริการตรงกับความเป็นจริง
๘.๔.๓ ปรับปรุงกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคและปรับปรุงองค์กรคุ้มครองผู้บริโภค
ให้มีความพร้อมในการทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึง
๘.๔.๔ ส่งเสริมให้เอกชนรวมตัวกันจัดตั้งองค์กรเพื่อมีบทบาทในการคุ้มครอง
และรักษาผลประโยชน์ของผู้บริโภคทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
๘.๕ ด้านแรงงาน} รัฐบาลได้ตระหนักถึงบทบาทและความสำคัญของแรงงานในการ
สนับสนุนการพัฒนาประเทศ ให้สามารถแข่งขันกับนานาชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพจึง
ส่งเสริมให้มีการลงทุนร่วมกันระหว่างรัฐและเอกชน เพื่อพัฒนาความรู้ ฝีมือ และทักษะ
เพิ่มขีดความสามารถในการประกอบอาชีพของผู้ใช้แรงงานทั้งนี้เพื่อสนับสนุนให้ได้รับ
ค่าจ้างที่เหมาะสมและเป็นธรรมรวมทั้งได้รับการคุ้มครองด้านสภาพการทำงานและการ
จ้างงานตามกฎหมายอย่างครบถ้วนจึงกำหนดนโยบายดังนี้
๘.๕.๑ ส่งเสริมให้ผู้ใช้แรงงานมีเสรีภาพ และได้รับการคุ้มครองแรงงานอย่าง
เต็มที่โดยให้มีสิทธิตั้งสหภาพแรงงานเพื่อการคุ้มครองแรงงานตลอดจนจัดสวัสดิการให้เข้า
มาตรฐานตามหลักสากลนิยมในการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยปรับปรุงให้เหมาะสมกับ
สภาวการณ์ของประเทศ
๘.๕.๒ ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับแรงงานรัฐวิสาหกิจให้มีสิทธิหน้าที่และ
ความรับผิดชอบในขอบเขตที่เหมาะสมสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาและส่งเสริม
เสถียรภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยการห้ามนัดหยุดงานในกิจการอันเป็น
สาธารณูปโภคและสาธารณูปการ
๘.๕.๓ ส่งเสริมการฝึกอบรมและพัฒนาฝีมือแรงงานสำหรับกลุ่มผู้ด้อยโอกาส
ทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานภาคเกษตรในชนบท กลุ่มแรงงานยากจนในเมือง
เพื่อเสริมสร้างโอกาสการมีงานทำและช่วยยกระดับรายได้
๘.๕.๔ ส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการจัดตั้ง
สถาบันพัฒนาฝีมือแรงานและศูนย์ฝึกฝีมือแรงงาน โดยเฉพาะสำหรับแรงงานที่ต้องใช้ฝีมือและ
ความชำนาญสูง
๘.๕.๕ ให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพส่วนตัวขนาดเล็กในด้านข้อมูลทาง
วิชาการและแหล่งเงินทุน รวมทั้งจัดให้มีการฝึกสอนอาชีพต่าง ๆ ที่จะเสริมรายได้ให้เยาวชน
และแม่บ้านในชนบทในฤดูแล้ง และช่วงรอฤดูการเก็บเกี่ยว
๘.๕.๖ วางกฎเกณฑ์ในการกำหนดค่าตอบแทนที่เหมาะสมและเป็นธรรมระหว่าง
ผู้ประกอบการและผู้ใช้แรงงานโดยคำนึงถึงประสิทธิภาพการผลิต และภาวะค่าครองชีพ
๘.๕.๗ ส่งเสริมระบบสวัสดิการแรงงานที่เหมาะสมและได้มาตรฐานโดยเฉพาะ
สำหรับแรงงานก่อสร้างนั้น จะส่งเสริมให้มีการจัดที่พักชั่วคราวที่ถูกสุขลักษณะรวมทั้งการ
จัดการศึกษาสำหรับบุตรหลานคนงานก่อสร้างในลักษณะโรงเรียนเคลื่อนที่
๘.๕.๘ เสริมสร้างระบบแรงงานสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพทั้งระบบทวิภาคีและระบบ
ไตรภาคี เพื่อความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ซึ่งจะช่วยลดปัญหาความขัดแย้ง
ที่เป็นผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจ โดยจะดำเนินการอบรมเพื่อให้ผู้ใช้แรงงานมีความรู้ความ
เข้าใจในเรื่องสิทธิหน้าที่ ความรับผิดชอบ และประโยชน์อันจะพึงมีพึงได้ตามกฎหมายแรงงาน
๘.๕.๙ ส่งเสริมให้มีความปลอดภัย ตลอดจนการพัฒนาให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ดี
ในการทำงาน โดยปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมในการทำงาน
๘.๖ ด้านเด็ก และสตรีเพื่อคุ้มครองสิทธิและให้สวัสดิการแก่เด็ก และสตรี รัฐบาลจึง
กำหนดนโยบายดังนี้
๘.๖.๑ สนับสนุนการจัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตเมืองและชนบททั้งจะปรับปรุง
ห้องสมุดประชาชน ให้สามารถบริการเด็กและเยาวชนได้อย่างเพียงพอ
๘.๖.๒ แก้ปัญหาการเลือกปฏิบัติต่อสตรี โดยการแก้กฎหมาย หรือระเบียบที่เกี่ยว
ข้อง เพื่อเปิดโอกาสให้สตรีสามารถประกอบอาชีพได้เท่าเทียมชาย
๘.๖.๓ สนับสนุนสถาบันครอบครัว หน่วยงานภาครัฐและเอกชน สถาบันศาสนา
และสื่อสารมวลชน ให้มีส่วนร่วมในการป้องกัน แก้ปัญหา และพัฒนาเด็กและเยาชนโดย
เฉพาะปัญหาเด็กจรจัด แรงงานเด็ก โสเภณี และการมัวเมาหรือมีค่านิยมที่ผิดในสิ่งอบายมุข
๘.๖.๔ ปลกฝังค่านิยมพื้นฐานให้แก่เด็กและเยาวชน โดยเฉพาะในเรื่องความมี
เหตุผลการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ความมีน้ำใจนักกีฬา ความมีระเบียบวินัย การ
ประหยัดความศรัทธาในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข การ
พึ่งตนเองและส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีบทบาทในการทำกิจกรรมสาธารณประโยชน์
ให้มากขึ้นรวมทั้งให้ตระหนักในคุณค่าของการปฏิบัติตามหลักธรรมทางศาสนาการยึดมั่น
ในเอกลักษณ์และศิลปวัฒนธรรมของชาติ ขนบธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่นกำเนิดและ
การรู้จักคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๘.๗ ด้านการกีฬา
๘.๗.๑ ส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็ก เยาวชน และประชาชนพัฒนาสุขภาพอนามัย
โดยการออกกำลังกาย การเล่นกีฬา เพื่อความเป็นเลิศในการแข่งขันทั้งในระดับชาติและระดับ
นานาชาติ
๘.๗.๒ เร่งพัฒนามาตรฐานการกีฬาของประเทศอย่างเป็นระบบ และเสริมสร้าง
สนาม กีฬาและอุปกรณ์การกีฬาให้เพียงพอแก่การที่จะเอื้ออำนวยให้นักกีฬาสามารถฝึกซ้อม
และเล่นกีฬาได้อย่างเต็มความสามารถ
๘.๗.๓ เสริมสร้างสวัสดิการเพื่อบำรุงขวัญและกำลังใจของนักกีฬารวมทั้ง
สนับสนุนให้ภาคเอกชนมีบทบาทในการส่งเสริมการกีฬาของประเทศมากยิ่งขึ้น
๘.๘ ด้านอื่น ๆเพื่อแก้ไขปัญหาสังคมด้านอื่น ๆ ของประเทศรัฐบาลมีนโยบาย
จะดำเนินการดังนี้
๘.๘.๑ เร่งรัดการป้องกันและแก้ไขปัญหาสารเสพติดโดยใช้มาตรการทางกฎหมาย
อย่างเฉียบขาดตลอดจนร่วมมือกับสหประชาชาติและมิตรประเทศอย่างใกล้ชิดและผู้ขาย
ที่ผิดกฎหมายอย่างจริงจัง
๘.๘.๒ จัดให้มีระบบป้องกันอุบัติภัย ลดอุบัติเหตุและบรรเทาสาธารณภัย
๘.๘.๓ ดูแล ฟื้นฟู และพัฒนาผู้ด้อยโอกาสและกลุ่มบุคคลที่สมควรได้รับการดูแล
เป็นพิเศษ เช่น ผู้พิการ หรือทุพพลภาพ ให้ได้รับการศึกษา การฝึกอาชีพ และการจ้างงานเพื่อ
ให้สามารถพึ่งตนเองได้อย่างภาคภูมิใจ
๘.๘.๔ ดูแลความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุให้สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่าง
มีความสุขท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ ท่านสมาชิกผู้มีเกียรติในการบริหารราชการแผ่นดิน
ตามนโยบายที่ได้แถลงมาทั้งหมดนี้ กระผมขอให้ความมั่นใจว่า รัฐบาลจะมุ่งปฏิบัติหน้าที่
ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนอันเป็นปณิธานสูงสุด
ของการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐบาลกระผมเชื่อมั่นว่าจะได้รับความร่วมมือสนับสนุนด้วยดีจาก
ท่านสมาชิกผู้มีเกียรติของรัฐสภา
*รายงานการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ชุดที่ ๑๘ ปีที่ ๑ ครั้งที่ ๑ (สมัยสามัญประจำปี ครั้งที่ หนึ่ง)
พุธที่ ๒๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๓๕ หน้า ๑๙ - ๕๓ |
51 | คณะรัฐมนตรี คณะที่ ๕๑
นายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นนายกรัฐมนตรี
ตั้งแต่วันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๓๘ - ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๓๙
แถลงนโยบาย เมื่อวันพุธที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๓๘
คำแถลงนโยบายของรัฐบาล*
ท่านประธานรัฐสภาและท่านสมาชิกผู้มีเกียรติ
ตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้กระผมเป็นนายกรัฐมนตรีตามประกาศ
พระบรมราชโองการลงวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๓๘ และแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีตามประกาศ
พระบรมราชโองการลงวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๓๘ นั้น
บัดนี้ คณะรัฐมนตรีได้กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินเรียบร้อยแล้วซึ่ง
กระผมจะได้นำเรียนให้ทราบถึงเจตนารมณ์ นโยบาย และเป้าหมายของการบริหารราชการแผ่นดิน
ของคณะรัฐมนตรีนี้
สืบเนื่องจากการพัฒนาประเทศที่ผ่านมาได้มุ่งพัฒนาเศรษฐกิจเป็นสำคัญ โดยมองว่า
หากระบบเศรษฐกิจของประเทศได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้นแล้ว ก็จะส่งผลให้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ตามไปด้วย ซึ่งจากการกำหนดแนวทางการพัฒนาประเทศดังกล่าว จะเห็นได้ว่า แม้ประเทศไทยจะ
ประสบความสำเร็จบรรลเป้าหมายด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นอย่างดี แต่ผลของการพัฒนา
ได้ก่อให้เกิดปัญหาหลายประการ เช่นช่องว่างของรายได้ยิ่งมีแนวโน้มสูงขึ้น ทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลง สังคมมีความสับสนและมีความเป็นวัตถุนิยมมากขึ้น มีความย่อหย่อน
ของศีลธรรมจรรยา ละทิ้งค่านิยมอันดีงามของไทย โครงสร้างครอบครัวเปลี่ยนแปลงและก่อให้เกิด
ปัญหาเยาวชนและปัญหาสังคม กล่าวโดยสรุปการพัฒนาประเทศที่ผ่านมาได้ก่อให้เกิดการทำลาย
สภาพแวดล้อมของชีวิตซึ่งปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นล้วนแต่ทำให้คุณภาพชีวิตของคนในสังคมเสื่อมโทรม
ลง เป็นลำดับ
คณะรัฐมนตรีจึงกำหนดเป้าหมายหลักของการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อพัฒนาคนในสังคม
ให้มีความสุขมีความสมบูรณ์ทั้งทางร่างกายจิตใจ และสติปัญญาสามารถแข่งขันในโลกยุคใหม่ได้
โดยไม่ทิ้งสภาพความเป็นไทย นโยบายของรัฐบาลที่กำหนดไว้ทั้ง ๑๐ ด้าน จึงเป็นวิธีการไปสู่เป้าหมาย
ให้คนในสังคมได้รับการพัฒนาเต็มตามศักภาพมีภูมิปัญญา มีส่วนร่วมในการพัฒนารวมทั้งมีจิตสำนึก
และรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม อันจะทำให้การพัฒนาทุกด้านเป็นไปอย่างสมดุล
โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
๑. นโยบายการเมืองและการบริหาร
รัฐบาลมีเจตนารมณ์มุ่งเทิดทูนและรักษาไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
ทรงเป็นประมุขจะธำรงรักษาไว้ซึ่งเอกราชและบูรณภาพแห่งอาณาเขตจะพัฒนาสถาบัน
การเมืองให้มีความเข้มแข็ง มั่นคงจะสนับสนุนให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมทางการเมือง
ในทุกระดับรวมทั้งจะบริหารราชการแผ่นดินให้มีประสิทธิภาพโดยยึดมั่นในหลักการ
ที่ถูกต้องประสานผลประโยชน์ของคนในชาติและธำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์อันดีงามของไทย
ตลอดจนจะกระทำทุกวิถีทางเพื่อให้บังเกิดความสุขความเจริญแก่ประชาชนโดยจะดำเนินการ
๑.๑ การพัฒนาสถาบันการเมืองและการจัดทำแผนพัฒนาการเมือง
๑.๑.๑ จัดทำแผนพัฒนาการเมืองที่สอดคล้องกับแนวนโยบายแห่งรัฐและการปกครอง
ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขโดยดำเนินการปฏิรูปทางการเมือง
เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารราชการแผ่นดินและการตรวจสอบทางการเมือง
๑.๑.๒ สนับสนุนให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน
มาตรา ๒๑๑ ทั้งนี้โดยคำนึงถึงข้อเสนอของคณะกรรมการพัฒนาประชาธิปไตย
๑.๑.๓ สนับสนุนองค์การรัฐสภาให้สามารถทำหน้าที่ในทางนิติบัญญัติและตรวจสอบ
ฝ่ายบริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๑.๑.๔ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนองค์กรประชาชนและสื่อสารมวลชน
มีส่วนร่วมในการพัฒนาทางการเมือง
๑.๒ การปรับปรุงบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
เร่งรัดดำเนินการยกเลิกและแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่ล้าสมัยไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์โดย
เฉพาะกฎหมายที่มีลักษณะเป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน ไม่สอดคล้องกับบทบัญญัติ
แห่งรัฐธรรมนูญ และเป็นอุปสรรคต่อการบริหารและการให้บริการที่ดีแก่ประชาชน
๑.๓ การส่งเสริมอุดมการณ์ทางการเมือง
ส่งเสริมและสนับสนุนสถาบันการศึกษาทุกระดับสื่อสารมวลชนทุกแขนง และองค์กรประชาชนให้
มีบทบาท ในการถ่ายทอดและปลูกฝังความรู้ความเข้าใจ และความศรัทธาในกระบวนการเนื้อหาสาระ
และบทบาทหน้าที่ในทางการเมืองของการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์
ทรงเป็นประมุขตลอดจนสนับสนุนการดำเนินชีวิตตามวิถีประชาธิปไตย
๑.๔ การบริหารราชการแผ่นดิน
๑.๔.๑ ปรับปรุงการบริหารราชการทั้งในส่วนกลางส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น
ให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพด้วยการปรับปรุงโครงสร้างกระทรวงทบวง กรม และส่วน
ราชการต่าง ๆ ให้มีความเหมาะสมกะทัดรัดและพัฒนาระบบงานราชการและงานของรัฐ
อย่างอื่นให้มีประสิทธิภาพขจัดขั้นตอนที่ซ้ำซ้อนและไม่จำเป็นปรับระบบการอนุมัติอนุญาต
ให้มีหลักเกณฑ์ระยะเวลาในการดำเนินการและขอบเขตการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
พร้อมทั้งเปิดเผยหลักเกณฑ์ระยะเวลา และขอบเขตการใช้ดุลพินิจดังกล่าวให้ประชาชนและ
ผู้ทีเกี่ยวข้องได้ทราบตลอดจนป้องกันและขจัดการเลือกปฏิบัติและการแสวงหาประโยชน์
โดยมิชอบของเจ้าหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีหน้าที่ในการให้บริการแก่ประชาชน
๑.๔.๒ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการและหน่วย
งานของรัฐให้ได้ผลอย่างจริงจังด้วยการพัฒนาและเสริมสร้างองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการป้อง
กันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบให้มีประสิทธิภาพส่งเสริมให้มีระบบการ
ตรวจสอบภายในหน่วยงานของรัฐเสริมสร้างคุณธรรม จรรยาบรรณและวินัยของเจ้าหน้าที่
ของรัฐรวมทั้งสร้างเสริมขวัญกำลังใจให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยการยึดหลักคุณธรรมในการ
พิจารณาความดีความชอบการเลื่อนตำแหน่งตลอดจนส่งเสริรมให้ประชาชนองค์กรประชาชน
และสื่อสารมวลชนมีบทบาทในการตรวจสอบการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
๑.๔.๓ ปรับปรุงเงินเดือนค่าตอบแทนของข้าราชการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านและเจ้าหน้าที่
อื่นของรัฐให้สอดคล้องกับภาวะค่าครองชีพตลอดจนจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆเพื่อ
ให้สามารถอยู่ในสังคมอย่างสมฐานะมีเกียรติศักดิ์ศรีและมีความมั่นคงในการดำรงชีพ
๑.๕ การอำนวยความยุติธรรม
๑.๕.๑ สร้างความเป็นธรรมในสังคมด้วยการให้มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเสมอ
ภาคไม่เลือกปฏิบัติรวมทั้งส่งเสริมให้มีการยึดมั่นในหลักการที่ถูกต้องและหลักกฎหมาย
โดยเคร่งครัด
๑.๕.๒ ปรับปรุงกระบวนการอำนวยความยุติธรรมทั้งทางปกครอง ทางแพ่ง และทาง
อาญาให้มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว เป็นธรรม และทั่วถึง รวมทั้งพัฒนาให้ทันสมัยเป็นระบบที่มี
ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ตลอดจนส่งเสริมให้มีหลักประกันในความเป็นอิสระของสถาบัน
ตุลาการและองค์กรที่ทำหน้าที่ตัดสินชี้ขาดข้อพิพาทอย่างแท้จริง
๑.๖ การกระจายอำนาจการปกครองสู่ท้องถิ่น
๑.๖.๑ กระจายภารกิจหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ประจำวันของประชาชน
ในท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการปกครองและแก้ไขปัญหาของตนเองส่งเสริมสนับสนุนและร่วมมือ
กับองค์กรปกครองท้องถิ่นในการแก้ไขปัญหาของท้องถิ่นที่มีความสำคัญและมีผลกระทบต่อการ
พัฒนาประเทศเป็นส่วนรวม เช่น ปัญหารการจราจรสิ่งแวดล้อมและมลภาวะ
๑.๖.๒ กระจายรายได้ให้องค์กรปกครองท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้นอย่างเป็นขั้นตอนเพื่อให้
สามารถบริหารกิจการของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมทั้งปรับปรุงกฎหมายและระเบียบ
ปฏิบัติเพื่อให้องค์รปกครองท้องถิ่นมีอิสระคล่องตัวและบังเกิดประสิทธิภาพในการบริหารงบ
ประมาณให้สามารถรองรับกับรายได้ที่เพิ่มขึ้น
๑.๖.๓ ให้มีการเลือกตั้งผู้บริหารองค์กรปกครองท้องถิ่นทุกระดับ โดยคำนึงถึงบทบาท
ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในฐานะเป็นผู้เชื่อมประสานระหว่างการปกครองส่วนภูมิภาคและการ
ปกครองส่วนท้องถิ่น ในระดับตำบล หมู่บ้าน เพื่อดำรงไว้ซึ่งความสมานฉันท์ของประชาชน
๑.๖.๔ ให้องค์กรปกครองท้องถิ่นมีอิสระในการกำหนดนโยบายการปกครองท้องถิ่น
ของตน และมีอำนาจในการกำหนดนโยบายการบริหารการพัฒนาการจัดการทรัพยากรธรรม
ชาติและสิ่งแวดล้อม และการวางผังเมือง
๑.๖.๕ สนับสนุนให้องค์กรปกครองท้องถิ่นทุกระดับสามาถบริหารงานตามอำนาจหน้าที่
เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
๑.๗ การรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
๑.๗.๑ ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทุกประเภทอย่างจริงจัง ด้วยการสนับสนุน
ปัจจัย การดำเนินงานอย่างเต็มที่ ขยายงานด้านชุมชนและมวลชนสัมพันธ์ ให้ความรู้ประชาชน
องค์กร ประชาชนกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กลุ่มอาสาสมัคร และส่งเสริมให้มีส่วนร่วมในการป้องกัน
อาชญากรรม รวมทั้งเร่งรัดปราบปรามการผลิตและการค้ายาเสพติด ตลอดจนแหล่งอบายมุข
อันเป็นสาเหตุของ การก่ออาชญากรรมอย่างเด็ดขาด
๑.๗.๒ พัฒนาระบบการป้องกัน บรรเทาและระงับอุบัติภัยให้สามารถช่วยเหลือ
ผู้ประสบภัยได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพด้วยการปรับปรุงประสิทธิภาพของหน่วย
ปฏิบัติทั้งในด้านเครื่องมือวัสดุอุปกรณ์และเพิ่มขีดความสามารถของเจ้าหน้าที่สนับสนุนให้
องค์กรประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมกับหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบในการดำเนินการรณรงค์
และประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ความรู้และจิตสำนึกในการป้องกันและระงับอุบัติภัยแก่
กลุ่มเป้าหมายเช่น นักเรียน ผู้ใช้ถนนผู้ใช้แรงงานในสถานประกอบการและกลุ่มเสี่ยงภัยอื่น ๆ
๑.๘ การมีส่วนร่วมของประชาชน
๑.๘.๑ ส่งเสริมให้มีการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับกิจการของรัฐ และการดำเนินงาน
ของเจ้าหน้าที่ของรัฐภายในกรอบของกฎหมาย รวมทั้งสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
และการเผยแพรข่าวสารที่ถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรม
๑.๘.๒ ส่งเสริมให้มีการแสดงความคิดเห็นในปัญหาสำคัญของชาติที่มีข้อโต้เถียง
หลายฝ่าย โดยวิธีประชาพิจารณ์เพื่อเป็นแนวทางประกอบการตัดสินใจของรัฐในการดำเนินงาน
๒. นโยบายความมั่นคง
รัฐบาลมีเจตนารมณ์ที่จะพัฒนาและเสริมสร้างกองทัพให้มีประสิทธิภาพ ทันสมัย
และสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลก โดยจะดำเนินการ
๒.๑ พัฒนาและส่งเสริมให้กองทัพมีขีดความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ที่ได้กำหนดไว้
ในรัฐธรรมนูญอย่างมีศักดิ์ศรีและสมเกียรติภูมิของทหารโดยถือการปกป้องคุ้มครองผลประโยชน์
ของชาติและประชาชนเป็นความเร่งด่วนอันดับแรก
๒.๒ สนับสนุนให้กองทัพมีกำลังพล หลักนิยม เทคโนโลยีและยุทโธปกรณ์ที่เหมาะสม
สำหรับ สงครามสมัยใหม่ และส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาทางทหารให้กองทัพสามารถพึ่ง
ตนเองได้ใน อนาคต
๒.๓ จัดให้กองทัพร่วมมือกับส่วนราชการต่าง ๆ ดำเนินการพัฒนาประเทศ เพื่อ
ประโยชน์สุข ของประชาชน โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาความยากจน ภายใต้กรอบของ
การปกครองในระบอบ ประชาธิปไตย และสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมและรับรู้ใน
กิจการของทหารให้มากขึ้น
๒.๔ ส่งเสริมบทบาทของทหารไทยในสหประชาชาติ และสร้างความสัมพันธ์ที่ดี
กับกองทัพ ของประเทศเพื่อนบ้านและมิตรประเทศ
๒.๕ เสริมสร้างระบบสวัสดิการและบำรุงขวัญทหารและครอบครัวทุกชั้นยศ และส่งเสริม
กีฬาทหารเพื่อช่วยพัฒนากีฬาของชาติให้เป็นเลิศ
๒.๖ เชิดชูเกียรติของทหารผ่านศึก โดยเฉพาะทหารผ่านศึกที่พิการและทุพพลภาพ
ให้ได้รับสิทธิและความเอื้ออาทรจากสังคมไทยเป็นพิเศษ
๓. นโยบายต่างประเทศ
รัฐบาลมีเจตนารมณ์ที่จะดำเนินนโยบายที่เป็นอิสระ เป็นมิตรกับทุกประเทศ
ปรับและส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือกับนานาประเทศทั้งในด้านการเมือง
เศรษฐกิจสังคม วิทยาการและวัฒนธรรมบนพื้นฐานของการรักษาผลประโยชน์แห่งชาติ
หลักการอยู่ร่วมกันอย่างสันติและความเจริญรุ่งเรืองของประชาคมโลกตลอดจนยกระดับ
ภาพลักษณ์ของไทยสู่ระดับที่เป็นจริงและเหมาะสมและเผยแพร่ภาพลักษณ์ของไทย
ให้เป็นประเทศที่มีความสามารถมีความกระตือรือร้นและมีความรับผิดชอบโดย
จะดำเนินการ
๓.๑ ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ในด้าน เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม รวมถึงความร่วมมือด้านการศึกษา วิชาการ
การพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ และการรักษาสิ่งแวดล้อม ทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี
๓.๒ เพิ่มพูนความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่มีพรมแดนติดต่อกับประเทศไทย เพื่อการพัฒนา การร่วมมือ
แก้ไขปัญหาและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ โดยสนับสนุนให้มีการพบปะอย่างสม่ำเสมอและ
ต่อเนื่อง ระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชนและองค์กรประชาชน ตลอดจนสถาบันกองทัพของ
ประเทศต่าง ๆ
๓.๓ เพิ่มพูนการมีส่วนร่วมในองค์การระหว่างประเทศที่สำคัญ เช่น องค์การสหประชาชาติ
องค์การการค้าโลก (World Trade Organization - WTO) องค์กรเศรษฐกิจในภูมิภาค และ
องค์กรกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา เพื่อยกระดับบทบาทและสถานภาพทางการเมืองระหว่าง
ประเทศ
๓.๔ ดำเนินนโยบายต่างประเทศที่ช่วยเสริมสร้างและเกื้อกูลให้ประเทศสามารถใช้
ประโยชน์จากแนวโน้มการจัดระเบียบการค้าใหม่ทั้งในระดับภูมิภาค และในระดับโลก เช่น
ในกรอบขององค์การการค้าโลก ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก
(Asia Pacific Economic Cooperation - APEC) เขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN
Free Trade Area - AFTA) รวมทั้งความร่วมมือในกรอบของเหลี่ยมเศรษฐกิจ เพื่อ
เชื่อมอนุภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และภูมิภาคอื่น เพื่อสร้างผลประโยชน์ร่วมกันกับ
ประเทศเพื่อนบ้าน และเพื่อให้ประเทศ เพื่อนบ้านมีความมั่นคงก้าวหน้า
๓.๕ ส่งเสริมบทบาทของการประชุมอาเซียนว่าด้วยการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาค
เอเชีย - แปซิฟิก (ASEAN Regional Forum - ARF) และให้ประเทศไทยมีบทบาทสำคัญ
ในการดำเนินนโยบายการทูตในการประชุมดังกล่าว เพื่อส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพใน
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
๓.๖ ปรับบทบาทของกระทรวงการต่างประเทศ โดยเฉพาะในทางการทูต ด้วยการให้ความ
สำคัญในเรื่องเศรษฐกิจมากขึ้น เพื่อให้สามารถสนับสนุนการเจรจาทางด้านการค้า การลงทุน
การส่งออก การดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศ การส่งเสริมการท่องเที่ยว และการสนับสนุน
คุ้มครองดูแลและพิทักษ์ประโยชน์ให้แก่นักลงทุนไทยและคนไทยในต่างประเทศ
๓.๗ ปรับเปลี่ยนฐานะจากประเทศผู้รับการช่วยเหลือสู่การเป็นประเทศผู้ให้ความช่วยเหลือ
แก่ประเทศเพื่อนบ้าน
๓.๘ สร้างบทบาทนำในการดำเนินความสัมพันธ์กับประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชีย
ตะวันออก เฉียงใต้ โดยเน้นบทบาทสร้างสรรค์และภาพลักษณ์ของประเทศในความเป็น
ประชาธิปไตย การยึด ถือความถูกต้องเป็นธรรม การเคารพสิทธิมนุษยชนและการรักษา
สมดุลทางนิเวศวิทยา
๔.นโยบายเศรษฐกิจ
๔.๑ นโยบายด้านการเงิน การคลัง
รัฐบาลมีเจตนารมณ์ที่จะเสริมสร้างระบบเศรษฐกิจของประเทศให้มีความมั่นคง
เข้มแข็ง เสริมสร้างเสถียรภาพและรักษาวินัยการเงินการคลัง สนับสนุนให้มีการออมภายใน
ประเทศ เปิดเสรีทางการเงินในระยะเวลาที่เหมาะสมและสอดคล้องักบภาคเศรษฐกิจอื่น ๆ
พัฒนาตลาดทุนให้ก้าวไปสู่ความเป็นสากล และกระจายอำนาจทางการเงินการคลังให้แก่
องค์กรปกครองท้องถิ่น โดยจะดำเนินการ
๔.๑.๑ ควบคุมภาวะเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม สอดคล้องกับอัตราการเจริญ
เติบโตและสภาพความจำเป็นทางเศรษฐกิจ
๔.๑.๒ ส่งเสริมการระดมเงินออมภายในประเทศอย่างจริงจัง โดยเฉพาะการออมภาค
ครัวเรือน และการออมเชิงผูกพัน เช่น การจัดตั้งกองทุนบำนาญ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
๔.๑.๓ รักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศให้เหมาะสม ในทิศทางที่
เสริมสร้าง เสถียรภาพทางเศรษฐกิจและเพิ่มพูนความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
๔.๑.๔ พัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางทางการเงินในภูมิภาค โดยสนับสนุน
ให้มีการเปิด เสรีทางการเงิน
๔.๑.๕ ยกเลิกการเก็บภาษีจากดอกเบี้ยเงินฝากที่มีวัตถุประสงค์การออมเพื่อการ
จัดซื้อที่อยู่อาศัย เพื่อการศึกษาของบุตรและเพื่อการยังชีพภายหลังเกษียณอายุ
๔.๑.๖ พัฒนาตลาดทุนทั้งในแนวกว้างและแนวลึกเพื่อมุ่งสู่ความเป็นสากลด้วยการ
เปิดโอกาสให้กิจการทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด ตลอดจนกิจการที่ย้ายฐานการ
ผลิตไปยังต่างประเทศสามารถเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อเป็น
การ ระดมทุน และส่งเสริมการเชื่อมโยงตลาดทุนในประเทศไทยกับตลาดทุนต่างประเทศ
โดยเฉพาะ ในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน ตลอดจนส่งเสริมให้มีการพัฒนาตราาสรใหม่ ๆ ทั้ง
ตราสารหนี้และตราสารทุน เพื่อสร้างความหลากหลายและทางเลือกในการระดมทุน
๔.๑.๗ กระจายอำนาจการคลังให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่น เพื่อให้องค์กร ปกครอง
ท้องถิ่น มีรายรับในสัดส่วนที่เหมาะสมเพียงพอจะบริหารกิจการของคนเองได้อย่างมีประสิทธิ
ภาพ
๔.๑.๘ ปรับปรุงกระบวนการบริหารงบประมาณแผ่นดิน เพื่อให้การใช้งบประมาณ
สามารถดำเนินการตามแผนงานได้อย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
๔.๑.๙ ส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการจัดทำและบริหารจัดการด้าน
โครงสร้างพื้นฐาน และบริการสาธารณะอื่น ๆ เพื่อลดภาระด้านงบประมาณของรัฐบาล
๔.๑.๑๐ ริเริ่มการใช้มาตรการทางการเงินการคลังเพื่อส่งเสริมนักลงทุนไทย
ในการร่วมพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้าน
๔.๒ นโยบายด้านเกษตรกรรม
รัฐบาลมีเจตนารมณ์ที่จะพัฒนาศักยภาพและความเป็นอยู่ของเกษตรกรให้ดีขึ้น
โดยในภาคเกษตรก้าวหน้า จะเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันกับต่างประเทศด้วยการเพิ่ม
ประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิตรวมทั้งใช้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
ในการเปิดตลาดสินค้าการเกษตรตลอดจนพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตรเพื่อรองรับผล
ผลิตและยกระดับราคาสินค้าเกษตรให้สูงขึ้นสำหรับภาคเกษตรยากจนจะมุ่งเน้นการ
ยกระดับรายได้ให้เกษตรกรด้วยการลดต้นทุนการผลิตการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร
และการแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรโดยจะดำเนินการ
๔.๒.๑ ยกระดับราคาผลผลิตทางการเกษตรให้สูงขึ้นและเป็นธรรมต่อเกษตรกร
ด้วยการขยายตลาดส่งออกเพื่อดึงราคาสินค้าเกษตรให้สูงขึ้นโดยเฉพาะการส่งออกสินค้า
เกษตรไปยังตลาดโลกที่จะต้องเปิดเสรีมากขึ้นภายใต้ความตกลงความร่วมมือทาง
เศรษฐกิจระหว่างประเทศและสนับสนุนให้มีตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า
๔.๒.๒ ส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถปลูกพืชเศรษฐกิจที่ศักยภาพทางด้านการ
ตลาดโดยเฉพาะอย่างยิ่งพืชเศรษฐกิจที่สามารถนำไปสู่อุตสาหกรรมแปรรูปเพื่อการส่งออก
๔.๒.๓ ส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถจัดหาปัจจัยการผลิตที่สำคัญ ๆ เช่น ปุ๋ย สารเคมี
และยาปราบศัตรูพืชในราคาถูกลงเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันของสินค้าเกษตร
๔.๒.๔ จัดหาน้ำให้มีเพียงพอสำหรับการเกษตรและการอุปโภคบริโภคด้วยการพัฒนา
แหล่งน้ำและแหล่งน้ำธรรมชาติก่อสร้างแหล่งน้ำขนาดเล็กและที่กักเก็บน้ำตามความเหมาะสม
และจำเป็นตลอดจนร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการนำทรัพยากรน้ำจากแหล่งน้ำนานาชาติ
มาใช้ประโยชน์รวมทั้งพัฒนาระบบชลประทานให้ทั่วถึงควบคู่กับการปรับปรุงระบบการบริหาร
การใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
๔.๒.๕ ส่งเสริมให้ภาคเกษตรกรรมเจริญเติบโตทัดเทียมกับภาคเศรษฐกิจอื่นๆ โดย
ส่งเสริมให้ใช้เครื่องจักรกลและเครื่องมือที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นด้วยการ
ปรับลดภาษีนำเข้าเครื่องจักรกลเครื่องมือรวมถึงอุปกรณ์ที่เกี่ยวเนื่องอื่นๆ และส่งเสริมการ
ค้นคว้าวิจัยเพื่อปรับปรุงคุณภาพสินค้าเกษตรกรรมตลอดจนเพื่อให้ได้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
สำหรับการเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้น
๔.๒.๖ สนับสนุนสถาบันเกษตรกรให้มีบทบาทเข้มแข็งขึ้นทั้งด้านการผลิตและการ
จำหน่ายผลผลิตการเกษตร
๔.๒.๗ สนับสนุนและส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามีส่วนร่วมกับรัฐบาลในการลงทุนเพื่อ
พัฒนาเกษตรกรรมทุกประเภทให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
๔.๒.๘ พัฒนาและปรับปรุงกลไกของระบบสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้มีประสิทธิภาพ
ยิ่งขึ้นโดยเฉพาะจะเน้นเงินทุนหมุนเวียนให้มีเพียงพอแก่สมาชิก
๔.๒.๙ แก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรด้วยการจัดหาสินเชื่อระยะยาวดอกเบี้ยต่ำ
อย่างทั่วถึงและเป็นธรรมรวมทั้งปรับปรุงการบริหารสินเชื่อให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
๔.๒.๑๐ เร่งรัดการปฏิรูปที่ดินให้แก่เกษตรกรผู้ยากจนและไม่มีที่ดินทำกินเพียงพอ
ตามเจตนารมณ์ของกฎหมายปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม
๔.๒.๑๑ เร่งรัดแก้ไขปัญหาการครอบครองที่ดินของรัฐโดยไม่ถูกต้อง ให้เป็นไปอย่าง
เป็นธรรมและสอดคล้องกับบทบัญญัติแห่งกฎหมาย โดยคำนึงถึงสิทธิชุมชนในการจัดการ
ทรัพยากรท้องถิ่น
๔.๒.๑๒ ส่งเสริมโครงการต่าง ๆ ขององค์กรประชาชนเพื่อหารายได้เสริมให้แก่
ครอบครัวของเกษตรกรในชนบท
๔.๓ นโยบายด้านอุตสาหกรรม
รัฐบาลมีเจตนารมณ์ที่จะรักษาและพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของ อุตสาหกรรม
ไทยในตลาดโลก โดยเพิ่มขีดความสามารถและประสิทธิภาพในการผลิต ควบคู่ไปกับการ
รักษาสภาวะแวดล้อม กระจายการลงทุนไปยังชนบทโดยขยายสาธารณูปโภคสาธารณูปการ
ให้ทั่วถึง และเน้นบทบาทของภาคเอกชนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาอุตสาหกรรม โดยจะ
ดำเนินการ
๔.๓.๑ ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการเคลื่อนย้ายอุตสาหกรรมไปสู่ชนบทมากขึ้นด้วย
การจัดตั้งนิคมและเขตอุตสาหกรรมในชนบท และใช้มาตรการจูงใจการลงทุนในรูปแบบต่าง ๆ
เพื่อให้เกิดการจ้างงานและการกระจายรายได้ไปสู่ชนบท
๔.๓.๒ ส่งเสริมการลงทุนอย่างเต็มที่ในอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจ
ในโลกยุคใหม่ อันได้แก่ อุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตร อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสูง
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว อุตสาหกรรมการส่งออกเพื่อให้เป็นแหล่งงานและแหล่งรายได้
ที่สำคัญของประเทศ
๔.๓.๓ สนับสนุนให้มีการลงทุนอย่างเต็มที่ในอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพทาง
เศรษฐกิจในโลกยุคใหม่ อันได้แก่ อุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตร อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสูง
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว อุตสาหกรรมการส่งออก เพื่อให้เป็นแหล่งงานและแหล่งรายได้ที่สำคัญ
๔.๓.๔ พัฒนาและยกระดับศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรมส่งออกหลักของ
ประเทศในปัจจุบัน เพื่อรักษาส่วนแบ่งในตลาดโลก ทั้งในด้านการพัฒนาฝีมือแรงงาน การตลาด
การผลิต คุณภาพ การออกแบบ ฯลฯ
๔.๓.๕ เร่งรัดการเสริมสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกและความจำเป็นพื้นฐาน ตลอดจน
สาธารณูปโภคให้ทันเวลาพอเพียง และสอดคล้องกับความต้องการในการพัฒนาอุตสาหกรรม
ในประเทศ
๔.๓.๖ ปรับปรุงกฎ ระเบียบ เพื่อลดขั้นตอนต่าง ๆ เกี่ยวกับการอนุมัติ อนุญาต เพื่อให้
เด็กความคล่องตัวและลดภาระแก่ผู้ลงทุน
๔.๓.๗ ส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรม สนับสนุนเพื่อให้เป็นส่วนเสริมศักยภาพของ
อุตสาหกรรมหลัก
๔.๓.๘ ควบคุมมลภาวะที่เกิดจากอุตสาหกรรม เพื่อรักษาสภาวะสิ่งแวดล้อมให้อยู่
ในสภาพปกติตามมาตรฐานที่กำหนด ด้วยการบังคับใชักฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
๔.๔ นโยบายด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
รัฐบาลมีเจตนารมณ์ที่จะรักษาและเพิ่มพูนผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของชาติทั้งใน
ระยะสั้น และระยะยาว ด้วยการส่งเสริมการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และการถ่ายทอด
และพัฒนาเทคโนโลยี ตลอดจนส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับนานาชาติ โดยเคารพ
ต่อพันธกรณีระหว่างประเทศและคำนึงถึงกระแสแห่งความเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นในโลก
ยุคใหม่ โดยจะดำเนินการ
๔.๔.๑ เสริมสร้างศักยภาพของประเทศไทยในการแข่งขันกับต่างประเทศ ด้วยการ
๔.๔.๑.๑ ส่งเสริมระบบเศรษฐกิจ เพื่อให้ระบบการผลิตและการตลาดของ
ประเทศมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ควบคู่ไปกับการจัดให้มีมาตรการเยียวยาที่ชัดเจนและแน่นอน
สำหรับภาคเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบ
๔.๔.๑.๒ ปรับปรุงระบบโครงสร้างภาษีและขจัดอุปสรรคต่อการค้าและการ
ลงทุนโดยเร่งปรับลดโครงสร้างภาษีศุลกากรให้รวดเร็วกว่าเดิมและเป็นรูปธรรมมากขึ้น
เพื่อลดต้นทุนการผลิตและส่งเสริมการส่งออก ตลอดจนลดขั้นตอนพิธีการต่าง ๆ ให้มีความ
สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น
๔.๔.๑.๓ ส่งเสริมภาคบริการที่มีความสำคัญต่อการค้าและการลงทุนให้มี
ศักยภาพยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขนส่งสินค้า การเดินเรือ กองเรือไทย และการประกันภัย
๔.๔.๒ ดำเนินนโยบายการค้าและการลงทุนในทิศทางที่ลดปัญหาการขาดดุลบัญชี
เดินสะพัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้วยการส่งเสริมกิจการส่งออกที่มีมูลค่าเพิ่มสูงและการพัฒนา
ธุรกิจการท่องเที่ยวและบริการ
๔.๔.๓ แสวงหาตลาดและแหล่งเงินทุนใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มพูนผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
ของประเทศ
เสริมสร้างบทบาทของประเทศให้โดดเด่นในเวทีเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
เพื่อ รักษาผลประโยชน์ของชาติและเพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชน ด้วยการ
๔.๔.๔.๑ ปรับปรุงให้มีการจัดตั้งหน่วยงานประสานงานนโยบายเศรษฐกิจ
ระหว่างประเทศใหมีความเป็นเอกภาพ และทำหน้าที่ในการเจรจาการค้าและการลงทุนระหว่าง
ประเทศร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ
๔.๔.๔.๒ กระชับความร่วมมือกับสมาชิกกลุ่มอาเซียนและกลุ่มเอเปคเพื่อเพิ่ม
บทบาทการเจรจาในเวทีเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
๔.๔.๔.๓ พัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์การผลิต การค้า การเงิน การสื่อสาร
โทรคมนาคมและการคมนาคมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
๔.๔.๔.๔ ส่งเสริมใหมีการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติในประเทศเพิ่มขึ้น
และสนับสนุนอุตสาหกรรมและการบริการของไทยที่ไปลงทุนไทยและแรงงานไทยใน
ต่างประเทศโดยใช้มาตรการทางการทูตกฎหมาย การเงิน การคลังและการจัดตั้งองค์กร
ที่จำเป็น
๔.๕ นโยบายด้านคมนาคมและสื่อสารโทรคมนาคม
รัฐบาลมีเจตนารมณ์ที่จะกระจายเครือข่ายการคมนาคมขนส่งทั้งทางบกทางน้ำ
และทางอากาศให้ทั่วถึงโดยเน้นการเสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐานของการคมนาคมส่วน
ในด้านสื่อสาร โทรคมนาคมจะพัฒนาขยายและเพิ่มเครื่องมือและนำเทคโนโลยีที่ทัน
สมัยมาใช้รวมทั้งการลดค่าบริการให้ถูกลงโดยเน้นบทบาทของเอกชนในการดำเนินการ
และบริหารจัดการภายใต้ระบบการแข่งขันอย่างเสรีโดยจะดำเนินการ
๔.๕.๑ การคมนาคมทางบก
๔.๕.๑.๑ พัฒนาปรับปรุงและขยายเครือข่ายทางหลวงและเส้นทางการขนส่ง
ระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดต่าง ๆ และระหว่างจังหวัดในทุกภาคของประเทศโดยเร่งรัด
ให้มีการก่อสร้างขยายถนนระหว่างภาคจาก ๔ ช่องจราจรเป็น ๖ ช่องจราจรและระหว่างจังหวัด
ที่มีการจราจรหนาแน่นจาก ๒ ช่องจราจรเป็น ๔ ช่องจราจรภายใน ๔ ปี
๔.๕.๑.๒ ปรับปรุงเส้นทางรถไฟสายหลักให้เป็นทางคู่ขนานและให้มีการ
นำรถไฟความเร็วสูงมาใช้ในเส้นทางที่เหมาะสม
๔.๕.๑.๓ เร่งรัดการจัดสร้างเครือข่ายการคมนาคมทั้งทางรถยนต์และรถไฟ
กับประเทศเพื่อนบ้านโดยทางภาคเหนือเชื่อมกับสาธารณรัฐประชาชนจีนตอนใต้สหภาพพม่า
และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือเชื่อมกับสาธารณรัฐ
ประชาธิปไตยประชาชนลาวสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามและประเทศกัมพูชา และภาคใต้
เชื่อมกับประเทศมาเลเซีย
๔.๕.๒ การคมนาคมทางอากาศ
๔.๕.๒.๑ เร่งรัดการก่อสร้างท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งที่ ๒ (หนองงูเห่า)
ควบคู่ไปกับการพัฒนาและปรับปรุงสนามบินภายในประเทศและระหว่างประเทศให้ทันสมัย
เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการคมนาคมทางอากาศให้ประชาชนได้รับความสะดวก รวดเร็ว
และปลอดภัย ตลอดจนสร้างสนามบินภายในเพิ่มขึ้นตามความจำเป็นและเหมาะสม
๔.๕.๒.๒ ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดตั้งสายการบินและสายการบิน
แห่งชาติเพิ่มขึ้นเร่งรัดการจัดตั้งศูนย์ซ่อมเครื่องบินขนาดใหญ่และศูนย์กลางการผลิตและ
ขนส่ง ทางอากาศนานาชาติ
๔.๕.๓ การคมนาคมทางน้ำ
๔.๕.๓.๑ เร่งรัดให้มีการใช้ท่าเรือน้ำลึกในเขตพัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออก
อย่างเต็มที่ เร่งรัดการศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกในภาคใต้ และใน
พื้นที่อื่น ๆ ที่เหมาะสม เช่น บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันตกของประเทศ ตลอดจนประสานความ
ร่วมมือกับประเทศ เพื่อนบ้านในการร่วมลงทุนสร้างและใช้ท่าเรือน้ำลึก
๔.๕.๓.๒ ส่งเสริมและจัดระบบการจราจรและขนส่งทางน้ำ เพื่อลดต้นทุน
การขนส่ง ช่วยแก้ไขและบรรเทาปัญหาจราจร รวมทั้งจัดให้มีมาตรการด้านความปลอดภัยที่มี
ประสิทธิภาพ
๔.๕.๔ การสื่อสารโทรคมนาคม
๔.๕.๔.๑ พัฒนาปรับปรุงและขยายบริการสื่อสารโทรคมนาคมให้สามารถ
บริการประชาชนได้ทั่วประเทศด้วยเครื่องมือเครื่องใช้และเทคโนโลยีที่ทันสมัยในราคาที่ต่ำลง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะเร่งรัดให้มีชุมสายโทรศัพท์ทุกอำเภอและอาจขยายไปถึงตำบลรวมทั้งให้
มีโทรศัพท์ใช้ในหมู่บ้าน
๔.๕.๔.๒ สนับสนุนให้มีการนำระบบสื่อสารโทรคมนาคมที่ก้าวหน้ามาใช้
เพื่อประโยชน์ในการป้องกันประเทศควบคู่กับประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ
๔.๖ นโยบายด้านพลังงาน
รัฐบาลมีเจตนารมณ์ที่จะดำเนินการให้มีพลังงานเพียงพอกับความต้องการ ในระดับ
ราคาที่เหมาะสมและเป็นธรรม และสนับสนุนให้ภาคเอกชนเข้ามีส่วนร่วมในการดำเนินการ
และบริหารจัดการ โดยจะดำเนินการ
๔.๖.๑ ส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด ทั้งในภาค
อุตสาหกรรมและที่อยู่อาศัย ด้วยการสนับสนุนให้มีการผลิตเครื่องใช้พลังงานประสิทธิภาพ
สูงที่ช่วยให้เกิดการประหยัดพลังงาน รวมทั้งรณรงค์ให้มีการอนุรักษ์พลังงานตามกฎหมาย
ว่าด้วยการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและเสริมสร้างจิตสานึกของประชาชนให้มีการใช้
พลังงาน อย่างประหยัด
๔.๖.๒ จัดหาพลังงานให้มีปริมาณเพียงพอกับความต้องการ และมีความมั่นคง
ในระดับราคาที่เหมาะสมและเป็นธรรม ด้วยการสำรวจและพัฒนาหาแหล่งพลังงานภายใน
ประเทศ และพัฒนาหน่วยงานของรัฐให้สามารถบริหาร และจัดการด้านพลังงานได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ
๔.๖.๓ ศึกษาความเป็นไปได้ในการนำพลังงานทดแทนอื่น ๆ มาใช้ให้เป็นประโยชน์
ใน อนาคต และส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อพัฒนา และจัดหาพลังงาน
๔.๖.๔ ปรับปรุงและพัฒนาระบบการขนส่งน้ำมันทางบ่อ เพื่อลดต้นทุนการขนส่ง
และให้ น้ำมันมีราคาจำหน่ายปลีกใกล้เคียงกันทั่วประเทศ
๔.๗ นโยบายด้านการท่องเที่ยว
รัฐบาลมีเจตนารมณ์ที่จะส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้
สามารถ ทำรายได้เข้าประเทศมากขึ้น ควบคู่ไปกับการธำรงรักษาศิลปวัฒนธรรมและ
ทรัพยากรธรรมชาติ อันเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีค่ายิ่ง โดยจะดำเนินการ
๔.๗.๑ ส่งเสริมและสนับสนุนการลงทุนในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและธุรกิจ
ที่เกี่ยวเนื่อง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมโรงแรม รวมทั้งส่งเสริมให้มีการพัฒนาระบบบริการ
ให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานสามารถแข่งขันกับต่างประเทศ
๔.๗.๒ พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้มีความสมดุลกับปริมาณนักท่องเที่ยว
ที่เพิ่มขึ้นรวมทั้งให้มีความสะดวกและปลอดภัยด้วยการพัฒนาปรับปรุงและจัดให้มีสิ่งอำนวย
ความสะดวกและบริการพื้นฐานต่าง ๆ อย่างทั่วถึงอนุรักษ์และฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมโบราณสถาน
และทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวตลอดจนคุ้มครองดูแลนักท่องเที่ยวและผู้ประกอบ
ธุรกิจที่เกี่ยวข้องไม่ให้เอาเปรียบนักท่องเที่ยวจนเกิดภาพพจน์ทางลบต่อประเทศโดยส่วนรวม
๔.๗.๓ ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในการพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
เพื้อให้เกิดเครือข่ายการท่องเที่ยวเชื่อมโยงในภูมิภาคโดยมีประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง
๔.๗.๔ เสริมสร้างค่านิยมให้ประชาชนท่องเที่ยวในประเทศให้มากขึ้น
๔.๗.๕ ขยายการผลิตบุคลากรด้านการท่องเที่ยวให้มีปริมาณและคุณภาพ
สอดคล้องกับ ความต้องการของตลาดอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
๕. นโยบายสังคม
๕.๑ นโยบายด้านอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยและทำนุบำรุงศาสนารัฐบาลมีเจตนารมณ์
ที่จะอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยทำนุบำรุงส่งเสริมและฟื้นฟูศาสนาโดยให้ประชาชนสนใจ
ในสาระคำสอนเป็นหลัก ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นศิลปะท้องถิ่นและอนุรักษ์โบราณสถาน
ที่สำคัญของชาติโดยจะดำเนินการ
๕.๑.๑ เสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นแก่สถาบันครอบครัว โดยใช้มาตรการจูงใจ
ต่าง ๆ เช่น ลดภาษี และค่าบริการสำหรับกิจกรรที่ทำโดยครอบครัว
๕.๑.๒ ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของแนวคิดและแนวทาง
ในการพัฒนาประเทศ
๕.๑.๓ ส่งเสริมศิลปะท้องถิ่น เช่น ศิลปะการเขียนภาพแกะสลักของไทย การแสดง
พื้นบ้านต่าง ๆ ของไทย ไม่ว่าจะเป็นหนังตะลุง โขน หมอลำ ลิเก ฯลฯ ตลอดจนศิลปวัฒนธรรม
ที่แทรกอยู่ในกิจกรรมกีฬา เช่น การแข่งเรือกอแหละ เรือยาว ศิลปการป้องกันตัว โดยสนับสนุน
งบประมาณช่วยเหลือเพื่อให้ศิลปินสามารถดำรงชีวิตของความเป็นศิลปินและเป็นผู้รักษา
ศิลปวัฒนธรรมเหล่านี้ไว้ได้
๕.๑.๔ ส่งเสริมการอนุรักษ์โบราณสถานที่สำคัญของชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่
นานาชาติ ถือเป็นมรดกโลก ด้วยการสนับสนุนงบประมาณเพื่อการปฏิสังขรณ์ให้อยู่ในสภาพ
ที่ดีเหมาะสำหรับ เป็นแหล่งท่องเที่ยวและเชิญชวนให้เอกชนทั้งในและต่างประเทศมีส่วนร่วม
เช่น การตั้งกองทุน เพื่อการอนุรักษ์โบราณสถานและโบราณวัตถุ ตลอดจนให้มีการแยกเขต
เมืองเก่าเมืองใหม่เพื่อ ควบคุมสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในเขตเหล่านั้นให้ผสมกลมกลืนและต่อเนื่อง
กับสถาปัตยกรรมเดิมที่มีอยู่
๕.๑.๕ สนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ของสถาบันศาสนา และส่งเสริมให้ประชาชนสนใจใน
สาระคำสอนของศาสนามากกว่าการมุ่งไปทางวัตถุมงคลหรือถาวรวัตถุต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชน
เข้าถึงหลักธรรมและคำสอนของศาสนาโดยตรง และนำไปปฏิบัติเพื่อให้สังคมมีความสงบสุข
๕.๒ นโยบายด้านสตรี เด็ก เยาวชน และผู้ด้อยโอกาส
รัฐบาลมีเจตนารมณ์ที่จะส่งเสริมสถานภาพของสตรีและพัฒนาเด็กและเยาวชนตลอด
จน ผู้ด้อยโอกาสและกลุ่มบุคคลพิเศษให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเหมาะสมโดย
จะดำเนินการ
๕.๒.๑ ส่งเสริมให้มีการออกกฎหมายรองรับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่ได้กำหนด
ให้หญิงและชายมีสิทธิเท่าเทียมกัน รวมทั้งปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบเพื่อขจัดการเลือก
ปฏิบัติต่อสตรี
๕.๒.๒ ส่งเสริมให้สตรีมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม
และการเมือง ตลอดจนมีบทบาทในการกำหนดทิศทางของประเทศ
๕.๒.๓ กวดขันการใช้มาตรการคุ้มครองสวัสดิภาพของสตรี เพื่อมิให้ถูกเอาเปรียบ
และ ป้องกันมิให้เด็กและเยาวสตรีไปประกอบธุรกิจทางเพศ
๕.๒.๔ ส่งเสริมแรงงานสตรีให้ได้รับความเป็นธรรมด้านค่าจ้าง และสวัสดิการ โดย
เฉพาะแรงงานสตรีที่ไม่อยู่ในระบบ
๕.๒.๕ ฝึกอบรมและเพิ่มพูนทักษะในการประกอบอาชีพแก่สตรีในชนบทตามความ
เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมของชุมชน
๕.๒.๖ สนับสนุนให้มีการพัฒนาเด็ก ทั้งทางกาย จิตใจ สติปัญญา และจริยธรรม โดย
มุ่งเน้นให้มีการประสานงานระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน
๕.๒.๗ สนับสนุนการจัดตั้งกลุ่มเยาวชนและค่ายเยาวชนพัฒนาศูนย์เยาวชนให้มีส่วน
สำคัญในการพัฒนาศักยภาพของเยาวชน ปรับปรุงห้องสมุดประชาชนในระดับต่าง ๆ รวมทั้ง
สนามกีฬาให้สามารถให้บริการแก่เด็กและเยาวชนได้อย่างเพียงพอและทั่วถึง
๕.๒.๘ สนับสนุนสถาบันครอบครัว หน่วยงานของรัฐและเอกชน องค์กรชุมชน
สถาบันศาสนา ตลอดจนสื่อมวลชนให้เข้ามีบทบาทในการป้องกัน แก้ไขปัญหา และพัฒนา
เด็กและเยาวชนในภาวะยากลำบากให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่งปกติสุข รวมทั้งป้องกันและ
แก้ไขปัญหาแรงงานเด็กและโสเภณีอย่างจริงจัง
๕.๒.๙ ดูแล ฟื้นฟูและพัฒนาผู้ด้อยโอกาสและกลุ่มบุคคลพิเศษ เช่น ผู้พิการ ให้
ได้รับการศึกษาและพัฒนาฝีมือหรือการฝึกอาชีพให้สามารถพึ่งตนเองได้อย่างภาคภูมิใจ
๕.๓ นโยบายด้านสาธารณสุข
รัฐบาลมีเจตนารมณ์ที่จะปรับปรุงบริการสาธารณสุขให้กระจายทั่วถึง โดยเน้นที่ระบบ
ในการป้องกันโรคภัยไข้เจ็บและการเสริมสร้างสุขอนามัยที่ดีให้แก่ประชาชนตลอดจนการส่งเสริม
ให้ภาคเอกชนเข้ามีส่วนร่วมในการให้บริการสาธารณสุขเพิ่มขึ้นโดยจะดำเนินการ
๕.๓.๑ เร่งรัดขยายงานสาธารณสุขมูลฐานในชนบท
๕.๓.๒ สนับสนุนการสร้างระบบประกันสุขภาพ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้พิการ
ผู้ยากไร้และด้อยโอกาส เพื่อให้สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุข
๕.๓.๓ รณรงค์และเผยแพร่ให้ความรู้และสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนถึงอันตราย
จากโรคเอดส์ รวมทั้งเสริมสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนถึงอันตรายจากโรคเอดส์ รวมทั้ง
เสริมสร้างความเข้าใจและช่วยเหลือผู้ติดเชื้อเอดส์ให้อยู่ร่วมในสังคมได้ตามปกติ
๕.๓.๔ ส่งเสริมโครงการภาครัฐและภาคเอกชนที่มุ่งบำบัด รักษา และฟื้นฟูผู้ติด
ยาเสพติด เพื่อให้คนเหล่านั้นกลับมาเป็นกำลังของชาติต่อไป
๕.๓.๕ กวดขันการเฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่อาจเป็นอันตราย
ต่อสุขนามัยของประชาชน เพื่อควบคุมให้อยู่ในระดับมาตรฐานความปลอดภัย
๕.๓.๖ เร่งรัดให้มีการกำจัดขยะติดเชื้อและบำบัดน้ำเสียจากสถานบริการ สาธารณสุข
ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งจัดหาน้ำสะอาดสำหรับอุปโภคบริโภคให้แก่ประชาชนในชนบท
อย่างทั่วถึงและเพียงพอ
๕.๓.๗ กวดขันมาตรฐานคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความปลอดภัยจาก
การบริโภคอาหารและยาที่ไม่ได้มาตรฐานความปลอดภัย
๕.๓.๘ ส่งเสริมการผลิตและพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขให้มี
คุณภาพและเพียงพอ รวมทั้งการนำเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขสมัยใหม่มาใช้
ในการให้บริการ สาธารณสุข
๕.๓.๙ สนับสนุนการจัดตั้งสถานเลี้ยงเด็กกลางวันที่ได้มาตรฐานด้วยมาตรการทาง
ด้านภาษี
๕.๓.๑๐ ส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ความรู้ ความเข้าใจในพฤติกรรมสุขภาพที่
ถูกต้องและการดูแลสุขภาพด้วยตนเองแก่ประชาชน
๕.๔ นโยบายด้านแรงงานและสวัสดิการสังคม
รัฐบาลมีเจตนารมณ์ที่จะส่งเสริมให้ผู้ใช้แรงงานมีการพัฒนาฝีมือและทักษะใน
การทำงาน มีระบบสวัสดิการและระบบความปลอดภัยในการทำงานที่เหมาะสมและได้มาตรฐาน
สนับสนุนการจัดตั้งสหภาพแรงงาน เพื่อการแรงงานสัมพันธ์และคุ้มครองแรงงาน รวมทั้ง
กำหนดมาตรการที่เหมาะสมเกี่ยวกับแรงงานต่างชาติในประเทศ โดยจะดำเนินการ
๕.๔.๑ ส่งเสริมการฝึกอบรมและพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้แก่
ผู้ใช้แรงงานกลุ่มผู้ด้อยโอกาสและผู้ซึ่งประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานจนต้องกลายเป็น
คนพิการให้มีความรู้ ฝีมือทักษะในการประกอบอาชีพตลอดจนให้ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพ
ด้วยการสนับสนุนการฝึกอาชีพระยะสั้นและขยายความร่วมมือกับภาคเอกชนในการจัดตั้ง
สถาบันฝึกอบรมวิชาชีพในสาขาที่ต้องการแรงงานฝีมือและความชำนาญงานเฉพาะด้าน
๕.๔.๒ ส่งเสริมให้มีระบบแรงงานสัมพันธ์ การคุ้มครองแรงงาน และมาตรการ
ความ ปลอดภัยในการทำงานทั้งแบบทวิภาคีและไตรภาคี เพื่อให้นายจ้างและลูกจ้างมีความ
สัมพันธ์ที่ดี ต่อกัน ร่วมมือกันในการแก้ไขข้อขัดแย้งและข้อพิพาทแรงงาน ให้ลูกจ้างได้รับ
สวัสดิการที่ เหมาะสมและได้มาตรฐานให้มีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี
๕.๔.๓ ส่งเสริมให้ผู้ใช้แรงงานมีเสถียรภาพและได้รับการคุ้มครองอย่างเต็มที่
ในการจัดตั้งสหภาพแรงงานและปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับแรงงานรัฐวิสาหกิจให้มี
สิทธิหน้าที่และความรับผิดชอบในขอบเขตที่เหมาะสมตามหลักสากลนิยมในการปกครอง
แบบประชาธิปไตยโดยปรับปรุงให้เหมาะสมกับสภาวการณ์มีความสอดคล้องกับนโยบาย
การพัฒนาการส่งเสริมเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศและห้ามนัดหยุดงาน
ในกิจการอันเป็นสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ
๕.๔.๔ ส่งเสริมให้มีการช่วยเหลือและดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการและด้อยโอกาสและ
ผู้ถูกทอดทิ้งทางสังคมอย่างจริงจัง โดยให้มีศูนย์สงเคราะห์ราษฎร และกฎหมายสวัสดิการ
สังคม
๕.๔.๕ เร่งจัดตั้งศูนย์สารสนเทศแรงงานและสวัสดิการให้เป็นศูนย์ข้อมูลในการ
จัดหางาน การจัดทำทะเบียนผู้ใช้แรงงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการแก่ผู้ใช้
แรงงาน ทุกด้าน
๕.๔.๖ เร่งรัดการศึกษาและจัดทำข้อมูลเพื่อกำหนดมาตรการที่เหมาะสมเกี่ยวกับ
แรงงานต่างชาติที่เข้ามาทำงานในประเทศ
๕.๕ นโยบายด้านกีฬา
รัฐบาลมีเจตนารมณ์ที่จะส่งเสริมและพัฒนาการกีฬาเพื่อสุขภาพอนามัยของคนในชาติ
รวมทั้งพัฒนาสู่ความเป็นเลิศมีศักยภาพทัดเทียมกับอารยประเทศโดยจะดำเนินการ
๕.๕.๑ ส่งเสริมให้มีกีฬาขั้นพื้นฐานเพื่อการแข่งขัน เพื่อการอาชีพและเพื่อสุขภาพ
ด้วยการจัดงบประมาณอุดหนุนการดำเนินกิจกรรม และสนับสนุนให้เอกชนมีส่วนร่วมในการ
ดำเนินการและบริหารจัดการ รวมทั้งกระจายโอกาสด้านกีฬาไปให้ทั่วทุกภูมิภาค
๕.๕.๒ สร้างขวัญและกำลังใจให้แก่นักกีฬาที่นำชื่อเสียงเกียรติภูมิมาสู่ประเทศหรือ
ภายหลังการเข้าร่วมทีมชาติให้มีมาตรฐานการครองชีพที่ดี
๕.๕.๓ ส่งเสริมให้มีการเล่นกีฬาตั้งแต่เยาว์วัย และสนับสนุนการพัฒนาการผลิต
อุปกรณ์กีฬาภายในประเทศให้มีมาตรฐานและมีราคาถูก รวมทั้งจัดตั้งศูนย์กีฬาระดับนานาชาติ
เพื่อเป็นที่ฝึกซ้อมและเก็บตัวนักกีฬา
๖. นโยบายด้านกีฬา
รัฐบาลมีเจตนารมณ์ที่จะพัฒนาคน ในฐานะเป็นจุดศูนย์กลางของการพัฒนาทั้งปวง
โดยขยายการศึกษาภาคบังคับพื้นฐาน พร้อมด้วยสวัสดิการอื่น ๆ ที่จำเป็น การให้องค์กร
ปกครองท้องถิ่นเข้ามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและวิถีชีวิต
ความเป็นอยู่ในท้องถิ่น ส่งเสริมการศึกษานอกระบบโรงเรียนโดยการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย
เพื่อขยายการศึกษาให้เข้าถึงชนบททีห่างไกลได้อย่างทั่วถึง และปรับปรุงสวัสดิการให้แก่ครู
อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาทุกระดับ โดยจะดำเนินการ
๖.๑ ขยายโอกาสทางการศึกษาให้เด็กได้รับการพัฒนาความพร้อมในทุกด้านก่อนเข้าเรียน
ชั้นประถมศึกษา
๖.๒ ขยายการศึกษาภาคบังคับจาก ๖ ปี เป็น ๙ ปี ให้ทั่วถึงทั้งในและนอกระบบโรงเรียน โดย
มีเป้าหมายขยายการศึกษาภาคบังคับให้ถึง ๑๒ ปี โดยเร็ว พร้อมทั้งจัดสวัสดิการการศึกษาและ
สวัสดิการอื่น ๆ ที่จำเป็นให้แก่นักเรียน
๖.๓ จัดหาทุนการศึกษาและจัดให้มีกองทุนสวัสดิการเงินกู้แก่นักเรียน นักศึกษาที่ขาดแคลน
ทุนทรัพย์ให้มีโอกาสศึกษาต่อในระดับสูงขึ้น
๖.๔ เร่งรัดการผลิตบุคลากรในสาขาวิชาชีพที่ขาดแคลน ซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนา
ประเทศในอนาคต เช่น ด้านวิทยาศาสตร์ แพทย์ วิศวกรรม และคอมพิวเตอร์ให้มีคุณภาพ
และปริมาณเพียงพอ ด้วยการเพิ่มขีดความสามารถแก่สถาบันอุดมศึกษาและสถาบันอาชีว
ศึกษาในการผลิตบุคลากรด้านผู้สอน พัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน รวมทั้ง
สนับสนุนให้มีการร่วมมือกับสถาบันการศึกษาใน ต่างประเทศเพื่อแลกเปลี่ยนและถ่ายทอด
วิทยาการ
๖.๕ สนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษาทำการวิจัยและพัฒนาให้กว้างขวาง โดยเน้นการ
นำผลการวิจัยและพัฒนามาถ่ายทอดและปรับใช้ในความเป็นจริง ทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม
ให้มากขึ้น
๖.๖ ผลักดันให้มีการปรับปรุงหลักสูตรและกระบวนการการเรียน การสอนให้สอดคล้องกับ
การเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ โดยเน้นการพัฒนาทักษะการคิดและการวิเคราะห์ การเรียนรู้
จากประสบการณ์และของจริง ควบคู่ไปกับการเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรม
๖.๗ ส่งเสริมสนับสนุนการศึกษานอกระบบโรงเรียนให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยใช้สื่อและ
เทคโนโลยีการสอนทางไกล ระบบอาจารย์สัญจร การสร้างพิพิธภัณฑ์สัตว์ การบูรณะ
พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ การสร้างอุทยานวิทยาศาสตร์ ฯลฯ
๖.๘ สนับสนุนการกระจายอำนาจทางการศึกษา โดยให้องค์กรปกครองท้องถิ่นมีบทบาท
มากขึ้นในการบริหารและจัดการศึกษาในระดับและประเทศที่เหมาะสมและสอดคล้องกับ
สภาพและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ในท้องถิ่น
๖.๙ ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาโดยองค์กรชุมชน สถาน
ประกอบการเอกชน และองค์กรผู้ปกครอง
๖.๑๐ สนับสนุนให้ผู้ด้อยโอกาสและผู้พิการมีโอกาสเข้าศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพ
มากยิ่งขึ้น เพื่อให้สามารถพึ่งพาตนเองได้
๖.๑๑ ปรับปรุงระบบบริหารในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐให้มีความคล่องตัวและมีความ
เป็นอิสระในการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ
๖.๑๒ ผ่อนคลายกฎ ระเบียบ และกำหนดมาตรการจูงใจที่เหมาะสม เพื่อให้เอกชนเข้ามี
บทบาทในการลงทุนและบริหารการศึกษาและการฝึกฝนอาชีพในทุกระดับมากยิ่งขึ้น
๖.๑๓ เสริมสร้างสวัสดิการ ขวัญ กำลังใจ และสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ให้แก่ครู อาจารย์
และบุคลากรทางการศึกษาทุกระดับ เพื่อให้เกิดความมั่นคงและความภาคภูมิใจในอาชีพ
๖.๑๔ ยกระดับมาตรฐานวิชาชีพครูโดยจัดให้มีการกำกับดูแลและพัฒนาคุณภาพ
มาตรฐานและ การปฏิบัติวิชาชีพตามจรรยาบรรณครู รวมทั้งพัฒนาครูประจำการ บุคลากร
ทางการศึกษาและองค์กรวิชาชีพครูอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
๗. นโยบายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
รัฐบาลมีเจตนารมณ์ที่จะฟื้นฟู อนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ที่เสื่อมโทรมให้ดีขึ้น โดยส่งเสริมให้ประชาชน องค์กรประชาชน และองค์กรปกครองท้องถิ่น
เข้ามีส่วนร่วมในการจัดการและองค์กรปกครองท้องถิ่นเข้ามีส่วนร่วมในการจัดการโดย
จะดำเนินการ
๗.๑ เร่งรัดการออกกฎหมายว่าด้วยป่าชุมชนเพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนและองค์กร
ประชาชนมีส่วนร่วมในการปลูก ป้องกัน รักษา และใช้ประโยชน์จากป่าชุมชน
๗.๒ ปรับปรุงหน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแล รักษา และจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้สามารถ
ทำหน้าที่ได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ
๗.๓ ลดความขัดแย้งของการใช้ทรัพยากรธรรมชาติโดยกำหนดการใช้ที่ดิน
๗.๔ จัดทำแผนปฏิบัติการและจัดลำดับความสำคัญในการลงทุนด้านสิ่งแวดล้อม
เพื่อเป็นแม่บทการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้ครบทุกจังหวัดทั่วประเทศ
๗.๕ เร่งรัดการป้องกันและแก้ไขปัญหามลภาวะทางน้ำ อากาศ เสียง รวมทั้งปัญหาจาก
สารพิษและกากของเสียโดยยึดหลักผู้ก่อให้เกิดมลภาวะเป็นผู้จ่าย
๗.๖ เสริมสร้างความร่วมมือกับต่างประเทศในการดูแลและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม
๗.๗ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชน องค์กรประชาชนและองค์กรปกครองท้องถิ่นมี
ส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม
๘. นโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
รัฐบาลมีเจตนารมณ์ที่จะเร่งรัดพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้เป็นปัจจัยสำคัญ
ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยจะดำเนินการ
๘.๑ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
อุตสาหกรรมเกษตรกรรม และการบริการ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางด้านการผลิตและการ
พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน
๘.๒ สนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับต่างประเทศ เพื่อนำมาใช้
ในการพัฒนาประเทศ และเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต การจำหน่าย การค้า และการตลาด
รวมทั้งการบริหารระบบสารสนเทศที่ทันสมัย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของเอกชนในการ
แข่งขันกับต่างประเทศ
๘.๓ เร่งรัดการจัดทำแผนหลักในการพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้มี
คุณภาพและปริมาณเพียงพอกับความต้องการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเสริมสร้างกำลังคนทาง
ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในวิชาชีพที่เป็นความต้องการเร่งด่วนของประเทศ
๘.๔ ขยายความร่วมมือกับต่างประเทศในการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
๘.๕ ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายระบบสารสนเทศด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ให้สามารถ เชื่อมต่อถึงกันทั้งในประเทศและต่างประเทศ
๘.๖ สนับสนุนและส่งเสริมบทบาทเอกชนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาและใช้วิทยาศาสตร์
และ เทคโนโลยี โดยใช้มาตรฐานการจูงใจทางด้านภาษี การให้เงินกู้และเงินให้เปล่า
๘.๗ สนับสนุนให้มีหรือพัฒนาเมืองวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเป็นศูนย์ศึกษาและ
ค้นคว้าวิจัยในด้านนี้
๙. นโยบายกระจายรายได้และความเจริญไปสู่ภูมิภาค
รัฐบาลมีเจตนารมณ์ที่จะกระจายรายได้และความเจริญไปสู่ภูมิภาค โดยขยายบริการ
ขั้นพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมให้ทั่วถึงทุกภูมิภาค เพื่อให้การพัฒนาชนบทเป็นการพัฒนา
ที่สมดุลและยั่งยืน โดยจะดำเนินการ
๙.๑ ขยายบริการขั้นพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคม เช่น ประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์ ระบบ
คมนาคมและสื่อสารโทรคมนาคม สถานศึกษา สถานพยาบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ให้มีถนน
ราดยางในหมู่บ้านทุกหมู่บ้าน และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชนบท
๙.๒ สนับสนุนและผลักดันสถาบันการเงินให้กระจายบริการสินเชื่อแก่เกษตรกรธุรกิจการ
เกษตร และอุตสาหกรรมขนาดย่อม ผู้ประกอบการรายย่อย และผู้ริเริ่มประกอบอาชีพส่วนตัว
ในส่วนภูมิภาคมากขึ้น
๙.๓ ส่งเสริมและสนับสนุนให้กระจายอุตสาหกรรมไปสู่ชนบทมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
อุตสาหกรรมที่เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจชาวบ้านและเศรษฐกิจชุมชนทั้งในเขตชนบทและเขต
เมือง เพื่อเพิ่มการมีงานทำและยกระดับรายได้ของประชาชนในชนบท
๙.๔ ปรับปรุงระบบบริการสาธารณสุขให้สามารถบริการประชาชนได้อย่างมีประสิทธิ
ภาพ และบรรลุเป้าหมายของการมีสุขภาพดีถ้วนหน้า
๙.๕ สนับสนุนให้มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดเพื่อให้
การ พัฒนาเป็นไปอย่างเหมาะสมตามศักยภาพและความจำเป็นของภูมิภาค และเป็นฐาน
สำหรับ การเชื่อมโยงการพัฒนาทางด้านการคมนาคมขนส่ง การค้าและด้านอื่น ๆ
กับประเทศเพื่อนบ้าน
๙.๖ สนับสนุนให้เกิดเครือข่ายการเรียนรู้และเอื้ออาทร ช่วยเหลือร่วมมือกันในชุมชน เพิ่ม
ให้มีความพร้อมและมีพลังเพียงพอในการเข้ามีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจและ
สังคมของตนเองและส่วนรวม
๑๐. นโยบายการพัฒนากรุงเทพมหานครและปริมณฑล
รัฐบาลมีเจตนารมณ์ที่จะเสริมสร้างและพัฒนากรุงเทพมหานครให้เป็นมหานคร
ที่มีสภาพแวดล้อมโดยรวมดีขึ้น เป็นนครแห่งศูนย์กลางทางการค้าและเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้
โดยจะดำเนินการ
๑๐.๑ เร่งดำเนินงานตามแผนงานและโครงการฟื้นฟูบูรณะกรุงเทพมหานคร เพื่อแก้ไข
ปัญหาสิ่งแวดล้อมและมลภาวะ ปัญหาชุมชนแออัด ปัญหาการขาดแคลนสาธารณูปโภค
สาธารณูปการและที่อยู่อาศัยอย่างต่อเนื่อง
๑๐.๒ เร่งแก้ไขปัญหาการจราจรตามแผนแม่บท โดยการปรับปรุงระบบการบริหาร
การจัดการและการตัดสินใจให้มีความเป็นเอกภาพ รวมทั้งประสานการแก้ไขปัญหาการ
จราจรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลอย่างเป็นระบบ โดยเปิดโอกาสให้ประชาชน
มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและตรวจสอบการดำเนินงาน
๑๐.๓ เร่งแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและมลภาวะ ปัญหาน้ำเสียในแม่น้ำเจ้าพระยา
และคูคลองต่าง ๆ ปัญหาขยะมูลฝอย ปัญหาฝุ่นละออง ปัญหาควันพิษ และปัญหามลภาวะ
ทางเสียง โดยปรับปรุงและบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง ประสานความร่วมมือระหว่าง
หน่วยงานของรัฐกับของเอกชนที่เกี่ยวข้อง เร่งรัดให้มีการใช้น้ำมันไร้สารตะกั่ว และควบคุม
ปริมาณควันเสียจากยานพาหนะ รวมทั้งจัดสร้างสวนสาธารณะเพิ่มขึ้นเพื่อเป็นปอดให้
กรุงเทพมหานคร ตลอดจนรณรงค์ให้ความรู้ด้านการอนุรักษ์และการจัดการสิ่งแวดล้อม
๑๐.๔ เร่งแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยและชุมชนแออัด โดยกำหนดแผนพัฒนาที่อยู่อาศัย
ปรับปรุงชุมชนแออัด และส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการจัดให้มีที่อยู่อาศัยราคาถูก
สำหรับผู้มีรายได้น้อยและปานกลาง ด้วยการส่งเสริมการลงทุนเป็นกรณีพิเศษ จัดหาเงินกู้
ดอกเบี้ยต่ำ รวมทั้งเพิ่มบทบาทของธนาคารอาคารสงเคราะห์ และการเคหะแห่งชาติ ตลอดจน
ขยายบริการด้านสาธารณูปโภค สาธารณูปการให้ทั่วถึง
๑๐.๕ กำหนดให้มีการใช้ที่ดินในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลอย่างเป็นระบบ
มีประสิทธิภาพ และเหมาะสม โดยใช้มาตรการทางด้านผังเมือง
๑๐.๖ เร่งดำเนินการเชื่อมโยงกรุงเทพมหานครกับพื้นที่เขตเศรษฐกิจใหม่บริเวณชายฝั่ง
ทะเลตะวันออก พื้นที่ด้านตะวันตกและภาตกลางตอนบน ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งที่ ๒
ที่หนองงูเห่า และเมืองบริวาร
๑๐.๗ ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการผังเมือง การควบคุมอาคาร การเวนคืนอสังหา
ริมทรัพย์ การจัดสรรที่ดิน ชุมชนเมืองใหม่ ชุมชนแออัดและกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องให้
เหมาะสมและเอื้อต่อการพัฒนาและฟื้นฟูกรุงเทพมหานคร
๑๐.๘ สนับสนุนการจัดการด้านสาธารณสุขให้แก่ชุมชน โดยขยายบริการศูนย์สาธารณสุข
และจัดศูนย์สาธารณสุขเคลื่อนที่อย่างทั่วถึงนอกจากนโยบายที่ได้แถลงมาข้างต้น รัฐบาลจะได้
สานต่อนโยบาย งาน หรือโครงการที่เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชนของรัฐบาล
คณะต่าง ๆ ที่ได้ดำเนินการไว้แล้วให้บรรลุผลสำเร็จโดยเร็ว โดยในการบริหารงานจะมุ่งเน้น
การประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรประชาชนเพื่อให้เกิดผลสำเร็จ
อย่างสมบูรณ์
ท่านประธานรัฐสภาและท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติที่เคารพ
ในการบริหารราชการแผ่นดินที่ได้แถลงมาข้างต้น กระผมขอให้ความมั่นใจว่า รัฐบาล
จะมุ่งปฏิบัติตามนโยบายที่แถลงมานี้อย่างเคร่งครัด ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต เพื่อนำประโยชน์
สูงสุดมาสู่ประเทศชาติและประชาชน กระผมเชื่อมั่นว่าด้วยความร่วมมือสนับสนุนจาก
ท่านสมาชิก ผู้ทรงเกียรติ รัฐบาลจะสามารถนำนโยบายที่ได้กล่าวมา ไปปฏิบัติให้สัมฤทธิผล
สมตามเจตนารมณ์ ทุกประการ
*รายงานการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ปีที่ ๑ ครั้งที่ ๑ (สมัยสามัญครั้งที่หนึ่ง)
วันพุธที่ ๒๖ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๓๘ หน้า ๑๐ - ๔๐ |
52 | คณะรัฐมนตรี คณะที่ ๕๒
พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี
ตั้งแต่วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๓๙ - ๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๐
แถลงนโยบายเมื่อวันพุธที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๓๙
คำแถลงนโยบายของรัฐบาล*
ท่านประธานรัฐสภาและท่านสมาชิกผู้มีเกียรติ
ตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้กระผมเป็นนายกรัฐมนตรีตามประกาศ
พระบรมราชโองการ ลงวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๓๙ และแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีตามประกาศ
พระบรมราชโองการ ลงวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๙ นั้น
บัดนี้ คณะรัฐมนตรีได้กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินเรียบร้อยแล้ว โดยมี
เป้าหมายหลักของการบริหารราชการแผ่นดินที่จะเทิดทูน และยึดมั่นในการปกครองในระบอบ
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จะสถาปนาความเชื่อมั่นทางการเมือง เศรษฐกิจ
และสังคม สรรค์สร้างความสมัครสมานสามัคคีและนำมาซึ่งการอยู่ดีกินดีของประชาชน จะเร่งรัด
ผลักดันการปฏิรูปการเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่รัฐธรรมนูญกำหนด จะเร่งสร้างฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัว
และพัฒนาศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก รวมทั้งให้มีการกระจายประโยชน์ของการขยายตัว
ทางเศรษฐกิจไปสู่ประชาชนทุกกลุ่ม จะผลักดันให้มีการปรับทัศนคติ และระบบการทำงานของ
ภาครัฐจากการปกครองประชาชนมาเป็นการให้บริการที่ดีแก่ประชาชน และปรับระบบการทำงาน
ของภาครัฐจากที่เป็นผู้คิดเองทำเองมาเป็นระบบที่ร่วมคิดร่วมทำกับภาคเอกชนและประชาชน
โดยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมและมีสิทธิโต้แย้งคัดค้านการที่ไม่ถูกต้องของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ขณะเดียวกันจะส่งเสริมและรณรงค์ให้ประชาชนในชาติมีวินัย พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน
ให้ได้รับการบริการที่ดี มีการศึกษาที่ได้มาตรฐาน มีความสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจและสติปัญญา
และอยู่ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่ดี
คณะรัฐมนตรีจึงกำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินไว้ ๑๑ ด้าน โดยมีรายละเอียด
ของนโยบายดังต่อไปนี้
๑. นโยบายด้านการเมือง
รัฐบาลมุ่งมั่นที่จะเทิดทูนและรักษาไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และ
การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยจะดำเนินการ
๑.๑ เร่งรัดผลักดันการปฏิรูปการเมือง โดยสนับสนุนให้สภาร่างรัฐธรรมนูญมีอิสระในการ
ยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
๑.๒ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชน องค์กรเอกชนและสื่อสารมวลชนมีส่วนร่วมในการ
เสนอแนะและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
๑.๓ เร่งรัดผลักดันให้มีกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง และให้มีศาลปกครอง
ขึ้นเป็นเอกเทศจากระบบศาลยุติธรรมโดยสอดคล้องกับบทบัญญัติและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
๑.๔ ส่งเสริมและสนับสนุนรัฐสภาและพรรคการเมืองให้เป็นสถาบันที่มีความ เข้มแข็ง
และเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของประชาชน
๒. นโยบายด้านการบริหาร
รัฐบาลมุ่งมั่นที่จะปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินและพัฒนากฎหมายให้สอดคล้องกับ
การพัฒนาทางการเมือง การบริหาร เศรษฐกิจ และสังคมในปัจจุบัน และวางรากฐานสำหรับการ
พัฒนาประเทศในอนาคตเพื่อเผชิญกับยุตโลกาภิวัฒน์ โดยจะดำเนินการ
๒.๑ นโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดินและการบริการประชาชน
๒.๑.๑ ปรับลดบทบาทของรัฐจากที่เป็นผู้ดำเนินการมาเป็นผู้วางกฎเกณฑ์ กำกับดูแล
รักษากติกาวางแผน และประสานงาน และส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามาเป็นผู้ลงทุนและดำเนินการแทน
ในกิจการที่รัฐไม่มีความจำเป็นต้องดำเนินการเอง
๒.๑.๒ ปรับโครงสร้างหน่วยงานของรัฐให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบันและสนองตอบ
ต่อเป้าหมายในการพัฒนาประเทศ
๒.๑.๓ ปรับปรุงกลไกและวิธีการบริหารงบประมาณแผ่นดินให้การจัดสรรงบประมาณ
ตอบสนองต่อนโยบายและเป้าหมายให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
๒.๑.๔ ผลักดันให้มีการปรับทัศนคติและระบบการทำงานของภาครัฐจากการปกครอง
ประชาชนมาเป็นการให้บริการที่ดีแก่ประชาชน รวมทั้งพัฒนาประสิทธิภาพการบริการของรัฐให้เป็นที่
พอใจของประชาชน
๒.๑.๕ ส่งเสริมและสนับสนุนให้หน่วยงานของรัฐนำอุปกรณ์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
ที่ทันสมัยมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติภารกิจหน้าที่และในการให้บริการประชาชน จัดทำ
ระบบฐานข้อมูลทุกระดับตั้งแต่ระดับท้องถิ่น จังหวัด และระดับชาติ และสร้างเครือข่ายเชื่อมโยง
ฐานข้อมูลระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐ
๒.๑.๖ พัฒนาบุคลากรภาครัฐให้มีสมรรถนะสูงขึ้นและให้ได้รับเงินเดือน สวัสดิการ
และสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ สัมพันธ์กับคุณภาพของงานและสอดคล้องกับภาวะค่าครองชีพ เพื่อให้สามารถ
อยู่ในสังคมอย่างสมฐานะ มีเกียรติ และศักดิ์ศรี
๒.๒ นโยบายด้านการกระจายอำนาจการปกครองสู่ท้องถิ่น
๒.๒.๑ ปรับปรุงโครงสร้างขององค์กรปกครองท้องถิ่นให้มีความเหมาะสมและ
สอดคล้องกัน เร่งรัดการกระจายภารกิจหน้าที่ให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่นมากขึ้น และถ่ายเท
บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาคไปสู่องค์กรปกครองท้องถิ่น
ตามความเหมาะสม
๒.๒.๒ เร่งรัดการกระจายรายได้ให้องค์กรปกครองท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้นอย่างเป็นขั้นตอน
และเพียงพอที่จะบริหารกิจการตามอำนาจหน้าที่ของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยเร็ว
๒.๓ นโยบายด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน
๒.๓.๑ ให้ประชาชนมีสิทธิรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับกิจการของรัฐ และการดำเนินงาน
ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
๒.๓.๒ ให้มีการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์ในปัญหาสำคัญ
ของชาติ
๒.๓.๓ ให้ประชาชนและสื่อสารมวลชนสามารถตรวจสอบการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่
ของรัฐได้มากยิ่งขึ้น
๒.๔ นโยบายด้านการอำนวยความยุติธรรม
๒.๔.๑ ลดปริมาณคดีขึ้นสู่ศาลโดยการจัดตั้งระบบงานระงับข้อพิพาทและข้อขัดแย้ง
ในสังคมโดยการไกล่เกลี่ยหรือประนอมข้อพิพาท และโดยวิธีอนุญาโตตุลาการ
๒.๔.๒ ให้บริการช่วยเหลือทางด้านกฎหมายแก่ประชาชน และสนับสนุนบทบาทของ
ทนายความในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน
๒.๔.๓ พัฒนาบุคลากรและกระบวนการวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ของประชาชนที่ได้รับ
ความเดือดร้อนเสียหายจากการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐให้มีประสิทธิภาพ รวดเร็วและทั่วถึง เพื่อรองรับ
สิทธิของบุคคลในการร้องทุกข์ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
๒.๕ นโยบายด้านการปรับปรุงบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
ปรับปรุงระบบกฎหมายให้สอดคล้องกับการพัฒนาทางการเมือง การบริหาร เศรษฐกิจ
และสังคมในปัจจุบัน และวางรากฐานสำหรับการพัฒนาในอนาคต รวมทั้งให้มีการบังคับใช้กฎหมาย
อย่างเคร่งครัดและต่อเนื่อง
๓. นโยบายด้านเศรษฐกิจ
รัฐบาลมุ่งมั่นที่จะดำเนินนโยบายสร้างสรรค์ความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจของประเทศ
อย่างมีเสถียรภาพ ลดช่องว่างและขจัดความยากจนในประเทศให้ลดน้อยลงยกระดับคุณภาพชีวิตของ
ประชาชน และสร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนไทยและต่างประเทศ โดยจะดำเนินการ
๓.๑ นโยบายด้านการเงินการคลัง
รัฐบาลจะรักษาระเบียบวินัยทางการเงินการคลังอย่างเคร่งครัด และจะดำเนินนโยบาย
การเงินการคลังให้สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาประเทศในด้านอื่น ๆ ตลอดจนพัฒนาตลาดการเงิน
และตลาดทุน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่สำคัญในภูมิภาคนี้
โดยจะดำเนินการ
๓.๑.๑ ส่งเสริมให้มีการลงทุนในระบบเศรษฐกิจในระดับที่เหมาะสมทั้งภาครัฐ
และภาคเอกชน โดยเฉพาะการลงทุนเพื่อเพิ่มผลผลิตและแหล่งงานของประเทศ
๓.๑.๒ ระดมเงินออมภายใต้ประเทศทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคครัวเรือน
ด้วยมาตรการจูงใจและมาตรการเร่งรัดเพื่อลดช่องว่างระหว่างเงินออมและเงินลงทุนให้ต่ำลง
และลดการพึ่งพาแหล่งเงินกู้ต่างประเทศ
๓.๑.๓ รักษาเสถียรภาพของระดับราคาผู้บริโภคและควบคุมดูแลการใช้จ่ายเงิน
ภาครัฐให้อยู่ในระดับที่ไม่กดดันต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
๓.๑.๔ แก้ไขปัญหาการขาดดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดให้มีระดับต่ำลง ด้วย
มาตรการทั้งในด้านการเพิ่มแหล่งรายได้และเงินตราต่างประเทศ รวมทั้งลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น
หรือการลงทุนที่ไม่มีประสิทธิภาพ
๓.๑.๕ เร่งรัดฟื้นฟูแก้ไขภาคเศรษฐกิจที่มีปัญหาโดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่
ด้อยประสิทธิภาพการแข่งขัน การเกษตรที่ผลผลิตต่ำ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจการเงิน
โดยคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนผู้บริโภค รวมทั้งจะดูแลรักษาสภาพคล่องทางการเงินภายใน
ประเทศให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและมีเสถียรภาพ
๓.๑.๖ เปิดเสรีและผ่อนคลายข้อจำกัดทางการเงินอย่างเป็นขั้นตอน และในระยะเวลา
ที่เหมาะสม ทั้งในด้านธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ บริษัทประกันภัยและประกันชีวิต
และสถาบันการเงินอื่น ๆ
๓.๑.๗ สนับสนุนให้สถาบันการเงินมีบทบาทสำคัญในการแก้ปัญหาหนี้สินนอกระบบ
กระจายรายได้ กระจายแหล่งงาน และกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น
๓.๑.๘ พัฒนาตลาดการเงิน ตลาดทุนและตลาดเงินตราต่างประเทศให้มี ประสิทธิภาพ
และเป็นสากลภายใต้การกำกับดูแลที่เหมาะสม
๓.๒ นโยบายด้านการค้าภายในประเทศและต่างประเทศ
รัฐบาลจะดำเนินการให้ราคาและคุณภาพสินค้าอุปโภคบริโภคมีความเป็นธรรมต่อผู้บริโภค
ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดไม่ก่อให้เกิดปัญหาเสถียรภาพต่อระบบเศรษฐกิจและจะเพิ่มพูนศักยภาพ
ของประเทศไทยในการแข่งขัน โดยจะดำเนินการ
๓.๒.๑ แก้ไขปัญหาสินค้าราคาแพงและคุณภาพต่ำด้วยการเปิดเสรีและส่งเสริม
การแข่งขันในระบบตลาดภายใน เร่งมาตรการเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิตสินค้าโดยเฉพาะ
สินค้าประเภทอาหารและสินค้าจำเป็น ตลอดจนคุ้มครองดูแลผู้อุปโภคบริโภคให้ได้รับผลประโยชน์
จากการแข่งขัน
๓.๒.๒ รักษาระดับราคาพืชผลให้มีความเป็นธรรมต่อผู้ผลิตด้วยมาตรการส่งเสริม
และสนับสนุนการขายทั้งในและต่างประเทศด้วยมาตรการแทรกแซงด้านการตลาด
๓.๒.๓ เสริมสร้างศักยภาพของประเทศในการแข่งขันกับต่างประเทศด้วยการเพิ่ม
ประสทิธิภาพการผลิต การขนส่งและการตลาด ส่งเสริมภาคบริการที่มีความสำคัญต่อการค้าและ
การลงทุน ปรับปรุงกฎระเบียบทางธุรกิจให้เป็นสากลและสะดวกคล่องตัว
๓.๓ นโยบายด้านอุตสาหกรรม
รัฐบาลจะดำเนินการพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรมไทยนตลาดโลก
โดยจะดำเนินการ
๓.๓.๑ ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการตั้งนิคมอุตสาหกรรมและเขตอุตสาหกรรม
ส่งออกในชนบท
๓.๓.๒ ฟื้นฟูอุตสาหกรรมดั้งเดิมให้คงอยู่ได้ด้วยการปรับปรุงเทคโนโลยีการผลิต
และสนับสนุนใหมีการลงทุนอย่างเต็มที่ในอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพที่แข่งขันได้ในเศรษฐกิจยุคใหม่
และในอุตสาหกรรมสนับสนุน
๓.๓.๓ ยกระดับศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรมส่งออกหลักของประเทศ
๓.๓.๔ ควบคุมมลพิษที่เกิดจากอุตสาหกรรมให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด
๓.๓.๕ สนับสนุนการจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาคุณภาพสินค้าอุตสาหกรรม
๓.๔ นโยบายด้านเกษตรกรรม
รัฐบาลจะดำเนินการพัฒนาศักยภาพและความเป็นอยู่ของเกตรกร และสร้างโอกาสการ
มีงานทำโดยมุ่งปรับโครงสร้างการเกษตรตามแนวทางเกษตรยั่งยืน ตลอดจนสนับสนุนให้มีการนำ
ผลิตผลทางการเกษตรมาสร้างให้เกิดมูลค่าเพิ่มโดยระบบอุตสาหกรรมการเกษตร โดยจะดำเนินการ
๓.๔.๑ ส่งเสริมให้เกษตรกรมีรายได้สูงขึ้นด้วยการปลูกพืชเศรษฐกิจตามความต้อง
การของตลาด ลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลผลิตต่อหน่วย ยกระดับราคาผลผลิตทางการเกษตรให้เป็น
ธรรมต่อเกษตรกร ส่งเสริมให้เกษตรกรมีอาชีพเสริมนอกภาคเกษตร สนับสนุนข้อมูลข่าวสารการ
เกษตร และปรับย้ายแรงงานภาคเกษตรให้ไปอยู่ในภาคอื่นตามความเหมาะสม รวมทั้งเร่งรัดแก้ไข
ปัญหาหนี้สินของเกษตรกร ตลอดจนจัดทำแผนการปรับตัวภาคเกษตรให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง
ของตลาดสินค้าเกษตรในอนาคต
๓.๔.๒ เร่งรัดการปฏิรูปที่ดินให้แก่เกษตรกรผู้ยากจนและไม่มีที่ดินทำกินเพียงพอ
ตามเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
๓.๔.๓ จัดหาน้ำเพื่อการเกษตรและการอุปโภคบริโภคให้มีเพียงพอและทั่วถึงและ
จัดทำแผนแม่บทการชลประทานเพื่อวางแผนการจัดหาน้ำให้แก่เกษตรในระยะยาว
๓.๔.๔ แก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรทั้งในระบบและนอกระบบด้วยการจัดสรรเงิน
สนับสนุนเพื่อเปลี่ยนหนี้ให้เข้าสู่ระบบ ตลอดจนสนับสนุนสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำ เงื่อนไขผ่อนปรน
และขยายเวลาการชำระหนี้ให้เหมาะสม
๓.๔.๕ สนับสนุนให้สหกรณ์การเกษตรมีการบริหารและการจัดการที่มีประสิทธิภาพ
และเป็นองค์กรสร้างรายได้แก่เกษตรกรอย่างเป็นรูปธรรม
๓.๔.๖ ฟื้นฟูทรัพยากรประมงในน่านน้ำไทย ส่งเสริมและพัฒนาการประมง
นอกน่านน้ำไทยและส่งเสริมการเพาะเลี้ยงชายฝั่งและสัตว์น้ำจืดที่มีความคัญต่อเศรษฐกิจ รวมทั้ง
สนับสนุนการปรับปรุงเครื่องมือประมงเพื่อไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์
ชายฝั่ง
๓.๔.๗ ส่งเสริมและสนับสนุนการเลี้ยงและบำรุงพันธุ์ปศุสัตว์ให้มีคุณภาพและเพิ่ม
ผลผลิต รวมทั้งป้องกันและแก้ไขโรคสัตว์ ตลอดจนสนับสนุนให้มีการแปรรูปเพื่อการบริโภคและ
การส่งออกอย่างครบวงจร
๓.๕ นโยบายด้านการขนส่งและการสื่อสาร
รัฐบาลจะดำเนินการกระจายเครือข่ายการขนส่งทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ
และการสื่อสารให้ทั่วถึง โดยจะดำเนินการ
๓.๕.๑ การขนส่งทางบก
๓.๕.๑.๑ พัฒนา ปรับปรุง และขยายเครือข่ายทางหลวงและเส้นทางการ
ขนส่งระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดต่าง ๆ และระหว่างจังหวัดในทุกภาคของประเทศ โดย
เร่งรัดให้มีการก่อสร้างขยายถนนทั้งในแนวราบและแนวยกระดับระหว่างภาครัฐและระหว่าง จังหวัด
ที่มีการจราจรหนาแน่น
๓.๕.๑.๒ ปรับปรุงเส้นทางรถไฟสายหลักให้เป็นทางคู่ขนาน และให้มีการ
นำรถไฟความเร็วสูงมาใช้ในเส้นทางที่เหมาะสม
๓.๕.๑.๓ เร่งรัดการจัดสร้างเครือข่ายการขนส่งทางรถยนต์และรถไฟกับ
ประเทศเพื่อนบ้าน
๓.๕.๒ การขนส่งทางน้ำ
๓.๕.๒.๑ เร่งรัดให้มีการใช้ท่าเรือน้ำลึกในเขตพัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออก
อย่างเต็มที่ และเร่งรัดการก่อสร้างและการศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกในพื้นที่อื่น ๆ
ที่เหมาะสม ตลอดจนประสานความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและใช้ท่าเรือน้ำลึก
๓.๕.๒.๒ ส่งเสริมและจัดระบบการจราจรและการขนส่งทางน้ำ
๓.๕.๒.๓ ส่งเสริมการพาณิชย์นาวีอย่างจริงจัง ฟื้นฟูระบบการขนส่งชายฝั่งทะเล
และสนับสนุนกิจการอู่เรือ รวมทั้งพัฒนาบุคลากรด้านพาณิชย์นาวีให้เพียงพอและได้มาตรฐานสากล
๓.๕.๓ การขนส่งทางอากาศ
๓.๕.๓.๑ เร่งรัดการก่อสร้างและปรับปรุงสนามบินภายในประเทศและระหว่างประเทศ
ให้ทันสมัย ตามความจำเป็นและเหมาะสม
๓.๕.๓.๒ ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดตั้งสายการบินเพิ่มขึ้น เร่งรัดการจัดตั้ง
ศูนย์ซ่อมเครื่องบินขนาดใหญ่และศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศนานาชาติ ตลอดจนปรับปรุงประสิทธิภาพ
ในการบริหารงานของสายการบินแห่งชาติให้มีคุณภาพในการให้บริการมากยิ่งขึ้น
๓.๕.๓.๓ เพิ่มขีดความสามารถในการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานและเรือ
ที่ประสบภัย
๓.๕.๔ การสื่อสาร
๓.๕.๔.๑ พัฒนา ปรับปรุง และขยายบริการสื่อสารไปรษณีย์และโทรคมนาคม
ให้สามารถบริการประชาชนได้ทั่วถึงทั้งประเทศ
๓.๕.๔.๒ เร่งรัดขยายบริการโทรศัพท์ให้มีจำนวนเพียงพอกับความต้องการ
และขยายโทรศัพท์ทางไกลชนบทให้ทั่วถึงทุกหมู่บ้าน
๓.๕.๔.๓ เร่งรัดให้มีแผนแม่บทการพัฒนากิจการโทรคมนาคมและ ปรับปรุง
กฎหมายที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกัน
๓.๖ นโยบายด้านพลังงาน
รัฐบาลจะดำเนินการให้มีพลังงานเพียงพอกับความต้องการ มีระดับราคาที่เหมาะสมและ
เป็นธรรม โดยจะดำเนินการ
๓.๖.๑ ส่งเสริมและรณรงค์ให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพสนับสนุนให้มีการ
ผลิตเครื่องใช้พลังงานประสิทธิภาพสูงที่ช่วยให้เกิดการประหยัดพลังงาน ตลอดจนศึกษาความเป็นไปได้
ในการนำพลังงานอื่น ๆ มาใช้ทดแทน
๓.๖.๒ พัฒนาระบบการขนส่งน้ำมันและแก๊สทางท่อให้กระจายสู่ภูมิภาคต่าง ๆ
ให้มากขึ้นเพื่อลดต้นทุนการขนส่งและลดปัญหาการจราจร
๓.๖.๓ ส่งเสริมให้มีการแข่งขันในกิจการพลังงานมากขึ้นบนพื้นฐานที่เท่าเทียมกัน
๓.๗ นโยบายด้านการท่องเที่ยว
รัฐบาลจะส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้สามารถทำรายได้เข้าประเทศ
มากขึ้น ควบคู่ไปกับการธำรงรักษาศิลปวัฒนธรรมและทรัพยากรธรรมชาติอันเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่
มีค่ายิ่ง โดยจะดำเนินการ
๓.๗.๑ เสริมสร้างค่านิยมให้ประชาชนท่องเที่ยวประเทศมากขึ้น โดยให้กระจาย
ไปทั่วทุกภูมิภาคตลอดปี
๓.๗.๒ ส่งเสริมการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรการท่องเที่ยวในทิศทางยั่งยืน
ให้สามารถรองรับการเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวในระยะยาว
๓.๗.๓ พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้สามารถเข้าถึงได้โดยสะดวก ปลอดภัย มีความสวยงาม
และเป็นที่ประทับใจของนักท่องเที่ยวตลอดไป
๓.๗.๔ ส่งเสริมและพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของการท่องเที่ยวในภูมิภาคนี้
โดยร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการขยายโครงข่ายสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานและการบริการ
ต่าง ๆ รวมทั้งส่งเสริมการผลิตบุคลากรในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวให้มีปริมาณสอดคล้องกับความต้องการ
ของตลาดและมีคุณภาพได้มาตรฐานในระดับนานาชาติ
๔. นโยบายด้านต่างประเทศ
รัฐบาลมุ่งมั่นที่จะดำเนินนโยบายต่างประเทศอย่างเป็นอิสระและมีเอกภาพ โดยจะดำเนินการ
๔.๑ เสริมสร้างสันติภาพ เสถียรภาพและความมั่นคงในเอเชีย และสนับสนุนการสร้างสันติภาพ
ของโลก
๔.๒ ขจัดปัญหา อุปสรรค และขยายความสัมพันธ์ในทุกด้านกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งประเทศที่มีพรมแดนติดต่อกับประเทศไทย
๔.๓ ดำเนินนโยบายที่ช่วยเหลือเสริมสร้างและเกื้อกูลให้ประเทศไทยได้รับประโยชน์จากการ
เจรจาพหุพาคีด้านเศรษฐกิจทั้งในระดับโลกและระดับภูมิภาค โดยเน้นการทูตเพื่อขยายผลประโยชน์
ของไทยในการเจรจาแก้ไขปัญหาและกฎระเบียบในด้านการค้าและการลงทุน การส่งเสริมการส่งออก
การดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศ การสนับสนุนเอกชนไทยที่ทำธุรกิจในต่างประเทศและการส่งเสริม
การท่องเที่ยว
๔.๔ เพิ่มบทบาทในองค์การระหว่างประเทศทุกระดับ
๔.๕ ให้ความร่วมมือกับนานาประเทศและองค์การระหว่างประเทศในการแก้ปัญหาซึ่งจะมี
ผลกระทบต่อมนุษยชาติ
๔.๖ เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของสถานทูตเพื่อการบริการประชาชนใน ต่างประเทศ
๔.๗ ขยายงานการส่งเสริมและเผยแพร่ประเทศไทย โดยเน้นความเป็นประชาธิปไตย
และคุณค่าที่ดีงามของสังคมไทยด้วยวิถีทางทางการทูตและการประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพ
และทันต่อเหตุการณ์
๕. นโยบายด้านการศึกษา
รัฐบาลมุ่งมั่นที่จะพัฒนาคุณภาพการศึกษาและขยายโอกาสให้ทั่วถึงคนทุกกลุ่ม เพื่อให้การศึกษา
เป็นกระบวนการพัฒนาคนให้มีขีดความสามารถเต็มตามศักยภาพ มีคุณภาพชีวิตที่ดี และเป็นแรงผลักดัน
ที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศให้เจริญรุ่งเรือง โดยจะดำเนินการ
๕.๑ ส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนทุกคนได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ๑๒ ปี
โดยจะให้ความช่วยเหลือเป็นพิเศษแก่ผู้ยากจน ผู้ด้อยโอกาส และผู้บกพร่องทางร่างกายและปัญญา
ตามความจำเป็น
๕.๒ ขยายการจัดการศึกษาชั้นอนุบาลหรือก่อนประถมศึกษา เพื่อให้เด็กกลุ่มอายุ ๓ - ๕ ปี
ได้เข้าเรียนอย่างทั่วถึง
๕.๓ ขยายการศึกษานอกระบบทั้งสายสามัญและสายอาชีพอย่างกว้างขวาง เพื่อให้ผู้ที่อยู่
ในวัยแรงงานได้พัฒนาตนเองและได้รับการศึกษาพื้นฐานเพิ่มขึ้นถึงมัธยมศึกษาตอนปลายและอาชีวศึกษา
๕.๔ ปฏิรูปการอาชีวศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น โดยให้สถานศึกษาและสถาน
ประกอบการร่วมมือกันจัดการศึกษาอย่างใกล้ชิด ปรับหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของ
ตลาดแรงงาน และเน้นการสร้างนิสัยความรับผิดชอบให้สูงขึ้น ตลอดจนพัฒนาวิทยาลัยเกษตรกรรม
ให้เป็นสถาบันทางการเกษตรและเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อรองรับการพัฒนาการเกษตรและอุตสาหกรรม
การเกษตรได้อย่างเต็มที่
๕.๕ ส่งเสริมให้ประชาชนและผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมรับผิดชอบการจัดการศึกษาอย่าง
ใกล้ชิด
๕.๖ ส่งเสริมการพัฒนาโรงเรียนเอกชนเพื่อยกระดับคุณภาพให้ได้มาตรฐานผ่านกองทุน
เงินกู้ยืมดอกเบี้ยต่ำ และใช้บัตรการศึกษาสำหรับคนยากจนเพื่อสนับสนุนให้โรงเรียนเอกชนได้ช่วย
แบ่งเบาภาระของรัฐเพิ่มมากขึ้น
๕.๗ ยกระดับคุณภาพและมาตรฐานวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา รวมทั้งเร่งรัด
แก้ไขปัญหาหนี้สินของครู
๕.๘ เพิ่มสัดส่วนงบประมาณเพื่อการลงทุนและการพัฒนาการศึกษาให้สูงขึ้น
๕.๙ ส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษามีบทบาทในการวิจัยและพัฒนาในด้านต่าง ๆ รวมทั้งให้มี
การจัดการศึกษาที่เน้นความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมากยิ่งขึ้น
๕.๑๐ ขยายโอกาสอุดมศึกษาให้ผลิตบัณฑิตให้มีปริมาณและคุณภาพที่สอดคล้องกับการ
พัฒนาประเทศ รวมทั้งส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาของท้องถิ่นและภูมิภาคและสร้าง
ความเป็นเลิศทางวิชาการ
๖. ความเป็นเลิศทางวิชาการ
รัฐบาลมุ่งมั่นที่พัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพของคนให้เป็นคนดี มีคุณธรรม มีระเบียบวินัย
มีจิตสำนึกที่รับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม มีสุขภาพพลานามัยที่ดี พัฒนาสภาพแวดล้อมทางสังคม
ให้มั่นคง ตลอดจนส่งเสริมวัฒนธรรมให้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของคนและเป็นพลังงาน
ในการพัฒนาประเทศ โดยจะดำเนินการ
๖.๑ นโยบายด้านการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและการทำนุบำรุงศาสนา
๖.๑.๑ สืบทอดเอกลักษณ์ของความเป็นไทยและการสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมสาขาต่าง ๆ
ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตปัจจุบันและอนาคต รวมทั้งสนับสนุนการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ และรับวัฒนธรรมต่างชาติ
มาอย่างเหมาะสม ตลอดจนให้มีศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรมไทยในต่างประเทศที่สำคัญ
๖.๑.๒ ส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือระหว่างรัฐ ท้องถิ่น องค์กรเอกชน ประชาชน
และสถาบันการศึกษาในการทำนุบำรุง พัฒนา และอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและโบราณสถาน ทั้งในระดับ
ชาติและท้องถิ่น
๖.๑.๓ ส่งเสริมให้มีสื่อคุณภาพเพื่อถ่ายทอดและปลูกฝังค่านิยมที่ดีงาม เสริมสร้างความ
เสมอภาคระหว่างชายหญิงและกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ ให้เกิดความเข้าใจและนำไปปฏิบัติร่วมกัน
๖.๑.๔ ส่งเสริมการศึกษาของพระสงฆ์ และพัฒนาการบริหารงานด้านศาสนาให้มี
ประสิทธิภาพ รวมทั้งส่งเสริมให้บุคลากรและสถานที่ทางศาสนาในการช่วยเหลือและพัฒนาคุณภาพชีวิต
ประชาชน
๖.๑.๕ สนับสนุนโครงการสร้างจริยธรรม คุณธรรมและวินัยของคนในชาติ เช่น โครงการ
ลูกเสือ การฝึกนักศึกษาวิชาทหาร
๖.๒ นโยบายด้านสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส
๖.๒.๑ สนับสนุนบทบาทสตรีให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และ
การบริหารทุกระดับ รวมทั้งขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ
๖.๒.๒ ปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการกระทำผิดทางเพศต่อเด็กและสตรี และดำเนินการ
ตามกฎหมายแก่ผู้กระทำผิดอย่างจริงจัง ตลอดจนรณรงค์แก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว
๖.๒.๓ ส่งเสริมให้มีการช่วยเหลือและดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้ถูกทอดทิ้ง
ทางสังคมอย่างจริงจัง
๖.๒.๔ เสริมสร้างโอกาสให้กลุ่มผู้ด้อยโอกาสได้รับการคุ้มครองช่วยเหลือ และการบริการ
พื้นฐานทางสังคมทุกด้านอย่างเหมาะสม ทั่วถึง และเป็นธรรม
๖.๒.๕ ให้การสงเคราะห์และฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ด้อยโอกาสให้สามารถพึ่งตนเองได้และมี
ชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
๖.๓ นโยบายด้านการสาธารณสุข
๖.๓.๑ เร่งรัดการให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขที่มีมาตรฐานและคุณภาพทั้งใน
ภาครัฐและภาคเอกชน
๖.๓.๒ สนับสนุนการสร้างระบบประกันสุขภาพ
๖.๓.๓ ส่งเสริมการผลิตและพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขให้มีคุณภาพ
และเพียงพอ และให้มีการกระจายบุคลากรอย่างเหมาะสม ตลอดจนส่งเสริมการนำเทคโนโลยีทางการ
แพทย์และสาธารณสุขที่ทันสมัยและคุ้มค่ามาใช้ในการให้บริการ
๖.๓.๔ เร่งรัดการควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ในกลุ่มเสี่ยง ทุกกลุ่ม
และดูแลรักษาและพัฒนาศักยภาพของผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วย ครอบครัว และชุมชนให้รู้จักป้องกันและแก้ไข
ปัญหาด้วยตนเอง
๖.๓.๕ เร่งรัดขยายงานสาธารณสุขมูลฐานในชนบท โดยสนับสนุนองค์กรประชาชน
สถาบันครอบครัว อาสาสมัครสาธารณสุข ให้เข้ามามีบทบาทอย่างเข้มแข็งในการดูแลสุขภาพอนามัย
ของประชาชน
๖.๓.๖ ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง
การดูแลสุขภาพ และการป้องกันโรค
๖.๓.๗ กวดขันมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัยจากการบริโภคอาหาร
ยา สินค้าและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
๖.๓.๘ ให้มีการศึกษาวิจัยอย่างจริงจัง ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อพัฒนาระบบ รูปแบบ
และเทคโนโลยีการให้บริการสาธารณสุข
๖.๓.๙ ให้มีมาตรการเฝ้าระวังและควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อร้ายแรง
ในภูมิภาคที่เข้ามากับกลุ่มแรงงานต่างชาติและประชาชาติอื่น ๆ
๖.๓.๑๐ เฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่อาจเป็นอันตรายต่อ สุขอนามัย
ของประชาชนให้อยู่ในระดับมาตรฐานความปลอดภัย สร้างหลักประกันสุขภาพและคุ้มครองความปลอดภัย
จากการประกอบอาชีพ รวมทั้งกำหนดมาตรการเร่งรัดให้มีการกำจัดขยะติดเชื้อและบำบัดน้ำเสียจาก
สถานบริการสาธารณสุขอย่างจริงจัง ตลอดจนจัดหาน้ำสะอาดสำหรับอุปโภคบริโภคให้แก่ประชาชน
ในชนบทอย่างทั่วถึง
๖.๔ นโยบายด้านแรงงานและสวัสดิการสังคม
รัฐบาลจะส่งเสริมให้ประชาชนมีงานทำด้วยการพัฒนาฝีมือ มีระบบสวัสดิการและระบบ
ความปลอดภัย สร้างหลักประกันสุขภาพและคุ้มครองความปลอดภัยจากการประกอบอาชีพ รวมทั้ง
กำหนดมาตรการเร่งรัดให้มีการกำจัดขยะติดเชื้อและบำบัดน้ำเสียจากสถานบริการสาธารณสุข
อย่างจริงจัง ตลอดจนจัดหาน้ำสะอาดสำหรับอุปโภคบริโภคให้แก่ประชาชนในชนบทอย่างทั่วถึง
๖.๔.๑ พัฒนาฝีมือแรงงานให้ได้มาตรฐาน มีวินัยและมีขีดความสามารถ สอดคล้อง
กับการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศ
๖.๔.๒ จูงใจให้คนไทยระดับนักวิชาชีพ ผู้ชำนาญการและผู้ใช้แรงงานที่อยู่ในต่างประเทศ
กลับมาทำงานในประเทศ
๖.๔.๓ ปรับปรุงระบบการจัดส่งแรงงานไปต่างประเทศที่ดำเนินการอยู่ให้มีความเป็นธรรม
ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้ใช้แรงงาน
๖.๔.๔ ควบคุมการทำงานของแรงงานต่างชาติอย่างเข้มงวดและเป็นระบบ
๖.๔.๕ ส่งเสริมให้มีระบบแรงงานสัมพันธ์ การคุ้มครองแรงงาน และความปลอดภัย
ในการทำงานทั้งระบบทวิภาคีและไตรภาคี
๖.๔.๖ ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับแรงงานและพนักงานรัฐวิสาหกิจให้เหมาะสม
กับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
๖.๔.๗ เร่งดำเนินการทั้งมาตรการป้องกันและปราบปรามเพื่อแก้ไขปัญหาการใช้
แรงงานเด็กและโสเภณีเด็ก
๖.๔.๘ กระจายบริการสวัสดิการสังคมไปยังชนบท โดยสนับสนุนทุนดำเนินการ
ของศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน
๖.๔.๙ เร่งจัดตั้งศูนย์สารสนเทศแรงงานและสวัสดิการสังคม
๖.๕ นโยบายด้านกีฬา
รัฐบาลจะดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาการกีฬาเพื่อสุขภาพอนามัยของคนในชาติ รวมทั้ง
พัฒนาสู่ความเป็นเลิศ มีศักยภาพทัดเทียมกับอายรประเทศ โดยจะดำเนินการ
๖.๕.๑ จัดเตรียมการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ให้มีความพร้อมในทุกด้าน รวมทั้ง
พัฒนาสมรรถภาพของนักกีฬาให้มีความพร้อมในการเข้าแข่งขัน
๖.๕.๒ ส่งเสริมให้มีกีฬาขั้นพื้นฐานเพื่อการแข่งขัน การอาชีพ และเพื่อสุขภาพ โดย
กระจายโอกาสด้านกีฬาไปให้ทั่วทุกภูมิภาคและทุกชุมชน รวมทั้งสนับสนุนการผลิตอุปกรณ์กีฬาใน
ประเทศให้มีมาตรฐานและมีราคาถูก
๖.๕.๓ ให้มีการเล่นกีฬาตั้งแต่เยาว์วัย และสนับสนุนบริการพื้นฐานด้านกีฬาให้ผู้ด้อยโอกาส
และผู้พิการ
๖.๕.๔ จัดตั้งศูนย์กีฬาระดับนานาชาติเพื่อเป็นที่ฝึกซ้อมและเก็บตัวนักกีฬา เสริมสร้างขวัญ
และกำลังใจนักกีฬาที่นำชื่อเสียงและเกียรติภูมิมาสู่ประเทศให้มีมาตรฐาานการครองชีพที่ดี รวมทั้งจัด
สวัสดิกาช่วยเหลือนักกีฬาที่ประสบอุบัติเหตุ
๗. นโยบายด้านการพัฒนาชนบทและกระจายรายได้และความเจริญไปสู่ภูมิภาค
และท้องถิ่น
รัฐบาลมุ่งมั่นที่จะพัฒนาชนบทและกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น โดยขยาย
บริการขั้นพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมให้ทั่วถึงในทุกภูมิภาคเพื่อให้การพัฒนาชนบทเป็นการ
พัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน โดยจะดำเนินการ
๗.๑ เร่งรัดการกระจายรายได้และกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคต่าง ๆ ด้วยการ ส่งเสริม
การดำเนินโครงการพัฒนาในพื้นที่อนุภาค พื้นที่ชายแดน พื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกและพื้นที่ชายฝั่ง
ทะเลภาคใต้ ตลอดจนกระจายอุตสาหกรรมและการลงทุนไปสู่ภูมิภาคและชนบท
๗.๒ เร่งรัดจัดทำผังโครงการพัฒนาทั่วประเทศเพื่อสร้างสมดุลการพัฒนาไม่ให้กระจุกตัว
เฉพาะในภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่ง
๘. นโยบายด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
รัฐบาลมุ่งมั่นที่จะฟื้นฟู อนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น
โดยจะดำเนินการ
๘.๑ ปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับป่าไม้ทั้งหมดให้สอดคล้องกันและเร่งรัดการออกกฎหมาย
ว่าด้วยป่าชุมชนเพื่อให้คนและป่าสามารถอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูลกัน
๘.๒ ป้องกันและปราบปรามการบุกรุกและการตัดไม้ทำลายป่า อนุรักษ์ป่าต้นน้ำลำธาร
ป่าชายเลน และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมโทรม
๘.๓ ปรับปรุงหน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแลรักษา และจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้สามารถ
ทำหน้าที่ได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ
๘.๔ ใหมีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพตามหลักอนุรักษ์และความสมดุล
ทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๘.๕ จัดทำแผนแม่บทการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้ครบทุกจังหวัด
๘.๖ ลดปริมาณมลพิษและการแพร่กระจายในสภาพแวดล้อมให้อยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตราย
ต่อสุขภาพอนามัย โดยเสริมสร้างกลไกทางกฎหมายและสมรรถนะขององค์กร รวมทั้งยึดหลักผู้ก่อให้เกิด
มลพิษเป็นผู้จ่าย
๘.๗ ร่วมมือกับต่างประเทศในการดูแลและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของโลกภูมิภาค
และของประเทศ
๘.๘ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชน องค์กรเอกชนและองค์กรปกครองท้องถิ่นมีส่วนร่วม
ในการอนุรักษ์ ป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม
๙. นโยบายด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
รัฐบาลมุ่งมั่นที่จะเร่งรัดพัฒนาขีดความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเป็น
เครื่องมือของการพัฒนาเศรษฐกิจให้เจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสินค้า
ให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก รวมทั้งเสริมสร้างสมรรถนะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ในระยะยาว โดยจะดำเนินการ
๙.๑ ผลิตและพัฒนากำลังคนทางด้านวิทยาศาสตร์แลเทคโนโลยีให้มีปริมาณและคุณภาพ
เพียงพอกับความต้องการ
๙.๒ ร่วมมือทางเทคโนโลยีกับต่างประเทศ ส่งเสริมให้บริษัทต่างชาติลงทุนด้านการผลิต
ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง การวิจัยและพัฒนา และการจัดตั้งสถาบันฝึกอบรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี
แก่คนไทย
๙.๓ พัฒนาเทคโนโลยีที่มีความสำคัญต่อการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ
ในทุกภาคการผลิต
๙.๔ สนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่จะสนับสนุนอุตสาหกรรมเป้าหมายจาก ต่างประเทศ
และอุตสาหกรรมการเกษตร รวมทั้งส่งเสริมให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีไปสู่ภูมิภาคอย่างทั่วถึง
๙.๕ ส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนร่วมมือกันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีที่เหมาะสม รวมทั้งเชื่อมโยงเครือข่ายการวิจัยทั้งในและต่างประเทศ
๙.๖ สร้างจิตสำนึกและความสนใจด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งปลูกฝังให้เยาวชนไทย
มีความคิดสร้างสรรค์เชิงวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้น
๙.๗ ให้มีการพัฒนาและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการพัฒนาคน
และการใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
๑๐. นโยบายด้านความมั่นคง การรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยในชีวิต
และทรัพย์สิน
รัฐบาลมุ่งมั่นที่จะพัฒนาและเสริมสร้างกำลังทหารให้มีประสิทธิภาพ ทันสมัย และสอดคล้อง
กับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ จะรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
ของประชาชน โดยจะดำเนินการ
๑๐.๑ นโยบายด้านการรักษาความมั่นคงของรัฐ
๑๐.๑.๑ พัฒนาและเสริมสร้างให้กำลังทหารมีขีดความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่
ที่ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
๑๐.๑.๒ สนับสนุนให้กำลังทหารมีโครงสร้าง กำลังพลหลักนิยม เทคโนโลยีและ
ยุทโธปกรณ์ที่เหมาะสมสำหรับสงครามสมัยใหม่ และส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาทางการทหาร
รวมทั้งพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศให้สามารถพึ่งตนเองได้ในอนาคต
๑๐.๑.๓ ส่งเสริมให้กองทัพมีส่วนร่วมกับหน่วยงานอื่นของรัฐและภาคเอกชน ในการ
พัฒนาประเทศ ตลอดจนสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมและรับรู้ในกิจการของทหารมากขึ้น
๑๐.๑.๔ ปรับปรุงระบบการคัดเลือกทหารให้เป็นไปด้วยความสมัครใจ
๑๐.๑.๕ ส่งเสริมและสนับสนุนให้กองทัพมีส่วนร่วมในการช่วยผลิตกำลังคนเพื่อการ
พัฒนาประเทศ โดยเฉพาะการฝึกอาชีพให้แก่ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกทหาร
๑๐.๑.๖ เสริมสร้างระบบสวัสดิการ บำรุงขวัญกำลังพลและครอบครัว รวมทั้งส่งเสริมกีฬา
ทหารเพื่อช่วยพัฒนากีฬาของชาติให้เป็นเลิศ
๑๐.๑.๗ ส่งเสริมและสนับสนุนการสงเคราะห์ทหารผ่านศึกและครอบครัวให้มีรายได้และอยู่
ในสังคมได้อย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรี
๑๐.๒ นโยบายด้านการรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
๑๐.๒.๑ ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทุกประเภทอย่างจริงจัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
การผลิตและการค้ายาเสพติด ยาบ้า และสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทอื่น รวมทั้งรณรงค์ให้ประชาชน
ตระหนักถึงมหันตภัยและโทษของสิ่งดังกล่าว
๑๐.๒.๒ เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการด้านอุบัติภัยและสาธารณภัย รณรงค์
ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้และสร้างจิตสำนึกในการป้องกันและระงับอุบัติภัยและสาธารณภัย
๑๐.๒.๓ ป้องกันและแก้ไขปัญหาอันเกิดจากภัยธรรมชาติ เช่น อุทกภัย และ ภัยแล้ง
รวมทั้งให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนภายหลังประสบภัย ดังกล่าว
โดยเร่งด่วน
๑๑. นโยบายด้านการพัฒนามหานคร
รัฐบาลมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ตลอดจนเมืองหลักในภูมิภาคให้ดีขึ้น โดยจะดำเนินการ
๑๑.๑ นโยบายด้านการพัฒนากรุงเทพมหานครและปริมณฑล
รัฐบาลมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมและพัฒนากรุงเทพมหานครให้เป็นมหานครที่มีระบบการจราจร
และสภาพแวดล้อมโดยรวมที่ดีขึ้น ให้การเดินทางของคนกรุงเทพมหานครจากบ้านไปที่ทำงาน
และจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งใช้เวลาสั้นลง รวมทั้งวางแผนและกำหนดทิศทางการเจริญเติบโตของ
กรุงเทพมหานครอย่างเป็นระบบมาก
ยิ่งขึ้น โดยจะดำเนินการ
๑๑.๑.๑ กำหนดให้มีการใช้ที่ดินในเขตกรุงเทพมหานครอย่างเป็นระบบ มีประสิทธิภาพ
และเหมาะสม โดยใช้มาตรการทางด้านผังเมือง
๑๑.๑.๒ เร่งรัดดำเนินการตามแผนการแก้ปัญหาชุมชนแออัดในเขตใจกลางเมือง
และเชื่อมโยงกรุงเทพมหานครเข้ากับพื้นที่เขตเศรษฐกิจใหม่บริเวณชายฝั่งทะเล
ตะวันออก พื้นที่ด้านตะวันตก และภาคกลางตอนบน
๑๑.๑.๓ เร่งรัดแก้ไขปัญหาการจราจรตามแผนแม่บท
๑๑.๑.๔ เร่งรัดการวางแผนและการก่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วมแบบถาวร
๑๑.๑.๕ สนับสนุนการสร้างสวนสาธารณะ และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจสาธารณะ
โดยใช้ที่ดินของรัฐ
๑๑.๑.๖ ส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีบทบาทและมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน
ของตนให้น่าอยู่ยิ่งขึ้น
๑๑.๒ นโยบายด้านการพัฒนามหานครในภูมิภาค
รัฐบาลมุ่งมั่นที่จะวางระบบแก้ไขปัญหาและพัฒนาเมืองที่กำลังขยายเป็นมหานครในภูมิภาค
ให้ไปสู่ทิศทางการพัฒนาที่เหมาะสมและยั่งยืน โดยจะดำเนินการ
๑๑.๒.๑ เร่งรัดการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนามหานครในภูมิภาค
๑๑.๒.๒ ให้รัฐเป็นแกนนำในการปรับปรุงฟื้นฟูเมือง โดยนำที่ดินของรัฐที่ยังไม่ได้ใช้
ประโยชน์มาพัฒนาเป็นสวนสาธารณะและถนน
๑๑.๒.๓ จัดการด้านผังเมืองอย่างเป็นระบบเพื่อจัดระเบียบการขยายตัวของชุมชน
และป้องกันการเกิดชุมชนแออัด รวมทั้งให้มีการใช้ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ
๑๑.๒.๔ ปรับสภาพแวดล้อมในชุมชนแออัดให้เหมาะสม ขยายบริการสังคมให้เข้าถึง
ชุมชนอย่างทั่วถึง รวมทั้งเร่งยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้มีรายได้น้อยในเขตเมือให้สามารถช่วยเหลือ
ตนเองได้
๑๑.๒.๕ เร่งรัดการจัดระบบการจราจรและการขนส่ง โดยจัดทำแผนนแม่บทเพื่อการ
ป้องกันและแก้ไขปัญหาในระยะยาว
ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพและท่านสมาชิกผู้มีเกียรติทุกท่าน
นโยบายทั้งหมดที่ได้แถลงมานั้น เป็นกรอบและแนวทางหลักในการบริหารราชการแผ่นดิน
ของรัฐบาล ซึ่งผู้ที่รับผิดชอบจะต้องจัดทำแผนแม่บทและแผนปฏิบัติการกำหนดรายละเอียดวิธีการ
และระยะเวลาในการดำเนินการ และนำไปปฏิบัติให้บรรลุตามนโยบายที่รัฐบาลได้แถลงไว้นี้โดยเร็ว
และแม้ว่าสิ่งใดที่มิได้แถลงไว้ แต่หากดำเนินการแล้วจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชน
รัฐบาลก็จะเร่งดำเนินการในทันที
กระผมขอยืนยันกับท่านทั้งหลายว่ารัฐบาลนี้จะมุ่งมั่นปฏิบัติหน้าที่ตามนโยบายที่ได้แถลงไว้
ต่อรัฐสภาแห่งนี้ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และยึดถือประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน เป็นเป้าหมาย
สูงสุดเพือนำพาประเทศไปสู่สังคมโลกยุคใหม่ได้อย่างวัฒนาถาวร
กระผมเชื่อมั่นว่าด้วยความร่วมมือและสนับสนุนจากท่านสมาชิกผู้มีเกียรติรัฐบาลจะสามารถ
บริหารประเทศตามนโยบายที่ได้กล่าวมาให้สัมฤทธิผลสมตามเจตนารมณ์ทุกประการ
*รายงานการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ ๑/๒๕๓๙ (สมัยสามัญ ครั้งที่หนึ่ง)
วันพุธที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๓๙ หน้า ๒ -๒๖ |
53 | คำแถลงนโยบาย
ของ
คณะรัฐมนตรี คณะที่ 53
นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี
แถลงต่อรัฐสภา
วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน 2540
------------------
ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ
ตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้กระผมเป็นนายกรัฐมนตรีตามประกาศพระบรมราชโองการ
ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2540 และแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน
2540 นั้น
บัดนี้ คณะรัฐมนตรีได้กำหนดนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดินเรียบร้อยแล้ว โดยยึดมั่นการปกครอง
ระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และคำนึงถึงบทบัญญัติในหมวด 5 ว่าด้วย
แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย อีกทั้งมีเป้าหมายหลักที่จะเร่งรัดแนวทางการปฏิรูป
ทางการเมือง ปฏิรูประบบราชการ การกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วมของประชาชน ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
พร้อมทั้งมุ่งส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชนและสิทธิมนุษยชน และดำเนินการให้มีการบังคับใช้กฎหมายตามที่กำหนด
ไว้ในรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นพื้นฐานไปสู่การพัฒนาในระยะยาวโดยเร็วที่สุด
ในสภาวะปัจจุบัน คณะรัฐมนตรีตระหนักดีว่าปัญหาเร่งด่วนที่รัฐบาลต้องเร่งรัดแก้ไข คือ ปัญหาเศรษฐกิจ
ที่กำลังกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนทั่วประเทศอย่างรุนแรง ก่อให้เกิดปัญหาทางสังคมและปัญหามาตรฐาน
การครองชีพ หากไม่ได้รับการแก้ไขหรือผ่อนหนักให้เป็นเบาอย่างทันท่วงทีก็จะทำลายความมั่นคงของประเทศได้
รัฐบาลจึงมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจโดยเร่งด่วนเป็นลำดับแรก ด้วยการระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายในชาติ
เพื่อให้เกิดพลังในการแก้ไขอย่างสมบูรณ์ เพราะลำพังรัฐบาลฝ่ายเดียวย่อมไม่สามารถผลักดันให้บรรลุผลสำเร็จโดย
เร็วได้ จำต้องอาศัยความตระหนักร่วมกันในปัญหาและความเข้าใจในแนวทางการแก้ปัญหา แล้วร่วมมือกันอย่างจริงจัง
ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน โดยถือประโยชน์และอนาคตของชาติเป็นเป้าหมายหลัก ถ้าทำได้ดังนี้ก็เชื่อว่าจะ
สามารถนำประเทศให้กลับคืนสู่สภาวะปกติได้ทันการณ์ โดยรัฐบาลพร้อมที่จะเป็นแกนกลางในการเคลื่อนกลไกทุกส่วน
ทั้งที่อยู่ในภาครัฐและภาคเอกชนให้เดินหน้าแก้ปัญหาทุกปัญหาในจังหวะเดียวกันอย่างสอดคล้องต้องกัน
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจของประเทศไทยใช่ว่าจะเสียหายไปทั้งหมด บางส่วนยังอยู่ในวิสัยที่จะเดินหน้า
ต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากได้รับการปรับปรุงแก้ไขให้ถูกทาง
ดังนั้น รัฐบาลจึงได้กำหนดนโยบายฟื้นฟูเศรษฐกิจทุกแขนงของประเทศให้กลับฟื้นคืนสู่ภาวะปกติ
และพร้อมที่จะเป็นพลังผลักดันการพัฒนาต่อไปในอนาคตอย่างเต็มศักยภาพ รัฐบาลทราบดีว่า การดำเนินการในครั้งนี้
มีความยากลำบาก และตกอยู่ภายใต้เงื่อนเวลาที่จะต้องทำอย่างเร่งรีบและเงื่อนไขงบประมาณแผ่นดินอันจำกัด แต่
รัฐบาลเชื่อมมั่นว่าด้วยความร่วมมือร่วมใจของคนทั้งชาติ ประกอบกับหลักการสำคัญในการบริหารงานของรัฐบาล
อันได้แก่ การบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ซื่อตรง และโปร่งใส น่าจะเป็นปัจจัยให้สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ
ทางเศรษฐกิจที่ประเทศชาติและประชาชนกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ได้
เพื่อความชัดเจนในแนวทางปฏิบัติของรัฐบาลอย่างเป็นขั้นเป็นตอน คณะรัฐมนตรีจึงกำหนดนโยบาย
การบริหารราชการแผ่นดิน โดยแบ่งออก เป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 นโยบายการเมือง การปกครอง การบริหารราชการ
ความมั่นคง และการต่างประเทศ ส่วนที่ 2 นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งครอบคลุมการดำเนินการสอง
ระยะ ได้แก่ ระยะเร่งด่วน และระยะปานกลาง ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับความรุนแรงของปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่
รวมทั่งเพื่อให้เห็นเป้าหมายที่มุ่งเร่งให้บังเกิดขึ้นแต่ละขั้นตามลำดับ ดังนี้
ส่วนที่ 1 นโยบายการเมือง การปกครอง การบริหารราชการ ความมั่นคง
และการต่างประเทศ
รัฐบาลนี้มุ่งเทิดทูนและพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ การปกครองระบอบ
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เอกราชและบูรณภาพแห่งอาณาเขต โดยจะดำเนินการดังนี้
1. นโยบายการเมือง การปกครอง และการบริหารราชการ
1.1 การปฏิรูปทางการเมือง
1.1.1 เร่งรัดการออกกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ กฎหมายอื่น ๆ กฎ ข้อบังคับ และการดำเนินการ
อื่นใดเพื่ออนุวัติการให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หรือเพื่อให้บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย หรือเพื่อให้บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญมีความสมบูรณ์และบังเกิดผลในทางปฏิบัติ โดยจะจัดทำ
แผนปฏิบัติการกำหนดเค้าโครงการดำเนินการระยะเวลาที่ต้องปฏิบัติให้แล้วเสร็จ และหน่วยงานผู้รับผิดชอบให้ชัดเจน
ทั้งจะเร่งดำเนินการออกกฎหมาย กฎ ข้อบังคับต่าง ๆ ในส่วนของคณะรัฐมนตรีให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
อนึ่ง รัฐบาลถือว่ากฎหมายตามข้อนี้เป็นกฎหมายที่จำเป็นต่อการบริหารราชการแผ่นดินตามมาตรา 173
ของรัฐธรรมนูญ
1.1.2 สนับสนุนกิจการขององค์กรทั้งหลายที่จัดตั้งขึ้นใหม่หรืออยู่ระหว่างเตรียมการจะจัดตั้งขึ้นตาม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในด้านอัตรากำลัง งบประมาณ และการอำนวยความสะดวกอื่น ๆ เพื่อให้สามารถ
ปฏิบัติภารกิจในฐานะองค์กรควบคุมหรือตรวจสอบทางการเมือง การปกครอง และการบริหารราชการ การคุ้มครอง
สิทธิเสรีภาพของประชาชนและการบริหารทรัพยากรสื่อสารของชาติ ตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้อย่าง
อิสระและมีประสิทธิภาพ
1.1.3 คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของนักวิชาการ และสื่อสารมวลชนทั้งของรัฐและเอกชนในการให้การศึกษา
อบรมค้นคว้าวิจัยหรือปฏิบัติหน้าที่ของตน รวมทั้งส่งเสริมให้มีบทบาทในการปลูกฝังความรู้ ความเข้าใจ ในรูปแบบ
วิธีการ และเนื้อหาสาระของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพื่อให้
กระบวนการปฏิรูปทางการเมืองดำเนินไปในแนวทางที่เป็นรูปธรรมและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
1.1.4 ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในสิทธิเสรีภาพ และหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
ทั้งจะกำหนดมาตรการในการตรวจสอบ ตลอดจนซักซ้อมความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่ของรัฐมิให้มีการล่วงละเมิดสิทธิ
เสรีภาพดังกล่าว โดยให้สถาบันการศึกษาและสื่อสารมวลชนทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทด้วย
1.1.5 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบาย การตัดสินใจทางการเมืองในเรื่องสำคัญ
การวางแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง รวมทั้งการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐโดยวิธีการประชุมปรึกษา
หารือกับกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องหรือชุมชน การทำประชาพิจารณ์ หรือประชามติแล้วแต่กรณี โดยให้สถาบันทางวิชาการ
สื่อสารมวลชน องค์กรอาชีพภาคเอกชน และองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์เข้ามามีบทบาทในการร่วมดำเนินการ
1.1.6 จัดตั้งคณะกรรมการระดับชาติด้วยกระบวนการคัดเลือกที่ปลอดจากการแทรกแซงทางการเมือง
เพื่อร่วมกับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ จัดทำแผนพัฒนา
การเมืองและมาตรฐานทางคุณธรรม จริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการ และพนักงานหรือลูกจ้าง
ของรัฐ เพื่อป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ และเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ แล้วประกาศใช้ต่อไป
1.2 การปฏิรูประบบบริหารราชการ
1.2.1 ปรับปรุงและเร่งรัดการจัดโครงสร้างและระบบงานของกระบวนการยุติธรรมให้เป็นไปตาม
รัฐธรรมนูญ เพื่อให้สามารถคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว
และเสมอภาค
1.2.2 ปรับปรุงระบบงานภาคราชการและรัฐวิสาหกิจให้เป็นระบบเปิดโดยให้ประชาชนมีส่วนร่วม
ลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นปราศจากการเลือกปฏิบัติ และเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม โดยการจัดทำแผนพัฒนา
ระบบราชการและมาตรฐานคุณภาพงานราชการให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
1.2.3 ปรับปรุงคุณภาพข้าราชการในการทำงานโดยเน้นผลงาน การมีคุณภาพ ความซื่อสัตย์สุจริต การมี
จิตสำนึกในการให้บริการประชาชน และมีความเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่ทำงานคุ้มค่ากับผลตอบแทน โดยจัดทำ
แผนพัฒนาคุณภาพและการส่งเสริมขวัญกำลังใจข้าราชการ
1.2.4 ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบทั้งในวงราชการและวงการเมือง ด้วยการเร่ง
ออกกฎหมายจัดตั้งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติและกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญา
ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ในระหว่างนี้จะพัฒนาระบบบริหารราชการของ
หน่วยงานทั้งหลายที่มีอยู่แล้วให้บุคลากรมีความพร้อมและทำงานประสานกันอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
อนึ่ง รัฐบาลถือว่ากฎหมายตามข้อนี้เป็นกฎหมายที่จำเป็นต่อการบริหารราชการแผ่นดินตามมาตรา 173
ของรัฐธรรมนูญ
1.2.5 เร่งรัดการออกกฎหมายเพื่อกระจายอำนาจการปกครองไปสู่ท้องถิ่นตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
โดยกำหนดแผนและขั้นตอนดำเนินการเป็นการด่วน ระบุอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบระหว่างราชการส่วนกลางกับ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกันอย่างชัดเจน เพื่อให้องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นมีอำนาจและบทบาทเพิ่มขึ้น รวมทั้งเพิ่มสัดส่วนการแบ่งสรรภาษีอากรให้แก่ท้องถิ่น นอกจากนั้น จะ
ดำเนินการปรับปรุงรูปแบบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีเพียง 4 รูปแบบ คือ
(1) องค์การบริหารส่วนจังหวัด
(2) เทศบาล
(3) องค์การบริหารส่วนตำบล และ
(4) การปกครองรูปแบบพิเศษ
ทั้งนี้ สมาชิกสภาท้องถิ่นต้องมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ส่วนผู้บริหารท้องถิ่น
หรือคณะผู้บริหารท้องถิ่นอาจจะมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน หรือโดยความเห็นชอบของสภาท้องถิ่นก็ได้
ขึ้นอยู่กับรูปแบบและระยะเวลาที่เหมาะสม
อนึ่ง รัฐบาลถือว่ากฎหมายตามข้อนี้เป็นกฎหมายที่จำเป็นต่อการบริหารราชการแผ่นดินตามมาตรา 173
ของรัฐธรรมนูญ
1.2.6 ลดบทบาทการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของรัฐพร้อมกับสนับสนุนให้ภาคเอกชนรับไปดำเนินการ
ร่วมกับรัฐหรือแทนรัฐอย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรม โดยมีเป้าหมายเพิ่มประสิทธิภาพการอำนวยบริการแก่ประชาชน
และลดภาระการลงทุนของภาครัฐเป็นสำคัญ รวมทั้งจะไม่ดำเนินการใด ๆ ที่มีผลให้เกิดการผูกขาด ทั้งนี้ จะอาศัย
มาตรการทางกฎหมายเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ารับช่วงงานบริการประชาชนได้คล่องตัวมากขึ้น ส่วนการคุ้มครองผู้ใช้
บริการให้ได้รับบริการที่เพียงพอ มีคุณภาพ ในราคาที่เป็นธรรม ก็จะดำเนินการไปพร้อมกันโดยจัดทำแผนแม่บทขึ้นเป็น
กรอบกำกับการดำเนินการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนอย่างเป็นระบบ เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาและนโยบาย
เศรษฐกิจของประเทศ
1.2.7 เร่งรัดให้มีการออกกฎหมายใหม่หรือปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่มีอยู่แล้วเพื่อเพิ่มมาตรการในการ
คุ้มครองเด็ก เยาวชนและสตรี การสงเคราะห์คนชรา ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ และผู้ด้อยโอกาส การสาธารณสุข
และสิ่งแวดล้อม การคุ้มครองผู้บริโภค การขจัดความไม่เป็นธรรมในสังคมและในการแข่งขันทางการค้าและการลงทุน
การปฏิรูปหรือการใช้ประโยชน์ที่ดิน การแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และการรักษาความปลอดภัยใน
ชีวิตและทรัพย์สิน โดยดำเนินการในลักษณะของการปฏิรูปกฎหมายอย่างเป็นระบบ
2. นโยบายความมั่นคง
รัฐบาลมุ่งสานต่อนโยบายความมั่นคงที่ดำเนินการมาก่อนแล้ว โดยกำหนดนโยบายเพิ่มเติมและปรับเปลี่ยนบาง
ประสานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ความมั่นคงในภูมิภาคและในโลก ตลอดจนสภาวะทางเศรษฐกิจและสังคม ดังนี้
2.1 ส่งเสริมและสนับสนุนบทบาทของกองทัพในการปฏิบัติภารกิจที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญให้สมบูรณ์และมี
ประสิทธิภาพ รวมทั้งในการ่วมเสริมสร้างความสัมพันธ์และความมั่นคงกับประเทศเพื่อนบ้านและมิตรประเทศ โดยใช้
ศักยภาพของกองทัพที่มีอยู่แล้ว
2.2 ส่งเสริมและสนับสนุนให้กองทัพปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างกองทัพให้กะทัดรัด แต่ทันสมัย มีการพัฒนา
หลักนิยมการเตรียมกำลังกองทัพ การจัดระบบกำลังสำรอง การพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตและบำรุงรักษายุทโธปกรณ์
ทั้งนี้ เพื่อให้กำลังพลมีความพร้อมและความสามารถในการปฏิบัติภารกิจอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
2.3 ส่งเสริมและสนับสนุนให้กองทัพพัฒนาระบบสวัสดิการและศักยภาพอื่น ๆ แก่กำลังพล ทหารผ่านศึกและ
ครอบครัวในด้านอนามัย การกีฬา การฝึกอาชีพ เพื่อให้มีสถานะ เกียรติยศ ศักดิ์ศรี และสามารถกระทำภารกิจอื่นเป็น
ประโยชน์ต่อส่วนรวมตามศักยภาพที่มีอยู่ได้
2.4 ส่งเสริมและสนับสนุนให้กองทัพพัฒนากำลังพลทุกระดับเพื่อนำความรู้และทักษะโดยเฉพาะด้านวิศวกรรมศาสตร์
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การแพทย์ การพยาบาล และความมีระเบียบวินัย มาใช้ในการพัฒนากองทัพและการมีส่วนร่วม
ในการแก้ปัญหาและพัฒนาเศรษฐกิจ การผลิตบุคลากรสาขาขาดแคลนการให้บริหารสาธารณสุขแก่ประชาชน การรักษา
ระเบียบวินัยในสังคม การบรรเทาสาธารณภัย การรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การรักษาทรัพยากรธรรมชาติ
การแก้ปัญหาสภาวะแวดล้อม และการร่วมมือกับเอกชนในเรื่องอื่น ๆ
3. นโยบายการต่างประเทศ
รัฐบาลยึดมั่นในพันธกรณีที่มีตามกฎบัตรสหประชาชาติสนธิสัญญาและความตกลงต่าง ๆ ที่ประเทศไทยเป็นภาคี
และจะเน้นการปรับบทบาทของไทยให้เห็นเด่นชัดในความกระตือรือร้นและความรับผิดชอบต่อประชาคมโลก ดังนี้
3.1 ส่งเสริมมิตรภาพ สมานฉันท์ และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก โดย
ใช้ศักยภาพและประสบการณ์ทางการทูตของไทยอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด
3.2 เพิ่มพูนและพัฒนาความสัมพันธ์และความร่วมมือกับประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้ (อาเซียน) ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม รวมทั้งสนับสนุนการดำเนินการให้เขตการค้า
เสรีอาเซียนประสบผลสำเร็จ โดยครอบคลุมถึงผลผลิตด้านการเกษตรและการบริการ ตลอดจนผลักดันให้มีข้อตกลง
ว่าด้วยความร่วมมือในการผลิตสินค้า อุตสาหกรรม การลงทุน และการจัดการทรัพยากรมนุษย์
3.3 ส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศคู่ค้าที่สำคัญภายใต้ระบบการค้าเสรี โดยให้มีการ
แข่งขันอย่างเป็นธรรม ตลอดจนร่วมมีบทบาทในการลดความขัดแย้งระหว่างประเทศ อันเนื่องมาจากปัญหาทางการค้า
การลงทุน การถ่ายทอดเทคโนโลยี และการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา โดยคำนึงถึงความพร้อมภายในประเทศเป็นหลัก
3.4 ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ วิชาการ วัฒนธรรม การท่องเที่ยว และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กับ
ประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งนี้จะมุ่งเน้นกรอบความร่วมมืออนุภูมิภาค
3.5 เสริมสร้างบทบาทของประเทศไทยในเวทีระหว่างประเทศในด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
และสมดุล
3.6 อำนวยความสะดวก คุ้มครอง ตลอดจนส่งเสริมสิทธิและผลประโยชน์ของคนไทย แรงงานไทย และธุรกิจภาค
เอกชนของไทยในต่างประเทศ
3.7 ร่วมมีบทบาทในเวทีระหว่างประเทศ ในด้านการคุ้มครองและส่งเสริมค่านิยมประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน
ส่วนที่ 2 นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
โดยที่เศรษฐกิจไทยตกอยู่ในสภาพวิกฤติที่มีปัญหารุมล้อมจากทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการเงิน การคลัง
การค้า การลงทุน และด้านค่าครองชีพ การลอยตัวของอัตราแลกเปลี่ยนซึ่งมีผลให้ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงมาก มีส่วน
ผลักดันราคาสินค้าให้สูงขึ้น นอกจากนี้การดำเนินการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจด้วยความช่วยเหลือจากกองทุนการเงิน
ระหว่างประเทศ ยังไม่มีผลในการสร้างความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไทย ที่กำลังอยู่ในภาวะชะลอตัวอย่างรุนแรงก่อปัญหา
การว่างงาน และปัญหาทางสังคม ซ้ำเติมสภาวะวิกฤติให้มีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนรุนแรงยิ่งขึ้น รัฐบาล
ตระหนักในความรุนแรงของวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจครั้งนี้จึงกำหนดแผนดำเนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วนทุกวิถีทาง
เพื่อบรรเทาปัญหา และประคับประคองเศรษฐกิจให้พ้นวิกฤติการณ์นี้ให้ได้ โดยกำหนดนโยบายเพื่อดำเนินการเป็น
2 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วน ซึ่งจะดำเนินมาตรการภายในเวลาที่สั้นที่สุด และระยะปานกลาง ซึ่งจะดำเนินการภายในเวลา
6 เดือน ถึง 1 ปี เพื่อให้เกิดผลต่อเนื่อง สามารถนำพาเศรษฐกิจไทยเข้าสู่ภาวะปกติภายในเวลาที่ไม่นานจนเกินควร ดังนี้
1. นโยบายเร่งด่วน : การเสริมสร้างเสถียรภาพและความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจ
1.1 การเร่งรัดเสริมสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
1.1.1 การแก้ปัญหาสถาบันการเงินและการเสริมสภาพคล่องทางธุรกิจ
(1) รัฐบาลถือเป็นเรื่องเร่งด่วนที่จะดำเนินการแก้ไขปัญหาสถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการ
ชั่วคราว 58 แห่งทันที โดยเร่งรัดให้องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) ดำเนินการตามแนวทาง ดังนี้
- กลุ่มสถาบันการเงินที่สามารถเพิ่มทุนและดำเนินกิจการต่อไปได้ ให้พ้นจากการ
ถูกควบคุมและอนุญาตให้เปิดกิจการได้ทันที
- กลุ่มที่จำเป็นต้องควบหรือรวมกิจการ ให้จัดการให้เกิดการควบกิจการทันที
- กลุ่มที่มีปัญหาและต้องปิดกิจการ ให้จัดการแบ่งแยกสินทรัพย์ที่มีคุณภาพดี
และเปิดโอกาสให้สถาบันการเงินภายในและ/หรือต่างประเทศรับไปบริหาร ส่วนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพจะได้รับการบริหาร
โดยบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (บบส.)
(2) สถาบันการเงินและธนาคารที่ยังดำเนินกิจการอยู่ รัฐบาลจะสนับสนุนให้มีการดำเนินการ
ในทิศทางที่ก่อให้เกิดความมั่นคงแก่ระบบสถาบันการเงินอย่างถาวรต่อไป
(3) เร่งดำเนินการให้มีการแปลงสินทรัพย์เป็นตราสารที่เปลี่ยนมือได้ เพื่อช่วยเสริมสภาพคล่อง
ของระบบการเงินอีกทางหนึ่ง
(4) สนับสนุนให้การลงทุนจากต่างประเทศปลอดพ้นจากอุปสรรคด้านกฎระเบียบที่ยังมิได้รับ
การแก้ไข
1.1.2 การรักษาเงินทุนสำรองระหว่างประเทศให้อยู่ในระดับที่เพียงพอต่อการสร้างความเชื่อมั่น
(1) วางแผนปฏิบัติและวางระบบติดตามผลด้านรายรับและรายจ่ายที่เป็นเงินตราต่างประเทศ
ทุกด้าน ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนอย่างใกล้ชิด
(2) สนับสนุนการดำเนินงานและร่วมมือกับภาคเอกชนด้านการค้าต่างตอบแทนในการนำเข้าสินค้า
สำคัญ เช่น ปิโตรเลียม อาวุธยุทโธปกรณ์ และอุปกรณ์ทางโทรคมนาคม เพื่อสงวนเงินตราต่างประเทศ
1.1.3 การเพิ่มรายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศ
(1) เร่งรัดเสริมสภาพคล่องให้กับธุรกิจและอุตสาหกรรมส่งออก โดยเฉพาะอุตสาหกรรม
ขนาดกลางและขนาดเล็ก ผ่านสถาบันการเงินของรัฐ เช่น ธนาคาเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย และผ่าน
สถาบันทางการเงินของเอกชน
(2) ขจัดอุปสรรคการส่งออก ทั้งด้านภาษีศุลกากร และภาษีมูลค่าเพิ่ม รวมทั้งลดต้นทุน โดย
การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายศุลกากรและเพิ่มประสิทธิภาพด้านการขนส่งสินค้า
(3) ร่วมมือกับภาคเอกชนในการวางแผนและกำหนดเป้าหมายเพื่อให้เกิดความสอดคล้องกัน
ระหว่างระบบการผลิตในประเทศกับทิศทางการค้าระหว่างประเทศ
(4) เร่งรัดการขยายตัวและขจัดอุปสรรคการท่องเที่ยวโดยร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับภาคเอกชน
ตลอดจนส่งเสริมโครงการ "ไทยเที่ยวไทย" เพื่อประหยัดเงินตราต่างประเทศ
1.1.4 การบริหารงบประมาณแผ่นดิน
(1) การบริหารงบประมาณรายจ่าย รัฐบาลจะดำเนินการโดยยึดเงื่อนไขที่ตกลงไว้กับกองทุน
การเงินระหว่างประเทศเป็นหลัก แต่จะไม่ให้การบริหารงบประมาณรายจ่ายเกิดผลกระทบต่อการให้บริการด้านการศึกษา
และสาธารณสุขพื้นฐาน
(2) สนับสนุนการเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนในรัฐวิสาหกิจ โดยเน้นกลุ่มรัฐวิสาหกิจที่มีหุ้นอยู่
แล้วในตลาดหลักทรัพย์และที่มีโอกาสจะออกหุ้นทุนขยายในตลาดหลักทรัพย์ได้อีก ทั้งนี้ เพื่อลดภาระการลงทุนภาครัฐ
1.1.5 การส่งเสริมการประหยัด
(1) รัฐบาลจะเป็นผู้นำในการประหยัด โดยติดตามควบคุมการใช้จ่ายงบประมาณให้มี
ประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อป้องกันการรั่วไหล และขจัดความฟุ่มเฟือย
(2) รณรงค์ร่วมกับองค์กรเอกชนและประชาชนในการประหยัดการใช้จ่าย การเพิ่มการออม
และการประหยัดพลังงาน
1.1.6 การสร้างเอกภาพและประสิทธิภาพในการบริหารนโยบายเศรษฐกิจส่วนรวม
(1) จัดให้ระบบการบริหารนโยบายเศรษฐกิจส่วนรวมมีเอกภาพในการตัดสินใจ มีความชัดเจน
โปร่งใส
(2) ปรับโครงสร้างองค์กรการบริหารเศรษฐกิจส่วนรวมที่มีอยู่ในปัจจุบันให้สามารถปฏิบัติ
หน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีระบบงานที่ประชาชนสามารถตรวจสอบได้
1.2 การบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจ
1.2.1 การบรรเทาปัญหาการว่างงาน
(1) ให้หน่วยงานของรัฐเข้ามามีบทบาทในการใช้งบประมาณที่มีอยู่เพื่อขยายการจ้างงาน
โดยเฉพาะการจ้างงานในชนบท
(2) ประคับประคองให้ธุรกิจที่มีการจ้างงานจำนวนมากสามารถดำเนินการต่อไปได้ โดยให้การ
สนับสนุนด้านต่าง ๆ เช่น การลดต้นทุนการผลิต การส่งเสริมการตลาดและการปรับปรุงเทคโนโลยีการผลิต
(3) แก้ปัญหาแรงงานที่ถูกเลิกจ้าง โดยเร่งรัดบรรจุงานใหม่ ฝึกอบรมเพิ่มทักษะฝีมือใหม่ และ
ประสานความช่วยเหลือผู้ถูกเลิกจ้างอย่างเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงทั่วทุกจังหวัด
1.2.2 การบรรเทาปัญหาค่าครองชีพ
(1) รักษาอัตราค่าครองชีพโดยเฉพาะของกลุ่มที่มีรายได้น้อยให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด โดย
ติดตามตรวจสอบต้นทุนของสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพ และลดการผูกขาดตัดตอน
(2) เพิ่มบทบาทของหน่วยงานที่มีหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคในการติดตามตรวจสอบการ
เอารัดเอาเปรียบประชาชน ทั้งในด้านคุณภาพและราคาสินค้า
(3) เร่งดำเนินการเพิ่มปริมาณสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าสำหรับ
ผู้มีรายได้น้อย จะติดตามดูแลให้คุณภาพและราคาอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม รวมทั้งไม่เกิดภาวะขาดตลาด
1.2.3 การบรรเทาปัญหาด้านสังคม
(1) ประกันโอกาสทางการศึกษาของเยาวชนไทยที่ครอบครัวได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ
โดยให้ความช่วยเหลือในรูปของเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา
(2) จัดบริการด้านสุขภาพอนามัย รวมทั้งการฟื้นฟูสุขภาพของประชาชนที่ได้รับผลกระทบ
จากวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ โดยเร่งขยายการประกันสุขภาพสำหรับผู้มีรายได้น้อย ให้สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุข
ได้อย่างทั่วถึง โดยเฉพาะในช่วงที่ว่างงานหรือกำลังหางานทำ
(3) เพิ่มประสิทธิภาพระบบงานป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมและกระบวนการยุติธรรม
ให้สามารถอำนวยความยุติธรรมและดูแลรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน โดยเฉพาะในด้านการ
ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม การค้ายาเสพติด และการลดจำนวนแรงงานต่างชาติที่ผิดกฎหมาย
2. นโยบายในระยะปานกลาง : การปรับโครงสร้างและการพัฒนาสังคม
รัฐบาลมุ่งเน้นวางรากฐานเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ และเพิ่มขีดความสามารถในการ
แข่งขันพร้อม ๆ กับการเสริมสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจต่อเนื่องจากระยะเร่งด่วน โดยเน้นการปรับโครงสร้าง
เศรษฐกิจและการพัฒนาสังคมทุกแขนง เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว และสานต่อนโยบายการกระจายความ
เจริญและกระจายรายได้ไปสู่ภูมิภาคอย่างทั่วถึง แต่เนื่องด้วยข้อจำกัดของงบประมาณแผ่นดิน รัฐบาลจึงจำเป็นต้อง
จัดลำดับความสำคัญก่อนหลังและกำหนดทิศทางในการดำเนินการที่ชัดเจน ดังนี้
2.1 การเสริมสร้างแหล่งเงินทุนเพื่อการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ
2.1.1 พัฒนาตราสารทางการเงินที่สำคัญ โดยเฉพาะตราสารทางการเงินในระยะยาวและพันธบัตร เพื่อ
ระดมทุนมาใช้ในสาขาการพัฒนาที่สำคัญ
2.1.2 เร่งเพิ่มบทบาทภาคเอกชน โดยดำเนินการให้รัฐวิสาหกิจที่มีความพร้อม หรือมีสถานะเป็นบริษัทจำกัด
หรือบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ กระจายหุ้นออกขายให้กับผู้ลงทุนที่สนใจทั้งภายในและต่างประเทศ
2.1.3 ดูแลการใช้เงินกู้จากธนาคารโลกและธนาคารพัฒนาเอเชียให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ในการผลักดัน
ให้เกิดการปรับโครงสร้างระบบการผลิต และการค้าของภาคเอกชนที่มีประสิทธิภาพและมีขีดความสามารถในการแข่งขัน
กับต่างประเทศ
2.2 การปรับโครงสร้างการผลิต
2.2.1 การปรับโครงสร้างด้านการเกษตร
(1) ปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด และใช้
เทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มผลผลิตพร้อม ๆ กับการลดต้นทุนการผลิตโดยขยายปริมาณทุนกระจายสู่
เกษตรกรผ่านสหกรณ์ให้มากกว่าเดิม ทั้งนี้จากแหล่งทุนที่มีอยู่แล้วในธนาคารของรัฐโดยเฉพาะธนาคารออมสิน เพื่อ
ลดต้นทุนการผลิตส่วนที่เกิดจากดอกเบี้ยนอกระบบลงให้ได้มากที่สุดโดยเร็ว
(2) ขยายโอกาสการลงทุนแก่เกษตรกร สถาบันเกษตรและภาคเอกชน ในกิจกรรมหลังการ
เก็บเกี่ยว ส่งเสริมให้เกิดอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป และการแปรรูปพืชผลเกษตร เพื่อเร่งรัดการส่งออก รวมทั้งเพิ่ม
บทบาทในการเจรจาและความร่วมมือระหว่างประเทศ ภายใต้ระบบพหุภาคี และทวิภาคี เพื่อสนับสนุนการส่งออกสินค้า
เกษตรในตลาดโลก
(3) สนับสนุนและส่งเสริมด้านการวิจัยพัฒนา เร่งรัดการกระจายพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ และประมง
ที่มีคุณภาพ และทั่วถึงแก่เกษตรกร เพื่อปรับปรุงคุณภาพ เพิ่มผลผลิต และลดต้นทุนการผลิต ในภาคการเกษตร
ปศุสัตว์ และการประมง รวมทั้งการเร่งรัดป้องกันการระบาดของโรคพืช และสัตว์
(4) ส่งเสริมและฟื้นฟูระบบการผลิตการเกษตรที่เน้นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
และมีผลกระทบต่อระบบนิเวศน์และสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ตามแนวพระราชดำริว่าด้วยทฤษฎีใหม่ รวมทั้งเร่งรัดโครงการ
อันเนื่องมาจากพระราชดำริให้เสร็จสิ้นตามแผนงานที่กำหนดไว้
(5) เพิ่มขีดความสามารถให้แก่เกษตรกร สถาบันเกษตร และสหกรณ์ โดยการสนับสนุนกระบวนการ
ถ่ายทอดความรู้ วิชาการ ข้อมูลที่สำคัญอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกษตรกร สถาบันเกษตร และสหกรณ์สามารถพึ่งพาตนเอง
ได้ ทั้งในด้านการผลิต การตลาด และการแปรรูปสินค้าเกษตรและเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้ของชุมชนในชนบท
(6) สนับสนุนให้เกษตรกรได้รับราคาสินค้าเกษตรที่มีเสถียรภาพและเป็นธรรม เพื่อเพิ่มรายได้
ให้สูงขึ้น โดยการสนับสนุนการเพิ่มผลผลิต การพัฒนาคุณภาพสินค้า การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต และการตลาด
พร้อมกันนี้จะเร่งพัฒนาระบบชลประทานให้เชื่อมโยงครบตามแผนแม่บทที่มีอยู่ รวมทั้งดำเนินการปฏิรูปที่ดินและแก้ปัญหา
เรื่องที่ดินทำกินของเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยให้การปรับโครงสร้างเพื่อเพิ่มผลผลิตได้ผลเร็วขึ้น
2.2.2 การปรับโครงสร้างด้านอุตสาหกรรม
(1) เร่งรัดให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ขยายบริการสินเชื่อและหา
แหล่งเงินทุนเพื่อสนับสนุนในกิจกรรมการผลิตเพื่อการส่งออก
(2) ส่งเสริมอุตสาหกรรมให้ผลิตแบบครบวรจร โดยเร่งรัดการขยายอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
ในแต่ละสาขา ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้เทคโนโลยี และขยายการลงทุนจากต่างประเทศ รวมทั้งใช้ประโยชน์
จากระบบประกันการลงทุนจากประเทศที่อำนวยเงินลงทุน
(3) พัฒนาการเชื่อมโยงในระบบการผลิตระหว่างอุตสาหกรรมหลักกับอุตสาหกรรมขนาดกลาง
และขนาดย่อมในอุตสาหกรรมหลักแต่ละด้าน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตร อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรม
อิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า และอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
(4) เร่งรัดพัฒนาระบบมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม รวมทั้งการทดสอบและรับรอง
มาตรฐานเพื่อสร้างความเชื่อถือให้กับประเทศผู้ซื้อ ตลอดจนให้การปรึกษาด้านการส่งออก โดยขยายขอบเขตงานของ
สถาบันอุตสาหกรรมเฉพาะด้าน และสถาบันวิจัยและพัฒนา
2.2.3 การปรับโครงสร้างด้านการบริการ
(1) ด้านการท่องเที่ยว พัฒนาคุณภาพแหล่งท่องเที่ยว เพื่อส่งเสริมให้คนไทยท่องเที่ยวในประเทศ
และส่งเสริมนักท่องเที่ยวต่างประเทศให้กลับเข้ามาท่องเที่ยวเมืองไทยอีก โดยกระจายอำนาจการบริหารจัดการงบประมาณ
การจัดสรรรายได้ รวมทั้งบุคลากรด้านการท่องเที่ยวไปสู่ท้องถิ่นควบคู่กับการส่งเสริมบทบาทของชุมชน และองค์กรเอกชน
ต่าง ๆ ในการอนุรักษ์ บำรุงรักษา และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในท้องถิ่น
(2) ด้านบริการการศึกษานานาชาติ กำหนดนโยบาย เป้าหมาย สนับสนุน ส่งเสริมการศึกษา
นานาชาติ รวมทั้งการประสานงานระหว่างสถาบันศึกษาของไทยกับสถาบันในต่างประเทศ และสร้างระบบอำนวย
ความสะดวกแก่นักศึกษานานาชาติที่เข้ามาศึกษาในสถาบันในประเทศ
(3) ด้านบริการส่งเสริมสุขภาพและรักษาพยาบาล ส่งเสริมการเป็นศูนย์รักษาพยาบาลและ
ส่งเสริมสุขภาพในภูมิภาค โดยกำหนดมาตรฐานและรับรองคุณภาพของโรงพยาบาล พัฒนาบุคลากรในด้านการรักษา
พยาบาล การใช้การประชาสัมพันธ์ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม
2.3 การเพิ่มศักยภาพของพื้นที่เขตเศรษฐกิจเฉพาะ เพื่อการเสริมสร้าง
ขีดความสามารถในการแข่งขัน
2.3.1 ดำเนินการต่อเนื่องที่จะเพิ่มศักยภาพของพื้นที่เฉพาะ โดยเฉพาะพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกให้เป็น
ฐานการผลิตด้านอุตสาหกรรมหลักของประเทศ เพื่อรองรับอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสูงขึ้น และดึงดูดการลงทุนและ
การรวมกลุ่มพัฒนาวงจรอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่องเป็นระบบ เพื่อประหยัดต้นทุนการผลิตและเพิ่มขีดความสามารถ
ในการแข่งขันของอุตสาหกรรม นอกจากนี้จะชักชวนให้เกิดการลงทุนจากทั้งภายในและต่างประเทศ ภายใต้โครงการ
พัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้
2.3.2 เร่งรัดการพัฒนาพื้นที่ชายแดนและพื้นที่ต่อเนื่อง เพื่อรองรับความเจริญเติบโตจาการเชื่อมโยง
กับประเทศเพื่อนบ้านภายใต้โครงการความร่วมมือในระดับอนุภูมิภาค
2.4 การปรับโครงสร้างพื้นฐาน
2.4.1 ด้านการขนส่ง
(1) การขนส่งทางบก เพิ่มบทบาทภาคเอกชนในการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเส้นทางคมนาคม
ทางบก ทั้งทางถนนและรถไฟให้กระจายและเชื่อมโยงไปสู่ภูมิภาคต่าง ๆ ทั้วประเทศ เพื่อสนับสนุนการพัฒนา
อุตสาหกรรมและการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค
(2) การขนส่งทางน้ำ ปรับปรุงกลไกการตัดสินใจระดับนโยบายด้านพาณิชย์นาวีให้เป็นเอกภาพ
เพื่อผลักดันประเทศไทยสู่มิติใหม่ของระบบการขนส่งระหว่างประเทศ ตลอดจนสนับสนุนสายการเดินเรือแห่งชาติ
อย่างจริงจัง การก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 2 ระยะที่ 1 ให้แล้วเสร็จตามเป้าหมาย เพื่อรองรับการขยายตัว
ทางด้านการค้าระหว่างประเทศ ลดต้นทุนการขนส่งสินค้าและลดการพึ่งพาเรือต่างชาติ รวมทั้งพัฒนาการเดินเรือชายฝั่ง
เพื่อเพิ่มทางเลือการขนส่งและลดความแออัดของการขนส่งทางบก
(3) การขนส่งทางอากาศ เร่งรัดการพัฒนาท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งที่ 2 ให้เป็น
ท่าอากาศยานสากลหลักของประเทศ เพื่อสนับสนุนการเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศและพัฒนาท่าอากาศยาน
ในส่วนภูมิภาคให้สามารถรองรับการขนส่งทางอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.4.2 ด้านการสื่อสาร
ปรับปรุงการบริหารจัดการด้านการสื่อสารของประเทศ โดยเร่งรัดการออกกฎหมายเพื่อยกเลิก
การผูกขาดของภาครัฐและสนับสนุนให้มีการแข่งขันในการให้บริการโดยเสรีควบคู่ไปกับการจัดตั้งองค์กรกำกับดูแล
การสื่อสารที่เป็นกลางโปร่งใส และมีเอกภาพ ตลอดจนดำเนินการแปรสภาพรัฐวิสาหกิจด้านการสื่อสาร โดยคำนึงถึง
เป้าหมายในการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการและประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการเป็นสำคัญ
2.4.3 ด้านพลังงาน
(1) เร่งรัดการสำรวจและพัฒนาแหล่งพลังงานจากทั้งในและต่างประเทศให้มีปริมาณเพียงพอ
กับความต้องการมีความมั่นคง คุณภาพ และระดับราคาที่เหมาะสม
(2) ส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด รวมทั้งเร่งการดำเนินงาน
อนุรักษ์พลังงานอย่างต่อเนื่องตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
(3) ส่งเสริมการแข่งขันในกิจการพลังงานและเร่งการแปรรูปรัฐวิสาหกิจเพื่อนำไปสู่การจัดหา
การใช้ และการจำหน่ายพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
อนึ่ง รัฐบาลถือว่ากฎหมายตามข้อนี้เป็นกฎหมายที่จำเป็นต่อการบริหารราชการแผ่นดินตามมาตรา 173
ของรัฐธรรมนูญ
2.4.4 ด้านสาธารณูปการ
(1) น้ำประปา กำกับดูแลการพัฒนากิจการประปาแห่งชาติให้เป็นระบบและเหมาะสม โดยให้
ภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทในการให้บริการเพิ่มมากขึ้น
(2) ที่อยู่อาศัย เร่งดำเนินมาตรการแก้ไขปัญหาชุมชนแออัด ให้ได้ผลอย่างเป็นรูปธรรมและ
ครบวงจร ทั้งในด้านการปรัปปรุงสภาพแวดล้อม การพัฒนาความมั่นคงในอาชีพและรายได้ รวมทั้งดำเนินมาตรการ
ป้องกันการขยายชุมชนแออัดควบคู่กัน โดยให้มีกลไกถาวรในการประสานการปฏิบัติงานและกำกับดูแลอย่างมี
ประสิทธิภาพและเป็นเอกภาพ นอกจากนั้น จะดูแลการดำเนินโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยของประชาชนให้ได้มาตรฐาน
และเป็นไปตามสัญญา โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการสำหรับประชาชนผู้มีรายได้น้อยและปานกลาง เพื่อให้ได้รับความ
เป็นธรรม
2.5 การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2.5.1 ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิต โดย
เน้นพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมและสอดคล้องกับขีดความสามารถของแรงงานในการรับการถ่ายทอด และคำนึงถึงผล
ตอบแทนทางเศรษฐกิจที่ได้รับจากการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้ นอกจากนี้ รัฐบาลจะสนับสนุนให้การพัฒนาเทคโนโลยี
ดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอนเพื่อลดการนำเข้ารวมทั้งลดการพึ่งพาเทคโนโลยีต่างประเทศ
2.5.2 ส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการถ่ายทอด
เทคโนโลยีโดยให้สิทธิพิเศษด้านภาษีอากรและการส่งเสริมการลงทุนในการวิจัยและพัฒนา เพื่อให้การศึกษาวิจัยสอดคล้อง
กับความต้องการของสถานประกอบการมากยิ่งขึ้น
2.5.3 เร่งรัดให้มีการผลิตและพัฒนาบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง รวมทั้ง
สนับสนุนให้ภาคเอกชนมีบทบาทในการผลิตและพัฒนาบุคลากรเพิ่มขึ้น
2.5.4 เร่งรัดการดำเนินงานระบบมาตรวิทยาเพื่อสนับสนุนการส่งออกอันจะทำให้ภาคเอกชนมีโอกาส
แข่งขันในตลาดระหว่างประเทศยิ่งขึ้น
2.6 การพัฒนาคนและสังคม
2.6.1 ด้านแรงงาน
(1) ปรับปรุงกฎหมายแรงงาน ตลอดจนกฎและข้อบังคับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และบังคับใช้
กฎหมายให้มีประสิทธิภาพเพื่อคุ้มครองผู้ใช้แรงงาน โดยเฉพาะแรงงานเด็กและแรงงานหญิงให้ได้รับค่าตอบแทนที่
เป็นธรรม มีความปลอดภัย และมีสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี
(2) เตรียมการรองรับแรงงานที่ย้ายกลับถิ่นฐานเดิมและผู้ถูกออกจากงานเนื่องจากสภาวะ
ทางเศรษฐกิจให้มีงานทำทั้งทางการเกษตรและอุตสาหกรรมในครัวเรือนตลอดจนส่งเสริมการฝึกอบรมและพัฒนาฝีมือ
แรงงานเพื่อให้สามารถเข้าสู่ภาคแรงงานฝีมือได้
(3) เร่งรัดและขยายการผลิตกำลังคนในสาขาที่ขาดแคลนทั้งในและนอกระบบการศึกษา ขยาย
บริการด้านการฝึกอบรมและการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานโดยให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น และเร่งรัด
การดำเนินงานของกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน
(4) ส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ทวิภาคีและไตรภาคี เพื่อสร้างบรรยากาศการลงทุนและขยาย
โอกาสการมีงานทำในภาครวม
2.6.2 ด้านการศึกษา
(1) กำหนดแผนการขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยก่วา 12 ปี ที่รัฐจะจัดให้
อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
(2) จัดให้มีกฎหมายการศึกษาแห่งชาติตลอดจนการปรับปรุงการจัดการศึกษาทุกระดับให้
สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมโดยใช้การศึกษาเป็นสื่อสร้างเสริมความรู้และปลูกฝังจิตสำนึก
เกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สนับสนุนการค้นคว้าการ
วิจัยในศิลปวิทยาการ เร่งรัดพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาประเทศ และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น
ศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ
อนึ่ง รัฐบาลถือว่ากฎหมายตามข้อนี้เป็นกฎหมายที่จำเป็นต่อการบริหารราชการแผ่นดินตามมาตรา 173
ของรัฐธรรมนูญ
(3) สนับสนุนให้เอกชน องค์กรวิชาชีพและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัด
การศึกษา โดยเน้นการมีความรู้คู่คุณธรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการศึกษาอบรมวิชาชีพและการจัดการศึกษาแก่
ผู้ด้อยโอกาส ตลอดจนการจัดดูแลสวัสดิการของเด็กนักเรียนในด้านการรักษาพยาบาลอาหารเสริม นม และอาหาร
กลางวัน
(4) ให้ความรู้แก่พ่อแม่และครอบครัว ในการวางรากฐานเบื้องต้นของชีวิตและเตรียมความ
พร้อมให้แก่เด็กก่อนเข้าเรียนชั้นประถม ตลอดจนการส่งเสริมการจัดการศึกษาก่อนวัยเรียนให้ทั่วถึง
(5) ส่งเสริมให้สถาบันการศึกษาเอกชนมีอิสระในการบริหารจัดการอย่างมีคุณภาพโดยเน้น
บทบาทของรัฐในการส่งเสริมและสนับสนุน และจะนำระบบคูปองการศึกษามาใช้เพื่ออุดหนุนการศึกษาเอกชน
(6) เร่งพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ผู้เรียนได้เรียนอย่างมีความสุข มีพัฒนาการรอบด้าน
โดยเฉพาะมีคุณธรรม และมีความสามารถในการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยตนเอง จัดให้มีมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ
และระบบการประเมินและประกันคุณภาพทางการศึกษาเพื่อพัฒนาการศึกษาไทยให้มีมาตรฐานเป็นเลิศ
(7) เร่งพัฒนาวิชาชีพครูให้เป็นวิชาชีพที่ได้รับการยกย่องเพื่อให้ครูได้ทำงานอย่างมีเกียรติ
โดยปฏิรูปกระบวนการผลิตครู และการพัฒนาครู เน้นการผลิตครูในสาขาขาดแคลนตลอดจนการสร้างเกณฑ์มาตรฐาน
เพื่อการยกย่องให้รางวัลครูที่ดีและเก่งมีความก้าวหน้าในอาชีพ โดยส่งเสริมสวัสดิการของครู
(8) ส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่มีความพร้อมสามารถดำเนินการอย่างมีอิสระด้าน
งบประมาณและการบริหารจัดการ โดยอาจดำเนินการเฉพาะส่วนงานที่มีความพร้อมก่อนก็ได้
(9) กระจายโอกาสทางการศึกษาในระดับอุดมศึกษาโดยแบ่งออกเป็น 3 ระบบ ให้มีความ
เชื่อมโยงกัน คือ ระบบวิทยาลัยชุมชน ซึ่งเน้นการผลิตบุคลากรโดยใช้เวลาสั้นหรือการตอบสนองความต้องการของ
ชุมชนและกำลังคนระดับกลางเป็นหลัก ระบบมหาวิทยาลัยซึ่งเน้นการผลิตบัณฑิตในระดับปริญญาตรี และการบริการ
ทางวิชาการแก่สังคมเป็นหลัก และระบบมหาวิทยาลัยซึ่งเน้นการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษาและการวิจัยชั้นสูง
เป็นหลัก
(10) กระจายโอกาสทางด้านอุดมศึกษาไปยังส่วนภูมิภาคโดยการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
มาใช้
2.6.3 ด้านศาสนาและศิลปวัฒนธรรม
(1) ส่งเสริมบทบาทขององค์กรศาสนาต่าง ๆ ในการเผยแผ่หลักธรรมทางศาสนาเพื่อ
เสริมสร้างคุณธรรมและพัฒนาคุณภาพชีวิต
(2) คุ้มครองพระพุทธศาสนาด้วยการร่วมกับองค์กรปกครองคณะสงฆ์ปรับปรุงกฎหมาย
กฎ และระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อความมั่นคงของพระศาสนา สนับสนุนการศึกษาของคณะสงฆ์ และส่งเสริมการจัดตั้ง
หน่วยงานส่งเสริมพระพุทธศาสนา เพื่อให้มีสถานะเป็นที่รับรองทั่วไป และสามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง
(3) สนับสนุนให้ประชาชน องค์กร สถาบันต่าง ๆ และชุมชนเข้าร่วมในกิจกรรมการอนุรักษ์
ส่งเสริม และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทยให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
(4) ส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางความร่วมมือทางการศึกษา การวิจัย และการอนุรักษ์
โบราณสถาน โบราณวัตถุ รวมทั้งการพัฒนาศิลปวัฒนธรรมในภูมิภาค
2.6.4 ด้านการกีฬา
(1) สนับสนุนเร่งรัดโครงการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคสาธารณูปการที่เกี่ยวข้อง ให้ทัน
ต่อการจัดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ
(2) กำหนดมาตรการเร่งรัดพัฒนามาตรฐานการกีฬาของประเทศอย่างเป็นระบบ รวมทั้งสร้าง
สนามกีฬาและจัดหาอุปกรณ์การกีฬาให้เพียงพอแก่การฝึกซ้อมและการเล่นกีฬาได้อย่างเต็มความสามารถ
(3) เสริมสร้างสวัสดิการเพื่อบำรุงขวัญและกำลังใจของนักกีฬา รวมทั้งสนับสนุนให้ภาคเอกชน
มีบทบาทในการส่งเสริมการกีฬาของประเทศให้เข้าสู่มาตรฐานสากลยิ่งขึ้น
(4) ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีนักกีฬาอาชีพประเภทต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น
(5) ส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็ก เยาวชน และประชาชนพัฒนาสุขภาพอนามัย โดยการ
ออกกำลังกายและการเล่นกีฬาโดยให้มีสนามกีฬา อุปกรณ์กีฬาอย่างเพียงพอและทั่วถึง เพื่อเป็นพื้นฐานของการพัฒนา
คุณภาพชีวิตและเพื่อความเป็นเลิศในการแข่งขันทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ
2.6.5 ด้านสุขภาพอนามัย
(1) สนับสนุนการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ โดยเน้นการให้สุขศึกษาและขยายงานสาธารณสุข
มูลฐานเข้าสู่ระดับครอบครัว ทั้งนี้เพื่อให้มีศักยภาพในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชนอย่างเหมาะสม
(2) เร่งรัดให้มีการแก้ไขปัญหาที่มีแนวโน้มรุนแรง ได้แก่ โรคเอดส์ อุบัติเหตุ โรคมะเร็ง
โรคหัวใจและหลอดเลือด ยาเสพติด ตลอดจนโรคที่เกิดจาการการทำงานและสิ่งแวดล้อม และโรคที่มากับแรงงาน
ต่างชาติ
(3) ปรับปรุงระบบการบริหารจัดการด้านสุขภาพด้วยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้
คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน โดยส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขที่เหมาะสมร่วมกับ
ภาคเอกชน รวมทั้งการพัฒนาการแพทย์แผนไทย
(4) เร่งรัดการผลิตบุคลากรสาธารณสุขสาขาขาดแคลนให้เพียงพอ มีการกระจายอย่างทั่วถึง
โดยเฉพาะ ในพื้นที่ชนบท และส่งเสริมให้อยู่ในระบบอย่างมีประสิทธิภาพ
(5) เร่งรัดพัฒนาการศึกษาวิจัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และระบบสาธารณสุขให้สามารถ
ตอบสนองต่อการผลิตอาหาร ยา เวชภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์สุขภาพต่าง ๆ เพื่อการส่งออกและทดแทนการนำเข้า รวมทั้ง
ให้มีการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์
(6) เฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของ
ประชาชนให้อยู่ในระดับมาตรฐาน และคุ้มครองความปลอดภัยในการประกอบอาชีพ ตลอดจนการจัดหาน้ำสะอาด
สำหรับอุปโภคบริโภคให้แก่ประชาชนในชนบทอย่างทั่วถึง
2.6.6 ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
(1) รณรงค์เพื่อปลูกฝังให้ประชาชนมีจิตสำนึกและตระหนักในการเคารพกฎหมายควบคู่กับ
การบังคับใช้กฎหมายเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง โดยเร่งรัดและกวดขันให้เจ้าหน้าที่ของรัฐทุกระดับ
ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด และเป็นธรรม
(2) พัฒนาคุณภาพของเจ้าหน้าที่ จัดหาเครื่องมือ และพัฒนาเทคโนโลยีที่จำเป็นต่อการปฏิบัติ
ภารกิจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบงานป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมตลอดจนการป้องกันอุบัติภัย และสาธารณภัย
ให้สามารถอำนวยความปลอดภัยแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนอย่างทั่วถึง
2.6.7 ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค
(1) กำหนดมาตรการเร่งรัดการคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้สินค้าและบริการที่ดี มีความปลอดภัย
และมีคุณภาพในราคาที่เป็นธรรม โดยการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ ตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐาน ตลอดจนบังคับใช้
กฎหมายอย่างเคร่งครัดเพื่อลงโทษผู้กระทำผิดที่เอาเปรียบผู้บริโภค
(2) ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ถูกต้องและเหมาะสม และควบคุฒให้การโฆษณาสินค้า
และบริการตรงต่อความเป็นจริง
(3) ส่งเสริมให้เอกชนรวมตัวกันจัดตั้งองค์กรทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เพื่อมีบทบาท
ในการคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของผู้บริโภค
2.6.8 ด้านอื่น ๆ
(1) เร่งรัดการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดและสารเสพติดด้วยการใช้มาตรการทาง
กฎหมาย มาตรการทางการศึกษา การกีฬาและดนตรี การเสริมสร้างความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัว ชุมชน
สถาบันการศึกษา และสถาบันทางศาสนา เพื่อให้มีบทบาทในการแก้ปัญหายาเสพติดและสารเสพติด พร้อมทั้งจะเร่งรัด
การปราบปรามผู้กระทำผิดในคดียาเสพติดและสารเสพติด ทั้งผู้เสพ ผู้ค้า และผู้ผลิตโดยเน้นการดำเนินการกับนายทุน
และผู้มีอิทธิพลที่อยู่เบื้องหลัง นอกจากนั้นจะขยายการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาและเร่งผลักดันกฎหมาย
ป้องกันการฟอกเงินอันเนื่องมาจากการค้ายาเสพติด
อนึ่ง รัฐบาลถือว่ากฎหมายตามข้อนี้เป็นกฎหมายที่จำเป็นต่อการบริหารราชการแผ่นดินตามมาตรา 173
ของรัฐธรรมนูญ
(2) ดูแล ฟื้นฟู และพัฒนา ผู้ด้อยโอกาสและกลุ่มบุคคลที่สมควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษ เช่น
คนชรา ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ โดยสนับสนุนให้ได้รับการศึกษา การฝึกอาชีพ การจ้างงานและนันทนาการ
ตามควรแก่กรณี เพื่อให้สามารถพึ่งตนเองได้อย่างภาคภูมิใจและดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข
(3) สนับสนุนสถาบันครอบครัว สถาบันศาสนา สื่อสารมวลชน และองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์
ให้มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาเด็กจรจัด แรงงานเด็ก และโสเภณี
(4) ส่งเสริมความเสมอภาคของหญิงและชายด้วยการปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบและข้อบังคับ
ต่าง ๆ เพื่อเปิดโอกาสให้หญิงและชายสามารถประกอบอาชีพหรือมีบทบาทในการบริหารและการตัดสินใจทั้งในภาครัฐ
และภาคเอกชนโดยเท่าเทียมกันภายในขอบเขตของรัฐธรรมนูญ
(5) ปลูกฝังค่านิยมพื้นฐานให้แก่เด็กและเยาวชนในเรื่องความมีเหตุผล การยอมรับฟัง
ความคิดเห็นของผู้อื่น การเคารพในสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น ความมีน้ำใจนักกีฬา ความมีระเบียบวินัย ความศรัทธาใน
ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข การพึ่งตนเอง การประหยัด การยึดมั่นในเอกลักษณ์และ
ศิลปวัฒนธรรมของชาติ ขนบธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่นกำเนิดและชุมชนที่อยู่อาศัย การคิดอย่างเป็นวิทยาศาสตร์
การรู้จักคุณค่าทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การไม่ลุ่มหลงมัวเมาในอบายมุข ยาเสพติด สารเสพติด บุหรี่ และ
สิ่งมึนเมา
2.7 การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2.7.1 สนับสนุนมาตรการกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เหมาะสม โดยคำนึงถึงสมรรถภาพของดินและ
ศักยภาพของพื้นที่ เช่น เขตพื้นที่เกษตรกรรม พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม ชุมชน และพื้นที่ป่าอนุรักษ์
2.7.2 ส่งเสริมการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ ทั้งป่าบกและป่าชายเลน โดยสนับสนุนองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นและประชาชน ให้มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาป่าไม้และปลูกสร้างป่าชุมชน ตลอดจนบังคับใช้กฎหมายเพื่อ
ป้องกันและปราบปรามการลักลอบตัดไม้ทำลายป่าอย่างเคร่งครัด
2.7.3 เร่งรัดการอนุรักษ์ ควบคุม ดูแลแหล่งน้ำ มิให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยกวดขันให้หน่วยงานที่
รับผิดชอบดำเนินงานอย่างเคร่งครัดในการควบคุมคุณภาพน้ำ และการเพิ่มขีดความสามารถในการบำบัดน้ำเสียก่อน
ระบายลงสู่แหล่งน้ำและแม่น้ำสายหลักทั่วประเทศ ตลอดจนส่งเสริมการร่วมทุนของรัฐและเอกชนในการก่อสร้างระบบ
บำบัดน้ำเสียรวม
2.7.4 เร่งรัดการกระจายอำนาจการจัดการสิ่งแวดล้อมจากส่วนกลางไปสู่ส่วนภูมิภาคและท้องถิ่นโดย
ส่งเสริมให้ท้องถิ่นและประชาชนมีส่วนร่วมในการจัด ทำแผนปฏิบัติการสิ่งแวดล้อมในระดับจังหวัด
2.7.5 กำหนดมาตรการให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดในการควบคุมการใช้ประโยชน์และฟื้นฟู
ทรัพยากรธรรมชาติ โดยประกาศเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมและเขตควบคุมมลพิษในพื้นที่วิกฤติ
2.7.6 ปลูกฝังให้เด็ก เยาวชน และประชาชนตระหนักในความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสนับสนุนส่วนราชการ ชุมชนและองค์กรเอกชนให้ร่วมมีบทบาทด้วย
2.7.7 สนับสนุนให้มีการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเขตชุมชนหรือเมืองที่มีการกระจายตัวของประชากรหนาแน่น
หรือมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
2.8 การพัฒนากรุงเทพมหานคร
รัฐบาลมีนโยบายที่จะฟื้นฟูบูรณะกรุงเทพมหานครภายใต้งบประมาณที่มีอยู่ตามแนวทางดังนี้
2.8.1 เร่งรัดให้เกิดการประสานงานระหว่างกรุงเทพมหานคร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในโครงการพัฒนา
ระบบคมนาคมขนส่งที่กำลังก่อสร้างให้แล้วเสร็จตามกำหนดเวลา เพื่อให้เกิดการประสานโครงข่ายเชื่อมโยงพื้นที่
กรุงเทพมหานคร กับพื้นที่เขตเศรษฐกิจใหม่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก และพื้นที่ภาคกลางด้านตะวันตกและ
ภาคกลางตอนบน และเพื่อเร่งการขยายเขตมหานครออกไป พร้อมทั้งกำหนดแผนงานสำหรับการพัฒนาเมืองบริวาร
และชุมชนชานเมืองของกรุงเทพมหานครในระยะยาว
2.8.2 ให้มีการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาเมืองบริวารและชุมชนชานเมืองที่เชื่อมโยงกับ
กรุงเทพมหานคร ด้วยระบบคมนาคมขนส่งที่ทันสมัย เพื่อลดความแออัดของกรุงเทพมหานครในระยะยาว
2.8.3 เร่งรัดการแก้ไขปัญหาจราจรตามแผนแม่บท
2.8.4 เร่งรัดการดำเนินการตามแผนการป้องกันน้ำท่วมแบบถาวร
ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ
นับแต่เมื่อประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับใหม่ คณะรัฐมนตรีนี้ได้แถลงนโยบายต่อ
ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาตามแนวทางที่รัฐธรรมนูญกำหนดขึ้นใหม่เป็นคณะแรก กระผมและคณะรัฐมนตรีตระหนัก
ดีว่า รัฐบาลมีภารกิจสำคัญที่จะต้องดำเนินการทุกวิถีทางด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เปิดเผย สามารถตรวจสอบและ
วิจารณ์ได้ เพื่อให้การดำเนินการทุกอย่างสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนและเป็นไปตามบทบัญญัติ
แห่งรัฐธรรมนูญ โดยรัฐบาลจะวางรากฐานและเร่งผลักดันให้มีมาตรการประกอบรัฐธรรมนูญไม่ว่าจะเป็นกฎหมายหรือ
อยู่ในรูปแบบอื่นใดก็ตามให้สอดคล้องรองรับกันอย่างเป็นระบบครบถ้วน เพื่อความสมบูรณ์ในการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ
และเตรียมการเลือกตั้งทั่วไปที่จะมีขึ้นเป็นครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญ ให้บังเกิดความเรียบร้อย ไม่สะดุดเพราะกฎระเบียบ
หรือความไม่เข้าใจของเจ้าหน้าที่และประชาชน ทั้งจะต้องเตรียมการให้มีความพร้อมทั้งฝ่ายควบคุม ผู้ดำเนินการจัดให้มี
การเลือกตั้ง และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ ประการสำคัญคือ ต้องมีความบริสุทธิ์ยุติธรรม
นอกจากสภาวการณ์ทางการเมืองดังกล่าวแล้ว คณะรัฐมนตรีกำลังจะเข้าบริหารราชการแผ่นดินในช่วงเวลา
ที่มีปัญหาทางเศรษฐกิจอีกด้วย จึงเป็นอีกเหตุหนึ่งที่ทำให้ถูกจับตาดูเป็นพิเศษทั้งจากภายในและภาคนอกประเทศ เพราะ
การดำเนินการทางเศรษฐกิจของไทยแต่นี้ไปย่อมส่งผลกระทบต่อภูมิภาคและประชาคมโลกอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
กระผมขอให้ความมั่นใจว่ารัฐบาลจะใช้ความพร้อมที่มีอยู่ ความร่วมมือจากทุกวงการ และบทเรียนจากอดีต ระดม
ทรัพยากรทุกอย่างมาใช้ให้บังเกิดประโยชน์สูงสุดและใช้เวลาอย่างมีค่าเร่งแก้ปัญหาวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจของชาติ
ตามนโยบายและมาตรการที่กราบเรียนมาข้างต้นนี้ด้วยความเข้มแข็ง ซื่อสัตย์สุจริต รอบคอบ รวดเร็ว และเฉียบขาด
การบริหารราชการแผ่นดินต่อไปนี้ โดยเฉพาะในช่วงเวลา 3 เดือนแรก เชื่อว่าไม่อยู่ในภาวะปกตินัก
ด้วยเหตุที่มีสภาวการณ์พิเศษทางเศรษฐกิจเกิดขึ้น ภาครัฐและภาคเอกชนจึงต่างต้องบริหารงานของตนด้วยความ
อดทนและอดออมบนพื้นฐานของความเชื่อมั่นในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น
ประมุข รัฐบาลจะรับฟังความเห็นจากประชาชน สื่อสารมวลชน และวงการธุรกิจภาคเอกชนให้กว้างขวางที่สุด
ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพและท่านสมาชิกผู้มีเกียรติ
การแก้ปัญหาการเมืองและปัญหาเศรษฐกิจ ตลอดจนการดำเนินการอื่น ๆ ตามนโยบายที่ได้แถลง และ
ตามแผนปฏิบัติการที่รัฐบาลจะจัดทำต่อไป จะสัมฤทธิผลลงได้ก็ด้วยความเข้าใจและความร่วมมือสนับสนุนจาก
ประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากผู้แทนปวงชนชาวไทยในรัฐสภาแห่งนี้ กระผมและรัฐบาลจึงหวังอย่างเต็มเปี่ยม
ในความร่วมมือสนับสนุนของท่านสมาชิกรัฐสภาและเชื่อมั่นว่าจะได้รับความร่วมมือด้วยดี |
54 | คำแถลงนโยบาย
ของ
คณะรัฐมนตรี คณะที่ ๕๔
พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
แถลงต่อรัฐสภา
วันจันทร์ที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔
__________________
ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ
ตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้กระผมเป็นนายกรัฐมนตรีตามประกาศ
พระบรมราชโองการ ลงวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๔๔ และแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีตาม
ประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๔๔ นั้น
บัดนี้ คณะรัฐมนตรีได้กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินโดยยึดมั่นในการ
ปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมในระบบรัฐสภาอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น
พระประมุข และครอบคลุมถึงแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามบทบัญญัติในหมวด ๕ ของ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเสร็จสิ้นแล้วและขอนำเรียนท่านสมาชิกรัฐสภาผู้ทรงเกียรติ
ได้รับทราบถึงเจตนารมณ์ ยุทธศาสตร์และนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งมั่นจะสร้างเสถียรภาพ
และความมั่นคงในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของประเทศ เพื่อประโยชน์สุข
ของประชาชนชาวไทยทุกคน
ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ
วันนี้ประเทศไทยยังไม่พ้นจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ประเทศยังต้องได้รับการบริหาร
ที่ทุ่มเทเป็นพิเศษ จะปล่อยให้การบริหารดำเนินไปเหมือนภาวะปกตินั้นไม่ได้เพราะเศรษฐกิจของ
ประเทศอาจถลำลึกลงอีกจนยากที่จะเยียวยา
ดังนั้น ประเทศไทยจึงต้องการการเปลี่ยนแปลงในแทบทุกมิติ ด้วยแนวคิดของนโยบายใหม่
ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งข้อมูล ความรอบรู้ และสติปัญญาที่เข้าใจในรากเหง้าแห่งปัญหา และทันโลก
ทันเหตุการณ์
ปัจจุบัน ประชาชนทุกระดับได้รับความเดือดร้อนอันเกิดจากมีรายได้ไม่เพียงพอกับ
รายจ่าย ซึ่งเป็นผลมาจากการตกงาน ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ กำลังซื้อของคนในประเทศตก
รัฐบาลจึงตั้งเป้าหมายที่จะดำเนินนโยบายเพื่อลดความยากจนและนำไปสู่การสร้างงาน สร้างรายได้
ลดค่าใช้จ่ายให้แก่ประชาชน เพื่อให้ประชาชนมีรายได้เพียงพอกับรายจ่ายนำไปสู่การพอมีพอกิน
และเหลือจากนั้นจึงนำไปสู่การสร้างชีวิตใหม่โดยใช้กลไกทุกส่วนของภาครัฐในการสร้างโอกาสให้ประชาชน
ใช้ทุนทางปัญญา ศักยภาพส่วนตัว และสินทรัพย์ที่มีอยู่ทำงานอย่างเต็มที่ เมื่อประชาชนมีรายได้
ก็จะทำให้ครอบครัวมีรายได้ และประเทศชาติมีรายได้ ซึ่งจะกลายเป็นฐานภาษีใหม่ให้รัฐมีรายได้
มากขึ้น เพื่อนำไปสู่การลดภาระหนี้สินของประเทศในโอกาสต่อไป
ในสถานการณ์นี้ รัฐบาลจะเป็นผู้ลงทุนทางสังคม ไม่ใช่เป็นเพียงผู้ใช้เงินโดยไร้เป้าหมาย
เพราะการใช้จ่ายเงินเพียงอย่างเดียวมักจะก่อให้เกิดการสูญเปล่าไม่ได้ผล นโยบายของรัฐบาลอาทิ
กองทุนหมู่บ้าน การจัดตั้งธนาคารประชาชน จึงเป็นส่วนหนึ่งของการลงทุนเพื่อสร้างรายได้ใหม่ให้กับ
ประชาชนและให้กับรัฐในที่สุด
รัฐบาลตระหนักดีว่าประชาชนกำลังลำบาก เพราะฉะนั้นจำเป็นต้องมีการปรับโครงสร้างหนี้
ทั้งภาคประชาชนและภาคเอกชน ซึ่งจะเป็นยุทธศาสตร์เบื้องต้นก่อนนำไปสู่การสร้างงานสร้างรายได้
ดังนั้น ภารกิจเร่งด่วนและสำคัญยิ่งของรัฐบาล คือ การเร่งแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ
ปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิตของระบบเศรษฐกิจ การบริหาร สังคมและการเมือง โดยจะต้อง
ดำเนินการไปพร้อม ๆ กัน เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาได้ทันการณ์ โดยปัญหา มี ๒ ส่วน คือ
๑. หยุดการหดตัวของเศรษฐกิจที่กำลังก่อปัญหาทางสังคมให้กับประเทศ
๒. การแก้ไขและปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ให้กับระบบเศรษฐกิจ และสังคม ไปสู่
ความมีเสถียรภาพและความมั่นคงอันยั่งยืนของประเทศชาติ
ทั้งหมดนี้จะไม่เป็นเพียงหยุดการทรุดตัวของเศรษฐกิจเท่านั้นแต่จะเป็นการกระจาย
โอกาสให้กับชีวิตประชาชนไม่ใช่เป็นเพียงการกระจายเงินนอกจากนี้ยังเป็นการใช้สินทรัพย์ที่สำคัญ
คือ ภูมิปัญญาเพื่อก้าวเข้าสู่เศรษฐกิจใหม่ซึ่งเป็นเศรษฐกิจที่อาศัยความรู้เป็นฐานของการหารายได้
รัฐบาลตระหนักว่าประเทศไทยเรามีความหลากหลายทางชีวภาพ มีวัฒนธรรม
อันเก่าแก่ นอกจากนั้นคนไทยยังมีทักษะ ฝีมือ ความมานะและความขยันหมั่นเพียร ซึ่งถ้าได้รับ
การส่งเสริมและให้โอกาสจะเกิดการใช้พลังในแผ่นดินซึ่งเป็นพลังทั้งจากมันสมองของประชาชนและ
พลังจากการบริหารทรัพย์สินของแผ่นดินไทยจะสร้างให้ประเทศไทยกลับขึ้นมาแข็งแกร่งอีกครั้ง
ให้คนไทยทุกคนกลับมายืนบนลำแข้งตัวเองได้อย่างมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี และมีความภาคภูมิใจในความ
เป็นคนไทยอีกครั้งหนึ่ง
ดังนั้น เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดิน สามารถบรรลุถึงภารกิจ และดำเนินไปด้วย
แนวทางที่กล่าวมา รัฐบาลจึงได้กำหนดนโยบายบริหารราชการแผ่นดินไว้ดังนี้
๑. นโยบายเร่งด่วน
(๑) พักชำระหนี้ให้กับเกษตรกรรายย่อยเป็นเวลา ๓ ปี เพื่อแก้ปัญหาหนี้สินของเกษตรกร
อย่างเร่งด่วน โดยวางระบบการฟื้นฟูและให้ความช่วยเหลือปรับโครงสร้างการผลิตอย่างครบวงจร
(๒) จัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง แห่งละ ๑ ล้านบาท เพื่อเป็นแหล่งเงินหมุนเวียน
ในการลงทุน สร้างอาชีพเสริม และสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนในชุมชนและวิสาหกิจขนาดเล็ก
ในครัวเรือนพร้อมทั้งรัฐบาลจะจัดให้มีโครงการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์เพื่อให้แต่ละชุมชน
ได้ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการพัฒนาสินค้า โดยรัฐพร้อมที่จะเข้าช่วยเหลือในด้านความรู้
สมัยใหม่ และการบริหารจัดการ เพื่อเชื่อมโยงสินค้าจากชุมชนสู่ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ด้วยระบบร้านค้าเครือข่ายและอินเตอร์เน็ต
(๓) จัดตั้งธนาคารประชาชน เพื่อกระจายโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินให้กับประชาชนผู้มี
รายได้น้อย เพื่อสร้างทางเลือกและลดการพึ่งพาแหล่งกู้นอกระบบ ซึ่งจะทำให้ประชาชนมีโอกาสใน
การสร้างงาน สร้างรายได้ด้วยตนเอง
(๔) จัดตั้งธนาคารวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการเดิมและ
เพิ่มจำนวนผู้ประกอบการใหม่อย่างเป็นระบบ เพื่อสร้างและรักษาฐานการผลิต การจ้างงาน การสร้าง
รายได้ การส่งออก และเป็นแกนหลักในการสร้างความเติบโตและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในอนาคต
(๕) จัดตั้งบรรษัทกลางในการบริหารสินทรัพย์ เพื่อดำเนินการให้หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
ออกจากระบบของธนาคารพาณิชย์โดยเร็ว และเป็นระบบเบ็ดเสร็จ เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่สถาบัน
การเงินในการปล่อยสินเชื่อให้กับภาคการผลิตและบริการ
(๖) พัฒนารัฐวิสาหกิจ ให้เป็นองค์กรหลักในการกอบกู้เศรษฐกิจ และสร้างรายได้ให้กับ
ประเทศ โดยรวมรัฐวิสาหกิจที่มีศักยภาพและมีความพร้อมเข้าด้วยกัน ภายใต้การบริหารของ
องค์กรที่เป็นมืออาชีพ มีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ และปลอดจากการเมืองแทรกแซง
ในการบริหารพร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ประชาชนคนไทยมีโอกาสลงทุนในกิจการของรัฐวิสาหกิจ
และสนับสนุนให้รัฐวิสาหกิจที่มีความพร้อมเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ภายในระยะเวลา
ที่เหมาะสม
(๗) สร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพื่อลดรายจ่ายโดยรวมของประเทศและประชาชน
ในการดูแลรักษาสุขภาพ โดยเสียค่าใช้จ่าย ๓๐ บาทต่อครั้ง และสร้างโอกาสในการเข้าถึงบริการ
สาธารณสุขที่ได้มาตรฐานอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน
(๘) เร่งจัดตั้งสถานบำบัดผู้ติดยาเสพติด ควบคู่ไปกับการปราบปรามและป้องกัน
(๙) ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามคอรัปชั่น
๒. นโยบายเศรษฐกิจ
๒.๑ นโยบายด้านการคลัง
(๑) เร่งรัดการกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีผลต่อการยกระดับรายได้ของประชาชนและหยุด
การทรุดตัวทางเศรษฐกิจ โดยคงภาวะการขาดดุลการคลังต่อไปอีกระยะหนึ่ง ในกรอบการรักษาไว้
ซึ่งเสถียรภาพและวินัยการคลังที่เหมาะสม และจะปรับนโยบายการคลังให้เข้าสู่การคลังที่สมดุล
เมื่อเศรษฐกิจสามารถขยายตัวขึ้นมารองรับได้อย่างเพียงพอ
ในการแก้วิกฤตเศรษฐกิจนี้ รัฐบาลจะจัดทำงบประมาณ โดยยึดยุทธศาสตร์การพัฒนา
ประเทศเป็นที่ตั้ง และจะปฏิรูประบบและกระบวนการจัดสรร พร้อมทั้งจัดทำระบบการเบิกจ่าย
งบประมาณใหม่ โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ที่รัดกุม และประเมินผลได้อย่างต่อเนื่องและทันต่อ
เหตุการณ์โดยปรับลำดับความจำเป็นเร่งด่วนในการใช้งบประมาณให้เหมาะสม และปรับลดรายจ่าย
ที่ไม่จำเป็นและไม่เป็นผลในการกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันให้ขยายตัว ลดการลงทุนที่มีมูลค่า
การนำเข้าสูงลดรายจ่ายที่เป็นภาระต่อประชาชน และนำงบประมาณที่ปรับลดไปลงทุนในโครงการ
และกิจกรรมที่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างงานสร้างรายได้ทันทีตามเป้าหมายที่ชัดเจน
(๒) ปรับปรุงระบบภาษีให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ เพื่อส่งเสริมและ
กระตุ้นภาคเศรษฐกิจจริง ที่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มภายในประเทศ และเป็นพื้นฐานในการปฏิรูป
โครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต พร้อมทั้งสนับสนุนการออม การระดมทุน และ
การสร้างผู้ประกอบการใหม่ ทั้งนี้ จะปรับโครงสร้างภาษีอากร ทำแผนที่ภาษีและวางระบบการจัดเก็บ
ที่ประหยัด สะดวก และโปร่งใสสำหรับผู้เสียภาษี โดยเฉพาะจะขจัดการตีความซ้ำซ้อน ลดอำนาจ
ผู้จัดเก็บ สร้างความชัดเจน และโปร่งใส เพื่อขจัดการฉ้อราษฎร์บังหลวง
(๓) บริหารการคลังอย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืนโดยเฉพาะการรักษาวินัยการคลังในการ
ดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ จะจัดทำแผนการบริหารทรัพย์สินและหนี้สินสาธารณะที่มีประสิทธิภาพ
ประหยัด และจะกู้เงินเฉพาะเพื่อการลงทุนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเพื่อสร้างฐานรายได้ให้แก
่ประชาชน และภาคเอกชนเป็นหลัก รวมทั้งเพื่อสร้างความมั่งคั่งให้แก่ประเทศอย่างยั่งยืน
๒.๒ นโยบายการเงิน สถาบันการเงิน และตลาดทุน
(๑) ดำเนินนโยบายการเงินที่เอื้อต่อการปล่อยสินเชื่อเข้าสู่ภาคเศรษฐกิจจริงเพื่อให้เกิด
การขยายตัวของภาคธุรกิจ กระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างมีเสถียรภาพ ส่งเสริมการออมของ
ประชาชน และสอดคล้องกับการดำเนินนโยบายการคลังและยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ
(๒) ดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราในลักษณะที่เอื้ออำนวยต่อกระบวนการ
สร้างรายได้ของประชาชนทุกระดับ และเอื้อต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ รวมทั้งสามารถส่งเสริม
ภาคการผลิตและบริการที่พึ่งพาทรัพยากรในประเทศให้มีความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก
(๓) เร่งพัฒนาและฟื้นฟูระบบสถาบันการเงินของประเทศให้สามารถทำหน้าที่เกื้อกูล
ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจได้ตามปกติ โดยก่อภาระด้านการเงินการคลังให้น้อยที่สุด รวมทั้งส่งเสริม
ความสามารถในการแข่งขันของสถาบันการเงินในระยะยาวตลอดจนมุ่งพัฒนาและปรับบทบาท
สถาบันการเงินของรัฐ ให้เป็นกลไกสำคัญในการส่งเสริมกิจการที่มีศักยภาพในการสร้างรายได้
้อย่างเร่งด่วน และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ
(๔) เร่งพัฒนาตลาดเงินและตลาดทุน เพื่อให้เป็นกลไกที่มีประสิทธิภาพในการระดมทุน
และส่งเสริมการออมระยะยาวของภาคธุรกิจและประชาชน ตลอดจนจัดโครงสร้างภาษีอากร
ให้สอดคล้องและเสมอภาค รวมทั้งส่งเสริมให้องค์กรธุรกิจที่ดีและมีศักยภาพสามารถเข้าจดทะเบียน
ในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อให้ภาคเศรษฐกิจที่สำคัญและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ
สามารถใช้ประโยชน์จากตลาดเงินและตลาดทุนได้อย่างเต็มที่
(๕) เร่งพัฒนาตลาดตราสารหนี้ เพื่อสร้างทางเลือกและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงิน
ของภาคเอกชน และสร้างความเสมอภาคระหว่างตลาดเงิน ตลาดทุน ตลาดตราสารหนี้ และเงินฝาก
ในสถาบันการเงิน เพื่อพัฒนาภาคธุรกิจและเศรษฐกิจของประเทศอย่างสมบูรณ์ รวมทั้งส่งเสริม
การออมและการลงทุนที่หลากหลายแก่ประชาชนในระยะยาว
๓. นโยบายการสร้างรายได้
การแก้ปัญหาหนี้สินของประเทศต้องแก้ด้วยการสร้างรายได้ ดังนั้น รัฐบาลจะสนับสนุน
และผลักดันให้มีกระบวนการสร้างรายได้ให้กับประชาชนทุกระดับ โดยจะส่งเสริมแนวทางเศรษฐกิจ
พอเพียงตามศักยภาพของชุมชนในระดับฐานรากของประเทศ ตั้งแต่การผลิตเพื่อการบริโภค นำ
ผลผลิตที่เหลือออกจำหน่าย เพื่อสร้างรายได้ในระดับครอบครัว ส่งเสริมการรวมตัวเพื่อดำเนิน
เศรษฐกิจระดับชุมชน เร่งพัฒนาผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก รวมทั้งส่งเสริมการ
เชื่อมโยงอย่างเกื้อกูล และสนับสนุนซึ่งกันและกันกับธุรกิจขนาดใหญ่ สู่ตลาดทั้งภายในประเทศ
และต่างประเทศ เพื่อสร้างเสริมกระบวนการสร้างรายได้ให้กับประชาชนอย่างเป็นระบบ
ทั้งนี้ รัฐบาลจะสนับสนุนให้เกิดการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิตทั้งภาค
เกษตรอุตสาหกรรม อุตสาหกรรม และการบริการ เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดยุคใหม่
โดยคำนึงถึงทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ และศักยภาพของทักษะที่ประเทศมีความโดดเด่นเชี่ยวชาญ
ทั้งนี้ เพื่อสร้างฐานการจ้างงาน กระจายโอกาสและกระจายความเสี่ยง สร้างฐานการผลิต
ของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก โดยมีแนวนโยบายครอบคลุม ๓ ด้าน คือ เกษตร
อุตสาหกรรม และการบริการ ดังต่อไปนี้
๓.๑ ด้านการเกษตรกรรม
ประกอบด้วย ๓ ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ ๑ ฟื้นฟูและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเกษตรกร
(๑) ปรับโครงสร้างสินเชื่อ และเงินทุนภาคเกษตรให้สอดคล้องกับวงจรการผลิต เร่งรัด
การแก้ไขหนี้สินของเกษตรกร และพักชำระหนี้และยกเว้นดอกเบี้ยเป็นเวลา ๓ ปีแก่เกษตรกร
รายย่อย
(๒) ส่งเสริมการทำเกษตรผสมผสาน เกษตรทางเลือก และเกษตรอินทรีย์ รวมทั้งส่งเสริม
กระบวนการเรียนรู้แก่เกษตรกร
(๓) ส่งเสริมให้เกษตรกรมีที่ดินทำกินอย่างพอเพียง โดยการวางแผนการใช้ที่ดิน
อย่างมีประสิทธิภาพ และการจัดการใช้ที่ดินรกร้างว่างเปล่าให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งพัฒนา
ประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในทุกระดับให้เหมาะสมต่อระบบการผลิต และสอดคล้อง
กับสภาพพื้นที่ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างเต็มที่ในการฟื้นฟู อนุรักษ์ และพัฒนา
พื้นที่ต้นน้ำและลุ่มน้ำ แหล่งกักเก็บน้ำ คูคลองส่งน้ำ คุณภาพน้ำ และชลประทานระบบท่อ รวมทั้ง
ควบคุมดูแลการใช้น้ำผิวดินและน้ำใต้ดินให้เกิดประสิทธิภาพและเป็นระบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ในโครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่
ส่วนที่ ๒ การพัฒนาตลาดในประเทศและการปฏิรูปชนบท
(๑) มุ่งพัฒนาการผลิตภาคชนบทและสร้างความเข้มแข็งแก่เศรษฐกิจชุมชน โดย
เชื่อมโยงการแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรกับโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ และจัดตั้ง
กองทุนหมู่บ้านแห่งละ ๑ ล้านบาท เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนระยะยาวสำหรับการลงทุน
และสร้างรายได้แก่ประชาชนในชนบท
(๒) พัฒนาระบบการตลาดสินค้าเกษตรสมัยใหม่ สนับสนุนการจัดตั้งยุ้งฉางลานตาก
ของกลุ่มเกษตรกรในชุมชน รวมทั้งส่งเสริมระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทางการเกษตร
และความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศด้านการตลาดสินค้าเกษตร เพื่อให้สามารถวางแผน
การผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(๓) ส่งเสริมการสหกรณ์ ธุรกิจชุมชน สถาบันเกษตรกร และองค์กรชุมชนให้เข้มแข็ง
และให้มีส่วนร่วมในการกำหนดและเสนอนโยบายและมาตรการด้านการเกษตร และการวิจัย
พัฒนาด้านการเกษตร
(๔) เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วยการส่งเสริมการวิจัยและการเรียนรู้จากภูมิปัญญาไทย
และวิทยาการสมัยใหม่
(๕) ส่งเสริมและสนับสนุนการทำการเกษตร รวมทั้งเกษตรอุตสาหกรรมให้เหมาะสม
กับสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และสอดคล้องความต้องการของตลาดและศักยภาพของประชาชน
ในพื้นที่
ส่วนที่ ๓ การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคเกษตรในตลาดโลก
(๑) ส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการแปรรูปผลผลิตการเกษตร และพัฒนาคุณภาพ
มาตรฐาน รูปแบบ และบรรจุภัณฑ์ของสินค้าเกษตรและเกษตรอุตสาหกรรม
(๒) ผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ รวมทั้งส่งเสริม
การจดทะเบียนสิทธิบัตรที่เกี่ยวกับการผลิตทางการเกษตรในทุกด้าน เพื่อรองรับการเปิดเสรีสินค้า
เกษตรในอนาคต
(๓) พัฒนาการตรวจสอบคุณภาพ มาตรฐาน และความปลอดภัยของสินค้าเกษตรทั้งการ
นำเข้าและส่งออก รวมทั้งสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อยกระดับผลผลิตทางการเกษตร
ให้มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน และเป็นที่ยอมรับในตลาดต่างประเทศ
(๔) ส่งเสริมการประมงชายฝั่งและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ รวมทั้งการทำประมงนอกน่านน้ำ
ด้วยการสร้างความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน การพัฒนากองเรือประมง อุตสาหกรรมห้องเย็น
และการแปรรูปสินค้าประมง รวมทั้งส่งเสริมการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรและระบบนิเวศน์ทางทะเล
๓.๒ ด้านอุตสาหกรรม
(๑) ปรับโครงสร้างการผลิตในภาคอุตสาหกรรมและการส่งเสริมการลงทุนให้สอดคล้อง
กับเป้าหมายและยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศ โดยคำนึงถึงทรัพยากรธรรมชาติ ทักษะฝีมือ
ภูมิปัญญาไทย ศักยภาพในการผลิตและการตลาด และการใช้วัตถุดิบภายในประเทศให้สมดุล
กับการพึ่งพาจากต่างประเทศ
(๒) เสริมสร้างให้มีการพัฒนาอุตสาหกรรมพื้นฐาน และเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
ที่จะก่อให้เกิดผลต่อเนื่องต่อการปรับโครงสร้างการผลิตภาคอุตสาหกรรม
(๓) พัฒนาบุคลากรและแรงงานภาคอุตสาหกรรมให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนา
อุตสาหกรรมในอนาคต สนับสนุนมาตรการเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าอุตสาหกรรม รวมทั้งส่งเสริมและ
พัฒนากระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานและไม่ก่อให้เกิดมลภาวะ โดยจัดการให้มีความโปร่งใส
และมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ
(๔) พัฒนาอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็กให้มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนา
ภาคอุตสาหกรรมของประเทศ โดยให้การสนับสนุนและส่งเสริมความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนา
ผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีระหว่างภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา รวมทั้งผลักดันให้เกิด
เครือข่ายสารสนเทศเกี่ยวกับปัจจัยการผลิตและการตลาด
(๕) ส่งเสริมบทบาทของสถาบันการเงิน รวมถึงสนับสนุนการจัดตั้งและการดำเนินงาน
ของกองทุนร่วมทุน ตลอดจนระบบการค้ำประกันสินเชื่อ เพื่อพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดกลาง
และขนาดเล็ก
(๖) สนับสนุนให้เกิดผู้ประกอบการใหม่ ๆ ในธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็ก
สำหรับเศรษฐกิจใหม่ที่ใช้ความรู้เป็นฐาน
๓.๓ ด้านการบริการและการท่องเที่ยว
การท่องเที่ยว คือ หนทางสำคัญของการนำรายได้กระแสเงินสดเข้าสู่ประเทศ ดังนั้น
รัฐบาลจึงมีนโยบายในการส่งเสริมคุณภาพและมาตรฐานของการบริการ เพิ่มความหลากหลาย
ของรูปแบบการให้บริการและการท่องเที่ยว และการยกระดับความสามารถในการแข่งขัน
ของภาคบริการและการท่องเที่ยว ดังนี้
๓.๓.๑ ด้านการพัฒนาภาคบริการ
(๑) ปรับปรุงและพัฒนาปัจจัยพื้นฐานอันจำเป็นต่อการเพิ่มประสิทธิภาพ
และส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของภาคบริการไทย ทั้งด้านการผลิตและพัฒนาบุคลากร
ภาคบริการ การพัฒนารูปแบบการให้บริการ และการพัฒนาเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐาน
(๒) จัดให้หน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องร่วมกันพัฒนายุทธศาสตร์
เพื่อให้มีการใช้ศักยภาพภาคบริการอย่างเต็มที่ ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นแหล่งสร้างรายได้เงินตรา
ต่างประเทศ และรายได้ท้องถิ่น อาทิ การท่องเที่ยว การศึกษา การรักษาพยาบาล การส่งเสริม
สุขภาพ การกีฬา และนันทนาการ
(๓) เร่งรัดพัฒนาผู้ประกอบการด้านบริการให้มีความรู้และทักษะ ทั้งด้าน
ภาษา มาตรฐานการบริการ และการจัดการ เพื่อสร้างความเข้มแข็งและทันต่อการเปลี่ยนแปลง
ของความตกลงระหว่างประเทศด้านการค้าบริการ
๓.๓.๒ ด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยว
(๑) เร่งฟื้นฟูระดับความสัมพันธ์และร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้ไทย
เป็นประตูทางผ่านหลักของการท่องเที่ยวในภูมิภาค ทั้งด้านการตลาด การขนส่ง การลงทุน
การบริหารจัดการ รวมถึงการขจัดอุปสรรคในการท่องเที่ยว
(๒) บริหารการท่องเที่ยวโดยใช้กลยุทธ์การตลาดเชิงรุก โดยสร้างกิจกรรม
ท่องเที่ยวทั้งระดับภายในประเทศและระหว่างประเทศ เชื่อมโยงกับวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดเล็ก
และธุรกิจชุมชน พัฒนาคุณภาพการบริการท่องเที่ยว และยกระดับประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลาง
การประชุม การสัมมนา และการแสดงสินค้าของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(๓) เร่งพัฒนา บูรณะ ฟื้นฟูมรดกและสินทรัพย์ทางวัฒนธรรม ทั้งในเขตเมือง
และนอกเมืองเพื่อให้เกิดการท่องเที่ยวใหม่ สร้างแหล่งจับจ่ายซื้อสินค้าของนักท่องเที่ยว โดย
จะส่งเสริมบทบาทเอกชนร่วมกับชุมชนในการรักษาแหล่งท่องเที่ยวและวิถีชีวิตให้อยู่ในสภาพเดิม
อย่างต่อเนื่อง
(๔) เพิ่มความหลากหลายของการท่องเที่ยวรูปแบบต่าง ๆ ทั้งการท่องเที่ยว
เชิงอนุรักษ์ การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ รวมทั้งการท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรม โดยส่งเสริมการพัฒนา
แหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ และให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวมากขึ้น ทั้งในรูปแบบ
การจัดสหกรณ์การท่องเที่ยว และการพัฒนาพื้นที่ชุมชนเป็นแหล่งท่องเที่ยว
(๕) เพิ่มมาตรการอำนวยความสะดวก สร้างความปลอดภัย และป้องกันการ
เอาเปรียบนักท่องเที่ยว รวมทั้งเร่งรัดการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของนักท่องเที่ยวอย่างจริงจัง
๔. นโยบายการพาณิชย์และเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
รัฐบาลมุ่งมั่นที่จะยกระดับนโยบายด้านการค้าต่างประเทศจากการเน้นเพียงเร่งรัด
การส่งออกในทุกระดับสู่การพัฒนาเครือข่ายการตลาดเข้าสู่ระดับโลก และสามารถตอบสนอง
ความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างทันการณ์ เพื่อให้เศรษฐกิจไทยผนึกและสอดรับ
เป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจโลกอันเข้มแข็งในโลกยุคไร้พรมแดน โดยมีแนวทางดังนี้
๔.๑ ด้านการพาณิชย์
(๑) สนับสนุนและผลักดันให้ภาคเอกชนยกระดับความพร้อมในการเผชิญการแข่งขัน
เสรีในเวทีการค้าระหว่างประเทศ โดยใช้แนวคิดการตลาดสมัยใหม่ การพัฒนาองค์กรและบุคลากร
การพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสาร การวางแผนและพัฒนาการผลิตให้ตรงกับความต้องการของตลาด
และสามารถเชื่อมโยงเครือข่ายการผลิตและการจำหน่ายให้ได้ประโยชน์สูงสุดในเชิงต้นทุนและ
การตลาด ตลอดจนการเตรียมความพร้อมในเชิงของทักษะ เทคโนโลยี และวิทยาการที่จำเป็น
ในการแข่งขันระดับโลก
(๒) พัฒนาและส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการค้าสินค้าและบริการ
ในภูมิภาค และเป็นศูนย์กลางการแสดงสินค้าระหว่างประเทศ
(๓) ส่งเสริมการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อสร้างโอกาสแก่ผู้ประกอบการในการเข้าสู่
ตลาดโลก โดยเร่งผลักดันมาตรการและกฎหมายที่จำเป็นต่อการประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
(๔) เร่งปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารราชการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เพื่อให้สามารถปฏิบัติภารกิจในการสนับสนุนและส่งเสริม
การส่งออกทั้งในด้านการตลาด และข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนช่วยแก้ไขอุปสรรคการค้าในต่างประเทศ
๔.๒ ด้านการค้าสินค้าและบริการ
(๑) ส่งเสริมให้กิจการของไทยสามารถครอบครองเทคโนโลยีและทรัพย์สินทางปัญญา
ที่มาจากแหล่งอื่น แล้วนำมาพัฒนาสร้างมูลค่าเพิ่มให้สามารถทำการผลิตที่มีความหลากหลายกว่า
ของเดิม และส่งเสริมการจัดตั้งกองทุนเพื่อเปิดโอกาสให้นักคิดและผู้ประกอบการไทย
พัฒนาภูมิปัญญาไทยเข้าสู่ระบบการคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของคนไทย
(๒) ส่งเสริมให้ธุรกิจค้าปลีกขนาดกลางและขนาดเล็กสามารถดำรงอยู่ และปรับตัวรองรับ
การแข่งขันการเปิดเสรีด้านการค้าบริการได้
(๓) กำหนดมาตรการให้ธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่ที่จะเกิดขึ้นใหม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบ
เทศบัญญัติที่ว่าด้วยการแบ่งเขตสถานที่ของธุรกิจค้าปลีกในอนาคต
(๔) จะส่งเสริมและพัฒนาบทบาทขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค
ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย และกำหนดมาตรการต่าง ๆ ในการคุ้มครอง
ผู้บริโภค เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้บริโภคและยกระดับผลผลิตและบริการของประเทศ
๔.๓ ด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
(๑) สนับสนุนการค้าเสรีในการค้าระหว่างประเทศ โดยคำนึงถึงระดับความพร้อม
และผลประโยชน์ของประเทศและผู้ประกอบการภายในประเทศ รวมทั้งผลักดันการแก้ไขปรับปรุง
กฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อภาคเอกชนไทยในการแข่งขันทางการค้าระหว่างประเทศ
(๒) เน้นบทบาทเชิงรุกในเวทีการค้าและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ รวมทั้งผลักดัน
ให้เกิดการเจรจาในเวทีระหว่างประเทศ ซึ่งวางอยู่บนพื้นฐานของความเป็นธรรมและคำนึง
ถึงผลประโยชน์และข้อจำกัดของประเทศกำลังพัฒนา
(๓) สนับสนุนและผลักดันนโยบายการค้าเสรีของเขตการค้าเสรีอาเซียน รวมทั้งส่งเสริม
การค้า การลงทุนกับประเทศเพื่อนบ้าน และการค้าชายแดน และการพัฒนาไปสู่ฐานการผลิต
สินค้าหรือการให้บริการร่วมกันในภูมิภาค
(๔) ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูล
ด้านการค้าและการลงทุน และวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎข้อบังคับทางการค้า
และการลงทุนระหว่างประเทศ เพื่อประโยชน์ต่อการกำหนดทิศทางและยุทธศาสตร์ของนโยบาย
ต่างประเทศ รวมทั้งการเจรจาการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ
๕. นโยบายด้านการคมนาคม
(๑) ส่งเสริมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายคมนาคม ขนส่ง และสื่อสาร
บนพื้นฐานของการเกื้อหนุนการผลิต การสร้างงานและสร้างรายได้
(๒) พัฒนาระบบสื่อสารโทรคมนาคมให้ทันสมัยและทั่วถึง เพื่อประโยชน์ในการ
รับและส่งสารสนเทศและความรู้ไปสู่ประชาชน เชื่อมโยงกับต่างประเทศ และรองรับต่อการ
เปิดเสรีในธุรกิจโทรคมนาคม
(๓) ปรับปรุงและพัฒนาระบบขนส่งมวลชนและเครือข่ายการคมนาคมภายในประเทศ
ให้เชื่อมต่อกันอย่างมีประสิทธิภาพ สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย
(๔) ส่งเสริมความร่วมมือในการสร้างเครือข่ายคมนาคมขนส่งเชื่อมโยงกับประเทศ
เพื่อนบ้าน เพื่อเป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางบกในภูมิภาค พัฒนาเศรษฐกิจ และยกระดับคุณภาพ
ชีวิตของประชาชน
(๕) ส่งเสริมการพัฒนาการพาณิชย์นาวีให้เป็นระบบอย่างจริงจัง เพื่อสนับสนุนภาค
การส่งออกของประเทศ โดยส่งเสริมการพัฒนากองเรือไทยและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องให้เข้มแข็ง
การก่อสร้างและบริหารจัดการท่าเรือน้ำลึกให้เพียงพอและได้มาตรฐาน
(๖) สร้างความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อการคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ
และความปลอดภัยของการเดินเรือทั้งทางน้ำและทางทะเลในประเทศเพื่อนบ้าน
(๗) พัฒนาคุณภาพและปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการขนส่งทางอากาศ
เพื่อรองรับความต้องการของผู้ใช้บริการ การส่งเสริมการท่องเที่ยว และการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ตลอดจนผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศในภูมิภาค
๖. นโยบายการพัฒนาแรงงาน
ด้วยตระหนักว่า ทรัพยากรมนุษย์เป็นหัวใจสำคัญในระบบการผลิตและระบบเศรษฐกิจ
แผนใหม่ รัฐบาลจึงกำหนดแนวทางการพัฒนาและยกระดับแรงงาน ดังนี้
(๑) ส่งเสริมให้เอกชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาทักษะและฝีมือแรงงาน เพื่อเพิ่ม
คุณภาพแรงงานและยกระดับมาตรฐานฝีมือแรงงาน โดยรัฐบาลจะสนับสนุนมาตรการด้านการเงิน
และการคลัง เพื่อให้การพัฒนาทักษะและฝีมือแรงงานสามารถตอบสนองความต้องการของวิสาหกิจ
ในแต่ละชุมชนได้อย่างเหมาะสม และให้แรงงานได้รับค่าตอบแทนที่เป็นธรรม เพื่อลดปัญหาการ
ว่างงาน และการอพยพเข้ามาทำงานในเมือง รวมทั้งยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในแต่ละ
ท้องถิ่นให้ดียิ่งขึ้น
(๒) ส่งเสริมมาตรการด้านการประกันสังคม ขยายขอบข่ายการให้สวัสดิการด้าน
แรงงาน เพื่อให้มีการคุ้มครองแรงงานทั้งในระบบและนอกระบบอย่างเหมาะสม และให้มีระบบ
การคุ้มครองสุขภาพ ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมในสถานประกอบการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
การให้ความคุ้มครองแรงงานเด็กและสตรี
(๓) ส่งเสริมให้เกิดระบบแรงงานสัมพันธ์ที่เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา พัฒนา และคุ้มครองแรงงานอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรม
(๔) คุ้มครองแรงงานไทยในต่างประเทศไม่ให้ถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายหน้า
จัดหางานและนายจ้าง
(๕) กำหนดมาตรการที่เหมาะสมสำหรับแรงงานต่างด้าว โดยคำนึงถึงความต้องการ
แรงงานของภาคเอกชนและการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่งคงภายใน รวมทั้งส่งเสริม
การพัฒนาแรงงานไทยขึ้นทดแทน
๗. นโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
รัฐบาลตระหนักว่าการกอบกู้ภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยให้กลับฟื้นตัวนั้น
จำเป็นต้องพึ่งพาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อพัฒนาภาคการผลิตและบริการ
ด้วยนโยบายดังนี้
(๑) เร่งพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในทุกระดับให้มีความ
เพียงพอทั้งปริมาณและคุณภาพ เพื่อตอบสนองต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และเตรียม
ประเทศเข้าสู่เศรษฐกิจใหม่
(๒) ส่งเสริมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในด้านการวิจัยและการพัฒนา
โดยให้การสนับสนุนแก่หน่วยงานของภาครัฐและเอกชน เพื่อให้เอื้อประโยชน์ต่อการบริหาร
จัดการและการผลิตของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก การนำไปใช้เป็นประโยชน์ในการ
แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการคัดเลือกทักษะที่เหมาะสมกับศักยภาพ
ความเชี่ยวชาญและความชำนาญของคนไทย ทั้งนี้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตเพื่อการ
ส่งออกและการบริโภคภายในประเทศ ทั้งในด้านอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม
(๓) ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสำหรับการบริหารและการจัดการสมัยใหม่ เพื่อให้
ตอบสนองต่อความต้องการในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยเฉพาะการใช
้เทคโนโลยีสารสนเทศ การเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสม ต้นทุนต่ำ สามารถพัฒนาและขยาย
ได้อย่างยั่งยืน
(๔) แก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เอื้อประโยชน์
ต่อการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และให้ความคุ้มครองต่อสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา
๘. นโยบายด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
รัฐบาลมีนโยบายในการฟื้นฟูสภาพและคุณภาพ การป้องกันการเสื่อมโทรมหรือ
การสูญสิ้นไป และการนำกลับมาใช้ใหม่ซึ่งทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ
ให้เอื้อต่อการดำรงชีวิต เกิดความสมดุลในการพัฒนา และเป็นรากฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมของประเทศอย่างยั่งยืน ดังนี้
(๑) บริหารและจัดการสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และความหลากหลาย
ทางชีวภาพแบบบูรณาการโดยยึดหลักธรรมาภิบาลและการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชน
ท้องถิ่นดั้งเดิม
(๒) ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชนในการควบคุมและ
กำจัดมลภาวะที่มีผลต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ และคุณภาพชีวิตของประชาชน
(๓) สนับสนุนให้นำต้นทุนทางสังคมมาพิจารณาในการศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ในกรณีการดำเนินโครงการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ และผลักดัน
การนำหลักการผู้ก่อมลภาวะเป็นผู้จ่ายและระบบกรรมสิทธิ์ร่วมมาใช้ในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม
และทรัพยากรธรรมชาติ
(๔) สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของไทย
สำหรับการแสวงหา การบริหารจัดการ การอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม และการใช้ประโยชน์
จากทรัพยากรธรรมชาติทุกแหล่ง รวมถึงการนำสิ่งของหรือเศษวัสดุเหลือใช้กลับมาใช้ใหม่
(๕) กำหนดมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศ โดยคำนึงถึงความเหมาะสม
และสอดคล้องกับระดับของการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์ เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ
ควบคู่ไปกับมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศ
(๖) สร้างมาตรการในการควบคุมการนำเข้าสารเคมี สารพิษ และวัตถุอันตราย
โดยยึดถือมาตรฐานสากลของประเทศที่พัฒนาแล้ว เพื่อไม่ให้ประเทศไทยเป็นสถานที่
ทดลองหรือจำหน่ายสารและวัตถุอันตรายที่ต่ำกว่ามาตรฐานของประเทศผู้จำหน่าย
๙. นโยบายการพลังงาน
รัฐบาลมีนโยบายในการอนุรักษ์ พัฒนา และส่งเสริมการใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพ
สมดุลกับสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติภายในประเทศ และลดการพึ่งพาแหล่งพลังงาน
จากต่างประเทศ ดังนี้
(๑) ส่งเสริมการใช้พลังงานแบบผสมผสาน โดยสนับสนุนให้มีการพัฒนาการใช้
ประโยชน์จากก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นทรัพยากรภายในประเทศ ให้เป็นแหล่งพลังงานหลัก
ของประเทศอย่างจริงจัง
(๒) ส่งเสริมการจัดหาและการใช้พลังงานทดแทนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเร่งสำรวจ
พัฒนา และจัดหาแหล่งพลังงานทดแทน รวมทั้งสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีแนวใหม่
เพื่อการประหยัดพลังงาน
(๓) มุ่งเน้นการจัดการด้านพลังงานเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของ
ภาคการผลิต และสร้างเสถียรภาพด้านราคาของพลังงาน โดยดำเนินมาตรการการเงิน การคลัง
และแนวทางการบริหารจัดการที่เหมาะสม
๑๐. นโยบายเสริมสร้างสังคมเข้มแข็ง
รัฐบาลจะพัฒนาคน ให้สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา รวมทั้งเสริมสร้าง
สังคมให้เข้มแข็งและยั่งยืน เพื่อให้ประเทศไทย เป็นสังคมคุณภาพ สังคมคุณธรรม และสังคมที่สมดุล
๑๐.๑ ด้านสาธารณสุขและสุขภาพ
รัฐบาลมุ่งมั่นที่จะสร้างระบบบริการและคุ้มครองสุขภาพ เพื่อให้ประชาชนชาวไทย
มีสุขภาพดีถ้วนหน้า โดยจะดำเนินการปฏิรูประบบสุขภาพ เพื่อลดรายจ่ายโดยรวมด้านสาธารณสุข
ของประเทศ และลดค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสุขภาพของประชาชน พร้อมทั้งสร้างหลักประกัน
และโอกาสในการเข้าถึงบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ได้มาตรฐานอย่างทั่วถึงและ
เท่าเทียมกัน ดังนี้
(๑) จัดตั้งกองทุนประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยการตรากฎหมายว่าด้วย
การประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการใช้งบประมาณของรัฐด้านสุขภาพ
และลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนในการเข้าถึงบริการสุขภาพ
(๒) ส่งเสริมการผลิต พัฒนา และกระจายกำลังคนและสถานบริการด้านสุขภาพให้มี
จำนวนและคุณภาพเพียงพอกับความต้องการของประเทศ รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาการจัดระบบ
ความรู้และสร้างมาตรฐานด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือกอื่น ๆ และสมุนไพร
เพื่อนำไปใช้ในระบบบริการสุขภาพอย่างมีคุณภาพและปลอดภัย
(๓) จัดระบบการป้องกันและขจัดโรคติดต่ออันตราย การป้องกันอุบัติเหตุและอุบัติภัย
การควบคุมการเพิ่มจำนวนผู้ป่วยโรคเอดส์และดูแลผู้ป่วยโรคเอดส์อย่างเหมาะสม พร้อมกับ
สนับสนุนการสร้างและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านสุขภาพ เร่งรัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การกีฬา
และสนับสนุนให้เกิดองค์กรเครือข่ายควบคุมป้องกันโรคในทุกระดับ
๑๐.๒ ด้านการกีฬา
(๑) ส่งเสริมกิจกรรมกีฬาระดับชุมชนและโรงเรียน เพื่อส่งเสริมสุขภาพ และเป็น
จุดเริ่มต้นของการพัฒนาสู่กีฬากึ่งอาชีพและกีฬาอาชีพ โดยสนับสนุนบทบาทของภาคเอกชน
ให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาการกีฬา
(๒) ส่งเสริมและสนับสนุนการแข่งขันกีฬาระดับประเทศและระดับนานาชาติอย่าง
เป็นระบบ เพื่อสร้างเกียรติภูมิแก่ประเทศ และความภูมิใจของประชาชน ตลอดจนส่งเสริมและ
ปลูกฝังค่านิยมที่ดีต่อการกีฬา
๑๐.๓ ด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
รัฐบาลจะเร่งรัดดำเนินการเพื่อให้การป้องกันและปราบปรามยาเสพติดภายใต้
นโยบายระยะเร่งด่วน โดยหลัก การป้องกันนำหน้าการปราบปราม ผู้เสพต้องได้รับการรักษา
ผู้ค้าต้องได้รับการลงโทษโดยเด็ดขาด ดังนี้
(๑) เข้มงวดกับการบังคับใช้กฎหมาย และสร้างกระบวนการพิเศษ เพื่อควบคุม
และปราบปรามผู้ค้าและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตและการค้ายาเสพติดอย่างเด็ดขาด
รวดเร็ว และเป็นธรรม พร้อมทั้งแก้ไขกฎหมายเพื่อเพิ่มบทลงโทษสูงสุดกับข้าราชการการเมือง
และเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และให้รางวัลและการคุ้มครองเป็นพิเศษแก่เจ้าหน้าที่
ของรัฐและประชาชนที่ให้ความร่วมมือในการปราบปรามยาเสพติด
(๒) ควบคุมการนำเข้าสารเคมีที่อาจนำไปสู่การผลิตยาเสพติดอย่างเข้มงวด และ
เสริมสร้างกลไกของภาครัฐและมาตรการทางกฎหมาย ให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี
ในการผลิตยาเสพติด
(๓) สร้างความร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศและนานาประเทศ เพื่อควบคุมและ
กำจัดแหล่งผลิตและเครือข่ายการจำหน่ายยาเสพติดข้ามชาติ
(๔) แก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการเข้ารับการบำบัดรักษา และการฟื้นฟู
สภาพร่างกายและจิตใจของผู้เสพยาเสพติด โดยให้ผู้ติดยาเสพติดสามารถเข้ารับการบำบัดและฟื้นฟู
สภาพได้ทันที โดยไม่มีความผิดทางกฎหมาย พร้อมกันนี้ รัฐบาลจะจัดให้มีระบบการบริการบำบัด
และฟื้นฟู การฝึกอบรมด้านอาชีพ และการปรับสภาพแวดล้อมให้แก่ผู้เสพยาเสพติดอย่างทั่วถึง
เพื่อให้ผู้เสพสามารถกลับเข้าสู่สังคมได้อย่างปกติสุข
๑๐.๔ ด้านครอบครัว เด็ก เยาวชน สตรี และผู้สูงอายุ
รัฐบาลมีนโยบายในการสร้างครอบครัวให้อบอุ่นและเข้มแข็ง เป็นหน่วยพื้นฐานในการ
ฟื้นฟูเศรษฐกิจ และเป็นภูมิคุ้มกันจากปัญหาสังคมแก่สมาชิกทุกวัยในครอบครัว ดังนี้
(๑) จัดตั้งศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของบุคลากรในชุมชน
เพื่อให้คำปรึกษาและบริการต่าง ๆ เกี่ยวกับครอบครัว ทั้งด้านสุขภาพ และการวางแผนและแก้ไข
ปัญหาครอบครัว
(๒) สนับสนุนให้มีศูนย์เลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียนที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานในชุมชน
และสถานประกอบการ
(๓) แก้ไขปรับปรุงกฎหมายและบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกัน ปราบปราม
และลงโทษอย่างจริงจังต่อผู้กระทำผิดที่ละเมิดสิทธิเด็กและกระทำทารุณกรรมต่อเด็กในทุกด้าน
(๔) มุ่งส่งเสริมสิทธิ สถานภาพและบทบาทของสตรี การพัฒนาศักยภาพของสตรี
ให้สามารถมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ในการพัฒนาชุมชนและประเทศทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม
และการเมือง รวมทั้งส่งเสริมความเท่าเทียมกันของสตรีในการรับราชการ
(๕) ยกย่องและให้หลักประกันแก่ผู้สูงอายุ โดยการสร้างโครงข่ายความปลอดภัย
ทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุ พัฒนาบริการสุขภาพอนามัย รวมทั้งนำประสบการณ์และภูมิปัญญา
ของผู้สูงอายุมาช่วยในการพัฒนาสังคม
๑๐.๕ ด้านการส่งเสริมผู้ด้อยโอกาส
(๑) ให้การสงเคราะห์และสนับสนุนการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมแก่ผู้ยากไร้ ผู้พิการ
หรือทุพพลภาพ และผู้ด้อยโอกาสให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและสามารถพึ่งพาตนเองได้
(๒) สนับสนุนองค์กรสาธารณกุศลเพื่อการบรรเทาสาธารณภัยและสงเคราะห์
ผู้ประสบภัยในระดับชาติและในระดับชุมชน
(๓) จัดระบบการศึกษาและการฝึกอาชีพที่สอดคล้องกับระดับและลักษณะของ
ความพิการหรือทุพพลภาพ รวมทั้งพัฒนาสื่อการเรียนการสอน การเสริมทักษะพิเศษเฉพาะด้าน
และการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ
๑๑. นโยบายการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
๑๑.๑ ด้านการศึกษา
รัฐบาลจะปฏิรูปการศึกษาตามเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติ
การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ เพื่อพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งความรู้ อันเป็นเงื่อนไข
ไปสู่ระบบเศรษฐกิจฐานความรู้ ให้คนไทยทั้งปวงได้รับโอกาสเท่าเทียมกันที่จะเรียนรู้และฝึกอบรม
ได้ตลอดชีวิต และมีปัญญาเป็นทุนไว้สร้างงานและสร้างรายได้ และนำประเทศให้รอดพ้นจากวิกฤต
เศรษฐกิจและสังคม โดยยึดหลัก การศึกษาสร้างชาติ สร้างคน และสร้างงาน ดังนี้
(๑) เร่งจัดให้มีระบบและโครงสร้างทางการศึกษาที่มีคุณภาพ เป็นประโยชน์ต่อ
ประชาชนทั้งปวงอย่างแท้จริง
(๒) เน้นคุณภาพ ประสิทธิภาพ และความเที่ยงธรรมในการบริหารจัดการศึกษา
ทุกประเภท และทุกระดับ ตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงอุดมศึกษา
(๓) พัฒนาระบบเทคโนโลยีทางการศึกษาและเครือข่ายสารสนเทศ เพื่อเพิ่มและ
กระจายโอกาสทางการศึกษา ให้คนไทยทั้งในเมืองและชนบท
(๔) จัดให้มีวิทยาลัยชุมชน โดยเฉพาะในจังหวัดที่ยังขาดแคลนสถาบันอุดมศึกษา
(๕) ส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกฝ่ายร่วมรับผิดชอบการจัดการศึกษาและฝึกอบรม
โดยรัฐเป็นผู้วางระบบ นโยบาย กำกับคุณภาพมาตรฐาน สนับสนุนและระดมทรัพยากร เตรียม
ความพร้อมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน เครือข่ายครอบครัว และอื่น ๆ รวมทั้งการจัดการ
ศึกษาเพื่อคนพิการหรือทุพพลภาพ และผู้ด้อยโอกาส
(๖) สนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์การศึกษาในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน
(๗) ส่งเสริมให้เกิดบูรณาการทางการศึกษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและกีฬา
ในการให้การศึกษาอบรมแก่เด็กและเยาวชน
(๘) ปฏิรูปการเรียนรู้ โดยยึดหลักผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หลักการเรียนรู้ด้วยตนเอง
และหลักการเรียนรู้ตลอดชีวิต เน้นพลังความคิดสร้างสรรค์ การสร้างนิสัยรักการอ่าน การจัดให้ม
ีห้องสมุด ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน และสื่อการเรียนรู้ประเภทต่าง ๆ อย่างทั่วถึง
(๙) ส่งเสริมวิชาชีพครูให้มีศักดิ์ศรี เป็นที่ยอมรับนับถือ และไว้วางใจจากสาธารณชน
รวมทั้งพัฒนาและผลิตครูที่มีคุณภาพและคุณธรรม
(๑๐) ปรับปรุงหลักสูตรการศึกษา เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีวินัย รักงาน และทำงานเป็น
(๑๑) ให้โอกาสแก่ผู้สำเร็จการศึกษาภาคบังคับหรือมัธยมปลาย ผู้ว่างงาน และผู้สูงอายุ
ได้ฝึกงานอาชีพอย่างน้อย ๑ อาชีพ พร้อมทั้งส่งเสริมให้เป็นผู้ประกอบการอิสระได้
(๑๒) ปฏิรูปการอาชีวศึกษาให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น และพัฒนาถึงระดับปริญญาตรี
เพื่อตอบสนองต่อภาคเกษตร อุตสาหกรรมและภาคบริการ รวมทั้งสนับสนุนให้ผู้เรียนได้เข้าฝึกทักษะ
ในสถานประกอบการ
๑๑.๒ ด้านการศาสนา
(๑) ส่งเสริมและสนับสนุนศาสนศึกษาและศาสนทายาทเพื่อเผยแพร่ศาสนธรรม
รวมทั้งสนับสนุนให้มีการพัฒนาศาสนสถานให้สะอาด ร่มเย็น สงบสุข เพื่อให้เป็นประโยชน์
ด้านจิตใจต่อชุมชน
(๒) สนับสนุนให้เด็กและเยาวชนได้ศึกษาศาสนธรรม และร่วมประกอบพิธีกรรม
ทางศาสนามากขึ้น โดยเฉพาะกับสมาชิกในครอบครัว
(๓) เอื้อให้ศาสนิกชนต่างศาสนาร่วมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ต่อส่วนรวม
เพื่อความสมานฉันท์และเพื่อสันติธรรมในสังคม
๑๑.๓ ด้านวัฒนธรรม
(๑) ส่งเสริมให้นักเรียน นักศึกษา ได้สืบค้นและศึกษาเรื่องราวของมรดก
ศิลปวัฒนธรรมไทย เพื่อการอนุรักษ์ เผยแพร่ และสืบสานศิลปวัฒนธรรมไทย
(๒) พัฒนาแหล่งวัฒนธรรม ศิลปวัตถุ และโบราณสถาน ให้เป็นแหล่งเรียนรู้
และแหล่งรายได้ของประชาชน
(๓) ประสานให้ประชาชนและเยาวชนมีบทบาทและกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรม
ร่วมกับสถานศึกษา ครอบครัว และชุมชน
(๔) สนับสนุนให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิดชูและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทย
อย่างสมศักดิ์ศรีและสร้างสรรค์
๑๒. นโยบายความมั่นคงแห่งรัฐ
การรักษาไว้ซึ่งความมั่นคงและผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประเทศ นอกจาก
จะขึ้นอยู่กับการมีนโยบายเศรษฐกิจที่ถูกต้องแล้ว ยังต้องพึ่งพาหน่วยงานด้านความมั่นคง
ของประเทศเป็นกลไกสำคัญ ดังนี้
(๑) พัฒนาระบบการป้องกันประเทศให้มีขีดความสามารถในการป้องกันตนเอง
และรักษาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยการเสริมสร้างความสมานฉันท์ของประชาชน
เพื่อร่วมพัฒนาระบบการป้องกันประเทศตามแนวทางการรักษาความมั่นคงสมบูรณ์แบบ รวมทั้ง
สนับสนุนภารกิจในการรักษาสันติภาพในภูมิภาคภายใต้กรอบขององค์การสหประชาชาติ
(๒) พัฒนาความพร้อมของกองทัพ ตลอดจนปรับปรุงโครงสร้างและระบบการบริหาร
จัดการของกระทรวงกลาโหมและกองทัพ เพื่อให้กองทัพมีความพร้อมในการรักษาไว้ซึ่งอธิปไตย
และผลประโยชน์ของประเทศ
(๓) สนับสนุนบทบาทของกองทัพในการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโครงการ
อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชน ให้การช่วยเหลือ
ประชาชนที่ประสบสาธารณภัย และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และป้องกันการทำลาย
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(๔) สนับสนุนกองทัพในการให้ความร่วมมือกับส่วนราชการ องค์กร และประชาชน
เพื่อการแก้ไขปัญหายาเสพติดให้บรรลุผลอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งให้การสนับสนุนการบำบัดรักษา
ผู้ติดยาเสพติด
(๕) สนับสนุนให้กองทัพมีส่วนร่วมกับภาครัฐในการดูแลสุขภาพอนามัย การศึกษา
และการฝึกอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่กำลังพลและสมาชิกในครอบครัว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ทหารผ่านศึกและครอบครัวทหารผ่านศึกซึ่งต้องพิการ ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิตในการปฏิบัติหน้าที่
๑๓. นโยบายด้านการต่างประเทศ
(๑) มุ่งดำเนินนโยบายการต่างประเทศโดยเน้นการทูตเชิงรุกด้านเศรษฐกิจ
ประกอบกับการทูตในด้านต่าง ๆ เพื่อฟื้นฟูและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รวมทั้งแสวงหา
ความร่วมมือระหว่างประเทศในทุกด้าน
(๒) ยึดหลักการดำเนินงานด้านความมั่นคง การพัฒนา และการสร้างสันติภาพ
ระหว่างประเทศเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมภายใต้กรอบแห่งสหประชาชาติและองค์กรระหว่าง
ประเทศที่เกี่ยวข้องซึ่งประเทศไทยเป็นสมาชิก
(๓) เพิ่มบทบาทเชิงรุกในสังคมระหว่างประเทศ โดยริเริ่มการขยายความร่วมมือ
และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในกลุ่มประเทศอาเซียนไปยังภูมิภาคเอเชียตะวันออก เอเชียใต้
และภูมิภาคอื่น ๆ ให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น รวมทั้งจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการประสานให้เกิด
ความร่วมมือเพื่อดำรงสันติภาพและระงับความขัดแย้งระหว่างประเทศในภูมิภาค
(๔) ส่งเสริม รักษา และคุ้มครองสิทธิและผลประโยชน์ของประเทศ รวมทั้งของภาค
เอกชนไทย แรงงานไทย และคนไทยในต่างประเทศ
(๕) ฟื้นฟูและกระชับความสัมพันธ์และความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศไทย
กับประเทศเพื่อนบ้านและประเทศในภูมิภาคเอเชียอย่างเร่งด่วน ด้วยการสานต่อหรือริเริ่มความ
สัมพันธ์และความร่วมมือเพื่อการพัฒนาในทุกด้าน ทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี เพื่อนำมาซึ่งความ
เข้าใจอันดีระหว่างกันในการแก้ไขปัญหาและการแสวงหาผลประโยชน์ร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ จริงใจ
และโดยสันติวิธี
๑๔. นโยบายความปลอดภัยของประชาชน
(๑) ดูแลให้ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน โดยมุ่งเน้นมาตรการ
ทั้งการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทุกประเภท พร้อมทั้งจัดระบบป้องกันสาธารณภัย
และอุบัติภัยอย่างมีประสิทธิภาพ ทั่วถึงและทันท่วงที
(๒) สนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมและสาธารณภัย
ในชุมชนและท้องถิ่นของตนเอง
๑๕. นโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน
รัฐบาลมีนโยบายที่จะพัฒนาการเมืองของประเทศไปสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตย
แบบมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถปกครองตนเองและพิทักษ์
สิทธิของตนได้เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งจะมุ่งเพิ่มประสิทธิภาพ สร้างความโปร่งใส และขจัดการทุจริต
ในการบริหารราชการแผ่นดินและการให้บริการประชาชน ทั้งนี้ เพื่อสร้างความเป็นธรรมในสังคม
และเอื้อต่อการพัฒนาประเทศทั้งในปัจจุบันและอนาคต ดังนี้
๑๕.๑ ด้านการปฏิรูปการเมือง
(๑) เร่งรัดการตราและแก้ไขปรับปรุงกฎหมายให้เป็นไปตามบทบัญญัติของ
รัฐธรรมนูญ เพื่อให้ประชาชนได้รับการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง
โดยกำหนดขั้นตอนระยะเวลา และหน่วยงานที่รับผิดชอบอย่างชัดเจน รวมทั้งจัดให้มีการรับฟัง
ความคิดเห็นจากภาครัฐและประชาชนเกี่ยวกับการปฏิรูปการเมือง และการจัดทำแผนพัฒนา
การเมือง
(๒) ส่งเสริมให้ใช้หลักสิทธิมนุษยชนในการบริหารราชการ และสนับสนุนให้มี
การเรียนรู้ด้านสิทธิมนุษยชนและหน้าที่พลเมืองในสถานศึกษา
(๓) สนับสนุนการทำงานขององค์กรอิสระต่าง ๆ ตามรัฐธรรมนูญ เพื่อให้สามารถ
ทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และถูกตรวจสอบได้
(๔) ส่งเสริมและสนับสนุนการรวมกลุ่มของประชาชนขึ้นเป็นองค์กรประชาชน
ในรูปแบบต่าง ๆ และส่งเสริมให้องค์กรประชาชนสามารถมีกิจกรรมทางการเมือง รวมทั้งมี
ส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นและประเมินผลในโครงการสำคัญที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและ
เศรษฐกิจ การตรวจสอบการทำงานภาครัฐ และการมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายสำคัญ
(๕) ส่งเสริมให้ประชาชนและองค์กรประชาชนของไทยมีความร่วมมืออันดี
กับประชาชนและองค์กรประชาชนในประเทศต่าง ๆ เพื่อเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์
เชิงสร้างสรรค์ระหว่างประเทศและระหว่างประชาชน
๑๕.๒ ด้านการบริหารราชการ
(๑) ปฏิรูประบบราชการให้มีประสิทธิภาพและมีโครงสร้างที่กระชับ เหมาะสมกับ
สถานการณ์ในปัจจุบัน และสามารถตอบสนองต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
พร้อมทั้งเร่งตรากฎหมายเพื่อปรับโครงสร้างกระทรวง ทบวง กรม เพื่อให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง
ในกระแสโลก และสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม
(๒) ปรับปรุงบทบาทของภาครัฐจากผู้ปฏิบัติและควบคุมมาเป็นผู้สนับสนุน
และอำนวยความสะดวก และให้การสนับสนุนการดำเนินงานของภาคเอกชนและประชาชน
โดยส่งเสริมให้ภาคเอกชนและประชาชนสามารถมีส่วนร่วมอย่างสำคัญในการปฏิรูประบบราชการ
เพื่อวางแนวทางดำเนินการให้ชัดเจนและต่อเนื่อง
(๓) ปรับกระบวนการบริหารราชการโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้ประชาชน
ได้รับบริการข้อมูลข่าวสารอย่างกว้างขวาง รวดเร็ว และเท่าเทียมกัน พร้อมกันนี้จะปรับปรุง
พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน
อย่างแท้จริง
(๔) เร่งพัฒนาคุณภาพของข้าราชการ ให้มีทัศนคติที่เอื้อต่องานบริการประชาชน
รวมทั้งทบทวนกฎหมาย ระเบียบ ขั้นตอน และวิธีปฏิบัติงาน เพื่อให้การบริหารราชการมีความยืดหยุ่น
มีประสิทธิผล โปร่งใส ตรวจสอบได้ และมีการประเมินผลที่เป็นระบบและเป็นธรรม
(๕) เร่งรัดการปรับเปลี่ยนกระบวนจัดทำและจัดสรรงบประมาณ ให้เป็นเครื่องมือ
ในการจัดสรรทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศ
และส่งเสริมให้กระทรวง ทบวง กรมมีบทบาทในการตัดสินใจมากขึ้น พร้อมทั้งจัดให้มีระบบ
ควบคุมตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพและโปร่งใส
๑๕.๓ ด้านการกระจายอำนาจ
(๑) ให้ความสำคัญกับการจัดเก็บรายได้ของท้องถิ่น และการกระจายอำนาจ
ทางการคลังลงสู่ท้องถิ่น เพื่อให้ท้องถิ่นสามารถจัดการบริหารงบประมาณของตนเองได้อย่างอิสระ
มากขึ้น โดยคำนึงถึงความจำเป็นและความเหมาะสมในการพัฒนาท้องถิ่น
(๒) ส่งเสริมการกระจายอำนาจการปกครองจากส่วนกลางลงสู่ท้องถิ่นให้มีความ
ชัดเจน เหมาะสมตามขั้นตอนของการกระจายอำนาจ ในขณะเดียวกัน จะเสริมสร้างและพัฒนา
ศักยภาพของการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้สอดคล้องกับ
ภารกิจของแต่ละท้องถิ่น รวมถึงการมีอิสระในการจัดการด้านงบประมาณของท้องถิ่น การแสวงหา
รายได้ และการจัดการทรัพย์สินของท้องถิ่น
(๓) ส่งเสริมให้ประชาชน ภาคประชาสังคม และองค์กรเอกชนมีส่วนร่วมในการ
ปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งจัดให้มีการตรวจสอบ และประเมินผลการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
ตั้งแต่กระบวนการตัดสินใจ การกำหนดนโยบาย การจัดซื้อจัดจ้าง และการแต่งตั้งถอดถอนผู้ดำรง
ตำแหน่ง เพื่อความโปร่งใส มีประสิทธิภาพ และตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น
ตลอดจนเร่งส่งเสริมความเข้าใจในบทบาทและการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อประสาน
ให้การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นเกิดประสิทธิผล
๑๕.๔ ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
(๑) ดำเนินมาตรการลงโทษทั้งทางวินัย ทางปกครอง ทางแพ่ง ทางอาญาและ
ทางภาษีอย่างเด็ดขาด รวดเร็ว และเป็นธรรมแก่ผู้ทุจริตหรือมีส่วนปกป้องผู้ทุจริต รวมทั้งจะผลักดัน
ให้มีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายและพัฒนากระบวนการติดตามตรวจสอบ เพื่อให้สามารถลงโทษ
ผู้ทุจริตอย่างเด็ดขาด และสามารถชดเชยความเสียหายแก่ภาครัฐหรือประชาชนที่ต้องได้รับ
ความเสียหายจากการกระทำทุจริตที่เกิดขึ้น
(๒) รณรงค์อย่างจริงจังและปลูกฝังจิตสำนึกและค่านิยมของสังคมให้ประชาชน
ร่วมกันต่อต้านการทุจริตและการประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่ของรัฐ และให้ความร่วมมือในการ
ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบทั้งในภาคราชการและภาคเอกชน รวมทั้ง
ส่งเสริมขวัญและกำลังใจแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสุจริต
(๓) ส่งเสริมให้มีการรวมตัวเป็นองค์กรภาคประชาชนและส่งเสริมให้ประชาชน
มีบทบาทและส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในการปฏิบัติ
หน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมทั้งการสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในรูปแบบต่างๆ
(๔) ปฏิรูปกระบวนการจัดและการใช้งบประมาณแผ่นดิน และระบบการจัดซื้อ
จัดจ้างโดยรัฐ เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและมีประสิทธิภาพในการอนุมัติงบประมาณ โดยสนับสนุน
ให้ผู้ทรงคุณวุฒิและประชาชนสามารถมีส่วนร่วมเพิ่มมากขึ้นในการตรวจสอบและวิเคราะห์การเสนอ
ของบประมาณและการใช้งบประมาณ
๑๕.๕ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมและการปฏิรูปกฎหมาย
(๑) เร่งรัดการจัดโครงสร้างกระทรวงยุติธรรมให้มีบทบาทและหน้าที่ครอบคลุม
กระบวนการยุติธรรมอย่างกว้างขวางและมีประสิทธิภาพ
(๒) ส่งเสริมและสนับสนุนการใช้มาตรการระงับข้อพิพาทนอกเหนือจากการระงับ
ข้อพิพาทโดยศาล เพื่อให้เป็นเครื่องมือของประชาชน ผู้บริโภค ผู้ด้อยโอกาส และผู้เสียเปรียบ
ให้มีโอกาสเข้าถึงและได้ใช้ประโยชน์ในการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของตนเองมากขึ้น
(๓) ปรับปรุงระบบและวิธีการปฏิบัติต่อผู้กระทำความผิดให้มีความหลากหลาย
มีประสิทธิภาพในการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิด
(๔) ส่งเสริมให้ชุมชน ประชาชน และเครือข่ายองค์กรประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น
ในกระบวนการยุติธรรม และการกำหนดนโยบายการบริหารงานยุติธรรม
(๕) เร่งดำเนินการปฏิรูปกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ที่ล้าสมัย
ให้เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในปัจจุบัน และยืดหยุ่นต่อสถานการณ์
ในอนาคต
(๖) สนับสนุนการศึกษาวิจัยทางด้านนิติศาสตร์และศาสตร์สาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง
แก่ทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปรับปรุงหรือการเสนอร่างกฎหมายที่มีความสำคัญ
และจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ
๑๖. นโยบายพัฒนาภูมิภาคและกรุงเทพมหานคร
๑๖.๑ ด้านการพัฒนาภูมิภาค
(๑) ให้มีการกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาภูมิภาคที่เหมาะสมและสอดคล้อง
กับคุณลักษณะเด่นทางด้านภูมิศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ และศักยภาพการพัฒนาของประชาชน
ในแต่ละภูมิภาค
(๒) กระจายและเชื่อมโยงการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน ระบบขนส่งคมนาคม
และสื่อสาร รวมทั้งการสร้างเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ให้เพียงพอ เป็นระบบ
และสอดคล้องกับการพัฒนาของแต่ละภูมิภาค
(๓) ส่งเสริมและสนับสนุนให้จังหวัดต่าง ๆ ที่มีความพร้อม เกิดการรวมกลุ่มและ
ประสานกันเพื่อพัฒนาขึ้นเป็นกลุ่มจังหวัดหรือพื้นที่เฉพาะ
(๔) จัดระบบการวางผังเมืองให้สอดคล้องกับทิศทางของการพัฒนาและความต้องการ
ของประชาชนในแต่ละท้องถิ่น รวมทั้งส่งเสริมการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการผังเมืองอย่างจริงจัง
๑๖.๒ ด้านการพัฒนากรุงเทพมหานคร
(๑) สนับสนุนการกำหนดรูปแบบและโครงสร้างใหม่ของเมืองหลวง โดยการวางแผน
การใช้ประโยชน์ของพื้นที่ในกรุงเทพมหานครให้มีความชัดเจน รวมทั้งพัฒนาเครือข่ายเพื่อ
เชื่อมโยงการให้บริการสาธารณะอย่างเป็นระบบ
(๒) ส่งเสริมและสนับสนุนการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นของกรุงเทพมหานคร
ให้มีความคล่องตัวและเป็นอิสระจากราชการส่วนกลางมากขึ้น ทั้งด้านงบประมาณ การกำหนด
นโยบาย และการบริหารจัดการ
(๓) เร่งรัดและสนับสนุนการสร้างงานสร้างรายได้ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของ
ประชาชนในกรุงเทพมหานคร ด้วยการแก้ไขปัญหาชุมชนแออัดอย่างเป็นระบบ ทั้งด้านการจัดหา
ที่อยู่อาศัยและสร้างแหล่งงาน การจัดการศึกษา การสาธารณสุข การฟื้นฟูและรักษาสิ่งแวดล้อม
การป้องกันและบรรเทาอาชญากรรมและสาธารณภัย รวมทั้งการป้องกันปราบปรามยาเสพติด
(๔) ส่งเสริมการจัดระบบขนส่งมวลชนให้เชื่อมโยงเป็นโครงข่ายอย่างมีประสิทธิภาพ
พัฒนาคุณภาพการให้บริการของระบบขนส่งมวลชน และประสานการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค
พื้นฐานให้สอดคล้องอย่างเป็นระบบกับทิศทางการพัฒนาเมืองและการผังเมือง
ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ
การกำหนดยุทธศาสตร์และนโยบายของคณะรัฐมนตรีตามที่กล่าวมา ได้วางอยู่บน
พื้นฐานความเป็นจริงของประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และสถานการณ์ของโลก
ในปัจจุบัน และเพื่อให้รัฐบาลสามารถดำเนินนโยบายจนบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ได้ รัฐบาล
จะต้องปรับปรุงโครงสร้างหน่วยงานราชการ พัฒนาระบบการบริหารจัดการประเทศใหม่ และต้อง
เสนอร่างกฎหมายเพื่อให้การดำเนินนโยบายสำคัญเร่งด่วนสามารถบรรลุผลทางปฏิบัติและเกิด
ประโยชน์อย่างแท้จริง
ในการนี้ รัฐบาลขอระบุกฎหมายที่รัฐบาลเห็นว่าจำเป็นต่อการบริหารราชการแผ่นดิน
ตามมาตรา ๑๗๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ในภาคผนวกแนบท้ายคำแถลงนโยบายนี้
และขอชี้แจงในภาคผนวกดังกล่าวด้วยว่า รัฐบาลจะดำเนินการอย่างใดเพื่อบริหารราชการแผ่นดิน
ให้เป็นไปตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามบทบัญญัติหมวด ๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร
ไทย โดยถือว่า ภาคผนวกดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของคำแถลงนโยบายนี้
ขอขอบคุณ |
55 | คำแถลงนโยบาย
ของ
คณะรัฐมนตรี
พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
แถลงต่อรัฐสภา
วันพุธที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๔๘
--------------------------------------------------------------------------------
ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ
ตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้กระผมดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ ๙ มีนาคมพุทธศักราช ๒๕๔๘ และแต่งตั้งคณะ รัฐมนตรี ตามประกาศ พระบรมราชโองการ ลงวันที่ ๑๑ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๔๘ นั้น
บัดนี้คณะรัฐมนตรีได้ กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินเรียบร้อยแล้ว โดยยึดมั่น ในการ ปกครองระบอบประชาธิปไตย ในระบบรัฐสภาอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข ซึ่งเป็นระบอบการ ปกครองและสถาบัน ที่พึงปรารถนา และเหมาะสมสอดคล้องกับวิถีชีวิต ของชนชาวไทยอย่างแท้จริง และครอบคลุมถึงแนว นโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ตามบทบัญญัติในหมวด ๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย คณะรัฐมนตรี จึงขอแถลงนโยบายดังกล่าวต่อที่ประชุม ร่วมกัน ของรัฐสภา เพื่อให้ทราบถึงเจตนารมณ์ ยุทธศาสตร์ และนโยบายของรัฐบาล ในการสร้างเสถียรภาพ และความมั่นคง ก้าวหน้าในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองการปกครอง เพื่อประโยชน์สุขของประเทศชาติและประชาชนชาวไทยทุกคน
ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ
โดยที่รัฐบาลคณะนี้บริหารราชการแผ่นดินต่อ เนื่องจากรัฐบาลคณะที่แล้วและได้ประกาศนโยบายในระหว่างการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรว่าสี่ปีที่ผ่านมาเป็น ช่วงเวลาแห่งการซ่อมความหายนะ จากวิกฤตของประเทศ แต่สี่ปีต่อจากนี้ ไปเป็นช่วงเวลาแห่ง การสร้างชาติให้แข็งแกร่งยั่งยืน ดังนั้น รัฐบาลจึงจำเป็นที่จะต้องขอรายงานให้เห็นภาพ ในอดีตเพื่อ ความต่อเนื่องเชื่อมโยงไปยังอนาคต กล่าวคือ เมื่อรัฐบาลเข้าบริหารราชการ แผ่นดิน เมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔ประเทศไทยในขณะนั้น กำลังเผชิญภาวะ เศรษฐกิจที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงอันเนื่องจากระบบเศรษฐกิจ ไทยยังพึ่งพาต่างประเทศสูง โดยเฉพาะใน ไตรมาสแรกของปี ๒๕๔๔ เศรษฐกิจขยายตัวได้เพียงร้อยละ ๑.๗ เท่านั้น มูลค่าการส่งออกสินค้าลดลงร้อยละ ๑.๓ ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงอย่างมากอยู่ที่ประมาณ ๔๓.๒ บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ หนี้สาธารณะสูงถึงร้อยละ ๕๕.๙ของผลิตภัณฑ์มวลรวม ประชาชาติหรือ GDP จำนวนคนว่างงานยังคงสูงถึง ๑.๒ ล้านคน และจำนวนคนจน มีมากถึง ๘.๙ ล้านคนจึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องเอาใจใส่และทุ่มเทเป็นพิเศษในการ บริหารให้ประเทศ รอดพ้นจาก วิกฤตเศรษฐกิจ
ในช่วงที่เป็นรัฐบาลในสมัยแรกได้ปรับแนวคิด ในการแก้ไขปัญหาของประเทศ โดยดำเนินน โยบายและยุทธศาสตร์คู่ขนาน กล่าวคือ ให้ความสำคัญแก่การกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับรากหญ้า และสังคม ผู้ประกอบการ รายย่อยซึ่งเกี่ยวข้องกับคนส่วนใหญ่ โดยการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ และขยายโอกาส ควบคู่ไปกับการสร้างความเข้มแข็ง ให้แก่ภาคการผลิต และบริการให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก โดยคำนึงถึงการสร้างเสถียรภาพในระบบเศรษฐกิจ และ มุ่งเน้นการบริหารการเงินการคลังอย่างมีประสิทธิภาพ
ผลการดำเนินนโยบายของรัฐบาลตลอดสี่ปีที่ผ่านมา ได้ทำให้เศรษฐกิจ ขยายตัวสูงถึงร้อยละ ๖.๙และร้อยละ ๖.๑ ในปี ๒๕๔๖ และ ๒๕๔๗ ตามลำดับ ค่าเงินบาทมีเสถียรภาพมากขึ้นที่ระดับ ประมาณ ๔๐ บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ มูลค่าการส่งออกขยายตัวสูงถึงร้อยละ ๒๓ ในปี ๒๕๔๗อันเนื่องมาจา การเจรจา เปิดการค้า เสรีกับหลายประเทศ และการพัฒนาศักยภาพใหม่ ให้แก่ภาคบริการที่มีความได้เปรียบจากภูมิปัญญา และวัฒนธรรมไทย การลงทุนของเอกชนเพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๕.๓ ในปี ๒๕๔๗ หนี้สาธารณะลดลงเหลือประมาณร้อยละ ๔๗.๘ ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ และทุนสำรอง ระหว่างประเทศเพิ่มสูงขึ้น มากเป็นประวัติการณ์ที่ระดับ ๔๙,๘๐๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือมากกว่าสี่เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น ซึ่งเป็นผลจากการที่รัฐบาลได้สร้างโอกาส ให้ประชาชน สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น ก่อให้เกิดการกระจายเม็ดเงินลง ทุนตลอดจนการสร้างงานและสร้างรายได้ ในระดับรากหญ้า
ในขณะที่ทางด้านสังคม ประชาชนได้รับหลักประกันสุขภาพสูงถึงร้อยละ ๙๕.๔ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ ๗๘.๒ ในปี ๒๕๔๓ ทั้งนี้ เนื่องมาจากนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ๓๐ บาทรักษาทุกโรค และประชาชน มีงานทำเพิ่มขึ้น ๓.๖ ล้านคนในช่วง ๔ ปี จำนวนคนยากจนลดลงเหลือ ๖ ล้านคน อันเนื่องมาจากการสร้างโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินและแหล่งความรู้เพื่อ สร้างงานและสร้างอาชีพ จำนวนปีการศึกษา เฉลี่ยของ ประชากรเพิ่มขึ้นจาก๗.๒ ในปี ๒๕๔๓ เป็น ๘.๑ ในปี ๒๕๔๗ เพราะการขยายโอกาสทางการศึกษาและผ่อนคลายกฎระเบียบ ของกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา จำนวนคดียาเสพติดลดลงจาก ๔๒๐.๗ ในปี ๒๕๔๓ เหลือ ๑๑๖.๕ต่อประชากรแสนคนในปี ๒๕๔๗ เนื่องจากรัฐบาลได้เอาจริงเอาจังกับการ ปราบปรามผู้มีอิทธิพลและผู้ค้ายาเสพติด
ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ
กระผมต้องขอขอบพระคุณประชาชนและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้ไว้วางใจให้ รัฐบาลเข้ามาบริหารราชการแผ่นดิน ต่อเนื่องเป็นสมัยที่สองซึ่งได้แสดงให้เห็นถึง ความเชื่อมั่นในการดำเนิน นโยบายเศรษฐกิจและสังคม ของรัฐบาลว่าเดินทาง มาถูกทิศทางและการบริหารประเทศมีประสิทธิภาพโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง
ในระยะสี่ปีที่ผ่านมา การดำเนินนโยบาย ของรัฐบาลมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหา และสร้างโอกาสใหม่ให้แก่คนส่วนใหญ ่ของประเทศซึ่งประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง แต่ก็ยังมีปัญหาที่จะต้องดำเนินการแก้ไขอย่างต่อเนื่อง ซึ่งรัฐบาลยังคงมีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินนโยบายแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้หมดสิ้นไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาความยากจนควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมที่มีคุณภาพ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง โครงสร้างประชากรของประเทศโดยรัฐบาลจะดูแลคุณภาพคนไทย ตั้งแต่แรกเกิดจนสูงอายุ และขจัด ยาเสพติด ผู้มีอิทธิพล และทุจริตคอร์รัปชั่นให้หมดไปจากสังคมไทย
โครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศในขณะนี้ยังคงมีสัดส่วนไม่สมดุลระหว่างภาค อุตสาหกรรมและภาคเกษตร โดยการผลิตในภาคอุตสาหกรรมยังเป็นการรับจ้างผลิตตามคำสั่ง หรือรูปแบบที่คิดค้นโดย เจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศ ทำให้ต้องพึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบ ทุนและเทคโนโลยีจากต่างประเทศในระดับสูง ประเทศไทยจึงได้ผลตอบแทนเพียงแค่จากแรงงานและวัตถุดิบเป็นหลัก ซึ่งเป็นผลประโยชน์ส่วนน้อยของ ห่วงโซ่การผลิต เข้าลักษณะการ "ทำมากได้น้อย"
ภาคการเกษตรซึ่งเป็นอาชีพหลักของคนส่วนใหญ่ของประเทศ ยังประสบกับความผันผวนของราคาพืชผล ในตลาดโลกและประสบความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ ความเสื่อมโทรมของทรัพยากร ธรรมชาติ ทั้งดินและน้ำ การขายวัตถุดิบส่งออกให้แก่ต่างประเทศ และประสบปัญหาการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี ในขณะที่ภาคบริการโดยเฉพาะการท่องเที่ยวยังพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติ โดยไม่ได้ใช้ประโยชน์เต็มที่ในการเพิ่มมูลค่า ดังนั้นรัฐบาลจึงต้องปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศ มิฉะนั้นการ ขยายตัวของเศรษฐกิจจะนำไปสู่วงจรการขาดดุลการค้าและการแข่งขันด้านราคา อันเป็นข้อจำกัดในการขยายตัวของประเทศอย่างยั่งยืน
นอกจากความท้าทายที่ เกิดขึ้นจาก สภาพแวดล้อมในประเทศเหล่านี้ รัฐบาลจะต้องเผชิญกับพลวัตการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจและ สังคมโลก อันได้แก่
(๑) การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลกาภิวัตน์ ซึ่งแนวโน้มการเปิดเสรีการค้าของประเทศต่าง ๆ จะทำให้ประเทศไทยมีโอกาสในการขยายการส่งออก การท่องเที่ยว และการลงทุนมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีการแข่งขันที่สูงขึ้นในตลาดโลก ดังนั้นเราจึงต้องรู้เท่าทัน และเตรียมรับมือจากการขับเคลื่อนอย่างเสรี ของข่าวสารความรู้ เทคโนโลยี แรงงานและประชากร เงินทุน การค้า การลงทุนและบริการ เพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
(๒) ความไม่สมดุลในเศรษฐกิจโลกและการเก็งกำไร ที่อาจส่งผลต่อความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนและราคาสินค้าในตลาดโลก
(๓) การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด เนื่องจากการพัฒนาของเทคโนโลยีหลัก ทั้งเทคโนโลยีสารสนเทศเทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีวัสดุและนาโนเทคโนโลยี ที่มีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว
(๔) การเปลี่ยนแปลงด้านสังคม อันเนื่องมาจากโครงสร้างประชากรของโลกที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมากขึ้น การขยายตัวของสังคมเมืองรวมทั้งการรับรู้และแลกเปลี่ยนในวิถีชีวิต และวัฒนธรรมที่หลากหลาย ซึ่งเป็นทั้งโอกาสและความท้าทายที่มีต่อกระบวนการในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และอนาคตของประเทศ
(๕) ความผันผวนที่อาจมีผลกระทบ เช่น สถานการณ์การเมืองและความมั่นคงในโลก การระบาดของโรคอุบัติใหม่ๆ ยาเสพติดในรูป แบบที่หลากหลาย ความแปรปรวนของดินฟ้าอากาศที่นำไปสู่ภัยพิบัติ เป็นต้น เรื่องเหล่านี้จำเป็นต้องวางมาตรการป้องกันและแก้ไขทั้งใน ระดับชาติและนานาชาติเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบที่รุนแรงต่อเศรษฐกิจและวิถี ชีวิตในสังคมไทยอนึ่ง รัฐบาลตระหนักดีว่าการบริหารประเทศที่เผชิญความท้าทายเหล่านี้ จำเป็นต้องอาศัยยุทธศาสตร์และการวางแผนที่ดี ระบบราชการที่มีประสิทธิภาพ การมีตัวบทกฎหมายตลอดจนกฎระเบียบ ต่าง ๆ ที่เพียงพอ เป็นธรรม และทันสมัย และความซื่อสัตย์สุจริตโปร่งใสในการปฏิบัติราชการทุกระดับ ตลอดจนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เป็นพลังในการขับเคลื่อนประเทศ ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพสี่ปีข้างหน้าต่อไปนี้จะเป็นสี่ปีแห่งการเปลี่ยน ผ่านประเทศไทยไปสู่ความมั่นคงยั่งยืนในทุกทาง รัฐบาลจะสร้างโอกาสเพื่ออนาคต วางรากฐานใหม่ให้แก่ประเทศทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองการปกครอง โดยเน้นการคืนความเข้มแข็งสู่ท้องถิ่นคืนความสมบูรณ์ของดินและน้ำสู่ ธรรมชาติ และคืนอำนาจการตัดสินปัญหาสู่ชุมชน โดยให้ความสำคัญแก่การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมให้มีความสมดุลมากยิ่ง ขึ้น สร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ระบบเศรษฐกิจ ปฏิรูปการศึกษาเพื่อนำไปสู่สังคมและเศรษฐกิจบนฐานความรู้ โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ เพื่อนำประเทศไปสู่โครงสร้างที่มีความสมดุล มั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน โดยรัฐบาลจะดำเนินนโยบายเก้าประการ ดังต่อไปนี้
๑. นโยบายขจัดความยากจน
๒. นโยบายพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพ
๓. นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สมดุลและแข่งขันได้
๔. นโยบายบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๕. นโยบายการต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
๖. นโยบายพัฒนากฎหมายและส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
๗. นโยบายส่งเสริมประชาธิปไตยและกระบวนการประชาสังคม
๘. นโยบายรักษาความมั่นคงของรัฐ
๙. นโยบายตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
ภาคผนวก ก, ข
ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ
การกำหนดนโยบายบริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรีตามที่กล่าวมา ได้วางอยู่บน พื้นฐานข้อมูลความเป็นจริงของประเทศ และความต่อ เนื่องกับเหตุการณ์ที่ผ่านมา ตลอดจนการวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมใหม่ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง และสถานการณ์ของโลกที่ เปลี่ยนแปลงไป เมื่อการแถลงนโยบายนี้เสร็จสิ้นแล้ว รัฐบาลจะได้เร่งดำเนินการให้เป็นรูปธรรม โดยจัดทำแผนปฏิบัติการแห่งชาติ ประกอบด้วย แผนนิติบัญญัติ แผนการบริหารราชการแผ่นดิน และแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการต่าง ๆ ไว้เป็นคู่มือและแนวทางการทำงานต่อไป
รัฐบาลขอให้ความเชื่อมั่นแก่รัฐสภาอันเป็นองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ควบคุมการ บริหารราชการแผ่นดินว่า จะบริหารราชการแผ่นดินด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต มีความมุ่งมั่นที่จะบริหารประเทศให้มีความเจริญ ก้าวหน้า ทัดเทียมอารยประเทศ มีความเท่าเทียมกันในสังคมที่มีความสมดุลมากขึ้น และมีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย ทั้งนี้ โดยยึดประโยชน์สุขของประชาชนชาวไทยเป็นที่ตั้งอย่างแท้จริง
ขอบคุณครับ |
56 | คำแถลงนโยบาย
ของ
คณะรัฐมนตรี
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี
แถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
วันศุกร์ที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๙
--------------------------------------------------------------------------------
ท่านประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
และท่านสมาชิกผู้มีเกียรติที่เคารพ
ตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้กระผมเป็นนายกรัฐมนตรี ตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๙ และแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ ๘ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๙ นั้น ตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุข คณะรัฐมนตรีจึงได้กำหนดนโยบาย การบริหารราชการแผ่นดินเพื่อนำเรียนท่านสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติผู้ทรง เกียรติได้รับทราบถึงเจตนารมณ์ และนโยบายของรัฐบาล ในประการสำคัญในอันที่จะธำรงพิทักษ์รักษาและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัติย์ มิให้ผู้ใดล่วงละเมิดได้ และมุ่งประสงค์จะแก้ไขปัญหาวิกฤติของประเทศทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม การต่างประเทศ และความมั่นคงของชาติ เพื่อนำไปสู่เสถียรภาพและประโยชน์สุข ของประชาชนชาวไทยทั้งมวล
ท่านประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
และท่านสมาชิกผู้มีเกียรติที่เคารพ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ ได้ระบุถึงสาเหตุของการยึดอำนาจการปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙ โดยปรารถนาที่จะแก้ไขความเสื่อมศรัทธาในการบริหารราชการแผ่นดิน ความไร้ประสิทธิภาพในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินและการตรวจสอบการใช้ อำนาจรัฐทำให้เกิดการทุจริตและประพฤติมิชอบขึ้นอย่างกว้างขวาง โดยไม่อาจหาตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษได้ อันเป็นวิกฤติการณ์ร้ายแรงทางการเมืองการปกครอง และปัญหาความขัดแย้งในมวลหมู่ประชาชนที่ถูกปลุกปั่นให้แบ่งแยกเป็นฝักเป็น ฝ่ายจนเสื่อมสลายความ "รู้ รัก สามัคคี" ของชนในชาติ อันเป็นวิกฤติการณ์รุนแรงทางสังคมวิกฤติการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ทวีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งนับเป็นภยันตรายใหญ่หลวงต่อระบอบการปกครอง ระบบเศรษฐกิจ และความสงบเรียบร้อยของประเทศ จึงมีความจำเป็นรีบด่วนที่จะต้องฟื้นฟูความ "รู้ รัก สามัคคี" ระบบเศรษฐกิจและความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง การเสริมสร้างระบบการตรวจสอบการทุจริตที่เข้มแข็ง และระบบคุณธรรมที่ดีงาม การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน และการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอย่างเคร่งครัด การปฏิบัติตามกฎบัตรสหประชาชาติพันธกรณีตามสนธิสัญญาหรือความตกลงระหว่าง ประเทศ การส่งเสริมสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศและการขับเคลื่อนเศรษฐกิจตามปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง ขณะเดียวกันก็เร่งดำเนินการให้มีการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ด้วยการมี ส่วนร่วมอย่างกว้างขวางจากประชาชน
ฉะนั้น เมื่อพิจารณาจากเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ และสถานการณ์บ้านเมือง ตลอดจนวัตถุประสงค์ที่จะเสริมสร้างสังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันตามแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐ คณะรัฐมนตรีขอนำนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินเรียนให้ท่านประธานสถา นิติบัญญัติแห่งชาติ และท่านสมาชิกผู้มีเกียรติได้ทราบว่ารัฐบาลจะดำเนินการ ดังต่อไปนี้
๑. นโยบายการปฏิรูปการเมือง การปกครอง และการบริหาร
๒. นโยบายเศรษฐกิจ
๓. นโยบายสังคม
๔. นโยบายการต่างประเทศ
๕. นโยบายการรักษาความมั่นคงของรัฐ
ท่านประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
และท่านสมาชิกผู้มีเกียรติที่เคารพ
การกำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรีตามที่ได้กล่าวมานี้ กระผมขอให้ความเชื่อมั่นว่า รัฐบาลจะบริหารราชการแผ่นดินอย่างเต็มกำลังความสามารถ ให้ลุล่วงภายในเวลาอันจำกัด โดยยึดมั่นและรักษาคำสัตย์ปฏิญาณที่ได้ถวายต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสที่เข้ารับหน้าที่ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และด้วยความตั้งใจอย่างแน่วแน่แท้จริง
ขอบคุณครับ |
57 | คำแถลงนโยบาย
ของ
คณะรัฐมนตรี
นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี
แถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2551
----------------------------------------------------------------------------------------
ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ
ตาม ที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้กระผมเป็นนายกรัฐมนตรี ตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 29 มกราคม พุทธศักราช 2551 และแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2551 นั้น
บัดนี้ คณะรัฐมนตรีได้กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินเรียบร้อยแล้ว โดยยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาอันมีพระมหากษัตริย์ทรง เป็นประมุข และครอบคลุมถึงแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามบทบัญญัติในหมวด 5 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย คณะรัฐมนตรีจึงขอแถลงนโยบายดังกล่าวต่อที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาเพื่อให้ ทราบถึงเจตนารมณ์ ยุทธศาสตร์ และนโยบายของรัฐบาล ที่มุ่งมั่นที่จะสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงก้าวหน้าในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครอง และสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้น เพื่อประโยชน์สุขของประเทศชาติและประชาชนชาวไทยทุกคน
ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ
เศรษฐกิจไทยในปีนี้จะเป็นปีที่ต้องเผชิญกับปัญหาจากเศรษฐกิจโลกที่มีความ รุนแรง อย่างน้อยสองประการ คือ ปัญหาหนี้ด้อยคุณภาพของอสังหาริมทรัพย์ในประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจที่ส่งผล กระทบถึงตลาดเงินและเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ในโลก และปัญหาราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและก่อให้เกิดแรงกดดัน ต่อภาวะเงินเฟ้อในโลกและในประเทศไทย
นอกจากปัญหาเฉพาะหน้าดังกล่าวแล้ว รัฐบาลยังมีภารกิจสำคัญอื่น ๆ ในการวางรากฐานการเจริญเติบโตที่มั่นคงและยั่งยืน และส่งเสริมภาคการผลิตและบริการให้สามารถปรับตัวไปสู่การผลิตสินค้าและ บริการที่มีมูลค่าสูงขึ้น เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งเป็นปัญหาโครงสร้างระยะยาวของประเทศ ส่วนด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม สังคมไทยจะเริ่มเข้าสู่จุดเริ่มต้นของสังคมผู้สูงอายุในปี 2552 และประชากรไทยตั้งแต่เด็กจนถึงผู้สูงอายุอยู่ในภาวะที่ต้องปรับตัวเข้าสู่ สังคมฐานความรู้ในยุคโลกาภิวัตน์ ในขณะที่ภาวะโลกร้อน ภัยธรรมชาติ และปัจจัยด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจและ คุณภาพชีวิตของประชาชนเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ
ในช่วง 4 ปีต่อไป รัฐบาลจะดูแลปัญหาทั้งระยะสั้นและระยะยาว และมุ่งมั่นที่จะบริหารประเทศ ภายใต้หลักการสำคัญสองประการ ซึ่งรัฐบาลเชื่อมั่นว่าจะสามารถสร้างความยั่งยืนให้แก่เศรษฐกิจและสังคมไทย และสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนไทยและต่างประเทศ และประชาคมโลก
ประการแรก คือ การสร้างความสมานฉันท์ให้แก่คนไทยทุกภาคส่วนที่จะต้องร่วมมือกันในการนำพา ประเทศให้ผ่านพ้นวิกฤติการณ์ต่าง ๆ และสร้างรากฐานที่มั่นคงสำหรับประเทศในอนาคต การสร้างความสมานฉันท์นี้รวมถึงเรื่องที่สำคัญ คือ การแก้ไขและเยียวยาปัญหาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ไปสู่แนวทางของการ อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขและสามัคคีของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ และพัฒนาศักยภาพเศรษฐกิจในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศให้เป็นฐานเศรษฐกิจที่ สำคัญของประเทศ
ประการที่สอง คือ การสร้างความสมดุลและภูมิคุ้มกันให้แก่เศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งเกี่ยวข้องกับนโยบายในทุกด้าน ตั้งแต่การพัฒนาคนให้มีคุณธรรมนำความรู้ การสนับสนุนการออมระยะยาว การส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ในพื้นที่ที่เหมาะสม การพัฒนาชุมชนให้พึ่งตนเองได้และเชื่อมโยงกับตลาดอย่างเป็นขั้นตอน จนถึงการสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน การดูแลการเคลื่อนย้ายเงินทุน และการเพิ่มความสามารถในการใช้ประโยชน์และต่อยอดเทคโนโลยีให้เข้ากับ ภูมิปัญญาไทยเพื่อนำไปสู่นวัตกรรมและสร้างรายได้ให้แก่ระบบเศรษฐกิจตามหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นแนวทางหลักในการดำเนินงานของรัฐบาลตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
นอกจากหลักการทั้งสองประการแล้ว รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้ให้ความสำคัญแก่บทบาทการมีส่วนร่วมของประชาชนใน การพัฒนาประเทศ และกลไกการตรวจสอบการดำเนินงานของภาครัฐ เพื่อให้อยู่ในกรอบแนวทางของการบริหารประเทศตามหลักธรรมาภิบาล รัฐบาลตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว และจะยึดเป็นแนวทางในการดำเนินงานของรัฐบาล
ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ
รัฐบาลได้กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินที่สำคัญ โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วนที่ต้องเริ่มดำเนินการในปีแรก และระยะการบริหารราชการ 4 ปีของรัฐบาล ดังต่อไปนี้
1. นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก
รัฐบาลถือเป็นความจำเป็นเร่งด่วนในการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ในสังคม ปราบปรามยาเสพติด สร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุน ฟื้นฟูให้เศรษฐกิจมีความเข้มแข็ง แก้ไขปัญหาความยากจน โดยพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากเพื่อเพิ่มศักยภาพการหารายได้ ลดรายจ่าย สร้างโอกาสในอาชีพอย่างยั่งยืนให้แก่ประชาชน โดยเฉพาะเกษตรกร แรงงาน และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีความสำคัญเร่งด่วน โดยมีนโยบายที่สำคัญ คือ
1.1 สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย โดยการเสริมสร้างความเข้าใจร่วมกันของประชาชนในชาติให้เกิดความสมัครสมาน สามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพื่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจในการแก้ไขปัญหาวิกฤติของประเทศ และสร้างเสถียรภาพทั้งทางด้านการเมือง การปกครอง สังคม และเศรษฐกิจ โดยมุ่งถึงประโยชน์สุขของประชาชนส่วนรวมเป็นสำคัญ ซึ่งจะเป็นรากฐานที่มั่นคงในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป
1.2 แก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยน้อมนำแนวทางพระราชทาน “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” มาดำเนินภารกิจในด้านความมั่นคงและด้านการพัฒนา โดยให้มีความสอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของพื้นที่ วิถีชีวิต วัฒนธรรม และความเชื่อของประชาชน ตลอดทั้งอำนวยความเป็นธรรมและความยุติธรรม โดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อย ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน สร้างความสมานฉันท์และสันติสุขในพื้นที่โดยเร็วที่สุด
1.3 เร่งรัดแก้ไขปัญหายาเสพติดและปราบปรามผู้มีอิทธิพล โดยยังคงยึดหลักการ “ผู้เสพ คือผู้ป่วยที่ต้องได้รับการรักษา ส่วนผู้ค้า คือผู้ที่ต้องได้รับโทษตามกระบวนการยุติธรรม” ทั้งนี้ รัฐบาลจะเร่งรัดปราบปรามการค้ายาเสพติด ลดปริมาณผู้เสพยา และป้องกันมิให้กลุ่มเสี่ยงเข้าไปเป็นเหยื่อของยาเสพติด โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนควบคู่กับมาตรการปราบปรามและบังคับใช้ กฎหมายอย่างเป็นธรรม และใช้มาตรการทางกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมตัดช่องทางการหาเงินทุจริตของ ผู้มีอิทธิพลในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการตัดไม้ทำลายป่า การค้ามนุษย์ และการเป็นเจ้ามือการพนัน เป็นต้น
1.4 ดำเนินมาตรการในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการ โดยดูแลเสถียรภาพของค่าเงินบาท ระดับราคาสินค้าอุปโภคบริโภค และราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต พร้อมทั้งจัดหาสินค้าราคาประหยัดจำหน่ายเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้มี รายได้น้อย
1.5 เพิ่มศักยภาพของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ให้เป็นแหล่งเงินหมุนเวียนในการลงทุน สร้างงานและอาชีพ สร้างรายได้และลดรายจ่ายให้แก่ประชาชนในชุมชนและวิสาหกิจขนาดเล็กในครัว เรือน พัฒนากองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่มีการบริหารจัดการที่ดี ให้สามารถยกระดับเป็นธนาคารหมู่บ้านและชุมชน
1.6 จัดสรรงบประมาณตามขนาดประชากร (Small Medium Large: SML) ให้ครบทุกหมู่บ้านและชุมชน เพื่อสร้างโอกาสให้ชุมชนสามารถแก้ไขปัญหาของชุมชนด้วยตนเอง และพัฒนาโครงการที่จะก่อให้เกิดรายได้อย่างยั่งยืน พัฒนาสินทรัพย์ชุมชน อนุรักษ์และรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชน เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงการใช้ทรัพยากรของรัฐ ท้องถิ่น และจังหวัด อย่างมีประสิทธิภาพ
1.7 สานต่อโครงการธนาคารประชาชน เพื่อกระจายโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินให้แก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อย สร้างทางเลือกและลดการพึ่งพาแหล่งเงินกู้นอกระบบ ซึ่งจะทำให้ประชาชนมีโอกาสในการสร้างงาน สร้างรายได้ด้วยตนเอง
1.8 สนับสนุนสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการขนาดกลาง ขนาดย่อม และวิสาหกิจชุมชน เพื่อสร้างโอกาสในการลงทุนและสร้างรายได้ ผ่านสถาบันการเงินของรัฐและธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่ง ประเทศไทย
1.9 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ เพื่อให้แต่ละชุมชนสามารถใช้ทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นในการพัฒนาสินค้า โดยรัฐพร้อมที่จะสนับสนุนให้ชุมชนเข้าถึงองค์ความรู้สมัยใหม่ แหล่งเงินทุน และพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการและการตลาด เพื่อเชื่อมโยงสินค้าจากชุมชนสู่ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ
1.10 พักหนี้ของเกษตรกรรายย่อยและยากจน ที่ผ่านกระบวนการจัดทำแผนฟื้นฟูอาชีพ เพื่อสร้างโอกาสให้เกษตรกรสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยการสร้างรายได้และ อาชีพที่มั่นคง
1.11 สร้างระบบประกันความเสี่ยงให้เกษตรกร เพื่อลดความเสี่ยง อันเนื่องมาจากผลกระทบความเสียหายจากภัยธรรมชาติ และสร้างกลไกในการสร้างเสถียรภาพราคาของสินค้าเกษตรที่เป็นธรรม
1.12 ขยายบทบาทของศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix-it Center) และสถาบันอาชีวศึกษา เพื่อให้คำแนะนำและถ่ายทอดความรู้ในการใช้ การดูแลรักษาและซ่อมบำรุงเครื่องมืออุปกรณ์การประกอบอาชีพ เครื่องใช้ในครัวเรือน รวมทั้งสร้างเครือข่ายศูนย์ฯ กับชุมชนและวิสาหกิจเพื่อให้เกิดการพัฒนานวัตกรรม ระบบรับรองและตรวจสอบคุณภาพในขั้นต้นของสินค้าชุมชน
1.13 สร้างโอกาสให้ประชาชนได้มีที่อยู่อาศัยอย่างทั่วถึง เช่น โครงการ “บ้านเอื้ออาทร” “บ้านรัฐสวัสดิการ” และ “ที่อยู่อาศัยของตนเองเป็นครั้งแรก” โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ซึ่งสามารถเดินทางเชื่อมระหว่างกรุงเทพมหานครและ ปริมณฑลด้วยระบบขนส่งมวลชนได้อย่างสะดวก
1.14 เร่งรัดการลงทุนที่สำคัญของประเทศ เช่น การพัฒนาระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 9 สาย รถไฟความเร็วสูง รถไฟทางคู่ รถไฟชานเมือง และรถไฟก้างปลาเชื่อมโยงจังหวัดที่ยังไม่มีรถไฟขนส่งผู้โดยสารและขนส่ง สินค้า และการพัฒนาขีดความสามารถของท่าอากาศยานสากล เป็นต้น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
1.15 ดำเนินมาตรการลดผลกระทบจากราคาพลังงาน โดยเร่งรัดโครงการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนจากก๊าซธรรมชาติและผลผลิตทาง การเกษตร เช่น แก๊สโซฮอล์ ไบโอดีเซล รวมทั้งเร่งรัดมาตรการประหยัดพลังงานและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดภาระการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศ
1.16 ฟื้นความเชื่อมั่นด้านการลงทุนและส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศไทย โดยประกาศให้ปี 2551 – 2552 เป็น “ปีแห่งการลงทุน” และ “ปีแห่งการท่องเที่ยวไทย”
1.17 วางระบบการถือครองที่ดินและกำหนดแนวเขตการใช้ที่ดินให้ทั่วถึงและเป็นธรรม โดยใช้ข้อมูลระบบภูมิสารสนเทศ ภายใต้กระบวนการที่ชุมชนมีส่วนร่วม เพื่อให้ประชาชนมีที่ดินทำกินและประกอบอาชีพอย่างทั่วถึงและพอเพียง
1.18 ขยายพื้นที่ชลประทานและเพิ่มประสิทธิภาพระบบชลประทาน โดยฟื้นฟูและขุดลอกแหล่งน้ำธรรมชาติ รวมทั้งพัฒนาแหล่งน้ำผิวดินและใต้ดิน โดยดำเนินการก่อสร้างระบบชลประทานขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก เพื่อประโยชน์ในการปรับโครงสร้างภาคการเกษตร การบรรเทาอุทกภัยและภัยแล้ง ทั้งในพื้นที่ชุมชนเมืองและพื้นที่เกษตรกรรม รวมทั้งระบบประปาที่ถูกสุขอนามัย เพื่อการอุปโภคและบริโภคแก่ประชาชนให้ทั่วถึงทุกพื้นที่ เพิ่มประสิทธิภาพการกระจายน้ำโดยการพัฒนาระบบชลประทานในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ชลประทานระบบท่อ
1.19 เร่งรัดมาตรการและโครงการเพื่อบรรเทาผลกระทบจากวิกฤติโลกร้อน โดยส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน ธุรกิจเอกชน และชุมชน ให้มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะการปลูกและฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ รวมทั้งสนับสนุนการใช้พลังงานทางเลือกจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในระดับ ครัวเรือน เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ
ในส่วนของนโยบายที่จะดำเนินการภายในช่วงระยะ 4 ปีของรัฐบาลชุดนี้ รัฐบาลจะดำเนินนโยบายหลักในการบริหารประเทศซึ่งปรากฏตามนโยบายข้อที่ 2 ถึงข้อที่ 8 ดังต่อไปนี้
2. นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต
ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ
รัฐบาลให้ความสำคัญแก่การให้หลักประกันขั้นพื้นฐานของบริการสาธารณะของ รัฐภายใต้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ การพัฒนาคนและสังคมให้มีคุณภาพ การมีสภาพแวดล้อมที่นำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความมั่นคงในชีวิต และประชาชนมีความสุข โดยจะดำเนินการ ดังนี้
2.1 นโยบายการศึกษา
2.1.1 ยกระดับคุณภาพการศึกษาของคนไทยอย่างมีบูรณาการและสอดคล้องกันตั้งแต่ระดับ ปฐมวัยจนถึงอุดมศึกษาทั้งในและนอกระบบการศึกษา และสร้างระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต
2.1.2 พัฒนาหลักสูตร ปรับระบบการผลิตและพัฒนาครูให้มีคุณภาพและคุณธรรมอย่างทั่วถึง ต่อเนื่อง และก้าวทันการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัตน์
2.1.3 ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการเรียน การสอน และการเรียนรู้อย่างจริงจัง จัดให้มีการเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงอย่างกว้างขวาง พร้อมทั้งจัดหาอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อประกอบการเรียนการสอนให้ โรงเรียนอย่างทั่วถึง
2.1.4 ดำเนินการให้บุคคลมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษา 12 ปีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย รวมทั้งสนับสนุนผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรืออยู่ในสภาวะยากลำบาก ให้ได้รับการศึกษา และเพิ่มโอกาสให้แก่เยาวชนในการศึกษาต่อผ่านกองทุนให้กู้ยืมที่ผูกพันกับราย ได้ในอนาคต และเชื่อมโยงกับนโยบายการผลิตบัณฑิตเพื่อตอบสนองความต้องการบุคลากรที่มี ความรู้ความสามารถของประเทศ รวมทั้งต่อยอดให้ทุนการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ
2.1.5 สนับสนุนการผลิตและพัฒนากำลังคนให้สอดรับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภาคการผลิต และบริการ และเร่งผลิตกำลังคนระดับอาชีวศึกษาให้มีคุณภาพเพื่อสนับสนุนความสามารถในการ แข่งขันของประเทศในสาขาต่าง ๆ เช่น ปิโตรเคมี ซอฟต์แวร์ อาหาร สิ่งทอ บริการสุขภาพและการท่องเที่ยว และการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการ เป็นต้น ด้วยความร่วมมือระหว่างสถานประกอบการ สถาบันการศึกษา และสถาบันเฉพาะทาง ตลอดจนให้มีการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพตามมาตรฐานสากล
2.1.6 ขยายบทบาทของระบบการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ผ่านองค์กรต่าง ๆ เช่น สำนักงานบริหารจัดการองค์ความรู้ ระบบห้องสมุดสมัยใหม่ หรืออุทยานการเรียนรู้ พิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้แห่งชาติ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ ศูนย์พัฒนาด้านกีฬา ดนตรี ศิลปะ ศูนย์บำบัดและพัฒนาศักยภาพของบุคคลออทิสติก เด็กสมาธิสั้น และผู้ด้อยโอกาสอื่น ๆ ศูนย์การเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
2.2 นโยบายแรงงาน
2.2.1 เร่งฝึกอบรมและพัฒนาคนที่ทำงานแล้วและคนที่ถูกเลิกจ้าง เพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าสู่ภาคการผลิตและบริการที่มีระดับเทคโนโลยีที่สูง ขึ้น
2.2.2 จัดให้มีระบบเตือนภัยและติดตามสถานการณ์ที่มีผลกระทบต่อการจ้างงาน การเลิกจ้างอื่นเนื่องจากการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ พร้อมทั้งจัดให้มีการจ้างงานใหม่โดยเร็ว
2.2.3 ให้การคุ้มครองแรงงานตามมาตรฐานแรงงานไทย ซึ่งให้ความสำคัญแก่ความปลอดภัยในการทำงานและสวัสดิการแรงงาน พร้อมทั้งจัดระบบการคุ้มครองแก่แรงงานนอกระบบให้ครอบคลุมมากขึ้น
2.3 นโยบายการพัฒนาสุขภาพของประชาชน
2.3.1 เพิ่มคุณภาพของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและให้ประชาชนเข้าถึงบริการได้ อย่างไม่เป็นอุปสรรค พร้อมทั้งปฏิรูประบบบริหารจัดการสาธารณสุขให้มีประสิทธิภาพทั่วถึงและครบ วงจร ทั้งการรักษาพยาบาล การฟื้นฟูสุขภาพ การป้องกันโรค และการส่งเสริมสุขภาพ
2.3.2 จัดให้มีมาตรการลดปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพและภาวะทุพโภชนาการที่นำไป สู่การเจ็บป่วยเรื้อรัง เช่น โรคมะเร็ง หัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิต และอุบัติเหตุจากการจราจร พร้อมทั้งนำมาตรการภาษีการบริโภคสินค้าที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพมาใช้กระตุ้น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบุคคลให้ลด ละ และเลิก พฤติกรรมสุ่มเสี่ยงต่อสุขภาพ
2.3.3 ดำเนินการระบบเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคเชิงรุก เพื่อป้องกันปัญหาการป่วยและตายด้วยโรคอุบัติใหม่และระบาดซ้ำในคน พร้อมทั้งสร้างขีดความสามารถในการเฝ้าระวัง วินิจฉัย และดูแลรักษาพยาบาลอย่างเป็นระบบที่ประสานเชื่อมโยงทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
2.3.4 เพิ่มแรงจูงใจและขยายงานอาสาสมัครสาธารณสุข เพื่อเป็นกำลังสำคัญให้ชุมชนในการดูแลเด็ก ผู้สูงอายุ คนพิการ การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาลและการเฝ้าระวังโรคในชุมชน รวมทั้งเชื่อมโยงการดำเนินงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2.3.5 ส่งเสริมให้ประชาชนทุกระดับมีโอกาสออกกำลังกาย และเล่นกีฬาเพื่อสร้างเสริมสุขภาพและพลานามัยที่ดี รวมทั้งพัฒนาทักษะทางด้านกีฬาสู่ความเป็นเลิศที่จะนำชื่อเสียงมาสู่ประเทศ ชาติ สร้างนิสัยรักการกีฬาและใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์เพื่อหลีกเลี่ยงการ หมกมุ่นและมั่วสุมกับอบายมุขและยาเสพติด
2.4 นโยบายศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม
2.4.1 อุปถัมภ์ คุ้มครอง และทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น ๆ เพื่อให้มีบทบาทสำคัญในการปลูกฝังให้ประชาชนเข้าใจและนำหลักธรรมของศาสนา มาใช้ในการเสริมสร้างคุณธรรมและพัฒนาคุณภาพชีวิต
2.4.2 ฟื้นฟูและสืบสานคุณค่าความหลากหลายของวัฒนธรรมไทยทั้งที่เป็นวิถีชีวิต ประเพณี ค่านิยมที่ดีงาม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการดูแลรักษาแหล่งอุทยานประวัติศาสตร์ โบราณสถาน พิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อการศึกษาเรียนรู้และใช้ประโยชน์ในการเพิ่มมูลค่าผลผลิตบนพื้นฐานความ รู้และความเป็นไทย รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาโบราณสถานให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมระดับโลก
2.4.3 พัฒนาแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมและการนันทนาการ เพื่อส่งเสริมให้ วัยรุ่นไทยเกิดการเรียนรู้ที่ถูกต้อง ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ มีคุณธรรมเอื้ออาทรต่อผู้อื่น และเกิดการเรียนรู้ศิลปะอย่างสร้างสรรค์ เข้าใจถึงคุณค่า ซาบซึ้งในความสุนทรีย์ของศิลปะ
2.4.4 ขยายบทบาทสภาวัฒนธรรมทุกจังหวัดให้เป็นกลไกเฝ้าระวังทางวัฒนธรรมที่ครอบคลุม ทั้งวิถีชีวิตและสื่อทุกประเภทที่มีผลกระทบต่อการเบี่ยงเบนทางวัฒนธรรม และพฤติกรรมของเด็กและเยาวชน พร้อมทั้งขจัดสื่อที่เป็นภัยต่อสังคม ขยายสื่อดีเพื่อนำไปสู่การสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมอย่างเท่าทันสถานการณ์
2.5 นโยบายความมั่นคงของชีวิตและสังคม
2.5.1 ประสานเชื่อมโยงการดำเนินงานและใช้ประโยชน์จากกองทุนต่าง ๆ เช่น กองทุนผู้สูงอายุ กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ กองทุนพัฒนาชุมชน และกองทุนสนับสนุนการวิจัยเพื่อให้เป็นพลังร่วมในการสร้างสรรค์และพัฒนา สังคมและความมั่นคงของมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพ
2.5.2 สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยการพัฒนาให้มีความรู้และจริยธรรม เริ่มตั้งแต่เด็กแรกเกิดและเยาวชนทุกช่วงวัย โดยให้ความสำคัญแก่การสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ครอบครัวที่อบอุ่น และสถานศึกษาที่เอาใจใส่ดูแลเด็กอย่างใกล้ชิดด้วยการปลูกฝังความรู้ที่ทัน โลกและคุณค่าที่ดีของวัฒนธรรมไทย สร้างความเข้าใจให้แก่พ่อแม่ถึงวิธีการดูแลบุตรที่ถูกต้องตามระดับการพัฒนา ของสมอง
2.5.3 สร้างหลักประกันความมั่นคงและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ให้เด็ก สตรี และคนพิการที่ด้อยโอกาส โดยจะขจัดขบวนการค้ามนุษย์ให้หมดสิ้นไป ขจัดการเลือกปฏิบัติและการละเมิดลิทธิเด็ก สตรี และคนพิการในทุกรูปแบบและอย่างเด็ดขาด รวมทั้งเสริมสร้างสวัสดิการทางสังคมแก่คนพิการและผู้ด้อยโอกาสอย่างเหมาะสม และส่งเสริมความรู้และอาชีพให้สตรีและคนพิการให้สามารถพึ่งพาตนเองได้
2.5.4 เตรียมความพร้อมให้แก่สังคมผู้สูงอายุ โดยยึดหลักการให้ผู้สูงอายุเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าของระบบเศรษฐกิจและสังคม ของประเทศ เป็นผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดี ทั้งร่างกายและจิตใจ โดยสร้างหลักประกันด้านรายได้และระบบการออมในช่วงวัยทำงานที่เพียงพอสำหรับ ช่วงวัยชรา สร้างพฤติกรรมด้านสุขภาพที่เหมาะสมกับช่วงวัย สนับสนุนครอบครัวให้เข้มแข็งสามารถดูแลสมาชิกได้อย่างมีคุณภาพ ขยายฐานการให้เบี้ยยังชีพแก่คนชราที่ไม่มีรายได้ และส่งเสริมการใช้ประสบการณ์ของผู้สูงอายุในกระบวนการพัฒนาประเทศโดยระบบ คลังสมอง
2.5.5 สร้างสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่ในสังคมเมือง โดยมีการวางผังเมืองอย่างเป็นระบบ ควบคู่กับการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยสาธารณะและสิ่งแวด ล้อมอย่างเคร่งครัด รวมทั้งจัดให้มีบริการขั้นพื้นฐานอย่างเหมาะสม มีโรงเรียนใกล้บ้าน มีการสื่อสารคมนาคมที่มีประสิทธิภาพ และมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
3. นโยบายเศรษฐกิจ
ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ
รัฐบาลจะบริหารจัดการเศรษฐกิจให้มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง มีความสมดุลและเข้มแข็ง ทั้งในภาคเศรษฐกิจภายในประเทศและต่างประเทศ มีภูมิคุ้มกันต่อความเสี่ยงต่าง ๆ ที่มีความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกทั้งด้านการค้าและการลงทุน รวมทั้งการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน โดยวางโครงสร้างพื้นฐานด้านองค์ความรู้ มีระบบธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม และการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและบริการ รวมทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านอุตสาหกรรม การเกษตร ระบบบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการ พลังงาน และระบบโครงข่ายสารสนเทศและการสื่อสาร โดยจะดำเนินการ ดังนี้
3.1 นโยบายการเงินการคลัง
3.1.1 ดำเนินนโยบายการเงินเพื่อสนับสนุนการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจอย่างมี เสถียรภาพ โดยดูแลเงินเฟ้อและค่าเงินบาทให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและกลไกตลาด ส่งเสริมประสิทธิภาพและความมั่นคงของภาคการเงินในประเทศ และส่งเสริมศักยภาพในการบริหารความเสี่ยงของภาคเอกชน
3.1.2 รักษาวินัยการคลังเพื่อให้เกิดความยั่งยืนทางการคลังในระยะยาว ซึ่งครอบคลุมถึงเงินงบประมาณ เงินนอกงบประมาณ งบประมาณของท้องถิ่น ฐานะการเงินของรัฐวิสาหกิจและสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ปฏิรูประบบงบประมาณแผ่นดินทั้งระบบ ให้สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศอย่างบูรณาการ ปรับปรุงระบบภาษีและการจัดเก็บภาษีให้มีความเป็นธรรม มีประสิทธิภาพ และเพียงพอกับรายจ่ายเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในอนาคต
3.1.3 ส่งเสริมให้มีระบบการออมระยะยาว เพื่อให้มีเงินออมเพียงพอกับการดำรงชีพในยามชรา รวมทั้งเป็นการสร้างฐานเงินออมเพื่อการระดมทุนของประเทศในอนาคต
3.1.4 วางระบบการดูแลและส่งเสริมการเคลื่อนย้ายเงินทุนทั้งระยะสั้นและระยะยาวให้ เกิดประโยชน์ต่อประเทศ ส่งเสริมการลงทุนของไทยในต่างประเทศ ทั้งการลงทุนของผู้ประกอบการและนักลงทุนที่เป็นสถาบัน และดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ โดยให้สอดคล้องกับขีดความสามารถในการแข่งขัน เป้าหมายการส่งเสริมศักยภาพของสาขาการผลิตที่จำเป็น และเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
3.1.5 ปรับปรุงประสิทธิภาพของตลาดทุนให้ทัดเทียมกับตลาดหลักในภูมิภาคและตลาดโลก ทั้งด้านธรรมาภิบาล ราคา และคุณภาพ โดยให้ความสำคัญแก่การปรับปรุงมาตรการสิ่งจูงใจเพื่อสนับสนุนการออมของ ประเทศ การเพิ่มบทบาทของตลาดทุนและตลาดตราสารหนี้ในการเป็นแหล่งทุนสำหรับการลงทุน โครงการขนาดใหญ่ของรัฐ และการจัดให้มีกลไกเพื่อกำกับดูแลการพัฒนาตลาดทุนให้ประสานสอดคล้องกับการ พัฒนาตลาดเงิน
3.1.6 พัฒนารัฐวิสาหกิจให้สามารถเป็นกลไกสนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนา และการลงทุนของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างฐานรายได้และมูลค่าให้แก่ทรัพย์สินของรัฐ มีการบริหารงานอย่างมืออาชีพ ตลอดจนกำกับดูแลการบริหารจัดการรัฐวิสาหกิจภายใต้หลักธรรมาภิบาล ทั้งการจัดทำและแยกบัญชีเชิงสังคม ความโปร่งใส และการวัดประสิทธิภาพของการดำเนินงานในมาตรฐานไม่น้อยกว่าเกณฑ์ของตลาดหลัก ทรัพย์แห่งประเทศไทย รวมทั้งเร่งฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน
3.2 นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ
3.2.1 ภาคเกษตร
3.2.1.1 เร่งปรับโครงสร้างการผลิตทางการเกษตรให้สอดคล้องกับโอกาสทางการตลาดและการ เปลี่ยนแปลงรสนิยมของผู้บริโภค ทั้งที่เป็นตลาดเดิมและตลาดใหม่ โดยกำหนดยุทธศาสตร์ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตอาหารของโลก เน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของการทำประมง ปศุสัตว์ และพืชเศรษฐกิจหลักของประเทศให้ครบวงจร รวมทั้งสนับสนุนการผลิตพืชพลังงาน เช่น ปาล์มน้ำมัน อ้อย มันสำปะหลัง เพื่อสนับสนุนนโยบายพลังงานทดแทน และสนับสนุนการผลิตสินค้าใหม่ที่มีโอกาสทางการตลาด เช่น พืชเส้นใย และสมุนไพร เป็นต้น
3.2.1.2 ส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้าเกษตร โดยการแปรรูปที่ได้คุณภาพและมาตรฐานสากลเพื่อเชื่อมโยงสู่อุตสาหกรรมการ เกษตร โดยการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาด้านมาตรฐานการผลิตสินค้าเกษตรและอาหาร ความปลอดภัยอาหารตามมาตรฐานสากล รวมทั้งให้มีระบบป้องกันและควบคุมการระบาดของโรค ตลอดจนสนับสนุนการแปรรูปสินค้าเกษตรในชุมชน
3.2.1.3 เร่งรัดการเจรจาข้อตกลงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร เพื่อป้องกันมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี และพัฒนาโครงข่ายระบบการขนส่งสินค้าเกษตรทั้งในพื้นที่ชนบทและเมือง เพื่อขยายตลาดของสินค้าเกษตรและอาหารสู่ตลาดโลก
3.2.1.4 ส่งเสริมการทำการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ในระดับชุมชนตามแนวพระราชดำริ เพื่อให้ครัวเรือนเกษตรกรมีความมั่นคงทางด้านอาหาร ส่งเสริมการขยายกระบวนการเรียนรู้ระบบเกษตรอินทรีย์ เกษตรผสมผสาน วนเกษตร โครงการอาหารกลางวัน และธนาคารโคกระบือตามแนวพระราชดำริ โดยเกษตรกรและชุมชนเป็นผู้กำหนดทิศทางและแนวทางด้วยตนเอง
3.2.1.5 ส่งเสริมและสนับสนุนสถาบันเกษตรกรทั้งในด้านการรวมกลุ่มสหกรณ์ วิสาหกิจชุมชน ตลอดจนสภาเกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการวางแนวทางพัฒนาการเกษตรและพัฒนาความสามารถใน การแข่งขันด้วยตนเอง
3.2.2 ภาคอุตสาหกรรม
3.2.2.1 พัฒนาประสิทธิภาพและผลิตภาพของภาค อุตสาหกรรม รวมทั้งสร้างมูลค่าให้กับสินค้าอุตสาหกรรม ด้วยการยกระดับความสามารถ ทักษะแรงงาน การบริหารจัดการของผู้ประกอบการ และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักร ระบบบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการภายในกลุ่มอุตสาหกรรม บนพื้นฐานความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา
3.2.2.2 พัฒนาและขับเคลื่อนอุตสาหกรรมที่ประเทศไทยมีศักยภาพสูงและมีความได้เปรียบ เช่น อาหาร เหล็ก ยานยนต์ ปิโตรเคมี พลังงาน และอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ให้เป็นฐานการผลิตในระดับภูมิภาคและระดับโลก ด้วยการส่งเสริมการลงทุนหรือให้สิทธิพิเศษกับอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ รวมทั้งจัดหาและพัฒนาพื้นที่และโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสมเพื่อรองรับการ พัฒนาอุตสาหกรรมในระยะ 20 ปีข้างหน้า โดยคำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและการมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่
3.2.2.3 สร้างสินค้าที่มีคุณภาพและมาตฐานเพื่อเพิ่มมูลค่าและคุ้มครองทรัพย์สินทาง ปัญญาให้แก่สินที่ผลิตในประเทศไทย โดยสนับสนุนการพัฒนาทักษะฝีมือผสมผสานกับการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น กลุ่มสินค้าแฟชั่น อัญมณี และเครื่องประดับ และสินค้าอื่น ๆ พร้อมทั้งใช้มาตรการด้านการตลาดและสร้างตราสัญลักษณ์สินค้าของไทยให้เป็นที่ นิยมทั้งในประเทศและต่างประเทศ
3.2.2.4 สร้างและพัฒนาผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทั้งวิสาหกิจชุมชนให้มีความเข้มแข็ง เพื่อเป็นฐานการผลิตของระบบเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มเพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้าและศักยภาพในการแข่ง ขัน ด้วยการสนับสนุนด้านองค์ความรู้และนวัตกรรม รวมถึงการสร้างธรรมาภิบาลในการประกอบการและความรับผิดชอบต่อสังคม
3.2.2.5 ส่งเสริมและขยายบทบาทศูนย์บ่มเพาะสำหรับผู้ประกอบการที่มุ่งสร้างสินค้าและ บริการที่มีมูลค่าสูง โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ออกแบบให้มีความเหมาะสมตามศักยภาพในพื้นที่ต่าง ๆ พร้อมทั้งสร้างศูนย์พัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ตลอดจนสนับสนุนให้มีการนำองค์ความรู้และนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์
3.2.2.6 จัดตั้งกองทุนพัฒนาความสามารถในการแข่งขันและการลงทุนเพื่อกระตุ้น อุตสาหกรรมให้มีการปรับตัว และสนับสนุนการลงทุนของอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสูงและใช้พลังงานน้อย รวมทั้งขยายบทบาทของกองทุนที่มีอยู่ในปัจจุบันให้สามารถสนับสนุนการปรับโครง สร้างของภาคอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.2.3 ภาคการท่องเที่ยวและบริการ
3.2.3.1 เร่งสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว โดยฟื้นฟู พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการท่องเที่ยวให้ยั่งยืน และสร้างแหล่งท่องเที่ยวใหม่ในเชิงกลุ่มพื้นที่ที่มีศักยภาพ สามารถเชื่อมโยงธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรม และวิถีชีวิตของชุมชน รวมถึงการเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน ควบคู่กับการส่งเสริมตลาดนักท่องเที่ยวคุณภาพ เช่น กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มดูแลรักษาสุขภาพ กลุ่มประชุมและแสดงสินค้า และกลุ่มที่มีความสนใจด้านระบบนิเวศ วัฒนธรรมท้องถิ่น แหล่งประวัติศาสตร์และโบราณสถาน เป็นต้น และดูแลให้นักท่องเที่ยวปลอดภัยจากอาชญากรรม การฉ้อฉล และอุบัติเหตุที่เกิดจากความบกพร่องของผู้ประกอบการ
3.2.3.2 พัฒนาธุรกิจบริการที่มีศักยภาพ เพื่อสร้างโอกาสการขยายฐานการผลิตและการตลาดในระดับภูมิภาค เช่น ธุรกิจบริการสุขภาพ ธุรกิจ การประชุมและแสดงสินค้า การศึกษานานาชาติ การก่อสร้าง ธุรกิจภาพยนตร์ และธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับกีฬาและนันทนาการ เป็นต้น โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาความเข้มแข็งของผู้ประกอบการ การเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุน มาตรฐานธุรกิจและการพัฒนาบุคลากรให้พร้อมรับการขยายตัวของธุรกิจ และการส่งเสริมด้านการตลาด
3.2.3.3 ส่งเสริมและพัฒนาความร่วมมือของกลุ่มอุตสาหกรรมการค้าและบริการที่เน้นความ สำคัญของศักยภาพพื้นที่และเอกลักษณ์ทางด้านวัฒนธรรม รวมทั้งความสามารถทางด้านบุคลากรเพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ เช่น ธุรกิจบริการด้านสุขภาพและการแพทย์ที่เชื่อมโยงกับการวิจัยและพัฒนา อุตสาหกรรมยาและเวชภัณฑ์
3.2.4 การตลาด การค้า และการลงทุน
3.2.4.1 ส่งเสริมนโยบายการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม ป้องกันการผูกขาดตัดตอน และคุ้มครองผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสร้างความมั่นใจให้กับผู้ประกอบการในด้านการคุ้มครองทรัพย์สินทาง ปัญญา
3.2.4.2 ดำเนินการตลาดเชิงรุกเพื่อรักษาตลาดเดิมและสร้างตลาดใหม่ เพื่อลดการพึ่งพาการส่งออกไปตลาดหลัก โดยส่งเสริมการส่งออกในตลาดใหม่ ได้แก่ จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรปตะวันออก พร้อมทั้งรักษาส่วนแบ่งในตลาดหลักไม่ให้ลดลง โดยมุ่งเน้นการส่งออกสินค้าที่มีอัตราการขยายตัวสูงในตลาดใหม่
3.2.4.3 ขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจเพื่อผลประโยชน์ทางการค้าภายใต้กรอบความร่วม มือและข้อตกลงทางด้านการค้าในระบบพหุภาคีและทวิภาคี เพื่อสนับสนุนการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ รวมทั้งการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการขยายตลาดการค้าระหว่างประเทศ และการค้าชายแดน
3.2.4.4 ทบทวนการจัดตั้งสำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศและปรับปรุงกลไกการบริหารจัดการ ด้านการค้าของประเทศให้เป็นไปอย่างบูรณาการ โดยเชื่อมโยงกลไกในระดับนโยบายและหน่วยงานปฏิบัติที่มีภารกิจเกี่ยวข้อง เพื่ออำนวยความสะดวกและลดขั้นตอนให้แก่ธุรกิจภาคเอกชนให้สอดคล้องกับ สถานการณ์ของตลาดโลกที่เปลี่ยนแปลงไป
3.2.4.5 สนับสนุนการลงทุนในต่างประเทศในสาขาที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพ ทั้งในการลงทุนตั้งโรงงานผลิตสินค้า การทำสัญญาสินค้าเกษตรตามข้อตกลง การเปิดสาขา การหาตัวแทนและหุ้นส่วนในต่างประเทศเพื่อสร้างเครือข่ายธุรกิจไทยในต่าง ประเทศ
3.2.4.6 ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าการลงทุน เพื่อสร้างบรรยากาศการลงทุนที่ดีและสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนทั้งใน ประเทศและจากต่างประเทศ
3.3 นโยบายโครงสร้างพื้นฐาน และระบบบริหารจัดการขนส่งมวลชน สินค้าและบริการ
3.3.1 พัฒนาบริการโครงสร้างพื้นฐานให้กระจายไปสู่ภูมิภาคอย่างทั่วถึงและเพียงพอ โดยเฉพาะการจัดให้มีสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานอันจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของ ประชาชน ทั้งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค บริการสื่อสารโทรคมนาคม และที่อยู่อาศัย เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
3.3.2 พัฒนาระบบคมนาคมขนส่งและเชื่อมโยงโครงข่ายการบริหารจัดการขนส่งมวลชนสินค้า และบริการ ทั้งพื้นที่ชนบท เมือง และระหว่างประเทศ โดยให้ความสำคัญแก่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบริการขนส่งระบบรางให้เชื่อม โยงการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ เพื่อลดต้นทุนสินค้าและบริการเพื่อการส่งออก
3.3.3 พัฒนาการขนส่งทางน้ำและกิจการพาณิชยนาวี ทั้งภายในและระหว่างประเทศ ตลอดจนพัฒนาท่าเรือน้ำลึกบริเวณพื้นที่ภาคใต้ พัฒนาท่าเรือชุมชน และกองเรือไทย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดการใช้พลังงานในภาคขนส่ง เชื่อมโยงประตูการค้าใหม่และสนับสนุนการท่องเที่ยว
3.3.4 พัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานภูมิภาค และอุตสาหกรรมการบินของไทย เพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการบิน การท่องเที่ยว และการขนส่งสินค้าทางอากาศชั้นนำของเอเชียและโลก
3.4 นโยบายพลังงาน
3.4.1 สร้างความมั่นคงทางด้านพลังงาน ด้วยการจัดหาพลังงานให้เพียงพอต่อการพัฒนาประเทศเพื่อความอยู่ดีกินดีของ ประชาชน โดยเร่งรัดให้มีการลงทุนสำรวจและพัฒนาพลังงานทั้งจากในประเทศ เขตพื้นที่พัฒนาร่วม และจากประเทศเพื่อนบ้านให้เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือด้านพลังงานกับต่างประเทศ
3.4.2 ส่งเสริมให้มีการกำกับดูแลกิจการพลังงานให้มีราคาพลังงานที่เหมาะสม เป็นธรรม และก่อให้เกิดการแข่งขันลงทุนในธุรกิจพลังงาน โดยมีมาตรฐาน คุณภาพการให้บริการและความปลอดภัยที่ดี
3.4.3 พัฒนาและวิจัยพลังงานทดแทนทุกรูปแบบเพื่อเป็นทางเลือกแก่ประชาชนตามหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมทั้งศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมในการตัดสินใจพัฒนาพลังงานทางเลือกอื่น ๆ ที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงและพลังงานที่สอดคล้องกับท้องถิ่น
3.4.4 ส่งเสริมการอนุรักษ์และประหยัดพลังงานอย่างจริงจังและต่อเนื่อง รวมทั้งสนับสนุนการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพทั้งในภาคการผลิต ภาคบริการ และภาคประชาชน โดยมีมาตรการจูงใจที่เหมาะสม
3.4.5 ส่งเสริมการพัฒนา ผลิต และใช้พลังงานควบคู่ไปกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมกลไกการพัฒนาพลังงานที่สะอาด รวมทั้งให้ความสำคัญกับการจัดการก๊าซเรือนกระจกเพื่อช่วยบรรเทาสภาวะโลกร้อน
3.5 นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ
3.5.1 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น โครงข่ายสื่อสารความเร็วสูงให้ทั่วถึง เพียงพอ ในราคาที่เหมาะสม เป็นธรรม และแข่งขันได้ เพื่อเป็นโครงข่ายหลักสนับสนุนการพัฒนาประเทศไทยไปสู่สังคมแห่งภูมิปัญญา ช่วยลดความเหลื่อมล้ำระหว่างเขตเมืองและชนบท และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ
3.5.2 พัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องด้านบริการความรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และจัดให้มีกลไกสนับสนุนแหล่งทุนสำหรับผู้ประกอบธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศ ขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทั้งพัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพได้มาตรฐานและสอดคล้องกับความต้องการของ ตลาด เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในภูมิภาค
3.5.3 สนับสนุนการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการพัฒนาระบบบริหารจัดการและบริการ ภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ การเชื่อมโยงข้อมูล การบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการ การเตือนภัยและความมั่นคงของรัฐ บริการการศึกษาและสาธารณสุข ตลอดจนการพัฒนาระบบภูมิสารสนเทศและเทคโนโลยีอวกาศ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ
4. นโยบายที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ
รัฐบาลให้ความสำคัญแก่บทบาทของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในการสร้าง ความสุขของประชาชนและสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยให้ความสำคัญแก่การบริหารจัดการอย่างบูรณาการระหว่างมิติของเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเพิ่มการมีบทบาทร่วมของประชาชนและชุมชน โดยจะดำเนินการ ดังนี้
4.1 อนุรักษ์ พัฒนา และใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืนให้เกิดมูลค่าทาง เศรษฐกิจ โดยให้ความสำคัญแก่การใช้ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น ตลอดจนความปลอดภัยทางชีวภาพเพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหารและสุขภาพ และสร้างมูลค่าเพิ่มสู่เศรษฐกิจระดับประเทศและสากลในระยะต่อไป
4.2 เร่งรัดการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภายใต้การมีส่วนร่วม ของประชาชน ชุมชนท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชน ให้มีความสมดุลของการใช้ประโยชน์ การถือครอง และการอนุรักษ์ฐานทรัพยากร ที่ดิน ป่าไม้ สัตว์ป่า ทรัพยากรน้ำ ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และทรัพยากรธรณี โดยการใช้ระบบภูมิสารสนเทศ ควบคู่กับการปรับปรุงและบังคับใช้กฎหมายตลอดจนกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่าง เคร่งครัด โดยเร่งรัดปราบปรามการทำลายป่า สัตว์ป่า และทรัพยากรธรรมชาติอย่างจริงจัง รวมทั้งการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องให้เกิดประโยชน์สูงสุด และมีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการพัฒนาประเทศและคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน
4.3 อนุรักษ์ทรัพยากรดินและป่าไม้ โดยการยุติการเผาไร่นาและทำลายหน้าดิน การลดการใช้สารเคมีเพื่อการเกษตร รวมทั้งการฟื้นฟูดินและป้องกันการชะล้างทำลายดิน โดยการปลูกหญ้าแฝกตามแนวพระราชดำริ รวมทั้งมีการกระจายและจัดการกรรมสิทธิ์ที่ดินอย่างเป็นธรรม อนุรักษ์และป้องกันรักษาป่าที่สมบูรณ์ สนับสนุนให้มีการปลูกและฟื้นฟูป่าตามแนวพระราชดำริ สนับสนุนการจัดการป่าชุมชนและส่งเสริมการปลูกไม้เศรษฐกิจในพื้นที่ที่เหมาะ สมตามหลักวิชาการ และการสนับสนุนบทบาทของชุมชนในการบริหารจัดการน้ำ เช่น การทำฝายต้นน้ำลำธารหรือฝายชะลอน้ำตามแนวพระราชดำริ
4.4 จัดให้มีมาตรการป้องกันและพัฒนาระบบข้อมูลและเตือนภัยจากภัยพิบัติทาง ธรรมชาติ เช่น อุทกภัย ภัยแล้ง ธรณีพิบัติ และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และดำเนินมาตรการลดผลกระทบและความเดือดร้อนของประชาชนจากภัยพิบัติทาง ธรรมชาติ
4.5 เร่งรัดการควบคุมมลพิษทางอากาศ ขยะ น้ำเสีย กลิ่น และเสียง ที่เกิดจากการผลิตและบริโภค โดยเฉพาะเร่งรัดการสร้างระบบบำบัดน้ำเสียที่เกิดขึ้นจากสังคมเมืองและการ ผลิตในภาคเกษตรและอุตสาหกรรม การจัดทำระบบกำจัดขยะโดยวิธีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการกำจัดขยะและบำบัดน้ำ เสีย
4.6 ส่งเสริมให้ภาครัฐและภาคเอกชนวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อารอนุ รักษ์พลังงาน การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม การผลิตวัสดุที่สามารถย่อยสลายได้ การหมุนเวียนการใช้วัตถุดิบและเทคโนโลยีที่สะอาด และการใช้หลักผู้ก่อมลพิษเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นให้เกิดการลด การก่อมลพิษและลดภาระของสังคมตามธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม
4.7 ส่งเสริมการสร้างความตระหนักทางด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการดำเนินกิจกรรมและการปรับพฤติกรรมการผลิตและการบริโภค เพื่อบรรเทาผลจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนสนับสนุนการดำเนินการตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่จะนำมาสู่การเพิ่ม ประสิทธิภาพในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5. นโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม
ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ
รัฐบาลตระหนักถึงความสำคัญของการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ในฐานะที่เป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ และการยกระดับคุณภาพชีวิต โดยรัฐบาลจะดำเนินการ ดังนี้
5.1 ส่งเสริมการนำงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาประเทศ ควบคู่กับการพัฒนาระบบวิจัยและพัฒนาเชิงนวัตกรรมที่มีอยู่ให้สนองความต้อง การของภาคการผลิตและบริการ โดยให้ความสำคัญแก่การเชื่อมโยงระหว่างภาคเอกชน สถาบันวิจัย และมหาวิทยาลัย ตลอดจนพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจ ซึ่งจะนำไปสู่การวิจัย และพัฒนาต่อยอดและมีการใช้ประโยชน์องค์ความรู้และเทคโนโลยีในเชิงพาณิชย์
5.2 สร้างเสริมความรู้ความคิดของประชาชนทางด้านวิทยาศาสตร์ พร้อมทั้งเร่งผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีคุณภาพ และคุณธรรมให้สอดคล้องกับการเจริญเติบโตของภาคการผลิตและบริการ ตลอดจนพัฒนาเส้นทางอาชีพเพื่อรักษาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไว้ใน ระบบ รวมทั้งจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่สามารถดึงดูดบุคลากรที่มีความรู้ขั้น สูงจากต่างประเทศเพื่อให้เกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้แก่บุคลากรไทย
5.3 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมให้มีคุณภาพและปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการ และสนับสนุนการสร้างทรัพย์สินทางปัญญาของคนไทยเพื่อป้องกันมิให้ไทยถูกเอา เปรียบทางเทคโนโลยีจากต่างประเทศ โดยพัฒนาระบบการจัดการทรัพย์สินทางปัญญาให้มีประสิทธิภาพ พัฒนาระบบรับรองมาตรฐานให้ทันสมัย รวมทั้งพัฒนาศูนย์บ่มเพาะธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยี อุทยานวิทยาศาสตร์ และศูนย์แห่งความเป็นเลิศในสาขาเทคโนโลยีที่สำคัญ
5.4 ปรับปรุงระบบการวิจัยของประเทศให้สอดคล้องกับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ โดยพัฒนามาตรการจูงใจ และกฎหมายให้เอื้อต่อการลงทุนวิจัยและพัฒนาของภาคธุรกิจเอกชน และส่งเสริมการลงทุนจัดหาเทคโนโลยีที่เหมาะสมและมีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ จากต่างประเทศมาใช้ประโยชน์
6. นโยบายการต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ
รัฐบาลจะดำเนินนโยบายต่างประเทศเพื่อตอบสนองผลประโยชน์สูงสุดของประเทศ และประชาชน โดยจะดำเนินบทบาทเชิงรุกในการส่งเสริมความร่วมมือและขยายความสัมพันธ์อันดี กับนานาประเทศทั้งด้านการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และยึดมั่นในพันธกรณีที่มีอยู่กับต่างประเทศตามสนธิสัญญาและความตกลงต่าง ๆ ที่ประเทศไทยเป็นภาคี และเคารพกฎหมายระหว่างประเทศ รวมทั้งกฎบัตรสหประชาชาติและปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน พร้อมกับการสร้างภูมิคุ้มกันและพัฒนาเศรษฐกิจไทยทุกสาขาให้ได้รับประโยชน์ จากความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และสานต่อนโยบายทีมประเทศไทย (Team Thailand) เพื่อให้การดำเนินงานด้านต่างประเทศมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และมีเอกภาพ โดยจะดำเนินการ ดังนี้
6.1 ส่งเสริมและพัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน โดยส่งเสริมความร่วมมือทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาชน และสื่อมวลชน เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจอันดีและความใกล้ชิดระหว่างกัน อันจะนำไปสู่การขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การส่งเสริมการท่องเที่ยว การขยายการคมนาคมขนส่ง และความร่วมมือด้านอื่น ๆ ภายใต้กรอบความร่วมมืออนุภูมิภาค เช่น ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS) แผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) แผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) และความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการและ เศรษฐกิจ (BIMSTEC) เป็นต้น
6.2 ส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศในเอเชีย กรอบความร่วมมือเอเชีย และเพิ่มบทบาทในการสร้างความแข็งแกร่งของอาเซียนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการ จัดตั้งประชาคมอาเซียน และผลักดันบทบาทอาเซียนในเวทีระหว่างประเทศในวาระที่ไทยเป็นประธานอาเซียน
6.3 มีบทบาทที่สร้างสรรค์ในองค์กรระหว่างประเทศ โดยเฉพาะเวทีสหประชาชาติและองค์กรระดับภูมิภาคต่าง ๆ เพื่อรักษาสันติภาพ ความมั่นคง ส่งเสริมกระบวนการประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน มนุษยธรรม ตลอดจนร่วมมือในการแก้ไขประเด็นปัญหาข้ามชาติทุกด้านที่ส่งผลกระทบต่อความ มั่นคงของมนุษย์
6.4 กระชับความร่วมมือและความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์กับประเทศและกลุ่มประเทศ ที่มีบทบาทสำคัญของโลก จัดทำข้อตกลงการค้าเสรีในกรอบพหุภาคีและกับประเทศต่าง ๆ เพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศโดยรวม สร้างกลไกเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการให้สามารถปรับตัวรับผลกระทบและส่งเสริม การใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรี
6.5 ดำเนินงานเชิงรุกทางการทูตเพื่อประชาชน วัฒนธรรม และการศึกษา ตลอดจนการแลกเปลี่ยนในระดับประชาชนกับนานาประเทศ พร้อมทั้งส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการกับประเทศกำลังพัฒนา และสานต่อความร่วมมืออย่างใกล้ชิดเพื่อความเข้าใจอันดีกับองค์กรทางศาสนา อื่น ๆ
6.6 คุ้มครองผลประโยชน์ของคนไทย ดูแลคนไทยและแรงงานไทยในต่างประเทศ โดยเฉพาะคนไทยที่ประกอบอาชีพและมีถิ่นฐานในต่างประเทศ ส่งเสริมบทบาทของชุมชนชาวไทยในการรักษาเอกลักษณ์และความเป็นไทย
7. นโยบายความมั่นคงของรัฐ
ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ
รัฐบาลจะรักษาความมั่นคงของประเทศ สถาบันพระมหากษัตริย์ และระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และสร้างความสมานฉันท์ของคนในชาติ เตรียมความพร้อมในการเผชิญภัยคุกคามทุกรูปแบบ ทั้งภัยธรรมชาติและความขัดแย้งที่อาจส่งผลกระทบถึงประเทศไทย แก้ไขความขัดแย้งในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้และสร้างการอยู่ร่วมกันอย่างสงบ สุขสามัคคี สร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินแก่ประชาชนในทุกพื้นที่ของประเทศ และต่อต้านภัยสังคมในทุกรูปแบบ โดยจะดำเนินการ ดังนี้
7.1 เทิดทูนและพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ ดำรงรักษาไว้ซึ่งพระบรมเดชานุภาพแห่งพระมหากษัตริย์มิให้ผู้ใดล่วงละเมิดได้ รวมทั้งเสริมสร้างจิตสำนึกประชาชนในชาติให้มีความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหา กษัตริย์ ตลอดจนสร้างบรรยากาศให้เกิดความรัก ความสามัคคี และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขของคนในชาติ
7.2 เสริมสร้างระบบป้องกันประเทศให้มีความมั่นคง มีศักยภาพในการรักษาเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งเขตอำนาจรัฐ และผลประโยชน์ของชาติ โดยมุ่งพัฒนาความทันสมัยของอาวุธยุทโธปกรณ์ และเตรียมความพร้อมของกำลังพลในกองทัพ ตลอดจนการผนึกกำลังประชาชนให้มีส่วนร่วมในการรักษาความมั่นคงของประเทศ พร้อมทั้งให้การสนับสนุนภารกิจในการพัฒนาประเทศและการรักษาสันติภาพภายใต้ กรอบกติกาของสหประชาชาติ
7.3 เร่งพัฒนาระบบการจัดการเพื่อแก้ไขปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมือง แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย และบุคคลที่ยังไม่มีสถานะที่ชัดเจน เน้นการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดกับขบวนการลักลอบเข้าเมืองที่ผู้มี อิทธิพลให้การสนับสนุน เพื่อลดขนาดและผลกระทบของปัญหาความมั่นคงระยะยาวให้เหลือน้อยที่สุด ควบคู่ไปกับการจัดการแก้ไขปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคลที่ไม่มีสถานภาพที่ ชัดเจนภายใต้ความสมดุลระหว่างการรักษาความมั่นคงของชาติกับการดูแลสิทธิขั้น พื้นฐาน
7.4 พัฒนาและเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการป้องกันและ แก้ไขปัญหาการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ รวมทั้งมุ่งพัฒนาระบบบริหารจัดการพื้นที่ชายแดนให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ควบคู่กับการรักษาความมั่นคง ตลอดจนการดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล และเร่งขจัดเงื่อนไขความไม่เข้าใจกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือระหว่างกันทั้งด้านเศรษฐกิจ และด้านความมั่นคง
7.5 ปฏิรูประบบข่าวกรองให้เกิดประโยชน์ต่อการรักษาความมั่นคงและการเสริมสร้างผล ประโยชน์ของชาติ โดยจัดระบบบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานพลเรือน ตำรวจ ทหาร และให้ความสำคัญแก่ข้อมูลเชิงลึกด้านเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงที่เป็นประโยชน์ต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาของชาติได้อย่างแท้ จริง
7.6 พัฒนาระบบการเตรียมพร้อมแห่งชาติ โดยเน้นการบริหารวิกฤติการณ์ทั้งที่เกิดจากภัยธรรมชาติและภัยที่มนุษย์สร้าง ขึ้น โดยมุ่งระดมสรรพกำลังจากทุกภาคส่วนให้สามารถดำเนินงานร่วมกันอย่างมี ประสิทธิภาพ เพื่อป้องกัน แก้ไข บรรเทา และฟื้นฟูความเสียหายของชาติที่เกิดจากภัยต่าง ๆ
8. นโยบายการบริหารจัดการที่ดี
ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ
รัฐบาลจะพัฒนาและปรับปรุงระบบการบริหารงานภาครัฐเพื่อให้ส่วนราชการมี ความพร้อมและกำลังคนที่มีขีดความสามารถในการปฏิบัติงาน เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผล มีความคุ้มค่า และเกิดความเป็นธรรมในการให้บริการสาธารณะ และจะปรับปรุงกฎหมายและการยุติธรรม สนับสนุนการพัฒนาการเมือง และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินนโยบายสาธารณะ เพื่อให้เกิดการบริหารราชการแผ่นดินที่ดี โดยจะดำเนินการดังต่อไปนี้
8.1 ประสิทธิภาพการบริหารราชการแผ่นดิน
8.1.1 ปรับปรุงการให้บริการประชาชน ด้วยการสร้างนวัตกรรมและนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ในการให้บริการรูปแบบต่าง ๆ เพื่อลดภาระและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน
8.1.2 พัฒนาระบบและกำหนดมาตรการเพื่อดึงดูดผู้มีความรู้ความสามารถเข้ามารับราชการ ด้วยการปรับปรุงระบบค่าตอบแทนและสิ่งจูงใจให้เทียบเคียงหรือแข่งขันได้ใน ตลาดแรงงาน เพื่อให้ระบบราชการเป็นนายจ้างอันเป็นที่หมายปองของผู้สมัครงาน รวมทั้งสนับสนุนให้มีการเคลื่อนย้ายถ่ายโอนกำลังคนทั้งภายในระบบราชการและ ระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับภาคส่วนอื่น ๆ
8.1.3 พัฒนาระบบงานและสมรรถนะของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกระดับอย่างต่อ เนื่อง เพื่อให้มีขีดความสามารถในการปฏิบัติราชการและการส่งมอบบริการสาธารณะ โดยจะเน้นการพัฒนาข้าราชการในตำแหน่งที่มีความสำคัญต่อยุทธศาสตร์การพัฒนา ประเทศ และสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงในระบบราชการ รวมทั้งจะวางมาตรการสำหรับประเมินผลการปฏิบัติงานและจ่ายค่าตอบแทนที่เป็น ธรรมตามผลงาน เพื่อให้เกิดขวัญกำลังใจและแรงจูงใจในการพัฒนาผลงาน
8.1.4 พัฒนาคุณภาพชีวิตของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐให้ดีขึ้นเพื่อให้สามารถ ดำรงชีพอย่างมีศักดิ์ศรี โดยการเพิ่มเงินเดือน ค่าตอบแทน และสวัสดิการให้เหมาะสมกับสภาพการทำงานและสถานการณ์ค่าครองชีพที่เปลี่ยน แปลงไป รวมทั้งปรับปรุงสวัสดิภาพการทำงานและภาระหนี้สิน เพื่อให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐมีความสมดุลระหว่างการทำงานกับชีวิต ส่วนตัว
8.1.5 เสริมสร้างมาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรม ให้แก่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ และพัฒนาความโปร่งใสในการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐ พร้อมทั้งป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของข้าราชการและเจ้า หน้าที่ของรัฐอย่างจริงจัง เพื่อให้ภาคราชการเป็นที่เชื่อถือไว้วางใจแก่ประชาชน
8.1.6 ส่งเสริมการกระจายอำนาจการปกครองสู่ท้องถิ่นอย่างจริงจัง โดยสร้างดุลยภาพระหว่างการกำกับดูแลและความเป็นอิสระของท้องถิ่น โดยไม่กระทบความสามารถในการตัดสินใจดำเนินงานตามความต้องการของท้องถิ่น สร้างความเข้มแข็งและขีดความสามารถในการบริหารจัดการงบประมาณและบุคลากรของ ท้องถิ่นเพิ่มขึ้น ตลอดจนพึ่งพาตนเองด้วยฐานรายได้ที่ท้องถิ่นจัดเก็บเองได้มากขึ้น
8.1.7 สนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทในการจัดบริการสาธารณะของท้อง ถิ่นเพิ่มขึ้น โดยคำนึงถึงความจำเป็นและความเหมาะสมตามศักยภาพของท้องถิ่น รวมทั้งความต้องการของประชาชนในพื้นที่ ตลอดจนขยายการให้บริการที่ครอบคลุมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน เชื่อมโยงและบูรณาการกับแผนชุมชนและแผนระดับต่าง ๆ ในพื้นที่
8.1.8 เร่งรัดดำเนินการถ่ายโอนภารกิจของราชการส่วนกลางให้องค์กรปกครองส่วนท้อง ถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งการจัดสรรรายได้ให้ท้องถิ่นแต่ละประเภทอย่างเหมาะสม
8.1.9 สนับสนุนระบบการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการของผู้ว่าราชการจังหวัด ผ่านกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด และการจัดทำงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัด เพื่อให้จังหวัดและกลุ่มจังหวัดวางยุทธศาสตร์การพัฒนาและทิศทางการพัฒนา พื้นที่ในอนาคตที่สอดคล้องกับแนวนโยบายของรัฐบาลเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคม ศักยภาพของพื้นที่ และความต้องการของประชาชน
8.2 กฎหมายและการยุติธรรม
8.2.1 ดูแลให้มีการปฏิบัติและบังคับใช้กฎหมายอย่างถูกต้อง รวดเร็ว เป็นธรรม และทั่วถึง และส่งเสริมการให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่มีผลกระทบต่อประชาชนและภาค ธุรกิจ รวมตลอดถึงเพิ่มประสิทธิภาพในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และสนับสนุนการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน
8.2.2 พัฒนากฎหมายให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงและความจำเป็นของสังคม รวมทั้งจัดให้มี “องค์กรเพื่อการปฏิรูปกฎหมาย” และ “องค์กรเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม” ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เพื่อปรับปรุงและพัฒนากฎหมายของประเทศและกระบวนการยุติธรรม
8.2.3 ส่งเสริมและพัฒนาระบบงานยุติธรรมทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการป้องกันอาชญากรรมและสร้างความเป็นธรรมในสังคม การพัฒนากระบวนการยุติธรรมทางอาญาให้เป็นไปตามหลักนิติธรรม การใช้เครื่องมือและหลักวิชาการนิติวิทยาศาสตร์ การส่งเสริมการเข้าถึงความยุติธรรมและการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอำนวย ความยุติธรรม เช่น การพัฒนาระบบยุติธรรมชุมชนและยุติธรรมจังหวัด การพัฒนาและจัดให้มีกระบวนการยุติธรรมทางเลือก (ซึ่งเป็นกระบวนการชะลอการลงโทษ เช่น ใช้วิธีการทำงานบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม เป็นต้น) ควบคู่กับกระบวนการยุติธรรมกระแสหลัก รวมทั้งการพัฒนาระบบและวิธีปฏิบัติเพื่อแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดให้เหมาะสม ต่อกลุ่มเป้าหมาย ตลอดจนการพัฒนาระบบฐานข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศกระบวนการยุติธรรม
8.2.4 เสริมสร้างความยุติธรรมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมุ่งพัฒนากฎหมายและระบบงานยุติธรรมที่สอดคล้องกับพื้นที่ วิถีชีวิต และวัฒนธรรมท้องถิ่น บังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ขจัดเงื่อนไขความไม่ยุติธรรม และพัฒนาระบบการพิสูจน์การกระทำความผิดที่มีประสิทธิภาพ
8.3 ส่งเสริมให้ประชาชนมีโอกาสได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารจากทางราชการและสื่อสาธารณะอื่นได้อย่างกว้างขวาง ถูกต้อง เป็นธรรม และรวดเร็ว
ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ
รัฐบาลมีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินการตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐอย่างจริง จัง โดยรัฐบาลขอชี้แจงว่า การกำหนดนโยบายของรัฐบาลที่ได้กราบเรียนมาแล้วนี้ จะเป็นแนวทางดำเนินการในระยะเวลา 4 ปี ตามความเร่งด่วนของการแก้ไขปัญหาของประเทศ รวมทั้งจะเป็นการบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ตามบทบัญญัติในหมวด 5 ว่าด้วยแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย นอกจากนี้ เพื่อให้รัฐบาลสามารถบริหารราชการแผ่นดินได้ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย และดำเนินนโยบายจนบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ได้ รัฐบาลจะดำเนินการปรับปรุงหรือกำหนดแนวทางการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐ พัฒนาระบบการบริหารจัดการ เสนอร่างกฎหมาย ตลอดจนดำเนินการทุกประการที่เกี่ยวข้องกับการบริหารราชการแผ่นดินให้มี ประสิทธิภาพ และสามารถบรรลุผลในทางปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่การพัฒนาประเทศ โดยถือเป็นนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลนี้ด้วย
ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ
การกำหนดนโยบายบริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรีตามที่กล่าวมา ได้วางอยู่บนพื้นฐานข้อมูลตามความเป็นจริงของประเทศ และความต่อเนื่องกับเหตุการณ์ที่ผ่านมา ตลอดจนการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมใหม่ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง และสถานการณ์ของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป เมื่อการแถลงนโยบายนี้เสร็จสิ้นแล้ว รัฐบาลจะได้เร่งดำเนินการให้เป็นรูปธรรม โดยจัดทำรายละเอียดของแผนปฏิบัติการ ประกอบด้วยแผนการบริหารราชการแผ่นดิน แผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการต่าง ๆ และแผนการตรากฎหมาย ที่จะใช้เป็นคู่มือและแนวทางการทำงานต่อไป
อนึ่ง รัฐบาลขอเรียนว่า รัฐบาลนี้ยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยถือว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเป็นรากฐานสำคัญในการวางระบบการ บริหารประเทศให้เกิดความมั่นคงและสร้างเสริมหลักประชาธิปไตยที่ถูกต้องและ เหมาะสมเป็นที่ยอมรับของชนในชาติ ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่ให้ประชาชนออกเสียงลง ประชามติให้ความเห็นชอบ แต่โดยที่ยังปรากฏว่ามีความคิดเห็นที่แตกต่างกันอยู่มาก รัฐบาลนี้จึงจะสนับสนุนให้มีการศึกษาทบทวนบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญเพื่อ ดำเนินการแก้ไขให้เป็นไปตามหลักประชาธิปไตยอย่างแท้จริงและเป็นประโยชน์ต่อ การบริหารประเทศให้ดียิ่งขึ้นในเวลาอันควรต่อไป
รัฐบาลขอให้ความเชื่อมั่นแก่รัฐสภาอันเป็นองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ควบคุม การบริหารราชการแผ่นดินว่า จะบริหารราชการแผ่นดินด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต มีความมุ่งมั่นที่จะบริหารประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้า ทัดเทียมอารยประเทศ สร้างความเท่าเทียมให้เกิดขึ้นในสังคมที่มีความสมดุลมากขึ้น และให้คนไทยมีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย ทั้งนี้ โดยยึดประโยชน์สุขของประชาชนชาวไทยเป็นที่ตั้งอย่างแท้จริง
ขอบคุณครับ |
58 | คำแถลงนโยบาย
ของ
คณะรัฐมนตรี
นายสมชายวงค์สวัสดิ์
แถลงต่อรัฐสภา
วันอังคารที่ 7 ตุลาคม 2551
------------------------------------------------------------------------------------
ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ
ตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้กระผมเป็นนายกรัฐมนตรีตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ ๑๘ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๕๑ และแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ ๒๔ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๕๑ นั้น
บัดนี้ คณะรัฐมนตรีได้กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินเรียบร้อยแล้ว โดยยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาอันมีพระมหากษัตริย์ทรง เป็นประมุข และครอบคลุมถึงแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามบทบัญญัติในหมวด ๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย คณะรัฐมนตรีจึงขอแถลงนโยบายดังกล่าวต่อที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาเพื่อให้ ทราบถึงเจตนารมณ์ ยุทธศาสตร์ และนโยบายของรัฐบาล ที่มุ่งมั่นจะสร้างความสามัคคี ปรองดอง ให้เกิดขึ้นในสังคมไทย ซึ่งจะนำไปสู่ความร่วมมือกันในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองการปกครองของประเทศให้ก้าวหน้า เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนชาวไทยทุกคน
ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ
ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมที่มีความแข็งแกร่ง มีความอุดมสมบูรณ์ของอาหารและทรัพยากรธรรมชาติ มีภาคอุตสาหกรรมและบริการที่มีความสามารถในการแข่งขันทัดเทียมนานาประเทศ นอกจากนั้นยังเป็นที่ซึ่งประชาชนคนไทยและคนต่างชาติอยู่อาศัยอย่างมีความ สุขมาโดยตลอด
เศรษฐกิจไทยในครึ่งแรกของปีนี้ขยายตัวได้ดีถึงร้อยละ ๕.๗ โดยมีแรงสนับสนุนจากการส่งออกที่ยังขยายตัวในอัตราสูง ราคาสินค้าเกษตรที่สูงเป็นประวัติการณ์และนักท่องเที่ยวที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น มากจากปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจไทยต้องเผชิญกับปัจจัยด้านลบจากภายนอกประเทศที่สำคัญสองประการ คือ ประการแรก ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง ๘ เดือนแรกของปีนี้ส่งผลให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ และสร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีรายได้น้อย และประการที่สอง ปัญหาวิกฤตสถาบันการเงินในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งนับเป็นความเสียหายอย่างรุนแรงครั้งหนึ่งในรอบศตวรรษนี้ และคาดว่าจะมีผลกระทบถึงเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย โดยในระยะแรกคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อตลาดหลักทรัพย์ เงินทุนไหลออก และเพิ่มความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน และในระยะต่อไปอาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกของประเทศไทยอันเนื่องมาจากการชะลอ ตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และเศรษฐกิจในภูมิภาคอื่น ๆ ที่ได้รับผลกระทบ เช่น จีน ญี่ปุ่น และยุโรป เป็นต้น
นอกเหนือจากปัจจัยภายนอกประเทศ สถานการณ์ในประเทศที่ยังมีความขัดแย้งทางการเมือง ส่งผลให้กระบวนการบริหารประเทศไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มศักยภาพ และยังส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค นักท่องเที่ยว และนักลงทุนทั้งในประเทศและจากต่างประเทศเป็นอย่างมาก
บัดนี้ถึงเวลาแล้ว ที่คนไทยทุกคนจะต้องหันหน้าเข้าหากัน ร่วมกันคิด และร่วมมือกันแก้ปัญหา ด้วยความรักชาติและตระหนักว่าประเทศไทยเป็นของคนไทยทุกคน เพื่อพัฒนาประเทศให้กลับสู่ความมั่นคง สงบสุข และมีเสถียรภาพ เป็นที่เชื่อมั่นของทั้งคนไทยและคนต่างประเทศ และมีความเจริญก้าวหน้าอย่างสมดุลและยั่งยืนต่อไป
รัฐบาลจะดำเนิน “โครงการ จากวันแม่ถึงวันพ่อ ๑๑๖ วัน สร้างสามัคคี” ซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดความสามัคคีของคนไทย และในช่วงปลายปีนี้รัฐบาลจะดูแลการจัดงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ อย่างสมพระเกียรติตามความมุ่งหวังของประชาชนชาวไทยทุกคน
รัฐบาลให้ความ สำคัญสูงสุดแก่การแก้ไขความขัดแย้งทางการเมืองที่มีอยู่ในสังคมโดยยึดทาง สายกลาง จึงมีความตั้งใจแน่วแน่ในการแก้ไขปัญหาโดยการรับฟังความเห็นจากทุกภาคส่วน เพื่อลดความเห็นที่แตกต่างและสร้างความเห็นร่วมกันในเรื่องแนวทางการแก้ไข ปัญหา ตลอดจนสนับสนุนกระบวนการยุติธรรมให้ทำงานอย่างอิสระและเป็นกลไกตัดสินข้อขัด แย้งซึ่งได้เข้าสู่กระบวนการตามกฎหมาย ทั้งนี้ รัฐบาลมุ่งหวังที่จะบรรลุถึงการยุติความขัดแย้งโดยสันติ คงไว้ซึ่งคุณธรรม และวัฒนธรรมอันดีงามของสังคมไทยในการเอื้ออาทรและการให้อภัยซึ่งกันและกัน
รัฐบาล จะเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศโดยสร้างความมั่นใจของนักลงทุนจากทั้งภายใน และจากภายนอกประเทศ ให้เชื่อมั่นในประเทศไทยว่าเป็นแหล่งลงทุนที่มีความมั่นคง ระบอบการปกครองของประเทศเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุข ยึดมั่นในหลักนิติธรรม และสร้างบรรยากาศการลงทุนที่ดีโดยการปรับปรุง กฎ ระเบียบ ให้เอื้ออำนวยต่อการประกอบธุรกิจ รวมถึงผลักดันการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการพัฒนาความสามารถใน การแข่งขันของประเทศที่ได้เลื่อนชะลอในช่วงเวลาที่ผ่านมาให้เกิดขึ้นอย่าง รวดเร็ว
นอกจากนั้น จะจัดการประชุมผู้นำอาเซียนซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพให้สำเร็จลุล่วงอย่าง ราบรื่นอันเป็นการสร้างความมั่นใจของประชาคมโลกถึงสถานการณ์ที่กลับสู่ความ สงบและสมานฉันท์ของประเทศไทย และในโอกาสที่ประเทศไทยเป็นประธานอาเซียนจะผลักดันการดำเนินการให้บรรลุกฎ บัตรอาเซียน และวางรากฐานของภูมิภาคในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนที่มีประชาชนเป็นศูนย์ กลาง รวมถึงจะริเริ่มและส่งเสริมความร่วมมือในการสร้างประชาคมการเงินของเอเชีย ต่อไปในอนาคต
นอกจากเรื่องที่มีความสำคัญเร่งด่วนดังกล่าวแล้ว รัฐบาลยังมีภารกิจสำคัญอื่น ๆ ในการบริหารประเทศของรัฐบาล ที่จะวางรากฐานการเจริญเติบโตที่มั่นคงและยั่งยืน ส่งเสริมภาคการผลิตและบริการให้สามารถปรับตัวไปสู่การผลิตสินค้าและบริการ ที่มีมูลค่าสูงขึ้น และสร้างความสมดุล เสถียรภาพ และภูมิคุ้มกันให้แก่เศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งเกี่ยวข้องกับนโยบายในทุกด้าน ตั้งแต่การพัฒนาคนให้มีคุณภาพนำความรู้ การสนับสนุนการออมระยะยาว การส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ในพื้นที่ที่เหมาะสม การพัฒนาชุมชนให้พึ่งตนเองได้และเชื่อมโยงกับตลาดอย่างเป็นขั้นตอน จนถึงการสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงด้านพลังงาน การดูแลการเคลื่อนย้ายเงินทุน และการเพิ่มความสามารถในการใช้ประโยชน์และต่อยอดเทคโนโลยีให้เข้ากับ ภูมิปัญญาไทยเพื่อนำไปสู่นวัตกรรมและสร้างรายได้ให้แก่ระบบเศรษฐกิจตามหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นแนวทางหลักในการดำเนินงานของรัฐบาลตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ
รัฐบาลจะบริหารราชการตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงและบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยแบ่งการดำเนินการเป็น ๒ ระยะ คือ ระยะเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก และระยะการบริหารราชการ ๓ ปีของรัฐบาลดังต่อไปนี้
๑. นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก
๑.๑ สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย โดยการเสริมสร้างความเข้าใจร่วมกันของประชาชนในชาติให้เกิดความสมัครสมาน สามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มุ่งสร้างจิตสำนึกพลเมืองที่คำนึงถึงหลักเหตุผลเพื่อคนส่วนใหญ่ แสวงหาทางออกที่สร้างสรรค์อย่างสันติ ประนีประนอม และเคารพความคิดเห็นที่แตกต่าง โดยยึดหลักนิติธรรมและกระบวนการยุติธรรมเพื่อสร้างความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย
๑.๒ แก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยน้อมนำแนวทางพระราชทาน “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” มาดำเนินภารกิจด้านการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ด้านการพัฒนาเพื่อปรับปรุงส่งเสริมธรรมาภิบาล ซึ่งรวมถึงการอำนวยความเป็นธรรมและความยุติธรรม ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ ซึ่งรวมถึงการจัดให้มีบริการสาธารณะขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง โดยให้ภารกิจต่าง ๆ มีความสอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของพื้นที่ วิถีชีวิต วัฒนธรรม และความเชื่อของประชาชน รวมทั้งเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนและมีการจัดการอย่างมีเอกภาพ เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อย ความสมานฉันท์ และสันติสุขในพื้นที่โดยเร็วที่สุด
๑.๓ ส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนาและสร้างสัมพันธไมตรีที่ดีระหว่างประเทศใน ภูมิภาค โดยเร่งแก้ไขปัญหาการกระทบกระทั่งตามแนวพรมแดนผ่านกระบวนการทางการทูต และสร้างกลไกการพัฒนาพื้นที่ชายแดนร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน บนหลักการของการใช้ประโยชน์ร่วมกัน และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติของเพื่อนบ้านที่ดีในภูมิภาค
๑.๔ สร้างกลไกในการบริหารจัดการความเสี่ยงที่เกิดจากวิกฤตการเงินของโลกที่ส่งผล ต่อการเคลื่อนย้ายเงินทุนทั้งระยะสั้นและระยะยาว ทั้งการเคลื่อนย้ายเงินทุนเข้าประเทศและออกไปต่างประเทศ และดูแลสภาพคล่องในระบบสถาบันการเงินและตลาดทุนในประเทศ รวมทั้งสนับสนุนการดำเนินงานด้านนโยบายการเงินและการคลังอย่างสอดคล้องกัน เพื่อสร้างเสถียรภาพของระบบการเงินและตลาดทุนให้มีภูมิคุ้มกันต่อความผันผวน ของสภาวะการเงินโลก
๑.๕ เร่งสร้างความเชื่อมั่นของนักลงทุนและนักท่องเที่ยวทั้งในและนอกประเทศ โดยสร้างบรรยากาศที่ดีสำหรับการลงทุน แก้ไขกฎระเบียบที่เป็นปัญหาอุปสรรคต่อการลงทุนภายในประเทศและในต่างประเทศ รณรงค์ประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของไทย รวมทั้งเสริมสร้างความมั่นใจของนักท่องเที่ยวอย่างเร่งด่วน เพื่อสร้างรายได้เข้าประเทศและผลักดันให้ประเทศไทยคงความเป็นแหล่งท่อง เที่ยวชั้นนำของโลกอย่างต่อเนื่อง
๑.๖ เร่งรัดการลงทุนที่สำคัญของประเทศ ทั้งโครงการต่อเนื่องและโครงการใหม่ที่มีความพร้อมในการดำเนินการ เช่น การพัฒนาระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนและรถไฟชานเมืองในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รถไฟทางคู่ การพัฒนาบริการรถโดยสารสาธารณะ การพัฒนาพลังงานทดแทน การพัฒนาขีดความสามารถของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานสำคัญอื่น ๆ การพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำและการชลประทาน การลงทุนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาทั้งระบบ ควบคู่กับการจัดตั้งสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ การลงทุนเพื่อปรับโครงสร้างระบบบริการสุขภาพที่มุ่งสู่การป้องกันและส่ง เสริมสุขภาพ เป็นต้น เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยคำนึงถึงวินัยการคลังของประเทศ และมีการดำเนินงานอย่างโปร่งใสและตรวจสอบได้
๑.๗ แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการเนื่องจากภาวะภัยธรรมชาติ ภาวะเงินเฟ้อ และราคาน้ำมัน โดยให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติทั้งในด้านเงินทุนและการสร้างอาชีพ ดูแลระดับราคาสินค้าอุปโภคบริโภค และราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต รักษาเสถียรภาพของราคาพลังงานในประเทศไม่ให้ผันผวนจนเกินไป แม้ราคาพลังงานของโลกจะผันแปรมาก พร้อมกับส่งเสริมการประหยัดพลังงานและเพิ่มการใช้พลังงานทางเลือก
๑.๘ จัดตั้งสภาเกษตรกร และสร้างระบบประกันความเสี่ยงให้เกษตร เพื่อให้สภาเกษตรกรเป็นกลไกแทนเกษตรกรในการสื่อสารกับรัฐบาลและร่วมกันพัฒนา เกษตรกรด้วยกันเอง และให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุนอย่างทั่วถึงและมีระบบประกันความเสี่ยงที่ ช่วยลดความเสี่ยงอันเนื่องมาจากผลกระทบความเสียหายจากภัยธรรมชาติ รวมถึงดูแลราคาสินค้าเกษตรให้มีเสถียรภาพภายใต้การผันแปรอย่างรุนแรงของตลาด โลกและสร้างผลตอบแทนที่เป็นธรรมต่อเกษตรกร
๑.๙ สนับสนุนการเข้าถึงแหล่งทุนของชุมชน ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อสร้างโอกาสทางอาชีพ การดูแลและจัดการทรัพยากรในท้องถิ่นและสงเคราะห์ดูแลสังคมในชุมชน โดยจะเร่งรัดดำเนินโครงการเพิ่มศักยภาพของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ให้มีการบริหารจัดการที่ดี ผลักดันให้มีการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลและการจัดสรรงบประมาณตามขนาดประชากร ให้ทั่วถึงทุกหมู่บ้านและทุกชุมชนอย่างมีความต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนในระยะยาว
๑.๑๐ สนับสนุนสินเชื่อรายย่อยให้แก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อยและวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม โดยสานต่อโครงการธนาคารประชาชนเพื่อกระจายโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินให้แก่ ประชาชนผู้มีรายได้น้อย สร้างทางเลือกและลดการพึ่งพาแหล่งเงินกู้นอกระบบ สร้างผู้ประกอบการใหม่ และสนับสนุนสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการขนาดกลาง ขนาดย่อม และวิสาหกิจ ผ่านสถาบันการเงินของรัฐ
๑.๑๑ เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ โดยสนับสนุนให้ชุมชนเข้าถึงองค์ความรู้สมัยใหม่ แหล่งเงินทุน และพัฒนาความสามารถในการบริหารจัดการ คุณภาพมาตรฐานสินค้าและการตลาด เพื่อเชื่อมโยงสินค้าจากชุมชนสู่ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ สร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายการผลิตระหว่างชุมชน และเชื่อมโยงภาคเอกชนให้มี ส่วนร่วมสนับสนุนผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชน
๑.๑๒ เร่งรัดปราบปรามการค้ายาเสพติด ปราบปรามผู้มีอิทธิพล อบายมุข และสิ่งยั่วยุเยาวชน โดยสนับสนุนการปฏิบัติการ “รวมพลังประชาไทย พ้นภัยยาเสพติด” เร่งรัดแก้ไขปัญหายาเสพติด ลดปริมาณผู้เสพยา และป้องกันมิให้กลุ่มเสี่ยงเข้าไปเป็นเหยื่อของยาเสพติด ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนควบคู่กับมาตรการปราบปรามและบังคับใช้กฎหมาย อย่างเป็นธรรม และใช้มาตรการทางกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมตัดช่องทางการหาเงินทุจริตของ ผู้มีอิทธิพลใน ทุก ๆ ด้าน
๑.๑๓ เร่งรัดปรับปรุงระบบสาธารณสุข โดยพัฒนาระบบประกันสุขภาพให้มีคุณภาพการบริการเพิ่มขึ้น และขยายการบริการให้ประชาชนเข้าถึงบริการที่ดีอย่างทั่วถึง ตามแนวทาง “โครงการ ๓๐ บาทรักษาทุกโรค”
๑.๑๔ เร่งรัดการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและเพิ่มประสิทธิภาพระบบกระจายน้ำทั้งใน และนอกเขตชลประทาน โดยฟื้นฟูและขุดลอก คู คลอง และแหล่งน้ำธรรมชาติ รวมทั้งพัฒนาแหล่งน้ำผิวดินและใต้ดิน ดำเนินการก่อสร้างระบบชลประทานขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และคลองส่งน้ำขนาดเล็กเข้าไร่นา เพื่อประโยชน์ในการปรับโครงสร้างภาคการเกษตร การบรรเทาอุทกภัยและภัยแล้ง ทั้งในพื้นที่ชุมชนเมืองและพื้นที่เกษตรกรรม ส่งเสริมการพัฒนาระบบประปาที่ถูกสุขอนามัย เพื่อการอุปโภคและบริโภคแก่ประชาชนให้ทั่วถึงทุกพื้นที่ ระบบประปาบาดาล และน้ำสะอาดโรงเรียน และการเพิ่มประสิทธิภาพการกระจายน้ำโดยการพัฒนาระบบชลประทานในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งการผันน้ำเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุน
๑.๑๕ เร่งรัดมาตรการและโครงการเพื่อบรรเทาผลกระทบ รวมทั้งการปรับตัวเพื่อพร้อมรับวิฤกตโลกร้อน โดยการปราบปรามการบุกรุกทำลายป่าอย่างเข้มงวด เสริมด้วยการปรับปรุงแนวเขตที่ดินของรัฐ และพิสูจน์สิทธิ์ที่ดินประเภทต่าง ๆ รวมทั้งที่ดิน ป่าไม้ และเร่งพัฒนาฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ โดยเฉพาะการจัดฝายต้นน้ำเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้ป่าต้นน้ำ การเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเขตเมือง การเตรียมการเพื่อป้องกันภัยน้ำท่วมและน้ำแล้ง การเลือกปลูกพืชให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปริมาณน้ำ การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการใช้พลังงานทาง เลือกที่สะอาดในภาคการผลิตและบริการ ซึ่งรวมทั้งการใช้พลังงานจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ครัวเรือน ภาคอุตสาหกรรม เพื่อลดก๊าซเรือนกระจก และการสร้างจิตสำนึกในการตระหนักถึงหน้าที่ในการป้องกันปัญหาโลกร้อนแก่คน ไทยทุกวัยและทุกระดับ
๑.๑๖ จัดทำแผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงของสภาวะภูมิอากาศของโลก การผันผวนของราคาพลังงาน และวิกฤตอาหารของโลก โดยเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา และประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมจัดทำแผนแม่บทดังกล่าวเพื่อเป็นแนวทางการพัฒนารองรับ สถานการณ์อย่างเป็นระบบในระยะยาว
ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ
ในส่วนของนโยบายที่จะดำเนินการภายในช่วงระยะ ๓ ปีของรัฐบาลชุดนี้ รัฐบาลจะดำเนินนโยบายหลักในการบริหารประเทศซึ่งปรากฏตามนโยบายข้อที่ ๒ ถึงข้อที่ ๘ ดังต่อไปนี้
๒. นโยบายความมั่นคงของรัฐ
๒.๑ เทิดทูนและพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ดำรงรักษาไว้ซึ่งพระบรม เดชานุภาพแห่งพระมหากษัตริย์มิให้ผู้ใดล่วงละเมิดได้ รวมทั้งเสริมสร้างจิตสำนึกประชาชนในชาติให้มีความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหา กษัตริย์และป้องกันไม่ให้ตกเป็นเครื่องมือใช้แสวงหาผลประโยชน์เฉพาะกลุ่ม ตลอดจนสร้างบรรยากาศให้เกิดความรัก ความสามัคคี และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขของคนในชาติ
๒.๒ เสริมสร้างระบบป้องกันประเทศให้มีความมั่นคง มีศักยภาพในการรักษาเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งเขตอำนาจรัฐ และผลประโยชน์ของชาติ โดยมุ่งพัฒนาความทันสมัยของอาวุธยุทโธปกรณ์ และเตรียมความพร้อมของกำลังพลในกองทัพ ตลอดจนการผนึกกำลังประชาชนให้มีส่วนร่วมในการรักษาความมั่นคงของประเทศ พร้อมทั้งให้การสนับสนุนภารกิจในการพัฒนาประเทศและการรักษาสันติภาพภายใต้ กรอบกติกาของสหประชาชาติ
๒.๓ พัฒนาระบบการจัดการเพื่อแก้ไขปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมือง แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย และบุคคลที่ยังไม่มีสถานะที่ชัดเจน เน้นการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดกับขบวนการลักลอบเข้าเมืองที่ผู้มี อิทธิพลให้การสนับสนุน ดูแลให้ความเป็นธรรมและเฝ้าระวังไม่ให้เกิดปัญหาที่กระทบต่อความมั่นคงและ ความสงบสุขภายในประเทศควบคู่ไปกับการจัดการแก้ไขปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล ที่ไม่มีสถานภาพที่ชัดเจน ภายใต้ความสมดุลระหว่างการรักษาความมั่นคงของชาติกับการดูแลสิทธิขั้นพื้น ฐาน
๒.๔ พัฒนาและเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการป้องกันและ แก้ไขปัญหาการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ รวมทั้งมุ่งพัฒนาระบบริหารจัดการพื้นที่ชายแดนให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ควบคู่กับการรักษาความมั่นคง ตลอดจนการดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล และเร่งขจัดเงื่อนไขความไม่เข้าใจกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือระหว่างกันทั้งด้านเศรษฐิจ และด้านความมั่นคง
๒.๕ ปฏิรูประบบข่าวกรองให้เกิดประโยชน์ต่อการรักษาความมั่นคงและการเสริมสร้างผล ประโยชน์ของชาติ โดยจัดระบบบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานพลเรือน ตำรวจ ทหาร และให้ความสำคัญแก่ข้อมูลเชิงลึกด้านเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงที่เป็นประโยชน์ต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาของชาติได้อย่างแท้ จริง
๒.๖ พัฒนาระบบการเตรียมพร้อมแห่งชาติ โดยเน้นการบริหารวิกฤตการณ์เพื่อรับมือกับภัยคุกคามด้านต่าง ๆ ทั้งที่เกิดจากภัยธรรมชาติและภัยที่มนุษย์สร้างขึ้นที่นับวันมีแต่จะมากขึ้น โดยมุ่งระดมสรรพกำลังจากทุกภาคส่วนให้สามารถดำเนินงานร่วมกันอย่างมี ประสิทธิภาพ เพื่อป้องกัน แก้ไข บรรเทา และฟื้นฟูความเสียหายของชาติที่เกิดจากภัยต่าง ๆ
๓. นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต
๓.๑ นโยบายการศึกษา
๓.๑.๑ ลงทุนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาทั้งระบบครอบคลุมการพัฒนาครู หลักสูตร สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อผลสัมฤทธิ์ด้านคุณภาพและความรู้ของนักเรียนตามแผนการเรียนการสอนอย่าง สัมพันธ์กับทรัพยากรและปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ อันจะนำไปสู่การสร้างระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชน และการเป็นศูนย์กลางด้านการศึกษาในภูมิภาค
๓.๑.๒ จัดให้คนไทยทุกคนมีโอกาสรับการศึกษาไม่น้อยกว่า 12 ปีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ ผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก รวมทั้งบุคคลออทิสติก เด็กสมาธิสั้น และผู้ด้อยโอกาสอื่น ๆ ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง และเพิ่มโอกาสในการศึกษาต่อผ่านกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาและเชื่อม โยงกับนโยบายการผลิตบัณฑิตเพื่อตอบสนองความต้องการบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถของประเทศ รวมทั้งต่อยอดให้ทุนการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ
๓.๑.๓ ปรับระบบการผลิตและพัฒนาครูให้มีคุณภาพและคุณธรรม มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีรายได้ค่าตอบแทนและสวัสดิการที่เหมาะสม พัฒนาหลักสูตรสื่อการเรียนการสอนให้ทันสมัยและสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของ โลก ควบคู่กับการส่งเสริมการเรียนภาษาไทยและประวัติศาสตร์ เพื่อสร้างจิตสำนึกในความเป็นไทย พร้อมทั้งขยายบทบาทของระบบการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ผ่านองค์กรต่าง ๆ เช่น สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ ระบบห้องสมุดสมัยใหม่ หรืออุทยานการเรียนรู้ พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ ศูนย์พัฒนาด้านกีฬา ดนตรี ศิลปะ ศูนย์บำบัดและพัฒนาศักยภาพของบุคคลออทิสติก เด็กสมาธิสั้น และผู้ด้อยโอกาสอื่นๆ
๓.๑.๔ ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้อย่าง จริงจัง ส่งเสริมการใช้สื่อการเรียนรู้ทางไกล จัดให้มีการเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงอย่างกว้างขวาง จัดหาอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อประกอบแผนการเรียนการสอนของครูให้ โรงเรียนอย่างทั่วถึง ตลอดจนพัฒนาทักษะด้านภาษาต่างประเทศ
๓.๑.๕ พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานสถาบันอุดมศึกษาให้มีความเป็นเลิศด้านการศึกษาวิจัย และสร้างสรรค์นวัตกรรม การให้บริการวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง และการผลิตและพัฒนากำลังคน ให้สอดรับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภาคการผลิตและบริการ พร้อมทั้งเร่งผลิตกำลังคนระดับอาชีวศึกษาให้มีคุณภาพและมีเส้นทางอาชีพที่ ชัดเจนเพื่อสนับสนุนขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้านต่าง ๆ เช่น ปิโตรเคมี ซอฟต์แวร์ อาหาร สิ่งทอ บริการสุขภาพ การท่องเที่ยว และการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการ เป็นต้น ตลอดจนจัดให้มีการรับรองสมรรถนะของบุคคลในการประกอบอาชีพและสานต่อการขยาย บทบาทศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน
๓.๑.๖ ส่งเสริมสนับสนุนการกระจายอำนาจการจัดการศึกษาไปยังเขตพื้นที่การศึกษาและ สถานศึกษา รวมทั้งการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในการจัดการศึกษาอย่างกว้างขวาง ด้วยมาตรการที่เป็นรูปธรรม ควบคู่กับการพัฒนาศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้พร้อมรับการถ่ายโอน การจัดการศึกษา ตลอดจนการปรับระเบียบวิธีเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถสนับสนุน การจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพมาตรฐาน
๓.๑.๗ ส่งเสริมกลไกการบริหารจัดการศึกษาทั้งระบบ โดยครอบคลุมระบบการวางแผน การบริหารจัดการ การกำกับดูแล และการติดตามประเมินผล เพื่อนำข้อมูลต่าง ๆ มาใช้ในการปรับกลยุทธ์ของการจัดการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
๓.๒ นโยบายแรงงาน
๓.๒.๑ ฝึกอบรมและพัฒนาคนที่ทำงานแล้วและคนที่ถูกเลิกจ้าง เพื่อเพิ่มผลิตภาพแรงงานและสร้างโอกาสการเข้าสู่ภาคการผลิตและบริการที่มี ระดับเทคโนโลยีที่สูงขึ้น หรือมีการบริการบนพื้นฐานความมีไมตรีจิตของไทย และให้มีการฝึกอาชีพให้แก่ประชาชนทั้งในเมืองและชนบทอย่างสอดคล้องกับความ ต้องการ รวมทั้งการเสริมสร้างการประกอบอาชีพอิสระเพื่อสร้างรายได้และแก้ปัญหาความ ยากจน
๓.๒.๒ จัดให้มีระบบเตือนภัยและติดตามสถานการณ์ที่มีผลกระทบต่อการจ้างงาน การเลิกจ้างอันเนื่องจากการปรับเปลี่ยนโครงสร้างภาคการผลิตและบริการ พร้อมทั้งจัดให้มีการจ้างงานใหม่โดยเร็ว
๓.๒.๓ ให้ความคุ้มครองแรงงานตามกฎหมาย ซึ่งให้ความสำคัญแก่ความปลอดภัยในการทำงานและสวัสดิการแรงงาน การดูแลหลักประกันความมั่นคงแก่ผู้ใช้แรงงาน พร้อมทั้งจัดระบบการคุ้มครองแก่แรงงานนอกระบบให้ครอบคลุมมากขึ้น
๓.๒.๔ ส่งเสริมการมีงานทำของผู้สูงอายุและคนพิการในหลากหลายแนวทาง อาทิ การทำงานแบบบางเวลา การทำงานชั่วคราว การทำงานแบบสัญญาระยะสั้น รวมทั้งการขยายโอกาสการทำงานของผู้สูงอายุที่มีความชำนาญเฉพาะด้าน
๓.๒.๕ ส่งเสริมแรงงานไทยให้มีฝีมือและมีโอกาสการทำงานในต่างประเทศ รวมถึงดูแลให้แรงงานได้รับความเป็นธรรมในกระบวนการตั้งแต่ขั้นตอนการจ้างงาน จนถึงระหว่างการทำงานในต่างประเทศ
๓.๓ นโยบายการพัฒนาสุขภาพของประชาชน
๓.๓.๑ เพิ่มคุณภาพของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและให้ประชาชนเข้าถึงบริการได้ อย่างไม่มีอุปสรรค และจัดให้มีมาตรการลดปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพ และภาวะทุพโภชนาการที่นำไปสู่การเจ็บป่วยเรื้อรัง เช่น โรคมะเร็ง หัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิต และอุบัติเหตุจากการจราจร พร้อมทั้งนำมาตรการภาษีการบริโภคสินค้าที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพมาใช้กระตุ้น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบุคคลให้ ลด ละ และเลิกพฤติกรรมสุ่มเสี่ยงต่อสุขภาพ
๓.๓.๒ ลงทุนด้านบริการสุขภาพ โดยการพัฒนาคุณภาพบริการสุขภาพทั้งระบบอย่างมีบูรณาการและเชื่อมโยงกันใน ทุกระดับ การผลิตและพัฒนาแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข รวมทั้งการเพิ่มสิ่งจูงใจ ปรับปรุงระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศให้ทันสมัยและเชื่อมโยงกับหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง ควบคู่กับการส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางบริการสุขภาพ โดยการพัฒนามาตรฐานบริการในระดับสากล การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับเอกชน และการปรับปรุงกฎหมายให้เอื้อต่อการเป็นศูนย์กลางบริการด้านสุขภาพ
๓.๓.๓ ดำเนินการระบบเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคเชิงรุก เพื่อป้องกันปัญหาการป่วยและตายด้วยโรคอุบัติใหม่ และระบาดซ้ำในคน พร้อมทั้งสร้างขีดความสามารถในการเฝ้าระวัง วินิจฉัย และดูแลรักษาพยาบาลอย่างเป็นระบบที่ประสานเชื่อมโยงทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
๓.๓.๔ เพิ่มแรงจูงใจเพื่อสนับสนุนและขยายบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขให้เป็นกำลัง สำคัญของชุมชนในการดูแลเด็ก ผู้สูงอายุ คนพิการ การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล และการเฝ้าระวังโรคในชุมชน ตลอดจนการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชนเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล รวมทั้งเชื่อมโยงการดำเนินงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
๓.๓.๕ ส่งเสริมให้ประชาชนทุกระดับมีโอกาสออกกำลังกายและสร้างนิสัยรักการกีฬา เพื่อสร้างเสริมสุขภาพและพลานามัยที่ดี รวมทั้งสนับสนุนการจัดการแข่งขันกีฬาในระดับนานาชาติ และพัฒนาทักษะทางด้านกีฬาของนักกีฬาปกติและผู้พิการสู่ความเป็นเลิศที่จะนำ ชื่อเสียงมาสู่ประเทศชาติ
๓.๔ นโยบายศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม
๓.๔.๑ อุปถัมภ์ คุ้มครอง และทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น ๆ เพื่อให้มีบทบาทสำคัญในการปลูกฝังให้ประชาชนเข้าใจและนำหลักธรรมของศาสนามา ใช้ในการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และพัฒนาคุณภาพชีวิต
๓.๔.๒ ฟื้นฟูและสืบสานคุณค่าความหลากหลายของศิลปะและวัฒนธรรมไทยทั้งที่เป็นวิถี ชีวิต ประเพณี ค่านิยมที่ดีงาม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการดูแลรักษาแหล่งอุทยานประวัติศาสตร์ โบราณสถาน พิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อการศึกษาเรียนรู้และใช้ประโยชน์ในการเพิ่มมูลค่าผลผลิตบนพื้นฐานความ รู้และความเป็นไทย รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาแหล่งประวัติศาสตร์และโบราณสถานให้เป็นมรดกทาง วัฒนธรรมระดับโลก ควบคู่ไปกับการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมสำหรับเด็กและเยาวชนให้มากขึ้น
๓.๔.๓ พัฒนาแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมและนันทนาการ เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนไทยเกิดการเรียนรู้ที่ถูกต้อง ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ มีคุณธรรม เอื้ออาทรต่อผู้อื่น และเกิดการเรียนรู้ศิลปะอย่างสร้างสรรค์ เข้าใจถึงคุณค่าซาบซึ้งในความสุนทรีย์ของศิลปะ
๓.๔.๔ ขยายบทบาทและสร้างเครือข่ายความร่วมมือของสภาวัฒนธรรมทุกจังหวัดกับภาคีการ พัฒนาทุกภาคส่วน เพื่อขยายบทบาทสภาวัฒนธรรมทุกจังหวัดเป็นกลไกเฝ้าระวังทางวัฒนธรรมที่ครอบ คลุมทั้งวิถีชีวิตและสื่อทุกประเภทที่มีผลกระทบต่อการเบี่ยงเบนทางวัฒนธรรม และพฤติกรรมของเด็กและเยาวชน พร้อมทั้งขจัดสื่อที่เป็นภัยต่อสังคม ขยายสื่อดีเพื่อนำไปสู่การสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมอย่างเท่าทันสถานการณ์
๓.๕ นโยบายความมั่นคงของชีวิตและสังคม
๓.๕.๑ สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วยบทบาทของครอบครัว ชุมชน สถาบันศาสนา และสถาบันการศึกษา ในการพัฒนาเด็กตั้งแต่แรกเกิดต่อเนื่องทุกช่วงวัย ให้มีจิตใจที่ดีงาม มีทักษะชีวิต มีความรู้คู่คุณธรรม และปลูกฝังคุณค่าที่ดีของวัฒนธรรมไทย รวมทั้งสนับสนุนการทำกิจกรรมทางสังคมร่วมกันควบคู่กับการเปิดพื้นที่สาธารณะ สำหรับกิจกรรมของครอบครัว และการสร้างค่านิยมครอบครัวอบอุ่น
๓.๕.๒ สนับสนุนให้ชุมชนมีบทบาทในการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ เพื่อสร้างความมั่นคงของชุมชน โดยเชื่อมประสานกับบทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการสงเคราะห์ ดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ยากไร้ รวมทั้งจัดกิจกรรมที่ครอบครัวมีส่วนร่วม เช่น กิจกรรมด้านกีฬาและนันทนาการ กิจกรรมทำนุบำรุงศาสนา เป็นต้น
๓.๕.๓ สร้างหลักประกันความมั่นคงและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ให้เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส โดยจะขจัดขบวนการค้ามนุษย์ให้หมดสิ้นไป ขจัดการเลือกปฏิบัติและการละเมิดสิทธิเด็ก สตรี และคนพิการ ในทุกรูปแบบอย่างเด็ดขาด ส่งเสริมความรู้และอาชีพให้สตรี และคนพิการให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ รวมทั้งเสริมสร้างสวัสดิการทางสังคมแก่ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาสอย่างเหมาะสม
๓.๕.๔ เตรียมความพร้อมสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ ยึดหลักการให้ผู้สูงอายุเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าในระบบเศรษฐกิจและสังคมของ ประเทศ โดยสร้างหลักประกันด้านรายได้และระบบการออมในช่วงวัยทำงานที่เพียงพอสำหรับ ช่วงวัยชรา สร้างพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมกับช่วงวัย และส่งเสริมการใช้ประสบการณ์และภูมิปัญญาของผู้สูงอายุในกระบวนการพัฒนา ประเทศโดยระบบคลังสมอง รวมทั้งขยายการให้เบี้ยยังชีพให้ครอบคลุมคนชราที่ไม่มีรายได้อย่างทั่วถึง
๓.๕.๕ สร้างสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่ในสังคมเมือง และเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเขตเมือง โดยมีการวางผังเมืองอย่างเป็นระบบ ควบคู่กับการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยสาธารณะและสิ่งแวด ล้อมอย่างเคร่งครัด และจัดให้มีบริการขั้นพื้นฐานอย่างเหมาะสม มีโรงเรียนใกล้บ้านที่มีคุณภาพ มีการสื่อสารคมนาคมที่มีประสิทธิภาพ และมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
๔. นโยบายเศรษฐกิจ
๔.๑ นโยบายการบริหารเศรษฐกิจมหภาค
๔.๑.๑ สร้างความมั่นคงและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของสถาบันการเงินและตลาดทุน โดยวางระบบและยกระดับมาตรฐานการกำกับดูแลสถาบันการเงินและตลาดทุน ที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงวิศวกรรมและนวัตกรรมทางการเงิน และสร้างภูมิคุ้มกันต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นจากวิกฤตการณ์การเงินโลก
๔.๑.๒ สนับสนุนการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพ ดูแลเงินเฟ้อให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจของประเทศไทยภายใต้การผันแปรอย่าง รุนแรงของเศรษฐกิจโลก โดยมีกรอบนโยบายการเงิน และนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนที่มีเสถียรภาพสอดคล้องกับสถานการณ์และพื้นฐานทาง เศรษฐกิจของประเทศ และสอดประสานกับนโยบายการคลังและตลาดทุน
๔.๑.๓ รักษาวินัยการคลังเพื่อให้เกิดความยั่งยืนทางการคลังในระยะยาว ซึ่งครอบคลุมถึงเงินงบประมาณ เงินนอกงบประมาณ งบประมาณของท้องถิ่น ฐานะการเงินของรัฐวิสาหกิจและสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ปฏิรูประบบงบประมาณแผ่นดินทั้งระบบให้สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศอย่าง บูรณาการ ทั้งนี้ จะเร่งดำเนินการและเตรียมความพร้อมในการออกกฎหมายว่าด้วยการบริหารการคลัง ที่ดี ให้เป็นกลไกในการกำกับและเป็นกรอบแนวทางในการปฏิบัติ
๔.๑.๔ ปรับปรุงระบบภาษีและการจัดเก็บภาษีให้มีความเป็นธรรม มีประสิทธิภาพ และเพียงพอกับรายจ่ายเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในอนาคต
๔.๑.๕ ส่งเสริมให้มีระบบการออมระยะยาว เพื่อให้ประชาชนมีเงินออมเพียงพอกับการดำรงชีพในยามชรา โดยได้รับอัตราตอบแทนจากการฝากเงินหรือการลงทุนที่เหมาะสมและในระดับความ เสี่ยงที่ยอมรับได้ รวมทั้งเป็นการสร้างฐานเงินออมเพื่อการระดมทุนของประเทศในอนาคต
๔.๑.๖ ปรับปรุงประสิทธิภาพของตลาดทุนให้ทัดเทียมกับตลาดหลักในภูมิภาคและตลาดโลก ทั้งด้านธรรมาภิบาล ราคา และคุณภาพ โดยให้ความสำคัญผ่านการส่งเสริมการออมของประเทศ การเพิ่มบทบาทของตลาดทุนและตลาดตราสารหนี้ในการเป็นแหล่งทุนสำหรับการลงทุน โครงการขนาดใหญ่ของรัฐ และเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทย และการให้บริการทางการเงินอย่างกว้างขวางทั่วถึง ทั้งนี้จะจัดให้มีกลไกเพื่อกำกับดูแลการพัฒนาตลาดทุนให้สอดคล้องกับการพัฒนา ตลาดเงินและการเชื่อมโยงกับตลาดทุนทั่วโลก
๔.๑.๗ วางกรอบการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐที่มีแหล่งเงินและรูปแบบการลงทุนที่เหมาะ สม โดยคำนึงถึงวินัยการคลังของประเทศ และสนับสนุนการเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนเพื่อลดภาระการลงทุนของภาครัฐ
๔.๑.๘ พัฒนารัฐวิสาหกิจให้สามารถเป็นกลไกสนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนา และการลงทุนของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างฐานรายได้และมูลค่าให้กับทรัพย์สินของรัฐ มีระบบการบริหารจัดการและการกำกับดูแลอย่างมีประสิทธิภาพภายใต้หลักธรรมาภิ บาล ทั้งการจัดทำและแยกบัญชีเชิงสังคม ความโปร่งใส และการวัดประสิทธิภาพของการดำเนินงาน รวมทั้งเร่งฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน
๔.๒ นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ
๔.๒.๑ ภาคเกษตร
๔.๒.๑.๑ พัฒนาการสร้างมูลค่าเพิ่มด้านการเกษตรอย่างครบวงจร โดยเร่งรัดการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของพืชเศรษฐกิจที่สำคัญให้เหมาะสมกับ สภาพพื้นที่ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ การฟื้นฟูสภาพแวดล้อมดินและน้ำ รวมทั้งจัดพื้นที่การผลิตพืชอาหารและพืชพลังงานให้เหมาะสม และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชพลังงาน เช่น ปาล์มน้ำมัน อ้อย มันสำปะหลัง เพื่อผลิตพลังงานทดแทนและอุตสาหกรรมต่อเนื่องเพื่อรองรับวิกฤตอาหารและ พลังงานโลก
๔.๒.๑.๒ พัฒนาการประมง โดยบริหารจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของการประมง พัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทั้งประมงชายฝั่งและประมงน้ำจืดในระดับพื้นบ้าน ส่งเสริมความร่วมมือด้านการประมงกับต่างประเทศในน่านน้ำสากล และพัฒนาศักยภาพของอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ
๔.๒.๑.๓ เพิ่มศักยภาพการผลิตและการตลาดด้านปศุสัตว์ โดยการพัฒนาการผลิตทุกขั้นตอนให้มีความปลอดภัยและมาตรฐานสากล ปรับปรุงพันธุ์ปศุสัตว์ เช่น โค กระบือ สุกร และอื่น ๆ พัฒนาศักยภาพระบบการเฝ้าระวังป้องกัน ควบคุมโรคสัตว์ พัฒนาศักยภาพการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ และเปิดตลาดสินค้าปศุสัตว์สู่ตลาดโลก
๔.๒.๑.๔ ส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้าเกษตร โดยการแปรรูปที่ได้คุณภาพและมาตรฐานสากล เพื่อเชื่อมโยงสู่อุตสาหกรรมการเกษตร และส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาด้านมาตรฐานการผลิตสินค้าเกษตรและอาหาร ความปลอดภัยด้านอาหารตามมาตรฐานสากล เร่งรัดการเจรจาข้อตกลงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร เพื่อป้องกันมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี รวมทั้งให้มีระบบป้องกันและควบคุมการระบาดของโรค ตลอดจนสนับสนุนการแปรรูปสินค้าเกษตรในชุมชน
๔.๒.๑.๕ ส่งเสริมการทำการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ในระดับชุมชนตามแนวพระราชดำริ เพื่อให้ครัวเรือนเกษตรกรมีความมั่นคงทางด้านอาหาร ส่งเสริมการขยายกระบวนการเรียนรู้ระบบเกษตรอินทรีย์ เกษตรผสมผสาน วนเกษตร โครงการอาหารกลางวัน และธนาคารโคกระบือตามแนวพระราชดำริ โดยเกษตรกรและชุมชนเป็นผู้กำหนดทิศทางและแนวทางด้วยตนเอง
๔.๒.๑.๖ ปรับโครงสร้างการผลิตภาคการเกษตร โดยสร้างระบบนิคมการเกษตร และเร่งรัดการกำหนดเขตการใช้ที่ดิน เพื่อการผลิตและการจัดการสินค้าเกษตรทุกประเภทอย่างมีประสิทธิภาพและครบวงจร รวมทั้งมีความเหมาะสมและสมดุลทั้งด้านอาหารและพลังงานทดแทน ด้วยการบูรณาการหน่วยงานและภาคีความร่วมมือต่าง ๆ เพื่อเพิ่มรายได้เกษตรกร ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ พัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกร ตลอดจนสงวนและคุ้มครองพื้นที่การเกษตรจำนวน ๑๓๐ ล้านไร่ สำหรับทำการเกษตรอย่างยั่งยืน
๔.๒.๑.๗ สร้างความเข้มแข็งให้ภาคการเกษตรทั้งระบบ โดยเสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพเกษตรกรรุ่นใหม่ทุกระดับวัย ทั้งในด้านการผลิต การบริหารจัดการผลผลิต การบริหารองค์กรเกษตรกรรูปแบบต่าง ๆ ด้วยองค์ความรู้จากนวัตกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และเทคโนโลยีที่เหมาะสม รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาระบบการเรียนรู้ทั้งในและนอกระบบการศึกษา เพื่อเพิ่มศักยภาพของภาคเกษตรให้เป็นฐานรากที่มั่นคงของระบบเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
๔.๒.๒ ภาคอุตสาหกรรม
๔.๒.๒.๑ พัฒนาประสิทธิภาพของภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งสร้างมูลค่าให้แก่สินค้าอุตสาหกรรม โดยบูรณาการความร่วมมือขององค์กรและหน่วยงานของรัฐบาลเพื่อสนับสนุนการพัฒนา อุตสาหกรรม และยกระดับความสามารถ ทักษะแรงงาน มาตรฐานผลิตภัณฑ์ ปรับปรุงการบริหารจัดการของผู้ประกอบการ เพิ่มประสิทธิภาพเครื่องจักรและระบบบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการภายใน กลุ่มอุตสาหกรรม บนพื้นฐานความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา
๔.๒.๒.๒ พัฒนาและขับเคลื่อนอุตสาหกรรมที่ประเทศไทยมีศักยภาพสูงและมีความได้เปรียบ เช่น อาหาร เหล็ก ยานยนต์ ปิโตรเคมี พลังงาน และอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ให้เป็นฐานการผลิตในระดับภูมิภาคและโลก ด้วยการส่งเสริมการลงทุนหรือให้สิทธิพิเศษกับอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ รวมทั้งจัดหาและพัฒนาพื้นที่และโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสมเพื่อรองรับการ พัฒนาอุตสาหกรรมในระยะ ๒๐ ปีข้างหน้า โดยคำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและการมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่
๔.๒.๒.๓ สร้างสินค้าที่มีคุณภาพและมาตรฐานเพื่อเพิ่มมูลค่าและคุ้มครองทรัพย์สินทาง ปัญญาให้แก่สินค้าที่ผลิตในประเทศไทย โดยสนับสนุนการพัฒนาทักษะฝีมือผสมผสานกับการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น กลุ่มสินค้าแฟชั่น อัญมณีและเครื่องประดับ และสินค้าอื่น ๆ พร้อมทั้งใช้มาตรการด้านการตลาดและสร้างตราสัญลักษณ์สินค้าของไทยให้เป็นที่ นิยมทั้งในประเทศและต่างประเทศ
๔.๒.๒.๔ สร้างและพัฒนาผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทั้งวิสาหกิจชุมชนให้มีความเข้มแข็ง เพื่อเป็นฐานการผลิตของระบบเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มเพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้าและศักยภาพในการแข่ง ขันด้วยการสนับสนุนด้านองค์ความรู้และนวัตกรรม รวมถึงการสร้างธรรมาภิบาลในการประกอบการและความรับผิดชอบต่อสังคม
๔.๒.๒. ๕ ส่งเสริมและขยายบทบาทศูนย์บ่มเพาะสำหรับผู้ประกอบการที่มุ่งสร้างสินค้าและ บริการที่มีมูลค่าสูง โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ออกแบบให้มีความเหมาะสมตามศักยภาพในพื้นที่ต่างๆ พร้อมทั้งสร้างศูนย์พัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ตลอดจนสนับสนุนให้มีการนำองค์ความรู้และนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์
๔.๒.๓ ภาคการท่องเที่ยวและบริการ
๔.๒.๓.๑ ผลักดันความร่วมมือของหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน และเอกชน ในการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ ตลอดถึงคุณค่าทางสังคมจากการท่องเที่ยว โดยพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการท่องเที่ยวให้ยั่งยืน มีความสะดวก สะอาด ปลอดภัย ได้เอกลักษณ์ และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวใหม่ในเชิงกลุ่มพื้นที่ที่มีศักยภาพสามารถเชื่อมโยง ธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรม และวิถีชีวิตของชุมชน ตลอดจนดูแลให้นักท่องเที่ยวปลอดภัยจากอาชญากรรม การฉ้อฉล และอุบัติเหตุที่ควรป้องกันหรือหลีกเลี่ยงได้ ทั้งที่เกิดจากความบกพร่องในการดำเนินงานหรือจากภัยธรรมชาติ รวมทั้งให้ความสำคัญในเรื่องการควบคุมปริมาณนักท่องเที่ยว และผลกระทบสิ่งแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยว
๔.๒.๓.๒ ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงการท่องเที่ยวเชื่อมโยงระหว่างจังหวัดต่าง ๆ ควบคู่กับการส่งเสริมตลาดนักท่องเที่ยวคุณภาพทั้งที่เป็นชาวไทยและชาวต่าง ประเทศ เช่น กลุ่มครอบครัว กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มดูแลรักษาสุขภาพ กลุ่มท่องเที่ยวศรัทธา กลุ่มประชุมและแสดงสินค้า กลุ่มที่มีความสนใจด้านระบบนิเวศ การผจญภัย และกลุ่มสนใจวัฒนธรรมท้องถิ่นและแหล่งประวัติศาสตร์และโบราณสถาน เป็นต้น ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมในการพัฒนาอย่างยั่งยืนของชุมชนในแต่ละท้องถิ่น
๔.๒.๓.๓ ส่งเสริมภาคบริการโดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีศักยภาพ เพื่อขยายฐานการดำเนินการและการตลาดสู่ระดับภูมิภาค อาทิ บริการสุขภาพ การศึกษานานาชาติ การบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การก่อสร้าง ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับกีฬาและนันทนาการ และธุรกิจรับจ้างบริหารระบบธุรกิจ เป็นต้น รวมทั้งสร้างโอกาสใหม่ให้แก่เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ที่จะเพิ่มมูลค่าให้แก่ ผู้ประกอบการและธุรกิจของคนไทย เช่น ธุรกิจภาพยนตร์ ธุรกิจจัดประชุมและแสดงสินค้า ธุรกิจออกแบบแฟชั่น ธุรกิจที่ใช้ความโดดเด่นทางวัฒนธรรมและความเป็นไทย เป็นต้น โดยจัดทำแผนแม่บทเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ที่ให้ความสำคัญในการพัฒนาองค์ความ รู้และสร้างนวัตกรรม ความเข้มแข็งของผู้ประกอบการมาตรฐานธุรกิจ บุคลากรและการตลาด
๔.๒.๔ การตลาด การค้า และการลงทุน
๔.๒.๔.๑ ส่งเสริมนโยบายการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม ป้องกันการผูกขาดตัดตอน และคุ้มครองผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ประกอบการในด้านการคุ้มครองและป้องกันการ ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
๔.๒.๔.๒ ปรับปรุงพัฒนากฎหมายและกฎระเบียบที่ส่งเสริมการค้าการลงทุน เพื่อสร้างบรรยากาศการลงทุนที่ดีและสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนทั้งใน ประเทศและจากต่างประเทศ
๔.๒.๔.๓ ดำเนินการตลาดเชิงรุกเพื่อรักษาตลาดเดิมและสร้างตลาดใหม่ เพื่อลดการพึ่งพาการส่งออกไปตลาดหลัก โดยส่งเสริมการส่งออกและบริการในตลาดใหม่ ได้แก่ จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรปตะวันออก พร้อมทั้งรักษาส่วนแบ่งในตลาดหลักไม่ให้ลดลง โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมสินค้าและบริการที่มีอัตราการขยายตัวสูงในตลาดใหม่
๔.๒.๔.๔ พัฒนาสินค้าและบริการที่สร้างโอกาสใหม่ในการหารายได้ เช่น สินค้าและบริการฮาลาล ซึ่งจะขยายโอกาสในการส่งออก การบริการและดึงดูดการลงทุนและการท่องเที่ยวทั้งในประเทศและจากต่างประเทศ
๔.๒.๔.๕ ขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจเพื่อผลประโยชน์ทางการค้าภายใต้กรอบความร่วม มือและข้อตกลงทางด้านการค้าในระบบพหุภาคีและทวิภาคี เพื่อสนับสนุนการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ รวมทั้งการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการขยายตลาดการค้าระหว่างประเทศ และการค้าชายแดน
๔.๒.๔.๖ สนับสนุนการลงทุนในต่างประเทศในสาขาที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพทั้งในการลง ทุนตั้งโรงงานผลิตสินค้า การทำสัญญาสินค้าเกษตรตามข้อตกลง การเปิดสาขา การหาตัวแทนและหุ้นส่วนในต่างประเทศเพื่อสร้างเครือข่ายธุรกิจไทยในต่าง ประเทศ
๔.๓ นโยบายโครงสร้างพื้นฐาน และระบบบริหารจัดการขนส่งมวลชน สินค้าและบริการ
๔.๓.๑ พัฒนาบริการโครงสร้างพื้นฐานให้กระจายไปสู่ภูมิภาคอย่างทั่วถึง เพียงพอ และมีคุณภาพ โดยเฉพาะการจัดให้มีสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานอันจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของ ประชาชน เช่น น้ำสะอาดเพื่อการอุปโภคบริโภค การกำจัดขยะมูลฝอย บริการสื่อสารโทรคมนาคม ที่อยู่อาศัย และถนนในชนบทปลอดฝุ่น เป็นต้น
๔.๓.๒ พัฒนาระบบคมนาคมขนส่งและเชื่อมโยงโครงข่ายการบริหารจัดการขนส่งมวลชน สินค้าและบริการที่สะดวกและปลอดภัย ทั้งพื้นที่ชนบท เมืองและระหว่างประเทศ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการขนส่ง ระบบรางให้สามารถเชื่อมโยงการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ เพื่อลดต้นทุนสินค้าและบริการเพื่อการส่งออก
๔.๓.๓ พัฒนาการขนส่งทางน้ำและกิจการพาณิชยนาวีทั้งภายในและระหว่างประเทศ รวมถึงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกบริเวณพื้นที่ภาคใต้และโครงข่ายเชื่อมโยงอนุ ภูมิภาคเป็นประตูการค้าใหม่ ตลอดจนการพัฒนาท่าเรือชุมชน และกองเรือไทย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการให้มีการขนส่งทางน้ำเพิ่มขึ้นและ สามารถเชื่อมโยงกับระบบขนส่งอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๔.๓.๔ พัฒนาท่าอากาศยานสากล ท่าอากาศยานภูมิภาคและอุตสาหกรรมการบินของไทย เพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการบิน การท่องเที่ยวและการขนส่งสินค้าทางอากาศชั้นนำของเอเชียและโลก
๔.๓.๕ ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องด้านการขนส่ง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีทั้งด้านการผลิตและการบริหาร จัดการ
๔.๓.๖ สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ รวมทั้งดำเนินมาตรการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและชุมชนอย่างจริงจัง
๔.๔ นโยบายพลังงาน
๔.๔.๑ เสริมสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานให้มีพลังงานใช้อย่างเพียงพอต่อการพัฒนา ประเทศ และให้พึ่งพาตนเองทางพลังงานได้มากขึ้น เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชน โดยเร่งรัดการสำรวจและผลิตพลังงานภายในประเทศเพิ่มขึ้น เสริมสร้างความร่วมมือและความสัมพันธ์ด้านพลังงานอันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งการลงทุนด้านพลังงานในต่างประเทศ ดูแลวางแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าให้มีความเหมาะสมต่อภาวะทางเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมในการตัดสินใจพัฒนาพลังงานทางเลือกอื่น ๆ ที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง
๔.๔.๒ ส่งเสริมให้มีการกำกับดูแลกิจการพลังงานให้ราคาพลังงานในประเทศมีความเหมาะ สม มีเสถียรภาพ ภายใต้การผันแปรอย่างรุนแรงของตลาดโลก สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจและการลงทุน โดยกำหนดโครงสร้างราคาเชื้อเพลิงให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงตามกลไกตลาดและ เป็นธรรมต่อประชาชน เพื่อก่อให้เกิดการแข่งขันและการลงทุนในธุรกิจพลังงาน พร้อมทั้งดูแลให้กิจการพลังงานมีมาตรฐานคุณภาพ การให้บริการ และความปลอดภัยที่ดี
๔.๔.๓ ส่งเสริมและวิจัยพัฒนาพลังงานทดแทนทุกรูปแบบอย่างต่อเนื่อง ด้วยการกำหนดให้พลังงานทดแทนเป็นวาระแห่งชาติ โดยเฉพาะในด้านของเชื้อเพลิงชีวภาพ อาทิ แก๊สโซฮอล์ ไบโอดีเซล การเร่งรัดการใช้ก๊าซธรรมชาติในภาคขนส่งและอุตสาหกรรมให้มากขึ้น การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่มีศักยภาพในประเทศ รวมทั้งการกำหนดมาตรการส่งเสริมการผลิตและใช้พลังงานทดแทนอย่างเหมาะสม และจูงใจต่อทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค และมีความสมดุลด้านอาหาร พลังงาน และสิ่งแวดล้อม
๔.๔.๔ ส่งเสริมการอนุรักษ์และประหยัดพลังงานอย่างจริงจังและต่อเนื่อง โดยรณรงค์ส่งเสริมให้เกิดวินัยในการประหยัดพลังงานของคนในชาติ และสนับสนุนการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยส่งเสริมให้เกิดมาตรฐานในการออกแบบอาคารประหยัดพลังงาน การเพิ่มมาตรฐานประสิทธิภาพการประหยัดพลังงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าเพื่อผู้บริโภค การพัฒนาระบบขนส่งมวลชน รวมทั้งพัฒนาระบบบริหารจัดการการขนส่งสินค้าและบริการให้ใช้ระบบรถไฟฟ้าและ ระบบรางมากขึ้น เพื่อลดการพึ่งพาน้ำมันเชื้อเพลิง ลดปัญหามลพิษ และลดปัญหาการจราจรติดขัดในเขตเมือง
๔.๔.๕ ส่งเสริมการพัฒนา ผลิต และใช้พลังงาน ควบคู่ไปกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม โดยกำหนดมาตรฐานการผลิตพลังงานและมาตรฐานเชื้อเพลิงเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่ง แวดล้อม รณรงค์และส่งเสริมการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน โดยส่งเสริมให้เกิดโครงการกลไกการพัฒนาพลังงานที่สะอาด (CDM- Clean Development Mechanism) ให้เพิ่มมากขึ้น
๔.๕ นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ
๔.๕.๑ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น โครงข่ายสื่อสารความเร็วสูง ให้ทั่วถึง เพียงพอ ในราคาที่เหมาะสม เป็นธรรม และแข่งขันได้ เพื่อเป็นโครงข่ายหลักสนับสนุนการพัฒนาประเทศไทยไปสู่สังคมแห่งภูมิปัญญา ช่วยลดความเหลื่อมล้ำระหว่างเขตเมืองและชนบท และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ
๔.๕.๒ พัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องด้านบริการความรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และจัดให้มีกลไกสนับสนุนแหล่งทุนสำหรับผู้ประกอบธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศ ขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทั้งพัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพ ได้มาตรฐาน และสอดคล้องกับความต้องการของตลาด เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในภูมิภาค
๔.๕.๓ สนับสนุนการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการพัฒนาระบบบริหารจัดการและบริการ ภาครัฐและเอกชน ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์การเชื่อมโยงข้อมูลการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและ บริการ การเตือนภัยและความมั่นคงของรัฐ รวมถึงการป้องกันการเข้าถึงสื่อที่เป็นภัยต่อสังคมโดยเฉพาะต่อเด็กและเยาวชน การบริการการศึกษาและสาธารณสุข ตลอดจนการพัฒนาระบบภูมิสารสนเทศและเทคโนโลยีอวกาศ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศและจัดทำแผน แม่บทการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐที่ครอบคลุมด้านการลงทุนใน ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ การพัฒนาบุคลากร และการสร้างเครือข่ายในการเชื่อมโยงและใช้ประโยชน์ของข้อมูลและระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศร่วมกัน
๕. นโยบายที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๕.๑ อนุรักษ์ทรัพยากรดินและป่าไม้ โดยเร่งรัดปราบปรามการบุกรุกทำลายป่า ซึ่งรวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องมือและอุปกรณ์ สร้างขวัญและกำลังใจเจ้าหน้าที่ กำหนดบทลงโทษที่เด็ดขาด การป้องกันการเผาป่า ไร่นา และทำลายหน้าดิน การลดการใช้สารเคมีเพื่อการเกษตร รวมทั้งการฟื้นฟูดินและป้องกันการชะล้างทำลายดินโดยการปลูกหญ้าแฝกตามแนวพระ ราชดำริ รวมทั้งอนุรักษ์ป่าต้นน้ำและป้องกันรักษาป่าที่สมบูรณ์ สนับสนุนให้มีการปลูกและฟื้นฟูป่า และป่าชุมชนตามแนวพระราชดำริ และส่งเสริมการปลูกไม้เศรษฐกิจในพื้นที่ที่เหมาะสม รวมทั้งการทำฝายต้นน้ำลำธารหรือฝายชะลอน้ำตามแนวพระราชดำริ
๕.๒ บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภายใต้การมีส่วนร่วมของประชาชน ชุมชนท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชนโดยเฉพาะระดับพื้นที่ ให้มีความสมดุลของการใช้ประโยชน์ การถือครอง และการอนุรักษ์ฐานทรัพยากรที่ดิน ป่าไม้ ป่าชายเลน สัตว์ป่า ทรัพยากรน้ำ ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งและทรัพยากรธรณี โดยการใช้ระบบภูมิสารสนเทศ เทคโนโลยี ควบคู่กับการปรับปรุงและบังคับใช้กฎหมายตลอดจนกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่าง เคร่งครัด รวมทั้งให้ความสำคัญในการเร่งรัดการประกาศพื้นที่ป่าอนุรักษ์ตามกฎหมาย การกำหนดพื้นที่ศักยภาพแร่ การแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง การอนุรักษ์และฟื้นฟูปะการังและหญ้าทะเล การอนุรักษ์และแก้ไขปัญหาเรื่องช้าง และการธำรงรักษาสืบสานทางวัฒนธรรมอย่างจริงจัง
๕.๓ คุ้มครองและฟื้นฟูพื้นที่อนุรักษ์ที่มีความสำคัญเชิงนิเวศ รวมทั้งอนุรักษ์ พัฒนา และใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืนให้เกิดมูลค่าทาง เศรษฐกิจ โดยให้ความสำคัญในการสำรวจจัดทำฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น ตลอดจนความปลอดภัยทางชีวภาพ และสร้างกลไกการบริหารจัดการการใช้ประโยชน์ เพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหาร พลังงาน สุขภาพ และสร้างมูลค่าเพิ่มสู่เศรษฐกิจในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และระดับสากลในระยะต่อไป
๕.๔ จัดให้มีมาตรการป้องกันและพัฒนาระบบข้อมูลและเตือนภัยจากภัยพิบัติทาง ธรรมชาติ เช่น อุทกภัย ภัยแล้ง หมอกควัน ไฟป่า ธรณีพิบัติ และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และดำเนินมาตรการลดผลกระทบและความเดือดร้อนของประชาชนจากภัยพิบัติทาง ธรรมชาติ รวมทั้งการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนจากผลกระทบสิ่งแวดล้อม อื่น โดยสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชน
๕.๕ ควบคุมมลพิษทางอากาศ ขยะ น้ำเสีย กลิ่น และเสียง ที่เกิดจากการผลิตและบริโภค ให้เป็นไปตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะเร่งรัดการสร้างระบบบำบัดน้ำเสียที่เกิดขึ้นจากสังคมเมืองและการ ผลิตในภาคเกษตรและอุตสาหกรรม การจัดทำระบบกำจัดขยะโดยวิธีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการกำจัดขยะและบำบัดน้ำ เสีย การเพิ่มพื้นที่สีเขียว และการลดมลพิษทางอากาศ รวมทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพการวิเคราะห์และประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยคำนึงถึงความสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการพัฒนา
๕.๖ ดูแลและรักษาคุณภาพน้ำในแม่น้ำและคูคลอง โดยเฉพาะพื้นที่วิกฤตด้านคุณภาพน้ำ เช่น เจ้าพระยา ท่าจีน และทะเลสาบสงขลา โดยการสนับสนุนกลไกและกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน การเพิ่มสมรรถนะและความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การส่งเสริมการบำบัดน้ำเสียจากแหล่งกำเนิด และการสนับสนุนการจัดการน้ำเสียชุมชนขนาดเล็ก
๕.๗ ส่งเสริมให้ภาครัฐและภาคเอกชนวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อการ อนุรักษ์พลังงาน การจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การผลิตวัสดุที่สามารถย่อยสลายได้ การหมุนเวียนการใช้วัตถุดิบและเทคโนโลยีที่สะอาดและการใช้หลักผู้ก่อมลพิษ เป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นให้เกิดการลดการก่อมลพิษและลดภาระของ สังคมตามธรรมาภิบาลด้านสิ่งแวดล้อม มีการต่อยอดภูมิปัญญาดั้งเดิมด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม
๕.๘ ส่งเสริมและสร้างความตระหนักและจิตสำนึกทางด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวด ล้อม โดยการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่การดำเนินกิจกรรมและการปรับพฤติกรรมการผลิต และการบริโภคสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อบรรเทาผลจากการ เปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งสนับสนุนการดำเนินงานของเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม และเครือข่ายที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญแก่ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานและ องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดจนสนับสนุนการดำเนินการตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่จะนำมาสู่การเพิ่ม ประสิทธิภาพในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๖. นโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัย และนวัตกรรม
๖.๑ ส่งเสริมการนำงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสาขาหลักมาใช้ในการพัฒนา ประเทศ ได้แก่ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีวัสดุ และนาโนเทคโนโลยี รวมถึงเทคโนโลยีอนาคตที่มีการลงทุนไว้แล้ว เช่น เทคโนโลยีอวกาศ และเทคโนโลยีพลังงานทดแทน เป็นต้น โดยให้ความสำคัญแก่การเชื่อมโยงระหว่างภาคเอกชน สถาบันวิจัย และมหาวิทยาลัย ตลอดจนพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจ ซึ่งจะนำไปสู่การวิจัย พัฒนาต่อยอด และมีการใช้ประโยชน์องค์ความรู้และเทคโนโลยีในเชิงพาณิชย์
๖.๒ สร้างเสริมความรู้ความคิดของประชาชนให้มีฐานความคิดเชิงวิทยาศาสตร์ และสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมจากทุนทางสังคม และพัฒนาระบบเชื่อมโยงสถาบันจัดการความรู้ของประเทศทุกระดับให้เป็นเครือ ข่ายทุนทางปัญญาของประเทศเพื่อสนับสนุนการสร้างคุณค่าและนวัตกรรม
๖.๓ เร่งผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีคุณภาพและคุณธรรม เพื่อนำไปสู่การสร้างสรรค์สินค้าและบริการที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง ตลอดจนพัฒนาเส้นทางอาชีพเพื่อรักษาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไว้ใน ระบบ รวมทั้งจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่สามารถดึงดูดบุคลากรที่มีความรู้ชั้น สูงจากต่างประเทศเพื่อให้เกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้กับบุคลากรไทย
๖.๔ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมให้มีคุณภาพและปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการ และสนับสนุนการสร้างทรัพย์สินทางปัญญาของของคนไทยเพื่อป้องกันมิให้ไทยถูก เอาเปรียบทางเทคโนโลยีจากต่างประเทศ โดยพัฒนาระบบการจัดการทรัพย์สินทางปัญญาให้มีประสิทธิภาพ พัฒนาระบบรับรองมาตรฐานให้ทันสมัย รวมทั้งพัฒนาศูนย์บ่มเพาะธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยี อุทยาน วิทยาศาสตร์ และศูนย์แห่งความเป็นเลิศในสาขาเทคโนโลยีที่สำคัญ
๖.๕ จัดทำนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติเชิงบูรณาการและสร้างเครือข่ายการ วิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศไปสู่เศรษฐกิจฐานความรู้ โดยมีการวิจัยทั้งขั้นพื้นฐานและวิจัยประยุกต์ รวมทั้งให้มีการติดตามประเมินผลนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ และส่งเสริมภาคเอกชนให้มีการวิจัยและพัฒนาเพิ่มขึ้น
๖.๖ ปรับระบบวิจัยให้ได้มาตรฐานโดยพัฒนาศักยภาพของหน่วยงานวิจัย พัฒนาบุคลากรด้านการวิจัย ส่งเสริมให้มีการกำหนดเส้นทางอาชีพนักวิจัยที่ชัดเจน พัฒนาระบบฐานข้อมูลงานวิจัยและระบบงานวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อลดความซ้ำซ้อน โดยสร้างศูนย์และแหล่งเรียนรู้ทางการวิจัย
๗. นโยบายการต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
๗.๑ ส่งเสริมและพัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน โดยขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การเงิน การค้าการลงทุน การท่องเที่ยว การคมนาคม ขนส่ง และความร่วมมือด้านอื่น ๆ ภายใต้กรอบความร่วมมืออนุภูมิภาค เพื่อส่งเสริมความเป็นเพื่อนบ้านที่ดีต่อกัน
๗.๒ สร้างความสามัคคีและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศอาเซียนเพื่อให้บรรลุ เป้าหมายในการจัดตั้งประชาคมอาเซียนในฐานะที่ไทยเป็นประธานอาเซียนจนกระทั่ง ถึงสิ้นปี ๒๕๕๒ และส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศอื่น ๆ ในเอเชียภายใต้กรอบความร่วมมือด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการเงินซึ่งมีความจำเป็นเร่งด่วนภายหลังวิกฤตการเงิน ของโลกที่เกิดขึ้นในปี ๒๕๕๑ เพื่อนำไปสู่การเริ่มต้นของการสร้างประชาคมทางการเงินของเอเชีย
๗.๓ ส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีและความร่วมมือกับทุกประเทศและองค์กรมุสลิม ระหว่างประเทศ เพื่อให้ประเทศและองค์กรเหล่านี้มีความเข้าใจที่ถูกต้องและสนับสนุนการแก้ไข ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
๗.๔ มีบทบาทที่สร้างสรรค์และส่งเสริมผลประโยชน์ของชาติในองค์การระหว่างประเทศ โดยเฉพาะเวทีสหประชาชาติและองค์กรระดับภูมิภาคต่าง ๆ เพื่อรักษาสันติภาพและความมั่นคง ส่งเสริมกระบวนการประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชนมนุษยธรรม และการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตลอดจนร่วมมือในการแก้ไขประเด็นปัญหาข้ามชาติทุกด้านที่ส่งผลกระทบต่อความ มั่นคงของมนุษย์
๗.๕ กระชับความร่วมมือและความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์กับประเทศ กลุ่มประเทศ และองค์การเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่มีบทบาทสำคัญของโลก เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นในประเทศไทย พร้อมกับการสร้างภูมิคุ้มกันและขีดความสามารถในการแข่งขันให้เศรษฐกิจไทย
๗.๖ สนับสนุนการเข้าถึงในระดับประชาชนของนานาประเทศพร้อมทั้งส่งเสริมภาพลักษณ์ ที่ดีและความร่วมมือทางวิชาการกับประเทศกำลังพัฒนา เพื่อให้ประชาชน รัฐบาล และประชาคมระหว่างประเทศมีทัศนคติในทางบวกต่อประชาชนและประเทศไทย
๗.๗ สนับสนุนการทูตเพื่อประชาชน คุ้มครองผลประโยชน์ของคนไทย ดูแลคนไทยและแรงงานไทยในต่างประเทศ โดยเฉพาะคนไทยที่ประกอบอาชีพและมีถิ่นฐานในต่างประเทศ ส่งเสริมบทบาทและความแข็งแกร่งของชุมชนชาวไทยในการรักษาเอกลักษณ์และความ เป็นไทย
๘. นโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
๘.๑ ประสิทธิภาพการบริหารราชการแผ่นดิน
๘.๑.๑ ปรับปรุงการให้บริการประชาชน ด้วยการสร้างนวัตกรรมและนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ในการให้บริการรูปแบบต่าง ๆ เพื่อลดภาระและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน
๘.๑.๒ พัฒนาระบบงานให้มีความรวดเร็ว มีประสิทธิภาพโปร่งใส และตรวจสอบได้ ส่งเสริมให้ใช้หลักธรรมาภิบาลเป็นแนวทางในการปฏิบัติราชการและพัฒนาสมรรถนะ ของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกระดับอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีขีดความสามารถในการปฏิบัติราชการและการส่งมอบบริการสาธารณะ โดยจะเน้นการพัฒนาข้าราชการในตำแหน่งที่มีความสำคัญต่อยุทธศาสตร์การพัฒนา ประเทศ และสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงในระบบราชการ รวมทั้งวางมาตรการสำหรับประเมินผลการปฏิบัติงานและจ่ายค่าตอบแทนที่เป็นธรรม ตามผลงาน เพื่อให้เกิดขวัญกำลังใจและแรงจูงใจในการพัฒนาผลงาน
๘.๑.๓ พัฒนาคุณภาพชีวิตของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐให้ดีขึ้น เพื่อให้สามารถดำรงชีพอย่างมีศักดิ์ศรี โดยการเพิ่มเงินเดือน ค่าตอบแทน และสวัสดิการให้เหมาะสมกับความสามารถและประสิทธิภาพการทำงาน รวมทั้งปรังปรุงสวัสดิภาพการทำงานและภาระหนี้สิน เพื่อให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐมีความสมดุลระหว่างการทำงานกับชีวิต ส่วนตัว
๘.๑.๔ เสริมสร้างมาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลให้แก่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ และพัฒนาความโปร่งใสในการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐ พร้อมทั้งป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของข้าราชการและเจ้า หน้าที่ของรัฐอย่างจริงจัง เพื่อให้ข้าราชการเป็นที่เชื่อถือไว้วางใจของประชาชน ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมและชุมชน รวมถึงพัฒนาและนำมาตรการทางสังคมมาใช้ควบคู่กับการบังคับใช้กฎหมายต่าง ๆ เพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบให้หมดสิ้น ตลอดจนสนับสนุนการสร้างค่านิยมของสังคมให้ยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริตและ ถูกต้องชอบธรรม
๘.๑.๕ พัฒนาระบบและกำหนดมาตรการเพื่อดึงดูดผู้มีความรู้ความสามารถเข้ามารับราชการ ด้วยการปรับปรุงระบบค่าตอบแทนและสิ่งจูงใจให้เทียบเคียงหรือแข่งขันได้ใน ตลาดแรงงาน เพื่อให้ระบบราชการเป็นนายจ้างอันเป็นที่หมายปองของผู้สมัครงาน รวมทั้งสนับสนุนให้มีการเคลื่อนย้ายถ่ายโอนกำลังคนทั้งภายในระบบราชการและ ระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับภาคส่วนอื่น ๆ
๘.๑.๖ สนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีประสิทธิภาพและความ โปร่งใส สามารถแก้ไขปัญหาท้องถิ่นให้สามารถพึ่งตนเองได้ พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน วัฒนธรรมไทยที่ดีงาม ทรัพยากรธรรมชาติและดูแลผู้ด้อยโอกาส ให้ตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่ โดยคำนึงถึงความจำเป็นและความเหมาะสมตามศักยภาพของท้องถิ่น และเชื่อมโยงและบูรณาการภารกิจกับแผนชุมชนและแผนระดับต่าง ๆ ในพื้นที่ รวมทั้งเป็นฐานสำคัญในการส่งเสริมและพัฒนาประชาธิปไตยในท้องถิ่นให้เข้มแข็ง
๘.๑.๗ ปรับปรุงการจัดระบบความสัมพันธ์ของราชการบริหารส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่นให้มีความเหมาะสม โดยเร่งรัดดำเนินการถ่ายโอนภารกิจของราชการส่วนกลางให้องค์กรปกครองส่วนท้อง ถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น จัดสรรรายได้ให้ท้องถิ่นแต่ละประเภทอย่างเหมาะสม รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการงบประมาณและบุคลากรของท้องถิ่น และส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพึ่งพารายได้ของตนเองได้มากขึ้น
๘.๑.๘ สนับสนุนระบบการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการของผู้ว่าราชการจังหวัด ผ่านกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาแบบบูรณาการของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด วางยุทธศาสตร์การพัฒนาและทิศทางพัฒนาพื้นที่ในอนาคตที่สอดคล้องกับแนวนโยบาย ของรัฐบาลเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ศักยภาพของพื้นที่ และความต้องการของประชาชน
๘.๑.๙ สนับสนุนกระบวนการจัดทำแผนชุมชนให้มีประสิทธิภาพ และสามารถเชื่อมโยงกับแผนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและแผนพัฒนาจังหวัด เพื่อแก้ไขปัญหาของชุมชน
๘.๑.๑๐ ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมกำหนดนโยบายและวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมทั้งใน ระดับชาติและท้องถิ่น เพื่อเป็นพลังขับเคลื่อนนโยบายไปสู่การปฏิบัติที่บรรลุตามเป้าหมาย รวมทั้งสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารร่วมเสนอ ความเห็น ปัญหาและแนวทางแก้ไข และมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจ
๘.๒ กฎหมายและการยุติธรรม
๘.๒.๑ สนับสนุนการดำเนินการทางกฎหมายของหน่วยงานของรัฐในการให้ความเห็น หรือตรวจสอบการตรากฎหมายของรัฐให้เป็นไปโดยถูกต้องตามหลักนิติธรรม จัดให้มีการพัฒนากฎหมายเพื่อปรับปรุงกฎหมายให้ทันสมัย เหมาะสมกับการพัฒนาประเทศและเป็นประโยชน์ต่อสังคม
๘.๒.๒ ดูแลให้มีการปฏิบัติและบังคับใช้กฎหมายอย่างถูกต้อง รวดเร็ว เป็นธรรม และทั่วถึง และส่งเสริมการให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่มีผลกระทบต่อประชาชนและภาค ธุรกิจ รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และสนับสนุนการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน
๘.๒.๓ พัฒนาปรับปรุงกฎหมายและระบบงานยุติธรรมทั้งทางอาญาและทางแพ่งให้เป็นไปตาม หลักนิติธรรม โดยมีจุดมุ่งหมายให้กระบวนการยุติธรรมทางอาญามีประสิทธิภาพและประสิทธิผลใน การนำผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดีและลงโทษตามกฎหมาย บนพื้นฐานของการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอย่างเข้มแข็ง รวมทั้งการพัฒนากฎหมายและระบบงานยุติธรรมในทางแพ่งและในด้านอื่น ๆ ที่จะทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงความยุติธรรมและสิทธิและเสรีภาพอย่างทั่วถึง และเท่าเทียม ทั้งนี้ จะเร่งดำเนินการจัดตั้งองค์กรเพื่อปฏิรูปกฎหมายและองค์กรเพื่อการปฏิรูป กระบวนการยุติธรรม ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
๘.๒.๔ พัฒนากระบวนการยุติธรรมทางเลือกให้มีระบบการอำนวยความยุติธรรมที่มี ประสิทธิภาพและประสิทธิผลควบคู่กระบวนการยุติธรรมกระแสหลักโดยส่งเสริมให้มี การนำหลักความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ และหลักการระงับข้อพิพาททางเลือกอื่นมาใช้ในการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท ทั้งระบบ ทั้งการดำเนินการในชุมชนโดยยังไม่เข้าสู่ระบบยุติธรรมในชั้นตำรวจ อัยการ และศาล โดยผลักดันให้มีกฎหมายกลางที่สามารถจัดระบบและรองรับการดำเนินการอย่างมี ประสิทธิภาพ บูรณาการและสามารถคุ้มครองสิทธิผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้อย่างเหมาะสม
๘.๒.๕ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในกระบวนการยุติธรรมให้มากขึ้น โดยการนำหลักการมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐและภาคประชาชนในลักษณะ “หุ้นส่วน” ภายใต้หลักการยุติธรรมชุมชนมาใช้ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมตัดสินใจ และร่วมดำเนินการในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการอำนวยความยุติธรรม ตั้งแต่ชั้นป้องกันอาชญากรรม การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท จนถึงการดูแลผู้กระทำความผิดที่พ้นโทษและกลับสู่ชุมชน โดยให้มีสำนักงานยุติธรรมจังหวัดเป็นองค์กรกลางในการดำเนินการพัฒนากลไกระบบ งานยุติธรรม ยุติธรรมทางเลือก และสร้างแนวทางในการดำเนินงานร่วมกับภาคประชาชน ศูนย์ยุติธรรมชุมชนหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้เป็นไปอย่างบูรณาการสามารถอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนได้อย่างมี ประสิทธิภาพ
๘.๒.๖ พัฒนาระบบและวิธีการปฏิบัติในการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิดที่เป็นเด็กหรือ เยาวชนและผู้ใหญ่ให้มีความหลากหลายและเหมาะสมต่อกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้ผู้กระทำความผิดได้รับโอกาสในการแก้ไข ฟื้นฟู และสามารถกลับตนเป็นพลเมืองดี ไม่หวนกลับไปกระทำความผิดซ้ำอีก โดยอยู่บนพื้นฐานของสิทธิและเสรีภาพที่ผู้กระทำความผิดพึงได้รับ
๘.๓ ส่งเสริมให้ประชาชนมีโอกาสได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารจากทางราชการและสื่อสาธารณะอื่นได้อย่างกว้างขวาง ถูกต้อง เป็นธรรม และรวดเร็ว
ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ
รัฐบาลมีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินการตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐอย่างจริง จัง โดยรัฐบาลขอชี้แจงว่า การกำหนดนโยบายของรัฐบาลที่กราบเรียนมาแล้วนี้จะเป็นแนวทางดำเนินการในระยะ เวลาสามปีตามความเร่งด่วนของการแก้ไขปัญหาของประเทศ รวมทั้งจะเป็นการบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปตามบทบัญญัติในหมวด ๕ ว่าด้วยแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
นอกจาก นี้ เพื่อให้รัฐบาลสามารถบริหารราชการแผ่นดินได้ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย และดำเนินนโยบายจนบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ได้ รัฐบาลจะดำเนินการปรับปรุงหรือกำหนดแนวทางการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐ พัฒนาระบบการบริหารจัดการ เสนอร่างกฎหมาย ตลอดจนดำเนินการทุกประการที่เกี่ยวข้องกับการบริหารราชการแผ่นดินให้มี ประสิทธิภาพ และสามารถบรรลุผลในทางปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่การพัฒนาประเทศ โดยถือเป็นนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลนี้ด้วย
ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ
เมื่อการแถลงนโยบายนี้เสร็จสิ้นแล้ว รัฐบาลจะได้เร่งดำเนินการให้เป็นรูปธรรม โดยจัดทำรายละเอียดของแผนปฏิบัติการ ประกอบด้วย แผนการบริหารราชการแผ่นดิน แผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการต่าง ๆ และแผนการตรากฎหมายไว้เป็นคู่มือ และแนวทางการทำงานต่อไป
อนึ่ง รัฐบาลขอเรียนว่า รัฐบาลนี้ยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุข โดยถือว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเป็นรากฐานสำคัญในการวางระบบการ บริหารประเทศให้เกิดความมั่นคงและสร้างเสริมหลักประชาธิปไตยที่ถูกต้องและ เหมาะสมเป็นที่ยอมรับของชนในชาติ แต่เนื่องจากระยะเวลาที่ผ่านมาได้มีการเสนอความคิดเห็นที่แตกต่างกันอย่าง หลากหลายในการบังคับใช้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน และมีข้อเรียกร้องจากหลายฝ่ายให้มีการปรับปรุงรัฐธรรมนูญด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อปฏิรูปการเมืองให้มีความเหมาะสมและแก้ไขปัญหาของประเทศชาติได้ดียิ่ง ขึ้น รัฐบาลตระหนักดีว่ารัฐธรรมนูญสมควรเกิดขึ้นจากบรรยากาศการมีส่วนร่วมของ ประชาชนทั้งประเทศที่จะกำหนดแนวทางให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพสังคมไทยและ เป็นไปตามความต้องการของประชาชน
ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการศึกษาทบทวนรัฐธรรมนูญเป็นไปตามหลักประชาธิปไตยอย่างแท้ จริง รัฐบาลนี้จึงสนับสนุนแนวทางการปฏิรูปการเมืองโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของภาค ประชาชน เพื่อให้ประชาชนทุกภาคส่วนมีสิทธิเลือกตัวแทนของประชาชนในรูปแบบสภาร่างรัฐ ธรรมนูญ โดยการสนับสนุนการแก้ไขมาตรา ๒๙๑ ของรัฐธรรมนูญเพื่อให้มีการเลือกสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) เป็นผู้ทำหน้าที่อิสระในการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทั้งประเทศและนำมา พิจารณาเสนอแนะการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อให้เป็นการปฏิรูปการเมืองโดยภาคประชาชน และเป็นการจัดทำรัฐธรรมนูญด้วยความเห็นชอบของประชาชนโดยตรงต่อไป
ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ
รัฐบาลขอให้ความเชื่อมั่นแก่รัฐสภาอันเป็นองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ควบคุม การบริหารราชการแผ่นดินว่า จะบริหารราชการแผ่นดินด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต มีความมุ่งมั่นที่จะบริหารประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้า ทัดเทียมอารยประเทศ สังคมมีความสามัคคีปรองดอง และภาคภูมิใจในความเป็นไทย ทั้งนี้ โดยยึดประโยชน์สุขของประชาชนชาวไทยเป็นที่ตั้งอย่างแท้จริง
ขอบคุณครับ |
59 | คำแถลงนโยบาย
ของ
คณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี
วันอังคารที่ 30 ธันวาคม 2551 ณ ห้องประชุม กระทรวงต่างประเทศ
---------------------------------------------------
ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ
ตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้กระผมเป็นนายกรัฐมนตรี ตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 17 ธันวาคม พุทธศักราช 2551 และแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 20 ธันวาคม พุทธศักราช 2551 นั้น
บัดนี้ คณะรัฐมนตรีได้กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินเรียบร้อยแล้ว โดยยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และครอบคลุมถึงแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามบทบัญญัติในหมวด 5 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย คณะรัฐมนตรีจึงขอแถลงนโยบายดังกล่าวต่อที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาเพื่อให้ทราบถึงแนวทางการบริหารราชการแผ่นดินที่รัฐบาล จะดำเนินการเพื่อนำสังคมไทยกลับคืนสู่ความสมัครสมานสามัคคี เอื้ออาทร และคนไทยมีความสุขถ้วนหน้า พร้อมทั้งนำประเทศไทยให้ผ่านพ้นวิกฤตเศรษฐกิจครั้งสำคัญ เพื่อให้สามารถพัฒนาต่อไปได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน
ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ
รัฐบาลนี้เข้าบริหารประเทศในช่วงที่สังคมไทยมีความขัดแย้งและมีความแตกแยก เนื่องจากมีความเห็นที่แตกต่างกันในเรื่องการเมืองและการบริหารประเทศ ความขัดแย้งดังกล่าวระหว่างกลุ่มประชาชนได้ทวีความรุนแรงขึ้น จนส่งผลให้การบริหารบ้านเมืองในช่วงที่ผ่านมาขาดความก้าวหน้าในการพัฒนาประเทศในเรื่องต่าง ๆ ที่มีความสำคัญเร่งด่วน และมีผลกระทบต่อความอยู่ดีมีสุขของประชาชน ความขัดแย้งดังกล่าวเป็นจุดอ่อนของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปัจจุบันที่เศรษฐกิจโลกได้เข้าสู่ภาวะวิกฤตที่มีความรุนแรงมากที่สุดในรอบศตวรรษ
วิกฤตเศรษฐกิจโลกครั้งนี้เริ่มต้นจากวิกฤตการณ์สถาบันการเงินในประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ซึ่งได้ส่งผลเชื่อมโยงถึงระบบการเงินของประเทศต่าง ๆ ในโลก ถึงแม้ว่าเหตุการณ์นี้จะไม่ได้มีผลต่อสถาบันการเงินของประเทศไทยโดยตรง แต่ก็มีผลกระทบให้เกิดการเคลื่อนย้ายเงินทุนของต่างชาติออกจากประเทศในช่วงดังกล่าว และส่งผลให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์เข้าสู่จุดต่ำสุดในรอบ 5 ปีเมื่อเดือนตุลาคม
ความเสียหายต่อระบบการเงินอย่างรุนแรงได้ส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศพัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และอีกหลายประเทศในยุโรป เข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย และขณะนี้หลายอุตสาหกรรมใหญ่ในประเทศพัฒนาแล้ว เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ การบิน และอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น กำลังประสบปัญหาทางการเงินถึงขั้นที่อาจจะล้มละลาย และได้มีการปลดคนงานออกแล้วเป็นจำนวนหลายล้านคน เศรษฐกิจไทยเริ่มได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกเร็วกว่าที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ ดังจะเห็นได้จากมูลค่าการส่งออกในเดือนพฤศจิกายนในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 18.6 และปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 22.6 จำนวนนักท่องเที่ยวในเดือนกันยายนลดลงร้อยละ 16.5 เทียบกับเดือนเดียวกันในปีที่ผ่านมา ยอดมูลค่าการส่งเสริมการลงทุนในช่วง 11 เดือน ลดลงประมาณร้อยละ 40 และภาคการก่อสร้างอยู่ในภาวะหดตัว รวมถึงประมาณการรายได้ของรัฐบาลในรูปภาษีและรายได้อื่น ๆ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 มีแนวโน้มจะปรับลดลงจากประมาณการเดิมประมาณร้อยละ 10
ในปี 2552 เศรษฐกิจโลกโดยรวมมีแนวโน้มจะขยายตัวได้เพียงเล็กน้อย ดังนั้นประเทศไทยจะเผชิญกับการชะลอตัวของการส่งออก การลดลงของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ การลดลงของราคาสินค้าเกษตร และการชะลอการลงทุนของภาคเอกชน ดังนั้นแนวโน้มจำนวนคนว่างงานจะเพิ่มขึ้นจาก 5 แสนคนในปัจจุบันเป็น 1 ล้านคน อันจะส่งผลให้ความยากจน ปัญหาสังคมและอาชญากรรมเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นความขัดแย้งทางการเมืองซึ่งขยายไปสู่ความขัดแย้งในภาคประชาชนในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งหากไม่ได้รับการแก้ไขและฟื้นฟูความมั่นใจให้แก่นักลงทุนและนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกให้กลับคืนมาอย่างรวดเร็ว จะทำให้เศรษฐกิจและภาคการท่องเที่ยวของประเทศเข้าสู่ภาวะถดถอย
นอกจากปัญหาสำคัญเร่งด่วนดังกล่าวแล้ว รัฐบาลจะให้ความสำคัญแก่ปัญหาพื้นฐานระยะยาวของประเทศไทยซึ่งเป็นสิ่งที่จะละเลยมิได้ ในปัจจุบันคนไทยยังมีการศึกษาโดยเฉลี่ยประมาณ 9 ปี น้อยกว่าประเทศในแถบเอเชียซึ่งมีการศึกษาเฉลี่ยประมาณ 10 ถึง 12 ปี คุณภาพของการศึกษายังมีปัญหาส่งผลให้สัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักเรียนต่ำกว่ามาตรฐานในวิชาสำคัญ เช่น ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ คนไทยมีอายุยืนยาวขึ้น แต่ก็มีปัญหาสุขภาพเพิ่มขึ้น ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน และหัวใจ ซึ่งโรคเหล่านี้รักษาให้หายได้ยากและมีค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และยาเสพติดยังคงเป็นปัญหาสำคัญของสังคมไทย รวมทั้งความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทั้งในเมืองและชนบท ยังคงทวีความรุนแรงขึ้น ส่งผลกระทบโดยตรงต่อคุณภาพชีวิตของคนไทยและความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
ดังนั้นรัฐบาลจะดำเนินนโยบายในด้านต่าง ๆ ควบคู่กันไปกับการแก้ไขปัญหาเร่งด่วน เพื่อให้มีการพัฒนาที่ยั่งยืน เช่น การเตรียมการสำหรับสังคมผู้สูงอายุ การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศและภาวะโลกร้อน ความมั่นคงของอาหารและพลังงานของประเทศ การสร้างเศรษฐกิจฐานความรู้และการสร้างสรรค์ การแก้ไขความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำของรายได้ การพัฒนาธรรมาภิบาล การพัฒนาพื้นที่และกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น การสร้างบทบาทของประเทศไทยในเวทีโลก การเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจกับประเทศในภูมิภาค และการร่วมมือในการพัฒนาอย่างสันติกับประเทศเพื่อนบ้าน เป็นต้น
ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ
รัฐบาลถือเป็นภารกิจที่สำคัญอย่างยิ่ง ที่จะต้องนำประเทศไทยให้รอดพ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่กำลังเกิดขึ้นและพัฒนาไปสู่การเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน แก้ไขวิกฤตทางสังคมที่มีความแตกแยกและพัฒนาให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ยุติวิกฤตทางการเมืองและปฏิรูปการเมืองให้มีความมั่นคงตามแนวทางระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในการนี้รัฐบาลจะดำเนินการให้บรรลุภารกิจดังกล่าวภายใต้แนวทางพื้นฐานหลัก 4 ประการคือ
หนึ่ง ปกป้องและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มีความมั่นคงในการเป็นศูนย์รวมจิตใจและความรักสามัคคีของคนในชาติ และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้เหนือความขัดแย้งทุกรูปแบบ พร้อมทั้งดำเนินการทุกวิถีทางอย่างจริงจังเพื่อป้องกันมิให้มีการล่วงละเมิดพระบรมเดชานุภาพ
สอง สร้างความปรองดองสมานฉันท์ บนพื้นฐานของความถูกต้อง ยุติธรรมและการยอมรับของทุกภาคส่วน
สาม ฟื้นฟูเศรษฐกิจ ให้ขยายตัวอย่างยั่งยืน และบรรเทาผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจที่ประชาชนจะประสบ
สี่ พัฒนาประชาธิปไตยและระบบการเมือง ให้มีความมั่นคง มีการปฏิบัติตามกฎหมาย และบังคับใช้กฎหมายอย่างเสมอภาค เป็นธรรม และเป็นที่ยอมรับของสากล
ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ
รัฐบาลจะบริหารราชการแผ่นดินโดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้นการใช้คุณธรรมนำความรู้ และจะปฏิบัติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอย่างเคร่งครัด โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการและมีกำหนดเวลาแล้วเสร็จในปีแรกอย่างชัดเจน และระยะการบริหารราชการ 3 ปีของรัฐบาลซึ่งมีกำหนดเริ่มต้นตั้งแต่ปีแรกเป็นต้นไป ดังต่อไปนี้
1.นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก
1.1 การสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ภาคประชาชนและเอกชนในการลงทุนและการบริโภค
1.1.1 เสริมสร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีของคนในชาติให้เกิดขึ้นโดยเร็ว โดยใช้แนวทางสันติ รับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย และหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในชาติในทุกกรณี รวมทั้งฟื้นฟูระเบียบสังคมและบังคับใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย ตลอดจนสนับสนุนองค์กรตามรัฐธรรมนูญให้มีส่วนร่วมในการสร้างความสมานฉันท์ ภายใต้กรอบของบทบาทอำนาจและหน้าที่ขององค์กร
1.1.2 จัดให้มีสำนักงานบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นองค์กรถาวร เพื่อทำหน้าที่แก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ชายแดนภาคใต้ โดยยึดมั่นหลักการสร้างความสมานฉันท์และแนวทาง “เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา” ใช้กระบวนการยุติธรรมกับผู้กระทำผิดอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม กำหนดจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเขตพัฒนาพิเศษที่มีการสนับสนุนแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ สิทธิพิเศษด้านภาษี และอุตสาหกรรมฮาลาล รวมทั้งสนับสนุนให้เป็นเขตพัฒนาพิเศษที่มีความยืดหยุ่นและหลากหลายทางศาสนาและวัฒนธรรม
1.1.3 ปฏิรูปการเมือง โดยจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินการปฏิรูป โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพื่อวางระบบการบริหารประเทศให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ ในแนวทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพสังคมไทย รวมทั้งสามารถสนองตอบต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และเป็นไปตามความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง
1.1.4 เร่งสร้างความเชื่อมั่นของประเทศไทยในสายตาของชาวโลก โดยให้ความสำคัญต่อกรอบความร่วมมืออาเซียนเป็นลำดับแรก และร่วมมือกับรัฐสภาในการพิจารณาอนุมัติเอกสารที่เกี่ยวข้องที่ประเทศไทยในฐานะสมาชิกประชาคมอาเซียนจะต้องลงนามในช่วงของการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2552 และเตรียมความพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 14 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประธานอาเซียน
1.1.5 ฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กำลังประสบปัญหาเป็นการเร่งด่วน โดยจัดทำเป็นแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะสั้นที่ครอบคลุมภาคเกษตรและเกษตรกร ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการและการท่องเที่ยว ภาคการส่งออก ภาคอสังหาริมทรัพย์ การสร้างงานและสร้างรายได้ในชนบท การพัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติและฟื้นฟูทรัพยากร ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2552 พร้อมทั้งจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเม็ดเงินของรัฐเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจและเพื่อให้สามารถบรรเทาภาวะความเดือดร้อนของประชาชนและภาคธุรกิจได้
1.1.6 เร่งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ และเร่งรัดมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว โดยการดำเนินการร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในการประชาสัมพันธ์ดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติ ส่งเสริมการท่องเที่ยวของคนไทยในประเทศ และปรับแผนงบประมาณของส่วนราชการที่ได้รับงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 อยู่แล้ว เพื่อใช้ในการจัดการฝึกอบรมและสัมมนาให้กระจายทั่วประเทศ รวมทั้งลดหย่อนค่าธรรมเนียมและค่าบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเพื่อดึงดูดให้มีการเดินทางท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น
1.1.7 เร่งลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ โดยให้ความสำคัญแก่โครงการลงทุนที่มีความคุ้มค่ามากที่สุด เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาทั้งระบบ การลงทุนเพื่อปรับโครงสร้างระบบบริการสุขภาพที่มุ่งสู่การป้องกันและส่งเสริมสุขภาพ การลงทุนพัฒนาระบบขนส่งมวลชน และการพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำและการชลประทาน ให้สามารถเริ่มดำเนินโครงการได้ในปี 2552 โดยให้ความสำคัญแก่การมีส่วนร่วมของประชาชน การรักษาสิ่งแวดล้อม การดำเนินงานอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ และการรักษาวินัยการคลังของประเทศ รวมทั้งเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ
1.2 การรักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน
1.2.1 ร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินมาตรการชะลอการเลิกจ้างและป้องกันการขยายตัวของการเลิกจ้างในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ทั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม โดยใช้มาตรการจูงใจเพื่อลดภาระของภาคเอกชนในการชะลอการเลิกจ้างงาน
1.2.2 ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้า เพื่อรองรับปัญหาแรงงานว่างงานจากภาคอุตสาหกรรมและนักศึกษาจบใหม่ โดยจัดโครงการฝึกอบรมแรงงานที่ว่างงานประมาณ 500,000 คน ในระยะเวลา 1 ปี ตามกลุ่มความถนัดและศักยภาพ และรองรับแรงงานกลับสู่ภูมิลำเนา เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่วิสาหกิจและธุรกิจชุมชน
1.2.3 เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ถูกเลิกจ้างและผู้ว่างงานอันเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจ โดยการดูแลให้ได้รับสิทธิประโยชน์ที่พึงจะได้ตามกฎหมายโดยเร็ว การหางานใหม่ การส่งเสริมอาชีพอิสระ การสร้างงาน และการเพิ่มพูนทักษะเพื่อปรับเปลี่ยนอาชีพ รวมทั้งการจัดสวัสดิการที่จำเป็น เช่น การเพิ่มวงเงินให้กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างเพื่อช่วยเหลือลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง และการดำเนินโครงการสานฝันแรงงานคืนถิ่น ซึ่งรวมถึงการสร้างงานและจัดที่ทำกิน ตลอดจนการเข้าถึงแหล่งทุน สำหรับแรงงานนอกภาคเกษตรที่ถูกเลิกจ้างให้คืนสู่ภาคเกษตร
1.2.4 สร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุที่มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ หรือไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ โดยจัดสรรเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่แสดงความจำนงโดยการขอขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับการสงเคราะห์ รวมทั้งขยายเพดานให้กู้ยืมจากกองทุนผู้สูงอายุเป็น 30,000 บาทต่อราย
1.2.5 เพิ่มมาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชนและกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ได้รับผลกระทบ
1.2.6 สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง และจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้จากวงเงินที่เคยจัดสรรให้เดิม เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติระดับชุมชน ลดต้นทุนปัจจัยการผลิตทางการเกษตร รวมทั้งเร่งรัดและลดขั้นตอนของภาครัฐเพื่อให้ท้องถิ่นสามารถเบิกจ่ายงบประมาณได้อย่างรวดเร็ว
1.2.7 ดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรผ่านกลไกและเครื่องมือของรัฐให้มีประสิทธิภาพ และเร่งสร้างระบบประกันความเสี่ยงทางการเกษตร ทั้งระบบประกันความเสี่ยงราคาพืชผลผ่านกลไกตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรและระบบประกันภัยพืชผลอันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติ
1.2.8 เร่งรัดและพัฒนาตลาดและระบบการกระจายสินค้าของสินค้าเกษตรและสินค้าชุมชน เพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ และการส่งออก
1.2.9 จัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายและวางแผนพัฒนาการเกษตรอย่างเป็นระบบ และมีระบบการคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกร รวมทั้งพัฒนาความเข้มแข็งของเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน
1.2.10 ส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ทั่วประเทศให้ปฏิบัติงานเชิงรุก ในการส่งเสริมสุขภาพในท้องถิ่นและชุมชน การดูแลเด็ก ผู้สูงอายุ คนพิการ การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล และการเฝ้าระวังโรคในชุมชน โดยจัดให้มีสวัสดิการค่าตอบแทนให้แก่ อสม.เพื่อสร้างแรงจูงใจหนุนเสริมให้ปฏิบัติงานได้อย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ
1.3 การลดภาระค่าครองชีพของประชาชน
1.3.1 ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี โดยสนับสนุนตำราในวิชาหลักให้แก่ทุกโรงเรียน จัดให้มีชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนฟรีให้ทันปีการศึกษา 2552 และสนับสนุนค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อชดเชยรายการต่างๆ ที่โรงเรียนเรียกเก็บจากผู้ปกครอง
1.3.2 กำกับดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ ให้มีราคาที่เป็นธรรม สะท้อนต้นทุนอย่างเหมาะสม และไม่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค
1.3.3 ดำเนินมาตรการลดภาระค่าครองชีพของประชาชน ในส่วนของการเดินทาง ก๊าซหุงต้ม และบริการด้านสาธารณูปโภค โดยปรับปรุงมาตรการที่มีอยู่เดิมให้สอดคล้องกับสภาวะทางเศรษฐกิจ และอยู่บนหลักการของการใช้และบริโภคอย่างประหยัด
1.3.4 ใช้กองทุนน้ำมันในการรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและการใช้น้ำมันอย่างประหยัด
1.4 จัดตั้งคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) เพื่อเร่งรัดติดตาม แก้ไขปัญหา ลดขั้นตอนในการปฏิบัติ และกำหนดมาตรการและโครงการเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในภาวะเร่งด่วน
ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ
ในส่วนของนโยบายที่จะดำเนินการภายในช่วงระยะเวลา 3 ปีของรัฐบาลชุดนี้ รัฐบาลจะดำเนินนโยบายหลักในการบริหารประเทศซึ่งปรากฏตามนโยบายข้อที่ 2 ถึงข้อที่ 8 ดังต่อไปนี้
2. นโยบายความมั่นคงของรัฐ
2.1 ปกป้องและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มีความมั่นคงในการเป็นศูนย์รวมจิตใจและความรักสามัคคีของคนในชาติ โดยการเสริมสร้างจิตสำนึกให้มีความจงรักภักดี เทิดทูน ปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ รวมทั้งป้องกันอย่างจริงจังมิให้มีการล่วงละเมิดพระบรมเดชานุภาพ
2.2 เสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพการป้องกันประเทศให้มีความพร้อมในการรักษาเอกราช อธิปไตย และบูรณภาพแห่งดินแดน รวมทั้งการคุ้มครองผลประโยชน์ของชาติ โดยการเตรียมความพร้อมของกองทัพ การฝึกกำลังพลให้เกิดความชำนาญในการปฏิบัติภารกิจ และการจัดงบประมาณให้สอดคล้องกับภารกิจของแต่ละเหล่าทัพ ตลอดจนจัดให้มีแผนการสำรองอาวุธและพลังงานเพื่อความมั่นคง สนับสนุนและส่งเสริมการวิจัยและการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อให้สามารถผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ได้เอง ปรับสิทธิประโยชน์กำลังพล เบี้ยเลี้ยง และค่าเสบียงสนามของทหารหลักและทหารพราน รวมทั้งสวัสดิการของกำลังพลให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจ พัฒนาความร่วมมือทางการทหารกับประเทศเพื่อนบ้านและมิตรประเทศอื่น ๆ และส่งเสริมบทบาทในการรักษาสันติภาพของโลกภายใต้กรอบสหประชาชาติ
2.3 เสริมสร้างสันติภาพของการอยู่ร่วมกันกับประเทศเพื่อนบ้าน มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้วยการเจรจาโดยสันติวิธี ให้ความสำคัญกับการสำรวจและการปักปันเขตแดนกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างถูกต้องตามข้อตกลงและสนธิสัญญา ประสานงานและร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่กระทบต่อความมั่นคงในพื้นที่ชายแดน รวมทั้งเสริมสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในบริเวณชายแดน
2.4 แก้ไขปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองทั้งระบบไม่ให้มีผลกระทบต่อความมั่นคง โดยการปรับปรุงระบบการเข้าเมือง การจัดระเบียบชายแดน และการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าว รวมทั้งการแก้ไขปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคลที่ชัดเจน บนความสมดุลระหว่างการดูแลสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคลกับการรักษาความมั่นคงของชาติ
2.5 เสริมสร้างศักยภาพในการจัดการกับปัญหาภัยคุกคามข้ามชาติ โดยให้ความสำคัญแก่การพัฒนาระบบและกลไกต่าง ๆ ให้พร้อมที่จะป้องกันและแก้ไขปัญหาการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติทุกรูปแบบ รวมทั้งพัฒนากฎหมาย และบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือกับนานาประเทศและส่งเสริมการปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศภายใต้กรอบสหประชาชาติ
3. นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต
3.1 นโยบายการศึกษา
3.1.1 ปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ โดยปฏิรูปโครงสร้างและการบริหารจัดการ ปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ และระดมทรัพยากรเพื่อการปรับปรุงการบริหารจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจนถึงระดับอุดมศึกษา พัฒนาครู พัฒนาระบบการคัดเลือกเข้าสู่มหาวิทยาลัย พัฒนาหลักสูตร รวมทั้งปรับหลักสูตรวิชาแกนหลักรวมถึงวิชาประวัติศาสตร์ ปรับปรุงสื่อการเรียนการสอน พัฒนาทักษะในการคิดวิเคราะห์ ปรับบทบาทการศึกษานอกโรงเรียนเป็นสำนักงานการศึกษาตลอดชีวิต และจัดให้มีศูนย์การศึกษาตลอดชีวิตเพื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ ตลอดจนส่งเสริมการกระจายอำนาจให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อนำไปสู่เป้าหมายคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นคุณธรรมนำความรู้อย่างแท้จริง
3.1.2 ส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาทั้งระบบ โดยมุ่งเน้นในระดับอาชีวศึกษา และอุดมศึกษา เพื่อให้สนองตอบความต้องการด้านบุคลากรของภาคเศรษฐกิจ
3.1.3 พัฒนาครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา เพื่อให้ได้ครูดี ครูเก่ง มีคุณธรรม มีคุณภาพ และมีวิทยฐานะสูงขึ้น ลดภาระงานครูที่ไม่เกี่ยวกับการเรียนการสอนตามโครงการคืนครูให้นักเรียน มีการดูแลคุณภาพชีวิตของครูด้วยการปรับโครงสร้างหนี้และจัดตั้งกองทุนพัฒนาคุณภาพชีวิตครู ควบคู่ไปกับการลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เน้นการพัฒนาเนื้อหาสาระและบุคลากรให้พร้อมรองรับและใช้ประโยชน์จากระบบเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างคุ้มค่า
3.1.4 จัดให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี ตั้งแต่ระดับอนุบาลไปจนถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย พร้อมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการให้เกิดความเสมอภาคและความเป็นธรรมในโอกาสทางการศึกษาแก่ประชากรในกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทั้งผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ ผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ผู้บกพร่องทางร่างกายและสติปัญญา และชนต่างวัฒนธรรม รวมทั้งยกระดับการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กในชุมชน
3.1.5 ยกระดับคุณภาพมาตรฐานการศึกษาระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาไปสู่ความเป็นเลิศ โดยการจัดกลุ่มสถาบันการศึกษาตามศักยภาพ ปรับเงินเดือนค่าตอบแทนของผู้สำเร็จการศึกษาระดับอาชีวศึกษาให้สูงขึ้น โดยภาครัฐเป็นผู้นำและเป็นแบบอย่างของการใช้ทักษะอาชีวศึกษาเป็นเกณฑ์กำหนดค่าตอบแทนและความก้าวหน้าในงาน ควบคู่กับการพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมด้วยการเพิ่มขีดความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนา
3.1.6 ปรับปรุงระบบการบริหารจัดการกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ให้มีการประนอมและไกล่เกลี่ยหนี้ รวมทั้งขยายกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาเพิ่มขึ้นเพื่อให้ประชาชนมีโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาระดับอาชีวศึกษาและปริญญาตรีเพิ่มขึ้น
3.1.7 ส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน และประชาชนใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศเชิงสร้างสรรค์อย่างชาญฉลาด เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้
3.1.8 เร่งรัดการลงทุนด้านการศึกษาและการเรียนรู้อย่างบูรณาการในทุกระดับการศึกษาและในชุมชน โดยใช้พื้นที่และโรงเรียนเป็นฐานในการบูรณาการทุกมิติ และยึดเกณฑ์การประเมินของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาเป็นหลักในการยกระดับคุณภาพโรงเรียนที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน และส่งเสริมความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยไปสู่การเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาและวิจัยพัฒนาในภูมิภาค รวมทั้งเสริมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตในชุมชน โดยเชื่อมโยงบทบาทสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา และสถาบันทางศาสนา
3.2 นโยบายแรงงาน
3.2.1 ดำเนินการให้แรงงานทั้งในและนอกระบบได้รับการคุ้มครองตามมาตรฐานแรงงานไทย โดยเฉพาะในด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพการจ้างงาน โดยการส่งเสริมให้สถานประกอบการผ่านการทดสอบและรับรองตามมาตรฐานระบบการจัดการปฏิบัติต่อแรงงานด้านสิทธิและคุ้มครองให้เป็นไปตามมาตรฐานแรงงานสากล
3.2.2 ปฏิรูประบบประกันสังคมให้มีความเข้มแข็งมั่นคง ให้มีการบริหารจัดการที่เป็นอิสระ โปร่งใส และขยายความคุ้มครองถึงบุตรและคู่สมรสของผู้ประกันตนในเรื่องการเจ็บป่วย รวมทั้งเพิ่มสิทธิประโยชน์อื่น ๆ เพิ่มเติมให้แก่ผู้ประกันตน
3.2.3 พัฒนาและฝึกอบรมแรงงานทุกระดับให้มีความรู้และทักษะฝีมือที่มีมาตรฐานสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี และสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน โดยการเพิ่มขีดความสามารถของสถาบันและศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานที่มีอยู่ทั่วประเทศให้มีศักยภาพเพิ่มขึ้นในการฝึกอบรมฝีมือแรงงานด้วยการระดมการมีส่วนร่วมจากภาคเอกชนในลักษณะโรงเรียนในโรงงาน และการบูรณาการกับสถาบันการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาฝีมือแรงงาน
3.2.4 ส่งเสริมให้แรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศอย่างมีศักดิ์ศรีและมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยการสนับสนุนด้านสินเชื่อการไปทำงานในต่างประเทศ การฝึกอบรมทักษะฝีมือและทักษะการใช้ภาษา การสร้างหลักประกัน การคุ้มครองดูแลการจัดส่งแรงงานไปทำงานในต่างประเทศ และการติดตามดูแลมิให้ถูกเอารัดเอาเปรียบระหว่างการทำงานในต่างประเทศ
3.2.5 สนับสนุนสวัสดิการด้านแรงงาน โดยจัดตั้งสถาบันความปลอดภัยในการทำงาน จัดให้มีสถานดูแลเด็กอ่อนในสถานประกอบการ และเพิ่มศักยภาพกองทุนเงินทดแทนในการดูแลลูกจ้างที่ประสบอันตรายเนื่องจากการทำงาน รวมทั้งจัดระบบดูแลด้านสวัสดิการแรงงานของกลุ่มแรงงานนอกระบบ และส่งเสริมระบบแรงงานสัมพันธ์ในระบบไตรภาคี เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างลูกจ้าง นายจ้าง และภาครัฐ
3.2.6 จัดระบบการจ้างแรงงานต่างด้าวให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคการผลิต ไม่กระทบต่อการจ้างแรงงานไทย และความมั่นคงของประเทศ โดยการจัดจำแนกประเภทงานที่อนุญาตให้แรงงานต่างด้าวทำ และการจัดระบบการนำเข้าแรงงานต่างด้าว การขจัดปัญหาแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย และการจัดทำทะเบียนแรงงานต่างด้าวและระบบการตรวจสอบที่สะดวกต่อการควบคุม
3.2.7 ส่งเสริมการมีงานทำของผู้สูงอายุและคนพิการ โดยการกำหนดให้มีรูปแบบที่หลากหลาย เหมาะสมตามความสามารถของผู้สูงอายุและคนพิการ อาทิ การทำงานแบบบางเวลา การทำงานชั่วคราว การทำงานแบบสัญญาระยะสั้น รวมทั้งการขยายโอกาสการทำงานของผู้สูงอายุที่มีความชำนาญเฉพาะด้าน
3.3 นโยบายด้านสาธารณสุข
3.3.1 สนับสนุนการดำเนินการตามแนวทางของกฎหมายสุขภาพแห่งชาติ โดยเร่งดำเนินมาตรการสร้างเสริมสุขภาพและลดปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพและการเจ็บป่วยเรื้อรัง โดยประสานความร่วมมือและการมีส่วนร่วมจากภาคีพัฒนาในสาขาต่าง ๆ ตลอดจนภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุข ร่วมสร้างความรู้ ความเข้าใจ สร้างแรงจูงใจ รณรงค์ให้เกิดการพัฒนาและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอนามัย รวมทั้งส่งเสริมบทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีส่วนร่วมในการผลิตและพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยจัดสรรทุนให้เพื่อกลับมาทำงานในท้องถิ่น
3.3.2 สร้างขีดความสามารถในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค วินิจฉัย และดูแลรักษาพยาบาลอย่างเป็นระบบ เชื่อมโยงกับทุกภาคส่วน ทุกสาขาที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันปัญหาการป่วยและตายด้วยโรคอุบัติใหม่ที่รวมถึงโรคที่มีการกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ใหม่ และโรคระบาดซ้ำในคน อย่างทันต่อสถานการณ์
3.3.3 ปรับปรุงระบบบริการด้านสาธารณสุข โดยลงทุนพัฒนาระบบบริการสุขภาพของภาครัฐในทุกระดับให้ได้มาตรฐาน ยกระดับสถานีอนามัยเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล และพัฒนาระบบเครือข่ายการส่งต่อในทุกระดับให้มีประสิทธิภาพ เชื่อมโยงกันทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อให้ระบบหลักประกันสุขภาพมีคุณภาพอย่างเพียงพอ ทั่วถึง มีทางเลือกหลากหลายรูปแบบ และครอบคลุมได้ถึงการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ
3.3.4 ลงทุนผลิตและพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ควบคู่กับการสร้างขวัญกำลังใจให้มีความก้าวหน้าในอาชีพ มีการปรับปรุงกฎระเบียบเพื่อให้มีรายได้จากเงินเดือนและค่าตอบแทนอื่น ๆ ที่เหมาะสม เป็นธรรม รวมทั้งปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพด้านการแพทย์ มีการกระจายบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขอย่างสอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่ ตลอดจนการลงทุนพัฒนาและเชื่อมโยงระบบข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศด้านสุขภาพให้ทันสมัย มีมาตรฐานสามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันได้อย่างคุ้มค่า
3.3.5 ผลักดันการขับเคลื่อนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาลในระดับนานาชาติ โดยมียุทธศาสตร์การบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วม มีการประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง มีการใช้ทรัพยากรทางการแพทย์ร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน รวมทั้งปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
3.4 นโยบายศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม
3.4.1 ส่งเสริมการทำนุบำรุงและรักษาศิลปวัฒนธรรมไทยทุกด้าน รวมทั้งศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทย ให้มีความก้าวหน้า มีการค้นคว้า วิจัย ฟื้นฟู และพัฒนา พร้อมทั้งฟื้นฟูต่อยอดแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของประชาชน โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน
3.4.2 เสริมสร้างบทบาทของสถาบันครอบครัวร่วมกับสถานบันทางศาสนา สถาบันการศึกษา และสถาบันทางสังคมอื่น ๆ ในการปลูกฝังค่านิยมและจิตสำนึกที่ดีและการเฝ้าระวังทางวัฒนธรรมที่มีผลกระทบต่อการเบี่ยงเบนพฤติกรรมของเด็กและเยาวชน รวมทั้งสนับสนุนการผลิตสื่อสร้างสรรค์ สร้างกระแสเชิงบวกให้แก่สังคม และเปิดพื้นที่สาธารณะที่ดีให้แก่เด็กและเยาวชน
3.4.3 สนับสนุนการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งความหลากหลายของศิลปะและวัฒนธรรมไทยทั้งที่เป็นวิถีชีวิต ค่านิยมที่ดีงาม และความเป็นไทยเพื่อการศึกษาเรียนรู้และเผยแพร่สู่สังคมโลก ตลอดจนใช้ประโยชน์เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีกับชาวโลกและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ
3.4.4 ส่งเสริมการปรับปรุงองค์กรและกลไกที่รับผิดชอบด้านศาสนา เพื่อให้การบริหารจัดการ ส่งเสริม ทำนุบำรุงศาสนา มีความเป็นเอกภาพและประสิทธิภาพ รวมทั้งส่งเสริมความเข้าใจอันดีและสมานฉันท์ระหว่างศาสนิกชนของทุกศาสนา เพื่อนำหลักธรรมของศาสนามาใช้ในการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนใช้หลักธรรมในการดำรงชีวิตมากขึ้น
3.5 นโยบายสวัสดิการสังคม และความมั่นคงของมนุษย์
3.5.1 แก้ไขปัญหาความยากจน โดยการจัดหาที่ดินทำกินให้แก่ผู้มีรายได้น้อย ส่งเสริมอาชีพและสร้างรายได้ เช่น การปลูกป่า สร้างความเข้มแข็งของกองทุนหมู่บ้านและแหล่งเงินทุนอื่น ๆ ในระดับชุมชน ให้มีกลไกที่โปร่งใส มีประสิทธิภาพและให้ชุมชนสามารถตัดสินใจและนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนได้
3.5.2 ปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชน เพื่อนำไปสู่การลดหนี้หรือยืดเวลาชำระหนี้ หรือลดอัตราดอกเบี้ย หรือพักชำระดอกเบี้ย
3.5.3 เร่งรัดปรับปรุงแก้ไขปัญหาคุณภาพการอยู่อาศัย คุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อมชุมชน โดยเฉพาะชุมชนผู้มีรายได้น้อยให้ดียิ่งขึ้น โดยปรับปรุงคุณภาพและขยายการให้บริการสาธารณูปโภคให้ทั่วถึง ปรับปรุงการบริหารจัดการองค์กรภาครัฐด้านการเคหะและการอยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อยเพื่อเพิ่มประสิทธิการทำงานขององค์กร รวมถึงพิจารณาจัดตั้งองค์กรในลักษณะดังกล่าวเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การดูแลคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมของชุมชนผู้มีรายได้น้อยให้ดียิ่งขึ้น
3.5.4 สร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมในกลุ่มผู้สูงอายุ โดยเน้นบทบาทของสถาบันทางสังคม ชุมชน และเป็นเครือข่ายในการคุ้มครองทางสังคมและการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุ รวมทั้งส่งเสริมการนำศักยภาพผู้สูงอายุมาใช้ในการพัฒนาประเทศ การถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญาสู่สังคม ส่งเสริมการออม และสร้างระบบประกันชราภาพ เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยสูงอายุอย่างมั่นคง
3.5.5 ให้ความสำคัญในการคุ้มครองผู้บริโภคในทุกมิติ โดยการรณรงค์สร้างความรู้ความเข้าใจ จัดตั้งองค์กรอิสระผู้บริโภค บังคับใช้มาตรการทางกฎหมายที่ให้การคุ้มครองดูแลผู้บริโภคโดยเคร่งครัด รวมทั้งการใช้กลไกทางกฎหมายในการป้องกันการเอาเปรียบผู้บริโภคในด้านอื่น ๆ เช่น การโฆษณาเกินเวลา การโฆษณาแฝงหรือการใช้สื่อเพื่อประโยชน์ส่วนตน เป็นต้น
3.5.6 ส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างชาย-หญิง ขจัดการกระทำความรุนแรง และการเลือกปฏิบัติต่อเด็ก สตรี และผู้พิการ ให้การคุ้มครองและส่งเสริมการจัดสวัสดิการทางสังคมที่เหมาะสมแก่ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ และผู้ที่อยู่ในภาวะยากลำบาก ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น พึ่งตนเองได้
3.5.7 เร่งรัดการแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างเป็นระบบครบวงจร ทั้งด้านการป้องกัน การปราบปราม การบำบัดรักษา การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ควบคู่กับการปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับสถานการณ์ และมีการบังคับใช้กฎหมายโดยเคร่งครัด รวมทั้งขยายความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและนานาชาติในการแก้ไขปัญหายาเสพติด
3.5.8 เพิ่มประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน โดยส่งเสริมให้มีระบบติดตามและเฝ้าระวังปัญหาอาชญากรรมที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง โดยเน้นการพัฒนาระบบข้อมูล ข่าวสาร การเตือนภัย และสร้างเครือข่ายอาสาสมัครชุมชนในพื้นที่ต่าง ๆ ในการป้องกันปัญหาร่วมกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ และปรับปรุงระบบชุมชนและมวลชนสัมพันธ์ให้มีความเข้มแข็ง เพื่อสร้างความเข้าใจและความร่วมมือระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐกับประชาชน
3.6 นโยบายการกีฬาและนันทนาการ
3.6.1 เสริมสร้างโอกาสให้ประชาชนทุกกลุ่มออกกำลังกายและเล่นกีฬา โดยประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคธุรกิจเอกชน ชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีส่วนร่วมในการพัฒนากีฬา จัดหาสถานที่จัดกิจกรรมการออกกำลังกายและเล่นกีฬาอย่างทั่วถึง รวมทั้งส่งเสริมให้เยาวชนมีความสนใจในการกีฬาและใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
3.6.2 พัฒนากีฬาสู่ความเป็นเลิศ โดยจัดตั้งศูนย์ฝึกกีฬาแห่งชาติ พร้อมทั้งนำวิทยาศาสตร์การกีฬามาใช้ จัดให้มีการควบคุมมาตรฐานการฝึกสอนด้านการกีฬาให้มีคุณภาพ และสนับสนุนการจัดการแข่งขันกีฬาในระดับนานาชาติอย่างต่อเนื่อง
3.6.3 ส่งเสริมกีฬาไทยให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางและได้รับการยอมรับจากสากลยิ่งขึ้น
3.6.4 ปรับปรุงระบบบริหารจัดการด้านการกีฬา โดยส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการด้านการกีฬา จัดกิจกรรมและสถานกีฬา รวมทั้งจัดสร้างลานกีฬาในทุกหมู่บ้านและชุมชน
3.6.5 ปรับปรุงกฎหมายการกีฬาและที่เกี่ยวข้อง โดยจัดให้มีกฎหมายกีฬาอาชีพ กฎหมายเกี่ยวกับสวัสดิการนักกีฬา และกฎหมายอื่น ๆ เพื่อเป็นเครื่องมือการบริหารจัดการด้านกีฬาให้มีประสิทธิภาพ
4. นโยบายเศรษฐกิจ
4.1 นโยบายการบริหารเศรษฐกิจมหภาค
4.1.1 สนับสนุนให้เศรษฐกิจมีการเจริญเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ โดยประสานนโยบายการเงินและนโยบายการคลังเพื่อให้มีความสมดุลระหว่างอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ เสถียรภาพของระดับราคา และการจ้างงาน
4.1.2 สร้างเสถียรภาพและความมั่นคงของระบบสถาบันการเงินในประเทศ บริหารสภาพคล่องทางการเงินภายในประเทศ และดูแลการเคลื่อนย้ายทุนระหว่างประเทศ โดยติดตามความเคลื่อนไหวของธุรกรรมทางการเงินของสถาบันการเงินอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างรวดเร็ว รวมทั้งการเพิ่มความร่วมมือทางด้านการเงินภายใต้กรอบการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน เพื่อให้สามารถช่วยเหลือและร่วมกันแก้ไขปัญหาในกรณีที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจและการเงินในภูมิภาค
4.1.3 พัฒนาตลาดทุนและระบบสถาบันการเงินให้เข้มแข็งและสามารถรองรับผลกระทบจากความผันผวนของสภาวะการเงินโลก และให้สามารถสนับสนุนการลงทุนและการดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นคง โดยการแก้ไขกฎ ระเบียบ และวางระบบการกำกับดูแลให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมทางการเงิน และส่งเสริมการออมระยะยาวเพื่อเป็นฐานการระดมทุนของประเทศในอนาคต
4.1.4 ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงแนวทางการจัดสรรงบประมาณของประเทศให้สอดคล้องกับกำลังเงินของแผ่นดิน รวมทั้งเร่งออกกฎหมายการเงินการคลังของรัฐเพื่อให้เป็นกลไกในการกำกับและเป็นกรอบแนวทางในการปฏิบัติที่ดี
4.1.5 ปรับปรุงโครงสร้างภาษีและการจัดเก็บภาษี เพื่อให้มีความเป็นธรรม โปร่งใส และสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รวมทั้งมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการประหยัดพลังงาน และพลังงานทางเลือก
4.1.6 กำหนดกรอบการลงทุนภาครัฐ ทั้งในระยะปานกลางและระยะยาวที่มีความชัดเจนของแหล่งเงิน รูปแบบการลงทุน และการเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนที่เหมาะสม รวมทั้งพัฒนาเครื่องมือและกลไกการระดมทุนที่มีประสิทธิภาพสำหรับโครงการขนาดใหญ่ โดยคำนึงถึงวินัยการคลัง และภาระงบประมาณของภาครัฐ
4.1.7 ปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาการให้บริการ การใช้ทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด การลดต้นทุนดำเนินงาน การบริหารความเสี่ยง การบริหารจัดการภายใต้หลักธรรมาภิบาล และมีระบบการกำกับดูแลที่ดี รวมทั้งการฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน และการเร่งรัดการเบิกจ่ายลงทุนให้เป็นไปตามเป้าหมาย
4.2 นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ
4.2.1 ภาคเกษตร
4.2.1.1 เร่งรัดการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตรและพัฒนาระบบโลจิสติกส์ทางการเกษตร เพื่อเพิ่มผลตอบแทนด้านการเกษตร โดยส่งเสริมการผลิตพืชเศรษฐกิจสำคัญให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ จัดหาปัจจัยการผลิตและโครงสร้างพื้นฐานการผลิตที่มีคุณภาพและมีความจำเป็นพัฒนาเทคโนโลยีการเก็บรักษาและระบบโลจิสติกส์ทางการเกษตรเพื่อลดต้นทุนทางการเกษตร รวมทั้งการจัดพื้นที่การผลิตพืชอาหารและพืชพลังงานให้เหมาะสม มีประสิทธิภาพ และมีราคาที่เหมาะสมและเป็นธรรมสำหรับพืชพลังงาน เพื่อสร้างความมั่นคงด้านรายได้ให้แก่เกษตรกร
4.2.1.2 ส่งเสริมอาชีพและขยายโอกาสการทำประมง โดยพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ประมงชายฝั่ง และประมงน้ำจืด ทั้งในระดับพื้นบ้านและเชิงอุตสาหกรรม ยกระดับราคาสินค้าประมงโดยท้องถิ่นมีส่วนร่วม ปรับปรุงกฎหมายและเขตจับสัตว์น้ำให้ชัดเจนระหว่างประมงเพื่อการพาณิชย์และประมงชายฝั่ง และบังคับใช้โดยเคร่งครัด รวมทั้งพัฒนาศักยภาพของอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ ควบคู่กับการเจรจาส่งเสริมความร่วมมือด้านการประมงกับต่างประเทศในการทำประมงนอกและในน่านน้ำสากล และส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนในกิจการประมง รวมทั้งจัดตั้งองค์กรระดับชาติเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาการประมงของประเทศ ทั้งในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำ และอุตสาหกรรมต่อเนื่องด้านการประมง
4.2.1.3 พัฒนาศักยภาพสินค้าปศุสัตว์ โดยปรับปรุงและอนุรักษ์พันธุ์สัตว์เศรษฐกิจสำคัญ อาทิ โค กระบือ เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ พัฒนาการผลิตทุกขั้นตอนให้มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล พัฒนาศักยภาพในการป้องกันและควบคุมโรคระบาดในสัตว์ พัฒนาศักยภาพการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ และขยายการส่งออกสินค้าปศุสัตว์ในตลาดโลก รวมทั้งส่งเสริมการทำปศุสัตว์อินทรีย์ครัวเรือนตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
4.2.1.4 ดูแลเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรและการตลาดสินค้าเกษตร โดยจัดให้มีระบบประกันความเสี่ยงด้านราคาสินค้าเกษตร พัฒนาตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าให้มีความเข้มแข็ง สร้างตลาดกลางเพื่อการค้าส่งและค้าปลีกสินค้าเกษตรในทุกภูมิภาค ผลักดันให้มีการเปิดตลาดสินค้าเกษตรแห่งใหม่ให้ครอบคลุมทั่วโลก และส่งเสริมระบบเกษตรพันธะสัญญา รวมทั้งใช้ระบบไตรภาคีภาครัฐ เอกชน และเกษตรกร ในการแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตร
4.2.1.5 ส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร โดยส่งเสริมการวิจัยและพัฒนามาตรฐานการผลิตและความปลอดภัยด้านสินค้าเกษตรและอาหารตามมาตรฐานสากลในระดับชุมชน และมีการเชื่อมโยงการผลิตทางการเกษตรกับอุตสาหกรรมการเกษตร ส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตรที่ได้คุณภาพและมาตรฐานสากล ส่งเสริมความแข็งแกร่งของตราสินค้า จัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรอย่างครบวงจร รวมทั้งเร่งรัดการเจรจาระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร และให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนสนับสนุนเงินทุนพัฒนาเครื่องจักรเพื่อแปรรูปขั้นต้นของสินค้าเกษตร
4.2.1.6 สร้างความมั่นคงด้านอาหาร โดยส่งเสริมการทำการเกษตรตามแนวพระราชดำริ ขยายกระบวนการเรียนรู้และการพัฒนาเกษตรทฤษฎีใหม่ โครงการอาหารกลางวัน และธนาคารโคกระบือตามแนวพระราชดำริ และสนับสนุนการทำเกษตรอินทรีย์ เกษตรผสมผสาน วนเกษตร ที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน เพื่อลดการใช้สารเคมีและเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร รวมทั้งสนับสนุนความร่วมมือระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับความมั่นคงทางด้านอาหาร
4.2.1.7 เร่งรัดการจัดหาแหล่งน้ำให้ทั่วถึงและเพียงพอ รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรน้ำเพื่อการผลิตทางการเกษตร โดยเน้นการเพิ่มสระน้ำในไร่นาและขุดลอกคูคลองเพื่อบรรเทาอุทกภัยและภัยแล้ง ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากน้ำให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับชนิดพืช เพิ่มพื้นที่ชลประทานทั้งขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ตลอดจนขยายระบบการกระจายน้ำในพื้นที่ชลประทานให้ใช้ประโยชน์ได้เต็มศักยภาพ
4.2.1.8 คุ้มครองและรักษาพื้นที่ที่เหมาะสมกับการทำเกษตรกรรมที่ได้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านชลประทานแล้ว เพื่อเป็นฐานการผลิตทางการเกษตรในระยะยาว ฟื้นฟูคุณภาพดิน จัดหาที่ดินทำกินให้แก่เกษตรกรยากจนในรูปของธนาคารที่ดิน และเร่งรัดการออกเอกสารสิทธิให้แก่เกษตรกรยากจนและชุมชนที่ทำกินอยู่ในที่ดินของรัฐที่ไม่มีสภาพป่าแล้วในรูปของโฉนดชุมชน รวมทั้งสนับสนุนการพัฒนาการเกษตรในรูปของนิคมการเกษตร
4.2.1.9 พัฒนาภาคเกษตรให้มีความเข้มแข็ง โดยสร้างและพัฒนาคุณภาพเกษตรกรรุ่นใหม่ให้มีความสามารถในการบริหารจัดการผลผลิตและการบริหารองค์กรเกษตรกรรูปแบบต่าง ๆ ด้วยองค์ความรู้จากนวัตกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นและเทคโนโลยีที่เหมาะสม ผ่านระบบการเรียนรู้ทั้งในและนอกระบบการศึกษา เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงภาคเกษตรและสังคมไทย
4.2.1.10 แก้ไขปัญหาหนี้สิน ฟื้นฟูอาชีพและความเป็นอยู่ของเกษตรกร โดยเร่งดำเนินการจัดการหนี้สินของเกษตรกรทั้งในและนอกระบบ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และรักษาที่ดินทำกินให้แก่เกษตรกร
4.2.2 ภาคอุตสาหกรรม
4.2.2.1 สร้างความแข็งแกร่งและความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกให้กับอุตสาหกรรมไทยด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้า โดยร่วมมือกับภาคเอกชน สถาบันวิจัย และสถาบันการศึกษา ในการพัฒนาความสามารถของผู้ประกอบการ พัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน ปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักร พัฒนาการออกแบบสินค้าและผลิตภัณฑ์ ลดต้นทุนโลจิสติกส์ และเพิ่มความร่วมมือในภูมิภาคในการผลิตสินค้าเชิงลูกโซ่ผ่านการเจรจาระหว่างประเทศ
4.2.2.2 กำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาของแต่ละอุตสาหกรรมและพัฒนาอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในอนาคต เช่น อุตสาหกรรมผลิตเครื่องจักรภายในประเทศ อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอาหาร และอุตสาหกรรมอัญมณี เป็นต้น โดยปรับปรุงมาตรการส่งเสริมการลงทุนด้านภาษีและที่มิใช่ภาษีให้สามารถจูงใจนักลงทุนได้ และส่งเสริมการร่วมทุนกับบริษัทต่างประเทศในอุตสาหกรรมที่มีเทคโนโลยีขั้นสูง
4.2.2.3 ร่วมมือกับภาคเอกชนในการปรับปรุงคุณภาพและมาตรฐานสินค้าให้ทัดเทียมและล้ำหน้าในระดับสากล โดยสนับสนุนให้มีกลไกการระดมทุนและประกันความเสี่ยงให้กับภาคเอกชนเพื่อกระตุ้นให้ภาคเอกชนลงทุนทางด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีมากขึ้น รวมทั้งให้การคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาสำหรับสินค้าที่ผลิตในประเทศและมีตราสัญลักษณ์ไทย
4.2.2.4 เร่งผลิตบุคลากรด้านอาชีวะตามความต้องการของตลาดแรงงานอุตสาหกรรม รวมทั้งเพิ่มค่าตอบแทนให้ใกล้เคียงกับปริญญาตรี และกำหนดหลักสูตรให้สามารถต่อยอดในระดับปริญญาได้
4.2.2.5 สร้างความเข็มแข็งให้แก่อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม โดยรัฐอำนวยความสะดวกในการจัดตั้งเครือข่ายรวมกลุ่ม และปรับปรุงมาตรฐานการปล่อยสินเชื่อ ขยายขอบเขตการดำเนินการให้สินเชื่อ และประกันสินเชื่อ โดยใช้เครือข่ายธนาคารและสถาบันการเงินของรัฐ เพื่อให้อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนดังกล่าวได้
4.2.2.6 จัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเพื่อส่งเสริมการลงทุนด้านอุตสาหกรรมที่มีความสอดคล้องกับศักยภาพของแต่ละพื้นที่ เช่น การพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน เป็นต้น ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืนของชุมชนและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่
4.2.2.7 ส่งเสริมให้อุตสาหกรรมมีความรับผิดชอบต่อสังคม ทั้งในด้านคุณภาพและมาตรฐานสินค้าและบริการ และมาตรฐานความปลอดภัยในสถานประกอบการและสิ่งแวดล้อม
4.2.2 ภาคการท่องเที่ยวและบริการ
4.2.3.1 ขยายฐานภาคบริการในโครงสร้างการผลิตของประเทศ โดยเพิ่มความหลากหลายของธุรกิจบริการ เพิ่มมูลค่า เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน พัฒนาแรงงานฝีมือทั้งในด้านคุณภาพและความรู้ด้านภาษา และเชื่อมโยงธุรกิจ ภาคบริการ อุตสาหกรรม และเกษตรเข้าด้วยกันให้เป็นกลุ่มสินค้า เช่น ธุรกิจสุขภาพ อาหารและการท่องเที่ยว รวมทั้งสินค้าบริการที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์บนพื้นฐานของวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยที่เชื่อมโยงกับเทคโนโลยีสมัยใหม่
4.2.3.2 พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทั้งของรัฐและเอกชน โดยรักษาและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเดิมที่มีอยู่แล้ว ทั้งแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และแหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตของชุมชน รวมทั้งจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษด้านการท่องเที่ยวและกำหนดจุดขายของแหล่งท่องเที่ยวของแต่ละภาคและกลุ่มจังหวัดให้มีความเหมาะสมเกื้อกูลซึ่งกันและกัน เช่น กรุงเทพมหานครที่ทรงเสน่ห์ ภาคใต้เป็นศูนย์กลางท่องเที่ยวทางทะเลระดับโลก ภาคเหนือเป็นศูนย์กลางอารยธรรมล้านนา ภาคอีสานเป็นศูนย์กลางท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ โบราณคดี วัฒนธรรมและชายแดน ภาคกลางเป็นศูนย์กลางท่องเที่ยวอารยธรรม มรดกโลกและมรดกธรรมชาติ เป็นต้น
4.2.3.3 พัฒนามาตรฐานบริการด้านการท่องเที่ยว โดยจัดให้มีมาตรฐานธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เช่น มาตรฐานธุรกิจนำเที่ยว มาตรฐานการเดินทาง มาตรฐานร้านจำหน่ายสินค้าที่ระลึก มาตรฐานที่พักและโรงแรม เป็นต้น รวมทั้งพัฒนามาตรฐานบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เช่น พนักงานโรงแรม พนักงานบริษัทนำเที่ยว มัคคุเทศก์ พนักงานร้านอาหาร พนักงานรถนำเที่ยว เป็นต้น และปรับปรุงมาตรฐานการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ทั้งในด้านความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว และค่าธรรมเนียมและค่าบริการของรัฐ
4.2.3.4 พัฒนาด้านการตลาดและประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว โดยสนับสนุนให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและกลยุทธ์ด้านการตลาด และกำหนดกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์เพื่อสนับสนุนจุดขายที่มีความโดดเด่นของไทยให้เป็นศูนย์กลางระดับโลก โดยเฉพาะความพร้อมของการให้บริการทางด้านศูนย์กลางการประชุมและแสดงสินค้าระหว่างประเทศ และศูนย์กลางท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ รวมทั้งส่งเสริมบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เข้ามามีส่วนร่วมในการประชาสัมพันธ์เพื่อยกระดับแหล่งท่องเที่ยวให้เป็นที่รู้จักทั่วโลก
4.2.3.5 ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวทั้งหมดให้มีความทันสมัยและสนับสนุนซึ่งกันและกัน และเพิ่มประสิทธิภาพของการบังคับใช้กฎหมายทางด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม
4.2.4 การตลาด การค้า และการลงทุน
4.2.4.1 ส่งเสริมระบบการค้าเสรีและเป็นธรรม โดยมีภาคเอกชนเป็นผู้นำทางธุรกิจ รัฐเป็นผู้ส่งเสริม สนับสนุน และดูแล และให้มีการบังคับใช้กฎหมายแข่งขันทางการค้าและกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคอย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกันการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม ป้องกันการผูกขาดตัดตอน ป้องกันการเอาเปรียบผู้บริโภค และให้ความคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้งออกกฎหมายค้าปลีกเพื่อกำกับดูแลธุรกิจค้าปลีกอย่างเป็นระบบโดยให้ธุรกิจรายใหญ่และรายย่อยอยู่ร่วมกันได้อย่างเกื้อกูลและยั่งยืน
4.2.4.2 ขยายตลาดสินค้าและบริการส่งออกของไทยโดยกำหนดกลยุทธ์ด้านการตลาดร่วมกับภาคเอกชนเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งในตลาดที่มีอยู่แล้วและขยายฐานการตลาดไปสู่ประเทศใหม่ ๆ เช่น ยุโรปตะวันออก ตะวันออกกลาง และเอเชีย เป็นต้น รวมทั้งพัฒนาระบบการกระจายสินค้าให้รวดเร็วโดยใช้ความได้เปรียบในเชิงแหล่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์และศักยภาพการขนส่งของไทย
4.2.4.3 ใช้ประโยชน์จากข้อตกลงเขตการค้าเสรีทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี ควบคู่ไปกับการเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรีที่มีปัญหา ทั้งที่อยู่ระหว่างการเจรจา และที่ได้มีการเจรจาไปแล้ว เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศโดยเน้นการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ภาคเอกชน และภาครัฐ รวมทั้งกำหนดมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบอย่างเป็นระบบทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
4.2.4.4 ปรับปรุงมาตรการบริหารการนำเข้า เพื่อป้องกันการค้าที่ไม่เป็นธรรม การทุ่มตลาด และสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานทางด้านคุณภาพและความปลอดภัย
4.2.4.5 ส่งเสริมผู้ประกอบการไทยให้มีการขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาให้ถูกต้อง และปกป้องคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของสินค้าและผลิตภัณฑ์ไทยในต่างประเทศ
4.2.4.6 ส่งเสริมการลงทุนในภาคเกษตร อุตสาหกรรม และบริการที่ไทยมีศักยภาพ โดยเฉพาะสินค้าอาหารและบริการฮาลาล อุตสาหกรรมภาพยนตร์ สินค้าและบริการที่ใช้นวัตกรรมและภูมิปัญญา การลงทุนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งสนับสนุนการลงทุนในต่างประเทศในสาขาที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพ และสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงทางธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ
4.2.4.7 ปรับปรุงประสิทธิภาพและจัดระบบการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุนชายแดน โดยนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ที่สำคัญ ได้แก่ ศูนย์บริการครบวงจร ระบบอำนวยความสะดวกช่องทางเดียว ระบบการตรวจร่วมจุดเดียว ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และระบบโลจิสติกส์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
4.2.4.8 ปรับปรุงและเร่งรัดกระบวนการพิจารณาอุทธรณ์เรื่องภาษี โดยยกระดับหน่วยงานพิจารณาเรื่องอุทธรณ์จากระดับกรมขึ้นมาอยู่ในระดับกระทรวง และให้ตัวแทนภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพิจารณาตัดสินอุทธรณ์เช่นเดียวกับผู้พิพากษาสมทบ รวมทั้งมีการประกาศกำหนดเวลาแน่นอนในการวินิจฉัยคำอุทธรณ์
4.3 นโยบายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
4.3.1 ขยายการให้บริการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของประชาชนให้กระจายไปสู่ภูมิภาคอย่างทั่วถึง เพียงพอ และมีคุณภาพ ทั้งบริการน้ำสะอาด ไฟฟ้า สื่อสารโทรคมนาคมพื้นฐาน และที่อยู่อาศัย รวมทั้งพัฒนาถนนไร้ฝุ่น โดยยกระดับมาตรฐานทางในชนบทเป็นถนนคอนกรีตหรือลาดยาง
4.3.2 พัฒนาระบบการคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์อย่างบูรณาการ ทั้งในด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การปรับปรุงพัฒนากฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง การส่งเสริมธุรกิจการให้บริการโลจิสติกส์ การอำนวยความสะดวกทางการค้า และการพัฒนาบุคลากรโลจิสติกส์ รวมทั้งจัดตั้งคณะกรรมการระดับชาติเพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนการพัฒนาด้านโลจิสติกส์อย่างจริงจัง
4.3.3 พัฒนาระบบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ โดยเชื่อมโยงการขนส่งทางถนน ทางราง ทางน้ำ และทางอากาศอย่างเป็นระบบ พร้อมทั้งพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกในการขนส่ง เช่น สถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง ศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้าในภูมิภาค เป็นต้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนโลจิสติกส์
4.3.4 พัฒนาโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลให้มีความสมบูรณ์ และรถไฟชานเมืองให้สามารถเชื่อมต่อการเดินทางกับโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนและระบบขนส่งสาธารณะอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ สะดวกรวดเร็ว ในราคาที่เหมาะสม รวมทั้งขยายการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนไปยังเมืองหลักในภูมิภาค
4.3.5 พัฒนาโครงข่ายรถไฟทางคู่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะในเส้นทางที่มีปริมาณการขนส่งหนาแน่น และพัฒนาเส้นทางเชื่อมโยงฐานการผลิตในภูมิภาคและระหว่างประเทศ ปรับปรุงบูรณะทาง รวมทั้งพัฒนาการให้บริการและสิ่งอำนวยความสะดวกให้ได้มาตรฐาน เพื่อเพิ่มความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย และลดต้นทุนการขนส่ง
4.3.6 พัฒนาโครงข่ายทางหลวงสายประธาน สายหลัก และโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ให้เชื่อมโยงเมืองหลักในภูมิภาคและเส้นทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และสอดคล้องกับการพัฒนาโครงข่ายการขนส่งรูปแบบอื่น ๆ โดยเฉพาะโครงข่ายรถไฟ รวมทั้งการปรับปรุงทางหลวงและมีมาตรการบังคับใช้กฎหมายเพื่อลดอุบัติเหตุบนท้องถนน เพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการเดินทางและการขนส่งสินค้า
4.3.7 พัฒนากิจการพาณิชยนาวี และโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางน้ำ โดยเฉพาะการพัฒนาการให้บริการของท่าเรือแหลมฉบังให้มีมาตรฐานเป็นท่าเรือที่ทันสมัยระดับโลก พัฒนาการขนส่งชายฝั่ง และการขนส่งทางน้ำภายในประเทศและระหว่างประเทศให้เชื่อมโยงกับระบบขนส่งอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มสัดส่วนการขนส่งทางน้ำให้มากขึ้น
4.3.8 พัฒนาและขยายความสามารถของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานหลักในภูมิภาค ให้สามารถรองรับปริมาณการจราจรทางอากาศได้อย่างเพียงพอในอนาคต พัฒนาท่าอากาศยานดอนเมืองให้เกิดประโยชน์สูงสุด และพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมการบิน เช่น ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน และธุรกิจเกี่ยวเนื่องเพื่อสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการบิน การท่องเที่ยว และการขนส่งสินค้าทางอากาศชั้นนำของเอเชีย
4.3.9 ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตที่เกี่ยวข้องด้านการขนส่ง เช่น การต่อเรือ การต่อตู้รถไฟและรถไฟฟ้า เป็นต้น โดยให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีทั้งด้านการผลิตและการบริหารจัดการอย่างต่อเนื่องและจริงจัง
4.3.10 เร่งแก้ไขปัญหาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินโครงการขนาดใหญ่อย่างจริงจัง ภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน และปรับโครงสร้างการบริหารจัดการ และการกำกับดูแลการพัฒนาและการให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค และมีการแข่งขันที่เป็นธรรม
4.3.11 พัฒนาระบบขนส่งและโลจิสติกส์ในภูมิภาคและเชื่อมโยงกับโครงข่ายคมนาคมกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมขนส่งตามแนวเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ แนวเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก โครงการสะพานเศรษฐกิจเชื่อมอ่าวไทยและอันดามัน และโครงข่ายคมนาคมเชื่อมโยงอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย รวมทั้งปรับปรุงระบบอำนวยความสะดวกทางการค้าและการขนส่งสินค้าข้ามแดนในพื้นที่บริเวณชายแดนที่สำคัญ คือ ด่านหนองคาย แม่สอด มุกดาหาร สระแก้ว ด่านสิงขร และช่องเม็ก เป็นต้น
4.4 นโยบายพลังงาน
4.4.1 พัฒนาพลังงานให้ประเทศไทยสามารถพึ่งตนเองได้มากขึ้น โดยจัดหาพลังงานให้เพียงพอ มีเสถียรภาพ ด้วยการเร่งสำรวจและพัฒนาแหล่งพลังงานประเภทต่าง ๆ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ และเร่งให้มีการเจรจากับประเทศเพื่อนบ้านในระดับรัฐบาลเพื่อร่วมพัฒนาแหล่งพลังงาน วางแผนพัฒนาไฟฟ้าให้มีการกระจายชนิดของเชื้อเพลิงที่ใช้ เพื่อลดความเสี่ยงด้านการจัดหา ความผันผวนทางด้านราคา และลดต้นทุนการผลิต ส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่มีศักยภาพ โดยเฉพาะโครงการผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก และโครงการผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก รวมทั้งศึกษาความเหมาะสมในการพัฒนาพลังงานทางเลือกอื่น ๆ มาใช้ประโยชน์ในการผลิตไฟฟ้า
4.4.2 ดำเนินการให้นโยบายด้านพลังงานทดแทนเป็นวาระแห่งชาติ โดยสนับสนุนการผลิตและการใช้พลังงานทดแทน โดยเฉพาะการพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพและชีวมวล เช่น แก๊สโซฮอล์ (อี 10 อี 20 และอี 85) ไบโอดีเซล ขยะ และมูลสัตว์ เป็นต้น เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน ลดภาวะมลพิษ และเพื่อประโยชน์ของเกษตรกรโดยสนับสนุนให้มีการผลิตและใช้พลังงานหมุนเวียนในระดับชุมชน หมู่บ้าน ภายใต้มาตรการสร้างแรงจูงใจที่เหมาะสม รวมทั้งสนับสนุนการใช้ก๊าซธรรมชาติในภาคขนส่งให้มากขึ้น โดยขยายระบบขนส่งก๊าซธรรมชาติให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ ตลอดจนส่งเสริมและวิจัยพัฒนาพลังงานทดแทนทุกรูปแบบอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
4.4.3 กำกับดูแลราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมมีเสถียรภาพ และเป็นธรรมต่อประชาชน โดยกำหนดโครงสร้างราคาเชื้อเพลิงที่เหมาะสม และเอื้อต่อการพัฒนาพืชพลังงาน รวมทั้งสะท้อนต้นทุนที่แท้จริงมากที่สุด และบริหารจัดการผ่านกลไกตลาดและกองทุนน้ำมัน เพื่อให้มีการใช้พลังงานอย่างประหยัด และส่งเสริมการแข่งขันและการลงทุนในธุรกิจพลังงาน รวมทั้งพัฒนาคุณภาพการให้บริการและความปลอดภัย
4.4.4 ส่งเสริมการอนุรักษ์และประหยัดพลังงาน ทั้งในภาคครัวเรือน อุตสาหกรรม บริการ และขนส่ง โดยรณรงค์ให้เกิดวินัยและสร้างจิตสำนึกในการประหยัดพลังงาน และสนับสนุนการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ มีมาตรการจูงใจให้มีการลงทุนจากภาคเอกชนในการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน และมาตรการสนับสนุนให้ครัวเรือนลดการใช้ไฟฟ้าในช่วงการใช้ไฟฟ้าสูงสุด รวมทั้งการวิจัยพัฒนาและกำหนดมาตรฐานอุปกรณ์ไฟฟ้าและมาตรฐานอาคารประหยัดพลังงาน ตลอดจนสนับสนุนการพัฒนาระบบขนส่งมวลชน และการขนส่งระบบราง เพื่อให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถชะลอการลงทุนด้านการจัดหาพลังงานของประเทศ
4.4.5 ส่งเสริมการจัดหาและการใช้พลังงานที่ให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม ภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยกำหนดมาตรฐานด้านต่างๆ รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดโครงการกลไกการพัฒนาพลังงานที่สะอาด เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน และลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก
4.5 นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
4.5.1 พัฒนาโครงข่ายสื่อสารโทรคมนาคมพื้นฐานให้ครอบคลุมทั่วประเทศ และสร้างโอกาสในการเข้าถึงบริการสื่อสารอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อให้ประชาชน ชุมชน และองค์กรต่าง ๆ สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสารและความรู้ได้อย่างทั่วถึงและสนับสนุนการพัฒนาประเทศไทยไปสู่เศรษฐกิจฐานความรู้ รวมทั้งพัฒนาบริการสื่อสารที่ทันสมัย เพื่อรองรับความต้องการของภาคธุรกิจ และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการให้บริการภาครัฐ บริการศึกษา บริการสาธารณสุข และโลจิสติกส์ เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
4.5.2 พัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทั้งในด้านซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ โดยสนับสนุนให้มีการวิจัยและพัฒนา รวมทั้งการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรเพื่อรองรับการเป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในภูมิภาค
5. นโยบายที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5.1 คุ้มครองและอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า ทรัพยากรดิน ทรัพยากรน้ำ ทรัพยากรธรณี ทรัพยากรทางทะแลและชายฝั่ง รวมทั้งฟื้นฟูอุทยานทางทะเลอย่างเป็นระบบ เร่งจัดทำแนวเขตการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยจัดแบ่งประเภทที่ดินระหว่างที่ดินของรัฐและเอกชนให้ชัดเจน เร่งประกาศพื้นที่ป่าอนุรักษ์ กำหนดเขตและส่งเสริมการปลูกป่า ป่าชุมชน เพิ่มฝายต้นน้ำลำธารและฝายชะลอน้ำตามแนวพระราชดำริ ส่งเสริมป่าเศรษฐกิจในพื้นที่ที่เหมาะสม ป้องกันการเกิดไฟป่า ปราบปรามการบุกรุกทำลายป่าอย่างจริงจัง ส่งเสริมการปลูกหญ้าแฝกเพื่อลดการชะล้างพังทลายของดิน ลดการใช้สารเคมีและฟื้นฟูดินในบริเวณพื้นที่ที่ดินมีปัญหา รวมทั้งจัดให้มีระบบบริหารจัดการน้ำในระดับประเทศทั้งน้ำผิวดินและน้ำใต้ดิน เพื่อตอบสนองความต้องการของภาคเศรษฐกิจและการอุปโภคบริโภค
5.2 คุ้มครองและฟื้นฟูพื้นที่อนุรักษ์ที่มีความสำคัญเชิงระบบนิเวศเพื่อการอนุรักษ์ความหลายทางชีวภาพ โดยสำรวจ จัดทำระบบฐานข้อมูล อนุรักษ์พัฒนา และใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหารพลังงาน สุขภาพ และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ บนฐานภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นที่มีการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม รวมทั้งให้การคุ้มครองเพื่อให้เกิดความปลอดภัยทางชีวภาพ
5.3 จัดให้มีระบบการป้องกัน รวมทั้งเตือนภัยและบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบภัยธรรมชาติ โดยนำระบบข้อมูลภูมิสารสนเทศมาใช้กำหนดพื้นที่เสี่ยงภัยหรือเตือนภัยพิบัติ พัฒนาระบบฐานข้อมูล และติดตั้งระบบเตือนภัย และจัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานอันจำเป็นที่เกี่ยวข้อง ในพื้นที่ที่มีความเปราะบางหรือเสี่ยงภัยต่อภัยพิบัติอันเกิดจากภาวะโลกร้อน เช่น น้ำท่วม แผ่นดินหรือโคลนถล่ม น้ำแล้ง ตลอดจนธรณีพิบัติและการเกิดคลื่นยักษ์ในทะเล เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทุกแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ
5.4 ควบคุมและลดปริมาณของเสียที่กลายมาเป็นมลพิษทั้งในรูปขยะ ขยะอันตราย มลพิษทางอากาศ กลิ่น เสียง และน้ำเสีย โดยส่งเสริมการผลิตและบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การใช้เทคโนโลยีเพื่อให้เกิดการใช้ซ้ำหรือหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ ส่งเสริมการป้องกันมลพิษตั้งแต่จุดกำเนิด เพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการบำบัดน้ำเสีย กำจัดขยะชุมชน และเพิ่มพื้นที่สีเขียว โดยเฉพาะการจัดให้มีศูนย์กำจัดขยะชุมชนกลางในทุกจังหวัด มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง สำหรับผู้ก่อมลพิษที่ฝ่าฝืนกฎหมาย เร่งแก้ไขปัญหามลพิษในพื้นที่ที่วิกฤตซ้ำซาก รวมทั้งสนับสนุนมาตรการจูงใจด้านภาษีและสิทธิต่าง ๆ กับผู้ประกอบการที่ร่วมโครงการแก้ไขปัญหาโลกร้อนและลดมลพิษ
5.5 พัฒนาองค์ความรู้ในการบริหารจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาที่ชุมชนและนักวิชาการในท้องถิ่นมีส่วนร่วม และที่ภาคเอกชนสามารถนำไปใช้ รวมทั้งส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีที่ช่วยให้เกิดการใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างประหยัด และช่วยลดมลพิษ
5.6 ปรับปรุงกลไกการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน ประชาชน และภาคีที่เกี่ยวข้อง ในรูปของสมัชชาสิ่งแวดล้อมมีส่วนร่วมบริหารจัดการ และจัดให้มีการใช้ระบบประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเชิงกลยุทธ์ เพื่อเป็นกลไกกำกับให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมทั้งสนองโครงการพระราชดำริด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทุกโครงการอย่างจริงจัง
6. นโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัย และนวัตกรรม
6.1 ส่งเสริมและสนับสนุนโครงการวิจัยตามแนวพระราชดำริ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งงานวิจัยขั้นพื้นฐาน และงานวิจัยประยุกต์ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์และพัฒนาอุตสาหกรรม รวมทั้งเร่งรัดการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในอนาคต อาทิ เทคโนโลยีสำหรับผู้พิการ เทคโนโลยีอวกาศ เทคโนโลยีพลังงานทดแทน และเทคโนโลยีเพื่อความมั่นคง
6.2 เร่งรัดผลิตบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและบุคลากรด้านการวิจัยให้สามารถตอบสนองความต้องการของภาคการผลิต โดยพัฒนาเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ และมีหน่วยงานวิจัยที่สามารถรองรับบุคลากรได้อย่างเพียงพอ เช่น ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจขนาดกลางและขยาดย่อม ศูนย์แห่งความเป็นเลิศและอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นต้น
6.3 ปฏิรูประบบการวิจัยและพัฒนาของประเทศ โดยจัดให้มีกองทุนวิจัยร่วมภาครัฐและเอกชนที่รัฐลงทุนร้อยละ 50 และจัดหาสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้กับภาคเอกชนที่เข้าร่วมงานวิจัย เพิ่มเติมงบประมาณด้านการวิจัยของประเทศ ปรับปรุงคุณภาพและมาตรฐานของงานวิจัยพื้นฐาน และการวิจัยและพัฒนาแบบครบวงจรที่ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ รายได้และการจ้างงาน และการเพิ่มมูลค่าสินค้า ทั้งนี้ให้มีโครงการวิจัยที่ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่เป็นรูปธรรม เช่น ยา เคมีภัณฑ์ วัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ และสินค้าเกษตร โดยเชื่อมโยงระหว่างภาคเอกชน สภาบันวิจัย และมหาวิทยาลัย ตลอดจนเครือข่ายวิสาหกิจ
7. นโยบายการต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
7.1 พัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านในทุกมิติและทุกระดับ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีและการเคารพซึ่งกันและกัน เพื่อให้เกิดเสถียรภาพความมั่นคง และความเจริญรุ่งเรืองร่วมกันของภูมิภาค โดยส่งเสริมความร่วมมือในทุกสาขากับประเทศเพื่อนบ้านภายใต้กรอบความร่วมมืออนุภูมิภาคต่าง ๆ และเร่งแก้ไขปัญหากับประเทศเพื่อนบ้านโดยสันติวิธีบนพื้นฐานของสนธิสัญญาและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
7.2 ส่งเสริมความร่วมมือเพื่อสร้างความแข็งแกร่งของอาเซียนในวาระที่ไทยดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน และบรรลุการจัดตั้งประชาคมอาเซียนตามกฎบัตรอาเซียน โดยให้อาเซียนเป็นองค์กรที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง ส่งเสริมให้ประเทศสมาชิกร่วมกันเคารพสิทธิมนุษยชน และผลักดันให้อาเซียนมีบทบาทนำที่สร้างสรรค์ในเวทีระหว่างประเทศ รวมทั้งขยายความร่วมมือกับประเทศในเอเชียอื่น ๆ ภายใต้กรอบความร่วมมือต่าง ๆ ทั้งในภูมิภาคเอเชีย และระหว่างเอเชียกับภูมิภาคอื่น
7.3 ส่งเสริมความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับประเทศมุสลิมและองค์กรมุสลิมระหว่างประเทศ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องและสนับสนุนแนวทางการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย
7.4 กระชับความร่วมมือและความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์กับประเทศที่มีบทบาทสำคัญของโลกและประเทศคู่ค้าของไทยในภูมิภาคต่าง ๆ เพื่อรักษาและขยายความร่วมมือทางการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ การค้า การเงิน การลงทุน และการท่องเที่ยว รวมทั้งแสวงหาตลาดใหม่ เพื่อพัฒนาความร่วมมือด้านทรัพยากร วัตถุดิบ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และองค์ความรู้ใหม่
7.5 ส่งเสริมการมีบทบาทร่วมกับประชาคมโลก ในเรื่องการกำหนดบรรทัดฐานระหว่างประเทศโดยเฉพาะเรื่องการค้าสินค้าเกษตร และกฎระเบียบด้านทรัพย์สินทางปัญญา การปกป้องรักษาและฟื้นฟูสันติภาพและความมั่นคง การส่งเสริมและคุ้มครองค่านิยมประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน มนุษยธรรม การอนุรักษ์และแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและพลังงาน ตลอดจนร่วมมือในการแก้ไขประเด็นปัญหาข้ามชาติทุกด้านที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของมนุษย์ รวมทั้งส่งเสริมให้ไทยเป็นที่ตั้งของสำนักงานสาขาขององค์การระหว่างประเทศ และมีความร่วมมือทางวิชาการกับประเทศกำลังพัฒนาเพิ่มขึ้น
7.6 สนับสนุนการเข้าร่วมในข้อตกลงระหว่างประเทศทั้งทวิภาคีและพหุภาคีที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศ เร่งรัดการให้สัตยาบันในข้อตกลงที่ได้ลงนามไว้แล้วและปรับปรุงแก้ไขข้อตกลงที่ก่อให้เกิดผลกระทบทางลบต่อประชาชนและสังคม
7.7 ส่งเสริมการรับรู้และความเข้าใจของประชาชนเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในโลกที่มีผลกระทบต่อประเทศไทย เพื่อก่อให้เกิดฉันทามติในการกำหนดนโยบายและดำเนินนโยบายต่างประเทศ
7.8 สร้างความเชื่อมั่นของต่างประเทศต่อประเทศไทยและการเข้าถึงระดับประชาชน โดยส่งเสริมความเข้าใจที่ถูกต้องและความเชื่อมั่นของนานาประเทศ ต่อการเมืองและเศรษฐกิจไทย เพื่อรักษาภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทย และสนับสนุนการเข้าถึงในระดับประชาชนกับประเทศต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชน รัฐบาล และประชาคมระหว่างประเทศมีทัศนคติในทางบวกต่อประเทศและประชาชนไทย
7.9 คุ้มครองและส่งเสริมสิทธิและผลประโยชน์ของคนไทย แรงงานไทย และภาคธุรกิจเอกชนไทยในต่างประเทศ และสนับสนุนการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนไทยในต่างประเทศ
8. นโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
8.1 ประสิทธิภาพการบริหารราชการแผ่นดิน
8.1.1 สนับสนุนการกระจายอำนาจทางการคลังสู่ท้องถิ่น เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและความเป็นอิสระขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น โดยมีการปรับปรุงกฎหมายเพิ่มอำนาจให้ท้องถิ่นจัดเก็บรายได้จากภาษีอากรและค่าธรรมเนียมได้มากขึ้น เพื่อให้ท้องถิ่นสามารถจัดบริการสาธารณะที่ได้มาตรฐานและตอบสนองความต้องการของประชาชน โดยคำนึงถึงความจำเป็นและเหมาะสมตามศักยภาพของท้องถิ่น
8.1.2 สนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ยึดหลักธรรมาภิบาลและปรับระบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพ มุ่งตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน ความรับผิดชอบต่อชุมชน และมีความโปร่งใสมากขึ้น โดยให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูล และมีส่วนร่วมในกระบวนการวางแผนและการทำงาน ตลอดจนการจัดบริการสาธารณะร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และร่วมติดตามตรวจสอบการดำเนินงานของท้องถิ่น
8.1.3 ปรับบทบาทและภารกิจการบริหารราชการระหว่างราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่นให้ชัดเจน ไม่ซ้ำซ้อน เพื่อสามารถดำเนินภารกิจที่สนับสนุนเชื่อมโยงกัน และประสานการใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสม ควบคู่ไปกับการเร่งรัดการดำเนินการถ่ายโอนภารกิจและงบประมาณให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยให้มีการติดตามประเมินผลและรายงานผลอย่างต่อเนื่อง
8.1.4 บูรณาการความเชื่อมโยงของการบริหารราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคสู่ท้องถิ่นโดยสนับสนุนการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการผ่านกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดที่สอดคล้องกับแนวนโยบายของรัฐบาล แผนยุทธศาสตร์ระดับชาติและระดับภาค ตลอดจนเชื่อมโยงกับแผนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและแผนชุมชน โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในทุกขั้นตอนของการจัดทำแผน
8.1.5 สนับสนุนให้มีการบริหารท้องถิ่นรูปแบบพิเศษให้สอดรับกับระดับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของพื้นที่ โดยสนับสนุนให้ท้องที่มีศักยภาพและความพร้อมจัดตั้งเป็นมหานคร
8.1.6 สร้างมาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล ให้แก่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ พร้อมทั้งพัฒนาความโปร่งใสในการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้เป็นที่เชื่อถือไว้วางใจของประชาชน ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน รวมถึงการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ตลอดจนสนับสนุนการสร้างค่านิยมของสังคมให้ยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริตและถูกต้องชอบธรรมและส่งเสริมเสรีภาพในการรวมกลุ่มของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
8.1.7 จัดระบบงานให้มีความยืดหยุ่น คล่องตัว รวดเร็วมีประสิทธิภาพ โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ และส่งเสริมพัฒนาระบบบริหารผลงานและสมรรถนะของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกระดับอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีประสิทธิภาพประสิทธิผลในการส่งมอบบริการสาธารณะ พร้อมทั้งการพัฒนาข้าราชการ โดยเฉพาะข้าราชการรุ่นใหม่ที่จะต้องเป็นกำลังสำคัญของภาคราชการในอนาคต
8.1.8 ปรับเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทน และสิทธิประโยชน์ของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐให้เหมาะสมกับความสามารถ และประสิทธิภาพของผู้ปฏิบัติงานในลักษณะที่อาจแตกต่างกันตามพื้นที่ ตามการแข่งขันของการจ้างงานในแต่ละสายอาชีพที่เหมาะสม และตามความจำเป็นเพื่อรักษาคนเก่ง คนดีไว้ในราชการ รวมทั้งการสร้างความสมดุลของคุณภาพชีวิตข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐให้ดีขึ้น เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีศักดิ์ศรี มีขวัญกำลังใจที่จะปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน
8.2 กฎหมายและการยุติธรรม
8.2.1 ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบที่ล้าสมัยและเปิดช่องให้เกิดการทุจริตประพฤติมิชอบหรือทำให้เกิดประโยชน์ทับซ้อน รวมทั้งออกกฎหมายใหม่ ๆ เพื่อป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบ ขยายและยกเลิกอายุความในคดีอาญาบางประเภทและคดีทุจริต ปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบในทุกระดับอย่างจริงจัง และสนับสนุนให้ประชาชนมีโอกาสตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐมากขึ้น ส่งเสริมคุณธรรมคู่ความรู้ทั้งในและนอกสถานศึกษาเพื่อปลูกฝังค่านิยม “คนไทยต้องไม่โกง”
8.2.2 พัฒนากระบวนการยุติธรรมให้มีระบบการอำนวยความยุติธรรมที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และเป็นธรรมต่อทุกกลุ่ม โดยส่งเสริมให้มีการนำหลักความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์และหลักการระงับข้อพิพาททางเลือกมาใช้ในการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท ให้มีการจัดตั้งองค์กรประนอมข้อพิพาท มีกระบวนการชะลอการฟ้องสำหรับคดีประมาท คดีลหุโทษ และคดีที่มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปีเป็นอย่างน้อย มีระบบหรือกระบวนการให้สามารถพิจารณาคดีได้รวดเร็วและเป็นธรรมมากขึ้น
8.2.3 พัฒนากฎหมายให้เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจ สังคม และการคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล ปรับระบบงานและกระบวนการให้ประชาชนได้รับความยุติธรรมและสิทธิเสรีภาพอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ทั้งนี้ จะเร่งดำเนินการจัดตั้งองค์กรเพื่อการปฏิรูปกฎหมาย และองค์กรเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย รวมทั้งสนับสนุนการดำเนินการทางกฎหมายของหน่วยงานของรัฐในการให้ความเห็น หรือตรวจสอบการตรากฎหมายของรัฐให้เป็นไปโดยถูกต้องตามหลักนิติธรรม
8.2.4 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในกระบวนการยุติธรรมให้มากขึ้น ภาคใต้การใช้อาสาสมัครเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมตั้งแต่ชั้นป้องกันอาชญากรรม การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท การตรวจสอบ การใช้อำนาจและการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ส่งเสริมให้ผู้กระทำความผิดที่พ้นโทษสามารถกลับสู่ชุมชนมาใช้ชีวิตร่วมกันได้อย่างปกติสุข ตลอดจนจัดให้มีบริการด้านทนายและการปรึกษาทางกฎหมายแก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อย
8.2.5 พัฒนาระบบและวิธีการปฏิบัติในการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิดที่เป็นเด็กหรือเยาวชนและผู้ใหญ่ให้มีความหลากหลายและเหมาะสมต่อกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้ผู้กระทำความผิดได้รับโอกาสในการแก้ไข ฟื้นฟู และสามารถกลับตนเป็นพลเมืองดี ไม่หวนกลับไปกระทำความผิดซ้ำอีก บนพื้นฐานของสิทธิและเสรีภาพที่ผู้กระทำความผิดพึงได้รับ
8.2.6 สนับสนุนและพัฒนาตำรวจให้มีประสิทธิภาพ มีความโปร่งใส และเป็นตำรวจมืออาชีพที่มีเกียรติและศักดิ์ศรี รวมทั้งดำเนินการให้มีการกระจายอำนาจของตำรวจทั้งในส่วนที่ไม่ใช่ภารกิจหลักและกระจายอำนาจการบริหารไปยังส่วนภูมิภาค
8.2.7 เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร กระบวนการยุติธรรม เพื่อให้เกิดความโปร่งใส สามารถตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐได้ รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการติดตาม ประเมินผลการทำงานของตำรวจ อัยการ และผู้ใช้อำนาจรัฐอื่น ๆ
8.3 สื่อและการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร
8.3.1 ส่งเสริมให้ประชาชนมีโอกาสได้รับรู้ และเข้าถึงข้อมูลข่าวสารสาธารณะจากทางราชการ และสื่อสาธารณะอื่นได้อย่างกว้างขวาง เป็นธรรม และรวดเร็ว รวมทั้งให้กลไกภาครัฐเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในทุกมิติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
8.3.2 ปรับปรุงกลไกการสื่อสารภาครัฐให้ดำรงบทบาทสื่อเพื่อประโยชน์สาธารณะและสร้างความสมานฉันท์ในชาติ
8.3.3 ส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการเผยแพร่ข่าวสารข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มีผลตอบแทนเชิงพาณิชย์ต่ำ โดยได้รับการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนากิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์
8.3.4 จัดให้มีกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประกอบวิชาชีพสื่อเพื่อให้สื่อมีเสรี ปราศจากการแทรกแซง และมีความรับผิดชอบต่อสังคม รวมทั้งยกเลิกและปรับปรุงกฎหมายที่ขัดต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน และสื่อมวลชนตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ
รัฐบาลมีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินการตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐอย่างจริงจัง โดยรัฐบาลขอชี้แจงว่า การกำหนดนโยบายของรัฐบาลที่กราบเรียนมาแล้วนี้ จะเป็นแนวทางดำเนินการในระยะเวลา 3 ปี ตามความเร่งด่วนของการแก้ไขปัญหาของประเทศ รวมทั้งจะเป็นการบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปตามบทบัญญัติในหมวด 5 ว่าด้วยแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
นอกจากนี้ เพื่อให้รัฐบาลสามารถบริหารราชการแผ่นดินได้ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และดำเนินนโยบายจนบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ได้ รัฐบาลจะดำเนินการจัดทำร่างกฎหมายที่ต้องตราขึ้นตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายที่สนับสนุนการดำเนินการตามนโยบาย และการสร้างความเป็นธรรมแก่ประชาชน และการปรับปรุงหรือกำหนดแนวทางการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐ พัฒนาระบบการบริหารจัดการ ตลอดจนดำเนินการทุกประการที่เกี่ยวข้องกับการบริหารราชการแผ่นดินให้มีประสิทธิภาพ และสามารถบรรลุผลในทางปฏิบัติ เพื่อประโยชน์แก่การพัฒนาประเทศ โดยถือเป็นนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลนี้ด้วย
ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ
เมื่อการแถลงนโยบายนี้เสร็จสิ้นแล้ว รัฐบาลจะได้เร่งดำเนินการให้เป็นรูปธรรม โดยจัดทำรายละเอียดของแผนปฏิบัติการ ประกอบด้วย แผนการบริหารราชการแผ่นดิน แผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการต่าง ๆ และแผนการตรากฎหมายไว้เป็นคู่มือและแนวทางการทำงานต่อไป
ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ
รัฐบาลขอให้ความเชื่อมั่นแก่รัฐสภาอันเป็นองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินว่า จะบริหารราชการแผ่นดินด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และยึดประโยชน์สุขของประชาชนชาวไทยเป็นที่ตั้งอย่างแท้จริง
ขอบคุณครับ |
60 | คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี : นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
แถลงต่อรัฐสภา วันอังคารที่ 23 สิงหาคม 2554
จากสถานการณ์และสภาวะแวดล้อมของเศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ ได้ส่งผลให้ประเทศไทยในวันนี้อยู่ในช่วงการเปลี่ยนผ่านเชิงโครงสร้างที่สำคัญ ๓ ประการ
คำแถลงนโยบาย
ของ
คณะรัฐมนตรี
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
แถลงต่อรัฐสภา
วันอังคารที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๔
--------------------------------------------------------------------
ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ
เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินสามารถบรรลุถึงภารกิจและดำเนินไปด้วย แนวทางที่กล่าวมา รัฐบาลจึงได้กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินไว้โดยแบ่ง การดำเนินการเป็น ๒ ระยะ คือ ระยะเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก และระยะการบริหารราชการ ๔ ปีของรัฐบาล เพื่อให้มีการพัฒนาอย่างมีคุณภาพ สมดุล ยั่งยืน และมีภูมิคุ้มกันตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ดังต่อไปนี้
๑. นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก
๑.๑ สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย
๑.๑.๑ สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย โดยการเสริมสร้างความเข้าใจร่วมกันของประชาชนในชาติให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
๑.๑.๒ เยียวยาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องแก่บุคคลทุกฝ่ายเช่น ประชาชน เจ้าหน้าที่รัฐ และผู้ประกอบการภาคเอกชน ซึ่งได้รับผลกระทบอันเนื่องมาจากความเห็นที่แตกต่าง และความรุนแรงที่ก่อตัวขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายของการใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐
๑.๑.๓ สนับสนุนให้คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ดำเนินการอย่างเป็นอิสระและได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายอย่างเต็มที่ในการตรวจสอบและค้นหาความจริงจากกรณีความรุนแรงทางการเมือง การละเมิดสิทธิมนุษยชน การสูญเสียชีวิต บาดเจ็บทางร่างกายและจิตใจรวมทั้งความเสียหายทางทรัพย์สิน
๑.๒ กำหนดให้การแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดเป็น “วาระแห่งชาติ” โดยยึดหลักนิติธรรมในการปราบปร๑.๑๔ามลงโทษผู้ผลิต ผู้ค้า ผู้มีอิทธิพล และผู้ประพฤติมิชอบ โดยบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ยึดหลักผู้เสพคือผู้ป่วยที่ต้องได้รับการบำบัดรักษาให้กลับมาเป็นคนดีของสังคม พร้อมทั้งมีกลไกติดตามช่วยเหลืออย่างเป็นระบบดำเนินการอย่างจริงจังในการป้องกันปัญหาด้วยการแสวงหาความร่วมมือเชิงรุกกับต่างประเทศในการควบคุมและสกัดกั้นยาเสพติด สารเคมี และสารตั้งต้นในการผลิตยาเสพติดที่ลักลอบเข้าสู่ประเทศภายใต้การบริหารจัดการอย่างบูรณาการและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งดำเนินการป้องกันกลุ่มเสี่ยงและประชาชนทั่วไปไม่ให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดด้วยการรวมพลังทุกภาคส่วนเป็นพลังแผ่นดินในการต่อสู้กับยาเสพติด
๑.๓ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐอย่างจริงจัง โดยยึดหลักความโปร่งใสและมีธรรมาภิบาลที่เป็นสากลเพื่อให้การใช้ทรัพยากรเพื่อการพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ต่อประเทศโดยรวมอย่างแท้จริง ปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายเพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ขยายการบังคับใช้บทบัญญัติเรื่องการห้ามการกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ให้ครอบคลุมผู้ใช้อำนาจรัฐในตำแหน่งสำคัญและตำแหน่งระดับสูงอย่างทั่วถึง เข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ เสริมสร้างมาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลของบุคลากรภาครัฐ ตลอดจนปลูกฝังจิตสำนึกและค่านิยมของสังคมให้ยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริตและถูกต้องชอบธรรม
๑.๔ ส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการและเร่งรัดขยายเขตพื้นที่ชลประทาน โดยเร่งให้มีการบริหารจัดการน้ำในระดับประเทศอย่างมีประสิทธิภาพให้สามารถป้องกันปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งได้ รวมทั้งสนับสนุนภาคการเกษตรด้วยการก่อสร้างระบบชลประทานขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ฟื้นฟูการขุดลอกคูคลอง และแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีอยู่เดิม ขยายเขตการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า จัดสร้างคลองส่งน้ำขนาดเล็กเข้าสู่ไร่นา และขยายเขตการจัดรูปที่ดิน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำและการผลิตส่งเสริมการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเหมาะสมกับชนิดพืช และจัดหาแหล่งน้ำในระดับไร่นาและชุมชนอย่างทั่วถึง
๑.๕ เร่งนำสันติสุขและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนกลับมาสู่พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ควบคู่ไปกับการขจัดความยากจนยาเสพติด และอิทธิพลอำนาจมืด โดยน้อมนำกระแสพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว“เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” เป็นหลักปฏิบัติในแนวทางสันติวิธี โดยเน้นการส่งเสริมความร่วมมือในทุกภาคส่วนกับประชาชนในพื้นที่ อำ นวยความยุติธรรมอย่างทั่วถึง เพิ่มโอกาสทางการศึกษาและคุณภาพชีวิต สร้างโอกาสและความเสมอภาค พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ เคารพอัตลักษณ์ ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น ส่งเสริมการกระจายอำนาจการปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบที่สอดคล้องกับลักษณะพื้นที่โดยไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญทั้งนี้ จะมีการบูรณาการการบริหารจัดการทุกภาคส่วนให้มีเอกภาพทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ รวมทั้งปรับปรุง พัฒนากฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้อง ทันสมัยกับสภาพความเป็นจริงของปัญหาที่เกิดขึ้น ตลอดจนเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบอย่างเป็นธรรม
๑.๖ เร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและนานาประเทศ เพื่อสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคร่วมกัน โดยเฉพาะการเร่งแก้ไขปัญหากระทบกระทั่งตามแนวพรมแดน ผ่านกระบวนการทางการทูตบนพื้นฐานของสนธิสัญญาและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และเร่งดำเนินการตามข้อผูกพันในการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนในปี ๒๕๕๘ ทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงตลอดจนการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมขนส่งภายในและภายนอกภูมิภาค
๑.๗ แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
๑.๗.๑ ชะลอการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงบางประเภทชั่วคราวเพื่อให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงลดลงทันที และปรับโครงสร้างราคาพลังงานทั้งระบบให้มุ่งสู่การสะท้อนราคาต้นทุนพลังงาน
๑.๗.๒ จัดให้มีบัตรเครดิตพลังงานสำหรับผู้ประกอบอาชีพรถรับจ้างขนส่งผู้โดยสารสาธารณะในวงเงินที่เหมาะสมกับค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้จริงต่อเดือน
๑.๗.๓ ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต
๑.๗.๔ แก้ไขปัญหาค่าครองชีพโดยการดูแลราคาสินค้าและการมีรายได้เพื่อเพิ่มกำลังซื้อสุทธิของประชาชนโดยป้องกันและแก้ไขการผูกขาดทั้งทางตรงและทางอ้อม
๑.๘ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ สร้างสมดุลและความเข้มแข็งอย่างมีคุณภาพให้แก่ระบบเศรษฐกิจมหภาค
๑.๘.๑ พักหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรรายย่อยและผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้ต่ำกว่า ๕๐๐,๐๐๐ บาท อย่างน้อย ๓ ปี และปรับโครงสร้างหนี้สำหรับผู้ที่มีหนี้เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท รวมทั้งจัดทำแผนฟื้นฟูอาชีพและแผนการปรับโครงสร้างการผลิตอย่างครบวงจร เพื่อสร้างโอกาสในการยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยการมีรายได้ที่มั่นคงและสามารถใช้หนี้คืน
๑.๘.๒ ดำเนินการให้แรงงานมีรายได้เป็นวันละไม่น้อยกว่า๓๐๐ บาท และผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีมีรายได้เดือนละไม่น้อยกว่า ๑๕,๐๐๐ บาทอย่างสอดคล้องกับผลิตภาพและประสิทธิภาพของบุคลากร รวมทั้งมีมาตรการเพื่อลดภาระแก่ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบเพื่อให้แรงงานและบุคลากรสามารถดำรงชีพได้อย่างมีศักดิ์ศรีและคุณภาพชีวิตที่ดี
๑.๘.๓ จัดให้มีเบี้ยยังชีพรายเดือนแบบขั้นบันไดสำหรับผู้สูงอายุ โดยผู้ที่มีอายุ ๖๐-๖๙ ปี จะได้รับ ๖๐๐ บาท อายุ ๗๐-๗๙ ปี จะได้รับ ๗๐๐ บาทอายุ ๘๐-๘๙ ปี จะได้รับ ๘๐๐ บาท และอายุ ๙๐ ปีขึ้นไป จะได้รับ ๑,๐๐๐ บาท
๑.๘.๔ ให้มีมาตรการภาษีเพื่อลดภาระการลงทุนสำหรับสิ่งจำเป็นในชีวิตของประชาชนทั่วไป ได้แก่ บ้านหลังแรกและรถยนต์คันแรก
๑.๙ ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้เหลือร้อยละ ๒๓ ในปีพ.ศ. ๒๕๕๕ และลดลงเหลือร้อยละ ๒๐ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน ขยายฐานภาษี และรองรับการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. ๒๕๕๘
๑.๑๐ ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน สนับสนุนสินเชื่อรายย่อย โดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อประกอบอาชีพให้แก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อย รวมถึงเพิ่มสวัสดิการของรัฐเพื่อเป็นการดูแลสังคมในชุมชน จัดหาแหล่งเงินทุนให้แก่ผู้ประกอบการและประชาชน โดย
๑.๑๐.๑ เพิ่มเงินทุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอีกแห่งละ ๑ ล้านบาท
๑.๑๐.๒ จัดตั้งกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี โดยมีวงเงินเฉลี่ยจังหวัดละ ๑๐๐ ล้านบาท
๑.๑๐.๓ จัดตั้งกองทุนตั้งตัวได้ในวงเงินประมาณ ๑,๐๐๐ ล้านบาท ต่อสถาบันอุดมศึกษาที่ร่วมโครงการ สนับสนุนการสร้างผู้ประกอบการรายย่อย เพื่อให้สามารถกู้ยืมเพื่อการสร้างอาชีพ ผนวกกับกลไกของ “หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ”ในสถานศึกษาโดยมุ่งให้เกิดวิสาหกิจนวัตกรรมใหม่ที่จะเป็นกลไกใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
๑.๑๐.๔ จัดสรรงบประมาณเข้ากองทุนพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นจำนวนเงิน ๓๐๐,๐๐๐๔๐๐,๐๐๐ และ ๕๐๐,๐๐๐ บาทตามลำดับขนาดของหมู่บ้าน เพื่อให้หมู่บ้านบริหารจัดการกองทุนเพื่อการพัฒนาชุมชนด้วยตนเอง
๑.๑๑ ยกระดับราคาสินค้าเกษตรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยดูแลราคาสินค้าเกษตรให้มีเสถียรภาพที่เหมาะสม คำนึงถึงกลไกราคาตลาดโลก โดยใช้วิธีบริหารจัดการทางการตลาดและกลไกตลาดซื้อขายล่วงหน้า รวมทั้งผลักดันให้เกษตรกรสามารถขายสินค้าเกษตรได้ในราคาสูงเพียงพอเมื่อเทียบกับต้นทุน และนำระบบรับจำนำสินค้าเกษตรมาใช้ในการสร้างความมั่นคงด้านรายได้ให้แก่เกษตรกร เริ่มต้นจากการรับจำนำข้าวเปลือกเจ้าและข้าวเปลือกหอมมะลิ ความชื้นไม่เกินร้อยละ ๑๕ ที่ราคาเกวียนละ ๑๕,๐๐๐ บาท และ ๒๐,๐๐๐ บาทตามลำดับ พร้อมทั้งจัดให้มีการเยียวยาความเสียหายของพืชผลจากภัยธรรมชาติให้แก่เกษตรกร การจัดทำระบบทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรให้สมบูรณ์ และการออกบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกร
๑.๑๒ เร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งในและนอกประเทศโดยประกาศให้ปี พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๕ เป็นปี “มหัศจรรย์ไทยแลนด์” (“Miracle Thailand” Year)และประชาสัมพันธ์เชิญชวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าร่วมเฉลิมฉลองในพระราชพิธีมหามงคลที่จะมีขึ้นในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๕
๑.๑๓ สนับสนุนการพัฒนางานศิลปหัตถกรรมและผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการสร้างเอกลักษณ์และการผลิตสินค้าในท้องถิ่น
๑.๑๓.๑ สนับสนุนภารกิจของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในการผลิตงานศิลปหัตถกรรมอันทรงคุณค่า เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพแก่ราษฎรผู้ยากไร้ให้สามารถพัฒนาเป็นช่างฝีมือด้านศิลปะที่มีความสามารถสูงและสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ
๑.๑๓.๒ บริหารจัดการโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ให้มีศักยภาพ ด้วยการสนับสนุนให้ชุมชน วิสาหกิจชุมชนใช้ทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นผนวกกับองค์ความรู้สมัยใหม่เพื่อยกระดับมาตรฐานคุณภาพสินค้าและบริการ การเข้าถึงแหล่งทุนและการตลาดเชิงรุกทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยส่งเสริมให้มีศูนย์กระจายและแสดงสินค้าถาวรในภูมิภาคและเมืองท่องเที่ยวหลักที่เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวและการส่งออก
๑.๑๔ พัฒนาระบบประกันสุขภาพ เพิ่มประสิทธิภาพของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ๓๐ บาทรักษาทุกโรค เพื่อให้ประชาชนทุกคนได้รับบริการอย่างมีคุณภาพ สะดวก รวดเร็ว และเป็นธรรม รวมทั้งบูรณาการสิทธิของผู้ป่วยที่พึงได้รับจากระบบประกันสุขภาพต่าง ๆ บูรณาการแผนงานของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน ตลอดจนส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยและคุ้มค่าต่อการให้บริการมาใช้ให้แพร่หลาย รวมทั้งจัดให้มีมาตรการลดปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพและภาวะทุพโภชนาการที่นำไปสู่การเจ็บป่วยเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด และโรคมะเร็ง รวมทั้งการเฝ้าระวังโรคอุบัติใหม่ และมาตรการป้องกันอุบัติเหตุจากการจราจร
๑.๑๕ จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตให้แก่โรงเรียน โดยเริ่มทดลองดำเนินการในโรงเรียนนำร่องสำหรับระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ปีการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๕ควบคู่กับการเร่งพัฒนาเนื้อหาที่เหมาะสมตามหลักสูตรบรรจุลงในคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตรวมทั้งจัดทำระบบอินเทอร์เน็ตไร้สายตามมาตรฐานการให้บริการในสถานศึกษาที่กำหนดโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
๑.๑๖ เร่งรัดและผลักดันการปฏิรูปการเมืองที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง โดยมีสภาร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นอิสระยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อวางกลไกการใช้อำนาจอธิปไตยที่ยึดหลักนิติธรรม และองค์กรที่ใช้อำนาจรัฐที่มีความรับผิดชอบต่อประชาชนและพร้อมรับการตรวจสอบ ทั้งนี้ ให้ประชาชนเห็นชอบผ่านการออกเสียงประชามติ |
61 | คำแถลงนโยบาย ของ
คณะรัฐมนตรี
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
วันศุกร์ที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๕๗
ท่านประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติที่เคารพ
ตามที่ได้มีประกาศพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้กระผมดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ และแต่งตั้งรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓๐ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ นั้น บัดนี้ คณะรัฐมนตรีพร้อมที่จะแถลงนโยบายก่อนเข้าบริหารราชการแผ่นดิน ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ แล้ว
ก่อนอื่น รัฐบาลใคร่ชี้แจงต่อท่านประธานและสมาชิกทุกท่านว่า การเข้าบริหาร
ราชการแผ่นดินครั้งนี้ แม้จะเป็นการใช้อ้านาจและทำหน้าที่ตามกฎหมายดังที่รัฐบาลก่อน ๆ เคยปฏิบัติมา แต่ก็มีเงื่อนไขและเงื่อนเวลาบางประการอันทำให้รัฐบาลนี้แตกต่างจากรัฐบาลอื่น ๆ อยู่บ้าง ในด้านเงื่อนไข รัฐบาลนี้เข้ามาสืบทอดงานและสานต่อภารกิจจากที่คณะรักษาความสงบ แห่งชาติได้เคยกำหนดแนวทางการแก้ปัญหาของประเทศไว้ก่อนแล้วเป็น ๓ ระยะตั้งแต่ เมื่อเข้าควบคุมอ้านาจการปกครองประเทศเมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗
ในระยะแรกได้มุ่งระงับยับยั้งความแตกแยก ยุติการใช้กำลังและอาวุธสงคราม
ก่อความรุนแรง แก้ไขผลกระทบจากการที่รัฐบาลและรัฐสภาก่อนหน้านั้นอยู่ในสภาพที่ไม่อาจ ปฏิบัติหน้าที่ได้ตามปกตินานกว่า ๖ เดือน ตลอดจนได้เร่งแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนเฉพาะหน้า ของประชาชน และมุ่งน้าความสุข ความสงบ กลับคืนสู่ประเทศเป็นเรื่องเร่งด่วนสำคัญ ซึ่งก็ทำ ได้ผลสำเร็จไปแล้วในระดับหนึ่ง หลังจากนั้นเพียง ๒ เดือนก็ได้เข้าสู่ระยะที่สองด้วยการประกาศใช้ รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว การจัดตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ การเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ รายจ่ายประจ้าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๘ ต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จนกระทั่งถึงการจัดตั้ง คณะรัฐมนตรีชุดนี้ หลังจากนั้นคณะรักษาความสงบแห่งชาติก็ได้เริ่มลดบทบาทและภารกิจ ลงมาอยู่ในระดับการเป็นที่ปรึกษาและทำงานร่วมกับคณะรัฐมนตรีในการพิจารณาหรือแก้ไขปัญหา อันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือความมั่นคงของชาติ ส่วนที่จะตามมาในเร็ววันคือ การจัดตั้ง สภาปฏิรูปแห่งชาติและคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเพื่อออกแบบวางรากฐานทางการเมือง
เศรษฐกิจ และสังคม อันมั่นคงแก่ประเทศก่อนจะส่งผ่านไปสู่ระยะที่สาม คือ การประกาศใช้ รัฐธรรมนูญฉบับถาวรและการจัดการเลือกตั้งทั่วไป เงื่อนไขดังกล่าวนี้เป็นพันธกิจที่รัฐบาลจะยังคง ยึดมั่นและดำเนินการต่อไป
ขณะเดียวกันรัฐบาลก็ตระหนักด้วยว่า แม้ความเร่งด่วนและความรุนแรงของปัญหา
ที่รอการแก้ไขเยียวยาจะมีมากเพราะสะสมทับทวีและค้างคามานานหลายปี เมื่อเทียบกับช่วงเวลานี้ ซึ่งเหตุการณ์ยังไม่ปกติเรียบร้อยเสียทีเดียว และเทียบกับกรอบเวลาทำงานอันสั้น ทั้งประชาคมโลก ก็กำลังเฝ้ามองการเปลี่ยนแปลงของประเทศไทยด้วยความห่วงใย แต่รัฐบาลจะไม่ถือว่าเงื่อนไข และเงื่อนเวลาดังกล่าวเป็นจุดอ่อนหรือข้อจ้ากัด กลับจะเป็นความท้าทายให้ต้องเร่งคิด เร่งทำ เพราะการคืนความสงบสุขแก่ประชาชนนั้น ยิ่งทำก่อน ทำจริงจัง และทำทันที จนบังเกิดผลสัมฤทธิ์ เร็วที่สุดและยั่งยืนเท่าใด ยิ่งเป็นผลดีต่อประชาชนและประเทศชาติเร็วเท่านั้น การที่รัฐบาลนี้ ไม่ได้จัดตั้งขึ้นจากพรรคการเมือง จึงไม่มีนโยบายของพรรคที่ใช้หาเสียงหรือหวังคะแนนประชานิยม มาเป็นฐานทางการเมือง ทุกท่านจึงไม่ต้องวิตกว่าจะมีการนำประเทศเข้าไปผูกพันจนเสียวินัยการคลัง หรือเกิดภาระอนาคต และด้วยความที่มีความเป็นเอกภาพทางนโยบาย จึงไม่ต้องวิตกว่าการทำงาน ในแต่ละกระทรวงจะไม่บูรณาการสอดคล้องหรือพายเรือคนละที สิ่งเหล่านี้น่าจะเป็นพลังอ้านาจ หรือเกื้อหนุนให้รัฐบาลทำงานยากในเวลาสั้นได้อย่างราบรื่น ซึ่งกระผมในฐานะหัวหน้ารัฐบาล จะกำกับดูแลอย่างใกล้ชิดมิให้การทำงานของรัฐบาลกลายเป็นภาระของประเทศเป็นอันขาด
โดยที่มาตรา ๑๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบันได้กำหนด
หน้าที่ของรัฐบาลไว้ ๓ ประการเป็นครั้งแรก คือ การบริหารราชการแผ่นดิน การดำเนินการให้มี การปฏิรูปในด้านต่าง ๆ และการส่งเสริมความสามัคคีและความสมานฉันท์ของประชาชนในชาติ
ประหนึ่งจะส่งสัญญาณว่ามิได้ประสงค์ให้รัฐบาลอยู่ประคับประคองสถานการณ์ไปวัน ๆ
เพียงเพื่อรอการเลือกตั้งทั่วไปเท่านั้น หากแต่ยังต้องดำเนินการเรื่องอื่น ๆ อันจ้าเป็นและขจัดปัญหา เร่งด่วนเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่สังคมปรารถนาอีกด้วย รัฐบาลจึงขอกำหนดนโยบาย ให้สอดคล้องกับหน้าที่ทั้ง ๓ ประการดังกล่าว
ท่านประธานที่เคารพ
ในด้านการบริหารราชการแผ่นดินอันเป็นหน้าที่หลักของรัฐบาลทุกยุคทุกสมัย
รัฐบาลมีนโยบายในเรื่องต่าง ๆ จำแนกเป็น ๑๑ ด้าน ซึ่งรัฐบาลได้นำยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ว่าด้วยการเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนาตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นหลักสำคัญ ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งทรงเน้นความพอดีพอสมพอควรแก่ฐานะ ความมีเหตุมีผล และการมีภูมิคุ้มกันมาเป็นแนวคิด ใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ แนวทางของคณะรักษาความสงบแห่งชาติและความต้องการของประชาชน ซึ่งแสดงออกมาโดยตลอดและน่าจะชัดเจนขึ้นในช่วงเวลาแห่งการออกแบบการปฏิรูปประเทศ
เป็นแนวทางการกำหนดนโยบาย โดยค้านึงถึงปัญหาของประเทศที่เราทุกคนรู้อยู่แก่ใจ ค้านึงถึง เงื่อนไขเงื่อนเวลาดังกล่าวข้างต้น ค้านึงถึงความท้าทายที่รออยู่ข้างหน้า ได้แก่ การที่ประเทศต้อง เร่งฟื้นตัวจากความบอบช้าทางเศรษฐกิจ ความหวาดระแวงทางสังคมจนกลายเป็นความขัดแย้งทางการเมือง การทุจริตประพฤติมิชอบในภาครัฐจนกลายเป็นสิ่งที่ผู้คนอิดหนาระอาใจและเข็ดขยาด และการเคลื่อนเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่ต้องมีความพร้อมไม่ให้ใครอื่นมองว่าเราเป็นตัวปัญหาของประชาคม
ข้อสำคัญคือ นโยบายทุกด้านที่จะแถลงต่อไปนี้ต้องการสร้างความเข้มแข็ง
แก่องค์กรการปกครองทุกระดับตั้งแต่ท้องถิ่นจนถึงประเทศ ต้องการเสนอยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ยั่งยืน ครอบคลุมปัญหาทั้งระยะเฉพาะหน้าที่ต้องทำทันที ระยะกลางที่จะทำต่อไปหรือต้องรอการใช้บังคับ กฎหมาย และระยะยาว ซึ่งแม้จะไม่เห็นผลสำเร็จในเวลาอันใกล้ แต่รัฐบาลนี้เห็นควรต้องวางรากฐาน เพื่อให้รัฐบาลข้างหน้าเข้ามาพิจารณารับช่วงได้อย่างต่อเนื่อง และประการสำคัญคือ ต้องการ ให้ประชาชนเกิดความชัดเจน รู้ล่วงหน้าว่าประเทศของเราจะก้าวไปทางไหน จะมีอะไรเกิด
หรือไม่เกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้เพื่อจะได้เตรียมตัวได้ถูกต้อง ล้าพังความไม่รู้นั้นเป็นอวิชชาอยู่แล้ว แต่ความไม่รู้แม้แต่ในเรื่องใกล้ตัวทั้งที่เราเป็นเจ้าของประเทศ เจ้าของอธิปไตย เจ้าของภาษีอากร และบางครั้งยังเป็นเจ้าของทรัพย์สินอีกด้วย หากไม่ทราบแม้แต่ว่าผังเมืองใหม่ครอบคลุมถึงบริเวณใด และเพียงใด บ้านเรือนของเราจะถูกเวนคืนหรือไม่ ที่ดินของเราจะถูกจัดอยู่ในเขตพื้นที่สีใด มีข้อจ้ากัดการใช้ประโยชน์อย่างไร ถนนหนทางจะสร้างทางไหน เหตุใดระบบสาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า ประปา จึงไม่สามารถบูรณาการการทำงานให้เสร็จในคราวเดียว เรื่องนี้รัฐจะยังส่งเสริมหรือ ยุติการส่งเสริมกันแน่ ประเทศไทยจะเป็นสังคมเกษตรกรรมหรืออุตสาหกรรม การไม่มีค้าตอบ ในปัญหาเหล่านี้ย่อมเป็นความทุกข์ของประชาชนที่เกี่ยวข้องซึ่งรัฐบาลต้องการให้นโยบายและ แผนปฏิบัติราชการของแต่ละหน่วยงานที่จะทำต่อไปมีคำตอบดังกระผมจะกราบเรียนท่านประธาน เป็นด้าน ๆ ไปดังนี้
๑. การปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์ สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นองค์ประกอบสำคัญของการปกครองในระบอบ
ประชาธิปไตยตามประเพณีการปกครองของไทย รัฐบาลจึงถือเป็นหน้าที่สำคัญยิ่งยวดในอันที่จะ เชิดชูสถาบันนี้ไว้ด้วยความจงรักภักดีและปกป้องรักษาพระบรมเดชานุภาพ โดยจะใช้มาตรการ ทางกฎหมาย มาตรการทางสังคมจิตวิทยา และมาตรการทางระบบสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ ในการดำเนินการกับผู้คะนองปาก ย่ามใจหรือประสงค์ร้าย มุ่งสั่นคลอนสถาบันหลักของชาติ โดยไม่ค้านึงถึงความรู้สำนึกและความผูกพันภักดีของคนอีกเป็นจ้านวนมาก ตลอดจนเผยแพร่ ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและเป็นจริงเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์และพระราชกรณียกิจ เพื่อประชาชน ทั้งจะสนับสนุนโครงการทั้งหลายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ สถานศึกษา ตลอดจนหน่วยงานทั้งหลายของรัฐเรียนรู้เข้าใจหลักการทรงงาน สามารถนำหลักดังกล่าว มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการและการพัฒนา ตลอดจนเร่งขยายผลตามโครงการและแบบอย่าง
ที่ทรงวางรากฐานไว้ให้แพร่หลายเป็นที่ประจักษ์และเกิดประโยชน์ในวงกว้างอันจะช่วยสร้าง ความสมบูรณ์พูนสุขแก่ประชาชนในที่สุด
๒. การรักษาความมั่นคงของรัฐและการต่างประเทศ
๒.๑ ในระยะเร่งด่วน รัฐบาลให้ความสำคัญต่อการเตรียมความพร้อม
สู่ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนในกิจการ ๕ ด้าน ได้แก่ การบริหารจัดการชายแดน การสร้างความมั่นคงทางทะเล การแก้ไขปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ การสร้างความไว้วางใจ กับประเทศเพื่อนบ้าน และการเสริมสร้างศักยภาพในการปฏิบัติการทางทหารร่วมกันของอาเซียน โดยเน้นความร่วมมือเพื่อป้องกัน แก้ไขข้อพิพาทต่าง ๆ และการแก้ไขปัญหาเส้นเขตแดนโดยใช้กลไก ทั้งระดับทวิภาคีและพหุภาคี ทั้งจะจัดระเบียบการพัฒนาตามกรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และการบริหารจัดการพื้นที่ชายแดนทั้งทางบกและทางทะเล รองรับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ ตามแนวชายแดน โดยใช้ระบบเฝ้าตรวจที่มีเทคโนโลยีทันสมัย กำหนดให้ปัญหายาเสพติด การค้าอาวุธ การค้ามนุษย์ การกระทำอันเป็นโจรสลัด การก่อการร้ายสากลและอาชญากรรมข้ามชาติ เป็นปัญหาเฉพาะหน้าที่ต้องได้รับการป้องกันและแก้ไขโดยการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวด และจัดการปัญหาอื่น ๆ ที่เชื่อมโยงต่อเนื่องให้เบ็ดเสร็จ เช่น ปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล การปรับปรุงระบบการเข้าเมือง การจัดระเบียบแรงงานต่างด้าว เป็นต้น
๒.๒ เร่งแก้ไขปัญหาการใช้ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยนำ
ยุทธศาสตร์เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนามาใช้ตามแนวทางกัลยาณมิตรแบบสันติวิธี ส่งเสริมการพูดคุย สันติสุขกับผู้มีความคิดเห็นต่างจากรัฐ สร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมตามหลักนิติธรรม และหลักสิทธิมนุษยชนโดยไม่เลือกปฏิบัติ ควบคู่กับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่สอดคล้องกับ ความต้องการของประชาชนในพื้นที่ซึ่งเป็นพหุสังคม ขจัดการฉวยโอกาสก่อความรุนแรงแทรกซ้อน เพื่อซ้ำเติมปัญหาไม่ว่าจากผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่นหรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมือง ทั้งจะเพิ่มระดับ
ปฏิสัมพันธ์กับต่างประเทศ และองค์การระหว่างประเทศที่อาจช่วยคลี่คลายปัญหาได้
๒.๓ พัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพของกองทัพและระบบป้องกันประเทศ
ให้ทันสมัย มีความพร้อมในการรักษาอธิปไตย และผลประโยชน์ของชาติ ปลอดพ้นจากการคุกคาม ทุกรูปแบบ ส่งเสริมและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการป้องกันประเทศ ตลอดจนการวิจัย และพัฒนาและการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อนำไปสู่การพึ่งพาตนเองในการผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ สามารถบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนในอุตสาหกรรมป้องกันประเทศได้ พร้อมทั้งนำศักยภาพของกองทัพในยามปกติมาสนับสนุนการพัฒนาประเทศ การป้องกันบรรเทา สาธารณภัย การรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และการรักษาความมั่นคงภายในโดยมุ่งระดมสรรพกำลัง จากทุกภาคส่วนทั้งในระดับชุมชน ท้องถิ่น ภูมิภาค และนานาชาติ โดยเฉพาะอาเซียนและ ประชาคมโลก ให้สามารถดำเนินงานร่วมกันเป็นเครือข่ายได้
๒.๔ เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับนานาประเทศบนหลักการที่ว่า
นโยบายการต่างประเทศเป็นส่วนประกอบสำคัญของนโยบายองค์รวมทั้งหมดในการบริหาร ราชการแผ่นดิน ไม่ว่าในด้านการเมือง เศรษฐกิจ หรือสังคม โดยจะนำกลไกทางการทูตแบบบูรณาการ มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น การคุ้มครองดูแลคนไทย และผลประโยชน์ของคนไทยในต่างแดน การแลกเปลี่ยนทางการศึกษา วัฒนธรรม การค้า
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการเปิดโลกทัศน์ให้มีลักษณะสากล เป็นต้น
๓. การลดความเหลื่อมล้ำของสังคม และการสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการของรัฐ ความเหลื่อมล้ำในสังคมเป็นอีกสาเหตุหนึ่งของปัญหาความขัดแย้ง
และความเดือดร้อนทั้งหลายของประชาชน จึงมีนโยบายที่จะดำเนินการดังนี้
๓.๑ ในระยะเฉพาะหน้า จะเร่งสร้างโอกาส อาชีพ และการมีรายได้ที่มั่นคง
แก่ผู้ที่เข้าสู่ตลาดแรงงาน รวมทั้งสตรี ผู้ด้อยโอกาส และแรงงานข้ามชาติที่ถูกกฎหมาย พร้อมทั้ง ยกระดับคุณภาพแรงงาน โดยให้แรงงานทั้งระบบมีโอกาสเข้าถึงการเรียนรู้และพัฒนาทักษะ ฝีมือแรงงานในทุกระดับอย่างมีมาตรฐาน ทั้งจะเชื่อมโยงข้อมูลและการดำเนินการระหว่างหน่วยงาน ของรัฐกับเอกชน เพื่อให้ตรงกับความต้องการของพื้นที่และของประเทศโดยรวม นอกจากนี้ จะส่งเสริมให้แรงงานนอกระบบเข้าสู่ระบบที่ถูกกฎหมายมากขึ้น
๓.๒ ป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ รวมถึงปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมือง
การทารุณกรรมต่อแรงงานข้ามชาติ การท่องเที่ยวที่เน้นบริการทางเพศและเด็ก และปัญหาคนขอทาน โดยการปรับปรุงกฎหมายข้อบังคับที่จ้าเป็นและเพิ่มความเข้มงวดในการระวังตรวจสอบ
๓.๓ ในระยะต่อไป จะพัฒนาระบบการคุ้มครองทางสังคม ระบบการออม
และระบบสวัสดิการชุมชนให้มีประสิทธิภาพและมีความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น รวมทั้งการดูแลให้มีระบบ การกู้ยืมที่เป็นธรรมและการสงเคราะห์ผู้ยากไร้ตามอัตภาพ พัฒนาศักยภาพ คุ้มครองและพิทักษ์สิทธิ จัดสวัสดิการช่วยเหลือและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ ผู้สูงอายุ สตรี และเด็ก
๓.๔ เตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิต
และการมีงานหรือกิจกรรมที่เหมาะสม เพื่อสร้างสรรค์และไม่ก่อภาระต่อสังคมในอนาคต โดยจัดเตรียมระบบการดูแลในบ้าน สถานพักฟื้น และโรงพยาบาล ที่เป็นความร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชน ชุมชน และครอบครัว รวมทั้งพัฒนาระบบการเงินการคลังสำหรับการดูแลผู้สูงอายุ
๓.๕ เตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมที่มีความหลากหลายเนื่องจากการเข้าสู่
ประชาคมอาเซียน โดยสร้างความเข้มแข็งและความพร้อมแก่แรงงานไทยและร่วมพัฒนาระบบ ความคุ้มครองทางสังคมของแรงงานอาเซียน
๓.๖ จัดระเบียบสังคม สร้างมาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรม และ
ธรรมาภิบาลให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชนทั่วไป โดยใช้ค่านิยมหลัก ๑๒ ประการ ตามนโยบาย ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ได้ประกาศไว้แล้ว
๓.๗ แก้ปัญหาการไร้ที่ดินทำกินของเกษตรกรและการรุกล้าเขตป่าสงวน
โดยการกระจายสิทธิการถือครองให้แก่ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ที่ไม่ได้รุกล้า และออกมาตรการป้องกัน การเปลี่ยนมือไปอยู่ในครอบครองของผู้ที่มิใช่เกษตรกร ใช้เทคโนโลยีดาวเทียมสำรวจและวิธีการ แผนที่ที่ทันสมัย แก้ไขปัญหาเขตที่ดินทับซ้อนและแนวเขตพื้นที่ป่าที่ไม่ชัดเจน อันก่อให้เกิดข้อขัดแย้ง ระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่รัฐ
๔. การศึกษาและเรียนรู้ การทะนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม รัฐบาลจะนำการศึกษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ความภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์
และความเป็นไทยมาใช้สร้างสังคมให้เข้มแข็งอย่างมีคุณภาพและคุณธรรมควบคู่กันดังนี้
๔.๑ จัดให้มีการปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้ โดยให้ความสำคัญ
ทั้งการศึกษาในระบบและการศึกษาทางเลือกไปพร้อมกัน เพื่อสร้างคุณภาพของคนไทยให้สามารถ เรียนรู้ พัฒนาตนได้เต็มตามศักยภาพ ประกอบอาชีพและดำรงชีวิตได้โดยมีความใฝ่รู้และทักษะ ที่เหมาะสม เป็นคนดีมีคุณธรรม สร้างเสริมคุณภาพการเรียนรู้ โดยเน้นการเรียนรู้เพื่อสร้างสัมมาชีพ ในพื้นที่ ลดความเหลื่อมล้า และพัฒนากำลังคนให้เป็นที่ต้องการเหมาะสมกับพื้นที่ ทั้งในด้าน การเกษตร อุตสาหกรรม และธุรกิจบริการ
๔.๒ ในระยะเฉพาะหน้า จะปรับเปลี่ยนการจัดสรรงบประมาณสนับสนุน
การศึกษาให้สอดคล้องกับความจ้าเป็นของผู้เรียนและลักษณะพื้นที่ของสถานศึกษา และปรับปรุง และบูรณาการระบบการกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาให้มีประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มโอกาสแก่ผู้ยากจนหรือ ด้อยโอกาส จัดระบบการสนับสนุนให้เยาวชนและประชาชนทั่วไปมีสิทธิเลือกรับบริการการศึกษา ทั้งในระบบโรงเรียนและนอกโรงเรียน โดยจะพิจารณาจัดให้มีคูปองการศึกษาเป็นแนวทางหนึ่ง
๔.๓ ให้องค์กรภาคประชาสังคม ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และประชาชนทั่วไปมีโอกาสร่วมจัดการศึกษาที่มีคุณภาพและทั่วถึง และร่วมในการปฏิรูปการศึกษา และการเรียนรู้ กระจายอ้านาจการบริหารจัดการศึกษาสู่สถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา และ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามศักยภาพและความพร้อม โดยให้สถานศึกษาสามารถเป็นนิติบุคคล และบริหารจัดการได้อย่างอิสระและคล่องตัวขึ้น
๔.๔ พัฒนาคนทุกช่วงวัยโดยส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อให้สามารถ
มีความรู้และทักษะใหม่ที่สามารถประกอบอาชีพได้หลากหลายตามแนวโน้มการจ้างงานในอนาคต ปรับกระบวนการเรียนรู้และหลักสูตรให้เชื่อมโยงกับภูมิสังคม โดยบูรณาการความรู้และคุณธรรม เข้าด้วยกันเพื่อให้เอื้อต่อการพัฒนาผู้เรียนทั้งในด้านความรู้ ทักษะ การใฝ่เรียนรู้ การแก้ปัญหา
การรับฟังความเห็นผู้อื่น การมีคุณธรรม จริยธรรม และความเป็นพลเมืองดี โดยเน้นความร่วมมือ ระหว่างผู้เกี่ยวข้องทั้งในและนอกโรงเรียน
๔.๕ ส่งเสริมอาชีวศึกษาและการศึกษาระดับวิทยาลัยชุมชน เพื่อสร้าง
แรงงานที่มีทักษะโดยเฉพาะในท้องถิ่นที่มีความต้องการแรงงาน และพัฒนาคุณภาพมาตรฐาน การศึกษาให้เชื่อมโยงกับมาตรฐานวิชาชีพ
๔.๖ พัฒนาระบบการผลิตและพัฒนาครูที่มีคุณภาพและมีจิตวิญญาณ
ของความเป็นครู เน้นครูผู้สอนให้มีวุฒิตรงตามวิชาที่สอน นำเทคโนโลยีสารสนเทศและเครื่องมือ ที่เหมาะสมมาใช้ในการเรียนการสอนเพื่อเป็นเครื่องมือช่วยครูหรือเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง เช่น การเรียนทางไกล การเรียนโดยระบบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น รวมทั้งปรับระบบการประเมิน สมรรถนะที่สะท้อนประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนเป็นสำคัญ
๔.๗ ทะนุบำรุงและอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น ๆ สนับสนุน
ให้องค์กรทางศาสนามีบทบาทสำคัญในการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ตลอดจนพัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างสันติสุขและความปรองดองสมานฉันท์ในสังคมไทยอย่างยั่งยืน และมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม ตามความพร้อม
๔.๘ อนุรักษ์ ฟื้นฟู และเผยแพร่มรดกทางวัฒนธรรม ภาษาไทยและ
ภาษาถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งความหลากหลายของศิลปวัฒนธรรมไทย เพื่อการเรียนรู้ สร้างความภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์และความเป็นไทย นำไปสู่การสร้างความสัมพันธ์อันดี ในระดับประชาชน ระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ ตลอดจนเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ให้แก่ประเทศ
๔.๙ สนับสนุนการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ วัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้าน
และวัฒนธรรมสากล และการสร้างสรรค์งานศิลปะและวัฒนธรรมที่เป็นสากล เพื่อเตรียมเข้าสู่ เสาหลักวัฒนธรรมของประชาคมอาเซียนและเพื่อการเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมโลก
๔.๑๐ ปลูกฝังค่านิยมและจิตสำนึกที่ดี รวมทั้งสนับสนุนการผลิตสื่อคุณภาพ
เพื่อเปิดพื้นที่สาธารณะให้เยาวชนและประชาชนได้มีโอกาสแสดงออกอย่างสร้างสรรค์
๕. การยกระดับคุณภาพบริการด้านสาธารณสุข และสุขภาพของประชาชน รัฐบาลจะวางรากฐาน พัฒนา และเสริมความเข้มแข็งให้แก่การให้บริการ
ด้านสาธารณสุขและสุขภาพของประชาชนโดยเน้นความทั่วถึง ความมีคุณภาพ และประสิทธิภาพ ดังนี้
๕.๑ วางรากฐานให้ระบบหลักประกันสุขภาพครอบคลุมประชากร
ในทุกภาคส่วนอย่างมีคุณภาพโดยไม่มีความเหลื่อมล้าของคุณภาพบริการในแต่ละระบบ และบูรณาการ ข้อมูลระหว่างทุกระบบหลักประกันสุขภาพเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ
๕.๒ พัฒนาระบบบริการสุขภาพ โดยเน้นการป้องกันโรคมากกว่ารอให้ป่วย
แล้วจึงมารักษา สร้างกลไกการจัดการสุขภาพในระดับเขตแทนการกระจุกตัวอยู่ที่ส่วนกลาง ปรับระบบการจ้างงาน การกระจายบุคลากรและทรัพยากรสาธารณสุขให้เหมาะสมกับท้องถิ่น และให้ภาคเอกชนสามารถมีส่วนร่วมในการจ้างบุคลากรเพื่อจัดบริการสาธารณสุขโดยรัฐ เป็นผู้กำกับดูแล สนับสนุนความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชนในการพัฒนาระบบบริการทางการแพทย์ และสาธารณสุข โดยส่งเสริมการร่วมลงทุนและการใช้ทรัพยากรและบุคลากรร่วมกันโดยมีข้อตกลง ที่รัดกุมและเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย
๕.๓ เสริมความเข้มแข็งของระบบเฝ้าระวังโรคระบาด โดยเฉพาะโรคอุบัติใหม่
และโรคอุบัติซ้ำ โดยมีเครือข่ายหน่วยเฝ้าระวัง หน่วยตรวจวินิจฉัยโรค และหน่วยที่สามารถตัดสินใจ เชิงนโยบายในการสกัดกั้นการแพร่กระจายได้อย่างทันท่วงที
๕.๔ ป้องกันและแก้ไขปัญหาการเกิดอุบัติเหตุในการจราจรอันนำไปสู่
การบาดเจ็บและเสียชีวิต โดยการร่วมมือระหว่างฝ่ายต่าง ๆ ในการตรวจจับเพื่อป้องกัน การรายงาน และการดูแลผู้บาดเจ็บ
๕.๕ ส่งเสริมการกีฬาเพื่อสุขภาพ ใช้กีฬาเป็นสื่อในการพัฒนาลักษณะนิสัย
เยาวชนให้มีน้ำใจนักกีฬา มีวินัย ปฏิบัติตามกฎกติกามารยาท และมีความสามัคคี อีกทั้งพัฒนา นักกีฬาให้มีศักยภาพสามารถแข่งขันในระดับนานาชาติจนสร้างชื่อเสียงแก่ประเทศชาติ
๕.๖ ประสานการทำงานระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคม เพื่อป้องกัน
และแก้ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น และปัญหาด้านการแพทย์และจริยธรรมของการอุ้มบุญ การปลูกถ่ายอวัยวะและสเต็มเซลล์ โดยจัดให้มีมาตรการและกฎหมายที่รัดกุม เหมาะสม กับประเด็นที่เป็นปัญหาใหม่ของสังคม
๕.๗ พัฒนาขีดความสามารถในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์
และสาธารณสุข โดยจัดให้มีบุคลากรและเครื่องมือที่ทันสมัย และให้มีความร่วมมือทั้งระหว่าง หน่วยงานภายในประเทศและหน่วยงานต่างประเทศ โดยเฉพาะในการป้องกันและรักษา โรคที่มีความสำคัญ
๖. การเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ
ความไม่สงบทางการเมืองที่ดำเนินมานานกว่า ๖ เดือนจนถึงกลางปีนี้ มีผลให้
เศรษฐกิจชะลอตัวลงอย่างมาก แม้คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้ดำเนินการกระตุ้นเศรษฐกิจ จนเริ่มฟื้นตัวแล้ว แต่ก็ยังไม่อาจขยายตัวเต็มตามศักยภาพ นอกจากนั้น ระบบเศรษฐกิจของไทย ยังมีจุดอ่อนที่จะต้องแก้ไขปรับปรุงหลายเรื่อง เพื่อที่จะสร้างพื้นฐานเศรษฐกิจให้สามารถขยายตัว ได้อย่างต่อเนื่องและมั่นคง ตั้งแต่การจัดเก็บภาษีซึ่งยังไม่เพียงพอต่อการบริหารและพัฒนาประเทศ อย่างเต็มศักยภาพ ปัญหาหนี้ภาครัฐ การใช้พลังงานอย่างฟุ่มเฟือย ตลอดจนปัญหาการใช้น้ำ ในภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรม ซึ่งขาดแคลนเป็นประจ้าในฤดูแล้ง ในขณะที่มีน้ำท่วมบ่อยครั้ง
ในฤดูฝน ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ รัฐบาลจะดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ เป็น ๓ ระยะ คือ ระยะเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการทันที ระยะต่อไปที่ต้องแก้ไขปัญหาพื้นฐานที่ค้างคา อยู่ และระยะยาวที่ต้องวางรากฐานเพื่อความเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ดังนี้
๖.๑ ในระยะเร่งด่วน เร่งจ่ายงบลงทุนของปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๗
ที่ยังค้างอยู่ก่อนที่จะพ้นกำหนดภายในสิ้นปีนี้ และสานต่อนโยบายงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจตามที่ คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้จัดทำไว้ โดยติดตามให้มีการเบิกจ่ายอย่างคล่องตัวตั้งแต่ระดับ กระทรวงจนถึงระดับท้องถิ่น รวมทั้งจะดูแลไม่ให้มีการใช้จ่ายที่สูญเปล่า เพื่อช่วยสร้างงานและ กระตุ้นการบริโภค
๖.๒ สานต่อนโยบายงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้จัดทำไว้ โดยนำหลักการสำคัญของการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจ้าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๘ ที่ให้ความสำคัญในการบูรณาการงบประมาณและความพร้อมในการดำเนินงาน รวมทั้งนำแหล่งเงินอื่นมาประกอบการพิจารณาด้วย เพื่อขับเคลื่อนนโยบายให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม ประหยัด ไม่ซ้ำซ้อน และมีประสิทธิภาพ ทบทวนภารกิจที่มีลักษณะไม่ยั่งยืนหรือสร้างภาระ หนี้สาธารณะของประเทศเกินความจ้าเป็น และแสดงรายการลงทุนในระดับจังหวัดเพื่อแสดง ความโปร่งใส เป็นธรรม และไม่เลือกปฏิบัติ ควบคู่ไปกับการเพิ่มประสิทธิภาพการเบิกจ่ายงบประมาณ ตั้งแต่ระดับกระทรวงจนถึงระดับท้องถิ่น เพื่อช่วยสร้างงานและกระตุ้นการบริโภค โดยจะจัดให้มี ระบบและกลไกในการติดตามตรวจสอบไม่ให้มีการใช้จ่ายที่สูญเปล่า
๖.๓ กระตุ้นการลงทุนด้วยการเร่งพิจารณาโครงการลงทุนที่มีประสิทธิภาพ
ซึ่งนักลงทุนยื่นขออนุมัติส่งเสริมการลงทุนไว้แล้วให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว และนำโครงการลงทุน ในโครงสร้างพื้นฐานประเภทที่มีผลตอบแทนดี เช่น โครงการขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานคร มาจัดทำเป็นโครงการลงทุนร่วมกับเอกชน ซึ่งจะช่วยสร้างบรรยากาศการลงทุนที่ดีทั้งในวงการ ก่อสร้าง วงการอสังหาริมทรัพย์ และตลาดการเงิน
๖.๔ ดูแลเกษตรกรให้มีรายได้ที่เหมาะสมด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การลด
ต้นทุนการผลิต การช่วยเหลือในเรื่องปัจจัยการผลิตอย่างทั่วถึง การช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อย ตลอดจนถึงการใช้กลไกตลาดดูแลราคาสินค้าเกษตรประเภทที่ราคาต่ำผิดปกติให้สูงขึ้นตามสมควร
๖.๕ ลดอุปสรรคในการส่งออกเพื่อให้เกิดความคล่องตัว เช่น ปรับปรุง
วิธีการตรวจรับรองมาตรฐานสินค้าและมาตรฐานการผลิตระดับไร่นา เป็นต้น ให้สะดวกรวดเร็วขึ้น ตลอดจนลดขั้นตอนของกระบวนการด้านธุรการและเอกสารอื่น ๆ ที่จะช่วยให้ระบบการส่งสินค้า เร็วขึ้น พร้อมทั้งแสวงหาตลาดที่มีศักยภาพเพื่อขยายฐานการส่งออกซึ่งครอบคลุมถึงการค้าชายแดน ที่มีความสำคัญมากขึ้น
๖.๖ ชักจูงให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาเที่ยวในประเทศไทย โดยพิจารณา
มาตรการลดผลกระทบจากการประกาศใช้กฎอัยการศึกในบางพื้นที่ที่มีต่อการท่องเที่ยวในโอกาสแรก ที่จะทำได้ และสร้างสิ่งจูงใจและสิ่งอ้านวยความสะดวกที่เกื้อกูลต่อบรรยากาศการท่องเที่ยว ส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ครอบคลุมแหล่งท่องเที่ยวอันมีลักษณะโดดเด่นร่วมกันหรือจัดเป็นกลุ่มได้ เช่น กลุ่มธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และสุขภาพ เช่น น้ำพุร้อน ธรรมชาติ ทั้งจะให้เชื่อมโยงกับผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาจากวิถีชีวิตชุมชน รวมทั้งพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ในประเทศทั้งที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวเดิมและแหล่งท่องเที่ยวใหม่ โดยเน้นการให้ความรู้และ เพิ่มมาตรฐานความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การควบคุมสินค้าและบริการให้มีคุณภาพ ราคาเป็นธรรม ตลอดจนการอ้านวยความสะดวกในด้านต่าง ๆ แก่นักท่องเที่ยว
๖.๗ ในระยะต่อไป ประสานนโยบายการเงินและการคลังให้สอดคล้องกัน
เพื่อที่จะสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจพร้อมกับการรักษาเสถียรภาพของราคาอย่างเหมาะสม
๖.๘ แก้ปัญหาน้ำท่วมในฤดูฝนทั้งที่ท่วมเป็นบริเวณกว้างและท่วมเฉพาะพื้นที่
และปัญหาขาดแคลนน้ำในบางพื้นที่และบางฤดูกาล ซึ่งนำความเสียหายและทุกข์ร้อนมาให้แก่ เกษตรกร โดยระดมความคิดเพื่อหาทางป้องกันไม่ให้เกิดน้ำท่วมรุนแรงดังเช่นเหตุการณ์น้ำท่วม ในปี ๒๕๕๔ และหาวิธีที่จะแก้ปัญหาน้ำท่วมเฉพาะพื้นที่ให้ลดลงโดยเร็ว ไม่กระทบต่อพืชผล ส่วนภาวะภัยแล้งจนเกิดการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรนั้น รัฐบาลจะเร่งดำเนินการจัดสร้าง แหล่งน้ำขนาดเล็กให้กระจายครอบคลุมทั่วพื้นที่เพาะปลูกให้มากที่สุด ซึ่งจะสามารถทำได้ในเวลา ประมาณ ๑ ปี
๖.๙ ปฏิรูปโครงสร้างราคาเชื้อเพลิงประเภทต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับต้นทุน
และให้มีภาระภาษีที่เหมาะสมระหว่างน้ำมันต่างชนิดและผู้ใช้ต่างประเภท เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การใช้พลังงานของประเทศและให้ผู้บริโภคระมัดระวังที่จะไม่ใช้อย่างฟุ่มเฟือย รวมถึงดำเนินการ ให้มีการสำรวจและผลิตก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบรอบใหม่ทั้งในทะเลและบนบก และดำเนินการ ให้มีการสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้นโดยหน่วยงานของรัฐและเอกชน ทั้งจากการใช้ฟอสซิลเป็นเชื้อเพลิง และจากพลังงานทดแทนทุกชนิด ด้วยวิธีการที่เปิดเผย โปร่งใส เป็นธรรม และเป็นมิตรต่อ สภาวะแวดล้อม พร้อมกับร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการพัฒนาพลังงาน
๖.๑๐ ปรับปรุงวิธีการจัดเก็บภาษีให้จัดเก็บได้อย่างครบถ้วน โดยปรับปรุง
โครงสร้างภาษีให้คงอัตราภาษีเงินได้ไว้ในระดับปัจจุบัน ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล แต่ปรับปรุง โครงสร้างอัตราภาษีทางด้านการค้าและขยายฐานการจัดเก็บภาษีประเภทใหม่ ซึ่งจะเก็บจากทรัพย์สิน เช่น ภาษีมรดก ภาษีจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยให้มีผลกระทบต่อผู้มีรายได้น้อยให้น้อยที่สุด รวมทั้งปรับปรุงการลดหย่อนภาษีเงินได้ให้เกิดประโยชน์แก่ผู้มีรายได้น้อย และยกเลิกการยกเว้น ภาษีประเภทที่เอื้อประโยชน์เฉพาะผู้ที่มีฐานะการเงินดี เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมมากขึ้น
๖.๑๑ บริหารจัดการหนี้ภาครัฐที่เกิดขึ้นในช่วงรัฐบาลที่ผ่านมา ซึ่งมีจ้านวนสูง
มากกว่า ๗๐๐,๐๐๐ ล้านบาท และเป็นภาระงบประมาณใน ๕ ปีข้างหน้า อันจะทำให้เหลือ งบประมาณเพื่อการลงทุนพัฒนาประเทศน้อยลง โดยประมวลหนี้เหล่านี้ให้ครบถ้วน หาแหล่งเงิน ระยะยาวมาสะสางหนี้ทั้งหมด และยืดระยะเวลาช้าระคืนให้นานที่สุดเพื่อลดภาระของงบประมาณ ในอนาคต
๖.๑๒ ในระยะยาว พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งและคมนาคม
ด้านคมนาคมทางบกโดยเริ่มโครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและรถไฟฟ้าเชื่อม กรุงเทพมหานครกับเมืองบริวารเพิ่มเติมเพื่อลดเวลาในการเดินทางของประชาชนและเพื่อให้มี คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพื่อตั้งฐานให้รัฐบาลต่อไปทำต่อได้ทันที ด้านคมนาคมทางอากาศโดยปรับปรุง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิระยะที่ ๒ ท่าอากาศยานดอนเมือง และท่าอากาศยานสากลในภูมิภาค ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ท่าอากาศยานในภูมิภาค เพื่อให้สามารถรองรับปริมาณการจราจรทางอากาศ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนสนับสนุนให้เกิดการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมการบินของประเทศ การซ่อมบำรุงอากาศยาน และการพัฒนาขีดความสามารถในการให้บริการขนส่งทางอากาศ ให้มีคุณภาพได้มาตรฐานในระดับสากล รวมทั้งการใช้ท่าอากาศยานในภูมิภาคเสริมท่าอากาศยาน สุวรรณภูมิและท่าอากาศยานดอนเมือง เช่น ท่าอากาศยานอู่ตะเภา เป็นต้น และด้านการคมนาคม ทางนำโดยพัฒนาการขนส่งสินค้าทางลำน้ำและชายฝั่งทะเล เพื่อลดต้นทุนระบบโลจิสติกส์ของประเทศ เริ่มจากการเร่งรัดพัฒนาท่าเทียบเรือชายฝั่งที่ท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือชายฝั่งทะเลอ่าวไทยและ อันดามัน ตลอดจนผลักดันให้ท่าเรือในลำน้ำเจ้าพระยาและป่าสักมีการใช้ประโยชน์ในการขนส่งสินค้า ภายในประเทศและเชื่อมโยงกับท่าเรือแหลมฉบัง รวมทั้งการขุดลอกร่องน้ำลึก
๖.๑๓ ปรับโครงสร้างการบริหารจัดการในสาขาขนส่งที่มีการแยกบทบาท
และภารกิจของหน่วยงานระดับนโยบาย หน่วยงานกำกับดูแล และหน่วยปฏิบัติที่ชัดเจน และ จัดตั้งหน่วยงานกำกับดูแลระบบราง เพื่อทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานการให้บริการและความปลอดภัย โครงสร้างอัตราค่าบริการที่เป็นธรรม การลงทุน การบำรุงรักษา และการบริหารจัดการ ซึ่งจะช่วย สนับสนุนการพัฒนาระบบรางให้เป็นโครงข่ายหลักของประเทศ รวมทั้งพิจารณาปรับปรุงกฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้องกับสาขาขนส่งและการประกอบกิจการโลจิสติกส์ให้ทันสมัยสอดคล้องกับ สถานการณ์ในปัจจุบัน และมีความชัดเจนในทางปฏิบัติ รวมทั้งสนับสนุนให้ภาคเอกชนเข้ามา มีส่วนร่วมในภาคขนส่งเพิ่มขึ้น
๖.๑๔ พัฒนาและปรับปรุงระบบบริหารจัดการของรัฐวิสาหกิจให้มี
ประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้ โดยจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนารัฐวิสาหกิจที่ชัดเจน พร้อมทั้งกำหนดเป้าหมายและมาตรการที่จะแก้ไขปัญหาและฟื้นฟูกิจการของรัฐวิสาหกิจ ที่มีปัญหาด้านการเงินและการดำเนินงานให้เกิดผลในทางปฏิบัติ ตลอดจนพิจารณาความจ้าเป็น
ในการคงบทบาทการเป็นรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อให้รัฐวิสาหกิจ เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพของรัฐในการพัฒนาประเทศและพัฒนากลไกการกำกับดูแล
รัฐวิสาหกิจที่เข้มแข็ง เพื่อให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม ค้านึงถึงผลประโยชน์ของประเทศส่วนรวม คุ้มครองผู้ใช้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถให้บริการประชาชนได้ตามมาตรฐาน ที่กำหนดไว้ รวมทั้งมีการบริหารจัดการหนี้ทั้งในส่วนที่รัฐบาลและรัฐวิสาหกิจรับภาระอย่างโปร่งใส และมีประสิทธิภาพเพื่อลดภาระทางการคลัง
๖.๑๕ ในด้านเกษตรกรรม ดำเนินการใน ๒ เรื่องใหญ่ คือ การปรับโครงสร้าง
การผลิตสินค้าเกษตรให้สอดคล้องกับความต้องการด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การแบ่งเขตเพื่อปลูกพืชผล แต่ละชนิด และการสนับสนุนให้สหกรณ์ของกลุ่มเกษตรกรที่ผลิตสินค้าเกษตรเพิ่มบทบาทในฐานะ ผู้ซื้อพืชผลจนถึงการแปรรูปและการส่งออกได้ แล้วแต่กรณี เพื่อให้สหกรณ์เป็นผู้ค้าขายสินค้า เกษตรรายใหญ่อีกรายหนึ่ง ซึ่งจะช่วยคานอ้านาจของกลุ่มพ่อค้าเอกชนที่มีอยู่ในปัจจุบันให้มี ความสมดุลมากขึ้น
๖.๑๖ ในด้านอุตสาหกรรม ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมที่สอดคล้อง
กับศักยภาพพื้นฐานของประเทศ เช่น ส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป ตั้งแต่ต้นน้ำ จนถึงปลายน้ำ โดยการพัฒนาวัตถุดิบและกระบวนการผลิตให้มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน และเป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่อาหารไทยบนฐานความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ และภูมิปัญญา ส่งเสริมการวิจัยเกษตรแปรรูป เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร และแก้ไขปัญหาที่สำคัญของประเทศ เป็นต้น ส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ส่งเสริม อุตสาหกรรมที่ใช้การออกแบบและสร้างสรรค์ และส่งเสริมอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลเทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อปรับกระบวนการผลิตสู่ระบบอัตโนมัติและกึ่งอัตโนมัติ
๖.๑๗ เพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและ
ขนาดย่อมให้เข้มแข็ง สามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการเพิ่มองค์ความรู้ในด้าน การปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และพัฒนาการบริหาร จัดการภายในองค์กร ปรับโครงสร้างกลไกการสนับสนุนและการขับเคลื่อนวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมให้เป็นระบบและมีเอกภาพที่ชัดเจนทั้งในด้านการเข้าถึงแหล่งเงินทุนและบริการ ทางการเงินและการลงทุนสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การพัฒนาผลิตภัณฑ์และ บริการ การตลาดและโอกาสในการลงทุนในต่างประเทศ
๖.๑๘ ส่งเสริมภาคเศรษฐกิจดิจิทัลและวางรากฐานของเศรษฐกิจดิจิทัล
ให้เริ่มขับเคลื่อนได้อย่างจริงจัง ซึ่งจะทำให้ทุกภาคเศรษฐกิจก้าวหน้าไปได้ทันโลกและสามารถ แข่งขันในโลกสมัยใหม่ได้ ซึ่งหมายรวมถึงการผลิตและการค้าผลิตภัณฑ์ดิจิทัลโดยตรง ทั้งผลิตภัณฑ์ ฮาร์ดแวร์ ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ อุปกรณ์สื่อสารดิจิทัล อุปกรณ์โทรคมนาคมดิจิทัล และการใช้ดิจิทัล รองรับการให้บริการของภาคธุรกิจการเงินและธุรกิจบริการอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาคสื่อสาร และบันเทิง ตลอดจนการใช้ดิจิทัลรองรับการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมและการพัฒนาเศรษฐกิจ สร้างสรรค์ ปรับปรุงบทบาทและภารกิจของหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงให้ดูแลและผลักดัน
งานสำคัญของประเทศชาติในเรื่องนี้ และจะจัดให้มีคณะกรรมการระดับชาติเพื่อขับเคลื่อนเรื่องนี้ อย่างจริงจัง
๗. การส่งเสริมบทบาทและการใช้โอกาสในประชาคมอาเซียน การรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนซึ่งจะมีผลใช้บังคับอย่างเต็มที่
ณ สิ้นปี ๒๕๕๘ จะเกิดประโยชน์แก่ประเทศไทยเป็นอย่างมาก หากประเทศไทยเตรียมการ ในเรื่องต่าง ๆ ให้พร้อม การเร่งดำเนินการเตรียมความพร้อมทั้งในเรื่องความเชื่อมโยงด้านระบบ การขนส่งและโลจิสติกส์ ด้านกฎระเบียบ การอ้านวยความสะดวกทางการค้า การพัฒนาด่านชายแดน และการเตรียมการด้านทรัพยากรมนุษย์ จะส่งเสริมบทบาทและการใช้โอกาสของประเทศไทย ในประชาคมอาเซียนให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนชาวไทยร่วมกับ ประชาชนอาเซียน
๗.๑ เร่งส่งเสริมความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน ในภูมิภาค
อาเซียนและขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยใช้ประโยชน์จากโครงข่าย คมนาคมขนส่งและโทรคมนาคมที่เชื่อมโยงระหว่างกันของอาเซียน ระบบการออกใบรับรอง/ ใบอนุญาตผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ การทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ร่วมกันในอาเซียน รวมทั้ง การสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากความตกลงทางการค้าการลงทุนภายใต้กรอบความร่วมมือ ในระดับทวิภาคีและพหุภาคีที่มีผลใช้บังคับแล้ว เร่งขยายการจัดทำข้อตกลงการยอมรับร่วมกัน ของสินค้าด้านการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานโดยให้ความสำคัญต่อสินค้าที่ประเทศไทย มีศักยภาพสูงโดยเฉพาะกลุ่มสินค้าอุปโภคและบริโภค รวมถึงการปรับกฎเกณฑ์การค้าและระบบ พิธีการศุลกากรให้สะดวก ลดขั้นตอนต่าง ๆ หรือยกเลิกขั้นตอนบางเรื่อง และปรับระบบภาษี และการอ้านวยความสะดวกอื่น ๆ เพื่อดึงดูดให้มีการตั้งสำนักงานปฏิบัติการประจ้าภูมิภาค ที่กรุงเทพมหานคร เพื่อพัฒนาให้กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางทางธุรกิจ การค้า การลงทุน ของภูมิภาคได้ในที่สุด
๗.๒ พัฒนาศักยภาพในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยทุกระดับ
โดยสอดคล้องกับข้อตกลงในการเคลื่อนย้ายในด้านสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือ และ ปัจจัยการผลิตต่าง ๆ ที่เปิดเสรีมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทย ให้สามารถแข่งขันได้ รวมทั้งสามารถดำเนินธุรกิจร่วมกับผู้ประกอบการในประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อนำไปสู่ความเชื่อมโยงกับห่วงโซ่อุปทานตลาดโลกได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฐานการผลิตสินค้า หลายชนิดและธุรกิจเกี่ยวเนื่องที่ประเทศไทยได้เข้าไปลงทุนขยายฐานการผลิตในประเทศอื่น ในอาเซียนมาเป็นเวลานานแล้ว ตลอดจนกลุ่มการผลิตที่ผู้ประกอบการของไทยเตรียมที่จะขยาย ฐานการผลิตเพิ่มเติมอีกหลายชนิด ซึ่งช่วยให้ประเทศไทยมีฐานการผลิตสินค้าคุณภาพหลากหลาย เพื่อขายในตลาดต่าง ๆ ได้มากขึ้น ทั้งในอาเซียนและในตลาดโลก และเป็นการช่วยเหลือประเทศ เพื่อนบ้านในกระบวนการพัฒนาอุตสาหกรรม
๗.๓ พัฒนาแรงงานของภาคอุตสาหกรรมเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคม
อาเซียน ทั้งแรงงานวิชาชีพ แรงงานมีทักษะ และแรงงานไม่มีทักษะ โดยการเร่งรัดและขยายผล การใช้ระบบคุณวุฒิวิชาชีพให้เกิดผลในทางปฏิบัติโดยค้านึงถึงความเป็นเอกภาพกับระบบมาตรฐาน ฝีมือแรงงานและมาตรฐานวิชาชีพใน ๘ กลุ่มที่มีข้อตกลงการเปิดเสรีในอาเซียนควบคู่ไปกับ การวางแผนด้านการผลิตให้เพียงพอ การยกระดับฝีมือแรงงานในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ และอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น การส่งเสริมการพัฒนาระบบการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน เพื่อใช้ในการประเมินค่าจ้างแรงงาน
๗.๔ เร่งพัฒนาความเชื่อมโยงด้านการขนส่งและระบบโลจิสติกส์ภายใน
อนุภูมิภาคและภูมิภาคอาเซียน โดยเร่งขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนงานการพัฒนาความร่วมมือ ทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ๖ ประเทศ (GMS) แผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) แผนความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS) แผนความร่วมมือแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาวิชาการและ เศรษฐกิจ (BIMSTEC) และแผนแม่บทความเชื่อมโยงในอาเซียนซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้ความเชื่อมโยง ด้านการขนส่งและระบบโลจิสติกส์ในอาเซียนสัมฤทธิผลได้อย่างเป็นรูปธรรม
๗.๕ ต่อเชื่อมเส้นทางคมนาคมขนส่งและระบบโลจิสติกส์จากฐานการผลิต
ในชุมชนสู่แหล่งแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าทั้งภายในประเทศและเชื่อมโยงกับอาเซียน เพื่อยกระดับ ศักยภาพของผู้ประกอบการรายย่อยสู่ตลาดที่กว้างขวางยิ่งขึ้นทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ และขณะเดียวกันก็ช่วยสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจแก่พื้นที่ต่าง ๆ ภายในประเทศด้วย
๗.๖ พัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษโดยเริ่มจากการพัฒนาด่านการค้าชายแดน
และโครงข่ายการคมนาคมขนส่งบริเวณประตูการค้าหลักของประเทศเพื่อรองรับการเชื่อมโยง กระบวนการผลิตและการลงทุนข้ามแดน โดยปรับปรุงโครงข่ายระบบถนน พัฒนาระบบ National Single Window (NSW) และสิ่งอ้านวยความสะดวกทางการค้าและการขนส่งสินค้าข้ามแดน อย่างต่อเนื่อง โดยในระยะแรกให้ความสำคัญกับด่านชายแดนที่สำคัญ ๖ ด่าน ได้แก่ ปาดังเบซาร์ สะเดา อรัญประเทศ แม่สอด บ้านคลองลึก และบ้านคลองใหญ่ ซึ่งจะทำให้ระบบขนส่งและโลจิสติกส์ สามารถเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพและรองรับปริมาณการเดินทาง
และการขนส่งที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
๘. การพัฒนาและส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
การวิจัยและพัฒนา และนวัตกรรม รัฐบาลให้ความสำคัญต่อการวิจัย การพัฒนาต่อยอด และการสร้างนวัตกรรม
เพื่อนำไปสู่การผลิตและบริการที่ทันสมัยดังนี้
๘.๑ สนับสนุนการเพิ่มค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนาของประเทศเพื่อ
มุ่งไปสู่เป้าหมายให้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๑ ของรายได้ประชาชาติและมีสัดส่วนรัฐต่อเอกชน ๓๐ : ๗๐
ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทั้งนี้ เพื่อให้ประเทศมีความสามารถในการแข่งขัน และมีความก้าวหน้าทัดเทียมกับประเทศอื่นที่มีระดับการพัฒนาใกล้เคียงกัน และจัดระบบบริหารงาน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรมให้มีเอกภาพและประสิทธิภาพ โดยให้มีความเชื่อมโยง กับภาคเอกชน
๘.๒ เร่งเสริมสร้างสังคมนวัตกรรม โดยส่งเสริมระบบการเรียนการสอน
ที่เชื่อมโยงระหว่างวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ การผลิตกำลังคน ในสาขาที่ขาดแคลน การเชื่อมโยงระหว่างการเรียนรู้กับการทำงาน การให้บุคลากรด้านการวิจัย ของภาครัฐสามารถไปทำงานในภาคเอกชน และการให้อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม
มีช่องทางได้เทคโนโลยีโดยความร่วมมือจากหน่วยงานและสถานศึกษาภาครัฐ
๘.๓ ปฏิรูประบบการให้สิ่งจูงใจ ระเบียบ และกฎหมายที่เป็นอุปสรรค
ต่อการนำงานวิจัยและพัฒนาไปต่อยอดหรือใช้ประโยชน์ รวมทั้งส่งเสริมการจัดทำแผนพัฒนาการวิจัย และพัฒนาในระดับภาคหรือกลุ่มจังหวัด เพื่อให้ตรงกับความต้องการของท้องถิ่น ผลักดันงานวิจัย และพัฒนาไปสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ โดยส่งเสริมความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย หน่วยงานวิจัยของรัฐ และภาคเอกชน
๘.๔ ส่งเสริมให้โครงการลงทุนขนาดใหญ่ของประเทศ เช่น ด้านพลังงาน
สะอาด ระบบราง ยานยนต์ ไฟฟ้า การจัดการน้ำและขยะ ใช้ประโยชน์จากผลการศึกษาวิจัย และ พัฒนา และนวัตกรรมของไทยตามความเหมาะสม ไม่เพียงแต่จะใช้เทคโนโลยีจากต่างประเทศ ส่งเสริมการใช้เครื่องมือ วัสดุ และสินค้าอื่น ๆ ที่เป็นผลจากการวิจัยและพัฒนาภายในประเทศ ในวงกว้าง โดยจัดให้มีนโยบายจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐที่เอื้ออ้านวย เพื่อสร้างโอกาสการพัฒนา เทคโนโลยีของประเทศ ในกรณีที่จ้าเป็นจะต้องจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์หรือเทคโนโลยีจากต่างประเทศ จะให้มีเงื่อนไขการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อให้สามารถพึ่งตนเองได้ในอนาคตด้วย
๘.๕ ปรับปรุงและจัดเตรียมให้มีโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี ด้านการวิจัยและพัฒนา และด้านนวัตกรรมซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญาที่สำคัญ ในการต่อยอดสู่การใช้เชิงพาณิชย์ของภาคอุตสาหกรรมให้มีความพร้อม ทันสมัย และกระจาย ในพื้นที่ต่าง ๆ เช่น การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ การตั้งศูนย์วิเคราะห์ ห้องปฏิบัติการ สถาบัน และศูนย์วิจัย เป็นต้น
๙. การรักษาความมั่นคงของฐานทรัพยากร และการสร้างสมดุลระหว่าง
การอนุรักษ์กับการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
ในปัจจุบันมีการบุกรุกที่ดินของรัฐและตัดไม้ทำลายป่ามากขึ้น ทรัพยากรธรรมชาติ
และความหลากหลายทางชีวภาพที่เคยอุดมสมบูรณ์ เช่น ป่าไม้ สัตว์ป่า พันธุ์พืช และแร่ธาตุ ถูกทำลายหรือน้าไปใช้ประโยชน์ทางพาณิชย์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นอันมาก ทั้งปัญหาภาวะมลพิษ
โดยเฉพาะขยะประเภทต่าง ๆ ก็รุนแรงยิ่งขึ้น รัฐบาลจึงมีนโยบายจะรักษาความมั่นคงของ ฐานทรัพยากรธรรมชาติโดยสร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนดังนี้
๙.๑ ในระยะเฉพาะหน้า เร่งปกป้องและฟื้นฟูพื้นที่อนุรักษ์ ทรัพยากรป่าไม้
และสัตว์ป่า โดยให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ จัดทำแนวเขตที่ดินของรัฐ ให้ชัดเจน เร่งรัดกระบวนการพิสูจน์สิทธิการถือครองที่ดินในเขตที่ดินของรัฐโดยนำระบบสารสนเทศ มาใช้เพื่อการบริหารจัดการ ปรับปรุงกฎหมายให้ทันสมัยและสร้างบรรทัดฐานในการบังคับใช้กฎหมาย อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรม โดยเฉพาะในพื้นที่ป่าต้นน้ำและพื้นที่อนุรักษ์ที่มีความสำคัญ เชิงนิเวศ กำหนดพื้นที่แนวกันชนและที่ราบเชิงเขาให้เป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์การปลูกป่าเพื่อป้องกัน ภัยพิบัติและป้องกันการบุกรุกป่า ขยายป่าชุมชน และส่งเสริมการปลูกไม้มีค่าทางเศรษฐกิจในพื้นที่ เอกชนเพื่อลดแรงกดดันในการตัดไม้จากป่าธรรมชาติ รวมทั้งผลักดันแนวทางการประเมินมูลค่า ทางเศรษฐศาสตร์ของระบบนิเวศและการสร้างรายได้จากการอนุรักษ์ เช่น โครงการปลูกป่า เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศ โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้แบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน เป็นต้น
๙.๒ ส่งเสริมการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพและ
ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน ค้านึงถึงขีดจ้ากัดและศักยภาพในการฟื้นตัว สร้างโอกาส ในการเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์อันเกิดขึ้นจากการใช้ทรัพยากรพันธุกรรมอย่างยุติธรรม และเท่าเทียม เพื่อสร้างความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน ความมั่นคงทางด้านอาหาร สุขอนามัย สนับสนุนวิถีชีวิตของชุมชน และการพัฒนาเพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ รวมทั้งให้การคุ้มครอง เพื่อให้เกิดความปลอดภัยทางชีวภาพ
๙.๓ ในระยะต่อไป พัฒนาระบบบริหารจัดการที่ดิน และแก้ไขการบุกรุก
ที่ดินของรัฐโดยยึดแนวพระราชดำริที่ให้ประชาชนสามารถอยู่ร่วมกับป่าได้ เช่น กำหนดเขตป่าชุมชน ให้ชัดเจน พื้นที่ใดที่สงวนหรือกันไว้เป็นพื้นที่ป่าสมบูรณ์ก็ใช้มาตรการทางกฎหมายอย่างเคร่งครัด พื้นที่ใดสมควรให้ประชาชนใช้ประโยชน์ได้ก็จะผ่อนผันให้ตามความจ้าเป็นโดยใช้มาตรการ ทางการบริหารจัดการ มาตรการทางสังคมจิตวิทยา และการปลูกป่าทดแทนเข้าดำเนินการ ทั้งจะให้ เชื่อมโยงกับการส่งเสริมการมีอาชีพและรายได้อื่นอันเป็นบ่อเกิดของเศรษฐกิจชุมชนที่ต่อเนื่อง เพื่อให้คนเหล่านั้นสามารถพึ่งพาตนเองได้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงโดยที่ดินยังเป็นของรัฐ จะจัดทำฐานข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการ จัดทำทะเบียนผู้ถือครองที่ดินในที่ดินของรัฐ ปรับปรุง กลไกการบริหารจัดการที่ดินของรัฐและเอกชนให้มีเอกภาพเพื่อทำหน้าที่กำหนดนโยบายด้านที่ดิน ในภาพรวม และปรับปรุงกลไกภาษีเพื่อกระจายการถือครองที่ดิน เร่งรัดการจัดสรรที่ดินให้แก่ ผู้ยากไร้โดยไม่ต้องเป็นกรรมสิทธิ์ แต่รับรองสิทธิร่วมในการจัดการที่ดินของชุมชน กำหนดรูปแบบ
ที่เหมาะสมของธนาคารที่ดินเพื่อให้เป็นกลไกในการนำทรัพยากรที่ดินมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
๙.๔ บริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศให้เป็นเอกภาพในทุกมิติ
ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ จัดให้มีแผนบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศและมีกระบวนการ บูรณาการแผนงานและงบประมาณร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การจัดทำแผนงานโครงการ ไม่เกิดความซ้ำซ้อน มีความเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ และสอดคล้องกับทิศทางและ นโยบายการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ โดยจัดตั้งหรือกำหนดกลไกในการบริหารจัดการน้ำพร้อมทั้ง มีการนำเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูงมาใช้ในระบบของการบริหารจัดการน้ำและการเตือนภัย
๙.๕ เร่งรัดการควบคุมมลพิษทั้งทางอากาศ ขยะ และน้ำเสีย ที่เกิดจาก
การผลิตและบริโภค เพื่อสร้างคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีให้แก่ประชาชน โดยให้ความสำคัญในการ เร่งรัดแก้ไขปัญหาการจัดการขยะเป็นล้าดับแรก ส่งเสริมให้เกิดกลไกการคัดแยกขยะเพื่อน้ำ กลับมาใช้ใหม่ให้มากที่สุด เร่งกำจัดขยะมูลฝอยตกค้างสะสมในสถานที่กำจัดขยะในพื้นที่วิกฤติ ซึ่งจะใช้ที่ดินของรัฐเป็นหลัก ในพื้นที่ใดที่สามารถจัดการขยะมูลฝอยโดยการแปรรูปเป็นพลังงาน ก็จะสนับสนุนให้ดำเนินการ ส่วนขยะอุตสาหกรรมนั้น จะวางระเบียบมาตรการการบริหารจัดการ เป็นพิเศษ โดยกำหนดให้ทิ้งในบ่อขยะอุตสาหกรรมที่สร้างขึ้นอย่างถูกต้องตามมาตรฐานและ ให้แยกเป็นสัดส่วนจากบ่อขยะชุมชน สำหรับขยะของเสียอันตราย ขยะอิเล็กทรอนิกส์ และขยะติดเชื้อ จะพัฒนาระบบกำกับติดตามตรวจสอบและเฝ้าระวังไม่ให้มีการลักลอบทิ้ง รวมทั้งจัดการสารเคมี โดยลดความเสี่ยงและอันตรายที่เกิดจากการรั่วไหล และการเกิดอุบัติเหตุ ให้ความสำคัญในการ จัดการอย่างครบวงจร และใช้มาตรการทางกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายอย่างเด็ดขาด
ในระดับพื้นที่ จะเร่งแก้ไขปัญหาในพื้นที่มาบตาพุดซึ่งเป็นฐาน
อุตสาหกรรมหลักของประเทศอย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมทุกมิติ ทั้งการลดและขจัดมลพิษ การฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การดูแลคุณภาพชีวิตประชาชนที่ได้รับผลกระทบจาก อุตสาหกรรม รวมทั้งการพัฒนาปรับปรุงขีดความสามารถโครงสร้างพื้นฐาน และการพัฒนาสู่เมือง อุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
๑๐. การส่งเสริมการบริหารราชการแผ่นดินที่มีธรรมาภิบาลและการป้องกัน
ปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐ
ระบบราชการเป็นระบบที่ใหญ่โตมหึมา ประกอบด้วยบุคลากร งบประมาณ
และอ้านาจตามตัวบทกฎหมาย ตลอดจนดุลพินิจอันกว้างขวางของเจ้าหน้าที่ซึ่งสามารถให้คุณให้โทษ ให้ความสะดวก หรือเป็นอุปสรรคต่อการทำมาหากินและการดำรงชีวิตได้ แต่น่าเสียดายว่า ในเวลาที่ผ่านมา ระบบราชการและเจ้าหน้าที่บางส่วนกลายเป็นสาเหตุหนึ่งของความขัดแย้งในสังคม ตั้งแต่ระดับท้องถิ่นจนถึงระดับประเทศ เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศเพราะติดขัดที่กฎระเบียบ นานาประการซึ่งมีมาแต่อดีตและยังมิได้แก้ไขให้ทันกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลก ทั้งยังไม่อาจ ใช้เป็นกลไกเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันกับนานาประเทศ เช่น เสียค่าใช้จ่ายสูง ใช้เวลามาก มีการขออนุญาตซ้ำซ้อน ใช้ระบบตรวจสอบที่ไม่จ้าเป็นจนเป็นภาระแก่ประชาชน บางครั้ง มีการปล่อยปละละเลยสลับกับการเข้มงวดกวดขัน จัดระเบียบแบบไฟไหม้ฟาง มีการทุจริตคอร์รัปชัน สร้างความไม่เป็นธรรมและเหลื่อมล้าในสังคม ไม่จูงใจให้นักลงทุนเข้ามาประกอบการในประเทศ ดังที่ปรากฏในผลการสำรวจหรือรายงานประจ้าปีของหน่วยงานต่างประเทศบางแห่งเกี่ยวกับ
การจัดอันดับความน่าเชื่อถือและความสะดวกหรือยากง่ายในการทำธุรกิจในประเทศไทยมาแล้ว รัฐบาลจึงมีนโยบายดังนี้
๑๐.๑ ปรับปรุงระบบราชการในด้านองค์กรหรือหน่วยงานภาครัฐ
ทั้งในระดับประเทศ ภูมิภาค และท้องถิ่น ทบทวนการจัดโครงสร้างหน่วยงานภาครัฐที่มีอ้านาจหน้าที่ ซ้ำซ้อนหรือลักลั่นกันหรือมีเส้นทางการปฏิบัติงานที่ยืดยาว ปรับปรุงวิธีปฏิบัติราชการให้ทันสมัย โดยนำเทคโนโลยีมาใช้ แก้ไขกฎระเบียบให้โปร่งใส ชัดเจน สามารถบริการประชาชนได้อย่าง มีประสิทธิภาพ ตลอดจนจัดระบบอัตรากำลังและปรับปรุงค่าตอบแทนบุคลากรภาครัฐให้เหมาะสม และเป็นธรรม ยึดหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี การบริหารจัดการภาครัฐแบบใหม่ การตอบสนองความต้องการของประชาชนในฐานะที่เป็นศูนย์กลาง และการอ้านวยความสะดวก แก่ผู้ใช้บริการเพื่อสร้างความเชื่อมั่นวางใจในระบบราชการ ลดต้นทุนดำเนินการของภาคธุรกิจ เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันกับนานาประเทศ และการรักษาบุคลากรภาครัฐที่มีประสิทธิภาพ ไว้ในระบบราชการ โดยจะดำเนินการตั้งแต่ระยะเฉพาะหน้าไปตามล้าดับความจ้าเป็น และตามที่ กฎหมายเอื้อให้สามารถดำเนินการได้
๑๐.๒ ในระยะแรก กระจายอ้านาจเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการ
สาธารณะได้โดยรวดเร็ว ประหยัด และสะดวก ทั้งจะวางมาตรการทางกฎหมาย กำหนดผู้รับผิดชอบ ที่ชัดเจน ขั้นตอนที่แน่นอน ระยะเวลาดำเนินการที่รวดเร็ว และระบบอุทธรณ์ที่เป็นธรรม โปร่งใส มิให้เจ้าหน้าที่หลีกเลี่ยง ประวิงเวลา หรือใช้อ้านาจโดยมิชอบก่อให้เกิดการทุจริต การสูญเสียโอกาส หรือสร้างความเสียหายแก่ประชาชนโดยเฉพาะนักลงทุน ในระยะเฉพาะหน้าจะเน้นการปรับปรุง หน่วยงานให้บริการด้านการทำธุรกิจ การลงทุน และด้านบริการสาธารณะในชีวิตประจ้าวัน เป็นสำคัญ
๑๐.๓ ยกระดับสมรรถนะของหน่วยงานของรัฐให้มีประสิทธิภาพ สามารถ
ให้บริการเชิงรุกทั้งในรูปแบบการเพิ่มศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์จากประชาชนในต่างจังหวัดโดยไม่ต้อง เดินทางเข้ามายังส่วนกลาง ศูนย์บริการสาธารณะแบบครบวงจรที่ครอบคลุมการให้บริการหลากหลาย ซึ่งจะจัดตั้งตามที่ชุมชนต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนสามารถเดินทางไปติดต่อขอรับบริการได้โดยสะดวก การให้บริการถึงตัวบุคคลผ่านระบบศูนย์บริการร่วม ณ จุดเดียว (One Stop Service) และ ระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ที่สมบูรณ์แบบ พัฒนาหน่วยงานของรัฐให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ มีการสร้างนวัตกรรมในการทำงานอย่างประหยัด มีประสิทธิภาพ และมีระบบบูรณาการ
๑๐.๔ เสริมสร้างระบบคุณธรรมในการแต่งตั้งและโยกย้ายบุคลากรภาครัฐ
วางมาตรการป้องกันการแทรกแซงจากนักการเมือง และส่งเสริมให้มีการนำระบบพิทักษ์คุณธรรม มาใช้ในการบริหารงานบุคคลของเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่าง ๆ
๑๐.๕ ใช้มาตรการทางกฎหมาย การปลูกฝังค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม
และจิตสำนึกในการรักษาศักดิ์ศรีของความเป็นข้าราชการและความซื่อสัตย์สุจริต ควบคู่กับ
การบริหารจัดการภาครัฐที่มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ของเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกระดับอย่างเคร่งครัด ยกเลิกหรือแก้ไขกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ที่ไม่จ้าเป็น สร้างภาระแก่ประชาชนเกินควร หรือเปิดช่องโอกาสการทุจริต เช่น ระเบียบการจัดซื้อ จัดจ้าง การอนุญาต อนุมัติ และการขอรับบริการจากรัฐ ซึ่งมีขั้นตอนยืดยาว ใช้เวลานาน ซ้ำซ้อน และเสียค่าใช้จ่ายทั้งของภาครัฐและประชาชน
๑๐.๖ ปรับปรุงและจัดให้มีกฎหมายเพื่อให้ครอบคลุมการป้องกันและ
ปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ และการมีผลประโยชน์ทับซ้อนในภาครัฐทุกระดับ โดยถือว่า เรื่องนี้เป็นวาระสำคัญเร่งด่วนแห่งชาติและเป็นเรื่องที่ต้องแทรกอยู่ในการปฏิรูปทุกด้าน ทั้งจะเร่งรัดการดำเนินการต่อผู้กระทำการทุจริตและประพฤติมิชอบทั้งในด้านวินัยและคดี รวมทั้ง ให้ผู้ใช้บริการมีโอกาสประเมินระดับความน่าเชื่อถือของหน่วยงานของรัฐ และเปิดเผยผลการประเมิน ต่อประชาชน ทั้งจะนำกรณีศึกษาที่เคยเป็นปัญหา เช่น การจัดซื้อจัดจ้าง การร่วมทุน การใช้จ่ายเงิน ภาครัฐ การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติโดยมิชอบ การใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ การมีผลประโยชน์ ขัดแย้งหรือทับซ้อน ซึ่งได้มีค้าวินิจฉัยขององค์กรต่าง ๆ เป็นบรรทัดฐานแล้วมาเป็นบทเรียน ให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ และประมวลเป็นกฎระเบียบหรือคู่มือในการปฏิบัติราชการ
๑๐.๗ ส่งเสริมและสนับสนุนภาคีองค์กรภาคเอกชนและเครือข่ายต่าง ๆ
ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อสอดส่อง เฝ้าระวัง ตรวจสอบเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ทั้งจะวางมาตรการคุ้มครองพยานและผู้เกี่ยวข้องเพื่อให้การดำเนินคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่ถูกแทรกแซงหรือขัดขวาง
๑๑. การปรับปรุงกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ในสังคมที่อารยะ การยึดหลักนิติธรรมคือมีกฎหมายเป็นใหญ่ ไม่ใช่ตัวบุคคล
หรืออำเภอใจของเจ้าหน้าที่ผู้ปกครองย่อมเป็นสาระสำคัญ แต่หลักนิติธรรมจะเป็นที่ยอมรับนับถือได้ มิใช่เพียงสักแต่ว่ามีกฎหมาย หากกฎหมายเหล่านั้นต้องสอดคล้องกับความเป็นจริงและความต้องการ ของประชาชน เป็นธรรม คุ้มครองสิทธิมนุษยชน ทั้งต้องมีกระบวนการยุติธรรมที่เข้าถึงได้ง่าย มีมาตรฐานตามหลักสากล ทันสมัยและเป็นธรรมด้วย มิฉะนั้นจะกลายเป็นสาเหตุแห่งความขัดแย้ง
และการโกรธแค้นชิงชังไม่สิ้นสุด รัฐบาลจึงมีนโยบายในเรื่องดังกล่าวดังนี้
๑๑.๑ ในระยะเฉพาะหน้า จะเร่งปรับปรุงประมวลกฎหมายหลักของประเทศ
และกฎหมายอื่น ๆ ที่ล้าสมัย ไม่เป็นธรรม ไม่สอดคล้องกับความตกลงระหว่างประเทศ เป็นอุปสรรค ต่อการบริหารราชการแผ่นดิน การประกอบธุรกิจหรือไม่เอื้อต่อศักยภาพในการแข่งขันกับต่างประเทศ โดยจะใช้กลไกของหน่วยงานเดิมที่มีอยู่และระดมผู้ทรงคุณวุฒิมาเป็นคณะกรรมการที่จะจัดตั้งขึ้น เฉพาะกิจเป็นผู้เร่งดำเนินการ
๑๑.๒ เพิ่มศักยภาพหน่วยงานที่มีหน้าที่ให้ความเห็นทางกฎหมายและจัดทำ
กฎหมายให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างรวดเร็ว สามารถให้ความช่วยเหลือแก่ภาคเอกชนและประชาชน ได้ตามหลักเกณฑ์ที่จะเปิดกว้างขึ้น และให้บุคลากรของหน่วยงานทางกฎหมายมีส่วนให้ความรู้ เสริมศักยภาพในทางกฎหมายมหาชน การดำเนินคดีปกครอง การยกร่างกฎหมาย และการตีความ กฎหมายแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและเกื้อกูลการปฏิบัติราชการ เพื่อประชาชน
๑๑.๓ ในระยะต่อไป จะจัดตั้งองค์กรปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมที่ปราศจาก
การแทรกแซงของรัฐ
๑๑.๔ นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยและความรู้ทางนิติวิทยาศาสตร์มาใช้เพื่อเร่งรัด
การดำเนินคดีทุกขั้นตอนให้รวดเร็ว เกิดความเป็นธรรม และมีระบบฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงกัน สามารถใช้ติดตามผลและนำไปใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพของหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ ในกระบวนการยุติธรรมได้
๑๑.๕ ปรับปรุงระบบการช่วยเหลือทางกฎหมายและค่าใช้จ่ายแก่ประชาชน
ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม โดยให้เข้าถึงความเป็นธรรมได้ง่าย รวดเร็ว ส่งเสริมกองทุนยุติธรรม เพื่อคุ้มครองช่วยเหลือคนจนและผู้ด้อยโอกาส คุ้มครองผู้ถูกล่วงละเมิดสิทธิเสรีภาพ และเยียวยา ผู้บริสุทธิ์หรือได้รับผลกระทบจากความไม่เป็นธรรม โดยเน้นความสุจริตและความมีประสิทธิภาพ ของภาครัฐ ความเป็นธรรมของผู้ได้รับผลกระทบ และการไม่แอบอ้างฉวยโอกาสโดยทุจริตจาก ระบบการช่วยเหลือดังกล่าว
๑๑.๖ นำมาตรการทางการเงิน ภาษี และการป้องกันการฟอกเงินมาใช้
ในการป้องกันและปราบปรามผู้มีอิทธิพลและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ทุจริตและประพฤติมิชอบ หรือ กระทำผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ แรงงานทาส การก่อการร้ายสากล ยาเสพติด และอาชญากรรม ข้ามชาติ
ท่านประธานที่เคารพและท่านสมาชิกผู้มีเกียรติทุกท่าน
ในส่วนของภารกิจในด้านการดำเนินการให้มีการปฏิรูปในเรื่องต่าง ๆ อันเป็นหน้าที่
อีกประการหนึ่งของคณะรัฐมนตรี รัฐบาลเห็นว่า โดยที่รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวได้มอบภารกิจหลัก ในการเสนอแนะเรื่องนี้แก่สภาปฏิรูปแห่งชาติ และได้กำหนดกรอบการปฏิรูปเพื่อออกแบบ สร้างความเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ไว้แล้วอย่างน้อย ๑๑ ด้าน ได้แก่ ด้านการเมือง การบริหาร ราชการแผ่นดิน กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม การปกครองท้องถิ่น การศึกษา เศรษฐกิจ พลังงาน สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สื่อสารมวลชน สังคม และอื่น ๆ ซึ่งรวมถึงศิลปวัฒนธรรม กีฬา ค่านิยม วิถีชีวิต และการปรับตัวให้เข้ากับกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลก อีกทั้งคณะรักษาความสงบแห่งชาติได้ดำเนินการในบางเรื่องเหล่านี้ไปบ้างแล้วด้วยการจัดให้มีการระดมความคิดจากภาคส่วน ต่าง ๆ หลายครั้ง ทั้งยังมีข้อเสนอจากคณะบุคคลและองค์กรต่าง ๆ ส่งเข้ามาอีกเป็นอันมาก ขณะนี้การสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติซึ่งมีผู้สนใจเข้ารับการพิจารณาจากทั่วประเทศ มากกว่า ๗,๐๐๐ คน ก็กำลังอยู่ระหว่างการดำเนินการ และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จะได้คัดเลือกจนได้จ้านวนไม่เกิน ๒๕๐ คน เพื่อมาทำหน้าที่ออกแบบเสนอแนวทางการปฏิรูป
เสมือนเป็นสถาปนิกของประเทศ คาดว่าการสรรหาและคัดเลือกสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ จะลุล่วงจนสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ภายในต้นเดือนตุลาคมนี้
รัฐบาลจึงมีนโยบายสนับสนุนและเอื้ออ้านวยให้การปฏิบัติหน้าที่ของสภาปฏิรูป
แห่งชาติดำเนินไปได้ด้วยความเรียบร้อย รวดเร็ว มีความอิสระ ได้แนวทางที่เป็นรูปธรรม และ บังเกิดผลสัมฤทธิ์ โดยจะจัดให้มีกลไกการประสานงานและให้เจ้าหน้าที่ของรัฐตลอดจนหน่วยงาน ต่าง ๆ ให้ข้อมูลการดำเนินการที่ทำอยู่แล้วและให้ความร่วมมือกับสภาดังกล่าว ทั้งยังพร้อม ที่จะรับข้อเสนอการปฏิรูปมาพิจารณาดำเนินการภายใต้กรอบนโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน ของรัฐบาล โดยจะถือว่าการปฏิรูปด้านการเมืองเป็นงานเร่งด่วนที่สุด และจะต้องทำควบคู่กับ การจัดการปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน ทั้งเพื่อให้การปฏิรูปครั้งนี้เกิดจากข้อเสนอที่กว้างขวาง มีความหลากหลาย สมกับเป็นการสร้างประวัติศาสตร์ของประเทศ รัฐบาลจะพิจารณาจัดตั้งหรือ สนับสนุนให้มีการจัดตั้งกลุ่มปฏิรูปปัญหาบางเรื่องคู่ขนานกันไป แม้แต่บุคคลที่ได้รับการสรรหา เข้าไปถึงขั้นตอนสุดท้ายก่อนการคัดเลือกเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติตลอดจนบุคคลในจ้านวน ที่เหลืออยู่อีกหลายพันคน รัฐบาลก็จะตอบสนองเจตนารมณ์ที่ดีด้วยการสนับสนุนให้มีโอกาส ร่วมออกแบบเสนอแนวทางการปฏิรูปในรูปแบบขององค์กรและกระบวนการอื่นที่เหมาะสม เพื่อสร้างบรรยากาศการเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าใหม่ของประเทศให้ใกล้เคียงกับความต้องการ ของประชาชนให้มากที่สุด ในส่วนของการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ รัฐบาลก็พร้อมจะอ้านวย ความสะดวกและให้ความร่วมมือตามที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเสนอโดยไม่เข้าไป แทรกแซงใด ๆ
อย่างไรก็ตาม แม้สภาปฏิรูปแห่งชาติจะเป็นดุจสถาปนิกของประเทศดังกล่าว
แต่การที่จะต้องลงมือทำหรือจัดการกับปัญหาบางเรื่องก็เป็นสิ่งเร่งด่วนที่ไม่อาจรอช้าได้ รัฐบาล จึงมีนโยบายจะปฏิรูปเรื่องเหล่านั้นไปพลางก่อน เช่น การศึกษา การยกระดับคุณภาพชีวิต การลด ความเหลื่อมล้าของสังคม การแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่มีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ ประจ้าวันและการประกอบสัมมาชีพ ราคาพืชผลการเกษตร การป้องกันและปราบปรามการทุจริต การงบประมาณมีลักษณะบูรณาการและมีประสิทธิภาพ เป็นต้น เพื่อมิให้เสียโอกาสของประเทศ หรือเกิดความเสียหายแก่ประชาชนดังที่แถลงไว้แล้วในนโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน ๑๑ ด้านข้างต้นและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ทำก่อน ทำจริง ทำทันที ตามล้าดับความสำคัญเร่งด่วน เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างยั่งยืน
ท่านประธานที่เคารพ
ในส่วนที่เกี่ยวกับการส่งเสริมความสามัคคีและความสมานฉันท์ของประชาชนในชาติ
อันเป็นอีกหน้าที่หนึ่งนั้น นับแต่เมื่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติได้เข้าควบคุมอ้านาจการปกครอง ประเทศก็ได้ดำเนินการไปแล้วหลายเรื่องเช่นกัน โดยมีกองทัพ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม กองอ้านวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ศูนย์ดำรงธรรมของกระทรวงมหาดไทย จังหวัด องค์กรทางศาสนา สื่อมวลชน และภาคเอกชนเป็นจักรกลขับเคลื่อนที่สำคัญ รัฐบาลเชื่อว่า วิธีสานเสวนา เจรจาอย่างเปิดใจ ให้ความเป็นธรรม และลดความเหลื่อมล้าของสังคมดังที่ดำเนินการ มาแล้ว น่าจะเป็นแนวทางที่ถูกต้อง ซึ่งรวมแล้วก็คือ ยุทธศาสตร์เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนานั่นเอง ดังนั้น รัฐบาลจะยังคงใช้หน่วยงานและวิธีการนี้ต่อไป แต่จะขยายเครือข่ายทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
ให้เข้ามาร่วมดำเนินการกว้างขวางยิ่งขึ้น ทั้งจะขจัดเงื่อนไขอันเป็นอุปสรรคต่อการสร้างความสามัคคี ความสมานฉันท์และการอ้านวยความยุติธรรมในทุกระดับ เช่น ความเหลื่อมล้าทางเศรษฐกิจ การใช้อ้านาจรัฐกดขี่ข่มเหงราษฎร ความไม่เป็นธรรมในการแต่งตั้งโยกย้ายเจ้าหน้าที่ของรัฐ การทุจริต การเลือกปฏิบัติ เป็นต้น
ท่านประธานและท่านสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติที่เคารพ
นโยบายดังที่กระผมแถลงมานี้ เป็นกรอบใหญ่หรือแนวทางการทำงานของรัฐบาล
โดยมีเป้าหมายหรือหลักชัยอยู่ที่การสร้างสังคมที่มีการปฏิรูป มีความเป็นธรรม และไม่ทุจริต
อนึ่ง เมื่อการแถลงนโยบายสิ้นสุดลงแล้ว รัฐบาลยังจะได้ซักซ้อมความเข้าใจ
แก่บรรดาเจ้าหน้าที่ซึ่งจะเป็นผู้ปฏิบัติจริงอีกครั้งหนึ่ง และโดยที่รัฐบาลตระหนักว่านโยบายนี้จะเป็น ผลสัมฤทธิ์ต่อเมื่อมีการจัดทำแผนปฏิบัติราชการรองรับอย่างเป็นรูปธรรม โดยกำหนดหน่วยงาน ที่จะต้องปฏิบัติ ระยะเวลา วิธีการ และงบประมาณที่ชัดเจนสามารถใช้ติดตามการทำงานและ ตรวจราชการได้ รัฐบาลจะได้มอบหมายให้ทุกส่วนราชการจัดทำแผนปฏิบัติราชการเช่นว่านี้ โดยจ้ากัดกรอบเวลา ๑ ปีตามปีงบประมาณและระยะเวลาของรัฐบาล ทั้งนี้ จะให้หน่วยงานกลาง เช่น สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นผู้ติดตามและรายงานผลการดำเนินการต่อคณะรัฐมนตรีและสภานี้ ในโอกาสต่อไป ทั้งยินดีอย่างยิ่งหากสภานิติบัญญัติแห่งชาติจะควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเพื่อเป็นการติดตามนโยบายนี้อีกทางหนึ่งด้วย
เมื่อกล่าวถึงผลสัมฤทธิ์ กระผมได้ย้ำหลายครั้งเรื่องการทำก่อน ทำจริง ทำทันที
การแบ่งขั้นตอนการทำงานเป็นระยะเร่งด่วน ระยะกลาง และระยะต่อเนื่อง แต่เชื่อว่าท่านประธาน และท่านสมาชิกเข้าใจได้เช่นเดียวกับรัฐบาลว่า ภาระหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดินอันเป็นงาน ในปัจจุบันซึ่งจะต้องทำพร้อมกับการปฏิรูปด้านต่าง ๆ อันเป็นงานในอนาคต ขณะที่ยังต้องสร้าง
บรรยากาศและสภาพแวดล้อมอันเหมาะแก่การส่งเสริมความสามัคคีและความสมานฉันท์ซึ่งขาดหายไป ในอดีตมิใช่เป็นสิ่งที่ทำได้โดยง่าย ปัญหาและอุปสรรคข้างหน้ายังมีอีกมาก ยิ่งเป็นการเปลี่ยนแปลง จากสิ่งที่เคยชินและการหล่อหลอมความคิดเห็นของผู้คนที่เคยแตกต่างรุนแรงจนเกิดการต่อสู้กัน
ให้เข้ามาใกล้เคียงกัน ยิ่งเป็นเรื่องใหญ่ แต่นี่คือสิ่งที่เรียกว่าปฏิรูป รัฐบาลขอสัญญาว่าจะใช้ความวิริยะ อุตสาหะ ความอดทนอดกลั้น ความรู้ความสามารถ และความซื่อสัตย์สุจริตฝ่าฟันปัญหาและ อุปสรรคทั้งปวงให้สมกับความไว้วางใจ และเวลา ที่รัฐบาลได้รับจากท่านอย่างเต็มกำลังความสามารถ หากจะขอเพิ่มเติมจากท่านสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติและพี่น้องประชาชนทั้งหลายในบัดนี้ก็คือ ความร่วมมือ ร่วมใจ ร่วมคิด และร่วมทำ เพื่อว่าประเทศของเราจะได้ความสงบร่มเย็นเป็นสุข อยู่ในสภาพที่งดงามกลับคืนมาโดยเร็ว และก้าวต่อไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคงดังที่เราทั้งหลาย จะได้ช่วยกันออกแบบปฏิรูปต่อไป
ขอบคุณครับ |
62 | คําแถลงนโยบาย ของ
คณะรัฐมนตรี
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แถลงต่อรัฐสภา
วันพฤหัสบดีที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๖๒
--------------------------------------------------------------------------------
ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ
ตามที่ได้มีประกาศพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้กระผมดํารงตําแหน่ง
นายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๖๒ และแต่งตั้งรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒ นั้น บัดนี้ คณะรัฐมนตรีได้กําหนดนโยบายการบริหารราชการ แผ่นดินที่ยึดมั่นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยมี ความสอดคล้องกับหมวด ๕ หน้าที่ของรัฐ และหมวด ๖ แนวนโยบายแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ตลอดจนยุทธศาสตร์ชาติ พุทธศักราช ๒๕๖๑-๒๕๘๐ เรียบร้อยแล้ว คณะรัฐมนตรีจึงขอแถลงนโยบายต่อรัฐสภาให้ทราบถึงแนวทางการบริหารราชการ แผ่นดินที่รัฐบาลจะดําเนินการ เพื่อพัฒนาประเทศไทยให้ก้าวไปข้างหน้าด้วยความมั่นคง สังคมไทยมีความสงบสุข สามัคคี และเอื้ออาทร คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและมีความพร้อม ที่จะดําเนินชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑ เศรษฐกิจไทยมีความแข็งแกร่งและมีความสามารถในการแข่งขัน สูงขึ้น ควบคู่ไปกับการดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง
ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ
แม้ว่าประเทศไทยจะมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง แต่เนื่องจากขณะนี้ ปัจจัย
ทั้งภายนอกและภายในประเทศเปลี่ยนไปมาก ประเทศไทยในขณะนี้ต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่ ๆ ที่มีความซับซ้อนสูงทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ การเข้าบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล ในครั้งนี้ จึงเป็นการบริหารราชการแผ่นดินในช่วงที่สถานการณ์ต่าง ๆ มีความไม่แน่นอนในทุกมิติ ทั้งในด้านเศรษฐกิจโลกที่ยังมีความเสี่ยงจากปัจจัยหลายประการ โดยเฉพาะการค้าระหว่าง ประเทศที่มีแนวโน้มที่จะส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกและฉุดรั้งการเติบโตของเศรษฐกิจไทย ปัจจัย ด้านการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และการเข้าสู่สังคมสูงวัย รวมทั้งปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่ประเทศไทย ต้องดําเนินการตามข้อตกลงระหว่างประเทศที่ประเทศไทยได้มีข้อผูกพันไว้ในเวทีโลก
ประเทศไทยในขณะนี้ถือว่าอยู่ในช่วงระยะของการเปลี่ยนผ่านและต้องต่อสู้กับ
ปัญหาใหม่ ๆ หลายประการ อาทิ จากการต่อสู้กับความยากจนในอดีต ก็ได้แปรเปลี่ยนเป็น การต่อสู้กับความเหลื่อมล้ําในหลากรูปแบบ เช่น ความเหลื่อมล้ําทางการศึกษา ความเหลื่อมล้ํา ของโอกาส และความเหลื่อมล้ําของรายได้และทรัพย์สิน หรือแม้แต่การต่อสู้กับความไม่สงบ ภายในประเทศในอดีต มาสู่การต่อสู้กับภัยคุกคามที่ไม่มีแบบแผนในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น เครือข่ายยาเสพติดข้ามชาติ เครือข่ายการก่อการร้ายข้ามชาติ โรคระบาด และสงครามไซเบอร์ ประเด็นท้าทายข้างต้นเหล่านี้สามารถสะท้อนให้เห็นถึงความเสี่ยงของการบริหารประเทศที่รัฐบาล จะต้องเผชิญได้เป็นอย่างดี
ดังนั้น รัฐบาลนี้จึงมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาประเทศไทยให้หลุดพ้นจากกับดัก
ประเทศรายได้ปานกลาง มีการดูแลประชาชนอย่างทั่วถึง แก้ไขปัญหาปากท้องและสร้างรายได้ให้ ประชาชนให้เพียงพอต่อการดํารงชีวิตเพื่อลดความเหลื่อมล้ํา คนไทยในทุกช่วงวัยจะมีความพร้อม ทั้งในด้านหลักคิด คุณธรรม และจริยธรรม และมีศักยภาพที่จะดําเนินชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑ เราจะ ร่วมกันสร้าง “การเติบโตเชิงคุณภาพ” ไม่ใช่ “การเติบโตเชิงปริมาณ” ทั้งนี้ การบริหารราชการ แผ่นดินของรัฐบาลนี้ จะมุ่งเน้นการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ ให้ทันการเปลี่ยนแปลง เสริมสร้างความเข้มแข็งและแก้ไขปัญหาที่ยังดํารงอยู่ของภาคส่วนต่าง ๆ ภายในประเทศ เพื่อให้ ประเทศไทยมีภูมิคุ้มกันและมีความแข็งแกร่งเพียงพอที่จะเผชิญกับสถานการณ์ความไม่แน่นอน จากปัจจัยต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถก้าวไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง และมีความเข้มแข็ง ในระยะยาว นอกจากนี้ จะส่งเสริมให้ประเทศไทยมีบทบาทมากขึ้นในประชาคมโลกและมีบทบาท นําในการขับเคลื่อนความยั่งยืนในประชาคมโลกผ่านการพัฒนาบนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน อันจะทําให้ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน และเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เพื่อให้บรรลุตามวิสัยทัศน์และเป้าหมาย ที่กําหนดไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ โดยการบริหารราชการแผ่นดินในช่วง ๔ ปีของรัฐบาลจะยึดหลักการ สําคัญสี่ประการ ได้แก่
๑. น้อมนําพระปฐมบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
เป็นหลักในการบริหารประเทศ
๒. ยึดมั่นในการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น
ประมุข
๓. พัฒนาประเทศตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จ
พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
๔. บูรณาการการทํางานระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และภาคี
การพัฒนาต่าง ๆ ในลักษณะประชารัฐเพื่อพัฒนาประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน และ ทําให้ประชาชนคนไทยมีความมั่นคง อยู่ดีมีสุข
ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ
ประเทศไทยมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องผ่านวิสัยทัศน์และการขับเคลื่อนการพัฒนา
ของผู้นําประเทศในอดีต และในวันนี้วิสัยทัศน์ในการขับเคลื่อนประเทศของรัฐบาลชุดนี้ คือ “มุ่งมั่นให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วในศตวรรษท่ี ๒๑” โดยรัฐบาลได้กําหนด นโยบายในการบริหารราชการแผ่นดิน ดังนี้
นโยบายหลัก ๑๒ ด้าน ๑. การปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์
สถาบันพระมหากษัตริย์มีความสําคัญยิ่งต่อประเทศและประชาชนชาวไทย
รัฐบาลถือเป็นหน้าที่สําคัญที่จะเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์และปกป้องรักษาพระบรมเดชานุภาพ ด้วยความจงรักภักดี ซึ่งรัฐบาลมีนโยบายดําเนินการ ดังนี้
๑.๑ สืบสาน รักษา ต่อยอดศาสตร์พระราชาและโครงการ
อันเนื่องมาจากพระราชดําริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นหลักสําคัญในการบําบัดทุกข์
และบํารุงสุขให้ประชาชน และพัฒนาประเทศตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รวมทั้ง ส่งเสริมการเรียนรู้หลักการทรงงาน การนํามาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการและการพัฒนา ประเทศ เพื่อประโยชน์ในวงกว้าง รวมทั้งเผยแพร่ศาสตร์พระราชาและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงไปสู่เวทีโลกเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืน
๑.๒ ต่อยอดการดําเนินการของหน่วยพระราชทานและประชาชน
จิตอาสาพระราชทานตามแนวพระราชดําริ ให้เป็นแบบอย่างการบําเพ็ญสาธารณประโยชน์ ในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน แก้ไขปัญหาให้แก่ประชาชน และพัฒนาความเป็นอยู่ ของประชาชน โดยระดมพลังความรัก ความสามัคคี ทั้งของหน่วยงานในพระองค์ หน่วยงานราชการ ภาคเอกชน และชุมชน
๑.๓ สร้างความตระหนักรู้ เผยแพร่ และปลูกฝังให้ประชาชนมีความรู้
ความเข้าใจที่ถูกต้องและเป็นจริงเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์และพระราชกรณียกิจ เพื่อประชาชน ตลอดจนพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ เพื่อก่อให้เกิด การมีส่วนร่วมอย่างถูกต้องกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในบริบทของไทย
๒. การสร้างความมั่นคงและความปลอดภัยของประเทศ และความสงบสุข
ของประเทศ ๒.๑ รักษาและป้องกันอธิปไตยและความมั่นคงภายในของประเทศ
ทั้งทางบก ทางทะเล ทางอากาศ รวมทั้งป้องกันและปราบปรามภัยคุกคามต่าง ๆ และภัยคุกคาม รูปแบบใหม่ โดยมุ่งเน้นการสร้างอํานาจกําลังรบที่มีตัวตนและไม่มีตัวตนให้เข้มแข็ง การพัฒนา ระบบเตรียมความพร้อมแห่งชาติ ระบบงานข่าวกรอง การจัดการข้อมูลที่เป็นเท็จทางสื่อออนไลน์ และการมีส่วนร่วมของประชาชนด้านความมั่นคง รวมทั้งพัฒนาระบบการบริหารจัดการความมั่นคง แบบองค์รวมให้มีความพร้อมในการรักษาอธิปไตย ผลประโยชน์ของชาติ และร่วมพัฒนาประเทศ ในด้านต่าง ๆ
๒.๒ ปลูกจิตสํานึก เกียรติภูมิ และศักดิ์ศรีความเป็นชาติไทย การมี
จิตสาธารณะและการมีส่วนร่วมทําประโยชน์ให้ประเทศ รักษาผลประโยชน์ของชาติ ความสามัคคีปรองดองและความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ระหว่างกันของประชาชน โดยสถาบันการศึกษาสอดแทรกการปลูกฝังวินัยของคนในชาติ หลักคิดที่ถูกต้อง สร้างค่านิยม “ประเทศไทยสําคัญที่สุด” การเคารพกฎหมายและกติกาของสังคม ปรับสภาพแวดล้อมทั้งภายใน และภายนอกสถานศึกษาให้เอื้อตอ่ การมีคุณธรรม จริยธรรม และจิตสาธารณะ
๒.๓ พัฒนาและเสริมสร้างการเมืองการปกครองในระบอบ
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่มีธรรมาภิบาล ความรักชาติ และความเป็นน้ําหนึ่งใจเดียวกัน พร้อมทั้งส่งเสริมให้นักการเมืองมีคุณภาพ เป็นคนดีมีคุณธรรม มีความรู้ความสามารถ เห็นแก่ประโยชน์ของประเทศชาติมากกว่าส่วนตน เพื่อให้การบริหาร
ราชการแผ่นดินเอื้ออํานวยต่อการพัฒนาประเทศให้มีความเจรญิ ก้าวหน้าอย่างมั่นคง
๒.๔ สร้างความสงบและความปลอดภัยตั้งแต่ระดับชุมชน
โดยกําหนดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฝ้าระวัง ดูแล และรักษาความสงบเรียบร้อย ความปลอดภัย ในชีวิตและทรัพย์สิน ความสงบสุขของประชาชน และปัญหายาเสพติดในระดับชุมชนและหมู่บ้าน อย่างต่อเนื่อง และสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับภาครัฐในการสร้างความปลอดภัยในพื้นที่
๒.๕ แก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างจริงจังทั้งระบบ ด้วยการบังคับใช้
กฎหมายอย่างเคร่งครัด ปราบปรามแหล่งผลิตและเครือข่ายผู้ค้ายาเสพติด โดยเฉพาะผู้มีอิทธิพล และเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องอย่างเด็ดขาด ป้องกันเส้นทางการนําเข้าส่งออกโดยร่วมมือกับ ประเทศเพื่อนบ้าน การลดจํานวนผู้ค้าและผู้เสพรายใหม่ และให้ความรู้เยาวชนถึงภัยยาเสพติด อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งฟื้นฟู ดูแล รักษาผู้เสพผ่านกระบวนการทางสาธารณสุข
๓. การทํานุบํารุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม รัฐบาลให้ความสําคัญกับการส่งเสริมให้สถาบันทางสังคมร่วมปลูกฝังค่านิยม
และวัฒนธรรมที่ดี รวมทั้งการทํานุบํารุงศาสนา การอนุรักษ์ ฟื้นฟู ศิลปวัฒนธรรมไทย และการยอมรับ ประเพณี วัฒนธรรมที่ดีที่มีความหลากหลาย เพื่อสร้างสังคมให้มีคุณภาพ คุณธรรม และอยู่ร่วมกัน ได้อย่างมีความสุข ดังนี้
๓.๑ ส่งเสริมวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ของชาติ โดยอนุรักษ์ ฟื้นฟู
และเผยแพร่ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ศิลปะ ประเพณี ภูมิปัญญา ภาษาไทย และภาษาถิ่นที่มีอัตลักษณ์และความหลากหลายผ่านช่องทางต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจ ในเอกลักษณ์ของชาติ พร้อมทั้งสนับสนุนการสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย เพื่อกระตุ้นกระแสนิยมวัฒนธรรมไทย พัฒนาต่อยอดและสร้างมูลค่าเพิ่มในภาคธุรกิจและ อุตสาหกรรมอย่างเหมาะสม
๓.๒ ปลูกฝังค่านิยมและวัฒนธรรมที่ดีทั้งด้านคุณธรรม จริยธรรม
กตัญญู ความซื่อสัตย์ การมีวินัย เคารพกฎหมาย มีจิตสาธารณะและการมีส่วนร่วม ทําประโยชน์ให้ประเทศ และเป็นพลเมืองที่ดี โดยส่งเสริมให้สถาบันการศึกษา ภาคประชาสังคม และชุมชนเป็นฐานในการบ่มเพาะ ส่งเสริมให้ภาคเอกชนดําเนินธุรกิจอย่างมีธรรมาภิบาล ให้สื่อ มีบทบาทกระตุ้นและสร้างความตระหนักในค่านิยมที่ดี รวมถึงผลิตสื่อที่มีคุณภาพและมีความรับผิดชอบ
และเปิดพื้นที่สาธารณะให้ประชาชนได้แสดงออกอย่างสร้างสรรค์
๓.๓ ทํานุบํารุงศาสนาให้มีความเข้มแข็ง ส่งเสริมสถาบันศาสนา
ทุกศาสนาให้มีบทบาทในการเผยแผ่หลักคําสอนที่ดีงาม ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และ เสริมสร้างความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิต จิตใจ และพัฒนาสังคมให้มีความสามัคคี ปรองดอง และยั่งยืน และให้พุทธศาสนิกชนเข้าถึงแก่นแท้คําสอนของพระพุทธเจ้าและสามารถ นํามาปฏิบัติในชีวิตประจําวนั ได้
๓.๔ สร้างความรู้ ความเข้าใจในขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม
ของประเทศเพื่อนบ้าน ยอมรับและเคารพในประเพณี วัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ และ ชาวต่างชาติที่มีความหลากหลาย ในลักษณะพหุสังคมที่อยู่ร่วมกัน โดยสนับสนุนการเรียนรู้ ภาษาต่างประเทศควบคู่กับการส่งเสริม สร้างสรรค์งานศิลปวัฒนธรรมที่เป็นสากล เพื่อการเป็น ส่วนหนึ่งของประชาคมโลก
๔. การสร้างบทบาทของไทยในเวทีโลก ในโอกาสที่ประเทศไทยดํารงตําแหน่งประธานอาเซียนในปี ๒๕๖๒ รัฐบาล
จะใช้โอกาสนี้ในการสร้างบทบาทของประเทศไทยในเวทีโลก เพื่อให้ประเทศไทยมีบทบาทนํา ในการพัฒนาและสร้างความร่วมมือของประเทศต่าง ๆ เพื่อนําไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยจะ
ดําเนินการ ดังนี้
๔.๑ สร้างบทบาทที่สร้างสรรค์ของไทยในภูมิภาคและเวทีโลก ดําเนิน
ความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศในภูมิภาคต่าง ๆ และในเวทีโลกอย่างสมดุลและมีเสถียรภาพ บนพื้นฐานของหลักการการไว้เนื้อเชื่อใจกัน การเคารพซึ่งกันและกัน และการสร้างผลประโยชน์ ร่วมกัน เน้นย้ําความสําคัญของการเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์การพัฒนาและส่งเสริมบทบาท ที่สร้างสรรค์ของไทยในประชาคมโลก รวมทั้งมีบทบาทในการขับเคลื่อนการพัฒนาภายใต้ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในกรอบสหประชาชาติ
๔.๒ เสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นของอาเซียน ทั้งในด้านการเมือง
เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยเฉพาะภายใต้การเป็นประธานอาเซียนของไทย ผลักดันให้เกิด ความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน และระหว่างอาเซียนกับประเทศ คู่เจรจา เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตามแนวคิด “ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกล ยั่งยืน” และเป็น แกนกลางของอาเซียนในการสนับสนุนให้เกิดสันติสุขและความเจริญก้าวหน้าที่ย่ังยืนในภูมิภาค
๔.๓ ส่งเสริมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม ภายใต้กรอบ
ความร่วมมือต่าง ๆ เพื่อนําไปสู่การแสวงหาโอกาสทางการค้า การลงทุน องค์ความรู้และ นวัตกรรมกับประเทศที่มีศักยภาพในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก อาทิ ยุโรป ตะวันออกกลาง เอเชียใต้ และสนับสนุนการขยายธุรกิจในสาขาที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพ ส่งเสริมความร่วมมือ ทางวัฒนธรรมของไทยด้วยการส่งเสริมเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ ศิลปวัฒนธรรม เพื่อสร้างการรับรู้ ที่กว้างขวางมากขึ้นในเวทีโลก
๔.๔ ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศด้านความมั่นคง เพื่อรับมือ
กับภัยความมั่นคงในรูปแบบใหม่ อาทิ ความมั่นคงทางไซเบอร์ การค้ามนุษย์ อาชญากรรมข้ามชาติ ความมั่นคงปลอดภัยทางทะเล การโยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติ และปัญหาข้ามชาติที่ส่งผลกระทบ ต่อวิถีชีวิตของคนไทยและความมั่นคงของมนุษย์
๔.๕ ขับเคลื่อนงานการทูตเชิงรุกเพื่อประชาชน เพื่อคุ้มครอง
ผลประโยชน์ของคนไทย แรงงานไทย และภาคเอกชนไทยในต่างประเทศ ส่งเสริมบทบาทของ ชุมชนไทยในการร่วมเชิดชูผลประโยชน์ของไทยในต่างประเทศ
ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ
ถึงแม้ว่าในปัจจุบันเสถียรภาพทางการเงินการคลังของประเทศไทยอยู่ในเกณฑ์ดี
อย่างไรก็ตาม ปัญหาความไม่สมดุลระหว่างรายได้และรายจ่ายยังคงเป็นปัญหาที่สะสมมาต่อเนื่อง และมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากรัฐบาลมีความจําเป็นต้องลงทุนเพื่อการพัฒนา และวางรากฐานของการพัฒนาประเทศในระยะยาว ขณะที่รัฐบาลจะมีภาระด้านการสาธารณสุข และสวัสดิการสังคมเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งความไม่สมดุลดังกล่าวอาจสะสมเป็นความเสี่ยงทางการคลัง ในอนาคตได้ ดังนั้น เพื่อรักษาเสถียรภาพทางการคลังของประเทศ รัฐบาลจําเป็นจะต้องเพิ่ม
ประสิทธิภาพการบริหารจัดการรายได้และรายจ่ายภาครัฐ ในขณะเดียวกันจําเป็นจะต้องรักษา เสถียรภาพในระบบการเงินเพื่อสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมการลงทุนของภาคธุรกิจและการจับจ่าย ใช้สอยของภาคครัวเรือน โดยมีนโยบายที่สําคัญ ดังนี้
๕. การพัฒนาเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของไทย ๕.๑ เศรษฐกิจมหภาค การเงินและการคลัง
๕.๑.๑ ดําเนินนโยบายการเงินการคลังเพื่อให้เศรษฐกิจไทย
สามารถตอบสนองต่อความผันผวนของเศรษฐกิจโลก โดยการบริหารเศรษฐกิจมหภาคให้มี เสถียรภาพ เอื้ออํานวยต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในภาพรวมและการเจริญเติบโตของธุรกิจ ทุกระดับ สนับสนุนการนําเทคโนโลยีทางการเงินเข้ามาให้บริการและพัฒนาขีดความสามารถสถาบัน การเงินไทย เพื่อรองรับการแข่งขันและการเปลี่ยนแปลงกฎกติกาสากล เร่งขยายการเข้าถึงบริการ ทางการเงินควบคู่ไปกับการให้ความรู้ทางการเงิน ตลอดจนสนับสนุนการพัฒนาระบบฐานข้อมูล เพื่อเพิ่มโอกาสในการได้รับสินเชื่อและเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารสินเชื่อสําหรับผู้มีรายได้น้อย และผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม
๕.๑.๒ กํากับดูแลวินัยการเงินการคลัง โดยติดตามกํากับดูแล
ให้หน่วยงานภาครัฐดําเนินการตามกฎหมายวินัยการเงินการคลังของรัฐอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะการ ดําเนินกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการที่ก่อให้เกิดภาระต่องบประมาณหรือภาระทางการคลังในอนาคต โดยจัดทําประมาณการรายจ่ายแหล่งเงินที่ใช้ตลอดระยะเวลาดําเนินการ และประโยชน์ที่จะได้รับ การรายงานทางการเงินประจําปี เพื่อแสดงถึงความรับผิดชอบในการใช้จ่ายเงินงบประมาณแผ่นดิน รวมถึงการกําหนดระยะเวลาสิ้นสุดที่ชัดเจนในการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่นักลงทุนในพื้นที่ และอุตสาหกรรมที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย
๕.๑.๓ ปฏิรูปโครงสร้างรายได้ภาครัฐ เร่งปรับโครงสร้างการจัดเก็บ
รายได้ภาครัฐ ทั้งในส่วนของรายได้ภาษีและรายได้จากทรัพย์สินของรัฐ ผ่านการขยายฐานภาษี การปรับปรุงอัตราภาษี การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์และฐานข้อมูล ขนาดใหญ่ รวมถึงศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งหน่วยงานจัดเก็บภาษีกึ่งอิสระ การทบทวน ค่าลดหย่อนหรือมาตรการภาษีที่ไม่จําเป็นและไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจ การปราบปรามผู้หลบเลี่ยงภาษี และการพัฒนาภาษีประเภทใหม่ ๆ ให้สอดรับกับเทคโนโลยี และการค้าในยุคดิจิทัล รวมถึงการเร่งบริหารจัดการทรัพย์สินของรัฐให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศ เพื่อให้ระบบการจัดเก็บรายได้ของรัฐช่วยสรา้ งความเท่าเทียม ความเป็นธรรม และลดความเหลื่อมลา้ํ ตลอดจนสนับสนุนให้ภาคเอกชนมีความสามารถในการแข่งขัน เพื่อส่งเสริมการขยายตัวทางเศรษฐกิจ รักษาความสมดุลและความยั่งยืนทางการคลัง
๕.๑.๔ ปฏิรูประบบการออม โดยจัดให้มีระบบการออม
เพื่อการเกษียณอายุอย่างทั่วถึง พัฒนาตลาดเงินและตลาดทุนให้เป็นแหล่งเงินทุนแก่ผู้ประกอบการ และเป็นช่องทางการออมของประชาชน พร้อมทั้งพัฒนาเครื่องมือทางการเงินที่จะส่งเสริม ให้คนไทยทุกคนเข้าสู่ระบบการออมและการลงทุนระยะยาวให้สามารถรองรับพฤติกรรม และวัฏจักรชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป พัฒนาระบบสถาบันการเงินให้มีเสถียรภาพและลดต้นทุน พัฒนาขีดความสามารถในการดําเนินงานขององค์กรการเงินชุมชนและสหกรณ์ทุกระดับ และพัฒนาความรู้พื้นฐานทางการเงินแก่ประชาชน ตลอดจนการกํากับดูแลระบบสถาบันการเงิน ให้มีความมั่นคง
๕.๑.๕ สร้างแพลตฟอร์มเพื่อใช้ในการออกแบบนวัตกรรม
เชิงนโยบายที่มีเครื่องมือและเทคนิคสมัยใหม่ต่าง ๆ พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้เชี่ยวชาญทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการออกแบบนโยบายและมาตรการ เพื่อให้สามารถกําหนดนโยบายที่สามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปได้ อย่างทันท่วงที
๕.๒ พัฒนาภาคอุตสาหกรรม
๕.๒.๑ พัฒนาอุตสาหกรรมภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ
เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว [Bio-Circular-Green (BCG) Economy] โดยนําความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาพัฒนาต่อยอดและสร้างมูลค่าเพิ่ม จากทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรมในการผลิตสินค้าเกษตร อุตสาหกรรม และบริการของท้องถิ่น ปรับระบบการบริหารจัดการการผลิตและระบบโลจิสติกส์ ส่งเสริมการใช้พลังงาน ทดแทน การใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาเพิ่มมูลค่า การบริหารจัดการของเสีย อุตสาหกรรมและขยะแบบคลัสเตอร์ระหว่างอุตสาหกรรมและชุมชนในแต่ละพื้นที่ของจังหวัด กลุ่มจังหวัด เพื่อลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ พร้อมทั้งให้ความสําคัญกับกฎระเบียบ ทางด้านสิ่งแวดล้อมในระดับประเทศและระหว่างประเทศ
๕.๒.๒ พัฒนาอุตสาหกรรมไทยให้สามารถตอบสนอง
การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีหรือแนวโน้มการค้าโลก โดยคํานึงถึงศักยภาพ ความสามารถในการแข่งขัน แนวโน้มความต้องการของตลาดในประเทศและตลาดโลก เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยมีระดับ ผลิตภาพที่สามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก สร้างนวัตกรรมใหม่ที่มีมูลค่าสูงในอุตสาหกรรมที่มี ศักยภาพ และอุตสาหกรรมอนาคต อาทิ อุตสาหกรรมต่อเนื่องจากการพัฒนาระบบคมนาคมของ ประเทศ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมความมั่นคงของประเทศ อุตสาหกรรมอวกาศ พร้อมทั้งให้ความสําคัญกับการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม ตลอดห่วงโซ่อุปทานให้สามารถใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เพื่อยกระดับ ความสามารถในการแข่งขัน
๕.๒.๓ สร้างกลไกสนับสนุนการพัฒนาขีดความสามารถของ
ผู้ประกอบการรายใหม่ โดยการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเข้าถึงเทคโนโลยี การวิจัย และนวัตกรรม การปรับปรุงกฎระเบียบให้เอื้อต่อการพัฒนาผู้ประกอบการ การเข้าถึงแหล่งเงิน การพัฒนาศูนย์ทดสอบหรือวิจัยและออกแบบที่ได้มาตรฐานสากล และการใช้สถาบันการศึกษาที่มีอยู่
ในพื้นที่มาสนับสนุนด้านการวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มคุณค่าใหก้ับสินค้าและบริการ
๕.๒.๔ พัฒนาระบบและกลไกภาครัฐและสภาพแวดล้อมให้มี
ประสิทธิภาพในการสนับสนุนผู้ประกอบการ โดยการจัดทําแพลตฟอร์มที่เหมาะสมสําหรับ กลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม และกลุ่มวิสาหกิจเริ่มต้นในการสร้างมูลค่าเพิ่ม ของผลิตภัณฑ์ด้วยการใช้นวัตกรรม การพัฒนาคุณภาพมาตรฐาน การตลาด และการบัญชี เพิ่มประสิทธิภาพของระบบบ่มเพาะผู้ประกอบการและสถาบันเฉพาะทางต่าง ๆ ให้สามารถ เป็นกลไกหลักที่เข้มแข็งในการร่วมมือกับสถาบันการศึกษา เพื่อพัฒนาและบ่มเพาะศักยภาพ ผู้ประกอบการในการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์
๕.๓ พัฒนาภาคเกษตร ๕.๓.๑ รักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรและรายได้ให้กับ
เกษตรกรในสินค้าเกษตรสําคัญ อาทิ ข้าว ยางพารา มันสําปะหลัง ปาล์ม อ้อย และข้าวโพด โดยผ่านเครื่องมือและมาตรการที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพ ไม่เป็นภาระกับงบประมาณแผ่นดิน เกินสมควร จัดให้มีระบบประกันภัยสินค้าเกษตร การพัฒนาระบบตลาดที่เชื่อมโยงผลผลิต ของเกษตรกรถึงผู้ประกอบการแปรรูปและผู้บริโภคอย่างเป็นธรรม การใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือ ในการขยายและเข้าถึงตลาดในรูปแบบต่าง ๆ การอํานวยความสะดวกทางการค้า และการพัฒนา ระบบโลจิสติกส์การเกษตรที่มีประสิทธภิ าพ
๕.๓.๒ ลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตที่เหมาะสม
และไม่ก่อให้เกิดภาระทางการเงินการคลังของภาครัฐ โดยจัดให้มีมาตรการที่เกี่ยวข้องกับ การเพิ่มรายได้และลดต้นทุนการเกษตรครบวงจร ตั้งแต่การปรับโครงสร้างต้นทุนการผลิต อาทิ เมล็ดพันธุ์ พื้นที่เพาะปลูก ปุ๋ย เครื่องจักรกลและอุปกรณ์การเกษตร แหล่งน้ํา และระบบไฟฟ้า เพื่อการเกษตร การลดภาระหนี้สินโดยให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบท่ีมีต้นทุนต่ํา การลดความเสี่ยงจากราคาพืชผลทางการเกษตร การพัฒนาทักษะอาชีพเสริมรายได้ รวมทั้ง การวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีการเกษตรเพื่อเพิ่มผลผลิต และการปรับเปลี่ยนการผลิตให้เหมาะสม กับฐานทรัพยากรในพื้นที่และความต้องการของตลาด นําระบบข้อมูลสารสนเทศการเกษตร ระบบ แผนที่เกษตรเพื่อการจัดเขตพื้นที่เกษตรกรรม (zoning) และส่งเสริมกลไกอาสาสมัครเกษตร หมู่บ้าน รวมทั้งระบบการบริหารจัดการเชิงรุกมาใช้ในการบริหารจัดการการผลิตสินค้าเกษตร ให้เหมาะสมกับพื้นท่ี
๕.๓.๓ พัฒนาองค์กรเกษตรกรและเกษตรกรรุ่นใหม่ โดยเพิ่ม
ทักษะการประกอบการและพัฒนาความเชื่อมโยงของกลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และสหกรณ์ ในทุกระดับ โดยเฉพาะด้านการตลาด การค้าออนไลน์ ระบบบัญชี เพื่อขยายฐานการผลิตและ ฐานการตลาดของสถาบันเกษตรกรให้เข้มแข็ง มีความสามารถในการแข่งขัน รวมทั้งการพัฒนา
เกษตรกรรุ่นใหม่ไปสู่เกษตรกรอัจฉริยะ เพื่อการพัฒนาภาคเกษตรได้อย่างมั่นคงต่อไปในอนาคต
๕.๓.๔ ส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตร
เพื่อยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตให้กับเกษตรกร โดยใช้ประโยชน์จากฐานความหลากหลาย ทางชีวภาพ การลด ละ เลิกใช้ยาปราบศัตรูพืชโดยเร็ว โดยต้องจัดหาสารทดแทนที่มีประสิทธิภาพ เพียงพอและเป็นที่ยอมรับของเกษตรกร การส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรที่มีมูลค่าเพิ่มและโอกาส ทางเศรษฐกิจ อาทิ เกษตรอินทรีย์ เกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น เกษตรปลอดภัย เกษตรชีวภาพ และ เกษตรแปรรูป เพื่อต่อยอดไปสู่เกษตรอุตสาหกรรม ส่งเสริมการวิจัยพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี ในการพัฒนาสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ รวมทั้งส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรให้ได้คุณภาพ มาตรฐานและความปลอดภัย
๕.๓.๕ ดูแลเกษตรกรผู้มีรายได้น้อยให้สามารถเข้าถึงและ
ใช้ประโยชน์ในที่ดินทํากิน แหล่งเงินทุน โครงสร้างพื้นฐาน และปัจจัยการผลิตต่าง ๆ รวมทั้ง ดูแลและลดความเสียหายจากการทําการเกษตรในพ้ืนที่ประสบภัยทางธรรมชาติซ้ําซาก โดยกําหนดเขตพื้นที่เกษตรกรรม (zoning)
๕.๓.๖ ส่งเสริมการปลูกไม้มีค่าเป็นพืชเศรษฐกิจ โดยการสนับสนุน
พันธุ์กล้าไม้ และให้ความรู้ในการบริหารจัดการเชิงพาณิชย์อย่างเหมาะสม ทั้งในด้านการปลูก
บํารุงรักษา ดูแล และการแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ซึ่งจะช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรอีกทางหนึ่ง
๕.๓.๗ ส่งเสริมการทําปศุสัตว์ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น
โดยส่งเสริมการตลาด วิจัยและพัฒนาพันธุ์สัตว์เศรษฐกิจ และสัตว์พื้นบ้าน อาทิ โคเนื้อ แพะ และแกะ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม พัฒนามาตรฐานการผลิตและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ยอมรับ ในระดับสากลและสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งสนับสนุนการส่งออกผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไปสู่ตลาดโลก
๕.๓.๘ ฟื้นฟูและสนับสนุนอาชีพการทําประมงให้เกิดความยั่งยืน
บนพื้นฐานของการรักษาทรัพยากรทางการประมงและทรัพยากรทางทะเลให้มีความสมบูรณ์ อย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มขีดความสามารถการทําประมงอย่างถูกต้องในกลุ่มประมงพื้นบ้าน และเชิงพาณิชย์ การเข้าถึงแหล่งทุนเพื่อเพิ่มศักยภาพในการสร้างรายได้และลดต้นทุนการทําประมง ลดอุปสรรคในการประกอบอาชีพ ส่งเสริมการรวมกลุ่มประมงชายฝั่งและประมงพื้นบ้าน เพื่อสร้างพลังในการประกอบอาชีพควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ในพื้นที่ และเร่งพัฒนาการเพาะเลี้ยง ในทะเลที่สอดคล้องกับแผนการใช้ประโยชน์เชิงพื้นที่ รวมถึงการนําเทคโนโลยีและนวัตกรรม จากภูมิปัญญาในการแปรรูปมาเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์และสินค้าประมง
๕.๔ พัฒนาภาคการท่องเที่ยว ๕.๔.๑ พัฒนาคุณภาพและความหลากหลายของแหล่งท่องเที่ยว
โดยส่งเสริมพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยวคุณภาพระดับโลกท่ีมีเอกลักษณ์โดดเด่น บนพื้นฐานของวัฒนธรรมไทย การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการจัดการ ขยะและของเสียเพื่อให้เกิดความยั่งยืนของระบบนิเวศ สิ่งแวดล้อมและชุมชนท้องถิ่น รวมทั้ง พัฒนาการท่องเที่ยวในรูปแบบหลายประเทศจุดมุ่งหมายเดียวกัน การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ในเชิงกลุ่มพื้นที่เมืองหลักและเมืองรองที่มีศักยภาพ การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม การท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ การท่องเที่ยวเชิงกีฬาและนันทนาการ
การท่องเที่ยวเรือสําราญ และการท่องเที่ยวเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน
๕.๔.๒ ดึงดูดนักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ รายได้สูง โดยมุ่งเน้น
ขยายตลาดคุณภาพพร้อมกับรักษาตลาดเดิม รวมทั้งนําระบบดิจิทัลมาใช้ในการส่งเสริม การท่องเที่ยว เพื่อให้นักท่องเที่ยวสามารถเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๕.๔.๓ พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานธุรกิจบริการที่เกี่ยวเนื่อง
กับการท่องเที่ยว อาทิ ธุรกิจสปาและแพทย์แผนไทย ผลิตภัณฑ์ยาและสมุนไพรไทย เพื่อสร้าง ความหลากหลายของสินค้า และสร้างโอกาสการขยายฐานการผลิตและการตลาดในระดับภูมิภาค ตลอดจนส่งเสริมธุรกิจบริการที่มีศกั ยภาพสู่ระดับสากล
๕.๔.๔ ดูแลความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวอย่างเข้มงวด
โดยเพิ่มมาตรฐานการดูแลรักษาความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยวจากอาชญากรรม การฉ้อฉล และอุบัติเหตุที่เกิดจากความบกพร่องของผู้ประกอบการ เพิ่มความเข้มงวดในการดูแลรักษา ความปลอดภัยและให้บริการนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะบริเวณแหล่งท่องเที่ยวทางน้ําหรือทางทะเล เกาะ หมู่เกาะ ถ้ํา และน้ําตก อํานวยการและบูรณาการความช่วยเหลือนักท่องเที่ยวให้มีประสิทธิภาพ
๕.๔.๕ ส่งเสริมให้เกิดการกระจายรายได้จากธุรกิจท่องเที่ยว
สู่ชุมชน โดยพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจให้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาความเชื่อมโยงระหว่างธรุ กิจหลัก ธุรกิจรอง ธุรกิจสนับสนุน และการพัฒนาเชื่อมโยงในเชิงกลุ่มพื้นที่ที่มีศักยภาพ รวมทั้งพัฒนา ทักษะและองค์ความรู้ของท้องถิ่น ชุมชน และสถาบันการศึกษา เพื่อสนับสนุนให้มีส่วนร่วม
ในการพัฒนาและทําธุรกิจการท่องเท่ียวในพื้นที่ให้มากขึ้น อาทิ การพัฒนายุวมัคคุเทศก์
๕.๕ พัฒนาการค้าการลงทุนเพื่อมุ่งสู่การเป็นชาติการค้า การบริการ
และการลงทุนในภูมิภาค ๕.๕.๑ ส่งเสริมการค้าชายแดนและแก้ไขปัญหาสินค้าชายแดน
เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากการเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐาน และพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ ชายแดนที่ได้พัฒนาไว้แล้ว และให้บริการการดําเนินธุรกิจแก่นักลงทุนและผู้ประกอบการขนาดกลาง
และขนาดย่อมแบบเบ็ดเสร็จให้เข้าไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน โดยระยะแรกจะมุ่งเน้น สนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทยแสวงหาโอกาสทางการค้า การลงทุน หรือขยายฐานการผลิต และการตลาดในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน ในรูปแบบฐานการผลิตและตลาดร่วม เพื่อใช้ประโยชน์ จากแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดีอย่างต่อเนื่องและแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ตลอดจนความได้เปรียบของค่าจ้างแรงงาน
๕.๕.๒ ส่งเสริมธุรกิจการค้าปลีกพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) ข้ามพรมแดน โดยส่งเสริมการรวมกลุ่มเพื่อพัฒนาสินค้าและบริการ ของผู้ประกอบการรายย่อยให้เหมาะสมสําหรับการค้าออนไลน์ข้ามพรมแดน เพื่อเพิ่มช่องทาง การตลาดให้ผู้บริโภคในประเทศเพื่อนบ้านสามารถเข้าถึงสินค้าและบริการได้โดยตรง พร้อมทั้ง พัฒนาแพลตฟอร์มที่เกี่ยวข้องกับการทําธุรกรรมผ่านระบบดิจิทัลทั้งทางการตลาด การเงิน และระบบโลจิสติกส์
๕.๕.๓ ปรับปรุงระบบบริหารจัดการการนําเข้าส่งออกสินค้า
บริเวณด่านชายแดน เร่งรัดการจัดรูปแบบการพัฒนาและบูรณาการการบริหารจัดการพื้นที่ ด่านชายแดนสําคัญ เช่น ด่านศุลกากร ด่านปศุสัตว์ คลังสินค้า และพื้นที่ต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถ สนับสนุนการค้า การลงทุน และการอํานวยความสะดวกทางการค้า โดยลดการใช้ดุลยพินิจ ของเจ้าหน้าที่รัฐให้น้อยที่สุด รวมทั้งสนับสนุนผู้ประกอบการในพื้นที่ให้สามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม จากกิจกรรมนําเข้าส่งออกสินค้าบริเวณด่านชายแดน
๕.๖ พัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐาน
๕.๖.๑ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมให้ครอบคลุมพื้นที่
ทั่วประเทศและสามารถรองรับการขนส่งและการเดินทางต่อเนื่องหลายรูปแบบได้อย่าง ไร้รอยต่อ สานต่อการพัฒนารถไฟความเร็วสูง และเริ่มต้นการปรับปรุงระบบรถไฟขนาดราง ๑ เมตร ให้เป็นระบบไฟฟ้าเพื่อสนับสนุนให้เป็นโครงข่ายหลักในการเดินทางและขนส่งสินค้าของประเทศ และให้ความสําคัญกับการบูรณาการการพัฒนาระบบขนส่งกับการพัฒนาพื้นที่และเมือง การพัฒนาขีดความสามารถของผู้ให้บริการภาคขนส่งและอุตสาหกรรมท่ีเกี่ยวเนื่อง การเชื่อมโยง แหล่งท่องเที่ยว การกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ ด้านความปลอดภัยทางถนนที่สอดประสานกันระหว่างระบบการเตือนภัย การช่วยเหลือกู้ภัย และการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัยที่มีประสิทธิภาพ
๕.๖.๒ แก้ไขปัญหาจราจรติดขัดในพื้นที่เขตเมือง โดยการพัฒนา
ระบบขนส่งมวลชนสาธารณะที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับศักยภาพของแต่ละพื้นที่ โดยเฉพาะเมืองหลักในภูมิภาค การนําระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการควบคุม สั่งการจราจรและวางแผนการเดินทาง การกวดขันวินัยจราจร และการจัดระเบียบที่จอดรถ โดยเฉพาะการจัดให้มีที่จอดรถใต้ดินและบนดินเพิ่มเติม ทั้งของภาครัฐและภาคเอกชน พร้อมทั้ง พัฒนาทางเท้า ทางจักรยาน และสิ่งอํานวยความสะดวกต่าง ๆ ให้สามารถรองรับความต้องการเดินทาง เพื่อคนทั้งมวล (Universal Design) เพื่อให้ประชาชนมีทางเลือกในการเดินทางได้อย่างท่ัวถึงและรวดเร็ว
๕.๖.๓ เสริมสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานให้สามารถพึ่งพา
ตนเองได้ โดยกระจายชนิดของเชื้อเพลิงทั้งจากฟอสซิลและจากพลังงานทดแทนอย่างเหมาะสม สนับสนุนการผลิตและการใช้พลังงานทดแทนตามศักยภาพของแหล่งเชื้อเพลิงในพื้นที่ เปิดโอกาส ให้ชุมชนและประชาชนมีส่วนร่วมในการผลิตและบริหารจัดการพลังงาน ส่งเสริมให้มีการใช้น้ํามัน ดีเซลหมุนเร็ว B20 และ B100 เพื่อเพิ่มการใช้น้ํามันปาล์มดิบ และจัดทําแนวทางการใช้มาตรฐาน น้ํามัน EURO5 ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านพลังงาน อาทิ เทคโนโลยีระบบไฟฟ้า อัจฉริยะ เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า และระบบกักเก็บพลังงาน รวมทั้งสนับสนุนให้เกิดโครงสร้าง ตลาดไฟฟ้ารูปแบบใหม่ อาทิ แพลตฟอร์มตลาดกลางซื้อขายพลังงานไฟฟ้า ตลอดจนโครงสร้าง อัตราค่าไฟฟ้ารูปแบบใหม่ อาทิ ระบบหักลบหน่วยไฟฟ้าสุทธิ พร้อมทั้งปรับปรุงระบบการกํากับ ดูแลกิจการด้านพลังงานให้มีการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม ราคาพลังงานสะท้อนต้นทุน ที่แท้จริง ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและรูปแบบธุรกิจด้านพลังงานในอนาคต ดําเนินการให้มีการสํารวจและค้นหาแหล่งพลังงานใหม่ และร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน ในการพัฒนาพลังงาน
๕.๖.๔ ยกระดับโครงข่ายระบบไฟฟ้าและพลังงานให้มี
ความทันสมัย ทั่วถึง เพียงพอ มั่นคง และมีเสถียรภาพ โดยจัดทําแผนการพัฒนาระบบโครงข่าย ไฟฟ้าอัจฉริยะทั้งระบบให้สามารถรองรับเทคโนโลยีด้านพลังงานสมัยใหม่ในอนาคต มุ่งเน้น การพัฒนาโครงข่ายภายในประเทศให้เชื่อมต่อระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันตก ตะวันออก เหนือ และใต้ เพื่อให้สามารถบริหารจัดการระบบไฟฟ้าและพลังงานระหว่างพื้นที่ต่าง ๆ ได้อย่างมั่นคง และมีประสิทธิภาพโดยเฉพาะในภาคการผลิต
๕.๖.๕ พัฒนาระบบบริหารจัดการน้ําประปา โดยพัฒนาแหล่งน้ําดิบ
และใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการผลิตและการบริหารจัดการระบบประปาเพื่อลดน้ําสูญเสีย พัฒนาคุณภาพน้ําประปา ขยายเขตการจ่ายน้ําประปาให้ครอบคลุมพื้นที่ภูมิภาคและแหล่งท่องเที่ยว รวมทั้งพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ และสร้างจิตสํานึกของประชาชนในการใช้น้ําอย่างประหยัด
๕.๖.๖ แก้ปัญหาระบบระบายน้ําและระบบบําบัดน้ําเสีย
โดยพัฒนาระบบระบายน้ํา ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและเครื่องจักรอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ให้สามารถระบายน้ําออกจากพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งรณรงค์ให้ประชาชน ไม่ทิ้งขยะหรือของเหลือใช้ลงในท่อระบายน้ํา แม่น้ํา และทะเล รวมทั้งพัฒนาระบบรวบรวมและ บําบัดน้ําเสียในเขตเมือง โดยใช้หลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่ายในการบริหารจัดการน้ําเสีย
๕.๗ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลและการมุ่งสู่การเป็นประเทศ
อัจฉริยะ
๕.๗.๑ รักษาคลื่นความถี่และสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียม
อันเป็นสมบัติของชาติให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชน และลงทุนในอินเทอร์เน็ต เกตเวย์ และเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายในระบบ 5G เพื่อให้การติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นไปอย่างต่อเนื่อง รองรับการเชื่อมต่อจํานวนมากและแอปพลิเคชันต่าง ๆ ได้อย่างมีเสถียรภาพ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ และสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ สนับสนุนนโยบายด้านสังคม อาทิ การบริการด้านการศึกษา และการบริการด้านสาธารณสุข ตลอดจนสร้างโอกาสการพัฒนาอาชีพของประชาชน
๕.๗.๒ พัฒนาการอํานวยความสะดวกเพื่อสนับสนุนธุรกิจ
การค้า การนําเข้าส่งออก และโลจิสติกส์ในรูปแบบดิจิทัล โดยพัฒนาการค้าสู่รูปแบบพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ให้สามารถเชื่อมโยงการค้า การชําระเงิน และการขนส่งสู่ระบบออนไลน์ และให้ ความสําคัญกับการใช้ประโยชน์จากการแบ่งปันทรัพยากรหรือพื้นที่ในการขนส่งสินค้า พร้อมทั้ง นําเทคโนโลยีนวัตกรรมเข้ามาใช้ในการดําเนินงาน อาทิ ระบบโครงข่ายในการเก็บบัญชีธุรกรรม ออนไลน์ ระบบปัญญาประดิษฐ์ ระบบอินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง (Internet of Things: IoT) และระบบข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ตลอดจนเร่งรัดการพัฒนาระบบเชื่อมโยงระบบเครือข่ายข้อมูล ในกระบวนการนําเข้าส่งออกและโลจิสติกส์ในลักษณะเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียวให้สมบูรณ์ และสอดคล้องกับมาตรฐานสากล
๕.๗.๓ ส่งเสริมการค้าในรูปแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเพิ่ม
โอกาสให้ผู้ประกอบการรายย่อยทั้งในภาคการผลิตและบริการในการเข้าถึงตลาด โดยการสร้าง ความเชื่อมั่นระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย และจูงใจให้เกิดการค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ด้วยการทบทวน กฎหมายเพื่อยกระดับมาตรฐานด้านความปลอดภัยไซเบอร์ การคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้ง การแก้ไขปัญหาการดําเนินธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศให้มีประสิทธิภาพ ส่งเสริม ความสามารถของผู้ประกอบการไทยที่ให้บริการแพลตฟอร์มการค้าออนไลน์ พัฒนาอุตสาหกรรม และบริการที่เกี่ยวข้อง อาทิ โลจิสติกส์ และระบบการชําระเงิน ให้ได้มาตรฐานสากล เชื่อมโยง และบูรณาการฐานข้อมูลระหว่างหน่วยงานของรัฐเพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการ รวมถึงส่งเสริมการกํากับดูแลท่ีมีมาตรฐานและเอื้อต่อการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการทุกขนาด ตลอดจนช่วยเสริมสร้างโอกาสทางธุรกิจของกิจการบริษัทการค้าระหว่างประเทศในประเทศไทย รวมทั้งยกระดับมาตรฐานร้านค้าปลีกให้เข้าสู่การค้าออนไลน์ เพื่อลดผลกระทบจากพฤติกรรม ของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป
๕.๘ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
การวิจัยและพัฒนา และนวัตกรรม ๕.๘.๑ พัฒนาสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศที่เอื้อต่อ
การส่งเสริมวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา และนวัตกรรม ที่สามารถเชื่อมโยงกัน ได้อย่างมีประสิทธิภาพและส่งผลต่อการพัฒนาต่อยอดจากผลการวิจัยให้นําไปใช้ในเชิงพาณิชย์ได้ โดยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จําเป็น และมีกลไกดําเนินการที่บูรณาการทั้งระบบ เพื่อสนับสนุน การพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการตลอดห่วงโซ่มูลค่าให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันที่สูงขึ้น พร้อมทั้งพัฒนาระบบข้อมูลและตวั ชี้วัดภายใต้กรอบขีดความสามารถในการแข่งขันด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและพัฒนา และนวัตกรรม
๕.๘.๒ สร้างระบบจัดการข้อมูลเพื่อรองรับการบริหารจัดการ
งานวิจัยอย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านการบูรณาการและเชื่อมโยงระบบงานวิจัยของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเป็นเอกภาพในการส่งเสริมการดําเนินงานด้านการวิจัยที่ต่อยอด ไปสู่การสร้างนวัตกรรมของประเทศ รวมทั้งการปรับปรุงกฎระเบียบให้เอื้อต่อการต่อยอดงานวิจัย สู่การเพิ่มมูลค่าในเชิงพาณิชย์
๕.๘.๓ เสริมสร้างการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐาน
ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด มุ่งเน้นการพัฒนาระบบ คุณภาพและมาตรฐานที่เป็นปัจจัยนําไปสู่การสร้างงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีมูลค่าสูง
และสามารถนําไปใช้ได้จริง และใช้วัตถุดิบจากภายในประเทศให้มากที่สุด
๕.๘.๔ สนับสนุนการพัฒนาโรงงาน ห้องปฏิบัติการต้นแบบ
ที่เป็นโครงสร้างพ้ืนฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรมในระดับต้นน้ํา โดยเฉพาะโรงงานและห้องปฏิบัติการนําร่อง ที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการในการพัฒนา เศรษฐกิจภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว [Bio-Circular-Green (BCG) Economy] และสนับสนุนให้เกิดการลงทุนจากภาคธุรกิจเอกชน ไปพร้อมกัน
๕.๙ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคใหม่ ๕.๙.๑ พัฒนาระบบนิเวศเพื่อรองรับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
ยุคใหม่ อาทิ เศรษฐกิจแบบแบ่งปัน (Sharing Economy) เศรษฐกิจดิจิทัล เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว เศรษฐกิจสร้างสรรค์ และเศรษฐกิจวัฒนธรรม พร้อมทั้ง ปรับปรุงกฎหมายและระเบียบที่เก่ียวข้องเพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการยุคใหม่สามารถพัฒนา แอปพลิเคชัน นวัตกรรม สินค้าและบริการที่หลากหลายเพื่อตอบสนองต่อความต้องการ ของผู้บริโภคและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เพื่อสร้างคุณค่าเพิ่ม ให้แก่ผลิตภัณฑ์และก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม
๕.๙.๒ เร่งรัดพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการขนาดกลางและ
ขนาดย่อมทั้งในภาคการผลิตและบริการให้สามารถแข่งขันได้ โดยการพัฒนาทักษะความเป็น ผู้ประกอบการให้สามารถใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในการเพ่ิมประสิทธิภาพ การดําเนินธุรกิจ สนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุนและตลาด รวมทั้งสนับสนุนการเติบโตของ วิสาหกิจเริ่มต้น โดยพัฒนาระบบนิเวศที่เอื้ออํานวยต่อการดําเนินธุรกิจ โดยเฉพาะในด้านสิทธิประโยชน์ แหล่งเงินทุน แรงงานคุณภาพ กฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้ประกอบการมี ความสามารถในการแข่งขันและขยายตลาดสู่ต่างประเทศได้ และเป็นแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจใหม่ ของประเทศไทยในระยะต่อไป
๕.๙.๓ ส่งเสริมเยาวชนและบ ทบ าทสตรีในการเป็ น
ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมยุคใหม่ โดยการสนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรม ผ่านการศึกษา และการเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงเทคโนโลยี แหล่งเงินและการระดมทุน เพื่อกระตุ้นและเปิดโอกาสให้เยาวชนสามารถนําเสนอแนวคิด พัฒนาแอปพลิเคชัน นวัตกรรม และดําเนินธุรกิจได้ด้วยตนเอง
๕.๙.๔ ดึงดูดบุคลากรที่มีทักษะสูงเข้ามาช่วยบ่มเพาะผู้ประกอบการ
ขนาดกลางและขนาดย่อมยุคใหม่ของไทย โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมขั้นสูง และเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมยุคใหม่ของไทยสามารถทํางานร่วมกับ นักวิจัยในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันวิจัยและพัฒนา ปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ ให้เอื้อต่อการพัฒนา เทคโนโลยีขั้นสูง
๖. การพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจและการกระจายความเจริญสู่ภมูิภาค การใช้ประโยชน์จากศักยภาพและโอกาสของพื้นที่จะช่วยกระจายความเจริญ
ไปสู่ภูมิภาคและสร้างโอกาสการพัฒนาทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม ลดความเหลื่อมล้ําของ การพัฒนา ลดการกระจุกตัวของการพัฒนาและประชากรของเมืองใหญ่ในปัจจุบัน โดยการสร้าง สังคมชนบทเป็นสังคมเมืองที่สงบสุข เพียงพอ และแก้ปัญหาการย้ายถิ่นฐาน โดยมีนโยบาย ดังนี้
๖.๑ ส่งเสริมพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษเพื่อเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ
ของเอเชีย
๖.๑.๑ พัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกอย่างต่อเนื่อง
โดยพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัยให้เป็นไปตามเป้าหมาย พัฒนาพื้นที่โดยรอบให้เป็น เมืองมหานครการบิน ศูนย์กลางทางการแพทย์ของเอเชีย และเมืองอัจฉริยะที่มีความน่าอยู่ และทันสมัยระดับนานาชาติ ยกระดับภาคการเกษตรให้เชื่อมโยงกับอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม คมนาคม ดิจิทัล วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเร่งพัฒนาบุคลากร รวมทั้งทบทวนกฎระเบียบ เพื่อรองรับและส่งเสริมอตุ สาหกรรมเป้าหมายที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม
๖.๑.๒ ส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้
และการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ เพื่อเพิ่มช่องทางการส่งออกสินค้าทางทะเลของประเทศและของภาคใต้ โดยเฉพาะการส่งออก ไปยังเอเชียใต้ พัฒนาการเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ฝั่งอันดามันกับฝั่งอ่าวไทย และพัฒนา อุตสาหกรรมฐานชีวภาพและการแปรรูปการเกษตรจากทรัพยากรในพื้นที่และประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งให้ความสําคัญกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรม และการพัฒนาเมืองน่าอยู่
๖.๑.๓ เพิ่มพื้นที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจแห่งใหม่ในภูมิภาค อาทิ
การพัฒนาเศรษฐกิจหลักเชิงพืน้ ที่ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พื้นที่เศรษฐกิจฐานชีวภาพ และพื้นที่ที่มีความได้เปรียบเชิงที่ตั้งที่สามารถพัฒนาเป็นฐานอุตสาหกรรมในอนาคต โดยพัฒนา ให้สอดคล้องกับศักยภาพและโอกาสของพื้นที่ สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคี การพัฒนาที่เกี่ยวข้องในการยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ รวมทั้ง การจัดการผลกระทบที่อาจมีต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๖.๑.๔ เร่งขับเคลื่อนการพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ
ชายแดนอย่างต่อเนื่อง โดยสนับสนุนและยกระดับการพัฒนากิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ใช้ เทคโนโลยีสูงขึ้น สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทบทวนการให้ สิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนให้เหมาะสมกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามศักยภาพพื้นที่ พัฒนา เมืองชายแดนให้มีความน่าอยู่ รวมทั้งใช้เทคโนโลยีสนับสนุนการดูแลด้านความมั่นคงและรักษา ความปลอดภัยในพื้นที่ และส่งเสริมให้ภาคประชาชนและภาคีการพัฒนาที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วม ในการพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน
๖.๒ ส่งเสริมและเร่งรัดการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ทั่วประเทศ
โดยมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาเมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล จังหวัดเชียงใหม่ นครราชสีมา ขอนแก่น เมืองในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก สงขลา และภูเก็ต ภายใต้แนวคิดการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะและเมืองน่าอยู่ท่ีมีระบบ เศรษฐกิจดิจิทัล โครงสร้างพื้นฐานทางสังคม และพื้นที่สีเขียวที่เพียงพอ กระตุ้นให้เกิดการพัฒนา อุตสาหกรรมและธุรกิจบริการ พร้อมทั้งส่งเสริมให้เกิดการจ้างงานในพื้นที่
๗. การพัฒนาสร้างความเข้มแข็งจากฐานราก รัฐบาลให้ความสําคัญกับชุมชนในการนําความรู้และทรัพยากรในพ้ืนที่
มาผลิตเป็นสินค้าและบริการ เพื่อเพิ่มศักยภาพของเศรษฐกิจฐานรากให้สามารถสร้างรายได้ กระจายรายได้สู่ชุมชน สนับสนุนสินค้าชุมชนและยกระดับวิสาหกิจชุมชนให้มีความเข้มแข็ง พัฒนาช่องทางการตลาดเชื่อมโยงกับระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และสร้างพลังสังคม พลังชุมชน รวมทั้งสร้างการเรียนรู้ ฝึกอาชีพกลุ่มอิสระในการร่วมขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศ รัฐบาล จึงมีนโยบายดําเนินการ ดังนี้
๗.๑ ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนและผลิตภัณฑ์ชุมชน
๗.๑.๑ สร้างมูลค่าเพิ่มธุรกิจชุมชนผ่านอัตลักษณ์ของพื้นที่
โดยส่งเสริมให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมยุคใหม่ของไทย ผู้ประกอบการหนึ่งตําบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ และสหกรณ์ในชุมชนให้สามารถใช้ประโยชน์และต่อยอดจากสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ภูมิปัญญา วัฒนธรรม และทรัพยากรในพื้นที่ รวมทั้งเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อสร้างสรรค์คุณค่า ผลิตภัณฑ์และบริการของชุมชนที่มีอัตลักษณ์และมีมาตรฐานการผลิตตามหลักสากล ซึ่งจะช่วย สร้างรายได้สู่ชุมชนอย่างทั่วถึง นําไปสู่การสร้างเศรษฐกิจชุมชนที่สามารถพึ่งพาตนเอง ได้อย่างยั่งยืนและมีบทบาทต่อระบบเศรษฐกิจของจงั หวัดมากขึ้น
๗.๑.๒ สนับสนุนความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนผ่าน
เทคโนโลยี โดยพัฒนาผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนให้มีทักษะการเป็นผู้ประกอบการที่มี ความสามารถทั้งในการบริหารจัดการธุรกิจสมัยใหม่ การสร้างสรรค์นวัตกรรมทั้งในเชิง กระบวนการผลิต การนําเสนอสินค้าหรือบริการ และการตลาด มีความสามารถในการนํา เทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้กับการดําเนินธุรกิจได้มากข้ึน โดยเฉพาะการเข้าถึงตลาดทั้งใน และต่างประเทศ ตลอดจนส่งเสริมแนวคิดการทําธุรกิจภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบแบ่งปัน (Sharing Economy) โดยเริ่มต้นจากการใช้ประโยชน์โครงสร้างพื้นฐานและบริการของภาครัฐ เครื่องจักรและอุปกรณ์ร่วมกนั เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาธุรกิจในรูปแบบใหม่
๗.๑.๓ สร้างโอกาสและส่งเสริมการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร
ที่ทันสมัยและบริการทางการเงินของวิสาหกิจชุมชน โดยจัดหาแหล่งเงินทุนและสนับสนุน ให้มีช่องทางการเข้าถึงแหล่งเงินทุนท่ีหลากหลาย และเพิ่มความสามารถในการเข้าถึงตลาดทั้งใน และต่างประเทศผ่านช่องทางการตลาดและการชําระเงินรูปแบบใหม่ด้วยระบบออนไลน์หรือ ผ่านแอปพลิเคชันต่าง ๆ รวมทั้งสนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่มและสร้างเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน เพื่อประสาน แลกเปลี่ยนความรู้ ใช้ประโยชน์จากข้อมูล และเชื่อมต่อกิจกรรมร่วมกัน
๗.๑.๔ ส่งเสริมการลงทุนในชุมชนเพื่อสร้างงานในชุมชน
โดยพัฒนาระบบและกลไก รวมทั้งพัฒนากลุ่มอาชีพตามศักยภาพของประชาชนในพื้นที่ เพื่อกระจายโอกาสทางเศรษฐกิจให้คนในชุมชนและท้องถิ่น แบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ําทางเศรษฐกิจ และลดอัตราการย้ายถิ่นเพื่อทํางานในเมือง สนับสนุนการจัดตั้ง วิสาหกิจชุมชนตามความพร้อมและศักยภาพในแต่ละพื้นที่ ใช้เศรษฐกิจดิจิทัลต่อยอดการพัฒนา ควบคู่กับการส่งเสริมการเรียนรู้ของชุมชน ด้วยการส่งเสริมการเชื่อมโยงภาคเศรษฐกิจหลัก กับเศรษฐกิจชุมชนในทุกภาคการผลิต ทั้งในภาคอุตสาหกรรม บริการ และการท่องเที่ยว
๗.๑.๕ สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดําเนินธุรกิจของ
วิสาหกิจชุมชน โดยพัฒนาและบูรณาการฐานข้อมูลที่สนับสนุนการประกอบธุรกิจให้เข้าถึง และใช้ประโยชน์ได้ง่าย อาทิ องค์ความรู้ ผลการวิจัยและพัฒนาการตลาดและนวัตกรรม สร้างระบบจูงใจให้เกิดความร่วมมือระหว่างวิสาหกิจชุมชนในการเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยี รวมทั้งสนับสนุนการยกระดับสินค้าและบริการของวิสาหกิจชุมชนทั้งในด้านการกําหนดมาตรฐาน การตรวจสอบและรับรองให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล
๗.๒ สร้างความเข้มแข็งของชุมชน ๗.๒.๑ สร้างผู้นําชุมชน ยกย่องปราชญ์ชาวบ้าน เพื่อเป็นผู้นํา
การเปลี่ยนแปลง เป็นวิทยากรในการขับเคลื่อนและสร้างกลไกการทํางานร่วมกันของภาคส่วนต่าง ๆ ในการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนา กิจกรรมสาธารณประโยชน์ที่ส่งผลต่อการสร้างสังคม ที่เข้มแข็ง การปรับเปลี่ยนค่านิยมคนไทยให้เสียสละ มีจิตอาสา จิตสาธารณะ เอื้อเฟื้อแบ่งปันผู้อื่น และเป็นพลังสําคัญในการจัดการปัญหาความเหลื่อมล้ํา การพัฒนาตนเองและการจัดการของ ชุมชนท้องถิ่น
๗.๒.๒ ยกระดับคุณภาพตลาดชุมชน สถาบันการเงินของชุมชน
สวัสดิการชุมชน สาธารณสุขชุมชน ป่าชุมชน ไม้มีค่า ท่องเที่ยวชุมชน และส่งเสริมการขยาย ตลาดออกสู่ต่างประเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทั้งด้านการผลิต แหล่งเงินทุน โลจิสติกส์ ข้อมูล การแลกเปลี่ยนความรู้และความเชี่ยวชาญเพื่อต่อยอดความคิดสร้างสรรค์ ในการเพิ่มมูลค่าธุรกิจ พัฒนาความเข้มแข็งของกลุ่มให้สามารถเชื่อมโยงเข้าเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่ การผลิตของภาค รวมถึงกํากับดูแลมาตรฐานสินค้าให้ได้มาตรฐานสากลและสอดคล้องกับ ความต้องการของตลาด เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้ง ส่งเสริมความเข้มแข็งให้ชุมชนจัดสวัสดิการที่จําเป็นภายในชุมชน
๗.๒.๓ แก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัย ที่ดินทํากิน สร้างชุมชนที่น่าอยู่
มุ่งเน้นการจัดการที่อยู่อาศัย การพัฒนาทักษะอาชีพ และการพัฒนาพื้นที่เมืองแบบองค์รวม เพื่อพัฒนาชุมชนเข้มแข็ง สังคมที่เอื้ออาทร มีความสะดวกสบาย ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีวัฒนธรรมและจิตวิญญาณที่เป็นเอกลักษณ์ของเมืองและชุมชน และมีระบบเศรษฐกิจที่มั่นคง เพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ และเป็นฐานการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน
๗.๒.๔ สร้างพลังในชุมชน โดยส่งเสริมให้เกิดการสร้างพลังทางสังคม
ภาคีเครือข่าย การรวมตัวของภาคส่วนต่าง ๆ ในชุมชนมาเป็นกําลังในการพัฒนาเพื่อส่วนรวม โดยให้ความสําคัญกับการสร้างพลังจิตอาสา สร้างพลังแผ่นดินเพื่อพัฒนาศักยภาพและสร้าง เอกภาพแก่กลุ่มอาสาสมัครรูปแบบต่าง ๆ การสร้างพลังสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมกิจกรรม ทางสังคมของคนทุกวัยผ่านการสร้างพื้นที่สร้างสรรค์ในรูปแบบต่าง ๆ และการสร้างพลังภูมิคุ้มกัน เพื่อการใช้สื่อออนไลน์อย่างสร้างสรรค์ และประชาชนมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังและเตือนภัย
๗.๒.๕ สร้างเครือข่ายชุมชนที่เข้มแข็ง เน้นส่งเสริมและสนับสนุน
ให้ประชาชนทุกภาคส่วนเข้าร่วมในกระบวนการตัดสินใจกําหนดนโยบายและมาตรการของภาครัฐ โดยเริ่มจากการเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถนําเสนอแนวคิดที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา เศรษฐกิจ สังคม และสวัสดิการในระดับชุมชน เพื่อเป็นรากฐานของการพัฒนาระบอบ ประชาธิปไตยในบริบทสังคมไทย
๗.๓ ส่งเสริมบทบาทภาคเอกชนในการช่วยพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ
ฐานราก โดยการสร้าง “คุณค่าร่วม” ระหว่างภาคธุรกิจ สังคม และผู้บริโภค ที่ครอบคลุม ตลอดทั้งห่วงโซ่การผลิต พร้อมทั้งส่งเสริมให้เกิดวิสาหกิจเพื่อสังคมในด้านต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์แก่ คนในชุมชน เพื่อผลิตสินค้าและบริการที่จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการจ้างงานในท้องถิ่นหรือช่วยแก้ไข ปัญหาสังคมและพัฒนาชุมชน อาทิ การจ้างงานผู้พิการ หรือผู้ผ่านการต้องขัง เพื่อช่วยยกระดับ คุณภาพชีวิตและความสุขของคนในชุมชน
ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ
การพัฒนาคนไทยให้มีความพร้อมในการดํารงชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑ เพื่อให้คนไทย
ในอนาคตเป็นพลังขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างมีแบบแผนได้อย่างมี ประสิทธิภาพ รัฐบาลได้กําหนดนโยบายในการพัฒนาที่มุ่งพัฒนาคนในทุกมิติตามความเหมาะสม ในแต่ละช่วงวัยให้มีความสมบูรณ์ เป็นคนดี มีวินัย เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม รวมทั้งการพัฒนา ระบบสาธารณสุขและหลักประกันทางสังคมที่เหมาะสมแก่ประชาชนในกลุ่มต่าง ๆ โดยมีนโยบาย การพัฒนาที่สําคัญ ดังนี้
๘. การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้และการพัฒนาศักยภาพของคนไทยทุกช่วงวัย
๘.๑ ส่งเสริมการพัฒนาเด็กปฐมวัย
๘.๑.๑ จัดให้มีระบบพัฒนาเด็กแรกเกิดอย่างต่อเนื่องจนถึง
เด็กวัยเรียนให้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพ เพื่อสร้างคนไทยที่มีพัฒนาการเต็ม ตามศักยภาพผ่านครอบครัวที่อบอุ่นในทุกรูปแบบครอบครัว เพื่อส่งต่อการพัฒนาเด็กไทย ให้มีคุณภาพสู่การพัฒนาในระยะถัดไปบนฐานการให้ความช่วยเหลือที่คํานึงถึงศักยภาพ ของครอบครัวและพื้นที่ เตรียมความพร้อมการเป็นพ่อแม่ ความรู้เรื่องโภชนาการและสุขภาพ การอบรมเลี้ยงดู การส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยผ่านการให้บริการสาธารณะที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะการยกระดับคุณภาพสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยทั่วประเทศให้ได้มาตรฐาน และพัฒนา ศักยภาพของบุคลากรทางการศึกษาและผู้ดูแลเด็กปฐมวัยให้สามารถจัดการศึกษาได้อย่าง มีคุณภาพ
๘.๑.๒ ส่งเสริมการพัฒนาเด็กปฐมวัย โดยคํานึงถึงพหุปัญญา
ที่หลากหลายของเด็กแต่ละคนให้ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาอย่างเต็มตามศักยภาพ ผ่านการออกแบบ
การจัดการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับระบบโรงเรียนปกติที่เป็นระบบและมทีิศทางที่ชัดเจน
๘.๒ พัฒนาบัณฑิตพันธุ์ใหม่
๘.๒.๑ ปรับรูปแบบการเรียนรู้และการสอนเพื่อพัฒนาทักษะ
และอาชีพของคนทุกช่วงวัยสําหรับศตวรรษที่ ๒๑ โดยปรับโครงสร้างหลักสูตรการศึกษา ให้ทันสมัย มีการนําเทคโนโลยีและการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริงเข้ามามีส่วนในการจัดการเรียน
การสอน และปรับระบบดึงดูด การคัดเลือก การผลิตและพัฒนาครู ที่นําไปสู่การมีครูสมรรถนะสูง เป็นครูยุคใหม่ที่สามารถออกแบบและจัดระบบการสร้างความรู้ สร้างวินัย กระตุ้น และสร้าง แรงบันดาลใจ เปิดโลกทัศน์มุมมองของเด็กและครูด้วยการสอนในเชงิ แสดงความคิดเห็นให้มากขึ้น ควบคู่กับหลักการทางวิชาการ
๘.๒.๒ จัดการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทํางานเพื่อพัฒนา
สมรรถนะของผู้เรียนทั้งในส่วนฐานความรู้และระบบความคิดในลักษณะสหวิทยาการ และตรงกับ ความต้องการของประเทศในอนาคต และเป็นผู้เรียนที่สามารถปฏิบัติได้จริงและสามารถกํากับ การเรียนรู้ของตนเองได้ รวมถึงมีทักษะด้านภาษาอังกฤษและภาษาที่สามที่สามารถสื่อสาร และแสวงหาความรู้ได้ มีความพร้อมทั้งทักษะความรู้ ทักษะอาชีพ และทักษะชีวิตก่อนเข้าสู่ ตลาดแรงงาน
๘.๓ พัฒนาอาชีวะ พัฒนาคุณภาพวิชาชีพ และพัฒนาแรงงานรองรับ
อุตสาหกรรม ๔.๐ โดยการจัดระบบและกลไกความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ที่ชัดเจนเป็นระบบในการพัฒนากําลังคนที่มีทักษะขั้นสูงให้สามารถนําความรู้และทักษะมาใช้ ในการแก้ไขปัญหา รวมถึงการสร้างและพัฒนานวัตกรรม ซึ่งต้องครอบคลุมการพัฒนากําลังคน ที่อยู่ในอุตสาหกรรมแล้ว กําลังคนที่กําลังจะเข้าสู่อุตสาหกรรม และเตรียมการสําหรับผลิต กําลังคนในสาขาที่ขาดแคลน เพื่อรองรับอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีในอนาคต รวมทั้งเร่งรัด และขยายผลระบบคุณวุฒิวิชาชีพ การยกระดับฝีมือแรงงานในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ และอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น
๘.๔ ดึงดูดคนเก่งจากทั่วโลกเข้ามาร่วมทํางานกับคนไทย และส่งเสริม
ผู้มีความสามารถสูง สนับสนุนให้ธุรกิจชั้นนําในประเทศดึงดูดบุคคลที่มีความสามารถระดับสูง จากทั่วโลกโดยเฉพาะคนไทย เพื่อกลับมาเป็นผู้นําการเปลี่ยนแปลงและถ่ายทอดประสบการณ์ ความรู้ ความเชี่ยวชาญให้แก่บุคลากรในองค์กร ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการสร้างธุรกิจ ผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมใหม่ ๆ ให้กับประเทศ โดยในระยะแรกให้ความสําคัญกับการดึงดูดนักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศมาร่วมวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชั้นแนวหน้าในสาขาอุตสาหกรรมเป้าหมาย รวมทั้งมีพื้นที่ให้กลุ่มผู้มีความสามารถพิเศษที่มีศักยภาพสูงได้ทํางานร่วมกัน หรือร่วมกับ เครือข่ายอื่น ๆ เพื่อสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมใหม่ ๆ ให้กับประเทศ
๘.๕ วิจัยและพัฒนานวัตกรรมที่ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ
๘.๕.๑ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อขจัด
ความเหลื่อมล้ําและความยากจน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยมุ่งเน้นการพัฒนา นวัตกรรมเชิงสังคมและนวัตกรรมในเชิงพื้นที่ที่สามารถช่วยแก้ปัญหาความเหลื่อมลํ้า สร้างโอกาส สําหรับผู้ด้อยโอกาส และยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงวัยควบคู่ไปกับการพัฒนาทุนมนุษย์ให้พร้อม สําหรับโลกยุคดิจิทัลและอุตสาหกรรม ๔.๐ ตามความเหมาะสมได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยระยะแรกจะให้ความสําคัญกับการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพของประชาชน อย่างครบวงจร ทั้งระบบยา วัคซีน เวชภัณฑ์ และเทคโนโลยีที่ทันสมัย
๒๑
๘.๕.๒ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางด้านวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน สามารถตอบสนองต่อ ความเปลี่ยนแปลง และสร้างความเป็นเลิศของประเทศในอนาคต โดยมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนา นวัตกรรมเพื่อนํามาใช้ให้เกิดประโยชน์ในเชิงธุรกิจ กําหนดวาระการวิจัยแห่งชาติ ส่งเสริม ความร่วมมือและการเป็นหุ้นส่วนของทุกฝ่ายทั้งภาครัฐ ภาคการศึกษา ชุมชน และภาคเอกชน ในทุกสาขาการผลิตและบริการ สร้างสภาพแวดล้อมและองค์ประกอบของระบบวิจัยและ การพัฒนานวัตกรรมให้เข้มแข็ง รวมทั้งบูรณาการการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมกับการนําไปใช้ ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
๘.๕.๓ สร้างเครือข่ายการทําวิจัยระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ปฏิรูป
และบูรณาการระบบการเรียนการสอนกับระบบงานวิจัยและพัฒนา ให้เอื้อต่อการเพิ่มศักยภาพ ด้านนวัตกรรมของประเทศ เพื่อสนับสนุนการสร้างความเข้มแข็งของธุรกิจไทยทุกระดับในเวที การค้าโลก ส่งเสริมกระบวนการการทํางานของภาครัฐและภาคเอกชนในการวิจัยและพัฒนา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรมให้เป็นระบบเปิด และมีการบูรณาการการทํางานกันอย่างมี ประสิทธิภาพ รวมทั้งเชื่อมโยงระบบการศึกษากับภาคปฏิบัติจริงในภาคธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสร้างนักวิจัยมืออาชีพและนวัตกรที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มและยกระดับงานวิจัย สู่การเพิ่ม ศักยภาพด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมของประเทศ
๘.๖ ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาทักษะทุกช่วงวัย
๘.๖.๑ มุ่งเน้นการพัฒนาโรงเรียนควบคู่กับการพัฒนาครู
เพิ่มประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการศึกษาในทุกระดับบนพื้นฐานการสนับสนุนที่คํานึงถึง ความจําเป็นและศักยภาพของสถาบันการศึกษาแต่ละแห่ง พร้อมทั้งจัดให้มีมาตรฐานขั้นต่ําของ โรงเรียนในทุกระดับ และสร้างระบบวัดผลโรงเรียนและครูที่สะท้อนความรับผิดชอบต่อผลลัพธ์ ที่เกิดกับผู้เรียน คืนครูให้นักเรียนโดยลดภาระงานที่ไม่จําเป็น รวมถึงจัดให้มีระบบฐานข้อมูล เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยการเชื่อมโยงหรือส่งต่อข้อมูลครอบครัวและผู้เรียนระหว่าง หน่วยงานต่าง ๆ ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงการพัฒนาตลอดช่วงชีวิต ตลอดจนพัฒนาช่องทาง ให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต
๘.๖.๒ พัฒนาแพลตฟอร์มการเรียนรู้ผ่านระบบดิจิทัล พร้อมทั้ง
ส่งเสริมให้มีการนําเทคโนโลยีสารสนเทศและการสร้างสรรค์ที่เหมาะสมมาใช้ในการเรียนการสอน ออนไลน์แบบเปิดที่หลากหลาย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจและเหมาะสม กับช่วงวัย ตลอดจนพัฒนาแหล่งเรียนรู้และอุทยานการเรียนรู้สําหรับเยาวชนท่ีเชื่อมโยงเทคโนโลยี กับวิถีชีวิต และส่งเสริมการเรียนการสอนที่เหมาะสมสําหรับผู้ที่เข้าสู่สังคมสูงวัย
๘.๖.๓ ลดความเหลื่อมล้ําทางการศึกษา โดยบูรณาการ
การดําเนินงานระหว่างหน่วยจัดการศึกษากับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา มุ่งเน้น กลุ่มเด็กด้อยโอกาสและกลุ่มเด็กนอกระบบการศึกษา ปรับเปลี่ยนการจัดสรรงบประมาณ
ให้สอดคล้องกับความจําเป็นของผู้เรียนและลักษณะพื้นที่ของสถานศึกษา จัดระบบโรงเรียนพี่เลี้ยง จับคู่ระหว่างโรงเรียนขนาดใหญ่ที่มีคุณภาพการศึกษาดีกับโรงเรียนขนาดเลก็ เพื่อยกระดับคุณภาพ การศึกษา และการส่งเสริมให้ภาคเอกชน ชุมชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมในการออกแบบการศึกษา ในพื้นที่ สนับสนุนเด็กที่มีความสามารถแต่ไม่มีทุนทรัพย์เป็นกรณีพิเศษ ตลอดจนแก้ไขปัญหา หนี้สินทางการศึกษา โดยการปรับโครงสร้างหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา และทบทวน รูปแบบการให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาที่เหมาะสม
๘.๖.๔ พัฒนาทักษะอาชีพทุกช่วงวัย โดยกําหนดระบบที่เอื้อต่อ
การพัฒนาทักษะและเพิ่มประสิทธิภาพของทุกช่วงวัย อาทิ การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษา ให้เชื่อมโยงกับระบบคุณวุฒิวิชาชีพ โดยมีกลไกการวัดและประเมินผลเพื่อเทียบโอนความรู้และ ประสบการณ์หน่วยการเรียนที่ชัดเจน ส่งเสริมเยาวชนที่มีศักยภาพด้านกีฬาให้สามารถพัฒนา ไปสู่นักกีฬาอาชีพ การกําหนดมาตรฐานฝีมือแรงงาน การจัดให้มีระบบที่สามารถรองรับ ความต้องการพัฒนาปรับปรุงทักษะอาชีพของทุกช่วงวัย เพื่อรองรับการเปลี่ยนสายอาชีพ ให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานที่อาจจะเปลี่ยนไปตามแนวโน้มความก้าวหน้า ทางเทคโนโลยีในอนาคต
๘.๖.๕ ส่งเสริมหลักคิดที่ถูกต้อง โดยสอดแทรกการปลูกฝังวินัย
และอุดมการณ์ที่ถูกต้องของคนในชาติ หลักคิดที่ถูกต้องด้านคุณธรรม จริยธรรม การมีจิตสาธารณะ การเคารพกฎหมาย และกติกาของสังคมเข้าไปในทุกสาระวิชาและในทุกกิจกรรม ควบคู่ไปกับ การส่งเสริมกลไกสร้างความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัวในทุกมิติอย่างเป็นระบบและ มีประสิทธิภาพ ปรับสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษาให้เอื้อต่อการมีคุณธรรม จริยธรรม และจิตสาธารณะ รวมทั้งลงโทษผู้ละเมิดบรรทัดฐานที่ดีทางสังคม ตลอดจนส่งเสริม ให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนในการขับเคลื่อนประเทศ
๘.๗ จัดทําระบบปริญญาชุมชนและการจัดอบรมหลักสูตรระยะสั้น
เน้นออกแบบหลักสูตรระยะสั้นตามความสนใจ พัฒนาทักษะต่าง ๆ ที่ใช้ในการดํารงชีวิตประจําวัน และทักษะอาชีพของคนทุกช่วงวัยในพ้ืนที่และชุมชนเป็นหลัก พร้อมทั้งศึกษาแนวทางการพัฒนา เป็นรูปแบบธนาคารหน่วยกิต ซึ่งเป็นการเรียนเก็บหน่วยกิตของวิชาเรียนเพื่อให้ผู้เรียนสามารถ เรียนข้ามสาขาวิชาและข้ามสถาบันการศึกษา หรือทํางานไปพร้อมกัน หรือเลือกเรียนเฉพาะหลักสูตร ที่สนใจ เพื่อสร้างโอกาสของคนไทยทุกช่วงวัยและทุกระดับสามารถพัฒนาตนเองทั้งในด้าน การศึกษาและการดํารงชีวิต
๙. การพัฒนาระบบสาธารณสุขและหลักประกันทางสังคม มุ่งเน้นการจัดบริการสาธารณสุขและระบบความคุ้มครองทางสังคม
ที่ครอบคลุมประชากรทุกกลุ่มอย่างเหมาะสมนําไปสู่ความเสมอภาค ประกอบด้วย
๙.๑ พัฒนาระบบบริการสาธารณสขุ แพทย์สมัยใหม่ และแพทย์แผนไทย
ให้มีประสิทธิภาพ ทันสมัย เป็นที่ยอมรับในระดับสากล และมีคุณภาพทัดเทียมกันทั่วทุกพื้นที่ รวมถึงการยกระดับไปสู่ความเชี่ยวชาญในด้านการแพทย์แม่นยํา และยกระดับระบบหลักประกันสุขภาพ
ให้ครอบคลุมแรงงานนอกระบบ โดยอยู่บนพื้นฐานหลักประสิทธิภาพและความยั่งยืนทางการคลัง ของประเทศ ส่งเสริมให้มีมาตรการสร้างเสริมสุขภาวะและอนามัยให้คนไทยทุกช่วงวัยมีสุขภาพ แข็งแรงและลดอัตราการเจ็บป่วยโรคเรื้อรัง พร้อมทั้งจัดให้มีสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่เอื้อต่อสุขภาพ ของประชาชนอย่างเหมาะสมและพอเพียง
๙.๒ ส่งเสริมการป้องกันและควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ
โดยการพัฒนาองค์ความรู้ด้านสุขภาวะที่ถูกต้องของคนทุกกลุ่มวัย ส่งเสริมการเล่นกีฬาและ ออกกําลังกายเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะ สร้างระบบรับมือต่อโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ํา ทั้งระบบ ติดตาม เฝ้าระวัง และการจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขอย่างครบวงจรและบูรณาการ จัดระบบ การแพทย์ปฐมภูมิที่มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวดูแลอย่างทั่วถึง และส่งเสริมให้ชุมชนเป็นฐาน ในการสร้างสุขภาวะที่ดีในทุกพื้นที่
๙.๓ พัฒนาและยกระดับความรู้อาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน (อสม.) ให้เป็นหมอประจําบ้านควบคู่กับการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารทางการแพทย์ เร่งพัฒนา ระบบบริการสุขภาพที่มีคุณภาพให้ทั่วถึงและครอบคลุมประชากรทุกภาคส่วน ลดความเหลื่อมล้ํา ของคุณภาพการบริการในแต่ละระบบ พร้อมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพระบบการบริการสาธารณสุข ในชุมชนผ่านการพัฒนาระบบการแพทย์ทางไกลควบคู่ไปกับการเพิ่มบทบาทของอาสาสมัคร สาธารณสุขประจําหมู่บ้าน และการยกระดับคุณภาพการบริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตําบล เพื่อให้ประชาชนในทุกครัวเรือนทุกพื้นที่โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่อยู่ในชุมชนสามารถเข้าถึง หน่วยบริการสาธารณสุขได้อย่างท่ัวถึงและรวดเร็ว
๙.๔ สร้างหลักประกันทางสังคมที่ครอบคลุมด้านการศึกษา สุขภาพ
การมีงานทําที่เหมาะสมกับประชากรทุกกลุ่ม มีการลงทุนทางสังคมแบบมุ่งเป้าหมาย เพื่อช่วยเหลือกลุ่มคนยากจนและกลุ่มผู้ด้อยโอกาสโดยตรง จัดให้มีระบบบําเหน็จบํานาญ หลังพ้นวัยทํางาน ปฏิรูประบบภาษีให้ส่งเสริมความเสมอภาคทางสังคม สร้างความเสมอภาค ทางการศึกษาผ่านกลไกกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา และยกระดับคุณภาพการศึกษา ผ่านการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย รวมถึงคุ้มครองแรงงานทั้งในระบบและนอกระบบให้ได้รับ ความปลอดภัยและมีสุขอนามัยที่ดีในการทํางาน ได้รับรายได้ สวัสดิการ และสิทธิประโยชน์ ที่เหมาะสมแก่การดํารงชีพ
ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ
การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในระยะต่อไป จําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง
มุ่งเน้นให้เกิดความสมดุลระหว่างการใช้ทรัพยากรเพื่อการพัฒนาประเทศ และการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากร เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในระยะยาว นอกจากนี้ การบริหารราชการแผ่นดินในระยะต่อไป จําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคํานึงถึงผลกระทบด้านทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลง
สภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นประเด็นที่ประเทศไทยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในสังคมโลกต้องมุ่งมั่นดําเนินการ เพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมท่ีเกิดจากการพัฒนา รัฐบาลจึงได้กําหนดนโยบายการพัฒนา ในด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังนี้
๑๐. การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและการรักษาสิ่งแวดล้อมเพ่ือสร้างการเติบโต
อย่างยั่งยืน
๑๐.๑ ปกป้อง รักษา ฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า โดยให้ความสําคัญ
กับการเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ของประเทศ เพื่อสร้างสมดุลทางธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและยั่งยืน ทั้งพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ป่าเศรษฐกิจ ป่าชายเลน และป่าชุมชน รวมทั้งเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเขตเมือง หยุดยั้งการบุกรุกทําลายทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า อย่างจริงจัง รวมถึงเร่งฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรม แก้ไขกฎหมายป่าไม้ที่ซ้ําซ้อน เร่งคืนพื้นที่ป่า โดยการบริหารจัดการการใช้ประโยชน์ให้ประชาชนสามารถอยู่ร่วมกับป่าและสามารถทํากิน ได้อย่างเหมาะสม นําเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการพื้นที่เสี่ยงต่อการถูกบุกรุกและ การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ส่งเสริมบทบาทของทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม หมู่บ้าน (ทสม.) พร้อมทั้งรณรงค์สร้างจิตสํานึกด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้กับเยาวชน ภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน
๑๐.๒ ปรับปรุงระบบที่ดินทํากินและลดความเหลื่อมล้ําด้านการถือครองที่ดิน
โดยจัดสรรที่ดินทํากินและที่อยู่อาศัยให้แก่ราษฎรที่ยากไร้และเกษตรกรตามหลักการของ
คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ การกระจายสิทธิการถือครองให้แก่ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ที่ไม่ได้รุกล้ํา และมีมาตรการป้องกันการเปลี่ยนมือไปอยู่ในครอบครองของผู้ที่มิใช่เกษตรกรและผู้ยากจน จัดทําระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการที่ดิน จัดทําหลักฐานการถือครองที่ดินของรัฐ ทุกประเภท จัดทําแผนที่แสดงแนวเขตที่ดินของรัฐให้ชัดเจน และเร่งแก้ไขปัญหาเขตที่ดินทับซ้อน
และแนวเขตพื้นที่ป่าที่ไม่ชัดเจน เพื่อลดข้อขัดแย้งระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่รัฐ
๑๐.๓ ส่งเสริมการบริหารจัดการน้ําทั้งระบบ แหล่งน้ําชุมชน และทะเล
โดยเชื่อมโยงกับแผนบริหารจัดการน้ํา ๒๐ ปีของประเทศ เพิ่มผลิตผลในการจัดการและการใช้น้ํา ทุกภาคส่วน จัดให้มีน้ําสะอาดใช้ทุกครัวเรือนในชุมชนชนบท ในปริมาณ คุณภาพ และราคา ที่เข้าถึงได้ มีระบบการจัดการน้ําชุมชนที่เหมาะสม พร้อมทั้งส่งเสริม ฟื้นฟู อนุรักษ์ พื้นที่ต้นน้ํา พื้นที่ชุ่มน้ํา พื้นที่พักน้ํา แหล่งน้ําธรรมชาติ แอ่งน้ําบาดาล การระบายน้ําชายฝั่ง เพิ่มผลิตภาพของน้ํา ทั้งระบบ และสร้างมูลค่าเพิ่มจากการใช้น้ําให้ทัดเทียมระดับสากล ดูแลภัยพิบัติจากน้ํา พัฒนา การจัดการน้ําเชิงลุ่มน้ําทั้งระบบ และเพิ่มพื้นที่ชลประทาน เพื่อลดความเหลื่อมล้ําและสร้างระบบ จัดสรรน้ําที่เป็นธรรม รวมทั้งส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมบริหารจัดการน้ําในชุมชนตามแนว พระราชดําริ
๑๐.๔ สร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรแร่ และทรัพยากรทางทะเล
และชายฝั่งเพื่อการพัฒนาประเทศและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยใช้ประโยชน์ ทรัพยากรแร่อย่างเหมาะสม เป็นธรรม และคํานึงถึงดุลยภาพทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และสุขภาพของประชาชน โดยการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการของภาคประชาชน จัดทํา เขตแหล่งแร่เพื่อการทําเหมืองบนพื้นฐานศักยภาพแร่และมีการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ร่วมกับ ทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ อย่างเหมาะสม ดูแลรักษาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยบริหาร จัดการเขตทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งรายจังหวัดโดยใช้แผนที่การจําแนกเขตทางทะเล และชายฝั่ง (one marine chart) บริหารจัดการทรัพยากรแร่และแหล่งพลังงานในทะเล รวมทั้ง มลพิษและขยะในทะเลให้มีประสิทธิภาพ จัดทําผังชายฝั่งและฝั่งทะเลที่ชัดเจน และกําหนดพื้นที่ การพัฒนาในรูปแบบต่าง ๆ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนและสอดคล้องกับภูมิศาสตร์ และทรัพยากรในพื้นที่ รักษาแนวปะการังที่สําคัญต่อการท่องเที่ยว รักษาป่าชายเลนและแหล่ง หญ้าทะเลที่สําคัญต่อประมงและสัตว์หายาก
๑๐.๕ แก้ไขปัญหาก๊าซเรือนกระจกและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง
สภาพภูมิอากาศ โดยมุ่งเน้นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สร้างสังคมคาร์บอนต่ําและ ปลอดฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน ๒.๕ ไมครอน กําหนดมาตรการควบคุมการเผาพื้นที่เพื่อทําการเพาะปลูก ปรับปรุงการบริหารจัดการภัยพิบัติทั้งระบบ และการสร้างความรู้ความเข้าใจของประชาชน ในการรับมือและปรับตัวเพื่อลดความเสียหายจากภัยธรรมชาติและผลกระทบที่เกี่ยวข้อง กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สนับสนุนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ และภาคเอกชนที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการพัฒนา ปรับปรุงระบบบริหารจัดการต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่ไทยเข้าร่วมและให้สัตยาบันไว้
๑๐.๖ พัฒนาระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจ
หมุนเวียน เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ โดยการนําความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการบริหารจัดการส่ิงแวดล้อม อาทิ การจัดการขยะหรือของเสีย เพื่อนําไปใช้ในกระบวนการผลิตหรือบริโภคที่หลากหลายและทําให้ เกิดการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
๑๐.๗ พัฒนากลไกแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้านทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม โดยให้ความสําคัญกับการจัดทําระบบการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ มาใช้เป็นเครื่องมือเชิงนโยบายในการเพิ่มขีดความสามารถในการกําหนดยุทธศาสตร์การพัฒนา ร่วมกันของภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคม และบูรณาการการทํางานระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ทั้งระดับประเทศ รายสาขา และเชิงพื้นที่ เพื่อนําไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ลดความขัดแย้ง ระหว่างยุทธศาสตร์ต่าง ๆ โดยเฉพาะระหว่างยุทธศาสตร์รายสาขากับยุทธศาสตร์เชิงพื้นที่
๑๐.๘ แก้ไขปัญหาการจัดการขยะและของเสียอย่างเป็นระบบ โดยเริ่มจาก
การส่งเสริมและให้ความรู้ในการลดปริมาณขยะในภาคครัวเรือนและธุรกิจ การนํากลับมาใช้ซ้ํา การคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง เพื่อลดปริมาณและต้นทุนในการจัดการขยะของเมือง และสามารถ นําขยะกลับมาใช้ประโยชน์ได้โดยง่าย รวมทั้งพัฒนาโรงงานกําจัดขยะและของเสียอันตราย ที่ได้มาตรฐาน
๑๑. การปฏิรูปการบริหารจัดการภาครัฐ เพื่อให้การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศสามารถบริหารจัดการได้อย่าง
มีประสิทธิภาพมากขึ้น การปฏิรูประบบการบริหารจัดการภาครัฐ โดยการนําเทคโนโลยีดิจิทัล เข้ามาช่วยในการให้บริการของภาครัฐ และการบูรณาการการทํางานของหน่วยงานต่าง ๆ นอกจากนี้ กระบวนการยุติธรรมจะต้องเป็นที่พึ่งของประชาชนได้อย่างแท้จริง กฎหมายจะต้อง ได้รับการปรับปรุงให้มีความทันสมัย เป็นธรรม และเกิดประโยชน์ต่อประชาชนโดยรวม โดยรัฐบาลได้กําหนดนโยบายการดําเนินการ ดังนี้
๑๑.๑ พัฒนาโครงสร้างและระบบการบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่
โดยพัฒนาให้ภาครัฐมีขนาดที่เหมาะสม มีการจัดรูปแบบองค์กรใหม่ที่มีความยืดหยุ่นคล่องตัว และเหมาะสมกับบริบทของประเทศ รวมทั้งจัดอัตรากําลังเจ้าหน้าที่ของรัฐให้สอดคล้องกับ โครงสร้างหน่วยงานและภารกิจงานที่เปลี่ยนแปลงไป พัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่รัฐให้สามารถ รองรับบริบทการเปลี่ยนแปลง และตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อยา่ งทันท่วงที พร้อมทั้ง ปรับเปลี่ยนระบบการบริหารราชการแผ่นดินให้เกิดความเชื่อมโยงสอดคล้องกันตั้งแต่ขั้นวางแผน การนําไปปฏิบัติ การติดตามประเมินผล การปรับปรุงการทํางานให้มีมาตรฐานสูงขึ้น และปรับปรุง โครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างราชการบริหารส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น
๑๑.๒ ปรับเปลี่ยนกระบวนการอนุมัติ อนุญาตของทางราชการ
ที่มีความสําคัญต่อการประกอบธุรกิจและดําเนินชีวิตของประชาชนให้เป็นระบบดิจิทัล และสามารถเชื่อมโยงข้อมูลต่อเนื่องกันต้ังแต่ต้นจนจบกระบวนการ พร้อมทั้งพัฒนาโปรแกรมออนไลน์ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการของภาครัฐได้อย่างทันทีและทุกเวลา
๑๑.๓ พัฒนาระบบข้อมูลขนาดใหญ่ในการบริหารราชการแผ่นดินที่มี
ระบบการวิเคราะห์ และแบ่งปันข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพและเชื่อถือได้ เพื่อให้เกิดการ ใช้ประโยชน์ข้อมูลขนาดใหญ่ในระบบบริการประชาชนที่เป็นไปตามความต้องการเฉพาะตัวบุคคล มากขึ้น
๑๑.๔ เปิดเผยข้อมูลภาครัฐสู่สาธารณะ โดยหน่วยงานของรัฐในทุกระดับ
ต้องเปิดเผยและเชื่อมโยงข้อมูลซึ่งกันและกัน ทั้งในระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันเอง และระหว่างหน่วยงานรัฐกับประชาชน เพื่อให้ทุกภาคส่วนมีความเข้าใจถึงสถานการณ์ และแนวทางการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของประเทศที่มีความซับซ้อน ปรับเปลี่ยนให้เป็นการทํางาน
เชิงรุก เน้นการยกระดับไปสู่ความร่วมมือกันของทุกภาคส่วนอย่างจริงจัง แสวงหาความคิดริเริ่ม และสร้างนวัตกรรม โดยมีการคาดการณ์สถานการณ์ วิเคราะห์ความเสี่ยงและผลกระทบที่คาดว่า จะเกิดขึ้นไว้ล่วงหน้า เพื่อให้สามารถเตรียมความพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน ในด้านต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๑๑.๕ ส่งเสริมระบบธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการภาครัฐ โดยสร้าง
ความเชื่อมั่น ศรัทธา และส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาข้าราชการ บุคลากร และเจ้าหน้าที่ของรัฐ อย่างจริงจัง โดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนกระบวนการทางความคิดให้คํานึงถึงผลประโยชน์ของชาติ และเน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง พร้อมกับยึดมั่นในหลักจริยธรรมและธรรมาภิบาล มีสมรรถนะ และความรู้ความสามารถพร้อมต่อการปฏิบัติงาน ดําเนินการปรับปรุงสวัสดิภาพชีวิต ความเป็นอยู่ ตลอดจนสร้างขวัญกําลังใจและความผูกพันในการทํางาน
๑๑.๖ พัฒนากลไกให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาบริการสาธารณะ
และการตรวจสอบภาครัฐ โดยการสร้างความเข้าใจถึงหลักการบริหารราชการขั้นพื้นฐาน และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งแก้ไขปัญหาอุปสรรคและลดข้อจํากัดของกฎหมายและระเบียบ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ชุมชน วิสาหกิจเพื่อสังคม องค์กรภาคประชาสังคม และเอกชน สามารถเข้ามา ดําเนินกิจกรรมสาธารณประโยชน์และมีบทบาทในการพัฒนาบริการสาธารณะในพ้ืนที่เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งมีส่วนในการตรวจสอบการปฏิบัติงานของหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ภาครัฐในทุก ๆ ด้าน
๑๑.๗ ปรับปรุงระเบียบ กฎหมาย เพื่อเอื้อต่อการทําธุรกิจและการใช้
ชีวิตประจําวัน
๑๑.๗.๑ ปรับปรุงขั้นตอนและระยะเวลาการให้บริการ การอํานวย
ความสะดวก ต้นทุนค่าใช้จ่าย กฎหมาย กฎ และระเบียบต่าง ๆ ของภาครัฐ ให้สามารถ สนับสนุนและเอื้อต่อการประกอบธุรกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศและเท่าทันกับ การเปลี่ยนแปลงบริบทต่าง ๆ โดยครอบคลุมกระบวนการตั้งแต่จัดตั้งธุรกิจจนถึงการปิดกิจการ พร้อมทั้งกํากับและส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐปฏิบัติตามและบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ยุติธรรม เสมอภาค เท่าเทียม ถูกต้องตามหลักนิติธรรม และเป็นไปตามปฏิญญาสากล ตลอดจน เร่งรัดการพัฒนาระบบการบริหารจัดการข้อมูลต่าง ๆ ของหน่วยงานภาครัฐให้มีความเชื่อมโยงกัน อย่างไร้รอยต่อ เพื่อให้ประชาชนสามารถติดต่อราชการได้โดยสะดวก รวดเร็ว โปร่งใส และตรวจสอบได้
๑๑.๗.๒ ส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐจัดให้มีสนามทดลองแนวคิด
ทางธุรกิจ ผลิตภัณฑ์ หรือนวัตกรรมใหม่ภายใต้การกํากับดูแลของหน่วยงาน เพื่อนําไปสู่การส่งเสริม ให้ผู้ประกอบการสามารถสร้างธุรกิจ ผลิตภัณฑ์ หรือนวัตกรรมใหม่ ๆ และการพัฒนาปรับปรุง กฎระเบียบให้ทันสมัยต่อไป
๑๑.๗.๓ ส่งเสริมการแข่งขันทางการค้าที่เสรีและเป็นธรรม
โดยกํากับดูแลให้เกิดความเป็นธรรมทางการค้าและติดตามพฤติกรรมของผู้ประกอบธุรกิจ ที่มีแนวโน้มจะก่อให้เกิดการผูกขาดอย่างใกล้ชิด บังคับใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้าอย่างจริงจัง และมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมอย่างรวดเร็วและเสมอภาค ของประชาชน
๑๑.๘ กระจายอํานาจ ความรับผิดชอบ และเพิ่มบทบาทการปกครอง
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และส่งเสริมบทบาทของเอกชนและชุมชนในการให้บริการ สาธารณะ โดยเร่งพัฒนาองค์กรและบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีศักยภาพ และมีความรับผิดชอบมากขึ้นทั้งในการบริหารและการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อให้องค์กรปกครอง ส่วนท้องถ่ินสามารถบริหารจัดการตนเองตามหลักธรรมาภิบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้ง ส่งเสริมบทบาทของเอกชนและชุมชนท้องถิ่นและภาคีอื่น ๆ ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ รวมถึงการจัดให้มีบริการสาธารณะต่าง ๆ ให้ตรงกับความต้องการของประชาชน เพื่อนําไปสู่การ ยกระดับมาตรฐานการให้บริการของรัฐให้เทียบเท่ากับมาตรฐานสากลและสนับสนุนการพัฒนา ยุทธศาสตร์เชิงพื้นที่
๑๒. การป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ และ
กระบวนการยุติธรรม
๑๒.๑ แก้ไขปัญหาทุจริตและประพฤติมิชอบ โดยจัดให้มีมาตรการและ
ระบบเทคโนโลยีนวัตกรรมที่ช่วยป้องกันและลดการทุจริตประพฤติมิชอบอย่างจริงจังและเข้มงวด รวมทั้งเป็นเครื่องมือในการติดตามการแก้ไขปัญหาทุจริตและประพฤติมิชอบอย่างเป็นระบบ พร้อมทั้งเร่งสร้างจิตสํานึกของคนในสังคมให้ยึดมั่นในความซื่อสัตย์ สุจริต ถูกต้อง ชอบธรรม และสนับสนุนทุกภาคส่วนใหเ้ ข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและเฝ้าระวังการทุจริตประพฤติมิชอบ
๑๒.๒ ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม โดยส่งเสริมให้มีรูปแบบการลงโทษอื่น
ที่ไม่ใช่โทษอาญาตามหลักสากล มุ่งเน้นยกระดับการพัฒนาระบบ แก้ไข บําบัด ฟื้นฟูผู้กระทําผิด ส่งเสริม ปกป้อง คุ้มครองสิทธิมนุษยชน พัฒนาประสิทธิภาพระบบการสืบสวนสอบสวน ด้านการปราบปรามอาชญากรรมพิเศษ กําหนดมาตรการคุ้มครองเจ้าหน้าที่ของรัฐในกระบวนการ ยุติธรรมให้สามารถปฏิบัติหน้าที่โดยปราศจากการแทรกแซงหรือครอบงําใด ๆ พร้อมทั้งบูรณาการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรมให้ดําเนินงานสอดประสานกันอย่างเป็นองคาพยพ เพื่อให้สามารถจัดการกับข้อขัดแย้งและกรณีพิพาทได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเน้นการทํางานเชิงรุก รวมทั้งพัฒนาบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมให้สามารถอํานวยความยุติธรรมได้อย่างเป็นธรรม เสมอภาค โปร่งใส รวดเร็ว ทั่วถึง และปราศจากการเลือกปฏิบัติ สร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการ ยุติธรรมได้ และสร้างสังคมที่พัฒนาอย่างเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ํา เกิดความเสมอภาค และเท่าเทียม พร้อมทั้งผลักดันให้เกิดการนําเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมสมัยใหม่มาใช้ ในการพัฒนาระบบฐานข้อมูลกฎหมาย พัฒนากฎหมายและกระบวนการยุติธรรม เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส ไม่เลือกปฏิบัติ และเป็นธรรม รวมทั้ง ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายที่จําเป็นและเหมาะสมแก่ผู้ยากไร้หรือผู้ด้อยโอกาสในการเข้าถึง กระบวนการยุติธรรมได้โดยสะดวกและรวดเร็ว
ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ
นโยบายหลักทั้ง ๑๒ ด้านของรัฐบาลที่กระผมกล่าวมาข้างต้น จะเป็นทิศทาง
การบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลในช่วง ๔ ปีข้างหน้า อย่างไรก็ดี จากสถานการณ์และปัญหา ที่ประเทศไทยกําลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาปากท้องของประชาชนกลุ่มต่าง ๆ สถานการณ์เศรษฐกิจโลกและการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจภายในประเทศ รัฐบาลได้กําหนดเรื่องเร่งด่วนที่ต้องดําเนินการ เพื่อบรรเทาปัญหาและลดผลกระทบกับประชาชน และระบบเศรษฐกิจ ดังนี้ นโยบายเร่งด่วน ๑๒ เรอื่ ง
๑. การแก้ไขปัญหาในการดํารงชีวิตของประชาชน โดยลดข้อจํากัดในการ
ประกอบอาชีพของคนไทย การจัดการระบบการขนส่งสาธารณะผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล ทบทวน รูปแบบและมาตรฐานหาบเร่แผงลอยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อยังคงเอกลักษณ์ ของเมืองหลวงแห่งร้านอาหารริมถนน ทําให้บ้านเมืองเป็นระเบียบเรียบร้อยและสวยงาม แก้ไข
ปัญหาหนี้สินและลดภาระหนี้สินของประชาชนในกองทุนหมู่บ้าน กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา หนี้สินนอกระบบ การฉ้อโกงหลอกลวงประชาชนโดยครอบคลุมไปถึงการฉ้อโกงหลอกลวง ผ่านระบบออนไลน์ ปรับปรุงระบบภาษีและการให้สินเชื่อที่เอื้อให้ประชาชนสามารถมีท่ีอยู่อาศัย เป็นของตนเองได้ตามความพร้อม ปรับปรุงระบบที่ดินทํากินให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงได้ จัดทํา แนวทางการกําหนดสิทธิและการจัดการสิทธิในที่ดินของเกษตรกรที่เหมาะสม ลดอุปสรรคในธุรกิจ ประมงพาณิชย์และประมงชายฝั่ง รวมทั้งช่วยเหลือดูแลประมงพื้นบ้านโดยยังต้องสอดคล้อง กับมาตรฐานด้านการประมงขององค์กรระหว่างประเทศ
๒. การปรับปรุงระบบสวัสดิการและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน
โดยปรับปรุงระบบบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและเบี้ยยังชีพของประชาชน อาทิ ผู้สูงอายุและคนพิการ ที่มีรายได้น้อย ผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส และพิจารณาขยายความครอบคลุมไปยังกลุ่มมารดาตั้งครรภ์ เด็กแรกเกิด และเด็กวัยเรียนที่ครอบครัวมีปัญหาทางเศรษฐกิจ และเร่งรัดการพัฒนาระบบบริการ สุขภาพ เพื่อลดความเหลื่อมล้ําของคุณภาพการบริการในแต่ละระบบ ลดภาระการเดินทาง ไปสถานพยาบาลของประชาชน และลดความแออัดในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ พัฒนาโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตําบล อาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน (อสม.) ระบบการแพทย์ทางไกล และภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย เพื่อให้ประชาชนที่อยู่ในชุมชนสามารถเข้าถึงหน่วยบริการ สาธารณสุขได้อย่างทั่วถึง รวดเร็ว และได้รับการบริการอย่างมีคุณภาพ
๓. มาตรการเศรษฐกิจเพื่อรองรับความผันผวนของเศรษฐกิจโลก
โดยเร่งกระบวนการจัดทํางบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ ปรับปรุง ประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อให้มีเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจโดยเร็ว จัดเตรียม มาตรการรองรับการกีดกันทางการค้าและมาตรการสนับสนุนเพื่อเพิ่มช่องทางการส่งออก ให้ผู้ส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้า ปรับปรุงทิศทางการส่งออกไปยัง ตลาดอื่นโดยเร็ว ขยายความร่วมมือทางการค้าและเศรษฐกิจกับประเทศที่มีศักยภาพ และส่งเสริม การท่องเที่ยวภายในประเทศ ทั้งในส่วนของเมืองหลัก เมืองรอง และการท่องเที่ยวชุมชน เพื่อกระจายรายได้ในรูปแบบเศรษฐกิจแบ่งปัน เพื่อสร้างรายได้และกระตุ้นเศรษฐกิจ ภายในประเทศในช่วงที่มีข้อจํากัดด้านการส่งออก และส่งเสริมผู้ประกอบการขนาดกลาง และขนาดย่อม
๔. การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและพัฒนานวัตกรรม โดยจัดพื้นที่
การเกษตรให้สอดคล้องกับระบบบริหารจัดการน้ําและคุณภาพของดินตาม Agri-Map กําหนด เป้าหมายรายได้เกษตรกรให้สามารถมีรายได้จากผลผลิตทางการเกษตรที่มคีุณภาพในสินค้าเกษตร สําคัญ อาทิ ข้าว ยางพารา มันสําปะหลัง ปาล์ม อ้อย และข้าวโพด ด้วยการชดเชย การประกัน รายได้ ส่งเสริมระบบประกันภัยสินค้าเกษตร หรือเครื่องมือทางการเงินสมัยใหม่ที่ไม่ก่อให้เกิด ผลกระทบทางวินัยการเงินการคลังของภาครัฐในระยะยาว ส่งเสริมเกษตรพันธสัญญา และศึกษา รูปแบบระบบแบ่งปันผลกําไรสินค้าเกษตรที่เป็นธรรมให้แก่เกษตรกร แก้ไขปัญหาข้าวครบวงจร ส่งเสริมการใช้ยางพาราในภาคอุตสาหกรรมและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ส่งเสริม การใช้ผลผลิตทางการเกษตรในอุตสาหกรรมพลังงาน สร้างนวัตกรรมและเครื่องมือทางการเกษตร ในราคาที่เข้าถึงได้เพื่อลดต้นทุนการผลิต ควบคุมมาตรฐานการใช้สารเคมีหรือปุ๋ยเคมี ในการเกษตรเพื่อนําไปสู่การลด ละ เลิกการใช้สารเคมีหรือปุ๋ยเคมี โดยจัดหาสิ่งทดแทนที่มี ประสิทธิภาพและเป็นท่ียอมรับของเกษตรกร ต่อยอดภูมิปัญญาและความรู้ของปราชญ์ชาวบ้าน ในการสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูป รวมทั้งเร่งศึกษาวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการใช้ กัญชา กัญชง และพืชสมุนไพรในทางการแพทย์ อุตสาหกรรมทางการแพทย์ และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เพื่อสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจและการสร้างรายได้ของประชาชน โดยกําหนดกลไกการดําเนินงาน
ที่รัดกุม เพื่อมิให้เกิดผลกระทบทางสังคมตามที่กฎหมายบัญญัติไว้อย่างเคร่งครัด
๕. การยกระดับศักยภาพของแรงงาน โดยยกระดับรายได้ค่าแรงแรกเข้าและ
กลไกการปรับอัตราค่าจ้างที่สอดคลอ้ งกับสมรรถนะแรงงานควบคู่กับการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน ผ่านกลไกคณะกรรมการไตรภาคี เพื่อนําไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพแรงงาน ควบคู่ไปกับการกํากับ ดูแลราคาสินค้าไม่ให้กระทบกับค่าครองชีพของประชาชน และสามารถจูงใจให้แรงงานพัฒนา ตนเองเพื่อปรับเปลี่ยนทักษะ และเปลี่ยนสายอาชีพให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน อุตสาหกรรมเป้าหมาย และความก้าวหน้าของเทคโนโลยี
๖. การวางรากฐานระบบเศรษฐกิจของประเทศสู่อนาคต โดยต่อยอด
อุตสาหกรรมเป้าหมายและวางรากฐานการพัฒนาภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจ หมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว ดึงดูดการลงทุนของภาคเอกชนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เขตเศรษฐกิจพิเศษ เมืองอัจฉริยะ และการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัย รวมทั้ง วางรากฐานการพัฒนาเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายในระบบ 5G ควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะของ ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม และชุมชน ในการเข้าถึงตลาดในประเทศและตลาดโลก ผ่านแพลตฟอร์มพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และการใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยีสื่อสารสมัยใหม่ ในการให้บริการสาธารณสุขและการศึกษาทางไกล การสร้างผู้ประกอบการอัจฉริยะทั้งในส่วน ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม เกษตรกร รวมถึงผู้ประกอบการยุคใหม่ พร้อมทั้งส่งเสริม การใช้ปัญญาประดิษฐ์เพื่อเป็นฐานในการขับเคลื่อนประเทศด้วยปัญญาประดิษฐ์ในอนาคต
๗. การเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ ๒๑ โดยสร้างแพลตฟอร์มการเรียนรู้ใหม่
ในระบบดิจิทัล ปรับปรุงรูปแบบการเรียนรู้มุ่งสู่ระบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ด้านวิศวกรรม คณิตศาสตร์ โปรแกรมเมอร์ และภาษาต่างประเทศ ส่งเสริมการเรียน ภาษาคอมพิวเตอร์ (Coding) ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา การพัฒนาโรงเรียนคุณภาพในทุกตําบล ส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตรออนไลน์ของสถาบันการศึกษาต่าง ๆ เพื่อแบ่งปันองค์ความรู้ ของสถาบันการศึกษาสู่สาธารณะ เชื่อมโยงระบบการศึกษากับภาคปฏิบัติจริงในภาคธุรกิจ สร้างนักวิจัยใหม่และนวัตกรเพื่อเพ่ิมศักยภาพด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมของประเทศ สร้างความรู้ความเข้าใจการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล สื่อออนไลน์ และโครงข่ายสังคมออนไลน์ของคนไทย เพื่อป้องกันและลดผลกระทบในเชิงสังคม ความปลอดภัย อาชญากรรมทางไซเบอร์ และสามารถ ใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการกระจายข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง การสร้างความสมานฉันท์
และความสามัคคีในสังคม รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมที่จําเป็นในการดําเนินชีวิต
๘. การแก้ไขปัญหาทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการทั้งฝ่ายการเมือง
และฝ่ายราชการประจํา โดยเร่งรัดการดําเนินมาตรการทางการเมืองควบคู่ไปกับมาตรการ ทางกฎหมายเมื่อพบผู้กระทําผิดอย่างเคร่งครัด นําเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการเฝ้าระวัง การทุจริตประพฤติมิชอบอย่างจริงจังและเข้มงวด และเร่งรัดดําเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย เมื่อพบผู้กระทําผิดอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ภาครัฐปลอดการทุจริตและประพฤติมิชอบโดยเร็วที่สุด พร้อมทั้งให้ภาคสังคม ภาคเอกชน และประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและเฝ้าระวัง การทุจริตประพฤติมิชอบ
๙. การแก้ไขปัญหายาเสพติดและสร้างความสงบสุขในพื้นที่ชายแดนภาคใต้
โดยเร่งรัดการแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยให้ความสําคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน และการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด รวมถึงการร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและประเทศ ทุกภูมิภาค ปราบปรามแหล่งผลิตและเครือข่ายผู้ค้ายาเสพติด ทั้งบริเวณชายแดนและพื้นที่ภายใน ฟื้นฟูดูแลรักษาผู้เสพผ่านกระบวนการทางสาธารณสุข สร้างโอกาส สร้างอาชีพ รายได้
และการยอมรับของสังคมสําหรับผู้ที่ผ่านการฟื้นฟู และเร่งสร้างความสงบสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยน้อมนํายุทธศาสตร์พระราชทาน “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” เป็นหลักในการดําเนินการ ยกระดับ คุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน ทั้งในด้านการศึกษา เศรษฐกิจ และสังคมที่สอดคล้อง กับความต้องการของประชาชนในพื้นที่ เร่งรัดการให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ
จากความไม่สงบ รวมทั้งจัดสวัสดิการที่เหมาะสมสําหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐในพ้ืนที่ โดยให้เป็นการแก้ไข ปัญหาภายในของประเทศด้วยกฎหมายไทยและหลักการสากล
๑๐. การพัฒนาระบบการให้บริการประชาชน โดยมุ่งสู่ความเป็นรัฐบาลดิจิทัล
ที่โปร่งใสตรวจสอบได้ พัฒนาระบบจัดเก็บและเปิดเผยข้อมูลของภาครัฐ ปรับปรุงระบบการอนุมัติ และอนุญาตของทางราชการที่สําคัญให้เป็นระบบดิจิทัลทั้งบุคคลและนิติบุคคล เพื่อลดการใช้ดุลยพินิจ ของเจ้าหน้าที่รัฐ ลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน ลดขั้นตอนที่ยุ่งยากเกินความจําเป็น ลดข้อจํากัดด้านกฎหมายที่เป็นปัญหาอุปสรรคต่อการทําธุรกิจและการดํารงชีวิตของประชาชน แก้ไขกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม ล้าสมัย และเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ ผ่านการทดลองใช้ มาตรการด้านกฎระเบียบต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และขับเคลื่อนการให้บริการในทิศทาง ที่ตรงกับความต้องการของประชาชนและภาคธุรกิจ
๑๑. การจัดเตรียมมาตรการรองรับภัยแล้งและอุทกภัย ตั้งแต่การป้องกันก่อนเกิดภัย
การให้ความช่วยเหลือระหว่างเกิดภัย และการแก้ไขปัญหาในระยะยาว โดยจัดระบบติดตาม สถานการณ์อย่างต่อเนื่องและกําหนดมาตรการที่เหมาะสมเพื่อให้สามารถบรรเทาความเดือดร้อน ของประชาชนให้ได้มากที่สุดและทันท่วงที รวมทั้งพัฒนาการปฏิบัติการฝนหลวงให้มีประสิทธิภาพ ยิ่งขึ้น
๑๒. การสนับสนุนให้มีการศึกษา การรับฟังความเห็นของประชาชน และ
การดําเนินการเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะในส่วนที่ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการ แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ
การดําเนินงานตามประเด็นนโยบายเร่งด่วนดังกล่าวข้างต้น รัฐบาลจะมุ่งมั่น
ดําเนินงานให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว มีความถูกต้องสอดคล้องกับกฎหมายและระเบียบ ที่เกี่ยวข้อง โดยพัฒนาจากพื้นฐานที่ได้ดําเนินการอย่างต่อเนื่อง และให้ความสําคัญกับกรอบวินัย ด้านการเงินการคลังของประเทศ ซึ่งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดสวัสดิการสําหรับประชาชน สามารถนํารายได้บางส่วนจากภาษีที่จัดเก็บได้ในแต่ละปีมาใช้ในการสนับสนุนการดําเนินนโยบาย ดังกล่าว ส่วนประเด็นนโยบายเร่งด่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา อาทิ การส่งเสริมการท่องเที่ยว การขับเคลื่อนการส่งออก การพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก รัฐบาลจะพิจารณากําหนดมาตรการ ที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดการทํางานหรือลงทุนร่วมกันระหว่างภาคเอกชนและภาครัฐเพื่อขับเคลื่อน นโยบายดังกล่าวร่วมกัน และพิจารณาใช้เครื่องมือทางการเงินสมัยใหม่ที่จะช่วยลดภาระ ด้านงบประมาณมาใช้ในการลงทุน เช่น กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย เงินสะสมของกองทุนต่าง ๆ และการแปลงสิทธิและทรัพย์สินให้เป็นทุนได้ในอนาคต เป็นต้น
อย่างไรก็ดี การดําเนินนโยบายต่าง ๆ ทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะนโยบายด้านสังคมที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา การสาธารณสุข และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อวางรากฐานการพัฒนาประเทศในระยะยาว จําเป็นต้องใช้งบประมาณในการดําเนินนโยบายดังกล่าว ซึ่งในช่วงระยะเวลาการบริหารราชการแผ่นดิน ของรัฐบาล คาดว่างบประมาณประจําปีจะอยู่ในระดับเฉลี่ยประมาณ ๓.๓ ล้านล้านบาทต่อปี ในขณะที่รายได้จากภาษีของประเทศมีอยู่อย่างจํากัด ดังนั้น รัฐบาลจึงต้องเร่งรัดพัฒนาระบบ จัดเก็บภาษีของรัฐให้มีความครอบคลุมมากขึ้น มุ่งเน้นการขยายฐานภาษีและปรับโครงสร้างภาษี ให้มีความเป็นธรรม รวมทั้งเร่งส่งเสริมการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว เพื่อสร้างรายได้ เข้าประเทศ ซึ่งเม็ดเงินดังกล่าวจะกลับมาสู่ระบบภาษีที่จะนํามาใช้ในการดําเนินนโยบาย เพื่อพัฒนาประเทศทั้งในเชิงเศรษฐกิจและเชิงสังคมตามนโยบายรัฐบาล
นอกจากนี้ แผนงานหรือโครงการใดที่มีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจและเป็นการ
วางรากฐานการพัฒนาประเทศในระยะยาว รัฐบาลจะพิจารณาใช้จ่ายจากแหล่งเงินนอกงบประมาณ ทั้งในส่วนของเงินกู้และการให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการลงทุนเพื่อพัฒนาประเทศ รวมทั้ง พิจารณาใช้เครื่องมือทางการเงินสมัยใหม่ อาทิ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย ในโครงการที่มีความคุ้มค่าทางการเงิน เพื่อลดภาระการลงทุนจากงบประมาณแผ่นดินและการกู้เงิน ซึ่งการใช้เครื่องมือทางการเงินดังกล่าว นอกจากจะช่วยลดภาระด้านการคลังของประเทศแล้ว จะช่วยให้ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของโครงสร้างพื้นฐานของประเทศได้อีกด้วย ทั้งนี้ การใช้จ่ายของรัฐบาลเพื่อดําเนินการตามนโยบายนั้น รัฐบาลจะให้ความสําคัญกับกรอบวินัย การเงินการคลังอย่างเคร่งครัด โปร่งใส และตรวจสอบได้ เพื่อให้ฐานะการเงินการคลังของประเทศ มีความมั่นคงและมีเสถียรภาพ
นโยบายที่กระผมได้แถลงมาทั้งหมดน้ี จะเป็นกรอบการบริหารราชการแผ่นดิน
ในช่วงระยะเวลาของรัฐบาล โดยยึดกรอบของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บท แผนการปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบาย และแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ ซึ่งรัฐบาลจะดําเนินการให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ตามความเร่งด่วนและทรัพยากรที่มีอยู่ โดยเมื่อการแถลงนโยบายของรัฐบาลเสร็จสิ้นแล้ว รัฐบาล จะซักซ้อมความเข้าใจกับหน่วยงานภาครัฐเพื่อให้เกิดการถ่ายทอดนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ รัฐบาลจะดําเนินการจัดทําร่างกฎหมายที่จําเป็นต้องตราขึ้น เพื่อสนับสนุนการดําเนินการตามนโยบาย เพื่อสร้างความเป็นธรรมแก่ประชาชน และขับเคลื่อน การยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของประชาชน เพื่อเป็นฐานสําคัญ ในการก้าวไปสู่การเป็นประเทศท่ีพัฒนาแล้วบนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระยะ ๒๐ ปี ข้างหน้าตามเป้าหมายของยทุ ธศาสตร์ชาติต่อไป
ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ
รัฐบาลขอให้ความเชื่อมั่นแก่รัฐสภาและประชาชนไทยทุกภาคส่วนว่า จะบริหาร
ราชการแผ่นดินอย่างเต็มความสามารถ ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และยึดประโยชน์ส่วนรวม ของประชาชนชาวไทยเป็นที่ตั้งอย่างแท้จริง เพื่อให้ประเทศไทยก้าวต่อไปข้างหน้าอย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
ขอบคุณครับ |
63 | คำแถลงนโยบาย ของคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี แถลงต่อรัฐสภา วันจันทร์ที่ 11 กันยายน 2566
ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ
ตามที่ได้มีประกาศพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้กระผมดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พุทธศักราช 2566 และแต่งตั้งรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 กันยายน พุทธศักราช 2566 นั้น บัดนี้ คณะรัฐมนตรีได้กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินที่ยึดมั่นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยมีความสอดคล้องกับหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ และหมวด 6 แนวนโยบายแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ตลอดจนยุทธศาสตร์ชาติ พุทธศักราช 2561-2580 เรียบร้อยแล้ว คณะรัฐมนตรีจึงขอแถลงนโยบายต่อรัฐสภาให้ทราบถึงเจตนารมณ์ ยุทธศาสตร์ และนโยบายของรัฐบาล ที่มุ่งมั่นจะสร้างความสามัคคี ปรองดอง ให้เกิดขึ้นในสังคมไทย ซึ่งจะนำไปสู่ความร่วมมือกันในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองการปกครองของประเทศให้ก้าวหน้าเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนชาวไทยทุกคน
ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ
“วันนี้” ประเทศไทยกำลังเผชิญกับความท้าทายที่สำคัญทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองภายในประเทศ ซึ่งถูกซ้ำเติมจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ทำให้กลายเป็นภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจเป็นวงกว้างที่แม้แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่และยังไม่สามารถแก้ไขเยียวยาได้อย่างเป็นรูปธรรม ขณะที่ปัญหาสังคมและการเมืองยังคงยืดเยื้อ ฝังรากลึก และยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ
เศรษฐกิจของประเทศไทยกว่าร้อยละ 30.9 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) อยู่ในภาคอุตสาหกรรม และมีลักษณะกระจุกตัวอยู่ในไม่กี่หมวดสินค้า ในปัจจุบันภาคการส่งออกมีมูลค่าติดลบติดต่อกัน 3 ไตรมาส และยังมีแนวโน้มหดตัวต่อเนื่องมาจากทั้งปัจจัยภายในที่เน้นการรับจ้างผลิตด้วยเทคโนโลยีขั้นต้นถึงขั้นกลางที่ล้าสมัย ซึ่งกำลังถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยกว่า และอ่อนไหวต่อการมาถึงของการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีแบบก้าวกระโดด (Technology Disruption) รวมถึงปัจจัยภายนอกที่เกิดจากสภาวะการแข่งขันในภูมิภาคและสภาพเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าทั่วโลก
การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีแบบก้าวกระโดดได้สร้างความท้าทายให้กับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และได้กลายเป็นตัวกำหนดภูมิทัศน์ทางเศรษฐกิจที่รัฐบาลจะต้องกำหนดทิศทางในการพัฒนาจุดแข็งของประเทศ ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น เพื่อสร้างประโยชน์ต่อคนทั้งประเทศ
เศรษฐกิจของไทยยังได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของโลกที่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ยุคสมัยของเศรษฐกิจโลกาภิวัตน์ กำลังสิ้นสุดลงและได้เปลี่ยนเป็นเศรษฐกิจโลกแบบแบ่งขั้ว ซึ่งจะเป็นความท้าทายใหม่ของการเปิดเสรีทางการค้า การท่องเที่ยวและการลงทุนที่ประเทศไทยได้เคยพึ่งพาปัจจัยเหล่านี้มาในอดีต
ความขัดแย้งทางด้านเศรษฐกิจและความมั่นคงระหว่างประเทศของชาติมหาอำนาจจะยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น เป็นโจทย์ท้าทายที่ประเทศไทยจะต้องกำหนดบทบาทและวางตัวอย่างเหมาะสมในเวทีโลก เพื่อปกป้องผลประโยชน์ ส่งเสริมสันติภาพ และสร้างความมั่นคงให้กับประชาชนคนไทยประเทศไทยกำลังเผชิญภาวะหนี้ครัวเรือนที่สูงกว่าร้อยละ 90 ของ GDP ถือเป็นความเปราะบางของภาคประชาชนต่อการเปลี่ยนแปลงเชิงเศรษฐกิจ ตลอดจนระดับของหนี้สาธารณะต่อ GDP ที่สูงกว่าร้อยละ 61 ซึ่งมีแนวโน้มที่ทรงตัวอยู่ในระดับสูงจนอาจจะกลายเป็นข้อจำกัดทางด้านการคลังและการบริหารประเทศในอนาคต และโดยเฉพาะเมื่อประเทศไทยมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ยย้อนหลังอยู่ต่ำกว่าศักยภาพที่แท้จริง สะท้อนให้เห็นว่าศักยภาพในการสร้างรายได้ยังต่ำกว่าการใช้จ่าย ทำให้เกิดปัญหาหนี้สินเรื้อรัง ความเหลื่อมล้ำที่ทวีความรุนแรงขึ้น จนมีประชาชนที่มีรายได้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยที่รอการช่วยเหลือจากรัฐมากกว่า 14 ล้านคน
อีกด้านหนึ่งของระบบเศรษฐกิจคือภาคการเกษตร ประชากรจำนวนไม่น้อยของประเทศไทยกว่า 10 ล้านคน หรือราว 1 ใน 3 ของกำลังแรงงาน อยู่ในภาคนี้ที่ทำงานหนักเพื่อเลี้ยงชีพ แต่กลับสะท้อนออกมาเป็นมูลค่าเพียงร้อยละ 7 ต่อ GDP ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่ารูปแบบการทำการเกษตรที่ยังคงพึ่งพาวัฏจักรธรรมชาติและมีประสิทธิภาพของผลผลิตต่ำ แต่ค่าใช้จ่ายในการผลิตมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลให้เกษตรกรไทยมีหนี้สินเฉลี่ยครัวเรือนละกว่า 3 แสนบาท
ความแปรปรวนของสภาพอากาศและโรคอุบัติใหม่ นอกจากจะเป็นภัยพิบัติที่สร้างผลกระทบโดยตรงต่อมนุษยชาติแล้ว ยังส่งผลทางอ้อมให้เกิดกฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับใหม่ ๆ ที่ส่งผลต่อรูปแบบการค้าและการท่องเที่ยวของโลก สภาวะอากาศสุดขั้ว (Extreme Weather) ที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ (El Nino) และได้สร้างความเสี่ยงให้กับพี่น้องเกษตรกรไทยจำนวนมากที่รัฐบาลจะต้องเตรียมความพร้อมรับมือเพื่อลดผลกระทบที่รุนแรงต่อเศรษฐกิจและวิถีชีวิตของประชาชน
ด้านสังคม ประเทศไทยกำลังเผชิญกับการเข้าสู่สังคมสูงวัยแบบสมบูรณ์ (Aged Society) โดยมีคนสูงวัยมากกว่าร้อยละ 20 ของจำนวนประชากร ซึ่งจะส่งผลต่อศักยภาพทางเศรษฐกิจจากการลดลงของสัดส่วนประชากรช่วงวัยทำงาน และมีแนวโน้มที่รัฐจะต้องให้การดูแลช่วยเหลือเพิ่มขึ้น
สัดส่วนของผู้สูงวัยที่มากขึ้นเป็นการเพิ่มแรงกดดันต่อฐานะทางการคลังของรัฐบาล ทั้งในเรื่องของสวัสดิการและงบประมาณด้านสาธารณสุข ขณะที่การสร้างทรัพยากรมนุษย์เพื่อมาทดแทนกลายเป็นความท้าทายจากการที่จำนวนเด็กเกิดใหม่ในแต่ละปีมีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่อง
นอกจากความท้าทายเชิงปริมาณแล้ว การศึกษาของประเทศไทยยังมีความท้าทายเชิงคุณภาพ ที่ยังไม่สามารถผลิตบุคลากรให้ตอบสนองต่อความต้องการของเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ นักเรียน นักศึกษาที่เรียนจบใหม่ไม่สามารถหางานทำที่ตรงกับสายงานหรือจำเป็นต้องทำงานในสายงานที่มีรายได้ต่ำกว่าความสามารถทางวิชาชีพ
ด้านการเมือง ประเทศไทยได้เข้าสู่จุดเปลี่ยนผ่านด้านกฎหมาย การเมืองและการปกครอง ที่ความเห็นต่าง การแบ่งแยกทางความคิด การไม่เคารพอัตลักษณ์และวัฒนธรรมที่หลากหลาย ทำให้สังคมอยู่ในจุดที่น่ากังวล ข้อกฎหมายที่ไม่ทันต่อสถานการณ์บ้านเมืองกลายเป็นต้นเหตุของอุปสรรคปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน สินบน อาชญากรรม การหลอกลวงฉ้อฉล การพนัน และยาเสพติดที่ทวีความรุนแรงขึ้นจนกลายเป็นความสิ้นหวังของประชาชนที่มีต่อระบบการเมืองและระบบราชการของประเทศไทย
ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ
ความท้าทายเหล่านี้เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาความยากจน ความเหลื่อมล้ำและความยากลำบากให้กับสังคมไทย ทำให้ประเทศไทยขาดความพร้อมที่จะเติบโตได้อย่างเต็มศักยภาพ เกิดวิกฤตศรัทธาของประชาชน และกลายมาเป็นเป้าหมายของรัฐบาลนี้ที่จะต้องแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน สร้างความพร้อม และวางรากฐานเพื่อสร้างอนาคตที่ดีกว่าให้กับคนไทยทุกคนทั้งในปัจจุบันและในอนาคต
ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ
รัฐบาลชุดนี้มีนโยบายที่จะพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ สร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง และเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติพระราชกรณียกิจของสถาบันพระมหากษัตริย์ รวมทั้งการดำเนินงานของประชาชนจิตอาสาพระราชทานตามแนวพระราชดำริอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนส่งเสริมสถาบันศาสนาให้เป็นกลไกในการสร้างคุณธรรมและจริยธรรมในการดำเนินชีวิต
เพื่อแก้ปัญหา สร้างความพร้อม และวางรากฐานอนาคตให้กับคนไทยทุกคน รัฐบาลมีกรอบนโยบายในการบริหารและพัฒนาประเทศตามกรอบความเร่งด่วน ได้แก่
กรอบระยะสั้น รัฐบาลมีความจำเป็นที่จะต้องกระตุ้นการใช้จ่าย จุดประกายให้เครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจกลับมาเติบโตอีกครั้ง ประกอบกับการเร่งแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าของประชาชนอย่างเร่งด่วนและรวดเร็ว
กรอบระยะกลางและระยะยาว รัฐบาลจะเสริมขีดความสามารถให้กับประชาชน ผ่านการสร้างรายได้ ลดรายจ่าย สร้างโอกาส ลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้กับประชาชนทุกคน
ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ
ด้วยสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน ประเทศไทยเปรียบเสมือนคนป่วยที่ได้รับผลกระทบมากกว่าประเทศเพื่อนบ้านในช่วงโควิด-19 ส่งผลให้เครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจของเราในหลากหลายส่วนภาคการท่องเที่ยว การใช้จ่ายก็ฟื้นฟูได้ช้าจนมีความเสี่ยงของภาวะเศรษฐกิจถดถอย เป็นที่มาของความจำเป็นที่จะต้องกระตุ้นเศรษฐกิจ กระตุ้นการใช้จ่าย เพิ่มความเชื่อมั่นเพื่อดึงดูดการลงทุน และฟื้นฟูเครื่องยนต์เศรษฐกิจของเราอีกครั้ง
นโยบายการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet จะทำหน้าที่เป็นตัวจุดชนวนที่จะกระตุกเศรษฐกิจประเทศให้ตื่นขึ้นมาอีกครั้ง เราจะใส่เงินเข้าไปในระบบเศรษฐกิจอย่างทั่วถึง และกระจายไปยังทุกพื้นที่ให้หมุนเวียนอยู่ในระบบเศรษฐกิจให้ถึงฐานราก เกิดการจับจ่ายใช้สอยยกระดับคุณภาพชีวิตและสร้างโอกาสในการประกอบอาชีพของประชาชน และภาคธุรกิจที่จะขยายการลงทุน ขยายกิจการ เกิดการผลิตสินค้าที่มากขึ้น นำไปสู่การจ้างงาน สร้างอาชีพ และเกิดการหมุนเวียนของกิจกรรมทางเศรษฐกิจอีกหลายรอบ รัฐบาลเองก็จะได้รับผลตอบแทนคืนมาในรูปแบบของภาษี
และที่สำคัญ การดำเนินนโยบายนี้จะเป็นการวางรากฐานเศรษฐกิจดิจิทัลให้กับประเทศ เป็นการเตรียมความพร้อมของประเทศให้เข้าสู่เศรษฐกิจสมัยใหม่ สร้างโอกาสใหม่ ๆ ให้กับประชาชน เปิดประตูให้ภาคธุรกิจได้เข้าถึงแหล่งทุนใหม่ เพิ่มประสิทธิภาพและสร้างความโปร่งใส ให้กับกลไกการชำระเงินของระบบเศรษฐกิจและรัฐบาล
ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ
การกระตุ้นเศรษฐกิจที่กล่าวไปเป็นจุดเริ่มต้นของการพลิกฟื้นเศรษฐกิจ รัฐบาลมีนโยบายอีกหลากหลายประการที่สามารถทำได้โดยเร็ว เพื่อเร่งแก้ปัญหา และช่วยเหลือประชาชนผ่านนโยบายดังต่อไปนี้
นโยบายแรก คือ การแก้ปัญหาหนี้สินทั้งในภาคเกษตร ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน รัฐบาลจะลดภาระพี่น้องเกษตรกรด้วยการพักหนี้เกษตรกรตามเงื่อนไขและคุณสมบัติที่เหมาะสม รวมถึงมาตรการช่วยประคองภาระหนี้สินและต้นทุนทางการเงินสำหรับภาคประชาชนที่ครอบคลุมถึงผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ให้ได้มีโอกาสในการฟื้นตัวและกลับมาดำเนินธุรกิจได้อีกครั้ง นอกจากนี้รัฐบาลจะมีมาตรการในการแก้ไขปัญหาหนี้สินของกลุ่มอื่น ๆ ภายใต้ปรัชญาที่จะไม่ขัดต่อวินัยทางการเงินและไม่ทำให้เกิดภาวะภัยทางจริยธรรม (Moral Hazard) ของผู้มีภาระหนี้สิน
นโยบายเร่งด่วนถัดมา คือ การลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานให้แก่ประชาชน อันเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตและเศรษฐกิจ รัฐบาลจะสนับสนุนให้เกิดการบริหารจัดการราคาพลังงานทั้งค่าไฟฟ้า ค่าก๊าซหุงต้ม และค่าน้ำมันเชื้อเพลิงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมในทันที
นอกจากนี้ รัฐบาลจะปรับเปลี่ยนโครงสร้างการใช้พลังงานของประเทศ โดยวางแผนความต้องการและสนับสนุนการจัดหาแหล่งพลังงานอย่างเหมาะสม ส่งเสริมการผลิตและการใช้พลังงานสะอาดและพลังงานหมุนเวียน เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เร่งเจรจาการใช้พลังงานในพื้นที่อ้างสิทธิกับประเทศข้างเคียงและสำรวจแหล่งพลังงานเพิ่มเติม รวมถึงการสนับสนุนให้เกิดการจัดหาแหล่งพลังงานใหม่ ๆ ภายใต้กลไกตลาด เพื่อให้มั่นใจว่าประเทศไทยจะมีความมั่นคงทางพลังงานที่จะขับเคลื่อนประเทศต่อไป
นโยบายที่สาม คือ รัฐบาลจะผลักดันการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว เพราะการท่องเที่ยวจะเป็นกุญแจดอกแรกในการสร้างรายได้ที่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้ในระยะสั้นและสร้างงานให้กับประชาชนเป็นจำนวนมาก เราตั้งเป้าว่าจะเปิดประตูรับนักท่องเที่ยวด้วยการอำนวยความสะดวก ปรับปรุงขั้นตอนการขอวีซ่า และการยกเว้นการเก็บค่าธรรมเนียมวีซ่าสำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยวในกลุ่มประเทศเป้าหมาย การจัดทำ Fast Track VISA สำหรับผู้เข้าร่วมงานแสดงสินค้านานาชาติ (MICE) และเพื่อเป็นการกระตุ้นการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวในช่วงสิ้นปี
รัฐบาลจะร่วมกับภาคธุรกิจในทุกภาคส่วนเป็นเจ้าภาพจัดงานแสดงสินค้า งานเทศกาลระดับโลก เพื่อยกระดับประเทศไทยให้เป็นสถานที่สำหรับการจัดงานแสดงต่าง ๆ ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งในภูมิภาคนี้
ในขณะเดียวกัน รัฐบาลจะผลักดันการพัฒนาการบริหารจัดการทุกขั้นตอนการบริการที่เป็นประตูสู่ประเทศไทย ซึ่งรวมถึงการปรับปรุงระบบคมนาคมทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ โดยจะปรับปรุงสนามบินและจัดการเที่ยวบินของสนามบินทั่วประเทศให้มีประสิทธิภาพเพิ่มปริมาณเที่ยวบินให้สามารถนำนักท่องเที่ยวมาสู่ประเทศไทยได้มากขึ้น แก้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันและปราบปรามการเอาเปรียบนักท่องเที่ยว ซึ่งการรักษาความปลอดภัยจะสร้างความมั่นใจและความประทับใจกับประเทศไทยในระยะยาว
และนโยบายเร่งด่วนสุดท้าย คือการแก้ปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เพื่อให้คนไทยได้มีรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น โดยยึดรูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและไม่แก้ไขในหมวดพระมหากษัตริย์ โดยรัฐบาลจะหารือแนวทางในการทำประชามติที่ให้ความสำคัญกับการทำให้ประชาชนทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมออกแบบกฎ กติกาที่เป็นประชาธิปไตย ทันสมัยและเป็นที่ยอมรับร่วมกัน รวมถึงการหารือแนวทางการจัดทำรัฐธรรมนูญในรัฐสภาเพื่อให้ประเทศสามารถเดินต่อไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง
รัฐบาลจะสร้างความชอบธรรมในการบริหารราชการแผ่นดินในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยการฟื้นฟูหลักนิติธรรม (Rule of Law) ที่เข้มแข็ง มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และเป็นที่ยอมรับจากนานาประเทศ เพราะการมีหลักนิติธรรมที่น่าเชื่อถือเป็นการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานทางความคิดและสังคมที่สำคัญของประเทศ เป็นการลงทุนทำให้ประเทศไทยมีหลักนิติธรรมที่น่าเชื่อถือที่ใช้งบประมาณของรัฐน้อยที่สุด แต่ได้ประสิทธิภาพมากที่สุดในการพัฒนาประเทศ
ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ
นอกจากการดำเนินนโยบายเร่งด่วนเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะตามที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว รัฐบาลยังมีนโยบายที่จะส่งผลกระทบระยะกลางและระยะยาว สร้างชีวิตที่ดีกว่าให้กับประชาชนคนไทยในหลายมิติด้วยกัน ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การสร้างรายได้ สร้างโอกาส สร้างคุณภาพชีวิต และคืนศักดิ์ศรีของการเป็นคนไทย โดยการดำเนินนโยบายดังต่อไปนี้
รัฐบาลมีแนวทางที่จะสร้างรายได้โดยการใช้การทูตเศรษฐกิจเชิงรุกเพื่อเปิดประตูการค้าสู่ตลาดใหม่ ๆ ให้สินค้าและบริการของประเทศไทย อาทิ กลุ่มสหภาพยุโรป กลุ่มประเทศในตะวันออกกลาง อินเดีย แอฟริกา อเมริกาใต้รวมถึงการให้ความสำคัญกับตลาดเดิมที่รวมถึงประเทศบ้านใกล้เรือนเคียง โดยการออกไปพบผู้นำประเทศต่าง ๆ เพื่อชักชวนให้มาค้าขายสินค้าและบริการของกันและกัน ซึ่งจะเพิ่มโอกาสให้กับสินค้าและบริการที่คิดและผลิตจากฝีมือของคนไทยมากขึ้น เร่งการเจรจากรอบความร่วมมือทางการค้าระหว่างประเทศ (FTA) และเจรจาเพื่อยกระดับหนังสือเดินทางไทย (Passport) ให้สามารถเดินทางได้หลายประเทศมากยิ่งขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องขอวีซ่า ปรับปรุงกระบวนการพิจารณาอนุมัติโครงการลงทุนผ่านสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนและสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเพื่อดึงดูดการลงทุนที่จะช่วยเพิ่มความสามารถทางการผลิต สร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้า และวางรากฐานให้เศรษฐกิจในระยะยาว
รัฐบาลจะส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ อาทิ การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล อุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง อุตสาหกรรมสีเขียว และอุตสาหกรรมความมั่นคงของประเทศรวมทั้งการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมในประเทศเพื่อให้เป็นเครื่องยนต์ใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และยกระดับศักยภาพการแข่งขันของประเทศ รวมไปถึงการพัฒนาต่อยอดเขตเศรษฐกิจพิเศษและระเบียงเศรษฐกิจทั้ง 4 ภาค ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ตลอดจนการพัฒนาพื้นที่และเมืองให้เป็นไปตามผังเมืองที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน เพื่อให้เกิดการกระจายความเจริญและกิจกรรมทางเศรษฐกิจไปสู่ภูมิภาคเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ในประเทศ รัฐบาลจะจัดทำ Matching Fund ซึ่งเป็นการลงทุนร่วมกันระหว่างรัฐบาลและเอกชน เพื่อลงทุนพัฒนา Start-up ที่มีศักยภาพให้เติบโตและแข่งขันได้ในระดับโลก สร้างความแข็งแกร่งของธุรกิจใหม่ และรัฐบาลจะสนับสนุนตลาดทุนเพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่นักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ในขณะเดียวกัน รัฐบาลจะดำเนินการพัฒนาเศรษฐกิจการค้าที่ถูกกฎหมายตามแนวชายแดน เพื่อสร้างเงิน สร้างงาน สร้างรายได้ให้กับประชาชน และเป็นการสนับสนุนเสถียรภาพให้เกิดขึ้นเพื่อสร้างประโยชน์ร่วมกันของทุกประเทศ ตลอดจนการเป็นผู้นำในการส่งเสริมสันติภาพและผลประโยชน์ร่วมกันของโลก และบริหารสถานการณ์ภูมิศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศอย่างเหมาะสม
รัฐบาลจะลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งของประเทศทั้งทางถนน ทางน้ำ ทางราง และทางอากาศ เพื่อเปิดประตูค้าขายและเปิดโอกาสของประเทศไทยให้เพิ่มขึ้น และเป็นการสร้างประโยชน์จากสินทรัพย์ของประเทศและของประชาชน เพื่อตอบสนองต่อความต้องการสินค้าและบริการรูปแบบใหม่ของโลกสำหรับประชาชนในภาคการเกษตร รัฐบาลจะสร้างรายได้ในภาคการเกษตรโดยใช้หลักการ ตลาดนำนวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้ โดยการสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพของภาคการเกษตรควบคู่ไปด้วยกัน จะมีการบูรณาการองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพเพื่อตอบสนองต่อความต้องการน้ำในแต่ละพื้นที่ ใช้การบริหารจัดการแปลงเกษตรด้วยนวัตกรรมเกษตรแม่นยำ (Precision Farming) การวิจัย พัฒนาพันธุ์ เพื่อเพิ่มผลผลิตและเพิ่มมูลค่าผลตอบแทนต่อไร่ให้สูงขึ้น ตลอดจนการหาตลาดให้สินค้าเกษตรได้ขายในราคาที่เหมาะสม สนับสนุนให้เปลี่ยนแปลงการปลูกพืชให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและเศรษฐกิจ และการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรให้มีมูลค่าสูงขึ้น
นอกจากนี้ รัฐบาลจะฟื้นชีวิตอุตสาหกรรมประมงให้กลับมาเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญของประชาชนอีกครั้งด้วยการแก้ไขข้อกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายให้เหมาะสม อันเป็นการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลให้อยู่กับประเทศอย่างยั่งยืน
การบริหารจัดการภาคการเกษตรที่ครบถ้วนทุกด้านตั้งแต่ดิน น้ำ พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์กลไกราคา แหล่งเงินทุน นวัตกรรม และกรรมสิทธิ์ที่ดินของเกษตรกรผู้ปลูกพืช ผู้เลี้ยงปศุสัตว์ และกลุ่มประมง มีเป้าหมายทำให้รายได้ของเกษตรกรทั้งประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญภายในระยะเวลา 4 ปี
การสร้างรายได้ผ่านนโยบายข้างต้น จะเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างชีวิตของคนไทยให้มีเกียรติ มีเงินเดือนและค่าแรงขั้นต่ำที่เป็นธรรม สอดคล้องและเพียงพอต่อปัจจัยด้านการดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี เติบโตไปพร้อมกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งสามารถทำให้ผู้ใช้แรงงานเข้าถึงระบบสวัสดิการที่เหมาะสม
ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ
นอกเหนือไปจากรายได้ที่จะเพิ่มขึ้น พอเพียงต่อการเลี้ยงชีพแล้ว รัฐบาลมีความตั้งใจที่จะสร้างและขยายโอกาสให้กับประชาชนผ่านการดำเนินนโยบายดังต่อไปนี้
นโยบายแรก คือ การให้ประชาชนสามารถใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์เพื่อสร้างโอกาสในการมีอาชีพ รายได้ และความมั่นคงในชีวิต โดยรัฐบาลจะเร่งดำเนินการให้ประชาชนมีสิทธิในที่ดิน มีชีวิตที่มั่นคง พิจารณาเอกสารสิทธิการใช้ประโยชน์ให้เป็นโฉนด เพื่อให้สามารถนำไปต่อยอดให้เข้าถึงแหล่งทุนได้ นำมาพัฒนาที่ดินเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในระยะยาว
นอกจากนี้ รัฐบาลจะส่งเสริมแนวทางที่สร้างรายได้จากผืนดินและส่งเสริมสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน โดยกำหนดให้มีสัดส่วนการปลูกไม้ยืนต้นให้เหมาะสมกับประเภทและลักษณะของพื้นที่ และส่งเสริมให้เจ้าของที่ดินหรือชุมชนโดยรอบได้รับประโยชน์จากการเพิ่มพูนของระบบนิเวศ การขายคาร์บอนเครดิตอย่างยุติธรรม และได้รับการยอมรับจากระดับสากล
นโยบายถัดไป คือ การเปลี่ยนบทบาทของรัฐที่เคยเป็นผู้กำกับดูแลที่เต็มไปด้วยกฎ ระเบียบ และข้อบังคับ ให้เป็นผู้สนับสนุนที่ปลดล็อกข้อจำกัดของประชาชน สร้างโอกาสให้กับประชาชนในการสร้างรายได้และเจริญเติบโต อาทิ การยกเลิกและปรับปรุงกฎหมายที่ไม่จำเป็น เช่น การปลดล็อกกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับสุราพื้นบ้าน เป็นต้น
รัฐบาลจะใช้การบริหารในรูปแบบของการกระจายอำนาจ (ผู้ว่า CEO) เพื่อสร้างประสิทธิภาพในการบริหารงานในแต่ละจังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ กล่าวคือ จะมีการเปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดเพื่อสร้างโอกาสและสร้างประโยชน์ให้ประชาชนเป็นสำคัญ สนับสนุนการจัดการปัญหาทุจริตและประพฤติมิชอบอย่างเด็ดขาด โดยรัฐบาลจะใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการให้บริการมาเพิ่มประสิทธิภาพ สร้างความโปร่งใส ขจัดช่องโหว่ในการทุจริต ลดค่าใช้จ่าย และปรับปรุงการทำงานของภาครัฐให้เป็นรัฐบาลดิจิทัล ทำให้ประชาชนได้รับความสะดวกมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ รัฐบาลจะสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดสรรทรัพยากร ทั้งด้านงบประมาณและการเลือกตัวแทนของผู้บริหารที่จะเป็นตัวแทนการพัฒนาท้องถิ่นบ้านเกิดเมืองนอน ซึ่งจะช่วยให้เกิดการกระจายทรัพยากรและกระจายอำนาจการบริหารจัดการไปสู่ชุมชน
อีกนโยบายหนึ่ง คือ การเปิดรับแรงงานต่างด้าวและกลุ่มผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศที่เข้ามาทำงานสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อตอบสนองความต้องการทรัพยากรบุคคลและแรงงานทั้งภาคการผลิต ภาคการบริการ ภาคการพัฒนาเทคโนโลยี ที่แรงงานกลุ่มดังกล่าวยังมีความจำเป็นในการสนับสนุนการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
รัฐบาลนี้ยังมีนโยบายสนับสนุนการสร้างพลังสร้างสรรค์หรือ Soft Power ของประเทศ เพื่อยกระดับและพัฒนาความสามารถด้านความรู้ความสามารถ และความคิดสร้างสรรค์ของคนไทยให้สร้างมูลค่าและสร้างรายได้รวมทั้งการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและพัฒนาต่อยอดศิลปะ วัฒนธรรมและส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อนำมาต่อยอดในการสร้างมูลค่าเพิ่ม นอกจากนี้รัฐบาลจะสร้างงาน สร้างรายได้ผ่านการส่งเสริม 1 ครอบครัว 1 ทักษะ Soft Power ตลอดจนการส่งเสริมและพัฒนาด้านกีฬาอย่างเป็นระบบ ที่นอกจากจะช่วยเสริมสร้างสุขภาพที่ดีของประชาชนแล้ว ยังสามารถพัฒนาเป็นอาชีพทั้งในบทบาทที่เป็นนักกีฬา ผู้ฝึกสอน และผู้มีวิชาชีพด้านการสนับสนุนของวงการกีฬาที่สามารถสร้างรายได้ โดยเฉพาะกีฬาที่เป็นที่นิยมในระดับสากล
ในด้านการศึกษา รัฐบาลจะดำเนินนโยบายปฏิรูปการศึกษาและสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต มุ่งส่งเสริมให้เป็นคนดี มีวินัย ภูมิใจในชาติ รวมทั้งเสริมสร้างศักยภาพของผู้เรียนตามความถนัด เพื่อสร้างอนาคต สร้างรายได้กระจายอำนาจการศึกษาให้ผู้เรียนได้เข้าถึงการเรียนรู้อย่างทั่วถึง มีอุปกรณ์การเรียนที่เหมาะสมต่อผู้เรียนแต่ละวัย และใช้ระบบเทคโนโลยีการศึกษาสมัยใหม่ จัดทำหลักสูตรและให้คำแนะนำที่เหมาะสมกับความรู้ความสนใจของผู้เรียน ส่งเสริมงานวิจัยและพัฒนาทั้งในด้านสังคม ด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์ (Applied Science) และการวิจัยขั้นแนวหน้า (Frontier Research) เพื่อต่อยอดให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยไม่ละเลยการศึกษาประวัติศาสตร์ความเป็นมาของประเทศและการปลูกฝังความรักในสถาบันหลักของชาติ เพื่อให้มีความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคม และการเมืองของโลกสมัยใหม่อย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม
รัฐบาลจะให้ความสำคัญต่อความมีคุณภาพของครูทั้งประเทศ รวมไปถึงครูแนะแนวเพื่อช่วยให้นักเรียนได้รับคำแนะนำด้านเนื้อหาของวิชาการและการเข้าถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจเลือกเรียนและประกอบอาชีพ รวมไปถึงการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจของนักเรียนทุกคน นอกจากนี้รัฐบาลจะส่งเสริมการสร้างรายได้ให้แก่นักเรียน นักศึกษา ทั้งสายวิชาการและสายอาชีพให้มีรายได้จากวิชาที่เรียน โอกาสฝึกงานระหว่างเรียน เพื่อสร้างบุคลากรที่มีทักษะและความสามารถตรงต่อความต้องการของการจ้างงาน และที่สำคัญที่สุด รัฐบาลจะดำเนินการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่เป็นรากฐานสำคัญของความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในสังคมไทย
ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ
นอกเหนือจากการสร้างรายได้และโอกาสแล้ว รัฐบาลจะดำเนินนโยบายเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี นำความปลอดภัย สร้างศักดิ์ศรีและนำความภาคภูมิใจมาสู่ประชาชนไทยทุกคน
คุณภาพชีวิตที่ดีข้อที่หนึ่ง คือ การมีความมั่นคงทั้งภายในและภายนอกที่สอดคล้องกับสภาวะของโลก รัฐบาลจะสนับสนุนให้มีการปรับโครงสร้างของหน่วยงานความมั่นคงให้มีความทันสมัยและสามารถตอบสนองต่อการคุกคามและภัยความมั่นคงรูปแบบใหม่ในศตวรรษที่ 21 และเป็นกลไกสำคัญในการพิทักษ์เอกราช สร้างความมั่นคง และความปลอดภัยในทุกพื้นที่ของประเทศ รวมทั้งสนับสนุนการพัฒนาและการแก้ไขปัญหาภัยคุกคามและภัยพิบัติ เพื่อช่วยเหลือประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ รัฐบาลจะร่วมกันพัฒนากองทัพให้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของประเทศพร้อมกับประชาชน โดย (1) จะเปลี่ยนรูปแบบการเกณฑ์ทหารเป็นแบบสมัครใจ (2) ปรับปรุงการฝึกนักศึกษาวิชาทหารหน่วยบัญชาการรักษาดินแดนให้เป็นแบบสร้างสรรค์ (3) ลดกำลังพลนายทหารชั้นสัญญาบัตรระดับสูง และกำหนดอัตรากำลังในกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ให้สอดคล้องกับบทบาทและภารกิจในปัจจุบันและอนาคตของประเทศ (4) ปรับปรุงกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงกลาโหมให้มีความทันสมัย โปร่งใส ตรวจสอบได้ และสอดคล้องกับรูปแบบและความเสี่ยงของภัยคุกคามทั้งในปัจจุบันและอนาคต และ (5) นำพื้นที่ของหน่วยทหารที่เกินความจำเป็นมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชน โดยเฉพาะการใช้เพื่อการเกษตร การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค การเพิ่มพูนความสมบูรณ์ของระบบนิเวศ และการใช้เป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการสร้างรายได้ การสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจและการสร้างความเข้มแข็งด้านสังคมของประเทศ
ด้านความปลอดภัย รัฐบาลจะทำงานร่วมกับประชาชนทุกภาคส่วนเพื่อดำเนินการปราบปรามผู้มีอิทธิพลและยาเสพติดให้หมดไปจากสังคมไทย โดยยึดหลักการ “เปลี่ยนผู้เสพเป็นผู้ป่วย” สนับสนุนให้ผู้เสพเข้ารับการรักษาบำบัดอย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึง เพื่อเพิ่มจำนวนทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพให้กลับเข้าสู่สังคมและพัฒนาความสามารถให้เข้าสู่ภาคแรงงาน ส่วนผู้ผลิตและผู้ค้า คือผู้ที่ต้องได้รับโทษตามกระบวนการยุติธรรม โดยใช้มาตรการปราบปรามทางกฎหมายอย่างจริงจัง ซึ่งรวมถึงการ “ยึดทรัพย์” เพื่อตัดวงจรการค้ายาเสพติด พร้อมดำเนินการเจรจาทางการทูตกับประเทศตามแนวชายแดน เพื่อควบคุมการลักลอบนำยาเสพติดเข้ามาในประเทศไทย และดึงประชาชนออกจากวงจรการค้ายาเสพติดอย่างถาวร นอกจากนี้ รัฐบาลจะดำเนินแนวทางนโยบายการใช้ประโยชน์จากกัญชาทางการแพทย์และสุขภาพเพื่อสร้างมูลค่าในเชิงเศรษฐกิจ
คุณภาพชีวิต อันดับที่สอง คือ ชีวิตที่มีสิ่งแวดล้อมที่สะอาดสำหรับทุกคน รัฐบาลจะดูแลรักษาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของประเทศซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญในการพัฒนาประเทศและส่งผลต่อสุขภาพของประชาชน ส่งเสริมและเร่งฟื้นฟูความสมบูรณ์ของดินและน้ำคืนสู่ธรรมชาติ รักษาความสมดุลของระบบนิเวศและอนุรักษ์ความหลากหลายพันธุ์สัตว์ป่า แก้ไขปัญหาความเสื่อมโทรมและมลภาวะเพื่อคืนสิ่งแวดล้อมที่ดีให้แก่คนไทย พร้อมทั้งวางแผนรับมือและป้องกันวิกฤตด้านสิ่งแวดล้อมที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต รัฐบาลจะแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เป็นวาระแห่งชาติโดยเฉพาะเรื่องฝุ่นควัน PM2.5 ที่ทวีความรุนแรงขึ้นทุกปี และส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนทุกคนด้วยการสร้างแรงจูงใจทางเศรษฐกิจทั้งทางบวกและทางลบในภาคเกษตรกรรม ใช้ข้อมูลจากดาวเทียมเพื่อประเมินผลและติดตามการบังคับใช้กฎหมาย รวมถึงการสร้างความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
คุณภาพชีวิต อันดับที่สาม คือ การสร้างและพัฒนาระบบสาธารณสุขให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สามารถรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินและโรคอุบัติใหม่ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต รวมทั้งสร้างความมั่นคงทางวัคซีนของประเทศในระยะยาว
เราจะยกระดับ “นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค” ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ครอบคลุมมากขึ้น มีคุณภาพมากขึ้น ประชาชนจะได้รับความสะดวกมากขึ้นด้วยบริการพื้นฐานใกล้บ้าน อาทิ การนัดพบแพทย์ การตรวจเลือด และการรับยา ประชาชนไม่ต้องลำบากเดินทางไกลเข้าไปโรงพยาบาลในเมือง ลดความแออัด และลดภาระของบุคลากรทางการแพทย์ ส่งเสริมกลไกสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค โดยเฉพาะการให้วัคซีนเพื่อป้องกันโรค อาทิ วัคซีนปากมดลูกในเด็กและสตรี มีสถานส่งเสริมสุขภาพ สถานชีวาภิบาลประจำท้องถิ่นเพื่อดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย และที่สำคัญที่สุด การบริการสาธารณสุขจะสามารถเข้าถึงได้ผ่านบัตรประชาชนใบเดียว ข้อมูลทั้งหมดจะถูกเชื่อมต่อบนฐานข้อมูลที่มีความปลอดภัย เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้ารับบริการได้ทุกที่ทั่วประเทศไทย และรัฐบาลจะมุ่งเน้นการสร้างระบบสาธารณูปโภคให้เกิดสุขภาวะอนามัยที่ดีผ่านการพัฒนาระบบน้ำประปาเพื่อให้ประชาชนมีน้ำสะอาดสำหรับการอุปโภคและบริโภคอย่างทั่วถึง
และคุณภาพชีวิตประการสุดท้ายรัฐบาลให้ความสำคัญกับความเท่าเทียมของคนทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเปราะบาง คนพิการ ผู้สูงอายุ และกลุ่มชาติพันธุ์ โดยจะดูแลให้มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี มีงาน มีรายได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าเดิมด้วย “สวัสดิการโดยรัฐ”
รัฐบาลจะผลักดันให้มีกฎหมายสนับสนุนสิทธิและความเท่าเทียมของกลุ่มความหลากหลายทางเพศ รวมถึงจะใช้กลไกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีเพื่อเปิดโอกาสให้สตรีในชุมชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนสำหรับสร้างอาชีพ สร้างรายได้ และมีชีวิตที่มั่นคงและจะสนับสนุนให้มีความร่วมมือระหว่างรัฐกับประชาชน ประชาชนกับประชาชนที่มีความแตกต่างทางความคิด ศาสนา และอุดมการณ์ ให้สามารถอาศัยอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุขภายใต้หลักนิติธรรมที่เข้มแข็ง เพื่อให้สันติภาพเป็นพื้นฐานของการพัฒนาประเทศต่อไป
ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ
รัฐบาลนี้จะเป็นรัฐบาลที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และสิ่งแวดล้อมด้วยข้อมูลที่แม่นยำและทันสมัย เป็นรัฐบาลที่จะนำเอาเทคโนโลยีและระบบดิจิทัล รวมทั้งคลื่นความถี่และสิทธิในวงโคจรดาวเทียมมาใช้อย่างเต็มรูปแบบเพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชน มีการศึกษาแลกเปลี่ยนข้อมูลและเทคโนโลยีกับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก พร้อมทั้งให้ความสำคัญกับการป้องกันภัยคุกคามข้ามชาติและการเพิ่มความปลอดภัยทางไซเบอร์ รวมถึงการให้ความรู้เท่าทันสื่อและทักษะดิจิทัลแก่ประชาชน เพื่อให้ประเทศไทยก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว ก้าวทันโลก ก้าวทันอนาคตในทุก ๆ ด้าน ตลอดจนมุ่งเน้นการบริหารประเทศในรูปแบบบูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงานให้ตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาประเทศระยะยาว
หลากหลายนโยบายที่รัฐบาลได้ประกาศไป จะเป็นการบริหารเพื่อสร้างอนาคตที่ดีขึ้นสำหรับประเทศและประชาชน แต่ในขณะเดียวกันรัฐบาลก็จะไม่ละทิ้งหน้าที่พื้นฐานที่ต้องทำงานร่วมกับประชาชน อาทิ การสร้างความเป็นธรรมในการคุ้มครอง พิทักษ์สิทธิของประชาชนและสิทธิผู้บริโภค การป้องกันและขจัดการทุจริตที่ประชาชนมีส่วนร่วม การส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ พัฒนาทุกภาคส่วนเพื่อเพิ่มศักยภาพในการสร้างรายได้ให้แก่ประเทศ และรัฐบาลจะเป็นกำลังหลักพร้อมกับภาคประชาชน ภาคเอกชน และส่วนราชการในการขับเคลื่อนประเทศไปสู่อนาคตที่ดีกว่าเดิม
รัฐบาลจะส่งเสริมการเปิดกว้างและเปิดรับความหลากหลายทางอัตลักษณ์ความเชื่อและทางความคิดจากผู้คนที่อยู่อาศัยเดิมอยู่แล้ว ผู้คนที่เดินทางเข้ามาทำงาน ท่องเที่ยว หรือย้ายถิ่นฐานมาอยู่อาศัย ผู้คนที่มาจากวัฒนธรรม มีขนบธรรมเนียมประเพณีหรือความเชื่อที่แตกต่างกัน เพื่อให้ประเทศไทยเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางของผู้คนที่มีความเป็นเลิศด้านต่าง ๆ ให้เข้ามาเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศร่วมกัน และทำให้ประเทศไทยเป็นบ้านที่ทำให้ทุกคนรู้สึกปลอดภัย สบายกาย สบายใจ และสามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข
นอกจากนี้ รัฐบาลจะสร้างบทบาทในเวทีโลก ให้ความสำคัญกับการดำเนินความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศต่าง ๆ อย่างสมดุล ตั้งอยู่บนผลประโยชน์ของประเทศเป็นสำคัญ กระชับความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน และรักษาบทบาทนำของประเทศไทยในภูมิภาคและอนุภูมิภาค รวมทั้งสร้างความร่วมมือกับกลุ่มประเทศ องค์กรทางเศรษฐกิจและการพัฒนาระหว่างประเทศ เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นและความมั่นคงของประเทศไทย
รัฐบาลจะไม่ละเลยเรื่องเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ รัฐบาลจะมุ่งลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย การส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคน อาทิ ความปลอดภัยทางถนน การลดอัตราการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร การสร้างการแข่งขันที่เป็นธรรม ควบคู่กับการสร้างสันติภาพและการปกป้องสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้ รัฐบาลจะสานต่อนโยบาย Carbon Neutrality เพื่อให้ประเทศไทยเป็นผู้นำของอาเซียนในด้านการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ การพัฒนาที่ยั่งยืนจะเปิดประตูบานใหญ่สู่การค้าโลก ซึ่งเป็นโอกาสสำคัญของประเทศไทยและสร้างข้อได้เปรียบให้ผู้ผลิตสินค้าและบริการในประเทศ ทำให้รัฐบาลสามารถเจรจาการค้าระหว่างประเทศภายใต้กฎกติกาใหม่ที่ให้ความสำคัญต่อการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และรัฐบาลจะใช้การพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งในภาคการผลิต ภาคบริการ และภาคการเงิน
รัฐบาลจะธำรงดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ พัฒนาประเทศให้ทันสมัย และสร้างทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพทัดเทียมประเทศอื่น เพื่อให้ลูกหลานของเราสามารถแข่งขันกับประเทศต่าง ๆ เพื่อสร้างความรู้ใหม่ เทคโนโลยีใหม่ เศรษฐกิจใหม่ สังคมใหม่ และการเมืองใหม่ที่เหมาะสมกับยุคสมัยที่ลูกหลานรุ่นถัดไปจะใช้ชีวิตในอนาคต
ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ
หากมองอนาคต สี่ปีข้างหน้าจะเป็นสี่ปีที่รัฐบาลจะวางรากฐานและโครงสร้างพื้นฐานใหม่ให้กับประเทศโดยยึดหลักนิติธรรมที่เข้มแข็งและน่าเชื่อถือ รัฐบาลมีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินงานให้ประสบผลสำเร็จและเกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว โดยอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้องโปร่งใสและตรวจสอบได้สอดคล้องกับกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะในกรณีการดำเนินงานที่กระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คุณภาพชีวิต รัฐบาลจะให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน
ในการบริหารค่าใช้จ่ายเพื่อดำเนินนโยบายนั้น รัฐบาลจะดำเนินการอย่างมีเป้าหมายทั้งในด้านการเจริญเติบโต การลดความเหลื่อมล้ำ และการรักษาเสถียรภาพ ให้ความสำคัญกับกรอบวินัยการเงินการคลังของประเทศอย่างเคร่งครัด และให้ความสำคัญกับเสถียรภาพทางการเงินการคลังของประเทศในด้านการใช้จ่าย รัฐบาลจะดำเนินการใช้จ่ายให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม โดยพิจารณาใช้จ่ายจากแหล่งเงินงบประมาณและเงินนอกงบประมาณทั้งในส่วนของเงินกู้และการให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ รวมทั้งพิจารณาใช้เครื่องมือทางการเงินอื่น ๆ ในการสนับสนุนการดำเนินนโยบายเพื่อลดภาระการลงทุนจากงบประมาณแผ่นดินและการกู้เงิน ขณะเดียวกันรัฐบาลตระหนักถึงข้อจำกัดด้านรายได้โดยเฉพาะรายได้จากภาษีของประเทศ รัฐบาลจะเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีควบคู่ไปกับการเร่งส่งเสริมการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว เพื่อสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนและสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งเม็ดเงินดังกล่าวจะกลับเข้าสู่ระบบภาษีที่จะนำไปใช้ในการดำเนินนโยบายต่อไปได้
ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ
ท้ายที่สุด รัฐบาลขอให้ความเชื่อมั่นแก่รัฐสภาและประชาชนไทยว่า รัฐบาลจะบริหารราชการแผ่นดินด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและยึดประโยชน์ส่วนรวมของประชาชนและประเทศเป็นที่ตั้ง รัฐบาลมีความมุ่งมั่น ตั้งใจและทุ่มเทสรรพกำลังในการที่จะดำเนินนโยบายเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนและยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของประชาชนควบคู่ไปกับการรักษาสภาพแวดล้อม เพื่อให้ประเทศก้าวไปข้างหน้า ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีและมีรายได้เพิ่มขึ้นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายสูงสุดของผมและรัฐบาลในการสร้างความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชนทุกคน และส่งต่ออนาคตที่ดีกว่าให้กับลูกหลานของพวกเรานับจากนี้เป็นต้นไป
ขอบคุณครับ |